อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    PMSEa3q3yUsQAbKaVRTRJBK9k3T-jEoUzpIJ7B-BFiYi&_nc_ohc=dyREb9Ei7BkAX-wzF3b&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ?temp_hash=1e418726cb979600b040d1d7734a547d.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    tmfffiw_rsdaqrmzsn5kmuu4deofckeqtje6ynx4-_nc_ohc-caisbps5xnmax_pcyrk-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    cxmqm30g_byukj7t1by1fmolcoj3737r1hzpbdqn-_nc_ohc-7iefghmrmxqax8nafqf-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg

    ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตผล


    ***********
    [๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการบรรลุอรหัตตผลด้วยขั้นเดียวเท่านั้น แต่การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขา โดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญกิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ

    การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญกิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ เป็นอย่างไร

    คือ กุลบุตรในศาสนานี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหาย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ เงี่ยโสตลงสดับแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมแล้วย่อมทรงจำไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว เมื่อพิจารณา
    เนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรเพ่งพินิจ เมื่อมีการเพ่งพินิจธรรมอยู่ ฉันทะย่อมเกิด กุลบุตรนั้นเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมอุทิศกายและใจ เมื่ออุทิศกายและใจแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง
    สัจจะอันยอดเยี่ยมด้วยนามกาย และเห็นแจ่มแจ้งสัจจะอันยอดเยี่ยมนั้นด้วยปัญญา

    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าศรัทธาไม่มี การเข้าไปหา การนั่งใกล้ การเงี่ยโสตลงสดับ การฟังธรรม การทรงจำธรรม การพิจารณาเนื้อความ ความเพ่งพินิจธรรม ฉันทะ อุตสาหะ การไตร่ตรอง และการอุทิศกายและใจก็ไม่มี เธอทั้งหลายเป็นผู้ปฏิบัติพลาด
    เป็นผู้ปฏิบัติผิด โมฆบุรุษเหล่านี้ได้ก้าวออกไปจากธรรมวินัยนี้ไกลเท่าไร

    [๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย คำอธิบายสัจจะ ๔ ประการมีอยู่ เมื่อยกคำอธิบายดังกล่าวขึ้นมาแสดง วิญญูชนพึงเข้าใจเนื้อความได้ด้วยปัญญาในไม่ช้า เราจักแสดงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักเข้าใจถึงเนื้อความได้”

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นคนเช่นไร และผู้เข้าใจถึงธรรมได้ เป็นคนเช่นไร”

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับแต่อามิสอยู่ ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นก็ยังไม่ต่อรองเลยว่า ‘เมื่อสิ่งเช่นนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำสิ่งนั้น เมื่อสิ่งเช่นนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราก็ไม่พึงทำสิ่งนั้น’ ตถาคตไม่ข้องอยู่ด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงจะสมควรกับการต่อรองหรือ สาวกผู้มีศรัทธาผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาเราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคทรงรู้ เราไม่รู้’

    คำสอนของศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา

    สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า

    ‘หนัง เอ็น และกระดูกจงเหือดแห้งไปเถิด เนื้อและเลือดในสรีระของเรา จงเหือดแห้งไปก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรนั้น’
    ภิกษุทั้งหลาย สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา จะพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ (๑) อรหัตตผลในปัจจุบัน (๒) เมื่อมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จะเป็นอนาคามี”
    ………
    ข้อความบางตอนใน กีฏาคิริสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=20
    อรรถกถากีฏาคิริสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222

    หมายเหตุ ข้อปฏิบัติ ๑๒ ประการ เพื่อบรรลุอรหัตตผล คือ (๑) ศรัทธา (๒) การเข้าไปหา (๓) การนั่งใกล้ (๔) การเงี่ยโสตลงสดับ (๕) การฟังธรรม (๖) การทรงจำธรรม (๗) การพิจารณาเนื้อความ (๘) ความเพ่งพินิจธรรม (๙) ฉันทะ (๑๐) อุตสาหะ (๑๑)การไตร่ตรอง (๑๒) การอุทิศกายและใจ

    นอกจากนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสสอนให้ภิกษุยึดหลักศรัทธาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดา ตนเป็นสาวก ควรปฏิบัติตามคำสั่งสอนด้วยความเพียรอย่างสูงสุดคือ ตั้งใจว่า “แม้หนัง เอ็น กระดูก เนื้อและเลือด จะเหือดแห้งไป ถ้ายังไม่บรรลุ อรหัตตผลก็จักไม่ลุกขึ้น” ทรงสรุปว่า สาวกผู้มีศรัทธาเมื่อปฏิบัติตามที่ทรงแนะนำจะได้รับผล ๒ อย่าง คือ อรหัตตผล หรืออนาคามิผล

    ------------------------------------------------
    https://www.facebook.com/TipitakaStudies
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
    **************
    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
    [๒๑๔] “สุภัททะ ในธรรมวินัยที่ไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๑ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๒ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๓ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๔

    ในธรรมวินัยที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมมีสมณะที่ ๑ ย่อมมีสมณะที่ ๒ ย่อมมีสมณะที่ ๓ ย่อมมีสมณะที่ ๔

    สุภัททะ ในธรรมวินัยนี้มีอริยมรรคมีองค์ ๘ สมณะที่ ๑ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๓ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๔ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น

    ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง

    สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย

    สุภัททะ เราบวชขณะอายุ ๒๙ ปี แสวงหาว่าอะไร คือกุศล
    เราบวชมาได้ ๕๐ ปีกว่า ยังไม่มีแม้สมณะที่ ๑ ภายนอกธรรมวินัยนี้ผู้อาจแสดงธรรมเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้
    ไม่มีสมณะที่ ๒ ไม่มีสมณะที่ ๓ ไม่มีสมณะที่ ๔ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง
    สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย”
    .............
    ข้อความบางตอนใน มหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3

    บทว่า สุญฺญาปรปฺปวาทา สมเณภิ ความว่า ปรัปปวาท (ลัทธิของเจ้าลัทธิอื่น) สูญว่างเปล่าจากสมณะ ๑๒ จำพวก คือผู้เริ่มวิปัสสนาเพื่อประโยชน์แก่มรรค ๔ รวม ๔ จำพวก ผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ จำพวก ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก.

    บทว่า อิเม จ สุภทฺท ความว่า ภิกษุ ๑๒ จำพวกเหล่านี้.

    ในคำว่า สมฺมา วิหเรยฺยุ ํ พระโสดาบันบอกฐานะที่ตนบรรลุแก่ผู้อื่น ทำผู้อื่นนั้นให้เป็นโสดาบัน ชื่อว่าอยู่โดยชอบ. ในพระสกทาคามีเป็นต้นก็นัยนี้. พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค กระทำแม้ผู้อื่นให้เป็นผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ก็ชื่อว่าอยู่โดยชอบ. ในพระผู้ตั้งอยู่ในมรรคที่เหลือก็นัยนี้.
    พระผู้เริ่มวิปัสสนา เพื่อโสดาปัตติมรรค กำหนดกัมมัฏฐานที่ตนคล่องแคล่ว กระทำแม้ผู้อื่นให้เป็นผู้เริ่มวิปัสสนาเพื่อโสดาปัตติมรรค ก็ชื่อว่าอยู่โดยชอบ. ในพระผู้เริ่มวิปัสสนาเพื่อมรรคที่เหลือ ก็นัยนี้. ท่านหมายเอาความข้อนี้ จึงกล่าวว่า สมฺมา วิหเรยฺยํ.

    บทว่า อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺส ความว่า พึงไม่ว่างเว้นเหมือนป่าไม้อ้อ ป่าไม้แขม.

    ข้อความบางตอนใน อรรถกถามหาปรินิพพานสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10.0&i=67...




    -uDDnDVH1f7KfkSGipfgJjO--k6jHmGxCs2u7Vf8NnLcw35Q1ElOd1_nV2vWvuu5yBaH_t-T&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ?temp_hash=42456067884f9b90c29a466aabedb767.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ?temp_hash=a9c82780def3686dec043d52d6c19099.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
    ********
    [๔๖] คำว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้แหละ มีความว่า คำว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือ เพราะเห็นโทษนั้นในกามทั้งหลาย. คำว่าพึงศึกษา มีความว่า พึงศึกษาสิกขาทั้ง ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑.
    อธิศีลสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีล ที่ตั้ง เบื้องต้น เบื้องบาท ความสำรวม ความระวัง ปาก ประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา.


    อธิจิตตสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. เพราะวิตกและวิจารสงบไปจึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา.

    อธิปัญญาสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ
    นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา.


    สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้ เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยความเชื่อ เมื่อประคองความเพียร เมื่อตั้งสติ เมื่อตั้งจิต เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบสมาทานประพฤติ. คำว่า ในศาสนานี้ คือ ในความเห็นนี้ ในความควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในความยึดถือนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ ในอัตภาพนี้ ในมนุษย์โลกนี้. คำว่า สัตว์ผู้เกิดมา คือ สัตว์ นระ ฯลฯ มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้แหละ.
    ……….
    ข้อความบางตอนใน คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://www.84000.org/tipitaka/read/r.php?B=29&A=487
    **************
    อธิบายศีลก่อน ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๑๐ นั่นเอง. เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ยังมิได้เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ศีลนั้นก็เป็นไปอยู่ในโลก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งเหล่าพระสาวก ก็ให้มหาชนสมาทานในศีลนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายด้วย สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้เป็นกรรมวาทีด้วย พระเจ้าจักรพรรดิมหาราชด้วย พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วย ให้มหาชนสมาทาน. สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็สมาทานแม้ด้วยตนเอง. พวกเขาเหล่านั้นบำเพ็ญกุศลธรรมนั้นแล้วย่อมเสวยราชสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
    ก็ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์ ท่านเรียกว่า อธิศีล. อธิศีลนั้น ยิ่งด้วย สูงสุดด้วยของโลกิยศีลทั้งหมด ดุจดวงอาทิตย์เป็นยอดยิ่งของแสงสว่างทั้งหลาย ดุจเขาสิเนรุสูงสุดของภูเขาทั้งหลายฉะนั้น ย่อมเป็นไปในพุทธุปาทกาลเท่านั้น นอกจากพุทธุปาทกาล ย่อมไม่เป็นไป.
    ด้วยว่า สัตว์อื่นย่อมไม่อาจที่จะยกบัญญัตินั้นขึ้นตั้งไว้ได้ แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นทรงตัดกระแสแห่งอัชฌาจารทางกายทวารและวจีทวารโดยประการทั้งปวง ทรงบัญญัติศีลสังวรนั้น ซึ่งสมควรแก่การละเมิดนั้นๆ .
    ศีลแม้ของผู้สำรวมในปาติโมกข์ ซึ่งสัมปยุตด้วยมรรคผลนั่นแล ก็ชื่อว่าอธิศีล.
    กุศลจิต ๘ ดวงอันเป็นกามาพจร และจิตที่สัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ ดวงอันเป็นโลกิยะ พึงทราบว่า จิตนั่นเอง เพราะทำร่วมกัน.
    ก็ความเป็นไปของจิตนั้นด้วย การชักชวนให้สมาทานและการสมาทานด้วย ในกาลที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นและมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในศีลนั่นเทียว. จิตที่สัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ ซึ่งเป็นบาทแห่งวิปัสสนา ท่านเรียกว่า อธิจิต.
    อธิจิตนั้นยิ่งด้วย สูงสุดด้วยของโลกิยจิตทั้งหลาย เหมือนอธิศีลยิ่งด้วยสูงสุดด้วยของศีลทั้งหลายฉะนั้น และมีในพุทธุปาทกาลเท่านั้น นอกจากพุทธุปาทกาลหามีไม่. อนึ่ง มรรคจิตและผลจิตที่ยิ่งกว่านั้นแล ชื่อว่าอธิจิต.
    กัมมัสสกตาญาณที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ดังนี้ ชื่อว่าปัญญา. ปัญญานั้น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม มิได้เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ย่อมเป็นไปอยู่ในโลก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งเหล่าพระสาวก ก็ให้มหาชนสมาทานในปัญญานั้น. เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายด้วย สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้เป็นกรรมวาทีด้วย พระเจ้าจักรพรรดิมหาราชด้วย พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วย ให้มหาชนสมาทาน. บัณฑิตทั้งหลายก็สมาทานแม้ด้วยตนเอง.
    จริงอย่างนั้น อังกุรเทพบุตรได้ในมหาทานสองหมื่นปี. เวลามพราหมณ์ พระเวสสันดร และมนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตอื่นๆ เป็นอันมากได้ให้มหาทานทั้งหลาย. เขาเหล่านั้นบำเพ็ญกุศลธรรมนั้นแล้วได้เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
    ก็วิปัสสนาญาณที่กำหนดไตรลักษณาการ ท่านเรียกว่า อธิปัญญา.
    อธิปัญญานั้นยิ่งด้วย สูงสุดด้วย ของโลกิยปัญญาทั้งหมด เหมือนอธิศีลและอธิจิต ยิ่งด้วยสูงสุดด้วยของศีลและจิตทั้งหลาย และนอกจากพุทธุปาทกาล ย่อมไม่เป็นไปในโลก. อนึ่ง ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคผลที่ยิ่งกว่านั้นนั่นแล ชื่อว่าอธิปัญญา.
    …………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาคุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=30...
    #สิกขา #อธิศีล #อธิจิต #อธิปัญญา
    QQTLnHaCYB44Tbbbclm_BaBg9wc38ZWOUupMHxzaKPaa&_nc_ohc=08lpTEsHUNkAX-fCc_T&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    -----------------------------------

    https://www.facebook.com/TipitakaStudies
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ?temp_hash=287442018e010b8826c6f78a4dc55820.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    rSYby0KLCBHOPIkxguUBZLopYviMs_rm5wU31wY8FFPK&_nc_ohc=xe5FiV0u3JAAX9RPdnx&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ………….
    [๓๓๐] ควรเป็นผู้พอใจธรรม ยินดีในธรรม
    ดำรงอยู่ในธรรม รู้จักพิจารณาธรรม
    ไม่ควรกล่าววาจาที่ประทุษร้ายธรรม
    ควรให้เวลาสิ้นไปกับสุภาษิตที่แท้
    ..............
    ข้อความบางตอนใน กิงสีลสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=248
    ....................
    ก็คำว่า ธรรม ในบททั้งปวงในคาถานี้ ได้แก่สมถะและวิปัสสนา.
    ก็คำว่า อาราโม และ คำว่า รติ มีเนื้อความอันเดียวกัน ความยินดีรื่นรมย์ในธรรมของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ธมฺมาราโม ผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี.
    บุคคลยินดีแล้วในธรรม ชื่อว่า ธมฺมรโต หาใช่ยินดีสิ่งอื่นไม่.
    บุคคลชื่อว่าตั้งอยู่แล้วในธรรม ก็เพราะปฏิบัติธรรม บุคคลย่อมรู้ซึ่งการวินิจฉัยธรรมว่านี้เป็นอุทยญาณ นี้เป็นวยญาณ เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้จึงชื่อว่า ธมฺมวินิจฺฉยญฺญู ผู้รู้ซึ่งการวินิจฉัยธรรม.
    บุคคลพึงเป็นบุคคลเห็นปานนี้ เมื่อเป็นบุคคลเช่นนี้ได้แล้ว ดิรัจฉานกถามีการพูดถึงพระราชาเป็นต้นนี้ใด มีอยู่ คำที่เป็นดิรัจฉานกถานั้นย่อมประทุษร้ายต่อธรรม คือสมถะและวิปัสสนา เพราะให้เกิดความยินดีในรูปเป็นต้นในภายนอกแก่ตรุณวิปัสสกบุคคล ฉะนั้น ดิรัจฉานกถานั้นท่านจึงเรียกว่าวาทะที่เป็นอันตรายต่อธรรม บุคคลไม่พึงประพฤติวาทะที่ทำอันตรายต่อธรรมนั้นเลย โดยที่แท้เมื่อจะซ่องเสพสัปปายะทั้งหลายมีอาวาสสัปปายะและโคจรสัปปายะเป็นต้น ก็พึงแนะนำด้วยคำที่เป็นสุภาษิตที่แท้จริง วาจาทั้งหลายที่ปฏิสังยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าวาจาที่แท้จริงในพระคาถานี้.
    บุคคลพึงแนะนำคือว่าพึงชักนำ ได้แก่พึงยังกาลเวลาให้สิ้นไปด้วยคำที่เป็นสุภาษิตทั้งหลายเห็นปานนั้น.
    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงกระทำอุปกิเลสให้ปรากฏแก่ภิกษุผู้เจริญสมถะและวิปัสสนา ซึ่งพระองค์ตรัสไว้โดยย่ออย่างยิ่งในคำนี้ว่า ธมฺมสนฺโทสวาทํ ดังนี้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า หสฺสํ จ ชปฺปํ พร้อมกับอุปกิเลสแม้อื่นจากนั้น.
    ……………..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากิงสีลสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=326
    ..........
    หมายเหตุ พระสารีบุตรทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลจะบรรลุประโยชน์สูงสุด ต้องประพฤติเช่นไร พระผู้มีพระภาคทรงตอบว่า ต้องประพฤติธรรม คือ ความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ไม่ริษยา เข้าไปหาผู้รู้ แล้วฟังคำสอนโดยเคารพ พร้อมทั้งน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติ ผู้ประพฤติเช่นนี้ได้ก็จะบรรลุประโยชน์สูงสุดได้
    #ปฏิบัติ #ประพฤติ #ประโยชน์สูงสุด #นิพพาน #สมถะ #วิปัสสนา

    ?temp_hash=0c164c2a23c2d427ba2093fb38079fac.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    isNZHSoH3yD8sYwQ_RuOCJLFsF6da8oJHap2c35T7Ehn&_nc_ohc=bQnit4G_bo4AX8s72bD&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    บันได ๙ ขั้น เพื่อความพ้นทุกข์
    ********
    1 หมายถึงเป็นผู้ละธรรม ๓ ประการ คือ (๑) ความเป็นผู้ไม่มีหิริ (๒) ความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ (๓) ความประมาท
    2 หมายถึงเป็นผู้ละธรรม ๓ ประการ คือ (๑) ความไม่เอื้อเฟื้อ (๒) ความเป็นผู้ว่ายาก (๓) ความเป็นผู้มีปาปมิตร
    3 หมายถึงเป็นผู้ละธรรม ๓ ประการ คือ (๑) ความไม่มีศรัทธา (๒) ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ (๓) ความเกียจคร้าน
    4 หมายถึงเป็นผู้ละธรรม ๓ ประการ คือ (๑) ความฟุ้งซ่าน (๒) ความไม่สำรวม (๓) ความเป็นผู้ทุศีล
    5 หมายถึงเป็นผู้ละธรรม ๓ ประการ คือ (๑) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ (๒) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ (๓) ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี
    6 หมายถึงเป็นผู้ละธรรม ๓ ประการ คือ (๑) ความหลงลืมสติ (๒) ความไม่มีสัมปชัญญะ (๓) ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
    7 หมายถึงเป็นผู้ละธรรม ๓ ประการ คือ (๑) การมนสิการโดยไม่แยบคาย (๒) การเดินทางผิด (๓) ความหดหู่แห่งจิต
    8 หมายถึงเป็นผู้ละธรรม ๓ ประการ คือ (๑) สักกายทิฏฐิ (๒) วิจิกิจฉา (๓) สีลัพพตปรามาส
    9 หมายถึงเป็นผู้ละธรรม ๓ ประการ คือ (๑) ราคะ (๒) โทสะ (๓) โมหะ
    หมายเหตุ บันได ๙ ขั้น เพื่อความพ้นทุกข์นี้ สรุปจาก ตโยธัมมสูตร ว่าด้วยธรรม ๓ ประการ อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
    ......................
    บุคคลนี้เป็นผู้มีหิริ เป็นผู้มีโอตตัปปะ เป็นผู้ไม่ประมาท
    บุคคลนั้นเมื่อไม่ประมาท จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้
    เมื่อมีกัลยาณมิตร จึงอาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้
    เมื่อปรารภความเพียร จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้
    เมื่อมีศีล จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้
    เมื่อมีจิตไม่คิดแข่งดี จึงอาจละความหลงลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
    เมื่อมีจิตไม่ฟุ้งซ่าน จึงอาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้
    เมื่อมีจิตไม่หดหู่ จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้
    เมื่อไม่มีวิจิกิจฉา จึงอาจละราคะ โทสะ และโมหะได้
    ครั้นละราคะ โทสะ และโมหะ ได้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา และมรณะได้
    ...................
    ข้อความบางตอนใน ตโยธัมมสูตร ว่าด้วยธรรม ๓ ประการ อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=74
    btw6tvWVdZjhFp1Hy2Keq61Klf3_5nu1y72HxKYAY95_&_nc_ohc=IUKIA6iH3gsAX-8TgRj&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    =AZVwextzWF9VLczN1MQP2EZ4cpPDe7_92ZcpTd_REirR8-vfhpMbwCSKXgWMYF9OlLrxu6P6SJhPdxZCOq-558DQGWQ5nKu3hGva1Sj6dfcfa6ttche9c6KTJVySDF5D1nWctl2RThOj7Cl892cMqQQbsGCe7sPVD6OpDU0iNsbVoyhQqFBlq4QB5iTwNXQudVw&__tn__=EH-R']
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะย่อมไม่มี

    ************
    [๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    ฯลฯ
    วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่ออินทรียสังวรมีศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อศีลมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ฯลฯ
    วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน”
    ...........
    สติสัมปชัญญสูตร อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=154
    หมายเหตุ เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี ธรรมเหล่านี้ คือ หิริและโอตตัปปะ, อินทรียสังวร, ศีล, สัมมาสมาธิ, ยถาภูตญาณทัสสนะ, นิพพิทาและวิราคะ และ วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมไม่มีตามไปด้วย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบเสีย แม้สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่นก็ไม่สมบูรณ์ไปด้วย
    ในทางตรงกันข้าม เมื่อสติสัมปชัญญะมี ธรรมเหล่านี้ คือ หิริและโอตตัปปะ, อินทรียสังวร, ศีล, สัมมาสมาธิ, ยถาภูตญาณทัสสนะ, นิพพิทาและวิราคะ และ วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมจะมีตามไปด้วย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบที่สมบูรณ์ แม้สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่นก็สมบูรณ์ไปด้วย
    8d3HfRnaxkdEirFf0UFFHvvZFpXGcXzPsIw3JwbzZwcy&_nc_ohc=3sED0OMBUWUAX9WL2Bx&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    เมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์แล้วพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริง
    ************
    [๑๑๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาปฐพีนี้เนื่องเป็นอันเดียวกัน บุรุษพึงโยนแอกที่มีรูเดียวลงบนมหาปฐพีนั้น ลมทางทิศตะวันออกพัดแอกนั้นไปทางทิศตะวันตก ลมทางทิศตะวันตกพัดไปทางทิศตะวันออก ลมทางทิศเหนือพัดไปทางทิศใต้ ลมทางทิศใต้พัดไปทางทิศเหนือ
    บนมหาปฐพีนั้นมีเต่าตาบอดอยู่ตัวหนึ่ง มันโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
    เต่าตาบอดโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง จะสอดคอเข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้นได้บ้างหรือ”
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่เต่าตาบอดนั้นโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง จะสอดคอเข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก”
    “ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน การได้ความเป็นมนุษย์ก็ยาก การที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกก็ยาก การที่ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วรุ่งเรืองในโลกก็ยาก
    บัดนี้เต่านั้นได้ความเป็นมนุษย์นี้แล้ว ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็รุ่งเรืองในโลก
    ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
    **********
    ทุติยฉิคคฬยุคสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19...
    อรรถกถาทุติยฉิคคฬสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1744
    twnPdKKdxM3A4o6ffmLq2wItECdwxZn9pPLmEsROZtiO&_nc_ohc=yWMbxoEniroAX-NXs-b&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    PdyccO970dwmrvMb3Zyv6gEh5MRQcIvR1Am1nXXOeaL-&_nc_ohc=Rc_ADQJbHuAAX-O38Fp&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    GkJ7g92GhSngJVtwgoSfUU-PbiKqGg2JHS0V6xiMzqic&_nc_ohc=_bG5-tJhG7AAX-wO9WX&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,271
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    _Fp75oydVEWI4Fki9KV0kx5Q6-ow-2rSst-Y3ajtnlTj&_nc_ohc=8I_NhsbsD9sAX8mOA3T&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...