อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ?temp_hash=3cf596ce97f631c0f7027f1978f11256.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    f8IXbxEc9Zp7RayuIFyTsaFgGpqmsWFyjYIJP8Mwhcwq&_nc_ohc=INEaUeMp2psAX_GPLoP&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    EoAJ8X9Edewq9onLesuf679io5Ay8S4GlQNlz5m-3nYb&_nc_ohc=ZWcys1u3m_sAX-mex7K&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    อริยปัญญาขันธ์ ที่สมเด็จพระสมณโคดมตรัสสรรเสริญและทรงให้ประชาชนสมาทานตั้งมั่นอยู่เป็นอย่างไร
    **********


    [๔๗๒] อริยปัญญาขันธ์ ที่ท่านพระโคดมตรัสสรรเสริญและทรงให้ประชาชนสมาทานตั้งมั่นอยู่เป็นอย่างไร ท่านอานนท์”
    วิชชา ๘ ประการ
    ๑. วิปัสสนาญาณ
    ท่านพระอานนท์ตอบว่า “เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’
    …ฯลฯ...
    ๒. มโนมยิทธิญาณ
    [๔๗๓] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อเนรมิตกายที่เกิดแต่ใจ คือ เนรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปที่เกิดแต่ใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
    …ฯลฯ...
    ๓. อิทธิวิธญาณ
    [๔๗๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธญาณ แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง(และ)ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
    …ฯลฯ...
    ๔. ทิพพโสตธาตุญาณ
    [๔๗๕] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อทิพพโสตธาตุญาณได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่
    อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
    …ฯลฯ...
    ๕. เจโตปริยญาณ
    [๔๗๖] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ กำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะ
    ก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือปราศจากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น
    …ฯลฯ...
    ๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    [๔๗๗] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูลมีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
    …ฯลฯ...
    ๗. ทิพพจักขุญาณ
    [๔๗๘] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตกล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูงงามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
    …ฯลฯ...
    ๘. อาสวักขยญาณ
    [๔๗๙] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
    …ฯลฯ...
    ……………
    ข้อความบางตอนใน สุภสูตร ว่าด้วยสุภมาณพ
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=10
    หมายเหตุข้อความเบื้องต้นสรุปความได้ว่า
    อริยปัญญาขันธ์ ที่ท่านพระโคดมตรัสสรรเสริญและทรงให้ประชาชนสมาทานตั้งมั่นอยู่ คือ วิชชา ๘ ประการ
    ๑. วิปัสสนาญาณ
    ๒. มโนมยิทธิญาณ
    ๓. อิทธิวิธญาณ
    ๔. ทิพพโสตธาตุญาณ
    ๕. เจโตปริยญาณ
    ๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    ๗. ทิพพจักขุญาณ
    ๘. อาสวักขยญาณ


    #ปัญญาขันธ์


    EwFEKmLseSQ8-hGyObhI69dWRb-P6hTVQuFtQ4hFrFuK&_nc_ohc=htf1Q5lYWLIAX9A0Fog&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    NSPVpxux-VYYkxQkSVHgDJvrtxEz2YVILS2AwRGRq739&_nc_ohc=Csodw12C2LYAX9OasBB&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    พิจารณาจิตของตนว่าเป็นอย่างไร
    ************
    ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุมีการพิจารณาที่เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายว่า “เราเป็นผู้มีอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)อยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีอภิชฌา เราเป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมีจิตไม่พยาบาท เราเป็นผู้มีถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)กลุ้มรุมอยู่โดยมากหรือหนอ หรือปราศจากถีนมิทธะ เราเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีจิตฟุ้งซ่าน เราเป็นผู้มีความสงสัยอยู่โดยมากหรือหนอ หรือข้ามพ้นความสงสัยแล้ว เราเป็นผู้มักโกรธอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มักโกรธ เราเป็นผู้มีจิตเศร้าหมองอยู่โดยมากหรือหนอหรือมีจิตไม่เศร้าหมอง เราเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมีกายไม่กระสับกระส่าย เราเป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือปรารภความเพียร เราเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมีจิตตั้งมั่น”
    เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกเงาอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง หรือในภาชนะน้ำที่ใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้นก็พยายามขจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย หากไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ดีใจ ภูมิใจด้วยเหตุนั้นเองว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ’
    ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมาก เป็นผู้มีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เป็นผู้มีความสงสัยอยู่โดยมาก เป็นผู้มักโกรธอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง
    อยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมาก เป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมากเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
    ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ พึงทำความพอใจความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่โดยมาก เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่โดยมาก เป็นผู้ไม่มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยแล้วอยู่โดยมาก เป็นผู้ไม่โกรธ
    อยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่เศร้าหมองอยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายไม่กระสับกระส่ายอยู่โดยมาก เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป
    .................
    ข้อความบางตอนใน สจิตตสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=49
    หมายเหตุ พระผู้มีพระภาคตรัสสอนให้ภิกษุพิจารณาวาระจิตของตนว่า ขณะนี้มีกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งในกิเลส ๑๐ อย่าง คือ (๑) มีอภิชฌา (๒) มีจิตพยาบาท (๓) มีถีนมิทธะ (๔) มีจิตฟุ้งซ่าน (๕) มีความสงสัย (๖) มักโกรธ (๗) มีจิตเศร้าหมอง (๘) มีกายกระสับกระส่าย (๙) เกียจคร้าน และ (๑๐) มีจิตไม่ตั้งมั่น ครอบงำจิตอยู่หรือไม่ ถ้ามี ให้เพียรละกิเลสนั้น ๆ ให้ได้ ถ้าไม่มี ให้รักษาสถานะเช่นนั้นของจิตต่อไป และเพียรเจริญภาวนาให้บรรลุธรรมที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    EceYwgRtJsz29UYMGcmo4T3MyTZM6xyvmhZIn2iZdpTQ&_nc_ohc=irB8CvPdOR4AX_Okkyl&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ผู้มีศรัทธา คืออย่างไร
    **********
    [๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศรัทธาเลื่อมใสพึงทราบได้โดยฐานะ ๓ ประการ
    ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. เป็นผู้ปรารถนาที่จะเห็นท่านผู้มีศีล
    ๒. เป็นผู้ปรารถนาที่จะฟังสัทธรรม
    ๓. เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่ครองเรือน
    ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศรัทธาเลื่อมใสพึงทราบได้โดยฐานะ ๓ ประการนี้แล
    บุคคลผู้ปรารถนาจะเห็นท่านผู้มีศีล
    ปรารถนาจะฟังสัทธรรม
    กำจัดความตระหนี่อันเป็นมลทิน
    บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้มีศรัทธา
    ............
    ติฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่เป็นเหตุให้ทราบผู้มีศรัทธา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=86
    พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า วิคตมลมจฺเฉเรน ความว่า ปราศจากมลทินคือความตระหนี่.
    บทว่า มุตฺตจาโค ความว่า มีการสละโดยไม่ข้องใจ.
    บทว่า ปยตปาณี ความว่า มีมืออันล้างแล้ว อธิบายว่า ผู้ไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง ก็จัดว่ายังมีมือเปื้อนอยู่นั่นแล แต่คนมีศรัทธา ชื่อว่ามีมืออันล้างสะอาดแล้วทีเดียว เพราะเป็นผู้ยินดียิ่งแล้วในทาน.
    บทว่า โวสฺสคฺครโต ความว่า ยินดีแล้วในทาน กล่าวคือการเสียสละ.
    บทว่า ยาจโยโค ความว่า สมควรให้ขอ.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ยาจโยโค เพราะมีความเหมาะสมกับด้วยยาจกทั้งหลายบ้าง.
    บทว่า ทานสํวิราครโต ความว่า เมื่อจะให้ทานก็ดี เมื่อจะทำการจัดแบ่งก็ดี ย่อมเป็นชื่อว่ายินดีในทานและการจัดแบ่ง.
    บทว่า ทสฺสนกาโม สีลวตํ ความว่า มีความประสงค์จะพบท่านผู้ทรงศีล ๑๐ โยชน์ก็ไป ๒๐ โยชน์ก็ไป ๓๐ โยชน์ก็ไป ๑๐๐ โยชน์ก็ไป ดุจปาฏลีปุตตกพราหมณ์และพระเจ้าสัทธาติสสมหาราช.
    ..............
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาฐานสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=481
    #ผู้มีศรัทธา
    xTJdbq43TtcklA0D27e0VoBpLnBukA9r2iuyjSj5Oeam&_nc_ohc=H6B6OgPtx4cAX867_17&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ควรรีบดับไฟที่ไหม้

    ************

    ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ พึงทำความพอใจความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่โดยมาก เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่โดยมาก เป็นผู้ไม่มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยแล้วอยู่โดยมาก เป็นผู้ไม่โกรธอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่เศร้าหมองอยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายไม่กระสับกระส่ายอยู่โดยมาก เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป
    .................
    ข้อความบางตอนใน สจิตตสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=49
    หมายเหตุ พระผู้มีพระภาคตรัสสอนให้ภิกษุพิจารณาวาระจิตของตนว่า ขณะนี้มีกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งในกิเลส ๑๐ อย่าง คือ (๑) มีอภิชฌา (๒) มีจิตพยาบาท (๓) มีถีนมิทธะ (๔) มีจิตฟุ้งซ่าน (๕) มีความสงสัย (๖) มักโกรธ (๗) มีจิตเศร้าหมอง (๘) มีกายกระสับกระส่าย (๙) เกียจคร้าน และ (๑๐) มีจิตไม่ตั้งมั่น ครอบงำจิตอยู่หรือไม่ ถ้ามี ให้เพียรละกิเลสนั้น ๆ ให้ได้ ถ้าไม่มี ให้รักษาสถานะเช่นนั้นของจิตต่อไป และเพียรเจริญภาวนาให้บรรลุธรรมที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    U_AWQ-DpurnRODY_U0leGVHJ9UbqlToD0iQmXSn6tht6&_nc_ohc=Ps0zrXlbO70AX96QyaG&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [๓๒๕] เมื่อใด บุคคลผู้ถูกความง่วงเหงาครอบงำ บริโภคมาก ชอบแต่นอนกลิ้งเกลือกไปมา เมื่อนั้น เขาย่อมมีปัญญาเฉื่อยชา ชอบเข้าห้องเป็นอาจิณ เหมือนสุกรอ้วนที่เขาขุนด้วยเศษอาหาร ฉะนั้น
    …………
    ๔. ปเสนทิโกสลราชวัตถุ เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล ๒๓. นาควรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=32
    ดูเพิ่มใน เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล นาควรรควรรณนา อรรถกถาขุททกนิกาย ธรรมบท
    https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=33&p=4
    T7NtAITL0wZUeZwET9D4kFgiVIkZIMsZLH-ftUZoXuHI&_nc_ohc=eRjAlsQ58gsAX8OkxoE&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
    ********
    [๔๖] คำว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้แหละ มีความว่า คำว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือ เพราะเห็น
    โทษนั้นในกามทั้งหลาย. คำว่าพึงศึกษา มีความว่า พึงศึกษาสิกขาทั้ง ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑.
    อธิศีลสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษา
    อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีล ที่ตั้ง เบื้องต้น เบื้องบาท ความสำรวม ความระวัง ปาก ประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา.
    อธิจิตตสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. เพราะวิตกและวิจารสงบไป
    จึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
    ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌานไม่
    มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา.
    อธิปัญญาสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุ
    นั้น ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ
    นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา.
    สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้ เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยความเชื่อ เมื่อประคองความเพียร เมื่อตั้งสติ เมื่อตั้งจิต เมื่อรู้ชัดด้วย
    ปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบสมาทานประพฤติ. คำว่า ในศาสนานี้ คือ ในความเห็นนี้ ในความควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในความยึดถือนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ ในอัตภาพนี้ ในมนุษย์โลกนี้. คำว่า สัตว์ผู้เกิดมา คือ สัตว์ นระ ฯลฯ มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้
    แหละ.
    ……….
    ข้อความบางตอนใน คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://www.84000.org/tipitaka/read/r.php?B=29&A=487
    **************
    อธิบายศีลก่อน ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๑๐ นั่นเอง. เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ยังมิได้เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ศีลนั้นก็เป็นไปอยู่ในโลก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งเหล่าพระสาวก ก็ให้มหาชนสมาทานในศีลนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายด้วย สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้เป็นกรรมวาทีด้วย พระเจ้าจักรพรรดิมหาราชด้วย พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วย ให้มหาชนสมาทาน. สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็สมาทานแม้ด้วยตนเอง. พวกเขาเหล่านั้นบำเพ็ญกุศลธรรมนั้นแล้วย่อมเสวยราชสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
    ก็ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์ ท่านเรียกว่า อธิศีล. อธิศีลนั้น ยิ่งด้วย สูงสุดด้วยของโลกิยศีลทั้งหมด ดุจดวงอาทิตย์เป็นยอดยิ่งของแสงสว่างทั้งหลาย ดุจเขาสิเนรุสูงสุดของภูเขาทั้งหลายฉะนั้น ย่อมเป็นไปในพุทธุปาทกาลเท่านั้น นอกจากพุทธุปาทกาล ย่อมไม่เป็นไป.
    ด้วยว่า สัตว์อื่นย่อมไม่อาจที่จะยกบัญญัตินั้นขึ้นตั้งไว้ได้ แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นทรงตัดกระแสแห่งอัชฌาจารทางกายทวารและวจีทวารโดยประการทั้งปวง ทรงบัญญัติศีลสังวรนั้น ซึ่งสมควรแก่การละเมิดนั้นๆ .
    ศีลแม้ของผู้สำรวมในปาติโมกข์ ซึ่งสัมปยุตด้วยมรรคผลนั่นแล ก็ชื่อว่าอธิศีล.
    กุศลจิต ๘ ดวงอันเป็นกามาพจร และจิตที่สัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ ดวงอันเป็นโลกิยะ พึงทราบว่า จิตนั่นเอง เพราะทำร่วมกัน.
    ก็ความเป็นไปของจิตนั้นด้วย การชักชวนให้สมาทานและการสมาทานด้วย ในกาลที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นและมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในศีลนั่นเทียว. จิตที่สัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ ซึ่งเป็นบาทแห่งวิปัสสนา ท่านเรียกว่า อธิจิต.
    อธิจิตนั้นยิ่งด้วย สูงสุดด้วยของโลกิยจิตทั้งหลาย เหมือนอธิศีลยิ่งด้วยสูงสุดด้วยของศีลทั้งหลายฉะนั้น และมีในพุทธุปาทกาลเท่านั้น นอกจากพุทธุปาทกาลหามีไม่. อนึ่ง มรรคจิตและผลจิตที่ยิ่งกว่านั้นแล ชื่อว่าอธิจิต.
    กัมมัสสกตาญาณที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ดังนี้ ชื่อว่าปัญญา. ปัญญานั้น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม มิได้เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ย่อมเป็นไปอยู่ในโลก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งเหล่าพระสาวก ก็ให้มหาชนสมาทานในปัญญานั้น. เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายด้วย สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้เป็นกรรมวาทีด้วย พระเจ้าจักรพรรดิมหาราชด้วย พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วย ให้มหาชนสมาทาน. บัณฑิตทั้งหลายก็สมาทานแม้ด้วยตนเอง.
    จริงอย่างนั้น อังกุรเทพบุตรได้ในมหาทานสองหมื่นปี. เวลามพราหมณ์ พระเวสสันดร และมนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตอื่นๆ เป็นอันมากได้ให้มหาทานทั้งหลาย. เขาเหล่านั้นบำเพ็ญกุศลธรรมนั้นแล้วได้เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
    ก็วิปัสสนาญาณที่กำหนดไตรลักษณาการ ท่านเรียกว่า อธิปัญญา.
    อธิปัญญานั้นยิ่งด้วย สูงสุดด้วย ของโลกิยปัญญาทั้งหมด เหมือนอธิศีลและอธิจิต ยิ่งด้วยสูงสุดด้วยของศีลและจิตทั้งหลาย และนอกจากพุทธุปาทกาล ย่อมไม่เป็นไปในโลก. อนึ่ง ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคผลที่ยิ่งกว่านั้นนั่นแล ชื่อว่าอธิปัญญา.
    …………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาคุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=30&p=2
    #สิกขา #อธิศีล #อธิจิต #อธิปัญญา
    hN_XYq5AG5tjw2OtWRXUoz7m5iXGPu6hyUocuXje0-Xi&_nc_ohc=sbRSEpGcircAX-k21sg&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ไตรสิกขา คือธรรมเป็นเหตุดับกิเลส
    **********
    [๑๐๖๘] (โธตกมาณพทูลถามดังนี้)
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
    ขอพระองค์โปรดตรัสตอบปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
    ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
    ข้าพระองค์มุ่งหวังจะรับฟังพระวาจาของพระองค์อย่างยิ่ง
    บุคคลฟังพระสุรเสียงของพระองค์แล้ว
    ศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน
    [๑๐๖๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ)
    ถ้าเช่นนั้น เธอผู้มีปัญญารักษาตน
    มีสติ จงทำความเพียรในที่นี้แล
    บุคคลได้ฟังเสียงจากที่นี้แล้ว
    พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน
    ……….
    ข้อความบางตอนใน โธตกมาณวกปัญหา ว่าด้วยปัญหาของโธตกมาณพ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=287
    บทว่า สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน พึงศึกษาธรรมเป็นเครื่องดับกิเลสเพื่อตน คือพึงศึกษาอธิศีลเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่การดับกิเลสมีราคะเป็นต้นเพื่อตน.
    ........
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาโธตกสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=429
    **********
    คำว่า พึงศึกษา ในคำว่า พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน อธิบายว่า
    สิกขา ๓ คือ
    ๑. อธิสีลสิกขา
    ๒. อธิจิตตสิกขา
    ๓. อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ
    .........
    ข้อความบางตอนในโธตกมาณวปัญหานิทเทส ว่าด้วยปัญหาของโธตกมาณพ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=30&siri=24
    VmK0gjQ-cfHFAlSjKman77rl1DnT4vDb6t653yChoK0T&_nc_ohc=jZ5duiyyarkAX-wJJGH&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    หวังเป็นพระอรหันต์
    *********************
    [๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่ จงสำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
    ..ฯลฯ..
    [๖๙] ภิกษุทั้งหลาย
    ๑๗. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง
    ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นประโยชน์จึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่ จงสำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย”
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
    ................
    อากังเขยยสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=6
    ...ก็ในบทว่า พฺรูเหตา สุญฺญาคารานํ นี้ ภิกษุเรียนเอากัมมัฏฐานด้วยอำนาจสมถะและวิปัสสนา แล้วเข้าไปนั่งยังเรือนว่างตลอดวันและคืน พึงทราบว่าเป็นผู้เจริญสุญญาคาร. ส่วนภิกษุแม้กระทำความเพียรในปราสาทชั้นเดียวเป็นต้น ไม่พึงเห็นว่าเป็นผู้เจริญสุญญาคารเลย.
    ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้ เทศนานี้แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเริ่มด้วยสามารถการยกอธิศีลสิกขานั้นแสดงก่อนก็ตาม ก็พึงทราบว่าเป็นเทศนาที่นับเนื่องในไตรสิกขาโดยลำดับ เพราะรวมสมถะและวิปัสสนาเข้าด้วยกัน เหตุที่สมถะและวิปัสสนามีศีลเป็นปทัฏฐาน เหมือนกับการเทศนาธรรมที่เป็นข้าศึกของตัณหา แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเริ่มด้วยสามารถการยกตัณหาขึ้นแสดงก่อน ก็พึงทราบว่าเป็นเทศนาที่นับเข้าในหมวด ๓ แห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าโดยลำดับ เพราะรวมมานะและทิฏฐิเข้าด้วยกัน เหตุที่มานะและทิฏฐิมีตัณหาเป็นปทัฏฐาน.
    ................
    ข้อความบางตอนในอรรถกถาอากังเขยยสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=73
    .........
    หมายเหตุ ความหวัง ๑๗ ประการที่คนทั่วไปต้องการอยากได้ แต่จะสมหวังได้ต้องลงมือปฏิบัติ คือ ทำศีลให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง กล่าวโดยสรุปคือปฏิบัติด้วยไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
    qA9KQjIQaPe6UE6onlupY2j7vDvS_NwAxTyfQzPCYq9s&_nc_ohc=ToHvn_8nsN4AX99me0u&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่จำกัดกาล ควรเข้าถึงด้วยข้อปฏิบัติ
    ************
    [๕๖] ครั้งนั้น ชานุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ชานุสโสณิพราหมณ์ซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง”
    ข้าแต่ท่านพระโคดม ด้วยเหตุเพียงไรหนอ พระนิพพานจึงชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล
    บุคคลผู้มีโทสะ ฯลฯ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง เป็นอย่างนี้แล
    ในกาลใด บุคคลนี้เสวยธรรมเป็นที่สิ้นราคะอันไม่มีส่วนเหลือ เสวยธรรมเป็นที่สิ้นโทสะอันไม่มีส่วนเหลือ เสวยธรรมเป็นที่สิ้นโมหะอันไม่มีส่วนเหลือ ในกาลนั้น พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
    ชานุสโสณิพราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
    ...........
    นิพพุตสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=100
    นิพพุตสูตร ภาษาบาลี http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=20&A=4194
    พึงทราบวินิจฉัยในนิพพุตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า อกาลิกํ ความว่า ไม่ใช่จะพึงบรรลุในเวลาอื่น.
    บทว่า โอปนยิกํ ได้แก่ ควรเข้าถึงด้วยข้อปฏิบัติ.
    ..................
    อรรถกถานิพพุตสูตร(ไทย) http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=495
    ปญฺจเม อกาลิกนฺติ น กาลนฺตเร ปตฺตพฺพํ.
    โอปนยิกนฺติ ปฏิปตฺติยา อุปคนฺตพฺพํ.
    .................
    อรรถกถานิพพุตสูตร(บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15...
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450


    สติขาดเมื่อไร ความเพียร ขาดเมื่อนั้น
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ?temp_hash=3fbe549a00fbc2071b48698ac80a5281.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    90PZ5Pona4w1-fIdZVptAxVyIAfJj_6o8eT6oXH1KeO0&_nc_ohc=BF9M1XJmOSQAX_Xp-_u&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    จรณะ ๑๕ ประการ
    **********
    ...บุคคลผู้มีจรณะวิบัติ ย่อมไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง
    บุคคลผู้ประกอบด้วยจรณะ ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง
    เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”
    ...................
    ข้อความบางตอนใน อุปวาณสูตร อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21...
    บทว่า จรณสมฺปนฺโน คือ ถึงพร้อมแล้วด้วยจรณธรรม ๑๕ ประเภท.
    บทว่า ยถาภูตํ ชานํ ปสฺสํ อนฺตกโร โหติ ความว่า บุคคลรู้เห็นด้วยมรรคปัญญาตามความเป็นจริงแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรเถระจึงให้ปัญหาจบลงด้วยยอดธรรมคือพระอรหัต.
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอุปวานสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=171...
    ..........
    หมายเหตุ : จรณะ ๑๕ นั้น พึงเทียบกับเสขปฏิปทา (ข้อปฏิบัติของพระเสขะ) ในเสขปฏิปทาสูตร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13...
    และดูเพิ่มเติมใน [อรรถาธิบายพุทธคุณบทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน] เวรัญชกัณฑวรรณนา อรรถกถา มหาวิภังค์ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=1&p=7...
    และพึงเทียบกับบุพภาคปฏิปทา (ข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้น) ในอรรถกถาธาตุวิภังคสูตร https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14.0&i=673&p=2
    และพึงเทียบกับหลักการปฏิบัติธรรมตามลำดับจากต่ำไปหาสูง ในคณกโมคคัลลานสูตร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=14&siri=7
    และพึงเทียบกับอปัณณกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด) ในอปัณณกสูตร http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=60
    และพึงเทียบกับ ฌาน ๔ ประการ ธรรมที่ทำให้น้อมไปสู่นิพพาน ในฌานาทิสูตร http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=298
    และพึงเทียบกับ ฌาน ๔ ที่จัดว่าเป็นจรณะ ใน อัมพัฏฐสูตร http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=3
    สรุปได้ว่า จรณะ ๑๕ คือ (๑) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล (๒) เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (๓) เป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค (๔) เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง (๕) เป็นผู้มีศรัทธา (๖) เป็นผู้มีหิริ (๗) เป็นผู้มีโอตตัปปะ (๘) เป็นพหูสูต (๙) เป็นผู้ปรารภความเพียร (๑๐) เป็นผู้มีสติ (๑๑) เป็นผู้มีปัญญา (๑๒) เป็นผู้ได้ปฐมฌาน (๑๓) เป็นผู้ได้ทุติยฌาน (๑๔) เป็นผู้ได้ตติยฌาน (๑๕) เป็นผู้ได้จตุตถฌาน
    ................
    ข้อสังเกต ในจรณะ ๑๕ นั้น
    ข้อที่ ๒, ๓ และ ๔ คือ อปัณณกปฏิปทา
    ข้อที่ ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐ และ ๑๑ คือ สัทธรรม ๗ ประการ
    gf7Ll1oMKk9RJII1SF3vS17gmD_1kHpq7K0V0dPxrV5q&_nc_ohc=hPhhNEVvWJUAX8Dzl_I&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    K9z46DNrpZamYhFlHXCfVsJu9ZV29Xc0q348hzFZgi5q&_nc_ohc=VAykD5PNHTUAX8lSH3Y&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ?temp_hash=89102ddf055fb1e15f3e1a0c941f6565.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ค้างคาวฟังสวดอภิธรรม แม้จะไม่เข้าใจเนื้อหา แต่เมื่อตายได้ไปเกิดบนสวรรค์
    *************
    ...ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ภิกษุเหล่านั้นเป็นค้างคาวหนู ห้อยอยู่ที่เงื้อมแห่งหนึ่ง เมื่อพระเถระ ๒ รูปจงกรมแล้วท่องอภิธรรมอยู่ ได้ฟังถือเอานิมิตในเสียงแล้ว
    ค้างคาวเหล่านั้นไม่รู้ว่า “เหล่านี้ ชื่อว่าขันธ์, เหล่านี้ ชื่อว่าธาตุ” ด้วยเหตุสักว่าถือเอานิมิตในเสียงเท่านั้น จุติจากอัตภาพนั้น แล้วเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว เกิดในเรือนตระกูลในกรุงสาวัตถี เกิดความเลื่อมใสในยมกปาฏิหาริย์ บวชในสำนักของพระเถระแล้ว ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ ก่อนกว่าภิกษุทั้งปวง. ...
    ...................
    ข้อความบางตอนใน เรื่องยมกปาฏิหาริย์ พุทธวรรควรรณนา ขุททกนิกาย อรรถกถาธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=24&p=2
    h37ptYF79NviKod0EKRC0dlqxewoEWjCFC2svna1NF5n&_nc_ohc=AZBQ6ANiAOwAX8zAbTI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...