พระเครื่องที่สะสม แบ่งปัน มาใหม่!! พระอาจารย์มานิตย์ วัดเงิน #พระพรหม วัดสะแก #หลวงปู่เล็ก วัดทำนบ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย BaByUltraMan, 20 ตุลาคม 2013.

  1. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    38.พระพรหม เนื้อผงผสมมวลสารเก่า หลวงปู่ดู่ วัดสะแก สร้างปี 2540 ฉลองพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ดู่ พุทธคุณด้าน เมตตา แคล้วคลาด ปลุกเสกโดย หลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
    ##มีมาแบ่งบูชา 10 องค์ สวยๆไม่มีกะเทาะ องค์ละ 200 รวมส่ง##

    ###############################################################
    เปิดดูไฟล์ 6078349 เปิดดูไฟล์ 6078350 เปิดดูไฟล์ 6078351 ครูบาชัยวงศาพัฒนาคืออดีตพระฤๅษีวาสุเทพ โดย ทวีวัฒน์ เติมฤทธิ์ (อู๋)
    วัดพระบาทห้วยต้ม (ข้าวต้ม) อ.ลี้ จ.ลำพูน ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่รู้ใจคน ถอดกายได้โดยมีผู้ถ่ายรูปเดี่ยวของท่าน แต่ปรากฏว่ารูปถ่ายที่ออกมากลายเป็น 2 องค์ คือองค์หนึ่งนั่งอีกองค์หนึ่งยืน ท่านออกธุดงค์ตั้งแต่ยังหนุ่ม ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นอาจารย์องค์แรกของท่านเคยทำนายตอนที่ท่านยังเป็นเณรว่า ท่านจะเป็นผู้มาสร้างวัดพระพุทธบาทห้วยต้มแห่งนี้ นอกจากนั้นท่านยังเป็นลูกศิษย์ของครูบาพรหมจักร (พระอุปัชฌาย์ของท่าน) และครูบาอภิชัย ขาวปี ที่มรณะแล้วร่างไม่เน่าเปื่อยอีกด้วย
    ท่านยังได้เรียนวิชาทางจิตจากตำราเก่าสมัยอยุธยาที่พระเก่งๆ ในสมัยโบราณนำมาซ่อนไว้ในถ้ำเพื่อไม่ให้ตกไปอยู่ในมือพวกพม่า โดยเทวดามาบอกที่ซ่อนคัมภีร์นี้ เมื่อท่านฝึกสำเร็จแล้วท่านจึงนำเข้าไปเก็บรักษาไว้ในเจดีย์ที่วัด ท่านฉันเจและชอบฉันลูกเกาลัด ที่แปลกก็คือท่านชอบไปเข้าฝันคนทั่วไป เช่นเคยไปเข้าฝันบอกตัวยาแก้โรคกระเพาะให้ คนตายแล้วฟื้นเล่าว่าได้ไปพบครูบาศรีวิชัยท่านบอกให้มากราบครูบาวงศ์เพราะท่านเป็นพระอริยะ และเทวดาที่วัดพระบาทห้วยต้มบอกวัดนี้จะเป็น 1 ใน 3 วัด ที่จะอยู่ได้จนครบ 5,000 ปี
    ที่วัดยังมีรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้ทรงมาประทับรอยไว้เมื่อคราวที่เสด็จมาที่วัดแห่งนี้ ในครั้งนั้นนายพรานได้ทำข้าวต้มเนื้อกวางถวายแก่พระพุทธเจ้า แต่พระองค์ทรงฉันเฉพาะแต่ข้าวต้มเท่านั้นไม่ทรงฉันเนื้อกวางที่ถวาย ทั้งนี้เพราะทรงทราบว่ากวางตัวนั้นเป็นหน่อเนื้อพุทธางกูรซึ่งต่อมาก็คือครูบาชัยวงศ์นั่นเอง และเนื้อกวางนั้นต่อมาได้กลายเป็นหิน ปัจจุบันก็ยังเก็บรักษาไว้อยู่ที่วัดพระบาทห้วยต้ม
    ท่านครูบาวิจิตร มนูญโญ แห่งวัดกุเตอร์โกล ต.สามหมื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก ได้เล่าให้ฟังว่าเคยขึ้นเขาไปกับท่านครูบาชัยวงศ์เพื่อไปกราบพระพุทธบาท "วังตวง" ได้เห็นท่านครูบาชัยวงศ์ได้เอาเท้าของท่านเหยียบลงบนก้อนหินที่บนเขานั้น แล้วก็บอกให้ท่านคอยดูนะ เมื่อท่านยกเท้าขึ้นก็ได้ปรากฏรอยเท้าบนก้อนหินนั้นจริงๆ
    ท่านคือพระฤๅษีวาสุเทพในอดีตชาติ
    คุณวันทนา พัวพันธ์สกุล เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เมื่อปลายปี ๒๕๔๑ เธอได้รับมอบหมายจากทางเทศบาลเมืองลำพูน ให้เป็นผู้วาดภาพเชิงเสมือนจริงของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัย ขนาดเท่าองค์จริง เนื่องในวโรกาสที่นครศรีหริภุญชัย ก้าวสู่ศตวรรษที่ ๑๔
    เธอจึงเข้ากราบขอความเมตตาจากหลวงปู่ครูบาชัยวงศ์เพื่อขอคำแนะนำ เริ่มตั้งแต่เขียนแบบเค้าพระพักตร์ คิ้ว ปาก คาง จมูก แม้กระทั่งสี ผิวพรรณ สัดส่วน ลักษณะสีหน้าท่าทางและความสูง ขณะที่พูดถึงความสูงของพระนางฯ หลวงปู่บอกว่า สูง ๓ ศอกเดี้ยม ซึ่งเท่ากับ ๑๖๙ เซนติเมตร เธออดสงสัยไม่ได้ จึงพลั้งปากถามหลวงปู่ว่า
    "ครูบาเจ้าทราบได้อย่างไรว่าสูง ๑๖๙ เซนติเมตร"
    หลวงปู่ตอบว่า "เจ้าแม่มาบอกเอง"
    พองานผ่านไปได้ระดับหนึ่ง หลวงปู่ท่านยังได้เมตตาไปตรวจงานถึงที่บ้าน ด้วยความที่เธอยังไม่หมดความสงสัยเพราะเคยได้ยินได้ฟังมานานแล้วว่าหลวงปู่ในอดีตเคยมีความเกี่ยวข้องกับพระนางจามเทวี แต่ก็ไม่กล้าถามตรงๆ เมื่อสบโอกาสเธอจึงกราบขอสุมาเรียนถามหลวงปู่ว่า "หลวงปู่ครูบาเจ้า คือ ฤาษีวาสุเทพ หรือสุเทวฤาษีใช่ก่อเจ้า"
    หลวงปู่มองหน้าแล้วตอบสั้นๆ ว่า "ฮื่อ"
    เธอจึงหายสงสัยว่าทำไมหลวงปู่จึงมีพระรอดสมัยพระนางจามเทวีอยู่ในคำหมากไว้แจกลูกหลานจนเป็นที่อัศจรรย์นัก
    พระรอดในกล่องนม
    เรื่องพระรอดชานหมากมีเรื่องที่ศิษย์จำนวนมากของหลวงพ่อ ประสบกันมามากมายเพียงแต่ต่างวาระโอกาสกันเท่านั้น
    เมื่อปี ๒๕๓๕ ครั้งนั้นหลวงพ่อเดินทางไปกราบสังเวชนียสถาน ในขณะที่พวกเรากำลังเดินทางโดยรถโดยสาร ผู้ช่วยทัวร์บริษัทสยามอินทรชัยการท่องเที่ยวซึ่งเป็นผู้นำทัวร์ ได้ถวายนมกล่องแด่หลวงพ่อ ท่านรับไปฉันจนเกือบหมด แล้วจึงคืนกล่องนมให้คุณสุปรีดา
    ตอนแรกคุณสุปรีดาคิดในใจว่า อยากจะเก็บไว้ให้ลูกเมื่อกลับถึงเมืองไทย แต่เมื่อคิดดูอีกทีอีกหลายวันเหลือเกินกว่าจะได้กลับ จึงเปลี่ยนใจขอดื่มเสียเอง
    ขณะกำลังยกกล่องนม เธอได้ยินเสียงดังเหมือนมีของบางอย่างกลิ้งไปมาอยู่ในกล่องด้วยความอยากรู้ว่ามีอะไรอยู่ข้างใน เธอจึงใช้มีดผ่ากล่องนมจึงได้พบพระรอดองค์เล็กๆ ๑ องค์อยู่ในนั้น
    การเดินทางไปอินเดียเที่ยวนี้ ไม่เพียงแต่คุณสุปรีดาเท่านั้นที่โชคดีได้พระรอด ยังมีอีกหลายคนในคณะที่ได้พระรอด โดยการที่หลวงพ่อยื่นคำหมากที่เคี้ยวออกจากปากส่งให้ศิษย์บางคนที่ยังไม่เคยได้ หรือผู้ที่ยังไม่เชื่อ หากมีวาสนาก็มักจะได้พระรอดเป็นที่อัศจรรย์เสมอ ตลอดการเดินทางในครั้งนั้น มีผู้ได้รับพระรอดจากหลวงพ่อคนละองค์เป็นจำนวนถึง ๑๕ คน ด้วยกัน
    ชานหมากกลายเป็นพระรอด
    ประมาณปี ๒๕๓๘ ขณะที่หลวงพ่อเข้ารับการตรวจสุขภาพและรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ต้องนอนพักที่ศิริราช เพื่อรอผลการตรวจ
    วันนั้นมีลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งทราบข่าว และได้เข้าไปเยี่ยม หลังจากกราบนมัสการหลวงพ่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ทุกคนจะกลับ ต่างก็เห็นหลวงพ่อกำลังหยิบชานหมากแห้งๆ มาไว้ในมือเพื่อที่จะแจก ทุกคนที่ไปกราบท่านในวันนั้นต่างก็ดีใจที่จะได้รับแจกชานหมาก
    ในขณะที่ท่านกำลังส่งให้ถึงมือแต่ละคนนั้น ยังเป็นเพียงชานหมากธรรมดาเท่านั้น พอตกถึงมือแต่ละคนแล้วชานหมากนั้นกลับกลายเป็นพระรอด เรื่องนี้เป็นเรื่องอจินไตย ใครอยากทราบว่าเป็นจริงอย่างไรไปขอดูของจริงได้ที่ คุณสุรชัย วีระมโนกุล ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้พระรอดดังกล่าวมาไว้ในครอบครอง
    เกศากลายเป็นพระธาตุ (โดย สุวรรณา)
    ศิษย์เก่าแก่ของหลวงพ่อท่านหนึ่งซึ่งอยู่ที่กรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งได้นิมนต์หลวงพ่อครูบาชัยวงศ์มาพักที่บ้าน ระหว่างที่เดินทางมาบ้านของเธอ หลวงพ่อได้เมตตามอบหลอดแก้วเล็กๆ ซึ่งบรรจุเส้นเกศาของท่านไว้ มาให้บูชาติดตัว เมื่อเธอได้รับหลอดแก้วบรรจุเส้นเกศาของหลวงพ่อ ก็ได้เก็บไว้เฉยๆ ประมาณ ๔-๕ ปี จึงได้เอาหลอดแก้วนั้นไปเลี่ยมทอง เพื่อใช้ห้อยคอติดตัวเป็นประจำ
    วันหนึ่งได้มีคนรู้จักและสนิทกันมาทักทาย และได้ขอดูหลอดแก้วที่ได้มานั้น เมื่อได้พิจารณาดูสักครู่ ก็ได้ถามว่า หลอดแก้วนี้บรรจุทับทิมเอาไว้ด้วยหรือ เธอรู้สึกแปลกใจที่ถูกถามเช่นนั้น ได้ตอบไปว่าไม่ได้ใส่อะไรเพิ่มเข้าไปเลย ตั้งแต่ได้มา คงมีแต่เส้นเกศาของหลวงพ่อสีเทาขาวบรรจุอยู่เต็มภายในนั้นอย่างเดียว คงยืนกรานเช่นนั้น
    แต่ทว่า เพื่อนคนนั้นได้ท้วงว่าก็เห็นอยู่นี่ไง จึงได้หยิบมาพิจารณาดูอย่างละเอียดอีกครั้ง แล้วก็ต้องแปลกใจและดีใจเป็นอย่างมาก ที่ได้เห็นว่าภายในหลอดแก้วนั้น นอกจากจะมีเส้นเกศาของหลวงพ่อ แล้วยังมีเม็ดทับทิมเล็กๆ อยู่ภายในนั้นด้วย ต่างคิดว่าคงเป็นเพราะบุญฤทธิ์และความเมตตาของหลวงพ่อเป็นแน่ เส้นเกศาของท่านจึงได้กลายเป็นพระธาตุสีทับทิมเหมือนปาฏิหาริย์
    ต่อมาอีกระยะหนึ่ง เส้นเกศาที่เหลือของท่านก็ได้เริ่มกลายเป็นเส้นสีทองไปบ้างแล้วอย่างเห็นได้ชัด โอ้หลวงพ่อท่านศักดิ์สิทธิ์จริงๆ ศิษย์ท่านนั้นเล่าด้วยความปีติใจ
    พระธาตุเสด็จในสำลี (โดย อุบาสิกา จิตสมา)
    เจ้าของพระธาตุ เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าเธอได้มีโอกาสเดินทางไปทำธุระกับหลวงปู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างทางที่หยุดเติมน้ำมัน หลวงปู่ควักเอาสำลีเปล่าๆ ออกมาเช็ดขี้ตา เช็ดเสร็จแล้วท่านก็ส่งให้เธอ จากนั้นเธอก็ได้เก็บติดตัวมาโดยตลอดเพราะปกติเป็นคนชอบกลัวผี จึงเอาสำลีที่ได้พับเก็บไว้ในผ้ายันต์มาตลอดเป็นเวลานับ ๑๐ ปี
    หลังจากหลวงปู่มรณภาพ ได้มีสารวัตรคนหนึ่งซึ่งเคยได้ยินมาว่า เธอมีผ้ายันต์ของหลวงปู่ จึงอยากจะเห็น และได้ขอเธอดู เมื่อเธอเปิดให้ดูก็พบว่ามีพระธาตุจำนวน ๖ องค์อยู่ในสำลี ซึ่งเธอเก็บไว้ในผ้ายันต์ เธอจึงแปลกใจว่าพระธาตุที่ไหนมาอยู่ในสำลีของเธอ ทั้งๆ ที่ตอนแรกที่หลวงปู่ให้มา เป็นเพียงแค่สำลีเปล่าๆ ที่ใช้เช็ดขี้ตาของหลวงปู่ ด้วยบุญบารมีของหลวงปู่แท้ๆ แม้แต่ขี้ตาก็ยังกลายเป็นพระธาตุขึ้นมาได้ และยังมีพระธาตุอื่นๆ เสด็จมารวมอยู่ด้วย
    หลวงปู่คือท่านวังหน้าวิเศษชัยชาญในอดีต
    สมัยก่อนหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา เวลาหลวงปู่จะเข้ากรุงเทพฯ ท่านมักจะแวะที่บ้านอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ท่านหนึ่ง ทั้งขาไป และขากลับ มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงปู่ได้แวะไปที่บ้านอาจารย์ท่านนั้นอีกครั้ง ในช่วงเวลาที่อยู่เป็นการส่วนตัว หลวงปู่ได้ปรารภกับอาจารย์ท่านนั้นว่าหลวงปู่จำเขาได้ เพราะว่าเคยเป็นพ่อลูกกันมาหลายชาติแล้วและเขาก็ได้ติดตามหลวงปู่มาโดยตลอด
    ในขณะที่หลวงปู่พูด ท่านก็ได้หยิบกระดาษมาวาดรูปบุคคลสำคัญท่านหนึ่งในอดีตซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์ของกษัตริย์ไทย ท่านวาดเสร็จก็ยื่นให้อาจารย์ท่านนั้นดูแล้วถามว่า
    หลวงปู่ถามว่า “รู้จักไหมว่าใคร”
    อาจารย์ท่านนั้น “ไม่ทราบครับครูบา”
    หลวงปู่ตอบว่า “หลวงปู่ในอดีต”
    อาจารย์ท่านนั้นถามว่า “ใครครับครูบา”
    หลวงปู่ตอบสั้น ๆ ว่า “วังหน้าวิชัยชาญ”
    เนื้อหาบางส่วนจาก: หนังสือพระชัยวงศานุสสติ
    พรหม วัดสะแก น.jpg พรหม วัดสะแก ล.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2022
  2. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    #################################################################
    39.พระนางพญา หายากๆมาอีกแล้ว เนื้อขาวฝังพลอยเสก พระอาจารย์ชาญณรงค์ อภิชิโต สร้างแค่ 707 ชุด หมดเกลี้ยงตั้งแต่ยังไม่ประชาสัมพันธ์ หายากแค่ไหน คนที่ตามหาคงทราบดี ไม่ต้องอธิบายมาก
    1f4cc.png พระนางพญา พระอาจารย์มหามานิตย์ วัดเงินบางพรหม พระอารามหลวง เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่คนถามหามาเพียบ ไม่ต้องถามหา แทบไม่มีหมุนเวียน แต่....มีมาแบ่งให้ ราคา 1,250 บาท พี่ j999 จองครับ รายละเอียดการจัดสร้าง อ่านด้านล่างข้อความ

    ####################################################################
    ประวัติการสร้าง และวิธีบูชา
    พระนางพญาพลายคู่สิริโภคินทร์(ผู้เป็นใหญ่แห่งโภคทรัพย์และวาสนา) พระครูวิธานสุตสุนทร วัดเงินบางพรหม
    ในวาระศุภฤกษ์ในรอบร้อยปีที่ดาวทั้งหลายโคจรจับคู่กันได้สมพลถึง 4 คู่ คู่สมพลนี้ให้คุณอย่างมาก ในด้านอุปภัมภ์ค้ำชู คุ้มโทษภัย หนุนส่งดวงชะตา ให้ประสบความเจริญรุ่งเรื่องสำเร็จสมปรารถนาพระนางพญาพลายคู่สิริโภคินทร์นี้ ได้ทำการบวงสรวงบอกกล่าวครูบาอาจารย์เจ้าของวิชาและมวลสารตั้งต้นทั้งหลายในวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ เวลา ๔.๐๐ น. และบวงสรวงบูชาพระรัตนตรัย บอกกล่าวครูบาอาจารย์ เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย พร้อมทั้งจุลเจิมแม่พิมพ์ กดพระนางพญาพลายคู่ฯ ภายในฤกษ์ของวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ โดยมีมวลสารประกอบไปด้วยหลายชนิด ซึ่งล้วนแล้วแต่ประเมินค่ามิได้

    ๑.ผงไม้ตะเคียนอินทภาณี เสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช
    ๒.ผงนางพญาตานี
    ๓.ผงยอไม่ตกดิน
    ๔.ผงมวลสารทำพระนางพญาพลายคู่ หลวงปู่แก้ว วัดระหารไร่
    ๕.ผงพรายกุมาร วัดควนนาเเค
    ๖.ผงพรายกุมาร วัดระหารไร่
    ๗.ลูกอมมหาจินดามณี พระปลัดปาน วัดตุ๊กตา
    ๘.ผงอิทธิเจ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์
    ๙.ผงมวลสารหลวงพ่อปลอด วัดปากทะเล
    ๑๐.ผงมวลสารหลวงปู่เหลือง วัดตาด้วง
    ๑๑.ผงมวลสาร หลวงปู่จันทร์ วัดโฉลกหลำ
    ๑๒.ผงมวลสารหลวงปู่พลอย วัดเงิน ตลิ่งชัน
    ๑๓.ผงมวลสารสร้างพระสมเด็จ วัดระฆัง ครบรอบ ๑๐๐ ปี
    ๑๔.ผงลบ หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
    ๑๕.ผงปถมังแฝด
    ๑๖.ผงมหาวนมหาเวียน
    ๑๗.ผงมวลสารอาถรรพ์ทางเมตตา โภคทรัพย์ สายลังกา
    ๑๘.ผงอาถรรพ์ทางเมตตา เสน่ห์
    ๑๙.ผงพระนางพญา หลวงปู่กลิ่น วัดบางปรือ
    ๒๐.ผงมวลสารพระขุนแผนเนื้อหอม พระครูวิธานสุตสุนทร
    ๒๑.ผงมหาราช พระครูวิธานสุตสุนทร
    ๒๒.ผงอิทธิเจมอญ พระครูวิธานสุตสุนทร
    ๒๓.ผงว่าน ๑๐๘ พระครูอินสรวิสุทธิ์
    ๒๔.ผงมวลสารพระมงคลมหาลาภ วัดสารนาถ
    ๒๕.ผงมวลสารพระกัจจายน์ ท่านพ่อโต วัดเขาบ่อทอง
    ๒๖.ผงมวลสารทำพระหลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง
    ๒๗.ผงมวลารแท่งยา ท่านพ่อโต วัดเขาบ่อทอง
    ๒๘.ผงนะอิทธิเจ
    ๒๙.ผงชันโรงต้นคูณ
    ๓๐.ผงกาฝาก ขนุน มะยม คูณ รัก กาหลง
    ๓๑.ผงพญาจิ้งจกคำ
    ๓๒.ผงมวลสารพระครูบากองคำ วัดดอนเปา
    ๓๓.น้ำมันพระลักษณ์ พระราม พระครูวิธานสุตสุนทร
    ๓๔.น้ำมันมหาราช พระครูวิธานสุตสุนทร
    ๓๕.ผงมวลสารทำพระสายภาคตะวันออก
    ๓๖.ผงมวลสารทำพระ หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า
    ๓๗.ผงมวลสารทำพระ
    หลวงปู่บุญ วัดบ้านนา
    ๓๘.ผงมวลสารทำพระ
    หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ
    ๓๙.ผงพลอยเสกคุณแม่บุญเรือน๔๐.ผงนะหน้าทอง
    หลวงปู่ดี วัดเทพากร
    ๔๑.ผงบัวบาน เมืองน่าน
    ๔๒.ผงประชุมธาตุ ๔
    ๔๓.ผงตะไบกะลาตาเดียว หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร
    ๔๔.คำข้าวก้นบาตร พระกรรมฐาน
    ๔๕.ผงจินดามณี หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน
    ๔๖.ยาวาสนาจินดามณี หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
    ๔๗.ยาวาสนาจินดามณี
    หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร
    ๔๘.ยาวาสนาจินดามณีหลวงปู่เล็ก วัดทำนบ
    ๔๙.ผงตะไบทองคำ ผงไบเงินแท้
    ๕๐.สีผึ้งหลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม
    ๕๑.เครื่องหอมและ น้ำมันหอม ตามตำราการสร้างพระแต่โบราณ
    และมวลสารทางเมตตาโภคทรัพย์ อีกมากกว่า ๑๐๐ ชนิด
    ท่านพระครูวิธานสุตสุนทร ได้เริ่มอธิฐานจิตพระนางพญาพลายคู่นับตั้งแต่วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ จนถึงการบวงสรวงสมโภชน์และอธิฐานจิตครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑

    ****************************************************************
    2728.png พระรุ่นนี้นะครับ มีประสบการณ์หลายอย่างตั้งแต่ตอนไปหามวลสาร ตอนทำพิธีบวงสรวง มีนิมิตมงคลหลายอย่าง เทพ พรหม ครูบาอาจารย์มากันเยอะมาก(ฟังมาอีกที 1f605.png ) แต่เอาหลักๆเลยคือ ถ้าใครมีไว้ผมแนะนำให้ติดตัวทุกคน พี่ๆที่ทักผมมาว่าบูชาอะไรดี ผมก็จะแนะนำพระรุ่นนี้เสมอๆ เพราะเป็นของที่คนเอาไปบูชาจริงๆ มีประสบการณ์มากนะครับ ทางเรื่องลาภ เมตตา ผู้ใหญ่
    อุปภัมถ์ ปัญหาเฉพาะหน้า อีกทั้งยังคุ้มครองโทษภัยต่างๆได้ จากที่ได้ยินได้ฟังมาก็คงต้องบอกว่า ตามอธิฐานไปตามจริตของเจ้าของผู้บูชา
    2728.png *อีกอย่างนึงที่ลืมไม่ได้เลยพระอาจารย์ท่านเน้นย้ำอยู่เสมอ คือ การทำใจให้สงบดังใบฝอยที่ให้ไปพร้อมกับท่านที่ได้บูชาไปตั้งแต่ออกมาให้บูชาว่า
    *****************************************************************
    2728.png " ให้สำรวมจิต หายใจเข้าว่าพุท หายใจออกว่าโธ สามครั้ง แล้ววางจิตไว้ที่พุทโธน้อมจิตระลึกถึงพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.............ผู้ใดได้ไปหมั่นปลุกทุกวัน ค้ำเช้า ให้บังเกิดนิมิตนั้นแหละดี "
    ****************************************************************
    2728.png เพียงแค่อ่านใบฝอยเท่านี้ก็จะรู้ได้ว่าท่านให้ความสำคัญกับความสงบของจิตใจได้ดีเพียงไหน ส่วนเรื่องผลที่บังเกิด ก็เพราะครูบาอาจารย์เจ้าของวิชาที่เชิญมาประสิทธิอันนี้เป็นเรื่องจริตของผู้บูชาแล้วละครับว่า ปรารถนาอะไร แล้วตั้งใจจะขอครูบาอาจารย์ให้ท่านอำนวยอวยชัยทางด้านไหน เท่านี้และเราก็ออกแรงบ้าง แต่ไม่เหนื่อยแล้วครับ เพราะมีคนหนุนหลัง 1f60a.png
    มาดูจำนวนการจัดสร้างกันบ้างนะครับ
    1.เนื้อมวลสารล้วน (สีดำ) ตะกรุดทองคำ ตะกรุดเงิน จำนวน 19 องค์
    2.เนื้อแก่มวลสารล้วน (สีเหลือง) ตะกรุดทองคำ จำนวน 90 องค์
    3.เนื้อแก่มวลสารหนุนดวง (สีเขียว) ตะกรุดเงิน จำนวน 188 องค์ (ชุดนี้ออกให้บูชาในชุดกรรมการ)
    4.เนื้อแก่มวลสารทางเมตตามหานิยม (สีชมพู) จำนวน 182 องค์โดยแบ่งออกเป็น
    -สีชมพู บรอนทอง ฝั่งพลอย ตะกรุดเงิน จำนวน 125 องค์
    -สีชมพู หน้ากากเงิน หลังแบบ ตะกรุดเงิน 11 องค์
    -สีชมพู หน้ากากเงิน ตะกรุดเงิน พลอย 6 องค์
    -สีชมพู หน้ากากเงิน หน้ากากทอง 6 องค์
    -สีชมพู หน้าโรยไม้หลักเมืองนคร หลังตะกรุดเงิน ชนวนเงิน พลอย 20 องค์
    -สีชมพู หน้าโรยลูกปัดทวาราวดี หลังตะกรุดเงิน พลอย 14 องค์
    5.เนื้อขาว จำนวน 910 องค์ โดยแบ่งออกเป็น
    -เนื้อขาวทาบรอนทองหน้าหลัง 47 องค์
    -เนื้อขาวทาบรอนทอง ตะกรุดเงิน 134 องค์
    -เนื้อขาวโรยผงทางหนุนดวง 22 องค์
    -เนื้อขาว ฝั่งพลอย 707 องค์

    S__7528502.jpg S__7528504.jpg S__7528505.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2022
  3. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ##40.ทองแดงรมดำโบราณ สร้างเพียง 999 เหรียญเท่านั้น แทบจะไม่มีเห็นหมุนเวียนกันเลยในท้องตลาดสนามพระหายากมากๆ ราคา เหรียญละ 1,500 บาท มี 3 เหรียญ ##หมายเหตุ##เหรียญโค๊ตนัมเบอร์ 450, 461, 483 สวยเดิมทุกเหรียญครับ##

    เหรียญเฉลิมอายุ หลังยันต์หนุมานยกคันศร หลวงปู่เล็ก จนฺทสโร แทบไม่มีหมุนเวียน กันสักเท่าไหร่ ตอนเปิดจองสร้างตามจำนวนจองเท่านั้น ไม่ว่าแอดมินหรือสมาชิก มีสิทธิ์เท่ากันหมด ตามรายชื่อจำนวนจองในตารางจองและจำนวนสร้าง ไม่มีหมกเม็ด จัดสร้างเพียง 999 เหรียญ มีเจ้าของทุกคน

    ยันต์หนุมานยกคันศร จัดสร้างตามตำราพิชัยสงคราม ของหลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ จากตำราเล่มจริงเล่มเก่า เป็นหนึ่งในวิชาหนุมาน ในจำนวน 16 ตน สำคัญได้พระเถระผู้ปลุกเสก มีตบะบารมียิ่ง และ มีพระเถระในจังหวัดภาคอีสาน และ กทม. เคยเมตตาดูเหรัยญรุ่นนี้ กล่าว ตรงกันว่า โดดเด่นมากด้านหนุนดวงชะตา ด้วยกำลังบารมีของหลวงปู่เล็กเป็นสำคัญ และกำลังแรงครูจากตำราการสร้างเหรียญ เกื้อหนุนส่งเสริมกัน ถือเป็นเหรียญรุ่นสุดท้ายและท้ายสุด ท่านเมตตาเสกให้ หลังจากนั้นสองเดือนท่านก็ละสังขาร
    ...cr.เบ็น วิเศษฯ
    DSC_3022.JPG DSC_3023.JPG 20220531_091733.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2023
  4. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    41.พระอู่ทองจงอางศึก แบ่งปัน องค์ละ 500.- พร้อมส่งครับ มีแบ่ง 2 องค์

    #ประวัติการสร้างโดยสังเขป
    พระอู่ทองแจกทหาร รุ่นจงอางศึก ๒๕๑๐-๒๕๑๑
    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดพระธาตุฯ สุพรรณบุรี
    อันเป็นที่ค้นพบพระกรุ "พระผงสุพรรณ" และ ''พระมเหศวร''
    ซึ่งเป็นหนึ่งใน ๕ พระชุดเบญจภาคี เนื้อผง และ เนื้อชิน
    ท้าวความปฐมบทเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๐
    ประเทศไทยได้จัดส่งกองกำลังทหาร "หน่วยจงอางศึก"
    เข้าร่วมรบสมทบกับกองกำลังสหประชาชาติ
    ในสงครามเวียดนามที่ประเทศเวียดนามใต้
    ในการนี้ทำให้ ''จอมพลถนอม กิติขจร''
    ได้ มีคำสั่งให้ดำเนินการ จัดสร้างพระอู่ทอง "รุ่นจงอางศึก"
    นี้โดยเฉพาะเพื่อแจกให้ทหารที่ไปรบเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ
    หลวงปู่โพธิ์ เจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ
    ได้เป็นผู้รับดำเนิดการจัดสร้าง "พระอู่ทองรุ่นจงอางศึก"
    ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ครั้งที่สองในปี ๒๕๑๑
    ''พระเนื้อดินยุคต้น''
    มีการรวบรวมพระกรุเนื้อดินเนื้อผงฯที่ชำรุดแตกหัก
    มาเป็นส่วนผสมหลักในการจัดสร้างพระชุดนี้
    ๑.พระผงสุพรรณ กรุวัดพระธาตุฯ
    ๒.พระกรุวัดบ้านกร่าง
    ๓.พระกรุถ้ำเสือ
    ๔.พระกรุสำปะซิว
    ๕.พระกรุบางยี่หน
    ๖.พระกรุวัดพระรูป
    ๗.ชิ้นส่วนที่แตกหักพระสมเด็จฯ
    พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่ ๒๕๐๐
    ซึ่งรับบริจากมาในสมัย ๒๕๐๐-๒๕๑๐ พระสมเด็จบางขุนพรหมที่หักยังไม่มีราคามากนักแต่จำนวนมากน้อยเพียงใด
    ไม่สามารถทราบได้และยังมีพระผงเก่าๆ อีกหลายอย่าง
    #มวลสารวัสดุที่นำมาใช้ผสม
    ๑.ผงวิเศษฯ ของพระเกจิคณาจารย์
    ๒.เกสรดอกไม้มงคลหลายชนิดฯ
    ๓.ว่านศักดิ์สิทธิ์ชนิดต่างๆ
    ๔.ดินกองละเอียด และ ดินสถานที่สำคัญฯ
    ในจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อนำมาผสมเป็น มวลสารหลัก
    ๕.แร่วิเศษต่างๆ และ ของทนสิทธิ์ฯ
    ''พระอู่ทองเนื้อชิน''
    #กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อชิน
    ๑.พระกรุเนื้อชินที่ชำรุดของทางวัดพระธาตุฯ
    ๒.ตะปูสังขวานรที่ใช้ตอกเสาโบสถ์
    ๓.พระกรุเนื้อชินต่างๆ เท่าที่จะหามาเป็นชนวนได้
    นำมวลสารเหล่านี้มาเป็นชนวนหล่อในการสร้าง
    ได้นำมาเป็นมวลสารหลักในการสร้าง ''เนื้อชินตะกั่ว''
    ในความเข้าใจคาดว่าที่ต้องเป็นเนื้อชินตะกั่วเพราะว่า
    ผู้สร้างต้องการให้ได้พระจำนวนมากขึ้น จึงนำตะกั่วมา
    ผสมเพื่อให้ได้พระเพิ่มขึ้นเพื่อแจกเฉพาะบุคคล
    ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และ กรรมการผู้ร่วมจัดสร้างในขณะนั้น
    พุทธลักษณะคล้ายคลึงกับพระสุพรรณยอดโถเดิมฯ
    ด้านหลังเป็นรูป ''องค์พระปรางค์'' อันเป็นสัญญาลักษณ์
    ของพระรุ่นนี้ จำนวนการสร้าง ๑,๐๐๐ องค์เศษฯ
    #พิธีมหาพุทธาภิเษก
    เมื่อวันที่ ๑๓ พ.ค. ๒๕๑๐
    ได้มีเชิญพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังร่วมปลุกเสก
    พระชุดจงอางศึกรวมทั้งหมด ๖๙ รูป
    รายชื่อพระเกจิคณาจารย์ทั้งหมดที่ร่วมปลุกเสก มีดังนี้
    สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) วัดพระเชตุพนฯ เป็นประธานพิธีฯ
    ๑.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
    ๒.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
    ๓.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
    ๔.หลวงพ่อคํา วัดหน่อพุทธางกูร จ.สุพรรณบุรี
    ๕.หลวงพ่อใจ วัดวังยายหุ่น จ.สุพรรณบุรี
    ๖.หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ จ.สุพรรณบุรี
    ๗.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
    ๘.หลวงพ่อดี วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี
    ๙.หลวงพ่อโต๊ะ วัดลาดตาล จ.สุพรรณบุรี
    ๑o.หลวงพ่อเจริญ วัดธัญเจริญ จ.สุพรรณบุรี
    ๑๑.หลวงพ่อบุญ วัดโคกโคเฒ่า จ.สุพรรณบุรี
    ๑๒.หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง จ.สุพรรณบุรี
    ๑๓.หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
    ๑๔.หลวงพ่อตุ๊ วัดท่าเจริญ จ.สุพรรณบุรี
    ๑๕.หลวงพ่อเผื่อน วัดไทรย์ จ.สุพรรณบุรี
    ๑๖.หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์เจริญ จ.สุพรรณบุรี
    ๑๗.หลวงพ่อเจิม วัดกุฎีทอง จ.สุพรรณบุรี
    ๑๘.หลวงพ่อเลียบ วัดช่องลม จ.สุพรรณบุรี
    ๑๙.หลวงพ่อวิจิตร วัดบ้านทึง จ.สุพรรณบุรี
    ๒o.หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี
    ๒๑.หลวงพ่อสุบิน วัดท่าช้าง จ.สุพรรณบุรี
    ๒๒.หลวงปู่นาถ วัดศรีโลหะ จ.กาญจนบุรี
    ๒๓.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    ๒๔.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี
    ๒๕.หลวงปู่โต๊ะ วัดสระเกษ จ.อ่างทอง
    ๒๖.หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธ์ จ.อ่างทอง
    ๒๗.หลวงพ่อสาย วัดท้องคุ้ง จ.อ่างทอง
    ๒๘.หลวงพ่อไวทย์ วัดบรมวงศ์ จ.อยุธยา
    ๒๙.หลวงพ่อด่วน วัดกล้วย จ.อยุธยา
    ๓o.หลวงพ่อชม วัดเขาดิน จ.อยุธยา
    ๓๑.หลวงพ่อทิม วัดพระขาว จ.อยุธยา
    ๓๒.หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย จ.อยุธยา
    ๓๓.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.อยุธยา
    ๓๔.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
    ๓๕.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา
    ๓๖.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    ๓๗.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
    ๓๘.หลวงปู่เพิ่ม วัดสรรเพชร จ.นครปฐม
    ๓๙.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
    ๔o.พระอาจารย์เจียม วัดไร่ขิง จ.นครปฐม
    ๔๑.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร
    ๔๒.หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร
    ๔๓.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร
    ๔๔.หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร
    ๔๕.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
    ๔๖.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี จ.กรุงเทพฯ
    ๔๗.หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตาราม จ.กรุงเทพฯ
    ๔๘.หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง จ.กรุงเทพฯ
    ๔๙.หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร จ.กรุงเทพฯ
    ๕o.หลวงปู่เพิ่ม วัดสามปลื้ม จ.กรุงเทพฯ
    ๕๑.หลวงพ่อผ่อง วัดสามปลื้ม จ.กรุงเทพฯ
    ๕๒.หลวงพ่อหวล วัดพิกุล จ.กรุงเทพฯ
    ๕๓.หลวงพ่อบุญนาค วัดเศวตฉัตร จ.กรุงเทพฯ
    ๕๔.หลวงพ่อผล วัดหนังบางขุนเทียน จ.กรุงเทพฯ
    ๕๕.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร จ.กรุงเทพฯ
    ๕๖.หลวงพ่อเฮง วัดกัลยาณมิตร จ.กรุงเทพฯ
    ๕๗.หลวงพ่อบุญมี วัดกลางอ่างแก้ว จ.กรุงเทพฯ
    ๕๘.หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม จ.ราชบุรี
    ๕๙.หลวงปู่สิมมา วัดบ้านหมอ จ.สระบุรี
    ๖o.หลวงพ่อโอด วัดโคกเดื่อ จ.นครสวรรค์
    ๖๑.หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว จ.นครสวรรค์
    ๖๒.หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
    ๖๓.หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บําเพ็ญบุญ จ.ชัยนาท
    ๖๔.หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี
    ๖๕.พระอธิการถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
    ๖๖.หลวงพ่อทบ วัดชนแดน จ.เพชรบูรณ์
    ๖๗.พระอาจารย์สําราญ วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี
    ๖๘.หลวงพ่ออบ วัดถ้ำแก้ว จ.เพชรบุรี
    ๖๙.หลวงพ่อนิ่ม วัดเขาน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
    เมื่อประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกครั้งแรกแล้ว
    กองบัญชาการทหารสูงสุดโดยคำสั่งของ ''จอมพลถนอม กิตติขจร''
    ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เดินทางมารับมอบพระ
    จำนวน ๒๕,๗๐๐ องค์ เพื่อแจกแก่ทหารอาสาสมัคร
    เพื่อเดินทางไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม นอกจากนี้
    ทางวัดพระศรีมหาธาตุฯ จังหวัด สุพรรณบุรี
    ยังนำพระที่เหลือเข้าประกอบพิธีพุทธาภิเษกฯ
    อีกสองครั้งในวันที่ ๒-๑๐ มี.ค. ในปี พ.ศ.๒๕๑๑
    และวันที่ ๑๓ เม.ย. ๒๕๑๑ อีกครั้งในปีเดียวกัน
    นำพระที่เหลือแจกประชาชน และ ข้าราชการ
    ทั่วไปในจังหวัดพระส่วนนึงพระเกจิคณาจารย์
    ได้นำกลับไปแจกลูกศิษย์และนำพระบรรจุ
    กรุไว้ตามวัดต่าง ๆ ตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นการ
    สืบศาสนาต่อไปฯ ในภายหน้า
    ทางวัดพระธาตุฯได้มีการนำพระอู่ทองแจกทหาร
    ที่เหลือทั้งหมดประมานการได้ว่า ๑๘๔,๐๐๐ องค์
    บรรจุไว้ในองค์พระปรางค์เจดีย์ ณ วัดพระธาตุฯ
    จังหวัดสุพรรณบุรี
    เมื่อวันที่ ๒๘ ม.ค. พ.ศ. ๒๕๑๒ และยังไม่มีการเปิดกรุ
    จนถึงทุกวันนี้
    สร้างครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๐
    บันทึกระบุจำนวนไว้ ๒๕,๗๐๐ องค์
    แจกจ่ายให้ ''ทหารอาสาสมัครรุ่นจงอางศึก''
    ไปรบร่วมสงครามเวียดนาม จำนวน ๓,๓๒๕ องค์
    สร้างครั้งที่สองในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ องค์
    แจกจ่ายให้แก่ข้าราชการและหน่วยงานต่างๆทั่วประเทศ
    พระอู่ทองแจกทหาร ''รุ่นจงอางศึก'' ๒๕๑๐-๒๕๑๑
    มีประสบการณ์และอิทธิปาฏิหาริย์มากมายใน ''สงครามเวียดนาม''
    หน่วยรบอาสาสมัคร ''รุ่นจงอางศึกทหารของไทย'' ต่างพบเจอ
    ประสบการณ์เชื่อมั่นในพุทธคุณและมั่นใจเป็นอันมาก
    ไม่ว่าจะโดนยิง!! หรือ โดนกับระเบิด ต่างก็รอดจากพญามัจจุราช
    มาได้อย่างน่าอัศจรรย์จนชื่อของทหารไทยได้รับสมยานามว่า
    ''หน่วยรบทหารผีฆ่าไม่ตาย'' จากสงครามเวียดนาม
    พระอู่ทองแจกทหารจงอางศึก รุ่นนี้จึงเป็นของดีที่มี พุทธคุณทุกด้านฯ
    แคล้วคลาด,คงกะพันชาตรี,เมตตามหานิยม,มหาอุตม์,โชคทรัพย์
    เป็นพระดี ราคาถูก เป็นพระที่น่าสะสม และ บูชาติดตัวอีก ๑ รุ่น
    Cr.น้ำ เรียบเรียง
    DSC_3026.JPG DSC_3027.JPG
    เปิดดูไฟล์ 6080884 เปิดดูไฟล์ 6080885 S__7520295.jpg S__7520296.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2023
  5. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,983
    ค่าพลัง:
    +5,390
    ขอจองครับ
     
  6. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ###42.เหรียญหลวงพ่อเฒ่า วัดคังคาว ปี 2519 บล็อคเท้าตุ่ม แบ่งปัน 900.- พร้อมส่ง พี่ shaj จอง ครับ###

    เหรียญนี้ออกปี๒๕๑๙ หลังจากที่ทำเหรียญเสร็จ ครูเจน ซึ่งเป็นครูโรงเรียนวัดคังคาว ได้นำเหรียญมาให้หลวงพ่อกวยปลุกเสกก่อน จากนั้น ทางวัดได้จัดพิธีพุทธาภิเษกที่วัด โดยมีเกจิเก่งมาร่วมพิธีหลายรูป เช่น หลวงพ่อกวย หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดคังคาว หลวงพ่อป่วน วัดโพธิ์งาม เป็นต้น สำหรับหลวงพ่อกวย ถือว่า เหรียญนี้ ท่านปลุกเสกให้ถึงสองรอบ

    ประวัติหลวงพ่อเฒ่า วัดคังคาว (วัดค้างคาว)
    หลวงพ่อเฒ่า เป็นพระสมัยรัชกาลที่๔ ชื่อจริงคือ หลวงพ่อปั้น เเต่ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อเฒ่า เป็นเจ้าอาวาสรูปเเรกของวัดคังคาว วัดนี้อยู่ไม่ไกลจากวัดหลวงพ่อกวยมากนัก เป็นพระรุ่นพี่ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ทั้งสองรูปได้ศึกษาวิชาจากตำราเดียวกัน เเละมีการเเลกเปลี่ยนวิชากันด้วย วัตถุมงคลที่สำคัญของหลวงพ่อเฒ่า คือ ตะกรุดโทน ผ้าเเดง โดยเฉพาะผ้ายันต์นั้น นับเป็นผืนเดียวในเมืองไทยที่มีการตัดอักขระขายเป็นตัว ผ้ายันต์ที่ว่านั้นคือ ผ้ายันต์ค่ายกล ซึ่งยังมีชื่อเรียกเต่างออกไป ทั้ง ผ้ายันต์อาฬวกยักษ์ ผ้ายันต์จักรณีย์
    ลักษณะของผ้าจะเป็นตารางทั้งผืนโดยมีอักขระสี่ตัว อะปะจะคะ เดินสลับกันทั้งผืนเป็นค่ายกล ยันต์สี่ตัวของหลวงพ่อเฒ่านั้น มีหลายเกจิที่นำมาใช้สืบทอดต่อจากหลวงพ่อเฒ่า อาทิเช่น หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลวงพ่อป่วน วัดโพธิ์งาม หลวงพ่อฉาบ วัดคลองจันทร์ หลวงพ่อเจ้ย วัดห้วยเจริญสุข

    สำหรับหลวงพ่อกวยนั้น ท่านเกิดไม่ทันหลวงพ่อเฒ่า เเละท่านก็สืบทอดยันต์นี้ โดยใช้จารเครื่องราง เเละทำผ้ายันต์ค่ายกลเเบบหลวงพ่อเฒ่า มีทั้งเขียนมือเเละพิมพ์ หลักฐานคือ ยันต์ค่ายกลที่หลวงพ่อได้คัดลอกไว้ในตำราเเละสมุดบันทึกเก่า ๆ ของท่านสามรถยืนยันได้อย่างดี

    Img0053.jpg Img0054.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2022
  7. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    รับทราบครับพี่
     
  8. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,904
    ค่าพลัง:
    +6,825
    ขอจองครับ
     
  9. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    รับทราบการจองครับ
     
  10. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ##43.พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ พระปางลีลา เนื้อดิน
    แบ่งปัน 800.- พร้อมส่ง##


    เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทยและเป็นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้วยและนอกจากนี้ยังได้มีการสร้างพระพุทธลีลา สูง 2,500 นิ้ว (62.50 ม.) บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ที่ตำบลศาลายา อ.นครปฐม (พุทธมณฑลปัจจุบัน) กับได้สร้าง พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ทั้งหลายขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดในการจัดสร้างดังต่อไปนี้
    • คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
    • นายพลตำนวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ
    คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
    มีหน้าที่จัดสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อแจกจ่ายและสมนาคุณแก่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงิน สมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑล
    คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้จัดการดำเนินงานไปแล้ว และจะจัดการต่อไปตามลำดับนี้

    1.คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้อนุมัติ เงินทุนในการสร้างพระเครื่องครั้งนี้

    เป็นเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) เพื่อทำการสร้างพระ 2 แบบ คือ
    ก. พระเนื้อชิน อันประกอบด้วย พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำผสมด้วยนวโลหะ คือ ชินหนัก 1 บาท
    ,เจ้าน้ำเงินหนัก 2 บาท ,เหล็กละลายตัวหนัก 3 บาท เหล็กบริสุทธิ์ หลัก 4 บาท ,ปรอท หนัก
    5 บาท ,สังกะสีหนัก 6 บาท ทองแดงหนัก 7 บาท ,เงินหนัก 8 บาท, ทองคำหนัก 9 บาท,
    ตลอดจนแผ่นทองแดง,ตะกั่ว,เงินที่พระอาจารย์ต่างๆ เกือบทั้งราชอาณาจักรได้ลงเลขยันต์คาถา
    ส่งมาให้และเศษชนวนหล่อพระในพิธีแห่งอื่นๆ รวมหล่อผสมลงไปในคราวนี้ด้วย

    ข.พระผง (ดิน) ผสมด้วยผงเกษรดอกไม้ 108 อย่าง ตลอดจนผสมด้วยดินหน้าพระอุโบสถ
    จากพระอาจารย์ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรและผงพุทธาคมต่างๆ ที่บรรดาพระอาจารย์ได้มอบให้มา
    รวมทั้งพระผงต่างๆ แบบของโบราณและของพระอาจารย์ต่างๆ ที่ได้สร้างไว้แต่โบราณกาล
    อันได้ส่งอุทิศมาให้ผสมรวมเป็นผงในครั้งนี้ด้วยมากมายหลายแห่ง
    ลำดับสี การเผาดินพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ จากเริ่มจนถึงสุดท้าย สีจะเข้มจนดำไปในที่สุด

    2. จำนวนพระที่สร้างในครั้งนี้
    ก. พระเนื้อชิน 2,421,250 องค์
    ข. พระเนื้อดิน 2,421,250 องค์

    รวมทั้ง 2 ชนิด เป็นพระ 4,842,500 องค์

    ค. สร้างพระพุทธรูปบูชาทองคำแบบพุทธลีลา ลักษณะเดียวกับพระองค์ใหญ่ ซึ่งจะสร้างที่
    พุทธมณฑล สูงองค์ละ 9 ซ.ม. 4 องค์ ทองคำหนักรวม 55 บาท พระพุทธรูปทองคำนี้
    ได้ให้กองพระษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นผู้จัดสร้าง

    3. การสร้างพระเครื่องนี้ ได้ลงมือทำพิธีปลุกเสกสรรพสิ่งตลอด 3 วัน 3 คืน ในพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร มีสมเด็จพระราชาคณะ , เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสก บรรจุพุทธาคมครบ 108 รูป

    1. พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    6. พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    7. พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    8. พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    9. พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร
    11. พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
    12. พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร
    13. พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร
    14. พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    16. พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    17. พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    18. พระครูวินัยธรเฟื่อง อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร
    19. พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร
    20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร
    21. พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร
    22. พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรง***บ จ.พระนคร
    23. พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร
    24. พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร
    25. พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี
    26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี
    27. พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี
    28. พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี
    29. พระครูทิวากรคุณ อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
    30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
    31. พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    32. พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    33. พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี
    34. พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    35. พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    36. พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    37. พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี
    38. พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี
    39. พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี
    40. พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี
    41. พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี
    42. พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี
    43. พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี
    44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี
    45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี
    46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
    47. พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
    48. พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
    49. พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
    50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
    52. พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
    53. พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    54. พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
    55. พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
    56. พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ จ.ปทุธานี
    57. พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
    58. พระครูวิสุทธิรังษี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
    59. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
    60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
    61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
    62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
    63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
    64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ
    65. พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
    66. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
    67. พระสทุธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
    68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
    69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
    70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
    71. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
    72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
    73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี

    74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
    75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
    76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ องเมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
    77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
    78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
    80. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
    81. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    82. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
    83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
    84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
    85. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
    86. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
    87. พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
    88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
    89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
    90. พระครูจันทร (อ.ชุมแสง จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง ค์
    91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
    94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
    95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
    98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา

    99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
    100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
    102. พระครูศุข วัดโตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
    103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
    104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
    105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
    106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
    107. พระครู*** วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
    108. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

    จำนวนการสร้างทั้งหมด ๔ เนื้อ
    1.เนื้อทองคำ สร้างจำนวน 2,515 องค์
    2.เนื้อเงิน สร้างจำนวน 30 องค์
    3.เนื้อนาก สร้างจำนวน 300 องค์
    4.เนื้อชิน สร้างจำนวน 2,421,250 องค์
    5.เนื้อดินเผา จำนวน 2,421,250 องค์ ลำดับสี การเผาดินพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ จากเริ่มจนถึงสุดท้าย สีจะเข้มจนดำไปในที่สุด

    -----------------------
    เนื้อดินเผา
    การแยกพิมพ์เบื้องต้นได้แยกไว้ 5 พิมพ์
    1. พิมพ์สามเดือย (ด้านหลังมีวงกลม 3จุด)
    2. พิมพ์ริ้วจีวร
    3. พิมพ์ 2จุด (ด้านหน้ามีวงกลม 2จุด)
    4. พิมพ์วงแหวน
    5. พิมพ์ฐานแซม
    25 พศว เนื้อดิน น.jpg 25 พศว เนื้อดิน ล.jpg
     
  11. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ##44.เหรียญรุ่นแรก ปี 2500 พระครูปัญญา สารคณี (หลวงพ่อบัว)
    วัดแสวงหา แบ่งปัน 8,500.- พร้อมส่ง พี่ j999 จองครับ##


    เหรียญรุ่นแรกของท่าน ปี 2500
    อันนี้เป็นเหรียญประสบการณ์ตรงของผมเลยครับ

    วัตถุมงคลของหลวงพ่อนั้นจะแปลกอยู่อย่างนึงก็คือว่า ถ้าหลุด หล่น หรือว่าเป็นอันว่าต้องหายจากเจ้าของนั้น (ส่วนตัวเจอแต่รุ่น 2500 กับแหวน) ไปรับคือที่หลวงพ่อไ้ด้แต่จะต้องทนฟังท่าน บ่น ซักหน่อย อย่าง 2500 เหรียญแรกของผมที่เคยได้เล่าให้ฟังว่าหายตอนเข้ามาเรียนที่ กทม ใหม่ๆ นั้นก็พอหล่นแล้วก็ไม่รู้สึกตัวว่าหล่น(ผมใช้ตัวหนีบอยู่ด้านในเสื้อ) ไม่มีเสียงกระทบพื้นหรือว่าอะไร คือหล่นแล้วไม่ต้องหาเลย ส่วนยายผมเคยเล่าให้ฟังว่าพี่สาวท่านอาบน้ำแล้วเหรียญรุ่นแรกหลุดหายไปหาเท่าไรก็ไม่เจอ แต่มาพบอีกทีตอนท่านจะทานหมาก เหรียญหลวงพ่อท่านไปอยู่ใน เต้าปูนกินหมาก ส่วนอีกครั้งก็อันนี้เป็นตัวยายผมเองท่านไปทำหายที่งานแต่งญาติแถวๆ เพรชบูรณ์ ท่านกลับมาก็ อธิฐานว่าถ้าหลวงพ่อจะกลับมาเมตตาและปกป้อง ลูกช้างให้หลวงพ่อกลับมา ตกกลางคืนได้ยินเสียง สังกะสีหลังคาดังเหมือนมีก้อนหินขนาดย่อมๆ หล่นลงมา และกลิ้งลงมาตามรางน้ำฝน ปรากฏว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อที่ตกลงมา

    ส่วนประสบการณ์ของผม โดยตรงก็คือขับมอเตอร์ไซด์ชน แต่ผมไม่เป็นอะไรเลย ส่วนคู่กรณีผม นิ้วแตก กระดูกหัก อาการสาหัส ส่วนตัวผมเองเพียงแค่ ชุดสีของรถแตกเท่านั้น คือ ผมขับรถแหกโค้งไปบวกกับมอเตอร์ไซด์อีกคันนึง ตอนนั้นผมขับไปประมาณ 70 ได้

    ส่วนเรื่องของแหวนยายเคยเล่าให้ฟังอีกว่าถ้าหายแล้วหลวงพ่อท่านจะไม่ให้คืนและจะ บ่นนานมากๆๆ และท่านจะให้อย่างอื่นมาแทนปต่แหวนท่านจะเก็บเอาไว้เลย อันนี้ก็ไม่ทราบเพราะอะไร ท่านจะห่วงแหวนมากๆ เวลาที่ให้ไปแล้วทำหายและกลับมาหาท่าน

    Cr.น้ำ แสวงหา

    S__7667720.jpg S__7667722.jpg S__7667723.jpg S__7667724.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2022
  12. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ##45.พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อกี๋ หลังนะรำไร วัดหูช้าง ปี 2514
    แบ่งปัน 800.- พร้อมเดินทาง องค์นี้พิเศษหลวงพ่อตี๋ เสกซ้ำให้และลงนะรำไรให้อีกรอบ##


    พระผงรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง (พระครูกิตตินนทคุณ) จ.นนทบุรี เมตตา ค้าขาย เป็นเยี่ยม

    หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง (พระครูกิตตินนทคุณ) ท่านเป็นอดีตพระเกจิอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญและเก่งกล้าทางด้านคาถาอาคม การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ผีเข้าหรือถูกคุณไสยต่างๆ สมัยท่านมีชีวิตอยู่ใครมีเรื่องเดือดร้อน หรือต้องการให้ท่านขจัดปัดเป่า ท่านก็เมตตาช่วยเหลือให้ทุกรายไปโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ แม้ปัจจุบันท่านจะมรณภาพไปนานหลายปีแล้วก็ตาม แต่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านก็ยังเป็นที่กล่าวขานตลอดเวลา

    หลวงปู่กี๋ วัดหูช้าง ถูกจัดให้เป็นเกจิดังสมัย พ.ศ.๒๕๐๐ ที่คนเมืองนนท์ เคารพนับถือท่านมาก โดยเฉพาะการทำปลัด ตะกรุด และเครื่องรางของขลังต่างๆ ท่านยังคงจารเอง รวมถึงการเหลาไม้ และวัสดุมวลสารต่างๆ เองทุกขั้นตอน จึงทำให้วัตถุมงคลของท่านเข้มขลัง ทรงคุณค่า และที่สำคัญหายากมาก จนเป็นตำนาน ปลัดขิกเมืองนนท์ สุดยอดของความหายากและปรารถนา เนื่องจากพุทธคุณใช้แทนอาจารย์ของท่านได้เลยทีเดียว

    หลวงปู่กี๋ ท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รวมถึงเป็นศิษย์ก๋งจาบ สำนักประดู่ทรงธรรม อยุธยา ศิษย์น้องหลวงปู่เทียม วัดกษัตราฯ และหลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ซึ่งเกจิร่วมสำนักทั้ง ๓ รูปนี้ได้ก่อปาฏิหาริย์ในคราวปลุกเสกพระที่วัดปราสาทบุญญาวาส สามเสน คือ แผ่นทองแดงของพระอาจารย์ทั้ง ๓ รูปหลอมไม่ละลายมาแล้ว และยังเป็นศิษย์หลวงปู่แดง วัดตะเคียน นนทบุรี และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เนื่องจากท่านมาแวะพักที่วัดหูช้างเสมอๆ ด้วยบรรดาลูกหลานเหลนท่านมาตั้งรกรากบ้านเรือนในย่านวัดหูช้าง หลายสิบครอบครัว และยังได้ผงจากหลวงพ่อปานตั้งเกือบ ๑ ปี๊ป รวมทั้งเจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษ์มาลา อีกด้วย จึงนับว่าหลวงพ่อตี๋ วัดหูช้าง ท่านเป็นพระเกจิที่สืบสายพุทธาคมมาอย่างเข้มขลัง

    นอกจากนี้แล้ว ในวัยเยาว์หลวงพ่อกี๋มีความสนใจและศึกษาตำราการทำน้ำมนต์รักษาโรคต่างๆ โดยได้ศึกษาวิชาการทำน้ำมนต์จากคุณปู่ของท่านเอง ในสมัยนั้นคุณปู่ของท่านเก่งทางด้านการทำน้ำมนต์รักษาโรคต่างๆ กล่าวได้ว่า ใครมีโรคอะไรก็จะเดินทางมาหา เนื่องจากสมัยนั้นโรงพยาบาลต่างๆ ก็ยังไม่ค่อยมีเหมือนปัจจุบัน จนต่อมาชาวบ้านต่างๆ ก็ขนานนามท่านว่า “หมอบุญเทวดา” ปัจจุบันก็มีบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและประชาชนทั่วไปที่ให้ความเคารพนับถือในตัวท่านเดินทางมากราบไหว้ตลอดเวลา ซึ่งบางท่านก็มากราบไหว้ขอพรท่านเฉยๆ บางท่านก็มาบนบานศาลกล่าวเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ก็สัมฤทธิผลตามที่ต้องการ
    ลพ.กี๋ วัดหูช้าง น.jpg ลพ.กี๋ วัดหูช้าง ล.jpg
     
  13. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,983
    ค่าพลัง:
    +5,390
    ขอจองครับ
     
  14. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    รับทราบการจองครับ
     
  15. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ##46.พระผงรูปเหมือน หลวงพ่อพรหม รุ่นเบิกพระเนตร วัดช่องแค ปี 2514
    เปิดแบ่งปัน 6,500.- พร้อมบัตรรับรองพระเครื่อง 1 ใบและจัดส่งฟรี##

    พระผงรุ่นนี้จัดสร้างแจกคณะกฐินผ้าป่าที่มาทำบุญให้กับวัดช่องแค ปี 2514 นำเข้าพิธีเบิกพระเนตรพระประธาน "พระพุทธโชติกาญาณ" ซึ่งได้แก่ พระผงสมเด็จพิมพ์หลังรูปเหมือนระฆังใหญ่, พระผงสมเด็จพิมพ์หลังรูปเหมือนระฆังเล็ก, พิมพ์สี่เหลี่ยมทรงชลูด, พิมพ์สามเหลี่ยม, พิมพ์กลีบบัว, พิมพ์ซุ้มกอ, พิมพ์หลังเบี้ย, พิมพ์สมเด็จกลีบบัว และพิมพ์สมเด็จหลังเบี้ย

    ประวัติ และการปลุกเสก
    หลวงพ่อพรหม ถาวโร ถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปี มะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พศ. 2426 ณ.ตำบลบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บุตรนายหมี-นางล้อมโกสะลัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน คือ
    1.นางลอย
    2.นายปลิว
    3.หลวงพ่อพรหม
    4.นางฉาบ
    ทุกคนถึงแก่กรรม

    หลวงพ่อพรหม ในขณะเยาว์วัยได้ศึกษา อ่านเขียนกับพระในวัดใกล้บ้าน ศึกษาอักษรขอมควบคู่กับภาษาไทยตั้งแต่ก่อนอุปสมบท เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดเขียนลาย ต.บ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2447 ได้รับฉายาว่า "ถาวโร" โดยมีหลวงพ่อถม วัดเขียนลาย เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมจนชำนาญและเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    หลวงพ่อพรหม เริ่มศึกษาวิชาไสยศาสตร์และคาถาอาคมกับอาจารย์ที่เป็นฆราวาส ชื่ออาจารย์พ่วง ต่อมาเมื่ออุปสมบทแล้วจึงได้ศึกษาอสุภกรรมฐาน สมถะกรรมฐาน วิปัสสนา จากหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ไม่ทราบวัดอยู่ประมาณ 4 ปี ในพรรษาที่ 5 อาจารย์พ่วง ได้พาไปฝากอาจารย์ปู่วอน ซึ่งเป็นฆราวาส และได้ศึกษาวิชาแขนงต่างๆเป็นเวลา 5 ปีเต็ม จนกระทั่งอาจารย์ปู่วอนถึงแก่กรรม ซึ่งในภายหลังหลวงพ่อพรหมได้นำกระดูกมาเก็บไว้ที่วัดช่องแค จากนั้นหลวงพ่อพรหม ก็ไม่ได้ไปศึกษากับอาจารย์ท่านใดโดยตรงมีแต่ศึกษาแลกเปลี่ยนวิชากับอาจารย์รุ่นพี่และรุ่นเดียวกันในระหว่างธุดงค์ เช่น หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ เป็นต้น
    หลวงพ่อพรหม จะเดินธุดงค์ทั้งเส้นทางใกล้และไกล โดยหลวงพ่อเคยเดินธุดงค์ไปประเทศพม่าถึงเมืองร่างกุ้ง และได้มีโอกาสที่มนัสการพระเจดีย์ชะเวดากอง และเดินธุดงค์ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านเทือกเขาน้อยใหญ่ และธุดงค์อยู่ในประเทศพม่าเป็นเวลานาน จึงเดินทางกลับประเทศไทยทางด่านแม่ละเมา จ.ตาก และเดินเรื่อยๆไปจนถึงเขาช่องแค ต.พรหมนิมิตร อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เกิดฝนตกหนัก หลวงพ่อพรหม ได้หลบเข้าไปอยู่ในถ้ำซึ่งเป็นถ้ำเล็กๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงพ่อพรหม เห็นว่าเป็นที่วิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญธรรม จึงเริ่มปลูกต้นไม้แห่งศรัทธาลง ณ. ช่องเขาแห่งนี้

    ขณะที่หลวงพ่อพรหมจำศีลปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ที่วัดช่องแคมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่แล้ว 2 รูป แต่ยังไม่มีเจ้าอาวาส ภายในวัดยังไม่มีเสนาสนะใดๆ บริเวณวัดรกร้าง

    ต่อมาชาวบ้านในแถวนั้นซึ่งมีความนับถือเลื่อมใสหลวงพ่อได้นิมนต์ให้หลวงพ่อพรหมลงมาจำพรรษาข้างล่าง คือวัดช่องแคในปัจจุบัน หลวงพ่อพรหม จึงเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดช่องแค โดยที่ชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคที่ดินเพิ่มขึ้น หลวงพ่อพรหมได้เริ่มต้นสร้างวัดจากวัดที่รกร้างไม่มีเสนาสนะใดๆ เมื่อปี 2460 มาเป็นวัดที่มีกุฏิ ศาลาการเปรียญ โรงครัว ซึ่งส่วนหนึ่งของทรัพย์สินมาจากการขายสมบัติส่วนตัวและมรดกของหลวงพ่อเอง ต่อมาเมื่อทางวัดจะสร้างโบสถ์ ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์สูง คณะกรรมการของวัดจึงขอ อนุญาติหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลขึ้น

    หลวงพ่อพรหม ชอบระฆัง การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อจึงมีรูประฆังและกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของหลวงพ่อพรหม

    หลวงพ่อพรหม ไม่เคยย้ายไปอยู่วัดใดเลยตลอดระยะเวลา 58 ปี โดยที่หลวงพ่อได้ลาออกจากเจ้าอาวาสเมื่อปี 2514 รวมเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องแค 54 ปี เพื่อให้พระปลัดแบงค์ ธมมวโร เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อพรหม มรณภาพเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2518 เมื่อเวลา 15.00 น. ณ.โรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี รวมอายุได้ 91 ปี 71 พรรษา

    หลังจากหลวงพ่อพรหม มรณภาพแล้ว คณะกรรมการวัดได้บรรจุศพของท่านไว้ในโลงแก้ว อยู่บนศาลาการเปรียญ ศพของหลวงพ่อพรหมไม่เน่าเปื่อย มด ไร มอด และ แมลง ไม่ได้รบกวนทำลายชิ้นส่วนใดๆในร่างกายของท่านแม้แต่น้อย คล้ายกับหลวงพ่อนอนหลับอยู่ แม้ว่าท่านจะมรณภาพมาแล้วถึง 30กว่าปี

    สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นคือ หลังจากหลวงพ่อได้มรณภาพแล้วศพของหลวงพ่อไม่เน่าเปื่อย

    1.เส้นผมงอกยาว 5-6 มม.

    2.เส้นขนคิ้วงอกยาว 5-6 มม.

    3.เส้นขนตางอกยาว 1 ซม.

    4.หนวดงอกยาว 5-6 มม.

    5.เคราใต้คางยาว 5-6 มม.

    6.เล็บมืองอกยาว 1 ซม.

    7.เล็บเท้างอกยาว 4-5 มม.

    หลวงพ่อพรหม มีวิธีการปลุกเสกวัตถุมงคลไม่เหมือนใคร ส่วนใหญ่หลวงพ่อจะปลุกเสกในบาตร ถ้ามีเทียนชัยจะจุดเทียนชัยหยดน้ำตาเทียนลงในบาตรน้ำมนต์แล้วนำเทียนชัยวนรอบๆ 9 รอบ แล้วจึงนำดินสอพองมาเจิมที่วัตถุมงคล เอามือคนไปรอบๆโดยที่หลวงพ่อลืมตาเพ่งกระแสจิตอัดพลังแล้วจึงนำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมวัตถุมงคลทั้งหลายแล้วหลวงพ่อจับบาตรใส่วัตถุมงคล เพ่ง กระแสจิตอีกครั้งจนกระทั่งวัตถุมงคลเหล่านั้น มีรังสีพุ่งออกมา จึงนำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมอีกครั้งเป็นเสร็จพิธี

    ดังนั้นเราจะสังเกตุได้ว่าพระเนื้อผงของหลวงพ่อจะมีรอยบิ่น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เพราะเกิดจากหลวงพ่อเอามือคนในบาตร ดังนั้นพระที่มีรอยบิ่นจึงสันนิษฐานได้ว่า ได้สัมผัสกับมือหลวงพ่อโดยตรง

    LP.พรหม วัดช่องแค น.jpg LP.พรหม วัดช่องแค ล.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2023
  16. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ##47.พระเนื้อดิน พิมพ์ทรงสิงห์ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว จ.สุพรรณ แบ่งปัน 3,200.- พร้อมส่ง##

    หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว

    พระเกจิอาจารย์ มีชื่อเสียงในด้านพุทธคุณ ที่มีผู้คนให้ความเคารพและศัทธามากที่สุดรูปหนึ่งของจังหวัดสุพรรณ ท่านมักน้อย ถือสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์สมบัติใดๆ ไม่ว่าใครนิมนต์ไปไหนใครถวายเงินมากๆท่านจะไม่รับ หลวงพ่อโบ้ย ท่านสร้างพระ โดยให้ลูกศิษย์ท่านไปบอกบุญเรี่ยไร วัสดุต่างๆ เช่นทองเหลือง ทองแดง ขันลงหิน เชี่ยนหมาก โตก ขัน พาน ที่เป็นโลหะ แล้วนำมาหลอม สร้างเป็นพระเครื่องของท่าน สร้างเสร็จแล้วท่านก็นำไปปลุกเสก และแจกให้ผู้ที่ศรัทธาโดยไม่คิดเป็นปัจจัยเงินทองใดๆทั้งสิ้น
    หลวงพ่อโบ้ย เกิดปีมะโรง พ.ศ. 2453 เป็นชาวบ้านสามหมื่น ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ต้นตระกูลของท่านเป็นชาวเวียงจันทร์ ที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ครั้งปู่ ย่า ตา ทวด และได้เข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านทัพตีเหล็ก จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่ นอกจากจะมีอาชีพทำนาแล้ว ยังมีอาชีพตีเหล็กอีกด้วย หลวงพ่อโบ้ยอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2455 เมื่ออายุได้ 21 ปี ที่วัดมะนาว หลังจากบวชแล้ว ท่านจำพรรษาที่วัดมะนาว โดยท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างแข็งขัน ทั้งภาษาบาลีและภาษาขอม พร้อมทั้งปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด

    หลังจากที่ได้จำพรรษาที่วัดมะนาวได้ 3 พรรษา ท่านจึงออกเดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมทางด้านวิปัสนากรรมฐาน ที่วัดชีปะขาว หรือวัดศรีสุดาราม จังหัวดธนบุรี ขณะนั้น ในขณะที่ท่านศึกษาได้แต่ธรรมวินัย ส่วนภาาาบาลีและอักษรขอม รวมถึงการศึกษาสมถะวิปัสสนากรรมฐาน ท่านต้องเดินทางไปเรียนที่วัดอมรินทร์โฆสิตาราม เป็นอย่างนี้ทุกวัน ตลอดเวลา 8-9 ปี จากนั้นท่านจึงเดินทางกลับมาจำวัดที่วัดมะนาวราวปี พ.ศ. 2465- 2466
    ต่อมาท่านทราบว่า หลวงพ่อปานวัดบางนมโค จังหวัดอยุธยา ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเนียน วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี มีความรู้ ความสามารถในทางวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจึงเดินทางไปหาหลวงพ่อปาน และได้ศึกษาอยู่ที่วัดบางนมโคถึง 1 ปี ท่านจึงเดินทางกลับมาที่วัดอู่ทอง อ.บางปลาม้า ซึ่งเป็นวัดที่ใกล้บ้านเกิดของท่าน ในปี พ.ศ.2467
    เมื่อตอนที่หลวงพ่อโบ้ยได้ศึกษาพระธรรมวินัย อยู่ที่จ.ธนบุรี อยู่นั้น หลวงพ่อจะจารคัมภีร์ทุกวัน และเมื่อท่านกลับมาที่สุพรรณบุรีอีกครั้งท่านได้นำใบลานที่จารไว้กลับมาด้วยโดยนำไปไว้ที่วัดอู่ทอง ตามประวัติ หลวงพ่อโบ้ย ได้เริ่มส้รางพระเครื่องตั้งแต่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดอู่ทองแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นพระพิมพ์ใด อย่างไรก็ตามท่านอยู่ที่วัดอู่ทองได้ไม่นานก็ย้ายกลับมาจำพรรษาต่อที่วัดมะนาว
    กิจวัตรประจำวันของหลวงพ่อ ท่านจะตื่นแต่เช้ามืด ครองจีวรแล้ว สวดมนต์ไหว้พระจนฟ้าสาง จึงออกบิณฑบาต เมื่อกลับมายังวัดท่านจะขอให้พระทั้งวัดยืนเข้าแถว แล้วท่านก็ตักข้าวในบาตรของท่านใส่บาตรพระทุกรูป หลังจากฉันจังหันเช้าเสร็จ ท่านก็จะออกไปกวาดลานวัดหน้าโบสถ์ เป็นกิจวัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นประจำ หลวงพ่อโบ้ยจะจำวัดเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้นเพราะในช่วงค่ำจนถึงกลางคืน ท่านจะให้เวลาส่วนใหญ่กับการสร้างพระเครื่องของท่าน

    หลวงพ่อโบ้ยสร้างพระเครื่องอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ.2473 โดยตัวท่านและลูกศิษย์ จะไปบอกบุญเรี่ยไรวัสดุที่เป็นโลหะที่ไม่ได้ใช้ หรือเสียหายแล้ว จากชาวบ้าน เช่น ทองแดง ทองเหลือง ขันลงหิน เชี่ยนหมาก โตก ขัน พาน เป็นต้น เพื่อใช้เป็นมวลสารหลักในการสร้างพระเครื่องของท่าน เมื่อชาวบ้านทราบข่าวว่าหลวงพ่อจะมาเรี่ยไร ก็จะนำวัสดุเหล่านี้ออกมาทำบุญกัน ในการเดินทางไปเรี่ยไรวัสดุส่วนใหญ่ ท่านใช้เรือเป็นพาหนะ เพราะวัดมะนาวติดกับแม่น้ำท่าจีน ทางทิศตะวันตก ในสมัยก่อนการเดินทางโดยเรือ ถือว่าเป็นทางหลักในการคมนาคม
    หลวงพ่อโบ้ย มักเดินทางไปเรี่ยไรวัสดุในละแวกใกล้เคียงเท่านั้นจะมีไปไกลบ้างอย่างตลาดบางลี่ (ตลาดสองพี่น้อง) และบ้านใดบริจาควัสดุท่านก็จะจดเอาไว้ หลังจากพระเครื่องเสร็จเรียบร้อย แล้ว ท่านจะนำพระเครื่องส่วนหนึ่งที่ปลุกเสกแล้ว ไปแจกคืนให้กับญาติโยมที่ร่วมกันบริจาควัสดุ
    การแจกพระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ย นั้นท่านจะแจกให้กับทุกคนที่มีจิตศรัทธา ไม่แบ่งชั้นวรรณะ เมื่อมีข่าวแพร่ออกไปว่าท่านแจกพระฟรีโดยไม่คิดมูลค่า ทำให้ประชาชนที่รู้ข่าวต่างทยอยมารับพระจากท่านเป็นจำนวนมาก ส่วนประชาชนคนไหนที่อยากถวาบปัจจัยร่วมบุญ ท่านก็จะให้ไปถวายกับเจ้าอาวาสแทน เพราะจุดประสงค์ของท่านคือ การสร้างพระเครื่องเพื่อแจกให้ไปบูชาเท่านั้น ดังนั้นพระเครื่องของท่านจึงนับว่าเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ออกไปสู่ประชาชนทั่วประเทศ
    หลวงพ่อโบ้ย เป็นพระเถระที่มากด้วยเมตตา มักน้อย ถือสันโดษ มีพลังจิตที่เข้มขลัง อาคมที่แก่กล้า ท่านไม่ยึดติในสมณะศักดิ์ แม้นแต่ตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านก็ไม่ยอมรับ วัตถุมงคลของท่านเกิดจากความบริสุทธิ์ในการสร้าง ประกอบกับอิทธิบารมีของหลวงพ่อที่เปี่ยมไปด้วยศีลธรรมและเวทย์วิทยาคมอันบริสุทธิ์ จึงทำให้ผู้ที่มีวัตถุมงคลของท่านบูชาไว้เกิดประสบการณ์มากมาย วัตถุมงคลของหลวงพ่อโบ้ย มีพุทธคุณในทางแคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรีเป็นหลัก
    ตามประวัติแล้ว ไม่มีใครรู้ชื่อและฉายาของหลวงพ่อ ไม่มีปรากฏที่ไหนเลย ชาวบ้านได้แต่เรียก "หลวงพ่อโบ้ย" ติดปากมาโดยตลอด หลวงพ่อโบ้ย มรณะภาพ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2508 สิริอายุรวม 73 ปี 52 พรรษา
    LP BOI.jpg LP BOI B.jpg






     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2023
  17. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ##48.แหนบเงินลงยา หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง ปี 2541 รุ่นฉลองอายุครบ 100 ปี ผู้สืบสายวิชาจากหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน และสังขารไม่เน่าไม่เปื่อย แบ่งปัน 1,500.- พร้อมส่ง##

    ประวัติของหลวงปู่ทองดำ พอสังเขป
    หลวงปู่ทองดำ นามเดิมชื่อ ทองดำ เม่นพริ้ง เกิดวันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 พ.ศ. 2441 ที่บ้านไซโรงโขน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร บิดาชื่อ นายบุญนาค มารดาชื่อ นางจ่าย เม่นพริ้ง ยึดอาชีพล่องเรือค้ายาสูบเลี้ยงครอบครัวมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ
    .......ขณะเด็กชายทองดำ อายุ 3 ขวบ บิดามารดาได้นำไปถวายเป็นบุตรบุญธรรมกับหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ (วัดบางคลาน จ.พิจิตร) หลวงพ่อเงินเห็นครั้งแรกได้เอ๋ยคำออกมา "ไอ้หนูเด็กน้อยคนนี้เป็นเทวดามาเกิด ใครเลี้ยงก็ไม่ได้ มาเป็นลูกของเราเถิดนะ" หลวงพ่อเงินเอาผ้าผืนลงปูรองรับเด็กน้อยคนนี้ ทำพิธีรับลูก จากนั้นเด็กคนนี้ได้รับการเลี้ยงดูอุปถัมภ์ สั่งสอน อบรม วิชาความรู้ และสรรพวิชาต่าง ๆ โดยได้พักอาศัยกับหลวงพ่อ เมื่อหลวงพ่อเงินเงินท่องบทสวดมนต์เด็กชายทองดำก็สามารถท่องได้จบเล่มในวันเดียว ชาวบ้านรู้ข่าวต่างแห่มาดูการใหญ่ว่าเด็กน้อยคนนี้มีหน้าตาอย่างไร กระทั่งโตขึ้นบิดามารดามารับเด็กชายทองดำไปเล่าเรียนศึกษากับอาจารย์โต (เจ้าอาวาสวัดท่าทอง ต.วังกะพี้ จ.อุตรดิตถ์ในสมัยนั้น)
    …..นายทองดำได้ฝึกฝนและศึกษาศิลปะการต่อสู้แม่ไม้มวยไทยจนมีความชำนาญ จนได้เป็นนักมวยที่มีฝีมือดีคนหนึ่ง ซึ่งช่วงวัยหนุ่มนี้ทองดำได้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ "เล็กย่งหลี"(ต้นตระกูลเล็กอุทัย)มีรูปร่างเล็กไปไหนไปด้วยกันประจำ ได้ฝึกชกมวยด้วยกันมา หากออกชกมวยที่ไหนจะให้เล็กย่งหลีขึ้นไปเปรียบหาคู่ชก แต่ตอนเวลาชกนายทองดำจะเป็นผู้ชกแทน ก่อนชกนายทองดำจะบริกรรมคาถาที่ได้ร่ำเรียนมาโยมปู่จนรู้สึกตัวหนา(ของขึ้น)และนายทองดำก็สามารถชกมวยชนะแทบทุกครั้ง อายุครบเกณฑ์ทหาร ได้เข้ารับเป็นทหาร 2 ปี ปลดจากทหารประจำการแล้วจึงได้อุปสมบทสู่ร่มพระศาสนา
    .......อุปสมบทเมื่ออายุ 22 ปี ณ. พระอุโบสถ วัดวังหมู ต.หาดกรวด อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ โดยมีพระครูวิเชียรปัญญามหามุนี (เรือง )เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เจ้าอาวาสวัดท่าถนน ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ในขณะนั้นเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2463 พระอาจารย์แส เจ้าอาวาสวัดวังหมู ต.หาดกรวด อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐิตวณโณ” เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดท่าทอง 1 พรรษา ทางวัดท่าทอง ต.วังกะพี้ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง คณะศรัทธา วัดท่าทองได้ลงความเห็นพ้องกัน โดยได้ไปกราบนมัสการเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อขออนุญาตจากเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ด้วยดี คณะศรัทธาให้”พระภิกษุทองดำ” เพื่อนิมนต์ให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าทอง ซึ่งหลวงพ่อเองก็มีเจตนาอันบริสุทธิ์และจิตใจอันแน่วแน่ต่อพระพุทธศาสนาและเป็นโอกาสที่จะได้พัฒนาทำนุบำรุงเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นสมความตั้งใจ หลวงพ่อจึงรับภารกิจนิมนต์ครั้งนี้และย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2468 เป็นต้นมา
    ......... ระหว่างเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าทอง หลวงปู่ทองดำได้ศึกษาความรู้ด้านปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมตรี ซึ่งระหว่างเรียนหลวงปู่ ก็มุ่งมั่นพัฒนาวัดท่าทองไปพร้อม ๆ กันจนเป็นที่เชิดหน้าชูตาทางพุทธศาสนาวัดหนึ่งในอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเป็น “พระนิมมานโกวิท”และในปี พ.ศ. 2510 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์
    ......... นอกจากเล่าเรียนทางปริยัติธรรมแล้ว หลวงปู่ทองดำยังสนใจในวิชาโหราศาสตร์ พุทธ คุณและคาถาอาคม โดยช่วงวัยเด็กระหว่างเรียนหนังสือกับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ได้ศึกษาวิชาอยู่ยงคงกระพันกับโยมปู่เพื่อป้องกันตัวและในช่วงวัยรุ่นเคยใช้ คาถาปลุกจิตใจให้ฮึกเหิมก่อนขึ้นสังเวียนชกมวยด้วย และระหว่างจำพรรษาที่วัดท่าถนนยังไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อทิมวัดกลาง อ.เมืองพิจิตร เกจิชื่อดังเกี่ยวกับ “ตะกรุดโทน” และหลวงพ่อทิมได้เมตตาถ่ายทอดวิชาและมอบตำราไสยเวทต่าง ๆ ให้จนหมดสิ้น ซึ่งหลวงปู่ทองดำได้ใช้วิชาความรู้พัฒนาพุทธศาสนาเรื่อยมา
    กิตติศัพท์ความเลื่องลือในปฏิปทาอันแรงกล้าและจริยวัตรอันงดงามของหลวงปู่ ทองดำขจรขจายไปไกลทุกสารทิศ เกจิรุ่นหลังหลายรูป ได้ให้ความเคารพนับถือในตัวหลวงปู่ เดินทางมากราบไหว้และสนทนาธรรมอยู่เนือง ๆ รวมทั้ง พระเทพวิทยาคมเถร (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) อริยสงฆ์แห่งแดนที่ราบสูงที่ปัจจุบันจำพรรษาที่วัดหนองบัวรอง จ.นครราชสีมา ก็เคยมากราบไหว้สนทนาธรรมกับหลวงปู่ทองดำถึงวัดท่าทอง สร้างความฮือฮาให้กับพุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าวเป็นยิ่งนัก
    ......... พระนิมมานโกวิท หรือหลวงปู่ทองดำ เจ้าอาวาสวัดท่าทอง หมู่ 2 ต.วังกะพี้ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ พ.ศ.2542 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์
    หลวงปู่ทองดำ ฐิตวฺณโณ ได้มรณะภาพลงอย่างสงบ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังจากเข้ารักษาอาการอาพาธด้วยโรคภาวะไตเสื่อมและติดเชื้อทางเดินหายใจ เมื่อเวลา 21.17 น. เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2548
    แหนบหลวงพ่อทองดำ วัดท่าทอง.jpg
     
  18. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    #49.พระผงพิมพ์เชียงแสน พิธีจตุรพิธพรชัย วัดเขาใหญ่ ปี 2518 แบ่งปัน 800.- พร้อมส่ง#
    พระผงจตุรพิธพรชัย วัดเขาใหญ่ จ.สุพรรณบุรี มีการจัดสร้างทั้งหมด 3 พิมพ์ได้แก่ สุโขทัย อู่ทอง และเชียงแสน จัดสร้างโดย นายเรียน นุ่มดี อดีตผู้บัญชาการเรือนจำกลาง จ.อยุธยา และ พระครูปริยัติสุกิจ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหารองค์ ประกอบไปด้วย ผงเกสรปูชนียวัตถุนำมาจากปูชนียสถานต่างๆ ว่าน ๑๐๘ ผงอิทธิเจ ปะถะมัง และตรีนิสิงเห ของลป.ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อ.อุทัย จ.อยุธยา (จากเอกสารของวัดสุวรรณดาราราม) มีพระ 3 สมัย (เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง) ,พระสมเด็จทรงนิยม(หลังสมเด็จโต) ,พระภควัมบดี (ปิดตา) , พระสมเด็จไกรเซอร์ และพระศรีมณฑป ฯ
    พุทธาภิเษก ณ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๑๗

    พระคณาจารย์ผู้ร่วมพิธีฯมีรายนามดังนี้
    ๑.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพ
    ๒.หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไรย์ สุพรรณบุรี

    ๓.หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
    ๔.หลวงพ่อใหญ่ วัดสะแก อยุธยา
    ๕.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพ
    ๖.หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม ชัยนาท
    ๗.หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง อยุธยา
    ๘.หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไรย์ สุพรรณบุรี
    ๙.หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้าย อยุธยา
    ๑๐.หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา
    ๑๑.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    ๑๒.พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อยุธยา
    ๑๓.หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อยุธยา
    ๑๔.หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา
    ๑๕.หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม อยุธยา
    ๑๖.พ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค นครสวรรค์
    โดย ลป.สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์ เมตตาอธิฐานจิตเดี่ยวเป็นเวลา ๑ เดือนเต็มๆ หลังจากนั้น นายเรียน นุ่มดี ได้แบ่งเอาพระสามสมัย เชียงแสน สุโขทัย และอู่ทอง พระสมเด็จทรงนิยม พระภควัมบดี(พระปิดตามหาลาภ) ไปเข้าร่วมพิธีอีกครั้ง เพราะพระในส่วนนี้นายเรียน นุ่มดี ที่จะนำไปสร้างกุศลที่วัดบ้านเกิดวัดเขาใหญ่ สุพรรณบุรี รวม พระเนื้อผง เข้าพิธีถึง ๒ ครั้ง ๒ วาระ นะครับ ส่วนพิธีมหาพุทธาภิเษกอธิฐานจิตพิธีจตุรพิธพรชัยพร้อมเหรียญ ณ.วัดรัตนชัย(จีน)เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยพระเกจิอาจารย์ ๑๖ รูป ก็นิมนต์พระเกจิอาจารย์ชุดเดิม โดยพระผงรุ่นนี้ ก่อนการสร้างพระชุดนี้ผู้สร้างได้ปรึกษา ลป.ดู่ วัดสะแก โดยที่ ลป.ดู่ เมตตาให้คำปรึกษา แนะนำตลอดจนถึงการนิมนต์พระเกจิอาจารย์อธิฐานจิตครับ พระสภาพเดิมบูชา
    DSC_2433.JPG DSC_2434.JPG
     
  19. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    #50.พระสมเด็จ รุ่นเสาร์ห้า รุ่นแรก วัดระฆังโฆสิตาราม ปี 2536 พระเดิมคากล่อง แบ่งปัน 800.- พร้อมส่ง#

    สมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม รุ่นเสาร์ห้า ปี2536 (รุ่นแรก) นับแต่โบราณกาลมา วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ถือกันว่าเป็นวันที่ศักดิ์สิทธิ์ มีพลังอำนาจโดยธรรมชาติ ซึ่งในรอบหลาย ๆ ปี จึงจะเวียนมาบรรจบสักครั้ง โบราณาจารย์จึงนิยมใช้เป็นวันมหามงคลฤกษ์ทำการปลุกเสกวัตถุมงคลให้เข้มขลังด้วยพระพุทธคุณ วัดระฆัง จึงได้สร้างพระสมเด็จเสาร์ห้าขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันเสาร์ ที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2536 ตรงกับวันทางจันทรคติของไทยคือ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา จัตวาศก จุลศักราช 1354 พระคณาจารย์ทั่วประเทศนั่งปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม รุ่นนี้
    เป็นที่นิยมมากต้องซื้อใบจองไว้ก่อน ใบจองหมดตั้งแต่พระยังไม่ออก ตอนไปรับพระคนก็แย่งเช่า
    กันชุลมุน ถึงขนาดต้องส่งพระทางหน้าต่างโบสถ์กันทีเดียว เต้นท์ที่ได้กางไว้ถึงกับพังเพราะคนเบียดเสียดกันแน่นวัด ใครซื้อใบจองไม่ทันต้องเช่าหากันในราคาเพิ่ม วัตถุมงคลที่จัดสร้างมีลักษณะอย่างพิมพ์ทรงพระสมเด็จฐานสามชั้นซุ้มครอบแก้ว ปลายเกศทะลุซุ้ม ขนาดองค์พระโดยประมาณ กว้าง 2.5 ซ.ม. สูง 3.7 ซ.ม.
    Img0061.jpg Img0062.jpg Img0063.jpg
     
  20. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    #51.พระสมเด็จ ล้อพิมพ์เกษไชโย วัดปราสาท ปี 2506 พระติดรางวัลโบว์แดง แบ่งปัน 1,800.- พร้อมส่ง ปิดครับ#

    พระชุดวัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ ปี ๒๕๐๖ มวลสารผสมผงวัดระฆัง และสมเด็จบางขุนพรหม จัดสร้างโดย "พระสมุห์อพล"อดีตเจ้าอาวาสวัดประสาทฯ ในช่วงปี ๒๕๐๕ - ๒๕๐๙ มวลสารผสมผงวัดระฆังฯ โดยท่านพยายามเสาะหาผงวิเศษจากหลายๆ พระอาจารย์รวมทั้งชิ้นส่วนพระเครื่องแตกหักเก่าๆทั้งพระกรุและพระเกจิอาจารย์นับไม่ถ้วน โดยเฉพาะชิ้นส่วนแตกหักของ "สมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่" ที่ทางวัดเปิดกรุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีจำนวนหลายลังทีเดียว ว่ากันว่า พระผงวัดประสาทฯ มีชิ้นส่วนแตกหักของพระสมเด็จบางขุนพรหมมีผสมอยู่มากกว่าสมเด็จบางขุนพรหม ๐๙ เสียอีก พระเกจิที่มาร่วมพิธีวัดประสาทฯ นั้นก็มีมากถึง ๒๐๐ กว่ารูป จนนั่งภายในพระอุโบสถไม่หมด ต้องให้นั่งข้างนอกพระอุโบสถแล้วโยงสายสิญจน์ออกมา พิธีในครั้งนั้นจัดว่าเป็นพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดนับแต่พิธีปลุกเสกพระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เป็นต้นมา *** มวลสารสำคัญที่ได้รับมอบเพื่อการจัดสร้างพระมีดังนี้ *** - ผงสมเด็จบางขุนพรหม พระครูบริหารคณาวัตร รองเจ้าอาวาสมอบให้
    - ผงพระหักสมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    - ผงพระหักสมเด็จปิลันท์ ซึ่งพบในเจดีย์วัดเทพากร
    - ผงพระเครื่องของขวัญวัดปากน้ำ ลพ.สดมอบให้วัดประสาทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗
    - ผงพระหักกรุลำพูน
    - ผงพระกรุวัดพลับ
    - ผงหลวงพ่อโอภาสี เป็นต้น
    *** เจตนาการสร้างดี พิธีใหญ่ มีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของเมืองไทยเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ดั่งรายนามที่รวบรวมมาได้ส่วนหนึ่งดังนี้
    อาจารย์ทิม วัดช้างไห้
    ลพ.คล้าย วัดสวนขัน

    ลพ.ดิษฐ์ วัดปากสระ
    ลพ.น้อย วัดธรรมศาลา
    ลพ.ใจ และ ลพ. พล วัดวังยายหุ่น
    ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ
    ลพ.มุ่ย วัดดอนไร่
    ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม
    ลพ.กวย วัดโฆสิตาราม
    ลพ.พรหม วัดช่องแค
    ลพ.ทบ วัดชนแดน
    ลป.ทิม วัดละหารไร่
    ลป.เขียว วัดหรงมล
    ลพ.จง วัดหน้าต่างนอก
    ลป.ดู่ วัดสะแก
    ลป.สี วัดสะแก
    ลพ.แพ วัดพิกุลทอง
    ลป.นาค วัดระฆังฯ
    ลป.หิน วัดระฆังฯ
    ลพ.โบ๊ย วัดมะนาว
    พระอ.นำ วัดดอนศาลา
    ลพ.เส่ง วัดกัลยา
    ลพ.ถิร วัดป่าเลไลย์
    ลพ.เต๋ วัดสามง่าม
    ลพ.หน่าย วัดบ้านแจ้ง
    ลพ.บุญมี วัดเขาสมอคอน
    ลพ.เหรียญ วัดบางระโหง
    ลป.เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
    ลพ.ครื้น วัดสังโฆ
    ลพ.แช่ม วัดนวลนรดิษฐ์
    ลพ.นอ วัดกลางท่าเรือ

    ลพ.ผล วัดเทียนดัด
    ลพ.โด่ วัดนามะตูม
    ลพ.ชื้น วัดญาณเสน
    ลพ.สุด วัดกาหลง
    ลพ.เนื่อง วัดจุฬามณี
    ลพ.กี๋ วัดหูช้าง
    ลพ.แก้ว วัดช่องลม
    ลพ.กัน วัดเขาแก้ว

    ลพ.ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
    ลพ.ฑูรย์ วัดโพิ์นิมิตร
    เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์
    เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์
    ลพ.ดี วัดเหนือ
    ลพ.แขก วัดหัวเขา
    ลพ.ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด
    ลพ.ทองสุข วัดสะพานสูง
    ลพ.มิ่ง วัดกก
    ลพ.เฮี้ยง วัดป่าฯ
    ลพ.จวน วัดหนองสุ่ม
    ลพ.อั้น วัดพระญาติ
    ลพ.เทียม วัดกษัตราธิราช

    ลพ.สอน วัดเสิงสาง
    ลพ.แทน วัดธรรมเสน
    ลพ.เทียน วัดโบสถ์
    ลพ.นิล วัดครบุรี
    ลพ.บุดดา วัดกลางชูศรี

    Img0059.jpg Img0060.jpg 272252103_4798354100244404_5166369807294586406_n.jpg 272471472_4798354076911073_3183844152863111674_n.jpg 272525940_4798354056911075_7161871511802462499_n.jpg 272340079_4798354190244395_7538979293896593323_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2023

แชร์หน้านี้

Loading...