ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย phuang, 21 กันยายน 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    หมวดที่ ๑ พระพุทธสรีระ

    [​IMG]
    <TABLE width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    "มหาบุรุษ ลักษณะ ๓๒ ประการ"








    ผู้ที่มีมหาบุรุษลักษณะ เป็นคำที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้ ลักษณะของมหาบุรุษมี ๓๒ ประการ คือ

    ๑. มีพระบาทราบเสมอกัน (พระบาท = เท้า)
    ๒. ลายพื้นพระบาทเป็นจักร (จักร = รูปลอยล้อรถ คือธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุลล้อนำไป สู่ที่หมาย)
    ๓. มีส้นพระบาทยาย (ถ้าแบ่ง ๔ ส่วน พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓) (พระชงฆ์ = แข้ง)
    ๔. มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย)(นิ้วพระหัตถ์ = นิ้วมือ)
    ๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
    ๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย
    ๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน (อัฐิ = กระดูก ดำเนิน = เดิน)
    ๘. พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
    ๙. เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับพระชานุ (พระชานุ = เข่า)
    ๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก (พระคุยหะ = อวัยวะที่ลับ)
    ๑๑. มีฉวีวรรณดุจสีทอง (ฉวีวรรณ =สีผิวกาย)
    ๑๒. พระฉวีละเอียด (พระฉวี = ผิว)
    ๑๓. มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้น ๆ (พระโลมา = ขน)
    ๑๔. เส้นพระโลมาดำสนิทเวียนเป็นทักขิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน (ทักขิณาวัฏ = วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา)
    ๑๕. พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม
    ๑๖. มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาททั้ง ๒ , พระอังสาทั้ง ๒, กับลำพระศอ) (พระมังสะ = เนื้อ , ชิ้นเนื้อ พระอังสา = บ่า,ไหล่ พระศอ = คอ)
    ๑๗. มีส่วนพระสรีระกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ (สรีระ = ร่างกาย)
    ๑๘. พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน (พระปฤษฎางค์ = ส่วนหลัง,ข้างหลัง)
    ๑๙. ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุลปริมณฑลแห่งต้นไทร(พระกายสูงเท่ากับว่าของพระองค์)(วา = เท่ากับ ๔ ศอก ประมาณ 2 เมตร)
    ๒๐. มีลำพระศอกกลมงามเสมอตลอด
    ๒๑. มีเส้นประสาทสำหรับรสพระกระยาหารอันดี
    ๒๒.มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์)(พระหนุ = คาง)
    ๒๓.มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) (พระทนต์ = ฟัน)
    ๒๔.มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
    ๒๕.พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง
    ๒๖.เขี้ยวพระทนต์ทั้ง 4 ขาวงามบริสุทธ์
    ๒๗.พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฏใต้)(พระชิวหา = ลิ้น พระนลาฎ = หน้าผาก)
    ๒๘.พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก
    ๒๙.พระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
    ๓๐.ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
    ๓๑.มีอุณาโลมระหว่างพระโขนง เวียนขวาเป็นทักขิณาวัฏ (อุณาโลม = ขนระหว่างคิ้ว)
    ๓๒.มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (พระเศียร = ศีรษะ)



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2005
  2. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ"

    นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการแล้ว ยังมีลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ นิยมเรียกกันว่า "อสีตยานุพยัญชนะ" หรือ อนุพยัญชนะ" อีก ๘๐ ประการด้วยกัน คือ

    ๑. มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม
    ๒. นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไปโดยลำดับแต่ต้นจนปลาย
    ๓. นิ้วพระหัตถ์แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี
    ๔. พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง (พระนขา = เล็บ)
    ๕. พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง
    ๖. พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลมสนิทมิได้เป็นริ้วรอย
    ๗. ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะมิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก
    ๘. พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา
    ๙. พระดำเนินงามดุจอาการเดินแหงกุญชรชาติ
    ๑๐. พระดำเนินงามดุจสีหราช
    ๑๑. พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์
    ๑๒. พระดำเนินงามดุจอสุภราชดำเนิน
    ๑๓. ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน
    ๑๔. พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก
    ๑๕. มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์ คือมิได้กิริยามารยาทคล้ายสตรี
    ๑๖. พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง (พระนาภี = สะดือ)
    ๑๗. พระอุทรมีสัณฐานอันลึก (พระอุทร = ท้อง)
    ๑๘. ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏ
    ๑๙. ลำพระเพลาทั้งสองงามดุจลำสุวรรณกัททลี (พระเพลา = ตัก, ขา สุวรรณกัททลี = ลำต้นกล้วยสีทอง)
    ๒๐. งวงแห่งเอราวัณวัณเทพหัตถี (เอราวัณเทพยหัตถี = ช้าง ๓๓ เศียร เป็นพาหนะของพระอินทร์)
    ๒๑. พระอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คืองามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้ (พระอังคาพยพ = องคาพยพ = ส่วนน้อยใหญ่แห่งร่างกาย,อวัยวะน้อยใหญ่)
    ๒๒. พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรบางก็บางตามที่ทั่วทั้งพระสรีรกาย
    ๒๓. พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนี่ง
    ๒๔. พระสรีกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง
    ๒๕. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง
    ๒๖. พระกายงามบริสุทธิ์สิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง
    ๒๗. ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ (โกฏิ = สิบล้าน)
    ๒๘. มีพระนาสิกอันสูง (พระนาสิก = จมูก)
    ๒๙. สัณฐานพระนาสิกงามแฉล้ม
    ๓๐. มีพระโอษฐเบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก (พระโอษฐ = ปาก, ริมฝีปาก)
    ๓๑. พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน
    ๓๒. พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์
    ๓๓. พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย
    ๓๔. พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์ เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น(พระอินทรีย์ = ร่างกายและจิตใจ)
    ๓๕. พระเขี้ยวทั้ง 4 กลมบริบูรณ์
    ๓๖. ดวงพระพักตร์มีสัณฐานขาวสวย
    ๓๗. พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน (พระปรางค์ = แก้ม)
    ๔๐. ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด
    ๔๑. สายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง
    ๔๒. รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ
    ๔๓.กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์
    ๔๔. กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน
    ๔๕. ดวงเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
    ๔๖. ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้วอมิได้คด
    ๔๗. พระชิวหามีสัณฐานอันงาม
    ๔๘. พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้าง มีพรรณอันแดงเข้ม
    ๔๙. พระกรรณทั้งสองมีสันฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ (พระกำรณ = หู)
    ๕๐. ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม
    ๕๑. ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง
    ๕๒. แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่อมิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง
    ๕๓. พระเศียรมีสัณฐานอันงาม
    ๕๔. ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน
    ๕๕. พระนลาฏมีสันฐานอันงาม
    ๕๖. พระโขนงมีสันฐานอันงามดุจกันธนูอันก่งไว้
    ๕๗. พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด
    ๕๘. เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วราบไปโดยลำดับ
    ๕๙. พระโขนงนั้นใหญ่
    ๖๐. พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร
    ๖๑. ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระวรกาย
    ๖๒. พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ
    ๖๓. กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ
    ๖๗. พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น
    ๖๘. พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย
    ๖๙. ลมอัสสะปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด
    ๗๐. พระโอษฐมีสันฐานอันงามดุจแย้ม
    ๗๑. กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล (อุบล = ดอกบัว,บัว)
    ๗๒. พระเกสาดำเป็นแสง (พระเกสา = ผม)
    ๗๓. กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ
    ๗๔. พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ
    ๗๕. พระเกสามีสันฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น
    ๗๖. พระเกสาดำสนิททุกเส้น
    ๗๗. พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด
    ๗๘. เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง
    ๗๙. เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏทุกๆ เส้น
    ๘๐. วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแหงพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ (พระเกตุมาลา = รัศมีซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า)
     
  3. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "พระฉัพพรรณรังสีที่แผ่จากพระกายพระพุทธเจ้า"

    ฉัพพรรณรังสี คือแสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลางเป็นรัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระสรีรกายของพระพุทธเจ้า คือ

    ๑. นีละ เขียวเหมือนดอกอัญชัน
    ๒. ปีตะ เหลืองเหมือนหรดาลทอง
    ๓. โลหิตตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน
    ๕. มัญเชฏฐะ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่
    ๖. ปภัสสระ เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก


    สีทั้ง ๖ นี้ไม่ได้พุ่งออกเป็นสี ๆ ดังที่แยกไว้นี้ แต่แผ่ออกมาพร้อมกันในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าวถึงพระฉัพพรรณรังสีที่แผ่ซ่านออกจากพระกายพระพุทธเจ้า ไว้ดังนี้

    "ในลำดับนั้น พระฉัพพรรณรังสีก็โอภาสแผ่ออกจากพระสริรกาย อันว่านิลประภาก็เขียวสดเสมอด้วยสีแห่งดอกอัญชันมิฉะนั้นดุจพื้นแห่งเมฆแลดอกนิลุบลแลปีกแห่งแมลงภู่ ผุดออกจากอังคาพยพในที่อันเขียวแล่นไปจับเอาราวป่า และพระรัศมีที่เหลืองนั้นมีครุวนา ดุจสีเขียวแล่นไปจับเอาราวป่า แลพระรัศมีที่เหลืองนั้นมีครุวนา ดุจสีหรดารทองแลดอกกรรณิการ์แลกาญจนปัฏอันแผ่ไว้ พระรัศมีออกจากพระสริรประเทศในที่อันเหลืองแล้ว แล่นไปสู่ทิศานุทิศต่าง ๆ พระรัศมีที่แดงอย่างพาลทิพากรแลแก้วประพาฬ แลกุมุทปทุมกุสุมชาติ โอภาสออกจากพระสริรอินทรีย์ในที่อันแดงแล้วแล่นฉวัดเฉวียนไปในประเทศที่ทั้งปวง พระรัศมีมีที่ขาวก็ขาวดุจดวงรัชนิกร แลแก้วมณี แลสีสังข์ แลแผ่นเงิน แลดวงดาวพกาพฤกษ์ พุ่งออกจากพระสริรประเทศในที่อันขาวแล้วแล่นไปในทิศโดยรอบ พระรัศมีหงสสิบาทก็พิลาสเล่ห์ดุจสีดอกเซ่ง แลดอกชบา แลดอกหงอนไก่ออกจากรัชกายรุ่งเรืองจำรัส พระรัศมีประภัสสรประภาครุนาดุจสีแก้วพลึกแลแก้วไพฑูริย์เลื่อมประพระฉัพพรรณรังสีทั้ง ๖ ประการแผ่ไพศาลแวดล้อมไปโดยรอบพระสกลกายยินทรีย์ กำหนดที่ ๑๒ ศอก โดยประมาณ อันว่าศศิสุริยประภาแลดาราก็วิกลวิการอันแสง เศร้าสีดุจหิ่งห้อยเหือดสิ้นสูญ มิได้จำรูญไพโรจโชติชัชวาล"

    รัศมีเฉกเช่นฉัพพรรณรังสีนี้มีเฉพาะพระพุทธเจ้าและเทวดาเท่านั้น นอกจากนี้ก็เกิดแต่ธรรมชาติเช่นสีรุ้งที่เรียกกันเป็นสามัญว่ารุ้งกินน้ำ หรือ พระจันทร์ พระอาทิตย์ทรงกลด ที่ออกจากเทวดานั้นจะเห็นได้ดังที่พรรณนาไว้ในพระสูตรต่าง ๆ ในเวลาที่เทวดามาเฝ้าพระพุทธเจ้าดังนี้

    มีเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีสว่างจ้าเข้ามายังพระเชตวัน ทำพระเชตวันให้สว่างไสวไปทั่วบริเวณ เข้าเผ้าพระทุทธเจ้าที่ประทับความสว่างของรัศมีนั้น ไม่เหมือนแสงเดือนแสงตะวัน หรือไม่เหมือนแสงไฟ เป็นแสงสว่างที่เสมอกันทั้งหมด และเป็นแสงสว่างที่ไม่มีเงาเหมือนแสงอื่นเป็นแสงที่แผ่ไปติดอยู่ทั่วบริเวณ

    มีข้อความในปฐมสมโพธกถา ปริเฉทที่ ๑๓ ธรรมจักรปริวรรตว่าดังนี้

    "ฝ่ายอุปกาชีวเดินมาโดยทุราคมวิถีทางไกล หว่าง คยาประเทศเขตเมืองราชคฤห์กับมหาโพธิญาณ ติดต่อกัน แลเห็นไพสณฑ์สถานอันโอฬารไพโรจน์พรรณราย ด้วยข่ายฉัพพรรณรังสีโสณิวิลาส ปรากฏโดยทิวาทัศนาการทั้งพสุธารแลอากาศโอภาสด้วยพระรัศมีมีพรรณแห่งละ ๖ อย่าง ทั่วทั้งทิศล่างและทิศบน มาสัมผัสกายตนประหลาดมหัศจรรย์ไม่เคยได้พบเห็นเป็นเช่นนี้มาแต่ก่อน ถ้าจะเป็นเพลิง ไฉนกายอาตมาจึงไม่ร้อนกระวนกระวายแม้จะเป็นน้ำ ไฉนกายอาตมาจะไม่ชุ่มชื้นเย็นนี่จะเป็นสิ่งอันใดยิ่งสงสัยสนเท่ห์จิต จึงเพ่งพิศไปข้างโน้นข้างนี้ ก็เห็นองค์พระผู้ทรงสวัสดิ์ภาคย์เสด็จบทจรมา รุ่งเรืองด้วยพระสิดิฉันธมหาหว่างติสสุระ ลักษณะแลพระพยามประภาโอภาสเบื้องบน พระสุริย ก็ช่วงโชติด้วยพระเกตุมาลา ครุนาดุจทองทั้งแท่งประดับด้วยฉัพพรรณรังสี รังสีแสงไพโรจน์จำรัส"
     
  4. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    หมวดที่ ๒ พระนาม

    "พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ อุบัติในภัททกัปนี้"

    คำว่า "กัป" หมายถึง ระยะเวลาที่ยาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักวาฬ ประลัยครั้งหนึ่ง คือกำหนดอายุของโลก ท่านให้เข้าใจด้วยอุปามาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ 1 โยชน์ (๔๐๐ เส้นหรือประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) ทุก 100 ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวกว่านั้น

    "กัป" ปัจจุบันนี้เรียกว่า "ภัททกัป" หรือ "ภัทรกัป" แปลว่า กัปเจริญ เพราะในภัททกัปจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์ คือ

    ๑. พระกกุสันธะ
    ๒. พระโกนาคมนะ
    ๓. พระกัสสปะ
    ๔. พระโคดม (คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)
    ๕. พระศรีอริยเมตไตรย


    ในภัททกัปนี้จักมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในอนาคตอีกหนึ่ง พระองค์คือ "พระศรีอริยเมตไตรย"
    บทนมัสการว่า "นโม พุทธาย" แปลตามศัพท์ว่า "นอบน้อมแต่พระพุทธเจ้า"เป็นคำ กลาง ๆ แต่ก็นับถือกันว่าเป็นบทไหว้พระพุทธเจ้า ๕ ประองค์ น่าจะเพราะนับได้ ๕ อักษร และพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นั้น ก็หมายถึง พระพุทธเจ้าซึ่งได้อุบัติแล้วและจักอุบัติในภัททกัปนี้


    "พระพุทธเจ้าทรงฌาน ๕ ประองค์"

    พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ในคติมหายาน ถือว่ามีมากมายเหลือคณานับ เวลาบูชาเมื่อกล่าวนอบน้อมพระนามของพระพุทธเจ้า และประโพธิสัตว์ ทั้งหลายเท่าที่จำได้แล้ว สุดท้ายย่อมเติมนมัสการพระะทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเท่าที่จำได้แล้ว สุดท้ายย่อมเติมนมัสการพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายตลอดจักวาร อันนับประมาณมิได้ดุจทรายในแม่น้ำคงคา ฉะนั้น (คงคานทีวาลุโปมา พุทธา)

    นิกายมหายานถือว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นทิพยภาวะอันบริสุทธิ์เป็นอนาทิ อนันตะ เช่นเดียวกับพระพรหมในศาสนาพราหมณ์ แต่ทรงสำแดงนิรมานกายมาช่วยสัตว์โลก ทำนองเดียวกับพระนารายณ์ อวตารจำนวนพระพุทธเจ้าจึงมีมากจนนับไม่ถ้วน ในขณะที่พระพุทธเจ้าของเราดำรงพระชนม์อยู่ในโลก พระพุทธเจ้าอีกเป็นอันมากทรงแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์โลกอยู่ในโลกธาตุต่าง ๆ ที่เรียกว่า "พุทธเกษตร"

    พุทธเกษตรแต่ละแห่งมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามพระปฏิธานและคุณาภินิหารแห่งพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ พุทธเกษตรแต่ละแห่งมีความสวยงามวิจิตรพิสดารเป็นอันมาก

    แต่พระพุทธเจ้าที่มีผู้รู้จักมากและทรงความสำคัญมีอยู่ ๕ พระองค์ เรียกว่า "ธยานิพุทธะ" แปลว่า พระพุทธเจ้าทรงฌาน คือ

    ๑. พระไวโรจนพุทธะ มีวรรณะขาว พระพุทธเจ้าองค์นี้ถือว่าเป็นแก่นหฤทัยแห่งโลกานุโลก พุทธศาสนานิกายฝ่ายเหนือ (อุตรนิกายมนตรยาน) นับถือยิ่งนัก พุทธสาวกชาวญี่ปุ่นในนิกายชินยอน (มนตรยานแบบญี่ปุ่น) เคารพพระพุทธเจ้าองค์นี้ยิ่งกว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้าเสียอีก ถัดลงมาเป็นพระพุทธเจ้าประจำพุทธเกษตรแห่งทิศทั้ง ๔ คือ

    ๒. พระอักโษภยพุทธะ มีวรรณะสีน้ำเงิน

    ๓. พระรัตนสัมภวะ มีวรรณะเหลือง

    ๔. พระอมิตาภพุทธะ มีวรรณะแดง พุทธสาวกนิกายเจ้งโท้วในจีนหรือนิกายยินในญี่ปุ่น นับถือองค์นี้มากยิ่งกว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้า ถือว่าใครก็ตามถ้าระลึกถึงพระนามด้วยใจบริสุทธิ์ อาจทำให้ไปสู่คติได้

    ๕. พระอโมฆสิทธิพุทธะ มีวรรณเขียว




    "พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ ใกล้กาลปัจจุบัน"

    พระพุทธเจ้า ๗ ประองค์ ที่ใกล้กาลปัจจุบันที่สุด และคัมภีร์กล่าวถึงบ่อย ๆ คือ

    ๑. พระวิปัสสี
    ๒. พระสิขี
    ๓. พระเวสสภู
    ๔. พระกกุสันธะ
    ๕. พระโกนาคมนะ
    ๖. พระกัสสปะ
    ๗. พระโคดม (คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)


    "พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่พระโคดมพุทธเจ้าทรงพบ"

    พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นี้ ๒๔ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าที่ระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและพระโคดมพุทธเจ้าทรงได้รับพยากรณ์ว่า จะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า นิยมนับรวมพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเข้ารวมด้วยเรียกว่า "พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์" นับแต่พระองค์แรกจนถึงพระโคดมพุทธเจ้า มีดังนี้

    ๑. พระทีปังกร
    ๒. พระโกณฑัญญะ
    ๓. พระสุมัคละ
    ๔. พระสุมนะ
    ๕. พระเรวตะ
    ๖. พระโสภิตะ
    ๗. พระอโนมทัสสี
    ๘. พระปทุมะ
    ๙. พระนารทะ
    ๑๐. พระปทุมุตตระ
    ๑๑. พระสุเมธะ
    ๑๒. พระสุชาตะ
    ๑๓. พระปิยทัสสี
    ๑๔. พระอัตถทัสสี
    ๑๕. พระธรรมทัสสี
    ๑๖. พระสิทธัตถะ
    ๑๗. พระติสสะ
    ๑๘. พระปุสสะ
    ๑๙. พระวิปัสสี
    ๒๐. พระสิขี
    ๒๑. พระเวสสภู
    ๒๒. พระกกุสันธะ
    ๒๓. พระโกนาคมนะ
    ๒๔. พระกัสสปะ
    ๒๕. พระโคตมะ (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)




    "พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ในพระคัมภีร์ชั้นอรรถกถา"

    ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาแสดงย้อนหลังพระนามของพระพุทธเจ้ารวมกัน ถึง ๒๘ พระองค์ ซึ่งมักอ้างในบทสวดหรือในการประกอบพิธีหลายอย่างมีดังนี้

    <TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๑. พระตัณหังกร


    ๒. พระเมธังกร
    ๓. พระสรณังกร
    ๔. พระทีปังกร


    </TD><TD>(รวม ๔ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๕. พระโกณฑัญญะ </TD><TD>(เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๖. พระสุมังคละ


    ๗. พระสุมนะ
    ๘. พระเรวตะ
    ๙. พระโสภิตะ


    </TD><TD>(รวม ๔ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๑๐. พระอโนมทัสสี


    ๑๑. พระปทุมะ
    ๑๒. พระนารทะ


    </TD><TD>(รวม ๓ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๑๓. พระปทุมุตตระ </TD><TD>(เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๑๔. พระสุเมธะ


    ๑๕. พระสุชาตะ


    </TD><TD>(รวม ๒ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๑๖. พระปิยทัสสี


    ๑๗. พระอัตถทัสสี
    ๑๘. พระธรรมทัสสี


    </TD><TD>(รวม ๓ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๑๙. พระสิทธัตถะ </TD><TD>(เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๒๐. พระติสสะ


    ๒๑. พระปุสสะ


    </TD><TD>(รวม 2 พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๒๒. พระวิปัสสี </TD><TD>(เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๒๓. พระสิขี


    ๒๔. พระเวสสภู


    </TD><TD>(รวม 2 พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๒๕. พระกกุสันธะ


    ๒๖. พระโกนาคมนะ
    ๒๗. พระกัสสปะ
    ๒๘. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของเราทั้งหลาย


    </TD><TD>(รวม ๔ พระองค์อุบัติแล้วในกัปนี้)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อนึ่ง ในกัปนี้เอง จักอุบัติขึ้นในอนาคตอีกหนึ่งพระองค์ คือ "พระเมตเตยยะ" หรือ "พระศรีอารยเมตไตรย" แต่มักเรียกกันว่า "พระศรีอารย์" ซึ่งจะอุบัติขึ้นหลังจากสิ้นศาสนา พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันแล้ว ในกาลนั้นมนุษย์ มีอายุยืน ๘๐,๐๐๐ ปี

    จะเห็นได้ว่าใน ๑๑ กัปที่ผ่านมาไม่มีกัปใดที่มีพระพุทธเจ้าเกิน ๔ พระองค์ แต่ในกัปปัจจุบันนี้ (คือกัปที่ ๑๒ นับจากพระพุทธเจ้าองค์แรก คือ พระตัณหังกร) จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์ รวมทั้งพระศรีอารย์ จึงเรียกว่า "ภัททกัป" หรือ ภัทรกัป" แปลว่า กัปเจริญ




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2005
  5. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ทรงเลือก ๕ อย่าง"

    ในกาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์เจ้า บังเกิดเป็นสันตุสิตเทวราชเสวยทิพยสมบัติอยู่ในรัตนวิมานสวรรค์ ชั้นดุสิตเทวโลก ครั้งนั้นท้าวมหาพรหม และเทวราชในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นฟ้า ชวนกันไปเผ้ากราบทูลอาราธนาพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ให้จุติลงไปบังเกิดทั้งสองประชากร ให้รู้ธรรม และประพฤติธรรม สมดังที่พระองค์ได้บำเพ็ญบารมีตั้งพระทัยไว้แต่แรก

    พระบรมโพธิสัตว์เจ้า ยังมิได้รับอาราธนาของทวยเทพทั้งหลายทรงพิจารณาดู "ปัญจมหาวิโลกนะ" หมายถึงสิ่งที่พระบรมโพธิสัตว์ทรงพิจารณาข้อตรวจสอบที่สำคัญหรือ "การตรวจดูอันยิ่งใหญ่ ๕ อย่าง" ก่อนที่จะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้ามี ๕ อย่างคือ ๑. กาล ๒.ทวีป ๓.ประเทศ ๔.ตระกูล ๕.มารดา พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทรงเลือกดังนี้

    ๑. กาล ทรงเลือกอายุกาลของมนุษย์
    ๒. ทวีป ทรงเลือกชมพูทวีป
    ๓. ประเทศ ทรงเลือกมัธยมประเทศ
    ๔. ตระกูล ทรงเลือกตระกูลกษัตริย์ศากยวงศ์
    ๕. มารดา ทรงเลือกมารดาที่มีศีลห้าบริสุทธิ์ ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป และกำหนดอายุของมารดา ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา


    การที่ทรงเลือก อายุกลมนุษย์ เพราะอายุมนุษย์ขึ้นลงตามกระแสสังขาร บางยุคอายุ ๘ หมื่นปี ๔ หมื่นปี ๒ หมื่นปี อายุกาลของมนุษย์ในยุคนั้น ๑๐๐ ปีตรงตามที่ทรงกำหนดไว้คือต้องไม่สั้นกว่าร้อยปี ต้องไม่ยาวเกินแสนปี ที่ทรงเลือกอายุ ๑๐๐ ปีเพื่อให้เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร เหตุที่ไม่ตรัสรู้บนสวรรค์ทั้งนี้เพราะเทวดาไม่เห็นทุกข์มีแต่สุข อายุยืนยาวนานนัก จะไม่เห็นอริยสัจ การตรัสรู้ธรรมและแสดงธรรมได้ผลดีมากในเมืองมนุษย์

    การที่ทรงเลือกชมพูทวีป ซึ่งแปลว่า "ทวีปแห่งต้นหว้า" เพราะมีต้นหว้าขึ้นมากในดินแดนแห่งนี้ แผ่นดินชมพูทวีปในยุคนั้นกว้างใหญ่ไพศาลกว่าประเทศอินเดียในปัจจุปันมากนัก มีดินแดนกินประเทศอื่นในปัจจุบันอีก ๖ ประเทศคือ ๑.ปากีสถาน ๒. บังกลาเทศ ๓. เนปาล ๔.ภูฏาน ๕.สิขิม ๖. บางส่วนของอัฟกานิสถาน (แคว้นกัมโพชะ ในมหาชนบท ๑๖ ปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถาน)

    ชมพูทวีปครั้งพุทธกาลแบ่งเป็นหลายอาณาจักร เป็นมหาชนบท ๑๖ แคว้น และยังปรากฎอีก ๔ แคว้นในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา อาณาจักรเหล่านี้มีพระเจ้าแผ่นดินดำรงยศเป็นมหาราชาบ้าง ราชาบ้างมีอธิบดีบ้าง เป็นผู้ปกครองโดยทรงอำนาจสิทธิขาดบ้างโดยสามัคคีธรรมบ้าง บางคราวตั้งเป็นอิสระ บางคราวตกอยู่ในอำนาจอื่นตามยุคตามสมัย

    คนในชมพูทวีปแบ่งเป็นชนชั้น ที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์เรียกว่า วรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทรคนในชมพูทวีปสนใจในวิชาธรรมมาก มีคณาจารย์ตั้งสำนักแยกย้ายกันตามลัทธิต่าง ๆ มากมาย เกียรติยศของศาสดาเจ้าลัทธิเจ้าสำนักผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ได้รับยกย่องเสมอเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินหรือมากยิ่งกว่า

    การที่ทรงเลือกมัธยมประเทศ เพราะชมพูทวีปแบ่งเป็น ๒ จังหวัด เหนือ ๑ อาณาเขต อาณาเขตในคือ มัชณิมชนบทหรือมัธยมประเทศเป็นถิ่นกลางที่ตั้งแห่งนครใหญ่ ๆ มีความเจริญรุ่งเรือง มีเศรษฐกิจดี มีประชากรหนาแน่น เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่ของนักปราชญ์ผู้มีความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษาและศิลปวิทยาการ เคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของพวกอารยันหรืออริยกะ รูปร่างสูง ผิวค่อนข้างขาวเป็นพวกที่มีความเจริญไม่ใช่เจ้าของถิ่นเดิม ทรงกำหนดกรุงกบิลพัสดุเป็นที่บังเกิด ส่วนอาณาเขตนอก เรียกว่าปัจจันตชนบทหรือประเทศปลายแดนเป็นถิ่นที่ยังไม่เจริญ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของคนพื้นเมืองดั้งเดิม รูปร่างเล็กผิวดำ จมูกแบน เป็นพวกเชื้อสายดราวิเดียนหรือพวกทมิฬในปัจจุบัน

    การที่ทรงเลือกอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา เพระทรงกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมบัติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ และศากยสกุลเป็นตระกูลที่บริสุทธิ์ ๗ ชั่วโคตร ถ้าไม่บริสุทธิ์ก็ยากที่จะมีคนเคารพนับถือ การเผยแผ่ศาสนาจะทำได้ยาก เพราะคนในสมัยนั่นถือชั้นวรรณะกันมากจึงเลือกวรรณะกษัตริย์ ที่สูงสุด เพราะไม่ใช่เพื่อตรัสรู้อย่างเดียว ทรงประประสงค์สั่งสอนธรรมแก่ประชาชนด้วย

    การที่ทรงเลือกมารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีลห้าบริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่ไม่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาเป็นเจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าอัญชนะเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์

    พระบรมโพธิสัตว์ทรงเลือกพระมารดาที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนมลทินโทษ มิฉะนั้น จะยากแก่การเผยแผ่ศาสนาจะถูกโจมตี พระนางสิริมหามายา ได้อธิฐานไว้ว่า ขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้าเมื่อประสูติ พระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้ ๗ วันก็เสด็จทิวงคต เพระสงวนไว้สำหรับประสูติพระพุทธเจ้าองค์เดียว ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสถิตในดุสิตเทวโลกตามประเพณีพระพุทธมารดาไม่ได้เป็นหญิงอย่างเก่า ที่เกิดเป็นหญิงเพระอธิฐานขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้า


    "๗ สหชาติ ของพระพุทธเจ้า"


    ครั้น พระนางสิริมหามายา พระราชมารดาของพระพุทธเจ้าเมื่อใกล้ถึงกำหนดพระประสูติกาล ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปยังกรุงเทวทหะอันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง (ตามธรรมเนียมพราหมณ์ที่ฝ่ายหญิงจะต้องกลับไปคลอดที่บ้านบิดามารดา) เมื่อขบวนผ่านมาถึงอุทยานลุมพินีซึ่งตั้งอยู่ระหว่างนครทั้งสอง พระนางประชวรพระครรภ์ บรรดาข้าราชบริพาลก็รีบจัดที่ประสูติถวายภายใต้ต้นสาละใหญ่

    กาลเวลานั้นแดดอ่อน ดวงตะวันยังไม่ขึ้นตรงศรีษะเป็นวันเพ็ญเดือน ๖ พระจันทร์จักโคจรเต็มดวงในยามเที่ยงคืน ชมพูทวีปเริ่มมีฝนอากาศโปร่ง ต้นไม้ในอุทยานป่าสาละกำลังผลิดอกออกใบอ่อน ดอกสาละ ดอกจำปาป่า ดอกอโศก และดอกไม้นานาพรรณกำลังเบ่งบานส่งกลิ่นเป็นที่จำเริญใจ พระนางสิริมหามายาประทับยืน พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละ พระหัตถ์ซ้ายปล่อยตก ประสูติพระโอรสโดยสะดวก

    ในวันเพ็ญเดือน ๖ วันที่พระกุมารประสูตินั้น มีมนุษย์และสัตว์กับสิ่งซึ่งเป็นสหชาติมงคลบังเกิดร่วมถึง ๗ อัน "สหชาติ" นั้นหมายถึงผู้เกิดร่วมด้วย ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า คือ

    ๑. พระนางพิมพา
    หรือพระนางยโสธรา เป็นพระราชบุตรีของประเจ้าสุปปพุทธะกรุงเทวทหะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะเมื่อมีประชนม์ได้ ๑๖ พรรษา เป็นพระมารดาของพระราหุล ภายหลังออกบวชมีนามว่า พระภัททกัจจานา


    ๒. พระอานนท์
    เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ โอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านออกบวชในพุทธศาสนา และได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธศาสนาและได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหลายด้าน ท่านบรรลุพระอรหัตหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนาท่านดำรงชีวิตสืบมาจนถึงอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศเหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติสองฝ่ายคือศากยะ และโกลิยะ


    ๓. นายฉันนะ
    เป็นอำมาตย์คนสนิท และเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวัง เสด็จออกบรรพชาเมื่อมีพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา นายฉันนะตามเสด็จไปด้วยและนำเครื่องอาภรณ์พร้อมทั้งคำกราบทูลของเจ้าชายสิทธัตถะกลับกรุงกบิลพัสดุ์ ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่าไปฟังเกิดความบ่อย ๆ หลังจาก พระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว ถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์หายพยศและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์


    ๔. อำมาตย์กาฬุทายี
    เป็นพระสหายสนิทของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์พระเจ้าสุทโธนะส่งไปทูลเชิญพระศาสดาเพื่อเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์อำมาตย์กาฬุทายีไปเผ้าพระศาสดาที่กรุงราชคฤห์ ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุพระอรหัตตผล อุปสมบทเป็นภิกษุแล้วทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส


    ๕. ม้ากัณฐกะ
    ม้าพระที่นั่งของเจ้าชายสิทธัตถะ ตัวม้ายาวจากคอถึงหาง ๑๘ ศอก ส่วนสูงก็เหมาะสมกับส่วนยาว มีสีขาวผ่องเหมือนเปลือกหอยสังข์ที่ขาวสะอาด ในราตรีที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีออกจากพระราชวัง เพื่อเสด็จออกพรรพชา การเดินทางครั้งนี้มีนายฉันนะเกาะหางม้ากัณฐกะไปด้วย ม้ากัญฐกะเดินทางถึงแม่น้ำอโนมาใช้เวลาเที่ยงคืนถึงเช้าระยะทาง ๓๐ โยชน์ (๔๘๐ กิโลเมตร) กระโดดครั้งเดียวก็ข้ามแม่น้ำอโนมา เมื่อข้ามฝั่งแม่น้ำแล้วเจ้าชายสิทธัตถะจึงรับสั่งว่า กัณฐกะเจ้าจงกลับไปยังเมืองกบิลพัสดุ์เถิด ม้ากัณฐกะจึงเหลียวมองไปทางเจ้าชายสิทธัตถะ พอเจ้าชายลับสายตาไป ม้าก็ถึงแก่ความตายเนื่อง จากเสียใจ และได้ไปเกิดอยู่ในดาวดึงส์ มีชื่อว่า "กัณฐกเทวบุตร"


    ๖. ต้นมหาโพธิ์
    เจ้าชายสิทธัตถะขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ใต้ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ ตำบลพุทธคยา แขวงเมืองอุรุเวลาเสนานิคม ของรัฐพิหาร) ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๑ เกิดพร้อมกับเจ้าชายสิทธัตถะ มีอายุ ๓๐๕ ปี (ต้นโพธิ์ตรัสต้นที่ ๒ มีอายุ ๘๙๑ ปี ต้นที่ ๓ มีอายุ ๑,๒๒๗ ปี ต้นโพธิ์ตรัสรู้ปัจจุบันเป็นหน่อที่ ๔ ปลูกราว พ.ศ. ๒๔๓๔)


    ๗. ขุมทรัพย์ทั้งสี่
    ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ หรือนิธิกุมภี คือขุมทอง ๔ ขุม ได้แก่ ขุมทองสังขนิธี ขุมทองเอลนิธี ขุมทองอุบลนิธี ขุมทองปุณฑริกนิธี





    "ความฝัน ๕ เรื่องของพระบรมโพธิสัตว์"

    เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงเลิกละทุกรกิริยาแล้ว ก็ทรงเริ่มทำความเพียรทางจิตต่อไป จนถึงราตรีขึ้น ๑๔ ค้ำ เดือน ๖ ปีระกา คืนก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสุบินเรียกว่า "ปัญจมหาสุบิน" คือความฝัน ๕ เรื่องของพระบรมโพธิสัตว์มีความว่า

    ๑. พระองค์ทรงบรรทมหงายเหนือพื้นปฐพี พระเศียรหนุนเขาหิมพานต์เป็นพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายหยั่งลงในมหาสุมทรทิศใต้ (ผทม = นอน พระเขนย + หมอนหนุน)
    ๒. หญ้าแพรกเส้นหนึ่งงอกจากพระนาภีสูงขึ้นไปจนถึงท้องฟ้า (พระนาภี = สะดือ)
    ๓. หมู่หนอนทั้งหลาย สีขาวบ้าง ดำบ้างเป็นอันมากไต่ขึ้นมาแต่พื้นพระบาททั้งคู่ ปกปิดลำพระชงฆ์หมด และไต่ขึ้นมาถึงพระชานุมลฑล (พระชงฆ์ = แข้ง พระชานุ = เข่า)
    ๔. ฝูงนก ๔ จำพวก มีสีต่าง ๆ กันคือ สีเหลือง เขียง แดง ดำบินมาแต่ทิศทั้ง ๔ ลงมาจับแท่นพระบาทแล้วกลับกลายเป็นสีขาวไปสิ้น
    ๕. เสด็จขึ้นไปเดินจงกรมบนยอดภูเขาอันเต็มไปด้วยอาจมแต่อาจมนั้นมิได้เปื้อนพระยุคลบาท

    พระมหาสุบินทั้ง ๕ เรื่องนั้น มีอธิบายคำทำนายว่า

    ๑. พระบรมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศในโลกทั้ง ๓
    ๒. พระบรมโพธิสัตว์จะได้ทรงประกาศสัจธรรม เผยมรรคผล นิพพาน แก่ เทพยดาและมนุษย์ทั้งมวล
    ๓. คฤหัสถ์ พราหมณ์ทั้งหลาย จะเข้ามาสู่สำนักของพระองค์เป็นอันมาก
    ๔. ชาวโลกทั้งหลาย คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เมื่อมาสู่สำนักของพระองค์แล้ว จะรู้ทั่วถึงธรรมอันบริสุทธิ์หมดจดผ่องใสไปสิ้น
    ๕. ถึงแม้พระองค์จะพร้อมมูลด้วยสักการะวรามิศ ที่ชาวโลกอุทิศน้อมถวายด้วยความเลื่อนใส ก็มิได้มีพระทัยข้องอยู่ให้เป็นมลทินแม้แต่น้อย

    ครั้นพระบรมโพธิสัตว์ตื่นผทมแล้ว ก็ทรงดำริถึงข้อความในพระมหาสุบินทั้ง ๕ เรื่อง แล้วทำนายด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์เองว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแน่แท้ ครั้นได้ทรงทำสรีรกิจสระสรงพระกายหมดจดแล้วก็เสด็จมาประทับนั่ง ณ ที่ควงไม้นิโครธพฤกษ์ในยามเช้าแห่งวันเพ็ญวิสาขปุรณมีดิถี กลางเดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธสักราช ๔๕ ปี



    "พระนามของพระพุทธเจ้า"

    พระพุทธเจ้าในที่นี้หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายหรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนั้นเอง มีคำเรียกกล่าวนามพระพุทธเจ้าของเรามากมาย ซึ่งพอจะนำมาประมวลไว้ได้ ดังต่อไปนี้


    ๑.พระบรมโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ หมายถึงท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตา อุเบกขา
    ๒.อังคีรส หมายถึง มีรัศมีแผ่ซ่านจากพระกาย เป็นพระนามแรก เมื่อพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำหน้าที่ถวายพระนามและทำนายลักษณะพระกุมาร กล่าวถึงเมือพินิจจากลักษณะแรกพบเห็น
    ๓.สิทธัตถกุมาร เป็นพระนามที่พราหมณ์ ๘ คนผู้ทำหน้าที่ถวายพระนามและทำนายลักษณะพระกุมาร ตั้งถวาย "สิทธัตถ" แปลว่า มีความต้องการสำเร็จ หรือสำเร็จตามที่ต้องการ คือสมประสงค์จะต้องการอะไรได้หมด
    ๔.สิทธัตถะ , เจ้าชายสิทธัตถะ , พระสิทธัตถะ พระนามเดิมของพระพุทธเจ้าก่อนเสด็จออกบรรพชา
    ๕.พระมหาบุรุษ หมายถึง บุรุษผู้ยิ่งใหญ่เป็นคำใช้เรียกพระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้
    ๖.โคดม , โคตมะ , พระโคดม ,พระโคตมะ , พระสมณโคดม, โคดมพระพุทธเจ้า หมายถึง ชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า มหาชนเรียกพระพุทธเจ้าตามพระโคตรของพระองค์
    ๗.ตถาคต พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่างคือ ๑. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น ๒. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น ๓. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ ๔. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น ๕. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น ๖. พระผู้ตรัสอย่างนั้น ๗. พรุผู้ทำอย่างนั้น ๘. พระผู้เป็นเจ้า
    ๘.ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
    ๙.ธรรมกาย หมายถึง ผู้มีธรรมในกาย เป็นพระนามอย่างหนึ่งของ พระพุทธเจ้า
    ๑๐.ธรรมราชา คือพระราชาแห่งธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้า
    ๑๑.ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร คือผู้เป็นใหญ่โดยฐานเป็นเจ้าของธรรม หมายถึง พระพุทธเจ้า
    ๑๒.ธรรมสามี คือ ผู้เป็นเจ้าของธรรม เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้า
    ๑๓.ธรรมิศราธิบดี คือ ผู้เป็นอธิปดีโดยฐานเป็นใหญ่ในธรรมเป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า
    ๑๔.บรมศาสดา, พระบรมศาสดา คือ ศาสดาที่ยอดเยี่ยม พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู หมายถึง พระพุทธเจ้า
    ๑๕.พระผู้มีพระภาคเจ้า หมายถึง พระนามของพระพุทธเจ้า
    ๑๖. พระพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม, ท่านผู้รูดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาบ วาจา ใจ
    ๑๗.พระศาสดา หมายถึงผู้สอนเป็นพระนามเรียกพระพุทธเจ้า
    ๑๘. พระสมณโคดม เป็นคำที่คนภายนอกนิยมใช้เมื่อกล่าวถึงพระพุทธเจ้า
    ๑๙.พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า,พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า,สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้เอง หมายถึงพระพุทธเจ้า
    ๒๐. ภควา คือ พระนามของพระพุทธเจ้า แปลว่า ทรงเป็นผู้มีโชค คือหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายได้ คำแปลอีกนัยหนึ่งว่า ทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม
    ๒๑. มหาสมณะ พระนามหนึ่งสำหรับเรียกสมเด็จพระสัมพุทธเจ้า
    ๒๒. โลกนาถ, พระโลกนาถ เป็นที่พึ่งแห่งโลก หมายถึงพระพุทธเจ้า
    ๒๓.สยัมภู,พระสัมภู พระผู้เป็นเอง คือตรัสรู้ได้เองโดยไม่มีใครสั่งสอน หมายถึง พระพุทธเจ้า
    ๒๔.สัพพัญญู, พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า หมายถึง ผู้รู้หมด,ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง คือ พระนามของพระพุทธเจ้า
    ๒๕.พระสุคต,พระสุคโต หมายถึง ผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2005
  6. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2005
  7. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    หมวดที่ ๓ พุทธบริษัท

    "อุบาสกสำคัญในสมัยพุทธกาล"

    คำว่า "อุบาสก" หมายถึงชายผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย คนใกล้ชิดพระศาสนา,คฤหัสถ์ชายที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา โดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

    อุบาสกสองผู้อัครอุปัฏฐาก (ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณร) คือ จิตตคฤหบดี และหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

    ปฐมอุบาสิกา หรืออุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ตปุสสะ กับภัลลิกะ ซึ่งถึงสรณะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรม ทั้งสองเป็นพ่อค้าที่นำกองเกวียนเดินทางมาจากทุกกลชนบท มาถึงแขวงเมืองอุรุเวลาเสนานิคม พบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นไม้ราชาตนะ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ในกาลนั้นเป็นสัปดาห์ที่ ๗ ที่พระพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะและปวงทุกข์) ภายหลังจากตรัสรู้ ตปุสสะ กับภัลลิกะเข้ามาถวายสัตตุผงสัตตุก้อน (ข้าวตูเสบียงเดินทาง) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสร็จการเสวยแล้ว พ่อค้าทั้งสองได้กราบทุลแสดงตนเป็นอุบาสกด้วยความเลื่อมใสขอถึงพระผู้มีภาคเจ้ากับพระธรรม ว่าเป็นสรณะตลอดชีวิต ด้วยเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ปฐมอุบาสกทั้งสองนี้จึงเป็นอุบาสกประเภท "เทวาจิก" คือเปล่งวาจาขอถึงพระพุทธเจ้า และพระธรรมทั้งสองเป็นที่พึ่งที่ระลึก

    ชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของหญิงงามเมือง ในเมืองราชคฤห์แคว้นมคธ ครั้นคลอดแล้วถูกนำไปทิ้งที่กองขยะ เจ้าชายอภัยโอรสของพระเจ้าพิมพิสารมาพบเข้าจึงเก็บไปเลี้ยงไว้ในวัง ครั้นชีวกเจริญวัยขึ้นพอจะทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้า ก็คิดแสวหาศิลปวิทยาไว้เลี้ยงตัวจึงเดินทางไปศึกษาวิชาแพทย์กับอาจารย์แพทย์ทิศาปาโมกข์ ที่เมืองตักศิลาศึกษาอยู่ ๗ ปี ครั้นสำเร็จจึงเดินทางกลับยังพระนครราชคฤห์
    เมื่อเสบียงหมดในระหว่างทาง ได้แวะหาเสบียงที่เมืองสาเกตโดยไปรักษาภรรยาเศรษฐีหายจากโรคปวดศีรษะมา ๗ ปี ไม่มีใครรักษาหาย ภรรยาเศรษฐีหายจากโรค ให้รางวัลหมอชีวกมากมาย ครั้นถึงพระนครราชคฤห์ ได้นำเงินและรางวัลทั้งหมดไปถวายเจ้าชายอภัยเป็นค่าปฏิการะคุณที่ได้ทรงเลี้ยงตนมา เจ้าชายอภัยโปรดให้หมอชีวกเก็บรางวัลไว้เป็นของตนเอง และโปรดให้หมอชีวกสร้างบ้านอยู่ในวังของพระองค์
    ต่อมาไม่นานเจ้าชายอภัยนำหมอชีวกไปรักษาโรคริดสีดวงงอกแก่พระเจ้าพิมพิสาร เมื่อพระองค์ทรงหายประชวรแล้ว ทรงพระราชทานเครื่องประดับของสตรีชาววัง ๕๐๐ คนให้เป็นรางวัล หมอชีวกไม่รับโดยทูลว่า ขอให้ทรงถือว่าเป็นหน้าที่ของตนเท่านั้น พระเจ้าพิมพิสารจึงโปรดให้หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ประจำฝ่ายในทั้งหมด และประจำพระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
    หมอชีวกได้รักษาโรครายสำคัญหลายครั้งเช่น ผ่าตัดรักษาโรคในสมองของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ ผ่าตัดเนื้องอกในสำใส้ของบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี รักษาโรคผอมเหลืองแด่พระเจ้าจัณฑปัชโชตแห่งกรุงอุชเชนี และถวายการรักษาแด่พระพุทธเจ้าในคราวที่พระบาทห้อโลหิตจากเศษหินจากก้อนศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาจากภูเขาเพื่อหมายปลงพระชนม์ชีพ
    หมอชีวกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้าปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ 2-3 ครั้ง เห็นว่าพระเวฬุวันวิหารที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ไกลเกินไป จึงสร้างวัดถวายในสวนมะม่วงของตน เรียกกันว่า ชีวกัมพวัน ครั้นเมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเริ่มน้อมพระทัยมาทางศาสนา หมอชีวกก็เป็นผู้แนะนำให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
    ด้วยเหตุที่หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำคณะสงฆ์และเป็นผู้มีศรัทธาเอาใจใส่เกื้อกูลคณะสงฆ์มาก จึงเป็นเหตุให้มีคนมาบวชเพื่ออาศัยวัดเป็นที่รักษาตัวจำนวนมาก จนหมอชีวกต้องทูลเสนอพระพุทธเจ้าให้ทรงบัญญัติข้อห้ามมิให้รับบวชคนเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิด นอกจากนั้นหมอชีวกได้กราบทูลเสนอให้ทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ เพื่อเป็นที่บริหารกายช่วยรักษาสุขภาพ ของภิกษุทั้งหลาย หมอชีวกได้รับพระดำรัสยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสผู้เลื่อมใสในบุคคล


    บิดาพระยสะ ภายหลังจากพระปัจจวัคคีย์สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ๕ องค์แรก ในพระพุทธศาสนา แล้ว พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนายสมาณพบุตรเศรษฐีกรุงพาราณสีได้ดวงตาเห็นธรรม ครั้นบิดาของสกุลบุตร ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชาวบ้านเสนานิคมตำบลอุรุเวลามาตามหาลูกชายพบพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประทับ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนา โปรดท่านเศรษฐีบิดาได้ดวงตาเห็นธรรมแสดงตนเป็นอุบาสก สมาณพซึ่งนั่งอยู่ในที่นั้นได้ฟังเทศนา ซ้ำเป็นครั้งที่สองก็ได้บรรลุอรหัตตผล ฝ่ายเศรษฐีบิดาก็กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาให้ไปรับอาหารบิณฑบาตที่เรือนของตน แล้วถวายบังคมลากลับ เมือเศรษฐีบิดากลับแล้ว สมาณพทูลขออุปสมบท นับเป็นภิกษุสาวกและพระอรหันต์องค์ที่ ๖ นอกจากนั้นยังเป็นพระอรหันต์องค์แรกที่อยู่ในเพศคฤหัสถ์ คือยังมิทันได้บวชก็บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์
    ในเวลาเช้าวันนั้น พระบรมศาสดาก็มีพระยสะเป็นพระตามเสด็จ ๑ รูป เสด็จไปยังเรือนท่านเศรษฐีตามคำอาราธนา ประทับนั่งยังอาสนะมารดาของยสะคือ นางสุชาดาผู้ถวายข้าวปายาส (ข้าวสุกที่หุงด้วยนมโค)ถวายแก่พระมหาบุรุษในเวลาเช้าของวันที่จะตรัสรู้ และภรรยาเก่าของพระยสะเข้าเฝ้า พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมให้สตรีทั้งสองนั้นได้ธรรมจักษุ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ปฎิญาณตนเป็นอะบาสิกาขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะได้เป็นอุบาสิกาสองคนแรกในพระพุทธศาสนาก่อนกว่าอุบาสิกกาทั้งหลายในโลกนี้
    ส่วนท่านเศรษฐีบิดาพระยสะได้เป็นอุบาสสกที่ถึงสรณะครบ ๓ คนแรก คือถึงพระรัตนตรัยอันมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


    จิตตคฤหบดี เป็นผู้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา ท่านผู้นี้เคยถูกภิกษุชื่อสุธรรมด่าว่าเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติปฏิสาราณียกรรม คือการลงโทษภิกษุผู้ด่าว่าคฤหัสถ์ที่ไม่มีความผิดด้วยการให้ไปขอขมา จิตตคฤหบดีเป็นหนึ่งในสอง อุบาสกผู้เป็นอัครอุปัฎฐากจิตตคฤหบดี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกธรรมกถึก (เอตทัคคะ = เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งธรรมกถึก = การแสดงธรรม)

    นกุลบิดา เป็นผู้มั่งคั่งชาวเมืองสุงสุมารคีรี ในแคว้นภัคคะ มีภรรยาชื่อ นกุลมารดา สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองสุงสุมารคิรีประทับที่ป่าเภสกลาวัน ท่านคฤหบดีและภรรยาไปเผ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่น ๆ พอได้เห็นครั้งแรก ทั้งสองสามีภรรยาก็เกิดความรู้สึกสนิทหมายใจเหมือนว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุตรของตน ได้เข้าไปถึงพระองค์และแสดงความรู้สึกนั้น พระพุทธเจ้าเป็นบุตรของตน ได้เข้าไปถึงพระองค์และแสดงความรู้สึกนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงโปรดทั้งสองท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน (ผู้ถึงกระแสที่จะนำไปสู่นิพพาน) ท่านทั้งสองเป็นคู่สามีภรรยาตัวอย่าง ผู้มีความจงรักภักดีต่อกันอย่างบริสุทธิ์และมั่นยั่งยืนตราบเท่าชรา ทั้งยังปรารถนาจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า เคยทูลขอให้พระพุทธเจ้าแสดงหลักธรรมที่จะทำให้สามีภรรยาครองรักกันยั่งยืน ตลอดไปทั้งภพนี้และภพหน้า
    เมื่อท่านนกุลบิดาเจ็บป่วยออดแอดร่างกายอ่อนแอ ไม่สบายด้วยโรคชรา ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนาครั้งหนึ่ง ที่ท่านประทับใจมากคือ พระดำรัสที่แนะนำให้ทำใจว่า "ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราไม่ป่วย"
    ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิทสนมคุ้นเคย


    พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินมคธครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทรงเสด็จพบพระบรมโพธิสัตว์เมื่ือครั้งออกบรรพชาใหม่ ๆ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ทรงทูลขอปฏิญญากับพระมหาบุรุษว่า ถ้าพระองค์ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ (พระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคต) และขอได้ทรงพระกรุณาเสด็จมายังพระนครราชคฤห์ แสดงธรรมโปรด
    พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายพระราชอุทยานเวฬุวันแก่พระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์เสด็จมาแสดงธรรมโปรดภายหลังจากทรงตรัสรู้แล้ว พระราชอุทยานเวฬุวันเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนาพระบรมศาสดาได้เริ่มประดิษฐานพระศาสนา เป็นหลักฐานที่พระเวฬุวันวิหาร เกียรติศักดิ์เกียรติคุณแห่งพระพุทธศาสนาได้เริ่มแพร่ไปในชุมนุมชนตามตำบลน้อยใหญ่ตามลำดับ
    พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนมากเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่สวนตาล "ลัฏฐิวัน" ทรงสดับพระธรรมเทศนา ได้ธรรมจักษุ ประกาศพระองค์เป็นอุบาสก
    พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่เวฬุวันวิหาร ในพรรษาที่ ๒-๓-๔ พรรษาที่ ๑๗ และ ๑๙ รวม ๕ พรรษาด้วยกัน พระเจ้าพิมพิสารถูกพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู ปลงพระชนม์


    มหานามศากยะ เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ โอรสของพระเจ้าอมิโตทนศากยะ เป็นพี่ชายของพระอนุรุทธะ ภายหลังพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาของพระพุทธเจ้าสิ้นพระชนม์ มหานามศากยะได้เป็นราชาปกครองแค้นศากยะ และเป็นอุบาสกผู้มีศรัทธาแรงกล้า ได้รับยกย่อง เป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ถวายของประณีต

    พระเจ้าอชาตศัตรู โอรสของพระเจ้าพิมพิสารกับพระนางโกศลเทวี กษัตริย์แคว้นมคธ ขณะพระนางทรงครรภ์ได้แพ้ท้องอยากเสวยโลหิตของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบจึงเอาพระขรรค์แทงพระชานุ (เข่า)รองพระโลหิตให้พระนางเสวย โหรทำนายว่าพระโอรสที่อยู่ในครรภ์เกิดมาจะทำปิตุฆาต พระนางโกศลเทวีพยายามทำลายด้วยการให้แท้งเสียแต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดคิดจะรีด แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงห้ามไว้
    เมื่อครบกำหนดประสูติเป็นกุมารจึงตั้งพระนามโอรสว่าอชาตสัตรู แปลว่า เป็นศัตรูตั้งแต่ยังไม่เกิด (บางท่านแปลใหม่ว่า มิได้เกิดมาเป็นศัตรู) ในที่สุดเจ้าชายอชาตศัตรูก็คบคิดกับพระเทวทัตฆ่าพระราชบิดาตามที่โหรทำนายไว้ และได้ขึ้นครองราชสมบัติแคว้นมคธ ณ กรุงราชคฤห์แต่ทรงสำนึกและกลับพระทัยได้ หันมาทรงอุปภัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และได้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ในการสังคายนาครั้งที่ ๑


    อนาถบิณฑิก เป็นเศรษฐีอยู่ที่เมืองสาวัตถี ต่อมาได้นับถือพระพุทธศาสนา บรรลุโสดาปัตติผล เป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้า สร้างพระเชตุวันมหาวิหารอันยิ่งใหญ่ ถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ที่เมืองสาวัตถี ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษารวมทั้งหมดถึง ๑๙ พรรษา (สลับกับบุพพารามที่อยู่ใกล้ชิดติดกัน ณ เมืองสาวัตถี)
    ท่านอนาถบิณฑิกนอกจากอุปภัภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์แล้วยังได้สงเคราะห์คนยากไร้อนาถาอย่างมากมายเป็นประจำ จึงได้ชื่อว่าอนาถบิณฑิก ซึ่งแปลว่า ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหมู่ทายกฝ่ายอุบาสก (ทายก = ผู้ให้)





    "อุบาสิกาสำคัญในสมัยพุทธกาล"
    คำว่า "อุบาสิกา" หมายถึง หญิงผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย , คนใกล้ชิดพระ ศาสนาที่เป็นหญิงที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา โดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

    ปฐมอุบาสิกา หรืออุบาสิกาคนแรกในพระพุทธศาสนา มีอยู่สอง คือ นางสุชาดาผู้เป็นมารดาของพระยสะ และภรรยาเก่าของพระยสะดังกล่าวถึงแล้วในเรื่องราวของบิดาพระยสะ

    อุบาสิกาสองผู้อัครอุปัฏฐายิกา (ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณรที่เป็นหญิง) คือนันทมารดา และอุตราอุบาสิกา

    นกุลมารดา เรื่องราวของนางกล่าวถึงใน "นกุลบิดา" ท่านนกุลมารดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดา อุบาสิกาผู้สนิทสนมค้นเคย
    นันทมารดา เป็นอุบาสิกาสองผู้อัครอุปัฏฐายิกา เป็นอนาคามีคือพระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอนาคามิผล (ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์คือ กามราคะ และปฏิฆะ ด้วยทางปฏิบัติ เพื่อบรรลุผลเป็นผู้ชำนาญในฌาน ๔ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะทางบำเพ็ญ


    วิสาขา เป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐีและนางสุมนา เกิดที่เมืองภัททิยะในแคว้นอังคะ ได้บรรลุโสดาปัตติผลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ต่อมาได้ย้ายตามบิดามาอยู่ที่เมืองสาเกต แคว้นโกศล แล้วได้สมรสกับพุตรชายมิคารเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถีและย้ายไปอยู่ในตระกูลฝ่ายสามี นางวิสาขาสามารถกลับใจมิคารเศรษฐี บิดาของสามีซึ่งนับถือพระพุทธศาสนามิคารเศรษฐี นับถือนางมากและเรียกนางวิสาขาเป็นแม่ นางจึงได้ชื่อใหม่อีกอย่างหนึ่งว่า "มิคารมารดา"
    นางวิสาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์อย่างมากมายและได้ให้ขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงานซึ่งมีแลค่าสูงยิ่ง นำเงินมาสร้างวัดถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพาราม ณ พระนครสาวัตถี อยู่ใกล้ชิดกับมหาวิหารเชตวันที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย
    นางวิสาขามีบุตรหลานมากมายล้วนมีสุขภาพดีแทบทั้งนั้น แม้นางจะมีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี ก็ดูไม่แก่ และเป็นบุคคลที่ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางในสังคม ได้รับการยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาทายิกาทั้งปวง (ทายิกา = ผู้ให้)


    สุชาดา เป็นธิดาของผู้มีทรัพย์ซึ่งเป็นนายใหญ่แห่งชาวบ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลา นางได้ตั้งปณิธานบูชาเทพารักษ์ไว้ว่า ขอให้นางได้สามีที่มีตระกูลเสมอกัน และขอให้ได้บุตรคนแรกเป็นชาย ครั้นได้สามีและบุตรสมที่นึกปราถนา นางจึงหุงข้าวมธุปายาสนำไปบวงสรวง เทพารักษ์ที่ได้บนบานไว้ ในยามเช้าของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พระมหบุรุษประทับนั่ง ณ ควงไม้นิโครธพฤกษ์ ควงไม่ไทรต้นที่นางสุชาดาบนบานไว้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวปายาสแก่พระมหาบุรุษในเวลาเช้าของวันที่ตรัสรู้ ด้วยความเข้าใจว่าพระองค์เป็นรุขเทวดาโดยแท้
    บุตรชายของนางสุชาดาชื่อยสะ ซึ่งต่อมาออกบวชเป็นพระอรหันต์องค์ที่ ๖ ในพระพุทธศาสนา นางสุชาดาได้เป็นปฐมอุบาสิกาพร้อมกับภรรยาเก่าของพระยสะ ส่วนสามีของนางได้เป็นอุบาสสกที่ถึงสรณะครบ ๓ คือ พระรัตนตรัยเป็นคนแรก นางสุชาดาได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคุในบรรดาอุบาสิกาผู้ถึงสรณะเป็นปฐม


    "ปฐมเทศนา ปฐมสาวกและพระอรหันต์ ๖ องค์แรก"

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และประทับเสวย วิมุตติสุข ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธเป็นเวลา ๔๙ วัน จากนั้นพระบรมศาสดาทรงดำเนินสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสีเพื่อทรงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์อันมี โทฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ พระบรมศาสดาทรงระลึกว่า ปัญจวัคคีย์เป็นผู้มีอุปนิสัยในอันจะตรัสรู้ธรรม ทั้งมีอุปการะแก่ประองค์มาก ได้อุปัฏฐากของประองค์เมื่อครั้งทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา

    พระบรมศาสดาใช้เวลา ๑๑ วันเดินทางมาถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในยามเย็นของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ปัญจวัคคีย์ยังคงเข้าใจว่าพระสมณโคดมเลิกละความเพียรในการบำเพ็ญตบะในทุกรกิริยา คงจะไม่มีโอกาสได้บรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว จึงนัดหมายกันทำเพิกเฉยแสดงอาการไม่เคารพไม่ยินดีในการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าและกล่าวปฏสันถารใช้สำนวนอันเป็นกริยาไม่เคารพ
    แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า " ดูกร ปัญจวัคคีย์ บัดนี้ ตถาคตได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว มาครั้งนี้หวังจะแสดงธรรมแก่เธอทั้ง ๕ เธอจงตั้งใจสดับและปฏิบัติตามคำของตถาคต ไม่ช้าไม่นานสักเท่าใดก็จะได้ตรัสรู้ตาม"


    ปัญจวัคคีย์ไม่เชื่อ กลับคัดค้าน แม้พระบรมศาสดาจะตรัสเตือนซ้ำอีก ปัญจวัคคีย์ก็ยังไม่เชื่อ กล่าวโต้แย้งถึง ๓ ครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเดือนด้วยพระกรุณาให้ปัญจวัคคีย์หวนระลึกถึงความหลังดูว่า
    "ดูก่อน ปัญจวัคคีย์ วาจาที่ไม่ควรเชื่อคำใด ตถาคตเคยกล่าวอยู่บ้างหรือ แม้แต่คำว่า ตถาคตได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณนี้ ตถาคตเคยกล่าวกะใคร ที่ไหน แต่กาลก่อน"


    ด้วยอานุภาพของพระวาจาจริงของพระองค์ เป็นอัศจรรย์ทำให้ปัญจวัคคีย์ระลึกเห็นตาม พากันแน่ใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้จริงดังพระวาจา ก็พร้อมกันถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยคารวะ ขอประทานอภัยโทษที่แสดงอาการไม่เคารพต่อพระองค์
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับพักในสำนักปัญจวัคคีย์ ๑ ราตรี ครั้นรุ่งขึ้น วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก เป็นปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ พระองค์ประกาศ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" คือ "พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป" หรือพระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม


    ปฐมเทศนา "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุด ๒ อย่างและว่าด้วยอริยสัจ ๔ อันมี ทุกข์สมุทัย นิโรธมรรค ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณคือความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม) ท่านโกณฑัญญะ หัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) พระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า
    "อญญาสิ วต โภ โกณฑญโญ ๆ"
    (โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ)


    จากนั้นมา คำว่า "อัญญา"จึงมารวมกับชื่อของท่าน ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นพระโสดาบัน และทูลขอบวชเป็นภิกษุในประธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าประทานด้วยพระองค์เองด้วยการเปล่งพระวาจาว่า "ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำให้สุดทุกข์โดยชอบเถิด"

    ณ บัดนั้น พระอัญญาโกณทัญญะจึงเป็นปฐมสาวกหรือพระสาวกองค์แรกของพระพุทธเจ้า เป็นพระสงฆ์องค์แรกของพระพุทธศาสนา เป็นอันว่าพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ได้เกิดขึ้นแล้วบริบูรณ์ในกาลแต่บัดนั้น

    พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันทรงสั่งสอนพรรพชิตทั้ง ๔ รูปที่เหลืออยู่นั้นด้วยพระธรรมเทศนาต่าง ๆ ต่อมาท่านวัปปะกับท่านภัททิยะได้ธรรมจักษุดวงตาเห็นธรรมทูลขออุปสมบทพระบรมศาสดาทรงประทานเอหิภิกขุอุปัมปทาให้ และต่อมาท่านมหานามะกับท่านอสัสชิได้ธรรมจักษุ ทูลขออุปสมบท และพระผู้มีประภาคเจ้าทรงประทานเอหิภิขุอุปสัมปทาให้เช่นกัน

    ครั้นพระภิกษุปัญจวัคคีย์ตั้งอยู่ในที่พระสาวกและมีอินทรีย์ มีศรัทธา แก่กล้าสมควรสดับธรรมจำเริญวิปัสสนา เพื่อวิมุตติสุขเบื้องสูงแล้ว ครั้นถึงวันแรม ๕ ค้ำ แห่งเดือนสาวนะ คือเดือน ๙ พระบรมศาสดาจึงได้แสดงพระธรรมสั่งสอนพระภิกษุปัญจวัคคีย์ด้วย "อนัตตลักขณสูตร" คือพระ สูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัวใช้ตน) เพื่อพระบรมศาสดาตรัสพระธรรมเทศนาแสดงอนัตตลักขณสูตรอยู่จิตของพระภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้พิจารณาภูมิธรรมตามกระแสเทศนานั้นพ้นแล้วจากอาสวะ (กิเลสที่หมักหมมไว้ดองอยู่ในสันดานไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่าง ๆ ) ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด

    ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์แล้ว คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ กับ พระอริยสาวก ๕ คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ๑ พระวัปปะ ๑ พระภัททิยะ ๑ พระมหานามาะ ๑ พระอัสสชิ ๑ รวม เป็น ๖ ด้วยประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2005
  8. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "ภิกษุณีสงฆ์ ในสมัยพุทธกาล"


    ในพรรษาที่ ๕ ภายหลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระบรมศาสดาทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่กูฏาคาร อันเป็นศาลาเรือนยอดในป้ามหาวันบนฝั่งตะวันออกแห่งลำน้ำคันธกะ กรุงเวสาลี นครหลวงแห่งแคว้นวัชชีในขณะที่ประทับอยู่ ณ ที่นั้นก็ได้ทรงทราบข่าวประชวรของพระพุทธบิดาเมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบข่าวการประชวรก็ได้รีบเสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ๋และได้เข้าเฝ้าพระพุทธบิดา พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และได้ทูลลาพระพุทธเจ้าเข้านิพพานโดยยังมิทันจะได้อุปสมบท พระบรมศาสดาทรงอยู่ร่วมถวายพระเพลิงศพระพุทธบิดา

    ขณะที่พระพุทธเจ้ายังคงประทับอยู่ที่นิโครธาราม ซึ่งเป็นอารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์นั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี (พระน้านาง) เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะพระราชสวามีสิ้นพระชนม์แล้วก็ทรงหมดภาระ จึงได้ไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาและได้ทูลขออนุญาตให้สตรีสละเรือนออกบวชในพระธรรมวินัย แต่การณ์นั้น มิใช่เรื่องง่าย พระพุทธเจ้าตรัสห้ามเสีย ๓ ครั้ง

    ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปยังกูฏาคารศาลาในป่ามหาวันกรุงเวสาลี พระนางมหาปชาบดีดคตมีไม่ละความพยายามได้ทรงชักยวนเจ้าหญิงศากยะจำนวนมากปลงพระเกศา ทรงผ้ากาสาวะคือผ้าย้อมน้ำฝาดแล้วเสด็จดำเนินด้วยพระบาททั้งหมดไปยังกรุงเวสาลี โดยต่างมีพระบาทบวมแตกและมีพระกายที่เปรอะเปื้อนธุลีเหน็ดเหนื่อยลำบาก พากันมายืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูนอกกูฏาคารศาลา

    พระอานนท์ได้เห็นก็เข้าไปถาม พระนางก็ได้รับสั่งบอกเล่าแก่พระอานนท์ พระอานน์ขอให้ประทับรออยู่ที่นั้นก่อน และก็ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลขอให้สตรีได้บวชในพระธรรมวินัย พระพุทธเจ้าได้ตรัสปฏิเสธแก่พระอานนท์ พระอานนท์ก็ได้ทูลขอถึง ๓ ครั้ง ในที่สุดพระอานนท์เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยกราบทูลถามว่าสตรีออกบวชในพระธรรมวินัยแล้วจะสามารถบรรลุโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตตผลได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เป็นผู้สมควรที่จะทำให้แจ้งได้

    พระอานนท์จึงได้กราบทูลว่า ถ้าสตรีเป็นผู้ที่สมควรอย่างนั้น และพระนางมหาปชาบดีโคตมี ก็เป็นผู้มีอุปการะมากแด่พระพุทธเจ้ามาในเบื้องต้น เพราะทรงเป็นทั้งน้าและมารดาเลี้ยง ผู้เลี้ยงดูทะนุถนอมพระองค์สืบต่อจากพระพุทธมารดาซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไป เพราะฉะนั้น ก็ขอให้พระนางได้บวชในพระธรรมวินัยตามที่ทรงตั้งพระหฤทัย

    พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมีจะรับครุธรรม คือธรรมที่หนัก ๘ ข้อได้ ก็ให้อุปสมบทได้ ครุธรรม ๘ ข้อนั้นคือ

    ๑. ภิกษุณีที่อุปสมบทมาตั้งร้อยพรรษาก็พึงทำการกราบไหว้การลุกรับ การกระทำอัญชลี การทำสามีจิกรรม (การแสดงความเคารพ) แก่ภิกษุที่อุปสมบทใหม่แม้ในวันนั้น
    ๒. ภิกษุณีจะต้องอยู่จำพรรษาในอาวาสที่มีภิกษุ
    ๓. ภิกษุณีจะต้องพึงหวังธรรม ๒ ประการจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน คือการถามวันอุโบสถและการเข้าไปฟังโอวาท
    ๔. ภิกษุณีออกพรรษาและพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายคือ ในภิกษุสงฆ์และในภิกษุณีสงฆ์
    ๕. ภิกษุณีเมื่อต้องครุธรรมคือต้องอาบัติหนักก็พึงประพฤติมานัด (ระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติหนัก) ๑๕ วัน ในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย (ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณี)
    ๖. สตรีที่ศึกษาอยู่ในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปี (กล่าวคือรักษา ศีล ๑๐ ของสามเณร ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๖ โดยไม่ขาดตลอดเวลา ๒ ปี) อันเรียกว่า นางสิกขมานา เมื่อได้ศึกษาแล้วดั้งนี้จึงอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายได้
    ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุโดยปริยายใด ๆ
    ๘. ภิกษุทั้งหลายสั่งสอนห้ามปรามภิกษุณีทั้งหลายได้ แต่ว่าภิกษุณีทั้งหลายจะสั่งสอนห้ามปรามภิกษุทั้งหลายไม่ได้


    ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยินดีรับครุธรรมทั้ง ๘ ประการนี้จึงให้อุปสมบทได้ พระอานนท์ได้ไปทูลให้พรนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางทรงยินดีรับครุธรรม ๘ ประการนั้น พระอานนท์ได้กลับเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลให้ทรงทราบว่า พระนางได้รับครุธรรมทั้ง ๘ ได้อุปสมบทแล้ว ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมด พระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้

    ในคราวนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า การให้สตรีบวชจะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ คือพระศาสนาหรือสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่ยั่งยืน จะมีอายุสั้นเข้า เปรียบเหมือนตระกูลที่มีบุตรน้อยมีสตรีมาก ถูกผู้ร้ายทำลายได้ง่ายหรือเหมือนนาข้าวที่มีหนอนขยอกลง หรือเหมือนไร่อ้อยที่มีเพลี้ยลง ย่อมอยู่ได้ไม่ยืนนาน พระองค์ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการกำกับไว้เพื่อเป็นหลักคุ้มกันพระศาสนา เหมือนสร้างคันกั้นสระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อกันไม่ให้น้ำไหลท้นออกไป (พระศาสนาจักอยู่ใต้ยั่งยืนเช่นเดิม)

    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงเหตุผลที่ไม่ให้ภิกษุไหว้ภิกษุณี ให้ภิกษุณีไหว้ภิกษุได้ฝ่ายเดียว เพราะนักบวชในลัทธิศาสนา อื่นทั้งหลายไม่มีใครไหว้สตรีกันเลย กล่าวโดยสรุปว่า หากถือเหตุผลทางด้านสภาพสังคม - ศาสนาแล้วจะไม่ทรงให้สตรีบวชได้

    เมื่อแรกการบวชภิกษุณีไม่ได้กำหนดจำนวนคือบวชกันตามสบายมีการบวชเข้ามาเป็นหมู่จำนวนถึง ๑,๐๐๐ ก็มี เช่นพระนางอโนชากับบริวาร ประวัติชีวิตของพระเถรีทังหลายส่วนมากพิสดารเฉพาะก่อนท่านบวช หลังจากบวชแล้วไม่ค่อยมีผลงานเด่นมากนัก นอกจากพระเถรีระดับเอตทัคคะ ๑๓ รูป

    หลังจากจำนวนภิกษุณีเพิ่มขึ้นในเวลาอันรวดเร็วระยะหนึ่งปรากฏว่าเกิดปัญหาหลายอย่าง เช่นภิกษุณีถูกคนบางพวกรังแกทำให้ที่อยู่อาศัยของท่านก็ดี การจะไปในที่ต่าง ๆ ก็ดีต้องเกี่ยวข้องกับหมู่คณะ คือ จะไปไหนคนเดียว เดินทางคนเดียว อยู่คนเดียวไม่ได้ การจะอยู่ป่าเขาแบบพระจึงไม่ได้เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับสวัสดิภาพของภิกษุณีเองทำให้เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) ซึ่งชาวบ้านสร้างด้วยศรัทธาทำไม่ทัน ชาวบ้านได้แสดงความเดือดร้อนให้ปรากฏ จนต้องมีการกำหนดเงื่อนไขในการบวชภิกษุณีไว้ดังนี้

    สตรีอายุยังน้อยให้บวชเป็นสามเณรีก่อน จนกว่าอายุครบ ๑๘ เมื่ออายุครบ ๑๘ ให้บวชเป็นนางสิกขมานา โดยรักษาศีลข้อ ๑ - ๖ ไม่ให้พกพร่องเป็นเวลา ๒ ปี จึงขอรับฉันทานุมัติจากสงฆ์บวชเป็นภิกษุณี ถ้าในระหว่างประพฤติตนเป็นนางสิกขมานา หากมีความบกพร่องในศีลก่อน ๖ ปี ต้องนับวันกันใหม่ เมื่อได้สิกขาสมมติจากภิกษุณีสงฆ์ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา เธอต้องถืออุปัชฌาย์เช่นเดียวกับภิกษุ แต่เรียกว่าปวัตตินี ซึ่งจะต้องมีพรรษาไม่ต่ำกว่า ๑๒ พรรษา และเป็นผู้ที่ได้รับสมมติจากภิกษุณีสงฆ์ให้เป็นปวัตตินี ปวัตตินีรูปเดียวจะอุปสมบทให้แก่สหชิวินี (ผู้อยู่ร่วม) ได้พียง ๒ ปี ต่อหนึ่งครั้งและอุปสมบทให้ได้ครั้งละ ๑ รูปเท่านั้นเมื่อเป็นภิกษุณีแล้วต้องรักษาสิกขาบท ๓๑๑ ข้อ (ศีล ๓๑๑)

    ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ภิกษุณีเริ่มน้อยลงตามลำดับ ในตอนปลายพุทธกาลไม่ค่อยได้ยินชื่อเสียงของท่าน อาจจะเป็นเพราะมีพระวินัยห้ามการคลุกคลีกับภิกษุณีอยู่หลายข้อ ทำให้พระสังคีติกาจารย์ก็ไม่ค่อยทราบชีวิตและผลงานของภิกษุณีต่าง ๆ มากนัก ทั้งภิกษุณีก็ไม่ได้เข้าร่วมในการสังคายนาพระธรรมวินัย เรื่องของภิกษุณีสงฆ์จึงไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร

    อย่างไรก็ตาม ภิกษุณีนั้นจัดว่าเป็นบริษัท ๑ ใน ๔ ของพระพุทธเจ้าที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นพยานแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ช่วยเผยแผ่ศาสนธรรม จากชีวประวัติของพระเถรีทั้งหลายในเถรีคาถาและอรรคกถาบอกให้ทราบว่าสตรีที่เข้ามาบวชเป็นภิกษุณีนั้นมีตั้งแต่เจ้าหญิงธิดาเศรษฐี ไปจนถึงโสเภณี คนขอทาน และการเข้ามาบวชของท่านส่วนมากแล้วจะเกี่ยวกับความรักความพลัดพราก และศรัทธาเป็นหลักฐานะของภิกษุณี อาจสรุปได้ดังนี้

    ๑. ท่านเป็นอุปสัมพันในหมู่ของท่านและคนอื่น แต่เป็นอนุปสัมบันในหมู่ภิกษุคือไม่มีฐานะเท่ากัน
    ๒. จะร่วมสังฆกรรมต่าง ๆ กับภิกษุไม่ได้ จึงไม่มีสิทธิจะห้ามอุโปสถปวารณาแก่ภิกษุทุกกรณี
    ๓. ภิกษุณีมีสิทธิโดยชอบตามพระวินัย ที่จะไม่ไหว้ภิกษุที่กล่าวคำหยาบคายต่อตน
    ๔. ในกรณีมีสิทธิโดยชอบตามพระวินัย ที่จะไม่ไหว้ภิกษุที่กล่าวคำหยาบคายต่อตน
    ๕. เมื่อภิกษุณีจะถามปัญหาแก่ภิกษุให้บอกก่อนว่าจะถามในเรื่องพระสูตร พระวินัย หรือพระอภิธรรม เมื่อบอกไว้อย่างหนึ่ง แต่กลับถามอีกอย่างหนึ่งเป็นอาบัติ

    สำหรับสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแก่ภิกษุณี ซึ่งมีจำนวนมากกว่าของภิกษุนั้น ส่วนมากแล้วเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นสตรีเพศของท่านเพื่อป้องกันรักษาตัวท่านเองให้ปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ

    ภิกษุณีสงฆ์เจริญแพร่หลายในชมพูทวีปอยู่ช้านาน เป็นแหล่งให้การศึกษาแหล่งใหญ่แก่สตรีทั้งหลาย


    "พระเถรีสำคัญในสมัยพุทธกาล"

    พระภิกษุณีสงฆ์ผู้เป็นกำลังสำคัญในการเผลแผ่พระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาล นับจากภิกษุณีสงฆ์องค์แรกคือ ประนางมหาปชาบดีโคตม และ พระอัครสาวิกา ทั้งสอง คือ พระเขมาและพระอุบลวรรณ มีดังนี้

    มหาปชาบดีโคตมี เป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้า เดิมเรียกว่าพระนางปชาบดี เป็นธิดาของพระเจ้าอัญชนะแห่งโกลิยวงศ์ และเป็นพระภคินีของพระนางสิริมหามายา เมื่อพระนางสิริมหายาพระมารดาของพระพุทธเจ้าสิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสุทโธนะราชกษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ได้มอบสิทธัตถกุมารให้พระนางเลี้ยงดู ต่อมาเมื่อพระเจ้าสุทโธทนะสวรรคตแล้ว พระนางได้ออกบวชเป็นภิกษุณีองค์แรก ในพรรษาที่ ๕ ก่อนพุทธศักราช ๔๐ ปี พระมหาเถรีมหาปชาบดีโคตมีได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางรัตตัญญู (บวชนารู้เหตุก่อนใคร ๆ)

    พระเขมา พระเถรีมหาสาวิกาเขมา ประสูติในราชตระกูลแห่งสาคลนครในมัททรัฐ ต่อมาให้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าแผ่นดินมคธครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครราชคฤห์ มีความมัวเมาในรูปสมบัติของตรได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พอจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต แล้วบวชเป็นภิกษุณี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายขวา

    อุบลวรรณา พระเถรีมหาสาวิกาอุบลวรรณา เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถี ได้ชื่อว่าอุบลวรรณาเพราะมีผิวพรรณดังดอกนิลุบล (อุบลเขียว) เป็นสตรีผู้มีรูปโฉมงดงามอย่างยิ่ง จึงเป็นที่ปรารถนาของพระราชาในชมพูทวีปหลายพระองค์ ต่างส่งคนมาติดต่อทาบทามกับ ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดา ก่อให้เกิดความลำบากใจมาก จึงคิดจะให้ธิดาบวชพอเป็นอุบาย แต่นางเองพอใจในบรรพชาอยู่แล้ว จึงบวชเป็นภิกษุณี ด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง คราวหนึ่งอยู่เวรจุดประทีปในพระอุโบสถ นางเพ่งดูเปลวประทีปถือเอาเป็นนิมิตเจริญญานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ได้บรรลุพระอรหัต พระมหาสาวิกาอุบลวรรณา ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคะ ในทางแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายซ้าย

    กีสาโคตมี พระเถรีสำคัญองค์หนึ่งเดิมเป็นธิดาคนยากจนในพระนครสาวัตถี แต่ได้เป็นลูกสะใภ้ของเศรษฐีในพระนครนั้น นางมีบุตรชายคนหนึ่ง อยู่มาไม่นานบุตรชายตายนางมีความเสียใจมาก อุ้มบุตรที่ตายแล้วไปในที่ต่าง ๆ เพื่อหายาแก้ให้ฟื้น จนได้พบพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนด้วยอุบายและทรงประทานโอวาท นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผลบวชในสำนักนางภิกษุณี วันหนึ่งนั่งพิจารณาเปลวประทีปที่ตามอยู่ในพระอุโบสถ ได้บรรลุพระอรหัต พระเถรีกีสาโคตมีได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางจีวรเศร้าหมอง

    ธัมมพินนา พระเถรีมหาสาวิกาธัมมทินนาเป็นกุลธิดาชาวพระนครราชกฤห์ เป็นภรรยาของวิสาขเศรษฐี มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง บวชในสำนักนางภิกษุณียำเพ็ญเพียรไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัตพระเถรีธัมมทินาได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นธรรมกถึก

    ปฏาจารา พระมหาสาวิกาปฏาจาราเป็นกุลธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถี ได้รับวิปโยคทุกข์อย่างหนักเพราะสามีและลูกตาย พ่อแม่พี่น้องตายหมด ในเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นฉับพลันทันทีและติดต่อกัน ถึงกับเสียสติปล่อยผ้านุ่งผ้าห่มหลุดลุ่ยเดินบ่นเพ้อไปในที่ต่าง ๆ จนถึงพระเชตวันมหวิหาร พระศาสดาทรงแผ่เมตตา เพปล่งพระวาจาให้นางกลับได้สติ แล้วแสดงพระธรรมเทศนา นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชเป็นพระภิกษุณี ไม่ช้าได้สำเร็จพระอรหัต พระเถรีมหาสาวิกาปฏาจาราได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทรงพระวินัย

    ภัททกาปิลานี พระมหาสาวิกาภัททกาปิลานี เป็นธิดาพราหมณ์โกสิยดคตรในสาคลนครแห่งมัททรัฐเมื่ออายุ ๑๖ ปีได้สมรสกับปิปผลิมาณพตามความประสงค์ของมารดาบิดา แต่ไม่มีความยินดีในชีวิตครอบเรือน ต่อมาทั้งสามีภรรยาได้สละเรือน นุ่งห่มผ้ากาสวะออกบวชกันเองเดินออกจากบ้านแล้วแยกกันที่ทางสองแพร่ง ปิปผลิมาณพเดินทางต่อไปจนพบพระพุทธเจ้าที่พหุปุตตกนิโครธ ได้อุปสมบท ครั้นล่วงไป ๗ วันก็ได้บรรลุพระอรหัต เป็นพระมหาสาวกนาม พระมหากัสสปะ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางถือธุดงค์
    ส่วนนายภัททกาปิลานีออกบวชเป็นปริพาชิกา (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา)ต่อมาเมื่อพระมหาปชาบดีผนวชเป็นภิกษุณีแล้ว นางภัททกาปิลานีได้มาบวชอยู่ในสำนักของพระมหาปชาบดี เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยความไม่ประมาท ได้บรรลุพระหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปุพเพนิวาสานุสสติ

    ภัททา กัจจนา พระมหาสาวิกาภัททา กัจจานา เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะแห่งโกลิยวงศ์ พระนามเดิมว่า "ยโสธรา" หรือ "พิมพา" อภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะเมือพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา เป็นพระมารดาของพระราหุลพุทธชิโนรส ได้นามว่า ภัททา กัจจานาเพราะทรงมีฉวีวรรณดุจทองคำเนื้อเกลี้ยง บวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเจริญวิปัสนากัมมัฏฐานไม่ช้าก็สำเร็จเป็นอรหัจ พระมหาสาวิกาภัททา กัจจานา ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางบรรลุมหาภิญญา พระนางทรงเป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า

    ภัททา กุณฑลเกสา พระมหาสาวิกาภัททากุณฑลเกสาเป็นธิดาของเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ เคยเป็นภรรยาโจรผู้เป็นนักโทษประหารชีวิต โจรคิดจะฆ่านางเพื่อเอาทรัพย์สมบัติ แต่นางใช้ปัญญาคิดแก้ไขกำจัดโจรได้ แล้วบวชในสำนักนิครนถ์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนาที่เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตร , นักบวชในศาสนาเชน) ต่อมาได้พบกับพระสารีบุตรพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ได้ถามปัญหากันและกัน จนนางมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่อมาได้ฟังธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงได้สำเร็จพระอรหัต แล้วบวชในสำนักนางภิกษุณี พระมหาสาวิกาภัททา กุณฑลเกสาได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้มาจากตระกูลสูง

    สิคาลมาตา พระมหาสาวิกาสิคาลมาตาเป็นธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ เจริญวัยแล้วแต่งงานมีบุตรคนหนึ่งชื่อ สิงคาลกุมารวันหนึ่งได้ฟังธรรมีกถาของพระศาสดา มีความเลื่อมใสศรัทธา ขอบวชเป็นภิกษุณี ต่อ มาได้ไปฟังธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงนางคอยตั้งตาดูพระพุทธเจ้า
    สิริสมบัติด้วยศรัทธาอันแรงกล้า พระพุทธองค์ทรงทราบดังนั้นก็ทรงแสดงธรรมให้เหมาะกับอัธยาศัยของนาง นางส่งในไปตามกระแสพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต พระมหาสาวิกาสิคาลมาตาได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาธิมุต

    โสณา พระมหาสาวิกาโสณาเป็นธิดาของผู้มีตระกูลในพระนครสาวัตถี นางแต่งงานมีสามีและมีบุตร ๑๔ คน เป็นชาย ๗ คน และ หญิง ๗ คน ภายหลังสามีถึงแก่กรรม ลูกชายหญิงก็แต่งงานมีเรือนกันไปหมด จึงออกบวชเป็นภิกษุณี มีความเพียรอย่างแรงกล้า เจริญวิปัสสานาอยู่เรือนไฟได้ฟังพระธรรมเทศนา ของพระศาสดาได้บรรลุพระอรหัตพระมหาสาวิกาโสณาได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปรารภความเพียร

    อโนชา พระมหาสาวิกาอโนชาเป็นพระอัครมเหสีของกษัตริยืผู้ครองราชสมบัติในนครกุกกุฏวดีในปัจจันตประเทศ ได้ทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าแล้วบังเกิดปีติศรัทธา สละราชสมบัติทรงม้าเดินทางไกลถึง ๓๐๐ โยชน์ (๔,๘๐๐ กิโลเมตร) มาเฝ้าพระพุทธเจ้าสดับธรรมกถา บรรลุพระอรหัตแล้วได้อุปสมบท เป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่งมีพระนามว่าพระมหากัปปินะ ส่วนพระนางอโนชา เมื่อทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าก็เกิดปีติและศรัทธาเช่นเดียวกัน พระนางทรงรถเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้าฟังธรรมบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว รับพรรพชาจากพระอุบลวรรณาเถรีไปอยู่ในสำนักภิกษุณี



    เชิญอ่านประวัติพระพุทธสาวก ได้ที่นี่ค่ะ


    (bb-flower
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2005
  9. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    หมวดที่ ๔ พุทธสถาน

    "หมู่บ้าน ตำบล เมืองและแคว้น"
    ชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลมีหมู่บ้าน ตำบล เมือง และแคว้น ต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา ซึ่งพอจะประมวลนำมาบันทึกไว้ ณ ที่นี้ได้ดังต่อไปนี้

    ๑. หมู่บ้าน

    กัลลวาลมุตตคาม เป็นหมู่บ้านอยู่ในแคว้นมคธ เมื่อคราวประโมคคัลลานะอุปสมบทได้ ๗ วัน ไปทำความเพียรจนอ่อนใจนั่งสัปหงกโงกง่วงอยู่ พระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาโปรด จนได้สำเร็จพระอรหัต ที่กัลลวาลมาตุคามนี้

    โกลิตคาม เป็นหมู่บ้านเกิดของ "โกลิตะ" บุตรของตระกูลหัวหน้าหมู่บ้าน ภายหลังบวชในพระพุทธศาสนามีนามว่า พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้าได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์มาก โกลิตคามตั้งอยู่ใกล้พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ

    ถูนคาม เป็นเขตแดนบ้านที่กั้นถิ่นกลางหรือมัชฌิมประเทศกับเมืองชายแดนนอกหรือปัจันตประเทศ ถูนคามเป็นที่กำหนดเขตสุดแดนทางทิศตะวันตก นับแต่ถูกคามเข้ามาคือมัชฌิมประเทศ

    นาลันถคาม อยู่ติดกับโกลิตคาม เป็นหมู่บ้านเกิดของ "อุปติสสะ"บุตรของตระกูลหัวหน้าหมู่บ้าน เป็นเพื่อนสนิทของโกลิตะ ภายหลังบวชในพระพุทธศาสนามีนามว่า พระสารีบุตร เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามากกพระสารีบุตรเป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้าในการประกาศพระศาสนาและได้รับยกย่องว่าเป็นพระธรรมเสนาบดี นาลันถคามยังเป็นบ้านเกิดของน้องชาย ๓ น้องหญิง ๓ ของพระสารีบุตร ซึ่งต่อมาบวชในพระธรรมวินัยทั้งหมดและน้องชายทั้ง ๓ เป็นพระสาวกผู้ใหญ่จำนวน ๘๐ องค์ทุกคน นาลันถคามตั้งอยู่ใกล้พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ

    ปาริเลยยกะ ในพรรษาที่ ๑๐ ระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาทรงจำพรรษาอยู่ที่แดนบ้านปาริเลยยกะใกล้เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวัน ด้วยทรงปลีกพระองค์จากพระสงฆ์ที่แตกกันในกรุงโกสัมพี ตลอดระยะเวลาที่จำพรรษาอยู่ในป่ารักขิตวันนี้นมีพญาช้างปาริเลยยกะคอยปฏิบัติดูและพระพุทธเจ้า

    ปิลินทวัจฉคาม เป็นหมู่บ้านของคนงานวัดจำนวน ๕๐๐ ที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้เป็นผู้ช่วยทำที่อยู่ของประปิสินทวัจฉะ พระมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะให้ทางเป็นที่รักของพวกเทวดา ปิลินทวัจฉคามอยู่ที่พระนครราชคฤห์ แว้นมคธ

    เสนานิคม เป็นหมู่บ้านในตำบลอุรุเวลา ในแคว้นมคธ นางสุชาดาผู้ถวายข้าวปายาสแด่พระมหาบุรุษในเวลาเช้าวันเพ็ญ เดือน ๖ วันที่จะตรัสรู้อยู่ที่หมู่บ้านเสนานิคมนี้ ภายหลังนางสุชาดาได้เป็นปฐมอุบาสิกาพร้อมกับภรรยาเก่าของยสะบุตรชายของนาง

    อันธกวินทะ เป็นหมู่บ้านอยู่ติดกับกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ

    เอกนาลา หมู่บ้านพราหมณซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาในพรรษาที่ ๑๑ ระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ

    ในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ พระนครไพศาลี (เวสาลี) ในวันเพ็ญเดือน ๓ พรรษาที่ ๔๕ ภายหลังตรัสรู้พระบรมศาสดาตรัสว่า แต่นี้ไปอีก ๓ เดือน พระตถาคตก็จักปรินิพพานกาลต่อมาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปได้เดินทางออกจากพระนครไพศาลี เพื่อมุ่งหน้าไปยัง สาลวโนทยาน ในกรุงกุสินารา แคว้นมัลละ สถานที่ซึ่งพะพุทธองค์มีประสงค์จักปรินิพพาน ในระหว่างพุทธดำเนินจากพระนครไพศาลีไปกรุงกุสินาราทรงเสด็จผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ดังนี้
    พระพุทธเจ้าทรงพาพระภิกษุสงฆ์เสด็จไปยังบ้าน ภัณฑุคาม แสดงธรรมโปรดพุทธบริษัท ต่อจากนั้นเสด็จไปบ้าน หัตถีคาม อัมพุคามชัมพุคาม และโภคนคร โดยลำดับ ประทับอยู่ที่โภคนครแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทชาวเมืองนั้น ต่อจากนั้นจึงเสด็จไปยังเมืองปาวานครเสด็จเข้าประทับอาศัยอยู่ที่อัมพวันสวนมะม่วงของจุนทกัมมารบุตรซึ่งอยู่ใกล้เมืองนั้น เสด็จจากปาวานครพร้อมกับทรงประชวรพระโรค "โลหิตปักขัณทิกาพาธ" (โรคท้องร่วงถึงพระโลหิต) เสด็จพระพุทธดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญญวดะ ในเมืองกุสินารา แล้วเสด็จเข้าไปยังสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ใกล้เมืองกุสินารา




    <HR SIZE=1>๒. ตำบล




    กาฬศิลา ตำบลในชนบทสำคัญแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิพระนครราชคฤห์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่คนร้ายซึ่งรับจ้างจากพวกเดียรถีย์ไปลอบฆ่าด้วยการทุบตีจนร่างแหลกพระพุทธเจ้าโปรดให้ก่อสถูปบรรจะอิฐิธาตุของท่านไว้ไกล้ซุ้มประตูวัดเวฬุวัน ในเขตเมืองราชคฤห์

    คยาสีสะ เป็นตำบลเนินเขาแห่งหนึ่ง ริมแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ เป็นสถานที่ซึ่งคยากัสสปน้องชายคนเล็กของนักบวชชฏิลแห่งกัสสปโคตร ตั้งอาศรมอยู่พร้อมบริวาร ๒๐๐ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาอาทิตตยปริยายสูตร (พระสูตรว่าด้วย อายตนะทั้ง ๖ ที่ร้อนติดไฟลุกทั่ว ด้วยไฟราคะ ไฟโทสะ และไฟโมหะ ตลอดจนร้อนด้วยทุกข์มี ชาติ ชรา มรณะ) ให้คณาจารย์ชฏิลสามพี่น้องและบริวาร ๑๐๐๐ ซึ่งพรรพชาเป็นพระภิกษุสงฆ์ แล้ว ทั้งหมดเคยเป็นชฏิลบูชาไฟมาก่อนหลังจากทรงแสดงธรรมเทศนาพระสูตรนี้ ทำให้ภิกษุเหล่านั้นบรรลุอรหัตตผล

    โคตมนิโครธ ตำบลแห่งหนึ่งในพระนครราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ ที่ตำบลนี้พระพุทธเจ้าเคยนิมิตต์โภาสแก่พระอานนท์

    ปาริเลยยกะ ตำบลแห่งหนึ่งใกล้กรุงโกสัมพี นครหลวงของแคว้นวังสะ เป็นที่ตั้งของป่ารักขิตวันและแดนบ้านปาริเลยยกะ

    เวฬุวคาม ตำบลหนึ่งใกล้แคว้นนครเวสาลี (ไพศาลี) แคว้นวัชชีพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๔๕ นับแต่ได้ตรัสรู้ที่เวฬุคามแห่งนี้เป็นพรรษาสุดท้ายที่จะเสด็จปรินิพพาน

    เสตกัณณิกนิคม นิคมที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบท (ถิ่นกลางของอาณาเขต เป็นศูนย์รวมของความเจริญรุ่งเรืองนานาประการ) กับปัจจันตชนบทหรือปัจจันตประเทศ (หัวเมืองชั้นนอก ถิ่นที่ยังไม่เจริญ)ทางทิศใต้นับจากเสตกัณณิกนิคมเข้ามาถือเป็นมัชฌิมชนบท

    อุกกลชนบท เป็นตำบลชนบทแดนไกลที่ ๒ พ่อค่าคือ ตปุสสะ กับภัลลิกะ นำกองเกวียนบรรทุกสินค้าเดินทางเข้ามาพบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นราชาตนะ (ไม้เกต) ภายหลังพระบรมศาสดาทรงตรัสรู้ได้ ๗ สัปดาห์ และเพิ่งเสร็จสิ้นจากเสวยวิมุตติสุข ๒ พ่อค้าจากอุกกลชนบทได้ถวายเสบียงเดินทางคือ ข้าวสัตตุผง ข้าวสัตตุก้อน แล้วเสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้ากับพระธรรมเป็น ๒ สรณะ นับเป็นปฐมอุบาสกผู้ถึงสรณะ ๒ เรียกว่า "เทววาจิก"

    อุรุเวลา เป็นตำบลใหญ่แห่งหนึ่ง ในแคว้นมคธ ตั้งอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา เป็นภูมิสถานที่สงบน่ารื่นรมย์ พระมหาบุรุษทรงเลือกตำบลอุรุเวลาเป็นที่บำเพ็ญเพียร ทรงประทับอยู่ที่ตำบลแห่งนี้นานถึง ๖ ปี จากพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ถึง ๓๕ พรรษา ทรงบำเพ็ญเพียร และจากการบำเพ็ญทุกรกริยาเปลี่ยนมาทรงดำเนินในมัชฌมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) จนได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปีภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ภายในปาสาละ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลแห่งนี้




    <HR SIZE=1>๓.เมือง



    กบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะ พระพระพุทธบิดาคือ "พระเจ้าสุทโธนะ" เป็นกษัตริย์ ครองนครกบิลพัสดุ์ (บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล)

    กัมปิลละ นครหลวงแห่งแคว้นปัญจาละ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล เมืองกัมปิลละตั้งอยู่เหนือแม่น้ำคงคาตอนบน

    กุกกุฏวดี อยู่ในปัจจันตประเทศหรือหัวเมืองชั้นนอกอันเป็นถิ่นที่ยังไม่เจริญ กษัตริย์ผู้ครองนครกุกกุฏวดีได้ทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าแล้วบังเกิดปีติศรัทธาสละราชสมบัติทรงม้าเดินทางไกล ๓๐๐ โยชน์ (ประมาณ ๔,๘๐๐ กิโลเมตร) มาเฝ้าพระพุทธเจ้า สดับธรรมกถาบรรลุประอรหัตแล้วได้รับอุปสมบท เป็นพระมหาสาวกนามว่า " มหากัปปินะ" ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางให้โอวาทแก่ภิกษุส่วนพระอัครมเหสีชื่ออโนชา ทรงรถเสด็จมาเฝ้าพระบรมศาสดาเช่นกัน ฟังธรรมบรรลุโสดาปัตติผลแล้วรับพรรพชาจากพระอัครสาวิกาฝ่ายซ้ายอุบลวรรณาเถรี

    กุสินารา เมืองหลวงแห่งหนึ่งของแคว้นมัลละ เดิมชื่อกุสาวดีภายหลังแยกเป็นกุสินาราและปาวา ทั้งสองนครเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัลละ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล กุสินาราเป็นเมืองเล็ก ๆ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเลือกเสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองแห่งนี้ กุสินาราตั้งอยู่ในจะดที่บรรจบของแม่น้ำรับดิ และแม่น้ำคันธกะ

    โกสัมพี นครหลวงของแคว้นวังสะ ตั้งอยู่เหนือฝั่งตอนใต้ของแม่น้ำยมุนา พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่ ๙ ที่วัดโฆสิตารามในกรุงโกสัมพี และทรงจำพรรษาที่ ๑๐ ที่ป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะ ใกล้กรุงโกสัมพี

    จัมปา นครหลวงของแคว้นอังคะ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำจัมปา ซึ่งบรรจบกับปลายแม่น้ำคงคา แคว้นอังคะเป็นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล

    ตักศิลา นครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ใน สมัยพุทธกาล ตักศิลาเป็นราชธานีที่มั่งคั่งรุ่งเรืองสืบต่อกันมาหลายศตวรรษตั้งแต่ก่อนพุทธกาล รุ่งโรจน์ด้วยศิลปวิทยาต่าง ๆ เป็นสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดในการศึกษายุตโบราณ เป็นศูนย์กลางการศึกษา มีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สั่งสอนศิลปวิทยาต่าง ๆ แก่ศิษย์ที่เดินทางมาเล่าเรียนจากทุกถิ่นในชมพูทวีป บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านในสมัยพุทธกาลสำเร็จการศึกษาจากนครตักศิลา เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศ(พระเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศลครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครสาวัตถี) เจ้ามหาลิลิจฉวี พันธุลเสนาบดี หมอชีวกโกมาภัจ (แพทย์ประจำประองค์ของพระพุทธเจ้า) และองคุลิมาล (มหาโจรผู้กลับใจเป็นพระอรหันต์มหาสาวก)

    เทวทหะ หรือรามคาม นครของแคว้นโกลิยะ มีกษัตริย์โกลิยวงศ์ปกครอง พระนางสิริมมหามายาพุทธมารดา เป็นเจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าอัญชนะ นครเทวทหะ หรือรามคามเป็นที่ประดิษฐานสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแห่งหนึ่ง บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

    นาลันทา เป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ ๑ โยชน์ (ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) ณ เมือง นี้สวนมะม่วงชื่อ "ปาวาริกกัมพวัน" หรือสวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐีซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง

    ปาฐา เป็นเมืองหนึ่งในมัธยมประเทศ ภิกษุชาวเมืองนี้คณะหนึ่งเป็นเหตุปรารถให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการกรานกฐิน

    ปาวา นครหลวงของแคว้นมัลละ เดิมชื่อกุสาวดี ภายหลังแยกเป็นปาวาและกุสินารา ทั้งสองนครเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัลละหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล

    ปิปผลิวัน มีโมริกยกณัตริย์เป็นกษัตริย์ ผู้ครอบเมือง พระองค์ส่งทูตมาไม่ทันเวลาแจกพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า จึงได้แต่พระอังคาร(ถ่านเถ้าที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ) ไปบรรจุไว้ในพระสถูปในเมืองปิปผลิวัน อันมีนามว่า "อังคารสตูป"

    พาราณสี เมืองหลวงของแคว้นกาสี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำคงคาพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัจจวัคคีย์ ที่ป่าอัสปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ก่อให้เกิดพระรัตนตรัยครบถ้วนสมบูรณ์คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๑ ภายหลังตรัสรู้ ณ ป่าอิสปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี

    โภคนคร เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปทรงประทับแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทชาวเมืองกุสินาราทรงดับขันธปรินิพาน

    มหาศาลนคร เป็นนครที่กั้นถิ่นกลางหรือมัชฌิมประเทศกับเมืองชายแดน หรือปัจจันตประเทศ มหาศาลนครเป็นที่กำหนดเขตสุดแดนทางทิศตะวันออก นับจากมหาศาลนครเข้ามาคือ มัชฌิมประเทศ

    มิถิลา เป็นนครหลวงของแคว้นวิเทหะ

    ราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล เป็นนครที่มีความเจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยคณาจารย์เจ้าลักธิพระพุทธเจ้าทรงเลือกพระนครราชคฤห์เป็นภูมิที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นปฐม พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งแคว้นมคธ ครองราชสมบัติ ณ ราชธานีแห่งนี้ พระองค์ทรงถวายพระราชอุทยานเวฬุวันเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๒-๓-๔-๑๗ และ ๒๐ ในระว่างเวลา ๔๕ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ ที่พระเวฬุวัน พระนครราชคฤห์

    วิราฏ นครหลวงแห่งแคว้นมัจฉะ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล

    เวรัญชา พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๒ ภายหลังตรัสรู้ที่เมืองนี้

    เวสาลี หรือไพศาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำคันธกะพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๕ ณ กูฎาคารในป่ามหาวัน นครเวสาลี และในพรรษาสุดท้ายคือพรรษาที่ ๔๕ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่เวฬุคามใกล้นครเวสาลี

    สังกัสสะ ตั้งอยู่ในแคว้นปัญจาละอันมีเมืองหลวงชื่อ "กัมปิลละ"เป็นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล ในพรรษาที่ ๗ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดานานสามเดือน และเสด็จลงจากดาวดึงสเทวโลกที่นครสังกะสะแห่งนี้ นครสังกะสะอยู่ทางตอนใต้ของนครกัมปิลละ มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีแคว้นโศลอยู่ทางทิศตะวันออก

    สาเกต เป็นมหานครแห่งหนึ่ง อยู่ในแคว้นโกศลอันมีนครสาเกตอยู่ห่างจากพระนครสาวัตถี ๗ โยชน์ (ประมาณ ๑๑๒ กิโลเมตร) ธนัญชัยเศรษฐีบิดาของนางวิสาขา มหาอุบาสิกาผู้สร้างวัดบุพพาราม ณ พระนครสาวัตถี เคียงคู่ใกล้กับพระเชตวันมหาวิหารถวายพระพุทธเจ้า

    สาคละ นครหลวงของแคว้นมัททะ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมียพุทธกาลตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับ ยมุนาตอนบน

    สาวัตถี นครหลวงของแคว้นโกศล หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาครั้งสมัยพุทธกาลเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง ๒๕ พรรษา ณ เชตวันมหาวิหาร และบุพพาราม พระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศลซึ่งครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครสาวัตถึเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ตั้งมั่นอยู่ในพระไตรสรณคมณ์ สองมหาอุบาสก อุบาสิกาคืออนาถบิณทิกเศรษฐี และนางวิสาขา มิคารมารดาก็พำนักอยู่ ณ พระนครแห่งนี้

    สุงสุมารคีระ นครหลวงของแคว้นภัคคะ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๘ ภายหลังตรัสรู้ ที่เภสกลาวันในป่าไม่สีเสียดใกล้เมืองสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ

    โสตถิวดี นครหลวงแห่งแคว้นเจตี หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล

    อาฬวี ในพรรษาที่ ๑๖ ระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ เมืองอาฬวี ทรงทรมานอาฬวกยักษ์สยบฤทธิ์เดชให้ยินดีในอริยธรรม ทรงช่วยให้ชาวนครอาฬวีตั้งอยู่ในกัลยาณธรรม ประทานธรรมให้เป็นสมาบัติ ปลุกให้เกิดความปรานีกันทั่วหน้า

    อินทปัตถ์ นครหลวงของแคว้นกุรุ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยมุนาตอนบน

    อุชเชนี นครหลวงแห่งแคว้นอวันตี หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล, พระเจ้าจัณฑปัชโชตเป็นราชาผู้ครองแคว้นอันตีครองราชสมบัติอยู่ที่กรุงอุชเชนี

    กัมโพชะ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาลมีนครหลวงชื่อทวารกะ แคว้นกัมโพชะอยู่ทางตอนเหนือสุดของทวีป (บัดนี้ดินแดนแห่งนี้อยู่ในเขตประเทศอัฟกานิสถาน)

    กาสี แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล นครหลวงชื่อพาราณสี ในสมัยพุทธกาลแคว้นกาสีถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโกศล

    กุรุ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล นครหลวงชื่ออินทปัตต์ พระเจ้าโกรัพยะเป็นราชาผู้ครองแคว้นกุรุ

    โกลิยะ แคว้นโกลิยะหรือดินแดนของกษัตริย์โกลิยวงค์ มีนครหลวงชื่อเทวทหะหรือรามคาม พระนางสิริมมหามายาพุทธมารดา เป็นเจ้าหญิงแห่งโกลิยวงศ์ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าอัญชนะผู้ครองนครเทวทหะ (บัดนี้ดินแดนแห่งนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล)

    โกศล แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อสาวัตถี แคว้นโกศลเป็นแคว้นใหญ่และมีอำนาจมาก พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นราชาผู้ครองแคว้นและเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งนครสาวัตถีเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล

    คันธระ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาลมีนครหลวงชื่อตักศิลา เป็นนครที่รุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยา ต่างๆ เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา พระเจ้าปุกกุสาติเป็นพระราชาผู้ครองแคว้น (บัดนี้ดินแดนของนครตักศิลา อยู่ในเขตประเทศปากีสถาน)

    เจตี แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงโสตถิวดี พระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าทรงตั้งสำนักที่ป่าปาจีนวังสทายวันในแคว้นเจตี

    ปัญจาละ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อกัมปิลละ

    ภัคคะ แคว้นัคคะมีนครหลวงช่อสุงสุมารคีระ ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๘ ภายหลังตรัสรู้

    มคธ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารเป็นราชาผู้ครองแคว้น แต่ในตอนปลายพุทธกาลถูกประราชโอรสชื่ออชาตศัตรู ปลงพระชนม์และขึ้นครองราชย์สืบแทน แคว้นมคธเป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกับแคว้นโกศล และเป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาล

    มัจฉะ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อวิรฏ

    มัททะ แคว้นมัททะมีนครหลวงชื่อสาคละ นครที่กำเนิดของพระมหาสาวิกา ภัททกาปิลานี

    มัลละ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมียพุทธกาลมีนครหลวงชื่อกุสาวดี แต่ภายหลังแยกเป็น ๒ นครหลวงคือ นครกุสินารา กับนครปาวาแคว้นมัลละมีการปกครองแบบสามัคคีธรรม โดยมีพวกมัลลกษัติรย์เป็นผู้ปกครอง ภายหลังแยกเป็น ๒ นครหลวง คณะกษัตริย์แบ่งเป็นพวกหนึ่งปกครองที่นครกุสินารา อีกพวกหนึ่งปกครองที่นครปาวา

    วังสะ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อโกสัมพี มีพระเจ้าอุเทนเป็นราชาผู้ครองแคว้น แคว้นวังสะเป็นแคว้นที่เจริญรุ่งเรือง และมีอำนาจมากแคว้นหนึ่ง

    วัชชี แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อเวสาลี (ไพศาลี) แคว้นวัชชีปกครองด้วยระบอบสามัคคีธรรม พวกกษัตริย์ที่ปกครองเรียกว่า กษัตริย์ลิจฉวี แคว้นวัชชีเจริญรุ่งเรืองเข้มแข็งและมีอำนาจมากตลอดปลายพุทธกาลได้กลายเป็นคู่แข่งกับแคว้นมคธแต่ภายหลังพุทธกาลไม่นานก็เสียอำนาจแก่แคว้นมคธ

    วิเทหะ แคว้นวิเทหะ มีนครหลวงชื่อ มิถิลา เป็นดินแดนพวกวัชชีอีกถิ่นหนึ่ง ตั้งอยู่บยฝั่งแม่น้ำคงคาตรงข้ามกับแคว้นมคธมีการปกครองด้วยระบอบสามัคคีธรรมเช่นเดียวกับแคว้นวัชชี

    สักกะ แค้วนหนึ่งในชมพูทวีปตอนเหนือ มีนครหลวง ชื่อกบิลพัสดุ์มีการปกครองโดยสามัคคีธรรม พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาทรงครองราชสมบัติที่นครกบิลพัสดุ์ (บัดนี้ดินแดนแห่งนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล)

    สุนาปรันตะ แคว้นสุนาปรันตะอยู่ในแดนไกล ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมัชฌิมประเทศ มีเมืองท่าใหญ่ชื่อสุปปารกะ อยู่ริมทะเล ชาวสุนาปรันตะชื่อว่าดุร้าย พระมหาสาวกปุณณสุนาปรันตะเกิดที่เมืองท่าในแคว้นนี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนันมทาและที่ภูเขาสัจจพันธ์ ในกาลที่เสด็จมาแสดงธรรมโปรดชาวแคว้นสุนปรันตะ ตามคำอาราธนาของพระมหาปุณณะ นับว่าเป็นประวัติการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาท

    สุรเสนะ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาลมีนครหลวงชื่อมถุรา

    อวันตี แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมียพุทธกาล มีนครหลวงชื่ออุชเชนี พระเจ้าจัณฑปัชโชตเป็นราชาผู้ครองแคว้น

    อังคะ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อจัมปา ในสมัยพุทธกาล แคว้นอังคะ ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นมคธ แค้วนอังคะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมคธ มีแม่น้ำจัมปากั้นแดน

    อังคุตตราปะ แคว้นเล็กแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาล เมืองหลวงเป็นเพียงนิคม ชื่ออาปณะ

    อัสสกะ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อโปตลิหรือโปตนะ

    อาฬกะ แคว้นอาฬกะ ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำโคธาวรี ตรงข้ารมกับแคว้นอัสสะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2005
  10. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล"

    มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล หมายถึง แคว้นขนาดใหญ่ หรือรัฐ ๑๖ รัฐ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ดังนี้

    ๑. แคว้นกัมโพชะ มีเมืองหลวงชื่อ ทวารกะ
    ๒.แคว้นกาสี มีเมืองหลวงชื่อ พาราณสี
    ๓.แคว้นกุรุ มีเมืองหลวงชื่อ อินทปัถะ
    ๔.แคว้นโกศล มีเมืองหลวงชื่อ สาวัตถี
    ๕.แคว้นคันธาระ มีเมืองหลวงชื่อ ตักศิลา
    ๖.แคว้นเจตี มีเมืองหลวงชื่อ โสตถิวดี
    ๗.แคว้นปัญจาละ มีเมืองหลวงชื่อ กัมปิลละ
    ๘.แคว้นมคธ มีเมืองหลวงชื่อ ราชคฤห์
    ๙.แคว้นมัจฉะ มีเมืองหลวงชื่อ วิราฎ
    ๑๐.แคว้นมัละ มีเมืองหลวงชื่อ กุสาวดี (แต่ภายหลังแยกเป็นกุสินาราและปาวา)
    ๑๑.แคว้นวังสะ มีเมืองหลวงชื่อ โกสัมพี
    ๑๒.แคว้นวัชชี มีเมืองหลวงชื่อ เวสาลี (ไพศาลี)
    ๑๓.แคว้นสุระเสนะ มีเมืองหลวงชื่อ มถุรา
    ๑๔.แคว้นอวันตี มีเมืองหลวงชื่อ อุชเชนี
    ๑๕.แคว้นอังคะ มีเมืองหลวงชื่อ จัมปา
    ๑๖.แคว้นอัสสกะ มีเมืองหลวงชื่อ โปตลิ (โปตละ)


    นอกจากมหาชนบทหรืออาณาจักร ๑๖ นี้แล้ว ยังมีแคว้นอื่นๆ ที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ที่พอจะประมวลมาได้ดังนี้

    ๑. แคว้นโกลิยะ มีเมืองหลวงชื่อ เทวทหะ (รามคาม)
    ๒.แคว้นภัคคะ มีเมืองหลวงชื่อ สุงสุมารคีระ
    ๓.แคว้นมัททะ มีเมืองหลวงชื่อ สาคละ
    ๔.แคว้นวิเทหะ มีเมืองหลวงชื่อ มิถิลา
    ๕.แคว้นสักกะ มีเมืองหลวงชื่อ กบิลพัสดุ์
    ๖.แคว้นสุนาปรันตะ มีเมืองหลวงชื่อ สุปปารกะ
    ๗. แคว้นอังคุตตราปะ เมืองหลวงเป็นเพียงนิคมชื่ออาปณะ


    มหาชนบท หรืออาณาจักร ๑๖ ในสมัยพุทธกาล เท่าที่ค้นพบหลักฐานในปัจจุบัน ได้แก่ อาณาเขตและเมืองดังต่อไปนี้

    ๑. แคว้นกัมโพชะ ตั้งอยู่เหนือแคว้นคันธาระ ตั้งอยู่เหนือสุดของชมพูทวีป มีเมืองหลวงชื่อทวารกะ (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศอัฟกานิสถาน)

    ๒.แคว้นกาสี ตั้งอยู่ตอนบรรจบของแม่น้ำคงคาและยมุนานครหลวงชื่อ พาราณสี อยู่เหนือแคว้นมคธ อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของแคว้นโกศล มีแคว้นวัชชีและแคว้นวิเทหะอยู่ทางตะวันออก มีแคว้นวังสะอยู่ทางตะวันตก ในสมัยพุทธกาลแคว้นกาสีถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโกศล (ปัจจุบันเรียกว่า วาราณสี)

    ๓.แคว้นกุรุ ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำยมุนาตอนบนอยู่เหนือแคว้นมัจฉะ สุรเสนะ และปัญจาละ มีเมืองหลวงชื่อ อินทปัตถะ (ปัจจุบันเป็นดินแดนราวแคว้นปัญจาบและเมืองเดลีนครหลวงของประเทศอินเดีย)

    ๔.แคว้นโกศล ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาหิมาลัยกับแม่น้ำคงคาตอนกลาง ทิศเหนือจดภูเขาหิมาลัยตะวันตก ทิศใต้จดแม่น้ำคงคา ทิศตะวันออกจดแคว้นกาสีต่อกับแคว้นมคธ นครหลวงชื่อสาวัถี (ปัจจุบันเป็นดินแดนราวเมืองอโยธยา หรือ โอธ บัดนี้เรียกว่า สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่บนฝั่งลำน้ำอจิรวดีหรือรับดิ ห่างจากเมืองโอธไปทางทิศเหนือราว ๘๐ กิโลเมตร และอยู่ทางทิศใต้ห่างจากเขตแดนประเทศเนปาลราว ๕๐ กิโลเมตรแคว้นโกศลคือ อุตรประเทศในปัจจุบัน)

    ๕.แคว้นคันธาระ ตั้งอยู่ทางลุ่มแม่น้ำสินธุตอนบน อยู่ทางเหนือสุดของชมพูทวีป มีเพียงแคว้นกัมโพชะอยู่เหนือขึ้นไป นครหลวงชื่อตักศิลา (ปัจจุบันเป็นดินแดนนี้อยู่ราวพรมแดนทิศนะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ตรงกับแคว้านปัญจาบภาคเหนือ อยู่ติดกับแคว้นกัษมีระหรือแคชเมียร์ นครหลวงชื่อตักสิสา อยู่ในดินแดนประเทศปากีสถาน)

    ๖.แคว้นเจตี ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำคงคา ติดต่อกับแคว้นวังสะทางทิศตะวันออก มีแคว้นวันตีอยู่ทางทิศตะวันตก นครหลวงชื่อโสตถิวดี

    ๗.แคว้นปัญจาละ ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบน มีแม่น้ำภาคีรถีซึ่งเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำคงคาตอนบนไหลผ่าน มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก ภูเขาหิมาลัยอยู่ทางทิศเหนือแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เมืองหลวงของแคว้นนี้เดิมชื่อ หัสดินาปุระหรือหัสดินต่อมาจึงแยกไปตั้งนครหลวงใหม่คือกัมปิลละตั้งอยู่เหนือแม่น้ำคงคา ถัดลงมาถึงเมืองสังกัสสะ และถึงเมืองกันยากุพชะ(บัดนี้เรียกว่ากะเนาซ์ปัจจบันดินแดนแห่งนี้ อยู่ราวเมืองอัคราของประเทศอินเดีย)

    ๘.แคว้นมคธ ตั้งอยู่ใต้แม่น้ำคงคาตอนกลางมีแม่น้ำคงคาอยู่ห่างทิศเหนือ และมีภูเขาวินชัยอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตก ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโสนกับแคว้นอังคะ นครหลวงชื่อราชคฤห์ ตั้งอยู่ในเขตภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบคือ ภูเขาคิชณกูฏ อิสิคิสิ ปัพภาระ เวภาระ และเวปุลละเรียกว่าเบญจคีรี ต่อมาพระเจ้าอุทายีพระราชนัดดาของพระเจ้าอชาตศัตรูได้ย้ายนครหลวงไปที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคาเหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป (ปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือแคว้นพิหารของประเทศอินเดียนครราชคฤห์ บัดนี้เรียกว่า ราชคีร์ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองปัตนะเมืองหลวงปัจจุบันของแคว้นพิหารไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๖๕ กิโลเมตร นครปาฏลีบุตร บัดนี้เรียกว่าปัตนะ)

    ๙.แคว้นมัจฉะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับยมุนาตอนบนมีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศเหนือ มีแคว้นสุรเสนะ อยู่ทางทิศใต้ นครหลวงชื่อวิราฏ

    ๑๐.แคว้นมัลละ ตั้งอยู่ถัดจากแคว้นโกศลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ทางเหนือของแคว้นวัชชี และทางทิศตะวันออกของแคว้นสักกะ นครหลวงชื่อกุสาวดี แต่ภายหลังแยกเป็นนครกุสินาราและนครปาวา นครกุสินารา ตั้งอยู่ในจุดบรรจบของแม่น้ำรับดิและคันธกะส่วนนครปาวาอยู่ระหว่างนครกุสินารากับนครเวลสาลีเมืองหลวงของแคว้นวัชชี (ปัจจุบันเมืองกุสินาราอยู่ในเขตประเทศอินเดียเหนือประเทศเนปาล เมืองกุสินาราบัดนี้เรียกว่าเมืองกาเซีย ส่วนนครปาวา บัดนี้เรียกว่าเมืองปัทระโอนะ)

    ๑๑.แคว้นวังสะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของลำน้ำยมุนา ทิศใต้ของแคว้นโกศล และทางทิศตะวันตกของแคว้นกาสี นครหลวงชื่อโกสัมพี ตั้งอยู่เหนือฝั่งแม่น้ำยมุนา (ปัจจุบันนครโกสัมพี เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อว่าโกสัมอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอัลลาฮาบัด)

    ๑๒.แคว้นวัชชี ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำคันธกะอยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมัลละ ทางทิศเหนือของแคว้นมคธ นครหลวงชื่อเวสาลี หรือไพศาลี (ปัจจุบันนครเวสาลีบัดนี้เรียกว่า เบสาห์อยู่ห่างจากเมืองปัตนะไปทางทิศเหนือราว ๔๕ กิโลเมตร)

    ๑๓.แคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ระหว่างลำน้ำสินธุกับยมุนาตอนล่าง ตั้งอยู่ทางใต้ของแคว้นกุรุ แคว้นปัญจาละอยู่ทางทิศตะวันออก นครหลวงชื่อมถุรา (ปัจจุบันดินแดนแห่งนี้อยู่ราวแคว้นราชสถานของประเทศอินเดีย และนครมถุราอยู่ราวเมืองมัตตรา)

    ๑๔.แคว้นอวันตี หรือแคว้นมาลวะ ตั้งอยู่เหนือภูเขาวินธัย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอัสสกะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นวังสะ นครหลวงชื่ออุชเชนี (บัดนี้คือเมืองอุเทนในประเทศอินเดีย)

    ๑๕.แคว้นอังคะ ตั้งอยู่ปลายแม่น้ำคงคา ทางทิศตะวันออกของแคว้นมคธ มีแม่น้ำจัมปากั้นแดน มีนครหลวงชื่อจัมปา ตั้งอยู่เหนือฝั่ง แม่น้ำคงคา ด้านขวา (ปัจจุบันดินแดนแห่งนี้อยู่ราวรัฐเบงคอลของประเทศอินเดีย นครจัมปา บัดนี้เรียกว่า ภคัลปูร์)

    ๑๖.แคว้นอัสสกะ ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำโคธาวรี ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นอวันตี อยู่ติดแนวของดินแดนทักขิณาบถคือเมืองแถบใต้ มีนครหลวงชื่อโปตลิหรือโปตละ
     
  11. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "พระวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้า"

    ในระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ พระวิหารต่าง ๆ ซึ่งพอจะประมวลไว้ได้ดังนี้

    ๑.กูฏาคาร เป็นพระอารามที่ประทับในป่ามหาวัน เป็นป่าใหญ่ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในพรรษาที่ ๕ ภายหลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ กูฏาคารในป่ามหาวัน นครเวสาลี

    ๒. โฆสิตาราม เป็นชื่อวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ ในพรรษาที่ ๙ ภายหลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ พระอารามแห่งนี้ ในบางคัมภีร์ระบุว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับที่กรุงโกสัมพีทรงพำนักที่โฆสการาม อันเป็นอารามที่โฆสกเศรษฐีสร้างถวาย

    ๓.จันทนศาลา เป็นศาลาไม้จันทน์แดง ในมกุฬการาม แคว้นสุนาปรันตะ พระมหาสาวกปุณณสุนาปรันตะ ซึ่งจำพรรษาที่วัดมกุฬการาม ได้แนะนำให้น้องชายของท่านและพ่อค้ารวม ๕๐๐ คน แบ่งไม้จันทร์แดงที่มีค่าสูงสร้างถวายพระพุทธเจ้า แล้วทูลอาราธนาเสด็จมายังแคว้นสุนาปรันตะ พระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝังแม่น้ำนัมมทาและที่ภูเขาสัจจพันธ์ อันนับว่าเป็นการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาท

    ๔.ชีวกัมพวัน หมอชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำประองค์พระพุทธเจ้า และประจำพระภิกษุสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นมหาอุบาสกสำคัญได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล หมอชีวกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันและด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง ในกาลนั้น พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ พระเวฬุวันวิหารพระนครราชคฤห์ หมอชีวกเห็นว่าพระเวฬุวันไกลเกินไป จึงสร้างวัดถวายในอัมพวัน คือสวนมะม่วงของตน เรียกกันว่า ชีวกัมพวัน (อัมพวันของหมอชีวก) อยู่ในกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ

    ๕.เชตวันมหาวิหาร เป็นมหาวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ ตั้งอยู่ทางใต้ของนครสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศลเป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษานานที่สุดในระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ ชื่อเชตวัน ได้จากพระนามของเจ้าชายเชตะ ซึ่งเป็นพระญาติสนิทของของพระพุทธเจ้า เสนทิราชาผู้ครองแคว้นโกศล สำหรับประวัติของมหาวิหารเชตวันมีดังนี้

    มหาเศรษฐีแห่งนครสาวัจถี ตระกูลสุทัตตะ นามอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นพ่อค้าเดินทางไปมาระหว่างนครราชคฤห์กับนครสาวัตถีคราวหนึ่งได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าที่นครราชคฤห์ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จประทับ ณ นครสาวัตถี

    อนาถบิณฑิกเศรษฐีกลับนครสาวัตถีแสวงหาที่ดินแปลงใหญ่ได้แปลงหนึ่ง ใกล้ตัวเมืองเป็นที่เหมาะแก่การโคจร และเป็นที่ตั้งแห่งความสงบได้ โดยทราบว่าเป็นสมบัติของเจ้าชายเชตะจึงขอซื้อ เจ้าชายอ้างว่าจะสงวนไว้เป็นที่เที่ยวเล่นไม่ยอมขาย เศรษฐี เฝ้าอ้อนวอนแล้วอ้อนวอนเล่า เจ้าชายรำคาญแสร้งว่าต้องเอาเหรียญทองมาเกลี่ยเรียงให้เต็มแปลงก็จะขายให้

    อนาถบิณฑิกเศรษฐียอมตามด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าสั่งคนใช้ให้ขนเหรียญทองคำมาปูจเต็มแปลง เจ้าชายเชตะกลับเห็นใจรับสั่งว่า ขอร่วมศรัทธาในพระพุทธเจ้าด้วย จึงขอลดราคาลงไปเพียงครึ่งเดียว ให้เศรษฐีนำเหรีญทองคำกลับไปเสียครึ่งหนึ่ง ขอร่วมบุญด้วยอีกครึ่งหนึ่ง

    อนาถบิณฑิกเศรษฐี กับเจ้าชายเชตะร่วมกันบัญชางาน ให้หักร้างถางที่ทำเป็นอุทยานใหญ่จนเป็นที่รื่นรมย์แล้ว ให้สร้างมหาวิหาร ๗ ชั้นมีกำแพงและคูเป็นขอบเขต ภายในบริเวณปันเป็นส่วนสัด มีคันธกุฎี (แปลว่า กุฎีอบกลิ่มหอม เป็นชื่อเรียกพระกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้า) มีที่จำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ มีที่เจริญธรรม ที่แสดงธรรม ที่จงกรมที่อาบ ที่ฉันครบถ้วนควรแก่สมณบริโภค อนาถนิณฑิกเศรษฐีสิ้นทรัพย์ไปในการณ์นี้ ๓๖ โกฎิกหาปณะ (โกฏิ = สิบล้าน กหาปณะ = ๔ บาท)

    จากจดหมายเหตุของหลวงจีนฟาเหียน สมณทูตจีน เล่าเรื่องซากปรักพังของมหาวิหารเชตวัน เมื่อประมาณพุทธศักราช ๙๔๒ ไว้ดังนี้

    "ออกจากบริเวณเมืองสาวัตถีไปทางประตูทิศใต้ เดินไปประมาณ ๒,๐๐๐ ก้าว สู่ทางตะวันออกของถนนใหญ่ พบวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซากที่ยังเหลืออยู่คือ ฐานปะรำ ๓ ฐาน หลัก ๒ หลักที่หลักมีสลัดรูปธรรมจักรด้านหนึ่งและรูปโคอีกด้านหนึ่ง มีที่ขังน้ำใช้น้ำฉันของพระภิกษุยังเหลืออยู่ ในที่เก็บน้ำยังมีน้ำใสสะอาดเต็มเปี่ยม มีไม่เป็นพุ่มเป็นกอ แต่ละพุ่มแต่ละกอมีดอกออกใบเขียวสดขึ้นอยู่โดยรอย ที่ใกล้วิหารหลังนี้ มีซากวิหารอีกหลักหนึ่ง เรียกว่า วิหารตถาคต"

    "วิหารคถาคต มองจากซากก็รู้ว่า แต่เดิมมามี ๗ ชั้น บรรดาราชาอนุราชา และประชาชน พากันมากกราบไหว้ ทำการสักการะตลอดกลางคืนกลางวัน"

    "ทางทิศตะวันออกเฉียวเหนือขอวิหารคถาคต ไกลออกไป ๖-๗ สี่พบวิหารอีกหลังหนึ่ง (บุพพาราม) ซึ่งมหาอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดาสร้างถวายพระพุทธเจ้า เมืองสาวัตถีนี้มีประตูใหญ่เพียง ๒ ประตูคือประตูทางทิศตะวันออกและประตูทางเหนือ มีอุทยานใหญ่แห่ง หนึ่งกว้างขวาง อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้สละทรัพย์สร้างถายพระพุทธเจ้ามีวิหารใหญ่ตั้งอยู่ตรงกลาง ณ สถานที่นี้เองเป็นที่ประทับถาวรของพระพุทธเจ้าเพื่อทรงแสดงธรรม ยังสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นภัย ณ สถานที่ใดอันเป็นที่เคยประทับของพระพุทธเจ้าก็ดี เคยเป็นทีแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าก็ดี สถานที่นั้นมีเครื่องหมายไว้ให้เห็นหมด แม้สถานที่ของนางจิญจมาณวิกา (รับใช้พระเทวทัตมากล่าวตู่พระพุทธเจ้า) ก็มีเครื่องหมายแสดงไว้เหมือนกัน"

    ท่านเทวปริยวาลิสิงหะ เลขาธิการสมาคมมหาโพธิอ้างหนังสือชื่อ ปูชาสัลลิยะ อันเป็นวรรณคดีของลังกา เขียนเล่าว่า

    "แม้พระมหาวิหารเชตวันจะเป็นที่ยังความสะดวกและความสงบให้เกิดได้ ยิ่งกว่าสถานที่ใดในชมพูทวีปก็ตาม แต่พระพุทธเจ้าหาได้ประทับจำพรรษาตลอดปีไม่ แต่ละปีพระพุทธเจ้าประทับเพียงปีละ 3 เดือนในฤดูพรรษา ส่วนอีก ๙ เดือนนอกพรรษา พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกออกไปแสดงธรรมในคามนิคมอื่น"

    พระมหาวิหารเชตวันมีชื่อมากในตำนานพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาอยู่ ณ มหาวิหารแห่งนี้ ถึง ๒๔ ฤดูฝน พระธรรมส่วนใหญ่ทรงแสดงที่มหาวิหารแห่งนี้ คัมภีร์พุทธวงศ์ และเอกนิบาต อังคุตรนิกาย บรรยายว่า พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษา ที่มหาวิหารแห่งนี้ เพียง ๑๙ ฤดูฝน เวลาที่เหลือจากนั้น เปลี่ยนไปประทับ ณ วิหารบุพพามหาวิหารเชตวัน มีอธิบายอีกในหนึ่งว่า เวลากลางวันประทับ ณ วิหารแห่งหนึ่ง และกลางคืนเสด็จไปแสดงธรรม ณ วิหารอีกแห่งหนึ่ง นับเป็นสถานที่ประทับอันนับเนื่องด้วยชีวิตการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า ตลอด ๒๔ ฤดูฝน

    ๖.นิโครธาราม เป็นพระอารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้าอยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ นครหลวงของแคว้นสักกะ ในพรรษาที่ ๑๕ หลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่นิโครธาราม

    ๗.บุพพาราม เป็นพระวิหารที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาวิหารเชตวันทางใต้ของนครสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล นางวิสาขามิคารมารดา มหาอุบาสิกาผู้เป็นเอตทัคคะในบรรดาทายิกาทั้งปวงเป็นผู้สร้างถวาย โดยขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงาน เรียกชื่อว่ามหาลดาปสาธน์ เป็นเครื่องอาภรณ์งามวิจิตประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการมีค่ามากถึง ๙๐ ล้านกหาปนะ และได้รับยกย่องว่าเป็นของสำหรับผู้มีบุญในสมัยพุทธกาลมีเพียง ๓ คือ ของนางวิสาขา ๑ ของเศรษฐีธิดา ภรรยาท่านเทวทานิยสาระ ๑ และของนางวิสาขานำมาสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพพาราม ณ พระนครสาวัตถี โดยพระพุทธเจ้าทรงมอบหมายให้พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวก เบื้องซ้ายเป็นนวกัมมาธฏฐายี คือเป็นผู้อำนวนการก่อสร้างวิหารบุพพาราม

    ๘. พระเวฬุวัน เป็นป่าไผ่ สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสารอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์นครหลวงของแคว้นมคธเป็นสถานที่ร่มรื่นสงบเงียบ มีทางไปมาสะดวก พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงประจำพรรษาที่ ๒-๓-๔ และพรรษที่ ๑๗ กับ ๒๐ ภายหลังจากตรัสรู้พระเวฬุวันวิหารนับเป็นอารามในระยะกาลประดิษฐานพระศาสนาระยะแรกเริ่ม

    ๙.อัคคาฬวเจดีย์วิหาร อยู่ในเมืองอาฬวี ในพรรษาที่ ๑๖ ภายหลังตรัสรู้ระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ วิหารแห่งนี้
     
  12. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล"

    ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ณ กาลนั้น พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา พระบรมศาสดาทรงตรัสแก่พระอานนท์ว่า "อานนท์ในยามที่สุดแห่งราตรีวันนี้แหละ ตถาคตจะปรินิพพาน ณ ระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ณ สาลวันแห่งมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา"

    ครั้นพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ได้เสด็จพระพุทธดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญญวดี ไปเมืองกุสินารา โปรดให้พระอานนท์ปูลาดเตียงที่บรรทม ณ ระหว่าไม้สาละทั้งคู่ และเสร็จขึ้นบรรทมสีหไสยา(เป็นการนอนอย่างราชสีห์ คือนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มือซ้ายพาดไปตามลำตัว มือขวาช้อนศีรษะไม่พลิกกลับไปมา มีสติสัมปชัญญะกำหนดใจถึงการลุกขึ้นไว้) แต่พระบรมศาสดามิได้มีอุฏฐานสัญญา มนสิการ คือไม่คิดจะลุกขึ้นอีกแล้ว เพราะเหตุเป็นไสยาอวสาน คือการนอนครั้งสุดท้าย (หรือ อนุฏฐานไสยาคือนอนไม่ลุก)

    ลำดับต่อมา พระอานนท์เถระเจ้าได้กราบทูลว่า "ในกาลก่อนเมื่อออกพรรษาแล้ว บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายในทิศต่าง ๆ เจริญในครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เข้าใกล้สนทนาปราศัยได้ความเจริญใจ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายจักไม่ได้โอกาสอันดีเช่นนั้น เหมือนกับเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่อีกต่อไป"
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล นี้ คือ

    ๑. สถานที่พระตถาคตเจ้าบังเกิดแล้ว คือที่ประสูติจากพระครรภ์ (คือ อุทยานลุมพินี กึ่งกลางระว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงของแคว้นสักกะ กรุงเทวทหะเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาลห่างชายแดนภาคเหนือของประเทศอินเดีย ๖ กิโลเมตรครึ่ง บัดนี้เรียกว่า รุมมิเนเด)

    ๒. สถานที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (คือใต้ร่มไม่ศรีมหาโพธิ์ ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ปัจจุบันคือ ควงโพธิ์ ที่ตำบลพุทธคยา รัฐพิหารประเทศอินเดีย)

    ๓. สถานที่พระตถาคตเจ้าแสดงธรรมจักร (คือสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าแสดงธรรมปฐมเทศนาโปรดปัจจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทางทิศเหนือของเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ปัจจุบันนี้เรียกว่า สารนาถพาราณสีบัดนี้เรียกว่า วาราณสี)

    ๔. สถานที่พระตถาคตเจ้าปรินิพพาน (คือที่สาลวโนยาน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ปัจจุบันี้เรียกเมืองกาเซีย จังหวัดโครักขปุระ)

    สถานที่ทั้ง ๔ ตำบลนี้แล ควรที่พุทธบริษัท คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มีความเชื่อความเลื่อมใสในพระตถาคตเจ้า จะดูจะเห็นและควรจะให้เกิดความสังเวชทั่วกัน"

    "อานนท์ ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้เที่ยวไปยังเจดีย์สังเวชนียสถานเหล่านี้ด้วยความเลื่อมใส ชนเหล่านั้น ครั้นทำกาลกิริยาลงจักเข้าถึงสุดคติโลกสวรรค์"

    อนึ่ง สังเวชนียสถาน มีความหมายถึง สถานเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช แต่คำว่าสังเวชในทางธรรมนั้น มีความหมายลึกซึ้งกว่าความหมายของคำว่าสังเวชที่พบเห็นกันทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ ในทางธรรมหมายถึง ความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้ ทำให้จิตใจหันมานึกถึงสิ่งที่ดีงามเกิดความไม่ประมาท เพียรพยายามทำสิ่งที่เป็นกุศลต่อไป จึงจะเรียกว่า สังเวช ความสลดในและหงอยหรือหดหู่เสีย ไม่เรียกว่าเป็นความสังเวช


    พระพุทธดำรัสเกี่ยวกับสังเวชนียสถานทั้ง ๔ <TABLE width=500 align=center><TBODY><TR><TD>ณ พระแท่นบรรทม หรือเตียงปรินิพพานนั้นเอง พระพุทธองค์ได้ทรงปรารถเรื่องรา่วต่างๆ หลายเรื่องกับพระอานนท์พุทธอุปัฎฐากรวมทั้งเรื่อง สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตำบล จากในมหาปรินิพพานสูตร พอสรุปได้ดังนี้

    ครั้งนั้นพระอานนท์เถรเจ้าได้กราบทูลพระองค์ว่า ในกาลก่อนภิกษุทั้งหลายที่ได้แยกย้ายกันไปจำพรรษาอยู่ตามชนบทในทิศต่างๆ เมื่อสิ้นไตรมาศครบ ๓ เดือนตามวินัยนิยมหรืออกพรรษาแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ย่อมจะเดินทางมาเฝ้าพระองค์เป็นอาจิณวัตร ก็เพื่อจะได้เห็นจะได้เข้าใกล้ จะได้อุปัฎฐากพระองค์ อันจะทำให้เกิดความเจริญทางจิต ก็มาบัดนี้เมื่อกาลแห่งการล่วงไปแห่งพระองค์แล้ว ก็แล้วข้าพระองค์ทั้งหลายก็จะไม่ได้เห็น จะไม่ได้นั่งใกล้ จะไม่ได้สากัจฉา(สนทนาธรรม) เหมือนกับสมัยที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอีกต่อไป

    เมื่อพระอานนท์กราบทูลดังนี้แล้ว พระตถาคตเจ้าได้ทรงแสดงสถานที่ ๔ ตำบลว่าเป็นสิ่งที่ควรจะดู ควรจะได้เห็น ควรจะเกิดสังเวช (ความสลดใจกระตุ้นเตือนจิตใจให้คิดกระทำแต่สิ่งดีงาม) แก่กุลบุตร กุลธิดา ผู้มีศรัทธา คือ

    ๑. สถานที่พระตถาคตเจ้าบังเกิดแล้วคือ ประสูติจากพระครรภ์มารดา ตำบลหนึ่งคืออุทยานลุมพินี

    ๒. สถานที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณตำบลหนึ่งคือ ควงไม้โพธิ์ พุทธคยา

    ๓. สถานที่พระตถาคตเจ้าให้พระอนุตรธัมมจักเป็นไป หรือแสดงปฐมเทศนาตำบลหนึ่ง คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี (ปัจจุบันเรียก สารนาถ)

    ๔. สถานที่พระตถาคตเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุตำบลหนึ่ง คือ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา (ปัจจุบันเรียก กาเซีย) ให้เกิดความสังเวชของกุลบุตร กุลธิดา ผู้มีศรัทธา

    อนึ่ง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศรัทธามายังสถานที่ ๔ ตำบลนี้ ด้วยมีความเชื่อว่า พระตถาคตเจ้าได้บังเกิดขึ้นแล้ว ณ สถานที่นี้ พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ณ สถานที่นี้ พระตถาคตเจ้าได้ให้พระอนุตรธัมมจักเป็นไปแล้ว ณ สถานที่นี้ และพระตถาคตเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทเสสนิพพานธาตุแล้ว ณ สถานที่นี้

    ดูก่อนอานนท์ ชนทั้งหลายเหล่าใด เจติยจาริกของพระตถาคตเจ้าทั้ง ๔ ตำบลนี้แล้ว จักเป็นคนเลื่อมใส เมื่อกระทำกาลกิริยา(ตาย)ลง ชนทั้งหลายเหล่านั้น จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความ ๔ ตำบลว่าเป็นที่ควรเห็น ควรดู ควรให้เกิดสังเวชของกุลบุตร กุลธิดา ผู้มีศรัทธาด้วยประการฉะนี้แล

    นี้เองเป็นที่มาของสังเวชนียสถาน ๔ แห่งในดินแดนพุทธภูมิ ที่ชาวพุทธทั้งหลายสมควรอย่างยิ่งที่จะไปนมัสการ กราบไหว้สักการะสักครั้งหนึ่งในชีวิต

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE height=48 cellSpacing=4 cellPadding=0 width=350 background=../pics/bbtab.gif><TBODY><TR><TD vAlign=bottom> สังเวชนียสถานแห่งที่ ๑ สถานที่ประสูต</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=500 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE width=175 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชปักไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังทราบว่าตรงจุดนี้ เป็นที่ที่พระบรมศาสดาออกจากพระครรภ์ของพระมารดา </TD></TR></TBODY></TABLE>สังเวชนียสถานแห่งที่ ๑ คือสถานที่ประสูติแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น ปัจจุบันนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย และสถานที่ประสูตินี้ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนอินเดีย-เนปาลประมาณ ๓๒ กิโลเมตร ปัจจุบันสังเวชนียสถานแห่งนี้ ภาษาทางราชการเรียกว่า "ลุมมินเด" แต่ชาวบ้านทั่วไปก็ยังเรียกว่า "ลุมพินี"



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE height=48 cellSpacing=4 cellPadding=0 width=350 background=../pics/bbtab.gif><TBODY><TR><TD vAlign=bottom> สังเวชนียสถานแห่งที่ ๒ สถานที่ตรัสรู้</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=500 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE width=175 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>วิหารตรัสรู้ ที่ยังหลงเหลืออยู่สมบูรณ์ที่สุด </TD></TR></TBODY></TABLE>สังเวชนียสถานแห่งที่ ๒ คือสถานที่ตรัสรู้นี้ แต่เดิมทีเดียวในสมัยพุทธกาลนั้น คือตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมืองคยา แคว้นมคธ ซึ่งมีเมืองราชคฤห์ เป็นเมืองหลวง ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้นี้เรียก ตำบลพุทธคยา ขึ้นอยู่กับจังหวัดคยา (ห่างจากจังหวัดคยา ๑๒ กิโลเมตร) รัฐพิหาร มีเมืองหลวงชื่อ ปัฎนะ หรือ ปัฎนา (หรือชื่อเดิมว่า ปาฎลีบุตร)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE height=48 cellSpacing=4 cellPadding=0 width=353 background=../pics/bbtab.gif><TBODY><TR><TD vAlign=bottom> สังเวชนียสถานแห่งที่ ๓ สถานที่แสดงปฐมเทศนา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=500 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE width=175 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>ธัมเมกขสถูป สถานที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถให้พระอรหันต์ ๖๐ รูป ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก</TD></TR></TBODY></TABLE>สังเวชนียสถานแห่งที่ ๓ คือ สถานที่แสดงปฐมเทศนา หรือสถานที่พระตถาคตเจ้าทรงยังพระอนุตรธัมจักให้เป็นไป สถานที่นี้อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ปัจจุบันเรียกสารนาถ ห่างจากเมืองประมาณ ๘ กิโลเมตร ซึ่งเมืองพาราณสีนี้อยู่ห่างจากเมืองพุทธคยา สถานที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE height=48 cellSpacing=4 cellPadding=0 width=353 background=../pics/bbtab.gif><TBODY><TR><TD vAlign=bottom> สังเวชนียสถานแห่งที่ ๔ สถานที่ดับขันธปรินิพพาน </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=500 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE width=175 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>สถูปและวิหารปรินิพพานที่เมืองกุสินารา</TD></TR></TBODY></TABLE>สังเวชนียสถานแห่งที่ ๔ คือ สถานที่ดับขันธปรินิพพาน ด้วยอนุาทิเสสนิพพานธาตุดับไม่มีส่วนเหลือ คือทั้งกิเลส ทั้งเบญจขันธ์ดับหมด ตามปกติพระอรหันต์ทั่วไปๆไปจะนิพพาน ๒ ครั้ง คือ ครั้งแรกนั้นเป็นการดับกิเลส ส่วนเบญจขันธ์ยังอยู่ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพาน เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เพียงแต่จิตเข้าสู่แดนพระนิพพานเท่านั้น เป็นจิตที่สะอาด ไม่มีกิเลส ไม่มีทุกข์แล้ว ดังเช่นพระพุทธเจ้า นิพพานครั้งแรกนี้เมื่อวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ส่วนนิพพานครั้งที่ ๒ ก็คือ อนุปาทิเสสนพิิาน ดังได้กล่าวแล้วนั้นเอง

    สถานที่นิพพานที่พุทธประวัติระบุว่า สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา ปัจจุบันมีสถูปและวิหารเป็นสัญลักษณ์ เป็นอุทยานที่ได้รับการรักษาจากทางการอินเดียเป็นอย่างดี มีต้นสาละและไม้อื่นปลูกอยู่ทั่วไป ให้ความร่มรื่นพอสมควร

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <HR width=500 SIZE=1>
    <TABLE width=500 align=center><TBODY><TR><TD>เรื่อง/ภาพ : จากหนังสือ สู่พุทธภูมิสมเด็จพ่อ รวบรวมโดย จิรวํโสภิกขุ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "๘ พุทธสถานที่สำคัญ ในสมัยพุทธกาล"

    ในการเดินทางไปไหว้พระพุทธเจ้า ณ ดินแดนพุทธภูมินั้น ถ้าได้เดินทางไปครบหมดทั้ง ๘ เมืองที่นิยมกันและถือว่ามีความสำคัญมากทางพระพุทธศาสนา ก็ถือว่าไปครบตามที่นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนากำหนดกันไว้ คือ

    ๑. ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติในประเทศเนปาล

    ๒. เมืองเวสาลี เมืองที่ภิกษุสงฆ์เกิดขึ้นครั้งแรก และเป็นสถานที่ทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ในประเทศอินเดีย

    ๓. เมืองราชคฤห์ เมืองที่พระพุทธองค์ทรงประดิษฐพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก

    ๔. พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ และทรงเสวยวิมุตติสุขเป็นเวลา ๗ สัปดาห์แรกภายหลังทรงตรัสรู้

    ๕. เมืองพาราณสี เมืองที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัจจวัคคีย์ เมืองที่กำเนิดพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ครบถ้วนสมบูรณ์

    ๖. เมืองกุสินารา เมืองที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน

    ๗. เมืองสาวัตถี เมืองที่พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษานานที่สุดถึง ๒๔ พรรษา พระธรรมส่วนใหญ่ของพระบรมศาสดาทรงแสดงที่วิหารในเมืองแห่งนี้

    ๘. เมืองสังกะสะ เมืองที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากที่ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาแล้ว




    "๑๖ ตำบล ทรงแสดงนิมิตต์โอภาส"

    นิมิตต์โอภาส มีความหมายว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสข้อความเป็นเชิงเปิดโอกาสให้อาราธนาเพื่อดำรง พระชนม์อยู่ต่อไป ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงนิมิตต์โอภาส ณ ๑๖ ตำบล แก่พระอานนท์ พระมหาสาวกผู้เป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ แต่พระอานนท์ก็ไม่รู้ จึงไม่อารธนาไม่วิงวอน ให้พระพุทธเจ้าดำรงพระชนม์อยู่ต่อไป ดังนั้น พระบรมศาสดาทรงกำหนดพระทัย ทรงปลงพระชนมายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ในวันมาฆปุรมี เพ็ญเดือน ๓ จักเสด็จดับขัธ์ปรินิพานในกาล ๓ เดือนข้างหน้า ในวันเพ็ญเดือน ๖ ขณะมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา

    สำหรับ ๑๖ ตำบลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์นั้น ทรงแสดงที่เมืองราชคฤห์ ๑๐ ตำบล และที่เมืองเวสาลี ๖ ตำบล ดังนี้

    ๑. ที่ภูเขาคิชฌกุฏ อันเป็นภูเขาลูกหนึ่งในห้าลูกที่เรียกว่า เบญจคีรี ล้อมพระนครราชคฤห์

    ๒. ที่โคตมนิโครธ เป็นตำบลแห่งหนึ่งในพระนครราชคฤห์

    ๓. ที่เหวสำหรับทิ้งโจร บนภูเขาคิชณกูฏ ภูเขาลูกนึ่งในเบญจคีรีซึ่งล้อมรอบพระนครราชภฤห์

    ๔.ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาภารบรรพต หนึ่งใน ๕ ของเบญจคีรี ที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ และถ้าสัตตบรรณคูหายังไม่เป็นที่สังคายนาครั้งแรกอีกด้วย

    ๕. ที่กาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิบรรพต หนึ่งใน ๕ ของภูเขาเบญจคีรี ที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ และกาฬสิลายังเป็นที่ที่พระมหาโมคคัลลานะ อัครมหาสาวกเบื้องซ้ายถูกคนร้ายซึ่งรับจ้างพวกเดียรถีย์ไปลอบฆ่าด้วยการทุบตีจนร่างแหลก

    ๖. ที่สัปปิโสณฑิกา ณ สีตวัน เป็นเงื้อมเขาแห่งหนึ่งอยู่ที่สีตวันใกล้กรุงราชคฤห์

    ๗. ตโปทาน สวนแห่งหนึ่งอยู่ใกล้บ่อน้ำพุร้อนชื่อตโปทาใกล้กรุงราชคฤห์

    ๘. ที่เวฬุวัน พระวิหารในป่าไผ่ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆารามนับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา

    ๙.ที่ชีวกัมพวนาราม เป็นวิหารในสวนมะม่วงซึ่งชีวกโกมารภัจจ์แพทย์ประจำพระองค์พระพุทธเจ้าสร้างถวาย อยู่ในกรุงราชคฤห์

    ๑๐. ที่มัททกุจฉิมิคทายวัน ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อชื่อมัททกุจฉิอยู่ที่พระนครราชคฤห์

    ๑๑. ที่อุทเทนเจดีย์ เจดีย์สถานแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเวลาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี

    ๑๒. ที่โคตมกเจดีย์ เจดีย์สถานแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของนครเวสาลี

    ๑๓. ที่สัตตัมพเจดีย์ เจดีย์สถานแห่งหนึ่งที่นครเวสาลี

    ๑๔. ที่พหุปุตตเจดีย์ เจดีย์สถานแห่งหนึ่งอยู่ทางเหนือของนครเวสาลี

    ๑๕. ที่สารันทเจดีย์ เจดีย์สถานแห่งหนึ่งที่นครเวสาลี

    ๑๖. ที่ปาวาลเจดีย์ เจดีย์สถานแห่งหนึ่งที่นครเวสาลีพระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสครั้งสุดท้ายและทรงปรงพระชนมายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน


     
  14. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "เจดีย์ และสถูปสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า"

    "เจดีย์" มีความหมายว่า ที่เคารพนับถือ , บุคคล สถานที่ หรือวัตถุที่ควรเคารพบูชา ,เจดีย์เกี่ยวกับเจดีย์ และสถูปสำคัญมี ๔ อย่างคือ

    ๑. ธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
    ๒. บริโภคเจดีย์ คือสิ่งหรือสถานที่ที่เจดีย์ พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย
    ๓. ธรรมเจดีย์ บรรจุพระธรรมคือ พุทธพจน์
    ๔. อุทเทสิกเจดีย์ คือพระพุทธรูป

    ในที่นี้จะกล่าวถึงบริโภคเจดีย์ นอกเหนือไปจากสังเวชนียสถานทั้ง ๔ และกุฏิวิหารที่พระพุทธเจ้าทรงเคยใช้สอย ซึ่งได้กล่าวถึงไปแล้ว

    ส่วน "สถูป" มีความหายว่าสิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา เป็นอนุสรณ์ที่เตือนใจให้เกิดปสาทะและกุศลธรรมอื่น ๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงพระสถูปที่มีความเกี่ยวข้องกับบริโภคเจดีย์ ส่วนสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือธาตุเจดีย์นั้น ได้แยกไปกล่าวถึงในหมวดที่ ๘ หัวข้อ "พระสถูปเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ"แล้ว

    สำหรับเจดีย์และสถูปสำคัญอันนับเนื่องอยู่ในบริโภคเจดีย์ เท่าที่นำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ มีดังนี้

    ๑. จุฬามณีเจดีย์ ตั้งอยู่ ณ สวรรคชั้น ๒ คือ ดาวดึงสเทวโลกเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระจุฬาโมลี (มวยผม) ของพระสิทธัตถะ เมื่อครั้งเสด็จออกบรรพชา ครั้งเสด็จข้ามแม่น้ำอโนมาแล้ว จะอธิฐานเพศบรรชิต ทรงตัดมวยพระเกศาขว้างไปในอากาศ พระอินทร์นำผอบแก้วมารองรับนำไปประดิษฐานในพระจุฬามณี
    ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานแล้ว ในขณะแจกพระบรมสารีริกธาตุ พระอินทร์ได้นำเอาพระทาฐธาตุคือพระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวาที่โทณพราหมณ์ซ่อนไว้ในผ้าโพกศีรษะ ใส่ผอบทองนำไปบรรจุในจุฬามณีด้วย นอกจากนั้นพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า)เบื้องขวาก็ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์สถานเช่นกัน

    ๒. โคตมกเจดีย์ เจดีย์สถานอยู่ทางทิศใต้ของนครเวสาลีนครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยเสด็จประทับหลายครั้งและเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

    ๓. ทุสสเจดีย์ เจดียสถาน ณ พรหมโลก ซึ่งฆฏิการพรหมหรือพระพรหมผู้นำสมณบริขารมีบาตรและจีวร เป็นต้น มาถวายแด่พระโพธิสัตว์เมื่อคราวออกบรรพชา และนำพระภูษาเครื่องทรงในฆาราวาสที่พระโพธิสัตว์ สละออกเปลี่ยนมาทรงจีวร นำไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ครั้นพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว พระรากขวัญเบื้องซ้ายกับพระอุณหิส (มงกุฎจากเครื่องอาภรณ์มหาลดาปสาธน์ที่นางมัลลิกาทูลอัญเชิญสวมพระพุทธสรีระศพ) ถูกนำไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ณ พรหมโลก

    ๔. ปาวาลเจดีย์ เจดีย์สถานอยู่ที่เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ พระมหาสาวกอุปัฏฐากประจำพระองค์ เป็นครั้งที่ ๑๖ และครั้งสุดท้ายจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายะสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ ในวันเพ็ญเดือน ๓ ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน

    ๕. ปาสาณเจดีย์ เจดีย์สถานในแคว้นมคธซึ่งมาณพ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพท แก่ศิษย์อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธารรี ณ สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะ พราหมณ์พาวรีได้ส่งศิษย์ ทั้ง ๑๖ คนไปถามปัญหาพระบรมศาสดา เพื่อจะทดสอบว่าพระพุทธองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงหรือไม่ ณ ปาวาลเจดีย์แห่งนี้ ภายหลังได้รับคำตอบ พราหมณ์พาวรีบรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีส่วนศิษย์ ทั้ง ๑๖ ได้บรรลุพระอรหัต และถูกจัดเป็นพระมหาสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์ ทุกองค์ด้วยกัน

    ๖. พหุปุตตเจดีย์ เจดีย์สถานอยู่ทางตอนเหนือของเมืองเวสาลีนครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

    ๗. เจดีย์พุทธคยา เจดีย์สถานอยู่ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในแคว้นมคธสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ได้เสด็จมาประทับที่ใต้ต้นโพธิ์ และได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่นี่ พระวิหารเจดีย์พุทธคยาสูง ๑๖๐ ฟุต สร้างเป็นหอสูงรูปสี่เหลี่ยมพีระมิดปลายยอดตัดรองรับพระสถูปที่ด้านบนยอดสุด องค์พระเจดีย์สร้างตั้งแต่หลังสมัยพุทธกาล ปัจจุบันเป็นตำบลพุทธคยา รัฐพิหาร

    ๘. มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ อยู่ทางทิศตะวันออกของนครกุสินารา แคว้นมัลละ มกุฏพันธนเจดีย์อยู่ห่างจากสาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานประมาณ ๑ กิโลเมตร

    ๙. รัตนฆรเจดีย์ เจดีย์เรือนแก้ว อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงประทับพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกเป็นเวลา ๗ วัน เป็นสัปดาห์ที่ ๔ แห่งการเสวยวิมุตติสุขถายหลังจากตรัสรู้

    ๑๐. รัตนจงกรมเจดีย์ เจดีย์ที่จงกรมแก้ว อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างกลางแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างกลางแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์กับอนิมิสเจดีย์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงเสด็จจงกลมตลอด ๗ วัน นับเป็นสัปดาห์ที่ ๓ แห่งการเสวยวิมุตติสุข ภายหลังจากตรัสรู้

    ๑๑. สัตตัมพเจดีย์ เจดีย์สถานที่นครเวสาลี นครหลวงแคว้นวัชชี ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

    ๑๒. สารันทเจดีย์ เจดีย์สถานที่นครเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

    ๑๓. อนิมิสเจดีย์ สถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จยืนจ้องดูต้นพระศรีมหาโพธิโดยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด ๗ วัน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ นับเป็นสัปดาห์ที่ ๒ แห่งการเสวยวิมุตติสุขทังหมดรวม ๗ สัปดาห์ ภายหลังจากทรงตรัสรู้

    ๑๔. อัคคาฬวเจดีย์ อยู่ใกล้อาฬวีนคร หลังจากทรงทรมาณอาฬวยักษ์ให้สิ้นพยศและตั้งมั่นอยู่ในอริยธรรม ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดชาวเมืองอาฬวีให้ตั้งอยู่ในกัลยาณธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๖ ภายหลังจากตรัสรู้ ณ สถานที่แห่งนี้

    ๑๕. อานันทเจดีย์ เจดียสถานในเขตโภคนคร ระหว่างทางจากเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ไปสู่เมืองปาวา แคว้นมัลละ ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ทรงประทับแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทชาวเมืองโภคนคร พระพุทธเจ้าตรัสมหาปเทศ ๔ ฝ่ายพระสูตร(หลักอ้างอิงสำหรับเทียบเคียง ๔) จากนั้น พระบรมศาสดาเสด็ดต่อไปยังปาวานคร แล้วเสด็จไปยังสาลวโนทยาน ใกล้เมืองกุสินารา ทรงดับขันธปรินิพพาน


    <HR SIZE=1>ในส่วนของพระสถูปที่มีความเกี่ยวพันถึงบริโภคเจดีย์ ได้ประมวลนำมาไว้ ณ ที่นี้ ๔ พระสถูปด้วยกันดังนี้


    ๑. เจาคันธีสถูป สถูปแห่งนี้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเป็นที่ระลึกที่พระพุทธเจ้าทรงพบปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ภายหลังจากทรงตรัสรู้ สร้างขึ้นภายหลังพุทธปรินิพพานแล้วกว่า ๒๐๐ ปี ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี

    ๒. ธัมเมกขสถูป อยู่ใกล้เคียงกับเจาคันธีสถูป เป็นสถานที่ระลึกถึงในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ในวันเพ็ญเดือน ๘ พระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก ณ ที่ แห่งนี้

    ๓. ตุมพสถูป พระตุมพเจดีย์อยู่ที่เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ พระสถูปแห่งนี้บรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อแบ่งปันให้กษัตริย์ทั้งปวง โดยโทณพราหมณ์ เป็นผู้ตักตวงพระบรมธาตุแบ่งปันถวายกษัตริย์ทั้งหลาย และขอประทานทะนานทองตวงพระบรมธาตุอัญเชิญไปสร้างตุมพสถูปเจดีย์

    ๔. อังคารสถูป พระอังคารสถูปเจดีย์อยู่ที่เมืองปิปผลิวัน โดยโมริยกษัตริย์ผู้ครองเมือง ได้ทราบข่าวพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานจึงส่งราชทูตให้มาทูลขอพระบรมสารีริกธาตุ ณ นครกุสินารา ทั้งยกพลหยุหเสนาตามมาภายหลัง ครั้นกษัตริย์มัลลราชแห่งกุสินาราแจ้งว่าพระบรมสารีริกธาตุนั้น กษัตริย์ทั้ง ๘ พระนครได้ไปประชุมแบ่งปันกันหมดสิ้นแล้ว ยังอยู่แต่พระอังคาร (ถ่านเถ้าที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ) ขอให้เชิญพระอังคารไปทำการสักการบูชาเถิด โมริยกษัตริย์จึงอัญเชิญพระอังคารมาประดิษฐาน ณ พระอังคารสถูปเจดีย์ เมืองปิปผลิวัน


    <HR SIZE=1>สำหรับพระบริขารพุทธบริโภค (เครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้า) ทั้งหลายนั้นได้รับอัญเชิญไปบรรจุไว้ในสถูป ๑๑ แห่งตามนครต่าง ๆ ดังนี้


    ๑. พระกายพันธ์ (ประคตเอว,สายรัดเอว) สถิตอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร

    ๒. พระอุทมสาฎก (ผ้าคลุมอาบน้ำ) สถิตอยู่ที่เมืองปัญจาลราฐ

    ๓. พระจัมมขันธ์ (เครื่องหนังต่าง ๆ) สถิตอยู่ที่เมืองโกสลราฐ

    ๔. ไม้สีฟัน สถิตอยู่ที่เมืองมิถิลา

    ๕. พระธมกรก (กระบอกกรองน้ำ) สถิตอยู่ที่เมืองวิเทหราฐ

    ๖. มีด กับ กล่องเข็ม สถิตอยู่ที่เมืองอินทปัตถ์

    ๗. ฉลองพระบาทและถลกบาต (รองเท้าและถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า) สถิตอยู่ที่เมืองอุสิรพราหมณคาม

    ๘. เครื่องลาด (เครื่องปูนั่งนอน) สถิตอยู่ที่เมืองมกุฏนคร

    ๙. ไตรจีวร (ผ้าสามผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัวคือ ผ้าทาบ, ผ้าห่ม(จีวร),ผ้านุ่งสบง) สถิตอยู่ที่เมือง ภัททาราฐ

    ๑๐. บาตร เดิมสถิตอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร ภายหลังไปอยู่ที่เมืองลังกาทวีป

    ๑๑. นิสีทนะสันถัต (ผ้าปูนั่ง,ผ้ารองนั่ง) สถิตอยู่ที่เมืองกุรุราฐ
     
  15. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "ต้นไม้ สวน และป่า"

    ต้นไม้ สวนและป่า ในสมัยพุทธกาลที่มีความเกี่ยวพันกับพุทธประวัติซึ่งนำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ดังนี้

    ต้นไม้

    ๑. ปาริฉัตตก์ คือต้นทองหลาง เป็นชื่อต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นที่ ๒ คือ ชั้นดาวดึงส์ อยู่ในสวนนันทวัน ของพระอินทร์หรือท้าวสักะจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในพรรษาที่ ๗ ภายหลังตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จประทับภายใต้ร่มไม้ปาริฉัตตก์ (หรือปาริฉัตร, ปาริชาต) ณ ดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาตลอดสามเดือนพระพุทธมารดาได้ทรงบรรลุพระโสดาปัตติผล ส่วนเทพยดาในโลกธาตุที่มาประชุมฟังธรรมบรรลุผลสุดที่จะประมาณ

    ๒. พหุปุตตนิโครธ ต้นไทรที่อยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าและขอบวชที่พหุปุตตนิโครธนี้ครั้นบวชล่วงไปแล้ว ๗ วัน ก็ได้บรรลุพระอรหัต พระมหาสาวกมหากัสสปะ (เดิมชื่อ ปิปผลิมาณพ) ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางถือธุดงค์

    ๓. ต้นพระศรีมหาโพธิ ต้นโพธิ ต้นโพธิที่พระพุทธเจ้าประทับภายใต้ร่มเงาของต้นพระศรีมหาโพธิ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม แคว้นมคธ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ภายใต้ร่มเงาของต้นพระศรีมหาโพธิแห่งนี้ นับเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ของะพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
    ในรัชสมัยรัชการที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิ์จากต้นโพธิ์ตรัสรู้ ณ ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งดินแดน ณ ที่นั้นได้เปลี่ยนชื่อมาเรียกว่า ตำบลพุทธคยา รัฐพิหาร นับเป็นการได้พันธุ์ต้นมหาโพธิ์ตรัสรู้โดยตรงครั้งแรก นำมาปลูกไว้ ณ วัดเปญจมบพิตรและวัดอัษฏางนิมิตร

    ๔.ต้นมุจจลินทร์ หรือต้นจิก ภายหลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วถึงสัปดาห์ที่ ๖ ทรงประทับภายใต้ร่มเงาของต้นไม้จิกอันมีชื่อว่า มุจจลินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้ ๆ กับต้นพระศรีมหาโพธิพระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นมุจจลินทร์เป็นเวลา ๗ วัน โดยมีพญามุจจลินทร์นาคราชมาวางขนดแผ่พังพานปกป้องพระองค์ จากสายลมและสายฝน พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานแสดง ความสุขที่แท้ อันเกิดจาการไม่เบียดเบียนกัน

    ๕. ต้นราชยตนะ หรือต้นไม้เกต ภายหลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วถึง สัปดาห์ที่ ๗ ทรงประทับภายใต้ร่มเงาของต้นไม้เกตอันมีชื่อว่า ราชายตนะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ใกล้ ๆ กับต้นศรีมหาโพธิ์ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยสิทุตติสุขเป็นเวลา ๗ วัน นับเป็นสัปดาห์สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุตติสุข ณ ที่นี้มีพ่อค้า ๒ คนนำกองเกวียนค่าขายจากแดนไกล คืออุกกลชนบท ได้ถวายเสบียงเดินทาง สัตตุผง สัตตุก้อนแด่พระพุทธเจ้าพ่อค้าทั้งสองคือ ตปุสสะ และภัลลิกะ ได้แสดงตนเป็นปฐมอุบาสกถึงสรณะ ๒ คือถึงพระพุทธและพระธรรม

    ๖. ต้นสาละ เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในดินแดนชมพูทวี มิได้เป็นชนิดเดียวกับต้นรังหรือต้นสาละลังกาที่ปลูกหรือพบในประเทศไทย แต่อย่างใด ต้นสาละเป็นต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระสัมมาสัมพุทธเข้าตั้งปต่ประสูติ จนถึงปรินิพพาน
    พระพุทธองค์ทรงประสูติภายใต้ต้นสาละใหญ่ ณ อุทยานลุมพินีซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กับกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ ยามนั้นแดดอ่อนดวงตะวันยังไม่ขึ้นตรงศรีษะเป็นวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ยามนั้นอากาศโปร่ง ต้นไม้ในป่าสาละอุทยานลุมพินีกำลังผลิตดอกออกในอ่อน ดอกไม้นานาพรรณ กำลังเบ่งบาน ส่งกลิ่นเป็นที่จำเริญใจ
    ครั้นยามสามของวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้ร่มเงาพระศรีมหาโพธิ ภายในป่า สาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ
    ครั้น วันเพ็ญเดือน ๘ สองเดือนภายหลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระพุทธองค์เสด็จมาถึงบริเวณป่าสาละอันร่มรื่น ณ อุทยานมฤคทายวันหรืออิสิปตนมฤคทายวัน ทางทิศเหนือใกล้เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือ ธัมมจักกัปปวันสุตร โปรดปัญจวัคคีย์ พระรัตนตรัยเกิดครบบริบูรณ์ครั้งแรกในโลกนี้ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    เมื่อพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ ครบ ๘๐ พรรษาได้เสด็จถึงสาลวโนทยานหรือสวนป่าไม้สาละของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ เป็นเวลาใกล้ค้ำของวันเพ็ญ เดือน ๖ วันสุดท้ายก่อนการกำเนิดพุทธศักราช พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดที่บรรทมระหว่างต้นสาละใหญ่ ๒ ต้น ทรงเอนพระวรกายลงโดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ประทับไสยาสน์แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยาคือเป็นการนอนครั้งสุดท้ายจนกระทั่งสังขารดับ

    ๗.อปชาลนิโครธ ต้นไทรที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๕ ภายหลังทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ประทับนั่งภายใต้ร่มเงาของอปชาลนิโครธเป็นเวลา ๗ วัน ต้นอปชาลนิโครธอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นศรีมหาโพธิ์

    ๘.อัสสัตถพฤกษ์ คือต้นพระศรีมหาโพธิ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม อันเป็นสถานที่ซึ่งพระมหาบุรุษได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ๙. อานันทมหาโพธิ เป็นต้นโพธิ์ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งใต้ร่มเงาได้ตรัสรู้ ได้นำเมล็ดไปปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการปลูกที่ประตูวัดพระเชตวันมหาวิหาร พระนครสาวัตถี แคว้นโกศล ต้นโพธิ์นั้นเรียกว่า อานันทมหาโพธิ์ ทุกวันนี้ยังปรากฏอยู่
    ทั้งนี้พระยามที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่พระเชตวันมหาวิหารนั้น แต่ละปี พระพุทธเจ้าประทับเพียงปีละ ๓ เดือนในฤดูพรรษาส่วนอีก ๙ เดือนนอกพรรษา พระพุทธเจ้าต้องเสด็จไปสู่ที่อื่นเสียปีละ ๙ เดือน ชาวนครสาวัตถีก็เกิดวิปฏิสารร้อนใจ ใคร่ทูลให้ประทับอยู่ตลอดปี พระพุทธเจ้าทรงทราบความทุกข์ของชาวเมือง จึงรับสั่งให้พระอานนท์นำเมล็ดจากต้นศรีมหาโพธิ มาปลูกไว้หน้าประตูมหาวิหารเชตวัน เพื่อเป็นเครื่องหมายแทนพระองค์ เพื่อว่าสมัยใดที่พระพุทธเจ้าไม่ประทับพักอยู่ มหาชนจะได้บูชาต้นโพธิ์นั้นแทนองค์พระพุทธเจ้า


    <HR SIZE=1>สวนและป่า


    ๑.ชีวกัมพวัน คือ สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้ถวายเป็นสังฆาราม ด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้าและปรารถนาจะเข้าเฝ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง หมอชีวกโกมารภัจจซึ่งบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันและเป็นแพทย์ประจำประองค์พระพุทธเจ้า ได้สร้างวัดถวายในสวนมะม่วงแห่งนี้ชีวกัมพวันอยู่ในพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ

    ๒.ตโปทาราม สวนซึ่งอยู่ใกล้บ่อน้ำพุร้อน ชื่อตโปทาอยู่ใกล้ภูเขาเวภารบรรพต ใกล้พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ สถานที่แห่งนี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

    ๓.ปาจีนวังสทายวัน ป่าปาจีนวังสทายวัน อยู่ในแคว้นเจตี เป็นที่ตั้งสำนักของพระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าพระอนุรุทธะ พระมหาสาวกองค์หนึ่งซึ่งเป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เรียนกรรมฐานได้บรรลุพระอรหัต ณ ที่นี้

    ๔. ปาวาริกัมพวัน เป็นสวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี อยู่ในเมืองนาลันทา ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง

    ๕. เภสกลาวัน เป็นป่าไม้สีเสียด ใกล้เมืองสุงมารคีรีนครหลวงของแคว้นภัคคะ ในพรรษาที่ ๘ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาอยู่ที่เภสกลาวัน

    ๖.ป่ามหาวัน กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นป่าใหญ่ใกล้ครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปทรงพักผ่อนระหว่าประทับอยู่ที่นิโครธารามซึ่งเป็นอารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์เช่นกัน พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๑๕ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ที่นิโครธาราม

    ๗. ป่ามหาวัน นครเวสาลี เป็นป่าใหญ่ ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในพรรษาที่ ๕ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ พระพุทธเจ้า ประทับจำพรรษาอยู่ที่กูฏาคารในป่ามหาวัน นครเวลาลี ณ ที่นี้ พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก

    ๘. มัททกุจฉิมิคทายวัน มีความหมายถึง ป่าเป็นที่อภัยแก่เนื้อชื่อ มัททกุจฉิ อยู่ที่พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

    ๙.มิคจิรวัน ป่ารักขิตวันอยู่ในแดนบ้านปาริเลยยกะ ใกล้เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ ในพรรษาที่ ๑๐ ภายหลังจากทรงตรัสรู้พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวัน ด้วยทรงปลีกพระองค์จากพระสงฆ์ผู้แตกกัน ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี พญาช้างปาริเลยกะคอยเฝ้าปรนนิบัติรับใช้พระพุทธองค์ ในป่ารักขิตวัน

    ๑๑.ไร่ฝ้าย ขณะพระพุทธเจ้าเสด็จแวะเข้าไปประทับพักอยู่ที่ไร่ฝ้ายแห่งหนึ่ง คณะสหาย๓๐ คน ชื่อคณะภัททวัคคีย์ได้พากันเข้ามาที่ไร่ฝ้ายแห่งนี้ เพื่อเที่ยวตามหาหญิงแพศยาผู้ลักห่อเครื่องประดับหนีไปเมื่อได้พบพระพุทธเจ้าและได้ฟังเทศนาอนุปุพพิกถา (เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้น ๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจ) จากนั้นพระพุทธองค์ทรงเทศนาอริยสัจ ๔ (คือความจริงอย่างประเสริฐมี ๔ อย่าง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) คณะภัททวัคคีย์ ทั้ง ๓๐ คนได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วขออุปสมบท

    ๑๒. ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่ม อยู่ทางทิศตะวันตดเฉียงใต้ของพระนครราชคฤห์ เชิงภูเขาปัพภาระ แคว้นมคธ ณ กาลนั้นเป็นตอนปลายของพรรษาที่ ๑ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ พระเจ้าพิมพิสารราชาผู้ครองแคว้นมคธพร้อมด้วยราชบริพาร ๑๑ นหุต (๑ นหุต = ๑๐,๐๐๐ จึงเป็นจำนวนหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคน) เสด็จต้องรับพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่ภิกษุสาวกซึ่งเสด็จถึงพระนครราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ ลัฏฐิวันบรรดาราชบริพารเหล่านี้ยังไม่รู้จักพระพุทธศาสนา จึงแสดงอาการกริยาต่าง ๆกัน บางพวกถวายบังคม บางพวกประนมมือ บางพวกกล่าววาจาปราศรัย บางพวกประกาศชื่อและโคตรของตน บางพวกนิ่งอยู่พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามนำพระอุรุเวลากัสสปะ ผู้เคยเป็นคณาจารย์ใหญ่หัวหน้าชฏิลสามพี่น้อง เป็นผู้ที่ชาวนครราชคฤห์นับถือมากพระพุทธองค์ทรงถามว่า ทำไมจึงเลิกบูชาไฟ พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลประกาศความไม่มีแก่นสารแห่งลัทธิเดิม บรรดาราชบริพารทราบแล้วก็เชื่อถือ จึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาที่พระองค์แสดงพระเจ้าพิมพิสารและราชบริพารจำนวนมาก เมื่อสดับพระธรรมเทศนาได้ธรรมจักษุ พระเจ้าพิมพิสารประกาศพระองค์เป็นอุบาสก ณ ที่นี้

    ๑๓. ลุมพินีวัน เป็นสวนที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ภายใต้ต้นสาละใหญ่ ในเวลาใกล้เที่ยง เมือวันเพ็ญเดือน ๖ วันศุกร์ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เป็นสังเวชนียสถาน ๑ ใน ๔ แห่ง ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ (ปัจจุบันนี้ อยู่ในตำบลลุมมินเด แขวงเปชวาร์ ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดีย ไปทางเหนือประมาณ ๖ กิโลเมตร ครึ่ง บัดนี้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสิทธารถนคร

    ๑๔. เวฬุวัน เป็นป่าไผ่ สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสารราชาผู้ครองแคว้นมคธ อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์ เป็นที่ร่มรื่นสงบเงียบ มีทางไปมาสะดวก ภายหลังจากพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ได้ธรรมจักษุประกาศพระองค์เป็นอุบาสก ณ ลัฏฐิวัน พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงพระราชดำริหาที่ประทับให้พระพุทธเจ้า ทรงเห็นว่าพระราชอุทยานเวฬุวันสวนไม่ไผ่เหมาะสม จึงถวายเป็นสังฆาราม พระพุทธเจ้าทรงรับและประทานพุทธานุญาตให้ภิกษุรับอารามที่ทายกถวายได้ การถวายอารมเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ที่นี้ นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา

    ๑๕.สักกะ เป็นดงไม้ที่อยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ แถบเทือกเขาหิมาลัยในเขตป่าหิมพานต์

    ๑๖.สาลวโนทยาน สวนป่าไม้สาละของมัลลกษัตริย์ ราชาผู้ครองแคว้นมัลละ ตั้งอยู่ใกล้เมืองกุสินารา พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพานภายใต้ร่มไม้ต้นสาละใหญ่ ๒ ต้นในสาลวโนยาน ในยามค้ำของวันเพ็ญเดือน ๖ ปีมะเส็ง วันสุดท้ายก่อนเริ่มพุทธศักราช

    ๑๗. หิมพานต์ ป่าหิมพานต์เป็นป่าใหญ่เชิงเขาหิมพานต์ ซึ่งเป็นภูเขาสูงใหญ่ทางตอนเหนือของชมพูทวีป พระนาลกะ หนึ่งในพระมหาสาวก หลานชายของอสิตดาบสออกบวชตามคำแนะนำของลุง และไปบำเพ็ญสมณธรรมรอการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ ป่าหิมพานต์ ครั้น พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้มาทูลถามเรื่องโมไนยปฏปทา (ข้อปฏิบัติธรรมที่ทำให้เป็นปราชญ์) และกลับไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่าหิมพานต์ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ดำรงอายุอยู่อีก ๗ เดือน ก็ปรินิพานในป่าแห่งนี้

    ๑๘. อนุปิยอัมพวัน สวนป้าไม้มะม่วง อนุปิยอัมพวัน อยธในเขตอนุปิยนิคม แขวง มัลลชนบท พระมหาบุรุษเสด็จพักแรม ณ ที่นี้ ๗ วัน ครั้ง วันที่ ๘ จึงเสด็จดำเนินจากอนุปิยอัมพวันเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยกิริยาสงบอยู่ในอาการสังวร สมควรแก่ภาวะของสมณะเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสของทุกคนที่ได้เห็น พวกราชบุรุษนำความที่ได้พบเห็นไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิศาร มีรับสั่งให้สะกดรอยติดตามเพื่อทราบความเท็จจริงของพรรพชิตเศษรูปนี้ ครั้นทรงสดับความจริงแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงพระประสงค์ จะได้พบกับพระมหาบุรุษ
    ต่อมาเจ้าชายศากยวงศ์ทั้ง ๖ คือพระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภัคคุ พรกิมพิละ พระเทวทัต และมีอบาลีอำมาตย์ ช่างกัลบก รวมเป็น ๗ พร้อมใจออกบรรพชา ได้ออกบวช ณ สวนป่าไม้ มะม่วงอนุปิยอัมพวันแห่งนี้

    ๑๙.อัมพปาลีวัน สวนที่หญิงแพศยาชื่อ อัมพปาลี ถวายเป็นสังฆาราม ไม่นานก่อนพุทธปรินิพพาน อยู่ในเขตเมือเวสาลี แคว้นวัชชี (แพศยา หมายถึง หญิงหาเงินในทางร่วมประเวณี หรือ โสเภณีในปัจจุบัน)

    ๒๐. อิสิปตนมฤคทายวัน คือป่าที่ให้อภัยแก่เนื้อชื่อ อิสิปตนะอยู่ใกล้เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ณ ป่าแห่งนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร (พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป)ประทานปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ รูป ในวันเพ็ญ เดือน ๘ พระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้เกิดขึ้นบริบูรณ์ในกาลนั้น ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
     
  16. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "แม่น้ำ"

    แม่น้ำสายต่างๆ ในชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า และถูกบันทึกลงในพระพุทธประวัติ ที่นำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้มีดังนี้

    ๑. กิมิกาฬา พระมหาสาวกเมฆิยะ ผู้เคยเป็นพระอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า คราวหนึ่งได้เห็นส่วนมะม่วมริมฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬน่ารื่นรมย์จึงขอลาพระพุทธเจ้าไปบำเพ็ญเพียร ณ ที่นั้น พระพุทธเจ้าห้ามไม่ฟังพระเมฆิยะไปบำเพ็ญเพียรถูกอกุศลวิตกต่าง ๆ รบกวน ในที่สุดต้องกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธรรม ๕ ประการสำหรับบ่มเจโตวิมุติ (การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ) จึงได้สำเร็จพระอรหัต

    ๒. กกุธานที ไหลผ่านดินแดนระหว่างเมืองปาวากับเมืองกุสินาราแคว้นมัลละ พระอานนท์ทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้า เสด็จลงเสวยและชำระพระกายที่ตรากตรำมาในระยะทางจากเมืองปาวาไปเมืองกุสินาราในวันที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพาน

    ๓. คงคา เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เกิดที่ภูเขาหิมพานต์ มีความยาวถึงประมาณ ๒,๕๐๐ กิโลเมตร ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคากับยมุนาบรรจบกันเป็นอาณาบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่ตั้งของนครและแว่นแคว้นที่มีความสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่า ปัญจมหานที บรรดาแคว้นในมหาชนบท ๑๖ ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคามีดังนี้
    แคว้นอังคะ ตั้งอยู่ปลายแม่น้ำคงคา
    แคว้นมคธ ตั้งอยู่ใต้แม่น้ำคงคาตอนกลาง
    แคว้นโกศล ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำคงคาตอนกลาง
    แคว้นกาสี ตั้งอยู่ตอนบรรจบของแม่น้ำคงคาและยมุนา
    แคว้นปัญจาละ ตั้งอยู่ตรงลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนนครหลวงกัมปิละ ตั้งอยู่เหนือแม่น้ำคงคา
    นอกจากนั้นนครมิถิลา เมืองหลวงของแคว้นวิเทหะ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำคงคา ตอนกลาง ตรงข้ามกับแคว้นมคธ

    ๔. คันธกะ แม่น้ำคันธกะไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออกของแคว้นวัชชี ส่วนเมืองกุสินารานครหลวงของแคว้นมัลละ ตั้งอยู่ที่จุดบรรจบของแม่น้ำคันธกะ กับแม่น้ำอจิรวดี (หนึ่งในปัญจมหานที)

    ๕.โคธารวรี แคว้นอัสสกะ ตั้งอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำโคธาวรี พราหมณ์พาวรีอาจารญ์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ณ สุด เขตแดนแคว้นอัสสกะ พราหมณพาวรีได้ส่งศิษย์ ๑๖ คนเดินทางไปถามปัญหาพระพุทธเจ้า ณ ปาสาณเจดีย์ ในแคว้นมคธ

    ๖. จัมปา แม่น้ำจัมปาไหลกั้นแดนระหว่างแคว้นมคธกับแคว้นอังคะ

    ๗. นัมมทา แม่น้ำนัมมทาไหลผ่านแคว้นสุนาปรันตะ พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา เมื่อพระพุทธเจ้าองค์เสด็จไปแสดงธรรมโปรดชาวสุนาปรันตะและนัมมทานาคราช นาคราชขอของที่ระลึกไว้บูชา จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้นับเป็นรอยพระพุทธบาทที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก

    ๘. เนรัญชรา แม่น้ำเนรัญชราไหลผ่านแคว้นมคธ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมซึ่งตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา อันเป็นภูมิสถานที่สงบน่ารื่นรมย์พระมหาบุรุษทรงเลือกที่แห่งนี้เป็นที่บำเพ็ญเพียร ทรงประทับอยู่ ณ ที่นี้ นานถึง ๖ ปี พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา และเปลี่ยนมาทรงดำเนินในมัชณิมาปฏิปทา จนได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธญาณ ภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ ในตำบลนี่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแห่งนี้

    ๙. ปัญจมหานที คือแม่น้ำสำคัญ ๕ สาย อันมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมพานต์ (หิมาลัย) ซึ่งแถบเชิงเขาปกคลุมไปด้วยป่าไม้ใหญ่มีฝนตกชุก เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสายไหลลงมาทางใต้ ปัญจมหานที (หรือปัญจนที) คือ ๑.แม่น้ำคงคา ๒.แม่น้ำยมุนา ๓. แม่น้ำอจิรวดี (หรือแม่น้ำรับดิ) ๔. แม่น้ำสรภู ๕.แม่น้ำมหี

    ๑๐.ภาคะรถี แม่น้ำภาคีรถีเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำคงคาตอนบนแม่น้ำภาคีรถีไหลผ่านแคว้นปัญจาละ

    ๑๑. มหี แม่น้ำเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่าปัญจมหานที

    ๑๒. ยมุนา แม่น้ำยมุนาเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่า ปัญจมหานที บรรดาแคว้นในมหาชนบท ๑๖ ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยมุนามีดังนี้
    แคว้นกาสี ตั้งอยู่ตอนบรรจบของแม่น้ำยมุนาและคงคา
    แคว้นวังสะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ำยมุนา นครหลงชื่อกรุงโกสัมพี ตั้งอยู่เหนือฝั่งแม่น้ำยมุนา
    แคว้นกุรุ ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำยมุนาตอนบน
    แคว้นมัจฉะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับตอนบน
    แคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนล่าง

    ๑๓. โรหิณี แม่น้ำโรหิณีไหลผ่านเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างแคว้นศายะกับแคว้นโกลิยะ แคว้นทั้งสองได้เกิดกรณีพิพาทอันมีมูลเหตุจากการแย่งกันใช้น้ำจากแม่น้ำโรหิณีเพื่อทำการเกษตร จนเกือบจะเกิดสงคราม พระพุทธเจ้าทรงเสด็จมาระงับการวิวาทระหว่างพระญาติทั้ง ๒ ฝ่ายจนสงบลงได้
    พระมหาสาวกอานนท์ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากประจำประองค์ของพระพุทธเจ้า เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ ครั้นเมื่อพระอานนท์ดำรงชีวิตสืบมาจนอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศเหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติทั้งสองฝ่ายคือ ศากยะและโกลิยะ

    ๑๔. วัคคุมุทา พระมหาสาวกยโสชะ เป็นบุตรหัวหน้าชาวประมงใกล้ประตูเมืองสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนากปิลสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อมาไปเจริญสมณธรรมที่ริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมาทา ได้สำเร็จพระอรหัต

    ๑๕. สรภู แม่น้ำสรภูเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่า ปัญจมหานที

    ๑๖. สัลลวตี แม่น้ำสัลลวตีเป็นแม่น้ำที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบทหรือถิ่นกลางที่มีความเจริญรุ่งเรือง กับปัจจันตชนบทหรือหัวเมืองชั้นนอกถิ่นที่ยังไม่เจริญ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ นับจากแม่น้ำสัลลวตีเข้ามาถือเป็นเขตมัชฌิมชนบท

    ๑๗. สินธุ แม่น้ำสินธุไหลผ่านแคว้นในมหาชนบท ๑๖ ดังนี้
    แคว้นมัจฉะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนบน
    แคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนล่าง
    แคว้นคันธาระ ตั้งอยู่ทางลุ่มแม่น้ำสิธุตอนบน

    ๑๘. โสน แคว้นมคธตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโสนกับแคว้นอังคะ โดยมีแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศเหนือ มีภูเขาวินทัยอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตก

    ๑๙.หิรัญวดี แม่น้ำหิรัญวดีนับเป็นแม่น้ำสายสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าเสด็จข้าม โดยพระพุทธองค์เสด็จไปเมืองกุสินาราในวันที่จะดับขันธปรินิพาน ทรงข้ามแม่น้ำหิรัญวดีเข้าสู่สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำแห่งนี้ ณ สาลวโนทยาน พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแม่น้ำหิรัญวดี ไหลลงไปบรรจบกับแม่น้ำสรภู

    ๒๐. อจิรวดี แม่น้ำอจิรวดี เป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่าปัญจมหานที แม่น้ำอจิรวดี (หรือที่เรียกว่ารับดิ) มีพระนครสาวัตถี นครหลวงของแคว้นโกศลตั้งอยู่บนฝั่งลำน้ำ และจุดที่บรรจบของแม่น้ำอจิรวดีกับแม่น้ำคันธกะเป็นที่ตั้งของนครกุสินาราเมืองหลวงของแคว้นมัลละ

    ๒๑. อโนมา แม่น้ำอโนมากั้นพรมแดนระหว่งแคว้นสักะกับแคว้นมัลละ เมื่อพระสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา ทรงม้ากัณฐกะเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ยามเที่ยงคืน ครั้นยามเช่ามาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ตรัสสั่งให้นายฉันนะอำมาตย์คนสนิทนำม้าพระที่นั่งและเครื่องประดับสำหรับขัตติราชทั้งหมดกลับคืนพระนคร ทรงตัดพระเมลีด้วยพระขรรค์อธิฐานเพศพรรพชิต ณ ฝั่งแม่น้ำอนโนมานี้

    ๒๒. อสิคนี แม่น้ำอสิคนี หรือจันทรภาค ไหลผ่านแคว้นมัททะนครหลวงชื่อสาคละ ตั้งอยู่เหนือแม่น้ำอสิคนีหรือจันทรภาคบุตรแม่น้ำมหานที และแม่น้ำกฤษณาไว้อีกด้วย
     
  17. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "ถ้ำและภูเขา"

    ถ้ำและภูเขาต่าง ๆ ในชมพูทวีปในสมันพุทธกาล ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า และถูกบันทึกลงในพระพุทธประวัติที่นำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้มีดังนี้

    ๑. คาราโครัม ภูเขาคาราโครัมอยู่ทางตอนเหนือของชมพูทวีป มียอดเขาสูงเป็นอันดับ ๒ ของโลกชื่อกอดวินออสเตน สูง ๘,๔๗๕ เมตร (ปัจจุบันอยู่ในเขตรัฐแคชเมียร์ของประเทศอินเดีย)

    ๒. คิชฌกูฏ ภูเขาคิชฌกูฏเป็นหนึ่งใน ๕ ของบรรดาภูเขาที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ ซึ่งเรียกกันว่า เบญจครี ภูเขาคิชฌกูฏเป็นสถานที่สำคัญที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับพระพุทธ และพระพุทธประวัติดังนี้
    พระคันธกุฏี คือเรือนที่ประทับของพระพุทธเจ้าบนภูเขาคิชฌกูฏ พระคันธกุฏีมีฝาเป็นไม้เนื้อหอม หลังคามุงด้วยใบไม้ใหญ่ ๆ พระพุทธเจ้าโปรดที่ประทับบนเขาคิชฌกูฏีมาก เพราะเป็นที่สงบมีอากาศเย็นสบาย พระองค์ทรงดำเนินขึ้นลงเขาเพื่อบิณฑบาตทุกวัน (คันธกุฏี แปลว่า กุฏีอบกลิ่นหอม เป็นชื่อเรียกพระกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้า)
    กุฏิของพระอานนท์ ที่ซึ่งพระเทวทัตกลิ้งหินทับพระพุทธเจ้าด้วยหวังจะประหารพระบรมศาสดาในเวลาเสด็จขึ้นบนภูเขาคิชฌกูฏก็ไม่อาจทำอันตรายพระพุทธเจ้าได้ เป็นเพียงสะเก็ดศิลาได้กระเด็นไปกระทบพระบาทจนห้อพระโลหิต นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่พระพุทธเจ้าต้องประสบอันตรายถึงเสียพระโลหิตจากพระกาย
    ถ้ำสุกรขาตา ณ ที่นี้ พระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวาได้สำเร็จพระอรหัต หลังจากอุปสมบทได้กึ่งเดือน พระสารีบุตรได้สดับพระธรรมเทศนาขณะนั่งถวายงานพัดอยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปริพาชก ชื่อ ฑีฆนขะผู้เป็นหลานของพระสารีบุตร ทีฆนขะได้ดวงตาเห็นธรรม แสดงตนเป็นอุบาสกในพุทธศาสนา
    ที่ประทับของพระเจ้าพิมพิสาร ก่อนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
    เหวทิ้งโจร ณ ที่นี้ ทรงแสดงนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์
    มาตะกุฉิ สถานที่ซึ่งพระนางโกศลเทวีพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร จะทำการรีดพระครรภ์เพื่อกำจัดโอรสในพระครรภ์ทิ้งเนื่องจากเมื่อพระนางเสวย โหรทำนายว่า พระโอรสที่อยู่ในครรภ์เกิดมาจะทำปิตุฆาต พระนางโกศลเทวีพยายามทำลายด้วยการให้แท้งเสียแต่ไม่สำเร็จ ครั้นจะรีดพระครรภ์ ณ ที่นี้ พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงห้ามไว้ ในที่สุดพระโอรสของพระเจ้าพิมพิสารคือ พระเจ้าอชาตศัตรูก็คบคิดกับพระเทวทัตฆ่าประราชบิดาตามที่โหรทำนายไว้
    ที่คุมขังพระเจ้าพิมพิสาร อยู่ ณ ที่ราบเชิงเขาคิชฌกูฏ เมื่อพระเจ้าอชาติศัตรูจับพระราชบิดามาคุมขังไว้ไม่ให้อาหารเสวย แต่พระเจ้าพิมพิสารยังทรงมีชีวิตอยู่ได้ ณ ที่นี้ เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นลงเขาคิชฌกูฏทุกวัน เพื่อบิณฑบาตทำให้เกิดปีติเบิกบานพระทัยเสด็จเดินจงกรม เจริญกรรมฐาน เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเห็นพระราชปิดายังคงมีพระชนม์ชีพอยู่ได้ จึงสั่งให้ช่างตัดผมเอามีดกรีดพระบาทแล้เอาเกลือกับน้ำมันทาแผลย่างไฟ ในที่สุดพระเจ้าพิมพิสารก็เสด็จสวรรคต ณ ที่นี้ ส่วนพระเจ้าอชาตศัตรูในภายหลังทรงสำนึกถึงความผิดทั้งปวงและกลับพระทัยได้ หันมาทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาและได้เป็นพุทธศาสนูปถัมกในการสังคายนาครั้งที่ ๑

    ๓. จาลิยบรรพต ภูเขาลูกนี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๓ และพรรษาที่ ๑๘ และ ๑๙ ภายหลังจากตรัสรู้ในระหว่างเวลา ๔๕ ปีแห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ

    ๔. ทักขิณาคีรี ณ ภูเขาลูกนี้ ที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลาพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๑ ภายหลังจากตรัสรู้ ในระหว่าง เวลา ๔๕ ปีแห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ

    ๕.เบญจคีรี พระนครราชคฤห์เมืองหลวงของแคว้นมคธนั้น ตั้งอยู่ในเขตที่ภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบ อันเรียกว่าเบญจคีรี ซึ่งประกอบไปด้วยภูเขาคิชฌกฏ ภูเขาปัพภาระ ภูเขาเวลปุระ ภูเขาเวภาระ และภูเขาอิสิคิริ

    ๖. ปัพภาระ เป็นหนึ่งใน ๕ ของบรรดาภูเขาที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ ที่เรียกว่าเบญจคีรี ลัฏฐิวัน หรือสวนตาลหนุ่ม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้นอกกำแพงเมืองราชคฤห์ อยู่ ณ เชิงเขาปัพภาระแห่งนี้

    ๗. ปิปพลิคูหา ถ้าปิปผลิคูหาอยู่ ณ เชิงเขาภารบรรพต เป็นที่พักอาศัยของพระมหาสาวกกัสสปะ ผู้เป็นเลิศสุดด้านธุดงค์ และเป็นองค์ประธานสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก ถ้ำปิปผลิคูหาอยู่ใต้ถ้ำสัตตบรรณคูหาลงมาประมาณ ๑๒๐ เมตร

    ๘. มกุลพรรพต ภูเขากุลพรรพตหรือกุฏบรรพต เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๖ ภายหลังตรัสรู้ ในระหว่าง ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ (สันนิษฐานกันว่า ภูเขานี้อยู่ในแคว้นมคธหรือแคว้นโกศล หรือปริเวณใกล้เคียง) แต่ใน "ปฐมสมโพธิกถา" "เสด็จไปสถิตบนมกุฏบรรพต ทรงทรมานหมู่อสูร เทพยดา และมนุษย์ให้ละเสียพยศอันร้ายแล้ว และให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา"

    ๙. วินทัย ภูเขาวินทัยตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของแคว้นมคธ และอยู่ทางทิศใต้ของแคว้นอัวันตี

    ๑๐. เวปุลละ ภูเขาปุลละ เป็นหนึ่งใน ๕ ของบรรดาภูเขาที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ ที่เรียกว่า เบญจคีรี

    ๑๑. เวภาระ ภูเขาภาระ หรือเวภารบรรพตเป็นหนึ่งใน ๕ ของบรรดาภูเขาที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ ที่เรียกว่า เบญจคีรี บ่อน้ำตโปธารหรือตโปทา ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติที่อาบน้ำของพระสงฆ์บ่อน้ำแร่นี้ไหลตลอดปีตลอดชาตินับแต่สมัยพุทธกาล จวบจนปัจจุบันมิเคยเหือดแห้งเลย ตโปธารอยู่เชิงเขาเวภารบรรพต เช่นเดียวกับตโปทารามสวนซึ่งพระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ ถ้ำปิปผลิคูหาและถ้ำสัตตบรรณคูหา อยู่ ณ เวภารบรรพตเข่นกัน

    ๑๒. สัจจพันธ์ ภูเขาสัจจพันธ์อยู่ในแคว้นสุนาปรันตะเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายังแคว้นสุนาปรันตะพร้อมด้วย พระภิกษุสงฆ์สาวกจำนวนมากระหว่างทางทรงหยุดประทับโปรดสัจจพันธดาบสที่ภูเขาสัจจพันธ์ จากนั้นพระสัจจพันธ์ ซึ่งบรรลุพระอรหัตตผลแล้วมาในขบวนด้วย หลังจากทรงแสดงธรรมโปรดชาวสุนาปรันตะ และประทับรอยพระบาทรอยแรกไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทาแล้ว จากนั้นเสด็จต่อไปถึงภูเขาสัจจทันธ์ตรัสสั่งพระสัจจพัธ์ให้อยู่สั่งสอนประชาชน ณ ที่นั้น พระสัจจพันธ์ทูลขอสิ่งที่ระลึกไว้บูชา พระพุทธเจ้าทรงประทับรอบพระบาทไว้ที่ภูเขาสัจจพันธ์นั้น อันนับว่าเป็นประวัติการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาทสองรอยแรก

    ๑๓. สัตตบรรณ ถ้ำสัตตบรรณคูหาอยู่ที่ภูเขาเวภารบรรพต ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ ถ้ำสัตตบรรณคูหา อยู่เหนือถ้ำปิปผลิคูหาที่พักอาศัยของพระมหากัสสปะขึ้นไป ๑๒๐ เมตร เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน การประชุมสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกขึ้นที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา โดยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอุบาลี เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์ เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม โดยพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก สิ้นเวลา ๗ เดือน จึงเสร็จ

    ๑๔. สัตตบริภัณฑ์ หรือเขาล้อมทั้ง ๗ เป็นคำเรียกหมู่ภูเขา ๗ เทือก ที่ล้อมรอบภูเขาพระสุเมรุ คือ ภูเขายุคนธร ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวิก ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธร ภูเขาวินตก และภูเขาอัสสกัณณ์

    ๑๕. สุกรขาตา ถ้ำสุกรขาตาอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ อันได้กล่าวถึงมาแล้วในเรื่องราวของภูเขาคิชฌกูฏ

    ๑๖. สุเมรุ คือภูเขาพระสุเมรุหรือสิเนรุหรือเมรุ เป็นภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ตามคติฝ่ายพระพุทธศาสนาในชั้นอรรถกถายอดเขาสิเนรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ เชิงเขาสิเนรุซึ่งหยั่งลึกลงไปในมหาสมทุรเป็นอสูรพิภพ สูงขึ้นไปกึ่งทางระหว่างแดนทั้งสองนั้น เป็นสวรรค์ของท้าวจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นอื่น ๆ และโลกมนุษย์ ก็เรียงรายกันอยู่สูงบ้าง ต่ำบ้าง รอบเขาสิเนรุแห่งนี้

    ๑๗. หิมพานต์ คือภูเขาหิมาลัย เป็นภูเขาใหญ่ที่อยู่ทางทิศเหนือของชมพูทวีป บริเวณป่าที่อยู่โดยรอบภูเขาหิมพานต์ หรือภูเขาหิมาลัยนี้เรียกกันว่าป่าหิมพานต์ ภูเขาหิมาลัยเป็นเทือกเขาที่ยาวและสูงใหญ่มากมีความยาวถึงประมาณ ๙๓๗ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๑๒๕ กิโลเมตร มียอดเขาสูง ๆ และหุบเขาลึก ๆ เป็นจำนวนมาก ยอดสูงที่สุดในโลก คือ ยอดเขาเอเวอเรสต์หรือที่เรียกกันว่า ภูเขาสุเมรุ มีความสูงประมาณ ๘,๗๐๐ เมตร (ปัจจุบันอยู่ในเขตแดนประเทศเนปาล)

    ๑๘. อิสิคิลิ ภูเขาอิสิคิลิ เป็นภูเขา ๑ ใน ๕ ที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ ซึ่งเรียกกันว่า เบญจคีรี ที่กาฬสิลาซึ่งอยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์


    "ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒๙ พระองค์"
    ต้นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่สามารถนำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ มีต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒๙ พระองค์ โดยต้นไม่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑ ถึงองค์ที่ ๓ พบในชินกาลมาลีปกรณ์และต้นได้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ ถึงองค์ที่ ๒๙ พบในพุทธวงศ์อันมีความดังต่อไปนี้

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width="50%">๑. พระตัณหังกร
    ๒. พระเมธังกร
    ๓. พระสรณังกร
    ๔. พระที่ปังกร
    ๕. พระโกณฑ์ญญะ
    ๖. พระมังคละ
    ๗. พระสุมนะ
    ๘. พระเรวตะ
    ๙. พระโสภิตะ
    ๑๐. พระอโนมทัสสี
    ๑๑. พระปทุมะ
    ๑๒. พระนารทะ
    ๑๓. พระปทุมุทตระ
    ๑๔. พระสุเมธะ
    ๑๕. พระสุชาตะ
    ๑๖. พระปิยทัสสี
    ๑๗. พระอัตถทัสสี
    ๑๘. พระธัมมทัสสี
    ๑๙. พระสิทธัตถะ
    ๒๐. พระติสสะ
    ๒๑. พระปุสสะ
    ๒๒. พระวิปัสสี
    ๒๓. พระสิขี
    ๒๔. พระเวสสภู
    ๒๕. พระกะกุสันธะ
    ๒๖. พระโกนาคมนะ
    </TD><TD width="50%">ไม้สัตตปัณณะ (ตีนเป็ดขาว)
    ไม้กิงสุกะ (ทองกวาว)
    ไม้ปาตลี (แคฝอย)
    ไม้ปิปผลิ (เลียบ)
    ไม้สาลกัลยาณี (ขานาง)
    ไม้นาคะ (กากะทิง)
    ไม้นาคะ (กากะทิง)
    ไม้นาคะ (กากะทิง)
    ไม้นาคะ (กากะทิง)
    ไม้อัชชุนะ (รกฟ้าขาว)
    ไม้มหาโสณะ (อ้อยช้าง, คำมอก)
    ไม้มหาโสณะ (อ้อยช้าง,คำมอก)
    ไม้สลฬะ (สน)
    ไม้มหานิมพะ (สะเดาป่า)
    ไม้มหาเวฬุ (ไผ่ใหญ่)
    ไม้กกุธะ (กุ่ม)
    ไม้จัมปกะ (จำปาป่า)
    ไม้พิมพชาละ หรือกุรวกะ (มะพลับ,ซ้องแมว)
    ไม้กัณณิการะ (กรรณิการ์)
    ไม้อสนะ (ประดู่ลาย)
    ไม้อาลมกะ (มะขามป้อม)
    ไม้ปาตลิ (แคฝอย)
    ไม้ปุณฑริกะ (มะม่วงป่า)
    ไม้มหาสาละ (สาละใหญ่)
    ไม้มหาสิริสะ (ซึกใหญ่)
    ไม้อุทุมพระ (มะเดื่อ)
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width="50%">๒๗. พระกัสสปะ </TD><TD width="50%">ไม้นิโครธ (ไทร,กร่าง)</TD></TR><TR vAlign=top><TD width="50%">๒๘. พระโคตมะ คือ พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน พระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย </TD><TD width="50%">ไม้อัสสตถะ (พระศรีมหาโพธิ) </TD></TR><TR vAlign=top><TD width="50%">๒๙. พระเมตไตรย คือ พระพุทธเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้า</TD><TD width="50%">ไม้นาคะ (กากะทิง)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๙. อุสีรธชะ ภูเขาอุสีรธชะเป็นภูเขาที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบทหรือถิ่นกลางที่มีความเจริญรุ่งเรือง กับปัจจันตชนบทหรือหัวเมืองชั้นนอกถิ่นที่ยังไม่เจริญ ทางด้านเหนือนับจากภูเขาอุสีรธชะเข้ามาถือเป็นมัชฌิมชนบท
     
  18. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    หมวดที่ ๕ พุทธจริยา

    "พุทธกิจประจำวัน ๕ ประการและพุทธจริยา ๓ ประการ"

    งานการสอนธรรม เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า เป็นงานที่ละเอียดประณีต เพราะทรงมุ่งให้เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่คนทั้งปวงและอำนงยผลให้เป็นความสุข พระพุทธเจ้า จึงทรงมีกิจหลักที่เรียกว่าพุทธกิจ ในแต่ละวันทรงมีพุทธกิจหลัก ๕ ประการ เพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการ เพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการ ของพระพุทธเจ้าให้สมบูรณ์ คือ

    พุทธจริยาประการที่หนึ่ง โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก ในฐานะที่พระองค์เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมโลก ความสำเร็จในจริยาข้อนี้ทรงอาศัยพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการคือ

    พุทธกิจประการที่ ๑ เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต เพื่อเป็นการโปรดสัตว์โลกผู้ต้องการบุญ
    พุทธกิจประการที่ ๒ ในเวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่คนผู้สนใจในการฟังธรรม
    พุทธกิจประการที่ ๓ ในเวลาค้ำทรงประทานพระโอวาทให้กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย
    พุทธกิจประการที่ ๔ ในเวลาเที่ยงคืน ทรงแสดงธรรม และตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย
    พุทธกิจประการที่ ๕ ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรมซึ่งประองค์ทรงแสดง แล้วได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัยบารมีของคนเหล่านั้น


    พุทธกิจประการที่ ๕ นี้เอง เป็นจุดเด่นในการทำงานของพระพุทธเจ้า จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา บางคนมีความรู้สึกว่าทำไมคนแต่ก่อนสำเร็จกันง่ายเหลือเกิน ถ้าศึกษารายละเอียดแล้วจะพบว่าไม่มีคำว่าง่ายเลย เพราะนอกจากจะอาศัยวาสนาบารมีของคนเหล่านั้นเป็นฐานอย่างสำคัญแล้ว การแสดงธรรมของพระองค์นั้น เป็นระบบการทำงานที่มีการศึกษาข้อมูล การประเมินผล การสรุปผลในการแสดงธรรมทุกคราว

    หลังจากที่บุคคลนั้น ๆ ปรากฏในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้าคือทรงรู้ว่าเขาเป็นใคร ? มีอุปนิสัยบารมีอย่างไร ? แสดงธรรมอะไรจึงได้ผล ? หลังจากแสดงธรรมแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร ? ดังนั้นการแสดงธรรมทุกครั้งของพระพุทธองค์ จึงบังเกิดผล เป็นอัศจรรย์เพราะจะทรงแสดงเฉพาะแก่ผู้เป็นพุทธเวไนย คือสามารถแนะนำให้รู้ได้เป็นหลัก

    พุทธจริยาประการที่สอง ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ เช่นการทรงมีพระพุทธานุญาตพิเศษ ให้พรญาติของพระองค์ ที่เป็นเดียรถีย์ (นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา) มาก่อน ให้เข้าบวชในพรุพุทธศาสนาได้ โดยไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาสก่อน (ติตถิยปริวาส คือ วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาส (การอยู่ชดใช้หรืออยู่กรรม) ก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจจึงจะอุปสมาบทได้) หรือการที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแนะนำให้พระญาติซึ่งกำลังจะทำสงครามกันได้เข้าใจในเหตุผล สามารถปรองดองกันได้

    พุทธจริยาประการที่ ๓ พุทธัตถจริยา ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า เช่น ทรงวางสิกขาบทเป็นพุทธอาณา สำหรับควบคุมความประพฤติของผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ทรงแนะนำให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ของตน ทรงวางพระองค์ต่อผู้ที่เข้ามาบวชและแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ในฐานะของบิดากับบุตร ผู้ปกครองกัลยาณมิตร ศาสดาผู้เอ็นดูเป็นต้น ตามสมควรแก่บุคคลและโอกาสนั้น ๆ จนสามารถประดิษฐานเป็นรูปสถาบันศาสนาสืบต่อกันมาได้




    "หลักในการตอบ ๔ วิธี"




    คนที่เผ้าพระพุทธเจ้านั้นมีทุกระดับฐานะทางสังคม คือจากบุคลระดับพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้น ลงไปจนถึงจัณฑาลที่เป็นวรรณะต้องห้ามสำหรับคนในสมัยนั้น เจตนารมณ์ในการมาเฝ้าพระบรมศาสดานั้นก็แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะคนที่ถือตนเองว่าเป็นนักปราชญ์มักจะมาเฝ้าเพื่อต้องการทดสอบทำนองลองดีก็มีอยู่ไม่น้อย แต่ในฐานะพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชี้แจงแสดงธรรมให้คนเหล่านั้นเข้าใจเหตุผลที่ถูกต้อง กลายเป็นคนอ่อนน้อมยอมตนนับถือพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก จนถึงกับสร้างความริษยาอาฆาตให้เกิดขึ้นแก่กลุ่มผลประโยชน์ คือคณาจารย์เจ้าลักธิที่มีอยู่ก่อน แม้ว่าคนเหล่านั้นเพียรพยายามทำลายพระบรมศาสดาด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่ต้องพ่ายแพ้พุทธานุภาพไปในที่สุด

    ในกรณีของคนที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อถามปัญหานั้น พระบรมศาสดาทรงมีหลักในการตอบ ๔ วิธีด้วยกันคือ

    ๑. เอกังสพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไปโดยส่วนเดียวอย่างเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

    ๒. วิภัชพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงจำแนกตัวไปตามลักษณะของเรื่องนั้น ๆ อย่างเช่น ปัญหาที่ว่าคนตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ? พระบรมศาสดาจะทรงตอบจำแนกไปตามเหตุผล คือ เมื่อเหตุให้เกิดมี อยู่การเกิดก็ต้องมี เมื่อไม่มีการเกิดก็ไม่มี

    ๓. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงใช้ปัญหาที่ถามมานั้นเองย้อนถามไปอีกทีแล้วจะออกมาเป็นคำตอบเอง

    ๔. ฐปนียะ ปัญหาบางเรื่องบางอย่าง เป็นเรื่องไร้สาระบ้างตั้งคำถามผิดบ้าง พูดไปแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ผู้ฟังบ้าง พระบรมศาสดาจะทรงนิ่งเสียไม่ตอบ เพราะพระพุทธเจ้าดำรัสทุกคราวของพระพุทธเจ้าวางอยู่บนหลักที่ว่า "ต้องเป็นเรื่องจริง เป็นธรรมมีประโยชน์ เหมาะสมแก่กาล คนฟังอาจจะชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้างก็ได้ แต่ถ้าคุณสมบัติ ๔ ประการข้างต้นมีอยู่จะตรัสพระดำรัสนั้น"



    "หลักในการแสดงธรรม ๔ วิธี"





    ชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลมีความเจริญก้าวหน้าในด้านศาสนาและปรัชญาอย่างสูง พระพุทธเจ้าจึงเปรียบด้วยประทีปดวงใหญ่ในท่ามกลางดวงประทีปเป็นอันมาก ชนชาวชมพูทวีรอคอยศาสดาเช่น พระพุทธองค์มานาน เมื่อบังเกิดขึ้นในโลกจริง ๆ จนมีพยานยืนยันการตรัสรู้ของพระองค์เป็นอันมาก และคนที่มายอมตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในยุคแรก ล้วนเป็นคนชั้นนำในสังคมทั้งนั้นคือ คณาจารย์นักบวช พระราชา เศรษฐี ขุนนางอำมาตย์ ข้าราชการผู้ใหญ่ การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระองค์ จึงก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็วมาก

    ในช่วงตอนต้นพุทธกาลนั้นมีกษัตริย์ระดับมหาราช ๔ ประองค์ คือพระเจ้าพิมพิสาร (แคว้นมคธ) พระเจ้าปเสนทิโกศล (แคว้นโกศล) พระเจ้าจัณฑปัชโชติ (แคว้นอวันตี) และพระเจ้าอุเทน (แคว้นวังสะ) ทรงแสดงตนเป็นอุบาสกนับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่แคว้นต่าง ๆ ในชมพูทวีป เช่นสักกะ วัชชี มัลละ กุรุ ปัญจาละ อังคะ มคธ กาสี โกศล วังสะ อวันตี เป็นต้น ซึ่งเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่รวดเร็วมากโดยที่พระพุทธเจ้าไม่เคยอาศัยพระราชอำนาจของพระราชาเหล่านั้นเข้าช่วยสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเลย พระพุทธเจ้าทรงมีหลักการในการแสดงธรรมของพระองค์ซึ่งอาจจัดได้เป็น ๔ วิธีคือ

    ๑. ยอมรับ พระพุทธเจ้าทรงยอมรับนับถือคำสอนของนักปราชญ์ต่าง ๆ ที่มีมาก่อนหรือร่วมสมัยกับพระองค์ ในกรณีที่คำสอนนั้นเป็นเรื่องจริงในธรรม มีประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ

    ๒. ปฏิวัติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแบบตรงกันข้าม เช่นคนในสมัยพุทธกาลถือว่า การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก กับการแสวงหาความสุขจากกามคุณ เป็นทางแห่งความสุข ความหลุดพ้นพระพุทธเจ้าทรง ปฎิเสทตั้งแต่พระธรรมเทศนาครั้งแรกว่าเป็น หนทางที่บรรพชิตไม่ควรเสพ หรือเขาถือว่าการทรมานตนเป็นตบะ แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าขันติเป็นบรมตบะ เขาสอนว่า การอยู่ร่วมกับปรมาตมัน บรมพรม พระพรหมว่าเป็นบรมธรรม พระบรมศาสดาทรงแสดงว่า นิพพานเป็นบรมธรรม เขาสอนว่า การฆ่าสัตว์ทุกชนิดเป็นบาป เป็นต้น

    ๓. ปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลงหลักการ เจตจำนง และวิธีการที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น เรื่องการจำพรรษา การลงอุโปสถเป็นข้อปฏิบัติที่ทำกันมาก่อน พระพุทธเจ้าทรงปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลงหลักการเจตจำนง และวิธีการที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น เรื่องการจำพรรษา การลงอุโบสถเป็นข้อปฏิบัติที่ทำกันมาก่อน พระพุทธศาสนาว่าภิกษุ สมณะ บรรพชิต นักบวช เป็นต้น ทรงปฏิรูปโดยนิยามความหมายเสียใหม่เพราะการเผยแผ่ศาสนาจำต้องอาศัยถ้อยคำที่เขาพูดกันในสมัยนั้นจึงต้องใช้ตามโดยการนิยามความหมายเสียใหม่ คำในพระพุทธศาสนาเป็นอันมากที่ทรงแสดงจึงต้องมีการไขความให้เข้าใจตามหลักของพระพุทธศาสนา หลักการปฏิรูปจึงหมายถึงการกระทำความเชื่อนั้น ๆ มีส่วนดีอยู่บ้าง แต่ยังมีความบกพร่องอยู่ จึงทรงปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติสมบูรณ์ขึ้น

    ๔. หลักการใหม่ พระพุทธเจ้าทรงตั้งหลักการขึ้นใหม่ คือเรืองนี้ไม่มีการสั่งสอนกันในสมัยนั้นเช่นหลักอริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาทอนัตตานิพพาน เป็นต้น

     
  19. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "พุทธกิจ ๔๕ พรรษา"

    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ขณะมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ในระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ จวบจนทรงดับขันธปรินิพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษานั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ สถานที่ต่าง ๆ ซึ่งท่านได้ประมวลไว้ พร้อมทั้งเหตุการณ์สำคัญบางอย่างอันควรสังเกตดังนี้

    พรรษาที่ ๑ (ปีระกา)
    ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี

    ภายหลังจากพระมหาบุรุษตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แล้วพระองค์ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข คือสุขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลส อาสวะ และปวงทุกข์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เป็นเวลา ๗ สัปดาห์จากนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินจากโพธมณฑล ดำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี แคว้นกาสี ใช้เวลาเสด็จพุทธดำเนิน ๑๑ วัน เสด็จถึงป่าอิสิปตนฤคทายวันใน เวลาเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๘ ปีระกา
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา "ธัมมจักรกัปปนวัตตนสูตร" ทำให้เกิดมีปฐมสาวกและพระอริยบุคคลคือ พระอัญญาโกณฑัญญะเกิดสังฆรัตนะ คำรบพระรัตนตรัย มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขึ้นโดยบริบูรณ์ ในวันเพ็ญเดือน ๘ อันเป็นที่มาขาองการบูชาในเดือน ๘ คือ"อาสฬบูชา"
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดปัจจวัคคีย์ ได้บรรลุพระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์ จากนั้นทรงแสดงธรรมโปรดพระยสะภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้าได้บรรลุพระอรหัตถผล ครั้งนั้นมีบุตรเศรษฐีชาวเมืองพารณสี ๔ คน ซึ่งเป็นสหายรักของพระยสะ เข้าเฝ้าฟังธรรมได้อุปสมบท ๕๐ คน ได้สดับธรรมและอุปสมบทได้บรรลุพระอรหัตถผลด้วยกันทั้งหมด จึงเกิดมีพระอรหันต์รวมทั้งพระบรมศาสดาด้วย ๖๑ องค์
    ในตอนปลายพรรษาที่ ๑ พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินไปยังดำบลอุรุเวลา ตำบลใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ อีกครั้งหนึ่งทรงทรมานอุรุเวลากัสสปด้วยอิทิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ จนอุรุเวลกัสสปผู้เป็นคณาจารย์ใหญ่ของนักบวชชฏิล ละทิ้งลัทธิบูชาไฟยอมมอบตัวเป็นพุทธสาวกขอบรรพชา ทำให้ชลฎิผู้น้องอีกสองคนพร้อมบริวารออกบวชตามด้วยทั้งหมด ครั้นบวชแล้วได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตรจากพระพุทธเจ้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต ทั้งสามพี่น้องคณาจารย์ชฏิลพร้อมด้วยบริวารทั้งหมดรวมหนึ่งพันองค์ จากนั้นพระบรมศาสดาได้เสด็จสู่พระนครราชคฤห์


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๒-๓-๔ (ปีจอ-กุน-ชวด)

    ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชกฤห์



    พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่มอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระนครราชกฤห์ พระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์ผู้ครองพระนครและแคว้นมคธ เข้าเฝ้าพร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนมาก ทรงสดับพระธรรมเทศนา ได้ธรรมจักษุ ประกาศพระองค์เป็นอะบาสกและถวายพระเวฬุวัน ซึ่งเป็นป่าไผ่สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสาร อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล จากพระนครราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ เป็นที่ร่มรื่นเงียบสงบ มีหนทางไปมาสะดวก พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ที่ ๒-๓-๔ เป็นลำดับการแห่งการประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นในชมพูทวีป พระบรมศาสดาพร้อมด้วย พระอรหันต์สาวกทรงทุ่มเทจนพระพุทธศาสนาสามารถสถิตตั้งมั่นหยั่งรากลงลึกและแผ่กิ่งก้านสาขาไปสู่ปริมณฑลด้านกว้างในชมพูทวีป
    ในลำดับกาลนี้พระบรมศาสดาได้ทรงตั้งตำแหน่งคู่แห่งอัครสาวกคือ พรสารีบุตรเถระ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย พระพุทธเจ้าทรงเสด็จนครกบิลพัสดุ์ เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้ อนาถบิณฑิกเศรษฐีแห่งนครสาวัตถีประกาศตนเป็นอุบาสก และเริ่มต้นสร้างพระเชตุวันมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระบรมศาสดา


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๕ (ปีฉลู)

    ณ ป่ามหาวัน นครเวสาลี



    ในพรรษานี้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่กูฏาคาร ณ ป่ามหาวัน นครเวสาลี (ไพศาลี) ในกาลนี้พระองค์ทรงเสด็จจากกูฏาคารไปโปรดพระพุทธบิดาปรินิพานที่กรุงกบิลพัสดุ์ และโปรดพระญาติทั้งฝ่ายศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ ที่วิวาทเรื่องแย้งน้ำในแม่น้ำโรหิณีเพื่อการเกษตรกรรมโดยประทับที่นิโครธารามอันเป้ฯพระอารามที่พระญาติทรงสร้างถวายอยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางของพระพุทธเจ้าได้เข้าเฝ้าทูลอนุญาตให้สตรีละเรือนออกบวชในพระธรรมวินัย พระบรมศาสดาตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง
    ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์กลับไปประทับจำพรรษาที่กูฏาคาร ป่ามหาวัน นครเวสลี ครั้นนี้พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ถึงกับปลงผมนุ่งผ้ากาสวะเอง ออกเดินทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะ ๕๐๐ องค์มายังป่ามหาวัน ณ ที่นี้ พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยประทานอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีบวชเป็นภิกษุณีด้วยวิธีรับคุรุธรรม ๘ ประการ ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมดพระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๖ (ปีขาล)

    ณ มกุลบรรพต



    ในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่มกุลพรรพต (สันนิษฐาว่า ภูเขานี้อยู่ในแคว้นมคธหรือแคว้นโกศล หรือบริเวณใกล้เคียง) แต่ใน "ปฐมสมโพธิกถา" ระบุว่า "เสด็จไปสถิตบนมกุฎบรรพตทรงทรมานหมู่อสุร เทพยดา และมนุษย์ให้ละเสียพยศอันร้ายแล้วและให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
    ในพรรษาที่ ๖ นี้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถิคือ การแสดงน้ำคู่กับไฟ เพื่อสยบพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ ในที่สุดแห่งยมกปาฏิหาริย์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พุทธบริษัทเพราะได้เห้นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๗ (ปีเถาะ)

    ณ ดาวดึงส์เทวโลก



    เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จสิ้นแล้ว พระบรมศาสดาเสด็จขึ้นเทวพิภพชั้นดาวดึงส์ทันที โดยทรงยกพระบาทขวาขึ้นจากจงกรมแก้วก้าวขึ้นเหยียบยอดภูเขายุคันธร แล้วยกพระบาทซ้ายก้าวขึ้นหยียบยอดเขาสิเนรุ ทรงประทับนั่งบนปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ภายใต้ร่มไม้ปาริชาต ท้าวสักกะเทวราชจอมภพผู้ปกครองดาวดึงสเทวโลกสวรรค์ชั้นที่ ๒ ป่าสวรรค์ ๖ ชั้น เสด็จขึ้นสู่สุสิตเทวพิภพสวรรค์ชั้นที่ ๔ เข้าเฝ้าพระมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธมารดา ทูลอัญเชิญให้เสด็จไปเผ้าพระบรมศาสดาตามพุทธประสงค์
    พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาตลอดสามเดือนเทพยาดาในโลกธาตุที่มาประชุมฟังธรรมอยู่ที่นั้นบรรลุมรรคผลสุดที่จะประมาณ ส่วนพระมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธมาดา ได้ทรงบรรลุพระโสดาปัตติผลสมพระประสงค์ของพระบรมศาสดา


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๘ (ปีมะโรง)

    ณ เภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมารคีรี



    เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงเปิดโลกเสด็จลีลาลงจาดาวดึงสสวรค์ในท่ามกลางเทพยาดาและพรหมเป็นอันมาก มหาชนทั้งหลายต่างแซ่ซ้องสาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหว พระบรมศาสดาทรงเสด็จดำเนินสูป่าไม่สีเสียดใกล้เมืองสุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ ทรงประทับจำพรรษาที่ ๘ ณ ป่าไม้สีเสียดเภสกลาวัน
    ในกาลนั้นมีสองสามีภรรยาคฤหบดีชาวเมืองสุงสุมารคีรี มีนามว่านุกุลบิดา และนกุลมารดา เข้าเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่น ๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงทรรมโปรดทั้งสองสามีบรรยาได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิทสนมคุ้นเคย ส่วนท่านนกุลมารดาก็เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกกาผู้สนิทสนมคุ้นเคย


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๙ (ปีมะเส็ง)

    ณ วัดโฆษิตาราม เมืองโกสัมพี



    ในพรรษที่ ๙ นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่วัดโฆษิตารามซึ่งเป็นวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี นครหลวงของแคว้นวังสะ พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดประชากรให้ตั้งอยู่นมรรคผลเป็นพุทธมามกะ ปฏิญาณตนตั้งอยู่ในพระรัตนตรัยเป็นจำนวนมาก
    แต่ในกาลนั้น ภิกษุสงฆ์ในเมืองโกสัมพีเกิดแตกแยกกันแม้พระพุทธเจ้าประทานโอวาทแล้วก็ยังดื้อดึงตกลงกันไม่ได้ จนถึงกับแบ่งแยกกันทำอุโบสถ ฝ่ายหนึ่งทำอุโบสถทำสังฆกรรมภายในสีมาแต่อีกฝ่ายหนึ่งออกไปทำอุโบสถทำสัฆกรรมภายนอกสีมา ภิกษุสงฆ์ได้เกิดการแตกแยกกันขั้นนี้เรียกว่า "สังฆเภท"


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๑๐ (ปีมะเมีย)

    ณ ป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะ



    พระพุทธเจ้าทรงปลีกประองค์จากหมู่สงฆ์ผู้แตกแยกสร้างความวุ่นวายด้วยเหตุสังฆเภท พระบรมศาสดาเสด็จจากวัดโฆษิตารม กรุงโกสัมพี เสด็จไปยังแดนบ้านแห่งหนึ่งชื่อ "ปาริเลยยกะ" อยู่ใกล้กรุงโกสัมพี พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปประทับ ณ ร่มไม้ภัทรสาละพฤกษ์ในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะ ทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๐ ด้วยความสงบสุข โดยมีพญาช้างปาริเลยยกะคอยบำรุงดูแลพิทักษ์และรับใช้พระบรมศาสดาอย่างใกล้ชิด


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๑๑ (ปีมะแม)

    ณ ทักขิณาคีรี หมู้บ้านพราหมร์เอกนาลา



    ในพรรษาที่ ๑๑ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ ทักขิณาคีรี หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อว่า เอกนาลา


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๑๒ (ปีวอก)

    ณ เมืองเวรัญชา



    ในพรรษาที่ ๑๒ นี้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่ปุจิมัณฑมูล ณ ควงไม้สะเดา ที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต อยู่ใกล้เมืองเวรัญชา จากนั้นเสด็จออกจากเมืองเวรัญชา จาริกผ่านเมืองโสเรยยะ ผ่านเมืองท่าปยาคะ เสด็จออกจากเมืองโสเรยยะ ผ่านเมืองท่าปยายาคะ เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาที่ท่าเมืองปยาคะ แล้วเสด็จไปยังเมืองพาราณสี จากนั้นเสด็จจาริกไปนครเวสาลี เข้าประทับที่กูฏิบัติสำหรับพระภิกษุเป็นประถม กำหนดเป็นปฐมบัญญัติจัดเข้าในอุเทศแห่งพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนา


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๑๓ (ปีระกา)

    ณ จาลิยบรรพต



    ในพรรษที่ ๑๓ นี้ พระพุทธทรงประทับจำพรรษาที่จาลิยบรรพต


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๑๔ (ปีจอ)

    ณ พระเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี



    ในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับที่พระเชตวันมหาวิหารเป็นพรรษาแรก มหาวิหารแห่งนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้เป็นมหาอุบาสกคนสำคัญสร้างถวาย เป็นมหาวิหารที่ใหญ่โตยังความสะดวกและความสงบได้ยิ่งกว่าวิหารใดในชมพูทวีป พระพุทธเจ้าทรงประทับพรรษาอยู่ ณ มหาวิหารแห่งนี้ถึง ๑๙ ฤดูฝน พระธรรมส่วนใหญ่แสดงที่มหาวิหารแห่งนี้


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๑๕ (ปีกุน)

    ณ นิโครธาราม นครกบิลพัสดุ์



    ในพรรษาที่ ๑๕ นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่นิโครธารามอารามที่พระญาติสร้างถวายอยู่ใกล้นรกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ ที่ได้ว่า "กบิลพัสดุ์" เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส ซึ่งเดิมอยู่ในดงไม้สักกะ หิมพานต์ประเทศ พระราชบุตรและพระราชบุตรี ของพระเจ้าโอกการาชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามว่า "กบิลพัสดุ์" แปลว่า ที่อยู่หรือที่ดินของกบิลดาบส


    <HR SIZE=1>



    พรรษาที่ ๑๖ (ปีชวด)
    ณ อัคคาฬวเจดีย์วิหาร เมืองอาฬวี
    ในพรรษาที่ ๑๖ นี้ พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองอาฬวี ทรงแสดงพุทธอิทธานุภาพปราบฤทธิ์เดชของอาฬวกยักษ์ ทรงพยากรณ์แก้ปัญหาที่อาฬวกยักษ์ทูลถาม ทำให้อาฬวกเกิดปัญญาเห็นแจ้งในธรรมสิ้นความโหดร้าย ตั้งอยู่ในภูมิโสดาปัตติผลมอบตนลงเป็นทาสพระรัตนตรัยตั้งมั่นอยู่ในอริยธรรม ทรงช่วยให้ประชากรชาวเมืองอาฬวีตั้งอยู่ในกัลยาณธรรมให้เป็นสมาบัติปลุกให้เกิดความเมตตาปรานีกันทั่วหน้า


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๑๗ (ปีฉลู)

    ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์


    ในพรรษาที่ ๑๗ นี้ พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปประทับจำพรรษา ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์ อันเป็น สังฆารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๑๘-๑๙(ปีขาล-เถาะ)

    ณ จาลิยบรรพต



    ในพรรษาที่ ๑๘ และพรรษาที่ ๑๙ นี้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จกลับไปประทับจำพรรษา ณ จาลิตบรรพต ซึ่งพระบรมศาสดาเคยประทับจำพรรษามาแล้วในพรรษาที่ ๑๓


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๒๐ (ปีมะโรง)

    ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์



    ในพรรษานี่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จกลับมาประทับจำพรรษา ณ สังฆารามแห่งแรกนี้เป็นการประทับจำพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ณ พระเวฬุวันวิหาร พระบรมศาสดาทรงโปรดองคุลิมาลโจรให้กลับใจได้ขอบวชและต่อมาก็ได้สำเร็จพระอรหัต ในลำดับกาลพรรษานี้ พระอานนท์ได้รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำพระองค์พระพุทธเจ้า


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๒๑ - พรรษาที่ ๔๔

    ณ พระเชตวันและบุพพาราม นครสาวัตถี



    นับจากพรรษาที่ ๒๑ ถึงพรรษาที่ ๔๔ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี เป็นระยะเวลานานที่สุด พระบรมศาสดาทรงประทับจำพรรษา ณ พระเชตวันมหาวิหาร ๑๙ ฤดูฝน (ในพรรษาที่ ๑๔ ทรงประทับจำพรรษาที่พระเชตวันมาแล้ว ๑ พรรษา) อีก ๖ ฤดูฝนเปลี่ยนไปประทับ ณ วิหารบุพพาราม ที่นางวิสาขา มิคารมารดามหาอุบาสิกาสำคัญสร้างถวายอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับมหาเชตวันโดยประทับสลับไปมา แต่มีคำอธิบายอีกนัยหนึ่งว่า เวลากลางวันประทับ ณ วิหารแห่งหนึ่ง และกลางคืนเสด็จไปแสดงธรรม ณ วิหารอีกแห่งหนึ่งเป็นสถานที่ประทับอันนับเนื่องด้วยชีวิตการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้าตลอด ๒๔ ฤดูฝน


    <HR SIZE=1>
    พรรษาที่ ๔๕ (ปีมะเส็ง)

    ณ เวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี



    ในพรรษาสุดท้ายนี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่ตำบล เวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี แคว้นวัชชี พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์เป็นครั้งสุดท้ายและทรงปลงอายุสังขาร ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ณ ปาวาลเจดีย์ ว่าพระตถาคตจักปรินิพพานแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน
    ในการต่อมา พระบรมศาสดาทรงพาพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ เสด็จไปในครเวสาลี เสด็จประทับอยู่ที่กูฏาคารในป่ามหาวัน ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาโปดมวลกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย จากนั้นทรงพาระภิกษุสงฆ์เสด็จออกจากพระนคร เสด็จประทับยืนอยู่หน้าเมืองเสาลี เยื้องพระกายผินพระพักตร์ มาทอดพระเนตรเมืองเวสาลีประหนึ่งว่าทรงอาลัยเมืองเวสาลีเป็นที่สุด พร้อมกับรับสั่งกับพระอานนท์ผู้ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าความว่า
    "อานนท์ การเห็นเมืองเวสาลีของตถาคตครั้งนี้เป็นปัจฉิมทัศนา" คือเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย แล้วพระบรมศาสดาเสด็จกลับไปประทับยังกูฏาคารในป่ามหาวัน
    สถานที่เสด็จประทับยืนทอดพระเนครโดยพระอาการที่แปลกจากเดิมพร้อมทั้งรับสั่งเป็นนิมิตเช่นนั้นเป็นเจดีย์สถานอันสำคัญเรียกว่า "นาคาวโลกเจดีย์" นาคาวโลกคือ การเหลียวมองอย่างพญาช้าง มองอย่างข้างเหลียวหลัง คือเหลียวดูโดยหันกายกลับมาทั้งหมด ซึ่งเป็นอาการที่พระพุทธเจ้าทรงทำเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว
    ในลำดับกาลต่อมา พระบรมศาสดาทรงเสด็จพาพระภิกษุสงฆ์ออกจากกูฏาคาร เสด็จไปยังบ้านภัณฑุคาม บ้านหัตถีคาม บ้านอัมพะคาม บ้านชัมพูคาม และโภคนครโดยลำดับ ภายหลังจากแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทชาวเมืองโภคนครและ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปยังเมืองปาวานคร เสด็จเข้าประทับพำนักอยู่ที่อัมพวันสวนมะม่วงของนายจุนกัมมารบุตรซึ่งอยู่ใกล้เมืองปาวานั้น
    ครั้นนายจุนทะได้ทราบข่าว รีบเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาฟังพระธรรมเทศนาโปรด นายจุนทะได้กราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้ากับทั้งพระภิกษุสงฆ์ ให้เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตยังนิเวศน์ของตน ครั้นรุ่งเช้าเมื่อได้เสด็จไปยังนิเวศน์ของนายจุนทะ พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่นายจุนทะว่าสุกรมัททวะซึ่งท่านตกแต่งไว้นั้น จงอังศาสเฉพาะคถาคตผู้เดียวที่เหลือนั้นให้ขุดหลุมฝังเสีย และจงอังคาสภิกษุสงฆ์ทั้งหลายด้วยอาหารอย่างอื่น ๆ เถิด
    ครั้นกลับสู่อัมพวัน พระบรมศาสดาทรงประชวรพระโรคโลหิตปักขัณทิกาพาธ คือโรคท้องร่วงเป็นโลหิต มีพระกำลังล้าลงเกิดทุกขเวทนามาก ทรงตรัสสั่งสอนพระอานนท์ว่า "อานนท์ มาเราจะไปเมืองกุสินารา" พระอานนท์รับพระบัญชาแล้ว จึงรีบแจ้งให้พระสงฆ์ทั้งหลายเตรียมตามเสด็จไว้พร้อม
    ระหว่างทางที่เสด็จไปยังนครกุสินาราพระพุทธเจ้าทรงกระหายน้ำ ตรัสเรียกพระอานนท์ไปตักน้ำในแม่น้าสายเล็กมีน้ำน้อยและกองเวียน ๕๐๐ เล่มเพิ่งผ่านข้ามไป ครั้นพระอานนท์ไปตักน้ำที่ขุ่นข้นได้กลับกลายเป็นน้ำใสสะอาดปราศจากมลทิน ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พระบรมศาสดาทรงขอน้ำเสวยในขณะเดินทางยังไม่ถึงที่พัก
    พระพุทธเจ้าทรงเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านข้ามแม่น้ำกกุธานทุนีพระอานนท์ทูลเชิญให้เสวยและสรงชำระพระกายที่ตรากตรำมาในระยะทาง แล้วเสด็จขึ้นมาประทับยังร่มไม้และเสด็จบรรทม ลำดับต่อมาพระบรมศาสดาทรงเสด็จพระพุทธดำเนินต่อพร้มด้วยพระภิกษุสงฆ์ทรงเสด็จดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญวดี อันเป็นแม่น้ำสายสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าเสด็จข้าม มุ่งสู่สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
    ในกาลนั้น เป็นเวลาใกล้ค่ำของวันเพ็ญ เดือน ๖ พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา พระบรมศาสดาทรงรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดที่บรรทมระหว่างต้นสาละใหญ่ ๒ ต้น ทรงเอนพระวรกายลงโดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ประทับไสยาสน์ แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยา คือการนอนครั้งสุดท้ายไม่แปรเปลี่ยนจนกระทั่งสังขารดับ
    ครั้งนั้น ต้นสาละทั้งคู่พลันผลิดอกออกบานเต็มต้น ร่วงหล่นลงมายังพระพุทธสรีระบูชาพระตถาคตเจ้าเป็นอัศจรรย์ แม้ดอกมณฑาในเมืองสวรรค์ตลอดจนทิพยสุคนธชาติก็ตกลงมาจากอากาศยังเทพเจ้าทั้งหลายก็ประโคมดนตรีทิพย์บันลือลั่นเป็นมหานฤนาท บูชาพระตถาคตในอวสานกาล
    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าได้ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "อานนท์ เมื่อตถาคตปรินิพานและหากจะมีภิกษุบางรูปดำริว่า พระศาสนาของเราปรินิพพานแล้ว อานนท์ท่านทั้งหลายไม่ควรดำริอย่างนั้นไม่ควรเห็นอย่างนั้น แท้จริง วินัยที่เราได้บัญญัติแก่ท่านทั้งหลายก็ดี เมื่อเราล่วงไป ธรรมและวินัยนั้น ๆแลจักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย"
    ลำดับต่อมา พระบรมศาสดาได้ประทานปัจฉิมโอวาทความว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั่งหลายจงบำเพ็ญไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
    เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสพระโอวาทประทาน เป็นวาระสุดท้ายเพียงเท่านี้แล้วก็หยุด มิได้ตรัสอะไรอีกเลย ทรงทำปรินิพพานบริกรรมด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ โดยอนุโลมลำดับ จนกระทั่งทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติที่ ๙ จากนั้นทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ถอยออกจากสมาบัตินั้น โดยปฏิโลมเป็นลำดับจนถึงปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน และทรงเข้าทุติยฌาน อีกวาระหนึ่ง ออกจากทุติยฌานแล้วทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้วทรงเข้าจตุตถฌาน
    เมื่อออกจากจตุตถฌานแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จปรินิพาน ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีสาขปรุณมี เพ็ญ เดือน ๖ มหามงคลสมัย ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้วก็บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินไหวสั่นกลองทิพย์บัยลือลั่น กึกก้องสัททสำเนียงเสียงสนั่นในอากาศเป็นมหาโกลาหลในปัจฉิมกาล ดอกไม้ทิพย์มณฑารพ ดอกไม้ในเมืองสวรรค์ ตกโปรยปรายละลิ่วลงมาจากฟากฟ้า ดาดาษทั่วนครกุสินารา พร้อมกับขณะเวลาปรินิพพานของสมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลก
     
  20. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    หมวดที่ ๖ พระธรรม
    "เวสารัชชญาณในฐานะทั้ง ๔"
    เวสารัชชญาณ คือพระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั้นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท่วงพระงองค์ได้ โดยชอบธรรมในฐานะ ทั้ง ๔ คือ

    ๑. ท่านปิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่รู้แล้ว

    ๒. ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณสาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว (ขีณาสพ มีความหมายถึง ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว, ผู้หมดกิเลส , พระอรหันต์)

    ๓. ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง

    ๔. ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบได้จริง

    "พุทธคุณ ๙ ประการ"
    คุณของพระพุทธเจ้ามี ๙ ประการคือ

    ๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์

    ๒. สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ

    ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

    ๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว

    ๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก

    ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า

    ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นสาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    ๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว

    ๙. ภควา เป็นผู้มีโชค

    พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อมี ๒ คือ

    ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
    ๒. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา


    พุทธคุณตามที่นิยมกว่ากันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ

    ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
    ๒. พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
    ๓. พระมหากรุณาคุณ ประคุณ





    "พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔"
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ (อริยสัจ มีความหมายถึง ความจริงอย่างประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้คนเป็นพระอริยะ มี ๔ อย่างคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ดังนั้น คำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของอริยสัจทั้ง ๔ แต่ที่ทรงแสดงออกไปพิศดารมากจนถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อย่างที่ท่านว่าไว้ เพราะอัธยาศัยของผู้ฟังแตกต่างกันนั้นเอง การที่ท่านสรุปพระธรรมทั้งมวลลงในอริยสัจนั้น หมายความว่า พระธรรมแต่ละข้อที่ทรงแสดงนั้นจะต้องอยู่ในกลุ่มของอริยสัจ ๔ ไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง คือ

    <HR SIZE=1>
    ๑. กลุ่มทุกขสัจ
    กลุ่มทุกขสัจ ได้แก่กลุ่มที่เป็นปริญญาตัพพธรรม คือธรรมที่ต้องศึกษาให้รู้ เพื่อกำหนดให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร เป็นธรรมกลุ่มที่เป็นผลมาจากกิเลส จำต้องศึกษาให้รู้ไว้ในด้านประเภทฐานะ ภาวะ ลักษณะของธรรมเหล่านั้น แต่ไม่อาจที่จะแก้ไขอะไรได้ ธรรมกลุ่มนี้ เช่น

    ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปทาน นามรูปได้แก่ รูป ๑ นาม ๔ คือ
    รูปขันธ์ กองรูปได้แก่รูป ๒๘ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น ส่วนนาม ๔ ได้แก่
    เวทนาขันธ์ คือกองเวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิก สัญญาขันธ์ คือสัญญาเจตสิก สังขารขันธ์ กองสังขาร ได้แก่ จิต ๘๙ ดวง
    อาหาร ๔ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กลืนกินเข้าไปทางปากผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ วิญญาณาหาร อาหารคือ วิญญาณ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือ มโนสัญเจตนา
    อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    โลกธรรม ๘ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญสุข ทุกข์
    อายตนะ ๘ คือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส โผฏฐัพพะกับกาย ใจกับอารมณ์ (โผฎฐัพพะ มีความหมายถึง อารมณ์ที่จะพึงพูกต้องด้วยกาย , สิ่งที่ถูกต้องกายเช่น เย็น ร้อน อ่น แข็ง เป็นต้น)
    วิญญาณฐิติ ๗ คือที่ตั้งแห่งวิญญาณอันเกิดขึ้นด้วยการถือปฎิสนธิในกำเนิด ๔ ได้แก่
    ๑. สัตว์ที่มีร่างกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น มนุษย์ เทวดาบากพวก วินิบาตบางพวก (วินิบาต มีความหมายถึงสัตว์ในนรกหรืออสุรกาย)
    ๒.สัตว์ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ เทพผู้เกิดในชั้นพรหม ด้วยอำนาจปฐมฌาน และสัตว์ที่เกิดในอบายภูมิ ๔
    ๓. สัตว์ ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พรหมชั้นอาสัสรา (พรหมโลกชั้นที่ ๖ จากที่อยู่ของพรหมซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)
    ๔. สัตว์ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ พรหมชั้น สุภกิณหะ (พรหมโลกชั้นที่ ๙ จากที่อยู่ของรูปพรหม ซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)
    ประเภทที่ ๕ ที่ ๖ และ ๗ ได้แก่ ท่านที่เกิดในอรูปภูมิด้วยกำลังแห่งอรูปฌาน และมีชื่อตามฌานข้อนั้น ๆ


    แม้ประเภทแห่งทุกข์ที่ทรงแสดงในอริยสัจ ๔ คือ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น ก็อยู่ในกลุ่มของรูปที่จะต้องกำหนดรู้ กล่าวโดยสรุป ธรรมในกลุ่มนี้คือพวกที่เป็น "ธรรมชาติอันเป็นไปตามอำนาจแห่งธรรมดา" ทั้งหลายนั้นเอง

    <HR SIZE=1>
    ๒.กลุ่มสมุทัยสัจ
    กลุ่มสมุทัยสัจ ที่เรียกว่า ปหาตัพพธรรม คือธรรมที่เรียนให้รู้แล้วควรละ อันได้แก่พวกกิเลสทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกตามอาการของกิเสส เหล่านั้น เช่น

    อัสสมิมานะ ความยึดถือขันธ์ ๕ ว่า เป็นตัวตน หรือมีตัวตน เป็นต้น

    อวิชชา ๘ คือ ความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้มรรค ความไม่รู้อดีต ความไม่รู้อนาคต ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต และไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท (การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา)

    ตัณหา ๓ คือ "กามตัณหา" ความทะเยอทะยานอยากได้ในวัตถุกามด้วยอำนาจของกิเลสกาม "ภวตัณหา" ความอยากมีอยากเป็นต่าง ๆ ด้วยอำนาจสัสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง คือ ความเห็นว่าอัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป) "วิภวตัณหา" ความทะเยอทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็นจนถึงอยากขาดสูญไปเลยด้วยอำนาจของอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้แล้วขาดสูญ) และตัณหาในอายตนะภายนอก ๖ คือ ตัณหาทั้ง ๓ ประการที่เกิดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ (อารมณ์ทางใจ , สิ่งที่ใจนึกคิด)

    นิวรณ์ คือสิ่งที่กั้นจิตคนไว้มิให้บรรลุความดี ท่านเรียกว่านิวรณ์มี ๕ ประเภทคือ
    ๑. กามฉันทะ คือความรักใคร่ชอบใจในวัตถุกามทั้งหลายมีรูปเป็นต้น
    ๒. พยาบาท คือ ความอาฆาตพยาบาท มุ่งจองล้างจองผลาญต่อคน สัตว์ที่ตนไม่ชอบ
    ๓. ถีนมิทธะ คือการเคลิบเคลิ้ม ง่วงนอน หงอยเหงา คร้านกายคร้านใจ
    ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านซัดส่ายของใจจนเกิดความรำคาญ
    ๕. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยไม่มั่นใจ ตัดสินใจในเรื่องอะไรไม่ได้


    โอฆะ กิเลสที่เป็นดุจห้วงน้ำ ห้วงน้ำคือกาม ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือความเห็นผิด และห้วงน้ำคืออวิชชา บางคราวเรียกว่า คันถะเพราะทำหน้าที่ร้อยรัดจิตเรียกว่า อาสวะ เพราะหมักหมมอยู่ภายในจิต

    อนุสัย คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายในจิต คือกามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ ความที่จิตหวุดหวิดด้วยอำนาจโสทะ) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) มานะ (ความถือตัวถือตน) ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ)และอวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)

    มิจฉัตตะ ๘ คือความเห็นผิด ความดำริผิด การพูดผิด การทำงานงานผิด การเลี้ยงชีวิตผิด ความพยายามผิด การตั้งสติผิด ความตั้งใจมั่นผิด

    กิเลสทั้งหลายที่ปรากฏแก่จิต ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ได้แก่อกุศลมูล ๓ ประการคือโลภ โกรธ หลง โดยมีรากใหญ่ของกิเลสอยู่ที่อวิชชากับตัณหา

    <HR SIZE=1>
    ๓.กลุ่มของนิโรธสัจ
    กลุ่มของนิโรธสัจ ที่เรียกว่า สัจฉิกาตัพพธรรม คือ ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ สมาธิปัญญา เช่น

    เจโตวิมุติ คือการหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสด้วยการบำเพ็ญเพียรทางจิตจน บรรลุฌานแล้วเจริญวิปัสสนาต่อ และปัญญาวิมุตติคือ จิตที่หลุดพ้นด้วยการเจริญวิปัสสนอย่างเดียว จนบรรลุอรหัต

    วิมุตติ ๕ คือ ความหลุดพ้นจากอำนาจของกิเสส ๕ ระดับคือ
    ๑. ตทังควิมุตติ คือ หลุดพ้นด้วยองค์นั้น ๆ เช่น เกิดโกรธขึ้นมาห้ามความโกรธไว้ได้
    ๒. วิกขัมภนวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยกำลังแห่งฌานที่ได้บรรลุ
    ๓. สมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสอย่างเด็ดขาดโดยกิเลสไม่กำเริบอีกต่อไป
    ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสงบราบคาบ
    ๕. นิสสรณวิมุตติ คือ จิตที่หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสด้วยการออกไปคือ นิพพาน


    สามัญญผล คือ ผลแห่งการบวชหรือจากความเป็นสมณะ ๔ ได้แก่โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล

    ธรรมขันธ์ ๕ คือ การทำให้แจ้งในกองแห่งศีล สมาธิ ปัญญา และ วิมุตติ ในกรณีที่เป็นผล

    อภิญญา ๖ คือว่ารู้ยิ่งหรือความรู้พิเศษ อันเกิดจากเหตุมีความสงบจากกิเลส เป็นต้น ได้แก่
    ๑. อิทธิวิธี การแสดงฤทธิ์ ได้ คือความสำเร็จที่เกิดจากจิตสงบบ้างกรรมบ้าง วิชาบ้าง
    ๒.ทิพพโสต หูทิพย์ คือสามารถฟังเสียงเบา หนัก ไกลใกล้ได้ตามความต้องการ
    ๓.เจโตปริยญาณ รู้ความคิด สภาพจิตของคนอื่นได้ว่า ขณะนั้น เขามีความคิดต้องการอะไรเป็นต้น
    ๔.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติต่าง ๆ ย้อนหลังไปในอดีตได้
    ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ คือสามารถมองเห็นภาพที่ปรากฏในที่ต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
    ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำอาสวะให้หมดสิ้นไป


    อนุบุพพวิหาร ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ (การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติคือ ภาวะสงบ ประณีตซึ่งพึงเข้าถึง)

    อเสกขธรรม คือ ธรรมที่เป็นของพระอเสขะ ๑๐ ประการ (อเสขะมีความหมายถึง ผู้ไม่ต้องศึกษาเพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์) คือ มรรคมีองค์ ๘ ประการ กับสัมมาญาณ (รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ) และสัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ ได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ) ที่เป็นผลถาวรอยู่ภายในใจของพระอรหันต์ทั้งหลาย

    ธรรมกลุ่มที่เป็นสักฉิกาตัพธรรมนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุปได้แก่ผลในชั้นต่าง ๆที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามหลักธรรมที่ทรงแสดงไว้ แม้องค์ธรรมจะชื่อเหมือนกัน แต่ในกลุ่มนี้ท่านหมายเอาตัวผลเช่นตัวความรู้ที่เกิดจากการเรียน ซึ่งเป็นผลถาวรที่ติดอยู่ในใจคน

    <HR SIZE=1>
    ๔.กลุ่มทุกขนิดโรธคามินีปฏิปทา
    กลุ่มทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสงบระงับแห่งทุกข์ ท่านเรียกกลุ่มนี้ว่า ภาเวตัพพธรรม คือ ธรรมที่ต้องลงมือกระทำบำเพ็ญให้บังเกิดขึ้น เช่น

    วิสุทธิหรือปาริสุทธิ ๙ ประการ ได้แก่
    ๑. สีลวิสุทธิ คือความบริสุทธิ์ หมดจดแห่งศีล ตามสมควรแก่ฐานะของบุคคล
    ๒. จิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิต คือจิตที่สงบจากนิวรณธรรม (สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม) ทั้ง ๕ ประการเป็นต้น
    ๓.ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งความเห็นคือ เกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริง
    ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความลังเลสงสัย
    ๕.มัคคามัคคญาณทัสสวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณที่ช่วยให้รู้ว่าอะไรเป็นทางหรือไม่ใช่ทาง
    ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นซึ่งปฏิทาในการปฏิบัติ
    ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัติ
    ๘. ปัญญาวิสุทธิคือ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญาเครื่องรู้
    ๙. วิมุตติวิสุทธิคือ ความบริสุทธิ์แห่งความหลุดพ้นจากเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์


    <HR SIZE=1>
    อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ
    ๑. สัมาทิฏทิ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่ เห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    ๒. สัมมาสังกัปปะ คือความดำริชอบได้แก่ ดำริในการออกจากกามดำริในการไม่พยาบาท และดำริในการไม่เบียดเบียน ๒ ข้อนี้จัดเป็นปัญญาสิกขา
    ๓. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ คือเว้นจาการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบและเพ้อเจ้อ
    ๔. สัมมากัมมันตะ คือ การทำงานชอบคือการเว้นจาการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
    ๕. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ คือการละมิจฉาชีพดำรงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาชีพอันถูกต้องตามกฎหมาย ศีลธรรม หน้าที่ฐานะและภาวะของแต่ละบุคคล ๓ ข้อนี้ จัดเป็นสีลสิกขา
    ๖. สัมมาวายาม คือ ความพยายามชอบ ได้แก่ พยามสำรวมระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน พยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้วพยายามทำกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน พยายามรักษากุศลที่เกิดขั้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป
    ๗. สัมมาสติ คือความระลึกชอบ ได้แก่ การระลึกถึงกาย เวทนา จิต ธรรมอันนำไปสู่ความสงบจิต จนเกิดปัญญาเห็นประจักษ์ชัดว่า กายเวทนา จิต ธรรม นี้ก็สักแต่ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา ก็เรียกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติ ปัฎฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ธัมมานุปัสสนาสติ ปัฎฐาน
    ๘. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ ความสงบจิตอันเกิดจาก ผลแห่งสมถกรรมฐานจนบรรลุฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติฌาน ตติฌาน จตุตถฌาน


    เมื่อบุคคลปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์แล้วจะเกิดฌานคือความรู้ขึ้น เรียกว่า สัมมาญาณ อันเป็นองค์อริยมรรคที่แท้จริง จิตของท่านผู้นั้นก็เข้าถึงสัมมาวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสและทุกข์โดยชอบ อันเป็นหลักการสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาพระธรรมที่มีชื่ออย่างอื่นอันทรงแสดงไว้โดยพิศดารที่กล่าวกันว่ามีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น เมื่อจัดเป็นกลุ่มธรรมแล้ว จะสงเคราะห์เข้าในกลุ่มธรรมทั้ง ๔ ประเภทนี้ได้ทั้งหมด ซึ่งผู้ศึกษาจนเข้าใจแล้วสามารถสงเคราะห์ได้ด้วยตนเอง

     

แชร์หน้านี้

Loading...