ไฟล์ที่เจ็ด หลักในการปฎิบัติพระกรรมฐาน

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 7 ตุลาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    [MUSIC]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2019[/MUSIC]
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    คราวนี้เราก็เท่ากับว่าเริ่มกรรมฐานรอบใหม่ของปีใหม่ ทิ้งกันไปหลายวันให้ทำกันเอง กำลังใจก็ไม่ทรงตัว คราวนี้ว่าพวกเราทุกคนจำเป็นที่จะต้องรักษากำลังใจให้ทรงตัวให้ได้ เพราะว่าการเกาะในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเกาะในครูบาอาจารย์ ขอให้เเกาะให้ถูกต้อง ถ้าตราบใดที่เรายังต้องอาศัยท่านอยู่ โดยเฉพาะครูบาอาจารย์ที่มีกายเนื้อ ถ้าตราบนั้นเรายังเอาตัวรอดไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าอตตาหิ อตตโนนาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ถ้าหากว่าเรายังไม่สามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ต่อไปถ้าหากว่าสิ้นท่านไป เราก็จะเคว้งคว้างหาที่เกาะไม่ได้ พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสไว้ว่าของให้มีตัวเองเป็นเกาะ ขอให้มีตัวเองเป็นฝั่ง เพื่อที่จะให้ข้ามวัฏฏะสงสารนี้ให้ได้ การมีตัวเองเป็นเกาะ คืออย่างน้อย ๆต้องสร้างศีล สมาธิ ปัญญา ให้ทรงตัว เพื่อว่าเราอยู่ท่ามกลางทะเลทุกข์นี้ ถ้าเรามีเกาะเป็นเครื่องอาศัยเราก็จะทุกข์น้อยกว่าคนอื่น หรือว่ามีตนเองเป็นฝั่ง คือเราจะสามารถก้าวล่วงทะเลทุกข์นี้ขึ้นสู่ฝั่งได้ อันนี้ก็ถือว่าประเสริฐที่สุด การปฏิบัติทุกครั้งอย่าลืมเริ่มต้นที่ลมหายใจเข้าออก สติทั้งหมดอยู่ทีลมหายใจ หายใจเข้ารู้อยู่ หายใจออกรู้อยู่ หายใจเข้ากระทบจมูก กระทบกึ่งกลางอก ลงไปสุดที่ท้องให้รู้ตลอดไป หายใจออกจากท้องผ่านกึ่งกลางออก มากระทบปลายจมูกให้รู้อยู่ตลอดไป สติมันเคลื่อนไปสู่อารมณ์อื่นเมื่อไหร่ ให้ดึงมันกลับมาสู่ลมหายใจเข้าออกเมื่อนั้น ถ้าเราหมั่นทำอย่างนี้บ่อย ๆ กำลังใจจะทรงตัวได้ง่าย ก้าวถึงระดับของฌาน สมาบัติ ได้ง่าย คราวนี้มันมีอยู่จุดหนึ่งที่อยากจะเตือนคือว่า พวกเราพอก้าวถึงความมั่นคงระดับหนึ่งแล้ว มันผ่านขั้นตอนอะไรมา เรามักจะไปตามดูตามจี้มันอยู่ตรงนั้น ซึ่งอันนี้ผิด อย่างการทรงปฐมฌาน มันจะผ่านอารมณ์วิตกคือนึกอยู่ว่าภาวนา วิจารณ์คือ รู้อยู่ว่าตอนนี้ภาวนาอยู่ ลมหายใจแรงหรือเบา ยาวหรือสั้น คำภาวนาว่าอะไรรู้อยู่ ปิติ มีอาการ ต่าง ๆ 5 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือขนลุก น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง ร่างกายลอยขึ้น หรือว่าพองตัวใหญ่ ตัวรั่วเป็นรูมาก ๆ หรือว่าแตกไปเลย ถัดไปคือสุข ความเยือกเย็นใจเนื่องจากกำลังใจปนเปอยู่เฉพาะหน้า ทำให้รัก โลภ โกรธ หลง ที่แผดเผาเราอยู่ต้องตัดลงชั่วคราว มันเย็นกายเย็นใจบอกเป็นภาษาคนไม่ถูก อันดับสุดท้ายคือเอกัตถตา อารมณ์ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว ไม่เคลื่อนคล้อยไปที่อื่น

    คราวนี้พอขั้นตอนต่าง ๆ นี้เกิดขึ้น เราจำมันได้ พอถึงเวลาก็นี่วิตกนะ นี่วิจารณ์นะ นี่ปิตินะ เดี๋ยวมันจะต้องสุข เดี๋ยวมันจะต้องเป็นเอกัตถตา ถ้าเราไปตามจี้มันอยู่ในลักษณะนี้ อารมณ์มันจะไม่ทรงตัว เพราะอารมณ์ใจนั้นมันประกอบด้วยความอยากมากเกินไป มันเป็นอารมณ์ของอุทัตจะ อุสุตจะ คือความฟุ้งซ่านของใจเราเอง ความฟุ้งซ่านเป็นนิวรณ์คือกิเลสที่หยาบ ถ้าตราบใด กิเลสหยาบห้าตัวตัวใดตัวหนึ่งอยู่ในใจของเรา ตราบนั้นกำลังใจจะไม่ทรงตัว ดังนั้นให้เรากำหนดภาวนาเฉย ๆ กำหนดรู้ลมเฉย ๆ เรามีหน้าที่ภาวนา เราภาวนาของเราไป มันจะเป็นฌาน หรือไม่เป็นฌานเป็นเรื่องของมัน สิ่งที่ต้องระวังอีกจุดหนึ่งก็คือเมื่อก้าวเข้าถึงตัวปิติ อารมณ์ใจมันจะไม่อิ่ม ไม่เบื่อ ไม่หน่ายในการปฏิบัติ ต้องระมัดระวังไว้ ให้ตั้งเวลาการปฏิบัติไว้เอาประมาณครึ่งชั่วโมง หรืออย่าให้เกินหนึ่งชั่วโมง เหตุที่ต้องตั้งอารมณ์ปฏิบัติเอาไว้เพราะว่า ถ้าไปทุ่มเทมันมาก ๆ ก็เหมือนกับคนที่โหมทำงานหนัก ถึงเวลามันจะทรงตัวได้แค่ครั้งเดียว รุ่งขึ้นทำงานหนักอย่างเดิมไม่ได้ ขณะเดียวกัน การปฏิบัตินั้น ถ้าเราไม่ถอนอารมณ์ใจออกมา มันข้ามวัน ข้ามคืน ข้ามเดือนโดยไม่รู้ตัว ร่างกายทนไม่ไหว ประสาทร่างกายมันชำรุดลง อันตรายมันจะเกิดขึ้น คืออยู่ในลักษณะที่เรียกว่าสัมมัตฐานแตก สติแตก หรือบางคนก็ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ ทำให้เป็นบ้าไป จริง ๆ แล้วกรรมฐานช่วยให้หายบ้าที่ทำแล้วเป็นบ้าเพราะว่าทำมากเกินไปไม่รู้จักประมาณ เมื่อเราตั้งเวลาไว้ครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมงแล้ว เมื่อเลิกจากนั้นให้ประคับประคองรักษาอารมณ์ของเราให้อยู่ตลอด เปลี่ยนอิริยาบทอื่น ไปทำการทำงาน จากนั่งเป็นยืน เป็นเดิน เป็นนอน การเปลี่ยนอิริยาบท ร่างกายจะได้พักผ่อน มันจะได้ไม่ตึงจนเกินไป

    ส่วนอีกจุดหนึ่งก็คือเมื่ออารมณ์ใจเริ่มก้าวสู่สมาธิที่สูงขึ้น ลมหายใจเข้าออกมันจะเบาลงโดยอัติโนมัติ ละเอียดลงโดยอัติโนมัติ บางทีคำภาวนาก็หายไป บางทีลมหายใจพร้อมกับคำภาวนาก็หายไปด้วยกัน บางคนรู้สึกตกใจว่าเอ๊ะ เราไม่ได้หายใจ เอ๊ะเราไม่ได้ภาวนา แล้วก็รีบตะเกียกตะกายหายใจใหม่ ภาวนาใหม่ อันนั้นทำให้กำลังใจถอยกลับมาสู่จุดแรกเริ่ม เขาให้กำหนดรู้ไว้เฉย ๆ ให้รู้ว่าตอนนี้ลมหายใจมันเบา ตอนนี้คำภาวนามันหายไป รู้ไว้เฉย ๆ ไม่ต้องไปตกอกตกใจ ไม่ต้องไปอยากมัน ไม่ต้องไปสนใจว่าขั้นตอนต่อไปมันจะเป็นอย่างไร รักษาอารณ์ให้ทรงตัวให้เป็นปกติ เมื่อถึงเวลามันก็จะก้าวข้ามไป เมื่อลมหายใจเบาลง หลังจากนั้น กระทั่งลมหายใจและการภาวนาก็หายไป ร่างกายเหมือนกลายเป็นหินไป ความรู้สึกรวมอยู่จุดเดียว สว่างโพรงเฉพาะหน้าไม่สนใจอารมณ์อื่น ให้กำหนดใจว่าเราจะอยู่ในอารมณ์นี้ประมาณครึ่งชั่วโมงหรือประมาณหนึ่งชั่วโมงแล้วก็ถอยออกมา จิตมันมีสภาพจำ เมื่อถึงเวลามันจะถอยออกมาของมันเอง จะได้ไม่เผลอข้ามคืนข้ามวันไปโดยไม่รู้ตัว สมาธิยิ่งลึกเท่าไหร่เวลาผ่านไปแบบไม่รู้ตัวมากเท่านั้น เรารู้สึกว่าแป๊บเดียวบางที่ผ่านไปครึ่งค่อนวัน ข้ามคืนไปแล้วก็มี พวกขั้นตอนเหล่านี้เราต้องจดจำให้ขึ้นใจ ถึงเวลาถึงวาระอารมณ์ใจอะไรเกิดขึ้น เราจะต้องรับมือมันได้ตามขั้นตอนที่ว่ามา จะได้ไม่เสียประโยชน์ของเราเอง ตัวผมเองติดอยู่ในขั้นตอนเหล่านี้แค่อารมณ์ปฐมฌาน ผมติดอยู่ตั้ง 3 ปี เพราะว่ารู้ขั้นตอนมันหมด ก็เลยตามดูตามจี้มันอยู่ตลอด โดยที่ไม่รู้ว่าตัวนั้นเป็นอารมณ์ฟุ้งซ่าน จนกระทั่งวันหนึ่งทำใจไว้ว่าต่อไปนี้มันจะเป็นหรือไม่เป็นก็ช่างเถอะ เราภาวนาก็แล้วกัน คิดอยู่แค่นั้นอารมณ์ทรงตัวทันที ดังนั้นพวกเราอย่าก้าวข้ามขั้นตอนไป หรือว่าอย่าไปตามจี้ขั้นตอนของมัน อารมณ์ใจของเราเป็นอย่างไรให้เรารับรู้เอาสติกำหนดรู้เท่านั้น อีกอย่างหนึ่งคือตัวเมตตา ตัวพรหมวิหาร 4 เป็นตัวที่จะหล่อเลี้ยงจิตใจของเราให้เยือกเย็น หล่อเลี้ยงกรรมฐานให้เจริญยั่งยืนได้ แต่ละวันพยายามแผ่เมตตา โดยให้อารมณ์ใจทรงตัวในลักษณะที่เคยสอนไปให้มากที่สุด การที่เราแผ่เมตตาออกไป นอกจากจะทำให้คนและสัตว์ทั้งหลาย ตลอดจนกระทั่งสิ่งที่เราไม่เห็นตัว คือเหล่าอทิสมารกายต่าง ๆ เป็นมิตรกับเรามีความรักใคร่ให้การสงเคราะห์กับเราแล้ว กำลังใจที่ทรงตัว ด้วยอารมณ์ของพรหมวิหารนั้น จะก้าวขึ้นสู่ระดับความพระอริยเจ้าง่ายมาก เพราะว่าจิตที่มีเมตตา ไม่คิดเบียดเบียนใคร อารมณ์ใจที่ทรงไว้อยู่อย่างนั้น ศีลทุกข้อจะรักษาได้โดยอัตโนมัติ เรารักเขา เราสงสารเขา เราก็จะไม่ฆ่าเขา เรารักเขา เราสงสารเขาเราก็ไม่ลักขโมยเขา เรารักเขา เราสงสารเขา เราก็ไม่ละเมิดในคนที่เขารัก เรารักเขา เราสงสารเขา เราอย่าไม่โกหกเขา เราอยากมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยากเห็นคนอื่นมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เราก็ไม่ดื่มเครื่องดองของเมา และก็ไม่แนะนำให้คนอื่นทำเช่นนั้นด้วย

    ดังนั้นการปฏิบัติของเราทุกครั้ง ลมหายใจเข้าออกเป็นหลักสำคัญประการที่หนึ่ง ประการที่สองก็คือต้องแผ่เมตตาอารมณ์ใจของเราทรงตัวทุกครั้ง ประการสุดท้ายก็คือพยายามพิจารณาให้เห็นสภาพร่างกายของเรานี้ให้เห็นว่ามันไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด ให้เห็นว่าถ้าหากเรายึดถือมั่นหมายยึดเกาะติดอยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นส่วนหยาบ ส่วนละเอียด มีรูปหรือไม่มีรูป ล้วนแล้วแต่พาให้เราทุกข์โดยเฉพาะการอยู่กับร่างกายนี้มีแต่ความทุกข์ การดำเนินชีวิตอยู่ในโลกนี้มีแต่ความทุกข์ พยายามหลีกหนีมันไปให้พ้นให้ได้ อีกอย่างหนึ่งที่ต้องดูให้เห็นชัดเจนก็คือ ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม ประกอบขึ้นมาให้เราอาศัยอยู่เท่านั้น เมื่อถึงวาระ ถึงเวลา มันพังสลายลงไป เราก็ต้องแยกจากมันไป
    ต้องดูให้เห็นให้ชัดเจน เพื่อที่จิตจะได้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราเอง จะได้ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของคนอื่นเขา เห็นทุกอย่างให้ไม่เที่ยงเห็นทุกอย่างว่าให้เป็นทุกข์ เห็นทุกอย่างว่าไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา โดยเฉพาะอารมณ์กระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ก็ระมัดระวังให้จงหนัก สิ่งที่ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ต้องหยุดมันไว้ให้ทัน ให้มันอยู่แค่ตรงที่สัมผัสนั้น อย่าให้มันเข้ามาในใจ พอมันเข้ามาในใจปุ๊บ จิตสังขารก็เริ่มนึกคิดปรุงแต่ง ชอบหรือไม่ชอบเป็นโทษทั้งสิ้น ชอบเป็นราคา ไม่ชอบเป็นโทสะ

    ทันทีที่เราปรุงแต่งปุ๊บ ราคะ โทสะ โมหะ มันจะเจริญงอกงามทันที ต้องระวังมันไว้ให้ทัน หยุดมันไว้ให้ทัน ถ้าสติของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก สติจะแหลมคม ปัญญาจะกระจ่าง จะสามารถรู้เท่าทันและหยุดมันเอาไว้ได้ ดังนั้นเราทิ้งลมหายใจเข้าออกไม่ได้ ไม่ว่าการปฏิบัติในระดับไหนก็ตาม ลมหายใจสำคัญที่สุด ตามมาด้วยเครื่องหล่อเลี้ยงคือเมตตา พรหมวิหารทั้ง 4 ข้อ และการพิจารณาให้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกาย โดยเฉพาะจุดสุดท้ายให้ทุกคนส่งกำลังใจเกาะพระนิพพานเอาไว้ เกาะพระนิพพานเอาไว้ตามกำลังของมโนยิทฺธิก็ดี ตามกำลังของอภิญญาฌานสมาบัติก็ดี หรือไม่ก็กำหนดภาพพระขึ้นตรงหน้า ตั้งใจว่านั่นเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เฉพาะพระนิพพานเท่านั้น เราเห็นท่านคือเราอยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน ให้ตั้งใจรู้อยู่เสมอว่าเราต้องตาย ตายเมื่อไหร่ เราจะไปพระนิพพานให้ได้ ไม่อย่างนั้นทุกข์เวรภัยต่าง ๆ ที่เราทำสร้างเอาไว้ ในอดีต มันจะลงโทษเรา ให้ตกนรก ลำบากอย่างไม่รู้จบ แทบจะไม่เห็นว่ามันจะสิ้นสุดลงตรงไหน จะต้องเกิดเป็นเปรตอดอยากหิวโหยอยู่ในระยะเวลาอันเนิ่นนานเหลือเกิน จะต้องเกิดเป็นอสูรกายหลบ ๆ ซ่อน ๆ หากินไม่เต็มปากเต็มท้อง จะต้องเป็นสัตว์เดรัจฉาน ลำบากด้วยการหากินไม่ได้อย่างใจ ปรารถนาอย่างหนึ่งอาจจะได้อย่างหนึ่งตกอยู่ในภัยอันตรายตลอดเวลา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะต้องพิจารณาให้เห็น ถ้าเราไปนิพพานไม่ได้ เราต้องพบกับมันแน่ ๆ ดังนั้น มีเวลาว่างเมื่อไหร่ ส่งกำลังใจเกาะนิพพานไว้ให้เป็นปกติ ตั้งใจแผ่เมตตา เห็นหมู หมา กาไก่ ก็ดี เห็นคนก็ดี ให้มีจิตประกอบไปด้วยเมตตาพรหมวิหารอยู่เสมอ เห็นเขาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บตายทั้งสิ้น

    สิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ การปฏิบัติของเราจะโดนทดสอบอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะสิ่งที่กระทบแล้วให้เกิด รักเกิดชอบใจ สิ่งที่กระทบแล้วให้เกิดโทสะจริตขึ้นมา ต้องดูต้องรู้เท่าทันมัน ถ้าเราเห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้ เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายคนอื่น ตัวราคะ กับโลภะก็กำเริบไม่ได้ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่สลายตายพังไปหมด ไม่มีสิ่งใดทรงตัว ยึดถือมั่นหมายไปก็ทุกข์ มีกายหนึ่งก็ทุกข์ห้า มีสองกายก็ทุกข์สิบ มีสามกายก็ทุกข์สิบห้า มีแต่เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ส่วนอีกประการหนึ่งก็คือสภาพร่างกายเรานี้ถ้าหากเรายึดถือมั่นหมายมัน นอกจากอารมณ์ราคะ โลภะ เกิดแล้ว โทสะยังเกิดอีก โทสะส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากมานะ การถือตัวถือตน พอกระทบเข้า ความถือตัวบังเกิดขึ้น ได้ยินแล้วหูร้อน ได้ยินแล้วตาร้อน ส่วนใหญ่เอาตัวเองเข้าไปเปรียบ เอาตัวเองเข้าไปวัด แล้วกำหนดมาตรฐานขึ้นมาเอง ดังนั้นเราจะต้องรู้เท่าทันมัน ต้องคิดให้เป็นปล่อยให้เป็น วางให้เป็น

    ทันทีที่ตาเห็นแล้ว ไม่ชอบใจ ทันทีที่หูได้ยินแล้วไม่ชอบใจ ทันทีที่จมูกได้กลิ่นแล้วไม่ชอบใจ ทันทีที่ลิ้นได้รสแล้วไม่ชอบใจ ทันทีที่กายสัมผัสไม่ชอบใจ ก็อย่าให้มันเข้ามาในใจเลย มันจะได้ไม่กระทบ ชอบหรือไม่ชอบจะได้จบลงตรงนั้น ถ้ากระทบแล้วอารมณ์โทสะมันเกิด ให้พิจารณาดู โดยเฉพาะสิ่งที่คนอื่นเขาทำให้เห็น สิ่งที่คนอื่นเขาพูดให้ได้ยิน ต้องแยกแยะ ต้องพิจารณาให้เป็น อันดับแรกให้ดูว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นจริงมั้ย สิ่งที่เค้าพูดนั้นเป็นจริงมั้ย ถ้ามันเป็นความจริง เราไม่ควรจะไปโกรธไปเกลียดเขา เขาอุตสาห์ลงทุนยอมเป็นกระจกส่องให้เห็นในหน้าอันน่าเกลียดน่าชังของเราเอง จะได้แก้ไขเพื่อที่มันจะได้ดีขึ้น เราควรจะโกรธกระจกหรือไม่ คนที่ทำให้เราเห็นตัวของเราเอง ก็จัดว่าเขาเป็นครู นักเรียนคนไหนเกลียดครู นักเรียนคนนั้นเอาดีไม่ได้ หาความก้าวหน้าไม่ได้ ดังนั้นถ้าว่ามันเป็นจริง ควรจะรับไว้ด้วยความขอบคุณ แล้วพยายามแก้ไขตัวเราไป ถ้ามันไม่มีความเป็นจริง บุคคลที่โง่เขลาเบาปัญญา กระทั่งความจริงเป็นอย่างไร เขาก็ยังไม่รู้ คนแบบนี้น่าสงสารมากกว่าน่าโกรธ ใหอภัยเขาเถอะ สงสารเขาเถอะ คนที่อารมณ์ใจเป็นแบบนี้ กายวาจาใจเป็นแบบนี้ เขายังต้องเกิดอีกนาน ยังต้องทุกข์ยากลำบากอีกนาน เราจะโกรธเขาไม่โกรธเขา เบียดเบียนไม่เบียดเบียนเขาก็ทุกข์อยู่แล้ว ถ้าเรารู้จักคิดดังนี้ อารมณ์โกรธ มันจะไม่สะสมอยู่ในจิตของเรา ถ้าคิดไม่เป็นมันสะสมไปเรื่อย ๆ ทีละเล็กทีละน้อย ท้ายที่สุด ผลสุดท้ายนั้นจะโชคร้าย พอเขากระทบนิดเดียวเราก็ระเบิดตูมใส่หน้าเขา บางคนก็จะสงสัยว่าเอ๊ะ ทำนิดเดียวแค่นี้โกรธขนาดนี้เชียวหรือ บางคนแทบจะฆ่าให้ตายไปเลยก็มี เพราะว่าคิดไม่เป็น ปล่อยวางอารมณ์ไม่เป็น ตัดอารมณ์ทิ้งไม่เป็น ต้องรู้จักวิเคราะห์ รู้จักวิจัย รู้จ้กดูความก้าวหน้าของตนเอง วันนี้รัก โลภ โกรธ หลงของเรา ลดลงหรือไม่ มีโอกาสให้รัก ให้ชอบใจ มีโอกาสให้อยากได้ใครดี เราตัดมันได้หรือไม่ อารมณ์รักตัดได้ด้วยอสุภกรรมฐาน กายคตานุกรรมฐาน ด้วยโลภตัดได้ด้วยจาทานุสติ และตัดด้วยทานบารมีคือการเสียสละให้ปันเขา มีโอกาสให้เราละเว้นโอกาสนั้นหรือเปล่า มีความตระหนี่ถี่เหนียวอยู่ในใจหรือเปล่า อารมณ์โทสะ แก้ไขได้ด้วยพรหมวิหาร 4 รักเขาเสมอตัวเราก็อย่าไปโกรธไปเคืองเขา สงสารอยากให้เขาพ้นทุกข์ก็อย่าไปเบียดเบียนเขา แม้แต่ด้วยกาย วาจา หรือใจ เห็นเขาได้ดีอย่าไปอิจฉาริษยาเขา มันทำให้ใจของเราเศร้าหมอง มันทำให้ตัวของเราตกต่ำเอง พยายามยินดีกับความดีของของ เขาต้องสร้างบุญไว้ดี ในอดีต ปัจจุบันเขาถึงได้รับความดีอย่างนั้น ถ้าเราอยากได้ดีแบบนั้นเราต้องสร้างปัจจุบันนี้ให้ดีอนาคตข้างหน้าเราก็จะดีเช่นเขา หรือดีกว่าเขา ถ้าทุกสิ่งทุกอย่าง เราพยายามสงเคราะห์ พยายามช่วยเหลือแล้ว ไม่อาจสงเคราะห์ไม่อาจช่วยเหลือได้ เราต้องหยุด รักษากำลังใจของเราให้ดีจะได้ไม่ไปเศร้าหมอง ไม่ไปคิดมากอยู่กับมัน และที่สำคัญก็คือถ้าหากว่าเราปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้ เราก็หลุดพ้นไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างถ้าหยุดลงเป็น มันจะเป็น สังคฤเสกฐายา สักแต่ว่าอยู่ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าทำ รู้ว่าดีก็ทำ รู้ว่าชั่วก็ละ ใจไม่เกาะทั้งดีทั้งชั่ว ไม่เกาะแม้ร่างกายตัวเอง ไม่เกาะทั้งร่างกายคนอื่น ไม่เกาะโลกไหน ๆที่ไม่ใช่พระนิพพาน จิตใจทั้งหมดปล่อยวาง อารมณ์พระนิพพานจะเต็มอยู่ในใจเอง แรก ๆ เราก็ต้องเกาะ แต่ถ้าดำเนินมาถึงจุดนี้ไม่ต้องเกาะแล้ว อารมณ์พระนิพพานที่เต็มอยู่ในใจ จะทำให้เรารู้ว่าตายตอนนี้เราก็นิพพานตอนนี้ นั่นแหละที่ภาษาพระท่านบอกว่า ฌานคือช่วงรู้มันเกิดขึ้น แต่ถึงช่วงรู้มันเกิดขึ้นเราก็ประมาทไม่ได้ ต้องพยายามประคับประคองรักษาอารมณ์พระนิพพานให้อยู่กับเรา แรก ๆ เราต้องส่งใจขึ้นไปก่อน แต่พออารมณ์นิพพานเต็มอยู่ในใจ มันไม่ต้องเกาะอะไรแล้ว ให้ทุกสิ่งทุกอย่างปล่อยหมด วางหมด มันจะเป็นไปเฉพาะหน้าของมันเท่านั้น คือร่างกาย ก็ทำหน้าที่ของตนไป อะไรเกิดขึ้นกับมันก็รับรู้แก้ไขไปเพลง แก้ไขได้ตกก็ไม่ยินดี แก้ไขไม่ตกก็ไม่ยินร้าย รู้อยู่ว่าการเกิดของร่างกายมันเป็นแบบนี้ อารมณ์จิตมันจะปล่อยวางทั้งหมด ทุกข์ทั้งหลายที่ส่วนใหญ่แล้วคนเขาแบกเอาไว้ เมื่อถึงตอนนั้น ถึงวาระนั้น ทุกข์เป็นเครื่องที่เรากำหนดรู้เท่านั้น รู้แล้วก็ปล่อยมันเอาไว้ตรงนั้น วางไว้ตรงนั้น จิตใจก็เบา สบายแต่มีความสุข เรื่องทุกข์ต่างต่างเป็นเรื่องของร่างกาย เขาจะเห็นอย่างชัดเจน ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด มีแต่บารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งของเรา มีแต่พระนิพพานเป็นแรงใจของเราเท่านั้น อารมณ์ใจสุดท้ายให้เกาะพระนิพพานไว้ลักษณะอย่างนี้ ถ้าไม่ต้องเกาะมีพระนิพพานอยู่ในจิตในใจเลย ตรึงอยู่ในจิตในใจเลยยิ่งเป็นการดี ดังนั้นเรายิ่งต้องทบทวนตัวเอง ยิ่งต้องฝึกฝนตัวเองให้มากเข้าไว้ เมื่อถึงวาระ ถึงเวลาจะได้ยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน ครูบาอาจารย์ไม่ได้อยู่กับเราตลอด ถึงเวลาต่างคนก็ต่างไป ต่างคนต่างตาย เกาะความดีก็ไปดี เกาะความชั่วก็ไปชั่ว ไม่เกาะอะไรเลยก็ไปนิพพาน

    ขอให้ทุกคนนึกถึงขั้นตอนต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่งว่า ลมหายใจเข้าออก ทิ้งไม่ได้ เมตตาพรหมวิหารต้องให้ทรงตัว การพิจารณาวิปัสสนาญานก็ให้มี และจิตสุดท้ายก็ให้เกาะที่พระนิพพาน กำหนดสติ สมาธิ ปัญญา รู้เท่าทันสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ กระทบแล้วก็วางมันลง อย่าไปนึก ไปคิด ไปปรุง ไปแต่ง ถ้าคิดปรุงแต่งเมื่อไหร่ ก็ชอบหรือไม่ชอบเมื่อนั้น แต่ละวันรักษาอารมณ์ใจเราให้ได้อย่านี้ทุกวัน ๆ อย่าลืมใช้ฝึกฝนใจไปเกาะนิพพานให้ได้ ขั้นตอนการปฏิบัติ ทบทวนแบบนี้ทุกวัน ๆ ทำแบบนี้ทุกวัน ย้ำแล้วย้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก ต่อให้มั่นใจขนาดไหนก็ต้องทวนเอาไว้เพื่อความทั้งปัจจุบันและอนาคตของเรา อย่าลืมว่าคลายอารมณ์ออกมาแล้วรักษามันให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้

    ******จบไฟล์ที่เจ็ด*****
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2005
  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    *เทสต์..จ้า (แต่ยังไม่เสร็จ)

    คราวนี้เราก็เท่ากับว่าเริ่มกรรมฐานรอบใหม่ของปีใหม่ ทิ้งกันไปหลายวันให้ทำกันเอง กำลังใจก็ไม่ทรงตัว คราวนี้ว่าพวกเราทุกคนจำเป็นที่จะต้องรักษากำลังใจให้ทรงตัวให้ได้
    เพราะว่าการเกาะในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเกาะในครูบาอาจารย์ ขอให้เกาะให้ถูกต้อง ถ้าตราบใดที่เรายังต้องอาศัยท่านอยู่ โดยเฉพาะครูบาอาจารย์ที่มีกายเนื้อ ถ้าตราบนั้นเรายังเอาตัวรอดไม่ได้
    พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า"อตตาหิ อตตโนนาโถ" ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ถ้าหากว่าเรายังไม่สามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ต่อไปถ้าหากว่าสิ้นท่านไป เราก็จะเคว้งคว้างหาที่เกาะไม่ได้
    พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสไว้ว่าของให้มีตัวเองเป็นเกาะ ขอให้มีตัวเองเป็นฝั่ง เพื่อที่จะให้ข้ามวัฏฏะสงสารนี้ให้ได้ การมีตัวเองเป็นเกาะ คืออย่างน้อย ๆต้องสร้างศีล สมาธิ ปัญญา ให้ทรงตัว เพื่อว่าเราอยู่ท่ามกลางทะเลทุกข์นี้ ถ้าเรามีเกาะเป็นเครื่องอาศัยเราก็จะทุกข์น้อยกว่าคนอื่น หรือว่ามีตนเองเป็นฝั่ง คือเราจะสามารถก้าวล่วงทะเลทุกข์นี้ขึ้นสู่ฝั่งได้ อันนี้ก็ถือว่าประเสริฐที่สุด การปฏิบัติทุกครั้ง อย่าลืมเริ่มต้นที่ลมหายใจเข้าออก สติทั้งหมดอยู่ทีลมหายใจ หายใจเข้ารู้อยู่ หายใจออกรู้อยู่ หายใจเข้ากระทบจมูก กระทบกึ่งกลางอก ลงไปสุดที่ท้องให้รู้ตลอดไป หายใจออกจากท้องผ่านกึ่งกลางออก มากระทบปลายจมูกให้รู้อยู่ตลอดไป สติมันเคลื่อนไปสู่อารมณ์อื่นเมื่อไหร่ ให้ดึงมันกลับมาสู่ลมหายใจเข้าออกเมื่อนั้น ถ้าเราหมั่นทำอย่างนี้บ่อย ๆ กำลังใจจะทรงตัวได้ง่าย ก้าวถึงระดับของฌาน สมาบัติ ได้ง่าย คราวนี้มันมีอยู่จุดหนึ่งที่อยากจะเตือนคือว่า พวกเราพอก้าวถึงความมั่นคงระดับหนึ่งแล้ว มันผ่านขั้นตอนอะไรมา เรามักจะไปตามดูตามจี้มันอยู่ตรงนั้น ซึ่งอันนี้ผิด อย่างการทรงปฐมฌาน มันจะผ่านอารมณ์วิตกคือนึกอยู่ว่าภาวนา วิจารณ์คือ รู้อยู่ว่าตอนนี้ภาวนาอยู่ ลมหายใจแรงหรือเบา ยาวหรือสั้น คำภาวนาว่าอะไรรู้อยู่ ปิติ มี อาการ ต่าง ๆ ๕ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือขนลุก น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง ร่างกายลอยขึ้น หรือว่าพองตัวใหญ่ ตัวรั่วเป็นรูมาก ๆ หรือว่าแตกไปเลย ถัดไปคือสุข ความเยือกเย็นใจเนื่องจากกำลังใจปนเปอยู่เฉพาะหน้า ทำให้รัก โลภ โกรธ หลง ที่แผดเผาเราอยู่ต้องตัดลงชั่วคราว มันเย็นกายเย็นใจบอกเป็นภาษาคนไม่ถูก อันดับสุดท้ายคือเอกัตถตา อารมณ์ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว ไม่เคลื่อนคล้อยไปที่อื่น

    คราวนี้พอขั้นตอนต่าง ๆ นี้เกิดขึ้น เราจำมันได้ พอถึงเวลาก็นี่วิตกนะ นี่วิจารณ์นะ นี่ปิตินะ เดี๋ยวมันจะต้องสุข เดี๋ยวมันจะต้องเป็นเอกัตถตา ถ้าเราไปตามจี้มันอยู่ในลักษณะนี้ อารมณ์มันจะไม่ทรงตัว เพราะอารมณ์ใจนั้นมันประกอบด้วยความอยากมากเกินไป
    มันเป็นอารมณ์ของอุทัตจะ อุสุตจะ คือความฟุ้งซ่านของใจเราเอง ความฟุ้งซ่านเป็นนิวรณ์คือกิเลสที่หยาบ ถ้าตราบใด กิเลสหยาบ๕ตัว ตัวใดตัวหนึ่งอยู่ในใจของเรา ตราบนั้นกำลังใจจะไม่ทรงตัว
    ดังนั้นให้เรากำหนดภาวนาเฉย ๆ กำหนดรู้ลมเฉย ๆ เรามีหน้าที่ภาวนา เราภาวนาของเราไป มันจะเป็นฌาน หรือไม่เป็นฌานเป็นเรื่องของมัน
    สิ่งที่ต้องระวังอีกจุดหนึ่งก็คือเมื่อก้าวเข้าถึงตัวปิติ อารมณ์ใจมันจะไม่อิ่ม ไม่เบื่อ ไม่หน่ายในการปฏิบัติ ต้องระมัดระวังไว้ ให้ตั้งเวลาการปฏิบัติไว้เอาประมาณครึ่งชั่วโมง หรืออย่าให้เกินหนึ่งชั่วโมง
    เหตุที่ต้องตั้งอารมณ์ปฏิบัติเอาไว้เพราะว่า ถ้าไปทุ่มเทมันมาก ๆ ก็เหมือนกับคนที่โหมทำงานหนัก ถึงเวลามันจะทรงตัวได้แค่ครั้งเดียว รุ่งขึ้นทำงานหนักอย่างเดิมไม่ได้ ขณะเดียวกัน การปฏิบัตินั้น ถ้าเราไม่ถอนอารมณ์ใจออกมา มันข้ามวัน ข้ามคืน ข้ามเดือนโดยไม่รู้ตัว ร่างกายทนไม่ไหว ประสาทร่างกายมันชำรุดลง อันตรายมันจะเกิดขึ้น คืออยู่ในลักษณะที่เรียกว่าสัมมัตฐานแตก สติแตก หรือบางคนก็ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ ทำให้เป็นบ้าไป
    จริง ๆ แล้วกรรมฐานช่วยให้หายบ้าที่ทำแล้วเป็นบ้า เพราะว่าทำมากเกินไปไม่รู้จักประมาณ เมื่อเราตั้งเวลาไว้ครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมงแล้ว เมื่อเลิกจากนั้นให้ประคับประคองรักษาอารมณ์ของเราให้อยู่ตลอด เปลี่ยนอิริยาบทอื่น ไปทำการทำงาน จากนั่งเป็นยืน เป็นเดิน เป็นนอน การเปลี่ยนอิริยาบท ร่างกายจะได้พักผ่อน มันจะได้ไม่ตึงจนเกินไป

    ส่วนอีกจุดหนึ่งก็คือ เมื่ออารมณ์ใจเริ่มก้าวสู่สมาธิที่สูงขึ้น ลมหายใจเข้าออกมันจะเบาลงโดยอัตโนมัติ ละเอียดลงโดยอัตโนมัติ บางทีคำภาวนาก็หายไป บางทีลมหายใจพร้อมกับคำภาวนาก็หายไปด้วยกัน บางคนรู้สึกตกใจว่า เอ๊ะ เราไม่ได้หายใจ เอ๊ะ เราไม่ได้ภาวนา แล้วก็รีบตะเกียกตะกายหายใจใหม่ ภาวนาใหม่
    อันนั้นทำให้กำลังใจถอยกลับมาสู่จุดแรกเริ่ม เขาให้กำหนดรู้ไว้เฉย ๆ ให้รู้ว่าตอนนี้ลมหายใจมันเบา ตอนนี้คำภาวนามันหายไป รู้ไว้เฉย ๆ ไม่ต้องไปตกอกตกใจ ไม่ต้องไปอยากมัน ไม่ต้องไปสนใจว่าขั้นตอนต่อไปมันจะเป็นอย่างไร รักษาอารมณ์ให้ทรงตัวให้เป็นปกติ เมื่อถึงเวลามันก็จะก้าวข้ามไป เมื่อลมหายใจเบาลง หลังจากนั้น กระทั่งลมหายใจและการภาวนาก็หายไป ร่างกายเหมือนกลายเป็นหินไป ความรู้สึกรวมอยู่จุดเดียว สว่างโพรงเฉพาะหน้า ไม่สนใจอารมณ์อื่น ให้กำหนดใจว่าเราจะอยู่ในอารมณ์นี้ประมาณครึ่งชั่วโมงหรือประมาณหนึ่งชั่วโมงแล้วก็ถอยออกมา จิตมันมีสภาพจำ เมื่อถึงเวลามันจะถอยออกมาของมันเอง จะได้ไม่เผลอข้ามคืนข้ามวันไปโดยไม่รู้ตัว
    สมาธิยิ่งลึกเท่าไหร่เวลาผ่านไปแบบไม่รู้ตัวมากเท่านั้น เรารู้สึกว่าแป๊บเดียวบางที่ผ่านไปครึ่งค่อนวัน ข้ามคืนไปแล้วก็มี พวกขั้นตอนเหล่านี้เราต้องจดจำให้ขึ้นใจ ถึงเวลาถึงวาระอารมณ์ใจอะไรเกิดขึ้น เราจะต้องรับมือมันได้ตามขั้นตอนที่ว่ามา จะได้ไม่เสียประโยชน์ของเราเอง
    ตัวผมเองติดอยู่ในขั้นตอนเหล่านี้แค่อารมณ์ปฐมฌาน ผมติดอยู่ตั้ง ๓ ปี เพราะว่ารู้ขั้นตอนมันหมด ก็เลยตามดูตามจี้มันอยู่ตลอด โดยที่ไม่รู้ว่าตัวนั้นเป็นอารมณ์ฟุ้งซ่าน จนกระทั่งวันหนึ่งทำใจไว้ว่าต่อไปนี้มันจะเป็นหรือไม่เป็นก็ช่างเถอะ เราภาวนาก็แล้วกัน คิดอยู่แค่นั้นอารมณ์ทรงตัวทันที
    ดังนั้นพวกเราอย่าก้าวข้ามขั้นตอนไป หรือว่าอย่าไปตามจี้ขั้นตอนของมัน อารมณ์ใจของเราเป็นอย่างไรให้เรารับรู้เอาสติกำหนดรู้เท่านั้น
    อีกอย่างหนึ่งคือตัวเมตตา ตัวพรหมวิหาร ๔ เป็นตัวที่จะหล่อเลี้ยงจิตใจของเราให้เยือกเย็น หล่อเลี้ยงกรรมฐานให้เจริญยั่งยืนได้ แต่ละวันพยายามแผ่เมตตา โดยให้อารมณ์ใจทรงตัวในลักษณะที่เคยสอนไปให้มากที่สุด
    การที่เราแผ่เมตตาออกไป นอกจากจะทำให้คนและสัตว์ทั้งหลาย ตลอดจนกระทั่งสิ่งที่เราไม่เห็นตัว คือเหล่าอทิสมารกายต่าง ๆ เป็นมิตรกับเรา มีความรักใคร่ให้การสงเคราะห์กับเราแล้ว กำลังใจที่ทรงตัว ด้วยอารมณ์ของพรหมวิหารนั้น จะก้าวขึ้นสู่ระดับความพระอริยเจ้าง่ายมาก เพราะว่าจิตที่มีเมตตา ไม่คิดเบียดเบียนใคร อารมณ์ใจที่ทรงไว้อยู่อย่างนั้น ศีลทุกข้อจะรักษาได้โดยอัตโนมัติ
    เรารักเขา เราสงสารเขา เราก็จะไม่ฆ่าเขา เรารักเขา เราสงสารเขาเราก็ไม่ลักขโมยเขา เรารักเขา เราสงสารเขา เราก็ไม่ละเมิดในคนที่เขารัก เรารักเขา เราสงสารเขา เราอย่าไม่โกหกเขา เราอยากมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยากเห็นคนอื่นมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เราก็ไม่ดื่มเครื่องดองของเมา และก็ไม่แนะนำให้คนอื่นทำเช่นนั้นด้วย
    ดังนั้นการปฏิบัติของเราทุกครั้ง ลมหายใจเข้าออกเป็นหลักสำคัญประการที่หนึ่ง ประการที่สองก็คือต้องแผ่เมตตาอารมณ์ใจของเราทรงตัวทุกครั้ง ประการสุดท้ายก็คือพยายามพิจารณาให้เห็นสภาพร่างกายของเรานี้ให้เห็นว่ามันไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด
    ให้เห็นว่าถ้าหากเรายึดถือมั่นหมายยึดเกาะติดอยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นส่วนหยาบ ส่วนละเอียด มีรูปหรือไม่มีรูป ล้วนแล้วแต่พาให้เราทุกข์โดยเฉพาะการอยู่กับร่างกายนี้มีแต่ความทุกข์ การดำเนินชีวิตอยู่ในโลกนี้มีแต่ความทุกข์ พยายามหลีกหนีมันไปให้พ้นให้ได้
    อีกอย่างหนึ่งที่ต้องดูให้เห็นชัดเจนก็คือ ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็น ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประกอบขึ้นมาให้เราอาศัยอยู่เท่านั้น เมื่อถึงวาระ ถึงเวลา มันพังสลายลงไป เราก็ต้องแยกจากมันไป
    ต้องดูให้เห็นให้ชัดเจน เพื่อที่จิตจะได้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราเอง จะได้ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของคนอื่นเขา เห็นทุกอย่างให้ไม่เที่ยงเห็นทุกอย่างว่าให้เป็นทุกข์ เห็นทุกอย่างว่าไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา โดยเฉพาะอารมณ์กระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ก็ระมัดระวังให้จงหนัก สิ่งที่ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ต้องหยุดมันไว้ให้ทัน ให้มันอยู่แค่ตรงที่สัมผัสนั้น อย่าให้มันเข้ามาในใจ พอมันเข้ามาในใจปุ๊บ จิตสังขารก็เริ่มนึกคิดปรุงแต่ง ชอบหรือไม่ชอบเป็นโทษทั้งสิ้น ชอบเป็นราคะ ไม่ชอบเป็นโทสะ
    ทันทีที่เราปรุงแต่งปุ๊บ ราคะ โทสะ โมหะ มันจะเจริญงอกงามทันที ต้องระวังมันไว้ให้ทัน หยุดมันไว้ให้ทัน ถ้าสติของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก สติจะแหลมคม ปัญญาจะกระจ่าง จะสามารถรู้เท่าทันและหยุดมันเอาไว้ได้
    ดังนั้นเราทิ้งลมหายใจเข้าออกไม่ได้ ไม่ว่าการปฏิบัติในระดับไหนก็ตาม ลมหายใจสำคัญที่สุด ตามมาด้วยเครื่องหล่อเลี้ยงคือเมตตา พรหมวิหารทั้ง ๔ ข้อ และการพิจารณาให้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกาย โดยเฉพาะจุดสุดท้ายให้ทุกคนส่งกำลังใจเกาะพระนิพพานเอาไว้ เกาะพระนิพพานเอาไว้ตามกำลังของมโนยิทฺธิก็ดี ตามกำลังของอภิญญาฌานสมาบัติก็ดี หรือไม่ก็กำหนดภาพพระขึ้นตรงหน้า ตั้งใจว่านั่นเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เฉพาะพระนิพพานเท่านั้น เราเห็นท่านคือเราอยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน ให้ตั้งใจรู้อยู่เสมอว่าเราต้องตาย ตายเมื่อไหร่ เราจะไปพระนิพพานให้ได้ ไม่อย่างนั้นทุกข์เวรภัยต่าง ๆ ที่เราทำสร้างเอาไว้ ในอดีต มันจะลงโทษเรา ให้ตกนรก ลำบากอย่างไม่รู้จบ แทบจะไม่เห็นว่ามันจะสิ้นสุดลงตรงไหน จะต้องเกิดเป็นเปรต อดอยากหิวโหยอยู่ในระยะเวลาอันเนิ่นนานเหลือเกิน จะต้องเกิดเป็นอสูรกายหลบ ๆ ซ่อน ๆ หากินไม่เต็มปากเต็มท้อง จะต้องเป็นสัตว์เดรัจฉาน ลำบากด้วยการหากินไม่ได้อย่างใจ ปรารถนาอย่างหนึ่งอาจจะได้อย่างหนึ่งตกอยู่ในภัยอันตรายตลอดเวลา
    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะต้องพิจารณาให้เห็น ถ้าเราไปนิพพานไม่ได้ เราต้องพบกับมันแน่ ๆ ดังนั้น มีเวลาว่างเมื่อไหร่ ส่งกำลังใจเกาะนิพพานไว้ให้เป็นปกติ ตั้งใจแผ่เมตตา เห็นหมู หมา กาไก่ ก็ดี เห็นคนก็ดี ให้มีจิตประกอบไปด้วยเมตตาพรหมวิหารอยู่เสมอ เห็นเขาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บตายทั้งสิ้น

    สิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ การปฏิบัติของเราจะโดนทดสอบอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะสิ่งที่กระทบแล้วให้เกิดรักเกิดชอบใจ สิ่งที่กระทบแล้วให้เกิดโทสะจริตขึ้นมา ต้องดูต้องรู้เท่าทันมัน ถ้าเราเห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้ เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายคนอื่น ตัวราคะ กับโลภะก็กำเริบไม่ได้ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่สลายตายพังไปหมด ไม่มีสิ่งใดทรงตัว ยึดถือมั่นหมายไปก็ทุกข์ มีกายหนึ่งก็ทุกข์ห้า มีสองกายก็ทุกข์สิบ มีสามกายก็ทุกข์สิบห้า มีแต่เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ส่วนอีกประการหนึ่งก็คือสภาพร่างกายเรานี้ถ้าหากเรายึดถือมั่นหมายมัน นอกจากอารมณ์ราคะ โลภะ เกิดแล้ว โทสะยังเกิดอีก โทสะส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากมานะ การถือตัวถือตน พอกระทบเข้า ความถือตัวบังเกิดขึ้น ได้ยินแล้วหูร้อน ได้ยินแล้วตาร้อน ส่วนใหญ่เอาตัวเองเข้าไปเปรียบ เอาตัวเองเข้าไปวัด แล้วกำหนดมาตรฐานขึ้นมาเอง ดังนั้นเราจะต้องรู้เท่าทันมัน ต้องคิดให้เป็นปล่อยให้เป็น วางให้เป็น

    ทันทีที่ตาเห็นแล้ว ไม่ชอบใจ ทันทีที่หูได้ยินแล้วไม่ชอบใจ ทันทีที่จมูกได้กลิ่นแล้วไม่ชอบใจ ทันทีที่ลิ้นได้รสแล้วไม่ชอบใจ ทันทีที่กายสัมผัสไม่ชอบใจ ก็อย่าให้มันเข้ามาในใจเลย มันจะได้ไม่กระทบ ชอบหรือไม่ชอบจะได้จบลงตรงนั้น ถ้ากระทบแล้วอารมณ์โทสะมันเกิด ให้พิจารณาดู โดยเฉพาะสิ่งที่คนอื่นเขาทำให้เห็น สิ่งที่คนอื่นเขาพูดให้ได้ยิน ต้องแยกแยะ ต้องพิจารณาให้เป็น อันดับแรกให้ดูว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นจริงมั้ย สิ่งที่เค้าพูดนั้นเป็นจริงมั้ย ถ้ามันเป็นความจริง เราไม่ควรจะไปโกรธไปเกลียดเขา เขาอุตสาห์ลงทุนยอมเป็นกระจกส่องให้เห็นในหน้าอันน่าเกลียดน่าชังของเราเอง จะได้แก้ไขเพื่อที่มันจะได้ดีขึ้น เราควรจะโกรธกระจกหรือไม่ คนที่ทำให้เราเห็นตัวของเราเอง ก็จัดว่าเขาเป็นครู นักเรียนคนไหนเกลียดครู นักเรียนคนนั้นเอาดีไม่ได้ หาความก้าวหน้าไม่ได้ ดังนั้นถ้าว่ามันเป็นจริง ควรจะรับไว้ด้วยความขอบคุณ แล้วพยายามแก้ไขตัวเราไป ถ้ามันไม่มีความเป็นจริง บุคคลที่โง่เขลาเบาปัญญา กระทั่งความจริงเป็นอย่างไร เขาก็ยังไม่รู้ คนแบบนี้น่าสงสารมากกว่าน่าโกรธ ใหอภัยเขาเถอะ สงสารเขาเถอะ คนที่อารมณ์ใจเป็นแบบนี้ กายวาจาใจเป็นแบบนี้ เขายังต้องเกิดอีกนาน ยังต้องทุกข์ยากลำบากอีกนาน เราจะโกรธเขาไม่โกรธเขา เบียดเบียนไม่เบียดเบียนเขาก็ทุกข์อยู่แล้ว ถ้าเรารู้จักคิดดังนี้ อารมณ์โกรธ มันจะไม่สะสมอยู่ในจิตของเรา ถ้าคิดไม่เป็นมันสะสมไปเรื่อย ๆ ทีละเล็กทีละน้อย ท้ายที่สุด ผลสุดท้ายนั้นจะโชคร้าย พอเขากระทบนิดเดียวเราก็ระเบิดตูมใส่หน้าเขา บางคนก็จะสงสัยว่าเอ๊ะ ทำนิดเดียวแค่นี้โกรธขนาดนี้เชียวหรือ บางคนแทบจะฆ่าให้ตายไปเลยก็มี เพราะว่าคิดไม่เป็น ปล่อยวางอารมณ์ไม่เป็น ตัดอารมณ์ทิ้งไม่เป็น
    ต้องรู้จักวิเคราะห์ รู้จักวิจัย รู้จ้กดูความก้าวหน้าของตนเอง วันนี้รัก โลภ โกรธ หลงของเรา ลดลงหรือไม่ มีโอกาสให้รัก ให้ชอบใจ มีโอกาสให้อยากได้ใครดี เราตัดมันได้หรือไม่ อารมณ์รักตัดได้ด้วยอสุภกรรมฐาน กายคตานุกรรมฐาน ด้วยโลภตัดได้ด้วยจาทานุสติ และตัดด้วยทานบารมีคือการเสียสละให้ปันเขา มีโอกาสให้เราละเว้นโอกาสนั้นหรือเปล่า มีความตระหนี่ถี่เหนียวอยู่ในใจหรือเปล่า อารมณ์โทสะ แก้ไขได้ด้วยพรหมวิหาร ๔
    รักเขาเสมอตัวเราก็อย่าไปโกรธไปเคืองเขา สงสารอยากให้เขาพ้นทุกข์ก็อย่าไปเบียดเบียนเขา แม้แต่ด้วยกาย วาจา หรือใจ เห็นเขาได้ดีอย่าไปอิจฉาริษยาเขา มันทำให้ใจของเราเศร้าหมอง มันทำให้ตัวของเราตกต่ำเอง พยายามยินดีกับความดีของของ เขาต้องสร้างบุญไว้ดี ในอดีต ปัจจุบันเขาถึงได้รับความดีอย่างนั้น ถ้าเราอยากได้ดีแบบนั้นเราต้องสร้างปัจจุบันนี้ให้ดีอนาคตข้างหน้าเราก็จะดีเช่นเขา หรือดีกว่าเขา ถ้าทุกสิ่งทุกอย่าง เราพยายามสงเคราะห์ พยายามช่วยเหลือแล้ว ไม่อาจสงเคราะห์ไม่อาจช่วยเหลือได้ เราต้องหยุด รักษากำลังใจของเราให้ดีจะได้ไม่ไปเศร้าหมอง ไม่ไปคิดมากอยู่กับมัน และที่สำคัญก็คือถ้าหากว่าเราปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้ เราก็หลุดพ้นไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างถ้าหยุดลงเป็น มันจะเป็น สังคฤเสกฐายา สักแต่ว่าอยู่ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าทำ รู้ว่าดีก็ทำ รู้ว่าชั่วก็ละ ใจไม่เกาะทั้งดีทั้งชั่ว ไม่เกาะแม้ร่างกายตัวเอง ไม่เกาะทั้งร่างกายคนอื่น ไม่เกาะโลกไหน ๆที่ไม่ใช่พระนิพพาน จิตใจทั้งหมดปล่อยวาง อารมณ์พระนิพพานจะเต็มอยู่ในใจเอง แรก ๆ เราก็ต้องเกาะ แต่ถ้าดำเนินมาถึงจุดนี้ไม่ต้องเกาะแล้ว อารมณ์พระนิพพานที่เต็มอยู่ในใจ จะทำให้เรารู้ว่าตายตอนนี้เราก็นิพพานตอนนี้
    นั่นแหละที่ภาษาพระท่านบอกว่า ฌานคือช่วงรู้มันเกิดขึ้น แต่ถึงช่วงรู้มันเกิดขึ้นเราก็ประมาทไม่ได้ ต้องพยายามประคับประคองรักษาอารมณ์พระนิพพานให้อยู่กับเรา แรก ๆ เราต้องส่งใจขึ้นไปก่อน แต่พออารมณ์นิพพานเต็มอยู่ในใจ มันไม่ต้องเกาะอะไรแล้ว ให้ทุกสิ่งทุกอย่างปล่อยหมด วางหมด มันจะเป็นไปเฉพาะหน้าของมันเท่านั้น คือร่างกาย ก็ทำหน้าที่ของตนไป อะไรเกิดขึ้นกับมันก็รับรู้แก้ไขไปเพลง แก้ไขได้ตกก็ไม่ยินดี แก้ไขไม่ตกก็ไม่ยินร้าย รู้อยู่ว่าการเกิดของร่างกายมันเป็นแบบนี้ อารมณ์จิตมันจะปล่อยวางทั้งหมด ทุกข์ทั้งหลายที่ส่วนใหญ่แล้วคนเขาแบกเอาไว้ เมื่อถึงตอนนั้น ถึงวาระนั้น ทุกข์เป็นเครื่องที่เรากำหนดรู้เท่านั้น รู้แล้วก็ปล่อยมันเอาไว้ตรงนั้น วางไว้ตรงนั้น จิตใจก็เบา สบายแต่มีความสุข เรื่องทุกข์ต่างต่างเป็นเรื่องของร่างกาย เขาจะเห็นอย่างชัดเจน ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด มีแต่บารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งของเรา มีแต่พระนิพพานเป็นแรงใจของเราเท่านั้น อารมณ์ใจสุดท้ายให้เกาะพระนิพพานไว้ลักษณะอย่างนี้ ถ้าไม่ต้องเกาะมีพระนิพพานอยู่ในจิตในใจเลย ตรึงอยู่ในจิตในใจเลยยิ่งเป็นการดี ดังนั้นเรายิ่งต้องทบทวนตัวเอง ยิ่งต้องฝึกฝนตัวเองให้มากเข้าไว้ เมื่อถึงวาระ ถึงเวลาจะได้ยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน ครูบาอาจารย์ไม่ได้อยู่กับเราตลอด ถึงเวลาต่างคนก็ต่างไป ต่างคนต่างตาย เกาะความดีก็ไปดี เกาะความชั่วก็ไปชั่ว ไม่เกาะอะไรเลยก็ไปนิพพาน

    ขอให้ทุกคนนึกถึงขั้นตอนต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่งว่า ลมหายใจเข้าออก ทิ้งไม่ได้ เมตตาพรหมวิหารต้องให้ทรงตัว การพิจารณาวิปัสสนาญานก็ให้มี และจิตสุดท้ายก็ให้เกาะที่พระนิพพาน กำหนดสติ สมาธิ ปัญญา รู้เท่าทันสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ กระทบแล้วก็วางมันลง อย่าไปนึก ไปคิด ไปปรุง ไปแต่ง ถ้าคิดปรุงแต่งเมื่อไหร่ ก็ชอบหรือไม่ชอบเมื่อนั้น แต่ละวันรักษาอารมณ์ใจเราให้ได้อย่านี้ทุกวัน ๆ อย่าลืมใช้ฝึกฝนใจไปเกาะนิพพานให้ได้ ขั้นตอนการปฏิบัติ ทบทวนแบบนี้ทุกวัน ๆ ทำแบบนี้ทุกวัน ย้ำแล้วย้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก ต่อให้มั่นใจขนาดไหนก็ต้องทวนเอาไว้เพื่อความทั้งปัจจุบันและอนาคตของเรา อย่าลืมว่าคลายอารมณ์ออกมาแล้วรักษามันให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้

    ******จบไฟล์ที่เจ็ด*****
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2005
  4. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    test..จ้า

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #f58105 3px dashed; BORDER-TOP: #f58105 3px dashed; BORDER-LEFT: #f58105 3px dashed; BORDER-BOTTOM: #f58105 3px dashed" cellSpacing=5 cellPadding=5 bgColor=#fbbe7d>
    <TBODY>
    <TR>
    <TD style="BORDER-RIGHT: #8a643c 3px dashed; BORDER-TOP: #8a643c 3px dashed; BORDER-LEFT: #8a643c 3px dashed; BORDER-BOTTOM: #8a643c 3px dashed" bgColor=#f6dabc>



    คราวนี้เราก็เท่ากับว่าเริ่มกรรมฐานรอบใหม่ของปีใหม่ ทิ้งกันไปหลายวันให้ทำกันเอง กำลังใจก็ไม่ทรงตัว คราวนี้ว่าพวกเราทุกคนจำเป็นที่จะต้องรักษากำลังใจให้ทรงตัวให้ได้

    เพราะว่าการเกาะในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเกาะในครูบาอาจารย์ ขอให้เกาะให้ถูกต้อง ถ้าตราบใดที่เรายังต้องอาศัยท่านอยู่ โดยเฉพาะครูบาอาจารย์ที่มีกายเนื้อ ถ้าตราบนั้นเรายังเอาตัวรอดไม่ได้
    พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า"อตตาหิ อตตโนนาโถ" ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ถ้าหากว่าเรายังไม่สามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ต่อไปถ้าหากว่าสิ้นท่านไป เราก็จะเคว้งคว้างหาที่เกาะไม่ได้
    พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสไว้ว่าของให้มีตัวเองเป็นเกาะ ขอให้มีตัวเองเป็นฝั่ง เพื่อที่จะให้ข้ามวัฏฏะสงสารนี้ให้ได้ การมีตัวเองเป็นเกาะ คืออย่างน้อย ๆต้องสร้างศีล สมาธิ ปัญญา ให้ทรงตัว เพื่อว่าเราอยู่ท่ามกลางทะเลทุกข์นี้ ถ้าเรามีเกาะเป็นเครื่องอาศัยเราก็จะทุกข์น้อยกว่าคนอื่น หรือว่ามีตนเองเป็นฝั่ง คือเราจะสามารถก้าวล่วงทะเลทุกข์นี้ขึ้นสู่ฝั่งได้ อันนี้ก็ถือว่าประเสริฐที่สุด การปฏิบัติทุกครั้ง อย่าลืมเริ่มต้นที่ลมหายใจเข้าออก สติทั้งหมดอยู่ทีลมหายใจ หายใจเข้ารู้อยู่ หายใจออกรู้อยู่ หายใจเข้ากระทบจมูก กระทบกึ่งกลางอก ลงไปสุดที่ท้องให้รู้ตลอดไป หายใจออกจากท้องผ่านกึ่งกลางออก มากระทบปลายจมูกให้รู้อยู่ตลอดไป สติมันเคลื่อนไปสู่อารมณ์อื่นเมื่อไหร่ ให้ดึงมันกลับมาสู่ลมหายใจเข้าออกเมื่อนั้น ถ้าเราหมั่นทำอย่างนี้บ่อย ๆ กำลังใจจะทรงตัวได้ง่าย ก้าวถึงระดับของฌาน สมาบัติ ได้ง่าย คราวนี้มันมีอยู่จุดหนึ่งที่อยากจะเตือนคือว่า พวกเราพอก้าวถึงความมั่นคงระดับหนึ่งแล้ว มันผ่านขั้นตอนอะไรมา เรามักจะไปตามดูตามจี้มันอยู่ตรงนั้น ซึ่งอันนี้ผิด อย่างการทรงปฐมฌาน มันจะผ่านอารมณ์วิตกคือนึกอยู่ว่าภาวนา วิจารณ์คือ รู้อยู่ว่าตอนนี้ภาวนาอยู่ ลมหายใจแรงหรือเบา ยาวหรือสั้น คำภาวนาว่าอะไรรู้อยู่ ปิติ มี อาการ ต่าง ๆ ๕ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือขนลุก น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง ร่างกายลอยขึ้น หรือว่าพองตัวใหญ่ ตัวรั่วเป็นรูมาก ๆ หรือว่าแตกไปเลย ถัดไปคือสุข ความเยือกเย็นใจเนื่องจากกำลังใจปนเปอยู่เฉพาะหน้า ทำให้รัก โลภ โกรธ หลง ที่แผดเผาเราอยู่ต้องตัดลงชั่วคราว มันเย็นกายเย็นใจบอกเป็นภาษาคนไม่ถูก อันดับสุดท้ายคือเอกัตถตา อารมณ์ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว ไม่เคลื่อนคล้อยไปที่อื่น

    คราวนี้พอขั้นตอนต่าง ๆ นี้เกิดขึ้น เราจำมันได้ พอถึงเวลาก็นี่วิตกนะ นี่วิจารณ์นะ นี่ปิตินะ เดี๋ยวมันจะต้องสุข เดี๋ยวมันจะต้องเป็นเอกัตถตา ถ้าเราไปตามจี้มันอยู่ในลักษณะนี้ อารมณ์มันจะไม่ทรงตัว เพราะอารมณ์ใจนั้นมันประกอบด้วยความอยากมากเกินไป
    มันเป็นอารมณ์ของอุทัตจะ อุสุตจะ คือความฟุ้งซ่านของใจเราเอง ความฟุ้งซ่านเป็นนิวรณ์คือกิเลสที่หยาบ ถ้าตราบใด กิเลสหยาบ๕ตัว ตัวใดตัวหนึ่งอยู่ในใจของเรา ตราบนั้นกำลังใจจะไม่ทรงตัว
    ดังนั้นให้เรากำหนดภาวนาเฉย ๆ กำหนดรู้ลมเฉย ๆ เรามีหน้าที่ภาวนา เราภาวนาของเราไป มันจะเป็นฌาน หรือไม่เป็นฌานเป็นเรื่องของมัน
    สิ่งที่ต้องระวังอีกจุดหนึ่งก็คือเมื่อก้าวเข้าถึงตัวปิติ อารมณ์ใจมันจะไม่อิ่ม ไม่เบื่อ ไม่หน่ายในการปฏิบัติ ต้องระมัดระวังไว้ ให้ตั้งเวลาการปฏิบัติไว้เอาประมาณครึ่งชั่วโมง หรืออย่าให้เกินหนึ่งชั่วโมง
    เหตุที่ต้องตั้งอารมณ์ปฏิบัติเอาไว้เพราะว่า ถ้าไปทุ่มเทมันมาก ๆ ก็เหมือนกับคนที่โหมทำงานหนัก ถึงเวลามันจะทรงตัวได้แค่ครั้งเดียว รุ่งขึ้นทำงานหนักอย่างเดิมไม่ได้ ขณะเดียวกัน การปฏิบัตินั้น ถ้าเราไม่ถอนอารมณ์ใจออกมา มันข้ามวัน ข้ามคืน ข้ามเดือนโดยไม่รู้ตัว ร่างกายทนไม่ไหว ประสาทร่างกายมันชำรุดลง อันตรายมันจะเกิดขึ้น คืออยู่ในลักษณะที่เรียกว่าสัมมัตฐานแตก สติแตก หรือบางคนก็ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ ทำให้เป็นบ้าไป
    จริง ๆ แล้วกรรมฐานช่วยให้หายบ้าที่ทำแล้วเป็นบ้า เพราะว่าทำมากเกินไปไม่รู้จักประมาณ เมื่อเราตั้งเวลาไว้ครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมงแล้ว เมื่อเลิกจากนั้นให้ประคับประคองรักษาอารมณ์ของเราให้อยู่ตลอด เปลี่ยนอิริยาบทอื่น ไปทำการทำงาน จากนั่งเป็นยืน เป็นเดิน เป็นนอน การเปลี่ยนอิริยาบท ร่างกายจะได้พักผ่อน มันจะได้ไม่ตึงจนเกินไป

    ส่วนอีกจุดหนึ่งก็คือ เมื่ออารมณ์ใจเริ่มก้าวสู่สมาธิที่สูงขึ้น ลมหายใจเข้าออกมันจะเบาลงโดยอัตโนมัติ ละเอียดลงโดยอัตโนมัติ บางทีคำภาวนาก็หายไป บางทีลมหายใจพร้อมกับคำภาวนาก็หายไปด้วยกัน บางคนรู้สึกตกใจว่า เอ๊ะ เราไม่ได้หายใจ เอ๊ะ เราไม่ได้ภาวนา แล้วก็รีบตะเกียกตะกายหายใจใหม่ ภาวนาใหม่
    อันนั้นทำให้กำลังใจถอยกลับมาสู่จุดแรกเริ่ม เขาให้กำหนดรู้ไว้เฉย ๆ ให้รู้ว่าตอนนี้ลมหายใจมันเบา ตอนนี้คำภาวนามันหายไป รู้ไว้เฉย ๆ ไม่ต้องไปตกอกตกใจ ไม่ต้องไปอยากมัน ไม่ต้องไปสนใจว่าขั้นตอนต่อไปมันจะเป็นอย่างไร รักษาอารมณ์ให้ทรงตัวให้เป็นปกติ เมื่อถึงเวลามันก็จะก้าวข้ามไป เมื่อลมหายใจเบาลง หลังจากนั้น กระทั่งลมหายใจและการภาวนาก็หายไป ร่างกายเหมือนกลายเป็นหินไป ความรู้สึกรวมอยู่จุดเดียว สว่างโพรงเฉพาะหน้า ไม่สนใจอารมณ์อื่น ให้กำหนดใจว่าเราจะอยู่ในอารมณ์นี้ประมาณครึ่งชั่วโมงหรือประมาณหนึ่งชั่วโมงแล้วก็ถอยออกมา จิตมันมีสภาพจำ เมื่อถึงเวลามันจะถอยออกมาของมันเอง จะได้ไม่เผลอข้ามคืนข้ามวันไปโดยไม่รู้ตัว
    สมาธิยิ่งลึกเท่าไหร่เวลาผ่านไปแบบไม่รู้ตัวมากเท่านั้น เรารู้สึกว่าแป๊บเดียวบางที่ผ่านไปครึ่งค่อนวัน ข้ามคืนไปแล้วก็มี พวกขั้นตอนเหล่านี้เราต้องจดจำให้ขึ้นใจ ถึงเวลาถึงวาระอารมณ์ใจอะไรเกิดขึ้น เราจะต้องรับมือมันได้ตามขั้นตอนที่ว่ามา จะได้ไม่เสียประโยชน์ของเราเอง
    ตัวผมเองติดอยู่ในขั้นตอนเหล่านี้แค่อารมณ์ปฐมฌาน ผมติดอยู่ตั้ง ๓ ปี เพราะว่ารู้ขั้นตอนมันหมด ก็เลยตามดูตามจี้มันอยู่ตลอด โดยที่ไม่รู้ว่าตัวนั้นเป็นอารมณ์ฟุ้งซ่าน จนกระทั่งวันหนึ่งทำใจไว้ว่าต่อไปนี้มันจะเป็นหรือไม่เป็นก็ช่างเถอะ เราภาวนาก็แล้วกัน คิดอยู่แค่นั้นอารมณ์ทรงตัวทันที
    ดังนั้นพวกเราอย่าก้าวข้ามขั้นตอนไป หรือว่าอย่าไปตามจี้ขั้นตอนของมัน อารมณ์ใจของเราเป็นอย่างไรให้เรารับรู้เอาสติกำหนดรู้เท่านั้น
    อีกอย่างหนึ่งคือตัวเมตตา ตัวพรหมวิหาร ๔ เป็นตัวที่จะหล่อเลี้ยงจิตใจของเราให้เยือกเย็น หล่อเลี้ยงกรรมฐานให้เจริญยั่งยืนได้ แต่ละวันพยายามแผ่เมตตา โดยให้อารมณ์ใจทรงตัวในลักษณะที่เคยสอนไปให้มากที่สุด
    การที่เราแผ่เมตตาออกไป นอกจากจะทำให้คนและสัตว์ทั้งหลาย ตลอดจนกระทั่งสิ่งที่เราไม่เห็นตัว คือเหล่าอทิสมารกายต่าง ๆ เป็นมิตรกับเรา มีความรักใคร่ให้การสงเคราะห์กับเราแล้ว กำลังใจที่ทรงตัว ด้วยอารมณ์ของพรหมวิหารนั้น จะก้าวขึ้นสู่ระดับความพระอริยเจ้าง่ายมาก เพราะว่าจิตที่มีเมตตา ไม่คิดเบียดเบียนใคร อารมณ์ใจที่ทรงไว้อยู่อย่างนั้น ศีลทุกข้อจะรักษาได้โดยอัตโนมัติ
    เรารักเขา เราสงสารเขา เราก็จะไม่ฆ่าเขา เรารักเขา เราสงสารเขาเราก็ไม่ลักขโมยเขา เรารักเขา เราสงสารเขา เราก็ไม่ละเมิดในคนที่เขารัก เรารักเขา เราสงสารเขา เราอย่าไม่โกหกเขา เราอยากมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยากเห็นคนอื่นมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เราก็ไม่ดื่มเครื่องดองของเมา และก็ไม่แนะนำให้คนอื่นทำเช่นนั้นด้วย
    ดังนั้นการปฏิบัติของเราทุกครั้ง ลมหายใจเข้าออกเป็นหลักสำคัญประการที่หนึ่ง ประการที่สองก็คือต้องแผ่เมตตาอารมณ์ใจของเราทรงตัวทุกครั้ง ประการสุดท้ายก็คือพยายามพิจารณาให้เห็นสภาพร่างกายของเรานี้ให้เห็นว่ามันไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด
    ให้เห็นว่าถ้าหากเรายึดถือมั่นหมายยึดเกาะติดอยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นส่วนหยาบ ส่วนละเอียด มีรูปหรือไม่มีรูป ล้วนแล้วแต่พาให้เราทุกข์โดยเฉพาะการอยู่กับร่างกายนี้มีแต่ความทุกข์ การดำเนินชีวิตอยู่ในโลกนี้มีแต่ความทุกข์ พยายามหลีกหนีมันไปให้พ้นให้ได้
    อีกอย่างหนึ่งที่ต้องดูให้เห็นชัดเจนก็คือ ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็น ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประกอบขึ้นมาให้เราอาศัยอยู่เท่านั้น เมื่อถึงวาระ ถึงเวลา มันพังสลายลงไป เราก็ต้องแยกจากมันไป
    ต้องดูให้เห็นให้ชัดเจน เพื่อที่จิตจะได้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราเอง จะได้ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของคนอื่นเขา เห็นทุกอย่างให้ไม่เที่ยงเห็นทุกอย่างว่าให้เป็นทุกข์ เห็นทุกอย่างว่าไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา โดยเฉพาะอารมณ์กระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ก็ระมัดระวังให้จงหนัก สิ่งที่ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ต้องหยุดมันไว้ให้ทัน ให้มันอยู่แค่ตรงที่สัมผัสนั้น อย่าให้มันเข้ามาในใจ พอมันเข้ามาในใจปุ๊บ จิตสังขารก็เริ่มนึกคิดปรุงแต่ง ชอบหรือไม่ชอบเป็นโทษทั้งสิ้น ชอบเป็นราคะ ไม่ชอบเป็นโทสะ
    ทันทีที่เราปรุงแต่งปุ๊บ ราคะ โทสะ โมหะ มันจะเจริญงอกงามทันที ต้องระวังมันไว้ให้ทัน หยุดมันไว้ให้ทัน ถ้าสติของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก สติจะแหลมคม ปัญญาจะกระจ่าง จะสามารถรู้เท่าทันและหยุดมันเอาไว้ได้
    ดังนั้นเราทิ้งลมหายใจเข้าออกไม่ได้ ไม่ว่าการปฏิบัติในระดับไหนก็ตาม ลมหายใจสำคัญที่สุด ตามมาด้วยเครื่องหล่อเลี้ยงคือเมตตา พรหมวิหารทั้ง ๔ ข้อ และการพิจารณาให้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกาย โดยเฉพาะจุดสุดท้ายให้ทุกคนส่งกำลังใจเกาะพระนิพพานเอาไว้ เกาะพระนิพพานเอาไว้ตามกำลังของมโนยิทฺธิก็ดี ตามกำลังของอภิญญาฌานสมาบัติก็ดี หรือไม่ก็กำหนดภาพพระขึ้นตรงหน้า ตั้งใจว่านั่นเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เฉพาะพระนิพพานเท่านั้น เราเห็นท่านคือเราอยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน ให้ตั้งใจรู้อยู่เสมอว่าเราต้องตาย ตายเมื่อไหร่ เราจะไปพระนิพพานให้ได้ ไม่อย่างนั้นทุกข์เวรภัยต่าง ๆ ที่เราทำสร้างเอาไว้ ในอดีต มันจะลงโทษเรา ให้ตกนรก ลำบากอย่างไม่รู้จบ แทบจะไม่เห็นว่ามันจะสิ้นสุดลงตรงไหน จะต้องเกิดเป็นเปรต อดอยากหิวโหยอยู่ในระยะเวลาอันเนิ่นนานเหลือเกิน จะต้องเกิดเป็นอสูรกายหลบ ๆ ซ่อน ๆ หากินไม่เต็มปากเต็มท้อง จะต้องเป็นสัตว์เดรัจฉาน ลำบากด้วยการหากินไม่ได้อย่างใจ ปรารถนาอย่างหนึ่งอาจจะได้อย่างหนึ่งตกอยู่ในภัยอันตรายตลอดเวลา
    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะต้องพิจารณาให้เห็น ถ้าเราไปนิพพานไม่ได้ เราต้องพบกับมันแน่ ๆ ดังนั้น มีเวลาว่างเมื่อไหร่ ส่งกำลังใจเกาะนิพพานไว้ให้เป็นปกติ ตั้งใจแผ่เมตตา เห็นหมู หมา กาไก่ ก็ดี เห็นคนก็ดี ให้มีจิตประกอบไปด้วยเมตตาพรหมวิหารอยู่เสมอ เห็นเขาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บตายทั้งสิ้น

    สิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ การปฏิบัติของเราจะโดนทดสอบอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะสิ่งที่กระทบแล้วให้เกิดรักเกิดชอบใจ สิ่งที่กระทบแล้วให้เกิดโทสะจริตขึ้นมา ต้องดูต้องรู้เท่าทันมัน ถ้าเราเห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้ เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายคนอื่น ตัวราคะ กับโลภะก็กำเริบไม่ได้ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่สลายตายพังไปหมด ไม่มีสิ่งใดทรงตัว ยึดถือมั่นหมายไปก็ทุกข์ มีกายหนึ่งก็ทุกข์ห้า มีสองกายก็ทุกข์สิบ มีสามกายก็ทุกข์สิบห้า มีแต่เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ส่วนอีกประการหนึ่งก็คือสภาพร่างกายเรานี้ถ้าหากเรายึดถือมั่นหมายมัน นอกจากอารมณ์ราคะ โลภะ เกิดแล้ว โทสะยังเกิดอีก โทสะส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากมานะ การถือตัวถือตน พอกระทบเข้า ความถือตัวบังเกิดขึ้น ได้ยินแล้วหูร้อน ได้ยินแล้วตาร้อน ส่วนใหญ่เอาตัวเองเข้าไปเปรียบ เอาตัวเองเข้าไปวัด แล้วกำหนดมาตรฐานขึ้นมาเอง ดังนั้นเราจะต้องรู้เท่าทันมัน ต้องคิดให้เป็นปล่อยให้เป็น วางให้เป็น

    ทันทีที่ตาเห็นแล้ว ไม่ชอบใจ ทันทีที่หูได้ยินแล้วไม่ชอบใจ ทันทีที่จมูกได้กลิ่นแล้วไม่ชอบใจ ทันทีที่ลิ้นได้รสแล้วไม่ชอบใจ ทันทีที่กายสัมผัสไม่ชอบใจ ก็อย่าให้มันเข้ามาในใจเลย มันจะได้ไม่กระทบ ชอบหรือไม่ชอบจะได้จบลงตรงนั้น ถ้ากระทบแล้วอารมณ์โทสะมันเกิด ให้พิจารณาดู โดยเฉพาะสิ่งที่คนอื่นเขาทำให้เห็น สิ่งที่คนอื่นเขาพูดให้ได้ยิน ต้องแยกแยะ ต้องพิจารณาให้เป็น อันดับแรกให้ดูว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นจริงมั้ย สิ่งที่เค้าพูดนั้นเป็นจริงมั้ย ถ้ามันเป็นความจริง เราไม่ควรจะไปโกรธไปเกลียดเขา เขาอุตสาห์ลงทุนยอมเป็นกระจกส่องให้เห็นในหน้าอันน่าเกลียดน่าชังของเราเอง จะได้แก้ไขเพื่อที่มันจะได้ดีขึ้น เราควรจะโกรธกระจกหรือไม่ คนที่ทำให้เราเห็นตัวของเราเอง ก็จัดว่าเขาเป็นครู นักเรียนคนไหนเกลียดครู นักเรียนคนนั้นเอาดีไม่ได้ หาความก้าวหน้าไม่ได้ ดังนั้นถ้าว่ามันเป็นจริง ควรจะรับไว้ด้วยความขอบคุณ แล้วพยายามแก้ไขตัวเราไป ถ้ามันไม่มีความเป็นจริง บุคคลที่โง่เขลาเบาปัญญา กระทั่งความจริงเป็นอย่างไร เขาก็ยังไม่รู้ คนแบบนี้น่าสงสารมากกว่าน่าโกรธ ใหอภัยเขาเถอะ สงสารเขาเถอะ คนที่อารมณ์ใจเป็นแบบนี้ กายวาจาใจเป็นแบบนี้ เขายังต้องเกิดอีกนาน ยังต้องทุกข์ยากลำบากอีกนาน เราจะโกรธเขาไม่โกรธเขา เบียดเบียนไม่เบียดเบียนเขาก็ทุกข์อยู่แล้ว ถ้าเรารู้จักคิดดังนี้ อารมณ์โกรธ มันจะไม่สะสมอยู่ในจิตของเรา ถ้าคิดไม่เป็นมันสะสมไปเรื่อย ๆ ทีละเล็กทีละน้อย ท้ายที่สุด ผลสุดท้ายนั้นจะโชคร้าย พอเขากระทบนิดเดียวเราก็ระเบิดตูมใส่หน้าเขา บางคนก็จะสงสัยว่าเอ๊ะ ทำนิดเดียวแค่นี้โกรธขนาดนี้เชียวหรือ บางคนแทบจะฆ่าให้ตายไปเลยก็มี เพราะว่าคิดไม่เป็น ปล่อยวางอารมณ์ไม่เป็น ตัดอารมณ์ทิ้งไม่เป็น
    ต้องรู้จักวิเคราะห์ รู้จักวิจัย รู้จ้กดูความก้าวหน้าของตนเอง วันนี้รัก โลภ โกรธ หลงของเรา ลดลงหรือไม่ มีโอกาสให้รัก ให้ชอบใจ มีโอกาสให้อยากได้ใครดี เราตัดมันได้หรือไม่ อารมณ์รักตัดได้ด้วยอสุภกรรมฐาน กายคตานุกรรมฐาน ด้วยโลภตัดได้ด้วยจาทานุสติ และตัดด้วยทานบารมีคือการเสียสละให้ปันเขา มีโอกาสให้เราละเว้นโอกาสนั้นหรือเปล่า มีความตระหนี่ถี่เหนียวอยู่ในใจหรือเปล่า อารมณ์โทสะ แก้ไขได้ด้วยพรหมวิหาร ๔
    รักเขาเสมอตัวเราก็อย่าไปโกรธไปเคืองเขา สงสารอยากให้เขาพ้นทุกข์ก็อย่าไปเบียดเบียนเขา แม้แต่ด้วยกาย วาจา หรือใจ เห็นเขาได้ดีอย่าไปอิจฉาริษยาเขา มันทำให้ใจของเราเศร้าหมอง มันทำให้ตัวของเราตกต่ำเอง พยายามยินดีกับความดีของของ เขาต้องสร้างบุญไว้ดี ในอดีต ปัจจุบันเขาถึงได้รับความดีอย่างนั้น ถ้าเราอยากได้ดีแบบนั้นเราต้องสร้างปัจจุบันนี้ให้ดีอนาคตข้างหน้าเราก็จะดีเช่นเขา หรือดีกว่าเขา ถ้าทุกสิ่งทุกอย่าง เราพยายามสงเคราะห์ พยายามช่วยเหลือแล้ว ไม่อาจสงเคราะห์ไม่อาจช่วยเหลือได้ เราต้องหยุด รักษากำลังใจของเราให้ดีจะได้ไม่ไปเศร้าหมอง ไม่ไปคิดมากอยู่กับมัน และที่สำคัญก็คือถ้าหากว่าเราปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้ เราก็หลุดพ้นไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างถ้าหยุดลงเป็น มันจะเป็น สังคฤเสกฐายา สักแต่ว่าอยู่ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าทำ รู้ว่าดีก็ทำ รู้ว่าชั่วก็ละ ใจไม่เกาะทั้งดีทั้งชั่ว ไม่เกาะแม้ร่างกายตัวเอง ไม่เกาะทั้งร่างกายคนอื่น ไม่เกาะโลกไหน ๆที่ไม่ใช่พระนิพพาน จิตใจทั้งหมดปล่อยวาง อารมณ์พระนิพพานจะเต็มอยู่ในใจเอง แรก ๆ เราก็ต้องเกาะ แต่ถ้าดำเนินมาถึงจุดนี้ไม่ต้องเกาะแล้ว อารมณ์พระนิพพานที่เต็มอยู่ในใจ จะทำให้เรารู้ว่าตายตอนนี้เราก็นิพพานตอนนี้
    นั่นแหละที่ภาษาพระท่านบอกว่า ฌานคือช่วงรู้มันเกิดขึ้น แต่ถึงช่วงรู้มันเกิดขึ้นเราก็ประมาทไม่ได้ ต้องพยายามประคับประคองรักษาอารมณ์พระนิพพานให้อยู่กับเรา แรก ๆ เราต้องส่งใจขึ้นไปก่อน แต่พออารมณ์นิพพานเต็มอยู่ในใจ มันไม่ต้องเกาะอะไรแล้ว ให้ทุกสิ่งทุกอย่างปล่อยหมด วางหมด มันจะเป็นไปเฉพาะหน้าของมันเท่านั้น คือร่างกาย ก็ทำหน้าที่ของตนไป อะไรเกิดขึ้นกับมันก็รับรู้แก้ไขไปเพลง แก้ไขได้ตกก็ไม่ยินดี แก้ไขไม่ตกก็ไม่ยินร้าย รู้อยู่ว่าการเกิดของร่างกายมันเป็นแบบนี้ อารมณ์จิตมันจะปล่อยวางทั้งหมด ทุกข์ทั้งหลายที่ส่วนใหญ่แล้วคนเขาแบกเอาไว้ เมื่อถึงตอนนั้น ถึงวาระนั้น ทุกข์เป็นเครื่องที่เรากำหนดรู้เท่านั้น รู้แล้วก็ปล่อยมันเอาไว้ตรงนั้น วางไว้ตรงนั้น จิตใจก็เบา สบายแต่มีความสุข เรื่องทุกข์ต่างต่างเป็นเรื่องของร่างกาย เขาจะเห็นอย่างชัดเจน ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด มีแต่บารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งของเรา มีแต่พระนิพพานเป็นแรงใจของเราเท่านั้น อารมณ์ใจสุดท้ายให้เกาะพระนิพพานไว้ลักษณะอย่างนี้ ถ้าไม่ต้องเกาะมีพระนิพพานอยู่ในจิตในใจเลย ตรึงอยู่ในจิตในใจเลยยิ่งเป็นการดี ดังนั้นเรายิ่งต้องทบทวนตัวเอง ยิ่งต้องฝึกฝนตัวเองให้มากเข้าไว้ เมื่อถึงวาระ ถึงเวลาจะได้ยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน ครูบาอาจารย์ไม่ได้อยู่กับเราตลอด ถึงเวลาต่างคนก็ต่างไป ต่างคนต่างตาย เกาะความดีก็ไปดี เกาะความชั่วก็ไปชั่ว ไม่เกาะอะไรเลยก็ไปนิพพาน

    ขอให้ทุกคนนึกถึงขั้นตอนต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่งว่า ลมหายใจเข้าออก ทิ้งไม่ได้ เมตตาพรหมวิหารต้องให้ทรงตัว การพิจารณาวิปัสสนาญานก็ให้มี และจิตสุดท้ายก็ให้เกาะที่พระนิพพาน กำหนดสติ สมาธิ ปัญญา รู้เท่าทันสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ กระทบแล้วก็วางมันลง อย่าไปนึก ไปคิด ไปปรุง ไปแต่ง ถ้าคิดปรุงแต่งเมื่อไหร่ ก็ชอบหรือไม่ชอบเมื่อนั้น แต่ละวันรักษาอารมณ์ใจเราให้ได้อย่านี้ทุกวัน ๆ อย่าลืมใช้ฝึกฝนใจไปเกาะนิพพานให้ได้ ขั้นตอนการปฏิบัติ ทบทวนแบบนี้ทุกวัน ๆ ทำแบบนี้ทุกวัน ย้ำแล้วย้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก ต่อให้มั่นใจขนาดไหนก็ต้องทวนเอาไว้เพื่อความทั้งปัจจุบันและอนาคตของเรา อย่าลืมว่าคลายอารมณ์ออกมาแล้วรักษามันให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้







    </TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2005
  5. ศีล5

    ศีล5 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +12
    วันนี้เราก็เท่ากับว่าเริ่มกรรมฐานรอบใหม่ของปีใหม่ ทิ้งกันไปหลายวัน
    ให้ทำกันเอง กำลังใจก็ไม่ค่อยทรงตัว คราวนี้ว่าพวกเราทุกคนจำเป็นที่จะต้องรักษากำลังใจให้ทรงตัวให้ได้ เพราะว่าอันดับแรก การเกาะในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือการเกาะในครูบาอาจารย์ ขอให้เกาะให้ถูกต้อง ถ้าตราบใดที่เรายังต้องอาศัยท่านอยู่ โดยเฉพาะครูบาอาจารย์ที่มีกายเนื้อ ตราบนั้นเรายังเอาตัวรอดไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า "อตตาหิ อตตโนนาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน" ถ้าเราไม่สามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง

    ต่อไปถ้าหากว่าสิ้นท่านไป เราก็จะเคว้งคว้างหาที่เกาะไม่ได้ พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสไว้ว่าของให้มีตนเองเกาะขอให้มีตัวเองเป็นฝั่ง เพื่อที่จะให้ข้ามวัฏฏะสงสารนี้ให้ได้ การมีตัวเองเป็นเกาะ คืออย่างน้อย ๆ ต้องสร้างศีล สมาธิ ปัญญา ให้ทรงตัว เพื่อว่าเราอยู่ท่ามกลางทะเลทุกข์นี้ ถ้าเรามีเกาะเป็นเครื่องอาศัยเราก็จะทุกข์น้อยกว่าคนอื่น หรือว่ามีตนเองเป็นฝั่ง คือเราจะสามารถก้าวล่วงทะเลทุกข์ขึ้นสู่ฝั่งได้ อันนี้ก็ถือว่าประเสริฐที่สุด

    การปฏิบัติทุกครั้งอย่าลืม เริ่มต้นที่ลมหายใจเข้าออก สติทั้งหมดให้อยู่กับลมหายใจ หายใจเข้ารู้อยู่ หายใจออกรู้อยู่ หายใจเข้ากระทบจมูก กระทบกึ่งกลางอก ลงไปสุดที่ท้องให้รู้ตลอดไป หายใจออกจากท้อง ผ่านกึ่งกลางอก
    มากระทบปลายจมูกให้รู้อยู่ตลอดไป สติมันเคลื่อนไปสู่อารมณ์อื่นเมื่อไหร่ ให้ดึงมันกลับมา สู่ลมหายใจเข้าออกเมื่อนั้น ถ้าเราหมั่นทำอย่างนี้บ่อย ๆ กำลังใจจะทรงตัวได้ง่าย ก้าวถึงระดับของฌาน สมาบัติ ได้ง่าย คราวนี้มันมีอยู่จุดหนึ่งที่อยากจะเตือนคือว่า

    พวกเราพอก้าวถึงความมั่นคงระดับหนึ่งแล้ว มันผ่านขั้นตอนอะไรมา เรามักจะไปตามดูตามจี้มันอยู่ตรงนั้น ซึ่งอันนี้ผิด อย่างการทรงปฐมฌาน มันจะผ่านอารมณ์วิตกคือนึกอยู่ว่าจะภาวนา วิจารณ์ คือ รู้อยู่ว่าตอนนี้ภาวนาอยู่ ลมหายใจแรงหรือเบา ยาวหรือสั้น คำภาวนาว่าอะไรรู้อยู่ ปิติ มีอาการ ต่าง ๆ 5 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือขนลุก น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง ร่างกายลอยขึ้น หรือว่าพองตัวใหญ่ ตัวรั่วเป็นรูมาก ๆ หรือว่าแตกระเบิดไปเลย

    ถัดไปคือสุข ความเยือกเย็นใจเนื่องจากกำลังใจปนเปอยู่เฉพาะหน้า ทำให้รัก โลภ โกรธ หลง ที่แผดเผาเราอยู่ต้องตัดลงชั่วคราว มันเย็นกายเย็นใจบอกเป็นภาษาคนไม่ถูก อันดับสุดท้ายคือเอกัตคตา อารมณ์ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว ไม่เคลื่อนคล้อยไปที่อื่น คราวนี้พอขั้นตอนต่าง ๆ นี้เกิดขึ้น เราจำมันได้ พอถึงเวลาก็เออนี่วิตกนะ นี่วิจารณ์นะ นี่ปิตินะ เดี๋ยวมันจะต้องสุข เดี๋ยวมันจะต้องเป็นเอกัตคตา ถ้าเราไปตามจี้มันอยู่ในลักษณะนี้ อารมณ์มันจะไม่ทรงตัว เพราะอารมณ์ใจนั้นมันประกอบด้วยความอยากมากเกินไป มันเป็นอารมณ์ของอุทัตจะ อุสุตจะ คือความฟุ้งซ่านของใจเราเอง

    ความฟุ้งซ่านเป็นนิวรณ์คือกิเลสที่หยาบ ถ้าตราบใด กิเลสหยาบห้าตัวตัวใดตัวหนึ่งอยู่ในใจของเรา ตราบนั้นกำลังใจจะไม่ทรงตัว ดังนั้นให้เรากำหนดภาวนาเฉย ๆ กำหนดรู้ลมเฉย ๆ เรามีหน้าที่ภาวนา เราภาวนาของเราไป มันจะเป็นฌาน หรือไม่เป็นฌานเป็นเรื่องของมัน จุดที่ต้องระวังอีกจุดหนึ่งก็คือเมื่อก้าวเข้าถึงตัวปิติ อารมณ์ใจมันจะไม่อิ่ม ไม่เบื่อ ไม่หน่ายในการปฏิบัติ ต้องระมัดระวังไว้ ให้ตั้งเวลาการปฏิบัติไว้เอาประมาณครึ่งชั่วโมง หรืออย่าให้เกินหนึ่งชั่วโมง เหตุที่ต้องตั้งอารมณ์ปฏิบัติเอาไว้เพราะว่า ถ้าไปทุ่มเทมันมาก ๆ ก็เหมือนกับคนที่โหมทำงานหนัก

    ถึงเวลามันจะทรงตัวได้แค่ครั้งเดียว แล้วหลังจากนั้นมันจะหมดเรี่ยวหมดแรง รุ่งขึ้นทำงานหนักอย่างเดิมไม่ได้ ขณะเดียวกัน การปฏิบัตินั้น ถ้าเราไม่ถอนอารมณ์ใจออกมา มันข้ามวัน ข้ามคืน ข้ามเดือนโดยไม่รู้ตัว ถ้าร่างกายทนไม่ไหว ประสาทร่างกายมันชำรุดลง อันตรายมันจะเกิดขึ้น คืออยู่ในลักษณะที่เรียกว่าสัมมัตฐานแตก สติแตก หรือบางคนก็ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ แบบที่เรียกว่า ทำให้เป็นบ้าไป จริง ๆ แล้วกรรมฐานช่วยให้หายบ้าที่ทำแล้วเป็นบ้าเพราะว่าทำมากเกินไปไม่รู้จักประมาณ เมื่อเราตั้งเวลาไว้ครึ่งชั่วโมงแล้ว หรือว่าหนึ่งชั่วโมงแล้ว เมื่อเลิกจากนั้นให้ประคับประคองรักษาอารมณ์ของเราให้อยู่ตลอด เปลี่ยนอิริยาบทอื่น ไปทำการทำงาน จากนั่งเป็นยืน เป็นเดิน เป็นนอน การเปลี่ยนอิริยาบท ร่างกายจะได้พักผ่อน มันจะได้ไม่ตึงจนเกินไป

    ส่วนอีกจุดหนึ่งก็คือเมื่ออารมณ์ใจเริ่มก้าวสู่สมาธิที่สูงขึ้น ลมหายใจเข้าออกมันจะเบาลงโดยอัตโนมัติ ละเอียดลงโดยอัตโนมัติ บางทีคำภาวนาก็หายไป บางทีลมหายใจพร้อมกับคำภาวนาก็หายไปด้วยกัน บางคนรู้สึกตกใจว่าเอ๊ะ..เราไม่ได้หายใจ เอ๊ะ..เราไม่ได้ภาวนา แล้วก็รีบตะเกียกตะกายหายใจใหม่ ภาวนาใหม่ อันนั้นทำให้กำลังใจถอยกลับมาสู่จุดแรกเริ่ม เขาให้กำหนดรู้ไว้เฉย ๆ ให้รู้ว่าตอนนี้ลมหายใจมันเบา ตอนนี้คำภาวนามันหายไป รู้ไว้เฉย ๆ ว่าเป็นดังนั้น ไม่ต้องไปตกอกตกใจ ไม่ต้องไปอยากมัน ไม่ต้องไปสนใจว่าขั้นตอนต่อไปมันจะเป็นอย่างไร รักษาอารณ์ให้ทรงตัวให้เป็นปกติ

    เมื่อถึงเวลามันก็จะก้าวข้ามไป เมื่อลมหายใจเบาลง หลังจากนั้น กระทั่งลมหายใจและคำภาวนาก็หายไป ร่างกายเหมือนกลายเป็นหินไป ความรู้สึกทั้งหมดรวมอยู่จุดเดียว สว่างโพรงเฉพาะหน้าไม่สนใจอารมณ์อื่น ให้กำหนดใจว่าเราจะอยู่ในอารมณ์นี้ประมาณครึ่งชั่วโมงหรือประมาณหนึ่งชั่วโมงแล้วก็ถอยออกมา จิตมันมีสภาพจำ เมื่อถึงเวลามันจะถอยของมันออกมาของมันเอง จะได้ไม่เผลอข้ามคืนข้ามวันไปโดยไม่รู้ตัว

    สมาธิยิ่งลึกเท่าไหร่เวลาผ่านไปแบบไม่รู้ตัวมากเท่านั้น เรารู้สึกว่าแป๊บเดียวบางที่ผ่านไปครึ่งค่อนวัน ข้ามคืนไปแล้วก็มี พวกขั้นตอนเหล่านี้เราต้องจดจำให้ขึ้นใจ ถึงเวลาถึงวาระอารมณ์ใจอะไรเกิดขึ้น เราจะต้องรับมือมันได้ตามขั้นตอนที่ว่ามา จะได้ไม่เสียประโยชน์ของเราเอง ตัวผมเองติดอยู่ในขั้นตอนเหล่านี้แค่อารมณ์ปฐมฌาน ผมติดอยู่ตั้ง 3 ปี เพราะว่ารู้ขั้นตอนมันหมด ก็เลยตามดูตามจี้มันอยู่ตลอด โดยที่ไม่รู้ว่าตัวนั้นเป็นอารมณ์ฟุ้งซ่าน จนกระทั่งวันหนึ่งวางกำลังไว้ว่าต่อไปนี้มันจะเป็นหรือไม่เป็นก็ช่างเถอะ เราภาวนาก็แล้วกัน คิดอยู่แค่นั้นอารมณ์ทรงตัวทันที

    ดังนั้นพวกเราอย่าก้าวข้ามขั้นตอนไป หรือว่าอย่าไปตามจี้ขั้นตอนของมัน อารมณ์ใจมันเป็นอย่างไรให้เรารับรู้เอาสติกำหนดรู้เท่านั้น

    อีกอย่างหนึ่งคือตัวเมตตา ตัวพรหมวิหาร 4 เป็นตัวที่จะหล่อเลี้ยงจิตใจของเราให้เยือกเย็น หล่อเลี้ยงกรรมฐานให้เจริญยั่งยืนได้ แต่ละวันพยายามแผ่เมตตา โดยให้อารมณ์ใจทรงตัวในลักษณะที่เคยสอนไปให้มากที่สุด การที่เราแผ่เมตตาออกไป นอกจากจะทำให้คนและสัตว์ทั้งหลาย ตลอดจนกระทั่งสิ่งที่เราไม่เห็นตัว คือเหล่าอทิสมารกายต่าง ๆ เป็นมิตรกับเรามีความรักใคร่ให้การอนุเคราะห์สงเคราะห์กับเราแล้ว

    กำลังใจที่ทรงตัว ด้วยอารมณ์ของพรหมวิหารนั้น จะก้าวขึ้นสู่ระดับความพระอริยเจ้าง่ายมาก เพราะว่าจิตที่มีเมตตา ไม่คิดเบียดเบียนใคร อารมณ์ใจที่ทรงตัวอยู่ลักษณะนั้น ศีลทุกข้อจะรักษาได้โดยอัตโนมัติ เรารักเขา เราสงสารเขา เราก็จะไม่ฆ่าเขา เรารักเขา เราสงสารเขาเราก็ไม่ลักขโมยเขา เรารักเขา เราสงสารเขา เราก็ไม่ละเมิดในคนที่เขารัก เรารักเขา เราสงสารเขา ก็อย่าไปโกหกเขา เราอยากมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ อยากเห็นคนอื่นมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เราก็ไม่ดื่มเครื่องดองของเมา เราก็ไม่แนะนำให้คนอื่นทำเช่นนั้นด้วย

    ดังนั้นการปฏิบัติของเราทุกครั้ง ลมหายใจเข้าออกเป็นหลักสำคัญประการที่หนึ่ง ประการที่สองก็คือต้องแผ่เมตตาอารมณ์ใจของเราทรงตัวทุกวัน

    ประการสุดท้ายก็คือพยายามพิจารณาให้เห็นสภาพร่างกายของเรานี้ให้เห็นว่ามันไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด ให้เห็นว่าถ้าหากเรายึดถือมั่นหมายยึดเกาะสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นส่วนหยาบ ส่วนละเอียด มีรูปหรือไม่มีรูป ล้วนแล้วแต่พาให้เราทุกข์ โดยเฉพาะการอยู่กับร่างกายนี้มีแต่ความทุกข์ การดำเนินชีวิตอยู่ในโลกนี้มีแต่ความทุกข์

    พยายามหลีกหนีมันไปให้พ้นให้ได้ อีกอย่างหนึ่งที่ต้องดู ให้เห็นชัดเจนก็คือ ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม ประกอบขึ้นมาให้เราอาศัยอยู่เท่านั้น เมื่อถึงวาระ ถึงเวลา มันพังสลายลงไป เราก็ต้องแยกจากมันไป ต้องดูให้เห็นให้ชัดเจน เพื่อที่จิตจะได้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราเอง จะได้ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของคนอื่นเขา เห็นทุกอย่างให้ไม่เที่ยงเห็นทุกอย่างให้เป็นทุกข์ เห็นทุกอย่างว่าไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา
    โดยเฉพาะอารมณ์กระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ก็ระมัดระวังให้จงหนัก สิ่งที่ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ต้องหยุดมันไว้ให้ทัน ให้มันอยู่แค่ตรงที่สัมผัสนั้น อย่าให้มันเข้ามาในใจ พอมันเข้ามาในใจปุ๊บ จิตสังขารก็เริ่มนึกคิดปรุงแต่ง ชอบหรือไม่ชอบเป็นโทษทั้งสิ้น ชอบเป็นราคะ ไม่ชอบเป็นโทสะ

    ทันทีที่เราปรุงแต่งปุ๊บ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ มันจะเจริญงอกงามทันที ต้องระวังมันไว้ให้ทัน หยุดมันไว้ให้ทัน ถ้าสติของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก สติจะแหลมคม ปัญญาจะกระจ่าง จะสามารถรู้เท่าทันและหยุดมันเอาไว้ได้

    ดังนั้นเราทิ้งลมหายใจเข้าออกไม่ได้ ไม่ว่าการปฏิบัติในระดับไหนก็ตาม ลมหายใจสำคัญที่สุด ตามมาด้วยเครื่องหล่อเลี้ยงคือเมตตา พรหมวิหารทั้ง 4 ข้อ และการพิจารณาให้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกาย


    โดยเฉพาะจุดสุดท้ายให้ทุกคนส่งกำลังใจเกาะพระนิพพานเอาไว้ เกาะพระนิพพานเอาไว้ตามกำลังของมโนยิทธิก็ดี ตามกำลังของอภิญญาฌานสมาบัติก็ดี หรือไม่ก็กำหนดภาพพระขึ้นตรงหน้า ตั้งใจว่านั่นเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เฉพาะพระนิพพานเท่านั้น เราเห็นท่านคืออยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน ให้ตั้งใจรู้ตัวอยู่เสมอว่าเราต้องตาย ตายเมื่อไหร่ เราจะไปพระนิพพานให้ได้ ไม่อย่างนั้นทุกข์โทษเวรภัยต่าง ๆ ที่เราทำสร้างเอาไว้ ในอดีต มันจะลงโทษเรา ให้ตกนรก ลำบากอย่างไม่รู้จบ

    แทบจะไม่เห็นว่ามันจะสิ้นสุดที่ไหน จะต้องเกิดเป็นเปรต อดอยากหิวโหยอยู่ในระยะเวลาอันเนิ่นนานเหลือเกิน จะต้องเกิดเป็นอสูรกายหลบ ๆ ซ่อน ๆ หากินไม่เต็มปากเต็มท้อง จะต้องเป็นสัตว์เดรัจฉาน ลำบากด้วยการหากินไม่ได้อย่างใจ ปรารถนาอย่างหนึ่งอาจจะได้อย่างหนึ่ง ตกอยู่ในภัยอันตรายตลอดเวลา
    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะต้องพิจารณาให้เห็น ถ้าเราไปนิพพานไม่ได้ เราต้องพบกับมันแน่ ๆ ดังนั้น มีเวลาว่างเมื่อไหร่ ส่งกำลังใจเกาะนิพพานไว้ให้เป็นปกติ ตั้งใจแผ่เมตตา เห็นหมู หมา กาไก่ ก็ดี เห็นคนก็ดี ให้มีจิตประกอบไปด้วยเมตตาพรหมวิหารอยู่เสมอ เห็นเขาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บตายทั้งสิ้น

    สิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ การปฏิบัติของเราจะโดนทดสอบอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะสิ่งที่กระทบแล้วให้เกิด รักเกิดชอบใจ สิ่งที่กระทบแล้วให้เกิดโทสะจริตขึ้นมา ต้องดูต้องรู้เท่าทันมัน ถ้าเราเห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้
    เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายคนอื่น ตัวราคะ กับโลภะก็กำเริบไม่ได้ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่สลายตายพังไปหมด ไม่มีอะไรทรงตัว ยึดถือมั่นหมายไปก็ทุกข์ มีกายหนึ่งก็ทุกข์ห้า มีสองกายก็ทุกข์สิบ มีสามกายก็ทุกข์สิบห้า มีแต่เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ

    ส่วนอีกประการหนึ่งก็คือสภาพร่างกายเรานี้ถ้าหากเรายึดถือมั่นหมายมัน นอกจากอารมณ์ราคะ โลภะ เกิดแล้ว โทสะยังเกิดอีก โทสะส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากมานะ ความถือตัวถือตน พอกระทบเข้า ความถือตัวบังเกิดขึ้น ได้ยินแล้วหูร้อน ได้เห็นแล้วตาร้อน ส่วนใหญ่เอาตัวเองเข้าไปเปรียบ เอาตัวเองเข้าไปวัด แล้วกำหนดมาตรฐานขึ้นมาเอง ดังนั้นเราจะต้องรู้เท่าทันมัน ต้องคิดให้เป็นปล่อยให้เป็น วางให้เป็น ทันทีที่ตาเห็นแล้ว ไม่ชอบใจ ทันทีที่หูได้ยินแล้วไม่ชอบใจ ทันทีที่จมูกได้กลิ่นแล้วไม่ชอบใจ ทันทีที่ลิ้นได้รสแล้วไม่ชอบใจ ทันทีที่กายสัมผัสไม่ชอบใจ ก็อย่าให้มันเข้ามาในใจเลย มันจะได้ไม่กระทบ ชอบหรือไม่ชอบจะได้จบลงตรงนั้น ถ้ามันกระทบแล้วอารมณ์โทสะมันเกิด ให้พิจารณาดู โดยเฉพาะสิ่งที่คนอื่นเขาทำให้เห็น

    สิ่งที่คนอื่นเขาพูดให้ได้ยิน ต้องแยกแยะ ต้องพิจารณาให้เป็น อันดับแรกให้ดูว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นจริงมั้ย สิ่งที่เค้าพูดนั้นเป็นจริงมั้ย ถ้ามันเป็นความจริง เราไม่ควรจะไปโกรธไปเคืองเขา เขาอุตส่าห์ลงทุนยอมเป็นกระจกส่องให้เห็นในหน้าอันน่าเกลียดน่าชังของเราเอง จะได้แก้ไขเพื่อที่มันจะได้ดูดีขึ้น
    เราควรจะโกรธกระจกหรือไม่ คนที่ทำให้เราเห็นตัวของเราเอง ก็จัดว่าเขาเป็นครู นักเรียนคนไหนโกรธครู นักเรียนคนนั้นเอาดีไม่ได้ หาความก้าวหน้าไม่ได้ ดังนั้นถ้าว่ามันเป็นจริง ควรจะรับไว้ด้วยความขอบคุณ แล้วพยายามแก้ไขตัวเราไป

    ถ้ามันไม่มีความเป็นจริง บุคคลที่โง่เขลาเบาปัญญา กระทั่งความจริงเป็นอย่างไร เขายังไม่รู้ คนแบบนี้น่าสงสารมากกว่าน่าโกรธ ให้อภัยเขาเถอะ สงสารเขาเถอะ คนที่อารมณ์ใจเป็นแบบนี้ กายวาจาใจเป็นแบบนี้ เขายังต้องเกิดอีกนาน
    ยังต้องทุกข์ยากลำบากอีกนาน เราจะโกรธเขาไม่โกรธเขา เบียดเบียนไม่เบียดเบียน เขาก็ทุกข์อยู่แล้ว ถ้าเรารู้จักคิดดังนี้ อารมณ์โกรธ มันจะไม่สะสมอยู่ในจิตของเรา ถ้าคิดไม่เป็นมันสะสมไปเรื่อย ๆ ทีละเล็กทีละน้อย ท้ายที่สุด ผลสุดคนสุดท้ายนั้นจะโชคร้าย พอเขากระทบนิดเดียวเราก็ระเบิดตูมใส่หน้าเขา บางคนก็จะสงสัยว่าเอ๊ะ

    ทำนิดเดียวแค่นี้โกรธขนาดนี้เชียวหรือ บางคนแทบจะฆ่าให้ตายไปเลยก็มี เพราะว่าคิดไม่เป็น ปล่อยวางอารมณ์ไม่เป็น ตัดอารมณ์ทิ้งไม่เป็น ต้องรู้จักวิเคราะห์ รู้จักวิจัย รู้จ้กดูความก้าวหน้าของตัวเอง วันนี้รัก โลภ โกรธ หลงของเรา ลดลงหรือไม่ มีโอกาสให้รัก ให้ชอบใจ มีโอกาสให้อยากได้ใครดี เราตัดมันได้หรือไม่

    อารมณ์รักตัดได้ด้วยอสุภกรรมฐาน กายคตานุสติกรรมฐาน อารมณ์โลภตัดได้ด้วยจาคานุสติ คือการนึกถึงการสละออกอยู่ตลอดเวลา และตัดด้วยทานบารมีคือการเสียสละให้ปันเขา มีโอกาสให้เราละเว้นโอกาสนั้นหรือเปล่า มีความตระหนี่ถี่เหนียวอยู่ในใจหรือเปล่า อารมณ์โทสะ แก้ไขได้ด้วยพรหมวิหาร 4 รักเขาเสมอตัวเราก็อย่าไปโกรธไปเคืองเขา

    สงสารอยากให้เขาพ้นทุกข์ก็อย่าไปเบียดเบียนเขา แม้แต่กาย วาจา หรือใจ เห็นเขาได้ดีอย่าไปอิจฉาริษยาเขา มันทำให้ใจของเราเศร้าหมอง มันทำให้ตัวของเราตกต่ำเอง พยายามยินดีกับความดีของเขา เขาต้องสร้างบุญไว้ดี ในอดีต ปัจจุบันเขาถึงได้รับความดีอย่างนั้น ถ้าเราอยากได้ดีแบบนั้นเราต้องสร้างปัจจุบันนี้ให้ดี อนาคตข้างหน้าเราก็จะดีเช่นเขา หรือดีกว่าเขา ถ้าทุกสิ่งทุกอย่าง เราพยายามสงเคราะห์ พยายามช่วยเหลือแล้ว ไม่อาจสงเคราะห์ไม่อาจช่วยเหลือได้ เราก็ต้องหยุด รักษากำลังใจของเราให้ดี จะได้ไม่ไปเศร้าหมอง ไม่ไปคิดมากอยู่กับมัน

    และที่สำคัญก็คือ ถ้าหากว่าเราปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้ เราก็หลุดพ้นไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างถ้าหยุดลงเป็น มันจะเป็น สังคฤเสกฐายา สักแต่ว่าอยู่ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าทำ รู้ว่าดีก็ทำ รู้ว่าชั่วก็ละ ใจไม่เกาะทั้งดีทั้งชั่ว ไม่เกาะแม้ร่างกายตัวเอง ไม่เกาะทั้งร่างกายคนอื่น ไม่เกาะโลกไหน ๆ ที่ไม่ใช่พระนิพพาน จิตใจทั้งหมดปล่อยวาง อารมณ์พระนิพพานจะเต็มอยู่ในใจเอง แรก ๆ เราก็ต้องเกาะ แต่ถ้าดำเนินมาถึงจุดนี้ไม่ต้องเกาะแล้ว อารมณ์พระนิพพานที่เต็มอยู่ในใจ จะทำให้เรารู้ว่าตายตอนนี้เราก็นิพพานตอนนี้

    นั่นแหละที่ภาษาพระท่านบอกว่า

    ฌานคือช่วงรู้มันเกิดขึ้น แต่ถึงช่วงรู้มันเกิดขึ้นเราก็ประมาทไม่ได้ ต้องพยายามประคับประคอง รักษาอารมณ์พระนิพพานให้อยู่กับเรา แรก ๆ เราเองต้องส่งใจขึ้นไปเกาะ แต่พออารมณ์นิพพานเต็มอยู่ในใจ มันไม่ต้องเกาะอะไรทั้งปวงแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างปล่อยหมด วางหมด มันสักเป็นไปเฉพาะหน้าของมันเท่านั้น มีร่างกาย ก็ทำหน้าที่ของตนไป อะไรเกิดขึ้นกับมันก็รับรู้แก้ไขไปตามเพลง แก้ไขได้ตกก็ไม่ยินดี แก้ไขไม่ตกก็ไม่ยินร้าย รู้อยู่ว่าธรรมดาของการมีร่างกายมันจะเป็นเช่นนี้ อารมณ์จิตมันจะปล่อยวางทั้งหมด ทุกข์ทั้งหลายที่ส่วนใหญ่แล้วคนเขาแบกเอาไว้ เมื่อถึงตอนนั้น ถึงวาระนั้น

    ทุกข์เป็นเครื่องที่เรากำหนดรู้เท่านั้น รู้แล้วก็กองมันไว้ตรงนั้น วางมันไว้ตรงนั้น ไม่ได้แบกมันมา จิตใจก็เบา สบายแต่มีความสุข เรื่องทุกข์ต่างต่างเป็นเรื่องของร่างกาย เขาจะเห็นอย่างชัดเจน ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด มีแต่บารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งของเรา มีแต่พระนิพพานเป็นแรงไฟของเราเท่านั้น อารมณ์ใจสุดท้ายให้เกาะพระนิพพานไว้ลักษณะอย่างนี้

    ถ้าไม่ต้องเกาะมีพระนิพพานอยู่ในจิตในใจเลย ตรึงอยู่ในจิตในใจเลยยิ่งเป็นการดี ดังนั้นเรายิ่งต้องทบทวนตัวเอง ยิ่งต้องฝึกฝนตัวเองให้มากเข้าไว้ เมื่อถึงวาระ ถึงเวลาจะได้ยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน ครูบาอาจารย์ไม่ได้อยู่กับเราตลอด ถึงเวลาต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย เกาะความดีก็ไปดี เกาะความชั่วก็ไปชั่ว ไม่เกาะอะไรเลยก็ไปนิพพาน


    ขอให้ทุกคนนึกถึงขั้นตอนต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่งว่า ลมหายใจเข้าออก ทิ้งไม่ได้ เมตตาพรหมวิหารต้องให้ทรงตัว การพิจารณาวิปัสสนาญานต้องให้มี และจิตสุดท้ายก็ให้เกาะที่พระนิพพาน กำหนดสติ สมาธิ ปัญญา รู้เท่าทันสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ กระทบแล้วก็วางมันลง อย่าไปนึก ไปคิด ไปปรุง ไปแต่ง นึกคิดปรุงแต่งเมื่อไหร่ ก็ชอบหรือไม่ชอบเมื่อนั้น แต่ละวันรักษาอารมณ์ใจเราให้ได้อย่างนี้ทุกวัน ๆ อย่าลืมใช้ฝึกส่งใจไปเกาะนิพพานให้ได้ ขั้นตอนการปฏิบัติ ทบทวนแบบนี้ทุกวัน ๆ ทำแบบนี้ทุกวันๆ ย้ำแล้วย้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก ต่อให้มั่นใจขนาดไหนก็ต้องทวนเอาไว้เพื่อความสุขทั้งปัจจุบันและอนาคตของเรา อย่าลืมว่าคลายอารมณ์ออกมาแล้วให้ประคับประคองรักษามันให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...