อบรมการสร้างกังหันลมจากพี่บรรจง นักทำ....กังหันลม....จากคนค้นคน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 9 มิถุนายน 2008.

  1. Forever In LoVE

    Forever In LoVE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,349
    ค่าพลัง:
    +3,864
    ได้ตามไปดูคลิปของพี่บรรจง มีคำพูดน่าประทับใจ

    ..ถึงการค้นคว้า พัฒนากังหันลมราคาประหยัด และเผยแพร่อย่างไม่หวงวิชาแม้แต่น้อย ว่า


    "สิ่งที่ทำนั้น เป็นตัวอย่างของคนกล้าคิด กล้าทำ กล้าพูด ..

    ...ผมเป็นเทียนเล่มแรก ที่พร้อมจะมอบความสว่างให้กับเทียนเล่มต่อๆไป .."



    ขอขอบคุณและอนุโมทนาบุญกับเทียนทุกๆเล่ม ในกิจกรรมครั้งนี้ด้วยค่ะ

    รวมถึง ข้อธรรมะ ความห่วงใยเอื้ออาทรกันในกลุ่ม

    ความรู้และสิ่งที่ได้รับจากในกิจกรรม

    ที่ได้เผื่อแผ่มาถึงผู้ที่ไม่สามารถไปร่วมทริปด้วยได้


    :cool::cool::cool::cool:

    . . . .ว่าแต่ว่า เมื่อไรจะมีโอกาสได้สร้างตัวแรกขึ้นมาสักตัว มั้ยคะนี่ ? . . . .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2008
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    Work More !!!!

    มาทำเครื่องต้นแบบกันเถอะ
     
  3. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    มีไอเดียมาเล่าสู่กันฟัง เผื่อจะมีประโยชน์

    ใจอยากจะให้เครื่อง generator ของอ.บรรจง เผยแพร่ออกไปสู่สังคมไทย ให้ได้มากที่สุด เพราะช่วยให้สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าจากธรรมชาติได้มากมาย มหาศาล ในราคาที่ถูก ถ้าทำเอง แต่ราคาแพงมากถ้าซื้อจากฝรั่ง

    จากที่ได้โพสไปทีแรก โดยความเห็นส่วนตัว ผมมีความเห็นว่าพลังงานจากลมไม่แน่นอน เท่าพลังจากน้ำ เพราะพลังจากน้ำก็คือพลังงานจากแรงโน้มถ่วงของโลก น้ำย่อมไหลจากที่สูง ลงสู่ที่ต่ำตลอดเวลา ไม่มีหยุดพัก และความหนาแน่นของโมเลกุลน้ำมีน้ำหนักมากกว่า จึงสร้างแรงในการหมุนกังหันน้ำได้ดีกว่ากังหันลม

    ถ้าเราแยกส่วนประกอบทั้งหมดเป็น 3 ส่วน คือ

    1. พลังงานธรรมชาติ และ แรงหมุน Generator
    2. Generator
    3. พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากการหมุน Genarator

    ส่วนที่ผมสนใจที่สุด ในการไปสังเกตุการณ์และเรียนรู้มา คือ ตัว Generator

    สมมติเรามาช่วยกันวางแผนสร้างตัว Generator อย่างจริงจังก่อนส่วนอื่น ให้ได้เครื่องต้นแบบมาตรฐานเสียก่อน แล้วพัฒนาต่อไป เป็นขนาดใหญ่ขึ้น หรืออาจจะเล็กลง สำหรับครัวเรือนขนาดเล็ก หรือใช้ติดตั้งกับรถยนต์ก็ได้ หรือเป็นแบบ Portable ยกไปไหนมาไหนได้ และสร้างกล่องหรือ case ห่อหุ้มให้แลดูเรียบร้อย ขนย้ายสะดวก กันฝุ่นและความชื้น มีส่วนที่ต้องใช้ต่อกับแกนหมุนเท่านั้นที่โผล่ออกมารอประกอบกับอุปกรณ์สร้างแรงหมุนอื่นๆอีกที และมีสายไฟรอไปต่อกับแบตเตอรี่เก็บไฟหรืออินเวอร์เตอร์อีกที

    แล้วจึงค่อยมาพัฒนาสร้างส่วนประกอบเพิ่ม เพื่อสร้างแรงหมุน Generator เช่น สามารถประกอบได้หลายรูปแบบ

    แกนหมุนแบบที่ 1 ใช้ประกอบกังหันลมเพื่อให้เกิดแรงหมุนจากพลังงานลม
    แกนแบบที่ 2 ใช้ประกอบกับกังหันน้ำ
    แกนแบบที่ 3 ใช้ต่อกับเครื่องปั่นแบบจักรยานเคลื่อนที่

    เราจะได้ Generator ที่สามารถใช้ได้หลาย option ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์อย่างมหาศาลมากมาย เพราะ บางพื้นที่ที่เป็นที่โล่ง สามารถนำไปประกอบเป็นกังหันลม ถ้าพื้นที่อยู่ในป่า ใกล้น้ำตก ลำธาร แม่น้ำ หรือ ฝาย ก็สามารถนำไปประกอบเป็นเครื่องปั่นไฟ จากพลังงานน้ำ ถ้าใครอยากนำไปใช้เป็นเครื่องปั่นไฟที่บ้าน ลดความอ้วนไปด้วย เสริมสร้างกล้ามเนื้อเผื่อไว้ตอนอพยพ ก็นำไปประกอบเป็นเครื่องปั่นไฟแบบจักรยานอยู่กับที่

    ผมว่าคิดแบบแยกส่วนแบบนี้ น่าจะมีประโยชน์มากขึ้นกว่า สามารถใช้ได้หลากหลายกว่า และจะกระจายออกไปได้กว้างขวางกว่า จริงมั๊ยครับ การแบ่งส่วนออกมาจะช่วยให้สามารถกระจายงานออกไปเป็นส่วนๆ แบ่งงานกันทำตามที่ตัวเองถนัดได้ แล้วนำชิ้รส่วนมาประกอบกันในภายหลัง จะช่วยให้งานเสร็จได้เร็วขึ้น

    หวังว่าเพื่อนๆคงจะเข้าใจ ความคิดของผมนะ ไม่รู้ว่าคนที่ไม่ได้ไปจะนึกภาพตามได้หรือไม่

    สมมติว่าเข้าใจนะ ถ้าสามารถทำได้ตามนี้ ผมว่าจะเสนอแผนขั้นต่อไป ให้เป็นระบบ ซึ่งจะสามารถสร้างเป็นกลุ่ม ชุมชน เพื่อสร้างแหล่งพลังงานไว้ต่อสู้กับภัยพิบัติได้ต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2008
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ถูกต้องแล้วครับ เป็นเจนเนอเรเตอร์เเบบเอนกประสงค์ ปรับได้ตาม แหล่งพลังงานกลที่ใช้

    หากประยุกต์ใช้กับเครื่องออกกำลังกายได้ยิ่งดี เพราะเราได้ทั้งสุขภาพ และได้ไฟฟ้าใช้ พลังงานไม่สูญเปล่าไปไหน ใช้พลังงานจากไขมันของเราเอง

    คิดเล่นๆ เป็น Power Plant Gym เครื่องออกกำลังกายในฟิตเนสทั้งหมด เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมดเลย ทั้ง จักรยาน เทรดมิลล์ และ Rowwing ส่วนเครื่องเล่นเวท เราใช้ต่อสลิงกับ เจนเนอร์เรเตอร์สร้างแรงต้าน

    ยิ่งเล่น ยิ่งปั่นไฟ น่าหนุก
     
  5. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ต่อไป ผมสมมติว่า ทุกคนเห็นด้วย ( พูดเอง เออ เอง ) ผมจะตั้งชื่อเครื่อง Generator ว่า เครื่อง B - J ย่อมาจาก " บรรจง " ก็ได้ ให้เครดิตพี่เขาหน่อย ที่ช่วยจุดประกายความคิดให้เรา หรือ จะย่อมาจาก " พลังจิต " ก็พอจะกล้อมแกล้มได้นะ " Bha lang jit " ไง

    B - J Natural Power Generator

    เรามาตั้งกลุ่มคล้าย OTOP หรือ สหกรณ์ แบ่งกลุ่มกันทำเป็นกึ่งๆ อุตสาหกรรมชุมชน แบ่งหน้าที่กันทำ เช่น

    - แผนกพันสายทองแดง
    - แผนกหล่อเรซิ่น
    - แผนกงัดดุมล้อ
    - แผนกทำแผ่นเหล็ก
    - แผนกติดแม่เหล็ก
    - แผนกออกแบบ case
    - แผนก QC

    ฯลฯ

    ถ้างานไหนที่ทำยาก ทำกันไม่ไหวก็ Sub Contract ให้อ.บรรจง หรือ โรงเรียนอาชีวะ ที่ชอบใช้เวลาว่างไปตีกัน ให้มาออกแรงพันสายทองแดงดีกว่า ได้ประโยชน์ ได้ตังค์ด้วย

    แล้วก็ออกแบบ Case ของ B - J ให้แลดูสวยงาม ขนส่งง่าย ทนทาน สีเหลือง เหมือนเสื้อยืดที่เราใส่กันเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อในหลวงของเราก็ดีนะ

    อาจจะเริ่มต้นทำกันแบบ made to order ก่อนก็ได้ เพราะเท่าที่อ่านดู ก็รู้สึกจะมี Order อยู่บ้างแล้ว รับเงินมาก่อนเลย มีทุนแล้ว

    สำหรับเรื่องพื้นที่ ก็เห็นมีเพื่อนบางท่านเคยเสนอว่า จะแบ่งที่ดินไว้ให้สร้างเป็นชุมชน พลังจิตพิชิตภัยพิบัติ ถ้าได้จะเกิดเป็นสถานปฏิบัติธรรมและชุมชนสร้างแหล่งพลังงานกู้ชาติ หรือกู้โลกได้ไปในตัว มีกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ต่อชุมชน และสังคมไทยได้กว้างขวาง ยิ่งสร้างมาก ก็ยิ่งเกิดความชำนาญ อาจจะต่อยอดให้เป็น 3 ขนาด S M L ก็ได้ยิ่งดี


    เมื่อได้เครื่อง B-J แล้ว เราก็ค่อยมาหาวิธีประกอบไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ตามความเหมาะสม ตามสภาพพื้นที่ หรือตามแต่ความคิดสร้างสรรค์ของผู้ใช้ในแต่ละชุมชน

    ถ้าสร้างได้ตามนี้ เราก็อาจจะทำขายได้ในราคาไม่แพงมาก อาจจะเผื่อ margin เป็นกำไรสำหรับพัฒนาชุมชน หรือสร้างศาลาหลบภัยที่ปรียานันท์ได้เร็วขึ้นอีกด้วย


    คิดเล่นๆนะ แต่ถ้าสามารถทำได้จริงละก็ ปรียานันท์ เกิดแน่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2008
  6. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ต่อยอดครับ ต่อยอด !!

    ความคิดขั้นต่อไป ผมก็มาคิดว่า ถ้าเราสามารถสร้างได้หลายๆเครื่อง นำมาติดตั้งในครัวเรือนทุกหลังในชุมชน ทุกหลังคาเรือนจะมีไฟฟ้าไว้ใช้ โดยอาศัยพลังงานธรรมชาติเป็นตัวก่อกำเนิด พลังงานไฟฟ้าที่ได้ ก็จะมีการนำมาเก็บไว้ที่หม้อแบตเตอรี่ที่บ้าน แล้วแปลงไฟไปใช้งานต่อไปโดยอิสระ

    ถ้าเราจัดให้เป็นระบบ จัดให้เป็นแบบชุมชน เช่น ชุมชนปรียานันท์ ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทุกหลัง และมีศาลาอเนกประสงค์(หลบภัย)ส่วนกลางของชุมชน

    หากในกรณีที่ไฟฟ้าประจุเต็มหม้อแบตของแต่ละครัวเรือนแล้ว ไฟฟ้าส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากแต่ละครัวเรือน ยังสามารถจัดส่งไปเก็บไว้ที่หม้อแบตส่วนกลาง และใช้พลังงานที่สะสมส่วนกลางไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใช้จ่ายไฟฟ้าภายในอาคารเอง และ จ่ายไฟให้กับระบบแสงสว่างส่วนกลางได้อีกด้วย ชุมชนที่สร้างด้วยระบบนี้ จะไม่ต้องพึ่งพาการไฟฟ้า ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลากสายไฟฟ้าจากถนนใหญ่ และตั้งเสาไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเลย ไม่ต้องง้อ ไม่ต้องกลัวค่า FT ขึ้นราคา

    ลองคิดดูแล้ว ทุกชุมชนรูปแบบนี้จะพึ่งพาไฟฟ้าจากการไฟฟ้า น้อยลงเรื่อยๆ หากเกิดภัยพิบัติที่ทำให้การไฟฟ้าไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าให้ได้ ชุมชนรูปแบบนี้จะไม่เดือดร้อนจากการขาดไฟฟ้าเลย จะมีศักยภาพในการเอาตัวรอดได้สูงขึ้นอีกมากโข

    ชุมชนในฝันนะเนี่ย เพี้ยง ขอให้เป็นจริงสักที
     
  7. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ต่อยอดอีกสักหน่อย ยิ่งโพสยิ่งมันส์

    ฟังอภิปรายเขาพระวิหารไปด้วย คีย์ไปด้วย รู้สึกเซ็งกับนักการเมืองสมัยนี้จัง เลยอยากทำอะไรบางอย่างที่ควรจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย ที่น่าสงสารให้มากๆ

    สมมติอีกว่า ความฝันสำเร็จตามเป้าแล้ว ต่อไปเรายังสามารถนำเครื่อง B-J Generator นี้ ไปติดตั้งตามวัด หรือศูนย์หลบภัยต่างๆ ที่ยังต้องพึ่งพาไฟฟ้าอยู่ เป็นการกระจายความเสี่ยงออกไป ให้แต่ละวัด แต่ละศูนย์ มีแหล่งพลังงานไฟฟ้าเองด้วย ไม่ว่าจะอยู่ในป่า ในเขา หรือที่กันดารใดๆ

    เป็นการช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิต ให้แก่แต่ละหน่วยหลบภัย ช่วยชีวิตคนได้มากมายมหาศาลเลยนะครับ ลองคิดดู ดีมั๊ยครับ ท่านประธาน
     
  8. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    เห็นด้วยครับ แต่ต้องทำเครื่องต้นแบบขนาดเล็ก เพื่อการทดลองและเรียนรู้ เพราะถ้าเกิดผิดพลาด ก็เสียค่าใช้จ่ายน้อย และเมื่อปรับปรุงจนสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ เราผลิตขนาดมาตรฐานตามของ อ.บรรจง(ตามแบบที่ได้มา) หรือเพิ่มขนาดขึ้นตามความต้องในการใช้งาน การใช้กระแสน้ำหมุนแทนพลังลม ต้องเป็นสถานที่ใกล้แหล่งน้ำตก หรือสร้างน้ำตกเทียม โดยใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องที่สร้างไปเดินเครื่องปั้มน้ำแบบไฟฟ้าขึ้นถังเก็บน้ำที่ตั้งไว้บนหอ/อาคารสูง/ภูเขา แล้วปล่อยมาตามท่อพีวีซี มาดันกงล้อรับน้ำ ที่ต่อเข้าแกนหมุนเครื่องผลิตกระไฟฟ้า
     
  9. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    สนับสนุนทำเครื่องต้นแบบให้สำเร็จ 1 เครื่อง ก่อนครับ เพื่อจะได้ขยายงานในระดับต่อไป
    ได้
     
  10. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    เอาไว้บนหลังคารถดิ พอชาร์ดเต็ม ก็หุบกังหัน (f)
    เพราะรถวิ่งไปทุกที่อยู่แล้ว ความเร็วลมพอแน่ๆ อิอิ [​IMG]
     
  11. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    หุหุ...สนุกจัง...ขอให้ความสนุกนี้ เกิดผลงาน ที่สร้างสรรค์ ต่อยอดความสนุกยิ่งๆขึ้นน๊า
    แล้วอย่าลืมต่อยอดการวางกำลังใจดีๆ ด้วยล่ะ...แล้วความสนุก รอยยิ้มจะยิ่งวิ่งเข้ามา
     
  12. ป้าหมวย

    ป้าหมวย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +22
    อนุโมทนาบุญกับความคิดดีดีของทุกท่าน ช่วยกันคิด ช่วยกันสร้าง ช่วยกันสร้างสรรสังคมดีดี
     
  13. Forever In LoVE

    Forever In LoVE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,349
    ค่าพลัง:
    +3,864

    ชอบๆๆๆ ไอเดียเก๋ค่ะ ...

    ขับรถไปมา มีต้นทุนคือ ค่าน้ำมัน ค่าสึกหรอ ค่าเสียเวลา ...

    ได้ผลตอบแทนคือภาระกิจที่เสร็จสิ้นไปเมื่อถึงเป้าหมาย แถมด้วยกำไรเป็นพลังงานสะสมในกล่อง เก็บไว้ใช้ได้อีก :cool::cool::cool:


    เมื่อคืนนั่งอ่านกระทู้สร้างแผงโซล่าเซลล์ราคาประหยัดของพี่ปาฏิหาริย์ ..

    ถ้าบนหลังคารถ ติดกังหันลมได้ สำรองด้วยแผงโซล่าเซลล์ ...เข้าท่าเนาะ ..
     
  14. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ต้องทำต้นแบบให้เสร็จและทดลองใช้งานก่อนครับ


    การจั๊มเข้าระบบในบ้านมีทั้งที่ ต้องต่อผ่านแบตและไม่ต้องผ่านแบตครับ



    On-Grid (Grid-Tie) Wind Power

    A grid-tie wind power system can have almost exactly the same components as the off-grid system except that inverter is a special inverter which connects directly into the public utility grid. Increasingly, there are also systems which don't use a battery bank at all - the electricity flows directly from the wind turbine into the special 'grid-tie' inverter and then into the grid. These batteryless grid-tie systems have the added advantages that they tend to be less expensive (no batteries to pay for) and more efficient (because the electricity doesn't have to pass through the battery bank first). On the downside, if there's a blackout then your wind turbine system will also shutdown and not be able to provide power to your home or business.
    [​IMG] Simplified Diagram of a Grid-tie Wind Turbine System with Battery Backup for Home: 1) wind turbine on tower 2) wind turbine controller 3) battery bank 4) grid-tie inverter 5) utility meter to track how much energy is fed into the electric grid (6.).

    [​IMG] Simplified Diagram of a Grid-tie Wind Turbine System (no battery backup): 1) wind turbine on tower 2) wind turbine controller 3) grid-tie inverter 4) utility meter to track how much energy is fed into the electric grid (5.).



    รูปที่สองใช้ไฟองค์การมาช่วยด้วย

    รูปที่สามใช้หม้อมาตรวัดไปแบบหมุนกลับ หากกังหันปั่นไฟได้มากหมุนมิเตอร์กลับ ให้หน่วยไฟฟ้าที่ซื้อจากองค์การลดลง

    หากไฟฟ้าที่ปั่นได้มากกว่า

    และยังใช้ในโครงการขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าได้อีกด้วย ในโครงการ

    โรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก

    โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก

    โรงไฟฟ้าขนาดกลาง

    ตามปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ครับ



    Off-grid Wind Power System

    [​IMG] Off-Grid Wind Turbine System: 1) wind turbine on a tower 2) wind turbine charge controlling system 3) battery bank to store a reserve of energy to be used by the home 4) inverter to convert battery electric to household power.

    A basic wind power system will consist of:
    • Wind turbine on top of a tower (1) that is wired down to a control box (2) that regulates the charging of a large deep cycle battery bank (3).
    • An inverter (4) which draws electricty from the battery bank and converts to normal household electricity (AC) and feeds the appliances in the home with power as needed.
    • Various safety devices like fuses, breakers and lightning arrestors (not shown in diagram).

    แบบนี้ไม่ต่อไฟองค์การเข้าบ้านใช้ขับไฟตรงในบ้านแค่ไหนแค่นั้น
     
  15. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    มีรายได้ที่น่าสนใจอีกตัวก็คือ

    ระบบ CDM อธิบายง่ายๆได้ว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิต ให้กับประเทศ ที่เป็นต้นเหตุมลพิษ


    โดยหากเราใช้พลังงานที่เป็นพลังงานหมุนเวียนแบบนี้ หากเข้าโครงการก็ไปจดทะเบียนทำเรื่องและทำการคำนวนว่า พลังงานที่เราใช้จากเทคโนโลยี่สะอาดนี้ ช่วยลดปริมาณคาร์บอนลงได้เท่าไร

    เช่นหากลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้าจากโรงงานถ่านหินไปได้ ปีละ 100 ตัน ค่าคาร์บอนเครดิต ตันละ 10 เหรียญ(สมมติ) ต่างประเทศที่ทำสัญญาจะจ่ายเงินให้เราอีกปีละ 1000 เหรียญ หรือ 33000 บาท(ตัวเลขสมมติครับ)

    น่าสนใจไหม

    สำหรับรายย่อยที่เปลี่ยนระบบการใช้พลังงานในครอบครัวบ้านเรือนเป็นพลังงานทางเลือกเขาก็รับครับ

    -ใช้เองก่อนช่วยลดค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้าในบ้าน (มีเงินเหลือเก้บมากขึ้น)
    -เหลือใช้ ขายไฟฟ้าให้องค์การ (ได้ยูนิตละประมาณ 3 บาท) ได้มีรายได้เปล่าๆมาอีกทุกๆเดือน

    -ขาย คาร์บอนเครดิต ได้เงินมาอีกทุกๆปี

    อ่า.....น่าสนใจรึยังเอ่ย.....
     
  16. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    กังหันลมที่....เทศบาลคลองตำหรุ.....แสดงถึงการทำงานของระบบกังหันลม



    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2008
  17. Forever In LoVE

    Forever In LoVE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,349
    ค่าพลัง:
    +3,864



    ขอบคุณมากค่ะพี่สนั่น

    ภาพระบบการทำงานของกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าชัดเจน

    เสียงเพลงประกอบคึกคักดีค่ะ ... ถ่ายได้มือนิ่งมาก นับถือๆ :cool::cool::cool:
     
  18. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    กังหันลม...สำหรับสูบน้ำ...ปั่นไฟ

    (ไฟล์จาก CD)


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF3394.JPG
      DSCF3394.JPG
      ขนาดไฟล์:
      487.4 KB
      เปิดดู:
      230
    • DSCF3398.JPG
      DSCF3398.JPG
      ขนาดไฟล์:
      471.5 KB
      เปิดดู:
      259
    • DSCF3396.JPG
      DSCF3396.JPG
      ขนาดไฟล์:
      477.2 KB
      เปิดดู:
      202
    • DSCF3400.JPG
      DSCF3400.JPG
      ขนาดไฟล์:
      486.8 KB
      เปิดดู:
      217
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2008
  19. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    กังหันลม 6 ใบพัด....สำหรับเลื่อยไม้...ผสมปูน...สูบน้ำ

    (ไฟล์จาก CD)

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0595.jpg
      DSC_0595.jpg
      ขนาดไฟล์:
      243 KB
      เปิดดู:
      198
    • DSC_0600.jpg
      DSC_0600.jpg
      ขนาดไฟล์:
      235.5 KB
      เปิดดู:
      225
    • DSC_0615.jpg
      DSC_0615.jpg
      ขนาดไฟล์:
      248.7 KB
      เปิดดู:
      169
    • DSC_0616.jpg
      DSC_0616.jpg
      ขนาดไฟล์:
      250.4 KB
      เปิดดู:
      177
    • DSC_0613.jpg
      DSC_0613.jpg
      ขนาดไฟล์:
      230.9 KB
      เปิดดู:
      203
    • DSC_0617.jpg
      DSC_0617.jpg
      ขนาดไฟล์:
      214.4 KB
      เปิดดู:
      217
    • DSC_0624.jpg
      DSC_0624.jpg
      ขนาดไฟล์:
      87.6 KB
      เปิดดู:
      187
  20. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    การสร้างกังหันลมขนาด 2.5 kW (โดย อ.บรรจง ขยันกิจ)

    เอกสารประกอบ.... (แบบแปลนที่ อ.บรรจง ใช้อ้างอิงในการทำกังหันลม)

    http://palungjit.org/attachments/a.1991141/

    1. การสร้างตัวกำเนิดไฟฟ้า (Alternator)


    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/FZyHL5xssb0?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/FZyHL5xssb0?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/5hyu1kDkXQ4?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/5hyu1kDkXQ4?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/CdmEa6_3EJI?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/CdmEa6_3EJI?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>






    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>ไฟล์แนบข้อความ</LEGEND><TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>VDO1_1.wmv (100.95 MB, 1 views)</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>VDO1_2.wmv (100.95 MB, 0 views)</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>VDO1_3.wmv (113.87 MB, 0 views)</TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></FIELDSET>
    1.1 ขนาดของ Alternator ขึ้นอยู่กับ...ขนาดของใบพัด...และความเร็วลม
    - ความเร็วลม...ที่กำหนดไว้คือ...5 เมตรต่อวินาที (5 m/s)
    - ขนาดของใบพัด...ที่แนะนำ...คือ...เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.4 เมตร

    จากตาราง...ใบพัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.4 เมตร...จะได้...พลังงาน 2.5 kWh ( 2.5 กิโลวัตต์ชั่วโมง)...หรือ 200Ah ที่ 12V

    [​IMG]

    1.2 Stator ทำด้วยขดลวด...โดยการ...พันลวดอาบน้ำยาเบอร์ 15 AWG จำนวน 80 รอบ...บนแกนไม้ขนาด 25มม x 41มม...จำนวน 10 ขด...เพื่อชาร์ทแบตเตอรี่ 12 V 200Ah

    [​IMG]

    [​IMG]


    1.3 บัดกรีขดลวดเข้าด้วยกัน (ตามรูป)...จากนั้น....วางขดลวดในแบบเพื่อทำการหล่อเรซิน

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    แบบสำหรับหล่อเรซิ่นขดลวด

    [​IMG]


    1.4 หล่อเรซิน...ด้วยอัตราส่วน....เรซิ่น 200 กรัมต่อตัวเร่ง 3 ซีซี...หรือ...เรซิ่น 1 กิโลกรัมต่อตัวเร่ง 15 ซีซี

    [​IMG]


    1.5 ตัดแผ่นเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 31 Cm ความหนา 8 mm...จำนวน 2 ชิ้น...เพื่อทำ Rotor....จากนั้นจึงนำแท่งแม่เหล็กแรงสูงติดลงไป...แผ่นละ 12 ชิ้น...รวมใช้แม่เหล็ก 24 ชิ้น

    จากนั้น...หล่อเรซิ่นทับแม่เหล็กไว้

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Table1.jpg
      Table1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      152.2 KB
      เปิดดู:
      6,967
    • Table2.jpg
      Table2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.9 KB
      เปิดดู:
      679
    • Table3.jpg
      Table3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.4 KB
      เปิดดู:
      6,406
    • Table4.jpg
      Table4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.9 KB
      เปิดดู:
      6,379
    • Table5.jpg
      Table5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      79.4 KB
      เปิดดู:
      6,270
    • Table6.jpg
      Table6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      24.1 KB
      เปิดดู:
      6,303
    • Table7.jpg
      Table7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25.1 KB
      เปิดดู:
      7,222
    • Table8.jpg
      Table8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.4 KB
      เปิดดู:
      6,233
    • Table9.jpg
      Table9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.3 KB
      เปิดดู:
      6,711
    • Table10.jpg
      Table10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      324.9 KB
      เปิดดู:
      6,621
    • P1.jpg
      P1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      300.1 KB
      เปิดดู:
      8,315
    • P2.jpg
      P2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      303.7 KB
      เปิดดู:
      7,146
    • P3.jpg
      P3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      302.1 KB
      เปิดดู:
      7,162
    • uvs080625-001.jpg
      uvs080625-001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      107.8 KB
      เปิดดู:
      1,579
    • uvs080625-002.jpg
      uvs080625-002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      120.7 KB
      เปิดดู:
      1,509
    • uvs080628-008.jpg
      uvs080628-008.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92.5 KB
      เปิดดู:
      672
    • uvs080628-009.jpg
      uvs080628-009.jpg
      ขนาดไฟล์:
      116.7 KB
      เปิดดู:
      645
    • uvs080628-010.jpg
      uvs080628-010.jpg
      ขนาดไฟล์:
      108.9 KB
      เปิดดู:
      1,252
    • uvs080628-005.jpg
      uvs080628-005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      110.3 KB
      เปิดดู:
      832
    • uvs080628-007.jpg
      uvs080628-007.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.5 KB
      เปิดดู:
      735
    • uvs080628-006.jpg
      uvs080628-006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      117.3 KB
      เปิดดู:
      686
    • uvs080628-018.jpg
      uvs080628-018.jpg
      ขนาดไฟล์:
      114.5 KB
      เปิดดู:
      491
    • Hugh Piggott Axial-flow PMG wind turbine May 2003.pdf
      ขนาดไฟล์:
      726.3 KB
      เปิดดู:
      1,547
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...