ทำบุญที่ไหนดี

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เห็ดหอม, 13 กรกฎาคม 2008.

  1. เห็ดหอม

    เห็ดหอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    243
    ค่าพลัง:
    +1,805
    ผมฝึกพลังจิต มาหลายปี ช่วยคนด้านพลังจิตมามาก โดยอาศัยจิตรู้ ยิ่งตอนนี้ เออรี่ รีไทร์ เลยยิ่งมีเวลาว่าง มาช่วยคนได้ มากขึ้น ช่วยคนมาเรื่อยๆๆ จนเมื่อ ต้นปี2551มีคน มาถามปัญหา ข้อ หนึ่ง ...เป็น คำถามที่ธรรมดาที่ สุด..เขาถามว่า " ถ้า จะทำบุญ ทำที่ วัดไหนดี? "

    คำถามนี้ดูจะธรรมดา แต่พอคิดลึกๆๆ..เออ..ไม่ง่ายนะ..แสดง ว่า มีคนหลายคนมีความรู้สึกในทำนองว่า ..ถ้า ทำบุญที่ วัด ที่ต่างกัน จะได้ บุญ ไม่เท่ากัน
    ..ถ้า ทำบุญ ที่ วัดใหญ่ๆๆ ดังๆๆ อย่าง วัดหลวงพ่อจรัญ สิงห์บุรี / วัด โสธร แปดริ้ว / วัดพนัญเชิง อยุธยา จะได้ บุญ มากกว่า วัดเล็กๆๆ ธรรมดา

    ผมจึงเริ่ม ศึกษา เรื่อง นี้ เล่นๆๆ โดยให้ แต่ละคน ที่ มาหาเพื่อให้ช่วยด้านพลัง จิต..ให้เขาบอกชื่อวัด ที่ เขา มัก จะไป บ่อยๆๆ เพื่อทำบุญ ซึ่งกว่า ครึ่งมักจะเป็นวัดใกล้ บ้าน..และให้ เขา บอกชื่อ วัด ที่ เขาคิดว่า น่า จะไป..มาคนละ 3-4 ชื่อ...แล้ววัดแรงบุญ ที่เกิดขึ้น กับ ตัว เขา ปรากฏว่า มีความแตกต่าง..อย่างที่ คิด ไม่ถึง...การวัดใช้พลังทางจิต ให้ ตัวเขารู้ถึงแรงบุญ ที่ เขาสามารถรู้ ได้ ในสมองและจิต
    1. จะมีอาการเย็น สบาย โล่ง ในสมอง เย็นมาก ก็ แปลว่า ดี มาก..ได้ บุญ มาก
    2. ถ้ามีอาการอึดอัด แน่นคอ หายใจ ไม่สะดวก มึน หัว แปลว่า..ได้ บุญไม่มาก
    3. ถ้ามีอาการเหมือนถูกบีบคอ หายใจไม่ออก..แปลว่า..ไป ทำบุญ กับวัด นั้นไม่ได้
    จดข้อมุลไว้มากๆๆพบว่า แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคน ทำบุญวัดนี้ได้ แต่ทำบุญ วัดโน้นไม่ได้ และ ในทางกลับกัน บางคน ทำวัดโน้นได้ แต่ทำวัด นี้ ไม่ได้
    เอ...ทำไม...เอาใหม่ ดู ละเอียด ย้อนหลังของ แต่ละคนใหม่..ดูรายละเอียด ของ อดีตชาติ ว่า เกี่ยวข้องกันอย่างไร..ดูมากๆๆเข้า ชัดสนุก...พอสรุปได้ สั้นได้ ดัง นี้
    1. กลุ่มคนที่ เคยเกิดในสมัย กรุงศรีอยุธยา ยิ่งตอนรบ พม่า ในยุค กรุงแตก ครั้งที่ 1. พ.ศ. 2112 ..ยุค พระนเรศวรกู้ ชาติ / ยุคกรุงศรีอยุธยา แตก ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 / ยุค พระเจ้าตากสิน เคยรบเคยฆ่าฟัน พม่ามากันอย้างโชกโชน..

    .คนที่ สู้ที่ กรุงศรีนอยุธยานั้น... กรุงศรีอยุธา เป็น เกาะเล็กๆๆ มี วัด กระจายเต็ม พื้นที่เกาะ..ฆ่า กัน ตรงไหน ก็ ล้วนอยู่แต่ในเขตวัด ทั้ง นั้น...วัดเป็นที่ ตั้ง ของ ศาสนา ย่อม มีความศักดิ์ สิทธิในตัว..ศีล 5 ข้อ ของ พระ พุทธองค์ ย่อม
    คงตัว ไม่มีการละเว้น..การฆ่า คตือ ผิดศีลข้อ 1 ที่ ห้ามฆ่า....

    เมื่อ ฆ่าไปแล้ว เท่า กับทำ บาป อย่างมหันต์...ผู้ นั้ที่เกิดมาชาติ นี้ จึงถูก
    แบล็กลิส..ทำ บุญ ที่ วัด นั้นๆๆไม่ได้...วัดที่ คนไปทำบุญได้ ยากที่ สุด คือ วัด พุทไธสววรค์ เพราะ เป็น จุด ที่ ทหารพม่า ข้ามแม่น้ำ ส่วนที่แคบที่ สุด เพื่อ ยึดกรุงศรีอยุธยา...มีการฆ่าฟันกันที่ จุดนั้น นับ พันศพ ทั้งไทย และพม่า

    บางคนทำบุญที่ วัดในกรุงศรีอยุยาได้ แต่ ทำบุญในวัด ที่ กรุงะนบุรี ไม่ได้ ..แปลว่า เกิดมาเป็นทหารในยุค พระเจ้า ตากสิน กู้ชาติ..บางคนทำบุญในวัดแถบ ราชบุรี / กาญจนบุรี/ สุพรรณบุรี/ สมุทรสงครามไม่ได้..ก็ เป็นเพราะ การฆ่า ฟัน ต่อ สู้ พม่า มาตลอด เส้นทาง ที่ พม่า เดินทัพผ่าน........วิญญาณจึงถูกแบล็กลิส

    ในกทม ถึงแม้จะ ปลอด จากสงตราม..ไม่มีการฆ่าฟันกัน แบบสงคราม แต่ น้ำหนักบุญ ก็ไม่เท่ากัน ก็ มาจาก อดีตชาติ เคยเกี่ยวข้องกัดนั้น..ถ้า ทำ บุญ มาก่อน ผูกพันกันมาก่อน ก็ ไปได้..คนที่ ในอดีต เคย ลักขโมย ของ วัด / ตัดเศียรพระ ไป ขาย..จะ ทำบุญ วัด นั้นๆๆไม่ได้...พบว่า หลาบๆๆคน ทำบุญ ที่ วัดระฆัง /วัดบางขุนพรม ไม่ได้ ..ก็คง ทำอะไร ผิด ในยุค หลวงปู่ โต พรหม รังสี..พบว่า ส่วนมากไปทำบุญ ที่ วัดราชา ที่อยู่ ใกล้ๆๆได้

    มีหลายคน ทำบุญ ที่ วัด ในเชียงใหม่ไม่ได้ แสดง ว่า เคยอยู่ เชียงใหม่ ในอดีตชาติ..รบฆ่าฟันกันตลอด เชียง ใหม่ เดี๋ยว พม่า ยึด เดี๋ยวไทบ ยึด รบกันหลายตลบ..จึงติดบาป

    ดังนั้นใครที่ไม่แน่ใจว่าจำทำแล้วได้บุญ มากหรือไม่..ข้อแนะนำคือ ให้ไป ทำบุญที่ วัด ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ สงคราม..เป้น วัดใหม่ๆๆ สร้าง ยุคหลังๆๆ..ที่ไหนก็ได้
    บทความนี้ เล่า จาก ประสบการณ์ และ จิตรู้ ไม่มี จุดประสงค์อื่นใด
    ผู้ ใด ที่ มีพลัง จิต ทดสอบตัวเองได้ ว่า วัด แต่ละวัด ที่ ตัวเองคิดว่า จะไป ...ลอง..เอ่ย ชื่อ วัด แล้ว ดู อาการ ทางจิตในสมอง ก็ จะได้ คำตอบ
    ว่า โล่ง..อึด อัด...บีบคอ หายใจไม่ออก..ตามที่บอกไว้ ข้างบนหรือไม่..
    คาดว่า จะมีหลายคนที่ สัมผัสได้แบบที่ เล่า..แต่จะมีส่วนน้อย..เพราะ 100 คน จะมี คนที่ มีพลังจิตที่ แรงพอทดสอบตัวเองได้ ไม่เกิน 3 คน
    ลองดู..ว่า คุณ อยู่ ในกลุ่มใหน
     
  2. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้
    ข้าพเจ้าขออุทิศให้
     
  3. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ทำที่ใจดีที่สุดครับ...
     
  4. ผีเสื้อราตรี

    ผีเสื้อราตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +283
    ทำบุญที่ไหนก็ได้ประโยชน์ทั้งนั้น แต่ถ้าจะให้ได้ประโยชน์มากคือทำกับผู้มีศิล
     
  5. สวนะ

    สวนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +201
    เห็นและยินดีด้วยกับคุณวิมุตติค่ะ..
    พิจารณาที่จิต..กำหนดรู้เสมอ..
    ดำเนินชีวิตด้วยความพร้อม ไม่ประมาท..
    ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่วาจะด้วย กาย วาจา ใจ
    ไม่ว่าอยู่ที่ไหนๆ ย่อมพบสุขแท้..สาธุ
     
  6. ผีเสื้อราตรี

    ผีเสื้อราตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +283
    ประโยชน์ของบุญ คือทำให้เราลดความตะหนี่ และใจก็มีความสุขจากการได้ให้
    ส่วนประโยชน์จากการให้แก่ผู้มีศิลนั้นเพราะผู้ที่มีศิลนั้นท่านจะทำประโยชน์ต่อไปทั้งศาสนาและยังประโยชน์กับบุคคลอื่นอีกมาก
     
  7. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    บุญมีประโยชน์ ต่อผู้ปฏิบัติธรรม อย่างไรครับ...

    ใจเป็นกุศล โลภะเบาบาง ขัดเกลากิเลสได้ง่ายขึ้น
     
  8. kriengkripob

    kriengkripob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,326
    ค่าพลัง:
    +2,048
    อนุโมทนาบุญ..........ด้วยจิตบริสุทธิ์ ปัจจัยอันบริสุทธิ์ และ พระผู้บริสุทธิ์...สาธุ
     
  9. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,210
    ค่าพลัง:
    +23,196
    ตรงนี้เข้าใจว่า ไปทำบุญ คือการทำทาน ในข้างต้น
    ฉะนั้นการทำทาน จะได้บุญมาก บุญน้อย หรืออานิสงค์มาก อานิสงค์น้อย
    ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ
    เรื่องการทำทาน โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ

    องค์ประกอบข้อที่ ๑ . " วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์ "
    วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยยักยอก ทุจริต ลักทรัพย์ ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ

    ตัวอย่าง ๑ ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตและเลือดเนื้อสัตว์ เช่นฆ่าสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทาน คือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีก หากว่าทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมอง แต่การที่จะได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหามาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้น โดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์นั้นก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่น ๆ ด้วย

    ตัวอย่าง ๒ ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ รวมตลอดถึงการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง อันเป็นการได้ทรัพย์มาในลักษณะที่ไม่ชอบธรรม หรือโดยเจ้าของเดิมไม่เต็มใจให้ทรัพย์นั้น ย่อมเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นของร้อน แม้จะผลิดอกออกผลมาเพิ่มเติม ดอกผลนั้นก็ย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ ด้วยนำเอาไปกินไปใช้ย่อมเกิดโทษ เรียกว่า " บริโภคโดยความเป็นหนี้ " แม้จะนำเอาไปทำบุญ ให้ทาน สร้างโบสถ์วิหารก็ตาม ก็ไม่ทำให้ได้บุญแต่อย่างไร สมัยหนึ่งในรัชการที่ ๕ มีหัวหน้าสำนักนางโลมชื่อ " ยายแฟง " ได้เรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณีในสำนักของตนจากอัตราที่ได้มาครั้งหนึ่ง ๒๕ สตางค์ แกจะชักเอาไว้ ๕ สตางค์ สะสมเอาไว้เช่นนี้จนได้ประมาณ ๒ , ๐๐๐ บาท แล้วจึงจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งด้วยเงินนั้นทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จแล้วแกก็ปลื้มปีติ นำไปนมัสการถามหลวงพ่อโตวัดระฆังว่าการที่แกสร้างวัดทั้งวัดด้วยเงินของแกทั้งหมดจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่า ได้แค่ ๑ สลึง แกก็เสียใจ เหตุที่ได้บุญน้อยก็เพราะทรัพย์อันเป็นวัตถุทานที่ตนนำมาสร้างวัดอันเป็นวิหารทานนั้น เป็นของที่แสวงหาได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เพราะว่าเบียดเบียนมาจากเจ้าของที่ไม่เต็มใจจะให้ ฉะนั้น บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายที่ซื้อของถูก ๆ แต่มาขายแพงจนเกินส่วนนั้น ย่อมเป็นสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ์โดยนัยเดียวกัน

    วัตถุทานที่บริสุทธิ์เพราะการแสวงหาได้มาโดยชอบธรรมดังกล่าว ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นของดีหรือเลว ไม่จำกัดว่าเป็นของมากหรือน้อย น้อยค่าหรือมีค่ามาก จะเป็นของดี เลว ประณีต มากหรือน้อยไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่กับเจตนาในการให้ทานนั้น ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาที่ตนมีอยู่


    องค์ประกอบข้อที่ ๒ . " เจตนาในการสร้างทานต้องบริสุทธิ์ "
    การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่นความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ " โลภกิเลส " และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วย เมตตาธรรมของตน อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตา พรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์ แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น

    ถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ

    ( ๑ ) ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะทานก็จะมีจิตที่โสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน

    ( ๒ ) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังมือให้ทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตใจโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น

    ( ๓ ) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้น ๆ
    เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ทำนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องจากเมตตาจิต ที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นความทุกข์ และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตน นับว่าเป็นเจตนาบริสุทธิ์ในเบื้องต้น แต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้ จะทำให้ยิ่ง ๆ บริสุทธิ์มากขึ้นไปอีก หากผู้ใดให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยการวิปัสสนาปัญญา กล่าวคือ ไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทานพร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งที่ชาวโลกนิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงวัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใดโดยเฉพาะ เป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมา และไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น และได้ผ่านการเป็นเจ้าของมาแล้วหลายชั่วคน ซึ่งท่านตั้งแต่ก่อนนั้น ได้ล้มหายตายจากไปแล้วทั้งสิ้น ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลยจนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ไดยึดถือเพียงชั่วคราว แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่น ๆ ต่อ ๆ ไปเช่นนี้ แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จึงนับว่าเป็นสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องจากไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลงนับว่าเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเราได้ถาวรได้ตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว ก็ต้องอยูในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเองก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็แก่เฒ่าและตายไปในที่สุด เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง

    เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้ว ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาแล้วด้วย เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมากหากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของบริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ ๑ ด้วย ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้ แต่ก็ยังมีข้ออันควรระวังอยู่ก็คือ " การทำทานนั้นอย่าได้เบียดเบียนตนเอง " เช่นมีน้อย แต่ฝืนทำให้มาก ๆ จนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้ เมื่อได้ทำไปแล้วตนเองและสามี ภริยา รวมทั้งบุตรต้องลำบาก ขาดแคลน เพราะว่าไม่มีจะกินจะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง เจตนานั้นย่อมไม่บริสุทธิ์ ทานที่ได้ทำไปแล้วนั้น แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย

    ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ทำทานด้วยเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ คือ

    ตัวอย่าง ๑ ทำทานเพราะอยากได้ ทำเอาหน้า ทำอวดผู้อื่น เช่น สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลใส่ชื่อของตน ไปยืนถ่ายภาพลงโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อให้ได้รับความนิยมยกย่องนับถือ โดยที่แท้จริงแล้วตนมิได้มีเจตนาที่จะมุ่งสงเคราะห์ผู้ใด เรียกว่า " ทำทานด้วยความโลภ " ไม่ทำเพื่อขจัดความโลภ ทำทานด้วยความอยากได้ คืออยากได้หน้า ๆได้เกียรติ ได้สรรเสริญ ได้ความนิยมนับถือ

    ตัวอย่าง ๒ ทำทานด้วยความฝืนใจ ทำเพราะเสียไม่ได้ ทำด้วยความเสียหาย เช่นทีพวกพ้องมาเรี่ยไร ตนเองไม่มีศรัทธาที่จะทำ หรือมีศรัทธาอยู่บ้างแต่มีทรัพย์น้อย เมื่อมีพวกมาเรี่ยไรบอกบุญ ต้องจำใจทำทานไปเพราะความเกรงใจพวกพ้อง หรือเกรงว่าจะเสียหน้า ตนจึงได้สละทรัพย์ทำทานไปด้วยความจำใจ ย่อมเป็นการทำทานด้วยความตระหนี่หวงแหน ทำทานด้วยความเสียดาย ไม่ใช่ทำทานด้วยจิตเมตตาที่มุ่งจะสงเคราะห์ผู้อื่น ซึ่งยิ่งคิดก็ยิ่งเสียดาย ให้ไปแล้วก็เป็นทุกข์ใจ บางครั้งก็นึกโกรธผู้ที่มาบอกบุญ เช่นนี้จิตย่อมเศร้าหมอง ได้บุญน้อย หากเสียดายมาก ๆ จนเกิดโทสะจริตกล้าแล้ว นอกจากจะไม่ได้บุญแล้ว ที่จะได้ก็คือบาป

    ตัวอย่าง ๓ ทำทานด้วยความโลภ คือทำทานเพราะว่าอยากได้นั่น อยากได้นี่ อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ อันเป็นการทำทานเพราะว่าหวังสิ่งตอบแทน ไม่ใช่ทำทานเพราะมุ่งหมายที่จะขจัดความโลภ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ของตน เช่น ทำทานแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอพรให้ชาติหน้าได้เป็นเทวดา นางฟ้า ขอให้รูปสวย ขอให้ทำมาค้าขึ้น ขอให้รำรวยเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ทำทาน ๑๐๐ บาท แต่ขอให้ร่ำรวยนับล้าน ขอให้ถูกสลากกินแบ่งกินรวบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสมบัติสวรรค์ หากชาติก่อนไม่เคยได้ทำบุญใส่บาตรฝากสวรรค์เอาไว้ อยู่ๆก็มาขอเบิกในชาตินี้ จะมีที่ไหนให้เบิก การทำทานด้วยความโลภเช่นนี้ย่อมไม่ได้บุญอะไรเลย สิ่งที่จะได้พอกพูนเพิ่มให้มากและหนาขึ้นก็คือ " ความโลภ "

    ผลหรืออานิสงส์ของการทำทานที่ครบองค์ประกอบ ๓ ประการนั้น ย่อมมีผลให้ได้ซึ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติเอง แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งเจตนาเอาไว้ล่วงหน้าก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากเหตุ เมื่อทำเหตุครบถ้วนย่อมมีผลเกิดขึ้นตามมาเอง เช่นเดียวกับปลูกต้นมะม่วง เมื่อรดน้ำพรวนดินและใส่ปุ๋ยไปตามธรรมดาเรื่อยไป แม้จะไม่อยากให้เจริญเติบโตและออกดอกออกผล ในที่สุดต้นไม้ก็จะต้องเจริญเติบโตและผลิตดอกออกผลตามมา สำหรับผลของทานนั้น หากน้อยหรือมีกำลังไม่มากนัก ย่อมน้อมนำให้เกิดในมนุษย์ชาติ หากมีกำลังแรงมากก็อาจจะน้อมนำให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น เมื่อได้เสวยสมบัติในเทวโลกจนสิ้นบุญแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่บ้าง ประกอบกับไม่มีอกุศลกรรมอื่นแทรกให้ผลก็อาจจะน้อมนำให้มาบังเกิดในมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวยมั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ หรือไม่ก็เป็นผู้ที่มีลาภผลมาก ทำมาหากินขึ้นและร่ำรวยในภายหลัง ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปเพราะวินาศภัย โจรภัย อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ

    แต่จะมั่งคั่งร่ำรวยในวัยใดก็ย่อมแล้วแต่ผลทานแต่ชาติก่อน ๆ จะส่งผล คือ

    ๑ . ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น เพราะผลของทานที่ได้ตั้งเจตนาไว้บริสุทธิ์ดีตั้งแต่ก่อนจะทำทาน คือก่อนที่จะลงมือทำทานก็มีจิตเมตตาโสมนัสร่าเริง เบิกบานยินดีในทานที่ตนจะได้ทำเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น แล้วก็ได้ลงมือทำทานไปตามเจตนานั้น เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมโชคดี โดยเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย ชีวิตในวัยต้นอุดมสมบูรณ์พูนสุขไปด้วยทรัพย์ ไม่ยากจนแร้นแค้น ไม่ต้องขวนขวายหาเลี้ยงตนเองมาก แต่ถ้าเจตนานั้นไม่งามบริสุทธิ์พร้อมกันทั้ง ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นก็ย่อมส่งผลให้ไม่สม่ำเสมอกัน คือแม้ว่าจะร่ำรวยตั้งแต่วัยต้นโดยเกิดมาบนกองเงินกองทองก็ตาม หากในขณะที่กำลังลงมือทำทานเกิดจิตเศร้าหมองเพราะหวนคิดเสียดายหรือหวงแหนทรัพย์ที่จะให้ทานขึ้นมา หรือเกิดหมดศรัทธาขึ้นมาเฉยๆแต่ก็ยังฝืนใจทำทานไปเพราะเสียไม่ได้หรือเพราะตามพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ เช่นนี้ผลทานย่อมหมดกำลังให้ผลระยะที่ ๒ ซึ่งตรงกับวัยกลางคน ซึ่งจะมีผลทำให้ทรัพย์สมบัติหายนะไปด้วยประการต่างๆแม้จะได้รับมรดกมาก็ไม่อาจจะรักษาไว้ได้ หากเจตนาในการทำทานนั้นเศร้าหมองในระยะที่ ๓ คือทำทานไปแล้วหวนคิดขึ้นมาทำให้เสียดายทรัพย์ ความหายนะก็มีผลต่อเนื่องมาจนบั้นปลายชีวิตด้วย คือทรัพย์สินคงวิบัติเสียหายต่อเนื่องจากวัยกลางคนตลอดไปจนถึงตลอดอายุขัยชีวิตจริงของผู้ที่เกิดบนกองเงินกองทองก็มีให้เห็น เป็นตัวอย่างที่เมื่อได้รับทรัพย์มรดกแล้วก็วิบัติเสียหายไป หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวัยต้นแต่ก็ต้องล้มละลายในวัยกลางคน และบั้นปลายชีวิต แต่ถ้าได้ตั้งเจตนาในการทำทานไว้บริสุทธิ์ครบถ้วนพร้อม ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นย่อมส่งผลสม่ำเสมอ คือร่ำรวยตั้งแต่เกิด วัยกลางคนและจนปัจฉิมวัย

    ๒ . ร่ำรวยในวัยกลางคนการที่ร่ำรวยในวัยกลางคนนั้น สืบเนื่องมาจากผลของทานที่ได้ทำเพราะเจตนางามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๒ กล่าวคือไม่งามบริสุทธิ์ในระยะแรก เพราะก่อนที่จะลงมือทำทานก็มิได้มีจิตศรัทธามาก่อน ไม่คิดจะทำทานมาก่อนแต่ก็ได้ตัดสินใจทำทานไปเพราะเหตุบางอย่าง เช่นทำตามพวกพ้องอย่าเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ลงมือทำทานอยู่ก็เกิดโสมนัสรื่นเริงยินดีในทานที่กำลังกระทำอยู่นั้น ด้วยผลทานชนิดนี้ย่อมทำให้มาบังเกิดในตระกูลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้สร้างตนเองมาในวัยต้น ครั้นเมื่อถึงวัยกลางคน กิจการหรือธุรกิจที่ทำก็ประสบความสำเร็จรุ่งเรื่อง และหากเจตนาในการทำทานได้งามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ ด้วย กิจการหรือธุรกิจนั้นย่อมส่งผลรุ่งเรื่องตลอดไปจนถึงบั้นปลายชีวิต หากเจตนาในการทำทานไม่บริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ แม้ธุรกิจหรือกิจการงานจะประสบความสำเร็จรุ่งเรืองในวัยกลางคน แต่ก็ล้มเหลวหายนะในบั้นปลาย ทั้งนี้เพราะผลทานหมดกำลังส่งผลไม่ตลอดจนถึงบั้นปลาชีวิต

    ๓ . ร่ำรวยปัจฉิมวัย คือร่ำรวยในบั้นปลายชีวิตนั้น สืบเนื่องมาจากผลทานที่ผู้กระทำมีเจตนางามไม่บริสุทธิ์ในระยะแรกและระยะที่ ๒ แต่งามบริสุทธิ์เฉพาะในระยะที่ ๓ กล่าวคือ ก่อนและในขณะลงมือทำทานอยู่นั้น ก็มิได้มีจิตโสมนัสยินดีในการทำทานนั้นแต่อย่างใด แต่ได้ทำลงไปโดยบังเอิญ เช่น ทำตามๆพวกพ้องไปอย่างเสียมิได้ แต่เมื่อได้ทำไปแล้วต่อมาหวนคิดถึงผลทานนั้น ก็เกิดจิตโสมนัสร่าเริง ยินดีเบิกบาน หากผลทานชนิดนี้จะน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลที่ยากจนข้นแค้น ต้องต่อสู้ดิ้นรนศึกษาเล่าเรียนและขวนขวายสร้างตนเองมากตั้งแต่วัยต้นจนล่วงวัยกลางคนไปแล้ว กิจการงานหรือธุรกิจนั้นก็ยังไม่ประสบกับความสำเร็จ เช่นต้องล้มลุกคลุกคลานตลอดมา แต่ครั้นถึงบั้นปลายชีวิตก็ประสบช่องทางเหมาะ ทำให้กิจการนั้นเจริญรุ่งเรื่องทำมาค้าขึ้นและร่ำรวยอย่างไม่คาดหมาย ซึ่งชีวิตจริง ๆ ของคนประเภทนี้ก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่มาก


    องค์ประกอบข้อที่ ๓ . " เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์ "
    คำว่า " เนื้อนาบุญ " ในที่นี่ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์พร้อมทั้งสามระยะ แต่ตัวผู้ที่ได้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล
    เปรียบเหมือนกับการหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงในพื้นนา ๑ กำมือ
    แม้เมล็ดข้าวนั้นจะเป็นพันธุ์ดีที่พร้อมจะงอกงาม ( วัตถุทานบริสุทธิ์ )
    และ ผู้หว่านคือกสิกรก็มีเจตนาจะหว่านเพื่อทำนาให้เกิดผลิตผลเป้นอาชีพ ( เจตนาบริสุทธิ์ ) แต่หากที่นานั้นเป็นที่ที่ไม่สม่ำเสมอกัน เมล็ดข้าวที่หว่านลงไปก็งอกเงยไม่เสมอกัน โดยเมล็ดที่ไปตกในที่เป็นดินดี ปุ๋ยดี มีน้ำอุดมสมบูรณ์ดี ก็จะงอกเงยมีผลิตผลที่สมบูรณ์ ส่วนเมล็ดที่ไปตกบนพื้นนาที่แห้งแล้ง มีแต่กรวดกับทรายและขาดน้ำก็จะแห้งเหี่ยวหรือเฉาตายไป หรือไม่งอกเงยเสียเลย การทำทานนั้น ผลิตผลที่ผู้ทำทานจะได้รับก็คือ " บุญ " หากผู้ที่รับการให้ทานไม่เป็นเนื้อนาที่ดีสำหรับการทำบุญแล้ว ผลของทานคือบุญก็จะได้เกิดขึ้น แม้จะเกิดก็ไม่สมบูรณ์ เพราะแกร็นหรือแห้งเหี่ยวเฉาไปด้วยประการต่าง ๆ
    ฉะนั้นในการทำทาน ตัวบุคคลผู้รับของที่เราให้ทานจึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด เราผู้ทำทานจะได้บุญมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับคนพวกนี้ คนที่รับการให้ทานนั้นหากเป็นผู้ที่มีศีลธรรมสูง ก็ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่ดี ทานที่เราได้ทำไปแล้วก็เกิดผลบุญมาก หากผู้รับการให้ทานเป็นผู้ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรม ผลของทานก็ไม่เกิดขึ้น คือได้บุญน้อย ฉะนั้นคติโบราณที่กล่าวว่า " ทำบุญอย่าถามพระ หรือ ตักบาตรอย่าเลือกพระ " เห็นจะใช้ไม่ได้ในสมัยนี้ เพราะว่าในสมัยนี้ไม่เหมือนกับท่านในสมัยก่อนๆที่บวชเพราะมุ่งจะหนีสงสาร โดยมุ่งจะทำมรรคผลและนิพพานให้แจ้ง ท่านจึงเป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ แต่ในสมัยนี้มีอยู่บางคนที่บวชด้วยคติ ๔ ประการ คือ " บวชเป็นประเพณี บวชหนีทหาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน " ธรรมวินัยใดๆท่านไม่สนใจ เพียงแต่มีผ้าเหลืองห่มกาย ท่านก็นึกว่าตนเป็นพระและเป็นเนื้อนาบุญเสียแล้ว ซึ่งป่วยการจะกล่าวไปถึงศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ แม้แต่เพียงศีล ๕ ก็ยังเอาแน่ไม่ได้ว่าท่านจะมีหรือไม่ การบวชที่แท้จริงแล้วก็เพื่อจะละความโลภ ความโกรธ ความหลง ปัญหาว่า


    ทำอย่างไรจึงจะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ข้อนี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับวาสนาของเราผู้ทำทานเป็นสำคัญ หากเราได้เคยสร้างสมอบรมสร้างบารมีมาด้วยดีในอดีตชาติเป็นอันมากแล้ว บารมีนั้นก็จะเป็นพลังวาสนาน้อมนำให้ได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ทำทานครั้งใดก็มักโชคดี ได้พบกับท่านที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไปเสียทุกครั้ง หากบุญวาสนาของเราน้อยและไม่มั่นคง ก็จะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญบ้าง ได้พบกับอลัชชีบ้าง คือดีและชั่วคละกันไป เช่นเดียวกับการซื้อสลากกินแบ่งสลากกินรวบ หากมีวาสนาบารมีเพราะได้เคยทำบุญให้ทานฝากกับสวรรค์ไว้ในชาติก่อน ๆ ก็ย่อมมีวาสนาให้ถูกรางวัลได้ หากไม่มีวาสนาเพราะไม่เคยทำบุญทำทานฝากสวรรค์เอาไว้เลย ก็ไม่มีสมบัติสวรรค์อะไรที่จะให้เบิกได้ อยู่ ๆ ก็จะมาขอเบิก เช่นนี้ก็ยากที่จะถูกรางวัลได้



    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ


    ๑ . ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี

    ๒ . ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๓ . ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๔ . ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๕ . ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ
    พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น " พระ " แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า " สมมุติสงฆ์ " พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น " พระ " ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ " พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมเจ้า " และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

    ๖ . ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ - พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ( ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น )

    ๗ . ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๘ . ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๙ . ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๐ . ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๑ . ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๒ . ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๓ . การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า " การถวายวิหารทาน " แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน " อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น " โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ " ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

    ๑๔ . การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ( ๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ " ธรรมทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ "

    ๑๕ . การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ " อภัยทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ " การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู " ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ " ละโทสะกิเลส " และเป็นการเจริญ " เมตตาพรหมวิหารธรรม " อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง " พยาบาท " ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง
    อย่างไรก็ดี การให้อภัยทานแม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่น ๆ ทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า " ฝ่ายศีล " เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2008
  10. ผีเสื้อราตรี

    ผีเสื้อราตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +283
    บุญในที่นี้คือ ทาน คือการให้เป็นพื้นฐานของการศึกษาธรรม เพราะเมื่อให้ทานแล้วจะรู้สึกถึงความสุขและถ้าอยากมีความสุข อีกก็จะรักษาศิลต่อ ความสุขที่ได้ระยะเวลานานกว่าทาน และถ้าอยากมีความสุขมากกว่าศิลก็คือทำภาวนา เป็นลำดับ
    เริ่มจากการให้เพราะเป็นสิ่งที่ทำง่ายที่สุด
     
  11. O๐.AnGle.๐O

    O๐.AnGle.๐O เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +861
    ทำ บุญ กับ พ่อ กับ แม่ สิ ครับ
     
  12. เห็ดหอม

    เห็ดหอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    243
    ค่าพลัง:
    +1,805
    ถูกต้อง ครับ
    บ้านเรา เหมือนวัดที่ดีที่สุด
    พ่อกับแม่ คือ พระในบ้าน ที่ เมื่อเราเอาใจใส่ดูแล มีความกตัญญูต่อ ท่าน
    จะได้ บุญที่ สุงมาก
    ไม่มีใครทำบุญในวัดหรือ บ้านตัวเองไม่ได้
    เพราะไม่มีกรรมที่ บาป เช่นการฆ่า กันในสงคราม ในอดีต เช่นในยุค กรุงศซรีอยุธยา
    การทำบุญ คือ การทำให้ จิตดี มั่นในศีล จะได้ สมาธิ และ ปัญญา..เดินไปสู่เส้นทางการหลุดพ้น
    ถ้า ยังไม่หลุดพ้น..ก็ จะเป็นการเพิ่มบารมี..ให้ ภพชาติ ต่อไป ดี ขึ้น..มีโอกาสมากขึ้น
    บางคน..มีอำนาจพิเศษใน ตัว มากกว่า คน ธรรม ดา..ที่เรียกว่า "มีของเก่า / มีบุญเก่า "
    เพิ่มบารมีไปเรื่อยๆๆ ก็ เท่ากับ เดิน เร็ว ขึ้นบนถนนแห่ง การหลุดพ้น
     
  13. เห็ดหอม

    เห็ดหอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    243
    ค่าพลัง:
    +1,805
    ที่ได้เล่าไว้ ว่า ทำบุญที่ วัดบางแห่ง ตรงๆๆไม่ได้เพราะ ในอดีตเป็นสงคราม..มีการฆ่า กันในพื้นที่ ที่แยกเป็น ตำบล ไม่จำเป็น ต้อง ในบริเวณ วัด..และวัดนั้นอยู่ในตำบลที่เกิด เหตุ การฆ่า กัน ผิดศีล ข้อ แรก..จึงทำที่ วัดที่ ตำบลนั้นไม่ได้
     
  14. MegaFM

    MegaFM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    268
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ทำที่วัดครับ เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วย
     
  15. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    การรักษาศีล ,ทำทาน (วัตถุทาน ธรรมทาน ใส่บาตร), เจริญภาวนา(เช่น สมาธิ วิปัสสนา สวดมนตร์ หรืการแผ่เมตตา) ล้วนเป็นองค์ประกอบแห่งที่มาของบุญ ทั้งสิ้น
    บุญจึงไม่ใช่เพียงแค่การถวายวัตถุทานเท่านั้น

    ช่วงนี้หยุดเดินทางเพราะน้ำมันแพง เมื่อคืนวานจึงทำบุญที่บ้าน โดยให้คนในครอบครัวสวดมนตร์ เป็นพุทธบูชา ด้วยธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระธารณปริตร พระคาถาชัยน้อย ฯ ได้รวมจิตมาที่ฐานใจเราแล้วอุทิศไปให้สรรพสัตว์ ทั่วทั้งหมื่น ๆ โลกธาตุ ก็ได้รู้สึกและตระหนักในพลังบุญอย่างชัดเจน
     
  16. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    สวัสดีครับ อาจารย์ .... เห็ดหอม ไม่พบกันนานเลยนะครับ
     
  17. kukkai.l

    kukkai.l เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    488
    ค่าพลัง:
    +173
    การทำบุญ ต้องทำด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ทำด้วยความศรัทธาเลื่อมใส เต็มใจที่จะทำ ไม่จำเป็นต้องเฉพาะเจาะจงสถานที่ใดที่หนึ่ง การทำบุญสามารถทำได้ทั้งที่วัด ศาลเจ้า โรงเจ หรือเทวสถานต่างๆเพื่อจรรโลงศาสนาให้ยั่งยืนโดยยึดตามหลักธรรมคำสอนของพระศาสดา

    การทำบุญเมื่อทำแล้วจิตใจต้องสงบ ผ่องใส ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น หรือสร้างปัญหาต่อสถานที่นั้นๆ
     
  18. matthanee

    matthanee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +10
    ถูกที่ ถูกคน ถูกเวลา (ด้วยของที่บริสุทธิ์ค่ะ)
     
  19. ประทีปแก้ว

    ประทีปแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    3,506
    ค่าพลัง:
    +8,328
    ทำในที่ที่เราอยากทำ กับคนที่เราควรทำ เช่น พ่อ แม่ พระอริยสงฆ์ที่เรานับถือ วัดใกล้บ้าน หรือตามโอกาสที่อำนวยให้ทำ อนุโมทนาค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2008
  20. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    เรื่องนี้มีผู้ถามแล้ว และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงตอบไว้แล้วดังนี้

    ---------------------------------------------------------------------------------
    [๔๐๕] สาวัตถีนิทาน ฯ
    พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทาน บุคคลพึงให้ในที่ไหนหนอแล ฯ
    พ. ดูกรมหาบพิตร จิตย่อมเลื่อมใสในที่ใด พึงให้ในที่นั้นแล ฯ
    ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ และทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก ฯ
    [๔๐๖] พ. ดูกรมหาบพิตร ทานพึงให้ในที่ไหนนั่นเป็นข้อหนึ่ง และทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก นั่นเป็นอีกข้อหนึ่ง ดูกรมหาบพิตร ทานที่ให้แล้วแก่ผู้มีศีลแลมีผลมาก ทานที่ให้แล้วในผู้ทุศีลหามีผลมากไม่ ดูกรมหาบพิตร และด้วยเหตุนั้น อาตมภาพจักย้อนถามมหาบพิตรในปัญหากรรมข้อนั้นบ้าง มหาบพิตรพอพระทัยอย่างใด พึงพยากรณ์อย่างนั้น ฯ
    [๔๐๗] มหาบพิตรจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ณ ที่นี้การยุทธพึงปรากฏเฉพาะหน้าแด่พระองค์ สงครามพึงปะทะกัน ถ้าว่ากุมารที่เป็นกษัตริย์ผู้ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้หัดมือ ไม่ได้รับความชำนาญ ไม่ได้ประลองการยิง เป็นคนขลาด เป็นคนมักสั่น เป็นคนมักสะดุ้ง เป็นคนมักวิ่งหนี พึงมาอาสาไซร้ พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และพระองค์พึงทรงต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ ฯ
    ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงบุรุษเช่นนั้น และข้าพระองค์ไม่ต้องการบุรุษเช่นนั้นเลย ฯ
    พ. ถ้าว่า กุมารที่เป็นพราหมณ์ ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ ถ้าว่ากุมารที่เป็นแพศย์ ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ ถ้าว่ากุมารที่เป็นศูทร ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือและพระองค์พึงทรงต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ ฯ
    ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และข้าพระองค์ไม่พึงต้องการบุรุษเช่นนั้นแล ฯ
    [๔๐๘] พ. ดูกรมหาบพิตร พระองค์จะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ณ ที่นี้การยุทธพึงปรากฏแก่พระองค์ สงครามพึงปะทะกัน ถ้าว่า กุมารที่เป็นกษัตริย์ผู้ศึกษาดีแล้ว ได้หัดมือแล้ว ได้รับความชำนาญแล้ว ได้ประลองการยิงมาแล้วไม่เป็นคนขลาด ไม่เป็นคนสั่น ไม่เป็นคนสะดุ้ง ไม่เป็นคนมักวิ่งหนี พึงมาอาสาไซร้ พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และพระองค์พึงทรงมีพระประสงค์บุรุษเช่นนั้นหรือ ฯ
    ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และหม่อมฉันพึงต้องการบุรุษเช่นนั้น ฯ
    พ. ถ้าว่ากุมารที่เป็นพราหมณ์ ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ ถ้าว่า กุมารที่เป็นแพศย์ ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ ถ้าว่า กุมารที่เป็นศูทร ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ พระองค์จะพึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และพระองค์จะพึงทรงมีพระประสงค์บุรุษเช่นนั้นหรือ
    ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และหม่อมฉันพึงต้องการบุรุษเช่นนั้น ฯ
    [๔๐๙] พ. ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร แม้หากว่า กุลบุตรออกจากเรือนตระกูลไรๆ เป็นผู้บวชหาเรือนมิได้ และกุลบุตรนั้น เป็นผู้มีองค์ ๕ อันละได้แล้ว เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรนั้น ย่อมเป็นทานมีผลมาก องค์ ๕ อันกุลบุตรนั้นละได้แล้วเป็นไฉน กามฉันทะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว พยาบาทอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว ถีนมิทธะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว อุทธัจจกุกกุจจะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว วิจิกิจฉาอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว องค์ ๕ เหล่านี้อันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นไฉน
    กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขะเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรผู้มีองค์ ๕ อันละได้แล้ว ผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ ดังนี้ ย่อมมีผลมาก ฯ
    [๔๑๐] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้
    จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า4
    ศิลปะการยิงแม่น กำลังเข้มแข็ง และความกล้าหาญมีอยู่
    ในชายหนุ่มผู้ใด พระราชาผู้ทรงพระประสงค์ด้วยการยุทธ
    พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่มเช่นนั้น ไม่พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่ม
    ผู้ไม่กล้าหาญ เพราะเหตุแห่งชาติ ฉันใด ฯ
    ธรรมะคือขันติ และโสรัจจะ ตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด บุคคล
    พึงบูชาบุคคลนั้นผู้มีปัญญา มีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ
    แม้มีชาติทราม ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
    พึงสร้างอาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์ ยังผู้พหูสูตทั้งหลายให้สำนัก
    อยู่ ณ ที่นั้น พึงสร้างบ่อน้ำไว้ในป่าที่กันดารน้ำ และสะพาน
    ในที่เป็นหล่ม พึงถวาย ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และ
    เสนาสนะในท่านผู้ซื่อตรงทั้งหลาย ด้วยน้ำใจอันผ่องใส
    เมฆมีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ (เมฆอันประกอบด้วยถ่องแถว
    แห่งสายฟ้า) มียอดตั้งร้อยกระหึ่มอยู่ ยังแผ่นดินให้โชกชุ่มอยู่
    ย่อมยังที่ดอนและที่ลุ่มให้เต็ม แม้ฉันใด ฯ
    ทายกผู้มีศรัทธา เป็นบัณฑิตได้ฟังแล้ว ย่อมจัดหาโภชนา-
    หารมาเลี้ยงวณิพก ด้วยข้าวน้ำให้อิ่มหนำ บันเทิงใจ เที่ยวไป
    ในโรงทาน สั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้
    ดังนี้ และทายกนั้นบันลือเสียงเหมือนเสียงกระหึ่มแห่งเมฆ
    เมื่อฝนกำลังตก ฉะนั้น ธารแห่งบุญอันไพบูลย์นั้น ย่อมยัง
    ทายกผู้ให้ ให้ชุ่มชื่น ฯ
    (ที่มา : อิสสัตถสูตรที่ ๔ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)
    -----------------------------------------------------------------------------
    สรุปพระสูตรนี้ได้ 2 ประเด็น คือ
    ถาม ทำบุญที่ไหนดี
    คำตอบ ทำในที่ที่เราศรัทธา
    ถาม ทำบุญที่ใดได้ผลมาก
    ตอบ ทำในผู้มีศีล มีธรรม ในท่านผู้หมดกิเลส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...