ภิกษุแสวงหาเงิน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย sasitorn2006, 31 กรกฎาคม 2008.

  1. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    ภิกษุแสวงหาเงิน
     
  2. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    เงียบ ........................ ไม่กล้าตอบเลยเหรอ
     
  3. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    งั้นจัดให้

    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
    </CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา ที่ดิน แพะ แกะ และคนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษ ผู้อื่น ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแก่การทะเลาะ วิวาท จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียวแดง เป็นคนลวงโลก กระด้าง เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล เที่ยวชูเขา คือมานะ ทำตนดั่งพระ อริยเจ้าท่องเที่ยวไปอยู่ เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียด เหลาะแหละ ให้ยาหยอดและทาตา มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสี งา สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่ จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำ ฝาดเป็นของไม่น่าเกลียด พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วยินดียิ่งนัก เป็นธงชัยของพระอรหันต์ พอใจแต่ในผ้าขาวๆ จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็น ความลำบาก จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉา- ชีพ จักได้ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น (เที่ยวคบหา ราชสกุลเป็นต้นเพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวมอินทรีย์ เที่ยวไป อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย จัก ไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์มีศีลเป็นที่รัก จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาว มิลักขะชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย บางพวก ก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์ อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุ เหล่านั้นจักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย บริโภคผ้ากาสาวะ เมื่อทุกข์ครอบงำ ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่ พิจารณาโดยแยบคาย แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา มีแต่เสียงโอด ครวญอย่างใหญ่หลวง เปรียบเหมือนช้างฉัททันต์ ได้เห็นผ้ากาสาวะ อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ที่นายโสณุตระพราน นุ่งห่มไปในคราว นั้น ก็ไม่กล้าทำร้าย ได้กล่าวคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์มากมาย ว่า ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งผ้ากาสาวะ ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดออกแล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีลอย่างมั่นคง ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นจึงสมควรจะ นุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดมีศีลวิบัติ มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำตามความใคร่อย่างเดียว มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ขวนขวายในทางที่ควร ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจาก ราคะ มีใจตั้งมั่น มีความดำริในใจผ่องใส ผู้นั้นสมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ โดยแท้ ผู้ใดไม่มีศีล ผู้นั้นเป็นคนพาล มีจิตใจฟุ้งซ่าน มีมานะฟูขึ้นเหมือน ไม้อ้อ ย่อมสมควรจะนุ่งห่มแต่ผ้าขาวเท่านั้น จักควรนุ่งผ้าห่มผ้ากาสาวะ อย่างไร อนึ่ง ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักเป็นผู้มีจิตใจชั่ว ร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ จักข่มขี่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่ มีเมตตาจิต แม้ภิกษุ ทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำ ตามความใคร่ ถึงพระเถระให้ศึกษาการใช้สอยผ้าจีวร ก็จักไม่เชื่อฟัง พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือน อย่างนั้น จักไม่เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์ จักเป็นเหมือนม้าพิการไม่เอื้อเฟื้อนายสารถี ฉะนั้น ในกาลภายหลังแต่ ตติยสังคายนา ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้. ครั้นพระปุสสเถระแสดงมหาภัยอันจะบังเกิดขึ้น ในกาลภายหลังอย่างนี้แล้ว เมื่อจะ ให้โอวาทภิกษุที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นอีก จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้ ก่อน ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย มีความเคารพกันและกัน มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน จงสำรวมในศีล ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์ ขอท่าน ทั้งหลายจงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัย และจงเห็นความไม่ ประมาทโดยความเป็นของปลอดภัย แล้วจงอบรมอัฏฐังคิกมรรค เมื่อ ทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะบรรลุนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย.<CENTER></CENTER>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๗๙๙๙ - ๘๐๔๘. หน้าที่ ๓๔๔ - ๓๔๖.http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=7999&Z=8048&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=395 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๖</U>http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=26&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD<CENTER></CENTER></PRE>
     
  4. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
    มหาวรรค ภาค ๒
    </CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการกสั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิยภัณฑ์นั้นได้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไรๆ เลย.<CENTER></CENTER>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๒๓๖๐ - ๒๓๖๓. หน้าที่ ๙๖.http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=2360&Z=2363&pagebreak=0 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๕</U>http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=5&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD<CENTER></CENTER></PRE>
     
  5. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
    มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
    </CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและรับเงิน. ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ. ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ. ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี. ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส. ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ. ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร. ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา. ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน. ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้. ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อและการขาย. ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด. ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง. ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก. เธอเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้องเธอจะไปทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง. ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายในเธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้นชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ เธอฟังเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน. ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ในการแล ในการเหลียวในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยวการลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับการตื่น การพูด การนิ่ง. ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร สติและสัมปชัญญะ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็ง ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือ พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้วเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา. ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ อันทำปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณเธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้างสี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วไม่มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะนี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี. ดูกรพราหมณ์คฤหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อนไม่ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุขมีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว.<CENTER>พราหมณ์และคฤหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก</CENTER> [๑๒๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์คฤหบดีและชาวบ้านศาลาทั้งหลายได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.<CENTER>จบ อปัณณกสูตร ที่ ๑๐.</CENTER><CENTER>จบ คหปติวรรค ที่ ๑.</CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER><CENTER>รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ</CENTER> ๑. กันทรกสูตร ๒. อัฏฐกนาครสูตร ๓. เสขปฏิปทาสูตร ๔. โปตลิยสูตร ๕. ชีวกสูตร ๖. อุปาลิวาทสูตร ๗. กุกกุโรวาทสูตร ๘. อภัยราชกุมารสูตร ๙. พหุเวทนิยสูตร ๑๐. อปัณณกสูตร<CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๒๒๗๘ - ๒๓๘๒. หน้าที่ ๙๘ - ๑๐๓.http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2278&Z=2382&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=103 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๓</U>http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=13&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD<CENTER></CENTER></PRE>
     
  6. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
    </CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่รักของดิฉัน สมณะทั้งหลายท่านไม่รับเงินไม่รับทอง ไม่รับรูปิยะ เยียวยาอัตภาพด้วยอาหารอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น สมณะ ทั้งหลายจึงเป็นที่รักของดิฉัน สมณะทั้งหลายออกบวชจากตระกูลต่างๆ กัน และจากชนบทต่างๆ กัน แต่ย่อมรักใคร่กันและกันดี เพราะเหตุนั้น สมณะทั้งหลายจึงเป็นที่รักของดิฉัน. บิดากล่าวกะเราต่อไปว่า ดูกรลูกโรหิณีผู้เจริญ เจ้าเกิดในตระกูลของเราเพื่อประโยชน์แก่เราหนอ เพราะเจ้าเป็นผู้มีศรัทธา และมีความเคารพอย่างแรงกล้าในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ และเจ้าย่อมรู้จักพระสงฆ์ว่าเป็นเขตบุญอัน ยอดเยี่ยมของโลก ขอให้สมณะเหล่านั้นรับทักษิณาทานของเราบ้าง เพราะไทยธรรมที่เราตั้งไว้แล้วในสมณะเหล่านั้น จักมีผลไพบูลย์แก่เรา. เรากล่าวกะบิดาอย่างนี้ว่า ถ้าคุณพ่อกลัวต่อทุกข์ ถ้าคุณพ่อเกลียดทุกข์ จงเข้าถึงพระพุทธเจ้ากับทั้ง พระธรรมและพระสงฆ์ผู้คงที่ว่าเป็นสมณะ จงสมาทานศีล ด้วยว่า สรณคมน์ และการสมาทานศีล จักเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คุณพ่อ. บิดาได้กล่าวกะเราว่า พ่อจะเข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ผู้คงที่ว่าเป็นสรณะ และจะสมาทานศีล เพราะสรณคมน์และการสมาทานศีลนั้น จักเป็นไป เพื่อประโยชน์แก่เรา เมื่อก่อนเราเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม แต่เดี๋ยวนี้เรา เป็นพราหมณ์แล้ว เราเป็นผู้มีวิชชา ๓ มีความสวัสดีถึงฝั่งแห่งเวท และ เป็นผู้ล้างบาปได้แล้ว.<CENTER></CENTER>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๙๗๐๐ - ๙๗๒๐. หน้าที่ ๔๒๑ - ๔๒๒.http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=9700&Z=9720&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=468 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๖</U>http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=26&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD<CENTER></CENTER></PRE>
     
  7. จิรโรจน์

    จิรโรจน์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +13
    อ้าวเงียบเลยครับไม่มีใครเข้ามาแย้งอีกหรอครับว่า ที่พระภิกษุเรียกรับเงินไม่ว่าปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ทำสังฆทานเวียน สักยันต์ฝังตะกรุด นั้นทำไปเพื่อนำเงินบริจาคไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
     
  8. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
  9. magic_storm

    magic_storm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +3,053
    ใครจะกล้าแย้งล่ะ เพราะนี่คือเรื่องจริงไง เหอๆ
     
  10. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4

แชร์หน้านี้

Loading...