ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    [​IMG]

    พระในส่วนที่นายสตินำมาลง และจะนำมาสอนในงานบุญวันที่ 28/9 นี้ มีความสวยงามมาก เข้าใจว่าจะถูกนำไปตีพิมพ์ในหนังสือปู่เล่าให้ฟัง 2 ด้วย โดยหนังสือในขณะนี้น่าจะกำลังตรวจความถูกต้องทั้งหมดในขั้นตอนสุดท้ายก่อนพิมพ์และเข้าเล่ม ถ้าเสร็จแล้วคงนำมาให้เก็บกันเอาไว้เพื่อเป็นตำราในการเรียนรู้กันต่อไปภายหน้าด้วยครับ(จำนวนการพิมพ์มีไม่มากแต่เนื้อหาและรูปมีเยอะ)

    ขอเพิ่มเติมในส่วนของพระสมเด็จอัสนีย์เนื้อปูนสอนิดนึง เพราะพระนี้น่าจะมีการอธิษฐานจิตหลายครั้ง เพราะเท่าที่ผมมีจากที่ให้ตรวจทางนามเมื่องานบุญในครั้งที่ 8 จะมีกระแสความแรงต่างกัน องค์ที่แรงที่สุด จะเป็นพิมพ์อะระหัง เนื้อปอร์ซเลนสีขาวที่มีรอยฟ้าผ้าผ่านที่ฐานพระพิมพ์ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด ทั้งน้องตาดี และพี่ใหญ่ที่ตรวจให้ บอกว่าน่าจะเป็นการรับกระแสโดยตรงจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ทั้งบู๊และบุ๋น และผู้ที่อธิษฐานจิตที่เป็น "ทิพย์"เยอะมาก ซึ่งต่างจากอีก 2 องค์ที่ยังอยู่ในระดับปานกลาง แต่ก็นับว่าดีกว่าพระพิมพ์สมเด็จทั่วไปครับ

    ส่วนพระ 2408 และ 2411 นั้น เคยสอนไปแล้ว 1 ครั้ง (เฉพาะพิมพ์ 2408) หากยังไม่เข้าใจก็สามารถสอนใหม่ได้ สำหรับ 2408 นั้น เคยตรวจแล้ว โดยน้องตาดี ถ้าเป็นเนื้อปัญจสิริจะแรงมากกว่าปกติครับ

    เรื่องการตรวจพระ ตรวจแล้วรู้แล้วก็เท่านั้น เต็มที่ก็แขวนได้ไม่กี่องค์ ที่เหลือท่านจำวัดในตู้บ้าง ในกล่องบ้าง หัวเตียงบ้าง อย่าลืม "สร้างพระในใจ และสร้างนิสัยในการทำบุญ" เอาไว้ในตนเองดีกว่าครับ ติดตัวสืบสันดานข้ามภพชาติ ตัดเวรตัดกรรมได้ดีกว่า แถมยังเกื้อหนุนผลบุญกุศลที่ได้ให้แก่ผู้อื่นได้ด้วยครับ





    <CENTER></CENTER>
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE borderColor=white cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 22 เมษายน 2551 1:11:31 น.-->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๕๒ : ท้าวโลกบาลถวายบาตร
    <!-- Main -->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๕๒ : ท้าวโลกบาลถวายบาตร

    ท้าวโลกบาลถวายบาตร ขณะประทับโคนไม้เกต
    เทวดาบอกสองพาณิชให้ไปเฝ้า

    [​IMG]


    เทวดาบอกสองพาณิชให้ไปเฝ้า



    ขณะประทับโคนไม้เกต มีนายพานิชสองพี่น้องชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ เป็นนายกองเกวียน นำกองเกวียนบรรทุกสินค้า ๕๐๐ เล่ม เดินทางมาใกล้ ถึงตำบลอุรุเวลา เทพยดาจึงได้แนะนำให้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทั้งสองเห็นพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ใต้ร่มไม้เกต ประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ ฉัพพรรณรังสีรุ่งเรือง ก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใส จึงนำข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผง ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวาย (ข้าวสัตตุนี้ไทยเราเรียกข้าวตู พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า "ข้าวตากคั่วแล้วตำเป็นผลเคล้ากับน้ำตาลและมะพร้าว" ) ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางไกล ไปถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่มีบาตรจะทรงรับเครื่องไทยทาน ก็ทรงปริวิตก ว่าจะควรรับสิ่งของถวายนี้ด้วยพระหัตถ์หรือประการใดดี

    [​IMG]
    ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ นำบาตรมาจากทิศทั้ง ๔ น้อมเข้าไปถวาย



    ทรงประสานบาตร
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า บาตรของตถาคตได้หายไปแต่เช้าแห่งวันตรัสรู้ ต้องทรงรับข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาด้วยพระหัตถ์ และครั้นได้ตรัสรู้แล้ว บัดนี้ ควรที่ตถาคตจะรับอาหารของสองพานิช ที่น้อมเข้ามาถวายด้วยบาตร ทั้งนี้เป็นธรรมเนียมของพระศาสดาชั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ไม่รับของถวายจำพวกอาหารด้วยพระหัตถ์ แต่จะรับด้วยภาชนะ คือ บาตรเท่านั้น


    [​IMG]
    ท้าวจาตุมหาราช ถวายบาตร

    ขณะนั้นท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ พระองค์ คือท้าวจาตุมหาราช เป็นเทพเจ้าผู้ใหญ่ ผู้ทำหน้าที่รักษาโลก ประจำอยู่ในทิศทั้ง ๔ คือ ท้าวธตรฐ เป็นหัวหน้าฝ่ายคนธรรพ์ อยู่ทางทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก เป็นหัวหน้าฝ่ายเทวดา อยู่ทางทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายนาค อยู่ทางทิศตะวันตก และท้าวกุเวร เป็นหัวหน้าฝ่ายยักษ์ อยู่ทางทิศเหนือ ได้นำบาตรเสลมัย เป็นศิลาล้วน มีสีเขียวดังเม็ดถั่วเขียวทั้ง ๔ ลูก มาจากทิศทั้ง ๔ น้อมเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นพระองค์ทรงรับบาตรทั้ง ๔ ลูก จากท้าวมหาราชแล้ว ทรงดำริว่า บรรพชิตไม่ควรมีบาตรเกินกว่า ๑ ลูก ในทันใดนั้นเอง ก็ทรงอธิษฐานประสานบาตรทั้ง ๔ ลูกนั้น เข้าเป็นบาตรลูกเดียว เพื่อทรงเอาบาตรนั้นรับข้าวสัตตูก้อน สัตตูผง จากพานิชทั้งสอง


    [​IMG]
    ทรงอธิษฐานประสานบาตร
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    อเหตุกจิต ๓ ประการ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
    <!--InformVote=0--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[0], 0);</SCRIPT>
    <!--MsgIDBody=0-->อเหตุกจิต ๓ ประการ


    ๑. ปัญจทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ตามอายตนะหรือทวารทั้ง ๕ มีดังนี้

    ตา ไปกระทบกับรูป เกิด จักษุวิญญาณ คือ การเห็น จะห้ามไม่ให้ตาเห็นรูปไม่ได้

    หู ไปกระทบเสียง เกิด โสตวิญญาณ คือ การได้ยิน จะห้ามไม่ให้หูได้ยินเสียงไม่ได้

    จมูก ไปกระทบกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ คือ การได้กลิ่น จะห้ามไม่ให้จมูกรับกลิ่นไม่ได้

    ลิ้น ไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ คือ การได้รส จะห้ามไม่ให้ลิ้นรับรู้รสไม่ได้

    กาย ไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ คือ กายสัมผัส จะห้ามไม่ให้กายรับสัมผัสไม่ได้

    วิญญาณทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นกิริยาแฝงอยู่ในกายตามทวาร ทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบ เป็นภาวะแห่งธรรมชาติของมันเป็นอยู่เช่นนั้น

    ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๕ เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอกที่เข้ามากระทบ แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้ เราจะห้ามมิให้เกิด มี เป็น เช่นนั้น ย่อมกระทำมิได้

    การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดจากทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น ประกอบการงานทางกาย ก็ควรจะกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต เช่นเมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่คิดปรุง ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง ดังนี้เป็นต้น

    (ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว)

    ๒. มโนทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ที่มโนทวาร มีหน้าที่ผลิตความคิดนึกต่างๆ นานา คอยรับเหตุการณ์ภายในภายนอกที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเอาไว้ จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆ กรณีย่อมไม่ได้

    ก็แต่ว่าเมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆ ถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร ก็ให้กำหนดรู้ว่าจิตคิดถึงเรื่องเหล่านั้น ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์บุคคล เราเขา ไม่ยึดถือ วิจารณ์ความคิดเหล่านั้น

    ทำความเห็นให้เป็นปกติ ไม่ยึดถือความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น จิตย่อมไม่ไหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์

    ๓. หสิตุปบาท คือ กิริยาที่จิตยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม หมายความว่าไม่อยากยิ้มมันก็ยิ้มของมันเอง กิริยาจิตอันนี้มีเฉพาะเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี



    สำหรับ อเหตุกจิต ข้อ (๑) และ (๒) มีเท่ากันในพระอริยเจ้าและในสามัญชน นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เมื่อตั้งใจปฏิบัติตนออกจากกองทุกข์ ควรพิจารณาอเหตุกจิตนี้ให้เข้าใจด้วย เพื่อความไม่ผิดพลาดในการบำเพ็ญปฏิบัติธรรม

    อเหตุกจิตนี้นักปฏิบัติทั้งหลายควรทำความเข้าใจให้ได้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะพยายามบังคับสังขารไปหมด ซึ่งเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมมาก เพราะความไม่เข้าใจในอเหตุกจิต ข้อ (๑) และ (๒) นี้เอง

    อเหตุกจิต ข้อ (๓) เป็นกิริยาจิตที่ยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม เกิดในจิตของเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี เพราะกิริยาจิตนี้เป็นผลของการเจริญจิต จนอยู่เหนือมายาสังขารได้แล้ว จิตไม่ต้องติดข้องในโลกมายา เพราะความรู้เท่าทันเหตุปัจจัยแห่งการปรุงแต่งได้แล้ว เป็นอิสระด้วยตัวมันเอง

    คำสอนในพระพุทธศาสนานั้น ท่านสอนให้ละสิ่งไม่ดี สร้างสิ่งที่ดีแล้วทำจิตใจผ่องแผ้วสะอาดบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น ในที่สุดบุญเราก็ไม่เอา ไม่ยึด คือทำบุญโดยไม่ยึดมั่นถือมั่นในบุญ หลวงพ่อปัญญานันทะ เคยสอนเกี่ยวกับลอยบาป-ปล่อยบุญไว้

    หลวงปู่ดูลย์ปรารภธรรมครั้งหนึ่งว่า

     
  4. channarong_wo

    channarong_wo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +1,510
    คุณสติครับ ถ้าอย่างนั้นแนวโน้มหลวงปู่ใหญ่ท่านก็อธิษฐานจิตจากนั้นก็ไปฝากกรุที่วัดชนะสงคราม ผมเข้าใจถูกไหม้ครับ
     
  5. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +4,292
    เข้าใจถูกต้องแล้วครับคุณchannarong_wo หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร(หลวงปู่ใหญ๋)ท่านมาเสกให้ด้วยครับ อย่าลืมว่ากรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ(ท่านเจ้า)นั้นท่านเป็นลูกศิษย์เอกของหลวงปู่ใหญ๋นะครับมีหรือที่ลูกศิษย์สร้างแล้วจะไม่นิมนต์อาจารย์ของท่านให้มาร่วมพิธีด้วยดังนั้นพระกรุนี้จึงไม่ใช่กรมพระราชวังมหาสุรสิงหนารทเป็นผู้สร้างครับ

    วันนี้ขอนำรูปพระพิมพ์ปิดตาปุ้มปุ้ยของหลวงปู่ม่น ธัมมจิณโณ แห่งวัดเนินตามากมาให้ได้ชมศึกษากัน หลวงปู่ม่น องค์นี้ไม่ธรรมดานะครับเพราะแม้แต่ท่านอาจารย์ประถม อาจสาครท่านยังยกย่องว่าภูมิจิตของหลวงปู่ม่นนี่ระดับเดียวกับพระคุณเจ้าท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิตเลยที่เดียวและเก่งกว่าหลวงปู่ทิมเสียอีก


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +4,292
    ส่วนอันนี้เป็นเหรียญที่ระลึกของรัชกาลที่ 9 ลองชมดูครับ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    นิทานเรื่อง " กบ ฟุ้งซ่าน...ข้างกำแพงวัด "

    กบ ฟุ้งซ่านตัวหนึ่งนั่งอยู่ข้<WBR>างกำแพงวัด ทุกเช้ามันเฝ้าดูพระออกเดินบิ<WBR>ณฑบาตตั้งแต่เช้ามืด พอพระกลับมา
    ถึงวัดเพื่อฉันเช้า...
    กบมันนึกในใจ อยากเกิดเป็นพระ เป็น พระสบายดี มีคนถวายอาหารให้กินทุกวัน ..
    เมื่อพระฉันเสร็จ ก็นำอาหารที่เหลือมากมายนั้<WBR>นไปให้เด็กวัดกินต่อ แล้วเด็กวัดก็กินกันอย่างเอร็<WBR>ดอร่อย
    ..

    ตอนนี้ กบเปลี่ยนใจ อยากเกิดเป็นเด็กวัด แล้ว เพราะสบายกว่าพระ
    มันเห็นเด็กวัดหลายคนตื่นสายได้<WBR>และไม่ต้องออกตามพระไปบิณฑบาตก็<WBR>ได้ สบายกว่าเยอะเลย...
    เมื่อเด็กวัดกินเสร็จ ก็โกยเศษอาหารที่เหลือทั้<WBR>งหมดให้หมาวัดไปกินแล้วเด็กวั<WBR>ดทุกคนก็ไปช่วยกัน
    ล้างจาน...
    ถึงตอนนี้ กบเปลี่ยนใจ อยากเกิดเป็นหมาวัด แล้ว เพราะไม่ต้องล้างจาน เหมือนเด็กวัด สบายกว่า
    ...
    พอหมาวัดกินอาหารเสร็จก็แยกย้<WBR>ายไปทำหน้าที่เฝ้าบริเวณวัด คอยเห่าคนแปลกหน้า...
    ฝูงแมลงวันก็บินมาตอมและกิ<WBR>นเศษอาหารต่อจากหมาวัด
    ถึงตอนนี้ กบเปลี่ยนใจ(อีกแล้ว) อยากเกิดเป็นแมลงวัน เพราะสบายที่สุดไม่ต้<WBR>องทำอะไรเลย หนำซ้ำยัง
    มีกองอาหารให้กินไม่มีหมดด้วย..<WBR>.
    ขณะที่เจ้ากบฟุ้งซ่านกำลังคิ<WBR>ดเพลินๆอยู่นั้น พอดีหันมาเห็นแมลงวันบินมาใกล้ๆ จึงใช้ลิ้นตวัดเอาแมลงวัน
    เข้าปากตัวเองกินโดยสัญชาตญาณ ..

    ถึงตอนนี้ กบฟุ้งซ่าน จึงบรรลุธรรมฉับพลัน (Sudden knowledge)

    คิดได้ว่า เอ้ อ เป็นตัวของเราเองนี่แหละ ดีที่สุดเลย (The best to be yourself)

    จงเชื่อมั่นในตัวเอง (Be yourself)



    ที่มา FW.mail
     
  8. FATAL_FRAME

    FATAL_FRAME เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    808
    ค่าพลัง:
    +3,990
    เชิญชวน..จัดทำบุญ ถวายภัตตาหาร ถวายค่ายา ค่ารักษา พระภิกษุอาพาธ ตึกวชิรญานวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    ตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


    <!-- Header: [end] --><!-- Image block: [begin] --><DL class="csc-textpic-image csc-textpic-firstcol csc-textpic-lastcol" style="WIDTH: 250px"><DT>[​IMG]</DT></DL>

    ตึกวชิรญานวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ติดถนนพระราม4 และ ถนนอังรีดูนังค์ เป็นสถานพยาบาล รักษาอาการอาพาธของพระภิกษุสงฆ์ ในแต่ละวันจะมีพระภิกษุสงฆ์ เข้ารับรักษาอาการอาพาธ ชั้นล่าง ประมาณ 20-30 รูป และชั้น 3 มีพระสงฆ์รักษาอาการอาพาธ ประมาณ 19 รูป ส่วนใหญ่มีอาการอาพาธหนักกว่าปกติ(ห้องรวม) ชั้น 4 จะมีห้องรับการรักษาอาการอาพาธ (ห้องส่วนบุคคล)ประมาณ 4-6 ห้อง

    ตึกวชิรญานวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็น อีกสถานที่พยาบาลอาพาธของพระภิกษุสงฆ์นอกจาก โรงพยาบาลสงฆ์ที่อยู่ไม่ไกลจาก สีลม สยาม สวนลุมพิณี

    สำหรับผู้สนใจถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุอาพาธ สามารถติดต่อมาถวายภัตตาหารด้วยตัวเองได้(ถ้าเป็นอาหารที่สามารถทานง่าย ดีกับสุขภาพ ทานกับข้าวต้มได้จะดีมากครับ) ทางโรงพยาบาลจะถวายภัตตาหาร กับพระท่าน ช่วง 8.00 น. และ 11:00 น. หรือสามารถถวายน้ำปานะ (น้ำผลไม้) หลัง ฉันเพล ดังนั้นถ้าจะมาถวายภัตตาหาร ควรมาก่อนเวลา ดังกล่าว

    หรือถ้าต้องการให้ ทางโรงพยาบาลจัดเลี้ยงภัตตาหารทำบุญสำหรับพระภิกษุอาพาธเอง ค่าภัตตาหารถวายพระอาพาธชุดละ 60 บาท

    และ ทางตึกวชิรญานรับจัดทำบุญเลี้ยงพระทางศาสนา ในงานมงคลต่างๆ โดยมีห้องจัดทำบุญเลี้ยงพระ (มีการรับส่งพระภิกษุจากวัด)

    สามารถติดต่อ โทร 02-256-4382 ,02-256-4505 โทรสาร 02-251-7901
    <!-- / message -->
     
  9. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +4,292
    "ควบคุมใจ"

    พระพุทธเจ้าว่าเราตถาคตเป็นผู้แนะนำสั่งสอนทาง ทางออกจากโลก ทางไปสวรรค์ก็ดี ทางไปนิพพานก็ดี เราตถาคตเป็นผู้แนะนำสั่งสอนให้เท่านั้นแหละ ตนนั่นแหละ พวกอุบาสก-อุบาสิกาทั้งหลายต้องทำเอาเอง แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายพระสาวกทั้งหลาย ก็ทำเอาเองทั้งนั้น ตนแหละทำให้ตน ตนจะออกจากโลกก็แม่นตนตั้งอกตั้งใจทำใส่ตน ตนจะติดอยู่ในโลกก็แม่นใจของตนไม่อยากไป เพราะหลงตนหลงตัว ทางปฏิบัติน่ะเราก็ได้ยินได้ฟังมาแล้ว แล้วก็ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติเอา พระพุทธเจ้าแนะนำสั่งสอนหรือครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอน ก็ไม่หนึจากกายคตา คือปัญจกรรมฐาน นี่แหละ ต้องพิจารณา เราจะพิจารณานอกมันไปก็เป็นนอกไปเสีย ไกลไปเสีย เพื่อให้จิตให้ใจนั่นแหละรู้จักสกนธ์กายอันนี้ รู้จักก้อนอันนี้ ว่ามันเป็นอย่างหนึ่ง มันเป็นของกลาง ไม่ใช่ของใครสักคนเรานี้ได้สมบัติอย่างดีคือสกนธ์กายนี้ มีตา หู จมูก ลิ้น กายดี มีใจดี ได้สมบัติอันดีมาใช้ เราจะใช้สอยมัน เราจะเดินทางไปสวรรค์ก็ดี จะเดินทางไปพระนิพพานก็ดี ต้องอาศัยอันนี้ จะมีแต่ดวงจิตอย่างเดียว ก็ไม่สำเร็จอะไรหมดทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าได้เทศน์ไว้ว่า
    มโนปุพพังคมาธ์มังมา มโสเสฎฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลาย จะทำดี ทำกุศลดีก็ใจนี่แหละ เป็นผู้ถึงก่อน เป็นผู้ถึงพร้อม จะทำบาปอกุศลก็ใจนี่แหละ จะผ่องแผ้วแจ่มใสเบิกบาน ก็ใจนี่แหละ จะเศร้าหมองขุ่นมัวก็ใจนี่แหละ ใจเศร้าหมองขุ่นมัวแล้วก็ไม่มีความสุขอยู่ในโลก จะอยู่ที่ไหนก็ไม่มีความสุข ครั้นใจผ่องแผ้วละก็ พระพุทธเจ้าท่านว่า
    มนะสาเจ ปสันเนนะ บุคคลผุ้มีใจผ่องแผ้วดีแล้ว แม้นจะพูดอยู่ก็มีความสุข แม้นจะทำอยู่ก็มีความสุข
    ตโตนะ สุขมะเนวติ อยู่ที่ไหน ๆ ก็มีความสุข มีความสุขเหมือนกะเงาเทียมตนไป
    ฉายา วะอนุปายินี เหมือนเงาเทียมตนไป ไปสวรรค์ก้ดี มามนุษย์ก็ดี เพราะเหตุนั้นแหละให้เราพากันตั้งใจอบรม ตั้งสติไว้ที่ใจ ควบคุมใจให้มีสติมีสัมปชัญญะ มีสติรู้ตัวอยู่เสมอ การทำการพูดการคิดก็อย่าให้มันผิดมันพลาดไป ควบคุมให้มันถูก ครันมันผิดมันพลาดเราก็มีสติยั้งไว้ ละ ปล่อยวาง ไม่เอามันทางมันผิดน่ะ พระพุทธเจ้าแสดงไว้ ทางไปนรก ทางไปสวรรค์ ทางไปพรหมโลก ทางไปพระนิพพาน พระองค์ก็บอกไว้แล้ว ให้วางกายให้เป็นสุจริต วาจาให้บริสุทธิ ใจให้บริสุทธิ์ นี้ทางไปสวรรค์ ทางมามนุษย์ ทางไปพระนิพพานให้บริสุทธิ์อย่างนี้ ทางไปนรกนั่นเรียกว่าทุจริตนั้น ทางกาย ทางวาจา ทางใจ อันนี้ทางไปนรก เราจะเว้นเสียไม่ไปละ รู้จักแล้ว เราจะไปแต่ทางที่ราบรื่น ทางสบาย การเดินก็ทางกายวาจาใจเท่านั้นแหละ ผู้ที่จะเที่ยวเอาภพเอาชาติ นับกัปป์ นับกัลป์ไม่ได้ตั้งแต่โลกเป็นโลกมา คือดวงจิตของเรานี่เอง ดวงจิตของเรานี่เอง เป็นผู้ก่อกรรมก่อเวรแล้วก่อเล่า ไม่เบื่อสักที ก็แม่นดวงจิตของเรานี่แหละ เพราะเหตุนั้นเราจึงต้องอบรมจิตใจของเราให้ดี ให้ใจรู้เสีย ใจนี่แหละมันเป็นผู้หลงจนนับภพนับชาติไม่ได้ ภพน้อยภพใหญ่ เที่ยวอยู่ในสังสารจักร์นี่ จึงให้เข้าใจเสียว่าเจ้ากรรมนายเวรคือใจ ตัวกรรมแม่นใจ ดวงใจอันเดียว วิญญาณอันเดียวเป็นตัวกรรม แต่งกรรมเสียแล้วให้เวียนตายเวียนเกิดที่นี่ ไม่เลิก เรารู้จักแล้วเราต้องควบคุมใจ แนะนำสั่งสอนใจ ทำใจของเราให้ผ่องแผ้ว ว่าเอาย่อ ๆ นี่แหละ กว้างขวางก็ได้ยินมาพอแฮงแล้ว เอาย่อ ๆ ควบคุมใจเท่านั้นและเดี๋ยวนี้ ใจนี้ เจ้าของนรกก็แม่นใจนี่แหละ ม่าง(เลิก, ทิ้ง) นรกก็แม่นใจนี่แหละ ครั้นมันไม่ดีละก็ร้อนเป็นทุกข์เหมือนใจจะขาด ครั้นใจไม่ดีละม้นกลุ้มใจเป็นทุกข์จนฆ่าตัวตายนี่แหละ ถือว่าเราเป็นเรา นี่ก็เพราะใจนี่แหละไม่ใช่อื่นดอก เราะมันไม่รู้ ท่านเรียกว่า อวิชชา ตัวใจนี่แหละอวิชชา เราจึงควรสดับตรับฟัง แล้วก็ค้นคว้าพิจารณาใคร่ครวญหาเหตผล ทุกข์มันมาจากไหน ให้พิจารณาทุกข์ก่อน ทุกข์เป็นของจริงอันประเสริฐ มันมาจากไหนค้นขึ้นไปซิ เห็นแต่มาจากโง่นั่นแหละ ดวงจิตเป็นผู้โง่ มันต้องเป็น มันต้องเดือดร้อน มันถึงใคร่ มันถึงปรารถนา มันถึงอยากเป็นนั่นเป็นนี่ มันไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่ เพราะเกลียดเพราะชัง มันชังมันก็ม่อยากเป็น แล้วก็หาของมาแก้ไข หาคิดอีหยังมาทา หนังเหี่ยวก็เอามาทาลอกหนังออก มันได้กี่วัน มันก็เหี่ยวอย่างเก่า นี่หาทางแก้ดู ท่านว่าวิภวตัณหา มันเป็นกับดวงใจ เราสดับรับฟังอยู่ อบรมอยู่ทุกวันนี้ ทำความเพียรอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะอยากรู้จักใจของเรา ครั้นรู้แล้ว ก็คุมเอาแต่ใจนี่ขัดเกลาเอาแต่นี่ สั่งสอนเอาแต่นี่ ให้มันรู้เท่าสังขารนี่แหละ มันไม่รู้ เพราะมันโง่ว่าแม่นหมดทั้งก้อนนี้เป็นตัวเรา เป็นผู้หญิง ผู้ชาย ยึดถือไป ยึดถือออกไปรอบ ๆ แผ่นดิน ยึดในตัวยังไม่พอ ยึดแผ่นดินออกไปอีก นี่แหละเพราะความหลง ก็ยึด ทั้งการทำการงานทุกสิ่งทุกอย่าง เรียนวิชาศิลปะทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เพื่อจะบำรุงบำเรอครอบครัวของตน บำรุงบำเรอตนให้เป็นสุข บำรุงพระศาสนา ค้ำจุนพระศาสนาก็เป็นการดี ขอให้รู้เท่าแล้วอย่าไปยึดมันเท่านั้นแหละ ในปฏิจสมุปปบาทท่านว่า อวิชชาให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป ท่านว่าให้ดับความโง่อันเดียวเท่านั้น ผลดับหมด เพราะธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ ธรรมทั้งหลายคือ ดีก็ดี ชั่วก็ดี ไหลมาแต่เหตุคือความโง่ ความไม่เข้าใจ คิดว่าเป็นตัวตน ก็ได้รับผลเป็นสุขเป็นทุกข์สืบไป ท่านเรียกว่า วัฎฎะ การวน วนไม่มีที่สิ้นสุด เราท่องเที่ยวอยู่นี่ตั้งแต่แผ่นดินเป็นแผ่นดินมาแล้ว ทุกคนนี่แหละ คุณหมอก็ดี คุณหญิงก็ดี เกิดมาชาตินี้นับว่าบุญบารมีอันพวกท่านทั้งหลายได้อบรม ศีลห้า ศีลแปด รักษาอุโบสถ รักษากรรมบทสิบ จึงเป็นผู้สมบูรณ์บริบุรณ์ เกิดมาก็ไม่เป็นผู้เกียจคร้าน ไม่เป็นผู้มักหน่าย มีความพอใจแสวงหาวิชาศิลปะ จนได้เป็นใหญ่เป็นโตเป็นสูง นี่ก็เพราะบุญกุศลของเราได้สร้างสมอบรมมา จึงว่า
    ปุพเพจะ กตุปุญญะตา คือบุญได้สร้างสมไว้แล้วแต่กาลก่อน แล้วก็ได้เกิดในประเทศอันสมควร ประเทศอันสมควรก็หมายเอาสกนธ์กายอันนี้ หรือจะหมายเอาแผ่นดิน ฟ้า อากาศก็ได้ หรือจะหมายเอาประเทศที่มีพระพุทธศาสนาตั้งมั่นถาวร และมีอาจารย์ นักปราชญ์แนะนำสั่งสอนได้ อันนี้ก็ว่าประเทศอันสมควร
    ปุพเพจะ กตะปญญะตา พวกเราได้เคยอบรมสร้างสมบุญกุศลมาหลายภพหลายชาติแล้ว วจึงเป็นผู้บริบูรณ์สมบูรณ์ แล้วก็ได้เกิดในประเทศอันสมควร ประเทศ เราได้นับถือพระพุทธศาสนาตั้งแต่บรรพบุรุษจนตราบเท่าทุกวันนี้ เราก็ได้นับถือพระพุทธศาสนา แล้วก็ได้ตั้งตนไว้ในที่ชอบ คือตั้งตนไว้ในการสดับตรับฟัง ทราบทุกสิ่งทุกอย่าง ในทางโลกก็ดี เกื้อกูลอุดหนุนโลกให้เจริญ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำอัตตประโยชน์ ประโยชน์ของตนก็ได้แล้ว ประโยชน์ของผู้อื่น ของโลก ก็ได้อยู่ นี่แหละชื่อว่าตั้งตนไว้ในที่ชอบ แล้วก็ตั้งตนอยู่ในศีล ในการภาวนา ตั้งตนอยู่ในการสดับรับฟัง นี่เรียกว่า อัตตสัมมาปนิธิ ตั้งตนในที่ชอบท่านกล่าวว่าเป็นมงคลอันประเสริฐสุด
    ให้มีสติควบคุมใจของตน อันนี้ก็ชื่อว่าตั้งตนไว้ในที่ชอบอย่างสูงสุด นี่แหละ ให้ควบคุมดวงจิตของเราให้รู้จักเสีย เจ้ากรรมนายเวรก็คือดวงจิตของเรานี่แหละ ผีนรกก็เป็นดวงจิตอันนี้ สวรรค์ก็เป็นดวงจิตอันนี้ พรหมโลกก็ดวงจิตอันนี้ ครั้นรู้จักแล้ว ก็ทำความเพียรต่อไปจนเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในอัตตภาพของตนที่เป็นมาหลายภพหลายชาติ การเกิดเวียนไปเวียนมาก็ไม่ได้อะไร มีแต่การสดับรับฟัง มีแต่การบริจาคให้ทาน มีแต่ศีลของตนเท่านี้เป็นอริยทรัพย์ ทรัพย์ภายในติดตามไปกับดวงจิตของเราทุกภพทุกชาติจิตมื่อมันทำความชั่วไว้แล้วก็ไม่ลืม ใครไม่ต้องการสักคนหมดทั้งนั้นความชั่วบาปกรรม ให้คิดดู แต่นักโทษเขาลักเขาปล้นสดมภ์แล้ว เขาก็หลบหนีไปซ่อนอยู่ตามป่าเขาตามถ้ำตามดง เพราะเขาไม่ปรารถนาจะให้พวกตำรวจไปจับเขา อันนั้นมันก็ไม่พ้นดอกบาปน่ะ ฉันใดก็ดี ครั้นทำลงแล้ว ทำบาปอกุศลจิตก็เป็นผู้จำเอา ไปตกนรกก็แม่นดวงจิตนั่นแหละเป็นผู้ไปตก อัตตภาพคือร่างกายของเรานี้มันก็นอนทับดิน ส่วนดินมันก็เป็นดิน ส่วนน้ำมันก็เป็นน้ำ ส่วนลมส่วนไฟ มันก็เป็นลมเป็นไฟของเก่ามัน ครั้นพ่นแล้วก็กลับมาถือเอาดินเอาน้ำของเก่าอีกเท่านั้นแหละ แล้วก็มาใช้ดินน้ำไฟลมนี่แหละครบบริบูรณ์ เอามาใช้ในทางดีทางชอบ ก็เป็นเหตุให้ได้สำเร็จมรรคผลพระนิพพาน พระพุทธเจ้าสร้างบารมีก็อาศัยดินอันนี้แหละ ประเทศอันสมควรอันนี้แหละ สาวกจะไปพระนิพพานตามพระพุทธองค์ก็อาศัยอัตตภาพอันนี้ ครั้นไม่อาศัยอัตตภาพอันนี้มีแต่ดวงจิตหร้อมีแต่ร่างซื่อ ๆ ก็ไม่สำเร็จอะไรหมดทั้งนั้น เหมือนกันทั้งนั้น พวกเทพยดาได้ชมวิมานชมความสุขอยู่ตลอดชีวิต ชมบุญชมกุศล ก็ทำเอามาแต่เมืองมนุษย์ ครั้นจุติแล้วก็ได้ไปเสวยผลบุญกุศลของตน ครั้นหมดบุญแล้วก็ลงมาเมืองมนุษย์มาสร้างอีกแล้วแต่จะสร้างเอา อันชอบบุญ ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำเอาบุญ อันชอบบาป ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำเอาบาป เหมือนพระเทวทัตนั่น ต่างคนต่างไปอย่างนั้น อาตมาบอกไว้เท่านั้นว่าให้มีสติคุมดวงจิต สัตว์นรกก็แม่นจิต สัตวอเวจีแก็แม่นจิต พระอินทร์พระพรหมก็แม่นจิต ที่เข้าพระนิพพานก็แม่นจิต ไม่ใช่ใคร จิตไม่มีตนมีตัว จิตเหมือนวอก(ลิง) นี่แหละ แล้วแต่มันจะไป บังคับบัญชามันไม่ได้ แล้วแต่มันจะปรุงจะแต่ง บอกไม่ได้ ไหว้ไม่ฟัง เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าให้วางมันเสีย อย่าไปยึดถือมัน ก็จิตนั่นแหละมันถือว่าตัวกู อยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี เราถือว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิง ก็แม่นจิตนั่นแหละเป็นผู้ว่า มันไม่มีตนไม่มีตัวดอก แล้วพระพุทธเจ้าว่าให้วางเสีย ให้ดับวิญญาณเสีย ครั้นดับวิญญาณแล้ว ไม่ไปก่อภพก่อชาติอีก ก็นั่นแหละพระนิพพานหละ แน่ะพระพุทธเจ้าบอกอย่างนั้นมันไม่อยู่ที่อื่น นรกมันก็อยู่นี่ พระนิพพานก็อยู่นี่อย่าไปค้นที่อื่น อย่าไปพิจารณาที่อื่น นรกมันก็อยู่นี่ พระนิพพานก็อยู่นี่ อย่าไปค้นที่อื่น อ่านไปพิจารณาที่อื่น ให้ค้นที่สกนธ์กายของตน ให้มันเห็นเป็นอสุภะอสุภัง ให้เห็นเป็นของปฏิกูลให้เกิดนิพพานความเบื่อหน่ายมันนั่นแหละ แต่กี้มันเห็นว่าเป็นขอสวยของงามของดี ดวงจิตนั่นเมื่อมีสติควบคุม มีสัมปชัญญะ ค้นหาเหตุผล ใคร่ครวญอยู่มันเลยรู้เห็นว่าอัตตภาพร่างกายนี้เป็นของปฏิกูล ของเน่าเปื่อยผุพัง แล้วมันจะเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย จิตนั่นแหละเบื่อหน่าย จิตเบื่อหน่าย จิตไม่ยึดมั่นแล้ว เรียกว่า จิตหลุดพ้น ถึงวิมุตติ์ วิมุตติ์ คือความหลุดพ้นจากความยึดถือ หลุดพ้นจากอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น พ้นจากภพจากชาติ ตั้งใจทำเอา

    พระธรรมเทศนา หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บพุทธวงศ์
    http://www.phuttawong.net
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    <TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ใครทุกข์ ? ใครสุข?

    พระพุทธองค์ตรัสว่า
    "เมื่อกล่าวสรุปให้สั้นที่สุดแล้ว เบญจขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์."
    (สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา)
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดความสงสัยว่า
    ถ้าขันธ์เป็นทุกข์ ก็ช่างมันเป็นไร เราอย่าทุกข์ก็แล้วกัน มิใช่หรือ?

    บาลีแห่งอื่นก็มีอีกว่า
    "ตัวทุกข์นั้นมีอยู่แท้ แต่บุคคลผู้เป็นทุกข์หามีไม่"
    (ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขิโต การโก น, กิริยา วิชฺชติ)
    นี่ก็เช่นเดียวกันอีก แสดงว่าตัวตนของเราไม่มี. ทุกข์อยู่ที่รูปและนาม.
    นี้ก็ก่อให้เกิดคำถามว่า เราจะพยายามทำที่สุดทุกข์ไปทำไม
    เมื่อเราผู้เป็นเจ้าทุกข์ก็ไม่มีเสียแล้ว,
    พยายามให้ใคร. ใครจะเป็นผู้รับสุข ทำบุญกุศลเพื่ออะไรกัน?

    เพื่อขบปัญหานี้ให้แตกหัก โดยตนเองทุกๆ คน (เพราะธรรมะเป็นของเฉพาะตน).
    ข้าพเจ้าขอเสนอแนวคิดสั้นๆ แต่กว้างขวางออกไป
    แด่ท่านทั้งหลายสำหรับจะได้นำไปคิดไปตรอง
    จนแจ่มแจ้งในใจด้วยปัญญาของตนเองแล้ว
    และบำบัดความหนักใจ หม่นหมองใจ อันเกิดแต่ความสงสัย
    และลังเลในการประพฤติธรรมของตน ให้เบาบางไปได้บ้าง ดังต่อไปนี้ :-

    ร่างกายและจิตใจสองอย่างนี้ รวมกันเข้าเรียกว่า นามรูป,
    หรือเรียกว่า เบญจขันธ์ เมื่อแยกให้เป็น ๕ ส่วน.

    ในร่างกายและจิตใจนี้ ถ้ายังมีอุปาทาน กล่าวคือ
    ความยึดถือว่า "ของฉัน" ว่า "ฉัน" อยู่เพียงใดแล้ว ความทุกข์นานัปการ
    ตั้งต้นแต่ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จนถึงความหม่นหมองร้ายแรงอย่างอื่น เช่น
    อยากแล้วไม่ได้สมอยาก เป็นต้น ก็ยังมีอยู่ และออกฤทธิ์แผดเผาทรมานร่างกาย
    และจิตใจอันนั้นเอง.

    แต่เมื่อใดอุปาทานอันนี้หมดไปจากจิต ผู้นั้นไม่มีความสำคัญตนหรือรู้สึกตนว่า
    "ฉันมี", "นี่เป็นของฉัน" เป็นต้นแล้ว ทุกข์ทั้งมวลดังกล่าวก็ตกไปจากจิต
    อย่างไม่มีเหลือ เพราะเราอาจที่จะไม่รับเอาว่าร่างกายและจิตใจนี้เป็นของเรา
    และสิ่งที่เกิดขึ้นแก่มันว่าเป็นของเราได้จริงๆ.

    แต่พึงทราบว่า เมื่ออวิชชา (ความโง่หลง) ยังมีอยู่ในสันดานเพียงใดแล้ว
    ความสำคัญว่าเรา หรือของเรา มันก็สิงอยู่ในสันดานเรา โดยเราไม่ต้องรู้สึก
    เพราะฉะนั้น เราจึงรับเอาความทุกข์ทั้งมวลเข้ามาเป็นของเรา โดยเราไม่รู้สึกตัว;
    จึงกล่าวได้ว่า ตัวตนของเรา มีอยู่ในขณะที่เรายังมีอวิชชาหรืออุปาทาน เพราะ
    สิ่งที่เป็นตัวตน (ตามที่เรารู้สึกและยึดถือไว้ในสันดานนั้น) เป็นสิ่งที่ถูกสร้าง
    ให้เกิดขึ้นโดยอวิชชานั่นเอง. ตัวตนไม่มีในเมื่อหมดอวิชชา.

    เมื่อใดหมดอวิชชา หรือความโง่หลง เมื่อนั้น "ตัวตน" ก็ทำลายไปตาม;
    ความรู้สึกว่า "เรา" ก็ไม่มีในสันดานเรา;
    ไม่มีใครเป็นผู้ทำ หรือรับผลของอะไร จึงไม่มีทุกข์,
    ความจริงนั้นมีแต่นามรูปซึ่งเกิดขึ้น, แปรปรวน, ดับไปตามธรรมดาของมัน
    เรียกว่า มันเป็นทุกข์.

    เมื่ออวิชชาในสันดานเรา (หรือในนามรูปนั้นเอง) ก่อให้เกิดความรู้สึกว่า
    "นามรูปคือตัวเรา" แล้ว "เรา" ก็เกิดขึ้นสำหรับเป็นทุกข์,
    หรือรับทุกข์ทั้งมวลของนามรูปอันเป็นอยู่ตามธรรมชาตินั้น.

    เห็นได้ว่า "เราที่แท้จริง" นั้นไม่มี มีแต่เราที่สร้างขึ้นโดยอวิชชา.
    ท่านจึงกล่าวว่า ความทุกข์นั้นมีจริง แต่ผู้ทุกข์หามีไม่,
    หรือเบญจขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์.

    ที่เรารู้สึกว่า มีผู้ทุกข์ และได้แก่ตัวเรานี่เองนั้น เป็นเพราะความโง่ของเรา
    สร้างตัวเราขึ้นมาด้วยความโง่นั้นเอง, ตัวเราจึงมีอยู่ได้แต่ในที่ๆ ความโง่มีอยู่.
    ยอดปรัชญาของพุทธศาสนา จึงได้แสดงถึงความจริงในเรื่องนี้
    ด้วยการคิดให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งประจักษ์ชัดว่า "ตัวเราไม่มี" จริงๆ.

    อาจมีผู้ถามว่า ก็เมื่อความจริงนั้น ตัวเราไม่มีแล้ว
    เราจะขวนขวายประพฤติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ทำไมเล่า?

    นี่ก็ตอบได้ด้วยคำที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอีกนั่นเอง, คือว่าในขณะนี้
    เราหาอาจมีความรู้ได้ไม่ว่า "ตัวเราไม่มี". เรายังโง่เหมือนคนบ้าที่ยังไม่หายบ้า
    ก็ไม่รู้สึกเลยว่าตนบ้า.

    เหตุนี้เอง "ตัวเรา" ซึ่งสร้างขึ้นด้วยความโง่ นั่นแหละมันมีอยู่,
    มันเป็นเจ้าทุกข์, และเป็นตัวที่เราเข้ายึดเอามาเป็นตัวเรา หรือของเราไว้โดยไม่รู้สึก.
    เราจึงต้องทำตามคำสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อหายโง่ หายยึดถือ
    หมดทุกข์ แล้วเราก็จะรู้ได้เองทีเดียวว่า อ้อ! ตัวเรานั้น ที่แท้ไม่มีจริงๆ!!
    นามรูปมันพยายามดิ้นรนเพื่อตัวมันเองตลอดเวลา
    มันสร้าง "เรา" ขึ้นใส่ตัวมันเองด้วยความโง่ของมัน;
    เราที่มันสร้างขึ้น ก็คือเราที่กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่นี่แหล่ะ !

    ความทุกข์ ความสุขมีจริง. แต่ตัวผู้ทุกข์ หรือผู้สุขที่เป็น "เราจริงๆ" หามีไม่,
    มีแต่ "เรา" ที่สร้างขึ้นจากความไม่รู้ โดยความไม่รู้.
    ดับเราเสียได้ ก็พ้นทุกข์และสุข, สภาพเช่นนี้เรียกว่า นิพพาน.

    ที่กล่าวว่า พระนิพพานเป็นยอดสุขนั้น ไม่ถึงเข้าใจว่า เป็นสุขทำนองที่เราเข้าใจกัน,
    ต้องเป็นสุขเกิดจากการที่ "เรา" ดับไป และการที่พ้นจากสุขและทุกข์ ชนิดที่เรา
    เคยรู้จักมันดีมาแต่ก่อน. แต่พระนิพพานจะมีรสชาติเป็นอย่างไรนั้น ท่านจะทราบ
    ได้เองเมื่อท่านลุถึง. มันอยู่นอกวิสัยที่จะบอกกันเข้าใจ ดังท่านเรียกกันว่าเป็น
    ปัจจัตตัง หรือสันทิฏฐิโก.

    ในพระนิพพาน ไม่มีผู้รู้, ไม่มีผู้เสวยรสชาติแห่งความสุข; เพราะอยู่เลยนั้น
    หรือนอกนั้นออกไป; ถ้ายังมีผู้รู้ หรือผู้เสวย ยังยินดีในรสนั้นอยู่ นั่นยังหาใช่
    พระนิพพานอันเป็นที่สุดทุกข์จริงๆ ไม่ แม้จะเป็นความสุขอย่างมากและน่า
    ปรารถนาเพียงไรก็ตาม มันเป็นเพียง "ประตูของพระนิพพาน" เท่านั้น.
    แต่เมื่อเราถึงสถานะนั่นแล้ว เราก็แน่แท้ต่อพระนิพพานอยู่เอง.

    เมื่อนามรูปยังมีอยู่ และทำหน้าที่เสวยรสเยือกเย็นอันหลั่งไหลออกมาจากการ
    ลุถึงพระนิพพานได้ ในเมื่อมันไม่เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งอุปาทาน หรืออวิชชาอีกต่อไป.
    เราเรียกกันว่า นั่นเป็นภาวะแห่งนิพพาน.

    เมื่อรูปนามนั้น ดับไปอย่างไม่มีเชื้อเหลืออยู่อีก นั่นก็คือ ปรินิพพาน

    ดังนี้ ท่านตัดสินเอาตามความพอใจของท่านเองเถิดว่า

    ใครเล่าเป็นผู้ทุกข์? ใครเล่าเป็นผู้สุข?

    แต่พึงรู้ตัวได้ว่า ตัวเราที่กำลังจับกระดาษแผ่นนี้อ่านอยู่นั้น

    ก็ยังเป็นตัวเราของอวิชชาอยู่ !

    ๑ สิงห์ ๗๙
    พุทธทาสภิกขุ


    คัดลอกจาก พุทธทาสดอทคอม
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    <TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เรื่อง...พระองค์อยู่หลังม่าน

    ภาพนี้เป็นภาพที่มีชื่อว่า พระองค์อยู่หลังม่าน ซึ่งมีความหมายว่า เมื่อความทุกข์ ความร้อน ความทรมาน ความวุ่นวาย ความหนักอึ้ง เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ใด ขอท่านได้โปรดทราบเถิดว่า ในขณะนั้น พระพุทธองค์ กำลังประทับอยู่เบื้องหลังของความทุกข์นั้น คือจะดลใจปรากฏในดวงจิตของบุคคลนั้นเอง เพื่อแนะแนวทางแห่งความหลุดรอดจากความทุกข์ให้แก่เรา แต่เราจะได้ยินคำชี้แนะ ของพระพุทธองค์หรือไม่ มันขึ้นอยู่ที่สติปัญญาของเราแต่ละคนนี่เอง.


    <TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เรื่อง...อยู่ให้เหมือนลิ้นงูในปากงู

    นั่นลูกตามองเห็นไม่เป็นหมัน
    อยู่ในโลกอย่างไรไม่ทรมาน์

    อยู่ให้เหมือนลิ้นงูในปากงู
    อยู่ในโลกไม่เคยถูกเขี้ยวโลกีย์
    คิดดูบ้างนั่งได้ในปากงู
    นั่งในห้องแสนสบายภายในเรือน
    อยู่ในโลกไม่กระทบโลกธรรม
    ใครมีตารีบเคารพนอบนบพลัน

    เขาใช้มันเล็งแลแก้ปัญหา
    พิจารณาตรองไปให้จงดี.

    ไม่เคยถูกเขี้ยวงูอยู่สุขศรี
    เป็นเช่นนี้อุปมาอย่าฟั่นเฟือน
    ไม่เคยถูกเขี้ยวงูอยู่เสมือน
    มีเค้าเงื่อนเหมือนพระภควันต์
    อยู่เหนือกรรมเหนือทุกข์เป็นสุขสันต์
    รีบพากันทำตามยามนี้เอยฯ
    เขี้ยวของโลกที่ขบขย้ำคนอยู่ คือ โลกธรรม ๘ ประการ กลุ่มแรกคือ ลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข. กลุ่มหลังคือ เสื่อมลาภ, เสื่อมยศ, นินทา, ทุกข์.

    นั่นคือการได้และการเสีย, หรือบวกกับลบ นั่นเอง, ซึ่งเป็นเพียง มายา ปรากฏการณ์ชั่วคราว ตามเหตุและปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้น.

    เห็นความ เกิด-ดับ ของมายานี้แล้ว ไม่ถือมั่น ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม จึงอยู่ในโลก ไม่ต้องหนีไปไหน แต่ก็ไม่ถูกเขี้ยวของโลก; เหมือนลิ้นของงูอยู่ในปากงู ชิดเขี้ยวอันเต็มไปด้วยน้ำพิษ แต่ไม่เคยถูกพิษนั้นเลย. สำหรับโลกนอกตัวเราสมัยนี้ ก็นับว่าเต็มไปด้วยพิษงู เราจะอยู่อย่างฉลาดโดยไม่ถูกเข้ากับพิษเหล่านั้น มีผลเท่ากับอยู่กันคนละโลกทีเดียว.



    นำมาจาก

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16080&sid=70ce061a5cfb9fb3d60becc2167d646f
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    บทความนี้อาจจะยาว จึงต้องค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ทำความเข้าใจ ดั่งเคี้ยวข้าว ต้องค่อยๆ เคี้ยว จะเกิดความหวานจากข้าวขึ้นมาให้รู้รส ธรรมะบทนี้ ดี ละเอียด จึงต้องใช้เวลาในการอ่านสัก 2 รอบ คงจะชัดขึ้นทั้งสมถะและวิปัสสนาครับ

    พันวฤทธิ์
    17/9/51


    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา</CENTER>[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพีณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

    เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ [๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิดสัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ

    คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ดังนี้ ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ ภิกษุนั้น นึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ เห็นอยู่ชื่อว่าเสพพิจารณาอยู่ชื่อว่าเสพ อธิษฐานจิตอยู่ชื่อว่าเสพ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาชื่อว่าเสพ ประคองความเพียรไว้ชื่อว่าเสพ ตั้งสติไว้มั่นชื่อว่าเสพ ตั้งจิตไว้อยู่ชื่อว่าเสพ ทราบชัดด้วยปัญญาชื่อว่าเสพ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ชื่อว่าเสพกำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ชื่อว่าเสพ ละธรรมที่ควรละชื่อว่าเสพ เจริญธรรมที่ควรเจริญชื่อว่าเสพ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ คำว่า เจริญ ความว่า เจริญอย่างไร ฯ ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ ... ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ คำว่า ทำให้มาก ความว่า ทำให้มากอย่างไร ฯ ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก ... ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าทำให้มาก ทำให้มากอย่างนี้ ฯ คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างไร ฯ ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-*ปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค ฯ ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ฯ ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ส่วนละเอียดๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมสิ้นไปด้วย

    อนาคามิมรรค ฯ ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตมรรค ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ [๕๓๖] ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่พยาบาท เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ... ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯ สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด ... มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ ฯลฯ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ คำว่า ย่อมเจริญ ความว่า ย่อมเจริญอย่างไร ฯ ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ รู้อยู่ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ คำว่า ทำให้มาก ความว่า ย่อมทำให้มากอย่างไร ฯ ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก รู้อยู่ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าทำให้มาก ย่อมทำให้มากอย่างนี้ ฯ

    คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างไร ... ฯ [๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนามีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา และมรณะ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ

    โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลังเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ คำว่า ย่อมเกิด ความว่ามรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างนี้ ฯ [๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑ ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ อย่างนี้ ฯ ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจรอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านมีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้

    สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจร ฯ [๕๓๙] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความละอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความละ ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความสละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละ ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความออกอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิคือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน

    ด้วยความออก เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความออก ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไปอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิคือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นมีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลีกไป เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไป ฯ [๕๔๐] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียดอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีตอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้

    สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าเจโตวิมุติเพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุติเพราะสำรอกอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลุดพ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความหลุดพ้น ฯ [๕๔๑] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้ามอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้

    สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิตร อย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิตร เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีนิมิตร ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจรด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น

    ท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกันและอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความว่างเปล่าอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยอาการ ๑๖เหล่านี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันอย่างนี้ ฯ [๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมีอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้นมรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร)อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาสญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ [๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตาเมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาสญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตาโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจาก ความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ นึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึง ความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจาก จิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่ ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วย ฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัด แกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ ฉะนี้แล ฯ
    <CENTER>จบยุคนัทธกถา</CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER>


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๗๕๖๔ - ๗๘๖๑. หน้าที่ ๓๑๓ - ๓๒๕.http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๑</U>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=31&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>http://84000.org/tipitaka/read/?index_31<CENTER></CENTER>
    </PRE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD align=right hspace="0" vspace="0">[​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width="100%" bgColor=goldenrod hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2008
  13. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    สอบถามท่านผู้มีความรู้สักนิดครับ

    การล้างพระเครื่องเพื่อเอารัก-ชาดออกนี่มีวิธีใดบ้างครับ

    แล้วการล้างออกนี่จะมีบาปกรรมเหมือนกับลอกทองพระหรือเปล่าครับ

    โมทนาบุญกับทุก ๆ ท่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2008
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๕๓ : ทรงรับสัตตุก้อน สัตตุผง
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๕๓ : ทรงรับสัตตุก้อน สัตตุผง

    ทรงรับสัตตุก้อน สัตตุผง จาก ตปุสสะ ภัลลิกะ
    สองพาณิช นายกองเกวียน



    [​IMG]


    ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงได้รับบาตรศิลา จากท้าวจาตุมหาราช และทรงประสานบาตรเข้าด้วยกันแล้ว พระองค์ทรงรับข้าวสัตตุก้อนสัตตุผง ของสองพานิชนายกองเกวียนสองพี่น้อง ตปุสสะ และภัลลิกะ ที่เป็นถือว่าเป็นอุบาสก หรือพุทธศาสนิกชนคู่แรก ด้วยบาตรศิลานั้น


    [​IMG][/SIZE]


    ต้องขอขอบคุณทั้งภาพและเนื้อเรื่องทั้งหมดนี้ให้แก่ผู้ที่จัดทำ blog.ตามข้างล่างนี้ครับ
    http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=23-04-2008&group=29&gblog=10
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    คำอธิษฐาน ๑๐ ประการ

    <!--InformVote=0--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[0], 0);</SCRIPT>
    <!--MsgIDBody=0-->สมาคมพระพทุธศาสนาแห่งหนึ่งประกาศชักชวนประชาชนทั่วไปให้ส่งข้อเขียนเรื่อง "ถ้าข้าพเจ้าจะเปิดเผยความปรารถนาหรือคำอธิษฐาน"ไปที่สมาคม ฉบับของใครดีที่สุดจะได้รับรางวัล
    แต่รางวัลนั้นก็แปลกอยู่ คือแทนที่จะเป็นเงินเป็นทอง หรือของที่ระลึก กลับเป็นว่าข้อเขียนของผู้นั้นจะได้รับการพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารของสมาคม ที่ออกเป็นประจำนั้นส่วนหนึ่ง อีกหนึ่งจะจัดพิมพ์เป็นใบปลิว หรือจุลสารสำหรับแจกแก่ประชาชน เพราะฉะนั้นรางวัลดังกล่าวนี้ ก็คือการได้มีส่วนช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์แก่คนทั่วไป ซึ่งทางสมาคมถือว่าสูงกว่าการได้เงินทองหรือสิ่งของ

    ข้อกำหนดนั้นมีว่า ถ้าท่านจะตั้งความปรารถนาใดๆ หรืออธิษฐานจิตเพื่ออะไร ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน และถ้าท่านจะเปิดเผยความปรารถนาหรือคำอธิษฐานนั้นให้คนอื่นได้ทราบบ้าง ก็ขอให้เขียนมาเป็นข้อๆ ไม่เกิน ๑๐ ข้อ และจะอธิบายเหตุผลประกอบความปรารถนาแต่ละข้อ หรืออธิบายคลุมทั้งหมดก็ได้ แต่คำอธิษฐานทั้งหมดนั้น จะต้องไม่ยาวเกิน ๑ หน้ากระดาษ

    คนที่ได้ทราบประกาศนี้พากันสนใจ ที่เห็นว่าเป็นการประกวดไม่ซ้ำแบบใคร และมีทีท่าว่าเป็นคำสอนไปในตัวของสมาคมพุทธศาสนาแห่งนั้น ตั้งแต่เริ่มประกาศให้ประชาชนรู้ คือเป็นคำสอนแบบให้คิดเอาเอง ใครคิดเป็นก็ได้ รับคำสอนมาก ใครคิดไม่เป็นหรือคิดไม่ออก ประกาศนั้นก็ไม่เป็นพิษเป็นภัยอะไร แต่กลับให้สติที่จะช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนด้วยซ้ำ

    กรรมการสมาคมปรึกษากันว่า ผู้ส่งข้อความเข้าประกวดถ้ามีถึง ๑๐คน ก็นับว่าน่ายินดีเป็นอย่างยิ่งแล้ว แต่กลับปรากฎว่า มีผู้ส่งข้อความเข้าประกวดอย่างมากมายเกินกว่าที่คาดคิดไว้

    คณะกรรมของสมาคมต้องตรวจข้อเขียนที่ส่งมาประกวดนั้นอย่างเคร่งเครียด ในจำนวนข้อเขียนหลายร้อยฉบับ มีอยู่ฉบับหนึ่งที่เขียนส่งมาเฉพาะคำแสดงความปรารถนาหรือคำอธิษฐานรวม ๑๐ ข้อ ไม่มีคำอธิบายประกอบ ในการนี้ผู้ส่งมากล่าวว่า เห็นว่าคำอธิษฐานเหล่านี้ชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเขียนอธิบายเพิ่มเติมอีก เว้นไว้แต่ตอนท้ายคำอธิษฐาน ได้กล่าวสรุปไว้เพื่อให้เห็นว่า ตัวผู้เขียนยังไม่ดีพอ จึงต้องมีหลักไว้เตือนตัวเอง และที่แปลกก็คือ เป็นคำอธิษฐานเพื่อคุณธรรม มากว่าการขอทรัพย์สมบัติใดๆ

    คณะกรรมการ มีมติเป็นเอกฉันท์ตัดสินให้ข้อเขียนของผู้นั้นได้รางวัลที่ ๑ แต่ก็ไม่สามารถทราบได้ว่าผู้นั้นเป็นใคร เพราะมิได้ให้ชื่อและที่อยู่กำกับไว้ด้วย

    คำอธิษฐาน ๑๐ ประการ
    ข้อเขียนที่แสดงถึงความปรารถนา หรือคำอธิษฐาน ๑๐ ประการนั้นมีดังต่อไปนี้

    ๑. ไม่คอยโชควาสนา...
    ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนคิดจะได้ดีอะไรอย่างลอยๆ นั่งนอนคอยแต่โชควาสนา โดยไม่ลงมือทำความดี หรือไม่เพียรพยายาม สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตน ถ้าข้าพเจ้าจะได้ดีอะไรก็ขอให้ได้เพราะได้ทำความดีอย่างสมเหตุสมผลเถิด

    ๒. ไม่ดูหมื่นเหยียดหยาม...
    ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนลืมตนดูหมิ่นเหยียดหยามใครๆ ซึ่งอาจด้อยกว่าในทางตำแหน่ง ฐานะการเงิน หรือในทางวิชาความรู้ ขอให้ข้าพเจ้ามีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น ให้เกียรติแก่เขาตามความเหมาะสมในการติดต่อเกี่ยวข้องกันเถิด อย่าแสดงอาการข่มขู่เยาะเย้ยใครๆ ด้วยประการใดๆเลย จะติดต่อเกี่ยวข้องกับใครๆ ก็ขอให้มีความอ่อนโยน นุ่มนวล สุภาพเรียบร้อยเถิด

    ๓.ไม่เหยีบบย้ำซ้ำเติม...
    ถ้าใครพลาดพลั้งลงในการครองชีวิตหรือต้องประสบความทุกข์ ความเดือดร้อนเพราะเหตุใดๆ ก็ตาม ขออย่าให้ข้าพเจ้าเหยียบย่ำซ้ำเติมคนเหล่านั้น แต่จงมีความกรุณาหาทางช่วยให้เขาลุกขึ้น ช่วยผ่อนคลายความทุกข์ร้อนให้แก่เขา เท่าที่สามารถทำได้

    ๔. ไม่อิจฉาริษยา...
    ใครก็ตามถ้ามีความรู้ความสามารถขึ้นมาเท่าเทียม หรือเกือบเท่าเทียมข้าพเจ้าก็ดี มีความรู้ความสามารถ หรือมีผลงานอันปรากฏดีเด่นสูงส่งอย่างน่านิยมยกย่องยิ่งกว่าข้าพเจ้าก็ดี ขออย่าให้ข้าพเจ้ารู้สึกริษยา หรือกังวลใจในความเจริญของผู้นั้นเลยแม้แต่น้อย ขอให้ข้าพเจ้าพลอยยินดีในความดี ความรู้ความสามารถของบุคคลเหล่านั้นด้วยความจริงใจ ช่วยส่งเสริมสนับสนุน และให้กำลังใจแก่คนเหล่านั้น อันเข้าลักษณะการมีมุทิตาจิตในพระพุทธศาสนา ซึ่งตรงกันข้ามกับความริษยา ขออย่าให้เป็นอย่างบางคนที่เกรงนักหนาว่าคนอื่นจะดีเท่าเทียมหรือดียิ่งกว่าตน คอยหาทางพูดจาติเตียนใส่ไคล้ให้คนทั้งหลายเห็นว่า ผู้นั้นยังบกพร่องอย่างนั้นอย่างนี้ ขอให้ข้าพเจ้ามีน้ำใจสะอาด พูดส่งเสริมยกย่องผู้อื่นที่ควรยกย่องเถิด

    ๕. เข้มแข็ง อดทน ไม่เรียกหาอภิสิทธิ์...
    ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีน้ำใจเข้มแข็ง อดทน อย่าเป็นคนขี้บ่น ในเมื่อมีความยากลำบากอะไรเกิดขึ้น ขอให้มีกำลังใจต่อสู้กับความยากลำบากนั้นๆ โดยไม่ต้องอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาช่วย ขออย่าเป็นคนอ่อนแอเหลียวหาที่พึ่ง เพราะไม่รู้จักทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเลย ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนชอบได้อภิสิทธิ์ คือสิทธิเหนือคนอื่น เช่น ไปตรวจที่โรงพยาบาล ก็ขอให้พอใจนั่งคอยตามลำดับ อย่าวุ่นวายจะเข้าตรวจก่อนทั้งที่ตนไปถึงทีหลังเลย ในการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกใดๆ ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดหาวิธีลัดหรือวิธีทุจริตใดๆ รวมทั้งขออย่าได้วิ่งเต้นเข้าหาคนนั้นคนนี้ เพื่อให้เขาช่วยให้ได้ผลดีกว่าคนอื่น ทั้งที่ข้าพเจ้าอาจมีคะแนนสู้คนอื่นไม่ได้เถิด

    ๖. ไม่คิดเอาเปรียบ...
    ถ้าข้าพเจ้าทำงานในที่ใด ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดเอาเปรียบหรือคิดเอาแต่ได้ในทางส่วนตัว เช่น เถลไถลไม่ทำงาน รีบเลิกงานก่อนกำหนดเวลา ขอจงมีความขยันหมั่นเพียร พอใจในการทำงานให้ได้ผลดี ด้วยความตั้งใจและเต็มใจ เสมือนหนึ่งทำงานให้แก่ตนเอง เพื่อประโยชน์ของตนเองฉะนั้นเถิด อันเนื่องมาแต่ความคิดไม่เอาเปรียบในข้อนี้ ถ้าข้าพเจ้าเผอิญก้ำเกินข้าวของที่ทำงานไปในทางส่วนตัวได้บ้าง เช่น กระดาษ ซอง หรือเครื่องใช้ใดๆ ขอให้ข้าพเจ้าระลึกอยู่เสมอว่าเป็นหนี้อยู่ และพยายามใช้หนี้คืน ด้วยการซื้อใช้ หรือทำงานให้มากกว่า ที่กำหนด เพื่อเป็นการชดเชยความก้ำเกินนั้น ข้อนี้ รวมทั้ง ขอให้ข้าพเจ้าจงอย่าเอาเปรียบชาติบ้านเมือง เช่นในเรื่องการเสียภาษีอากร ถ้ารู้อยู่ว่ายังเสียน้อยไปกว่าที่ควร หรือที่กฎหมายกำหนดไว้ ขอให้ข้าพเจ้ามีความตั้งใจที่จะชดใช้แก่ชาติบ้านเมืองอยู่เสมอ เมื่อมีโอกาสตอบแทนได้เมื่อไร ขอให้รีบตอบแทนโดยทันที เช่นในรูปแห่ง การบริจาคบำรุงโรงพยาบาล บำรุงการศึกษา หรือบริจาคเพื่อสาธารณะประโยชน์อื่นๆ แบบบริจาคให้มากกว่า ที่รู้สึกว่ายังเป็นหนี้ชาติ บ้านเมืองอยู่เสมอ และในข้อนี้ ขอให้ข้าพเจ้าปฎิบัติแม้ต่อเอกชนใดๆ ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดเอาเปรียบหรือโกงใครเลยแม้แต่น้อย แม้จะซื้อของ ถ้าเข้าทอนเงินเกินมา ก็ขอให้ข้าพเจ้ายินดีคืนให้เขากลับไปเถิด อย่ายินดีว่ามีลาภ เพราะเขาทอนเงินเกินมาให้เลย


    ๗. ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง...
    ขออย่าให้ข้าพเจ้ามักใหญ่ใฝ่สูง อยากมีหน้ามีตา อยากมีอำนาจ อยากเป็นใหญ่เป็นโต ขอให้ข้าพเจ้าใฝ่สงบ มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ไม่ต้องเดือดร้อนในเรื่องการแข่งดีกับใครๆ ทั้งนี้เพราะข้าพเจ้าพอจะเดาได้ว่า ความมักใหญ่ใฝ่สูง ความอยากมีหน้ามีตา ความอยากมีอำนาจ และอยากเป็นใหญ่เป็นโตนั้น มันเผาให้เร่าร้อน ยิ่งต้องแข่งดีกับใครๆ ด้วย ก็ยิ่งทำให้เกิดความคิดริษยาคิดให้ร้ายคู่แข่งขัน ถ้าอยู่อย่างใฝ่สงบ มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ก็จะเย็นอกเย็นใจไม่ต้องนอนก่ายหน้าผากถอนใจ เพราะเกรงคู่แข่งจะชนะ ไม่ต้องทอดถอนใจเพราะไม่สมหวัง ขอให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจซาบซึ้งในพระพุทธภาษิตที่ว่า "ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ละความชนะความแพ้เสียได้ ย่อมอยู่เป็นสุข" ดังนี้เถิด แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า เมือใฝ่สงบแล้ว ข้าพเจ้าจะต้องอยู่อย่างเกียจคร้าน ไม่สร้างความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม ข้าพเจ้าทราบดีว่า พระพุทธศาสนามิได้สอนให้คนเกียจคร้านงอมืองอเท้า แต่สอนให้มีความบากบั่นก้าวหน้าในทางที่ดี ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม และความบากบั่นก้าวหน้าดังกล่าวนั้น ไม่จำเป็นต้องผูกพันอยู่กับความทะยานอยาก หรือความมักใหญ่ใฝ่สูงใดๆ คงทำงานไปตามหน้าที่ให้ดีที่สุด ผลดีก็จะเกิดตามมาเอง

    ๘. มีความเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้อื่น...
    ขอให้ข้าพเจ้าหมั่นปลูกฝังความรู้สึกมีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น และมีกรุณาคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ซึ่งพระพทธเจ้าแนะนำให้ปูพื้นจิตใจด้วยเมตตากรุณาดังกล่าวนี้อยู่เสมอ จนกระทั่งไม่รู้สึกว่ามีใครเป็นศัตรูที่จะต้องคิดกำจัดตัดรอนเขาให้ถึงความพินาศ ใครไม่ดี ใครทำชั่วทำผิดขอให้เขาคิดได้กลับตัวได้เสียเถิด อย่าทำผิดทำชั่วอีกเลย ถ้ายังขืนทำต่อไปก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ เขาจะต้องรับผลกรรมชั่วของเขาเอง เราไม่ต้องแช่งชักให้เข้าพินาศ เขาก็จะต้องถึงความพินาศของเขาอยู่แล้ว จะต้องแช่งให้ใจเราเดือดร้อนทำไม ขอให้ความเมตตาคิดจะให้เป็นสุข และกรุณาคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ ซึ่งข้าพเจ้าปลูกฝังขึ้นในจิตใจนั้น จงอย่าเป็นในวงแคบและวงจำกัด ของจงเป็นไปทั้งมนุษย์และสัตว์ทุกประเภท รวมทั้งสัตว์ดิรัจฉานด้วย เพราะไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เหล่านั้น ต่างก็รักสุขเกลียดทุกข์ รู้จักรักตนเองปรารถนาดีต่อตนเองด้วยกันทั้งสิ้น

    ๙. อย่าเป็นคนโกรธง่าย...
    ขอให้ข้าพเจ้าอย่าเป็นคนโกรธง่าย ต่างว่าจะโกรธบ้าง ก็ขอให้มีสติรู้ตัวโดยเร็วว่ากำลังโกรธ จะได้สอนใจตัวเองให้บรรเทาความโกรธลง หรือถ้าห้ามใจให้โกรธไม่ได้ ก็ขออย่าให้ถึงกับคิดประทุษร้ายผู้อื่น หรือคิดอยากให้เขาถึงความพินาศ ซึ่งนับเป็นมโนทุจริตเลย ขอจงสามารถควบคุมจิตใจเป็นเป็นปกติได้โดยรวดเร็ว เมื่อมีความไม่พอใจหรือความโกรธขึ้นเถิด และเนื่องมาจากความปรารถนาข้อนี้ ขอให้ข้าพเจ้าอย่าเป็นคนผูกโกรธ ให้รู้จักให้อภัย ทำใจให้ปลอดโปร่งจากการผูกอาฆาตจองเวร ขอให้มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยรู้จักเปรียบเทียบกับตัวข้าพเจ้าเองว่าข้าพเจ้าเองก็อาจทำผิด พูดผิด คิดผิด หรืออาจล่วงเกินผู้อื่นได้ ทั้งโดยมีเจตนาและไม่เจตนา ก็ถ้าข้าพเจ้าเองก็ยังทำผิดได้ เมื่อผู้อื่นทำอะไรผิดพลาดล่วงเกินไปบ้าง ก็จงให้อภัยแก่เขาเสียเถิด อย่าผูกใจเจ็บหรือเก็บความรู้สึกไม่พอใจนั้นมาขังอยู่ในจิตใจ ให้เป็นพิษเป็นภัยแก่ตังเองเลย

    ๑๐. เข้าใจและสอนตัวเองเกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนา...
    ขอให้ข้าพเจ้ามีความรู้ความเข้าใจและสอนใจตัวเองได้เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งทางโลกและทางธรรม กล่าวคือ พระพุทธศาสนาสอนให้รู้จักสร้างความเจริญแก่ตนในทางโลก และสอนให้ประพฤติปฏิบัติยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ให้มีปัญญาเข้าใจปัญหาแห่งชีวิต เพื่อจะได้ไม่ติดไม่ยึดถือ มีจิตใจเบาสบายอันเป็นความเจริญในทางธรรม ซึ่งรวมความแล้วสอนให้เข้ากับโลกได้ดี ไม่เป็นภัยอันตรายแก่ใครๆ แต่กลับเป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ แต่ก็ได้สอนไปในทางธรรมให้เข้ากับธรรมได้ดี คือให้รู้จักโลก รู้เท่าโลก และขัดเกลานิสัยใจคอให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อบรรลุความดับทุกข์ ความพ้นทุกข์ ขอให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจดีทั้งทางโลก ทางธรรม และปฏิบัติตนให้ถูกต้องได้ ทั้งสองทาง รวมทั้งสามารถหาความสงบใจได้เองและสามารถแนะนำชักชวนเพื่อนร่วมชาติร่วมโลก ให้ได้ประสบความสุขสงบได้ตามสมควรเถิด


    ขอขอบคุณ
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y7002842/Y7002842.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2008
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    โอวาทธรรมที่สำคัญและน่าสนใจจากท่านพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นครับ จะเลือกจำเฉพาะข้อก็ได้ จำได้สักหนึ่งหรือสอง ดีกว่าอ่านผ่านแล้วก็ทิ้งไป เพราะธรรมะดังกล่าวไม่ได้มาลอยๆ ทุกสิ่งย่อมมีที่มา และผ่านการพิสูจน์มาแล้วทั้งสิ้น จากผู้ที่เป็นดั่งพ่อแม่ครูอาจารย์แห่ง "พระป่าผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ" อรหันต์นะมามิ

    พันวฤทธิ์
    18/9/51


    คำแนะนำ

    อ่านดูในกระทู้อาจจะอ่านยาก ถ้าเข้าไปดูตาม link จะอ่านง่ายกว่าเพราะจะมีเครื่องหมายแบ่งหัวข้อไว้ชัดเจนครับ



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>



    โอวาทธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร
    ที่ให้ไว้แก่ศิษยานุศิษย์
    บันทึกโดย หลวงปู่หลุย จันฺทสาโร จากสถานที่ปฏิบัติธรรมหลายแห่ง
    _______________________________________________


    ธรรมะ ธัมโม เรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดความแปรปรวนของสังขารประกอบด้วยไตรลักษณ์
    อย่าเชื่อหมอมากนัก ให้เชื่อธรรมมากจึงดี เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม
    อรหันต์ก็เป็นคุณอนันต์ นับหาประมาณมิได้ พระอรหันต์ตรัสรู้ในตัว เห็นในตัวมีญาณแจ่มแจ้งดี ล้วนแต่เล่าเรียนธรรมชาตินั้นๆ
    ธรรมะชี้เข้ากายกับจิตเป็นคัมภีร์เดิม
    ภูเขาสูงที่กลิ้งมาบดสัตว์ให้เป็นจุณไปนั้นอายุ ๗๐ ปี แล้วไม่เคยเห็นภูเขา เห็นแต่ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ เท่านั้นแล ทิฐิมานะเป็นภูเขาสูงหาที่ประมาณมิได้
    ธรรมะเป็นต้น เอโกมีอันเดียว แต่แสดงอาการโดยนัย ๘๔,๐๐๐ ธาตุ ๔ ธาตุ ๖ ธาตุ ๑๘ ให้เห็นด้วยจักษุด้วย ให้เห็นด้วยญาณ คือปัญญาด้วย นโม ดิน น้ำ บิดา มารดา ปั้นขึ้นมา
    ๘๔,๐๐๐ เป็นอุบายที่ให้พระองค์ทรมานสัตว์ สัตว์ย่อมรู้แต่ ๘๔,๐๐๐ เท่านั้น จะรู้ยิ่งไปกว่านั้นเป็นไม่มี เว้นแต่นิสัยพุทธภูมิฯ รู้อนันตนัยหาประมาณมิได้ พ้นจากนิสัยของสาวก สาวกรู้แต่ ๘๔,๐๐๐ เท่านั้น จะรู้ยิ่งไปกว่านั้นมิได้
    ให้รู้ นโม นะ น้ำ โม ดิน ( อิ อะ ) อิติปิโสฯ อรหํ เมื่อรุ้แล้วความรู้หาประมาณมิได้ อะ อิ สำคัญนัก เป็นคุณสมบัติของพระอรหันต์ฯ
    ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ นี้เองทำให้บุคคลเป็นพระอรหันต์
    ญาณ ของพระพุทธเจ้า ท่านหมายเอา สกนธ์กาย เช่น นิมิตธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุน้ำ ธาตุดิน และอาการ ๓๒ เป็นนิมิต ท่านบอกว่ารู้เห็นเช่นนี้ บรรดาท่านเจ้าคุณที่หลายไม่คัดค้านเลยฯ
    สัตว์เกิดในท้องมารดาทุกข์แสน กามเป็นของต่ำช้า เป็นของที่นำทุกข์เดือดร้อนฯ
    โลกสันนิวาส มีความแปรปรวนตั้งเที่ยงอยู่เช่นนั้น แต่จิตของเรารักษาไว้ให้ดีอย่าให้ติด ถ้าไม่ติดก็ได้ชื่อว่าเป็นสุข ในตอนนี้ท่านแสดงทบไปทบมาเพื่อให้ศิษย์รู้
    พิจารณาค้นกาย ตรวจกายถูกดีแล้ว ไม่เป็นปัญหาขึ้นมาได้ ถ้าไม่ถูก ย่อมเป็นปัญหาขึ้นมา
    ค้นดูกายถึงหลัก และเห็นอริยสัจของจริงแล้ว เดินตามมรรคเห็นตัวสมุทัยเห็นทุกขสัจ
    ต้องทำจิตให้เป็นเอก ต้องสงเคราะห์ธรรมให้เป็นเอกเสมอๆ
    อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ กาย วาจา ใจ เป็นมรรค เข้าไปดับทุกข์ ดับสมุทัย ดับนิโรธ นิโรธดับไม่เอา เอาที่ไม่ดับ คือดับนั้นยังเป็นตัวมรรค เอาสิ่งที่ไม่ดับ สิ่งที่ตั้งอยู่นั้นแหละเป็นตัวให้สิ้นทุกข์
    ปฏิภาค นั้นอาศัยผู้ที่มีวาสนา จึงจะบังเกิดขึ้นได้ อุคหนิมิต นั้นเป็นของที่ไม่ถาวร พิจารณาให้ชำนาญแล้วเป็น ปฏิภาคนิมิต ชำนาญทาง ปฏิภาค แล้วทวนเข้ามาเป็นตน ปฏิภาคนั้นเป็นส่วนวิปัสสนาฯ
    ท่านพิจารณาร่างกระดูกได้ ๕๐๐ ชาติมาแล้ว ตั้งแต่เกิดเป็นเสนาบดีเมืองกุรุราชเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัย
    เจริญทางจิตอย่างเดียว ตั้งแต่ อุปจารสมาธิ รู้วาระจิตของผู้อื่นได้ แก้นิวรณ์ได้แต่โมหะคุมจิต ถ้าเจริญวิปัสสนา ถึง อัปปนาสมาธิ ท่านอาจารย์บอกเช่นนั้น และบอกว่าทำความรู้ให้พอเสียก่อนจึงไม่หวั่นไหว
    ให้รู้ที่จะแก้จิตของตน ให้รู้จักภพของตนที่จะไปเกิดฯ ท่านอาจารย์ได้พิจารณาวัฏฏะ ๕๐๐ ชาติ
    ต้องผ่านความผิดมาเสียก่อนจึงปฏิบัติถูก ความผิดเป็นเหตุเความถูกเป็นผลของความทั้งหลาย ต้องเดินมรรค ๘ ให้ถูกจึงจะแก้ได้ เดินตามสายหนทางของพระอริยเจ้า ใช้ตบะอย่างยิ่งคือ ความเพียร จึงจะสอนตนได้ โลกีย์ โลกุตระ ๒ อย่างประจำอยู่ในโลก ๓ ภพ
    ปัญญามีสัมปยุตทุก ๆ ภูมิ กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระเหล่านี้ล้วนแต่มีปัญญาประกอบ ควรที่เป็นเสียมก็เป็น ควรที่เป็นขวานก็เป็น ส่วนที่เฉย ๆ เรื่อย ๆ นั้น เช่น เหล็กเป็นแท่งกลม จะเอามาใช้อะไรก็ไม่ได้ นี้ฉันใด
    จะบอกการดำเนิน วิปัสสนา และ สมถะ โดยเฉพาะนั้นมิได้ เพราะมันไปหน้าเดียว จริตของคนต่าง ๆ กัน แล้วแต่ความฉลาดไหวพริบของใคร เพราะดำเนินจิตหลายแง่แล้วแต่ความสะดวก
    อย่าให้จิตเพ่งนอก ให้รู้ในตัว เห็นในตัว เมื่อรู้ในตัวแล้วรู้ทั่วไป เพราะตัวเป็นต้นเหตุ
    เทศน์เรื่องมงคลวิเสส ที่มนุษย์ เทวดามีความสงสัย มิได้แก้อัตถะแปลได้เหมือนพระพุทธองค์ มนุษย์เป็นสถานกลาง อะไรดีหรือชั่วก็ต้องกลั่นออกไปจากมนุษย์นี้ทั้งนั้น ทำให้เป็นดีก็มนุษย์ ทำให้ชั่วก็มนุษย์ จะเป็นปุถุชนก็มนุษย์ จะเป็นพระพุทธเจ้าก็มนุษย์
    ท่านเทศน์ให้สงเคราะห์เข้าตนทั้งนั้น สุกะ เป็นธาตุบูดเน่าเป็นธรรมชาติของเขา ร้ายแต่มนุษย์ จิตติดสุภะ ดื่มสุรา ท่านยกพระโพธิสัตว์ยกเป็นกษัตริย์ มีเมีย ๖ หมื่น บุตรราหุล ท่านก็ไม่เมา ไหนเรามีเมียตาเปียกคนเดียวติดกันจนตาย ธาตุเมาอันนี้เป็นธรรมชาติไม่ให้คนสิ้นสุดทุกข์ไปได้
    บุคคลรักษาจิต ได้แล้วทั้งศีล แม่รักษาทางปัญญา ได้แล้วทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา ดุจข้าวสุกที่สำเร็จแล้ว เราจะตวงกิน ไม่ต้องไปกังวลทำนาเก็บเกี่ยว และข้าวเปลือก ข้าวสารเลย กินข้าวสุกแล้วก็เป็นพอนี้ ก็ฉันได้ เป็นสถานที่สำรวม
    ภายนอกให้ละเอียดเสียก่อน แล้วภายในจึงละเอียด
    ครั้งพุทธกาล บางองค์ติดทางสมาธิ ๕๐ ปี จึงสำเร็จก็มี
    พระอานนท์ เป็นคลังแห่งพระธรรม อะไรท่านรู้หมด ทำเนิ่นช้า เพราะท่านติดพระสูตร พระอภิธรรม ไม่น้อมลงมาปฏิบัติ จึงสำเร็จช้าอายุ ๘๐ ปี หลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน
    พระอานนท์ทำความเพียรในกายวิปัสสนา กำหนดจิตโดยมิได้ละ จนขาตรงทีเดียว จึงได้ทอดกายด้วยสติ หัวยังไม่ทันถึงหมอนจิตก็เข้าสู่ภวังค์ ภวังค์หายไป เกิดความรู้ เญยธรรมทั้งหลายฯ
    พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร ล้วนแต่เกิดในตระกูลมิจฉาทิฐิ โมคคัลลาน์สั่งสอนแม่ไม่ได้เลยทีเดียวฯ
    เหตุปจฺจโย โหติ ธรรมทั้งหลายเกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุฯ
    อย่าเชื่ออภิญญาฯ ปฏิบัติเพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นอาบัตอทุกกฏ
    ธรรมเป็นของเย็น พระกรรมฐานอยู่ที่ไหน สัตว์ป่าต้องอาศัยอยู่ หมูป่าเห็นคฤหัสถ์เป็นยักษ์เป็นมาร เบียดเบียนสัตว์ ยิงจนไม่มีเหลือ เสียภูวัว ท่านอาจารย์ทำอุโบสถ มันมาร้อง เมื่อฟังปาฏิโมกข์จบแล้วมันก็หายไป ท่านอาจารย์มั่นคุ้นเคยสัตว์เหล่านี้ ท่านรู้วาระจิตสัตว์เหล่านี้ เป็นมิตรสหายกันด้วยธรรมเครื่องเย็นใจ
    สัตว์เดรัจฉาน เขาก็มีสัญญา ปัญญา นามธรรม รู้เหมือนกับมนุษย์ แต่เขาพูดไม่ได้
    ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นนั้นอย่าย้าย มันเต็มแล้วมันย้ายเอง ท่านเตือนท่านมหาบัวฉะนั้นพระโยคาวจรเจ้า ละกิเลสส่วนใดได้แล้วท่านไม่กลับมาละอีก เพราะมรรคประหารสิ้นไปแล้ว เดินหน้าแก้กิเลสใหม่เรื่อยไป จนละกิเลสรอบ ไม่เกิดอีก นี้ก็เป็นอัศจรรย์
    ให้ม้างกายเป็นนิจนั้นดี อย่าให้มันหุ้ม
    สถานที่เข็ดขวาง ท่านบบอกว่าเป็นพวกเปรต ต้องทำบุญให้ทานอุทิศถึง เขาก็ได้รับอนุโมทนา หายไปเกิด ณ ที่อื่นๆ
    ท่านไม่ชอบฤทธิ์ ชอบภาวนาให้สิ้นกิเลส ฤทธิ์ทั้งหลายเกิดด้วยกำลังสมถะ ฌาณสมาบัติ ทั้งนั้น ใช้วิปัสสนาอย่างเดียวไม่มีฤทธิ์สำเร็จอรหันต์
    ฝึกหัดจิตดีแล้ว จิตเข้มแข็งมีอำนาจมาก ย่อมกระทำจิตสารพัดได้ทุกอย่าง เมื่อเห็นอำนาจของจิตแล้ว แลเห็นกายเป็นของอ่อนจิตบังคับกายได้ฯ
    เขาโกรธเรา แต่เราอย่าตอบ ให้พิจารณาความบริสุทธิ์ละลาย แล้วยกธงชัยขึ้น และมีอะไรก็สงเคราะห์เขาผู้ประมาณ ไม่นานเขากลับคืนดี ไม่กลับคืนดีก็วิบัติถึงตายทีเดียว
    ใครจะไปบังคับจิต นั้นไม่ได้เลย ต้องสอนจิตให้อยู่ด้วยอุบาย แม้คำสั่งสอนของพระองค์ ล้วนแต่เป็นนโยบายทั้งนั้น เหตุนั้นท่านจึงไม่ชี้อุบายตรง ๆ ลงไปทีเดียวจึงชักอื่นมาเปรียบเทียบฯ
    นิมิตทั้งหลายเกิดด้วยปีติสมาธิอย่างเดียว การภาวนาอย่าให้ทิ้งกายกับจิต นี้เป็นกรรมฐานเดิม แต่ให้จิตเด็ดเดี่ยวอย่างที่สุดจึงเป็นผู้ที่รู้ธรรมในธรรมฯ
    ให้เป็นมหาสติ มหาปัญญา รอบกาย รอบจิต มรณะร้ายมาถึงแล้ว ต้องเข้าแย่งกันในช่องแคบ แม้โพธิสัตว์ชนะมาร ชนะในช่องแคบ
    ปฏิภาคนิมิตเกิดเฉพาะผู้ทที่มีวาสนาอย่างเดียว การภาวนาอย่าให้ทิ้งกายกับจิต นี้เป็นกรรมฐานเดิม แต่ให้จิตเด็ดเดี่ยวอย่างที่สุดจึงเป็นผู้ที่รู้ธรรมในธรรมฯ
    สนิมมันเกิดในเนื้อเหล็ก กิเลสมันเกิดในดวงจิต ต้องประหารจิตให้เป็นธรรม
    ในโลกนี้เป็นอนัตตาหมด ไม่มีต้นไม้และภูเขา วิปัสสนาลบล้างหมด ไม่มีเชื้อโรคอยู่ในโลกชื่อว่า โลกุตระ
    เรื่อง กัมมัฏฐาน ๕ ภาวนาให้มาก ในร่างกาย เห็นอสุภะเป็นยาปรมัตย์แก้จิตพระเณรที่บรรพชาอุปสมบท ล้วนแต่พระอุปัชฌายะให้กรรมฐาน ๕ มาทั้งนั้น เป็นหลักสำคัญที่กุลบุตรจะภาวนา รู้แจ้งในรูปธรรมเป็น สนฺทิฏฐิโก เห็นเอง เบื่อหน่ายรูปธรรม อรูปธรรม แลเห็นนามธรรมไปพร้อมกัน
    การนอน การสงบเข้าฌาณ เป็นอาหารของจิตและร่างกายอย่างหนึ่ง สมถะ ต้องพักจิตสอบอารมณ์ ส่วน วิปัสสนา จิตเดินไตรลักษณ์ให้รู้อริยสัจ เหนื่อยแล้วเข้าพักจิตพักจิตหายเหนื่อยแล้ว จิตตรวจอริยสัจอีกดังนี้ ฉะนั้นให้ฉลาดการพักจิต การเดินจิต ทั้งวิปัสสนาและสมถะ พระโยคาวจรเจ้าทิ้งไม่ได้ ชำนิชำนาญทั้งสองวิธี จึงเอาตัวพ้นจากกิเลสทั้งหลายไปได้ เป็นมหาศีล เป็นมหาสมาธิ เป็นมหาปัญญา มีศีลทั้งอย่างหยาบอย่างกลาง อย่างละเอียด พร้อมทั้งจิตเจตสิก พร้อมทั้งกรรมบถ ๑๐ ไม่กระทำผิดในที่ลับและที่แจ้ง สว่างทั้งภายในและภายนอก มีมหาสติรอบคอบหมด วิโมกข์ วิมุติ อกุปธรรม จิตบริสุทธิ์ จิตปกติเป็นจิตพระอรหันต์ สว่างแจ้งทั้งภายนอกภายในสว่างโร่ ปุถุชนติเตียนเกิดบาป เพราะพระอรหันต์บริสุทธิ์ กายเป็นชาตินิพพาน วาจา ใจ เป็นชาตินิพพาน นิพพานมี ๒ อย่าง นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ๑ นิพพานตายแล้ว ๑ พระอรหันต์ขึ้นรถขึ้นเรือไปนิพพานฉะนั้น
    สุทโธทนะห้ามพระองค์ไม่ให้ไปบิณฑบาต กรุงกบิลพัสดุ์ เราไม่อด พระองค์ตอบว่าไปตามประเพณีพระพุทธเจ้า สุทโธทนะฟังโอวาทแล้วได้โสดาบัน
    ปัญญากับสติให้รู้เท่าทันกัน พิจารณากาย จิต ความไม่เที่ยงของสังขารเป็นธรรมะสื่อให้เห็นเรื่อย ๆ ทำความรู้ในนั้น เห็นในนั้น ๆ
    มหาสติเรียนกายจิตให้มาก ๆ ให้เห็นจริง ธรรมะจริง สมมุติ อย่าหลงรูป เสียง กลิ่น รส ของอันนี้เต็มโลกอยู่เช่นนั้นฯ
    พระอานนท์ทรงไว้ซึ้งพระสัทธรรม ว่าเป็นของภายนอก ต่อหันเข้ามาปฏิบัติภายในจึงสำเร็จฯ
    หนัง คนในโลกยินดีในหนังและเครื่องอุปโภคบริโภค หนังอันนี้ทำให้มนุษย์หลงยินดี พากันทุกข์กันมากฯ
    ธรรมธาตุ สัตว์หลงธาตุ ชมธาตุ ยินดีธาตุ ยินร้ายธาตุ จึงได้ทำกรรรมไปต่างๆ ฯ
    เรียนแบบตำราเป็นของที่ไม่แน่นอน สู้เรียนทางกายและจิตให้เป็นธรรมชาติไม่ได้ฉะนั้น ผู้เรียนกายวาจาจิตไม่ใคร่สึก ปฏิบัติแต่ธรรมที่รู้ยิ่งเห็นจริงฯ
    ปัจจุบันให้รู้ทางจิตฯ
    ปฏิภาคเป็นเรื่องของปัญญาฯ
    ให้เรียนทางจิตทวนกระแส ตัดรากเหง้าเครื่องผูกดุจรื้อเครื่องฟัก
    ปฏิภาคนิมิต เป็นปาฏิหาริย์ของจิต มีอำนาจทำให้เป็นอากาศสว่างเปล่าได้อันเป็นอัศจรรย์ใหญ่หลวงฯ
    ผู้มีราคะ ย่อมเศร้าโศกเสียใจเพราะราคะฯ
    ธรรมที่ลึกลับ ไม่ควรพูดให้คนอื่นรู้ เพราะคนอื่นไม่เห็นตามธรรมจะเสีย ต้องพูดต่อผู้ปฏิบัติเหมือนกัน
    ให้ถือตามมีตามได้ หันหาธรรมชาติ อย่าก่อความกังวลนั้นดีมาก เมื่อปฏิบัติได้แล้วก็ไม่ดีใจ เสียใจ
    มรรค โลกย์ เทวทูต ชาติ ชรา มรณะ พยาธิ ให้โพธิสัตว์ออกบวชพระองค์บวชแล้ว ทำทุกรกิริยา ในวันที่ตรัสรู้ ปฐมยามราคะเกิดในดวงจิตของพระองค์ป่วนปั่น พระองค์ทวนกระแสว่า เราเห็นแล้วไม่ใช่หรือ ที่เราออกบวชเราจะไม่กลับแน่ ต่อนั้นทำจิตเข้าสู่ภวังค์ สงบ อยู่ในอัปปนาสมาธิ ต่อนั้นถึงเกิดปัญญาความรู้ขึ้นมา ระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้ ในมัชฌิมสมัย ต่อนั้นพระองค์ตรวจปฏิจจสมุปบาททวนไปทวนมาด้วยปัญญาอันยิ่ง จิตลงสู่ภวังค์ เกิดความรู้ขึ้นมาตรัสรู้ ดับอวิชชาตัณหา เป็นสยมภู พุทธปัจฉิมสมัยกาลครั้งนั้น
    เพ่งนอกนั้นไม่สิ้นสงสัย เพราะยังหมายนอกหมายในอยู่ ตกอยู่ในกระแสของสมุทัย
    ให้ระงับสังโยชน์ ที่ละเอียดสิงอยู่ในดวงจิตนั้นฯ
    บริจาคทาน โลภนั้นคือปรารถนา เมื่อไดแล้วปรารถนาอยากได้มาก พระเวสสันดรท่านไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ท่านปรารถนาโพธิญาณ เป็นปรมัตถบารมี
    มรรค ๘ ใครภาวนาเจริญดีแล้ว แก้โลกธรรม ๘ ประการ ฉะนั้นจิตท่านอรหันต์ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘ ประการ มีไตรลักษณ์บังคับ แม้โลกีย์ทั้งหลาย มีไตรลักษณ์บังคับอยู่เสมอ ไตรลักษณ์บังคับไม่ได้นั้น มีโลกุตระเท่านั้น โลกุตระอันนี้อยู่เหนือไตรลักษณ์สถานที่เกษมบุคคลที่จะพ้นโลกโลกีย์ไปถึงโลกุตระ ต้องสร้างพระบารมีเป็นการใหญ่ บุคคล ๓ จำพวกคือ พระพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจก ๑ พระอรหันต์ ๑ พระพุทธเจ้าสร้างบารมี ๓ ชนิด ปัญญาบารมี ๔ อสงไขย แสนกำไรมหากัป ศรัทธาบารมี ๘ อสงไขย แสนกำไรมหากัป วิริยบารมี ๑๖ องไขย แสนดำไรมหากัป พระปัจเจกสร้างบารมี ๒ อสงไขย แสนกำไรมหากัป พระอรหันต์สร้างบารมี ๑ อสงไขย แสนกำไรมหากัป ดังนี้ สร้างพระบารมีมิใช่น้อยกว่าจะสำเร็จพระนิพพานได้ดังนี้ ชำนาญมากที่สุด ๑ อสงไขย เหลือที่จะนับนั้นประการหนึ่ง เอาสวรรค์ เอานรกเป็นเรือนอยู่สร้างพระบารมี พระนิพพานเป็นของที่แพงที่สุด ต้องสร้างบารมีแลกเปลี่ยนเอาจึงจะได้พระนิพพาน
    ชิวิตและนิพพาน ธาตุขันธ์มิจิตสิงอยู่เรียกว่า ชีวิต เมื่อพิจารณาวางตามสภาพได้แล้ว จิตหดหาจิตเดิมเข้า รู้เห็นในปัจจุบันเจริญมหาสติรอบในสติ มหาปัญญารอบในปัญญาแล้วเห็นปกติ
    อคฺคํ มนุสฺเสสุ ( มาจากประโยคเต็ม ซึ่งปรากฏในหนังสือ มุตโตทัย ว่า อคคํ ฐานํ มนุสเสสุ มคคํ สตตวิสทธิยา ) มนุษย์เลิศมนุษย์น้ำใจสูง มีทุกข์ มีสมุทัย มีมรรค มีนิโรธ ครบทุกอย่าง จึงสำเร็จนิพพานได้ พระอินทร์ พระพรหม เป็นต้น บวชเป็นพระเป็นเณรไม่ได้เหมือนมนุษย์ มนุษย์เป็นธาตุพอ ดุจแม่ครัวแกงช่างเอร็ดอร่อย มันพอพริกพอเกลือ จึงให้สำเร็จมรรคผลได้ ไม่ขัดข้องด้วยประการใด ๆ ฉะนั้นมนุษย์ไม่ควรน้อยเนื้อต่ำใจ ปฏิบัติให้ได้สวรรค์ นิพพาน ได้ธาตุพอเป็นชนิดที่สูงสุด
    นิพพาน นั้นคือจิตหดโดยเห็นธาตุ รู้แจ้งธาตุ จิตฐีติภูตํ รู้อยู่นั้นเป็นตัวนิพพานฯ
    วิชชา ๓ ของพระพุทธเจ้า ลึกลับสุขุมมาก ในยามที่ ๓ พระองค์ทำความรู้เท่าอย่างนั้น ยามที่ ๒ พระองค์ทำความรู้เท่านั้น นั้นยามที่ ๓ พระองค์ทำความรู้เท่าคือแก้อวิชชาและปฏิจจสมุปบาทในของจิตในช่องแคบมารแย่งไม่ได้ มีความรู้อันพิเศษขึ้นมาว่า พระองค์เป็นสยมภูความที่ท่านแก้อวิชชาเป็นของขั้นละเอียดยิ่งนัก บุคคลจะรู้เห็นตามนั้นน้อยที่สุด สุดอำนาจของจิต เมื่อกำหนดรู้ลงไปเป็นของว่างหมด ไม่ใช่ตัวตนสัตว์บุคคลเราเขา ไม่ใช่ผู้หญิงผู้ชาย ธาตุสุญโญ เป็นธาตุสูญ แล้วกำหนดจิต รู้จิต ตั้งอยู่ใน ฐีติธรรม
    ธาตุกับจิตติดกัน จึงวนเวียนแก่ เจ็บ ตาย อยู่ทุกชาติหาที่สิ้นสุดมิได้ ธาตุเป็นของที่มีอยู่เช่นนั้นตั้งแต่ดั้งเดิมมา และแปรปรวนอยู่เช่นนั้น จิตของคนไม่ไปยึดไปถือ ก็เป็นจิตสิ้นทุกข์ได้ฯ
    อายตนะภายในภายนอกแปรปรวนอยู่เป็นนิจ สว่างโร่ ทั้งภายนอกและภายในไม่ขาดระยะของ ทุกขํ อนิจจํ อนตตา ฟังเทศน์ธรรมชาติแสดงเรื่อย ๆ พระโยคาวจรฟังเทศน์ในตอนนี้ ฉลาดในตอนนี้ สิ้นกิเลสในตอนนี้ เป็น ปจฺจตฺตํ ความเพียร มรรคผล ถือสมถะพอ วิปัสสนาพอ มันผลักกิเลสมันเอง
    บรรพชิตจะต้องปฏิบัติตรงต่อพระนิพพาน
    พุทธองค์เกิดในป่าลุมพินีวัน ปลงสังขารในป่า ให้โอวาทปาติโมกข์ในป่า ตรัสรู้ในป่าเปลี่ยว นิพพานในป่าเปลี่ยว วิจัยธรรมในป่า ชนะมารในป่า ธรรมทั้งหลายล้วนแต่เกิดในป่า เป็นธรรมราคาสูง ธรรมโลกุตระเหนือโลกีย์
    จิตตั้งจิตมิได้ ตั้งจิต ตั้งธาตุ จึงแสดงรู้เห็นด้วยกันได้ เพราะจิตมันเป็นนามธรรม
    อย่าถอนทำความเพียร มันจะเคยตัว ให้ทำจนชิน ให้ได้เนื้อหรือคุ้นเคย จึงจะเห็นมรรคผลเห็นผล
    ปัญจวัคคีย์นั้นทางปรมัตถ์ว่า หัว๑ แขน ๒ ขา ๒ เป็นห้า ภิกษุ แปลว่าคนต่อยกิเลส ปัญจวัคคีย์ก็เป็นภิกษุเหมือนกะเราฯ
    วาจาของท่านเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีลาภ ยศ อามิสเจอวาจาของท่าน เทศน์จึงขลังดี พูดถูกธรรม ตรงไป ตรงมา ไม่เห็นแก่หน้าบุคคลและอามิส
    ท่านไม่ให้ศีลแก่โยมที่รู้ศีล อ้างว่าแม้พระภิกษุที่บวชนั้นก็ไม่ให้ศีล ๒๒๗ เลย ให้แต่เพียง ศีล ๑๐ ชั้นสามเณรเท่านั้น ต่อนั้นประกาศสงฆ์ตั้งสมมติให้กันเอง แล้วก็พากันรักษาพระปาฏิโมขก์ นี้ฉันใด เพียงศีล ๕ ให้เจตนารักษาแต่เฉพาะตนเอง เท่านั้นก็เป็นพอ
    จิตนั้นเมา สุราไม่ได้เมา สุราไม่ติดคน คนติดสุราต่างหาก เมื่อคนดื่มไปแล้ว ทำให้เป็นบ้าไปต่าง ๆ ฯ
    เรื่องของโลกย่อมมีการยุ่งอยู่เรื่อย ๆ มาตั้งแต่ไหน ๆ
    วิธีละกิเลสฝังแน่นอยู่ในสันดานนั้น ตีลิ่มใหม่ใส่ลงไปลิ่มเก่ากระดอนออกนี้ฉันใด มรรค เข้าไปฟอกกิเลสเก่าออกมาแล้วจึงเห็นความบริสุทธิ์
    จิตเสวยเวทนาอย่างละเอียดนั้น ให้ละลายเวทนาเข้าไปอีกเอามรรคเข้าไปฟอกแล้วทำความรู้อยู่แทนเวทนา จึงจะเห็นตน เห็นธรรม เห็นความบริสุทธิ์ฯ
    สมณะ พราหมณ์ มีการเพ่งอยู่เป็นนิจ มันไม่รู้ไม่ฉลาดแล้ว จะไปอยู่ ณ ที่ไหนอาพาธก็หาย บุญก็ได้ด้วย พระองค์ตรัสให้พระสารีบุตรทำเช่นนั้น แท้ที่จริงพระสารีบุตรก็ทำชำนาญมาแล้ว แล้วทำอีก อาพาธก็หายฯ
    ให้พิจารณาธาตุ เมื่อเห็นธาตุแปรปรวนอยู่เป็นนิจ เรียกว่า สัมมาทิฐิ เห็นชอบ
    ภุมเทวดา อยากดื้อ ทดลองเสมอทีเดียว ไปอยู่ที่เข็ดขวางต้องระวัง ต้องตรวจจิตเสมอฯ
    มนุษย์เป็นสัตว์เลิศ เป็นที่ตั้งพระพุทธศาสนา ทวีปทั้ง ๓ ก็เป็นมนุษย์ เช่น อุดร กุรุทวีป แต่ไม่สมบูรณ์ พระองค์ไม่โปรดตั้งศาสนา เทวดาก็เหมือนกัน มนุษย์ที่มาเกิดในชมพูทวีปเป็นมนุษย์วิเศษ รับรัชทายาท
    อารมณ์ภายนอกและภายใน เป็นของที่ตั้งอยู่เป็นธรรมดา แต่จิตเป็นของที่รับรู้ ฉะนั้นต้องทรมานทางจิตให้มาก ๆ แก้อวิชชา แก้อาสวะ แก้ทุกข์ แก้สมุทัย นิโรธ เกิดญาณตั้งอยู่เป็นอมตธรรมที่ไม่ตายฯ
    แก้โทษคือแก้อาบัติ ให้แก้ปัจจุบันจิต อย่าส่งจิตอดีต อนาคต แล้วบอกจิตว่าไม่มีโทษ เมื่อท่านไปจำพรรษาอยู่เทือกเขาใหญ่ท่านเกิดอาบัติจนฉันอาหารเข้าไป ก็เป็นอันนั้นออกมา เพราะจิตวิบัติแล้ว ธาตุก็วิบัติด้วย ต่อนั้นแก้จิตได้แล้ว อาพาธ ๓ วัน หายเป็นปกติดี การอาบัติเช่น อาบัติอุกฤษฏ์ อย่าพึงล่วงง่าย ๆ เพราะมันเคยตัวฯ
    อจินไตย เกิดความรู้ ความฉลาด นั้นหาประมาณมิได้ฯ
    ปฏิบัติผิดนั้น ลบสังขารด้วยไตรลักษณ์ไม่ได้ ประพฤติไปตามสังขาร ปฏิบัติถูกนั้น คือลบสังขารด้วยไตรลักษณ์ได้
    พวกสุทธาวาสทั้งหลาย คือ เจริญฌานและวิปัสสนาต่อไป จึงสำเร็จได้ในที่นั้น
    ผู้ที่รู้ธรรมแล้ว เป็นผู้วิเศษ อานิสงส์หาประมาณมิได้
    สกลกายอันเดียวนี้แหละเป็นตัวธรรม
    ละกิเลสด้วยสติ สติฟอกอาสวะกิเลสเอง
    ธรรมเป็นฐีติธรรม ตั้งเที่ยงอยู่เช่นนั้น แปรปรวนอยู่เช่นนั้น ให้รู้ให้เห็นเฉพาะที่เกิดกับจิต
    คณาจารย์บางองค์แสดงอริยสัจ มีลาภ ยศ เจืออริยสัจ เป็นส่วนมาก
    จิตเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ หมดจดทุกอย่าง มนุษย์ เทวดา ไม่มีที่ครหาเลย
    บรรดานักปฏิบัติให้เฉลียวฉลาดรู้เท่าทันโจร เมื่อรู้เท่าทันโจรแล้ว โจรย่อมไม่มีโอกาสลักสิ่งองไปได้ แม้ฉันใด ปฏิบัติให้มีสติและปัญญารักษาตน กิเลสมิอาจเข้าถึงได้ฯ
    ที่แผ่นดินย่อมเป็นฝุ่นผีทั้งสิ้น ให้จิตพิจารณาตกลงถึงฐานฯ จิตจึงไม่กังวลฟุ้งซ่านกระสับกระส่ายฯ
    มนุษย์ตาย จะเอาไปกินและเอาไปใช้ไม่ได้ ไม่เหมือนวัวควายวัวควายเนื้อกินได้
    ในขณะที่มีชีวิตนั้นทำบุญดีมาก การทำศพถึงผู้ตายนั้นไม่ได้เป็นส่วนมาก แต่ทำตามประเพณีเท่านั้น พระอรหันต์นิพพาน ภูเขาถ้ำต่าง ๆ ใครทำศพให้ท่านเล่า---ท่านทำไมถึงนิพพาน
    ใช้ไหวพริบเป็นอาชาไนยอยู่เนืองนิจฯ
    ธรรมทั้งหลาย จิตประกอบกายยกขึ้นแสดง ปราศจากกายแล้วจะยกนามธรรมขึ้นแสดงไม่ได้เลย
    เหตุเกิดก่อน ปัจจัยเกิดทีหลังฯ
    จิตเป็นคนเรียกสมมุติเอง จิตเป็นเหตุที่กระสับกระส่าย จิตปกติดีแล้วก็เป็นอันได้รับความสุขฯ
    ทำจิตให้สว่างโพลง กำหนดรู้ฐีติธรรม นั้นเรียกว่าปัญญาโดยแท้
    ให้แก้อวิชชา แก้อนุสัยความไม่รู้ไม่ฉลาดนั้นให้กลับเป็นคนฉลาดฯ
    พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร พระองค์เกิดในตระกูลมิจฉาทิฐิ ดุจดอกบัวย่อมเกิดในตมฉันใด
    ต้องเจริญทุกข์ให้พอเสียก่อน ดับต้องอยู่ในที่นั้น ดุจตีลิ่มลงไป ลิ่มเก่าถอน ลิ่มใหม่เข้าแทน คือกิเลสออก ความบริสุทธิ์เข้าแทน ดุจของดีอยู่ในของชั่ว คืออวิชชาออกวิชชาเข้าแทนฯ
    เดินมรรคให้เห็นทุกข์ ให้เดินมรรคเห็นสมุทัย ให้ยิ่งในมรรคให้ยิ่งมรรคนิโรธ จึงจะพ้นทุกข์ฯ
    โลกียสัจจะคือโพธิสัตว์เห็นเทวทูต โลกุตรสัจจะคือโพธิสัตว์ตรัสรู้ฯ
    ข้อเปรียบชั้นนิพพาน คือ นับ ๑ ไปถึง ๐ ๐ ( สูญ ) โลกเขาแปลว่าไม่มี แต่สูญมีอยู่นี้ฉันใด นิพพานเป็นของที่มีอยู่ฯ
    ความรู้ความฉลาด มีอยู่ในสถานที่ไม่รู้
    ธรรมทั้งหลายมาจากเหตุ คือจิตออกจากจิตเรียกเจตสิก ต่อนอกนั้นเป็นอาการทั้งหมด ดุจสันหรือหรือคมของดาบมาจากเหล็กฉะนั้นฯ
    มีแต่จิต รูปไม่มี แสดงไม่ได้ ต้องอาศัยกันเป็นไปจึงแสดงได้ฯ
    พระอรหันต์ทั้งหลาย จิตไม่มี มีแต่สติ เพราะจิตสังขารมันเป็นตัวสังขาร สังขารไม่มีในจิตของพระอรหันต์
    เอกมูลา เหตุผลมาจากความที่เป็นหนึ่งของจิต เป็นเหตุเป็นปัจจัย (เหตุ ปัจจโย ) ประกอบกัน จึงตั้งเป็นบทบาทคาถาฯ
    มีนัยหลายนัย ถึงแปดหมื่นสี่พันประการฯ
    มนุษย์วยเวียนเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด ติดของเก่ากามาวจรสวรรค์ ๑ สัตว์เดรัจฉาน ๑ มนุษย์ ๑ ท่านพวกนี้ติดของเก่า พระไตรปิฏก มีกิน ๑ มีนอน ๑ สืบพันธ์ ๑ แม้ปู่ย่าตายายของเราล้วนแต่ติดของเก่า พระพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกก็ดี พระอรหันต์ก็ดี เมื่อท่านยังไม่ตรัสรู้ก็ติดของเก่า เพลิดเพลินของเก่าในรูป เสียง กลิ่น รสของเก่าทั้งนี้ไม่มีฝั่งไม่มีแดน ไม้มีต้น ไม่มีสาย ย่อมปรากฏอยู่เช่นนั้น ตื่นนเต้นกับของเก่า ติดรสชาติของเก่า ใช้มรรค ๘ ให้ถอนของเก่า ให้อิทธิบาท ๔ ตีลิ่มสะเทือนใหญ่ปัง ๆ ลิ่มเก่าถอนคืออวิชชา ลิ่มใหม่คือวิชชาเข้าแทนดังนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นท่านพูด ใช้ตบะความเพียรอย่างยิ่ง ที่จะถอนได้ต้องสร้างพระบารมีนมนาน จึงจะถอนได้ เพราะของเก่ามันบัดกรีกันได้เนื้อเชื้อสายของกิเลสมาพอแล้ว ย่อมเป็นอัศจรรย์ของโลกนนั้นทีเดียว
    แก้บ้านั้น ให้ทวนกระแสเข้าจิตเดิม แก้ได้ เสือมาเฝ้าเราที่เป็นพระโยคาวจรเจ้าเป็นเทพโดยมาก ถ้าเป็นเสือ มันเอาไปกินแล้ว
    ธรรมแสดงอยู่เรื่อย ๆ เว้นแต่นอนหลับโดยมิได้กำหนดจะไม้รู้ไม่เห็นขณะนั้น
    ส่งจิตออกนอกกาย ทำให้เผลอสติฯ
    มัคโคหนทางดำเนินมีที่สุด ส่วนหนทางเดินเท้าไม่มีที่สิ้นสุดฯ
    น้ำใจของสัตว์ยุ่งด้วยธาตุ ระคนอยู่ด้วยธาตุ ธาตุไม่มีที่สิ้นสุด แม้จิตก็ไม่มีสิ้นสุดฯ
    จิตรับธุระหมดทุกอย่าง จิตเป็นแดนเกิด รู้เท่าอาการของจิตได้แล้ว รู้ปกติของธาตุฯ
    เอโก มคฺโค หนทางอันเอก วิสุทธิยา เป็นหนทางอันบริสุทธิ์มีทางเดียวเท่านี้ มโน ปุพฺพํ จิตเป็นบุพภาคที่จะได้เป็นใหญ่ จิตถึงก่อนสำเร็จด้วยจิตฯ ( มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนมยา)
    จิตเป็นเครื่องบังคับกายกับวาจาให้พูดและให้ทำงานฯ
    จิตที่ไม่ติดพัวพันในอารมณ์ทั้งปวง เรียกว่า บริสุทธิ์
    มีแป้น ( ไม่กระดาน ) แล้วก็มีบ้าน มีบ้านแล้วก็มีแป้น พูดอย่างนี้จึงแจ่มแจ้งดี
    พระองค์แสดงอนุปุพพิกถาไปโดยลำดับ ยกทานขึ้นก่อนดุจบันไดขึ้นต้น แม้ฉันใด โลกุตระ โลกีย์ก็ดี ก็ต้องเจริญต้นขึ้นไปก่อน ไม่เจริญขึ้นต้นไปก่อนเป็นผิด จะกระโดดขึ้นสูงทีเดียวไม่ได้ตายกัน
    ธรรมเป็นของธรรมดาตั้งอยู่อย่างนั้น คือตั้งอยู่ด้วยความแก่ ความเจ็บ ความตาย จึงได้ชื่อว่าธรรมเป็นของจริง ไม่มีอาการไป ไม่มีอาการมา ไม่มีขึ้น ไม่มีลง เป็นสภาพที่ตั้งไว้ดุจกล่าวไว้ ข้างต้นฯ
    ไม่อ้างสวรรค์ นิพพาน ไม่อ้างทุคติ อ้างความเป็นไปทางปัจจุบันอย่างเดียว เพราะชั่วดีก็ปัจจุบันที่ยังเป็นชาติมนุษย์
    เอาธรรมชิ้นเดียวนี้เอง คือกายนี้เองไปเจ็บ กายชิ้นเดียวนี้เองไปแก่ กายชิ้นเดียวนี้เองไปตาย เมื่อตายแล้วก็ไปเกิดอีก ล้วนแต่ตื่นเต้นอยู่ด้วยธาตุอันนี้เอง หาที่จะจบไม่ได้และสิ้นสุดมิได้ฯ
    เรื่องของโลกธาตุนั้น กระทบกระเทือนกันหมด กำหนดรู้ เฉพาะจิต ก็รู้สิ้นทางอื่นหมด
    พระธรรมแสดงทั้งกลางวันและกลางคืน อกาลิโก กำหนดกาลเวลามิได้ แสดงทั้งภายนอกและภายใน
    ให้กำหนดจิตให้กล้าแข็ง เรียนมรรคให้แข็งแรง จึงจะเห็นทางสิ้นทุกข์ไปได้
    ให้ปล่อยจิต อย่ากดจิต เหตุผลเคลื่อนคลื่นอยู่ใน ให้พิจารณาความรักความชัง พิจารณานิสัยของตน จิตดื้อ บริษัทมากพึ่งนิสัยเดิมมิได้ ตะครุบจิตจึงมีกำลัง
    คนในโลก หลงของเก่า คือหลวงธาตุนั้นเองแหละ ชังแล้วมารัก รักแล้วมาชัง หาที่สิ้นสุดมิได้ พระองค์ไม่หลง
    ธาตุมนุษย์เป็นธาตุตายตัว ไม่เป็นอื่นเหมือนนาค เทวดาทั้งหลายที่เปลี่ยนเป็นอื่นได้ มนุษย์มีนิสัยภาวนาให้สำเร็จง่ายกว่าภพอื่น อคฺคํ ฐานํ มนุสฺเสสุ มคคํ สตตวิสุทธิยา มนุษย์มีปัญญาเฉียบแหลมคมคอยประดิษฐ์ กุศล อกุศล สำเร็จอกุศล…มหาอเวจีเป็นที่สุด ด้วยกุศลมีพระนิพพานให้สำเร็จได้ ภพอื่นไม่เลิศเหมือนมนุษย์ เพราะมีธาตุที่บกพร่องไม่เฉียบขาดเหมือนชาติมนุษย์ ไม่มีปัญญากว้างขวางพิสดารเหมือนมนุษย์ มนุษย์ธาตุพอหยุดทุกอย่าง สวรรค์ไม่พออบายภูมิธาตุไม่พอ มนุษย์มีทุกข์ สมุทัย…ฝ่ายชั่ว ฝ่ายดี…กุศลมรรคแปด นิโรธ รวมเป็น ๔ อย่าง มนุษย์จึงทำอะไรสำเร็จ ดังนี้ ไม่อาภัพเหมือนภพอื่น
    สติปัฏฐานเป็นความรู้อนันตนัย หาประมาณมิได้ ไม่เหมือนความรู้ชนิดอื่น สนทิฏฐิโก เห็นด้วยเฉพาะนักปฏิบัติ ปจจตตํ รู้เฉพาะในดวงจิต รู้ธรรมลึกลับสุขุมคัมภีรภาพ




    ขอขอบคุณ
    http://www.luangpumun.org/luy2.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2008
  17. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +4,292
    [​IMG]

    คติธรรมคำสอน
    ของ
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

    เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ
    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้

    อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิ้น
    หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    1. จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง
    2. จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์
    3. พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน

    ดังนั้นเมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเราเพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง

    ทางแห่งความหลุดพ้น
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่าชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า ดังนั้นจึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏท่านเปรียบเทียบว่า มนุษย์อาบน้ำ ชำระกายวันละสองครั้งเพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที ด้วยเหตุนี้ ทำให้จิตใจของมนุษย์ ยุคปัจจุบันเศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

    แต่งใจ
    ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระทุกวันทั้งเช้าและเย็นจะขาดเสียไม่ได้ทั้งที่หมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้ ...ใจของเราล่ะ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกายเป็นผู้สั่งบัญชางาน ให้กายแท้ๆ มีใครเอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ทำความสะอาดหรือ

    กรรมลิขิต
    เราทั้งหลายเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติแล้ว ล้วนแต่มีกรรมผูกพันกันมาทั้งสิ้น ผูกพันในความเป็นมิตรบ้างเป็นศัตรูบ้าง แต่ละชีวิตก็ย่อมที่จะเดินไปตามกรรมวิบากของตนที่ได้กระทำไว้ ทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นเครื่องลิขิต

    อดีตกรรม ถ้ากรรมดี เสวยอยู่
    ปัจจุบันกรรม สร้างกรรมชั่ว ย่อมลบล้าง
    อดีตกรรม กรรมแห่งอกุศล วิบากตน
    ปัจจุบัน สร้างกรรมดี ย่อมผดุง
    เรื่องกฎแห่งกรรม ถ้าเป็นชาวพุทธแล้ว เขาถือว่าเป็นกฎแห่งปัจจังตัง ผู้ที่ต้องการรู้ ต้องทำเอง รู้เอง ถึงเอง แล้วจึงจะเข้าใจ

    นักบุญ
    การทำบุญก็ดี การทำสิ่งใดก็ดี ถ้าเป็นการทำตนให้ละทิฏฐิมานะทำเพื่อให้จิตเบิกบาน ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ มนุษย์ทุกวันนี้ทำแบบมีกิเลส ดังนั้น บางคนนึกว่าเขาสร้างโบสถ์เป็นหลังๆ แล้วเขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า เขาตายไปอาจจะต้องตกนรก เพราะอะไรเล่า เพราะถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ เป็นการทำเพื่อเอาบุญบังหน้าในการเสวยความสุขส่วนตัวก็มี บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อใจเสือ คือข้างหน้าเป็นนักบุญ ข้างหลังเป็นนักปล้น


    ละความตระหนี่มีสุข
    ดังนั้นบุญที่เขาทำนี้ถือว่า ไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม บุญนั้นจึงมีกระแสคลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทำเอาไว้หากมีใครเข้าใจคำว่า บุญ นี้ดีแล้ว การทำบุญนี้จุดแรกในการทำก็เพื่อไม่ให้เรานี้เป็นคนตระหนี่ รู้จักเสียสละเพื่อความสุขของผู้อื่น ธรรมดาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะทุกข์ด้วย เมื่อมีความสุขก็ควรสุขด้วยกัน

    อย่าเอาเปรียบเทวดา
    ในการทำบุญ สิ่งที่จะได้ก็คือ ระหว่างเราผู้เป็นมนุษย์เรารู้ว่าสิ่งที่เราทำนี้จะเป็นมงคล ทำให้จิตใจเบิกบานดีนี่คือการเสวยผลแห่งบุญในปัจจุบัน ทีนี้การทำบุญเพื่อจะเอาผลตอบแทนนั้น มนุษย์นี้ออกจะเอาเปรียบเทวดา ทำบุญครั้งใด ก็ปรารถนาเอาวิมานหนึ่งหลังสองหลัง การทำบุญแบบนี้เรียกว่า ทำเพราะหวังผลตอบแทนด้วยความโลภ บุญนั้นก็ย่อมจะไม่มีผล ท่านอย่าลืมว่า ในโลกวิญญาณเขามีกระแสทิพย์รับทราบในการทำของมนุษย์แต่ละคนเขามีห้องเก็บบุญและบาปแห่งหนึ่งอันเป็นที่เก็บบุญและบาปของใครต่อใครและของเรื่องราวนั้นๆ กรรมของใครก็จะติดตามความเคลื่อนไหวของตนๆนั้น ไปตลอดระหว่างที่เขายังไม่สิ้นอายุขัย

    บุญบริสุทธิ์
    การที่สอนให้ทำบุญโดยไม่ปรารถนานั้นก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิ์เป็นขั้นที่นึ่ง จะได้ตามให้ผลทันในปัจจุบันชาติ แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบันชาติ ก็ติดตามไปให้เสวยผลในปรภพ คือ เมื่อสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์ไปแล้ว ฉะนั้น เขาจึงสอนไม่ให้ทำบุญเอาหน้า ทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน สิ่งดีที่ท่านทำไปย่อมได้รับสนองดีแน่นอน

    สั่งสมบารมี
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับนักปฏิบัติธรรมแล้ว การทำบุญทำทานย่อมเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติจิตให้บรรลุธรรมได้เร็วขึ้นเป็นบารมีอย่างหนึ่ง ในบารมีสิบทัศที่ต้องสั่งสม เพื่อให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน

    เมตตาบารมี
    การทำบุญให้ทานเพียงแต่เรียกว่า ทานบารมี หากบำเพ็ญสมาธิจิตจนได้ญาณบารมี และโดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกอย่างนั้น ถ้าท่านให้โดยไม่มีเจตนาแห่งการให้ ให้สักแต่ว่าให้เขาท่านก็ย่อมได้กุศลเรียกว่าไม่มากและทัศนคติของอาตมาว่าการบำเพ็ญเมตตาบารมีในภาวนาบารมีนั้นได้กุศลกรรมกว่าการให้ทาน

    แผ่เมตตาจิต
    ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม หรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า

    อานิสงส์การแผ่เมตตา
    ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไปเมื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขาๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุกๆวัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆดวง ดวงวิญญาณทุกๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง 4 นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป ฉะนั้น ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จิตแน่วแน่แล้ว โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้

    ประโยชน์จากการฝึกจิต
    ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนมีสมาธิแน่วแน่ เมื่อจิตนิ่งก็รู้ตน เริ่มพิจารณาตน รู้ตนเองได้ ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญานี้เรียกว่า ปัญญาภายในจากจิตวิญญาณ ซึ่งเราจะใช้ปัญญานี้ได้แน่นอน เมื่อเกิดมีปัญหาขึ้นในชีวิตตลอดระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า นี่คือประโยชน์ของการฝึกจิตแล้ว คุณของสมาธิยังเป็นพลังป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย เจ็บป่วยได้ กล่าวคือ การบำเพ็ญจิต จนจิตสงบนิ่งแล้ว ระบบต่างๆทางประสาทจะได้รับการพักผ่อน เป็นการปรับธาตุในกายให้เกิดพลังจิตเข้มแข็ง กายเนื้อก็จะแข็งแรงกระชุ่มกระชวยด้วย โลหิตในร่างกายจะหมุนเวียนสะดวกขึ้น ความตึงเครียดตามร่างกายและประสาทต่างๆ จะผ่อนคลายเป็นปกติ โรคต่างๆจะลดน้อยลงโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หายป่วยได้ด้วยการฝึกจิตและเดินจงกรม

    คัดลอกจากหนังสือ เรียน ธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โตพรหมรังสี


     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    มีพ่อแม่ครูอาจารย์ผู้เฒ่า ผุ้ซึ่งได้ชื่อว่าบรรลุอรหัตผลแล้ว มาแนะนำให้อ่านกัน ชีวิตท่านใจเด็ดมาก ตัดขาดจากทางโลกโดยแยกทางกับภรรยา และบริจาคทรัพย์ของตนเองเป็นทาน ได้บรรลุอรหัตผลในพรรษาที่ 5 ปฏิปาทาของท่านคือ “ทำอย่างไรหนอชีวิตของเรานี้จะได้พบกับความสุขที่แท้จริง” พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านนี้คือ "หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ" นั่นเอง




    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>อวาทหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ </CENTER><CENTER>

    “คนเราเกิดมาทุกรูปทุกนาม รูปสังขารเป็นของไม่เที่ยง
    เกิดขึ้นแล้วล้วนตกอยู่ในกองทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น
    ไม่ว่าพระราชามหากษัตริย์ พระยานาหมื่น คนมั่งมี เศรษฐี และยาจก
    ล้วนตกอยู่ในกองทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น
    มีทางพอจะหลุดพ้นได้ คือ ทำความเพียรเจริญภาวนา
    อย่าสิมัวเมาในรูปสังขารของตน มัจจุราชมันบ่ไว้หน้าผู้ใด
    ก่อนจะดับไป ควรจะสร้างความดีเอาไว้”


    เนื้อเรื่องเต็มๆ บางส่วนของท่าน ดูได้ที่


    </CENTER></CENTER></CENTER></CENTER>
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103

    วันนี้ได้โทร.ติดต่อกับ จนท.ของ รพ.จุฬาฯ เรียบร้อยแล้ว ได้รายละเอียดพอสรุปประเด็นได้ดังนี้

    1. ตึกวชิรญาณ ซึ่งเป็นตึกสงฆ์หรือหอสงฆ์ของ รพ.จุฬาฯ ปัจจุบันเป็นทึกที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราชด้วย (เดิมท่านรักษาตัวที่ ตึกสามัคคีพยาบาล) จึงมีที่พักหรือจำนวนเตียงสำหรับสงฆ์อาพาธไม่มากโดยในขณะนี้มีเพียง 19 รูปเท่านั้น

    2. กรณีการจัดกิจกรรมอย่างที่ รพ.สงฆ์คงทำไม่ได้ เพราะทุกเช้า ทาง รพ.จะมีภัตตาหารถวายพระอยู่แล้ว ยกเว้นน้ำผลไม้ หรือนมกล่องแบบนมถั่วเหลืองที่ทาง รพ.อนุญาตให้ไปถวายได้ และมีพื้นที่ว่างพอที่จะให้นั่งรอเป็นกลุ่มได้ไมเกิน 20 ที่เท่านั้น

    3.หอสงฆ์เปิดรับบริจาคได้ทุกวัน 9.00-15.30 น.

    4. ขั้นตอนการบริจาคเหมือนกับ รพ.สงฆ์ทุกประการคือไปบริจาคที่ด้านล่างของหอสงฆ์และจะมีใบเสร็จค่าบริจาคให้ครับ


    ทั้งนี้ ก็คงต้องไปประชุมกันในกลุ่มกรรมการอีกรอบนึงครับ ว่าจะบริจาคเพิ่มได้จากเดิมอีกหรือไม่ เพราะหากตึงมือไป จะทำให้การบริหารเงินทุนทำด้วยความลำบากในการหาเงินบริจาคครับ

    พันวฤทธิ์
    19/9/51
     
  20. BD

    BD เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +419
    ธนาคารได้รับรายการโอนเงินเรียบร้อยแล้ว
    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 100%; mso-cellspacing: 0in; mso-padding-alt: 1.5pt 1.5pt 1.5pt 1.5pt" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 221.3pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=295 colSpan=2>บัญชีผู้รับเงิน<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 100.5pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=134> <o:p></o:p>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 1"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 7.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 7.5pt; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 221.3pt; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=295 colSpan=2>เลขที่บัญชี - ชื่อเรียกบัญชี<o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 100.5pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=134>3481232459 - pratom foundation<o:p></o:p>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 2"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 7.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 7.5pt; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 221.3pt; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=295 colSpan=2>ชื่อบัญชี<o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 100.5pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=134>PRATOM F.<o:p></o:p>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 3"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 7.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 7.5pt; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 221.3pt; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=295 colSpan=2>ธนาคารผู้รับโอน<o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 100.5pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=134>ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)<o:p></o:p>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 4"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 221.3pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=295 colSpan=2>วิธีการโอนเงิน<o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 100.5pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=134> <o:p></o:p>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 5"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 7.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 7.5pt; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 221.3pt; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=295 colSpan=2>วิธีการโอนเงิน<o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 100.5pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=134>โอนแบบทันที<o:p></o:p>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 6; mso-row-margin-right: 97.3pt"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 115pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=153>จำนวนเงิน<o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 222.7pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=297 colSpan=3> <o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 0in; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 0in; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #d4d0c8; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-cell-special: placeholder" width=130>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 7"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 115pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=153>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 7.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 7.5pt; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 222.7pt; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=297 colSpan=3>จำนวนเงินที่ต้องการโอน<o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 97.3pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=130>500.00 บาท<o:p></o:p>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 8"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 115pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=153> <o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 7.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 7.5pt; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 222.7pt; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=297 colSpan=3>ค่าธรรมเนียม<o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 97.3pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=130>25.00 บาท <o:p></o:p>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 9"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 115pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=153> <o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 7.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 7.5pt; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 222.7pt; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=297 colSpan=3>คำอธิบาย<o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 97.3pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=130><o:p> </o:p>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 10"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 115pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=153> <o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 7.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 7.5pt; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 222.7pt; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=297 colSpan=3>วันที่ทำรายการ<o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 97.3pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=130>18/09/2551<o:p></o:p>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 11; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 115pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=153> <o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 7.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 7.5pt; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 222.7pt; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=297 colSpan=3>วันที่หักเงินจากบัญชี<o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 1.5pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 1.5pt; PADDING-BOTTOM: 1.5pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 97.3pt; PADDING-TOP: 1.5pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=130>18/09/2551<o:p></o:p>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...