กรรมฐานแบบใดที่เหมาะกับท่าน ???

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย chingchamp, 6 ตุลาคม 2008.

  1. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    [​IMG]
    กรรมฐาน หรือ การภาวนาสมาธิ วิธีใดบ้างครับ ? จึงจะเหมาะสมกับคนที่มี " จริต " ต่างกันดังกล่าว เพื่อทำให้จิตตั้งมั่นง่าย (เป็นสมาธิ) คู่ควรไปใช้งานทางปัญญาได้โดยเร็ว


    (1) คนบางคนชอบรวย อยากรวยเงินทอง
    อยากรวยกล้วยไม้ อยากรวยเครื่องประดับ
    อยากรวยบริวาร อยากรวยเครื่องแต่งกาย
    อยากรวย ฯลฯ
    เขาเป็นคนที่..... " หนักไปทางโลภะจริต "


    (2) คนบางคนขี้โมโห ขุ่นเคืองขัดใจง่าย เมื่อไม่ได้ดั่งใจ
    เขา... " หนักไปทางโทสะจริต "

    (3) คนบางคนเชื่อง่าย งมงาย ตื่นข่าว ได้ยินแล้วก็เชื่อทันที
    เขา... " หนักไปทางโมหะจริต "



    จริต 6 ได้แก่

    1. ราคจริต หมายถึง ผู้ที่มีความประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาน กรรมฐานสำหรับแก้ คือ อสุภกรรมฐาน และกายคติ (การพิจารณากาย)

    2. โทสจริต หมายถึง ผู้มีความประพฤติหนักไปทางใจร้อน ขี้โมโห ขี้หงุดหงิด กรรมฐานสำหรับแก้ คือ พรหมวิหาร และกสิณ

    3. โมหจริต หมายถึง ผู้มีความประพฤติหนักไปทางเขลา งมงาย กรรมฐานที่จะช่วยคือ การเจริญอานาปาณสติ การสนทนาธรรมกับผู้รู้

    4. สัทธาจริต หมายถึง ผู้มีความประพฤติหนักไปทางน้อมใจเลื่อมใสสิ่งต่างๆ ได้ง่าย มีจิตซาบซึ้งง่าย กรรมฐานที่จะช่วยคือการพิจารณาอนุสติ

    5.พุทธจริต หรือญาณจริต หมายถึง ผู้มีความประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา กรรมฐานที่เหมาะสมคือ มรณานุสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา

    6. วิตกจริต หมายถึง ผู้มีความประพฤติหนักไปทางความคิดฟุ้งซ่าน กรรมฐานที่เหมาะสมคือ การเจริญอานาปานสติ การเพ่งกสิณ


    ****************

    สำหรับกรรมฐานที่กล่าวเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น
    เพราะกรรมฐาน หรือเครื่องมือในการฝึกจิตมีถึง 40 ชนิดเจ้าค่ะ

    *****************************

    กระทู้นี้ อุปมาเหมือน ถาดใบใหญ่ใส่ผลไม้
    ที่เชิญให้นำผลไม้หลากหลายชนิดมาใส่ไว้
    ผลไม้ดังกล่าวเปรียบเป็น "จริต"

    ให้ผู้สนใจได้ตรวจตนว่ามีจริตเช่นใด
    เพื่อไปเลือกกรรมฐานบำเพ็ญสมาธิให้ตรงกับจริตตน


    จริต คือ ความประพฤติ พื้นนิสัย พื้นเพแห่งจิต ของคนที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง

    จริต 14 ได้แก่ ราคจริต โทสจริต โมหจริต สัทธาจริต พุทธิจริต

    วิตกจริต ราคโทสจริต ราคโมหจริต โทสโมหจริต ราคโทสโมหจริต

    สัทธาพุทธิจริต สัทธาวิตกจริต พุทธิวิตกจริต สัทธาพุทธิวิตกจริต


    ผู้มีราคะเป็นเจ้าเรือน เรียกว่า ราคจริต จริตอื่นก็แยกไปทำนองเดียวกัน


    --------------------

    จริต 14 ย่อลงเป็น 7 ได้แก่

    ราคจริต+สัทธาจริต , โทสจริต+พุทธิจริต ,
    โมหจริต+วิตกจริต , ราคโทสจริต+สัทธาพุทธิจริต , ราคโมหจริต+สัทธาวิตกจริต , โทสโมหจริต+พุทธิวิตกจริต และ ราคโทสโมหจริต+สัทธาพุทธิวิตกจริต

    --------------------

    ราคะ กับ ศรัทธา คล้ายคลึงกันคือ ความยึดมั่น ใฝ่หาความดี ไม่ผลักไส
    ราคะ ประสงค์สิ่งสนองตัณหา ส่วน ศรัทธา แสวงหาสิ่งดีทางศีลธรรม
    ราคะ ไม่สละสิ่งเลว ส่วน ศรัทธา ไม่สละสิ่งดี

    โทสะ กับ พุทธิ คล้ายกันคือ ไม่ยึดมั่น ใฝ่หาความผิดพลาด ผลักไส
    โทสะ ไม่ยึดติดสิ่งดี ส่วน พุทธิ คอยหาดทษของความประพฤติผิด
    โทสะ ผลักไสผู้อื่น ส่วน พุทธิ ผลักไสความยอมตาม

    โมหะ กับ วิตก คล้ายกันคือ ไม่มั่นคง เคลื่อนไหว
    โมหะ ไม่สงบเพราะถูกรบกวน ส่วน วิตก ไม่สงบเพราะคิดฟุ้งซ่านไปหลายทาง
    โมหะ เคลื่อนไหวไม่ร้ทางไป ส่วน วิตก เคลื่อนไหวเพราะไม่เอาจริงจัง

    จริตอื่น ๆ ก็เทียบเคียงทำนองเดียวกันนี้ จึงย่อลงเหลือ 7 บุคคล

    --------------------

    การฝึก............


    ราคจริต ฝึกได้เร็ว เพราะแนะนำง่าย มีศรัทธามาก ไม่ค่อยมี โมหะ วิตก

    โทสจริต ฝึกได้เร็ว เพราะแนะนำง่าย มีปัญญามาก ไม่ค่อยมี โมหะ วิตก

    โมหจริต ฝึกได้ช้า เพราะแนะนำยาก เนื่องจากมี โมหะ วิตก ไม่ค่อยมีศรัทธา ปัญญา


    ราคโทสจริต ฝีกได้เร็ว เพราะแนะนำง่าย มีศรัทธา ปัญญากล้า ไม่ค่อยมีโมหะ วิตก


    ราคโมหจริต ฝึกได้ช้า เพราะแนะนำยาก ไม่มี ศรัทธา และมีโมหะ วิตก มาก

    โทสโมหจิต ฝึกได้ช้า เพราะแนะนำยาก ไม่มี ปัญญา และมี โมหะ วิตก มาก

    ราคโทสโมหจริต หรือ สัทธาพุทธิวิตกจริต ฝึกได้ช้าเพราะแนะนำยาก ไม่มีปัญญา และมี โมหะ วิตก มาก

    --------------------

    จริต 7 ย่อลงเป็น 3........ตามอกุศลมูล
    คือ ราคจริต โทสจริต โมหจริต


    --------------------


    สาเหตุของจริต มาจาก กรรมที่ทำในอดีต ธาตุทั้งหลาย และโทษ


    -- ผู้สะสมกุศลกรรมไว้ในอดีตชาติ โดยอุบายวิธีที่น่ารักน่าชอบใจ กับ
    -- ผู้จุติจากวิมาน มาปฏิสนธิในโลก ...เป็นราคจริต

    -- ผู้ในอดีตชาติ สั่งสมกรรมอันก่อเวร คือ การฆ่า ทรมาน จับกุมคุมขัง กับ
    -- ผู้จุติจากนรก หรือ กำเหนิดงู มาปฏิสนโนโลก ...เป็นโทสจริต

    -- ผู้ในอดีตชาต ดื่มน้ำเมามาก และเว้นจากการศึกษาสนทนาธรรม กับ
    -- ผู้จุติจากกำเหนิดดิรัจฉาน มาปฏิสนธิในโลก ...เป็นโมหจริต


    ดังนั้น : กรรมที่ทำในอดีต จึงเป็นสาเหตุของจริต.......



    -----------------------------------

    ธาตุ :


    - ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เสมอกัน ...เป็นราคจริต
    - ธาตุลม ธาตุไฟ สูง ...เป็นโทสจริต
    - ธาตุดิน ธาตุน้ำ เพิ่มสูง ...เป็นโมหจริต


    -----------------------------------

    โทษในร่างกาย


    ---ผู้มีเสมหะมากกว่าปกติ ...เป็นราคจริต
    ---ผู้มีน้ำดีมากกว่าปกติ ...เป็นโทสริต
    ---ผู้มีลมมากกว่าปกติ ...เป็นโมหจริต


    --------------------



    ท่านพระอาจารย์ ได้แนะนำหลัก การเลือกกัมมัฏฐาน ไว้ดังนี้....

    1. บุคคล ราคจริต ควรปฏิบัติ อสุภสัญญา 10 , กายคตาสติ
    .....เพราะทำให้เอาชนะราคะได้

    ............บุคคล ราคจริต ไม่ควรปฏิบัติ อัปปมัญญา 4
    .....เพราะนิมิตของอัปปมัญญา เป็นสิ่งที่งดงาม

    2. บุคคล โทสจริต ควรปฏิบัติ อัปปมัญญา 4
    ....เพราะทำให้เอาชนะโทสะได้ หรือควรปฏิบัติ วัณณกสิณ
    ....เพราะจิตเธอน้อมไปในกัมมัฎฐานนั้น

    ............บุคคล โทสจริต ไม่ควรปฏิบัติ อสุภสัญญา 10
    ....เพราะจะทำให้ ปฏิฆสัญญา เกิดขึ้น

    3. บุคคล โมหจริต ( ที่ยังไม่ได้สั่งสมอบรมปัญญาด้วยการศึกษา )
    ....ไม่ควรปฏิบัติกัมมัฏฐานใด เพราะเธอไม่รอบรู้ ความเพียรย่อมไร้ผล

    ............บุคคล โมหจริต ควรสืบสวน ค้นคว้าเกี่ยวกับธรรม ฟังธรรมเทศนา
    ....ตามกาล ด้วยความเคารพ ยกย่องธรรม อยู่ใกล้อาจารย์ สั่งสมปัญญา
    ....แล้วปฏิบัติกัมมัฏฐานสักอย่างหนึ่ง ที่เธอชอบใจ
    ....อนึ่ง มรณสติ และ จตุววัฏฐาน เหมาะแก่เธอเป็นพิเศษ

    4. บุคคลสัทธาจริต ควรปฏิบัติ อนุสสติ 6 เริ่มด้วยพุทธานุสสติ
    .....เพราะทำให้ศรัทธาของเธอมั่นคง

    5. บุคคลพุทธิจริต ควรปฏิบัติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา
    .....มรณสติ และอุปสมานุสสติ ....เพราะเธอเป็นคนละเอียดล้ำลึก
    .....อนึ่ง ..บุคคลพุทธิจริต ไม่ถูกห้ามปฏิบัติ กัมมัฏฐาน ใด ๆ เลย

    6. บุคคลวิตกจริต ควรปฏิบัติ อานาปานสติ

    .....เพราะกำจัดความฟุ้งซ่านได้

    *** เมื่ออาจารย์ที่เธออาศัยอยู่ด้วย สังเกตจริยาหรือจริต ของเธอแล้ว
    จึงได้กำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน ที่เหมาะสมสำหรับใช้อบรม...

    *** พอจะได้เป็นองค์ความรู้บ้างนะครับ ถ้ายังไม่เข้าไปที่อาจารย์ใด
    ก็ให้ตัวเองเป็นอาจารย์ ทบทวนสังเกตตัวเองว่า มีจริตหนักไปทางใด

    ดังบาลี : อัตตาหิ อัตตโน นาโถ " ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน "

    ถือซะว่า บอกกล่าวเล่าสู่กันฟังครับ...

    เจริญในพระธรรม



    ถาม : จะดูบุคคล มีจริตเช่นใด ดูจากอันใดครับ ?


    * ทราบได้จาก ลักษณะจริยา 7 คือ การมองดูรูป กิเลส ลักษณะการเดิน
    ลักษณะการนุ่งห่ม ลักษณะการบริโภค การงาน และ การนอนหลับ

    อธิบาย การมองดูรูป...


    -- มองดูรูป เสมือนไม่เคยเห็นมาก่อน มองไม่เห็นข้อเสียของรูป ไม่พิจารณารูป
    ไม่พิจารณาคุณความดีแม้เพียงเล็กน้อยของรูป ไม่เป็นอิสระจากความต้องการใน
    รูปารมณ์ หลังพิจารณาแล้วก็ยังไม่เป็นตัวของตัวเอง ....นี้คือบุคคล ราคจริต

    -- มองดูรูปไม่นาน ราวกับว่าเหนื่อยหน่าย เมื่อหงุดหงิด จะก่อทะเลาะวิวาทกับ
    ผู้อื่นบ่อย ๆ แม้สิ่งใดดี เขาก็ไม่ชอบใจ ปัดทิ้งหมด วิถีชีวิตเขาถูกกำหนดโดย
    โทษ ท่าทีเขาต่ออารมณ์ทางทวารอื่น ก็ทำนองนี้ ....นี้คือบุคคล โทสจริต

    -- มองดูรูป ในเรื่องคุณและโทษของสิ่งใดก็ตาม เขาจะเชื่อคนอื่น ใครว่าอะไร
    มีค่าหรือน่าชม เขาก็ว่าตามเพราะเขาไม่รู้อะไร ท่าทีเขาต่ออารมณ์ทางทวารอื่น
    ก็ทำนองนี้ ....นี้คือบุคคล โมหจริต

    อธิบาย กิเลส.........


    -- ริษยา มานะ มายา สาไถย มักมาก ....นี้คือ ราคจริต

    -- โกรธ พยาบาท มักขะ ตระหนี่ อุปนาหะ ....นี้คือ โทสจริต

    -- ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา โมหะ ....นี้คือ โมหจริต

    อธิบาย จากการเดิน..........


    -- ยกเท้าเดินเร็ว ก้าวสม่ำเสมอ สาวเท้าสม่ำเสมอ วางลงไม่เต็มพื้นเท้า
    ยกเท้าก้าวเดินสง่างาม ....นี้คือบุคคล ราคจริต

    -- กระตุกเท้ายกขึ้น เหยียบลงผลุนผลัน เท้าเขาเฉียดกัน วางเท้าคล้าย
    จะขุดดิน ....นี้คือบุคคล โทสจริต

    -- ยกเท้าปัดไปปัดมา เหยียบลงก็ปัดไปปัดมา ..นี้คือบุคคล โมหจริต

    อธิบาย การนุ่งห่ม..........


    -- ไม่ครองจีวรเก่าหรือขาด ครองช้า ไม่ห้อยรุ่มร่าง เป็นปริมณฑล (ราคจริต)

    -- ครองจีวรรวดเร็ว สูงเกินควร ไม่เป็นปริมณฑล (โทสจริต)

    -- ครองจีวรช้า ไม่เป็นปริมณฑล ไม่น่าดูหลายประการ (โมหจริต)

    อธิบาย การบริโภค.........


    -- พอใจอาหารรสกลมกล่อม ประณีต หวาน ต้องการอาหารพอควร
    ตะล่อมเรียบร้อยพอเหมาะคำ บริโภคด้วยความพอใจ แม้ไม่อร่อยนัก
    (ราคจริต)

    -- พอใจอาหารรสเปรี้ยว ไม่ตะล่อมเป็นคำให้เรียบร้อย บริโภคคำโต
    ถ้าอาหารไม่สู้อร่อย เธอไม่พอใจ
    (โทสจริต)

    -- พอใจอาหารไม่แน่นอน ไม่จัดเป็นคำ บริโภคคำเล็ก ปากเธอมีอาหารเปรอะเปื้อน เข้าปากบ้าง ตกลงในภาชนะบ้าง บริโภคไม่สำรวม
    (โมหจริต)

    อธิบาย การงาน........


    -- จับไม้กวาดพอดี กวาดไม่รีบ ไม่กระจาย เรียบร้อย (ราคจริต)

    -- คว้าไม้กวาดรีบ กวาดเร็ว กระจายทั่ว เรียบร้อย (โทสจริต)

    -- จับไม้กวาดเชื่องช้า กวาดไม่เรียบร้อย ไม่สม่ำเสมอ (โมหจริต)

    อธิบาย การนอน.......


    -- เตรียมที่นอนไม่รีบ ทำเรียบร้อย ค่อย ๆ เอนกาย งอแขนขา
    ถูกปลุกกลางคืน จะลุกขึ้นทันทีทันใด และตอบแบบไม่เต็มใจ (ราคจริต)

    -- รีบนอน ณ ที่เธอได้พบ หน้านิ่วคิ้วขมวดเวลาหลับ ถูกปลุก ฯ จะลุก
    ขึ้นทันที และตอบแบบไม่พอใจ (โทสจริต)

    -- ไม่เตรียมที่นอนให้เรียบร้อย เวลาหลับ แขนขาอ้าถ่างออก ถูกปลุก ฯ
    เธอบ่นพึมพำและนานจึงค่อยตอบ


    ** เมื่อพระอาจารย์ สังเกตเห็นจริตมาหลายเดือนแล้ว **
    ก็จะกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ที่เหมาะเพื่อใช้อบรมจิตของเธอผู้นั้น




    ที่มา
    http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=605
     
  2. punyawat

    punyawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    604
    ค่าพลัง:
    +183
    อนุโมทนาครับ

    สาธุ อนุโมทนามิ
    __________
    "กรรมเก่าไม่มีใครลบล้างได้ กรรมปัจจุบันจะช่วยเจ้าเอง"

    ----------------หลวงปู่โต พรหมรังสี-----------------
     
  3. supatach

    supatach เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,638
    ค่าพลัง:
    +6,666
  4. มรณาติ

    มรณาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +190
    สาธุค่ะ _/|\_
    ที่เป็นหนักเลยคือ โทสะ ตามมาด้วยราคะ และศรัทธาค่ะ
    จะได้ปฏิบัติเรียงตามลำดับเลย ขอบคุณนะคะ
     
  5. a_sitt

    a_sitt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +189
    อนุโมทนา สาธุด้วยนะครับ มีประโยชน์มากครับ
    ขอให้ผู้โพส มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม
     
  6. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    ขอบคุณมากๆครับ ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะครับ สหายธรรมทุกท่าน
    [​IMG]
     
  7. visut_p

    visut_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2008
    โพสต์:
    553
    ค่าพลัง:
    +1,763
    แล้วดัดจริตอย่างผมต้องทำไงดีเนี่ย นั่งสมาธิไม่ค่อยนิ่งเลย ???
     
  8. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    สงสัยจะต้องใช้ไม้เรียวละมั้งครับ พี่วิสุท หุหุ(-*-)
     
  9. nicname

    nicname สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +10
    ชอบ พรหมวิหาร4... อานาปาณสติ... มรณานุสติ... อนุสติ... จตุธาตุววัฏฐาน ครับ
     
  10. KidzCream

    KidzCream สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +5
    อนุโมทนาด้วยครับ

    มีใครเคยเป็นแบบผมไหมครับ เวลาผมสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติ หรือสงสัยเกี่ยวกับเรื่องปัญหาธรรมต่างๆ เข้ามาในนี้จะได้คำตอบ โดยที่บางทีไม่ต้องตั้งกระทู้ถาม แล้วเป็นคำตอบที่เราสงสัยอยู่พอดี ไม่เกิน 3 วันจะได้คำตอบทุกที บางวันพอสงสัย เปิด palungjit.org มาปุ๊บ เจอกระทู้เริ่องนั้นพอดี

    มันแปลกดีนะ มันแปลกดีนะ มันแปลกดีนะ

    ;k05
     
  11. uncle jing

    uncle jing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +219
    อนุโมทนา สาธุ

    ขอผลบุญในการเผยแพร่ธรรมะนี้จงเป็นปัจจัยให้ท่าน chingchamp

    และท่านทั้งหลายที่ร่วมอนุโมทนา

    ได้ถึงซึ่งพระนิพานในชาตินี้ด้วยเถิด
     
  12. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    อนุโมทนา..........สาธุครับ สาธุ
     
  13. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    ผมคิดว่าคงจะเป็นบุญของคนที่เข้ามาเว็ปนี้นะครับ เพราะเว็ปนี้มีผู้ปฎิบัติหลายท่าน เวลาผมสงสัยอะไรเกี่ยวกับการปฏิบัติ ก็ถามพวกท่านๆได้ ทำให้กระจ่างมากในปัญหาการฝึกสมาธิ
    อนุโมทนาสาธุครับ ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะครับ ทุกท่าน
     
  14. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
  15. Siamese Wizard

    Siamese Wizard Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +42
    โมหะจริตครับ......หาผู้รู้จริงยากเหลือเกิน - -
     
  16. dl3c1912

    dl3c1912 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +9
    อนุโมทนาสาธุ ด้วยค่ะ
    เพิ่งเริ่มหันมาค้นคว้าศึกษาทางพุทธศาสนา
    อย่างจริงๆจังๆ ทำให้รู้ว่าตัวเองกิเลสมากมายเหลือเกิน
    ขอบคุณนะคะที่แบ่งปัน ทำให้ได้รู้ว่าเหมาะกับกรรมฐานแบบใด
    จะนำไปลองปฏิบัติค่ะ ^^
     
  17. roc75258

    roc75258 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอถามนิดนึงนะครับ คือผมสังเกตุตัวเองมาอาทิตย์กว่าแล้ว ยังดูไม่ออกเลยว่าตัวเองเป็นจริตแบบไหนน่ะครับ

    บางทีโกรธง่าย บางทีก็หลง บางทีก็เชื่อแบบงมงาย (สรุปคือ มันมีครบทุกอย่างเลยครับ)

    พอจะมีใครแนะนำได้บ้างไหมครับว่าทำอย่างไรจึงจะรู้จริตของตัวเอง ขอบคุณครับ
     
  18. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    อนุโมทนาครับ คำว่าจริตแปลง่ายๆก็คือพืนฐานนิสัยของจิต ของคนนั้นๆนะครับ ผมเอาลักษณะของจริตทั้ง 6 มาให้ดูแบบระเอียดอีกทีนะครับ
    ราคะจริต
    ลักษณะ บุคลิกดี มีมาด น้ำเสียงนุ่มนวลไพเราะ ติดในความสวย ความงาม ความหอมความไพเราะ ความอร่อย ไม่ชอบคิด แต่ช่างจินตนาการเพ้อฝัน จุดแข็ง มีความประณีตอ่อนไหว และละเอียดอ่อน ช่างสังเกตุเก็บข้อมูลเก่ง มีบุคลิกหน้าตาเป็นที่ชอบและชื่นชมของทุกคนที่เห็น วาจาไพเราะ เข้าได้กับทุกคน เก่งในการประสานงาน การประชาสัมพันธ์และงานที่ต้องใช้บุคลิกภาพ
    จุดอ่อน ไม่มีสมาธิ ทำงานใหญ่ได้ยาก ไม่มีเป้าหมายในชีวิต ไม่มีความเป็นผู้นำ ขี้เกรงใจคน ขาดหลักการ มุ่งแต่บำรุงบำเรอผัสสะทั้ง 5 ของตัวเอง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ชอบพูดคำหวานแต่อาจไม่จริง อารมณ์รุนแรงช่างอิจฉา ริษยา ชอบปรุงแต่ง
    วิธีแก้ไข พิจารณาโทษของจิตที่ขาดสมาธิ ฝึกพลังจิตให้มีสมาธิเข้มแข็ง หาเป้าหมายที่แน่ชัดในชีวิต พิจารณาสิ่งปฏิกูลต่างๆของร่างกายมนุษย์เพื่อลดการติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
    โทสะจริต
    ลักษณะ จิตขุ่นเคือง โกรธง่าย คาดหวังว่าโลกต้องเป็นอย่างที่ตัวเองคิด พูดตรงไปตรงมา ชอบชี้ถูกชี้ผิด เจ้าระเบียบ เคร่งกฎเกณฑ์ แต่งตัวประณีต สะอาดสะอ้าน เดินเร็ว ตรงแน่ว
    จุดแข็ง อุทิศตัวทุ่มเทให้กับการงาน มีระเบียบวินัยสูง ตรงเวลา วิเคราะห์เก่ง มองอะไรตรงไปตรงมา มีความจริงใจต่อผู้อื่นสามารถพึ่งพาได้ พูดคำไหนคำนั้น ไม่ค่อยโลภ
    จุดอ่อน จิตขุ่นมัว ร้อนรุ่ม ไม่มีความเมตตา ไม่เป็นที่น่าคบค้าสมาคมของคนอื่น และไม่มีบารมี ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างวจีกรรมเป็นประจำ มีโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย
    วิธีแก้ไข สังเกตดูอารมณ์ตัวเองเป็นประจำ เจริญเมตตาให้มากๆ คิดก่อนพูดนานๆ และพูดทีละคำ ฟังทีละเสียง อย่าไปจริงจังกับโลกมากนัก เปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ พิจารณาโทษของความโกรธต่อความเสื่อมโทรมของร่างกาย
    โมหะจริต
    ลักษณะ ง่วงๆ ซึมๆ เบื่อๆ เซ็งๆ ดวงตาดูเศร้าๆ ซึ้งๆ พูดจาเบาๆ นุ่มนวลอ่อนโยน ยิ้มง่าย อารมณ์ ไม่ค่อยเสีย ไม่ค่อยโกรธใคร ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบทำตัวเป็นจุดเด่น เดินแบบขาดจุดมุ้งหมาย ไร้ความมั่นคง
    จุดแข็ง ไม่ฟุ้งซ่าน เข้าใจอะไรได้ง่ายและชัดเจน มีความรู้สึก มักตัดสินใจอะไรได้ถูกต้อง ทำงานเก่ง โดยเฉพาะงานประจำ ไม่ค่อยทุกข์หรือเครียดมากนัก เป็นคนดี เป็นเพื่อนที่น่าคบ ไม่ทำร้ายใคร
    จุดอ่อน ไม่มีความมั่นใจ มองตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง โทษตัวเองเสมอ หมกมุ่นแต่เรื่องตัวเองไม่สนใจคนอื่น ไม่จัดระบบความคิด ทำให้เสมือนไม่มีความรู้ ไม่มีความเป็นผู้นำ ไม่ชอบเป็นจุดเด่น สมาธิอ่อนและสั้นเบื่อง่าย อารมณ์อ่อนไหวง่ายใจน้อย
    วิธีแก้ไข ตั้งเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจน ฝึกสมาธิสร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง ให้จิตออกจากอารมณ์ โดยจับการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือเล่นกีฬา แสวงหาความรู้ และต้องจัดระบบความรู้ความคิด สร้างความแปลกใหม่ให้กับชีวิต อย่าทำอะไรซ้ำซาก
    วิตกจริต
    ลักษณะ พูดเป็นน้ำไหลไฟดับ ความคิดพวยพุ่ง ฟุ้งซ่านอยู่ในโลกความคิด ไม่ใช่โลกความจริง มองโลกในแง่ร้ายว่าคนอื่นจะเอาเปรียบกลั่นแกล้งเรา หน้าจะบึ้ง ไม่ค่อยยิ้ม เจ้ากี้เจ้าการ อัตตาสูงคิดว่าตัวเองเก่ง อยากรู้อยากเห็นไปทุกเรื่อง ผัดวันประกันพรุ่ง
    จุดแข็ง เป็นนักคิดระดับเยี่ยมยอด มองอะไรทะลุปรุโปร่งหลายชั้น เป็นนักพูดที่เก่ง จูงใจคน เป็นผู้นำหลายวงการ ละเอียดรอบคอบ เจาะลึกในรายละเอียด เห็นความผิดเล็กความผิดน้อยที่คนอื่นไม่เห็น
    จุดอ่อน มองจุดเล็กลืมภาพใหญ่ เปลี่ยนแปลงความคิดตลอดเวลา จุดยืนกลับไปกลับมา ไม่รักษาสัญญา มีแต่ความคิด ไม่มีความรู้สึก ไม่มี วิจารณญาณ ลังแล มักตัดสินใจผิดพลาด มักทะเลาวิวาท ทำร้ายจิตใจ เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น มีความทุกข์ เพราะเห็นแต่ปัญหา แต่หาทางแก้ไม่ได้
    วิธีแก้ไข เลือกความคิด อย่าให้ความคิดลากไป ฝึกสมาธิแบบอานาปานัสสติ เพื่อสงบสติ อารมณ์ เลิกอกุศลจิต คลายจากฟุ้งซ่าน สร้างวินัย ต้องสร้างกรอบเวลา ฝึกมองภาพรวม คิดให้ครบวงจร หัดมองโลกในแง่ดี พัฒนาสมองด้านขวา
    ศรัทธาจริต
    ลักษณะ ยึดมั่นอย่างแรงกล้าในบุคคล หลักการหรือความเชื่อถือและความศรัทธา คิดว่าตัวเองเป็นคนดี น่าศรัทธา ประเสริฐ กว่าคนอื่น เป็นคนจริงจัง พูดมีหลักการ
    จุดแข็ง มีพลังจิตสูงและเข้มแข็งพร้อมที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่น ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองและสังคมไปสู่สภาพที่ดีกว่าเดิม มีพลังขับเคลื่อนมหาศาล มีลักษณะความเป็นผู้นำ
    จุดอ่อน หูเบา ความเชื่ออยู่เหนือเหตุผล ถูกหลอกได้ง่าย ยิ่งศรัทธามาก ปัญญายิ่งลดน้อยลง จิตใจคับแคบ ไม่ยอมรับความคิดที่แตกต่าง ไม่ประนีประนอม มองโลกเป็นขาวและดำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตนคิดว่าถูกต้อง สามารถทำได้ทุกอย่างแม้แต่ใช้ความรุนแรง
    วิธีแก้ไข นึกถึงกาลามสูตร ใช้หลักเหตุผลพิจารณาเหนือความเชื่อ ใช้ปัญญานำทาง และใช้ศรัทธาขับเคลื่อน เปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ ลดความยึดมั่นในตัวบุคคลหรืออุดมการณ์ ลดความยึดมั่นในตัวกูของกู
    พุทธิจริต
    ลักษณะ คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล มองเรื่องต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริงไม่ปรุงแต่ง พร้อมรับความคิดที่แตกต่างไปจากของตนเอง ใฝ่เรียนรู้ ช่างสังเกตุ มีความเมตตาไม่เอาเปรียบคน หน้าตาผ่องใส ตาเป็นประกาย ไม่ทุกข์
    จุดแข็ง สามารถเห็นเหตุเห็นผลได้ชัดเจน และรู้วิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างถูกต้อง อัตตาต่ำ เปิดใจรับข้อเท็จจริง จิตอยู่ในปัจจุบัน ไม่จมปลักในอดีต และไม่กังวลในสิ่งที่จะเกิดในอนาคต พัฒนาปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ เป็นกัลยาณมิตร
    จุดอ่อน มีความเฉื่อย ไม่ต้องการพัฒนาจิตวิญญาณ ชีวิตราบรื่นมาตลอด หากต้องเผชิญพลังด้านลบ อาจเอาตัวไม่รอด ไม่มีความเป็นผู้นำ จิตไม่มีพลังพอที่จะดึงดูดคนให้คล้อยตาม วิธีแก้ไข้ ถามตัวเองว่าพอใจแล้วหรือกับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพิ่มพลังสติสมาธิ พัฒนาจิตใจให้มีพลังขับเคลื่อนที่แรงขึ้น เพิ่มความเมตา พยายามทำให้ประโยชน์ให้กับสังคมมากขึ้น

    -..............ขอแนะนำนะครับ ถ้าคุณคิดว่ามีทุกจริตนี่ จริงๆนะครับ ขอให้ไม่ต้องคิดมากเลยครับ อานาปาสติ กำหนดลมหายใจเข้าออก แล้วกำหนดสติอยู่กับพุธโธที่ปลายจมูก อันนี้เป็นขั้นต้นของสมาธิ ทำอย่างนี้ไปก่อนก็ดีนะครับ แล้วคุณก็จะค้นพบตัวคุณเอง ว่ามีจริตไปในทางใด ครับ
    เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะครับ...
     
  19. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,463
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,012
    ผมว่าการนั่งสมาธิดีที่สุดเเล้ว ทําให้เราเห็นความนิ่ง มีสติในตนเอง
     
  20. anbang

    anbang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +396
    นี่แหละที่ผมคิดว่าใช่ และมีแค่ทางเดียวเท่านั้นที่เป็นของแท้


    สติปัฏฐาน ๔
    มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า เราจะปฏิบัติธรรมในแนวไหน หรือสำนักใด จึงจะเป็นการถูกต้องและได้ผล คำถามเช่นนี้เป็นคำถามที่ถูกต้อง และไม่ควรถูกตำหนิว่าชอบเลือกนั่นเลือกนี่ ที่ถามก็เพื่อระวังไว้ ไม่ให้เดินทางผิด ทางปฏิบัติที่ถูกต้อง คือ ปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔
    สติปัฏฐาน ๔ แปลให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ฐานที่ตั้งของสติ หรือเหตุปัจจัยสำหรับปลูกสติให้เกิดขึ้นในฐานทั้ง ๔ คือ

    ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การพิจารณากาย จำแนกโดยละเอียดมี ๑๔ อย่าง คือ
    • อัสสาสะปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก
    • อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน
    • อิริยาบถย่อย การก้าวไปข้างหน้า ถอยไปทางหลัง คู้ขาเข้า
      เหยียดขาออก งอแขนเข้า เหยียดแขนออก การถ่ายหนัก ถ่ายเบา
      การกิน การดื่ม การเคี้ยว ฯลฯ คือ การเคลื่อนไหวร่างกายต่าง ๆ
    • ความเป็นปฏิกูลของร่างกาย (อาการ ๓๒)
    • การกำหนดร่างกายเป็นธาตุ ๔
    • ป่าช้า ๙
    ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การเจริญสติเอาเวทนาเป็นที่ตั้ง เวทนาแปลว่า การเสวยอารมณ์ มี ๓ อย่างคือ
    • สุขเวทนา
    • ทุกขเวทนา
    • อุเบกขาเวทนา
    เมื่อเวทนาเกิดขึ้น ก็ให้มีสติสัมปชัญญะกำหนดไปตามความเป็นจริงว่า เวทนานี้เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขาไม่ยินดียินร้าย ตัณหาก็จะไม่เกิดขึ้น และปล่อยวางเสียได้ เวทนานี้เมื่อเจริญให้มาก ๆ เป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว อาจทำให้ทุกขเวทนาลดน้อยลง หรือไม่มีอาการเลยก็เป็นได้ อย่างที่เรียกกันว่า สามารถแยก รูป นาม ออกจากกันได้ (เวทนาอย่างละเอียดมี ๙ อย่าง)

    ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ การปลูกสติโดยเอาจิตเป็นอารมณ์ หรือเป็นฐานที่ตั้งจิตนี้มี ๑๖ คือ
    • จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ
    • จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ
    • จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ
    • จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน
    • จิตยิ่งใหญ่ (มหัคคตจิต) จิตไม่ยิ่งใหญ่ (อมหัคคตจิต)
    • จิตยิ่ง (สอุตตรจิต) จิตไม่ยิ่ง (อนุตตรจิต)
    • จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่น
    • จิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น
    การทำวิปัสสนา ให้มีสติพิจารณากำหนดให้เห็นว่า จิตนี้เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได
    ๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ มีสติพิจารณาธรรมทั้งหลายทั้งปวง คือ
    ๔.๑ นิวรณ์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นว่า นิวรณ์ ๕ แต่ละอย่างมีอยู่ในใจ หรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร ให้รู้ชัดตามความเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
    ๔.๒ ขันธ์ ๕ คือ กำหนดรู้ว่าขันธ์ ๕ แต่ละอย่างคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร
    ๔.๓ อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายในภายนอกแต่ละอย่าง รู้ชัดในสังโยชน์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอายตนะนั้น ๆ รู้ชัดว่าสังโยชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้อย่างไร
    ๔.๔ โพชฌงค์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นว่า โพชฌงค์ ๗ แต่ละอย่างมีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร
    ๔.๕ อริยสัจ ๔ คือ รู้ชัดอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างตามความเป็นจริงว่าคืออะไร
    สรุป ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ คือ จิต ที่คิดเป็น กุศล อกุศลและอัพยากฤต เท่านั้น ผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ต้องทำความเข้าใจอารมณ์ ๔ ประการให้ถูกต้องคือ
    ๑. กาย ทั่วร่างกายนี้ไม่มีอะไรสวยงามแม้แต่ส่วนเดียว ควรละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
    ๒. เวทนา สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์นั้น แท้จริงแล้วมีแต่ทุกข์ แม้เป็นสุขก็เพียงปิดบังความทุกข์ไว้้
    ๓. จิต คือ ความนึกคิด เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงแปรผัน ไม่เที่ยง ไม่คงทน
    ๔. ธรรม คือ อารมณ์ที่เกิดกับจิต อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น เมื่อเหตุปัจจัยดับไป อารมณ์นั้นก็ดับไปด้วย ไม่มีสิ่งเป็นอัตตาใด ๆ เลย
    จากหนังสือคู่มือการฝึกอบรมพัฒนาจิต วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    โดย พ.ท.วิง รอดเฉย ปี ๒๕๒๙
     

แชร์หน้านี้

Loading...