พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ คติธรรมเตือนใจ

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ คติธรรมเตือน

    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"><tbody><tr><td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]พระญาณสิทธาจารย์[/SIZE]
    [SIZE=+1](หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) [/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ [/SIZE]</td> </tr> </tbody></table>

    คติธรรมเตือนใจ

    <center> เหตุผลของการกำหนดลมหายใจ </center> “ผู้ภาวนา ให้น้อม ให้รวม เอาจิตใจดวงผู้รู้อยู่มารู้อยู่ที่ลมเข้า ลมออก สังเกตไปสู่ดวงจิต จุดสำคัญท่านต้องการเอาจิตใจดวงผู้รู้อยู่นี้ ธาตุลมนี้ ก็เป็นแต่ให้เป็นทาง เป็นที่สังเกต จะได้รวม ได้สงบ ลงสู่ดวงจิตดวงใจ ดวงที่รู้อยู่นั่นเอง แต่ว่าถ้ายังจับจุดนี้ไม่ได้ ท่านก็ให้กำหนดลม ลมเข้าและลมออก หรือท่านให้กำหนด ความรู้สึก ทุกลมเข้าออก เรียกว่าดวงจิต ดวงวิญญาณ ดวงผู้รู้ มารู้สึก ลมหายใจเข้าออก เมื่อลมหายใจเข้าและออก ออกและเข้าอยู่ จิตก็มีความรู้สึกอยู่ และบริกรรมภาวนาคำว่า “พุท” ทุกลมหายใจเข้า และ “โธ” ทุกลมหายใจออกอยู่ รู้จักปล่อยวาง เรื่องราวอารมณ์ อันเป็นเรื่องภายนอก ออกไปให้หมดสิ้น ตั้งจิตเจตนา ในจิต ในใจของตน ให้มั่นคง ลงไป เรียกว่าระลึกถึงพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนจิตใจของตน”

    ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๒


    <center> ภาวนาพุทโธ </center> “นี่แหละผู้ปฏิบัติทั้งหลายจงมาสงบจิตสงบใจ นึกบริกรรมภาวนาพุทโธในใจของตนให้ได้ จนเอาจิตใจดวงนี้ให้แน่วแน่มั่นคงไม่หลงใหล เรียกว่าพุทโธ พุทธะ พุทโธพุทธะจริง ๆ ก็คือจิตใจดวงที่รู้อยู่นั่นแหละ ผู้ใดมาสงบจิตใจดวงนี้ได้ เย็นสบายเป็นดวงหนึ่งดวงเดียวอยู่นั่นจะมีความสุขมีความสบาย เพราะคนเราถ้าใจสงบแล้วก็สบาย ใจฟุ้งซ่านรำคาญก็ไม่สบาย เวลานั่งสมาธิภาวนาปฏิบัติบูชาในทางพุทธศาสนานี้ จงทำใจของตนให้เยือกเย็นสบาย ดวงใจที่รู้อยู่ในกายในจิตอยู่ที่ไหน รู้ที่ไหนก็รวมไปที่นั้น ไม่ต้องไปหา ถ้าเกิดหาจิตใจมันอยู่ที่ไหนกันแน่ มันเลยไม่เห็น วุ่นวายไปหมด เพราะจิตสังขารนี้มันปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา ทีนี้เมื่อเราไม่ดิ้นรนวุ่นวายสงบจิตสงบใจลงไป ดวงจิตดวงใจรู้ที่ไหนก็อยู่ที่นั่น รู้ที่จิตก็อยู่ที่จิตนั่น รู้ที่กายก็อยู่ที่กาย ดวงจิตนั้นท่านให้ชื่อว่ามีธาตุรู้อยู่ในตัวในใจ ไม่ต้องไปหาเป็นรูปร่างสีสัณฐานอย่างอื่น ดวงจิตดวงใจคนเรานั้นได้ชื่อว่าจิตดวงที่รู้อยู่ เราฟังธรรม ได้ยินเสียง ก็เพราะจิตดวงที่รู้อยู่นี่แหละ เราบริกรรมภาวนาข้อใดบทใดก็มีความรู้สึกอยู่ในบริกรรมนั้น ก็ดวงจิตดวงใจอันนี้แหละ มีอยู่ในตัวในใจของทุก ๆ คนแล้ว ไม่ต้องไปหาวางเฉยเสียก็รู้ได้”

    ๑ มิถุนายน ๒๕๒๒


    <center> ทวนกระแสจิตมาสู่ดวงจิตผู้รู้ของตน </center> “คำว่าทวนกระแสนั้นคือว่า ดูน้ำที่มันไหลลงไปที่ต่ำ ถ้าไหลลงไปที่ต่ำ รวมเป็นแม่น้ำใหญ่เรื่อยไป จนถึงมหาสมุทรเป็นทะเล เรียกว่ากว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีที่จบที่สิ้น ถ้าเราทวนกระแส นับตั้งแต่มหาสมุทรขึ้นมาถึงอ่าวอย่างประเทศไทยก็เรียกอ่าวไทย ที่อ่าวไทยมีแม่น้ำอะไรไหลลงมา ก็มีแม่น้ำเจ้าพระยา ทวนจากแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมา มาถึงนครสวรรค์ จะมีปิง ยม น่าน ไปรวมที่นั้น เหนือขึ้นมาก็เป็นแม่น้ำน่าน แม่น้ำวัง แม่น้ำปิง ถ้าทวนกระแสแม่น้ำปิงขึ้นมา ก็จะมาถึงเขื่อนภูมิพล เลยนั้นมาก็จะมีทะเลสาบอยู่ ต่อมาก็จะมาถึงจอมทองขึ้นมาเรื่อยจนถึงเชียงใหม่ เลยเชียงใหม่ก็มาถึงเชียงดาว ถึงถ้ำผาปล่อง เลยถ้ำผาปล่องขึ้นไปจนถึงรัฐฉาน เลยประเทศไทยไปอีก แล้วไปถึงภูเขาลูกใดลูกหนึ่ง ก็ไปสิ้นสุดอยู่แค่นั้น ไม่ไปไหน มันสุดสุดยอดน้ำ ต้นน้ำลำธาร อันกิเลสในใจของมนุษย์คนเราแต่ละบุคคลนี้ก็เหมือนกัน ถ้าหากว่าเราปล่อยให้ไหลไปตามอารมณ์ ความชอบใจ ไม่ชอบใจ ได้ดีมีสุขสนุกสบายเรื่อยไป ไม่รู้จักทวนกระแสเข้ามาภายในจิตใจของตัวเอง ก็ไม่รู้จักจบ”

    ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑


    <center> กายคตาสติกรรมฐาน </center> “การภาวนา นอกจากรวมจิต รวมใจสงบ ตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ก็จะต้องกำหนด “กายคตาสติกรรมฐาน” นี้ ให้เข้าใจ คำว่า เข้าใจนั้น ไม่ใช่หมายเพียงแต่ว่า จดจำ ตามท่านสั่งสอน แต่ให้เราเอามาคิดมาอ่าน เกิดความรู้ ความเข้าใจ อันแน่ชัดขึ้นมาในจิตใจของเราอีกทีหนึ่ง นั่นจึงจะเป็นภาวนาแท้ที่ถูกต้องอย่างแท้จริง”

    ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๐


    <center> ความตายนี่คือยอดกรรมฐาน </center> “อัน “มรณกรรมฐาน” นี้ ต้องนึกให้มาก เจริญให้มาก นึกมากขนาดไหน มันมีจุดอยู่ นึกเจริญจนมันสลดสังเวช มองเห็นความตายในจิตในใจได้ตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงแต่ว่าเขียนหนังสือเป็นความตาย พูดเป็นความตายเท่านั้น จิตใจมันเห็นมันแจ้ง ณ ภายในว่า มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ตัวเรา ตัวเขา ทั้งคน ทั้งสัตว์ มันต้องมีความตายอย่างนี้ เจ้าตัวจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม แต่ความตายมันเป็นภัยอันใหญ่หลวง เมื่อจิตมันเห็นอย่างนั้น แจ้งอย่างนั้น จิตมันก็สงบระงับ ไม่ทำบาปในทางกาย ไม่กล่าวบาปในทางวาจา ไม่คิดบาปในทางจิตทางใจ จิตใจก็มีแต่มุ่งให้ตัวเราและคนอื่นมีความสุขความสบาย ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่ว่าทั้งทางตรงและทางอ้อม เรียกว่ามุ่งให้ผู้อื่นมีความสุขตลอดเวลาเพราะมองเห็นภัยอันตราย ที่จะมาถึงตัวอยู่ตลอดเวลา และก็ให้นึก ให้เจริญอยู่ ไม่ให้มันลวง ให้มันแจ่มแจ้งในจิตในใจของเราทุกคน”

    ๖ เมษายน ๒๕๒๐


    <center> ดูทุกขเวทนาของคนใกล้ตาย </center> “อันมรณภัยคือความตาย แค่ความเจ็บธรรมดาก็ทนไม่ไหวแล้ว ความตายจริง ๆ มันจะขนาดไหน เรียกว่าอยู่ไม่ได้ นั่งไม่ติด นอนไม่ติด อะไรทุกอย่างมันว้าวุ่นไปหมด แม้ร่างกายจะแก่ชราแล้วก็ตาม จิตอวิชชาตัณหาภายในจิตใจนั้น ถ้าไม่ตั้งใจภาวนาจริง ๆ มันจะต้องวุ่นวายที่สุด เดือดร้อนวุ่นวายที่สุด คนเราส่วนมากมักไม่ได้ไปดูเวลาคนเจ็บไข้ได้ป่วยถึงขนาดใกล้จะตาย ถ้าผู้ใดได้นั่งเฝ้าดูคนเจ็บไข้ได้ป่วย ดูแลพยาบาลนาน ๆ จนถึงขั้นอยู่ไม่ได้ ถึงขั้นตาย จะเห็นว่าความทุกขเวทนาของคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยถึงขั้นแตกดับตายนั้น มันมากมายเสียนี่กระไร โรคบางอย่างมันไม่รุนแรง แต่มันค่อยตัดไปทีละน้อย ๆ อย่างว่าเดิมบริโภคอาหารได้ มันตัดเข้าไปบริโภคอาหารอย่างหยาบ ๆ ไม่ได้ จะดื่มได้พวกนม พวกแป้ง นม อีกสักพักมันก็ตัดเข้าไปอีก พวกนมนี้ก็ดื่มไม่ได้แหละ มันตัดเข้าไปโดยลำดับ ๆ จนกระทั่งยังเหลือแต่น้ำ น้ำธรรมดา แต่จะลุกขึ้นมากินอย่างคนเราธรรมดาก็ไม่ได้ จะต้องเอาสำลีชุบน้ำ แล้วก็ไปบีบใส่ปากคนที่ใกล้ตาย ปากยังเขยิบเอาน้ำเพราะมันหิวน้ำ ร่างกายมันอยู่แทบไม่ไหวแล้วทุกอย่าง”

    ๕ มกราคม ๒๕๒๒


    <center> มรณัง เม ภวิสสติ </center> “เมื่อความตายมาถึงผู้ใดแล้ว จะไปขอเปลี่ยนผัดวันประกันพรุ่ง ร้องขอกับพญามัจจุราชคือความตายไม่ได้ทั้งนั้น เวลามันจะเกิดอะไรขึ้นมา จะถึงซึ่งความตาย มันไม่ได้บอกล่วงหน้าด้วย ไม่มีป้ายบอก ไม่มีหนังสือบอก ไม่มีข่าวสารการบ้านการเมืองบอก มรณกรรมฐานนี้จึงให้พากันนึกเจริญเอามาเตือนใจเสียก่อนเพื่อจิตใจจะได้ บำเพ็ญภาวนา ทำบุญให้ทาน รักษาศีลห้า ศีลแปดขึ้นไป จะได้เจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน ให้เห็นแจ้งในดวงจิตดวงใจก่อนความตายยังไม่มาถึง บางคนก็นึกว่า เมื่อแก่หรือว่าใกล้จะตายจึงภาวนา คิดอย่างนี้ก็คิดไป อันการภาวนานั้น ท่านไม่รอจนแก่ชรา เรามีศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใสในการภาวนาเมื่อใด เวลาไหนได้ทั้งนั้น เพราะว่าอะไรที่เรามาทำแล้วปฏิบัติแล้ว จนชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านภาวนาละกิเลสก่อน ก่อนภัยอันตรายมาถึง เมื่อภัยอันตรายมาถึงท่านไม่มีความหวาดสะดุ้งแล้ว ไม่กลัวแล้ว ไม่หนีแล้ว ตายที่ไหนมันก็เป็นเรื่องรูปนามกาย ใจมันตายเรียกว่ากิเลสมันหมดไปสิ้นไป

    ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๒๑


    <center> ทุกข์เพราะจิตไปยึดถือ </center> “แม้ดวงจิตดวงใจที่รู้อยู่ภายใน ตราบใดที่ยังมีกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ความโลภ ความโกรธ ความหลงยังมีอยู่ ก็ไม่เที่ยงแท้แน่นอนเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงไม่ให้มาหลงยึดเอาถือเอา เรียกว่า “นามรูปังอนิจจัง” “นามรูปังทุกขัง” นามและรูป กายใจของคนเราสภาพเดิมมันชื่อว่ามันเป็นทุกข์ มันมีเรื่องทุกข์อยู่ตลอดเวลา จะเป็นสุขมันก็ไม่พ้นจากความทุกข์ มันเรื่องทุกข์อยู่ตลอดกาล ทุกข์นี้หรือว่าทนอยู่ไม่ได้ เป็นอยู่อย่างนี้ไม่ได้ หรือทุกขเวทนาเจ็บไข้ได้ป่วยไม่อยู่ดีไม่สบายก็เรียกว่าทุกข์ ทุกข์กายหนึ่ง ทุกข์ใจหนึ่ง ทั้งกายทั้งจิตนั่นแหละ ถ้าไม่ภาวนาไม่ละกิเลสความยึดมั่นถือมั่นในที่ทั้งปวงเป็นทุกข์ทั้งนั้น เพราะทุกข์จริง ๆ นั่นมันอยู่ที่จิตหลงไปยึดถือเอา ถ้าจิตไม่ไปยึดไปถือ ทุกข์มันก็ดับไป ตัวอุปาทานจิตยึดถือนั่นแหละเป็นตัวทุกข์ เมื่อยึดถือมันก็เป็นทุกข์ ผู้ใดปล่อยวางได้มันก็ไม่ทุกข์ไม่เดือดร้อน”

    ๘ มิถุนายน ๒๕๑๙


    <center> ของกลางโลก </center> “สังขารทั้งหลาย จะเป็นรูปสังขาร นามสังขารก็เกิดขึ้นแล้วดับไป ผู้ใดมาภาวนาเพียรเพ่งดูให้เห็นแจ้งทั้งรูปขันธ์ และทั้งนามขันธ์ ว่าอะไรทั้งหมดนั้นแหละมันแสดงอนิจจาลักษณะอยู่ตลอดเวลา พระพุทธองค์จึงทรงตรัสไว้ว่า “นามรูปังอนิจจัง” รูป, นาม, กาย, ใจของมนุษย์ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่ว่าแต่เรื่องกายมนุษย์นี้ แม้จะใหญ่ขนาดท้องฟ้าก็ตาม ก็แสดงถึงความไม่เที่ยงทั้งหมดเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าของใหญ่มันก็แตกดับช้าไปหน่อย ของเล็กมันก็แตกดับเปลี่ยนแปลงให้เห็นได้ง่าย มีอยู่อย่างนี้ มันเที่ยงที่ไหน ถ้ามันเที่ยงก็เป็นอยู่อย่างนั้นตลอดไป ที่มันแก่ได้ เจ็บไข้ได้ป่วย มันแตกมันตายได้ ก็แสดงถึงว่ามันไม่เที่ยงแท้แน่นอนนั่นเอง “นามรูปังทุกขัง” นามและรูปเป็นทุกข์ เมื่อมันเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มันก็ทุกข์ จิตมันก็จะเอาให้ได้ตามใจหวัง เมื่อไม่ได้ตามใจหวังมันก็ทุกข์จิตทุกข์ใจขึ้นมาภายใน ต้องตามรู้เห็นว่า รูป นาม กาย ใจ คน สัตว์ วัตถุธาตุทั้งหลายทั้งหมดทั้งมวลนี้ จะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เก่าใหม่อะไรก็ตาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา นามรูปไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อไม่ใช่ของเรา แล้วมันเป็นของใคร เป็นของกลาง เป็นของกลางโลก กลางแผ่นดิน จิตอย่ามายึดเอาถือเอา”

    ๑๒ เมษายน ๒๕๑๙


    <center> ชีวิตของเราหมดไปตามวัน คืน เดือน ปี </center> “นี่แหละ วัน คืน เดือน ปี ที่ผ่านไป ๆ นั้น ชีวิตของคนเราทุกคนมันก็หมดไป สิ้นไป ด้วยเช่นกัน เราทุกคนที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ อย่าได้เข้าใจว่าเราจะสุขสบาย มีอายุยืนยาว แต่แท้ที่จริงแล้วเราทุกคนอาจตายได้ทุกเวลา แล้วจะมาคิดเอาเองว่าเรายังไม่ใกล้ตาย จึงเป็นการคิดที่ประมาทอยู่ เราทุกคนยืนอยู่ก็ยืนรอวันตาย เราทุกคนเดินอยู่ก็เดินรอวันตาย เราทุกคนนั่งอยู่ก็นั่งรอวันตาย เราทุกคนนอนอยู่ก็นอนรอวันตาย ผลที่สุด เราทุกคนก็ต้องตายแน่นอน นี่แหละเราทุกคนอย่าได้เป็นผู้ประมาทอีกต่อไป”

    ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓


    <center> คนโรคหัวใจอ่อน </center> “อันพระธรรม พระวินัย คำสอนที่พระพุทธเจ้า ทรงชี้แจงไว้นั้น เดี๋ยวนี้ ก็ยังมีครบถ้วน ทุกส่วน ทุกประการ พระธรรมวินัยคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์นั้น ยังมีความเข้มข้นอยู่เหมือนเก่า เหมือนสมัยพระพุทธเจ้านั้นแหละ แต่เดี๋ยวนี้ พวกเราทั้งหลาย มันเป็นคนโรคหัวใจอ่อน จะนั่งสมาธิภาวนา ก็กลัวเจ็บ กลัวไข้ กลัวไม่สบาย กลัวตาย จะนั่งภาวนาตลอดคืนสักคืน ก็ไม่ไหว กลัวตาย ใจมันเป็นโรคหัวใจอ่อนมานานแล้ว ตั้งแต่อเนกชาติ ก็ไม่แข็งแรงขึ้นมาสักที จนมานั่งภาวนาที่ถ้ำผาปล่องมันก็คอยลอดปล่อง หนีไปทางอื่น ไม่สงบระงับตั้งมั่น ลงไปในหัวใจ”

    <center> ความเพียรพิจารณาจนเห็นจริง </center> “ถ้าจะเอาแค่ การได้ยิน ได้ฟัง ฟังแล้วก็แล้วไป ไม่เอามาคิด มาอ่าน ก็ยังใช้ไม่ได้ ต้องเอามาเพียรเพ่งพิจารณา ทบทวนไปมา ตั้งแต่เกิดมา จนกระทั่งบัดนี้ ตั้งแต่บัดนี้ ไปจนถึงเมื่อเกิดขึ้นมา จนมองเห็นทุกข์ เห็นภัย ในจิตใจของตน จนมองไม่เห็นที่ไหนว่า มันเป็นสุขสบายขึ้นมา แม้แต่น้อยเท่าปลายเข็ม มีแต่เรื่องทุกข์ เรื่องยุ่งเหยิงทั้งนั้น ตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งบัดนี้ ก็แย่ หรือแทบตายแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปข้างหน้า มันยิ่งแย่ต่อไปอีก”

    <center> รีบเร่งภาวนาละกิเลสไว้ก่อน </center> “จงรวบรวมเอา ดวงจิต ดวงใจ ผู้รู้อยู่ภายในใจของเราเอง มาดูให้รู้แจ้ง ภายในจิตจงเห็นว่า ชรา พยาธิ มรณะ มันไล่ติดตาม อยู่ตลอดเวลา อีกไม่นานก็จะมาถึงตัวเรา แต่ละบุคคลได้ ถ้าไม่รีบเร่งภาวนา ทำความเพียรละกิเลสไว้ก่อน เราจะเสียใจ เมื่อภายหลัง ว่าอะไร ๆ ก็ยังทำได้ไม่เต็มที่ เราจะวิตกวิจารณ์วุ่นวายในจิตใจ”

    <center> ผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ </center> “ในครั้งพุทธกาลนั้น พระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี นักบวช ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกา ท่านมีความเพียร ความหมั่น ความขยันขันแข็ง ผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ธรรมะ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว หรือของพระสาวกเจ้าทั้งหลาย สั่งสอนแล้วท่านก็ไม่นิ่งนอนใจ เป็นพระท่านก็ภาวนา เป็นเณรน้อยก็ภาวนา ท่านไม่ให้เสียเวลา พุทโธในดวงใจ ได้ตลอดเวลา สาวกในครั้งพุทธกาลนั้นท่านมีความเพียรมาก ภาวนาไม่มีความท้อถอยเอาจนได้บรรลุมรรคผล เห็นแจ้งพระนิพพานด้วยตนเอง ไม่ต้องไปถามจากที่โน้น ที่นี้ ว่าข้าพเจ้าจะได้บรรลุมรรคผลไหม ไม่ต้องไปถาม ภาวนาเอาเอง ทำความเพียร ในจิต ในใจนั่นแหละ ก็จะเข้าใจเอง เพราะว่าสาวกทั้งหลายนั้น เมื่อท่านทำไป ปฏิบัติไป ท่านก็ได้เอง เข้าใจได้เอง”

    ๑๒ มกราคม ๒๕๑๙


    <center> ให้รู้ชรา พยาธิ มรณะ ไล่ติดตามเราอยู่ </center> “เมื่อจิตตั้งมั่น อยู่ภายในได้ ผู้ปฏิบัติตามนั้น ๆ ก็ย่อมเข้าใจทีเดียวว่า ชรา พยาธิ มรณะ ไม่มีการยกเว้นให้แก่บุคคลผู้ใด เราต้องรีบเร่งภาวนาเอาเอง ไม่มีใคร จะมาทำแทนกันได้ เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าใจแจ่มแจ้ง เช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ตั้งใจปฏิบัติอยู่ ทุกลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้าไป ก็รับรู้ ลมหายใจออกมา ก็รับรู้ จงยังจิตใจ ดวงผู้รู้ อยู่ภายใน ตัวท่านทั้งหลาย ให้มีความสงบ ตั้งมั่น อย่าได้ลุ่มหลงมัวเมา ไปอยู่ใต้อำนาจกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นสถานที่ เต็มไปด้วยทุกข์ภัย ในโลก ในวัฏฏะสงสาร”

    ๕ เมษายน ๒๕๒๑


    <center> ชาติความเกิดเป็นทุกข์ </center> “ชาติความเกิดมันดีอย่างไร ทำไมทุกคนจึงอยากมาเกิด แล้วยังจะต้องมาเกิดต่อไปอีก ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าหากเราขี้เกียจ ขี้คร้านภาวนา ไม่ลุกขึ้นภาวนา มัวหลับ มัวนอน มัวเล่น สนุกเฮฮาอยู่อย่างนี้อีก ถ้าหากเราตายจากชาตินี้ ก็จะต้องเข้าไปเข้าท้องแม่อีก ก็จะต้องมาทุกข์อย่างเก่าอีก มันไม่ใช่เป็นความสุข ความสบาย ชาติความเกิดนี้ เป็นทุกข์ มันทุกข์อย่างนี้แหละ ทุกภพ ทุกชาติที่เกิดมา เรียกว่าเมื่อเกิดแล้ว ก็เป็นที่ตั้งต้นแห่งความทุกข์ ทุก ๆ อย่าง ที่มีอยู่ในโลกมนุษย์ จะต้องตามมา ให้มีความทุกข์ เป็นผลติดตามมาในที่สุด”

    ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๘


    <center> บาปและบุญ </center> “บาปและบุญนั้นมีอยู่ประจำโลก เหมือนกับน้ำและไฟนั้นแหละ ใครทำชั่วก็เดือดร้อน ใครทำดีก็มีความสุขกายสบายใจ พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า ให้ใจอยู่ดีสบาย ใจภาวนา ให้ระลึกอยู่ในบริกรรมภาวนาบทใดบทหนึ่ง มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นต้น หรือเรานึกอุบายใดก็ตาม จิตนี้มันยังประมาทอยู่ ยังระลึกไม่ได้ ชอบคิดไปในทางชั่ว ทางไม่ดี เมื่อพูดไปแล้ว ทำไปแล้ว คิดไปแล้ว ก็เข้าใจว่าไม่มีทุกข์ ไม่มีโทษ แต่แท้ที่จริงไม่ว่าบุคคลทำกรรมอันใดไว้ดีหรือชั่วตัวเองจะต้องได้รับผลกรรม อันนั้น”

    ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๕


    <center> วางใจให้เป็นกลาง </center> “มัชฌิมาปฏิปทา” ทำจิตทำใจ ให้อยู่ในระหว่างกลาง เมื่อความมีลาภเสื่อมลาภ ก็ไม่ให้เข้าไปยึดถือ ไม่ให้ทุกข์ ไม่ให้สุข ตั้งอยู่ในใจ ผู้รู้อยู่ที่ไหน ก็ปล่อยวางอยู่ที่นั้น ที่นั้นให้มีปัญญา มีความสอดส่องดูแลพิจารณาอยู่ภายในดวงจิตดวงใจ เรียกว่าอยู่เป็นกลาง ไม่เข้าไปกระทบสิ่งใดภายในจิตใจอันนั้น มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ มีสรรเสริญมีนินทา มีสุข มีทุกข์ ในโลกนี้ก็มีเท่านี้แหละ จงรู้แจ้งในหลักปัจจุบัน สิ่งใดมีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมมีความดับไป เกิดดับอยู่ตามธรรมดาของโลก”

    ๗ มิถุนายน ๒๕๒๒


    <center> ตัณหาผูกมัดใจ </center> “คำสมัยก่อนโบราณอาจารย์เจ้า ท่านสอนมนุษย์ไว้ว่าตัณหารักลูกเหมือนเชือกผูกคอ ธรรมดาเชือกผูกคอ เวลาเขาผูกสัตว์ก็ตาม หรือว่าผูกคอคนก็ตาม มันก็ไปไหนไม่ได้ เชือกมันรัดไว้ ก็ไปได้แค่ช่วงเชือกยาวสั้นเท่าไร มันก็อยู่ได้ในระยะนั้น มันวนเวียนอยู่ในนั้น เรียกว่าตัณหารักลูกเหมือนเชือกผูกคอ ตัณหารักผัวรักเมียนี้เหมือนปอผูกศอก ไม่ว่าใครเมื่อยังไม่มีผัวไม่มีเมียก็อยากได้ มันก็เป็นตัณหามันจะผูกศอก กิเลสมันจะมัดศอก ธรรมดาคนมัดศอก มัดเท้า มัดตีนนั้น ยิ่งร้ายกว่าเชือกผูกคออีก ตัณหารักผัวรักเมียเหมือนปอผูกศอก เหมือนเชือกผูกศอก ใส่โซ่ไว้ตัณหารักวัตถุข้าวของเหมือนปลอกซุกตีน ปลอกซุกตีนก็คือว่ามัดตีนนั่นเอง หรือว่าช้างตัวมันใหญ่ เขาใส่ปลอกตีนมันมัดตีนมันไว้ คำว่ามัดตีนก็ไปไม่ได้เหมือนกัน”

    ๑๗ กันยายน ๒๕๑๘


    <center> จิตนี้เป็นผู้หลงโลกเอง </center> “การติดนั้นคือว่าจิตของเรานั้นมันไปติด ไม่ใช่ว่าสิ่งอื่นมาติดใจ ใจมันไปติดอารมณ์ไปติดกิเลส โลกทั้งโลก แผ่นดินทั้งแผ่นดินนี้แหละ มันเป็นเพียงธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม มันไม่รู้จักติดใคร ดูแผ่นดินที่เรานั่งอยู่นี้ แผ่นดินมันติดใคร ไม่มีติดใคร แล้วอะไรมันติดอะไรมันหลง ก็จิตไม่ภาวนา จิตไม่ละกิเลสความโกรธ โลภ หลง จิตอันนี้แหละมันติด จิตนั้นแหละเป็นตัวกิเลสราคะ เป็นตัวกิเลสโทสะ เป็นตัวกิเลสโมหะ ก็จิตมันมาติดโลก ไม่ใช่โลกมาติดจิต เมื่อผู้ใดภาวนาเพียรเพ่งดูให้รู้แจ้งด้วยปัญญา ก็จะถอนออกได้ทีเดียวว่า จิตนี้เองความรู้อยู่ ความไม่เห็นแจ้งในหลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วจิตก็หลง เมื่อหลงแล้ว ก็เข้าไปยึดถือ ยึดถือแล้วก็ทุกข์ ตัวอุปาทานความยึดถือในจิตนั้น เป็นก้อนทุกข์ ดวงทุกข์อยู่ในดวงใจ”

    ๙ ตุลาคม ๒๕๑๘


    <center> ไม่เห็นความตายปิดบัง </center> “กำหนดให้ได้ พิจารณาให้ได้เห็นแจ้งภายในจิตใจทีเดียว จนเห็นว่าจิตหนึ่งที่มันเข้าใจเห็นว่า เราไม่แก่ จิตหนึ่งก็ต้องเห็นว่า มันแก่ไปทุกเวลา แก่ไปเป็นธรรมดาอยู่อย่างนี้ ไม่มีเวลาที่จะหยุดยั้ง เหมือนกับไฟไหม้ป่าอย่างนั้นแหละ ธรรมดาไฟไหม้ป่ามานั้นไม่มีใครที่จะไปดับได้ มันก็ไหม้เรื่อยไป ความแก่มันไหม้เรื่อยไป ความเจ็บไข้ได้ป่วย มันก็ลุกไหม้ขึ้นมา แล้วความตายจะไม่มาถึงบุคคลมีหรือไม่ ความจริงไม่มีเลย เมื่อผู้ปฏิบัติมาหยั่งรู้หยั่งเห็น ในมรณกรรมฐานอย่างนี้แล้ว ทุกคนก็เรียกว่ารีบเร่ง ไม่ต้องรั้งรอ คนอื่นไม่ทำ ไม่ภาวนา ไม่ทำความเพียรละกิเลสก็ช่างเขา ให้ใจเรา ผู้มีอยู่ในตัวในใจนี้ ตั้งจิตตั้งใจให้มั่นคง ระลึกอยู่เสมอซึ่งความตาย มันยังไม่ตาย ก็ให้เห็นว่ามันต้องตายแน่ ๆ อันมันตายปิดบังอยู่คนเราไม่รู้สึกไม่กำหนดพิจารณาก็ไม่เห็น และไปเห็นว่า โน้นความตายเมื่อแก่ชราหมดลมหายใจโน้นมันจึงตาย แต่แท้ที่จริงมันตายไปโดยลำดับ ๆ อยู่”

    ๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๘


    <center> จิตไม่ตั้งใจภาวนา </center> “การภาวนา ไม่ใช่ว่าเรามานอนภาวนาคอยเอาเหมือนไปเฝ้ามะม่วงให้มันหล่นอย่างนั้นไม่ได้ อันนั้นมันเป็นเรื่องวัตถุ ส่วนจิตนี้เป็นธาตุนามธรรม เราจะให้คนอื่นภาวนาแทน เราไม่ทำเราไม่ภาวนา ให้ผู้อื่นเดินจงกรม เราไม่เดินจงกรม ให้ผู้อื่นนั่งภาวนา เราไม่นั่ง ให้ผู้อื่นนอกจากตนฟังธรรม เราไม่ฟัง ฟังแล้ว เราก็ไม่ปฏิบัติไม่ได้ ก็ได้แต่กองกิเลส ก้อนกิเลสเท่านั้น จะได้ความรู้ ความฉลาด ความสามารถอาจหาญในการประพฤติปฏิบัติไม่ได้ทั้งนั้น ไม่ได้วิชา ไม่ได้ความรู้ เพราะเราไม่ตั้งอกตั้งใจภาวนา ปฏิบัติบูชาภายในจิตใจจริง ๆ จะภาวนาสักเล็กสักน้อย เราก็ติว่าเจ็บหลังบ้าง ปวดเอวบ้าง เป็นไข้ไม่สบายบ้าง อย่างโน้น อย่างนี้ นั่นแหละตัวสังขารมาร จิตสังขาร จิตมาร เวลาเราจะภาวนาทำความเพียรละกิเลส มันถึงไม่ยอมให้ทำ นอนเสียก่อนตื่นแล้วภาวนาก็ได้ เมื่อไปนอนเข้าแล้วมันตื่นไม่ได้ ตื่นแล้วมันก็ไม่ลุก ลุกแล้วก็ไม่ภาวนาอีก มันก็เลยไม่ได้เรื่องได้ราวอะไร”

    ๒๘ สิงหาคม ๒๕๑๘


    <center> จิตพระอริยะอยู่เหนือกิเลส </center> “ถ้ายังไม่ถึงการละกิเลส ก็ยังไม่จริงทั้งนั้นแหละ ยังไม่พอ มันเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่าไปเลือกกาลเลือกเวลา จะมา ภาวนาแค่เวลาฟังธรรมนี้ยังไม่พอ จิตใจจะเต็มเปี่ยมในบุญบารมีได้ จะต้องทำทุกขณะทุกเวลา จนจิตที่พลั้งเผลอมัวเมาไปตามกิเลสทั้งหลายนั้น ดับไปหมดไป ยังเหลือแต่จิตเจริญธรรมกรรมฐาน สมถภาวนา วิปัสสนา ภาวนาอยู่เนืองนิตย์ติดต่อกันไป จนถึงได้กำลังความสามารถอาจหาญเต็มที่ มรรคสมังคีก็จะประหารกิเลสมาร และสังขารมารภายในจิตใจนั้นได้อย่างเด็ดขาด กิเลสราคะ โทสะ โมหะก็จะดับไปหมดไปสิ้นไป จิตใจของพระสาวกเจ้าทั้งหลาย ก็ย่อมมีสุขความสบายไม่เดือดเนื้อร้อนใจตามอำนาจกิเลสประการใด เรียกว่าท่านอยู่เหนือกิเลส ท่านอยู่เหนือโลก ท่านไม่ลุ่มหลงมัวเมาไปตามกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ในจิตใจอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นั่นจึงเชื่อว่าพระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านทำความเพียรภาวนาละกิเลสมาก่อนพวกเราทั้งหลาย จนสามารถอาจหาญ ท่านมีความเมตตากรุณาขนาดไหน แม้ท่านจะดับขันธ์ไปสู่นิพพานนานแล้วก็ตาม”

    ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙


    <center> ถ้าตั้งใจจริงย่อมมีเวลาภาวนา </center> “จิตนี้ก็เหมือนกัน เมื่อผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในทางพุทธศาสนา มาตั้งจิตเจตนาลงไปในจิตใจให้มั่นคง ก่อนจะหลับจะนอนทุก ๆ คืนก็กราบพระไหว้พระ นั่งกรรมฐาน ภาวนา สวดมนต์เสียก่อน จึงค่อยหลับค่อยนอน ทำจิตทำใจอันนี้ให้ได้ทุกวันทุกคืนไป เท่าที่โอกาสจะอำนวยให้ คนส่วนมากถ้าเป็นทางโลกก็ว่า ข้าพเจ้ามีกิจกรรมการงานทำมาหาเลี้ยงชีพเลี้ยงครอบครัวหาเวลานั่งภาวนา นึกกรรมฐานไม่ได้ ความจริงแล้ว เวลาในวันหนึ่งก็มียี่สิบสี่ชั่วโมง ไม่ว่าคนจะทำไม่ทำ คนจะทำอะไรก็ตาม เวลามีอยู่เต็มที่ ถ้าคนไม่ตั้งใจแล้ว ก็ไม่มีเวลาอยู่ตลอดกาล ก็ดูอย่างพระภิกษุสงฆ์สามเณรในทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะในประเทศไทยเรา มีนักบวชเป็นจำนวนแสน แล้วทำไมจึงยังไม่มีเวลาอีก ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ไปทำมาค้าขาย ทำราชการที่ไหน ก็ยังไม่มีเวลาภาวนา นั่นแหละคือว่าความไม่ตั้งใจนั้นแหละทำให้ไม่มีเวลา ถ้าใครตั้งใจได้ก็มีเวลา ในสมัยครั้งพุทธกาลท่านไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่เลือกว่าเวลาเช้า สาย บ่าย ค่ำ กลางวัน กลางคืน เมื่อระลึกได้ที่ไหน ท่านก็ระลึกภาวนาในที่นั้น ๆ เจริญระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ สิ่งใดที่มันดีมีประโยชน์ก็ชื่อว่านำมาสอนตัวสอนใจได้ทั้งนั้น”

    ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓


    <center> ดูอัฐิกังกระดูก 300 ท่อน </center> “ดูให้มันเห็น ให้ใจเห็นไม่ใช่ให้คำพูดเห็น จิตดวงผู้รู้ ให้รู้ว่านี้เป็นอย่างนี้ตามความเป็นจริง แต่จิตที่ยังไม่เข้าใจ มันก็ค้านว่าไม่เห็นแจ้ง ไม่เห็นจริง แจ้งไม่แจ้งก็ตาม ก็ให้กำหนดดูทุกลมหายใจ แล้วก็ดูตั้งแต่กระดูกพื้นเท้าขึ้นมา กระดูกนิ้วเท้าขึ้นมา ตลอดจนกระดูกแข้ง ก็ให้มองเห็นภาพนั้น ๆ ทั้งสองข้างถึงกระดูกเข่า กระดูกสะบ้า กระดูกขา กระดูกสะโพก กระดูกบั้นเอว กระดูกข้าง กระดูกสันหลัง กระดูกหน้าอก กระดูกไหปลาร้า คนเราถ้าหากว่าเอากระดูกคอออกแล้ว เอาไว้แต่กระดูกเหง้าแขน แล้วก็เอาตั้งไว้เหมือนไห เหมือนหม้อที่เขาใส่ปลาร้า ปลาเน่า ปลาตายที่เขาเอามาดองมาหมักใส่เกลือ คนเราถ้าเอากระดูกคอออกไปแล้ว ตั้งไว้แต่บ่าไหล่มันก็เหมือนไหปลาร้า กระดูกแขน กระดูกเหง้าแขน กระดูกแขนท่อนล่าง กระดูกมือ กระดูกนิ้วมือเป็นข้อ ๆ การกำหนดอัฐิกังกระดูก 300 ท่อนนี้ คือว่าเพ่งในจิตให้มันเห็น มันเห็นอย่างใด เราก็ดูไปตามที่มันเห็นในจิต แล้วก็ให้มันเห็นอยู่ตลอดเวลา เวลาร่างกายนั่ง ก็เห็นกระดูกนั่ง กระดูก 300 ท่อนนั่ง อย่างนั่งภาวนาอยู่ ก็ให้เห็นโครงกระดูกมันนั่งภาวนา”

    ๑๒ เมษายน ๒๕๑๙


    <center> ปลุกเสกหัวใจของตนเอง </center> “นี่แหละเราท่านทั้งหลาย การเกิดมาเป็นมนุษย์ปุถุชนคนเราย่อมเป็นอย่างนี้ ทางใดเล่าที่จะเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร ได้แก่การนั่งสมาธิภาวนาและวันนี้ก็เป็นวันปลุกเสกเหรียญหลวงปู่สิมผู้เทศนา นั่นเอง คำว่าเหรียญนั้นมันปลุกเสกได้ไม่ยากหรอก แต่มันก็ยังไม่ยากเท่ากับปลุกเสกหัวใจของคนเรา การที่สอนภาวนาอยู่เดี๋ยวนี้ ก็เป็นการเสกหัวใจของคนเรานั้นแหละปลุกใจของคนเราให้ลุกขึ้นตื่นขึ้น ให้รู้จักว่าการบำเพ็ญทาน การรักษาศีล การภาวนา การปฏิบัติกาย วาจา จิตของเรา ให้เป็นไปตามทำนองคลองธรรม ปลุกตัวของเราให้ลุกขึ้น ให้เลียนแบบพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย เมื่อพระองค์ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์เกิดมาภพใดชาติใด ก็บำเพ็ญทานรักษาศีล ภาวนา ประพฤติดี ปฏิบัติชอบตามระเบียบธรรมเนียมของยุคของสมัยนั้น ๆ บำเพ็ญบารมีของพระองค์มาโดยลำดับ ๆ อันเราท่านทั้งหลาย การบำเพ็ญทาน การรักษาศีล การไหว้พระสวดมนต์ การนั่งสมาธิภาวนา การสดับรับฟังพระธรรมคำสั่งสอนนี้แหละเป็นการฝึกฝนอบรมจิตใจของเราให้มี กำลังความสามารถอาจหาญ”

    ๒๕ พฤสจิกายน ๒๕๒๑


    <center> นิพพานกิเลส นิพพานธาตุ </center> “ดูเวลาที่พระองค์จะเสด็จเข้าสู่พระนิพพาน ไม่มีสะทกสะท้านไม่กลัวต่อภัยอันตรายใด ๆ ทั้งนั้น ตรัส พระธรรมเทศนาสอนสาวกทั้งหลายอยู่ตลอดคืน จวนจะสว่างพระองค์จึงได้เข้าสู่พระนิพพานด้วยรูปขันธ์อันแตกดับทำลาย พระนิพพานนั้นจึงนับตามสมมุติโลกมีสองอาการ นิพพานกิเลสก็ตั้งแต่พระองค์นั่งตรัสรู้ใต้ต้นไม้โพธิ์ นิพพานกิเลสหมดตั้งแต่นั้นแล้ว ที่เราเข้าใจว่าท่านมานิพพานที่เมืองกุสินารานั้น อันนี้เรียกว่านิพพานธาตุ คือธาตุทั้งสี่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมยังมีอยู่ แต่ดวงจิตดวงใจของพระองค์นั้น ไม่ได้มายึดมั่นถือมั่นในรูปในกายนั้น จิตของพระองค์นั้นก็คือว่าอยู่ในนิพพาน พอกิเลสดับกิเลสหมด มันก็เป็นนิพพาน อยู่แล้ว เหมือนไฟดับ อย่างไฟไหม้อยู่ที่ไหนก็ตาม เวลาไฟมันลุกอยู่ไปใกล้ไม่ได้ มันจะไหม้เอาตาย แต่ว่าเมื่อไฟดับแล้ว ที่นั้นมันก็เย็น จิตใจพระพุทธเจ้า จิตใจพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลาย เมื่อท่านตัดท่านละได้แล้ว ก็เรียกว่าใจไม่ทุกข์ไม่ร้อน ใจมันเป็นนิพพาน ใจมันอยู่ในนิพพาน มันดับกิเลสราคะ โทสะ โมหะแล้ว ดับความร้อนทั้งหลายแหล่แล้ว ไม่มีเรื่องเดือดร้อนวุ่นวายอีก แต่ก็ยังยืน เดิน ไปมา พูดจาปราศรัยตรัสพระธรรมเทศนา ช่วยโลกอยู่ได้ตั้ง ๔๕ พรรษา จนมาถึงกรุงกุสินารา เหมือนกับว่าแก้วมาแตกมาหลุดมืออย่างนั้นแหละ”

    ๒๐ กันยายน ๒๕๒๑



    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">*********</td> </tr> </tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...