Magnet Generator .... พลังงาน Free ... ทางเลือกยุคน้ำมันแพง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Pew Pew, 10 กรกฎาคม 2008.

  1. TheyWat

    TheyWat ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2008
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +384
    Benidi Motor/Energizer

    อันที่จริง Bedini Motor, มันไม่ใช่เป็นเพียงแค่ Motor จริงๆหรอกครับ แต่ยังลักษณะเด่นพิเศษอย่างอื่นด้วยครับ
    คนที่ค้นคิดอุปกรณ์ตัวนี้ชื่อ John Bedini เรียกมอเตอร์ตัวนี้ว่า "Energizer" ทำหน้าที่สร้างพลังงานแฝงพิเศษ
    ที่สามารถปรับสภาพ Baterry ให้มีคุณสมบัติเหมือนกับ Baterry ที่ชาตไฟแล้วและยังสามารถใช้งานได้อีกด้วย
    (พลังงานแฝงพิเศษในที่นี้ John Bedini เรียกว่า "Radiant" energy)
    Bedini Energizer สามารถปรับสภาพ Baterry ให้มีพลังงาน(เหมือน Baterry ที่ถูกชาตไฟจนเต็ม) ได้คราวละ
    4-5 ตัว โดยใช้พลังงานมาขับเคลื่อนอุปกรณ์ตัวนี้จาก Baterry 1 ตัว ถ้าจะเปรียบเทียบคงเหมือนกับ จ่าย 1 แต่
    ได้คืนกลับมา 3-4 น่าจะคุ้มนะ ผมจึงว่ามันน่าสนใจครับ

    [​IMG]


    จากรูปและวงจรที่โพสไปแล้ว เป็นแบบตัวอย่างที่ John Bedini แนะนำ (Simplified School Gilr Energizer) ว่าสามารถ
    สร้างได้ง่ายๆ ไม่ต้องใช้ความรู้และความชำนาญมากหนักก็สร้างได้ อุปกรณ์ต่างๆหาได้ไม่ยากตามท้องตลาดทั่วไป
    เขาบอกว่า "ทดลองสร้างและสามารถใช้งานได้ก่อนเข้าใจถึงหลักการทำงานก่อน จึงค่อยเริ่มทำตัวที่ยากขึ้นไป"

    นอกจากนี้ JB ยังได้เผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่หวังผลประโยชน์ใดๆ ถึงแบบและวงจรของ Energizer อื่นๆ
    ที่มีวงจรซับซ้อนและมีประสิทธ์ภาพมากขึ้นไปอีก สามารถผลิตพลังงานใช้ในระดับบ้านพักอาศัย ผมจะยังไม่พูดถึง
    ลายระเอียดในขณะนี้

    สำหรับผมได้ทดลองสร้าง Bedini Energizer แบบพื้นฐาน (SSG == Simplified School Gilr Energizer)ขึ้นมา
    แต่ผลการทดลองล้มแหลว สรุปสั้นๆคือ พลังงานที่ได้ออกมา (Output) น้อยกว่า พลังงานที่ใส่เข้าไป (Input)
    จากเหตุนี้ทำให้ผมต้องหยุดการทดลองไปประมาณ 2 เดือนเศษ และเริ่มค้นค้าหาสาเหตุข้อผิดพลาดจากแหล่ง
    ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ในอินเตอร์เนต ทำให้เริ่มเห็นข้อผิดพลาด(มากมาย)ได้ลางๆแล้วครับ ถ้ามีโอกาสและคุณไม่เบื่อ
    ซะก่อนผมจะอธิบายให้ฟัง

    ผมยังมีความคิดว่า อุปกรณ์สร้างพลังงานสากลมาตฐาน อย่างกังหันลม หรือแผงโซล่าเซล (Solar Cell) ยังมีข้อจำกัด
    อาทิเช่น บางครั้งลมไม่มีนิ่งสงบ,ลมอ่อน, ลมแรงจัดเช่นลมพายุฤดูร้อน เป็นอย่างนี้กังหันลมใช้ไม่ได้
    หรือถ้าวันใดฟ้าคลึ้ม ฝนตกตลอดวัน ไม่มีแสงอาทิตย์ แผงโซล่าเซล (Solar Cell)ก็ใช้ไม่ได้เช่นกัน
    ถ้าใช้อุปกรณ์ Bedini Energizer ซึ่งไม่มีข้อจำกัดตรงนี้ ร่วมกับกังหันลมหรือแผงโซล่าเซล น่าจะมีประโยชน์มากขึ้น

    ทุกวันนี้ผมยังทดลองและค้นคว้าต่อไป แต่ความคืบหน้ายังเป็นไปได้ช้า เนื่องจากเวลาและทุนทรัพย์ครับ
    ผมเคย search หาใน Internet ปรากฏว่าไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับ Bedini Motor ในเมืองไทยเลย
    อาจจะมีผมคนเดียวที่ทดลองอยู่ในเมืองไทย ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วย
    ผมยังต้องการพลังงานและความรู้เกี่ยวกับพลังงาน เพื่อแบ่งปันไว้ใช้ในยามวิกฤตที่กำลังจะมา คาดว่าอีกไม่นาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • JB.JPG
      JB.JPG
      ขนาดไฟล์:
      19.6 KB
      เปิดดู:
      277
    • SSG1.JPG
      SSG1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      22.8 KB
      เปิดดู:
      6,162
    • SSG2.JPG
      SSG2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      91.3 KB
      เปิดดู:
      1,549
  2. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    จากเวปเดียวกันนี้ ยังมีจักรยานปั่นไฟ ที่เขา claim ว่าประหยัดแรงด้วย แบบนี้นี้แหละที่เราอยากจะให้เกิดก่อน แล้วจึงไปคิดต่อว่าจะพัฒนาไปได้อีกมากแค่ไหน จะสามารถพัฒนาไปจนถึง Magnet Generator หรือไม่ ?

    จักรยานปั่นไฟ
    [​IMG]
    รูปถ่ายจักรยานปั่นไฟของกลุ่มน้อง เบลล์ ทำชุดเจนเรเตอร์ขึ้นมาใหม่
    ปั่นไฟ ได้ประมาณ 12-13.5 VDC 3-4AH เบามากปั่นได้สบายเลย ไม่หนักเหมือนตอนที่ใช้ไดชาร์จรถยนต์
    จะสอบถามน้อง เบลล์ เรื่องจักรยานปั่นไฟ ติดต่อได้ที่เบอร์ 085-9305888
    http://www.windsiam.com/index.php?option=content&task=view&id=43&Itemid
    http://61.19.252.122/~windsiam/index.php?topic=25.0
    [​IMG]
     
  3. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    เอาใจช่วยครับคุณ TheyWat เนื่องจากผมไม่มีความชำนาญด้านแบบ diagram ผังต่อไฟ เลยไม่สามารถตีความ ทำความเข้าใจได้เลย ด้านนี้ ต้องยอมรับว่าโง่มั่กๆ ถ้าเป็นอย่างที่บอกมาก็น่าจะดี ขอให้สำเร็จในเร็ววัน

    ส่วนที่ผมเคยสังเกตุดูจาก Youtube เห็นว่า บาง model เขาอาศัย แรงแหวี่ยง แล้วส่งแรงช่วยนิดหน่อยให้เกิดแรงหมุนต่อไปเป็นทอดๆ เช่น มีตัวช่วยส่งแรงแม่เหล็กอยู่ 3 จุด ( 3 มุม ) มันหมุนได้เร็วจี่เลย
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ดีใจที่กระทูนี้กลับมาคึกคักอีกครั้งครับ

    มาช่วยกันระดมสมองกันได้
     
  5. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    วันนี้ลอง search พลังงานทดแทน พบลิงค์เกี่ยวกับ พลังงานทดแทนที่ได้จากน้ำ

    ลองเปิดดู เขาขายอุปกรณ์ และคู่มือในการทำเองได้เลย ใครมีความรู้ทางช่างก็ลองไปศึกษาดูเอานะครับ ถ้าใช้งานได้จริงและปลอดภัยก็น่าสนใจดี

    พอดีเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์เลยไม่รู้ว่ามันเป็นยังไง ขอเป็นเพียงผู้ที่นำข้อมูลมาให้ศึกษาต่อไปเท่านั้น นะครับ

    http://thaiwater2gas.blogspot.com/2008/07/blog-post.html

    วันอังคาร, กรกฎาคม 8, 2008

    พลังงานทดแทน ที่ได้จากน้ำ


    [​IMG]
    ขอเป็นส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน


    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/zHSvec06cRI&hl= width=425 height=344 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" fs="1"></EMBED>

    [​IMG]


    [​IMG]

    จำหน่ายอุปกรณ์ เช่น Check valve Pressure release valve ลวด 316l electrolyte KOH HHO PULSE GENERATOR

    และชุดที่สำเร็จพร้อมติดตั้ง จำหน่าย!



    คู่มือ ผลิต พลังงานทดแทน จากน้ำ


    [​IMG]
    " พลังงานสะอาดเพื่อคุณ เพื่อสิ่งแวดล้อม "


    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/wkyZY0sBG_A&hl= width=425 height=344 type=application/x-shockwave-flash allowfullscreen="true" fs="1"></EMBED>

    มีคู่มือที่ผลิตเครื่องแยก ไฮโดรเจน เพื่อใช้สำหรับ รถยนต์ ที่สมบูรณ์ ที่สุด
    คุณ สามารถ เปลี่ยน น้ำ ธรรมดาให้เป็นพลังาน ไฮโดรเจน ได้โดย ง่าย หลักการก็คือ
    1.แยกไฮโดรเจนจากน้ำโดยใช้ไฟฟ้า

    2.แยกไฮโดรเจนจากน้ำโดยใช้ ความถี่

    มีต่ออีก ลองลิงค์ไปดูกันเอาเองนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2009
  6. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ลองกลับไปอ่านที่โพสไว้ รู้สึกว่ายังไม่ได้พูดถึงเกี่ยวกับไอเดียของผมเอง ซึ่งอยากให้ผู้ที่มาอ่าน นำไปลองคิดต่อดูว่าพอจะไปใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่ ? มีแต่โพสแปะเฉยๆ ถ้าอ่านผ่านๆ อาจจะไม่รู้ที่มาที่ไป หรือวัตถุประสงค์ของการนำข้อมูลมาลงไว้ เลยขอกล่าวถึงไอเดียที่ปิ้งขึ้นมาอีกที

    สืบเนื่องจากข้อมูลของคุณคณานันท์ #152 และคุณ TheyWay #154 พูดถึง ลมอัดถัง


    ทำให้ผมก็นึกได้ว่ามีบางบทความบอกมาว่า การปั่นไฟแล้วนำไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ก่อนแล้วแปลงกับมาใช้ทีหลังนั้น จะเกิดการสูญเสีย อันเนื่องมาจากการแปลงไฟไปเก็บไว้ในแบตก่อน และแปลงไฟมาใช้งาน เขาแนะนำให้ปั่นไฟแล้ว ให้นำไปใช้โดยตรงเลยจะคุ้มค่ากว่า ซึ่งก็มีปัญหาอีกว่า ถ้าการปั่นด้วยพลังงานลม หรือน้ำ หรือแรงถีบรถจักรยาน จะไม่มีคงที่ สม่าเสมอ บางทีลมแรง บางทีลมเบา บางทีน้ำมาก บางทีน้ำน้อย บางทีปั่นจักรยานได้เร็ว บางทีหมดแรง ปั่นไม่ไหว จะทำให้พลังงานไม่ต่อเนื่อง เป็นข้อเสียอีกอันหนึ่ง ตอนนั้น คิดอยู่ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไงดี เก็บไว้ก็สูญเสียบางส่วน การใช้ตรงก็ไม่คงที่ ??


    พอมาได้อ่านข้อมูลว่า นำลมมาอัดเก็บไว้แล้ว นำไปปล่อยมันออกมาใช้เป่ากังหันลม เพื่อผลิตไฟฟ้า ก็เลยปิ๊งไอเดียว่า เป็นการกักเก็บพลังงานในรูปแบบพลังงานศักย์ และวค่อยปล่อยเป็นพลังงานจลน์เมื่อต้องการ พลังงานที่เก็บไม่มีการสูญเสียไป เป็นไอเดียที่น่าสนใจมาก แก้ปัญหาได้


    ถ้าทยอยเก็บเป็น น้ำ แทนหล่ะ แล้วปล่อยน้ำให้ไหลมาปั่นกังหันน้ำเพื่อปั่นไฟ น่าจะดีกว่ามั้ย เพราะไม่สูญเสียพลังงานไปเหมือนกัน และควบคุมได้ง่ายกว่า แถมได้ประโยชน์พ่วงอีกหลายต่อด้วย


    กล่าวคือ การเก็บน้ำไว้ใช้สำรองมากๆ ยิ่งมากก็ยิ่งดี เพราะน้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับมนุษย์ในทุกด้าน ถ้ามีสำรองมากๆก็สามารถจัดเป็นระบบประปาสำหรับชุมชนขนาดย่อมได้อีก และการปล่อยน้ำจากที่สูงสามารถเพิ่มแรงดันได้ โดยการลดขนาดท่อลง เรื่อยไ จะได้แรงดันน้ำที่สูงขึ้น ระบบประปาชุมชนก็เกิด พลังงานไฟฟ้าก็ได้ ภัยแล้งก็ไม่ต้องกลัว แถมเครื่องกำเนิดพลังงานน้ำก็ตัวไม่ใหญ่มากนัก ติดตั้งไม่ยากด้วย จึงได้เสนอเป็นไอเดียนี้ขึ้นมา


    การกักเก็บน้ำสามารถทำได้หลากหลายวิธีด้วย แม้แต่การปั่นจักรยานเพื่อส่งน้ำไปเก็บไว้บนที่สูงก็ทำได้ ปั่นเล่นๆ ออกกำลังกายไป ส่งน้ำขึ้นไปเก็บ เมื่อต้องการใช้ก็ปล่อยเข้าสู่ระบบ ได้ทั้งน้ำ ได้ทั้งไฟฟ้า ชุมชนไหนนำระบบนี้ไปใช้ น่าจะดีนะ โดยเฉพาะชุมชนสู้ภัยพิบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2009
  7. JONGKON SIRISIN

    JONGKON SIRISIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2006
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +360
    ดีจัยจัง ทู้นี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ ติดตามอ่านตลอด ได้ความรู้ดีมากเลย
     
  8. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    มีแนวคิดนี้เหมือนกันครับ โดยใช้พื้นที่ที่เป็นภูเขาไม่สูงมากและมีบ่อเก็บน้ำบนยอดเขาและด้านล่างตีนเขา


    โดยนำแนวคิดเรืองTou ราคาค่าไฟฟ้าที่คิดตามช่วงพีคไทม์ (ราคาแพงกว่ามาใช้

    โดยเวลาที่ออฟฟีคค่าไฟฟ้าถูกเราก็เอาปั๊มไฟฟ้าร่วมกันกับกังหันลมหรือโซลาร์เซลล์ สูบน้ำไปเก็บเอาไว้บนยอดเขา


    พอเวลาที่ราคาไฟฟ้าแพง(เก้าโมงเช้าถึง สามสี่ทุ่ม) ก็ปล่อยน้ำลงจากเขาเพื่อขายไฟฟ้ากลับให้การไฟฟ้า อาศัยส่วนต่างราคาที่ต่างกันและการเพิ่มพลังงานศักย์

    แต่ต้องหาทำเลเหมาะๆ เป็นอย่างมากเลยครับ

    หากจะนำมามิกซ์กับแนวคิดจักรยานสูบน้ำ

    เราก็ทำลานออกกำลังกายริมเชิงเขา เป็นคลาสสปินไบค์ซัก 10-20 คัน แบบตามฟิตเนส ออกเช้ารอบ เย็นรอบเพื่อกักน้ำเอาไว้ บนเขา พอได้เวลาพีคไทม์ก็ปล่อยน้ำมาปั่นไฟเช่นกันครับ
     
  9. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ใช่เลยครับคุณคณานันท์ ทำเลที่เหมาะที่สุดคือบริเวณซึ่งเป็นภูเขา หรือเชิงเขา เพราะผมคิดถึงทำเลที่คนจะตั้งเป็นศูนย์หลบภัย หรือศูนย์ประสานงานสู้ภัยพิบัติ ต้องสูงๆ หนีน้ำไว้ก่อน แต่ปัญหาที่ผมเล็งเห็น คือ มักจะมีที่กักเก็บน้ำน้อย ถึงหนีน้ำขึ้นไปอยู่อาศัยได้ ก็จะไม่มีน้ำใช้พอเพียง ควรมองระบบ ประปา-ไฟฟ้า ไว้ให้ช่วยตัวเองได้แบบค่อนข้างครบวงจร ไม่ต้องหวังพึ่งพา การไฟฟ้า ณ ขณะเกิดภัยภิบัติร้ายแรง

    แต่หากอยู่ในทำเลที่ไม่มีภูเขาสูง ซึ่งมีแอ่งน้ำด้านบน ก็สามารถสร้างขึ้นเองได้ครับ เพราะเครื่องปั่นไฟกังหันน้ำแบบจิ๋ว บอก spec. ไว้ว่าต้องการความสูงเพียง 10 เมตร ก็คือความสูงของตึกแถวสามชั้นธรรมดา การก่อสร้างไม่ยากและไม่แพงมากด้วย ส่วนตัวถังเก็บน้ำนั้น ผมเห็นที่วัดถ้ำเมืองนะ เขาสร้างโดยใช้ท่อปูนแบบคล้ายๆ บ่อส้วมซึมหรือท่อปูนแบบสำเร็จรูป แต่ใหญ่กว่าเล็กน้อย วางซ้อนๆกันสูงขึ้นไปมากกว่า 20 เมตร วางชิดๆกันสามตอน ช่วยค้ำยันกันเอง ดูแล้วน่าจะใช้ทุนไม่สูงมากนัก ให้มีถังเก็บน้ำอยู่บนหลังคาอาคารส่วนหนึ่ง สำรองสำหรับปล่อยลงมาปั่นไฟ และถังน้ำบนพื้นดินสำหรับใช้ประโยชน์ทั่วไป

    ผมว่า ทีมงานเรามีคุณ mead ซึ่งรู้วิธีการคำนวณออกแบบ คำนวณได้สบายอยู่แล้วว่า ทำอย่างไรให้แข็งแรงมั่นคง ตัวอาคารก็สร้างแข็งแรงเป็นพิเศษสำหรับเป็นโรงเก็บเครื่องมือ เครื่องปั่นไฟ หรือที่พักอาศัยก็ได้ เพราะต้องการให้คงทนต่อภัยพิบัติร้ายแรงอยู่แล้ว ก็อาศัยเป็นฐานอ่างเก้บน้ำไปในตัว

    ถ้าทำได้เป็นรูปธรรมแล้ว ศูนย์กู้ภัยพิบัติแต่ละจังหวัด น่าจะเข้มแข็งขึ้นอีกโขนะครับ ฝากไอเดียไปเสนอกับทีมงานตัวจริง เขาอาจจะมีไอเดียใหมๆ แตกต่างออกไป และดีกว่าพวกเราที่นั่งเทียนเขียนไปเรื่อยเปื่อยก็ได้
     
  10. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ไปหาตัวอย่างภาพของอาคารที่สร้างเป็นที่เก็บน้ำไว้ มาให้ดูเป็นไอเดียครับ เอาไปคิดต่อเองก็แล้วกัน อาจจะ work หรือ อาจจะไม่ work ก็อย่าว่ากัน คิดเล่นๆ ดีกว่าไม่คิด น้อ..
    บ้านหอน้ำ

    Baanlaesuan
    <TABLE width=200><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    แท็งก์เก็บน้ำคือที่เก็บสำรองน้ำไว้ใช้ ทั้งที่กักเก็บจากการปั๊มน้ำขึ้นไปและฝนที่ตกลงมา แท็งก์น้ำที่สร้างไว้สูงขนาดเท่าตึก 2-3 ชั้นนั้นก็เพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกช่วยเป็นแรงดันจ่ายน้ำเข้าสู่บ้านได้นั่นเอง ทีนี้พื้นที่ใต้แท็งก์น้ำจะใช้ทำอะไรได้บ้าง เราขอลองสร้างโจทย์และตอบโจทย์เองเลย





    <TABLE id=tableImg><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=tableImg><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  11. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    เขาได้คำนวณค่าใช้จ่ายไว้บ้างแล้ว ตามนี้ครับ

    ผมสมมติว่าเราสร้างแท็งก์น้ำ ค.ส.ล. ขนาด 4x4 เมตร สูงเท่าตึกห้าชั้น ความสูงของแต่ละชั้น(ตามแนวคานรัดโครงสร้าง) ประมาณ 2.40 เมตร ชั้นบนสุดเป็นแท็งก์น้ำฝน ค.ส.ล. ขนาดความจุประมาณ 60 ลูกบาศก์เมตร ผมออกแบบให้บ้านพักอาศัยอยู่ภายใต้พื้นที่แท็งก์นี้ โดยวางพื้นที่ใช้สอยในแนวตั้งเป็นหลัก ชั้นล่างเป็นที่จอดรถและห้องน้ำแขก ชั้นสองเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ (ส่วนนั่งเล่น ส่วนรับประทานอาหาร และครัว) ชั้นสามเป็นห้องน้ำของเจ้าของ และเฉลียงจัดสวนลอยฟ้า ซึ่งจัดเป็นมุมนั่งจิบกาแฟสามารถชมวิวได้ ชั้นสี่คือห้องนอนสำหรับสองคน ส่วนชั้นบนสุดหรือฝาแท็งก์น้ำปรับเป็นดาดฟ้า มีหลังคากันแดดใช้รับลมชมวิวหรือจัดปาร์ตี้ได้
    บ้านหลังนี้น่าจะเหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบความแปลกใหม่ โดยเฉพาะลูกชายวัยหนุ่ม คู่แต่งงานที่เพิ่งเริ่มต้นชีวิตครอบครัว หรือทำเป็นบ้านหลังเล็กสร้างไว้สำหรับดูแลการปลูกสร้างบ้านหลังใหญ่ซึ่งยังสร้างไม่เสร็จ (บ้านต่างจังหวัดส่วนใหญ่จะสร้างแท็งก์น้ำก่อน)

    การออกแบบนั้นใช้หลักการใส่พื้นบ้านกล่องเข้าไปในโครงสร้างที่มีอยู่เดิม และเสริมโครงสร้างใหม่ด้วยวัสดุเบา เช่น พื้นตงเหล็กวางวัสดุแผ่นเรียบ ผนังเบาภายนอกกรุไม้ ราวกันตกโลหะโปร่ง แม่บันไดเหล็ก ลูกนอนเหล็กแผ่นสำเร็จ เพื่อไม่ให้โครงสร้างเดิมต้องรับน้ำหนักมากจนเกินไป นอกจากนี้ส่วนพักอาศัยที่เพิ่มเติมเข้าไปก็ใช้การกรุไม้ เพื่อให้ดูแตกต่างจากโครงสร้างปูนคอนกรีตของเดิม
    พื้นที่ใช้สอยรวมของบ้านหลังนี้ประมาณ 80 ตารางเมตร
    ปลูกในที่ดินประมาณ 15 ตารางวา
    ราคาค่าก่อสร้างประมาณ 3-4 แสนบาท (ไม่รวมโครงสร้าง เพราะเป็นแท็งก์น้ำเดิม)
     
  12. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    รูปแบบถังเก็บน้ำที่วัดถ้ำเมืองนะ ผมหาไม่เจอ มีแต่รูปที่คล้ายๆกัน หน้าตาคล้ายๆแบบข้างล่างนี้ แต่สูงใหญ่กว่ามาก เอามาให้ดูประกอบครับ แถมภาพหอน้ำแบบอื่นๆไว้ดูเล่นๆ เอาไอเดีย

    [​IMG]



    ประเภท ถังเก็บน้ำ
    ลำดับที่ 1

    แบบ ทรงกระบอกแฝด
    ปีที่สร้าง พ.ศ. 2538
    งบประมาณ 60,000 บาท







    [​IMG]



    ประเภท ถังเก็บน้ำ
    ลำดับที่ 3

    แบบ หอน้ำประปา
    ปีที่สร้าง พ.ศ. 2538
     
  13. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ข้อมูลราคาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติ ลม น้ำ และแสงอาทิตย์ พอเป็นสังเขป ใครสนใจลองลิงค์ไปดูเพิ่มเติมได้ เพราะเขามีข้อมูลอื่นๆ แนะนำเพิ่มเติม น่าสนใจดีครับ ( ดูแล้วลูกทุ่งๆนิดๆ แต่ก็มีประโยชน์มากมายนะครับ )

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 border=0><TBODY><TR><TD width=160>[​IMG]</TD><TD>ชุดพลังงานแสงอาทิตย์ 20 Watt ราคา 7,450 บาท


    รายละเอียด: ชุดโครงการไฟฟ้าชนบทแบบประหยัด สามารถใช้ได้ตลอดคืนตามความต้องการ โดยใช้หลอดประหยัดไฟแบบตะเกียบ 12V. 7W. 3 หลอด หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตามความเหมาะสม ท่านสามารถต่อใช้งานได้ง่ายๆ มีคู่มือการต่อให้เรียบร้อยภายในกล่อง

    ราคา 7,450 บาท ประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้
    - แผงโซล่าเซล*พลังแสงอาทิตย์ 20 W.
    - คอลโทลเล่อร์ 150 w.
    - อินเวอร์เตอร์ 75 วัตต์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=610 border=0><TBODY><TR><TD width=200>[​IMG]</TD><TD width=10></TD><TD>กังหันลมผลิตไฟฟ้า Model 300L
    (ขนาด 300 วัตต์) ราคา 26,500 บาท
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ชุดกังหันไฟฟ้าอัตราการผลิตไฟฟ้าขนาด 300 W/ชั่วโมง แรงดัน 12 (V) หรือ 24 (V) ระยะกวาดของใบกังหัน
    1.5 (M) เริ่มหมุนที่ความเร็วลม 2.5 (m/s) ความเร็วลมการใช้งานปรกติ 12 m/s ความเร็วลมไม่เกิน 35 (m/s)​


    กังหันน้ำปั่นไฟ (Hydro turbine generator) มีให้เลือก 2 ประเภท ดังนี้

    1 กังหันน้ำปั่นไฟขนาดจิ๋วแบบคอสั้น
    กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า เป็นแบบชนิด เพียวตัน ขนาดของเครื่องกำเหนิดไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 วัตต์ขึ้นไป กำลังไฟฟ้าขาออก 220 โวลล์ Singel phase
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    วิธีใช้ ต่อท่อส่งน้ำจากน้ำที่อยู่ด้านบนใช้ความสูงของระดับน้ำประมาณ 20 เมตรขึ้นไป ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ 3 นิ้ว จากนั้นต่อท่อส่งน้ำเข้ากับกังหันน้ำ เมื่อน้ำไหลผ่านวาว์ลน้ำผ่านหัวฉีดไปฉีดใบพัดที่อยู่ภายใน (จำนวน 14-16 ใบ) ให้หมุนจะทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาในรูปแบบของไฟฟ้ากระแสสลับ สามารถใช้ต่อได้ตรงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้เลย ราคาประหยัดสุดๆ คุ้มค่าคุ้มราคามีจำหน่ายที่เดียวในประเทศไทย


    ราคาไม่รวมค่าขนส่ง
    • ขนาด 1,000 W ราคา 9,000 บาท
    • ขนาด 1,500 W ราคา 10,000 บาท
    • ขนาด 2,000 W ราคา 12,000 บาท
    • ขนาด 3,000 W ราคา 15,000 บาท
    2 กังหันน้ำปั่นไฟขนาดจิ๋วแบบคอยาว


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 border=0><TBODY><TR><TD width=390>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    วิธีใช้
    สร้างทางน้ำไหลดังภาพ โดยให้มีทางน้ำออก กว้าง ประมาณ 30 ซม. โดยให้ปลายทางน้ำออกอยู่ต่ำกว่า แนวทางน้ำไหลอย่างน้อย 1.5 เมตร วางกังหันน้ำบน ช่องทางไหลของทางน้ำออก ดังภาพ เท่านี้ก็มีไฟฟ้า ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปได้เลย

    ราคาไม่รวมค่าขนส่ง
    • ขนาด 1,000 W ราคา 9,000 บาท
    • ขนาด 1,500 W ราคา 10,000 บาท
    • ขนาด 2,000 W ราคา 12,000 บาท
    • ขนาด 3,000 W ราคา 15,000 บาท
    ภาพตัวอย่างการติดตั้งกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าแบบคอสั้น
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=610 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    อุปกรณ์กังหันสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้มากมาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 08-9568-1240

    ลิงค์ http://www.greenpower.9nha.com/index.html
     
  14. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ตัวอย่างวิธีการคำนวณพลังงานแบบเบื้องต้น เอาไว้เป็นแนวทางว่า เราต้องการกำลังไฟเท่าไหร่ และจะต้องเตรียมแหล่งกำเนิด และ แหล่งเก็บไฟ มากน้อยเพียงใด ข้อมูลมาจากเวปเดียวกันครับ

    วิธีคำนวณเบื้องต้นในการติดตั้งโซล่าเซล

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=570 border=0><TBODY><TR><TD width=310>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เบื้องต้น ต้องทำความเข้าใจกับขนาดของแผงโซล่าเซลก่อน ว่าหมายอย่างไร เช่น

    แผงขนาด 10 วัตต์

    หมายความว่า ถ้านำแผงไปรับแสงแดดปกติ เป็นเวลา 1 ชั่วโมงจะได้ไฟฟ้า 10 วัตต์ ใน 1 วัน ได้รับแสงแดดเต็มที่ เฉลี่ยประมาณ 5 ชั่วโมง ก็จะได้พลังงานไฟฟ้ารวม 50 วัตต์ (ของจริงจำนวนชั่วโมงรับแสงจะมากกว่านี้)
    แผงขนาด 120 วัตต์
    หมายความว่า ถ้านำแผงไปรับแสงแดดปกติ เป็นเวลา 1 ชั่วโมงจะได้ไฟฟ้า 120 วัตต์ ใน 1 วัน ได้รับแสงแดดเต็มที่ เฉลี่ยประมาณ 5 ชั่วโมง ก็จะได้พลังงานไฟฟ้ารวม 600 วัตต์ (ของจริงจำนวนชั่วโมงรับแสงจะมากกว่านี้)
    ต่อไปมาคำนวณว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราใช้ ใช้พลังงานเท่าไร เช่น

    หลอดตะเกียบประหยัดไฟ ขนาด 10 วัตต์
    หมายความว่า ถ้าเปิดไฟดวงนี้ 1 ชั่วโมง ก็จะใช้ไฟฟ้าจำนวน 10 วัตต์
    ถ้าเปิดเป็นเวลา 5 ชั่วโมง ก็จะกินไฟรวม 50 วัตต์
    ทีวีขนาด 80 วัตต์ หมายความว่า ถ้าเปิดทีวีเครื่องนี้ 1 ชั่วโมง ก็จะใช้ไฟฟ้าจำนวน 80 วัตต์
    ถ้าเปิดเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ก็จะกินไฟรวม 160 วัตต์
    หลอดไฟฟ้าทั่วไปขนาด 36 วัตต์ หมายความว่า ถ้าเปิดไฟดวงนี้ 1 ชั่วโมง ก็จะใช้ไฟฟ้าจำนวน 36 วัตต์
    ถ้าเปิดเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ก็จะกินไฟรวม 108 วัตต์
    เมื่อเราทราบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าของเราต้องใช้ไฟฟ้ารวมเท่าไร เราก็สามารถคำนวณได้ง่ายๆ ว่า ควรใช้แผงขนาดไหน โดยแผงโซล่าเซลที่ใช้ต้องมีกำลังไฟฟ้าที่ได้รวมทั้งวัน มากกว่าไฟฟ้ารวมที่เราต้องใช้ทั้งหมด (การใช้งานจริงพลังงานไฟฟ้าบางส่วนจะมีการสูญเสียไปเล็กน้อย)
    ข้อสังเกต เนื่องจากพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซล มีจำนวนวัตต์ไม่มากนัก จึงไม่เหมาะที่จะใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องใช้พลังงานจำนวณมาก เช่น หม้อหุงข้าว เตารีด กาต้มน้ำ ตู้เย็น แอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้งานกับอุปกรณ์ดังกล่าวจริงก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องติดตั้งจำนวนแผงโซล่าเซล ให้เพียงพอ ซึ่งรวมแล้วค่าใช้จ่ายจะสูงมาก ถ้าอยู่ในพื้นที่มีกระแสลมแรงการติดตั้งกังหันลม จะลงทุนน้อยกว่า และถ้ามีกระแสน้ำที่สามารถนำมาปั่นกังหันน้ำได้ ก็จะประหยัดกว่ามาก สอบถามเพิ่มเติมที่ 08-9568-1240
    กังหันลมก็คำนวณเช่นเดียวกัน เช่น กังหันขนาด 200 วัตต์ ก็หมายความว่า กังหันหมุน 1 ชั่วโมง ก็ให้ไฟฟ้า 200 วัตต์
     
  15. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    <TABLE class=news2006_topic cellSpacing=0 cellPadding=0 width=595 border=0><TBODY><TR><TD width=585 height=10><TABLE class=news2006_topic style="WIDTH: 677px; HEIGHT: 32px" width=677 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left>ทดสอบเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจิ๋ว ฝีมือคนไทยประสิทธิภาพเทียมฝรั่ง</TD><TD align=right width=100></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=news2006_graylight height=10>โดย มติชน<SCRIPT language=JavaScript src="/global_js/global_function.js"></SCRIPT> <!--START-->วัน พุธ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 08:10 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=595 border=0><TBODY><TR><TD height=10></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=news2006_black cellSpacing=0 cellPadding=0 width=595 border=0><TBODY><TR><TD width=10 rowSpan=4></TD><TD width=575>[​IMG]โดย น.รินี เรืองหนู n_ruangnoo@hotmail.com
    เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก
    การผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินเพื่อนำเข้าน้ำมันจำนวนมหาศาล แม้ว่าปัจจุบันจะมีเชื้อเพลิงประเภทก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินลิกไนต์ มาเป็นเชื้อเพลิงร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้า และอีกด้านหนึ่งนั้น หลายหน่วยงานได้มีความพยายามคิดค้น แสวงหาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ฯลฯ มาใช้ แต่พลังงานเหล่านี้ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่สูงมาก
    อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ศึกษาศักยภาพของพลังงานจากน้ำ พบว่า ทั่วประเทศนั้นยังสามารถนำพลังจากน้ำมาใช้ประโยชน์ได้อีกประมาณ 1,500 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นพลังงานไฟฟ้าประมาณ 4,150 ล้านหน่วยต่อปี เป็นมูลค่า 7,175 ล้านบาทต่อปี ด้วยเหตุนี้ พลังงานจากน้ำจึงเป็นทางเลือกที่สำคัญของประเทศ เพราะเป็นทั้งพลังงานหมุนเวียนที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นทั่วประเทศ
    แสดงให้เห็นน้ำที่ไหลผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
    ปัจจุบันการพัฒนาแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ หรือการสร้างเขื่อนในประเทศไทยนั้นมีข้อจำกัด อาทิ ด้านงบประมาณการลงทุน การต่อต้านจากกลุ่มนักอนุรักษ์ ฯลฯ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาทางเลือกใหม่ การพัฒนาแหล่งพลังงานน้ำขนาดเล็กเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมต่อการนำเอาพลังงานน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ศักยภาพพลังงานน้ำของประเทศนั้น ส่วนใหญ่ยังเป็นโครงการที่ต้องนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่าสูง ล่าสุด กฟผ. จึงได้ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ทำการศึกษาและวิจัยเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก (Small Hydro Turbine) ที่มีประสิทธิภาพสูงเครื่องแรกของประเทศ โดยได้ผลิตและทดลองติดตั้งเครื่องบริเวณแหล่งน้ำที่มีความสูงหัวน้ำต่ำ
    ล่าสุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา คณะสื่อมวลชนได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมการทดสอบเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก ที่เขื่อนแม่ปิงตอนล่าง จ.ตาก
    นายประโมทย์ ฉมามหัทนา ผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กฟผ. เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีข้อจำกัดในการพัฒนาแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ หรือพูดง่ายๆ ว่า จะสร้างเขื่อนอีกแห่งนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ทำให้ กฟผ.ต้องศึกษาทางเลือกใหม่เพื่อพัฒนาศักยภาพของน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนให้มีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก ที่ติดตั้งในเขื่อนแม่ปิงตอนล่าง เป็นเครื่องต้นแบบเครื่องแรกให้กำลังผลิต 23 กิโลวัตต์ มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ เครื่องกังหันพลังน้ำ จะหมุนเมื่อน้ำไหล และ เจนเนอร์เรเตอร์ ซึ่งเป็นตัวเปลี่ยนแรงหมุนของกังหันมาเป็นพลังงานไฟฟ้า เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถใช้กับแหล่งน้ำที่มีระดับความสูงของหัวน้ำต่ำ เฉลี่ยประมาณ 2.4 เมตร ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในระบบชลประทาน
    จากการศึกษาของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) พบว่า ศักยภาพแหล่งน้ำที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มีจำนวน 294 แห่ง ซึ่งหากมีการดำเนินการจริงจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมถึง 116 เมกะวัตต์ และตัวเครื่องผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กนี้สามารถปรับใช้เพื่อความเหมาะสมกับสภาพแหล่งน้ำนั้นๆ ได้ ทำให้สามารถใช้งานได้จริง จากการทดสอบใช้เครื่องที่เขื่อนแม่ปิงตอนล่าง ยืนยันได้ว่ามีประสิทธิภาพการทำงานสูงทัดเทียมกับเครื่องจากต่างประเทศ แต่ที่พิเศษไปกว่านั้น เนื่องจากเครื่องดังกล่าวผลิตโดยฝีมือคนไทย ทำให้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการนำเข้าเครื่องจากต่างประเทศถึง 2 เท่า จะดีหรือไม่? ถ้ามีโครงการไฟฟ้าพลังน้ำกระจายอยู่ในหมู่บ้านทั่วประเทศ

    ข่าวเกี่ยวข้องกันครับ !!!

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2009
  16. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ต่อยอดครับ - นึกขึ้นมาได้อีกหน่อยว่า

    หอเก็บน้ำ - ถ้าสร้างสูงพอประมาณแล้ว อาจจะจะใช้ติดตั้งกังหันลมไว้บนยอดอาคารได้อีก อาจจะติดตั้งหลายๆชุด ยิ่งดี บางชุดไว้ปั่นไฟ บางชุดไว้วิดน้ำ ถือเป็นกำไรอีก 1 เด้งเลยนะครับ

    ชั้นล่าง เป็นโรงยิม ปั่นจักรยาน

    ชั้นกลางเป็นห้องควบคุม ห้องเก็บไฟ

    ชั้นบนเป็นถังเก็บน้ำ

    ยอดหลังคา เป็น กังหันลมปั่นไฟ

    ถ้าคิดรูปแบบไม่ดี คงน่าเกลียดพิลึก - แต่น่าจะได้ประโยขน์มากมาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2009
  17. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    คิดต่อไปเรื่อยๆ เลยคิดไปถึงกังหันแบบฮอลล์แลนด์


    มีกังหันลมอยู่บนยอดอาคาร แต่ไม่แน่ใจว่ากังหันแบบนี้ ใช้ปั่นไฟได้รึเปล่า ??

    [​IMG]

    รึว่าใครจะลองออกแบบ ให้หน้าตาเป็นแบบไทยๆ คงจะดูแปลกดี
     
  18. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    อันนี้เป็นอีกแบบของอาคารที่มีกังหันลม แบบนี้มีอยู่ทางเหนือของไทย

    [​IMG]
     
  19. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    พลังงานทดแทน อีกรูปแบบหนึ่ง

    หมู่บ้านพลังงาน โดย สนพ.

    [​IMG]
    นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน (คนที่ 2 จากขวา) นำคณะสื่อมวลชนพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สนพ. เยี่ยมชม “ศูนย์สาธิตหมู่บ้านพลังงาน” ณ หมู่บ้านไร่ป่าคา ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ปัจจุบัน หมู่บ้านไร่ป่าคา ได้นำพลังงานทดแทนมาใช้หลายประเภท ได้แก่ 1.บ่อหมักก๊าซชีวภาพ ขนาด100 ลบ.ม. ผลิตก๊าซชีวภาพได้ 40 ลบ.ม./วัน เทียบเท่า LPG 18 กก. ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 2.แก๊สซิไฟเออร์ เชื้อเพลิงถ่านไม้เพื่อการสูบน้ำสำหรับการเกษตรกรรม 3.ติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์เพื่อใช้กับปั๊มน้ำ เครื่องผลิตน้ำ RO ฯลฯ ทั้งนี้ หมู่บ้านไร่ป่าคา เป็นหมู่บ้านพลังงานต้นแบบที่จะนำความรู้ด้านการจัดการพลังงานไปถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไป


    สนพ. เบอร์โทรศัพท์ : 02-612-1555
     
  20. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    Model หมู่บ้านแห่งอนาคต - อาศัยพลังงานสะอาด


    หมู่บ้านแห่งอนาคต


    การปฏิวัติพลังงานกำลังเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชนบท เกษตรกรจำนวนมากผลิตแก๊สและเชื้อเพลิงชีวภาพนอกเหนือไปจากอาหารในอัตราเร่ง ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ชนบทเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของพลังงานที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม และก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งกำลังรอกการนำไปใช้ ระบบแผงเซลล์สุริยะและโรงไฟฟ้าขนาดเล็กแบบกระจายศูนย์เอื้อให้เกิดโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับพื้นที่ชนบทในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งยังไม่มีโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าเข้าถึง


    [​IMG]
    [01] แก๊สชีวภาพที่ให้พลังงานและความร้อนแก่ฟาร์มหรือทั้งหมู่บ้านนั้น มาจากการหมักมูลสัตว์หรือเศษพืชในปริมาณมากมายจากของเหลือใช้ทางการเกษตร หรือพืชที่เก็บเกี่ยวสำหรับการนี้โดยเฉพาะ

    [02] เชื้อเพลิงชีวภาพ จากเมล็ดองุ่น ข้าวโพด และ อ้อย หรือ แม้กระทั่งฟางข้าวและเศษไม้ ใช้เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนยานยนต์เช่นเดียวกับน้ำมันที่กลั่นมาจากแร่น้ำมัน การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในทางทฤษฎีนั้น เท่ากับปริมาณที่ถูกดูดซับโดยพืชในช่วงเจริญเติบโต สิ่งสำคัญ คือ ต้องแน่ใจว่าการผลิตพลังงานจากภาคเกษตรกรรมจะมีความสอดคล้องในทางนิเวศวิทยาและไม่นำไปสู่การขาดแคลนอาหาร นอกจากนี้ความร้อนจากชีวมวลมีประสิทธิภาพอย่างมากในการผลิตไฟฟ้า
    [​IMG]

    [03] พลังงานแสงอาทิตย์มาจากหลังคาของโรงนา ซึ่งมีพื้นที่ว่างสำหรับติดตั้งแผงเซลล์สุริยะ

    [04] กังหันลมจะหยุดหมุนได้ดีที่สุดในที่โล่งกว้าง เช่น ในชนบท เกษตรกรมีการให้เช่นพื้นที่สำหรับตั้งฟาร์มกังหันลม หรือลงทุนด้วยตนเองพร้อมกับขายไฟฟ้า อุตสาหกรรมพลังงานลมกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศเยอรมนี สเปน สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และ อินเดีย ศักยภาพการผลิตโดยประมาณภายในพ.ศ. 2593 เท่ากับ 7 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ดำเนินงานอยู่ขณะนี้ถึง 3 เท่า

    [05] โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นแหล่งใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งของพลังงานหมุนเวียน แต่ศักยภาพมีจำกัด การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่คุกคามสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ทางเลือกหนึ่งคือพลังน้ำขนาดเล็ก

    ที่มา : ​

     

แชร์หน้านี้

Loading...