ความไวของสติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 26 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [​IMG]


    [FONT=verdana,arial,helvetica,sans-serif]สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันระหว่างวิปัสสนากรรมฐานกับสมถกรรมฐาน[/FONT]
    ก็คือ เมื่อฝึกถึงจุดที่มีสติไวขึ้น
    วิปัสสนากรรมฐานจะสามารถปฏิบัติในระหว่างวันได้โดยไม่จำเป็น
    ต้องนั่งสมาธิเป็นเวลานานเหมือนสมถะชั่วเวลาเพียงแค่สองสามวินาที
    ก็สามารถปฏิบัติวิปัสสนาได้

    แม้ระหว่าง ขับรถ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือเข้าห้องน้ำ
    เพราะวิปัสสนาจะใช้เพียงขนิกสมาธิ(สมาธิชั่วขณะ)
    พระพุทธองค์ตรัสว่า เพียงแค่ชั่วเวลาช้างกระดิกหู
    ถ้าสามารถใช้สติเข้าไปจับแบบวิปัสสนา
    ก็จะได้บุญมหาศาลถึงขนาดตัดภพตัดชาติ


    [​IMG]


    [FONT=verdana,arial,helvetica,sans-serif]แน่นอนสำหรับผู้เริ่มต้น ต้องฝึกวิปัสสนากรรมฐานแบบนั่งสมาธิ[/FONT]
    และเดินจงกรมสลับกันไป เพราะสติยังไม่แข็งแรงพอ
    ในช่วงเวลาเริ่มแรก ผู้ที่ฝึกวิปัสสนากรรมฐานจะรู้สึกทรมานกว่า
    ผู้ที่ฝึกสมถกรรมฐาน แต่เมื่อฝึกถึงระดับที่บรรลุญาณ
    และสามารถใช้สติเข้าไปจับปรากฎการณ์ต่างๆของธรรมชาติรอบๆตัว
    รวมไปถึงธรรมชาติภายในตัว จนเข้าใจธรรมชาติอย่างที่เป็นจริง
    มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

    ยิ่งสติไวยิ่งเห็นละเอียด และเห็นอย่างที่คนอื่นไม่เห็น
    เช่น แสงเทียนที่ลุกโชติช่วงดูราบเรียบเย็นตา
    ถ้ามองด้วยจิตวิปัสสนาจะเห็นแสงนั้นเกิด ดับ เกิด ดับ
    เป็นจำนวนนับหมื่นครั้งต่อนาที


    [​IMG]


    พระพุทธองค์ไม่ทรงเน้นให้ใช้จิตที่ฝึกแล้วแบบวิปัสสนาไปจับการเกิด ดับ
    ทางกายภาพ แม้ว่าจะสามารถนำไปสู่การค้นพบอันยิ่งใหญ๋
    แบบที่ นิวตัน หรือไอสไตน์ค้นพบก็ตาม

    เพราะถึงมนุษย์จะเกิดปัญญาในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆรอบตัว
    แต่ไม่เคยวิเคราะห์สภาพจิตภายในของตนเอง
    การค้นพบทางกายภาพเหล่านั้นก็ไม่มีทางที่จะลดกิเลส
    ตัณหา ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ของมนุษย์ได้
    ดังนั้นจึงไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ที่แท้จริง


    [​IMG]


    ผลพลอยได้ในทางโลกจากการฝึกวิปัสสนากรรมฐานมีมากมายเช่น
    นักกีฬาที่ฝึกวิปัสสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
    จะมีการเคลื่อนไหวทางกายที่ละเอียดและไวกว่าคู่ต่อสู้

    นักธุรกิจที่ฝึกสติอย่างสม่ำเสมอ
    จะเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคก่อนคู่แข่ง ฯลฯ


    [​IMG]


    [FONT=verdana,arial,helvetica,sans-serif]แม้จะมีสติที่ไวกว่าปกติ สามารถนำไปใช้ในทางโลกจนประสบผลสำเร็จ[/FONT]
    ในอาชีพ ทางธุรกิจ ทางการแข่งขัน ฯลฯ
    แต่สำหรับผู้ที่ฝึกวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นนิจจะเกิดความเบื่อหน่าย
    เพราะรู้เท่าทันความสำเร็จ รู้เท่าทันอารมณ์ต่างๆที่ผุดขึ้นในแต่ละวัน
    เกิด ดับ เกิด ดับ เกิด ดับ วันหนึ่งๆเป็นหมื่นเป็นแสนครั้ง

    จนรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่จีรังยั่งยืนเลย
    ไม่ใช่ความสุขที่จริงแท้ ในที่สุดจะเกิดปัญญา
    ต้องการที่จะหลุดพ้นจากวังวนเหล่านี้


    [​IMG]


    [FONT=verdana,arial,helvetica,sans-serif]ตามปกติของผู้ที่ไม่เคยฝึกสติ จะเห็นปรากฎการณ์การ เกิด ดับ[/FONT]
    ของรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ต่างๆช้ากว่าผู้ที่ฝึกสติ
    อย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสามเท่าตัว เช่น ในวัยเด็ก
    เราเคยเล่นเป่าฟองสบู่ ฟองสบู่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ประมาณ 3 วินาที
    ก็แตกออกและดับไป แต่สำหรับผู้ที่ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน
    จะเห็นการเกิด ดับ เหลือเพียง 1 วินาที

    ช่วงเวลา 3 วินาที ที่ฟองสบู่ลอยละล่องทำให้เกิดความสนุก ความยินดี
    แต่จิตของวิปัสสนาที่เห็นมันดับอย่างรวดเร็วจะไม่หลงเหลือความสนุกอยู่
    และยิ่งสติไวขึ้น จนในที่สุดจะเห็นว่าการเกิดการดับเกิดขึ้นเร็วมาก
    จนรู้ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นของปลอม
    ความสุขความสนุกที่เกิดขึ้นก็เป็นของปลอม


    [​IMG]


    [FONT=verdana,arial,helvetica,sans-serif]ฟองสบู่เป็นเพียงการเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพ[/FONT]
    แต่ความจริงแล้วสิ่งต่างๆที่ผุดขึ้นในแต่ละวันทั้งจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
    และจากใจเราเอง คือ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ราคะ โทสะ โลภะ โมหะ
    เมื่อเกิดภาวนามยปัญญา หยั่งรู้เห็นการเกิด ดับ
    รู้เท่าทันมัน

    พอมันเกิดขึ้นก็พอใจ พอแตกดับก็เสียใจ
    เหมือนถูกธรรมชาติลูบหัวแล้วตบหลัง
    แต่จิตแบบวิปัสสนาจะทำให้ความสุขจากการถูกลูบหลังลดลงเรื่อยๆ
    และเห็นความทุกข์จากการถูกตบหัวชัดขึ้นเรื่อยๆ
    สุขปลอมๆแต่ทุกข์จริง วนไปแบบนี้ตลอดกาล
    ก็จะยิ่งรู้สึกว่าต้องหลีกหนีสิ่งมายาเหล่านี้ไปให้ไกล
    เมื่อนั้นเราจะเกิดแรงขับ พยายามปฏิบัติธรรม
    กำหนดสติให้ถึงจุดที่หลุดพ้นให้ได้
    เพื่อเข้าสู่ความจริงอันสูงสุด ความสุขที่จริงแท้และเป็นนิรันดร์


    [​IMG]




    ธรรมดลใจ เรียบเรียงจากบทความของ ท.พ. สม สุจีรา


    [FONT=verdana,arial,helvetica,sans-serif]ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
    [/FONT]
     
  2. sirisanon

    sirisanon สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2009
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +1
    จริงหรือเปล่าครับ เคยฟังมาว่า เราไม่ต้องไปควบคุมจิต แต่ให้สังเกตและตามอารมณ์ให้ทัน

    รบกวนท่านผู้รุ็ช่วยชี้แนะที
     
  3. ฟ้าใส072

    ฟ้าใส072 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +30
    โมทนา สาธุ
    ผมขอนำไปแปะในกระทู้ ฟ้าใส072 ที่เว็บGoldhips.com นะคับ
    ขอบคุณคับ อนุโมทนา คับ
    [​IMG]
     
  4. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    มันควบคุมได้หรือเปล่าล่ะครับ ?

    สังเกตุเพื่ออะไรน้อ..?

    คำตอบหมื่นพันคำคอบก็ไม่เท่าประจักแก่ใจตนดอก


    อนุโมทนากับ จขกท และ ท.พ.สม สุจีรา ด้วยขอรับ "หนังสือไอส์สไตล์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" เป็นแรงบัลดาลใจให้เข้ามาศึกษาทางพระเล่มแรกเลยครับ และ "หนังสือของพระภิกขุโย" ก็พาให้หลุดจากห้วงแห่งความหลงเล่มแรกเช่นเดียวกันนะ.. สาธุ
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ลองพิจารณาง่ายๆ ครับ

    อะไรที่ถูกขังไว้ บังคับไว้ มันรู้ได้เท่าไหน ใช่เท่าที่บังคับ หรือ น้อม หรือ อยากหรือเปล่า

    และ

    อะไรที่อิสระ ไม่บังคับ ไม่กดข่ม มันจะรู้ได้แค่ไหน ใช่เท่าที่มันจะไป หรือ ครอบคลุมอยู่ หรือ พ้นอยาก หรือเปล่า

    คุณว่า จิต แบบไหน รู้ถ้วนเร็วกว่ากัน

    แต่ขอชี้อีกประเด็น ซึ่งเป็นเรื่องใกล้เคียงไว้อีกประเด็น

    การที่รู้แบบปล่อยอิสระ มีสองแบบ
    1.ปล่อยไปเลย
    2.รู้อย่างตั้งมั่นรู้

    การรู้อย่าตั้งมั่นรู้ พร้อมรู้ เป็นสภาวะรู้ที่อิสระที่พูดถึง แต่ในกรณี รู้แบบปล่อย
    ปละละเลยอันนั้นไม่ใช่ การรู้อย่างตั้งมั่นรู้ เรียกโดยอนุโลมตามอรรถาจารย์
    ว่า สัมมาสมาธิ แต่ถ้าเรียกตามอภิธรรม จะเรียก เอโกธิภาวะ เรียกตามพระ
    สูตร จะใช้ว่า ธรรมเอก

    สภาวะพร้อมรู้ คือ รู้อยู่ขณะนั้นๆแล้ว ในหลายๆเรื่องๆ แต่การจะยกมากล่าว
    ขึ้นกับว่า จะเลือกอันไหนขึ้นมา .... ซึ่งมันจะตรงความเป็นจริงเสมอ เพราะ
    เป็นการรู้ที่พ้นอุปทาน อยาก กำหนดจะรู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2009
  6. น้องนีล

    น้องนีล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +279
    อนุโมทนาครับ ชอบอ่านหนังสือที่นายแพทย์สมเขียน ซึ่งมุ่งเน้นให้เห็นแต่ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตน
     
  7. ragpon

    ragpon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    456
    ค่าพลัง:
    +954
    ง่ายๆสั้นๆ ตามดูอย่างเดวครับถ้าอารมณ์มันฝุ้งมาก อย่าง เช่น หิวข้าวแต่รอเพื่อนมากินด้วยแต่เขามาช้า ก็ลองดูว่ามันโกรธไหมให้ดูเฉยๆไม่ต้องไปปรับแต่งอะไรมันมากดูมันว่าจะโกรธมากไหม โกรธนานไหม หายไปยังไอความโกรธที่เพื่อนมาช้าหรือเหตุปัจจัยใดให้เราโกรธ ลองทำดูแบบนี้น่ะ เกิดผลอันเป็นแบบใดพิจรณาแล้วชี้แจงให้เพื่อนๆที่มีความพยายามใหม่ๆให้เข้าใจด้วยนะครับ สู้ๆ
     
  8. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,306
  9. kurochang

    kurochang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +111


    คุมจิตมันจะเป็นสมถะ อ่านะ คือข่มไวชั่วขณะ

    ถ้าวิปัสสนา คือ ตามดูจิตตามดูอารมณ์นั่นแหละ
    แต่เจริญวิปัสสนาจะไปคุมจิตไม่ได้นะ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมดาของมัน

    *เปรียบเทียบ = เด็กที่ชอบวิ่งเล่นไปมา จะจับให้มานั่งนิ่งๆไม่ได้ ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมดาของเด็ก >> เราได้แต่ตามดูอยู่ห่างๆ


    รู้อยู่ปัจจุบันคับ ง่ายแค่นี้เอง ถึงโสดาบันได้เลยนะ

    อนโมทนาคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2009
  10. unigodx

    unigodx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    449
    ค่าพลัง:
    +607
    ชอบบทความนี้มากเลยครับ
    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...