Magnet Generator .... พลังงาน Free ... ทางเลือกยุคน้ำมันแพง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Pew Pew, 10 กรกฎาคม 2008.

  1. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    รูปแบบโมเดล การทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบบต่างๆ สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีความรู้ทางเทคนิค จะได้จินตนาการได้ ศึกษาต่อไปจะได้สนุกขึ้น เข้าใจมากขึ้น

    <TABLE height=105 width=738 align=center border=1><TBODY><TR vAlign=center align=middle><TD scope=col width=738 height=125>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=422 width=749 align=center border=1><TBODY><TR vAlign=top><TD vAlign=top scope=col align=middle width=738 height=416>เทคโนโลยี กับพลังงานน้ำ
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    พลังงานน้ำสามารถหมุนใบพัดที่ติดอยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้
    [​IMG]
    การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ก็ใช้หลักการดังกล่าวข้างต้น คือปล่อยน้ำที่กักเก็บไว้ในเขื่อนซึ่งมีแรงดันสูง ให้ผ่านใบพัด (Turbine)ที่ติดอยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ ทำให้เกิดไฟฟ้าแรงเคลื่อนสูง
    [​IMG]
    การผลิตไฟฟ้าจากปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ด้วยหลักการเปิด และปิดเขื่อนตามจังหวะ
    [​IMG]
    การผลิตไฟฟ้าจากคลื่นทะเล โดยให้คลื่นไปกระทบแผ่นรองรับคลื่นที่ติดตั้งกับก้านกระทุ้งที่เป็นแม่เหล็ก ก้านกระทุ้งดังกล่าวจะเคลื่อนที่เข้า- ออก ในขดลวดทองแดงทรงกระบอก ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้เช่นกัน
    [​IMG]
    การผลิตไฟฟ้าจากคลื่นทะเล โดยอาศัยแรงคลื่นที่เปลี่ยนเป็นแรงดันลมแล้วพัดจากห้องใต้ใบพัดเข้าไปในห้องใบพัด ทำให้ใบพัดที่ติดอยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุน ปลายแกนเพลาใบพัดเป็นแม่เหล็กไปหมุนตัดกับขดลวดทองแดง ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ภาคต่อไป พลังงานจากความร้อนใต้พิภพ

    เทคโนโลยีกับพลังงานความร้อนใต้เปลือกโลก
    [​IMG]
    จากภาพตัดขวาง ทำให้เห็นว่าของเหลวที่อยู่บริเวณใจกลางของโลกมีอุณหภูมิสูงกว่า 5000 องศาเซลเซียส และเมื่อมีน้ำจากผิวโลกไหลชั้นดิน หินต่ำลงไปเรื่อยๆ จนกระทบกับความร้อนใจกลางโลก น้ำที่ไหลลงไปจึงเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำร้อนและมีแรงดันสูง
    [​IMG]
    จากหลักการดังกล่าวข้างต้น นักเทคโนโลยีจึงคิดค้นสร้างอุปกรณ์เก็บน้ำร้อนแรงดันสูง ส่งผ่านความร้อนกับน้ำอุณหภูมิปกติ จนมีความร้อนแล้วกลายเป็นไอน้ำไปหมุนใบพัดที่ติดอยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้ ส่วนน้ำร้อนใต้ภิภพที่ผ่านกระบวนการผลิต จะเย็นลงและถูกปล่อยลงใต้ผิวโลกต่อไป ​
     
  3. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    เทคโนโลยีกับพลังงานแสงอาทิตย์
    [​IMG][​IMG]
    จากหลักการของเลนส์ ทำให้้เกิดจุดรวมแสงและเกิดความร้อนขึ้นได้ การประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกจึงเกิดขึ้น โดยมีการออกแบบและสร้างจานรับแสงอาทิตย์ และส่งผ่านความร้อนไปยังน้ำ ทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีแรงดัน หลังจากนั้นจึงนำแรงดันของน้ำร้อนนี้ไปใช้งาน
    [​IMG]
    ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีเซลล์สุริยะ (solar cell) มาใช้ประโยชน์มากขึ้นเช่น นำมาสร้างอุปกรณ์ทำน้ำร้อนไว้ใช้ในบ้านเรือน โดยให้เซลล์สุริยะติดตั้งบนหลังคาบ้านเพื่อรับแสงอาทิตย์ แล้วติดตั้งท่อน้ำผ่านชุดเซลล์สุริยะ ผ่านไปยังถังน้ำอุณหภูมิปกติ จากหลักการส่งผ่านความร้อน (Heat transfer) น้ำร้อนจากท่้อที่มาจากเซลล์สุริยะ จะทำให้น้ำอุณหภูมิปกติมีอุณหภูมิสูงขึ้นได้
    [​IMG]
    [​IMG]
    ในประเทศสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศในยุโรป มีการแข่งขันรถพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย รถดังกล่าวมีน้ำหนักเบา และถูกออกแบบให้วิ่งได้ตลอดเวลาโดยมีเซลล์สุริยะทำหน้าที่ส่งความร้อนผ่านอุปกรณ์เพื่อแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า แล้วเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ก่อนที่จะส่งไปหมุนมอเตอร์ที่ติดอยู่กับล้อรถ
    [​IMG]
    รถคันนี้ก็ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เช่นเดียวกัน ​
     
  4. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    เทคโนโลยี กังหันลม

    เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน ทั้งการเลือกใช้ การเปรียบเทียบสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการ อย่าง
    มีคุณธรรมจริยธรรม และการมีเจตคติที่ดี โดยนำความรู้ต่างๆมาใช้กับกระบวนการเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้ได้วิธีการใหม่ๆ หรือเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ เพื่อการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกและรวดเร็วขึ้น

    เทคโนโลยี กับพลังงานลม
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    แรงลมจากธรรมชาติ ก็สามารถนำไปผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน โดยมีการออกแบบกังหันลมให้มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่ในตัว เมื่อลมพัดมากระทบใบพัด จะทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสร้างแรงเคลื่อนไฟฟ้าออกมา นอกจากนั้นใบพัดของกังหันลมสามารถปรับองศาการรับลมได้ตามต้องการอีกด้วย ​

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2009
  5. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    วันนี้วิ่งผ่านถนนพระบรมราชชนนี

    บนถนนเส้นนี้จะมีกังหันลมหลายจุดด้วยกัน

    จุดแรกคือที่หน้าห้างโลตัสใกล้ศาลายา เป็นกังหันลมที่สั่งจากต่างประเทศ ปรากฏว่าไม่หมุน

    จุดที่สอง ที่หน้าบริษัท อุสา กังหันลมซึ่งที่นี่ทำกังหันลมเป็นเจ้าแรกของไทย ปรากฏว่าหมุนดีมากครับ แต่สมัยที่ได้เห็นตอนเด็ก 30กว่าปีก่อน ตอนนี้ก็เหมือนเดิม หากได้พัฒนาวัสดุประสิทธิภาพน่าจะเพิ่มขึ้นมากเลย

    จุดที่สามเลยมาเชิงสะพานอรุณอมรินทร์ ของกรมอู่ทหารเรือเป็นกังหันลมแบบที่อ.บรรจงทำ หมุนปานกลาง บางวันหมุน บางวันลมนิ่งก็ไม่หมุน
     
  6. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ใช่ครับ ตามประสบการณ์แล้ว ผมคุ้นๆว่า ลมในประเทศไทยนั้น มันไม่แน่ไม่นอน ผมรู้สึกได้ว่า แทบทุกที่ๆที่เคยสัมผัส ผมเคยพบว่า หลายๆครั้ง หลายช่วงเวลา มันร้อนอบอ้าวแบบไม่มีลมเลย ทำให้ผมรู้สึกเอาว่า หลักการทำกังหันลมมันดี แต่ไม่แน่นอน ต้องมีหลายจังหวะเวลาที่เจออาการอับลมแน่นอน

    ดังนั้น ผมจึงอยากค้นคว้าว่า นอกจากพลังงานลมแล้ว พลังงานอย่างอื่นๆ น่าจะมีความแน่นอนกว่า เช่น

    + พลังงานน้ำ น้ำตก หรือ น้ำไหล มันไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ น้ำขึ้นน้ำลง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน สม่ำเสมอ
    + พลังงานแสงอาทิตย์ ที่แดดค่อนข้างแรงมากในประเทศไทย
    + พลังงานแม่เหล็ก ที่มันจะมีแรงผลัก และ ดูด ระหว่างขั้ว บวกและลบ แน่นอน

    แต่ก็ดีครับ การค้นคว้าหาข้อมูล ทำให้ได้ไอเดีย กว้างขวางออกไปเรื่อยๆ

    สรุปแล้ว เท่าที่ศึกษามา พลังงานแบบผสมผสาน ให้พอเหมาะ พอดี ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ ต้องใช้ทั้ง ศาสตร์และศิลป์ จึงจะดีที่สุด คิดให้รอบคอบ เอาข้อดีของแต่ละวิธีมาผสมกันให้เหมาะกับสิ่งรอบตัว โดยแต่ละพื้นที่ ไม่ต้องเหมือนกันเลยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2009
  7. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    สุดยอดรถประหยัดพลังงาน !!! จาก Toyota

    <SMALL class=date>8 07 2008 </SMALL>
    <SMALL class=date></SMALL>
    <SCRIPT src="http://s.wordpress.com/wp-content/plugins/adverts/adsense.js?1" type=text/javascript></SCRIPT>ข่าวดี TOYOTA ผลิต รถไม่ใช้น้ำมันได้แล้ว น่าใช้ มั่ก ๆ เลย..
    หากท่านพบปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายสูงแบบ non stop จากน้ำมัน ทาง TOYOTA
    ได้คิดค้นสุดยอดแห่งนวัตกรรมที่ทุกท่านรอคอยสำเร็จแล้ว
    นั่นคือ…..รถยนต์ที่ประหยัดพลังงานที่สุดในโลก!!!


    คุณสมบัติพิเศษเฉพาะรุ่น
    1.ไม่ใช้น้ำมัน
    2.ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
    3. สามารถนำรถเก่าที่มีอยู่ไป UPGRADE ได้ด้วย
    4. ต้นทุนการผลิตต่ำ ราคาถูก
    5. แต่มีปัญหาเล็กน้อยด้านอัตราเร่ง , ความเร็วสูงสุด
    6. และระบบเบรกที่ยังไม่นิ่มเท่า ABS


    คาดว่าหากแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ทาง TOYOTA จะวางตลาดทันที
    พอดีได้ข้อมูลรูปภาพผลิตภัณฑ์ต้นแบบมาจากวงในของทางTOYOTA เลยนำมาให้เพื่อนๆชมกันก่อนตัดสินใจ


    [​IMG]

    ไปค้นข้อมูลมา ถูกเขาหลอกแบบขำๆ เลย เอามาหลอกต่อ อิ อิ
     
  8. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ข่าวสารเกี่ยวกับการสร้างแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ในหลายๆประเทศทั่วโลก ให้ดูไว้แล้วแบ่งกันไปอิจฉาเขา เพราะเราคงยังไม่มีในระยะเวลาใกล้ๆนี้

    1. ที่รัฐฟลอริดา อเมริกา เขาจะสร้างเมืองแห่งพลังงานสุริยะเลย
    First City Powered by Solar Energy Planned in Florida
    Friday, 10 Apr, 2009 – 9:02 |
    [​IMG]
    A Florida developer unveiled plans today to build the nation’s first solar-powered city. The ambitious plan announced on Thursday is for a 19,500-home city with energy-efficient buildings that will be “the first city on earth …

    2. ที่อังกฤษ เขาจะเช่าหลังคาบ้าน ของชาวบ้านมาวางแผงโซล่าเซลล์ ผลิตไฟฟ้า
    UK Feed-In Tariffs Make Solar Roof Projects a ‘Safe’ Investment
    Monday, 30 Mar, 2009 – 14:15 |
    [​IMG]
    Renting people’s roofs to deploy solar panels could be a safe source of income for Pension funds, under renewable feed-in tariffs set to come into force in April 2010 in the U.K. Jeremy Leggett, the …

    3.ที่แมกซิโก สร้าง Solar Farm ไม่ใช่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์นะ แต่เป็นฟาร์มโซล่าเซลล์ขนาดบึ้มๆ
    First Solar to Build 30-megawatt Solar Farm in New Mexico
    Wednesday, 25 Mar, 2009 – 19:13 | 3 Comments
    [​IMG]
    A 30-megawatt solar farm in New Mexico, will be built by First Solar (FSLR) which has entered into a contract with the Tri-State Generation and Transmission Authority.
    The New Mexico contract is worth around $98 million …

    4. เขากำลังออกแบบแผงโซล่าเซลล์ ให้เป็นกระเบื้องมุงหลังคาซะเลย เลือกแบบเก๋ไก๋ได้ ไม่น่าเกลียด คนจะได้นิยม
    Benefits of Solar Roof Tiles
    Monday, 23 Mar, 2009 – 8:42 |
    [​IMG]
    If you would like to install solar panels, but don’t like the aesthetic appearance of conventional, or older style solar panels then a great alternative might be solar roof tiles. Also known as solar roof …

    5. ที่อินเดียเขามี Solar Village เรียบร้อยโรงเรียนแขกแล้ว
    India’s First Solar Powered Village
    [​IMG]Monday, 2 Mar, 2009 – 15:30 |

    Rampura village in Jhansi anymore is the first in India to get its own solar power plant. It did not have any electricity at all before, but now the kerosene lamps which were the only …


    6. บางเมืองเขามีโปรโมชั่น ลดครึ่งราคา ซะเลย จูงใจให้รีบติดตั้ง
    Half-Price Solar Panels - If You Live in Santa Monica
    Thursday, 26 Feb, 2009 – 15:26 |
    [​IMG]
    From now until March 31, Santa Monica residents will have a golden opportunity to go solar, thanks to a special offer by SolarCity, in partnership with First Solar.
    In October 2008, SolarCity, centered in Foster City, …

    7.บริษัท First Solar กำลังทำให้ราคาของโซล่าเซลล์ให้ต่ำกว่า 1$ ต่อวัตต์
    First Solar Module Manufacturing Cost Drops Below $1 Per Watt Wednesday, 25 Feb, 2009 – 16:45 |
    [​IMG] Today First Solar, Inc. announced that it had reduced its manufacturing cost for solar modules to 98 cents per watt, breaking the $1 per watt price barrier for the first time ever.
    The company is the …

    โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านพลังงาน เพราะอัตราบริโภคน้ำมันเติบโตอย่างมหาศาล จากการที่จีนและอินเดียเปิดประเทศ และมีอัตราการเติบโตทาง ศก.สูงมาก ราคาน้ำมันที่ผันผวน ภาวะโลกร้อน... ไทยเรายังคงเหมือนเดิม ไม่รู้ร้อนรู้หนาว มัวแต่ตีกัน แย่งชิงอำนาจ... ช่างเขาเถอะ ใครอยากอ่านบทความพวกนี้ แบบเต็มๆ ลิงค์ไปดูได้ครับ

    http://www.altdotenergy.com/category/solar-power/

     
  9. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ลองเข้ามาดูอุปกรณ์ชาร์จไฟกันใกล้ๆครับ

    ราคา ~ 200 - 500 $



    [​IMG]
    Have you ever been camping or traveling, when your camera, mp3 player, or cellphone died? Have you ever had to carry extra batteries with you on a long trip, burdened by the weight, hassle and inconvenience?
    The Solar Rolls by Brunton are convenient rolled up, flexible solar power panels that may be taken with you anywhere.
    Instead of lugging on extra devices, portable chargers, or batteries, so you have power with you when you go on a trek or a day out in nature, these rolls can easily fit in your backpack, knapsack or luggage without adding on much weight.
    Just imagine how nice it would be to go anywhere in the world, and not have to worry about power for your gadgets? How about a picnic and while spreading the blanket on the ground, also spread a solar roll to give you power for a laptop, radio, compact television, or even a slim game console?
    These solar rolls comes in 4.5, 9 and 14 inch sizes and cost $220, $352, and $484 respectively. Although they are more expensive than regular batteries, the portability and comfort outweigh the expense.
    [​IMG]
     
  10. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    จำกังหันลมลอยฟ้า ได้ไหมเอ่ย ?? (กระทู้ #132 - 135 )

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->

    ตอนนี้ มีผู้ผลิตทำขึ้นเป็นทางการแล้วครับ หน้าตาดูดีขึ้นมากเลยครับผม

    "บอลลูน"ไฮเทค ปั่นไฟฟ้าเลี้ยงหมู่บ้าน



    [​IMG]

    พลังงานลมนั้นมีข้อดีแน่ๆ คือ เป็นของฟรีจากธรรมชาติ และไม่ปล่อยควันพิษสู่ชั้นบรรยากาศเหมือนกับไฟฟ้าถ่านหิน แต่ปัญหาใหญ่ที่มักเข้ามาขวางการวางแผนพัฒนาพลังงานลมมี 2-3 ข้อด้วยกัน
    เช่น การจัดหาสถานที่ติดตั้งกังหันเทอร์ไบน์ การต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ที่ใช้ทำฟาร์มกังหันลม
    และต้นทุนของการวางระบบที่ยังสูงพอสมควร

    อย่างไรก็ตาม ถึงที่สุดแล้วในอนาคตเชื่อแน่ว่าเมื่อวิกฤตโลกร้อนเลวร้ายกว่านี้ หรือ เกิดภาวะน้ำมันขาดแคลนขึ้น....... ผลสุดท้ายมนุษย์ย่อมต้องหันไปหาวิธีใช้ประโยชน์จากพลังงานธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ลม แสงอาทิตย์ คลื่น แก๊สชีวภาพ ฯลฯ อยู่ดี

    ในส่วนของพลังงานลม ล่าสุด บริษัทเมเก็นน์ พาวเวอร์ สหรัฐฯ กำลังพัฒนาอุปกรณ์ดักกระแสลมมาใช้โดยไม่ต้องตั้งกังหัน แต่เปลี่ยนเป็นส่ง "บอลลูน" ขึ้นไปลอยอยู่บนฟ้าแทน

    ระบบดังกล่าวเรียกว่า "พาวเวอร์ แอร์ โรเตอร์" โดยตัวบอลลูนจะลอยขึ้นไปอยู่ที่ระดับความสูง 1,000 ฟุต และมีช่องเปิดทางให้ลมพัดผ่านเข้าไปหมุนตัวปั่นไฟ จากนั้นก็ส่งกระแสไฟฟ้าที่ได้กลับมายังสถานีภาคพื้นดินผ่านสายเคเบิล ที่ยึดบอลลูนกับพื้นดิน

    "แม็ค บราวน์" ผู้บริหารเมเก็นน์ พาวเวอร์ ระบุว่า ถ้าพัฒนาเสร็จสมบูรณ์บอลลูน 1 ลูกจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 4 กิโลวัตต์ เหมาะสำหรับใช้ในหมู่บ้านตามพื้นที่ชนบทห่างไกลไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

    ข้อดีของบอลลูนปั่นไฟฟ้า คือ อัตราความเร็วของกระแสลมที่พัดเข้ามายังระบบปั่นไฟนั้นมีความคงที่ และติดตั้งที่ไหนก็ได้ เบื้องต้นวางแผนจะทดลองจำหน่ายในพื้นที่ชนบทของปากีสถานและอินเดีย
    ถ้าระบบทำงานได้ดีจะเสนอขายต่อให้ประเทศกลุ่มอเมริกาเหนือและยุโรปต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2009
  11. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    เครื่องปั่นไฟ เก๋ไก๋ อีกแบบ

    เครื่องปั่นไฟจากหัวเข่า เดินไป…ปั่นไฟไป
    โพสต์เมื่อ: 11:54 วันที่ 12 ก.พ. 2551 </B>
    เครื่องปั่นไฟอันน้อยที่ใชัพลังงานจากหัวเข่า ทำให้ผู้ใช้สามารถเดินไป ปั่นไฟไปได้ในตัว กำไรสองต่อคือ ได้ออกกำลังกายแถมได้พลังงานด้วย พลังงานที่ได้ก็กำลังดีพอที่ชาร์ตพอคเก็ตพีซี โทรศัพท์มือถือ เครื่องGPS ฯลฯ ผลงานจากUniversity of Michigan

    การทำงานของเครื่องปั่นไฟนี้ก็คล้ายๆกับ เครื่องชาร์ตในเครื่องยนต์ไฮบริด เครื่องปั่นไฟจะเก็บพลังงานเมื่อหัวเข่าเราพยายามจะหยุดเมื่อเราก้าวได้ 1 ก้าวจากการที่เราก้าวเดินไปข้างหน้า

    เครื่องปั่นไฟจากหัวเข่านี้ทำมาจากอะลูมิเนียม น้ำหนักประมาณ 3.5 ปอนซ์ (lbs)

    อันที่จริงแล้ว เครื่องปั่นไฟจากหัวเข่าสามารถผลิตไฟได้จากพลังงานที่กำเนิดจากส่วนต่างๆของร่างกาย แต่หัวเข่าดูเหมือนจะเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด และไม่เพียงแต่สามารถชาร์ตแบตเตอรี่ได้เท่านั้น แต่เครื่องปั่นไฟชนิดนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย นาย Arthur Kuo เจ้าของผลงานกล่าว

    ในขณะที่เราเดิน เราเสียพลังงานจากร่างกายในหลายๆตำแหน่ง ร่างกายเราจึงสร้างพลังงานมาทดแทนโดยทำงานร่วมกับกล้ามเนื้อ บางจุดแทนที่มันจะเสียพลังงานมันกลับเก็บสะสมพลังงานไว้ชั่วคราว เช่น เส้นเอ็น (ที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูก) ที่ทำงานคล้ายกับสปริง นาย Arthur Kuo เชื่อว่าเมื่อเราเดินช้าลง พลังงานที่ใช้เหวี่ยงหัวเข่าก็ถูกใช้ไปอย่างไร้ประโยชน์

    ทีมงานของนาย Arthur Kuo ได้ทดลองให้ชาย 6 คนสวมใส่เครื่องปั่นไฟจากหัวเข่า โดยไม่ได้เปิดให้เครื่องปั่นไฟทำงาน แล้วเดินบนเครื่องออกกำลังกาย ด้วยความเร็ว 1 เมตรครึ่งต่อวินาที (2.2 ไมล์ต่อชั่วโมง) ทีมงานได้วัดการหายใจของกลุ่มตัวอย่างเพื่อดูว่าร่างกายของพวกเขาทำงานหนักแค่ไหน และน้ำหนักของเครื่องกระทบต่อตัวผู้สวมใส่อย่างไร

    ในโหมดการทำงานที่เครื่องจะปั่นไฟเฉพาะเมื่อเราหยุดหัวเข่า (จากการก้าวเดิน) เครื่องปั่นไฟต้องการพลังงานน้อยกว่า 1 วัตต์ของพลังงานจากร่างกายในการผลิตพลังงาน 1 วัตต์จากเครื่องปั่นไฟ เมื่อเทียบกับเครื่องปั่นไฟแบบที่ใช้มือหมุน (hand-crank generator) ซึ่งใช้พลังงานจากร่างกาย 6.4 วัตต์เพื่อผลิตกำลังไฟ 1 วัตต์แล้ว ถือว่าเครื่องปั่นไฟจากหัวเข่ายังมีประสิทธิภาพดีกว่ามาก

    แม้ส่วนที่ผลิตพลังงานในเครื่องปั่นไฟจะมีขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมส่วนประกอบเข้ากันแล้วเครื่องต้นแบบนี้ยังมีขนาดใหญ่เทอะทะ และน้ำหนักมาก (3 ปอนด์) ส่งผลให้ผู้สวมใส่เหนื่อยเร็ว

    ทีมงานได้คิดต่อไปถึงการพัฒนาเครื่องปั่นไฟจากหัวเข่าให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งจะมีประโยชน์มากต่อนักไต่เขา และ ทหาร ซึ่งอาจหาที่จุดชาร์ตที่มีกระแสไฟฟ้าอำนวยความสะดวกได้ไม่ง่ายนัก นอกจากนี้ทีมงานยังได้ไขไอเดียไปถึงการฝังอุปกรณ์ชนิดนี้เข้ากับอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่นๆ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอ (pacemaker) และเครื่องส่งสัญญาณสมอง (neurotransmitters) ซึ่งปัจจุบันนี้ต้องใช้แบตเตอรี และเมื่อถึงคราวเปลี่ยนแบตเตอรีก็จะต้องให้แพทย์ศัลยกรรมเท่านั้นเป็นผู้เปลี่ยนให้

    เครื่องปั่นไฟจากหัวเข่าในอนาคตอาจถูกสร้างติดกับอุปกรณ์อื่นๆ และใช้พลังงานที่ผลิตมาจากการก้าวเดินของผู้ใช้เท่านั้นในการทำงานของอุปกรณ์

    ผลงานเรื่อง Biomechanical Energy Harvesting: Generating Electricity During Walking with Minimal User Effort นี้ ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Science ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้

    อ้างอิง

    Eurekalert. <b> “Knee Brace Generates Electricity From Walking”. </b> Retrieved from: www.eurekalert.org/pub_releases/2008-02/uom-kbg020608.php Dated February 11, 2008.

    Sciencedaily. <b> “Knee Brace Generates Electricity From Walking”. </b> Retrieved from: www.sciencedaily.com/releases/2008/02/080207140751.htm Dated February 11, 2008.

    ภาพเครื่องปั่นไฟ/ชาร์ตแบตเตอรีขณะที่ผู้ใช้สวมใส่

    [​IMG]
     
  12. JONGKON SIRISIN

    JONGKON SIRISIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2006
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +360
    ไม่อยากให้ทู้นี้ตกไปเลย

    ท่านผู้รู้ช่วยดันหน่อยครับ เย้..ๆ
    เชียร์เต็มที่
     
  13. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ตอนนี้มีคนไทย ทางแถบพัทยา ชลบุรี ทำชุดคิท การแยกน้ำด้วยไฟฟ้า เพื่อผลิต ก๊าซไฮโดรเจนมาเป็นเชื้อเพลิงร่วมในรถยนต์ ออกขายกันแล้วครับ

    ประหยัดน้ำมันได้ประมาณ 20 - 30 เปอร์เซนต์ครับ ราคาอยู่ที่ ประมาณ หมื่นกว่าไปถึงสองหมื่นกว่าบาท

    ส่วนที่ลำพูนมีพระอาจารย์ท่านทำออกมาเช่นกัน โดยมีลูกศิษย์ท่านมาช่วย พัฒนาต่อเพิ่มให้

    ทางส่วนนี้ มีการปรับปรุงเครื่องยนต์เพิ่มเติมมากมายหลายส่วนด้วยกัน

    -เทอร์โบไฟฟ้า เพื่อเร่งการประจุอากาศและช่วยในการผสมอากาศกับก๊าซ

    -เปลี่ยนเฮดเดอร์และท่อไอเสียเป็นสเตนเลส เพราะ จะมีน้ำในระบบเพิ่มขึ้นท่อร่วมไอเสียที่เป็นเหล็กอาจผุได้ง่าย

    -ต่อคาปาซิเตอร์ ขนาด 1-2 ล้านไมโครฟารัด เพื่อเพิ่มประจุไฟฟ้าในการผลิตก๊าซ เเละช่วยลดอาการกวนของวงจรพัลส์ในการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าให้ลดลง ไม่ไปกวนสมองกลและระบบไฟฟ้าของเครื่อง

    ซึ่ง ผลที่ได้เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ได้มาก ประหยัดเชื้อเพลิงได้ประมาณ เกือบ 50 เปอร์เซนต์ แต่ รวมอุปกรณ์ที่เสริมไปแล้วก็ ทำให้ทุนขึ้นไปประมาณ ห้าหมื่นบาทครับ

    ที่เห็นมีการนำไปติดรถเบนซ์ เอสคลาส(ของลูกศิษย์พระอาจารย์ท่าน ซึ่งเป็นผู้ให้ทุนวิจัย และเป็นเจ้าของธุรกิจหลายแห่งในลำพูน)ด้วย ตรงนี้ นี่สร้างความมั่นใจให้คนอื่นได้มากเลยครับ

    ลองมาช่วยกัน วิเคราะห์และต่อยอด องค์ความรู้กันดูครับ
     
  14. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    <TABLE borderColor=#fac963 cellPadding=0 width=725 align=center bgColor=#e2e2e2 border=5><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>ใช้แรงเต้นของหัวใจตัวเองปั่นไฟ ชาร์จแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#fac963 cellPadding=0 width=725 align=center border=5><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR bgColor=#ffffcc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 align=center bgColor=#f5f5f5 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>เจ้าของโทรศัพท์มือถือจะต้องชอบใจ เมื่อนักวิจัยมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน ได้คิดเทคโนโลยีที่จะใช้แรงเต้นของหัวใจของตัวเรา มาปั่นไฟเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ของโทรศัพท์ได้


    นักวิจัยมหาวิทยาลัยอังกฤษได้พัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งสามารถใช้แรงสั่นสะเทือนจากธรรมชาติรอบๆ ตัวเรามาปั่นไฟได้ เดิมทีนักวิทยาศาสตร์ได้คิดขึ้น เพื่อใช้ เป็นเครื่องจักรในการอุตสาหกรรม และได้นำมาดัดแปลง เพื่อใช้กับคนไข้ที่ใช้เครื่องควบคุม จังหวะหัวใจ เพื่อที่คนไข้จะไม่ต้องผ่าอก เมื่อเวลาต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่เครื่องใหม่

    คณะนักวิจัยยังมีความหวังด้วยว่า

    จะสามารถปรับปรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้สามารถ ใช้กับอุปกรณ์พกพาไร้สายอื่นๆได้อีกด้วย เช่น เครื่องเล่นเพลงเอ็มพี 3 โดยที่เจ้าของเครื่องเพียงแต่พกเครื่องติดกระเป๋า ที่อยู่แนบติดกับหัวใจเอาไว้เท่านั้น


    นายสตีฟ บีบี้ นักวิจัยในคณะคนหนึ่งกล่าวว่า

    การประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบนี้ นับเป็นความก้าวหน้าของพวกอุปกรณ์ ไร้สายครั้งใหญ่ ด้วยเหตุว่าอุปกรณ์อย่างโทรศัพท์ มือถือ และเครื่องเล่นเอ็มพี 3 จำเป็นจะต้องเปลี่ยน แบตเตอรี่ใหม่อยู่เรื่อย ขณะนี้เรากำลังมองหาบริษัทซึ่งจะสามารถสร้างเครื่องควบคุมจังหวะหัวใจ ที่จะทำงานด้วยแรงเต้นของหัวใจอยู่.

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ความรู้เบื้องต้น Solar Cell ครับ

    [​IMG]
    " เซลล์แสงอาทิตย์ " (Solar cell )
    เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างจากสารกึ่งตัวนำซึ่งสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์(หรือแสงจากหลอดแสงสว่าง)
    ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงและไฟฟ้าที่ได้นั้นจะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง(Direct Cuurent)จัดว่าเป็นแหล่งพลังงานทดแทน
    ชนิดหนึ่ง(RenewableEnergy)สะอาดและไม่สร้างมลภาวะใดๆขณะใช้งาน
    [​IMG]
    เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากน้อยเพียงใด

    พลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบพื้นโลกเรามีค่ามหาศาลบนพื้นที่1ตารางเมตรเราจะได้พลังงานประมาณ1,000วัตต์หรือ
    เฉลี่ย4-5กิโลวัตต์/ชั่วโมง/ตารางเมตร/วันซึ่งมีความหมายว่าในวันหนึ่งๆบนพื้นที่เพียง1ตารางเมตรนั้นเราได้รับพลังงานแสง
    อาทิตย์ 1กิโลวัตต์เป็นเวลานานถึง4-5ชั่วโมงนั่นเองถ้าเซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานร้อยละ15ก็แสดง
    ว่าเซลล์แสงอาทิตย์จะมีพื้นที่ 1ตารางเมตรจะสามาถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้150วัตต์หรือเฉลี่ย600-750วัตต์/ชั่วโมง/
    ตารางเมตร/วัน
    ในเชิงเปรียบเทียบในวันหนึ่งๆประเทศไทยเรามีความต้องการพลังงานไฟฟ้าประมาณ250ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง/วันดังนั้นถ้า เรามีพื้นที่ประมาณ1,500ตารางกิโลเมตร(ร้อยละ0.3ของประเทศไทยเราก็สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้
    เพียงพอกับความต้องการทั้งประเทศ

    หลักการทำงานและการใช้งานทั่วไปของเซลล์แสงอาทิตย์

    -โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่รอยต่อพีเอ็นของสารกึ่งตัวนำซึ่งวัสดุสารกึ่งตัวนำที่ราคาถูกที่สุดและ
    มีมากที่สุดบนพื้นโลกได้แก่ซิลิกอนซึ่งถลุงได้จากควอตไซต์ หรือทรายและผ่านขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์ตลอดจนการทำให้เป็น
    ผลึก
    - เซลล์แสงอาทิตย์หนึ่งแผ่นอาจมีรูปร่างเป็นแผ่นวงกลม (เส้นผ่นศูนย์กลาง5นิ้ว)หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ด้านละ 5 นิ้ว ) มีควมหนา
    200 - 400ไมครอน ( ประมาณ 0.2 – 0.4 มิลลิเมตร ) และต้องนำมาผ่านกระบอนการแพร่ซึมสารเจือปนในเตาอุณหภูมิสูง
    ( ประมาณ1000C )เพื่อสร้างรอยต่อ P-N ขั้วไฟฟ้าด้านหลังเป็นผิวสัมผัสโลหะเต็มหน้าส่วนขั้วไฟฟ้าด้านหน้าที่รับแสงจะมี
    ลักษณะเป็นลายเส้นคล้ายก้างปลา
    -เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบกับเซลล์แสงอาทิตย์จะเกิดการสรางพาหะนำไฟฟ้าประจุลบ และประจุบวก ขึ้นซึ่งได้แก่อิเล็กตรอน
    และโฮลโครงสร้างรอยต่อพีเอ็นจะทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์เพื่อแยกพาหะไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนให้ไหลไปที่ขั้วลบ
    และทำให้พาหะนำไฟฟ้าชนิดโฮลไหลไปที่ขั้วบวก ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงขึ้นที่ขั้วทั้งสองเมื่อเราต่อ
    เซลล์แสงอาทิตย์เข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า( เช่นหลอดแสงสว่าง มอเตอร์ เป็นต้น)ก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร
    [​IMG]
    - เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง5นิ้วจะให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจรประมาณ3แอมแปร์และให้แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิดประ
    มาณ 0.5 โวลต์ถ้าต้องการให้ได้กระแสไฟฟ้ามากๆก็ทำได้โดยการนำเซลล์มาต่อขนานกันหรือถ้าต้องการให้ได้รแรงดันสูงๆ
    ก็นำเซลล์มาต่ออนุกรมกันเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีขายในท้องตลาดจะถูออกแบบให้อยู่ในกรอบอลูมินั่มสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งเรียกว่า แผง หรือ โมดูล
    [​IMG]
    -เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากเซลล์แสงอาทิตย์เป็นชนิดกระแสตรง ดังนั้นถ้าผู้ใช้ต้องการนำไปจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ ไฟฟ้ากระแสสลับต้องต่อเซลล์แสงอาทิตย์เข้ากับอินเวอร์เตอร์ ( Inverter) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าจากกระแสตรงให้เป็นกระแส
    สลับก่อน
    [​IMG]
     
  16. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    Solar inverter

    -ถ้าจ่ายไฟฟ้าให้เฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสตรงในเวลากลางวันเช่นหลอดแสงสว่างกระแสตรงสามารถต่อเซลล์แสงอาทิตย์กับ
    เครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสตรงได้โดยตรง
    [​IMG]
    -ถ้าจ่ายไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับในเวลากลางวันเช่นตู้เย็นเครื่องปรับอากาศในระบบจะต้องมีอินเวอร์เตอร์ด้วย
    -ถ้าต้องการใช้ไฟฟ้าในเวลากลางคืนด้วยจะต้องมีแบตเตอรี่เข้ามาใช้ในระบบด้วย
    กล่องควบคุมการประจุไฟฟ้าทำหน้าที่
    1.เลือกว่าจะส่งกระแสไฟฟ้าไปยังอินเวอร์เตอร์หรือส่งไปยังแบตเตอรี่หรือ
    2.ตัดเซลล์แสงอาทิตย์ออกจากระบบและต่อแบตเตอรี่ตรงไป ยังอินเวอร์เตอร์ ​
    [​IMG]
    -อินเวอร์เตอร์เป็นอุปกรณ์ที่แปลงกระแสไฟฟ้าตรงเป็นกระแสไฟฟ้าสลับในการแปลงดังกล่าวจะเกิดการสูญเสียขึ้นเสมอโดยทั่ว
    ไปประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์มีค่าประมาณร้อยละ 85-90 หมายความว่าถ้าต้องการใช้ไฟฟ้า 85-90 วัตต์เราควรเลือกใช้อิน
    เวอร์เตอร์100 วัตต์เป็นต้น ในการใช้งานเราควรติดตั้งอินเวอร์เตอร์ในที่ร่มอุณหภูมิไม่เกิน 40 C °ความชื้นไม่เกินร้อยละ 60
    อากาศระบยได้ดี ไม่มีสัตว์เช่น หนู งู มารบกวน และมีพื้นที่ให้บำรุงรักษาได้เพียงพอ
    [​IMG]
    -สถานที่ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ควรเป็นที่โล่งไม่มีเงามาบังเซลล์ไม่อยู่ใกล้สถานที่เกิดฝุ่นอาจอยู่บนพื้นดินหรือบนหลังคาบ้าน ก็ได้ควรวางแผงเซลล์ให้มีความลาดเอียงประมาณ10- 15 องศาจากระดับแนวนอนและหันหน้าไปทางทิศใต้การวางแผง
    เซลล์ให้มีความลาดดังกล่าวจะช่วยให้เซลล์รับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุดและช่วยระบายน้ำฝนได้รวดเร็ว

    การออกแบบขนาดของระบบเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับติดตั้งบนหลังคาบ้าน

    ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดกำลังไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ควรติดตั้ง
    เจ้าของบ้านควรพิจารณาว่าจะใช้เซลล์แสงอาทิตย์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าใดบ้างเพื่อจะได้ติดตั้งเซลล์แสง
    อาทิตย์ได้เพียงพอกับความต้องการและไม่ติดตั้งมากเกินความจำเป็น
    ตัวอย่างที่1 บ้านหลังหนึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าและชั่วโมงของการใช้งานดังนี้
    <TABLE borderColor=#99cc33 height=100 width=500 align=center bgColor=#99ffff border=1><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" vAlign=top scope=col colSpan=2 height=64>
    เครื่องใช้ไฟฟ้า
    </TD><TH style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" scope=col>
    จำนวน(1)
    </TH><TH style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" scope=col>
    กำลังไฟฟ้าต่อชิ้น (วัตต์)(2)
    </TH><TH style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" scope=col>
    จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานในหนึ่งวัน (3)
    </TH><TH style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" scope=col>
    ผลคำนวนวัตต์-ชั่วโมง) (1)x(2)x(3)
    </TH><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" width=23> </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" width=1> </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" width=123>
    หลอดฟลูออเรสเซนต์
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    2
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    36
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    5
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    360
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif"> </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif"> </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    โทรทัศน์
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    1
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    100
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    3
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    300
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif"> </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif"> </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    เครื่องปรับอากาศ
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    1
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    1,500
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    4
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    6,000
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif"> </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif"> </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    อื่นๆ
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" borderColor=#99cc33>
    -​
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    100
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    1
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    100
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif"> </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif"> </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    รวม
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    6,760
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif"> </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    [​IMG]
    -จากตารางข้างต้นนี้ได้ข้อมูลในหนึ่งวันบ้านหลังนี้ใช้ไฟฟ้า 6,760 วัตต์-ชั่วโมง กำลังไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ควรติดตั้ง
    (Pcell)คำนวนได้ง่ายๆจากสูตรดังต่อไปนี้
    [​IMG]
    โดยที่ Pl : ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในหนึ่งวัน
    Q : พลังงานแสงอาทิตย์ในหนึ่งวัน (วัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตร) สำหรับประเทศไทยเท่ากับ 4,000 วัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตรโดยประมาณ
    A : ค่าชดเชยการสูญเสียของเซลล์ โดยทั่วไปกำหนดค่าประมาณ 0.8
    B : ค่าชดเชยความสูญเสียเชิงความร้อน โดยทั่วไปกำหนดค่าประมาณ 0.85
    C : ประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์ โดยทั่วไปกำหนดค่าประมาณ 0.85 –0.9
    D : ความเข้มแสงปกติ = 1,000 วัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตร

    เพราะฉะนั้น บ้านหลังนี้ต้องใช้เซลล์แสงอาทิตย์ที่ให้กำลังไฟฟ้เท่ากับ
    Pcell = (6,760/4,000x0.8x0.85x0.85/1,000) = 2,923 W หรือประมาณ 2.9 kW

    ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดจำนวนแผงของเซลล์แสงอาทิตย์
    จำนวนแผงของเซลล์แสงอาทิตย์คำนวณได้โดยใช้กำลังไฟฟ้าของระบบหารด้วยกำลังไฟฟ้าที่เซลล์หนึ่งแผงที่ผลิตได้เมื่อทราบ
    ค่าจำนวนแผงแล้วขั้นตอนต่อไปคือจะต้องคำนวลว่าจะต้องนำเซลล์มาต่ออนุกรมหรือขนานกันอย่างไรจึงจะได้แรงดันไฟฟ้าทื่
    เพียงพอต่อการใช้งานจำนวนแผงเซลล์ที่จะต้องต่ออนุกรมกันหาได้โดยการใช้ค่าแรงดัรไฟฟ้าที่ต้องการหารด้วยแรงดันเอาต์พุต
    ของหนึ่งแผง
    ตัวอย่างที่ 2 จากตัวอย่างที่หนึ่งทราบว่าจะต้องติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เท่ากับ 2.9 kW และแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ต้องป้อนให้
    อินเวอร์เตอร์คือ 200 v ถามว่าจะต้องใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์กี่แผงและจะต้องต่อเรียงกันอย่างไร โดยสมมุติว่า แผงเซลล์แสง
    อาทิตย์มีสเปกดังนี้ให้กำลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 50 วัตต์ (W) แรงดันไฟฟ้าสู.สุด 17 โวลต์ (V) กระแสไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 2.94 แอมแปร์ (A) แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิด 21.3 โวลต์ (V) และกระแสไฟฟ้าลัดวงจร 3.15 แอมแปร์ (A)

    วิธีพิจารณา
    ประมาณการเริ่มแรกของจำนวนของแผงเซลล์ที่ต้องติดตั้งทั้งหมด = 2,900 (W) / 50 (W) = 58 แผง
    จำนวนของแผงเซลล์ที่ต่ออนรม = 200(V)/ 17(V) =12แผง(ปัดเศษขึ้น)
    จำนวนแผงที่ต้องต่อขนาน = 58 / 12 = 5 แถว (ปัดเศษขึ้น)
    ดังนั้นกรณีบ้านหลังนี้จะใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมด = 12 x 5 = 60 แผง โดยต่ออนุกรมแถวละ 12 แผงและต่อขนาน
    จำนวน5 แถว
    [​IMG]
    การบำรุงรักษาแผงเซลล์แสงอาทิตย์และอายุการใช้งาน
    - อายุการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์โดยทั่ไปยาวนานกว่า20ปีการบำรุงรักษาก็ง่ายเพียงแต่คอยดูแลว่ามีสิ่งสกปรกตกค้างบนแผง
    เซลล์หรือไม่เช่นฝุ่นมูลนกใบไม้ถ้าพบว่ามีสิ่งสกปรกก็ใช้น้ำทำความสะอาดปีละ1–2ครั้งก็เพียงพอห้ามใช้น้ำยาพิเศษล้างหรือใช้
    กระดาษทรายขัดผิวกระจกโดยเด็ดขาด เมื่อเวลาฝนตก น้ำฝนจะช่วยชำละล้างแผงเซลล์ได้ตามธรรมชาติ
    - สำหรับในระบบที่มีการใช้แบตเตอรี่ชนิดใช้น้ำกลั่น (Lead Acid) ห้ามใช้ไฟฟ้าจนแบตเตอรี่หมดแต่ควรใช้ไฟฟ้าเพียงร้อยละ 30 – 40 และเริ่ประจุไฟฟ้าใหม่ให้เต็มก่อนการใช้ครั้งต่อไปและต้องคอยหมั่นเติมน้ำกลั่นและเช็ดทำความสะอาดขั้วของ
    แบตเตอรี่
    - ในกรณีที่มีการใช้อินเวอร์เตอร์ควรสังเกตว่ามีเสียงดังผิดปกติหรือเกิดความร้อนผิดปกติหรือไม่ถ้าพบความผิดปกติให้รีบตัด
    ระบบไฟฟ้าออกจากอินเวอร์เตอร์และติดต่อบริษัทผู้ขาย เพื่อให้ตรวจหาสาเหตุและแก้ไขให้ใช้งานได้ต่อไป
     
  17. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    เซลล์แสงอาทิตย์ประเภทต่างๆ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=750 border=0><TBODY><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" vAlign=top width=734 height=600><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" vAlign=top width=734 height=600>
    <TABLE class=style2 height=250 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=550 align=center border=1><TBODY><TR><TH style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" scope=col>[​IMG]</TH><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" scope=col>
    1. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิกอน (Single Crystalline Silicon Solar Cell)และชนิดผลึกโพลีซิลิกอน (Polycrystalline Silicon Solar Cell)
    ประเทศไทยนำเข้าเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิกอนมาใช้งานมากที่สุด ข้อดีเด่นคือ ใช้ธาตุซิลิกอนซึ่งมีมากที่สุดในโลกและมีราคาถูกเป็นวัตถุดิบ
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">[​IMG]</TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    2. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิกอน (Amorphous Silcon Solar Cell)
    ได้แก่ เซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้ในเครื่องคิดเลขซึ่งมีลักษณะสีม่วงน้ำตาล มีความบางเบา ราคาถูกผลิตให้เป็นพื้นที่เล็กไปจนถึงใหญ่หลายตารางเมตรได้ใช้ธาตุซิลิกอนเช่นกัน แต่เคลือบให้เป็นฟิล์มบางเพียง 0.5 ไมครอน หรือ 0.0005 มิลลิเมตรเท่านั้น
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">[​IMG]</TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    3. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกแกลเลียมอาร์เซไนดิ (Gallium Arsenide Solar Cell)
    เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิธิภาพสูงระดับร้อยละ 25 ขึ้นไปแต่มีราคาแพงมากไม่นิยมนำมาใช้งานบนพื้นโลก จึงใช้งานสำหรับดาวเทียมเป็นส่วนมาก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    -เซลล์แสงอาทิตย์เป็นแปล่งพลังงานทดแทนซึ่งสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ (หรือแสงจากหลอดแสงสว่าง)ให้เป็นพลังงาน
    ไฟฟ้าโดยตรงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สะอาดและไม่สร้างมลภาวะขณะใช้งานไม่ทำลายสภาพแวดล้อมเพียง แต่ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ไว้กลางแดดก็สามารถใช้งานได้ทันทีเซลล์แสงอาทิตย์ทำงานได้โดยไม่สร้างเสียงรบกวนหรือการเคลื่อน ไหวเนื่องจากเซลล์แสงอาทิตย์ทำงานโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เท่านั้นจึงเป็นการประหยัดน้ำมันและอนุรักษ์
    พลังงานและสามารถผลติกระแสไฟฟ้าได้จากแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานทีทมนุษย์ได้มาฟรีและมีไม่สิ้นสุดอายุการใช้งานของ
    เซลล์แสงอาทิตย์ยาวนานกว่า 20 ปี ดังนั้นเมื่อลงทุนติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ในครั้งแรก ก็แทบจะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกต่อไป
    - การใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ไม่มีความสลับซับซ้อนและไม่มีอันตราย ประชาชนทั่วไปสามารถหาซื้อและติดตั้งเพื่อใช้งานในครัว
    เรือนด้วยตนเอง การใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์แบบง่ายๆอาจเริ่มจากการซื้ออุปกรณ์ชุดเซลล์แสงอาทิตย์สำเร็จรูปมาใช้งานเพื่อให้
    เกิดการคุ้นเคย เช่น ไฟส่องสนามพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟส่องโรงจอดรถพลังงานแสงอาทิตย์ ชุดหลอดฟลูออเรสเซนต์พลังงาน
    แสงอาทิตย์ สำหรับการออกแบบระบบใหญ่ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ​
    ตัวอย่างการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ในด้านต่างๆ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" width=16> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=716 border=1><TBODY><TR><TH style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" scope=col colSpan=2 rowSpan=4>[​IMG]</TH><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" scope=col width=509 height=24>
    ทางทะเล แสงไฟประภาคาร แสงไฟของทุ่นลอยน้ำ
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    ทางบก ไฟสัญญาณข้างถนนไฟสัญญาณพื้นถนนไฟสัญญาณให้รถไฟ โคมไฟบนทางด่วน
    โทรศัพท์ฉุกเฉินบนทางด่วน กล้องวิดีโอข้างถนน พัดลมระบายอากาศที่หน้าต่าง / หลังคารถยนต์
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    ทางอากาศ ดวงไฟสิ่งกีดขวางในที่สูง ดวงไฟนำร่องขึ้นลง
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    สถานีถ่ายทอดวิทยุโทรทัศน์บนภูเขาสูง เครื่องวัดพยากรณ์อากาศ กล้องตรวจความปลอดภัยที่เขื่อน โทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์ทหาร
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" colSpan=2 rowSpan=2>
    [​IMG]
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">ท่อน้ำมัน ท่อก๊าซ สะพานเหล็ก เขื่อนกั้นคลื่น แสงไฟท่อก๊าซ</TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    โคมไฟถนน โคมไฟสนามหญ้า โคมไฟประตูรั้ว โคมไฟป้ายรถเมล์ โคมไฟตู้โทรศัพท์ โคมไฟป้ายประกาศ โคมไฟป้ายลี้ภัย โคมไฟหอนาฬิกา หอนาฬิกา เครื่องขยายเสียง ปั๊มสูบน้ำ ประตูรั้วไฟฟ้า ประตูบ้านไฟฟ้า โคมไฟติดผนังอาคารเสริมงานสถาปัตยกรรม โคมไฟติดตั้งที่หลังคาสระว่ายน้ำ โคมไฟติดตั้งที่หลังคาสนามกีฬา
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" width=111 rowSpan=2>
    [​IMG]
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" width=74 rowSpan=2>
    การอวกาศ
    การปศุสัตร์​
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" height=27>ดาวเทียม สถานีอวกาศ ยานอวกาศเดินทางไกล</TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" height=24>
    รั้วไฟฟ้าป้องกันสัตว์หนี ปั๊มน้ำดื่มน้ำใช้ แสงไฟจับกบจับแมลงต่างๆ
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    เครื่องกระตุ้นการแพร่พันธุ์สัตว์น้ำในทะเลด้วยเสียงและแสงไฟ โคมไฟล่อปลาในทะเล โคมไฟหาปลาในทะเล ห้องเย็นเก็บสัตว์ทะเล เป่าลมลงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อกระตุ้นการแพร่พันธุ์
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" colSpan=2>
    การเกษตรกรรม​
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    ปั๊มสูบน้ำ แสงไฟกรีดยางพารา บ้านชาวสวนยาง หุ่นไล่การ้องไล่นก ห้องอบ / เป่าพืชให้แห้ง เครื่องนวดข้าวกลางทุ่งนา การชลประทาน ระบบฉีดพ่นน้ำ
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" colSpan=2>
    การวัดและรักษาสภาพแวดล้อม​
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    เครื่องวัดอุณหภูมิน้ำทะเล เครื่องวัดความเค็มน้ำทะเล เครื่องวัดความเร็วน้ำทะเล เครื่องวัดความสูงคลื่นทะเล เครื่องวัดฝุ่นในอากาศ เครื่องวัดระดับเสียง / ควัน เครื่องวัดละอองเกสรดอกไม้ (ป้องกันโรคภูมิแพ้) เป่าลมลงบ่อน้ำ / คลอง
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" colSpan=2>
    การแพทย์​
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    ตู้เย็นเก็บยาและวัคซีน โคมไฟสถานีอนามัย วิทยุสื่อสาร
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" colSpan=2 rowSpan=2>[​IMG]</TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    เรือมอเตอร์ โคมไฟแคมป์ วิทยุสื่อสาร โทรทัศน์ โคมไฟบ้านพักตากอากาศ เครื่องบิน เครื่องร่อน รถยนต์ไฟฟ้า ของเล่นไฟฟ้า รถไฟฟ้าสนามกอล์ฟ หมวกติดพัดลม
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    ต่อเข้าระบบการไฟฟ้าฯ หมู่บ้านห่างไกล โรงเรียนห่างไกล สถานีอนามัยห่างไกล
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" colSpan=2>
    [​IMG]ภายในอาคาร​
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    เครื่องคิดเลข นาฬิกาข้อมือ ของเล่น ประตู-หน้าต่างผลิตไฟฟ้าได้ พัดลมระบายอากาศที่หน้าต่าง
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" colSpan=2>
    ติดตั้งบนหลังคาบ้าน​
    </TD><TD style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif">
    จ่ายไฟฟ้าให้บ้าน หลอดแสงสว่าง ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 align=center border=0><TBODY><TR><TH style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" scope=col>[​IMG]</TH></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 align=center border=0><TBODY><TR><TH style="FONT-FAMILY: MS Sans Serif" scope=col>[​IMG]</TH></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา : [​IMG]
     
  18. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย

    ประเทศไทยได้เริ่มมีการใช้งานจากเซลล์แสงอาทิตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 โดยหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิแพทย์อาสาฯ มีจำนวนประมาณ 300 แผง แต่ละแผงมีขนาด 15/30 วัตต์ และนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีนโยบายและแผน ระดับชาติด้าน เซลล์แสงอาทิตย์ บรรจุลงใน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ได้ติดตั้ง ใช้งาน อย่าง จริงจัง ในปลายปีของ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) โดยมี กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมโยธาธิการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่เป็นหน่วยงานหลัก ในการนำเซลล์แสงอาทิตย์ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้งานในด้านแสงสว่าง ระบบโทรคมนาคม และเครื่องสูบน้ำ
    ข้อมูลของการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อใช้งานในประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2540 มีหน่วยงานต่างๆ ได้ติดตั้ง เซลล์ ขึ้นสาธิตใช้งานในลักษณะต่างๆ รวมกันแล้วประมาณ 3,734 กิโลวัตต์ ลักษณะการใช้งาน จะเป็นการติดตั้งใช้งานใน พื้นที่ที่ห่างไกล เป็นสถานีเติม ประจุแบตเตอรี 39% ระบบสื่อสารหรือสถานีทวนสัญญาณ ของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย 28% ระบบสูบน้ำด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ 22% ระบบไฟฟ้าหมู่บ้านที่ห่างไกล 5% และ สัดส่วนที่เหลือจะติดตั้งใน โรงเรียนประถมศึกษา สาธารณสุข และ ไฟสัญญาณไฟกระพริบ
    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 เพื่อใช้งานในกิจการต่างๆ ของ กฟผ. ปัจจุบันติดตั้งใช้งานไปแล้ว ประมาณ 70 กิโลวัตต์ โดย กฟผ. ได้ทำการสาธิตการผลิตไฟฟ้า โดยใช้ เซลล์แสงอาทิตย์ ร่วมกับพลังงานชนิดอื่นๆ เช่น พลังน้ำ พลังงานลม แล้วส่งพลังงานที่ผลิตได้เข้าระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าภูมิภาคต่อไป กฟผ. ยังได้สาธิตการผลิตไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยไม่ใช้แบตเตอรี่
    ในระบบ บ้านแสงอาทิตย์ เป็นหลังแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณ สถานีพลังงาน แสงอาทิตย์สันกำแพง หมู่บ้านสหกรณ์ 2 อ. สันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดยทำการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์จำนวน 44 แผง รวมกำลังการผลิต 2.5 กิโลวัตต์

    บทส่งท้าย

    แสงอาทิตย์เป็นพลังงานแห่งจักรวาล ต้นกำเนิดของพลวัตต่างๆ ที่ขับเคลื่อนโลกของเรา และป็นแหล่งพลังงานที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพชีวิต บนดาวเคราะห์สีน้ำเงินใบนี้ น่าเสียดายที่เรายังไม่ได้ใช้ความพยายามอย่างเพียงพอ ที่จะประยุกต์ใช้ขุมพลังงานอันบริสุทธิ์ และยิ่งใหญ่นี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    แต่กลับเผาผลาญเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ที่สะสมมานับเป็นล้านปีให้หมดไป ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ชั่วอายุคน และสิ่งเหล่านี้ก็ยากที่จะย้อนให้กลับคืนมาเหมือนเดิม ซึ่งผลที่ได้คือความสะดวกสบายและความเจริญก้าวหน้า แต่เราก็ต้องเผชิญกับความเสื่อมโทรม ของสภาวะแวดล้อมที่กำลังบั่นทอน ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้

    หวังว่าผลสำเร็จที่ได้จากโครงการนี้ จะเป็นแรงผลักดันให้ประเทศไทย มีการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยชะลอการเผาไหม้เชื้อเพลิง เพื่อผลิตไฟฟ้าปีละประมาณ 1,200–1,500 ลิตร ได้อีกทางหนึ่ง และสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศ ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น อันจะก่อให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพ และราคา ซึ่งจะส่งผลให้การใช้งาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณในอนาคต
    การเริ่มต้นร่วมมือกันในวันนี้คงยังไม่สาย หากเราจะกลับไปสู่พลังงานที่ให้กำเนิดชีวิต และมีให้ใช้อย่างเหลือเฟือ ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่ง ที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนพลังงาน และช่วยทำให้ปัญหามลภาวะเป็นพิษ เบาบางลงไป อันหมายถึงคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี ก็จะหวนกลับคืนมาสู่มวลมนุษย์และสรรพชีวิตบนดาวเคราะห์สีน้ำเงินใบนี้ ดังบทเพลงที่ กฟผ. ได้สร้างสรรค์ให้กับเด็กๆ ได้ร้องขับขาน เพื่อเชิญชวนให้คนไทยทุกคน ร่วมมือกันใช้พลังงานที่สะอาด เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    <CENTER><TABLE cellSpacing=7 cellPadding=0 width="63%" border=0><TBODY><TR><TD align=right width="50%">เก็บแสง จากฟากฟ้า</TD><TD width="50%">เก็บไว้จากทานตะวัน</TD></TR><TR><TD align=right width="50%">พรุ่งนี้จะดีกว่านี้</TD><TD width="50%">อุ่นใจ ใต้ผืนฟ้าไทย</TD></TR><TR><TD align=right width="50%">เก็บมา ที่บ้านฉัน</TD><TD width="50%">เก็บวัน ที่เฉิดฉาย</TD></TR><TR><TD align=right width="50%">อยากอยู่ตรงนี้ ใต้ฟ้าครามใส</TD><TD width="50%">ขอเพียงร่วมใจ คนไทยทุกคน</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
     
  19. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    มาดู มารู้จัก กังหันลม ยุคใหม่กันเถอะ คงจะเป็นต้นแบบของ Maglev Wind Turbine ที่เคยลงไว้



    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=o_QAb13SACU&feature=related"]YouTube - VAWT Cross flow lift/drag blade turbine[/ame]


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=m2dSge_9U2g&NR=1"]YouTube - Google Idea Contest Project 10^100 - Plug-In Wind Power![/ame]

    มีตัวอย่างหลายๆแบบ พร้อมทั้งคำอธิบายด้วย ลองไปดูกันเป็นความรู้นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 เมษายน 2009
  20. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 เมษายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...