พระจูฬปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 3 พฤษภาคม 2009.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    <CENTER>พระจูฬปันถกเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ

    </CENTER>พระจูฬปันถก เป็นน้องชายร่วมมารดาบิดาเดียวกันกับท่านพระมหาปันถก เมื่อพระมหาปันถกสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้รับความสุขจากการหลุดพ้นสิ้นกิเลสาสวะทั้งปวงแล้ว มีความปรารถนาจะให้จูฬปันถกน้องชายมีความสุขเช่นนั้นบ้าง จึงไปขออนุญาตจากธนเศรษฐีผู้เป็นคุณตา ซึ่งก็ได้รับอนุญาติและให้ความร่วมมือด้วยดี เพราะคุณตาก็เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว เมื่อจูฬปันถกได้รับการอุปสมบทเรียบร้อยแล้ว ท่านพระมหาปันกถก ผู้เป็นพี่ชายได้สอนคาถาพรรณราพุทธคุณหนึ่งคาถา ความว่า....

    <CENTER>ปทุทมํ ยถา โกกนุทํ สุคนฺธํ ปาโต สิตา ผุลฺลมวีตคนฺตํ
    องฺคีรสํ ปสฺส วิโรจมานํ
    ตปนฺตมาทิจฺจมิวนฺตลิเข
    </CENTER>

    <CENTER>“ ดอกปทุมชาติที่ชื่อว่าโกกนุท คือดอกบัว อันมีกลิ่นหอม บานแต่เช้า โดยปราศจากกลิ่นฉันใด
    เธอจงเห็นพระสักยมุนีอังคีรสผู้มีพระรัศมีแผ่ไพโรจน์
    อยู่ ดุจดวงทิวากรส่องสว่างอยู่กลางนภากาศ ฉะนั้น”

    </CENTER><HR><CENTER>ปัญญาทึบพี่ชายไล่สึก

    </CENTER>ด้วยคาถาเพียงคาถาเดียวเท่านี้ ปรากฏว่าพระจูฬปันถกเรียนอยู่นานถึง ๔ เดือนก็ยังจำไม่ได้ ท่านมหาปันถกพี่ชาย พยายามเคี่ยวเข็ญอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดก็เห็นว่าท่านเป็นคนโง่เขลาปัญญาทึบ เป็นคนอาภัพในพระพุทธศาสนา ไม่สามารถคุณพิเศษเจริญรุ่งเรืองในพระศาสนาได้ จึงตำหนิประฌามแล้วขับไล่ออกจากสำนักไป ด้วยคำว่า

    “ จูฬปันถก เธอใช้เวลาถึง ๔ เดือน ยังไม่อาจเรียนคาถาแม้เพียงบาทเดียวได้นับว่าเธอเป็นคนอาภัพ ไม่สมควรอยู่ในพระศาสนานี้ เพียงคาถาเดียวยังเรียนไม่ได้แล้วจะทำกิจแห่งบรรพชิตให้ถึงที่สุดได้อย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอจงออกไปเสียจากที่นี้เถิด ”

    พระจูฬปันถก ยังไม่ต้องการที่จะสึกไปเป็นคฤหัสถ์ เพราะมีความเยื่อใยในพระพุทธศาสนาอยู่ แต่เมื่อถูกขับไล่ จึงออกไปยืนร้องไห้อยู่นอกวิหาร

    ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ชีวกกัมพวันอุทยาน เมืองราชคฤห์ อันเป็นวัดที่หมอชีวกโกมารภัจสร้างถวายไว้

    ในวันนั้น หมอชีวกโกมารภัจถือดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นอันมากไปยังวัดอัมพวัน บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า สดับพระธรรมเทศนาเสร็จลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาพระมหาปันถกเถระในฐานะที่ท่านเป็นภัตตุเทสก์ แล้วกราบเรียนถามว่า

    ข้าแต่ท่านมหาปันถก พระภิกษุทั้งหมดในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่จำนวนเท่าไร ขอรับ ”
    พระมหาปันถกเถระ “ อุบาสก พระภิกษุสงฆ์มีอยู่ประมาณ ๕๐๐ รูป ”

    หมอชีวกโกมารภัจ “ ท่านผู้เจริญ วันพรุ่งนี้ กระผมนิมนต์พระคุณเจ้า ๆ กรุณาพาภิกษุสงฆ์ทั้ง ๕๐๐ รูป มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระมุขไปรับภิกษาในเรือนของกระผมเถิด ขอรับ ”

    พระมหาปันถกเถระ “ อ้อ อุบาสก พระภิกษุโง่มีอยู่รูปหนึ่ง ชื่อจูฬปันถกไม่สามารถเจริญธรรมให้งอกงามได้ อาตมาจะเว้นเธอไว้เสียรูปหนึ่ง จะไม่นิมนต์ไปด้วย แล้วจะนิมนต์พระภิกษุทั้งหมดผู้อยู่ในที่นี้ไป ”
    ท่านพระจูฬปันถก ฟังคำของพี่ชายแล้วยิ่งเสียใจมากขึ้นและคิดว่า “ พี่ชายของเรารับนิมนต์ไว้เพื่อพระภิกษุทั้งหลายมีประมาณห้าร้อยรูป แต่ตัดเราออกเสียออกจำนวนนั้น แล้วรับนิมนต์ นี่จิตของพี่ชายเรา คงหมดเยื่อใยในตัวเราแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย บัดนี้เราจะต้องการอะไรด้วยพระศาสนานี้ เราจะสึกไปเป็นคฤหัสถ์หาเลี้ยงชีพ และกระทำบุญต่าง ๆ มีการถวายทานเป็นต้นก็ได้ ”

    วันรุ่งขึ้น เมื่อท่านคิดตัดสินใจแน่แน่วแล้ว ก็ออกจากที่อยู่ไปเพื่อจะสึกแต่เช้าตรู่ทีเดียว
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำพุทธกิจประจำวันด้วยการตรวจดูสัตว์โลกคือหมู่ สัตว์ในเฉพาะเวลาใกล้รุ่ง เพื่อเสด็จไปโปรด เมื่อทรงเห็นท่านพระจูฬปันถกกำลังกลัดกลุ้มใจ เสียใจหนัก และตัดสินใจเช่นนั้น จึงเสด็จล่วงหน้าไปทรงหยุดจงกรมอยู่ที่ซุ้มประตูใกล้ประตูทางที่ท่านจูฬปัน ถกจะออกไปสึก
    ท่านพระจูฬปันถก เมื่อเดินไปถึงซุ้มประตูทางออกจากวิหารได้พบกับพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรงเข้าไปถวายบังคมพระยุคคลบาท

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านจูฬปันถกว่า “ จูฬปันถก นั้นเธอจะไปไหนแต่เช้าตรู่เช่นนี้ ? ”

    “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระมหาปันถกได้ขับไล่ข้าพุทธเจ้าออกจากอาราม ดังนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจะไปลาสิกขา พระเจ้าข้า ”

    พระพุทธองค์ “ จูฬปันถก เธอบรรพชาในสำนักของตถาคต เมื่อถูกพี่ชายขับไล่ ทำไมเธอจึงไม่มาหาตถาคตเล่า มาเถิดจูฬปันถก เธอจะไปเป็นคฤหัสถ์เพื่อประโยชน์อะไร เธอต้องอยู่ต่อไปในสำนักของตถาคต พี่ชายของเธอไม่มีอาสนุสญาณ คือญาณเป็นเครื่องรู้ซึ่งฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสเป็นที่มานอนตามของบุคคล อื่นได้ เธอเป็นบุคคลผู้เป็นพุทธเวไนย คือ ผู้ที่พระพุทธเจ้าพึงนำไปได้ หรือควรแนะนำสั่งสอนได้ ” ตรัสดังนี้แล้ว

    พระพุทธองค์ทรงยกฝ่าพระหัตถ์ที่มีพื้นอันวิจิตรด้วยรูปจักร ลูบที่ศีรษะของพระจูฬปันถกเถระ แล้วพาไปนั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฏิ ประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ ผืนเล็ก ให้เธอผืนหนึ่ง แล้วทรงแนะนำให้เธอบริกรรมด้วยคาถาว่า รโชหรณํ รโชหรณํ พร้อมกับใช้มือลูบคลำผ้าผืนนั้นไปด้วย เธอรับผ้ามาด้วยความยินเอิบอิ่มใจ แสวงหาที่สงบสงัดแล้วเริ่มปฏิบัติบริกรรมคาถา ลูบคลำผ้าที่พระพุทธองค์ประทานให้เธอบริกรรมได้ไม่นาน ผ้าขาวที่สอาดบริสุทธิ์ผืนนั้น ก็เริ่มมีสีคล้ำเศร้าหมอง เหมือนผ้าเช็ดมือ จึงคิดขึ้นว่า “ ผ้าผืนนี้ เดิมทีมีสีขาวบริสุทธิ์ แต่อาศัยการถูกต้องสัมผัสกับอัตภาพของเรา จึงกลายเป็นผ้าสกปก เศร้าหมอง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ” แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ยกผ้าผืนนั้นขึ้นเปรียบเทียบกับอัตภาพร่างกายเป็นอาราณ์ ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ คือปัญญาอันแตกฉานมี ๔ ประการ คือ

    ๑ . อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
    ๒ . ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
    ๓ . นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติคือภาษา
    ๔. ปฏิภานปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า “ จิตของจูฬปันถกยกขึ้นสู่วิปัสสนาจึงตรัสเตือนใจในขณะที่ท่านพระจูฬปันถกกำ ลังพิจรณาผ้าผืนนั้นว่า

    “ จูฬปันถกเธอย่ากระทำความหมายเฉพาะท่อนผ้านั้นว่า เศร้าหมองแล้วเปื้อนธุลีแล้ว ” ก็ธุลีทั้งหลายมีธุลี คือราคะเป็นต้น ซึ่งมีอยู่ภายในใจของเธอ เธอจงกำจัดออกไปเสีย ”

    แล้วเปล่งพระรัศมีให้เป็นผู้มีพระรูปปรากฏดุจประประทับอยู่ตรงหน้าและทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
    ราคะ ชื่อว่าธุลี แต่เรณู ( ละออง ) ท่านไม่เรียกว่าธุลี คำว่าธุลี เป็นชื่อของกิเลส คือราคะ ภิกษุทั้งหลายละธุลีนี้ขาดแล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทะเจ้าผู้ปราศจากธุลี

    โทสะ ชื่อว่าธุลี แต่เรณู ท่านไม่เรียกว่า ธุลี คำว่าธุลี เป็นชื่อของกิเลส คือโทสะ ภิกษุทั้งหลายละธุลีนี้ขาดแล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี

    โมหะ ชื่อว่าธุลี แต่เรณู ท่านไม่เรียกว่า ธุลี คำว่าธุลี เป็นชื่อของกิเลส คือโมหะ ภิกษุทั้งหลายละธุลีนี้ขาดแล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี

    ในเวลาจบพระคาถานี้ลง ท่านพระจูฬปันถกพิจรณาตามไป ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ดังกล่าวมาแล้ว
    ฝ่ายหมอชีวกโกมารภัจ หลังจากพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นประธาน ได้ขึ้นนั่งบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว จึงเตรียมภัตตาหารออกมาจะแก่พระภิกษุสงฆ์และพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่พระองค์ทรงพระหัสถ์ขึ้นปิดบาตรไว้เสียแล้วตรัสว่า “ ชีวก เพราะว่าที่วิหารยังมีพระภิกษุอีกรูปหนึ่ง จงให้คนไปนิมนต์มา ” หมอชีวกจึงส่งหันไปสั่งให้คนไปนิมนต์ว่า “ เธอจงไปนำพระภิกษุที่อยู่ในวิหารมา ”

    <HR><CENTER>ประกาศความเป็นอรหันต์

    </CENTER>ขณะนั้น พระจูฬปันถกเถระ เพื่อประกาศความเป็นพระอรหันต์ของตนให้ปรากฏ จึงได้เนรมิตพระภิกษุเพิ่มขึ้นถึงจำนวน ๑,๐๐๐ รูปในพระอารามอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ กัน บ้างก็สาธยายพุทธคุณ บ้างก็ซักจีวร บ้างก็ย้อมจีวร เป็นต้น เมื่อคนรับใช้ มาถึงวิหารได้เห็นพระภิกษุจำนวนมากมาอย่างนั้นไม่รู้จะนิมนต์รูปไหน จึงกลับไปแจ้งแก่หมอชีวก “ ที่วิหารไม่ใช่มีพระภิกษุรูปเดียว แต่มีอยู่มาก ขอรับ ”
    พระพุทธองค์ทรงสดับอยู่ด้วย จึงรับสั่งให้คนใช้นั้นไปนิมนต์ท่านที่ชื่อจูฬปันถก
    คนรับใช้ไปกราบนิมนต์ แล้วเรียนถามว่า “ ท่านรูปไหนขอรับ ที่ชื่อว่าท่านพระจูฬปันถก ”
    ปรากฏว่าพระภิกษุทั้งพันรูป ต่างก็พูดเหมือนกันว่า “ อาตมา ชื่อจูฬปันถก ”
    คนรับใช้จนปัญญาไม่รู้จะนำท่านพระจูฬปันถกรูปไหนไป จึงรีบกลับไปเรียนให้หมอชีวกโกมารภัจทราบว่า “ พระภิกษุทั้งหมดนั้น ท่านชื่อว่าจูฬปันถกเหมือนกันทุกรูป ไม่รู้จะนิมนต์รูปไหนดี ขอรับ ”
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความเป็นไปที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นว่าจูฬปันถก กระทำแก้คำของพี่ชายที่พูดว่า ภิกษุไม่มีอยู่ในวิหาร จึงตรัสกับบรุษคนรับใช้ผู้นั้นว่า “ เธอจงกลับไปอีกครั้งเถิดและถามว่า รูปไหนชื่อ พระจูฬปันถก ถ้าพระภิกษุรูปใดกล่าวขึ้นก่อน เธอจงจับชายจีวรของพระภิกษุรูปนั้นแล้วบอกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งหา ”

    คนรับใช้ได้กลับไปที่วิหาร แล้วปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งและในทันใดนั้น พระภิกษุหนึ่งพันรูปก็หายไป เหลือแต่ท่านพระจูฬปันถกผู้เป็นพระเถระตัวจริงเพียงรูปเดียว จึงได้นำพระจูฬปันถกเถระมายังบ้านของหมอชีวกโกมารภัจ

    เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระบรมศาสดาทรงมอบให้ท่านเป็นผู้กล่าวภัตตานุโมทนา อันเป็นการเสริมศรัทธาแก่หายกหายิกา

    <HR><CENTER>บุพพกรรมของพระจูฬปันถก

    </CENTER>ในอดีตกาล ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ พระจูฬปันถกได้บวชเป็นพระภิกษุในครั้งนั้นด้วย ท่านได้เป็นผู้มีปัญญาดี จำทรงหลักธรรมคำสอนได้รวดเร็วและแม่นยำ ท่านเห็นเพื่อนภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งปัญญาทึบท่องสาธยายหัวข้อธรรมเพียงบทเดียวก็จำไม่ได้ จึงหัวเราะเยาะท่าน ทำให้ภิกษุรูปนั้นเกิดคววามอับอายเลิกเรียนสาธยายหัวข้อธรรมนั้น เพราะกรรมเก่าในครั้งนั้นจึงเป็นผลติดตามให้ท่านมีปัญญาทึบโง่เขลาในอัตภาพ นี้

    พระจูฬปันถก สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เป็นกำลังช่วยกิจการพระศานาตามความสามารถของท่าน และโดยที่ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในมโนมยิทธิ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้เชี่ยวชาญในมโนมยิทททธิ
    ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน...


    ที่มา...http://www.larnbuddhism.com/atatakka/pratera/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2012
  2. thammakarn

    thammakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +376
    อ่านแล้วซึ้ง ขอบคุณมากๆเลย
     
  3. เ่ต่าโบราณ

    เ่ต่าโบราณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    713
    ค่าพลัง:
    +3,624
    ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้ และได้กำลังใจค่ะ จะพยายามต่อไปค่ะ
     
  4. นางสาวอยู่จ้ะ

    นางสาวอยู่จ้ะ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +3,865
    อนุโมทนาบุญค่ะ ขอบคุณนะคะ สอนใจได้มาก
    งั้นเราก็ไม่ควรว่าใครว่า "โง่" ใช่มั้ยคะ มันจะได้กรรมติดมา
     
  5. chuchart_11

    chuchart_11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +2,932
    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมใดที่ท่านสำเร็จแล้ว ขอข้าพเจ้าสำเร็จด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046

แชร์หน้านี้

Loading...