พระอาจารย์มั่นอธิบายการเดินธุดงค์

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สยาม, 11 พฤษภาคม 2009.

  1. สยาม

    สยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +153
    พระอาจารย์มั่นฯ ได้ให้คำตอบและอธิบายเรื่องนี้ให้พระองค์นั้น (ในระหว่างท่านพาหลวงพ่อวิริยังค์ไปถวายพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์เสาร์ ได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่งเข้ามาถาม) อย่างแจ่มแจ้ง โดยใจความว่า การเดินธุดงค์นั้นมุ่งหมายเพื่อถ่ายถอนกิเลส กำจัดกิเลส การที่ออกธุดงค์โดยการโฆษณาหรือประกาศโฆษณาว่าจะออกไปทางโน้นทางนี้ โดยต้องการว่าจะให้คนไปหามากๆ นั้น ไม่ชื่อว่าเป็นการถูกต้อง

    ธุดงค์ก็แปลว่า เครื่องกำจัดความอยาก มีการฉันหนเดียว ฉันในบาตรไม่มีภาชนะอื่น การบิณฑบาต การอยู่โคนต้นไม้ การอยู่ป่า การปฏิบัติอย่างนี้ชื่อว่าเป็นธุดงค์ เช่นการฉันหนเดียวเป็นการตัดความอยากที่จะต้องการฉันอย่างโน้นอย่างนี้ เมื่อฉันแล้วก็แล้วกัน ในวันนั้นตัดการกังวลทั้งปวง หรือ เช่นการฉันในบาตร ก็ไม่ต้องคิดถึงรสชาติ หรือต้องหาภาชนะให้เป็นการกังวล ที่จะคิดว่าจะแบ่งกับข้าว และข้าวไว้ต่างกันเพื่อหารสชาติแปลกๆ ต่างๆ รวมกันหมดในบาตร เป็นการขจัดความอยากอย่างหนึ่ง หรือเช่นการไปอยู่ในป่าที่ไกลจากบ้านพอสมควร หือในถ้ำภูเขานี้ก็เป็นการหาสถานที่เพื่อบำเพ็ญกัมมัฏฐาน แสวงหาความสงบเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม


    การแสวงหาแหล่งที่เป็นป่า ภูเขา-ถ้ำนี้ต้องหาสถานที่เป็นสัปปายะเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณกิจ สมณธรรมจริง อย่าไปหาถ้ำภูเขาที่ประชาชนไปกันมากเป็นการผิด และไม่เป็นการดำเนินธุดงค์ หรือจะไปแสวงหาแหล่งที่เป็นภูเขา ถ้ำที่เป็นแหลางเหมาะแก่การที่ประชาชนจะไปให้มาก และอยู่นานๆ จนประชาชนรู้จัก แล้วก็จัดการก่อสร้างถาวรวัตถุให้เป็นที่จูงใจนักท่องเที่ยว มิหนำซ้ำยังมีการชักชวนประชาชนให้มาดูมาชม เขาไม่มาก็ไปหาเขา เขามาก็ต้อนรับด้วยวิธีการต่างๆ จนประชาชนติดใจ ชักชวนกันมา พระธุดงค์เหล่านั้นกลับดีใจว่าประชาชนขึ้นตัวมาก ไม่พยายามที่จะคิดหนีหรือไม่วิเวกหาทางอื่นอีก บางแห่งทำสถานที่โอ่อ่ายิ่งกว่าในบ้านในเมืองเขาเสียอีกอย่างนี้


    เมื่อพระอาจารย์มั่นฯ ได้พรรณนาถึงความเป็นเช่นนี้เกี่ยวกับการธุดงค์ ท่านจึงให้หลีกจากความเป็นดังกล่าวเสีย เมื่ออยู่นานจะเป็นการเคยชินแล้วก็พยายามหาหนทางจะไปทางอื่น เมื่อรู้ว่ามีคนมามากก็รีบหลีกเลี่ยงไปเสีย การธุดงค์ถึงจะถูก และเป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลสได้จริง เมื่อจะอยู่ที่ใดอันเป็นแหล่งของการวิเวกสงบสงัดแล้ว ก็พึงอยู่ที่นั่น แล้วบำเพ็ญประโยชน์แก่ตน ยิ่งสงบเท่าใดยิ่งดี ยิ่งปราศจากผู้คนเท่าไรยิ่งดี ยิ่งอยู่ในดงสัตว์ร้ายยิ่งดี และพยายามอย่าอยู่แห่งเดียว เปลี่ยนที่อยู่เสมอๆ เพื่อแก้ความเคยชินต่อสถานที่

    ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านเตือนหนักเตือนหนาว่าอย่าเอาการอยู่ป่า อยู่บนภูเขา อยู่ในถ้ำ เป็นเครื่องมือโฆษณาเป็นอันขาด เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการทำให้คนแตกตื่น เพราะคนชอบแตกตื่นกันอยู่แล้ว พอเห็นของแปลกเข้าก็เลยแตกตื่นกันใหญ่ หากทำเช่นนั้นถือว่าเป็นการปลอมแปลงการถือธุดงค์ จะไม่ได้รับผลจากการรักษาปฏิบัติธุดงค์ตามความมุ่งหมาย




    จากหนังสือ ประวัติพระอาจารย์มั่น ฉบับสมบูรณ์ และใต้สามัญสำนึก โดยพระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล) หน้า 107<O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • viriyung.jpg
      viriyung.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.5 KB
      เปิดดู:
      118
  2. สยาม

    สยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +153
    ธรรมธุดงควัตรที่ท่านถือเป็นข้อปฏิบัติมี 7 ข้อ

    1.ถือผ้าบังสุกลเป็นเครื่องนุ่งห่ม เมื่อชำรุดเปื่อยขาดไปเย็บประชุนด้วยมือตัวเอง ย้อมเป็นสีแก่นขนุนหรือสีกรัก จีวรเป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่ยอมรับปติผ้าไตรจีวรสวย ๆ งาม ๆญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายถวายด้วยมืออย่างเด็ดขาด

    2. ออกบิณฑบาตทุกวันเป็นประจำ แม้จะป่วยไข้ก็ตาม พยายามพยุงกายออกบิณฑบาตยกเว้นเฉพาะวันที่ไม่ขบฉันอาหารเพราะจะเร่งบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐานด้วยความเพลิดเพลินอาจหาญร่าเริงในธรรม ซึ่งมีอยู่บ่อย ๆ ที่ท่านเดินจงกรมและนั่งสมาธิ ภาวนาติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันโดยไม่ขบฉันอาหารเลย

    3. ไม่ยอมรับอาหาร ที่ญาติโยมพุทธบริษัทตามส่งทีหลัง รับเฉพาะที่ใส่บาตร

    4. ฉันมื้อเดียว คือฉันวันละหน ไม่ยอมฉันอาหารว่างใด ๆ ทั้งสิ้น ที่เป็นอามิสเข้าปะปน

    5. ฉันอาหารในบาตร คือมีภาชนะใบเดียว ไม่ยอมฉันในสำรับข้าวที่มีอาหารต่าง ๆ อาหารคาวหวานทั้งหลายคลุกเคล้าฉันรวมแต่ในบาตร ไม่ติดใจในรสชาติอาหาร ฉันเพียงเพื่อยังสังขารให้พออยู่ได้เพื่อเพียงจะได้บำเพ็ญเพียรภาวนาสร้างบารมีธรรม

    6. อยู่ในป่าเป็นวัตร ปฏิบัติคือท่องเที่ยวเจริญสมณะธรรมกรรมฐานอยู่ใต้ร่มไม้บ้าง ในป่าธรรมดาบ้าง ในถูเขาบ้าง ในหุบเขาบ้าง ในถ้ำ ในเงื้อมผาอันเป็นที่สงัดวิเวกไกลจากชุมชน

    7. ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร คือมีผ้า 3 ผืน ได้แก่ สังฆาฏิ จีวรและสบง ( เว้นผ้าอาบน้ำฝนซึ่งจำเป็นต้องมีเป็นธรรมดา ในสมัยนี้ ) สำหรับธุดงควัตรข้ออื่น ๆ นอกจากที่กล่าวนี้แล้ว ท่านพระ อาจารย์มั่นสมามานและปฏิบัติเป็นบางสมัย แค่เฉพาะ 7 ข้อข้างต้นที่ท่านปฏิบัติเป็นประจำจนกลายเป็นนิสัย ซึ่งจะหาผู้เสมอเหมือนได้ยาก ท่านมีนิสัยพูดจริงทำจริงซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่น เมื่อตั้งใจจะทำอะไรแล้วต้องทำให้ได้เรียกว่าสัจจะบารมี แม้จะเอาชีวิตเข้าแลกก็ยอม มีความพากเพียรอย่างแรงกล้า มุ่งหวังต่อแดนหลุดพ้นพระนิพพานอย่างจริงใจ รู้ซึ้งถึงภัยอันน่ากลัวของการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารอย่างถึงใจ ไม่ใช่สักแต่ว่ารู้เฉย ๆ

    ท่านรู้จริงเห็นว่าจริงว่า การต้องเกิดแล้วตาย ........ ตายแล้วเกิด........วนไปเวียนมาเป็นวงจักรไม่มีสิ้นสุดนี้เป็นเรื่องจริงเป็นเรื่องน่าเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าหามบาปหาบทุกข์เปี่ยมแปล้ออยู่นั่นแล้วไม่มีที่สิ้นสุดยิ่งคิดยิ่งพิจารณาไปก็ยิ่งเห็นเป็นเรื่องน่ากลัวน่าเบื่อหน่ายเหลือประมาณ ชาตินี้เกิดเป็นมนุษย์ ชาติหน้าเกิดเป็นเทวดาเกิดเป็นพรหม พอหมดจากพรหมลงมาเกิดในนรก จากนรกมาเกิดเป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นสัตว์ ดิรัจฉานวนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ไม่รู้กี่ภพกี่แสนชาตินับเป็นอสงไขยหรือหลายแสนหลายพัน ๆ ล้าน ปีเมื่อเกิดแต่ละภพแต่ละชาติก็ต้องใช้บาปกรรมของภพชาตินั้นอย่างถึงพริงถึงขิงทั้งทุกข์ทั้งสุขอันไร้แก่นสารสาระน่าเบื่อหน่ายจริง ๆ

    จะมีแต่แดนหลุดพ้นคือพระนิพพานเท่านั้นเป็นแดนสุขเกษมอย่างแท้จริง นิพพานปรมสุข นิพพานเป็นแดนสุขอย่างยิ่งเป็นแดนรอดปลอดจากทุกข์ เป็นแดนของพระวิสุทธิเทพหรือพระอรหันต์ผู้เสวยความสุขที่ยอดเยี่ยมและสูงสง่า เป็นความสุขสำราญทั้งกาย ( ธรรมกาย ) และใจ ที่สุขล้นพ้นเหนือมหาเศรษฐี เหนือพระราชาพระมหากษัตริย์ เหนือเทวดาและพรหมที่พึงได้รับ เมื่อพระอรหันต์ทิ้งร่างมนุษย์ไปแล้ว รูปก็สูญ เวทนาสูญ สัญญาสูญ สังขารสูญ วิญญาณสูญ แต่ใจยังคงอยู่ เป็นจิตที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้วปราศจากอาสวะกิเลสทั้งหลายทั้งปวง เป็นจิตที่มีดวงสุกใสประดุจดาวประกายพรึก

    จิตดวงนี้จะพุ่งไปสถิตอยู่ ณ แดนพระนิพพาน เมื่ออยากครองร่างสมบัติใด ๆ เช่นกายทิพย์หรือธรรมกาย ก็พร้อมที่จะนฤมิตได้เพื่อเสวยความสุขสุดยอดนานับการ ถ้าไม่อยากจะเสวยสุขในร่างสมมติหรือธรรมกายจะอยู่เฉย ๆ เหมือนเข้านิโรธสมาบัติทรงอยู่แต่จิตสุกใสดวงเดียวก็ได้เป็นแดนที่ไม่ต้องตายอีกต่อไป ไม่ต้องไปเกิดอีกต่อไป หากมีความทรงตัวอยู่เสวยความสุขอันยอดเยี่ยมที่เทวดาและพรหมทั้งหลายมีความใฝ่ฝันปรารถนาถึงยิ่งนัก


    ���ʺ��ó��š�Ծ�� 㹡���͡�ش����ͧ����Ҩ�������� ���Էѵ�� - �����͡�����
     
  3. สยาม

    สยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +153
    ธุดงควัตร 13

    1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    2. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
    3. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร<O:p</O:p
    4. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร<O:p</O:p
    5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร<O:p</O:p
    6. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร<O:p</O:p
    7. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร<O:p</O:p
    8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร<O:p</O:p
    9. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร<O:p</O:p
    10. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร<O:p</O:p
    11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร<O:p</O:p
    12. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร<O:p</O:p
    13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร
    <O:p</O:p

    การถือธุดงค์บำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว


    เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง

    อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไป ตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้ เพิงผาและ ตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในป่าที่ดารดาษ ไปด้วยสิงสาราสัตว์ ภัยอันตราย เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม พุทโธ อยู่กับสายลมหายใจ การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ พระธุดงค์กรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตจะผ่านการประหารกิเลส ด้วยธุดงควัตร จิตของพระคุณเจ้า จึงมั่นคง เข้มแข็งด้วย ศีลสมาธิปัญญาศรัทธาความเพียร


    http://www.watpa.us/index.php?option=com_content&task=view&id=31&Itemid=60<O:p</O:p
     
  4. อวิชานาคา

    อวิชานาคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    268
    ค่าพลัง:
    +345
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัส สรรเสริญพระสมณะ ผู้มุ่งมั่นแสวงหาความสงบวิเวก เพื่อบำเพ็ญเพียรทางจิตในป่าเขา เช่นพระอาจารย์ มั่นนี้ว่า เป็นสมณะอันประเสริฐยิ่ง ซึ่งพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต ได้รับการยกย่องจากผองชน และบรรพชิตโดยทั่วไปว่า ท่านคือพระผู้เป็นเลิศทางธุดงควัตรโดยแท้

    (คัดลอกมาจากเทปประวัติพระอาจารย์มั่น)

    อนุโมทนา สาธุ
     
  5. batong

    batong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +107
    ขออนุโมทนา
    โรงเรียนกวดวิชา Betong Mini School (BMS) สอนพิเศษ วิชาคณิต-วิทย์ ป.1-ม.6
    ได้มาตรฐาน มีความพร้อม ด้านสถานที่เรียน ครูผู้สอนมากที่สุดในเบตง
    โดยครูอ้อย จิตตินันท์ พัสระ วท.บ.เคมี ม.ราม
    ติดต่อ..084-1959947 084-0672921 073-234761
    388/36 ถ.สุขยางค์ อ.เบตง จ.ยะลา
    ตั้งใจมุ่งมั่นที่จะพัฒนาด้านการเรียนเด็กเบตง มีพื้นฐานมีความรู้สามารถแข่งขันกับเด็กในเมือง อย่างภาคภูมิใจ สอนพิเศษที่เบตง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...