กลัวฝึกอภิญญาไม่สำเร็จ แล้วเสียเวลาเปล่าครับ กลุ้มมาก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย dawsonsc222, 4 พฤษภาคม 2006.

  1. dawsonsc222

    dawsonsc222 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2006
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +60
    สวัสดีครับ ผมเป็นสมาชิกใหม่
    จริงๆแล้วผมเชื่อเรื่องอภิญญาครับ (จริงๆนะครับ) และก็หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่ไม่มีเวลาฝึกเลยจริงๆ
    เพราะผมเป็นนิสิตแพทย์ปี 4 แล้วเรียนหนักแบบไม่ได้นอนน่ะครับ

    ถ้าจะฝึกอภิญญาก็จะหมายความว่าผมต้องเจียดเวลาเรียน (ซึ่งมีค่ามากๆ
    เพราะผมอยากเป็นหมอ รักษาและช่วยชีวิตเด็กด้อยโอกาส) มาฝึกอภิญญาครับ
    ดีไม่ดีอาจเรียนไม่จบได้ (จริงๆก็ไม่ได้เรียนเก่งมากมายอะไรเสียด้วยครับ) ซึ่ง
    ถ้าเรียนไม่จบ พ่อแม่คงจะเสียใจมากแน่ๆเลย

    แต่ถึงกระนั้น ผมก็ยังอยากฝึกมากครับ เพราะมันเป็นสิ่งที่ผมใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็กแล้วครับ กล้าพูดได้อย่างเต็มปากเลยว่า ผมเกิดมาเพื่อสิ่งๆนี้ (แต่ไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเปิดโอกาสให้ผมรึเปล่า)

    ดังนั้น ผมจึงขอความกรุณาท่านที่มีอภิญญา หรือรู้จักคนที่มีอภิญญาจริงๆ
    ได้โปรด ยืนยันกับผมด้วยเถอะครับ ว่ามันมีจริงๆ ผมจะได้ตั้งหน้าตั้งตาฝึกด้วย
    อิทธิบาท 4 อย่างเต็มที่ โดยไม่ลังเลอีกต่อไปแล้ว

    ขอร้องเถอะครับ
    แล้วก็ขอขอบคุณจากใจจริงครับ

    ปล. กลัวว่าฝึกไปจนตลอดชีวิตก็ยังไม่สำเร็จ แล้วก็เรียนหมอไม่จบอีกครับผม
     
  2. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,983
    ...ตอนนี้ก็แค่ทรงสมาธิขณะทำงานรอก็ได้ครับ...

    วางจิตสงบๆ..ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง ใช้แค่ 3-5 นาที แล้วพยายามประคองให้มันมีสติไปเรื่อยๆ... การวางเฉย การพอดีก็ตามมา..
     
  3. รัตน์พิมล

    รัตน์พิมล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2006
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +604
    อ่านแล้วรู้สึกประทับใจจัง ตั้งใจดีนะ แต่ทำใจสบายๆนะจ้ะ
    (bb-flower
     
  4. fire2118

    fire2118 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +3
    ผมก็ชอบนะ (b-green) ก็ค่อย ๆ ฝึกน่ะ ผมทำทีละขั้น ตอนแรกก็พยายามทำลมหายใจให้ได้ ฌาน4 ก่อน พอฌาน4 ทรงตัวแล้วก็ค่อยมาฝึกกสิณ
    ตอนที่ฝึกอานาปา ตอนแรกก็ทำได้ไม่ดีนัก ลมไม่ค่อยละเอียด ก็ใช้ช่างมันตลอด แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้มัน ตื๊อไปเรื่อย ๆ น่ะ
     
  5. 12punna

    12punna เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +3,198
    ไม่ต้อง ฝึกหรอกครับ แต่ หันไป สวดมนต์ ก่อนนอน ทุกคืน
    ระลึก ถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นพอ แล้ว
    ตั้งใจ เรียนให้จบ ทำหน้าที่ ที่เราควรจะทำให้ ลุล่วงไป
    ด้วยดีก่อน และเมื่อวันใด ที่ เรา พร้อม ทั้ง กาย วาจา ใจ
    และ หน้าที่ แล้ว วันนั้น ค่อย กลับมา คิดที่ จะปฏิบัตฺธรรมใหม่

    ส่วนที่ ถามว่า อภิญา มีจริงไหม อันนี้ ไม่ขอตอบ อยากให้ลอง
    ปฎิบัติ ดู แล้ว จะรู้เอง ว่า มีจริง หรือ ไม่มีจริง แต่ ขอ ย่ำ อีกคร้ง
    ว่า ไม่ต้องฝึก เพราะ ใจของ คุณ ยังไม่พร้อม ดีไม่ดี จะพังทั้ง
    2 อย่าง อย่าลืมนะ ไม่ต้อง ฝึก แต่ ให้หัน ไป ระลึก พระรัตนไตร
    และ คุณ บิดา มารดา เป็น พอ ถ้าทำได้แค่นี้ ก็ เรียกว่า ทรง
    อารมณ์ญาน แล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2006
  6. penney

    penney เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,137
    นั่งเฉยๆ ก็ทำสมาธิได้
    ก่อนนอนก็ฝึกได้
    นั่งรถก็ฝึกได้
    ทานข้าวก็ฝึกได้
    เข้าห้องน้ำก็ฝึกได้

    อยู่ที่ว่าคุณจะใช้เวลาเหล่านี้ ที่ทุกๆคนมองข้ามมาฝึกหรือไม่

    อย่างเช่นการฝึก อานาปานสติ (กำหนดลมหายใจ)

    มีพระที่วัดสังฆทานเคยสอนค่ะ ท่านให้เรามองลมหายใจเข้าออก
    ที่ตรงปลายจมูกเรา

    คือให้มองตรงรูจมูกเราเหมือนประตูเมือง

    แล้วมองลมหายใจเราเหมือนคนที่เดินเข้าออกเมือง

    เรายืนอยู่ที่ประตูเมืองมองดูคนเข้าออก

    แล้วกำหนดลมหายใจ หายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ"

    แค่เพียงระลึกเท่านี้ทุกวันๆ ถึงแม้ไม่ได้อภิญญาแต่ก็ทำให้เรา

    มีสติตลอดเวลา

    เคยได้ยินมาว่า การฝึกอานาปานสติ เป็นพื้นฐานของการฝึกกรรมฐานทุกกองก็ว่าได้

    หากผิดพลาดประการใดก็ต้องขอโทษด้วยนะคะ

    แค่อยากจะบอกว่า "อย่าพูดว่าไม่มีเวลา"

    เพราะเรามีเวลาที่จะฝึกแต่เรามองข้ามเวลานั้นไปเองต่างหาก

    ไม่ได้ว่านะคะ เพราะตัวดิฉันก็ชอบคิดว่าตัวเองไม่มีเวลา

    แต่แล้ววันนึงดิฉันได้ฟังเทศน์ของหลวงพ่อวัดท่าซุงแล้ว

    ดิฉันก็ได้ยินที่ท่านบอกว่า เวลาไหนก็ฝึกได้ เลยทำให้คิดได้

    แต่เพราะตัวเองเป็นคนขี้เกียจ (กิเลสหนา) ทำให้ทำบ้างไม่ทำบ้าง แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำค่ะ

    ขอฝากไว้แค่นี้นะคะ ไม่ได้มาว่าหรือตำหนินะคะ

    แต่อย่ามองข้ามเวลาที่บอกไป อย่างน้อยๆวันละ 2-3 นาที

    คุณจะไม่มีเวลาเลยหรือ ให้มันรู้ไป
     
  7. ao.angsila

    ao.angsila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,332
    ค่าพลัง:
    +26,683
    ให้กำลังใจ และมั่นใจในการปฎิบัติ สร้างความดีต่อไป..

    สวัสดีคับ
    ขอให้ท่านอย่าคิดอะไรมาก เรื่องอภิญญา
    แต่ขอให้ท่านฝึกไปเรื่อยๆ มั่นใจในคุณพระรัตนตรัย ทำใจให้สบาย พระท่านจะสงเคราะห์ท่านเอง

    เรื่องอภิญญา เป็นเรื่องรอง แต่เรื่องทำให้เราพ้นจากความทุกข์นี้ซิสำคัญกว่า อภิญญา ถือว่าเป็นทางผ่านเท่านั้นเอง อย่ายึดติดกับมันมาก เพราะมันไม่เป็นทางดับทุกข์ แต่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมจะเป็นการดี หรือช่วยเหลือพระศาสนา

    สุดท้ายขอให้ท่านตั้งมั่นอยู่ในพรหมวิหาร 4 มีศีล 5 บริสุทธ์ มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงอิทธิบาท 4 ผมว่าอภิญญาไม่ไกลจากคุณเลย
    ขอให้คุณโชคดีครับ

    ขอโมทนาบุญในการทำความดีของท่านทั้งหมดนะครับ

    วันหนึ่งทำให้ครบ 1 ชั่วโมง ไม่ใช่ว่าให้ทำครั้งเดียวรวบ1 ชั่วโมงนะครับ ให้เก็บเล็กผสมน้อยแต่ให้ครบ 1 ชั่วโมงต่อวันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2006
  8. ao.angsila

    ao.angsila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,332
    ค่าพลัง:
    +26,683
    ไงคุณอย่าทิ้งการเรียนแล้วกัน
    ว่างๆผมจะมาเล่าประสบการณ์ฝึกอภิญญาให้ท่านฟัง
    แต่ตอนนี้ผมไปทำสมาธิก่อนนะครับ
    โชคดีและราตรีสวัสครับ
     
  9. ao.angsila

    ao.angsila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,332
    ค่าพลัง:
    +26,683
    ไงคุณอย่าทิ้งการเรียนแล้วกัน
    ว่างๆผมจะมาเล่าประสบการณ์ฝึกอภิญญาให้ท่านฟัง
    แต่ตอนนี้ผมไปทำสมาธิก่อนนะครับ
    โชคดีและราตรีสวัสครับ
     
  10. Seel

    Seel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    260
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,604
    อภิญญามาแรง คนสนใจกันเยอะ อย่างที่หลวงพ่อบอกไว้เลย ยุคนี้ ยุคของชาวอภิญญา จริงๆ
    ต้องทำตัวเองให้มีค่ากับคนอื่นบ้างแล้วซิ
     
  11. ao.angsila

    ao.angsila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,332
    ค่าพลัง:
    +26,683
    เรื่องอภิญญา มีจริงนะครับ ผมเคยไม่เคยสัมผัสแต่น้องผมสัมผัสมาเองเลย

    เมื่อก่อนนี้ผมก็ฝึกอภิญญา มีศีลและสมาธิพร้อมเสมอ ผมก็ว่า คาถา สัมปะจิตฉามิ ไปเรื่อยๆ เลยไปประมาณ 3 เดือน ใจผมก็ไม่คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นหรอกครับทำสมาธิตั้งใจที่จะบูชาพระเท่านั้นเอง ปรากฎว่ามีอยู่วันหนึ่งหลังจากทำงานเสร็จแล้วผมเข้าบ้านพร้อมน้องและแม่ผม บ้านผมเป็นบ้านสองชั้นนะครับ พอดีน้องผมก็ขึ้นไปชั้น2 แต่เห็นผมเดินขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้วก็หายไป น้องเลยตะโกนเรียกผมแต่ผมอยู่ห้องน้ำชั้นล่างอยู่เลยครับ ผมก็งง น้องก็กลัว เพราะว่าน้องเป็นคนกลัวผี ผมถามน้องว่าตาฝาดหรือเปล่าน้องบอกว่าฝาดที่ไหนหายไปกับตา ผมเลยโทรไปถามอาจารย์ผม อาจารย์ผมบอกว่านี้เป็นส่วนหนึ่งของอภิญญา แต่เราไม่รู้เท่านนั้นเอง

    สิ่งที่ผมบอกนี้ไม่ใช่ว่า ผมจะ อวดอะไรนะครับ แต่ให้รู้ไว้ว่าอภิญญามีจริง และบารมีพระมีจริง ผมเชื่อในสิ่งที่ผมทำได้ตอนนี้นคือ พระท่านสงเคราะห์
     
  12. soonyata

    soonyata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +3,675
    ถ้าคิดจะฝึก ก็ไม่ควรกลัวเสียเวลาค่ะ ไม่มีการเรียนรู้อะไรที่ไม่มีการเริ่มต้น
     
  13. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    ประตูบานแรกไม่เปิด ประตูช่องต่อไปก็มิอาจเปิดได้ครับ ศึกษาการฝึกสมาธิ จากข้อความข้างต้นนะครับจะพบว่าไม่ยากอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ง่ายจนเกินไป

    แล้วก็ขอให้สตินิดหนึ่งนะครับว่า " เมื่อใดมีความอยาก เมื่อนั้นสมาธิไม่บังเกิดครับ เพราะเมื่อนั้นราคะ คือความอยากได้กินใจแล้ว ควรตั้งเป้าว่า ขอใจสงบ ผลจากนั้นก็ตามแต่บุญที่สร้างมา...."
     
  14. พุทธธรรมจักร

    พุทธธรรมจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +159
    ความลังเล..สงสัย....ความไม่เชื่อมั่น...มันเป็นนิวรณ์..ซึ่งเป็นตัวขวางหรือมาร...ที่จะคอยขวางกันให้คน...ไม่พบกับความดี...ตามพระธรรมคำสังสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า....และค่อนข้างสำคัญสำหรับ....การฝึกสมาธิในรูปแบบต่างๆ...ไม่ว่าจะรูปแบบไหน...อภิญญาหรือรูปแบบอื่น...ส่วนการฝึก...อภิญญานั้น...ฝึกได้ทุกสถานะภาพ...สถานการณ์...ทั้งสะเทินน้ำ....สะเทินบก...เข้าทำนองตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้..นั้นแหละ...เด็ก..วัยรุ่น...ผู้ใหญ่...(รวมถึงทั้งกำนันด้วย)...คนเฒ่าชเร..แก่ชรา..ก็ฝึกได้หมด...ไม่ว่าคำภาวนาแบบไหน....เพ่งนิมิตใด....ในรูปแบบต่างๆ...จะทำงาน...ล้างจาน..ล้างส้วม....อ่านหนังสือ....เรียนหนังสือ..ฯลฯ..สามารถฝึกได้หมด...และเกิดประโยชน์ทางโลกตามมาด้วย..(เช่นความจำดี...นึก..เห็น..ว่าข้อสอบในหนังสือ..จะออกแบบไหน...บางทีมองหน้าครูผู้สอน...รู้เลยว่าข้อสอบจะออกอย่างโน้น..อย่างนี้...เป็นต้นฯลฯ)..ตัวอย่างการฝึกเช่นการเพ่ง..หรือนึก..เอาดวงนิมิต..(ดวงแก้ว)..ไว้จรดศูนย์กลางกายเหนือสะดือตลอดเวลา..ทำแบบสบายๆ...ไม่อยาก..ได้...อยากมี...นึกจรดอยู่..ไว้ตรงศูนย์กลางกายตลอดเวลา...อย่างนั้น..(ประเภทไปไหนข้าไปด้วย)...ดวงนิมิตนั้นก็เป็นอาโลกกสิน...กสินแสงสว่าง...หรือบางคนมีบุญ..ถนัดอีกด้าน...เพ่ง..นึกนิมิตดวงไฟ...ในอีกรูปแบบหนึ่ง(รวมถึงการฝึกสมาธิในรูปแบบอื่นๆ)...พอฝึกถูกส่วนเข้า....ก็ไปรู้..ไปเห็น..ในสิ่งที่ตาเนื้อมองไม่เห็นอย่างนี้เป็นต้น...สำคัญอย่าไปกลัว...อย่าไปอยาก....นิ่ง...เฉย..เข้าไว้...สติ..ปัญญามันจะมีพละ..กำลัง..ของมันเอง.....เข้าทำนองอุเบกขา..นั้นแหละ...เดี๋ยวมันก็โผล่...มี..ของมันเอง..ต้องจริง....ทำจริง...เป็นตัวสำคัญ...แบ่งเวลาให้ดี.....ทำไปเรื่อยๆ..สมาธิมี..ปัญญามันก็เกิด...ทั้งสองอย่าง..เรียนหนังสือ..กับการฝึกสมาธิ(รูปแบบไหนก็ตาม)...ทำใจให้สบายๆ..สำคัญต้องสบาย..ไม่วิตก..กังกล..ทุกข์ร้อนให้กับตนเอง...เรียนหมอ...ก็ได้เปรียบคนอื่นอยู่แล้ว..ไม่ว่าการเพ่งหรือพิจารณาอสุภะ...กรรมฐาน..ก็เห็นของจริงเลย..ต้องใช้ให้เป็น...ในเรื่องของกรรมฐาน.....สำเร็จหมดทั้งทางโลก..ทางธรรม..สำคัญต้องทำจริง..คนก็ต้องจริง.....อิทธิบาท ๔....เต็มสูบ...ล้นกระบอกสูบเลยยิ่งดี...กำลังใจ...ต้องเข้มแข็ง...เด็ด..เดี่ยว...แน่ว..แน่...มุ่งมั่น...มุ่งมานะ.......ท้อแท้..ให้เอาท้อออก...เหลือแต่แท้....บารมีว่าไปแล้วก็คือกำลังใจนั้นแหละ....อีกอย่างก็ต้องอดต้องทน..ต่อปัญหาอุปสรรคต่างๆ...รวมถึงทั้งวิบากกรรมที่เราเคยได้สร้างได้ทำเอาไว้ในอดีต..มาคอยส่งผล...ก็ใช้ขันติ..การฝึกสมาธิก็ใช้ขันติเหมือนกัน..พูดถึงบารมี..ก็จะเป็นขันติบารมี..

    สุดท้ายฝากสุภาษิตไว้คิดไว้อ่านดังนี้<O:p</O:p
    สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ ปธานการณํ<O:p</O:p
    สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต.<O:p</O:p
    ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุแห่งคุณศีลและสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวง ย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น<O:p</O:p
    ................................ขอโมทนาสาธุ..............นิพพานัง...ปรมังสุขขัง<O:p</O:p
     
  15. hitman

    hitman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +439
    ผมขอพูดว่าถ้าคุณมัวแต่กัลวลว่าไม่ได้ ผมบอกคุณได้เลยว่าไม่ต้องฝึก ฝึกไปก็ไม่สำเร็จ ถ้าเกิดคุณแค่เอาเวลา5-10นาที มาฝึกเมฆจิต ครับ

    เมฆจิต ของท่านอาจารย์เกษมffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>

    เมฆจิต หรือทิพยจักษุญาณของท่านอาจารย์เกษมนี้ เป็นแบบปฏิบัติที่ให้ผลง่ายๆ มีมารายที่ฝึกตามแบบนี้แล้วได้รับผลเบื้องต้นภายใน ๗ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง แต่ที่ไม่ได้เรื่องก็ไม่น้อยเหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่แก่ความฉลาดและความกล้าของแต่ละบุคคล ที่ท่านทำได้ง่ายๆ นั้น ท่านเหล่านั้นเล่าให้ฟังว่า ท่านทำดังนี้
    ท่านเริ่มทำสมาธิด้วยการกำหนดนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น รูปพระพุทธ เป็นต้น แล้วภาวนาคาถาบริกรรมไปด้วย กำหนดรูปด้วย วันหนึ่ง หรือคราวหนึ่งท่านไม่เอามาก ใช้เวลาคราวละ ๕ นาที บังคับว่าคาถาให้ครบ พร้อมด้วยกำหนดให้เห็นรูปไปด้วย ถ้าจิตพลาดนิดหนึ่ง ท่านตั้งต้นเวลาใหม่ ท่านทำอย่างนี้เพื่อบังคับอารมณ์ตนเอง เพื่อไม่ให้จิตส่ายไปในอารมณ์ภายนอก แล้วทดลองความรู้จากอารมณ์ คือ กำหนดรู้ทางใจ โดยกำหนดรูเรื่องต่างๆ ตามที่จะหาได้ เช่นเห็นรถแล่นมาแต่ไกล ก็กำหนดจิตเพื่อรู้ว่าคนในรถมีกี่คน เป็นชายเท่าไร หญิงเท่าไร แล้วเชื่ออารมณ์ที่รู้อารมณ์แรก โดยจิตคิดว่ามีคนกี่คน หญิงกี่คน ชายกี่คน ก็เชื่อตามอารมณ์แรก ความรู้นั้นจะถูกต้องตามความเป็นจริงเสมอ เป็นวิชชาฝึกทิพยจักษุญาณระยะต้นดีมาก คาถาภาวนาว่าดังต่อไปนี้<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    คาถาเมฆจิต<O:p></O:p>

    พุทธัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง มะอะอุ ธัมมัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง อุอะมะ สังฆัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง อะมะอุ<O:p></O:p>

    (คาถาของท่านมีเท่านี้)<O:p></O:p>

    ก่อนนอนแค่นี้คุณทำให้ใด้ละกัน เป้นการฝึกเตวิชโชหรือตาทิพย์ เท่านั้น
    เรื่องการทรงฌาณผมก็พอจะสอนใด้ ในเรื่องอานาปานุสสติ แต่ผมแน้นย้ำว่า การเข้าฌาณในอานาปานุสสติ ฌาณโลกีย์ เกี่ยวเนื่องกันด้วย ขันธ์ 5 คือร่างกายของเรานั้นเอง ถ้าร่างกายทรุด จิตก็ทรุดด้วยเช่นกัน เพราะ เรายังถือขันธ์ 5เป็นของๆเรา แต่อริยเจ้าท่านละกันได้แล้ว ขันธ์5จึงไม่มีผลกระทบในเรื่องการเข้าฌาณสำหรับท่านๆ ผมจะบอกคุณๆว่าให้จับลมสามฐานเข้าไว้เป้นวิธีเข้าฌาณง่ายสุด และการจับลมสามแบบอานาปานุสสตินี้ เป้นการลดการเจ้บใข้ได้ป่วยของร่างกายเราได้อีกด้วย และอีกอย่างหนึ่งคือ ตอนทำต้องทำในที่โล่งสบาย ให้สบายทั้งกายและใจ ไม่อึดอัด เกินไป และในที่เงียบไม่มีใครกวน
    กาฝึกอานาปานุสสติคือการกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ถ้าการกำหนดลมหายใจเข้าออกว่างเกินไป ก็ใช้คำภาวนาควบ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกว่า "โธ" พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไว้เป็นปกติ ทำให้เกิดฌานสมาบัติ ตั้งใจไว้เสมอไม่ว่า นั่ง นอน กิน เดิน คุย อย่างเลวที่สุดระยะต้นภายใน ๑ เดือนจะทรงฌาน ๔ การปฏิบัติก็จะเป็นผลโดยไม่ยุ่งกับอำนาจของความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ผู้ทรงฌานจะไม่มองดูความดีและความเลวของคนอื่น ไม่ติใคร จะมีความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีคุณ

    ขอจงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ควบคู่กับการภาวนา "พุทโธ"

    อุปสรรคของอานาปานุสสติกรรมฐานมีมาก เรียกว่าเป็นกรรมฐานที่มีความละเอียด อานาปานุสสติกรรมฐานอาศัยลมเป็นสำคัญ ถ้าวันใดลมหายใจหยาบ แสดงว่าวันนั้นจะปรากฎว่าอาการคุมสมาธิไม่ดี จะมีอาการอึดอัด บางครั้งจะรู้สึกว่าแน่นที่หน้าอก หรือว่าหายใจไม่ทั่วท้อง ถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้น หรือเกรงว่าอาการอย่างนี้จะมี เมื่อเวลาเริ่มต้นที่จะกำหนดกรรมฐาน ให้เข้าชักลมหายใจยาว ๆ สัก 3-4 ครั้ง คือหายใจเข้า หายใจออกยาว ๆ สัก 3-4 ครั้ง เพื่อเป็นการระบายลมหยาบออกไป จากกนั้นก็กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก อย่าบังคับให้หนัก ๆ หรือเบา หรือยาว ๆ สั้น ๆ การเจริญอานาปานุสสติกรรมฐานต้องการสติสัมปชัญญะเป็นใหญ่ อาการของลมหายใจปล่อยไปตามสบาย ๆ แค่รู้ไว้เท่านั้น ว่าหายใจยาว หรือสั้น ก็รู้อยู่ และอีกแบบหนึ่งคือ กำหนด 3 ฐาน คือ เวลาหายใจเข้า ลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก ศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูกหรือริมฝีปาก คนริมฝีปากเชิดจะกระทบริมฝีปาก ริมฝีปากงุ้มจะกระทบจมูก เป็นความรู้สึก จงอย่าบังคับลมหายใจให้แรง ปล่อยไปตามปกติ ความรู้สึกมีเพียงว่ากระทบจมูกอย่างเดียว ถ้ารู้ความสัมผัสจมูกก็แสดงว่า จิตทรงได้แค่อุปจารสมาธิ ถ้าสามารถรู้การสัมผัส 2 ฐาน คือหายใจเข้ากระทบจมูก กระทบหน้าอก และหายใจออกรู้กระทบหน้าอก กระทบจมูก 2 จุดนี้ แสดงว่า จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ ถ้ารู้ถึง 3 ฐาน หายใจเข้ากระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ และเวลาหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูก รู้ได้ชัดเจน อย่างนี้แสดงว่าจิตเข้าถึงปฐมฌาน ถ้าอารมณ์จิตละเอียดยิ่งไปกว่านั้น ฌานที่ 2 ที่ 3 อย่างนี้ลมหายใจเข้าหายใจออกจะเหมือนกระแสน้ำไหลเข้าไหลออก ทั้งหายใจเข้าและหายใจออก อย่างนี้แสดงว่าจิตเข้าถึงปฐมฌานละเอียด หรือว่าฌานที่ 2 ที่ 3 สำหรับปฐมฌานลมยังหยาบอยู่ แต่รู้สึกว่าจะเบากว่าอุปจารสมาธิ พอถึงฌานที่ 2 จะรู้สึกว่าลมหายใจเบาลงอีก ไปถึงฌานที่ 3 ลมหายใจที่กระทบรู้สึกว่าจะเบามาก เกือบจะไม่มีความรู้สึก ถ้าเข้าถึงฌานที่ 4 ก็จะมีความรู้สึกว่าไม่หายใจเลย แต่ความจริงร่างกายหายใจเป็นปกติ ที่ความรู้สึกน้อยลงไปก็เพราะจิตกับประสาทห่างกันออกมา ตั้งแต่ปฐมฌานจิตก็ห่างจากประสาทไปนิดหนึ่ง มาถึงฌานที่ 2 จิตก็ห่างจากประสาทมากอีกหน่อย พอถึงฌานที่ 3 จิตก็ห่างจากประสาทมากเกือบจะไม่มีความสัมผัสกันเลย ถึงฌานที่ 4 จิตปล่อยประสาท ไม่รับรู้การกระทบกระทั่งทางประสาททั้งหมด จึงไม่รู้สึกว่าเราหายใจ

    อาการที่เข้าถึงอุปจารสมาธิ
    เมื่อกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก จิตจะมีความสงบสงัดดีขึ้น ดีกว่าอุปจารสมาธิมีความชุ่มชื่นมีความสบาย แต่ทรงได้ไม่นาน อาจจะ 1 -2 - 3 นาทีในระยะต้น ๆ แต่บางวันก็ทรงได้นานหน่อย เมื่อจิตมีความสุข รื่นเริง อาการของปิติมี 5 อย่าง ที่จะเรียกว่า อุปจารสมาธิ จิตที่เข้าถึงอุปจารสมาธิก็คือจิตมีปิติ และจิตเข้าถึงสุข ถ้าเข้าถึงสุขก็เรียกว่าเต็มอุปจารสมาธิ อาการของจิตที่ควรแก่การพิจารณา คือ
    1. มีขนลุกซู่ซ่า ขนพองสยองเกล้า จงอย่าสนใจกับร่างกาย พยายามสนใจกับอารมณ์ที่ทรงไว้
    2. น้ำตาไหล เวลาเริ่มทำสมาธิน้ำตาไหล ใครพูดอะไรก็น้ำตาไหล บังคับไม่อยู่
    3. อาการโยกโคลง โยกหน้าโยกหลัง
    4. มีอาการสั่นเคลิ้ม คล้ายเหมือนปลุกพระ บางคนมีอาการตัวลอย ไม่ใช่เหาะ เป็นปิติ
    5. อาการซาบซ่าน ซู่ซ่าในกาย ตัวกายเบาโปร่ง มีความรู้สึกเหมือนตัวใหญ่ หน้าใหญ่ ตัวสูง
    ปิติเมื่อเกิดขึ้น เราจะมีอารมณ์เป็นสุข ซึ่งเป็นความสุขที่อธิบายไม่ได้ เป็นความสุขสดชื่น ปราศจากอามิส อาการอย่างนี้จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิในอันดับขั้นสูงสุด เป็นการเต็มในขั้นกามาวจรสวรรค์ ขณิกสมาธิเป็นปัจจัยให้เกิดในกามาวาจรสวรรค์ เมื่อเต็มขั้นกามาวจรแล้ว ถ้าเลยจากนี้ก็เป็นอาการของพรหม
    ขณะที่จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ อาจจะเป็นขั้นต้น กลาง ปลาย ก็ตาม อุปจารต้นเรียกว่า ขนพอง สยองเกล้า น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง นี่เรียกว่า อุปจารสมาธิขั้นต้น อุปจารสมาธิขั้นกลาง คือ กายสั่นเทิ้ม คล้ายกับอาการปลุกพระ หรือมีร่างกายลอยขึ้น ตัวเบา ตัวใหญ่ มีจิตใจสบาย เรียกว่า อุปจารสมาธิขั้นกลาง ถ้ามีจิตใจเป็นสุขบอกไม่ถูก เรียกว่า อุปจารสมาธิขั้นสูงสุด จะเป็นอุปจารสมาธิอันดับใดก็ตาม ในขณะนี้จะมีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น นั่นคือ บางครั้งเห็นแสงสีต่าง ๆ เกิดขึ้น สีแดง สีเขียว สีเหลือง บางครั้งก็เหมือนกับใครมาฉายไฟที่หน้า บางครารู้สึกว่ามีแสงสว่างทั่วกาย ถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้น จงทราบไว้ว่าเป็นนิมิตของอานาปานาสติกรรมฐาน แต่บางทีก็มีภาพคน อาคาร สถานที่เกิดขึ้น แต่อาการอย่างนี้จะเกิดขึ้นชั่วครู่แล้วก็หายไป ตอนนี้ขอให้จงอย่าสนใจกับแสงสีใด ๆ ทั้งหมด อะไรจะเกิดขึ้นก็ช่าง ทำความรู้สึกไว้เสมอว่า เราเจริญกรรมฐานต้องการอารมณ์จิตเป็นสุข ต้องการอารมณ์เป็นสมาธิ ทำความรู้สึกว่าเรายังดีไม่พอ ยังไม่เข้าถึงปฐมฌาน
    ถ้าเข้าถึงปิติส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตาม อาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปรากฎขึ้น ขณะที่กำลังทำงานก็ดี เดินอยู่ก็ดี เราเหนื่อยก็นั่งพัก กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกทันที จิตใจเป็นสุข อาการเหนื่อยจะหายอย่างรวดเร็ว เพราะอานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นการระงับทุกขเวทนาทางกายจุดหนึ่ง และขณะที่เหนื่อยอยู่หาที่พักแม้จะมีเสียงดังก็ตาม จับลมหายใจเข้าออกทันที พอจับปรับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปิติ แสดงว่าเข้าถึงสมาธิได้อย่างรวดเร็ว ควรจะพยายามไว้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เราคล่องในการทรงสมาธิ เวลาที่จิตถึงฌานสมาบัติ เราสามารถจะเข้าฌานได้ตามอัธยาศัย ถ้าเข้าฌานโดยต้องการเวลาเพื่อที่จะให้เกิดฌานนั้น แสดงว่ายังใช้ไม่ได้ การทรงสมาธิต้องคล่องที่ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า จิตเข้าถึงนวสี คำว่านวสี คือการคล่องในการเข้าฌานและออกฌาน
    ฉะนั้นการฝึกสมาธิจงอย่าหาเวลาแน่นอน ไม่ว่าจะทำอะไร นั่ง เดิน นอน กิน จิตจับลมหายใจเข้าออกให้ทรงตัว อย่าปล่อยจิตให้ว่างจากสมาธิ การก้าวเดินก็อาจจะก้าวขวาก็พุท ก้าวซ้ายก็โธ เวลากินก็รู้ว่าตัก กำลังเคี้ยว กำลังกลืน เป็นการทรงสมาธิได้ดี เวลานอนก่อนจะหลับ ใช้อานาปานุสสติกรรมฐาน ขณะที่หลับจะถือว่าเป็นผู้ทรงฌาน จิตจะเข้าถึงปฐมฌาน หรือสูงกว่านั้นจึงจะหลับ ถ้าตายระหว่างนั้นก็จะเป็นพรหม เวลาตื่นก็จะตื่นหรือลุกก็ได้ จับลมหายใจเข้าออกทันที เพื่อให้สมาธิจิตทรงตัว เป็นการรวบรวมกำลังใจสูงสุด
    เมื่อผ่านอุปจารสมาธิแล้ว จิตจะมีความสุขมีความเยือกเย็น โดยฌานแบ่งออกเป็น 4 อย่าง
    ปฐมฌาน อาการมีองค์ 5 มีวิตก วิจาร ปิติ สุข เอตคตา คำว่า วิตก ได้แก่อารมณ์นึก ที่เราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก วิจาร ได้แก่ รู้ว่าเวลานี้เราหายใจเข้าหรือออก ยาวหรือสั้น หรือในกรรมฐาน 40 ก็จะรู้ว่าเวลานี้กระทบจมูก หน้าอก ศูนย์เหนือสะดือ
    ปิติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่น เบิกบาน ไม่มีความเบื่อในการเจริญพระกรรมฐาน เอตคตา มีอารมณ์เดียว คือในขณะนั้นจิตจับเฉพาะลมหายใจเข้าออกปกติ จิตจะไม่รับอารมณ์ส่วนอื่น
    ความรู้สึกในขณะที่จิตเข้าถึงปฐมฌาน จิตจะจับลมหายใจเข้าออก ลมหายใจจะเบามีความสุขสดชื่น หูได้ยินเสียงภายนอกชัดเจนแจ่มใส แต่ไม่รำคาญในเสียง กำลังจิตสำหรับผู้ที่เข้าถึงปฐมฌาน ในเบื้องแรกยังไม่มั่นคง ในขณะที่จับลมหายใจเข้าออก จะมีสภาพนิ่งคล้ายเราเคลิ้ม คิดว่าเราหลับ แต่ไม่หลับ มีอาการโงกหน้าโงกหลัง แต่จริง ๆ แล้วตัวตั้งตรง พอสักครู่จะมีอาการหวิวคล้ายตกจากที่สูง นั่นคือเป็นอาการจิตหยาบ อารมณ์หยาบของปฐมฌาน เป็นจิตพลัดจากฌานไม่สามารถผ่านไปได้ จงอย่าสนใจพยายามรักษาอารมณ์ปกติไว้ ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น
    ฌานที่ 2 มีองค์ 3 ตัดวิตก วิจาร เหลือ ปิติ สุข เอตคตา จิตจะไม่สนใจ มีความเบาลง มีความนิ่งสนิท ถ้าภาวนากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก คำภาวนาจะหายไป จิตจะตั้งอารมณ์ทรง มีความเอิ่มอิ่ม มีอารมณ์สงัด แต่ถ้าเราไปที่อุปจารสมาธิก็จะมาคิดว่า เอ...เราเผลอไปแล้วเหรอ เราไม่ได้ภาวนาเลย ความจริงนั่นไม่ใช่ความเผลอ เป็นอาการของจิตทรงสมาธิสูงขึ้น
    ฌานที่ 3 มีองค์ 2 มีอาการสุข และเอตคตา ตัดปิติหายไป อาการของฌานนี้ จิตมีความสุข มีอารมณ์ตั้งดีกว่าฌานที่ 2 และร่างกายเหมือนมีอาการนั่งหรือยืนตรงเป๋ง สำหรับลมหายใจจะเบามากเกือบไม่มีความรู้สึก หูได้ยินเบามาก แม้ว่าเสียงนั้นจะดัง
    ฌานที่ 4 จะมีความรู้สึกว่าเราไม่ได้หายใจ มีอารมณ์เด็ดเดี่ยวตั้งมั่น มีความมั่นคง ไม่มีความรู้สึกภายนอก ไม่ว่ายุงจะกัด เสียงก็ไม่ได้ยิน จิตนิ่งเฉย ๆ มีเอตคตาและอุเบกขา เอตคตาหมายความว่าทรงอารมณ์เป็นหนึ่ง อุเบกขา หมายความว่าเฉย ไม่รับสัมผัสอารมณ์ใด ๆ ทั้งหมด
    แต่ความจริงแล้วการปฏิบัติจงอย่าสนใจว่า ตอนนี้เข้าถึงฌานอะไร ถือว่าวันนี้ได้ดีเพียงไร พอใจเท่านั้น คิดว่าเป็นผู้สะสมความดี ทรงอารมณ์สมาธิ ถ้าจิตตั้งได้ก็จะมีอาการเป็นสุข เวลาเจริญสมาธิจิต ไม่ว่ากรรมฐานกองใดก็ตาม เวลานี้อยู่ในฌานใด อย่าไปตั้งว่าเราจะต้องได้ฌานนั้น ฌานนี้ จะทำให้ไม่ได้อะไรเลย ให้มีความพอใจแค่ที่ได้ เป็นการฝึกจิตเข้าถึงอุเบกขารมณ์ ทำให้ต่อไปจิตจะทรงฌาน 4 ได้ง่าย
    การปฏิบัติที่จะให้ได้ผลจริง ๆ ใช้ตลอดทุกอิริยาบถ อย่าทิ้งลมหายใจเข้าออก พยายามนึกลมหายใจเข้าออกเสมอ แต่หากว่างานนั้นไม่เหมาะที่จะดูลมหายใจเข้าออก เราก็ใช้จิตจับอยู่ที่งานว่าเวลานี้เราทำอะไร เป็นการฝึกอารมณ์ของสมาธิไปในตัว
    วิธีการต่อสู้คือ
    1. ต่อสู้กับความเหนื่อย จิตจับสมาธิ จับลมหายใจเข้าออก ดูว่าจิตจะทรงตัวไม๊ ถ้าจิตไม่ทรงตัวเราจะไม่เลิก เป็นการระงับความเหนื่อย ดับความร้อนไปในตัว เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิเล็กน้อย ความเหนื่อยก็จะคลายตัว พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิก็จะหายเหนื่อยทันที ความร้อนความกลุ้มก็จะหายไป
    2. การต่อสู้กับเสียง ขณะที่เราพบเสียงที่เค้าคุยกันเสียงดัง ลองทำจิตจับลมหายใจเข้าออก ว่าเรารำคาญเสียงไม๊ หรือลองเปิดเสียงทีวี วิทยุฟังแล้วกำหนดอานาปานุสสติกรรมฐาน หูได้ยินเสียงชัด แต่จิตของเราไม่รำคาญในเสียงนั้นก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทำไป หูไม่ได้ยินเสียงเลยนั่นยิ่งดี พยายามต่อสู้เสมอ จนมีอารมณ์ชิน เมื่อเราเจอเสียงที่พอใจหรือไม่พอใจก็ตาม เราเข้าสมาธิได้ทันทีทันใด เป็นการฝึกจิตให้คล่องในการเข้าสมาธิ ถ้าทำได้อย่างนี้จะทำให้อารมณ์จิตทรงตัว 3. ต่อสู้กับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ต้องพยายามระงับด้วยกำลังของสมาธิ คิดว่าใครจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา เป็นเรื่องของเขา เวลาที่เราได้รับคำด่า อย่าเพิ่งโกรธใช้จิตพิจารณาดูก่อนว่าเรื่องที่เค้าด่านั้นจริงหรือไม่จริง ถ้าไม่ตรงความจริงก็ยิ้มได้ ว่าคนที่ด่าไม่น่าเลื่อมใส ด่าส่งเดช หรือถ้าพบอารมณ์ที่เราไม่พอใจ ก็จับอารมณ์ให้จิตทรงตัว ไม่ว่าเค้าจะด่าว่าอะไร เรารักษาอารมณ์ที่เป็นสุขไว้ ถือว่าอารมณ์ความสุขเป็นปัจจัยเข้าถึงพระนิพพานโดยง่าย เป็นอารมณ์แบบสบาย ๆ หัดฝึกจิตกระทบอารมณ์ที่เราไม่พอใจ ระงับความอยากด้วยกำลังของฌาน กำลังของฌานระงับกิเลสได้ทุกอย่าง โลภะ(ความโลภ) ราคาะ(ความรัก) โทสะ(ความโกรธ) โมหะ(ความหลง) ระงับได้ทุกอย่างแต่มีอารมณ์หนัก เมื่ออารมณ์จิตของเรามีการทรงตัวจริง ๆ อารมณ์แห่งความสุขจะยืนตัวกับจิตของเรา จะไม่หวั่นไหวเมื่อเห็นวัตถุที่สวยงาม ไม่ทะเยอทะยานจากอาการที่ได้ลาภสักการะ ไม่หวั่นไหวเมื่อมีคนยั่วให้โกรธ สิ่งที่ยึดมั่นว่าเป็นเราของเราก็ไม่มี ความจริงกำลังสมาธิสามารถกดกิเลสทุกตัวให้จมลงไปได้ แต่อย่าลืมว่ากิเลสมันไม่ตายถูกฝังไว้ ถ้าเผลอเมื่อไหร่ก็โดนเล่นงานเมื่อนั้น สำหรับคนที่ทรงจิตถึงฌาน ๔หรือทรงอารมณ์สมาธิถึงฌานใดฌานหนึ่ง จนกระทั่งมีอารมณ์ชิน มักจะมีอาการเผลอคิดว่าเราเป็นพระอรหันต์ เพราะไม่พอใจทั้งหมด ไม่เอาทั้งรัก โลภ โกรธ หลง แต่ถ้ากำลังใจตกลง ทั้งรัก โลภ โกรธ หลงก็เข้ามาหา เพราะเป็นแค่ฌานโลกีย์เท่านั้น แต่ถ้าเราสามารถระงับได้ก็ควรจะพอใจ เพราะกิเลสสามารถกดลงไปได้ ไม่ช้าก็สามารถจะห้ำหั่นให้พินาศด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ

    ผมแนะนำได้แค่นี้และผมยืนยันว่าได้ผลจริงๆ(การเข้าฌาณ)เพราะผมปฎิบัติมาเดือนหนึ่งแล้วถ้าเกิดคุณต้องการอภิญญา ลองไปฝึกกสิน10ดู เพราะผมแนะนำได้แค่เรื่องฌาณสมาบัติ กสินยังไม่เคยลองเล่น
     
  16. hitman

    hitman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +439
    ผมขอพูดว่าถ้าคุณมัวแต่กัลวลว่าไม่ได้ ผมบอกคุณได้เลยว่าไม่ต้องฝึก ฝึกไปก็ไม่สำเร็จ ถ้าเกิดคุณแค่เอาเวลา5-10นาที มาฝึกเมฆจิต ครับ

    เมฆจิต ของท่านอาจารย์เกษมffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>

    เมฆจิต หรือทิพยจักษุญาณของท่านอาจารย์เกษมนี้ เป็นแบบปฏิบัติที่ให้ผลง่ายๆ มีมารายที่ฝึกตามแบบนี้แล้วได้รับผลเบื้องต้นภายใน ๗ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง แต่ที่ไม่ได้เรื่องก็ไม่น้อยเหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่แก่ความฉลาดและความกล้าของแต่ละบุคคล ที่ท่านทำได้ง่ายๆ นั้น ท่านเหล่านั้นเล่าให้ฟังว่า ท่านทำดังนี้
    ท่านเริ่มทำสมาธิด้วยการกำหนดนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น รูปพระพุทธ เป็นต้น แล้วภาวนาคาถาบริกรรมไปด้วย กำหนดรูปด้วย วันหนึ่ง หรือคราวหนึ่งท่านไม่เอามาก ใช้เวลาคราวละ ๕ นาที บังคับว่าคาถาให้ครบ พร้อมด้วยกำหนดให้เห็นรูปไปด้วย ถ้าจิตพลาดนิดหนึ่ง ท่านตั้งต้นเวลาใหม่ ท่านทำอย่างนี้เพื่อบังคับอารมณ์ตนเอง เพื่อไม่ให้จิตส่ายไปในอารมณ์ภายนอก แล้วทดลองความรู้จากอารมณ์ คือ กำหนดรู้ทางใจ โดยกำหนดรูเรื่องต่างๆ ตามที่จะหาได้ เช่นเห็นรถแล่นมาแต่ไกล ก็กำหนดจิตเพื่อรู้ว่าคนในรถมีกี่คน เป็นชายเท่าไร หญิงเท่าไร แล้วเชื่ออารมณ์ที่รู้อารมณ์แรก โดยจิตคิดว่ามีคนกี่คน หญิงกี่คน ชายกี่คน ก็เชื่อตามอารมณ์แรก ความรู้นั้นจะถูกต้องตามความเป็นจริงเสมอ เป็นวิชชาฝึกทิพยจักษุญาณระยะต้นดีมาก คาถาภาวนาว่าดังต่อไปนี้<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    คาถาเมฆจิต<O:p></O:p>

    พุทธัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง มะอะอุ ธัมมัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง อุอะมะ สังฆัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง อะมะอุ<O:p></O:p>

    (คาถาของท่านมีเท่านี้)<O:p></O:p>

    ก่อนนอนแค่นี้คุณทำให้ใด้ละกัน เป้นการฝึกเตวิชโชหรือตาทิพย์ เท่านั้น
    เรื่องการทรงฌาณผมก็พอจะสอนใด้ ในเรื่องอานาปานุสสติ แต่ผมแน้นย้ำว่า การเข้าฌาณในอานาปานุสสติ ฌาณโลกีย์ เกี่ยวเนื่องกันด้วย ขันธ์ 5 คือร่างกายของเรานั้นเอง ถ้าร่างกายทรุด จิตก็ทรุดด้วยเช่นกัน เพราะ เรายังถือขันธ์ 5เป็นของๆเรา แต่อริยเจ้าท่านละกันได้แล้ว ขันธ์5จึงไม่มีผลกระทบในเรื่องการเข้าฌาณสำหรับท่านๆ ผมจะบอกคุณๆว่าให้จับลมสามฐานเข้าไว้เป้นวิธีเข้าฌาณง่ายสุด และการจับลมสามแบบอานาปานุสสตินี้ เป้นการลดการเจ้บใข้ได้ป่วยของร่างกายเราได้อีกด้วย และอีกอย่างหนึ่งคือ ตอนทำต้องทำในที่โล่งสบาย ให้สบายทั้งกายและใจ ไม่อึดอัด เกินไป และในที่เงียบไม่มีใครกวน
    กาฝึกอานาปานุสสติคือการกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ถ้าการกำหนดลมหายใจเข้าออกว่างเกินไป ก็ใช้คำภาวนาควบ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกว่า "โธ" พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไว้เป็นปกติ ทำให้เกิดฌานสมาบัติ ตั้งใจไว้เสมอไม่ว่า นั่ง นอน กิน เดิน คุย อย่างเลวที่สุดระยะต้นภายใน ๑ เดือนจะทรงฌาน ๔ การปฏิบัติก็จะเป็นผลโดยไม่ยุ่งกับอำนาจของความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ผู้ทรงฌานจะไม่มองดูความดีและความเลวของคนอื่น ไม่ติใคร จะมีความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีคุณ

    ขอจงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ควบคู่กับการภาวนา "พุทโธ"

    อุปสรรคของอานาปานุสสติกรรมฐานมีมาก เรียกว่าเป็นกรรมฐานที่มีความละเอียด อานาปานุสสติกรรมฐานอาศัยลมเป็นสำคัญ ถ้าวันใดลมหายใจหยาบ แสดงว่าวันนั้นจะปรากฎว่าอาการคุมสมาธิไม่ดี จะมีอาการอึดอัด บางครั้งจะรู้สึกว่าแน่นที่หน้าอก หรือว่าหายใจไม่ทั่วท้อง ถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้น หรือเกรงว่าอาการอย่างนี้จะมี เมื่อเวลาเริ่มต้นที่จะกำหนดกรรมฐาน ให้เข้าชักลมหายใจยาว ๆ สัก 3-4 ครั้ง คือหายใจเข้า หายใจออกยาว ๆ สัก 3-4 ครั้ง เพื่อเป็นการระบายลมหยาบออกไป จากกนั้นก็กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก อย่าบังคับให้หนัก ๆ หรือเบา หรือยาว ๆ สั้น ๆ การเจริญอานาปานุสสติกรรมฐานต้องการสติสัมปชัญญะเป็นใหญ่ อาการของลมหายใจปล่อยไปตามสบาย ๆ แค่รู้ไว้เท่านั้น ว่าหายใจยาว หรือสั้น ก็รู้อยู่ และอีกแบบหนึ่งคือ กำหนด 3 ฐาน คือ เวลาหายใจเข้า ลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก ศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูกหรือริมฝีปาก คนริมฝีปากเชิดจะกระทบริมฝีปาก ริมฝีปากงุ้มจะกระทบจมูก เป็นความรู้สึก จงอย่าบังคับลมหายใจให้แรง ปล่อยไปตามปกติ ความรู้สึกมีเพียงว่ากระทบจมูกอย่างเดียว ถ้ารู้ความสัมผัสจมูกก็แสดงว่า จิตทรงได้แค่อุปจารสมาธิ ถ้าสามารถรู้การสัมผัส 2 ฐาน คือหายใจเข้ากระทบจมูก กระทบหน้าอก และหายใจออกรู้กระทบหน้าอก กระทบจมูก 2 จุดนี้ แสดงว่า จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ ถ้ารู้ถึง 3 ฐาน หายใจเข้ากระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ และเวลาหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูก รู้ได้ชัดเจน อย่างนี้แสดงว่าจิตเข้าถึงปฐมฌาน ถ้าอารมณ์จิตละเอียดยิ่งไปกว่านั้น ฌานที่ 2 ที่ 3 อย่างนี้ลมหายใจเข้าหายใจออกจะเหมือนกระแสน้ำไหลเข้าไหลออก ทั้งหายใจเข้าและหายใจออก อย่างนี้แสดงว่าจิตเข้าถึงปฐมฌานละเอียด หรือว่าฌานที่ 2 ที่ 3 สำหรับปฐมฌานลมยังหยาบอยู่ แต่รู้สึกว่าจะเบากว่าอุปจารสมาธิ พอถึงฌานที่ 2 จะรู้สึกว่าลมหายใจเบาลงอีก ไปถึงฌานที่ 3 ลมหายใจที่กระทบรู้สึกว่าจะเบามาก เกือบจะไม่มีความรู้สึก ถ้าเข้าถึงฌานที่ 4 ก็จะมีความรู้สึกว่าไม่หายใจเลย แต่ความจริงร่างกายหายใจเป็นปกติ ที่ความรู้สึกน้อยลงไปก็เพราะจิตกับประสาทห่างกันออกมา ตั้งแต่ปฐมฌานจิตก็ห่างจากประสาทไปนิดหนึ่ง มาถึงฌานที่ 2 จิตก็ห่างจากประสาทมากอีกหน่อย พอถึงฌานที่ 3 จิตก็ห่างจากประสาทมากเกือบจะไม่มีความสัมผัสกันเลย ถึงฌานที่ 4 จิตปล่อยประสาท ไม่รับรู้การกระทบกระทั่งทางประสาททั้งหมด จึงไม่รู้สึกว่าเราหายใจ

    อาการที่เข้าถึงอุปจารสมาธิ
    เมื่อกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก จิตจะมีความสงบสงัดดีขึ้น ดีกว่าอุปจารสมาธิมีความชุ่มชื่นมีความสบาย แต่ทรงได้ไม่นาน อาจจะ 1 -2 - 3 นาทีในระยะต้น ๆ แต่บางวันก็ทรงได้นานหน่อย เมื่อจิตมีความสุข รื่นเริง อาการของปิติมี 5 อย่าง ที่จะเรียกว่า อุปจารสมาธิ จิตที่เข้าถึงอุปจารสมาธิก็คือจิตมีปิติ และจิตเข้าถึงสุข ถ้าเข้าถึงสุขก็เรียกว่าเต็มอุปจารสมาธิ อาการของจิตที่ควรแก่การพิจารณา คือ
    1. มีขนลุกซู่ซ่า ขนพองสยองเกล้า จงอย่าสนใจกับร่างกาย พยายามสนใจกับอารมณ์ที่ทรงไว้
    2. น้ำตาไหล เวลาเริ่มทำสมาธิน้ำตาไหล ใครพูดอะไรก็น้ำตาไหล บังคับไม่อยู่
    3. อาการโยกโคลง โยกหน้าโยกหลัง
    4. มีอาการสั่นเคลิ้ม คล้ายเหมือนปลุกพระ บางคนมีอาการตัวลอย ไม่ใช่เหาะ เป็นปิติ
    5. อาการซาบซ่าน ซู่ซ่าในกาย ตัวกายเบาโปร่ง มีความรู้สึกเหมือนตัวใหญ่ หน้าใหญ่ ตัวสูง
    ปิติเมื่อเกิดขึ้น เราจะมีอารมณ์เป็นสุข ซึ่งเป็นความสุขที่อธิบายไม่ได้ เป็นความสุขสดชื่น ปราศจากอามิส อาการอย่างนี้จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิในอันดับขั้นสูงสุด เป็นการเต็มในขั้นกามาวจรสวรรค์ ขณิกสมาธิเป็นปัจจัยให้เกิดในกามาวาจรสวรรค์ เมื่อเต็มขั้นกามาวจรแล้ว ถ้าเลยจากนี้ก็เป็นอาการของพรหม
    ขณะที่จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ อาจจะเป็นขั้นต้น กลาง ปลาย ก็ตาม อุปจารต้นเรียกว่า ขนพอง สยองเกล้า น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง นี่เรียกว่า อุปจารสมาธิขั้นต้น อุปจารสมาธิขั้นกลาง คือ กายสั่นเทิ้ม คล้ายกับอาการปลุกพระ หรือมีร่างกายลอยขึ้น ตัวเบา ตัวใหญ่ มีจิตใจสบาย เรียกว่า อุปจารสมาธิขั้นกลาง ถ้ามีจิตใจเป็นสุขบอกไม่ถูก เรียกว่า อุปจารสมาธิขั้นสูงสุด จะเป็นอุปจารสมาธิอันดับใดก็ตาม ในขณะนี้จะมีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น นั่นคือ บางครั้งเห็นแสงสีต่าง ๆ เกิดขึ้น สีแดง สีเขียว สีเหลือง บางครั้งก็เหมือนกับใครมาฉายไฟที่หน้า บางครารู้สึกว่ามีแสงสว่างทั่วกาย ถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้น จงทราบไว้ว่าเป็นนิมิตของอานาปานาสติกรรมฐาน แต่บางทีก็มีภาพคน อาคาร สถานที่เกิดขึ้น แต่อาการอย่างนี้จะเกิดขึ้นชั่วครู่แล้วก็หายไป ตอนนี้ขอให้จงอย่าสนใจกับแสงสีใด ๆ ทั้งหมด อะไรจะเกิดขึ้นก็ช่าง ทำความรู้สึกไว้เสมอว่า เราเจริญกรรมฐานต้องการอารมณ์จิตเป็นสุข ต้องการอารมณ์เป็นสมาธิ ทำความรู้สึกว่าเรายังดีไม่พอ ยังไม่เข้าถึงปฐมฌาน
    ถ้าเข้าถึงปิติส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตาม อาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปรากฎขึ้น ขณะที่กำลังทำงานก็ดี เดินอยู่ก็ดี เราเหนื่อยก็นั่งพัก กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกทันที จิตใจเป็นสุข อาการเหนื่อยจะหายอย่างรวดเร็ว เพราะอานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นการระงับทุกขเวทนาทางกายจุดหนึ่ง และขณะที่เหนื่อยอยู่หาที่พักแม้จะมีเสียงดังก็ตาม จับลมหายใจเข้าออกทันที พอจับปรับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปิติ แสดงว่าเข้าถึงสมาธิได้อย่างรวดเร็ว ควรจะพยายามไว้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เราคล่องในการทรงสมาธิ เวลาที่จิตถึงฌานสมาบัติ เราสามารถจะเข้าฌานได้ตามอัธยาศัย ถ้าเข้าฌานโดยต้องการเวลาเพื่อที่จะให้เกิดฌานนั้น แสดงว่ายังใช้ไม่ได้ การทรงสมาธิต้องคล่องที่ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า จิตเข้าถึงนวสี คำว่านวสี คือการคล่องในการเข้าฌานและออกฌาน
    ฉะนั้นการฝึกสมาธิจงอย่าหาเวลาแน่นอน ไม่ว่าจะทำอะไร นั่ง เดิน นอน กิน จิตจับลมหายใจเข้าออกให้ทรงตัว อย่าปล่อยจิตให้ว่างจากสมาธิ การก้าวเดินก็อาจจะก้าวขวาก็พุท ก้าวซ้ายก็โธ เวลากินก็รู้ว่าตัก กำลังเคี้ยว กำลังกลืน เป็นการทรงสมาธิได้ดี เวลานอนก่อนจะหลับ ใช้อานาปานุสสติกรรมฐาน ขณะที่หลับจะถือว่าเป็นผู้ทรงฌาน จิตจะเข้าถึงปฐมฌาน หรือสูงกว่านั้นจึงจะหลับ ถ้าตายระหว่างนั้นก็จะเป็นพรหม เวลาตื่นก็จะตื่นหรือลุกก็ได้ จับลมหายใจเข้าออกทันที เพื่อให้สมาธิจิตทรงตัว เป็นการรวบรวมกำลังใจสูงสุด
    เมื่อผ่านอุปจารสมาธิแล้ว จิตจะมีความสุขมีความเยือกเย็น โดยฌานแบ่งออกเป็น 4 อย่าง
    ปฐมฌาน อาการมีองค์ 5 มีวิตก วิจาร ปิติ สุข เอตคตา คำว่า วิตก ได้แก่อารมณ์นึก ที่เราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก วิจาร ได้แก่ รู้ว่าเวลานี้เราหายใจเข้าหรือออก ยาวหรือสั้น หรือในกรรมฐาน 40 ก็จะรู้ว่าเวลานี้กระทบจมูก หน้าอก ศูนย์เหนือสะดือ
    ปิติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่น เบิกบาน ไม่มีความเบื่อในการเจริญพระกรรมฐาน เอตคตา มีอารมณ์เดียว คือในขณะนั้นจิตจับเฉพาะลมหายใจเข้าออกปกติ จิตจะไม่รับอารมณ์ส่วนอื่น
    ความรู้สึกในขณะที่จิตเข้าถึงปฐมฌาน จิตจะจับลมหายใจเข้าออก ลมหายใจจะเบามีความสุขสดชื่น หูได้ยินเสียงภายนอกชัดเจนแจ่มใส แต่ไม่รำคาญในเสียง กำลังจิตสำหรับผู้ที่เข้าถึงปฐมฌาน ในเบื้องแรกยังไม่มั่นคง ในขณะที่จับลมหายใจเข้าออก จะมีสภาพนิ่งคล้ายเราเคลิ้ม คิดว่าเราหลับ แต่ไม่หลับ มีอาการโงกหน้าโงกหลัง แต่จริง ๆ แล้วตัวตั้งตรง พอสักครู่จะมีอาการหวิวคล้ายตกจากที่สูง นั่นคือเป็นอาการจิตหยาบ อารมณ์หยาบของปฐมฌาน เป็นจิตพลัดจากฌานไม่สามารถผ่านไปได้ จงอย่าสนใจพยายามรักษาอารมณ์ปกติไว้ ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น
    ฌานที่ 2 มีองค์ 3 ตัดวิตก วิจาร เหลือ ปิติ สุข เอตคตา จิตจะไม่สนใจ มีความเบาลง มีความนิ่งสนิท ถ้าภาวนากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก คำภาวนาจะหายไป จิตจะตั้งอารมณ์ทรง มีความเอิ่มอิ่ม มีอารมณ์สงัด แต่ถ้าเราไปที่อุปจารสมาธิก็จะมาคิดว่า เอ...เราเผลอไปแล้วเหรอ เราไม่ได้ภาวนาเลย ความจริงนั่นไม่ใช่ความเผลอ เป็นอาการของจิตทรงสมาธิสูงขึ้น
    ฌานที่ 3 มีองค์ 2 มีอาการสุข และเอตคตา ตัดปิติหายไป อาการของฌานนี้ จิตมีความสุข มีอารมณ์ตั้งดีกว่าฌานที่ 2 และร่างกายเหมือนมีอาการนั่งหรือยืนตรงเป๋ง สำหรับลมหายใจจะเบามากเกือบไม่มีความรู้สึก หูได้ยินเบามาก แม้ว่าเสียงนั้นจะดัง
    ฌานที่ 4 จะมีความรู้สึกว่าเราไม่ได้หายใจ มีอารมณ์เด็ดเดี่ยวตั้งมั่น มีความมั่นคง ไม่มีความรู้สึกภายนอก ไม่ว่ายุงจะกัด เสียงก็ไม่ได้ยิน จิตนิ่งเฉย ๆ มีเอตคตาและอุเบกขา เอตคตาหมายความว่าทรงอารมณ์เป็นหนึ่ง อุเบกขา หมายความว่าเฉย ไม่รับสัมผัสอารมณ์ใด ๆ ทั้งหมด
    แต่ความจริงแล้วการปฏิบัติจงอย่าสนใจว่า ตอนนี้เข้าถึงฌานอะไร ถือว่าวันนี้ได้ดีเพียงไร พอใจเท่านั้น คิดว่าเป็นผู้สะสมความดี ทรงอารมณ์สมาธิ ถ้าจิตตั้งได้ก็จะมีอาการเป็นสุข เวลาเจริญสมาธิจิต ไม่ว่ากรรมฐานกองใดก็ตาม เวลานี้อยู่ในฌานใด อย่าไปตั้งว่าเราจะต้องได้ฌานนั้น ฌานนี้ จะทำให้ไม่ได้อะไรเลย ให้มีความพอใจแค่ที่ได้ เป็นการฝึกจิตเข้าถึงอุเบกขารมณ์ ทำให้ต่อไปจิตจะทรงฌาน 4 ได้ง่าย
    การปฏิบัติที่จะให้ได้ผลจริง ๆ ใช้ตลอดทุกอิริยาบถ อย่าทิ้งลมหายใจเข้าออก พยายามนึกลมหายใจเข้าออกเสมอ แต่หากว่างานนั้นไม่เหมาะที่จะดูลมหายใจเข้าออก เราก็ใช้จิตจับอยู่ที่งานว่าเวลานี้เราทำอะไร เป็นการฝึกอารมณ์ของสมาธิไปในตัว
    วิธีการต่อสู้คือ
    1. ต่อสู้กับความเหนื่อย จิตจับสมาธิ จับลมหายใจเข้าออก ดูว่าจิตจะทรงตัวไม๊ ถ้าจิตไม่ทรงตัวเราจะไม่เลิก เป็นการระงับความเหนื่อย ดับความร้อนไปในตัว เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิเล็กน้อย ความเหนื่อยก็จะคลายตัว พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิก็จะหายเหนื่อยทันที ความร้อนความกลุ้มก็จะหายไป
    2. การต่อสู้กับเสียง ขณะที่เราพบเสียงที่เค้าคุยกันเสียงดัง ลองทำจิตจับลมหายใจเข้าออก ว่าเรารำคาญเสียงไม๊ หรือลองเปิดเสียงทีวี วิทยุฟังแล้วกำหนดอานาปานุสสติกรรมฐาน หูได้ยินเสียงชัด แต่จิตของเราไม่รำคาญในเสียงนั้นก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทำไป หูไม่ได้ยินเสียงเลยนั่นยิ่งดี พยายามต่อสู้เสมอ จนมีอารมณ์ชิน เมื่อเราเจอเสียงที่พอใจหรือไม่พอใจก็ตาม เราเข้าสมาธิได้ทันทีทันใด เป็นการฝึกจิตให้คล่องในการเข้าสมาธิ ถ้าทำได้อย่างนี้จะทำให้อารมณ์จิตทรงตัว 3. ต่อสู้กับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ต้องพยายามระงับด้วยกำลังของสมาธิ คิดว่าใครจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา เป็นเรื่องของเขา เวลาที่เราได้รับคำด่า อย่าเพิ่งโกรธใช้จิตพิจารณาดูก่อนว่าเรื่องที่เค้าด่านั้นจริงหรือไม่จริง ถ้าไม่ตรงความจริงก็ยิ้มได้ ว่าคนที่ด่าไม่น่าเลื่อมใส ด่าส่งเดช หรือถ้าพบอารมณ์ที่เราไม่พอใจ ก็จับอารมณ์ให้จิตทรงตัว ไม่ว่าเค้าจะด่าว่าอะไร เรารักษาอารมณ์ที่เป็นสุขไว้ ถือว่าอารมณ์ความสุขเป็นปัจจัยเข้าถึงพระนิพพานโดยง่าย เป็นอารมณ์แบบสบาย ๆ หัดฝึกจิตกระทบอารมณ์ที่เราไม่พอใจ ระงับความอยากด้วยกำลังของฌาน กำลังของฌานระงับกิเลสได้ทุกอย่าง โลภะ(ความโลภ) ราคาะ(ความรัก) โทสะ(ความโกรธ) โมหะ(ความหลง) ระงับได้ทุกอย่างแต่มีอารมณ์หนัก เมื่ออารมณ์จิตของเรามีการทรงตัวจริง ๆ อารมณ์แห่งความสุขจะยืนตัวกับจิตของเรา จะไม่หวั่นไหวเมื่อเห็นวัตถุที่สวยงาม ไม่ทะเยอทะยานจากอาการที่ได้ลาภสักการะ ไม่หวั่นไหวเมื่อมีคนยั่วให้โกรธ สิ่งที่ยึดมั่นว่าเป็นเราของเราก็ไม่มี ความจริงกำลังสมาธิสามารถกดกิเลสทุกตัวให้จมลงไปได้ แต่อย่าลืมว่ากิเลสมันไม่ตายถูกฝังไว้ ถ้าเผลอเมื่อไหร่ก็โดนเล่นงานเมื่อนั้น สำหรับคนที่ทรงจิตถึงฌาน ๔หรือทรงอารมณ์สมาธิถึงฌานใดฌานหนึ่ง จนกระทั่งมีอารมณ์ชิน มักจะมีอาการเผลอคิดว่าเราเป็นพระอรหันต์ เพราะไม่พอใจทั้งหมด ไม่เอาทั้งรัก โลภ โกรธ หลง แต่ถ้ากำลังใจตกลง ทั้งรัก โลภ โกรธ หลงก็เข้ามาหา เพราะเป็นแค่ฌานโลกีย์เท่านั้น แต่ถ้าเราสามารถระงับได้ก็ควรจะพอใจ เพราะกิเลสสามารถกดลงไปได้ ไม่ช้าก็สามารถจะห้ำหั่นให้พินาศด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ

    ผมแนะนำได้แค่นี้และผมยืนยันว่าได้ผลจริงๆ(การเข้าฌาณ)เพราะผมปฎิบัติมาเดือนหนึ่งแล้วถ้าเกิดคุณต้องการอภิญญา ลองไปฝึกกสิน10ดู เพราะผมแนะนำได้แค่เรื่องฌาณสมาบัติ กสินยังไม่เคยลองเล่น
     
  17. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,561
    ค่าพลัง:
    +2,122
    :cool: :cool: :cool: อย่าเพิ่งฝึกเลยครับ ฝึกไปก็ไม่สำเร็จเรียนก่อนดีกว่า เอาที่แน่นอนก่อน
    ยิ่งอยาก ยิ่งไม่ได้ ฝงึกไป คิดไป หวังไป อยากได้อย่างนี้ อยากไห้เกิดอย่างนั้น
    ยากกกกกก
     
  18. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    เรื่องอภิญญาศึกษาได้จากพระไตรปิฎก ถ้ายังมีลมหายใจก็ต้องมีเวลาภาวนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2006
  19. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    เคยอ่านหนังสือเขาแนะนำไว้ให้ถวายสังฆทาน 3 วัด ตักบาตรทุกวัน รักษาศิล5 วันพระให้ไปที่วัดฟังเทศน์บ่อยๆ จิตคุณจะเป็นสมาธิเร็ว ผมใช้วิธีอาสาไปงานศพ (ตอนเป็นทหารจะต้องมีตัวแทนหน่วยทหารไปงานศพทหารที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่) เพื่อปลงให้ตกว่าทุกคนต้องตายและความตายไม่แน่นอนว่าจะมาถึงเราเมื่อใด กินอาหารแบบพระธรรมยุต ผสมในจานเดียวทั้งคาวหวาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...