สติเกิดเองไม่ได้ ต้องเจริญต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสวนัง, 10 พฤศจิกายน 2009.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    พระไม่มีศีลไม่มีวินัยก็ไม่สมควรเรียกว่าพระแล้ว
    พุทธศาสนาไม่ใช่ของแบกะดินนะครับเที่ยวจะหยิบจะจับไปแจกจ่ายยัดเยียดให้ใครนี่ครับ ไม่ได้บังคับให้ใครนับถือ แต่ผู้ที่มีปัญญาผู้ที่ต้องการพ้นทุกข์หลุดพ้นเท่านั้นที่พึงน้อมมาปฏิบัติ พระพุทธเจ้ายังสอนแก่บุคคลที่ควรสอน ขอเพียงหลักธรรมคำสอนยังอยู่ศาสนาพุทธก็ยังอยู่ หากกลับกัน(ต้องบอกก่อนนะครับว่าไม่ได้กล่าวถึงบุคคนใดเลยจริงๆตามเจตนาเพียงแต่อยากให้มองมุมกลับแค่นั้นเจตนาแค่นั้นจริงๆ)มีแต่พระสงฆ์ที่ดูจริยาวัตรภายนอกน่าเลื่อมใสแต่ภายในไม่มีธรรมบิดเบือนหนทางแห่งมรรคไม่ปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน บวชเพื่อลาภสัการะ จะสั่งสอนและดำรงค์ศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ได้หรือ พิจารณาด้วยปัญญานะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 พฤศจิกายน 2009
  2. kamsuk

    kamsuk สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    เอนมา และ อาเมน !!
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เอ่ยมาใครเขาจะว่าอะไร ดีเสียอีกครูบาอาจารย์ตนรู้จักระลึกบุญคุณท่าน ว่าท่านคือใครที่ได้สอนสั่งให้รู้ให้เห็นธรรมตามความเป็นจริง ผู้ระลึกบุญคุณคนได้นั้นประเสริฐยิ่ง โดยเฉพาะ บิดา มารดา ครูบาอาจารย์
     
  4. รอดมี

    รอดมี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +161
    ผมได้กล่าวเน้นไว้ก่อนแล้วว่า มีศีลมีวินัยครบ ถ้าบวชแล้วไปทำอย่างอื่นมัน
    นอกประเด็นครับ ใจความสำคัญที่เรากำลังกล่าวคือ การเสื่อมหรืออยู่ของ
    ศาสนา ไม่ใช่การเสื่อมของการทำกรรมฐาน

    พุทธศาสนาจะคงอยู่ได้ก็ด้วย พุทธศาสนิกชนช่วยกันทนุบำรุง ฉะนั้นความ
    สำคัญหรือหน้าที่ของพระจึงอยู่ที่การสั่งสอนให้ คนทำดีละชั่ว อยู่ในศีลธรรม

    ส่วนเรื่องเรื่องการปฏิบัติให้ถึงนิพพาน ผมขอย้ำอีกที่นะครับ มันไม่เกี่ยวกับ
    การเสื่อมหรือคงอยู่ของศาสนา คุณลองคิดดูนะครับว่า ถ้าพระปฏิบัติถูก
    แล้วไปนิพพานกันหมด แล้วอีกหน่อยจะหาพระที่ไหนครับ(นี่เป็นเพียงแง่คิด)

    ชาวบ้านที่นับถือพุทธส่วนใหญ่ เราต้องยอมรับนะครับว่า ความมุ่งหมายไม่
    ได้อยู่ที่นิพพาน เราลองพูดว่านิพพานคือการ ไม่ต้องมาเกิดอีกแล้ว ชาว
    บ้านที่ไม่เข้าใจเขาก็กลัวกันแล้ว พวกเขาคิดแต่เพียงว่า ทำบุญขึ้นสวรรค์
    ทำชั่วตกนรก จะมีก็ส่วนน้อยในจำนวนชาวพุทธทั้งหมด ที่ไปต่อยอดปฏิบัติ
    กรรมฐาน

    รวมความแล้วการคงอยู่ของพุทธศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการทำกรรมฐาน
    ของพระ แต่ขึ้นอยู่กับชาวพุทธต้องช่วยกันทนุบำรุง นั้นแหละครับคือ
    หัวใจสำคัญ
     
  5. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    มีศีลมีวินัยครบ เนี่ย แสดงว่าต้องปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน หรือ ปฏิบัติอริยมรรค ๘ โดยเสด็จ
    เอาระดับต่ำสุดก็พอ พระโสดาบัน ศีล ๕ บริบูรณ์ ไม่มีขาด ทะลุหรือด่างพร้อยเลย
    จะเป็นพระโสดาบันได้เนี่ยต้องปฏิบัติ อริยมรรค ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา นะคะ


    มีพระพุทธพจน์ตรัสไว้นะคะ
    (smile) สมณะที่ ๑ คือ พระโสดาบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2009
  6. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อาจจะสงสัยว่าทำไมต้องปฏิบัติอริยมรรค ๘ ศีลถึงบริบูรณ์ได้
    ก็มีพระพุทธพจน์ตรัสไว้อีกนะคะ

    ศีล มีหน้าที่ป้องกันผู้ปฏิบัติ ไม่ให้ประพฤติชั่วทางกาย,วาจา
    สมาธิ มีหน้าที่รักษาและทำจิตผู้ปฏิบัติให้สงบตั้งมั่น
    ปัญญา มีหน้าที่ปล่อยวางอารมณ์ทั้งหลายออกไปได้โดยลำดับ

    แต่เมื่อนำมาปฏิบัติจริงๆแล้ว ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา เหล่านี้
    ต่างก็จะเป็นเหตุปัจจัยเกื้อกูลผลักดันซึ่งกันและกัน
    ให้ทำหน้าที่ที่กล่าวมาแล้วนี้ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กล่าวคือ

    เมื่อปฏิบัติศีลอย่างเคร่งครัดแล้ว
    ก็ย่อมเป็นปัจจัยเกื้อกูลให้สมาธิเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

    เมื่อสมาธิเกิดขึ้นแล้ว
    ก็ย่อมเป็นปัจจัยให้ปัญญาเกิดขึ้น

    และเมื่อปัญญาเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมเป็นปัจจัยส่งผลให้ผู้ปฏิบัติ
    ประพฤติตนในสิ่งที่ถูกต้องไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่สังคม
    ซึ่งช่วยผลักดันส่งเสริมให้การรักษาศีลมั่นคงแข็งแรงและจริงจังยิ่งขึ้น
    แล้ววนเวียนและส่งเสริมซึ่งกันและกัน

    (smile) ต้องปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน หรืออริยมรรค๘ จึงจะทำให้มีศีลบริบูรณ์ได้

     
  7. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    จากที่ได้แสดงมาในข้างต้น หวังว่าจะเข้าใจได้ว่า
    หัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ การชำระจิตให้บริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมอง

    และการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน หรือการปฏิบัติอริยมรรค ๘ ตามเสด็จ
    เป็นการชำระจิตให้บริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมอง

    ดังนั้นการปฏิบัติอริยมรรค ๘ หรือการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน
    จึงเป็นหัวใจหลักที่สำคัญที่สุดในพระศาสนานี้
    ที่เราชาวพุทธทุกคนจะต้องปฏิบัติ
    และช่วยกันเผยแผ่ให้เกิดการปฏิบัติสมาธิ ให้กว้างขวางออกไป

    ทรงตรัสสอนเกี่ยวกับอริยมรรค ๘ ไว้ว่า
    (smile) การปฏิบัติสมาธิตามหลักอริยมรรค ๘ เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้พระศาสนาคงอยู่สืบไป
     
  8. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ก็จะกลายเป็น พระสอนศีลธรรม ฆราวาสสอนปฏิบัติธรรม...

    คงต้องดูพระในครั้งพุทธกาลกระมังว่าท่านทำอย่างไร
    (smile)
     
  9. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อนุโมทนาค่ะ
    ถ้ายังมีการปฏิบัติอยู่ ศาสนาพุทธก็ยังคงดำรงอยู่สืบไป

    พระนักพัฒนา ท่านมีภูมิจิตภูมิธรรมของท่านอย่างนั้น
    ท่านมีเจตจำนงแสดงให้เห็นชัดเจน ก็ขอยกไว้

    แต่พระที่สร้างภาพให้ดูน่าเลื่อมใสศรัทธา บิดเบือนธรรมคำสอน
    อันนี้สิน่าคิด


    (smile)
     
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    "โอวาทปาฎิโมกข์" หลักที่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือคำไทยที่สรุปพุทธพจน์ง่ายๆ สั้นๆ ว่า "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์" ภาษาพระหรือภาษาบาลีว่า.....

    " สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ "

    แปลให้เต็มเลยว่า "การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้เพรียบพร้อม การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"
     
  11. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ถ้าพูดว่าหัวใจพระพุทธศาสนาคือ "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส" หัวใจที่ว่านี้เป็นหลักในเชิงปฏิบัติเป็นเรื่องการดำเนินชีวิตว่า เราจะไม่ทำชั่ว ทำดี และทำใจให้ผ่องใส

    ทีนี้ลองไปดูหลักอริยสัจสี่ ซึ่งมี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จะเห็นว่าข้อที่ ๔ คือ "มรรค" เป็นข้อปฏิบัติ

    มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น และสัมมาสมาธิเป็นข้อสุดท้าย องค์ทั้ง ๘ นี้ ก็จำยาก จึงย่อง่ายๆ เหลือ ๓ เท่านั้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ศีล คือ เว้นชั่ว….. สมาธิ คือ ทำความดีให้ถึงพร้อม….. ปัญญา คือ ชำระจิตใจให้ผ่องใส พอแยกแยะอย่างนี้แล้วก็เห็นว่า เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ ที่ว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา นั้น ก็อยู่ใน มรรค นี่เองเป็นอริยสัจ ข้อที่ ๔ คือ ข้อสุดท้าย

    ทุกข์ คือ ตัวปัญหา เป็นสิ่งที่เราไม่เอา ยังไม่ต้องปฏิบัติ เราต้องรู้ให้ชัดว่าอะไรเป็นปัญหาที่เราจะต้องพ้นไป….. สมุทัย คือ ตัวเหตุแห่งทุกข์ ต้องสืบสาวให้รู้ตามหลักความจริงที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยว่า ทุกข์เกิดจากเหตุ และเหตุนั้นคืออะไร เหตุนั้นเรารู้ว่าจะต้องกำจัด แต่เรายังไม่ได้ทำอะไร จากนั้นเราก็รู้ว่าเมื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์ได้ เราจะเข้าถึงจุดหมายคือ….. นิโรธ แต่ทั้งหมดนี้จะสำเร็จได้ด้วยการลงมือทำในข้อสุดท้ายคือ มรรค ฉะนั้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ สามอย่างนี้เราเข้าใจว่ามันคืออะไร เราจะต้องทำอะไรต่อมัน แต่เราปฏิบัติมันไม่ได้ สิ่งที่จะปฏิบัติได้คือ ข้อที่ ๔ ได้แก่….. มรรค เมื่อเราปฏิบัติตาม มรรค เราก็กำจัด สมุทัย แก้เหตุแห่งทุกข์ได้เราก็พ้นทุกข์ หมดปัญหา และเราก็บรรลุนิโรธ เข้าถึงจุดหมายได้สามารถทำให้สำเร็จงานสำหรับ ๓ ข้อแรกทั้งหมด เป็นอันว่า สิ่งที่เราต้องปฏิบัติมีอยู่ข้อเดียวคือ ข้อ ๔ แต่เราต้องรู้ ๓ ข้อข้างต้นด้วย

    ถึงตอนนี้กลับไปดูหลัก เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ จะเห็นว่าเป็นหลักในภาคปฏิบัติทั้งหมดของพระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ใน มรรค คือ ข้อที่ ๔ ของอริยสัจ เพราะมรรคเป็นฝ่ายลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ ในแง่ของหลักความจริงตามสภาวะว่าเป็นอย่างไร จุดหมายคืออย่างไร ก็อยู่ในข้อ ๑ - ๒ - ๓ ของอริยสัจ

    เพราะฉะนั้น อริยสัจ กว้างกว่าและครอบคลุมหลัก เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ด้วย สำหรับชาวพุทธทั่วไป เริ่มต้นก็ให้เห็นก่อนว่าจะปฏิบัติอะไร เมื่อปฏิบัติไปได้ระดับหนึ่งก็จะต้องรู้หลักความจริงทั่วไปด้วย มิฉะนั้นการปฏิบัติก็ไปไม่ตลอด ถึงตอนนั้นต้องรู้หลักอริยสัจสี่

    อย่าลืมว่า ได้หลักแน่ชัดแล้วนะ เริ่มด้วย "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส" นี่แหละเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาไว้ก่อน แล้วก้าวต่อไปให้ครบ อริยสัจทั้ง ๔ ให้ได้จึงจะเป็นชาวพุทธที่แท้จริงและสมบูรณ์
     
  12. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อนุโมทนาค่ะ _/l\_

    พระพุทธศาสนาสอนเรื่อง ชำระจิตให้บริสุทธิ์
    คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นพระบรมศาสดาของชาวพุทธทั้งหลายนั้น
    สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประการ ดังนี้ คือ


    ๑.สพฺพปาปสฺส อกรณํ คือ [SIZE=+0]การไม่ทำบาปให้เกิดขึ้นด้วยประการทั้งปวง

    อันได้แก่ คำสั่งสอนเกี่ยวกับศีล วินัย ข้อห้ามต่างๆ [/SIZE]

    ซึ่งจะป้องกันพุทธบริษัทผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปสู่ที่ชั่ว
    หรือได้รับความเดือดร้อนนานาประการจากการอยู่ร่วมกันในสังคม

    ๒.กุสลสฺสูปสมฺปทาคือ การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่
    คำสั่งสอนที่เกี่ยวกับการทำความดี ซึ่งจะทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคม


    ๓.สจิตฺตปริโยทปนํ คือ การชำระจิตให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

    ปราศจากกิเลสต่างๆ ที่จะทำให้จิตเศร้าหมอง

    คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ทั้ง ๓ ข้อนี้ ทรงแบ่งออกเป็นขั้นๆดังนี้ คือ
    ใน ๒ ข้อแรก ทรงสอนเรื่องเกี่ยวกับ
    การรักษากายกับวาจา
    และทรงสอนเรื่อง การชำระจิตให้บริสุทธิ์ ในข้อสุดท้าย

    เพื่อให้พุทธบริษัทปฏิบัติตาม

    แต่เนื่องจากทั้งกายและวาจานั้นอยู่ใต้การบังคับบัญชาของจิต
    ดังนั้นเรื่องใหญ่ใจความก็ไปตกที่ข้อสุดท้ายทั้งหมด
    เพราะว่าถ้าทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วเสียอย่างเดียวเท่านั้น
    ก็ย่อมจะทำให้กายและวาจาซึ่งอยู่ใต้การบังคับบัญชาของจิต

    ดีตามไปด้วยในตัว

    อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า [SIZE=+0]หลักธรรมเรื่อง การชำระจิตให้บริสุทธิ์ นี้
    มีอยู่เฉพาะในคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น


    ถึงแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ไปแล้วในอดีต[/SIZE]

    หรือที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตทั้งหลายอีกกี่พระองค์ก็ตาม
    ล้วนแล้วแต่มีคำสั่งสอนให้ชำระจิตให้บริสุทธิ์ทั้งสิ้น

    ดังพระบาลีว่าอธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ แปลว่า
    การทำให้จิตมีธรรมอันยิ่ง เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    (smile) ธรรมประทีป ๙
     
  13. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    เพราะฉะนั้น

    จำเพาะในธรรมวินัยนี้ (คือศาสนาพุทธ) เท่านั้น ที่มีมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
    ดังนั้น ในธรรมวินัยนี้จึงมี สมณะที่ ๑, สมณะที่ ๒, สมณะที่ ๓ และสมณะที่ ๔.

    ลัทธิอื่น
    (ศาสนาอื่น) ว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง (ไม่มีสมณะ)
    ถ้าภิกษุนี้พึงอยู่โดยชอบ (คือปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘)
    โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์”

     
  14. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ขอขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ _/l\_

    อริยสัจ ๔
    ทุกข์ ต้องกำหนดรู้
    สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ ต้องละ
    นิโรธ ต้องทำให้แจ้ง
    มรรค ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก


    มรรค
    คือ อริยมรรค ๘
    อริยมรรค ๘ คือ
    สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ (ปัญญา)
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ (ศีล)
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ (สมาธิ)

    (smile)
     
  15. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    พระพุทธศาสนามีหลักการที่ตั้งอยู่บน เหตุ-ผล

    อริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    เหตุ-จิตชอบแส่ส่ายออกไปหาเรื่อง (สมุทัย)
    ผล-ทุกข์โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ (ทุกข์)

    เหตุ-ปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักมรรค ๘
    ให้จิตระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ ไม่แส่ส่ายออกไปหาเรื่อง
    (มรรค)
    ผล-จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
    ทุกข์ไม่โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ
    (นิโรธ)

    เหตุ-รู้อยู่ที่เรื่อง (สมุทัย)
    ผล-เป็นทุกข์ (ทุกข์)

    เหตุ-รู้อยู่ที่รู้ (มรรค)
    ผล-ไม่ทุกข์ (นิโรธ)

    (smile) สติ สัมมาสติ เป็นองค์มรรค ต้องเจริญต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต
     
  16. รอดมี

    รอดมี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +161
    คุณธรรมะสวนังครับ ไปๆมาคุณก็ย้อนกลับไปทำ เหมือนที่ผมให้ความเห็นไว้
    ตอนแรก

    ที่เราพูดกันอยู่คือความเป็นจริงของพุทธศาสนิกชน ซึ่งผมก็บอกแล้วถึงมูลเหตุ
    ที่คุณเสขะได้กล่าวถึงความเสื่อมของศาสนา ที่มาที่ไปต่างๆ
    คุณคิดว่าชาวบ้านทั่วไป จะศึกษาและเข้าใจในพระไตรปิฎกสักเท่าไรกัน ยิ่ง
    อ้างพุทธพจน์ด้วยแล้วละก็

    คุณพอทราบมั้ยครับว่าเมื่อก่อน คนให้ความสนใจกับพุทธศาสนาน้อยเพราะ
    สาเหตุที่ชอบ อ้างบาลี อ้างพุทธพจน์ ชาวบ้านเขาไม่เข้าใจจึงเกิดความเบื่อ
    หน่าย

    เอาอย่างนี้ครับผมมั่นใจต่อความเป็นพระของครูบาอาจารย์ ที่พวกคุณกำลัง
    กล่าวถึงไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เรื่องแนวทางปฏิบัติอาจผิดแตกต่างกัน
    แต่ผมกล้าบอกได้เลยว่า ในเรื่องความเป็นพระท่านไม่ด้อยไปกว่า พระที่ปฏิบัติ
    ดีปฏิบัติชอบทั่วไป
     
  17. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ไม่มีใครต่อว่าถึงความไม่ดีของพระเลยนะครับเท่าที่อ่านกระทู้นี้มา พูดกันถึงเรื่องเนื้อธรรม คุณรอดมีต้องทำความเข้าใจเนื้อหาด้วย แล้วก็ต้องเข้าใจในความหมายและหัวใจพุทธศาสนา พระพุทธคืออะไร พระธรรมเป็นเช่นไร พระสงฆ์คือบุคคลประเภทไหน ถึงจะเรียกตัวเองว่าพุทธศานิกชน ต้องทำความเข้าใจด้วยนะครับว่าพระสงฆ์1รูปไม่ใช่ศานาพุทธ สาธุ

    ขอคุณรอดมีช่วยอธิบายคำที่คุณว่า"พุทธศานา" อาจจะเข้าใจคำนี้ไม่ตรงกัน ลองเอาคำนี้ไปพิจารณานะครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 พฤศจิกายน 2009
  18. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ปัญหา จุดมุ่งหมายสำคัญในการประพฤติพรหมจรรย์คืออะไร ?

    พุทธดำรัส ตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อประสงค์อะไร.... พวกเธอพึงตอบพวกเขาอย่างนี้ว่า พากเราอยู่เพื่อประพฤติพรหมจรรย์กำหนดรู้ทุกข์ ถ้าพวกเขาถามอย่างนี้ว่า ทุกข์ที่ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อกำหนดรู้นั้นคืออะไร.... พวกเธอพึงตอบพวกเขาอย่างนี้ว่า
    ทุกข์ คือ ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...
    ทุกข์ คือ ดีใจ รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์....
    ทุกข์ คือ จักขุวิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ...
    ทุกข์ คือ จักขุสัมผัส... โสตสัมผัส...ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส... มโนสัมผัส...
    ทุกข์ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะผัสสะเหล่านี้เป็นปัจจัย”
    ติตถิยสูตร สฬา. สํ. (๒๓๘)
    ตบ. ๑๘ : ๑๗๒-๑๗๓ ตท. ๑๘ : ๑๕๕
    ตอ. K.S. ๔ : ๗๘
     
  19. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ปัญหา ภิกษุเช่นใดเป็นผู้ทำลายพระพุทธศาสนา ?

    พุทธดำรัส ตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม.... สิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ...แสดงคำที่พระตถาคตมิได้กล่าวไว้ ตรัสไว้ว่าพระตถาคตกล่าวไว้ตรัสไว้...แสดงธรรมที่พระตถาคตมิได้ทรงประกอบว่าพระตถาคตทรงประกอบ ....แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติว่าพระตถาคตทรงบัญญัติ.... ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความเสียหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายทั้งย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน”

    บาลีแห่งเอกธรรม เอก. อํ. (๑๓๑-๑๓๒)
    ตบ. ๒๐ : ๒๕-๒๖ ตท. ๒๐ : ๒๒-๒๓
    ตอ. G.S. ๑ : ๑๒
     
  20. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ปัญหา อะไรเป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นานหรือตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานไปแล้ว ?

    พระอานนท์ตอบ “ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้เพิ่มพูนซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคต เสด็จปรินิพพานแล้ว และเพราะบุคคลเจริญ เพิ่มพูนซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว....”

    ฐิติสูตร มหา. สํ. (๗๗๒)
    ตบ. ๑๙ : ๒๒๙-๒๓๐ ตท. ๑๙ : ๒๑๕-๒๑๖
    ตอ. K.S. ๕ : ๑๕๑-๑๕๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...