เรื่องเล่าของข้าพเจ้าความศักดิ์สิทธิ์พระคาถาชินบัญชร

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย ชัชวาล เพ่งวรรธนะ, 1 ตุลาคม 2008.

  1. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ตอบน้องsupatach

    ทางเอมพี่ตอบไม่ทัน พี่มักจะออนเสมอแต่จะปิดทันทีเพราะเกรงใจเพื่อนๆน้องๆครับ ถามพี่อ้องทางกระทู้ดีกว่าครับ
    พี่คงจะตอบเท่าที่ทำได้ ไม่ได้เก่งมากมายครับ พอรู้บ้างเท่านั้นนะครับ
    อนุโมทนาครับ
    พี่อ้อง
     
  2. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    มรดกของพระพุทธทาส

    อ่านกันเถิดครับ จะได้รู้หลักธรรมจริงๆ ของพระพุทธศาสนา

    มรดกที่ ๑. ทุกคนสามารถเป็นพุทธทาสได้ ถ้าเขาต้องการโดยบริสุทธิ์ใจ คือ รับใช้ในการเผยแผ่พุทธศาสนา ด้วยการทำตัวอย่างในการปฏิบัติให้ดู มีความสุขให้ดู จนผู้อื่นพากันทำตาม

    มรดกที่ ๒. ปณิธาน ๓ ประการ ควรแก่ผู้ที่เป็นพุทธทาสทุกคน ถือเป็นหลักในการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์แก่โลก คือ
    ๑. พยายามทำตนให้เข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตนๆ

    ๒. พยายามช่วยกันถอนตัวออกจากอำนาจของวัตถุนิยม
    ๓. พยายามทำความเข้าใจระหว่างศาสนา



    มรดกที่ ๓. ปณิธานข้อแรก คือ การทำให้ทุกคน เข้าถึง หัวใจของพุทธศาสนา เพื่อให้เกิด การปฏิบัติดี-ตรง-เป็นธรรม-สมควรแก่ การหลุดพ้น เพื่อสนองพุทธประสงค์ โดยตรง ได้อย่างแท้จริง
    มรดกที่ ๔. ปณิธานข้อที่สอง คือ การทำโลก ให้ออกมาเสียจาก อำนาจของวัตถุนิยม หรือ รส อันเกิดจาก วัตถุทางเนื้อหนังนั้น ควรเป็นกิจกรรม แบบสหกรณ์ ของคนทุกคนในโลก และทุกศาสนา เพื่อโลกจะเป็นโลก สะอาด-สว่าง-สงบ จากสภาพที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน
    มรดกที่ ๕. ปณิธานข้อที่สาม คือ การทำความเข้าใจ ระหว่างศาสนา นี้เป็นสิ่งจำเป็น ต้องทำ เพราะโลกนี้ ต้องมีมากศาสนา เท่ากับ ชนิดของคนในโลก เพื่อจะอยู่ร่วมโลกกันได้ โดยสันติ และทุกศาสนา ล้วนแต่สอน ความไม่เห็นแก่ตัว จะต่างกันบ้าง ก็แต่วิธีการณ์ เท่านั้น
    มรดกที่ ๖. สวนโมกข์ คือ สถานที่ให้ความสะดวก ในการเป็นเกลอ กับธรรมชาติ ทั้งฝ่ายจิต และฝ่ายวัตถุ, ควรจัดให้มีกัน ทุกแห่งหน เพื่อการศึกษาธรรมชาติ โดยตรง, เพื่อการรู้จัก กฏของธรรมชาติ, และเพื่อการชิมรส ของธรรมชาติ จนรู้จักรักธรรมชาติ ซึ่งล้วนแต่ ช่วยให้เข้าใจธรรมะ ได้โดยง่าย
    มรดกที่ ๗. สวนโมกข์ คือ มหรสพทางวิญญาณ เป็นสิ่งจำเป็น ต้องมี สำหรับ สัตว์ที่มี สัญชาตญาณ แห่งการต้องมี สิ่งประเล้าประโลมใจ อันเป็นปัจจัย ฝ่ายวิญญาณ เพิ่มเป็นปัจจัยที่ห้า ให้แก่ ปัจจัยทั้งสี่ อัน เป็นฝ่ายร่างกาย, ขอให้ช่วยกันจัดให้มีขึ้นไว้ สำหรับใช้สอย เพื่อประโยชน์ ดังกล่าวแล้ว แก่คนทุกคน.
    มรดกที่ ๘. สวนโมกข์ นานาชาติ สำหรับ แสงสว่างทางวิญญาณ ของเพื่อนมนุษย์ ต่างชาติ ต่างภาษา โดยเฉพาะ, เป็นความคิด ที่เกิดขึ้นมา เมื่อมองเห็น คนเหล่านั้น ดิ้นรน เสาะแสวงหา เพื่อให้พบ ตัวของตัวเอง. ขอฝากไว้ ให้ช่วยกัน จัด และ รักษา ที่จัดแล้ว ไว้สืบไป.
    มรดกที่ ๙. มหรสพทางวิญญาณ เพื่อความเพลิดเพลินทางวิญญาณ ด้วยรสแห่งธรรมะ เป็นสิ่งจำเป็นต้องมี เพื่อแทนที่มหรสพทางเนื้อหนัง ที่ทำมนุษย์ให้เป็นปีศาจชนิดใดชนิดหนึ่ง อยู่ตลอดเวลา มนุษย์ต้องมี ความเพลิดเพลิน (Entertainment) เป็นปัจจัยที่ห้า ของชีวิต จำเป็นที่จะต้องจัดหาให้ ให้ดีๆ.
    [​IMG]มรดกที่ ๑๐. สัญญลักษณ์เสาห้าต้นบนหลังคา หมายถึง นิวรณ์ห้า ปัญจุปาทานขันธ์ห้า พละห้า อินทรีย์ห้า ธรรมสาระห้า มรรคผลนิพพานห้า แม้ที่สุดแต่ นิ้วมือทั้งห้า ของตนเอง ล้วนแต่เป็นเครื่องเตือนใจ ในเรื่อง การกำจัดความทุกข์ ของคนเราทั้งสิ้น.


    มีอยู่อีกตั้งหลายอย่างครับยังลงไม่หมด



    ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ....http://www.buddhadasa.com/heritage/heritage1.html


    ทำดี ละชั่ว ทำใจให้บริสุทธ์ หลุดพ้น กันเถิดครับ

    ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2009
  3. โมกลา

    โมกลา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +24
    ขอบคุณค่ะ ตอบรวดเร็วทันใจดีจัง จากคำตอบของคุณอ้อง เราก็ทำเพียงแค่ตามดู ตามรู้ไปเรื่อยๆจนหลับ ก็เท่ากับเราได้ญาณหลับแล้วใช่ไม๊ค่ะ ตอนนี้เมื่อรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาตอนไหนก็จะดูลมหายใจ ต่อ ฝึกต่อเนื่องไปตลอดจนเช้า ชอบวิธีฝึกสมาธิแบบนี้จังเลยค่ะ

    ขอรบกวนถามต่อนะค่ะ ช่วงที่นอนดูจิต แรกๆจิตจะวูบวาบๆ แต่ตอนนี้นิ่งได้ระดับหนึ่งแล้วเริ่มเห็นเป็นความสว่างนวล แล้วก็ดิ่งลึกลงไป แล้วก็หายไป ในจังหวะนี้ได้ลองพยายามถอดจิตดู แต่ยังทำไม่ได้ สุดท้ายทำให้กายตื่นขึ้นมา

    ไม่ทราบว่าตอนแยกจิตให้ขาดออกจากกาย มีขั้นตอนการฝึกอย่างไรค่ะ ใช้วิธีจับลมหายใจต่อไปหรือเปล่า แต่ถึงขั้นนี้ลมจะนิ่งมากไม่มีให้จับ ทำให้ต้องหายใจให้แรงขึ้น จิตเลยแกว่งไม่นิ่ง ก็เลยวนเวียนอยู่แถวนี้ ไม่ก้าวหน้าขึ้น

    ก็ขอคำแนะนำจากคุณอ้องต่อนะค่ะ


    ขอให้กุศลในการให้ธรรมะที่คุณอ้องได้ทำมาตลอดส่งเสริมให้คุณอ้อง
    เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นค่ะ
     
  4. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ฌานหลับนะครับ การแยกกายและจิต

    เวลาที่เรานอนหลับไป กายก็ส่วนหนึ่ง จิตก็ส่วนหนึ่ง แต่ไม่มีสติคือตัวรู้อยู่เรียกว่าหลับไม่รู้ตัว ตรงนี้ถ้ามีสติรู้อยู่แต่กายมันหลับ เราจะเห็นสติเป็นตัวรู้อยู่ภายในเช่นกัน กายจะเหมือนดั่งก้อนเนื้อ ท่อนไม้ที่วางเอาไว้
    และมีสติตัวรู้อยู่ภายในถ้ำโพลงตรงนี้ไม่ใช่ฌานหลับแต่เหมือนคนนั่งสมาธิแต่เป็นท่านอนสมาธิ

    คนนั่งสมาธิพอกายสงบระงับ กายเบา กายมันก็หลับเหลือจิตที่เริ่มเด่นดวงขึ้น กายที่สงบระงับคือสุขปรากฏ สุขอิงสมาธิปรากฏ
    สมาธิจะรวมได้กายต้องเบาสงบระงับมีสุขปรากฏ
    เหมือนดั่งเวลาเรานอนถ้าเราจะนอน กายมันต้องสบายๆ ผ่อนคลายและทิ้งคิดในที่สุด ช่วงที่ผ่อนคลายภวังค์จะถี่และมีอำนาจของถีนมิทธะซึมๆทื่อๆมีอำนาจมากขึ้น

    ถ้าสติเริ่มอ่อนตัวเพราะเผลอหลงในขณะที่ตามรู้ลมอยู่และเผลอตกภวงัค์จิตมันจะวิ่งเข้าไปปรุงแต่งภพตามกำลังของสมาธิที่รวมเอาไว้แต่เราไม่รู้ว่าที่ไหน แต่มันจะเบาๆสบายอยู่ภายในเหมือนดิ่งเข้าไป ลึกตามขอบมิติภพที่จะไปแต่งปั้นมันไม่ได้
    ตรงนี้เรียกว่า ฌานหลับ...
    คือตกภวังค์และวูบเข้าไปเป็นฌานในตอนนอนจับหลับครับ

    ส่วนการนั่งสมาธิช่วงที่กายสงบระงับลงไป จิตก็เริ่มทิ้งกายไประดับหนึ่งเหลือเพียงเสียงและลมที่ยังสัมพาทเสียดแทงใจอยู่เป็นระยะ

    เสียงเมื่อยังเสียดแทงใจ ถ้าไม่ใจเสียอยู่กับอารมณ์ที่ฐานจิตที่ดูอย่างตั้งมั่น
    เสียงมีแต่จิตไม่ยกอารมณ์เสียงจึงเหมือนเงียบหายดั่งอยู่ในป่าเปลี่ยว

    เมื่อเสียงหายไปจิตเริ่มเด่นดวง สว่างไสวแต่สิ่งที่ยังสัมพาทเสียดแทงใจที่นานๆมาทีคือลมที่เราคิดว่าละเอียดจนหายไป

    กายที่ยังต้องการลมอยู่จึงกระเพื่อมไหวหวั่นเพราะต้องการลมไปดับทุกข์แห่ง กายลมจึงยังทำให้จิตยังไม่รวมเข้าสู่ใจ เมื่อไม่ใส่ใจลมลมกลับกลายเป็นฟองอากาศห่อหุ้มเหมือนดั่งลมเป็นหนึ่งระหว่าง วันทั้งๆที่เราสูดลมทั้งวันแต่เราก็ไม่เห็นลม

    ลมที่ห่อหุ้มทำให้เป็นลมเต็มห่อหุ้มกายเหมือนดั่งเราไม่เอาจมูกอันเป็นสัญญา ไปสูดลมแต่กายมันจะเหมือนดั่งดูดลมเข้าทางผิวหนังเหมือนดั่งกบจำศีล นิ่งสงบเหมือนลมเต็ม ละสุขทุกข์คือละลม

    เมื่อนั้น กายก็แยกกับจิตได้เด็ดขาด เหลือเพียงใจที่ปรากฏเกิดขึ้น

    จิตรวมเข้าหาใจ...
    ละสุขทุกข์ ใจเป็นกลาง สติมีกำลัง จิตบริสุทธิ์ สงบนิ่งเป็นหนึ่ง(เอกัคคตา)ตรงนี้เป็นการทำให้จิตไหลมารวมเข้าหาใจ โดยใช้อารมณ์กรรมฐานเป็นเหยื่อล่อปลามาติดเบ็ดครับ

    เมื่อใจปรากฏ ใจก็ยังตกอยู่อำนาจของธรรมชาติไม่เที่ยงอยู่ดี ซักพักใจจะส่งจิตซัดส่ายไปยังวิญาณอายตนะทั้ง๕ ตรงที่ใจส่งออกไป มีจุดตำแหน่งของช่องแห่งวิญญาณปรากฏ ตรงแวบ ช่องไหน มันจะแสดงตำแหน่งและเนื่องจากสมาธิที่มีกำลัง

    สติจะเข้าไปตัดอารมณ์นั้นๆทันทีและประหารกิเลสและเข้าไปรู้ตรงช่องวิญญาณนั้นๆ ด้วยความเที่ยงธรรมที่ใจไม่อิงสุขทุกข์ ไม่อิงโลกดีเลว
    ใจที่เป็นกลางจะมองเห็นความจริงทั้งหลายที่ตกอยู่ภายใต้การเกิดดับ

    จนละวางอุปทานได้ครับ

    การถอดจิต...
    อย่าไปพยายามที่จะทำ เพราะไม่ได้ทำให้มีปัญญา ถ้าเค้าจะออกก็ออกไป แต่ถ้าเค้าไม่ออกและพยายามฝึกเพื่อให้ออกก็จะเสียเวลาอันมีค่ามากกว่าการได้อบรมกายและจิตด้วยการฝึกทางเอกสติปัฎฐาน๔นะครับ

    วิธีการถอดจิตมีกล่าวเอาไว้ในการทำอโลกสินญ์คือสมธิปรากฎให้ส่งจิตที่มีกำลังของสมาธิพุ่งออกไปจากกลางกระหม่อม โน้มนำให้รู้สึกมีตัวตนของเราอีกตนดั่งส่องกระจกเป็นเงาเราที่ชัดเจนและกำหนดจิตให้พุ่งออกไป

    จิตมันเกิดดับที่วิญญาณอายตนะ จิตมันเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่นเพราะจิตเป็นธาตุรู้อารมณ์

    ดังนั้นจิตจึงอิงอาศัยรูป อาศัยช่องโพลงวิญญาณ
    ถ้าจิตไม่สามารถสร้างรูปละเอียดภายนอกได้และจิตต้องลืมกายหยาบจนสิ้นเหมือนเราส่องกระจกเห็นเราอีกคนและลืมให้สิ้นตัวเราเหลือเพียงเงา จิตก็จะวิ่งออกไปจากกระหม่อมได้ด้วยการทำอโลกสินญ์ครับ

    อ้องว่าการถอดกายละเอียดไม่สำคัญเท่ากับพระธรรมอันบริสุทธิ์แต่ถ้ามันออกเองอ้องก็ขอให้เป็นวิหาร ที่พัก ที่ดูกรรม ที่รู้สวรรค์นรกเพื่อเตือนตนไม่ประมาท
    แต่ถ้าเริ่มต้นใหม่ฝึกใหม่ อ้องว่ายากเอาการและจะทำให้เสียเวลาอันมีค่าที่ได้เจอพระพุทธศาสนาที่เป็นเพชรน้ำเอกนะครับ
    อนุโมทนาครับ แจกแจงยาวพอสมควร
    อ้องครับ
     
  5. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    เวลาทีลมหายไปปล่อยเค้านะ ความสงบมันจะสงบนิ่งเงียบมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับเข้าไป เรียกว่าเกือบสงบนิ่งเป็นหนึ่ง
    แต่เวทนานะมันจะทำให้กายต้องการลมมาอีกเพื่อระงับสุขทุกข์ของกาย
    ซักพักกายก็จะสูดลมใหม่เองตามธรรมชาติอีก
    ไม่ใส่ใจแขกที่มาเยือนอยู่กับความสงบนิ่งทำลมให้เป็นหนึ่งเหมือนฟองอากาศห่อหุ้มจิต ลมที่เต็มไม่ซัดส่ายไม่พัดพริ้วไม่ใส่ใจลมที่ปรากฏ
    ลมจะนิ่งเต็มตัวเหมือนระหว่างวันที่เราสูดลมแต่ไม่เห็นลม

    อย่าใส่ใจลมอย่าใส่ใจแขกที่มาเยือนเหมือนดั่งมองไม่เห็นลมมันจะนิ่งเองครับ
     
  6. โมกลา

    โมกลา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +24
    ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำอธิบายอย่างละเอียด จะค่อยๆพยายามทำความเข้าใจตามคำอธิบายของคุณอ้องต่อไป ค่ะ

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะค่ะ จะได้เป็นที่พึ่งของผู้ที่ด้อยกว่าและมีปัญหาที่ติดขัดอยู่
    ที่ไม่รู้ว่าจะถามใคร
     
  7. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    ตื่นกันเถิดครับ กัลยาณมิตรทั้งหลาย

    ละชั่ว ทำดี ทำจิตให้บริสุทธิ์ หลุดพ้น...

    อันว่าความหมายของอวิชชา

    อวิชชา ไม่ได้แปลว่า ความไม่รู้ แต่แปลว่า สภาวะรู้ตามธรรมชาติที่ไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลยที่จะทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากการตกอยู่ใต้อำนาจต่างๆ อันจะทำให้จิตตัวเองเป็นอิสระได้

    เช่น คนดื่มเหล้า เขามีความรู้เรื่องดื่มเหล้า เขารู้ว่าจะทำอย่างไร ระหว่างเหล้ากับโซดา จึงจะได้รสอร่อยตามกิเกสของตัวเอง แต่หารู้ไม่ว่าตัวเองตกอยู่ใต้กิเกส โดนอวิชชาครอบงำ ทำตามอยากของตัวเอง ซึ่งไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลยที่จะทำให้จิตใจตัวเองเป็นอิสระ


    วิชชา คือ สภาวะรู้ตามธรรมชาติ ที่มีสาระแก่นสารที่จะทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากอำนาจต่างๆ จนจิตใจตัวเองมีอิสระ อยู่เหนือดีเหนือชั่ว ที่จะทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากสิ่งเหล่านี้


    คุณน้า คุณอาทั้งหลายท่านครับ จงพิจารณากันเถิดว่า โดนอวิชชาครอบงำตัวเองโดยไม่รู้ตัวหรือเปล่า

    อันว่าเรื่องของ ญาน อิทธิฤทธิ์ต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งไร้ค่า ซึ่งจะทำให้ตนเองเกิดความลุ่มหลง

    มีบางท่านน่ะคิดว่า เราจะยังไม่เชื่อในพุทธศาสนาหรอก เราขอทำญานให้เกิด ให้ได้เห็น นรก สวรรค์เสียก่อนจึงจะเชื่อในพระพุทธศาสนา หารู้ไม่ครับว่าท่านดูถูกพระพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัว

    การที่จะเป็นพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้แปลว่า เห็นนรก สววรค์ แล้วจึงถือว่าเป็นพระพุทธศาสนา แต่ การทำให้ตัวเองสละการยึดถือ การตกอยู่ใต้อำนาจต่างๆ จนจิตมีความอิสระ ต่างหากจึงจะเป็นพุทธโดยแท้

    พระองค์ท่าน ไม่ทรงสรรญเสริญในสิ่งนี้ แต่หากเอาสิ่งนี้มาพิจารณาให้เกิดปัญญาต่างหาก

    การที่เราคุยเฟื่องในเรื่องของสิ่งนี้ล้วนไม่มีแก่นสารอะไรเลยที่จะให้ตัวเองหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลส

    สิ่งที่ท่านได้มานั้นเป็นแค่เปลือกของพระพุทธศาสนาเท่านั้น หรืออาจจะไม่ใช้พระพุทธศาสนาเลยก็ได้

    ส่วนผมน่ะครับอาเรื่องญานนี้ ผมตัดทิ้งไปเลย เนื่องจากว่าไม่มีแก่นสารจริงๆ

    ท่านควรจะพิจารณาเอาน่ะครับ

    บางคนน่ะครับ ทำแต่สมถกรรมฐาน ไปจนวันตาย ก็ยังไม่หลุดพ้น เพราะมัวแต่ยึดถือ ไม่เคยได้ปล่อยวางอะไรเลย


    อันคำว่าโง่ หรือ ฉลาดนั้นไม่ได้มีโดยจริงกับใครเขา

    แต่การที่ตามใจกิเลส ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส เห็นกิเลสเกิดขึ้นมาแล้วไปทำตามกิเลส นี้จึงเรียกได้ว่า "โง่โดยแท้จริง"

    อันว่าความฉลาด เมื่อมีกิเลสเกิดขึ้นมา แต่ไม่ทำตามกิเลส ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส จึงเรียกได้ว่า "ฉลาดโดยแท้จริง"

    ท่านจงเข้าใจครับว่า โง่ ฉลาด ไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวใครเลย เกิดแต่กับท่านเอง ส่วนที่ว่าเกิดกับผู้อื่นนั้นเป็นแค่สมมุติเท่านั้นเอง

    อันว่าสมมุตินั้น ใช้เพื่อบัญญัติให้รู้สิ่งต่างๆ แต่ไม่ให้หลงไปในสมมุติ
    เช่น เมื่อผมเห็นผู้หญิงสวยน่ะครับอา ก็ให้รู้ว่าสวย แต่อย่าไปหลงในสิ่งที่หาเห็นว่าสวย นี่ถึงจะเรียกว่า "รู้สมมุติ"

    แต่หากไปชื่นชมกับสิ่งนั้นจนลืมเนื้อลืมตัว นี้เรียกได้ว่า "หลงสมมุติ"


    อันว่า ดี และ ชั่ว

    สิ่งนี้ทั้งสองสิ่งเหมือนกัน แต่แตกต่างกันมาก เพราะทั้งสองสิ่งนี้เกิดจากการกระทำทาง กาย วาจา ใจ

    แต่ความดี คือ สิ่งที่กระทำแล้วเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น และตนเอง อันมีแต่ความสุขความสบายใจ เพื่อให้จิตใกล้เคียงความบริสุทธิ์

    แต่ความชั่วนั้น เป็นสิ่งที่กระทำแล้วไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและผู้อื่น มีแต่จะนำความเดือดร้อนใจมาให้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ

    พระพุทธเจ้าท่านทรงสรรเสริญให้ละชั่ว ทำความดี แต่ท่านไม่ให้ยึดเอาความดีเป็นของๆ เรา

    การกระทำความดีและชั่วนั้น ล้วนมาจากการกระทำด้วย กาย วาจา ใจ มันสักแต่ว่าเป็นการกระทำเท่านนั้นเอง

    ส่วนที่เรียกว่าความดี และชั่วนั้น เกิดจากการที่เราพร้อมใจกันสรรเสริญว่า "สิ่งนั้นดี สิ่งนั้นไม่ได้"

    การจะอยู่เหนือความดีและชั่วนั้น ให้เห็นว่าทั้งสองสิ่งนี้เป็นแค่การกระทำ


    ศาสตร์มนุษย์ ของมนุษย์ โดยมนุษย์(โดยมนุษย์ ก็คือ ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะถูกสรรญเสริญว่า เป็น พระพุทธเจ้านั้น ท่านก็คือมนุษย์) เพื่อมนุษย์

    เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรกระทำกัน ควรศึกษาให้เกิดความเข้าใจโดยแท้จริง

    คือการลายการยึดถืออัน "ตัวกูของกู"

    พระองค์ท่านทรงสอนให้เจริญหลักธรรมของท่าน ดังที่ว่า "เมื่อใดเห็นธรรมมะ เมื่อนั้นเห็นเรา "

    มิได้ทรงให้กราบให้สักการะบูชาพระพุทธรูปน่ะ เพราะพุทธแท้น่ะมิใช่ลักธิบูชาเทพเจ้า มัวแต่ขอพรอ้อนวอนแต่สั่งสักสิทธิ์ ลุ่มหลงมัวเมาตกอยู่ใต้อำนาจ

    แต่การกราบนั้นเป็นการลดทิฏฐิของตัวเอง อัน "ตัวกูของกู"

    พวกเราทั้งหลายนี้ อยู่กับภาพมายา หลอกตัวเองไปวันๆ อันว่าตัวกูของกูนั้นแหละ แท้ที่จริงแล้วตัวเราไม่ได้มีอยู่จริงเลย คนอื่นก็เหมือนกัน โดยอยู่ดดยสมมุติ สมมุติโดยตัวตน ทุกคนไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง แต่มายึดเอาเท่านั้นเอง ทุกคนอยู่กับความว่างเปล่า แต่ไม่เคยค้นหาเลยไม่รู้อะไรเลยครับ

    อย่างเช่นน่ะครับ มีแม่อย่างนี้ แท้จริงแล้วแม่ไม่มี แต่มีโดยสมมุติ แล้วก็มีตัวตนโดยสมมุติ เมื่อท่านตายไป(ตายในทางโลกน่ะ คือ สภาวะร่างกายที่จิตวิญญาณนี้ไม่สามารถอยู่ได้เท่านั้นเอง) สมมุติก็จบลง ก็คือไม่มีจริง เช่นตัวผมเองก็ไม่มีจริง ตัวอาอ้องเองก็ไม่มีจริง แต่มีโดยสมมุติเท่านั้นเอง

    กระผมใช้ความรู้จากญาน ฌานนี้ มาพิจารณา จนรู้แจ้งในสัจจธรรม โดยแจ่มชัดในเรื่องของสมมุตินี้

    ท่านทั้งหลายจงทำตัวเอง ให้ "ตาย ก่อนตายเถิด" เมื่อท่านตายไปแล้วจะได้ไม่มีใครตาย



    แต่ก่อนผมก็ห้อยพระน่ะครับอา แต่หากแต่ว่าทำสิ่งนี้แล้วเรียกได้ว่าเป็นผู้ประมาทในตัวเอง มัวแต่อิงไสยศาสตร์ มัวแต่จะให้สิ่งเหล่านั้นช่วยเราให้หลุดพ้น โดยแทนที่ตัวเองจะเจริญ สติ ศีล ปัญญา ภาวนาเสีย จะได้ไม่ประมาท

    ดังคำของพระองค์ที่ว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แต่ ตนนี้มิใช่ตน"
    เป็นเพราะว่า ตนนั้นไม่ได้มีอยู่จริง แต่คำว่า "ตน"นั้น ใช้เรียกแทนตัวเองเฉยๆ แต่เราไม่ยึดถือเอาเป็นตัวเราของเรา

    กระผมเองภาวนาเสียได้ฌาน ก็ได้ สิ่งวิเศษความสามารถของฌานมา แต่มิได้ยึดเอาเป็นของเรา แต่เอาสิ่งนั้นมาพิจารณาเป็นปัญญาให้หลุดพ้น

    เมื่อใดที่ไม่ละในสิ่งที่ได้มานั้น เมื่อนั้นมิใช่พุทธศาสนา แต่เป็นลักธิบูชาสิ่งนั้นอยู่


    จงทำตนให้อยู่เหนือดี เหนือชั่ว กันเถิดครับท่านทั้งหลาย

    ที่ผมอธิบายมานี้กระผมพิมพ์พิม์ประการใด ขอท่านทั้งท่านอโหสิกรรมให้ด้วย และกระผมขอขอบพระคุณ หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ของพระพุทธทาส ที่ทำให้ผมเกิดปัญญา นำหลักทำของท่านมาพิจารณาจนเกิดความแจ่มแจ้งในใจ

    ขอบพระคุณ คุณอาอ้อง ชัชวาล เพ่งวรรณธนะ ที่ดึงผมเข้ามาในพระพุทธศาสนานี้ ทำให้ผมได้ ศึกษาธรรมมะต่างๆ อันมีแก่นสารที่จะทำให้ตัวเองหลุดพ้นได้

    อย่าลืมครับ ศีล สติ สมาธิ ปัญญา ต้องเสมอกันครับ เมื่อขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งคือขาดความประมาทในตนเอง ผมเองก็ยังขาดสติที่มั่งคงอยู่เหมือนกัน ต้องไม่ประมาทกันน่ะครับ

    ที่คุณอาอ้องบอกว่า เมื่อตายไปแล้วจะต้องต่อสู้กับมรณสตินั้น เป็นเรื่องจริงน่ะครับ เพราะเมื่อตายจะต่อต้านกับสติน่ะ ระวังไว้ให้ดีครับ ตนนั้นเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนนั้น มิใช่ตน เวลาทำสมาธิอย่าลืม ภาวนามรณสติกันน่ะครับ คือภาวนาว่าทุกลมหายใจเราต้องตาย เอาอย่างนี้น่ะครับ อย่ามัวเองเอาสงบ เอาญาน หรือฌาน เพราะสิ่งนี้จะมาของเขาเองครับผม

    ขออนุโมทนาสาธุครับ ^.^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2009
  8. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้

    นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้

    เอ้า, ทีนี้ก็มาพูดถึง ที่ว่า นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ กันดีกว่า:
    เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่ทำให้ผมถูกด่า จนไม่รู้ว่าจะด่าอย่างไรแล้ว
    ว่าเอาพระนิพพาน มาทำให้สำเร็จประโยชน์ที่นี่และเดี๋ยวนี้. ในเมื่อ
    เขาต้องการ ให้ตายแล้วเกิด, ตายแล้วเกิด, ตายแล้วเกิด, ร้อยชาติ
    พันชาติ หมื่นชาติ แสนชาติ แล้วจึงจะนิพพาน. แล้วเรามาทำให้
    เป็นว่า ที่นี่และเดี๋ยวนี้ก็มีนิพพาน เขาก็โกรธ ไม่รู้ว่ามันจะไปขัด
    ประโยชน์ ของเขาหรืออย่างไร ก็ไม่ทราบ

    เขาหาเรื่องว่า เรามาหลอกคนว่า นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ หรือ
    ทำให้ นิพพานนี้ด้อยค่าลงไป เพราะทำได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้ เขา
    ให้ถือว่าหมื่นชาติ แสนชาติ จึงจะได้; ถ้าอย่างนั้น ค่ามันก็มากซิ;
    พอมาทำได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้ กลายเป็นของง่ายไป เขาคัดค้าน ก็ด่า;
    ไม่เป็นไร, เราไม่ได้ต้องการแก่คนพวกนี้ เราต้องการให้คนทั่วไป
    ต่างหาก ได้รับประโยชน์จากนิพพาน

    จิตถึงนิพพานได้ ต้องละอุปาทาน
    มันมีหลักอยู่ว่า เมื่อใดเกิดอุปาทาน เมื่อนั้นไม่นิพพาน คือ
    จิตของเรา ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด คุณรู้ความหมายว่า จิตของเรา
    กำลังยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตนในสิ่งใด เมื่อนั้นนิพพานไม่ได้;
    เมื่อใด จิตไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดอยู่ เมื่อนั้นนิพพานเอง
    เป็นนิพพาน ในทิฏฐิธรรมนี้ด้วย.

    จะเล่าเรื่องก็คือว่า มีคนที่เป็นนักคิดนักศึกษา ที่เป็นฆราวาสทั้งนั้น
    ไม่มีพระเลย เป็นพระอินทร์ก็มี เป็นอุบาสก เป็นคนร่ำรวยอะไรก็มี
    ก็มาทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ทำไมคนจึงไม่นิพพาน ในทิฎฐธรรม?
    คือทำไม คนไม่บรรลุนิพพาน ในความรู้สึก ของตัวเอง ที่รู้สึกได้
    ที่นี่และเดี๋ยวนี้?

    ทิฎฐิธรรมนั้น หมายความว่า รู้สึกอยู่กับใจของตัวเอง
    เขาถามว่า ทำไมคนจึงไม่บรรลุนิพพาน
    ชนิดที่รู้สึกอยู่กับใจเอง ที่นี่และเดี๋ยวนี้?
    ทิฎฺเฐว ธมฺเม - ในธรรมอันตนเห็นแล้วเทียว,
    คือในความรู้สึกที่ตนกำลังรู้สึกอยู่เทียว;
    ไม่ใช่ต่อตายแล้ว, ตายแล้ว จะรู้สึกอย่างไรได้
    ก็คือ ที่นี่และเดี๋ยวนี้.

    พระพุทธเจ้า ท่านก็ตรัสตอบว่า มันเป็นอย่างนั้น, คือ ท่านยกมา
    ทั้งกระบิ ทั้งระบบ เรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ อย่าง แล้วท่าน
    ก็ ตรัสทีละอย่าง

    ท่านก็ต้องตรัสว่า เรื่องตานี่ เห็นรูปก่อน เป็นเรื่องแรก.
    รูปที่ตาเห็นนั้น เป็นอิฎฺฐา แปลว่าน่าปรารถนาอย่างยิ่ง,
    กนฺตา - ยั่วให้เกิดความรัก. กนฺตา เป็นภาษาไทย มาเป็น กานดา,
    นางกานดา คือ นางสาวที่น่ารัก. กนฺตา - น่ารักอย่างยิ่ง, มนาปา -
    น่าพอใจอย่างยิ่ง. ปิยรูปา - มีลักษณะน่ารัก, กามูปสญฺหิตา -
    เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งกาม. รูปชนิดนั้นเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
    แห่งกาม คือ ความใคร่. รชนียา - ย้อมจิต.

    รูปนั้น อิฎฺฐา, กนฺตา, มนาปา, ปิยรูปา, กามูปสญฺหิตา, รชนียา;
    หมายความว่า รูปนั้น น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ ลักษณะชวนรัก
    ก็เป็นที่เข้าไปตั้ง แห่งความใคร่ แล้วก็น้อมจิต จับจิตอย่างยิ่ง

    รูปนั้นมีลักษณะอย่างนั้น

    ทีนี้ บุคคลนั้นเห็นเข้าแล้ว; ถ้าเขาชอบใจอย่างยิ่ง อภินนฺทติ -
    ชอบอย่างยิ่ง, อภิวทติ - พร่ำสรรเสริญ อยู่อย่างยิ่ง. พร่ำสรรเสริญ;
    ก็คุณนึกดูว่า พอมันถูกอะไร อร่อยอะไรนี้ มันทำเสียงสูดปาก
    อะไรบ้างนี้; อภิวทติ - พร่ำสรรเสริญ เหมือนกับคนบ้า เพราะสิ่งนั้น
    มันอร่อย มันสวย. แล้วก็ อชฺโฌสาย ติฎฺฐติ - ฝังจิตใจเข้าไปหมก
    อยู่ในสิ่งนั้น.

    อย่าฟังแต่เสียงนะ คือ นึกถึงของจริง ที่มันสวยอย่างยิ่ง, แล้วมันก็
    เพลินอย่างยิ่ง, แล้วมันก็พร่ำแสดงทางปากนี่, ว่าพอใจอย่างยิ่ง,
    แล้วจิตมันก็ฝังลงไป ในสิ่งนั้นอย่างยิ่ง, คือ กายมันก็เป็นไป วาจา
    มันก็เป็นไป จิตมันก็เป็นไปในทางที่จะเข้าไปหลงใหลในสิ่งนั้น. นี้
    เรียกว่า เขามันเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมก อยู่อย่างนี้นะ.

    วิญญาณของเขา ก็เป็นวิญญาณ ที่กิเลสเหล่านั้น เข้าไปอาศัยแล้ว,
    กิเลส คือ ความรัก ความหลงใหล ความกำหนัด เข้าไปอาศัยอยู่ใน
    จิตของเขา ในวิญญาณ ในจิตของเขา นี่ ความที่จิตมันถูกกิเลส
    เข้าไปอาศัย
    นี้ ก็เรียกว่า อุปาทาน- ยึดมั่นถือมั่น ว่าสวย ว่าหญิง
    ว่าชาย
    , ว่าอะไรก็ตาม แล้วก็ของกู เพื่อตัวกู, เพื่อของกูนี้เรียกว่า
    อุปาทาน.

    ความที่วิญญาณนั้น ถูกกิเลสเข้าไปอาศัยแล้ว กิเลสมันไปจับจิต
    นั้นแล้ว ก็คือจิตมันฝังอยู่ในอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า อุปาทาน
    ผู้ที่มีอุปาทานไม่ปรินิพพานในความรู้สึกของตน คือ
    ในทิฎฐธรรม ไม่นิพพาน.

    เอ้า, ทีนี้ ก็ไปเปรียบเองเองในทางที่ตรงกันข้าม: เมื่อรูปที่มัน
    น่าใคร่ น่ารักน่าพอใจ เป็นที่ตั้งแห่งกาม ย้อมจิตย้อมใจ มาถึง
    เข้า. ทีนี้คนคนนั้นหรือภิกษุนั้นก็ตาม มีธรรมะพอมีสติปัญญาพอ
    เขาก็เห็นว่า โอ๊ย! มันแค่นั้นแหละ, มันเท่านั้นแหละ,
    มันปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ อย่างนั้นแหละ.

    ถึงแม้ว่า น่ารักนี้ มันก็เป็นเรื่องที่เขาสมมติ รู้สึกอย่างนี้ ว่าน่ารัก
    มันเห็นเป็นอย่างนั้นเอง. แล้วยังเห็นลึกไป โดยรายละเอียดอะไร
    ก็ได้ ว่าไม่เที่ยง ว่าอนัตตา ว่าเป็นทุกข์: เมื่อคนๆนี้ เขามีความรู้พอ
    เขาจะศึกษามาอย่างไร ก็ไม่ได้พูด โดยรายละเอียด แต่คนคนนี้
    เขามีความรู้สึกพอ มีสติพอ มีปัญญาพอ เขาก็ไม่หลงเพลิดเพลิน
    ไม่หลงพร่ำสรรเสริญ ด้วยปาก ใจของเขาก็ไม่ฝังลงไป.

    เมื่อเป็นอย่างนี้ วิญญาณ หรือจิตของคนคนนั้น ก็ไม่ถูกกิเลสอาศัย,
    กิเลสไม่เข้าไป อาศัยได้ในจิต นั้นคือไม่มีอุปาทาน. ผู้ที่ไม่มี
    อุปาทาน ย่อมปรินิพพานในทิฎฐธรรม ในความรู้สึกของตนเอง
    ที่นี่และเดี๋ยวนี้.

    มันสำคัญอยู่ที่คำว่า อุปาทาน; อย่าให้เป็นตัวภาษาหนังสือจดไว้
    ในสมุด หรือหูฟังว่า อุปาทาน; ไม่พอ, ไปรู้จักอุปาทานที่เรา
    มีอยู่จริง. ทุกๆคนมีอยู่จริง มีอุปาทาน ในรูป ที่เป็นที่ตั้งแห่งกาม,
    ในเสียง ที่เป็นที่ตั้งแห่งกาม, ในกลิ่น ที่เป็นที่ตั้งแห่งกาม, ในรส
    ที่เป็นที่ตั้งแห่งกาม, สัมผัสผิวหนังที่เป็นที่ตั้งแห่งกาม, ความรู้สึก
    หรือสัญญาอะไร ที่มันเป็นที่ตั้งแห่งกาม ในใจนี้.

    ส่วนใหญ่ ตามที่พระพุทธเจ้า ท่านได้ตรัสไว้ มันเป็นเรื่องเพศ
    ตรงกันข้ามทั้งนั้นแหละ. ของเพศตรงกันข้ามทั้งนั้น : รูป เสียง
    กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธัมมารมณ์ ที่เนื่องกันอยู่กับเพศตรงกันข้าม
    นี้ จับจิตยิ่งกว่าสิ่งใด, เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานยิ่งกว่าสิ่งใด. ฝ่ายหญิง
    ก็เป็นแก่ชาย ฝ่ายชายก็เป็นแก่หญิง. นั่นอุปาทาน มันมาจาก
    ๖ ประการนี้ ที่มันมีอำนาจรุนแรง

    แล้วเราก็ไปดูของจริงซิ: อย่าดูตัวหนังสือ, ดูของของจริงนั้น,
    ดูที่มันเกิดแก่ใจ ของเราจริงๆ เราก็จะรู้จัก อุปาทาน. เราก็
    จะรู้จัก อุปาทาน, เราก็จะรู้จักว่า พอมีอุปาทานแล้ว จิตใจนี้ก็
    เหมือนกับ ถูกอัดไว้ด้วยไฟ, บอกไม่ถูกดอก มันเหมือนกับว่า
    ถูกทิ่ม ถูกแทง ถูกเผา ถูกลน ถูกมัด ถูกครอบงำ ถูกอะไรทุก
    อย่าง; มีอุปาทาน ก็ไม่มีนิพพาน คือ ไม่ว่าง ไม่เย็น. ทีนี้ ถ้าจิต
    ใจมันเป็นอิสระ มันไม่เป็นอย่างนั้นได้ มันก็ว่าง มันก็เย็น.

    ต้องควบคุม รู้ทัน ผัสสะ และเวทนา เพื่อไม่เกิดอุปาทาน
    นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ได้ เพราะเราสามารถควบคุมสิ่งที่มาสัมผัส
    ด้วย ไม่ให้สร้างความเพลิดเพลินพร่ำสรรเสริญหรือเมาหมกขึ้นมา
    ในใจ เราได้. มันมีเท่านี้ ถ้าคุณทำได้ เรื่องนิพพานนี้ ก็เป็นของจริง
    ไม่ใช่ของพูดไว้ พูดเฉยๆ ไม่หลอกใคร. เราก็จะเป็นพุทธบริษัทจริง
    เพราะเรารู้จักนิพพาน และเราทำให้มีนิพพาน เสวยรสของพระ
    นิพพานได้.

    ฉะนั้นก็ไปต่อสู้กับสิ่งที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ;
    เอาชนะได้ไม่มีการตกลงไปเป็นทาสของสิ่งนั้น ก็เรียกว่า
    ไม่มีอุปาทานผูกพัน; เมื่อนั้นก็ นิพพาน คือว่างจากกิเลส,
    แล้วก็เย็นอยู่ตามธรรมชาติของ จิตประภัสสร,

    นี่นิพพานที่นี่ และเดี๋ยวนี้ มันเป็นอย่างนี้.
    ถ้าจะเกี่ยงให้บำเพ็ญบารมี หมื่นชาติแสนชาติก็ได้ เพราะว่า
    เกิดตัวกู ในอารมณ์ครั้งหนึ่ง เรียกว่าชาติหนึ่ง
    เดือนหนึ่งอาจเกิดได้หลายร้อย
    ปีหนึ่งอาจเกิดได้หลายพัน หลายหมื่น
    ยี่สิบสามสิบปีก็เกิดได้หลายแสน

    พอแล้ว, พอแล้ว อย่าให้มันมากกว่านั้นเลย
    มันควรจะเข็ดหลาบแล้ว.
    นี้ บำเพ็ญบารมีกัน หมื่นชาติแสนชาติ
    ได้ก่อนแต่ที่จะเข้าโลง มันก็ไม่ค้านกันดอก.

    หลักที่เขาว่า ให้บำเพ็ญบารมีหมื่นชาติแสนชาติเสียก่อน
    จึงจะนิพพาน; ของเราปฏิบัติได้อย่างนี้,

    แต่ของเขา มันจะเหลวคว้าง.
    เขาต้องรอเข้าโลงแล้ว หมื่นครั้งแสนครั้ง
    เดี๋ยวก็ลืมหมด ขี้เกียจพูดกัน เข้าโลงตั้งแสนครั้ง:
    เราไม่ทันจะเข้าโลงสักที
    เรามีการเกิดตาย แห่งตัวกูนี้ ตั้งแสนครั้ง เหมือนกัน.

    เป็นอันว่า มันไม่ขัดกันละ,
    ที่ว่าจะต้องสร้างบารมี แสนชาติ จึงจะนิพพาน ถูกแล้ว;
    แต่ว่าที่นี่และเดี๋ยวนี้ เราสร้างได้แสนชาติ, แล้วหลังจากนั้น
    มันมีการเข็ดหลาบ มันฉลาดพอที่จะทำไม่ให้กิเลสเกิด คือ
    เราทำอยู่ ตลอดแสนชาติ นั่นแหละ ไม่ให้เกิดกิเลส.
    อนุสัยลดๆๆๆ เดี๋ยวก็หมดอนุสัย กิเลสเกิดไม่ได้
    มันก็เป็นนิพพาน โดยสมบูรณ์.

    ฉะนั้น เมื่อคุณบังคับความรู้สึกได้ครั้งหนึ่ง เมื่อนั้นแหละ
    คือสร้างบารมี ครั้งหนึ่ง.
    ถ้าคุณปล่อยจิต ไปตามอารมณ์
    ก็เพิ่มๆๆๆ บวกๆๆๆ อนุสัย; บังคับจิตไว้ได้, กูไม่ไปอร่อยกับมึง.
    บังคับจิตไว้ได้อย่างนี้ ทีหนึ่ง มัน ลบๆๆๆหนึ่งๆๆ อนุสัยมันเป็นลบ;
    ไม่เท่าไรมันก็หมด มันไม่มีพื้นฐานรากฐาน ไม่มีเดิมพันที่จะเกิด
    กิเลส ก็เป็นนิพพานโดยสมบูรณ์

    ระวังทำให้อุปาทานลดลง จะถึงนิพพานโดยลำดับ
    นี่พูดกัน ในชีวิตประจำวัน คุณจะต้องถือเป็น เรื่องประจำวัน;
    เพราะว่าเรื่องที่จะมาทำให้เกิดกิเลส มันมาทุกวันๆ; เรื่องที่
    จะกำจัดมันเสีย ก็ต้องเป็นเรื่องทุกวันๆ ประจำวัน;

    อย่าได้ไปหลงรักหลงเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมก
    จิตไม่ถูกกิเลสอาศัยไม่มีอุปาทาน ก็จะเป็นนิพพานในทิฎธรรม
    อยู่ที่นี่และเดี๋ยวนี้.
    นี่คือเรื่องนิพพาน.

    เอ้า, ตอนท้ายนี้ อยากจะพูดอีกนิดหนึ่งว่า นิพพานนี้ให้เปล่า
    ไม่คิดสตางค์; พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า อย่างนั้น

    ลทฺธา มุธา นิพฺพุติ ภุญฺชมานา - ให้เปล่า ไม่คิดสตางค์กับใคร.
    นี่น่าจะขอบใจนิพพาน หรือ พระพุทธเจ้า ไม่เรียกไม่ร้อง อะไร
    ไม่เรียกคิดค่าอะไร.

    ระวังอย่าให้อุปาทานเกิดขึ้นมันก็เป็นนิพพานเอง
    ไม่ยากลำบาก ไม่เหลือวิสัย แล้วก็ไม่คิดสตางค์,
    แล้วก็ทำให้เสร็จเสียก่อนเข้าโลง.
    ผมจึงพูดคำพูดขึ้นมาใหม่อีกคำหนึ่งว่า

    "ตายก่อนตาย คือนิพพาน";
    แต่ผมก็ได้ยินจากคนเฒ่าคนแก่อีกทีหนึ่ง
    ผมลืมเสียแล้วว่าใครพูด คือ มันเนื่องมากับที่ว่า

    สวรรค์ในอกนรกในใจ นิพพานอยู่ที่ตายก่อนตาย.
    นี่ปู่ย่าตายายของเรา ไม่ใช่เล่น
    สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ; ไม่เรียกว่า อยู่ใต้ดิน อยู่บนฟ้าอะไร
    เหมือนที่เขาพูดกันแต่ก่อนแล้ว

    นิพพานนั้นอยู่ที่ตายเสียก่อนตาย คือ ตัวกูๆๆ. ที่เคยเกิดวันละ
    หลายๆหน ให้มันตายสนิทเสียก่อน แต่ที่ร่างกายนี้จะตายเข้าโลง
    มันยิ่งแสดงว่า ที่นี่และเดี๋ยวนี้; ก่อนแต่ที่ร่างกายจะตายจะเข้าโลงนี้
    ตัวกู-ของกู แห่งอุปาทาน ให้มันหมดเสียก่อน นั่นแหละคือนิพพาน.

    นิพพาน คือตายเสียก่อนตาย ทำได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้ แล้วก็ให้เปล่า
    ไม่คิดสตางค์ใครยังไม่เอาอีกคนนั้นโง่กี่มากน้อยไปคำนวณเอาดู

    นี่ผมพูดเรื่องที่ผมถูกด่าให้คุณฟัง.
    พอผมพูดว่า นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ แล้วก็ถูกด่า,
    แล้วมันเปลี่ยนไม่ได้. จะด่าก็ด่าไปเถอะ มันเป็นเรื่องจริง อย่างนี้
    มีหลักฐาน ในพระพุทธภาษิตอย่างนี้
    ก็มันมีการทดสอบด้วยใจจริงอย่างนี้;
    แล้วมันก็เห็นชัดๆ อยู่อย่างนี้ เป็นสันทิฎฐิโก อยู่อย่างนี้.
    มันก็คงสภาพอย่างนี้ไว้, ก็คงพูดว่าอย่างนี้ : นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้.

    เอาไปศึกษาเพิ่มเติม ความรู้เรื่องพุทธศาสนาให้เต็ม.
    ผมได้บอกมาแล้ว ตั้งแต่ครั้งต้น ครั้งแรกว่า ผมจะเลือกสรรมา
    แต่เรื่องที่จำเป็น เป็นเนื้อหาเป็นสาระทั้งหมดทั้งสิ้น
    ตั้งแต่ต่ำจนถึงสูงที่สุด มาพูดด้วยคำพูดเพียงไม่กี่คำ;
    อย่างที่ผมกำลังทำอยู่นี้.

    เรื่องนิพพานนี้ จะพูดกันเป็นเดือนๆ ก็ได้;
    แต่นี้เอามาแต่เนื้อหาสาระ หัวข้อที่เป็นหลัก
    มันก็พูดเดี๋ยวนี้ ชั่วโมงกว่า นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้,
    แล้วก็คาบเกี่ยวไปถึงเรื่องอื่นด้วย ที่มันคาบเกี่ยวกันอยู่เป็นธรรมดา,
    อะไรเป็นเหตุให้ไม่นิพพาน อะไรเป็นเหตุให้นิพพาน
    ก็ต้องพูดถึงด้วย.

    เอาละเลิกกันทีนะ
    เลิกว่านิพพานนี้เหลือวิสัย นิพพานไม่มีประโยชน์ นิพพานจืดชืด
    นิพพานต้องรอเข้าโลง หมื่นหน แสนหน นี่เลิก.

    เอาเป็นนิพพานที่นี่ และเดี๋ยวนี้ ก็จะเป็น พุทธบริษัทที่แท้จริง,
    มีพระนิพพานได้จริง, มีพุทธศาสนาจริง คือมีนิพพาน
    เป็นพุทธบริษัทจริง คือ รู้เรื่องนิพพาน.

    เอ้า, ขอยุติการบรรยาย ชั่วโมงนี้ไว้เพียงเท่านี้ แล้วก็ปิดประชุม.


    จาก เว็บ นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้

    ผมขอแนะนำเว็บนี้ครับทุกท่าน
    ************
    อนุโมทนาครับ

    ตั้ม ^.^
     
  9. โมกลา

    โมกลา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +24
    ได้ศึกษาคำอธิบายของคุณอ้องทบทวนหลายรอบ เป็นประโยชน์กับโมกลามากเลยค่ะ
    มีข้อสงสัยเรื่อง เหลือแต่เพียงใจที่ปรากฏ ใช่อาการแบบนี้หรือไม่

    คือเวลาตอนรู้สึกตัวตื่นจากหลับสนิท(มักเป็นเวลานอนกลางวัน) จะรู้สึกถึงแสงสว่างจ้าตรงหน้าเป็นสีส้มๆแดงๆ มันชัดมาก แล้วในภาวะนั้นจะรู้สึกเหมือนตะลึงงัน ว่างเปล่าไม่มีอะไร ทำความรู้สึกหากาย ก็ไม่พบ รู้แต่เพียงว่า สภาวะนั้นไม่มีอะไรจริงๆ ตัวเราคือ
    สภาวะนั้น ยากที่จะอธิบาย คงสภาวะนั้นได้ประมาณ ๑-๒ นาที แล้วค่อยเลือนหายไป กลับมามีความรู้สึกถึงกายเนื้ออีก

    ได้แต่เก็บความสงสัยนี้มานานเป็นปีๆแล้ว ว่าคือสภาวะอันใด อ่านที่คุณอ้องอธิบายแล้ว
    ตีความว่าเป็นสภาวะใจปรากฏ ไม่ทราบว่าคิดถูกหรือไม่

    ถ้าคุณอ้องพอมีเวลา รบกวนช่วยอธิบายความแตกต่างของ จิต และ ใจ ให้ทราบพอสังเขปหน่อยนะค่ะ
    ขอบคุณมากค่ะ
    โมกลา
     
  10. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    จิต เจตสิก ใจ นิมิต ฌาน ญาน

    จิตไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่พลังงาน ไม่ใช่สสาร แต่มันสะสมพลังงานได้เรียกว่า
    พลังจิต จิตเป็นธาตุรู้อารมณ์ชนิดหนึ่ง รู้แล้วก็สลายหายไปในอารมณ์นั้นๆ
    แล้วก็เกิดขึ้นอีกถ้าจิตยังยึดขันธ์
    จิตจะเกิดขึ้นเสมอที่ช่องวิญญาณอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
    เหตุเกิดของจิตคือ อดีตกรรม อารมณ์ เจตสิก วัตถุรูป
    สิ่งที่สลายหายไปจะเรียกว่ามีได้หรือไม่...
    สิ่งที่ไม่มีความตั้งอยู่ ไม่อมตะ บังคับไม่ได้ จะเรียกว่าเป็นเราได้หรือไม่
    เหตุที่เราเห็นว่ามีเพราะเป็นความวิปราส๓ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฎฐิวิปลาส

    จิตเป็นประธาน เจตสิกเป็นองค์กรร่วมทำหน้าที่ปรุงแต่งเมื่อประธานเข้าไปรู้ เจตสิกก็ปรุงแต่งขันธ์

    จิต เจตสิก ใจมาจากที่เดียวกันแต่อาการต่างกัน
    ใจมีสภาพสะอาด สว่าง สงบ เฉยๆ สบายๆ นี่เป็นสภาพของใจ แต่ใจที่มืดบอด ถูกครอบงำด้วยอวิชชาคือไม่รู้ความจริง ใจจึงส่งจิตออกนอก ซัดส่ายเข้าไปในวิญญาณอายตนะ ตรงผัสสะกระทบที่ช่องวิญญาณ
    จิตย่อมปรากฏ เพราะมีอดีตกรรม เจตสิก วัตถุรูป อารมณ์

    สภาพใจนั้น เฉยๆ สบายๆ สงบเป็นหนึ่ง บริสุทธิ์ เที่ยงธรรม ไร้สุขทุกข์
    ไม่อิงโลก

    นิมิตที่ปรากฏโดยมากเกิดจากฌาน มีสภาพความสว่างเป็นอารมณ์ปรากฏ มีรัศมี สีสรรปรากฏ มีภาพปรากฏ มีสิ่งต่างๆปรากฏทั้งอดีตและอนาคต

    ฌานจึงมีเครื่องสังเกตุที่ภวังค์ทั้งสามแต่สมาธิไม่มีภวงัค์มีสติเป็นตัวรู้อยู่

    ฌานและสมาธิเหมือนดั่งกำมือและแบบมือคือพลิกไปพลิกมาได้ถ้าเผลอสติตกภวังค์เข้าไปก็เป็นฌาน
    คุณแห่งฌานทั้ง๕ปรากฏก็คือปฐมฌานมี วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข
    เอกัคคตา

    สมาธิและฌาณจึงต่างกัน
    สมาธิบริสุทธิ์มากกว่าฌาณ ฌาณที่เป็นรูปฌาณและอรูปฌาณเป็นของฤาษี มีในศาสนาอื่นๆ อภิญญาก็เช่นกัน
    ศาสนาแห่งพุทธมีสิ่งหนึ่งเป็นเอกคืออริยสัจ๔ สมาธิบริสุทธิ์เป็นคุณอุปถัมภ์โดยมีสติเป็นเครื่องระลึกรู้เข้าสู่ ขณิก อุปจาร อัปนา
    อัปนาสมาธิเหมือนดั่งกำลังอันยิ่งใหญ่เป็นผู้ไต่สวนแต่ต้องถอยกำลังมาที่อุปจารสมาธิเพื่อให้พิจารณาในรายละเอียด
    วันตรัสรู้พระพุทธองค์โน้มไปถึงสมาธิบริสุทธิ์ในวัยเยาว์ที่ไม่มีกิเลสนำ
    ทรงดำรงค์สติเฉพาะหน้าไม่หวั่นไหว สำเหนียกรู้ตามลมหายใจออกเข้ายาวสั้น
    ย้ำว่า...
    หายใจออกก่อนในหลักแห่งพุทธะ เพราะลมหายใจเข้าไประงับทุกข์
    ลมหายใจออกเป็นลมแห่งความสุข

    การดูลมเราต้องตามรู้ลมออกก่อนเสมอ ไม่งั้นจะอึดอัดในภายหลัง

    ญาณนั้นเป็นความรู้แจ้ง ในวิสุทธิมรรค๗ท่านจัดเอาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นญาณอันบริสุทธิคือเกิดความรู้เห็นแจ้งในอริยสัจธรรมทำลายกิเลสออกจากใจได้เด็ดขาด

    ตรงคำว่าทำลายเพราะญาณปัญญาวิปัสสนานั้นจะทำให้อาสวะกิเลสที่ห่อหุ้มจิตถูกทำลายในวงรอบที่ห่อหุ้มจิตทีละชั้นแต่ละชั้นก็คือพระอริยบุคคลใน๔รอบทำลายสังโยชน์๑0ได้เด็ดขาด
    พระพุทธองค์เปรียบการกระเทาะไข่ อาสวะคือเปลือก น้ำที่ห่อหุ้มภายในคือกิเลสที่หมักหมมในสันดาน
    เราต้องกระเทาะเปลือกถึง๔รอบ อินทรีย์ที่สมบูรณ์แก่รอบจะเข้าไปประหารกิเลสด้วยญาณปัญญาวิปัสสนาคือเห็นแต่ความจริงของธรรมชาติจนจิตมันยอมรับและคลายออกจากกิเลสตัณหาอุปทาน

    วิปัสสนาญาณ๙
    เห็นนามรูปแตกดับสลายเสมอเหมือนดั่งพลายฟองน้ำที่ผุดขึ้นมาและแตกสลาย

    นามรูปเคลื่อนสลายเหมือนดั่งสายน้ำที่ไหลต่อเนื่องเป็นสิ่งเดียวกัน

    นามรูปดั่งภัยร้ายเกาะกินจิตในที่หวังในสุขไม่มีมีแต่ทุกข์และน่ากลัว

    นามรูปช่างเบื่อหน่ายสกปรกและโสมมเป็นที่ดั่งอาจมเหมือนถูกขังในปฎิกูล

    นามรูปน่าชิงชังถอนกามราคะจากนามรูปได้

    นามรูปถ้าไม่มีย่อมหมดเหตุน่าเบื่อหน่าย จึงเพียรและพอใจใคร่อยากพ้นจากรูปนาม

    ดับเหตุแต่งสร้างนามรูปขึ้น ดับสลายอวิชชา ไม่ให้อาหารแห่งรูปนามนั่นก็คืออุปทาน กิเลส กรรม กำจัดเหตุรู้ที่เหตุเห็นทุกข์แจ้งจึงปรากฏ

    รู้เท่าทันไปที่เหตุ จะสลายนามรูปย่อมไร้ผล
    เพราะมีเหตุย่อมมีผล ธรรมดาและปัจจัย
    จะฝืนธรรมชาติย่อมไม่ควร แต่กลมกลืนเข้ากับธรรม
    ดีใจและเสียใจเรื่องของธรรม อยู่กับฉันคือเป็นกลางในรูปนาม
    ทุกอย่างย่อมปรากฏ จะฝืนกฎก็ใช่งาม
    ตามรู้แต่พองามใจเป็นกลางพ้นรูปนามเพราะเท่าทัน

    อริยมรรคญาณปรากฏ เกิด๔ขั้นลำดับกัน
    อาสวะทำลายสิ้นโดยเด็ดขาดไปจากขันธ์
    บรรลุธรรมขั้นสูงสุดเพราะคลายยึดจากปวงขันธ์
    ถึงยอดแห่งพุทธะคืออาสวักขยญาณ

    สันติบรมสุขนั้นปรากฏเพราะความสุขสงบสิ้น
    สิ้นแล้วในสันดาน กิเลสตัณหาแลอุปทาน
    นั้นเพราะการอบรม ศีล สมาธิและปัญญา
    เพราะเหตุที่สร้างมาผลปรากฏนิโรธเอย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2009
  11. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ถ้ายังเห็นนิมิต ความสว่าง รัศมียังเป็นอารมณ์ของฌาน
    ถ้าจิตรวมเข้าหาใจ ผู้คิดนึกปรุงแต่งไม่ปรากฏ ถามสติที่รู้อยู่ว่ายินดีเพลิดเพลินอยู่หรือไม่
    ถ้าใจปรากฏจะเป็นเพียงผู้เฉยๆ เป็นกลาง สะอาด ไม่อิงสุขทุกข์ สบายๆ
    หาใจไม่ยากทำตามหลวงปู่เทสก์สอนดูใจแบบง่ายๆคือ
    ลองสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆและหยุดชั่วครู่ มันจะอยู่ตรงที่ชัดที่สุด ไม่มีอดีต อนาคตปรากฏ นิ่งๆ เฉยๆ สบายอยู่ตรงนั้น เพียงแต่การดูนี้ใช้เวลาแ่ค่ไม่กี่วินาที

    ถ้าทำนานๆอาจจะเป็นลมได้นะครับ ดูุเข้าไปแวบเดียวพอนะ
    อนุโมทนาครับ
    อ้อง
     
  12. โมกลา

    โมกลา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +24
    ขอบคุณค่ะ ตอนนี้พอจะแยกออกบ้างแล้วเรื่องจิตและใจ มาเข้าใจตรงที่บทสอนดูใจอย่างง่ายๆของหลวงปู่เทสก์ ลองทำตามดูเข้าใจในสภาวะนั้นแล้วค่ะ

    โมกลา
     
  13. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    พระพุทธองค์ตรัสรู้ความจริงที่ง่ายที่สุดของธรรมชาติที่คนมองข้าม

    โลกนั้นมีอยู่แท้จริงโดยความจริง
    รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสก็มีอยู่จริง ตามธรรมชาติ
    การฝืนกฎโดยทำลายทิ้ง ไม่เท่ากับการเข้าไปรู้ความจริง
    อยู่กับความจริงของโลกแต่ไม่หวั่นไหวกับโลกด้วยความเป็นกลางอย่างแท้จริง

    โลกมีธรรมคู่ แต่เรายึดในธรรมหนึ่ง อยู่กับหนึ่ง ไม่ปฎิเสธความจริงของโลก
    กายนั้นมีอยู่ จิตนั้นมีอยู่ จะบอกว่าไม่มีก็ไม่ถูกนัก มีอยู่จริง
    แต่เพราะการอบรมศีล สมาธิ ปัญญา ต่างหาก ที่เห็นว่าสิ่งที่มีอยู่
    แท้จริงแล้วไม่ใช่เราเลย

    เพราะมีแต่สิ่งที่สลายหายไป
    ไฟที่หายไปเป็นไฟหรือ
    ลมที่พัดถูกผิวกายละลายหายเป็นลมหรือ
    แม้ธาตุก็เบียดเบียนกันและกัน
    แม้กายในวัยเด็กกับกายในปัจจุบันก็คนละกายกันหมดสิ้นแล้ว

    ธรรมชาติที่มีแต่การเปลี่ยนแปลง ตั้งอยู่ไม่ได้ บังคับไม่ได้ ต้องสลายหายไป
    เป็นเรื่องธรรมดานั้น จะเรียกว่ามีนั้นก็ถูกอยู่

    แต่เรียกว่าเป็นเรา จิตเรานั้นขอให้พิจารณา
    ด้วยปัญญาย่อมพบความจริงด้วยใจที่เป็นกลางที่เข้าไปรู้ธรรมชาติเกิดดับตามจริงย่อมพบสัจธรรมอันเป็นเรื่องธรรมดาของธรรมชาติ

    พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เรื่องธรรมดาของธรรมชาติ แต่มนุษย์มองเป็นสิ่งที่ยากเกินอาจเอื้อมเพราะฝืนอารมณ์ในการที่จะเข้าไปรู้ความจริง

    มนุษย์ที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหาจึงยากที่จะพบสัจธรรม
    มีเพียงบัณฑิตที่แสวงหาความจริงและเข้าไปต่อสู้กับจิตตนเองที่ไปกอดยึดธรรมชาติ โดยเข้าไปรู้จิตในจิตย่อมมีผลเป็นนิโรธเพราะเจริญมรรค
     
  14. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    สวัสดีครับคุณอา ที่เพชรบูรณ์หนาวแล้วหรือยังครับ

    แถวบ้านผมหนาวแล้วน่ะ ^^


    อาครับมีเรื่องอยากจะสารภาพกับอาครับ

    คือผมชักชวนคนอื่นๆ ให้มาอ่านกระทู้คุณอา โดยบอกเขาว่าจะพาเดินเพื่อละ(ไม่ยึดถือ)
    ต่อไปนี้อาคงเหนื่อยแย่

    ขอคุณอาอโหสิ ให้ผมด้วยครับ


    ด้วยความเคารพคุณอาอย่างสูงครับ

    ตั้มครับ ^^
     
  15. tummai

    tummai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2006
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +132
    สวัสดีค่ะคุณอา
    ตอนแรกสวดมนต์และนั่งสมาธิ แต่พักหลังมานี้เดินจงกรมด้วยค่ะ
    ช่วงนี้ก็ไม่ทราบเป็นอะไร มีความรู้สึกว่าหงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย
    แล้วมันเกิดในใจขึ้นบ่อยมาก ใครทำอะไรก็ไม่ได้ดังใจ
    แต่มีสติรู้ค่ะว่าอารมณ์เสีย หงุดหงิด
    บางทีตามอารมณ์ทันก็จะไม่ แสดงอาการอารมณ์เสียออกมา
    ก็มีบางครั้งเหมือนกันที่ตามไม่ทัน คนนรอบข้างเลยโดน
    จากเป็นคนที่ทำอะไรช้าๆ ชอบเหม่อ กลายเป็นคนที่ทำอะไรเร็วขึ้น
    มันเหมือนกับว่ามีพลังมากขึ้น
    มันเป็นอาการข้างเคียงจากการปฏิบัติธรรมหรือเปล่าคะ
    หรือว่าไม่เกี่ยวกัน จะแก้ไขได้ยังไงคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2009
  16. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    อย่าแปลกใจไปเลยครับ ตอนผมสวดพระคาถาชินบัญชรแรกๆ สวดเอาสวดเอา จนมีวิญญาณมาหาแม่ผม เพราะเขาเข้าหาผมไม่ได้


    ทำไปเถิดครับดีแล้ว เพราะตนทำแล้วมีสติรู้อยู่ ไม่หลงในโกรธที่เกิดขึ้น


    สู้ๆ ต่อไปน่ะครับ ทุกอย่างจะกระจ่างแก่ใจเอง


    อนุโมทนาสาธุครับ


    ตั้มครับ ^.^
     
  17. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    สติเป็นเครื่องระลึก
    เมื่อโกรธรู้ว่าโกรธก็จะเท่าทันอารมณ์ได้ที่สติที่เป็นเครื่องระลึกได้ว่าโกรธ
    ความโกรธมีรูปลักษณะที่อึดอัดใจ น่ารำคาญ ไม่สบายกาย เศ้ราหมอง เร่าร้อนอยู่ภายใน โกรธใครก็ตามก็โกรธตัวเดิมนั่นหล่ะ เพียงแต่ต่างไปที่เอารูปลัษณะชนิดใหม่ๆมาเสมอแต่ตัวอารมณ์โกรธอันเดียวกัน
    เป็นโทสะจิต
    คำว่าพลังเพิ่มมากขึ้นเป็นเพราะมีสมาธิปรากฏเพราะรู้สึกในอิริยาบท
    การเดินจงกรมเราเดินเพื่อสติ เดินสบายๆนั่นล่ะ
    เดินแล้วทำความรู้สึกว่าเดิน ว่าหยุด ว่าหมุนกลับ
    ความจริงของกายเป็นอย่างไรก็ดูเค้าอย่างง่ายๆเพื่อสติ ง่ายๆเอง ไม่ยาก
    เวลาเดินจิตมันไปคิดก็รู้ว่าคิดอีกละ แล้วก็มาทำความรู้สึกที่ฐานอิริยาบท
    มาเป็นวิหารเครื่องอยู่ เป็นงานที่เรากำลังกระทำอยู่โดยชอบ

    ดังนั้นเวลาเราทำอะไร ถ้าเหม่อลอย งานก็ช้า(นี่เป็นเครื่องสังเกตุอย่างง่ายๆ)
    เวลาเราทำงานอะไร เพราะเราชอบในงานนั้น มีความตั้งใจ มีการจดจ่อ มีการใส่ใจพิจารณา งานนั้นๆก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    การปฏิบัติธรรมที่เจริญขึ้นเราไม่ดูที่อาการ

    เราดูที่ศีลที่เราเร็วขึ้นเป็นลำดับ
    คุณธรรมที่เอาไปเตือนไม่ให้ลุล่วงกับอกุศลมากขึ้นจนระงับยับยั้งอกุศลนั้นๆ
    และเพียรในการสร้างกุศลมากยิ่งขึ้นจ๊ะ
    อนุโมทนาในความตั้งใจที่ดีแล้ว
    อ้องครับ
     
  18. dechpon

    dechpon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +29
    ขอความเมตตาครับ

    สวัสดีครับ เมื่อเช้านี้ผมก็เริ่มสวดคาถาชินบัญชร หลังจากไม่ได้สวดมานานครับ ตอนสวดก็ไม่เคยเจออะไรแปลกๆ อาจเป็นเพราะว่าผมยังไม่ตั้งมั่นพอก็ได้ ตอนนี้ผมก็พยายามท่อง พุทโธ ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้จิตไม่ซัดส่ายไปไหน แต่ผมก็มีเรื่องกลุ้มใจให้คิด มันจะมาเป็นระยะ ก็คือเรื่องผู้หญิงอะครับ คือว่าผมกับแฟนตอนนี้ความรักมันน้อยลงไม่เหมือนก่อน (ผมรักมากแต่เค้าน้อยลง) แต่เค้าก็ยังบอกว่ารักผมแต่น้อยกว่าแต่ก่อน บางทีคิดมันก็ไม่มีกำลังใจในการปฏิบัติธรรม มันเป็นเพราะผมทำไม่ดีกับเค้ามาก่อน อยากถามว่าถ้าผมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงเข้าทางธรรมมากขึ้น เค้าจะกลับมารักผมเหมือนเก่าไหมครับ หรือไม่ต้องเหมือนเก่าแต่ให้มากกว่าเดิมก็ยังดี ไม่รู้ว่ามันจะขัดกันหรือป่าวนะครับ ระหว่างกิเลสความรัก กับ การปฏิบัติธรรม
    ขอบคุณมากครับ
     
  19. โมกลา

    โมกลา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +24
    ขอรบกวนถามคุณอ้องว่า จิตที่ตื่นในฝัน กับจิตที่ตื่นตอนกายหลับ ต่างกันอย่างไร
    ในความรู้สึกของโมกลา คิดว่าจิตที่ตื่นในฝัน เป็นจิตที่ตื่นไม่เต็มที่ ตื่นครึ่งหลับครึ่ง
    ถูกต้องไม๊ค่ะ

    โมกลาค่ะ
     
  20. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ตอบคุณdechpon

    โลกธรรมเราไปบังคับไม่ได้แม้ใจเราบางวันก็รักมากบางวันก็รักน้อย
    ทุกสิ่งเป็นอนัตตาคือบังคับไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาอยู่เสมอ
    ความรักถ้ายั้งอยู่นานและตามรักกันได้หลายภพหลายชาติ
    แม้ไปจุติปฎิสรธิเป็นเทพเทวานางฟ้าก็ยังพบเจอกันได้นั้นก็เพราะ
    มีสิ่งที่เสมอกัน
    ศีล ความมีเหตุมีผล การเสียสละ
    จิตที่เสมอกัน คุณธรรมที่ใกล้เคียงกันเมื่อตั้งจิตอธิษฐานก็ย่อมพบเจอกันได้เสมอ
    ธรรมะแห่งพุทธะคือความร่มเย็น ความสงบ ถ้าเอากามราคะไปข้องเกี่ยวก็ไม่ถูกต้องนัก
    เพราะธรรมะคือความจริงของธรรมชาติหนีไม่พ้น

    พระพุทธองค์จึงสอนให้มีสติรู้จักระงับยับยั้งอารมณ์ที่ปรากฏด้วยคุณธรรม
    ดังนัน้...
    รักจึงไม่ได้ทำให้ทุกข์แต่ที่ทุกข์เพราะยึดรัก ยึดเอามาเป็นของตน
    เอารูปลักษณะนั้นๆมาเป็นของเราแม้กายก็ของเรา ทุกข์จึงปรากฏ

    ถ้าเรามีสติเท่าทันอารมณ์และไม่ไปยึดเอาอารมณ์มาเป็นเครื่องเศร้าหมอง รักก็ไม่ทำให้ทุกข์ใจได้
    ทุกสิ่งอยู่ในกฎ ท้ายสุดต้องพลัดพรากจากตายไปสิ้น
    เราจึงมาฝึกกายฝึกจิต ฝึกสติเพื่อเอาไว้สู้กับความทุกข์เพื่อรู้ว่า...
    ทำไมเราจึงทุกข์และเราก็จะเกิดปัญญาว่าอะไรเป็นเหตุของความทุกข์
    และเราจะพบเจอทางที่ทำให้เราพ้นทุกข์ได้
    ท้ายสุดเมื่อเราทำตามทางที่ถูกเราก็จะพ้นทุกข์ทั้งหลายด้วย
    ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนทั้งสิ้น...

    รักไม่ได้ทำให้ทุกข์เพราะยึดรักนั้นจึงทุกข์
    อนุโมทนาครับ
    อ้อง...
     

แชร์หน้านี้

Loading...