เกร็ดความรู้เกี่ยวกับภพภูมิฝ่ายเทพ

ในห้อง 'ภพภูมิ-สวรรค์ นรก' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 28 พฤศจิกายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]

    เรื่องของสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น

    เทวภูมิ ๖ (สวรรค์ ๖) แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วย กามคุณ ทั้ง ๕ โลกของ เทวดา ตามปกติหมายถึง กามาพจรสวรรค์

    ๑.จาตุมหาราชิการ (สวรรค์ชั้นที่ ๑) สวรรค์ที่ท้าวมหาราช ๔ องค์ ปกครอง
    จาตุมหาราชิกา มีมหาราช ๔ องค์
    ๑. ท้าววธตรัฐะ มหาราช เป็นผู้ปกครอง คันธัพพเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก
    ๒. ท้าวิรุฬหกะ มหาราช เป็นผู้ปกครอง กุมภัณฑ์เทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศใต้
    ๓. ท้าววิรูปักษ์ มหาราช เป็นผู้ปกครอง นาคะเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันตก
    ๔. ท้าวเวสสุวรรณ มหาราช เป็นผู้ปกครอง ยักขเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศเหนือ

    (ท้าวกุเวร หรือ เวสสวัณ)

    ท้าวมหาราช ทั้ง ๔ องค์นี้ เป็นผู้รักษาโลกมนุษย์ด้วย จึงชื่อว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวโลกบาล ๔
    พระเจ้าพิมพิสาร เอง แม้จะเป็น พระโสดาบัน แต่ก็พอใจสวรรค์ชั้นนี้
    ได้เกิดเป็นบริวารของ ท้าวเวสสุวรรณมหาราช
    เทวดาที่อยู่ภายใต้อำนาจปกครองของ ท้าวจาตุมหาราช
    ๑. ปัพพตัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยภูเขาอยู่
    ๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยอยู่ในอากาศ
    ๓. ขิฑฑาปโทสิกเทวดา เทวดาที่ มีความเพลิดเพลินในการเล่นกีฬา จนลืมบริโภคอาหาร แล้วตาย
    ๔. มโนปโทสิเทวดา เทวดาที่ ตายเพราะความโกรธ
    ๕. สีตวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศเย็นเกิดขึ้น
    ๖. อุณหวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศร้อนเกิดขึ้น
    ๗. จันทิมเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระจันทร์
    ๘. สุริยเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระอาทิตย์

    ยักษิณี นางยักษ์

    ยักษ์ มีความหมายหลายอย่าง แต่ที่ใช้บ่อยหมายถึง อมนุษย์ พวกหนึ่ง เป็นบริวารของ ท้าวกุเวรตามที่ถือกันมาว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัง มีเขี้ยวโง้ง ชอบกินมนุษย์กิสัตว์ โดยมามีฤทธิ์ เหาะได้ จำแลงตัวได้

    เทวดา หมู่ เทพ ชาว สวรรค์ เป็นคำรามเรียกชาว สวรรค์ ทั้งเพศชายและเพศหญิง

    เทวดาตามที่อยู่อาศัย

    ๑. ภุมมัฎฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน เช่น ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ใต้พื้นดิน บ้านเรือน ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา เป็นต้น ถือว่าที่นั้น ๆ เป็นวิมานของตน

    ๒. รุกขเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มี ๒ จำพวก คือ

    ๒.๑ มีวิมานอยู่บนต้นไม้ ถ้าอยู่บนยอดต้นไม้ เรียก รุกขวิมาน

    ถ้าอยู่บนสาขาของต้นไม้ เรียก สาขัฏฐวิมาน

    ๒.๒ อยู่บนต้นไม้แต่ไม่มี วิมาน (ที่อยู่ของเทวดา)

    ๓. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่มีวิมานอยู่ในอากาศ

    ในธรรมบทอรรถกถา พุทธวังสอรรถกถา แสดงเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา มี 2 จำพวก โดยจัด

    รุกขะเทวดา อยู่ในจำพวก ภุมมัฎฐะเทวดา เทพารักษ์ เทวดาผู้ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง

    เทวดาที่มีใจโหดร้าย

    ๑. คันธัพโพ คันธัพพี ได้แก่ เทวดาคันธัพพะ ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม ที่เรียกว่า นางไม้ หรือแม่ย่านาง

    หรือ คนธรรพ ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ เช่นทำให้เกิดเจ็บป่วย หรือ

    หรือ คนธรรพ์ ทำ อันตรายแก่ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นที่นำไม้นั้นมาใช้สอย อยู่ในความ

    ปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพะเทวดา นี้สิงอยู่ในไม้นั้นตลอดไป

    แม้ใครจะตัดไปใช้สอยอย่างใด ๆผิดกับ รุกขเทวดา ที่อาศัยอยู่ตามต้น

    ไม้ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัดฟัน ก็ย้ายจากต้นนั้นไปต้นอื่น

    ๒. กุมภัณโฑ กุมภัณฑี ได้แก่ เทวดาภุมภัณฑ์ ที่เรียกกันว่า รากษส เป็นเทวดาที่รักษาสมบัติต่าง ๆเช่นแก้วมณี และรักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ ถ้ามีพวกล่วงล้ำ ก็ให้โทษต่าง ๆอยู่ในความปกครองของ ท้าววิรุฬหกะ

    ๓. นาโค นาคี ได้แก่ เทวดานาค ได้แก่เทวดานาค มีวิชาเวทมนต์คาถาต่าง ๆ ขณะท่องในโลกมนุษย์ บางทีก็เนรมิตเป็นคนสัตว์ต่าง ๆ ชอบลงโทษพวกสัตว์นรก อยู่ในความปกครองของ ท้าววิรูปักขะ

    ๔. ยักโข ยักขนี ได้แก่ เทวดายักษ์ พอใจเบียดเบียนสัตว์นรก อยู่ในความปกครองของ ท้าวเวสสุวรรณอาการเกิดของเทวดา ถ้าได้เคยสร้างบุญกุศลไว้มากกพอ ก็ไปเกิดในวิมานของตนเองพร้อมกับมีบริวาร ไม่ต้องเป็นบุตรธิดาหรือเทวดารับใช้ของผู้ใดกล่าวไว้ในอรรถกถาบางแห่งเป็นพิเศษ เทวบุตร คือ บุรุษ ที่เกิดบนตักของเทวดา

    เทวธิดา คือ สตรี ที่เกิดบนตักของเทวดา

    เทวดาสตรี ถ้าเกิด ในที่นอน จัดเป็น ปริจาริกา (นางบำเรอ)

    ถ้าเกิด ข้างที่นอน จัดเป็น พนักงานเครื่องสำอาง

    ถ้าเกิด กลางวิมาน จัดเป็น คนใช้

    ๒ ดาวดึงส์ (สรรค์ชั้นที่ ๒)

    แดนแห่งเทพ ๓๓ มีจอมเทพชื่อ ท้าวสักกะ หรือที่เรียกว่า พระอินทร์ เป็นใหญ่สุด เมื่อพระอินทร์องค์หนึ่งสิ้นบุญ จุติ ไป ก็มีพระอินทร์อีกองค์หนึ่งเกิดสืบแทนกันไป ดาวดึงส์ เป็นคำบาลีแปลว่า ๓๓ บางทีก็เรียก ไตรตรึงษ์ ซึ่งเป็นคำสันสกฤต แปลว่า ๓๓ เหมือนกัน

    ความเป็นอยู่ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ล้วนแต่เป็นผู้เสวยทิพยสมบัติจากกุศลธรรมในอดีต บริโภคอาหารอันละเอียดสุขุม ชนิดที่เป็น สุธาโภชน์ (ผู้บริโภคอาหารทิพย์) อารมณ์ที่ได้รับจึงล้วนมีแต่ อิฏฐรมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) และไม่มีความเจ็บป่วย ไม่มีอุจจาระ ปัสสาวะ เทวดาผู้ชาย มีความเป็นหนุ่มอยู่ในวัย ๒๐ ปี ส่วนเทวดาผู้หญิงมีความเป็นสาวอยู่ในวัย ๑๖ ปี สวยงามตลอดไปจนตาย มิได้มีความชรา เทวดาผู้หญิงไม่มีประจำเดือนและไม่ต้องมีครรภ์ เว้นแต่ ภุมมัฏฐเทวดา บางองค์ที่ยังมีประจำเดือน และครรภ์เหมือนมนุษย์ความเป็นอยู่ของเทวดาในเทวโลกนี้ เป็นเช่นเดียวกับมนุษย์โลก มีการไปมาหาสู่กันและเบียดเบียนกัน มีความรักใคร่ ปรารถนาเป็นคู่ครองกัน สมบัติของเทวดาเหล่านั้น มีความยิ่งหย่อนกว่ากัน ทั้งบริวาร วิมานและ อิฎฐรมณ์ ต่าง ๆ สุดแต่กรรทที่ตนได้กระทำไว้

    โกสิยเทวราช คือ พระอินทร์ เรียก ท้าวโกสีย์ บ้าง ท้าวสักกเทวราช บ้าง
    เทวดาที่อยู่บนชั้นดาวดึงส์ มี ๒ พวก

    ๑. ภุมมัฏฐเทวดา ได้แก่ พระอินทร์ และเทวดาชั้นผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ พร้อมทั้งบริวาร เทวอสุรา ๕ จำพวก

    ๒. อากาสัฏฐเทวดา ได้แก่ พวกเทวดาที่อยู่ในวิมานลอยไปกลางอากาศ
    เทพ เทพเจ้า เทวดา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มกราคม 2010
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    เทพ ๓
    ๑. สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ ได้แก่ พระราชา พระเทวี และพระราชกุมาร

    ๒. อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่เทวดาใน กามาวจรสวรรค์ และ พรหม ทั้งหลาย เป็นต้น

    ๓. วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระอรหันต์ ทั้งหลาย

    สุขาวดี แดนที่มีความสุข เป็นชื่อสวรรค์ของพระอมิตาภพุทธ ฝ่ายมหายาน

    ๓. ยามา (สวรรค์ชั้นที่ ๓)

    แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ มี ท้าวสุยามเทพบุตร ปกครอง ตั้งแต่ภูมิยามานี้ขึ้นไปตั้งอยู่ในอากาศ จึงไม่มีเทวดา ภุมมัฏฐเทวดา อาศัยอยู่ มีแต่พวก อากาสัฏฐเทวดา พวกเดียว ร่างกายสวยงามประณีต อายุยืนยาวกว่าเทวดาชั้น ดาวดึงส์ มากเป็นภูมิที่สวยงามประณีต ปราศจากความยากลำบาก ไม่มีเรื่องทุกข์ ได้แก่ที่อยู่ของพวกที่รักษา อุโบสถในชั้นฟ้านี้ไม่เห็นพระอาทิตย์เลย เพราะว่าอยู่สูงกว่าพระอาทิตย์มากแต่เทพชั้นนี้เห็นกันได้ด้วยรัศมีแก้ว และด้วยรัศมีของเทพเองจะรู้ว่ารุ่งหรือค่ำด้วยอาศัยดอกไม้ทิพย์ คือ เมื่อเห็นดอกไม้บานจึงรู้ว่ารุ่ง เมื่อเห็นดอกไม้หุบจึงรู้ว่าค่ำ เทพชั้นยามยามาไม่ปรากฏว่าได้ลงมาเกี่ยวข้องกับมนุษย์

    ๔. ดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ ๔)

    แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน มี ท้าวดุสิตเทวราช ปกครอง เป็นภูมิของเทวดาผู้อิ่มเอิบด้วยบารมี ผู้มีปัญญา ผู้อยู่ในภูมินี้จึงมีแต่ความชื่นบาน มีวิมานทิพย์ ทิพย์สมบัติ ร่างกายประณีตกว่าเทวดาในชั้น ยามา เป็น ภพ สุดท้ายของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทุกพระองค์ก่อนที่จะมาบังเกิดและตรัสรู้ในมนุษย์โลก

    ทิพย์ เป็นของเทวดา วิเศษ เลิศกว่าของมนุษย์

    ๕. นิมมานรดี (สวรรค์ชั้นที่ ๕)

    แดนแก่งเทพผู้ยินดีในการนิรมิต มีท้าวสุนิมมิต หรือ นิมมิตเทวราช ปกครองเทวดาชันนี้ปรารถนาสิ่งใด นิรมิตเอาได้ตามความพอใจของตน ไม่มีคู่ครองของตนเป็นประจำ เมื่อใดปรารถนาใคร่เสพ กามคุณ เวลานั้นก็ เนรมิต เทพบุตร หรือเทพธิดาขึ้นมาตามความปรารถนา และเมื่อใดได้เพลิดเพลินกับ กามคุณ นั้นสมใจแล้ว กามคุณ ที่เนรมิตขึ้นมานั้นก็จะอันตรธานหายไป

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    กัมมัง เขตตัง กรรม เป็นเหมือนนา

    วิญญาณัง พีชัง วิญญาณ เป็นเหมือนพืชที่หว่านลงในนา

    ตัณหา สิเนโห ตัณหา เหมือนยางเหนียวมีอยู่ในพืช อันจะทำให้พืชนั้นปลูกงอกงามขึ้นได้

    เพราะฉะนั้น เมื่อยังมี กรรม วิญญาณ และ ตัณหา อยู่ ก็ยังจะต้องไปเกิด

    ในภพต่าง ๆ คือหมายความว่า ยังมี อวิชชา เป็นเครื่องกั้นอยู่ ยังมี ตัณหา

    เป็น สังโยชน์ คือเครื่องผูกอยู่

    ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี (สวรรค์ชั้นที่ ๖)

    แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่น นิรมิต (บันดาลให้เป็นขึ้นมีขึ้น) ให้

    มีเทพเป็นราชาผู้ปกครองอยู่ ๒ ฝ่าย

    ฝ่าย เทพยดา ปรนิมมิตรสวัตตีเทวราช ปกครองเทพไม่เป็นมาร

    ฝ่าย มาร (๒) ปรนิมมิตวสวัตตีเทวราช (ชื่อเหมือนกัน)

    หรือ พญามาราธิราช หรือ วสวัตตีมาร ปกครองเทพที่เป็นมาร

    ฝ่ายมาร(๒) หรือเทวปุตตมาร

    เป็น มิจฉาทิฎฐฺ เทวดา ที่ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา มารนี้มีความกลัวเป็นข้อสำคัญอยู่ข้อหนึ่งว่าตนจะสิ้นอำนาจครอบครองโลกไม่ประสงค์ให้ใครทั้งนั้นบรรลุ มรรค ผล นิพพาน เพราะเมื่อผู้ใดพ้นโลก หมายถึงว่ามีจิตใจพ้นกิเลสดังกล่าว ผู้นั้นก็พ้นอำนาจของมารทั้งยังเป็นผู้คอยขัดขวางให้เกิดอุปสรรคต่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เสมอ เมื่อวันที่ พระพุทธองค์ เสด็จอออกบวช พญามารตนนี้ได้มาปรากฏตัว ยกมือห้ามว่าอย่าออกบวชเลย อีกไม่นานเท่าไรท่านก็จะได้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงขับไล่ออกไป เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญ ทุกรกิริยา ก็มากระซิบบอกว่า บัดนี้พระองค์ก็บรรลุสัมโพธิญาณดังหวังแล้ว ปรินิพพาน เถอะพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า พระองค์จะไม่ ปรินิพพาน จนกว่า พรหมจรรย์ (การประพฤติธรรมอันประเสริฐ) ของพระองค์จะแพร่หลายมั่นคง ครั้นเมื่อเงื่อนไขทุกอย่างพร้อมแล้ว พญามารจึงเข้ามากราบทูลให้ ปรินิพพาน เท่ากับทวงสัญญาว่าบัดนี้ถึงเวลาที่พระองค์จะปรินิพพานแล้วพระพุทธองค์จึงทรง ปลงอายุสังขาร
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    พญามาราธิราช จะต้องทำบุญไว้มาก ไม่เช่นนั้นก็จะไม่บังเกิดในสวรรค์ชั้นสูงนี้ได้ภายหลังละ มิจฉาทิฏฐิ และกลับมาเลื่อมใสในพุทธศาสนา

    เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดไม่ต้องนิรมิตเอง มีเทวดาอื่นที่รับใช้เนรมิตให้ตามต้องการ เป็นภูมิที่มีความสุขและเพลิดเพลินมากเทวดาที่อยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนี้ไม่มีคู่ครองเป็นประจำโดยเฉพาะตน เป็นที่อยู่ของพวกที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นไว้มาก

    ปลงอายุสังขาร ตกลงใจกำหนดการสิ้นสุดอายุ ตกลงพระทัยว่าจะ ปรินิพพาน

    ปลงสังขาร ทอดอาลัยในกายของตนว่าจะตายเป็นแน่แท้แล้ว

    ทุกรกิริยา การทำความเพียรอันยากที่ใคร ๆ จะทำได้ ได้แก่การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษด้วยวิธีการทรมานตนต่าง ๆ เช่นกลั้นลม อัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) ปัสสาสะ(ลมหายใจออก) และอดอาหาร เป็นต้น เขียนเต็มเป็น ทุกกรกิริยา

    เทวภูมิ หรือ ฉกามาพจรสวรรค์ ทั้ง ๖ ชั้นยังเกี่ยวข้องกับ กามคุณ

    เทวภูมิ ๖ (ฉกามาพจรสวรรค์ ๖)

    ๑. จาตุมหาราชิกา มีเหมือนมนุษย์

    ๒. ดาวดึงส์ มีเหมือนมนุษย์

    ๓. ยามา มีแต่ กายสังสัคคะ (กายสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องด้วยกาย การเคล้าคลึงร่างกาย)

    ๔. ดุสิต มีเพียงจับมือกัน

    ๕. นิมมานรดี มีเพียงยิ้มรับกัน

    ๖. ปรนิมมิตสวัตตี มีแต่มองดูกัน

    ในเทวภูมิไม่มีสัตว์เดรัจฉาน และเมื่อต้องการจะมีม้ารถเทียม ก็จะมีเทพบุตรจำแลง กายของเทวดา เรียกว่าเป็นกายทิพย์ เป็นกายสว่างละเอียด ไม่มีปฏิกูล เกิดเป็น อุปปาติกะ คือ ผุดเกิดขึ้น มีตัวตนโตเต็มที่เลย แต่เป็น อทิสสมานกาย คือ การยที่ไม่ปรากฏแก่ตาคนในเทวภูมิบริบูรณ์ด้วยความสุข อายุก็ยืนยาว แก่เจ็บไม่ปรากฏตายก็ไม่ปรากฏซาก จึงเห็นทุกข์ได้ยาก

    เทวดาจะจุตุ มี ๔ ประการ

    ๑. อายุขัย จุติเพราะสิ้นอายุ

    ได้แก่ เทวดาที่ได้เคยสร้างกุศลมาก็ได้เสวยสมบัติทิพย์จนครบอายุทิพย์ในเทวโลกชั้นที่ตนอยู่นั้น ครั้นหมดอายุแล้วก็จุติ

    ๒. บุญญขัย จุติเพราะสิ้นบุญ

    ได้แก่ เทวดาที่สร้างสมบุญกุศลไว้น้อย เมื่อกุศลผลบุญที่ได้กระทำไว้หมดสิ้นลงเสีย แต่ในระหว่างยังไม่ถึงอายุขัย จำต้องจุติไปเกิดที่อื่น เพราะหมดบุญแล้ว

    ๓. อาหารขัย จุติเพราะสิ้นอาหาร

    ได้แก่ เทวดาบางจำพวกที่เสวยทิพย์สมบัติ จนลืมบริโภคสุธาโภชนาหารทิพย์อันเป็นปัจจัยแก่กาย และชีวิตถ้าแม้ว่าเขาลืมบริโภคภายหลังสักร้อยครั้งพันครั้ง ก็มิอาจจะซ่อมแซมให้ดีขึ้นมาใหม่

    ๔. โกธพลขัย จุติเพราะความโกรธ

    ได้แก่ เทวดาบางจำพวกที่มีจิตริษยาหาเหตุพาล มีความโกรธในหัวใจ

    จุตินิมิตของเทวดา ๕ ประการ นิมิตล่วงหน้า ซึ่งอุบัติเกิดแก่เทวดาผู้จะต้องจุติ
    จุติ เคลื่อนจาก ภพ หนึ่งไปสู่ ภพ อื่น ตาย (ส่วนมากใช้กับเทวดา)
    ๑. ดอกไม้ทิพย์เครื่องประดับเหี่ยวแห้ง
    ๒. ผ้าทิพย์เครื่องประดับสำหรับองค์มีสีเศร้าหมอง
    ๓. มีเหงื่อไหลออกมาจากรักแร้
    ๔. ที่นั่งและที่นอนร้อนดุจมีไฟอยู่ภายใต้
    ๕. กายของเทวดาเหี่ยวแห้งเศร้าหมองหารัศมีเช่นก่อนไม่ได้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยเนื้อตัวมือตีน มีความกระวนกระวายใจ

    www.watthummuangna.com
     
  4. SuratMan

    SuratMan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +70
    อนุโมทนาครับ
    ขอเก็บลงไฟลล์ข้อมูลครับ พอดีกำลังหาความรู้ ความเข้าใจ เวลาสวดยอดพระกัณฑ์ครับ

    แต่พอดี เห็น

    ๑.จาตุมหาราชิการ (สวรรค์ชั้นที่ ๑) สวรรค์ที่ท้าวมหาราช ๔ องค์ ปกครอง
    จาตุมหาราชิกา มีมหาราช ๔ องค์
    ๑. ท้าววธตรัฐะ มหาราช เป็นผู้ปกครอง คันธัพพเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก
    ๒. ท้าวิรุฬหกะ มหาราช เป็นผู้ปกครอง กุมภัณฑ์เทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศใต้
    ๓. ท้าววิรูปักษ์ มหาราช เป็นผู้ปกครอง นาคะเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก
    ๔. ท้าวเวสสุวรรณ มหาราช เป็นผู้ปกครอง ยักขเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศเหนือ

    เห็นว่า

    ท้าววธตรัฐะ มหาราช เป็นผู้ปกครอง คันธัพพเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก
    กับ
    ท้าววิรูปักษ์ มหาราช เป็นผู้ปกครอง นาคะเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก

    เป็นทางทิศตะวันออกเหมือนกัน

    เลยลองเช็คดู

    เห็นว่า บางเว็บว่า "ท้าววิรูปักษ์ มหาราช เป็นผู้ปกครอง นาคะเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันตก"

    ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ
     
  5. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605

    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" marginwidth="0" marginheight="0"><TBODY><TR vAlign=top><TD class=tdNorm bgColor=#f1efee align=left>สวรรค์ชั้นที่ ๑
    จาตุมหาราชิกาเทวภูมิ


    เทวภูมิอันดับที่ ๑ นี้ เป็นแดนแห่งความสุข ที่สถิตอยู่แห่งปวงเทพยดาชาวฟ้าผู้อุบัติเทพ มีเทวราชผู้ยิ่งใหญ่ ๔ พระองค์ ทรงเป็นอธิบดีผู้มีมเหศักดิ์ปกครองดูแล เพราะฉะนั้น สรวงสวรรค์ชั้นนี้ จึงมีนามว่า จาตุมหาราชิกาเทวภูมิ ภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพอันมีท้าวจาตุมหาราชทรงเป็นอธิบดี
    เมืองสวรรค์ชั้นฟ้า อันมีนามว่า จาตุมหาราชิกานี้ มีเมืองใหญ่ซึ่งเป็นเทพนครอยู่ถึง ๔ พระนคร แต่ละพระนครมีปราการกำแพงทองทิพย์เหลืองอร่ามแลดูงามนักหนา ซ้ำประดับประดาไปด้วยสัตตรัตนะแก้ว ๗ ประการ บานประตูแห่งกำแพงทองทิพย์นั้น แล้วไปด้วยแก้ววิเศษแสนประเสริฐ และมีปราสาทอันรุ่งเรืองสวยงามอยู่เหนือประตูทุก ๆ ประตู ภายในเทพนครอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้น มีปราสาทแก้วอันเป็นวิมานที่อยู่แห่งเทพยดาชาวฟ้าทั้งหลาย ปรากฏตั้งอยู่เรียงรายมากมาย ฝ่ายพื้นภูมิภาคนั้นเล่า ก็หาใช่เป็นพื้นแผ่นปฐพีดังมนุษย์โลกเรานี้ไม่ โดยที่แท้ เป็นพื้นแผ่นสุวรรณทองคำ มีสีเหลืองอร่ามรุ่งเรืองเลื่อมพรรณรายราบเรียบเสมอมีครุวนาดุจหน้ากล้อง และมีความวิเศษอ่อนนิ่มดังฟูกผ้าเมื่อฝูงเทพยดาทั้งหลายเหยียบลงไป ก็มีลักษณะการอ่อนยุบลง แล้วก็เต็มขึ้นมาดังเดิม มิได้เห็นรอยเท้าของเทพยดาทั้งหลายเหล่านั้นเลย
    สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาเทวภูมินี้ นอกจากจะมีสมบัติทิพย์อันอำนวยความสุขให้แก่ปวงเทพยดานานาประการแล้ว ยังมีสระโบกขรณีอันมีน้ำใสยิ่งกว่าแก้ว เต็มไปด้วยปทุมชาตินานาชนิด ส่งกลิ่นทิพย์หอมตลบอบอวลไปทั่วบริเวณเป็นดั่งเช่นมีใครแสร้งเอาน้ำอบน้ำหอมไปประพรหมไว้ตลอดกาลฉะนั้น มีดอกไม้นานาพรรณสีสันวิจิตรตระการตา และมีรุกขาติต้นไม้สวรรค์อันแสนประเสริฐนักหนา ด้วยว่ามีผลปรากฏประกอบไปด้วยโอชารสอันยิ่ง แลอันว่ามิ่งไม้ในสรวงสวรรค์นั้น ย่อมมีดอกมีผลอันเป็นทิพย์ ปรากฏให้เหล่าชาวสวรรค์ได้ชื่นชมอยู่ตลอดกาลไม่มีวันร่วงโรยและหมดไปเลย
    ก็เทพนครทั้ง ๑ ในสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้ มีเทวาธิราชผู้มเหศักดิ์มีหธิอำนาจปกครอง ดังต่อไปนี้คือ

    ๑. ธตรฐมหาราช

    เทพนครปราการสุวรรณอันสวยสวยสดงดงาม ซึ่งตั้งอยู่ในทิศบูรพา คือ ทิศตะวันออกแห่งแดนสุขาวดีสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมาหราชิกานี้ มีเทวาผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า "ท้าวธตรฐมหาราช"
    ทรงเป็นจอมเทพผู้ปกครอง ก็อันว่าท่านท้าวธตรฐมหาราชนี้ พระองค์ทรงเป็นเทวาธิราช มีบุญญานุภาพมาก มีรัศมีมาก เทวาที่อุบัติเกิดเป็นบุตรของพระองค์มีมากมาย แต่ละพระองค์ล้วนแต่ทรงไว้ซึ่งกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ เป็นอันมาก พระองค์ทรงเป็นอธิบดีผู้มีอำนาจใหญ่ ทรงปกครองทวยเทพในเทพนครด้านทิศบูรพา ณ สรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้โดยธรรม ยังความสุขสำราญชื่นบานหรรษา ให้บังเกิดแก่มวลเทพยดาผู้เป็นบริวาร ตลอดทุกทิพาราตรีกาล
    นอกจากจะทรงเป็นเทวาธิราช ผู้มียศศักดิ์และอำนาจเหนือเทพบริษัทในเทพนครด้านทิศบูรพาดังกล่าวแล้ว ท่านท้าวธตรฐมหาราช ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีปกครอง "หมู่คนธรรพ์"
    อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ก็หมู่คนธรรพ์นี้ เป็นเทวดาพวกหนึ่ง ซึ่งนับเนื่องอยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้ มีความถนัดในการดนตรีศิลปะระบำรำฟ้อน และชำนาญในเพลงขับเป็นยิ่งนัก มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอยู่ในหมู่เทวดาทั้งหลาย เช่น คนธรรพ์ผู้หนึ่ง ซึ่งมีนามว่าสุมธรรมาชำนาญตีกลองประจำตัว กับคนธรรพ์อีกผู้หนึ่งซึ่งมีนามว่า พิมพสุรกะ ชำนาญในการตีกลองหน้าเดียว เมื่อเขาทั้ง ๒ ตีกลองด้วยเพลงคนธรรพ์อันเลื่องลือย่อมปรากฏว่ามีความไพเราะ เป็นที่เสนาะโสตชื่นชอบแห่งเหล่าเทพยดานักหนาไม่ว่าจะมีเทวสันนิบาตการชื่นชุมนุมเพื่อความสนุกสนานของเหล่าเทวดาทั้งหลาย ณ ที่ใด ย่อมมีฝูงคนธรรพ์ทั้งหลายไปร่วมด้วย โดยทำหน้าที่เป็นผู้ขับกล่อมและจับระบำรำฟ้อนให้ปวงเทพได้รับความชื่นบานเริงสราญในเทวสันนิบาตสถานนั้น ๆ อยู่เป็นนิตย์เสมอมา มิได้ขาดสักคราเลย ก็หมู่คนธรรพ์ มีความภักดีและความเคารพ ต่อท่านท้าวธตรฐมหาราชผู้เป็นอธิบดีแห่งพวกตนเป็นยิ่งนัก

    ๒. วิรุฬหกมหาราช

    เทพนครปราการสุวรรณอันสวยสดงดงาม ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศทักษิณคือ ทิศใต้แห่งแดนสุขาวดีสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้ มีเทวดาผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า "ท้าววิรุฬหกมหาราช" ทรงเป็นจอมเทพผู้ปกครอง ก็อันว่าท่านท้าววิรุฬหกมหาราชนี้ พระองค์เป็นเทวาธิราช มีบุญญานุภาพมาก มีรัศมี มียศเป็นอันมากเทวาที่เป็นอุบัติเทพบังเกิดเป็นเทพบุตรของพระองค์นั้นมากมาย แต่ละองค์ทรงไว้ซึ่งกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มียศเป็นอันมาก พระองค์ทรงเป็นอธิบดีมีอำนาจใหญ่ ทรงปกครองทวยเทพในเทพนครด้านทิศทักษิณ ณ สรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้โดยธรรม ยังความสุขสำราญชื่นบานหรรษาให้บังเกิดแก่มวลเทพยดาผู้เป็นบริวาร ตลอดทุกทิพาราตรีกาล
    นอกจากจะทรงเป็นเทวาธิราช ผู้มียศศักดิ์และมีอำนาจเหนือเทพบริษัทในเทพนครด้านทิศทักษิณดังกล่าวแล้ว ท่านท้าววิรุฬหกมหาราช ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีปกครอง "หมู่กุมภัณฑ์" อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ก็หมู่กุมภัณฑ์นี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง ซึ่งมีรูปร่างแปลกประหลาดพิกล คือ ส่วนอุทรท้องนั้นมีสัณฐานใหญ่ผิดธรรมดา และมีสัญลักษณ์พิเศษที่สังเกตได้ง่ายอีกอย่างหนึ่งก็คือ เหล่ากายทิพย์พวกนี้ มีอัณฑะซึ่งมีลักษณะเหมือนหม้อ ฉะนั้น จึงได้นามว่า กุมภัณฑ์ ซึ่งแปลว่าเหล่าสัตว์ที่มีอัณฑะเหมือนหม้อ พวกเขาเหล่ากายทิพย์กุมภัณฑ์เหล่านี้ มีความสุขโดยสมควรแด่อัตภาพและมีความภักดีเคารพต่อท่านท้าววิรุฬหกมหาราช ผู้ทรงเป็นอธิบดีผู้ประเสริฐ แห่งพวกตนเป็นยิ่งนัก

    ๓. วิรูปักษ์มหาราช

    เทพนครปราการสุวรรณอันสวยงาม ซึ่งตั้งอยู่ในทิศปัจฉิม คือ ด้านตะวันตกแห่งแดนสุขาวดีสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้ มีเทวาธิราชผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า "ท้าววิรูปักษ์มหาราช" ทรงเป็นจอมเทพผู้ปกครอง ก็อันว่าท่านท้าววิรูปักษ์มหาราชนี้นั้นพระองค์ทรงเป็นเทวาธิราช มีบุญญานุภาพมาก มีรัศมีมาก เทวาที่อุบัติเกิดเป็นบุตรของพระองค์ก็มีมาก แต่ละองค์ล้วนแต่ทรงไว้ซึ่งพละกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มียศ เป็นอันมาก พระองค์ทรงเป็นอธิบดีผู้มีอำนาจใหญ่ ทรงปกครองทวยเทพในเทพนครด้านทิศตะวันตก ณ สรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้โดยธรรม ยังความผาสุกชื่นบานหรรษาให้บังเกิดแก่มวลเทพผู้เป็นบริวาร ตลอดทุกทิพาราตรีกาล
    นอกจากจะทรงเป็นเทวาธิราช ผู้มียศศักดิ์ และมีอำนาจเหนือเทพบริษัทแห่งตน ในเทพนครด้านทิศตะวันตกดังกล่าวแล้ว ท่านท้าววิรูปักษ์มหาราชยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดี
    ปกครอง "หมู่นาค" อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ก็หมู่นาคนี้ เป็นสัตว์วิเศษเหล่ากายทิพย์พวกหนึ่ง ซึ่งปรากฏว่ามีฤทธิ์เดชมาก เพราะพิษแห่งนาคทั้งหลายนั้นมีฤทธิ์กล้าแข็ง แต่เพียงถูกต้องบุคคลใดบุคคลหนึ่ง พิษแห่งนาค ย่อมมีฤทธิ์สามารถตัดเอาผิวหนังแห่งบุคคลนั้น ให้ถึงแก่ความตายได้ในพริบตาเหมือนกับคบดาบ และเหล่านาคทั้งหลายย่อมรู้จักนิรมิตตน เมื่อมีความประสงค์จะเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ ณ แดนมนุษยโลกเรานี้ บางคราวเหล่านาคีผู้มีฤทธิ์ย่อมนิรมิตตนเป็นงู บางคราวก็ทรงเพศเป็นเทพยดา แต่บางคราวก็นิรมิตตนเป็นกระแตบ้าง เป็นต้น เที่ยวไปในราวไพรตามอัธยาศัยแห่งตนอย่างสุขสำราญ
    ในกรณีนี้ หากจะมีปัญหาว่า "สัตว์ทั้งหลายในวัฏสงสาร" ทำกรรมอะไรไว้ จึงได้มีโอกาสมาเกิดเป็นนาคได้เล่า"
    คำวิสัชนาก็มีว่า
    มีพระภิกษุพุทธสาวกรูปหนึ่ง ได้เข้าไปเฝ้าแล้วทูลถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสัพพัญญุตญาณว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้คนบางคนในโลกนี้ ตายแล้วไปเกิดเป็นนาค" สมเด็จพระผู้มีพระภาพเจ้า ได้ทรงมีพระมหากรุณาตรัสว่า
    "บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาได้ยินได้ฟังมาว่า พวกนาคมีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก เขาจึงชอบใจ แล้วทำความดีด้วยไตรทวารแล้วมีความปรารถนาว่า
    "โอหนอ เมื่อเราตายไปจากโลกนี้แล้ว ขอให้เราได้ไปบังเกิดเป็นนาค"
    ครั้งเขาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย คือได้ไปเกิดเป็นนาคข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้คนบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้วไปเกิดเป็นนาค"
    พระพุทธฎีกานี้ ย่อมเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่ประกอบกัลยาณกรรมความดีด้วย กาย วาจา ใจ ยินดีในการบำเพ็ญกุศล เมื่อต้องการไปเกิดเป็นนาคย่อมมีโอกาสได้เป็นนาคในชาติต่อไปสมความปรารถนา พวกนาคเหล่านี้ มีชีวิตความเป็นอยู่โดยผาสุกสมควรแก่อัตภาพ และพวกเขามีความภักดีและความเคารพต่อท่านท้าววิรูปักษ์มหาราช ผู้ทรงเป็นอธิบดีทรงพระคุณอันประเสริฐแห่งตนเป็นยิ่งนัก

    ๔. เวสสุวัณมหาราช

    เทพนครปราการสุวรรณอันสวยสดงดงาม ซึ่งปรากฏตั้งตระหง่านอยู่ด้านทิศอุดร คือทิศเหนือ แห่งแดนสุขาวดีสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้ มีเทวาผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า "ท้าวเวสสุวัณมหาราช" ทรงเป็นจอมเทพผู้ปกครองก็อันว่าท่านท้าวเวสสุวัณมหาราชนี้ยังมีพระนามปรากฏเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปอีกอย่างหนึ่งว่า "ท้าวกุเวรมหาราช" พระองค์ทรงเป็นเทวาธิราชผู้มเหศักดิ์ มีบุญยานุภาพมาก มีรัศมี มียศเป็นอันมาก เทวาที่อุบัติเกิดเป็นบุตรของพระองค์นั้นมีมากมาย แต่ละองค์ล้วนทรงไว้ซึ่งพละกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มียศเป็นอันมาก พระองค์ทรงเป็นอธิบดีมีอำนาจใหญ่ ทรงปกครองทวยเทพในเทพนครด้านทิศอุดร ณ สรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้โดยธรรม ยังความผาสุกชื่นบานหรรษา ให้บังเกิดแก่มวลเทพยดาผู้เป็นบริวาร ตลอดทุกทิพาราตรีกาล
    นอกจากจะทรงเป็นเทวาธิราช ผู้มียศศักดิ์และอำนาจเหนือเทพบริษัทในเทพนครด้านอุดรดังกล่าวแล้ว ท่านท้าวเวสสุวัณมหาราชนี้ ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีปกครอง "หมู่ยักษ์" อีกตำแหน่งหนึ่งอีกด้วย ก็หมู่ยักษ์นี้เป็นสัตว์ประเภทกายทิพย์พวกหนึ่ง ซึ่งปรากฏว่าสันดานแตกต่างกัน คือ บางตนก็มีสันดานดีประกอบด้วยศีลธรรม บางตนมีสันดานร้ายมีจิตใจมากไปด้วยโทสะ โมหะ เป็นอันธพาลใจแกล้วกล้าหาญดุดัน มิใคร่จะเลื่อมใสเชื่อฟังคำแห่งพระสัพพัญญูเจ้าเอาง่าย ๆ ในกรณีนี้ พึงทราบดังเรื่องที่ปรากฏในอาฏานาฏิยสูตร โดยใจความว่า
    คราวหนึ่ง สมเด็จพระมหามุนีนาถบรมศาสดาจารย์เจ้าแห่งเราทั้งหลายพระองค์ประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้ทรงเป็นจอมเทพอธิบดีแห่งสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ได้พากันมาเฝ้า ตั้งอารักขาไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งพลขันธ์ ตั้งผู้ตรวจตราไว้ทั้ง ๔ ทิศ ด้วยเสนายักษ์กองใหญ่ ๑ เสนาคนธรรพ์กองใหญ่กอง ๑ เสนากุมภัณฑ์กองใหญ่กอง ๑ เสนานาคกองใหญ่กอง ๑ ในขณะเมื่อปฐมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว เปล่งรัศมีรุ่งเรืองพรรณรายงามยิ่ง ทำให้ภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นสว่างไสวแล้วเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วพากันประทับนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
    ฝ่ายยักษ์ทั้งหลาย ผู้เป็นบริวารของท่านท้าวเวสสุวัณมหาราชนั้นสำแดงกิริยาอาการ
    ต่าง ๆ กันคือ
    บางพวก ถวายบังคมสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าแล้ว ก็นั่งเงียบอยู่
    บางพวก ปราศรัยกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า ด้วยเรื่องพอให้ระลึกถึงกันแล้ว ก็นั่งเป็นปรกติ
    บางพวก เป็นแต่เพียงประณมอัญชลีไปทางที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าประทับ แล้วนั่งเงียบ
    บางพวก ประกาศชื่อและโคตรของตนแล้ว นั่งเงียบอยู่
    บางพวก มิได้สำแดงกิริยาอาการอันใดทั้งสิ้น นั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ท่านท้าวเวสสุวัณมหาราช จอมเทพผู้ทรงเป็นอธิบดีแห่งพวกยักษ์เหล่านั้นได้กราบทูลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมไตรโลกนาถขึ้นในคราวนั้นว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในบรรดายักษ์ทั้งหลายเหล่านี้
    ยักษ์ชั้นสูงบางพวก มิได้เลื่อมใสในสมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้าก็มี
    ยักษ์ชั้นสูงบางพวก มีความเลื่อมใสในสมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้าก็มี
    ยักษ์ชั้นกลางบางพวก มิได้เลื่อมใสในสมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้าก็มี
    ยักษ์ชั้นกลางบางพวก มีความเลื่อมใสในสมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้าก็มี
    ยักษ์ชั้นต่ำบางพวก มิได้มีความเลื่อมใสในสมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้าก็มี
    ยักษ์ชั้นต่ำบางพวก มีความเลื่อมใสในสมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้าก็มี
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! โดยมากการที่ยักษ์ทั้งหลาย มิได้มีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคนั้น เป็นเพราะเหตุไร
    เพราะเหตุว่า สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท การดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แต่โดยมาก พวกยักษ์ทั้งหลาย มิได้งดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท การดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะเหตุนี้แหละพระเจ้าข้า สมเด็จพระพุทธองค์จึงไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจ ของยักษ์เหล่านั้น
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็พระสาวกของสมเด็จพระพุทธองค์นั้น บางพวกย่อมพอใจอยู่ราวไพรในป่า เสพเสนาสนะอันสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้องน้อย ปราศจากหมู่ชนผู้เดินไปมา เป็นสถานที่ควรแก่การกระทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น ยักษ์ชั้นสูงบางพวก มักสิงสถิตอยู่ในป่าเช่นนั้น ยักษ์พวกใดมิได้เลื่อมใสในปาพจน์ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงถือเอาการรักษาอันชื่อว่า อาฎานาฏิยะ เพื่อให้ยักษ์พวกนั้นเลื่อมใส เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า
    องค์อธิบดีแห่งมวลยักษ์คือ ท่านท้าวเวสสุวัณมหาราช กราบบังคบทูลอย่างยืดยาวฉะนี้ เมื่อทรงเห็นสมเด็จพระจอมมุนีทรงรับอาราธนาโดยพระอาการดุษณีแล้ว จึงกล่าว "อาฎานาฏิยะรักษา" ในเวลานั้น เป็นใจความว่า
    "ขอนอบน้อม แด่สมเด็จพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงมีพระจักษุผู้ทรงไว้ซึ่งพระพุทธสิริ ขอนอบน้อม แด่สมเด็จพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่มวลสัตว์ทุกถ้วนหน้า เป็นต้น"
    ครั้นตรัสอาฏานาฏิยะรักษา ถวายสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เจ้าจบลงแล้ว องค์จอมเทพผู้พุทธสาวก ได้กราบทูลขึ้นว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! การรักษาอันชื่อว่า อาฏานาฏิยะ นี้แหละพระเจ้าข้า ย่อมเป็นไปเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่สำราญแห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสิกาทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ และบัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้มีกิจมาก มีกรณียะมาก จักขอทูลลาไปแล้ว พระเจ้าข้า"
    สมเด็จพระบรมศาสดา จึงตรัสตอบว่า
    "ดูกรมหาบพิตร ! ขอมหาบพิตรจงทรงทราบกาลอันควร ณ บัดนี้เถิด"
    ลำดับนั้น ท่านท้าวมหาราชจอมเทพผู้มีมเหศักดิ์ทั้ง ๔ เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาททำประทักษิณสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าแล้วอันตรธานไปในขณะนั้นเอง ฝ่ายยักษ์ทั้งหลาย เมื่อเห็นองค์อธิบดีแห่งตน เสด็จกลับแล้วก็จะกลับบ้าง และในขณะที่พวกเขาจักกลับนี้ ก็แสดงกิริยาอาการต่างกันอีกคือ
    บางพวก ลุกขึ้นแล้ว ถวายอภิวาททำประทักษิณสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าแล้ว อันตรธานหายไป
    บางพวก ลุกขึ้นแล้ว ปราศรัยกถาพอให้ระลึกถึงกันกะสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าแล้ว อันตรธานหายไป
    บางพวก ลุกขึ้นแล้ว ประณมอัญชลีไปทางที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า แล้วอันตรธานหายไป
    บางพวก ลุกขึ้นแล้ว ประกาศนามและโคตรของตนแก่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าแล้ว อันตรธานหายไปในขณะนั้นเอง
    เรื่องที่เล่ามานี้ ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ก็คงจะเห็นแล้วว่า เหล่ายักษ์ทั้งหลายซึ่งมีกายเป็นทิพย์นับเนื่องเจ้าในเทพชั้นต่ำแห่งสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้มีปรากฏอยู่มากมาย บางตนเป็นพวกยักษ์ร้าย บางตนเป็นยักษ์ผู้ดี เพราะมีสันดานแตกต่างกัน แต่จะอย่างไรก็ตาม บรรดายักษ์ทั้งหลาย ย่อมมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสุขสบายตามสมควรแก่อัตภาพ และพวกเขาเหล่านั้น ย่อมมีความจงรักภักดีและมีความเคารพยำเกรง ต่อท่านท้าวเวสสุวัณมหาราช ผู้ทรงเป็นอธิบดีแห่งพวกตนเป็นยิ่งนัก

    ทางไปสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

    เมื่อได้ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ แห่งเหล่าชาวสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาดังพรรณนามาแล้ว บัดนี้ถึงปัญหาสำคัญ ที่เราท่านควรจะสนใจ ปัญหาที่ว่านั้นก็คือว่า "การที่จะได้มีโอกาสไปเกิดเป็นเทพยดา ณ แดนสุขาวดีจาตุมหาราชิกาสวรรค์นั้น จักต้องทำประการใดบ้าง"
    การที่เหล่าสัตว์ในวัฏสงสาร ซึ่งรวมทั้งเราท่านผู้เป็นมนุษย์อยู่ในมนุษย์โลกขณะนี้ จักมีโอกาสไปเกิดเป็นเทพยดาได้นั้น เมื่อจะกล่าวอย่างสั้น ๆ ก็คือต้องประกอบกรรมอันเป็นบุญเป็นกุศล เช่น ให้ทานรักษาศีล เป็นต้น จึงจะมีโอกาสไปเกิด ณ สรวงสวรรค์ได้ นี่เป็นกฎตายตัว เป็นหลักใหญ่อย่างกว้าง ๆ ที่ควรจักจดจำไว้ แต่เมื่อจะแยกให้ละเอียดลงไปเป็นส่วนเฉพาะว่า "การที่จักได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้ จะต้องประกอบกุศลกรรมความดีชนิดใด" ในเรื่องนี้ ถ้าจักให้ดี พึงทราบตามพระพุทธฎีกาที่องค์สมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ในสูตรต่าง ๆ ซึ่งจักขอประมวลมาตั้งไว้ในที่นี้ ดังต่อไปนี้

    ทานสูตร<SUP>๑</SUP>​

    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อว่าคัคครา ใกล้จัมปานคร พร้อมกับด้วยพระสงฆ์องค์อรหันตสาวกเป็นอันมาก อุบาสกชาวเมืองจัมปามากคนด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรองค์อัครสาวก เมื่ออภิวาทนมัสการแล้ว ได้กราบเรียนพระผู้เป็นเจ้าขึ้นว่า
    "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพเจ้าไม่ได้ฟังกันมานานแล้ว ได้โปรดเถิด ขอพระผู้เป็นเจ้าได้โปรดพาพวกข้าพเจ้าไปฟังธรรมมีกถาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเถิด เจ้าข้า"
    องค์ธรรมเสนาบดีสารีบุตร จึงบอกแก่อุบาสกเหล่านั้นว่า
    ดูกรอุบาสกทั้งหลาย ! ถ้าเช่นนั้น ขอให้ท่านทั้งหลาย จงพากันมาในวันอุโบสถเถิด เมื่อถึงวันนั้นแล้ว พวกท่านจักได้สดับธรรมีกถาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นนอน"
    อุบาสกชาวเมืองจัมปา รับคำขอท่านสารีบุตรมหาขีณาสพแล้ว ก็ลุกจากที่นั่งพากันอภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ต่อมา เมื่อถึงวันอุโบสถ ได้เวลานัดหมายแล้ว พระเถรเจ้าก็พาเอาอุบาสกทั้งหลายเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วทูลถามสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ทานที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมากแต่ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือไม่ พระเจ้าข้า และทานที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ถึงมีหรือไม่หนอ พระเจ้าข้า"
    สมเด็จพระมหากรุราสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า
    "ดูกรสารีบุตร ! ทานที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว เป็นทานมีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มากก็มี และทานที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว เป็นทานมีผลมาก มีอานิสงส์มากก็มี"
    ครั้นตรัสฉะนี้แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ได้ทรงมีพระพุทธฎีกาต่อไปอีกว่า
    "ดูกรสารีบุตร ! ในการให้ทานนั้น บุคคลสมความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้ว จักได้เสวยผลแห่งทานนี้ เขาผู้นั้นให้ทานแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราช"

    ปุญญกิริยาวัตถุสูตร

    สมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมีพระพุทธฎีกา ตรัสถึงบุคคลที่จักได้มีโอกาสไปเกิดเป็นเทพยดา ณ แดนสุขาวดีจาตุมหาราชิกาสวรรค์และเหตุที่จักได้มีโอกาสดำรงตำแหน่งเป็นท้าวจุตมหาราชจอมเทพในสวรรค์ชั้นนี้ไว้ในปุญญกิริยาวัตถุสูตร<SUP>๒</SUP> ว่าดังนี้
    "ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการคือ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน ๑ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล ๑ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา ๑
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
    ภาวนาเลย เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราช
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้นได้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ
    ๑.อายุทิพย์
    ๒.วรรณทิพย์
    ๓.สุขทิพย์
    ๔.ยศทิพย์
    ๕.อธิปไตยทิพย์
    ๖.รูปทิพย์
    ๗.เสียงทิพย์
    ๘.กลิ่นทิพย์
    ๙.รสทิพย์
    ๑๐.โผฏฐัพพทิพย์

    สังคีติสูตร

    เหตุที่ยกนำให้ไปอุบัติเกิด ณ จาตุมหาราชิกาสวรรค์ นอกจากที่พรรณนามาแล้วยังมีข้อความอีกประการหนึ่ง อันมีปรากฏในสังคีติสูตร<SUP>๓</SUP> ซึ่งเป็นข้อความที่พวกเราชาวพุทธบริษัท ผู้มีโอกาสดีได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาในชาตินี้ ควรจักรับทราบไว้โดยตระหนักดังต่อไปนี้
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไปและเขาได้ยินมาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่าจาตุมหาราชิกามีอายุยืน มีวรรณะงาม มากไปด้วยความสุข" ดังนี้แล้ว เขาจึงรำพึงอย่างนี้ว่า


    โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึง
    เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพเจ้าเหล่าจาตุมหาราชิกา


    เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขาน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในจาตุมหาราชิกานั้นก็ข้อนี้แล เรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลายความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ดังนี้

    <HR SIZE=2><SUP>๑</SUP> อังคุตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๕๐ หน้า ๖๐ บาลีฉบับสยามรัฐ
    <SUP>๒</SUP> อังคุตรนิกาย อัฎฐกนิกาย ข้อ ๑๒๖ หน้า ๒๔๕ บาลีฉบับสยามรัฐ
    <SUP>๓</SUP> ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๖ บาลีฉบับสยามรัฐ
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=tdNorm bgColor=#f1efee align=left></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : www.prasut.mbu.ac.th/ch4/phrasut-4-1-main-info.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2010
  6. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    สวรรค์ชั้นที่ ๒
    ตาวติงสเทวภูมิ

    เทวภูมิอันดับที่ ๒ นี้ เป็นแดนแห่งความสุข ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่แห่งปวงเทพยดาชาวฟ้าผู้อุปบัติเทพ มีเทพผู้เป็นอธิบดีมเหศักดิ์รวม ๓๓ องค์ อันมี ท่านท้าวสักเทวาธิราชเป็นประธานาธิบดี เพราะฉะนั้น สรวงสวรรค์ชั้นนี้จึงมีนามว่าตาวติงสเทวภูมิ ภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพอันมีเทพสามสิบองค์ทรงเป็นอธิบดี
    แดนสุขาวดีเมืองสวรรค์ชั้นฟ้า อันมีนามว่าตาวติงสเทวภูมิ หรือที่เรียกให้ฟังกันง่าย ๆ ในหมู่ชาวเราว่าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สวรรค์ชั้นนี้ ตั้งอยู่เหนือจอมเขาสิเนรุราชบรรพต ปรากฏเป็นเทพนครใหญ่กว้างขวางนักหนา ปรางค์ปราสาทล้วนแล้วไปด้วยแก้วอันเป็นทิพย์แวดล้อมรอบพระนครด้วยปราการกำแพงแก้วทิพย์อีกเช่นกัน เพราะความมโหฬารกว้างใหญ่ของเทพนครแห่งนี้ จึงปรากฏว่ามีประตูกำแพงแก้วถึง ๑,๐๐๐ ประตู และมีปราสาทยอดอันทรงรัศมีเลื่อมพรรณราย สวยสดงดงามอยู่เหนือประตูทุก ๆ ประตู เมื่อประตูเหล่านั้นเปิดออกแต่ละครั้ง ย่อมปรากฏมีเสียงดังไพเราะเป็นยิ่งนัก ก็ในท่ามกลางพระนครไตรตรึงษ์นั้น มีปราสาทพิมานอันมีชื่อเสียงปรากฏเลื่องลืออยู่วิมานหนึ่ง นั่นคือ "ไพชยนตปราสาทพิมาน" ก็ไพชยนตปราสาทพิมานนี้ มีรูปทรงสูงเยี่ยม เอี่ยมอ่องไปด้วยรัศมีสัตตรัตน์ เพราะประดับไปด้วยแก้ว ๗ ประการ อันมีความงามสุดจะพรรณนา ด้วยว่าเป็นปราสาทพิมานอันเป็นที่ประทับอยู่ แห่งองค์เทพผู้เป็นเทวาธิราช ซึ่งมีนามปรากฏเป็นที่ทราบกันอยู่โดยมากว่า สมเด็จพระอมรินทราธิราช พระองค์ผู้ทรงเป็นอธิบดีมีมเหศักดิ์สูงสุด ณ สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ได้เคยมีพระพุทธสาวกผู้ทรงฤทธิ์เข้าไปยังไพชยนตปราสาทพิมานนี้เหมือนกันดังเรื่องที่ปรากฏในจูฬตัณหาสังขยสูตร<SUP>๑</SUP> มีว่า
    คราวหนึ่ง สมเด็จพระอมรินทราธิราช ได้เสด็จลงมาสดับพระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ มนุษย์โลกเรานี้ พอสดับพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว ก็ทรงสำแดงพระอาการชื่นชมยินดีในภาษิตขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็ทรงถวายอภิวาททำประทักษิณ รับอันตรธานเสด็จกลับไป ฝ่ายพระมหาโมคคัลลานเถรเจ้า องค์อัครสาวกเบื้องซ้ายผู้ทรงฤทธิ์ของสมเด็จพระพิชิตมารซึ่งนั่งอยู่ไม่ไกล และเห็นพระอาการของท่านท้าวสักกะจอมเทพที่รีบเสด็จกลับเช่นนั้น ท่านจึงมีความดำริว่า
    "ท้าวสักกะจอมเทพนั้น ทรงเข้าพระทัยเนื้อความพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระบรมครู เจ้าแล้ว จึงทรงสำแดงอาการชื่นชมยินดี หรือว่าทรงสำแดงอาการยินดีแต่สักว่าโดยไม่ทรงเข้าพระทัยความหมายในพระธรรมเทศนานั้นเลย"
    ครั้นดำริดังนี้แล้ว สาวกขององค์พระประทีปแก้ว ก็เหาะขึ้นไปด้วยอริยฤทธิ์ เพื่อจักพิสูจน์ความจริง ไปปรากฏในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ปานประหนึ่งว่าบุรุษที่มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออกไป หรือคู้แขนที่เหยียดเข้ามา ชั่วเวลาเพียงนี้เท่านั้น ครั้งท่านไปถึงแล้ว ก็เข้าไปหาท่านท้าวสักกะจอมเทพ ในขณะนั้น ท่านท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กำลังทรงอิ่มเอิบพรั่งพร้อม มีพระทัยเบิกบานอยู่ด้วยความสุขเพราะเสียงทิพยดนตรี อันเหล่าเทพนารีรับบรรเลงบำเรออยู่หลายร้อย ในสวนดอกปุณฑริกล้วน เมื่อท้าวเธอได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้ซึ่งพระองค์ทรงเคารพเลื่อมใสมาแต่ไกล จึงทรงให้หยุดการบรรเลงทิพยดนตรีนั้นเสีย แล้วเสด็จออกต้อนรับพระเถรเจ้าตรัสปราศรัยขึ้นว่า
    "ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นฤทุกข์ ! นิมนต์มาเถิด พระผู้เป็นเจ้ามาก็ดีแล้ว นานแล้วที่พระผู้เป็นเจ้าปริยาย เพื่อจะมา ณ ที่นี่ นิมนต์นั่งเถิด อาสนะนี้แต่งตั้งไว้เพื่อพระผู้เป็นเจ้า"
    ท่านพระมหาโมคคัลลานเถรเจ้า นั่งบนอาสนะตามพระดำรัสแห่งท่านท้าวสักเทวราชแล้ว จึงมีเถรวาทีไต่ถามว่า
    "ขอถวายพระบรมพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถึงความน้อมไปในธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาแก่มหาบพิตร เมื่อสักครู่นี้ความว่าอย่างไร ขอโอกาสเถิด ตัวอาตมภาพใคร่จักขอมีส่วนเพื่อจะรู้ธรรมีกถาที่มหาบพิตรได้สดับมานั้นบ้าง ท่านยังจะพอกล่าวให้อาตมภาพทราบได้บ้างหรือไม่"
    ท่านท่าวสหัสนัยน์ ผู้จำธรรมีกถามิใคร่จะได้ จึงทรงสารภาพตามตรงว่า
    "ข้าแต่ท่านโมคคัลลาน์ ! โยมนี้มีกิจมาก มีภารธุระที่จะต้องทำเป็นอันมากไหนจะธุระส่วนตัวของโยม ไหนจะธุระของพวกเทพยดาในดาวดึงส์นี้ ธรรมีกถาที่ได้ฟังแล้ว ก็มักจะหลงลืมเสียเร็วพลัน ก็ภาษิตธรรมีกถานั้น พระผู้เป็นเจ้าก็ฟังดีแล้ว เรียนดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว จะกลับมาถามโยมผู้มีสติปัญญาน้อยไปทำไมกัน ข้าแต่ท่านโมคคัลลาน์ เรามาปราศรัยสนทนาถึงเรื่องอื่นกันดีกว่า คือว่า
    เมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว ในสงครามคราวนั้นปรากฏว่า พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ ครั้งเทวดาสุรสงครามเสร็จสิ้นลงแล้วโยมนี้กลับจากสงครามแล้ว ได้จัดการสร้างไพชยนตปราสาท ก็ไพชยนตปราสาทนั้นมี ๑๐๐ ชั้น ในชั้นหนึ่ง ๆ มีกูฎาคารคือเรือนยอด ๗๐๐ ในเรือนยอดแห่งหนึ่ง ๆ มีนางอัปสร ๗๐๐ นาง อัปสรผู้หนึ่ง ๆ มีเทพธิดาผู้บำเรอ ๗๐๐ ข้าแต่ท่านโมคคัลลาน์ ท่านปรารถนาเพื่อจะชมสถานที่น่ารื่นรมย์ แห่งไพชยนตปราสาทของโยมหรือไม่เล่า โยมจักพาไป"
    ท่านพระมหาโมคคัลลานะองค์อรหันต์ก็รับด้วยดุษณีภาพ ลำดับนั้นท่านท้าวสักเทวาธิราช พร้อมกับท่านท้าวเสสุวัณมหาราชผู้เป็นอาคันตุะมาแต่สรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งนั่งอยู่ในที่นั่นด้วย ได้นิมนต์พระมหาโมคคัลลานะออกหน้าแล้ว พากันเข้ายังไพชยนตปราสาทพิมาน เหล่าเทพธิดาผู้บำเรอแห่งท่านท้าวสักกะ เมื่อแลเห็นพระมหาโมคคัลลานะมาแต่ไกล ก็มีความเกรงกลัวระคนความละอาย จึงพากันเข้าไปแอบอยู่ในห้องเล็กของตน ๆ ประดุจหญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวเข้า ก็เกรงกลัวละอายอยู่ฉะนั้น ขณะที่พาเที่ยวเดินชมไพชยนตปราสาทอยู่นั้น ท่านท้าวสักเทวราช ก็ตรัสบอกอยู่ด้วยความกระหยิ่มในพระทัยมิขาดระยะว่า "ข้าแต่ท่านโมคคัลลาน์ผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงดูสถานที่รื่นรมย์แห่งไพชยนตปราสาทแม้นี้" ท่านพระมหาโมคคัลานะก็มีเถรวาทีรับสมอ้างว่า "ท่านท้าวโกสีย์ไพชยนตปราสาทของท่าน เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ย่อมงดงามเหมือนสถานที่ของผู้ที่ได้ทำบุญไว้แต่ปางก่อน แม้แต่ผู้ได้ชมทั้งหลาย เห็นสถานที่น่ารื่นรมย์ไหน ๆ เข้าแล้ว ก็กล่าวกันว่างามจริง ดุจสถานที่ของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์" เมื่อเที่ยวเดินชมไพชนตปราสาทจนทั่ว โดยมีองค์สมเด็จพระอมรินทราธิราช เป็นผู้ชี้เชิญชมอธิบายความวิเศษแห่งปราสาทอยู่มิขาดปาก ด้วยความภาคภูมิใจเป็นนักหนา คราทีนั้น องค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลานเถรเจ้า จึงมีความดำริว่า
    "ท่านท้าวสักกะผู้นี้ เป็นผู้มีความประมาทอยู่มากนัก ด้วยความรักใคร่พอใจในไพชยนตปราสาทอันเป็นสมบัติแห่งตน ถ้ากระไร ในบัดนี้ เราควรจะให้ท่านท้าวสักกะบังเกิดความสังเวชบ้างเถิด"
    ครั้นดำริฉะนี้ สาวกสมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ ก็บันดาลอิทธาภิสังขาร
    เอาหัวแม่เท้ากดไพชยนตปราสาทเขย่าให้สะท้านหวั่นไหว ในทันใดนั้นเป็นอัศจรรย์ ท่านท้าวสักกะจอมเทพเจ้าของปราสาทพิมาน และท่านท้าวเวสสุวัณมหาราช พร้อมกับมวลเทพยดาชาวดาวดึงส์ เมื่อเห็นไพชยนตปราสาทอันมั่นคงใหญ่โตบังเกิดความหวั่นไหว ด้วยอำนาจฤทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเช่นนั้นก็พลันเกิดความประหลาดมหัศจรรย์จิต กล่าวแก่กันว่า
    "นี่เป็นความประหลาดมหัศจรรย์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นเจ้ามีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพียงเอาหัวเท้ากดเท่านั้น ปราสาททิพยพิมาน ก็สั่นสะท้านหวั่นไหวได้ โอ ไพชยนตปราสาท ตกอยู่ในความแปรปรวน ไม่วิเศษเที่ยงแท้ยั่งยืนหนอ"
    ครั้นเห็นสมเด็จท้าวโกสีย์ มีความสลดจิตขนลุก เกิดความสังเวชสมเจตนาแล้ว องค์อรหันต์ผู้วิเศษก็เริ่มกล่าวธรรมีกถากับพระองค์อยู่ชั่วครู่ แล้วก็ถวายพระพรอำลากลับมายังมนุษย์โลกเรานี้ตามเดิม เมื่อท่านพระมหาโมคคัลลานะกลับมาแล้ว เหล่าเทพธิดาผู้เป็นบริวารของท่านท้าวสักกะในไพชยนตปราสาทนั้นได้ทูลถามพระองค์ขึ้นว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ! พระสมณะนั้น เป็นองค์พระโลกุตมาจารย์ ผู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงเคารพบูชาใช่หรือไม่"
    "มิใช่" ท้าวสหัสนัยน์ตรัสตอบ "พระสมณะรูปนั้น มิใช่สมเด็จพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระบรมศาสดาของเรา แต่ท่านมีนามว่าพระมหาโมคัลลานะองค์อรหันต์สาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสเป็นอย่างมากแห่งเราเหมือนกัน"
    เทพธิดาเหล่านั้น จึงพากันกล่าวสรรเสริญว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ! เป็นลาภของพระองค์นักที่ได้เคารพบูชาพระสมณะผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ และสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนี คงจักทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเป็นอัศจรรย์กว่านี้เป็นแน่"
    กล่าวสรรเสริญดังนี้แล้ว ก็มีใจผ่องแผ้วระลึกถึงคุณแห่งพระรัตนตรัยแล้วก็พากันไปเที่ยวเล่นสนุกในสวนสวรรค์พอควรแก่การแล้ว ก็กลับมาเสวยสุขอยู่ ณ ไพชยนตปราสาทนั้นอย่างแสนจะสำราญเป็นนักหนา


    สวนสวรรค์

    เมื่อจะกล่าวถึงทิพยสมบัติ อันปรากฏมี ณ แดนสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์นี้นอกจากไพชยนตปราสาทพิมานดังพรรณนามาแล้ว ก็ยังมีทิพยสมบัติอันประเสริฐอีกมากมายหลากหลายนัก ทั้งนี้ก็เพราะว่าสรวงสวรรค์ชั้นนี้ เป็นที่สถิตอยู่แห่งเทพบุตรเทพธิดาผู้มีบุญญาธิการเป็นจำนวนมาก ทั้งท่านท้าวสักกะจอมเทพผู้เป็นประธานาธิบดีแห่งเหล่าเทพยดาทั้งหลาย พระองค์ก็ทรงไว้ซึ่งบุญสิริมีบุญญานุภาพมากมาย ทรงมีกมลหฤทัยฝักใฝ่ในการอันเป็นบุญกุศลอยู่เนืองนิตย์ ทรงขวนขวายในกิจอันเป็นอัตหิตประโยชน์และปรหิตประโยชน์อยู่เสมอ ในเมื่อเทพยเจ้าทั้งปวง ต่างก็มีบุญญาธิการเป็นอันมากเช่นนี้ แดนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จึงเจริญรุ่งเรือง มีชื่อเสียงเลื่องลือเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์ รู้กันว่าเป็นแดนที่อยู่อันแสนจะสนุกเป็นสุขสำราญ เป็นสถานที่อันรื่นรมย์น่าชมน่าเที่ยวน่าทอดทัศนา ฉะนั้น จึงปรากฏว่า โยคีฤาษีสิทธิทั้งหลายผู้ได้ฌานอภิญญาก็ดี หรือแม้แต่พระอริยเจ้าในพระบวรพุทธศาสนาผู้ได้บรรลุอภิญญาประกอบด้วยอริยฤทธิ์ก็ดี ย่อมถือโอกาสมาเที่ยวชมแดนสรวงสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์นี้อยู่เสมอ ๆ บรรดาทิพยสมบัติอันมีปรากฏอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอยู่ทั่วไปก็คือ สวนสวรรค์อุทยานทิพย์ ในสวรรค์ชั้นนี้ มีอุทยานทิพย์อยู่มากมาย เมื่อจะนับแต่อุทยานใหญ่ ๆ มีชื่อเสียง ก็มีอยู่ ๔ อุทยานคือ
    ๑. นันทวันอุทยานทิพย์ ตั้งอยู่ในด้านทิศตะวันออก แห่งดาวดึงส์แดนสวรรค์
    ๒. จิตรลดาวันอุทยานทิพย์ ตั้งอยู่ในด้านทิศตะวันตก แห่งดาวดึงส์แดนสวรรค์
    ๓. สักวันอุทยานทิพย์ ตั้งอยู่ในด้านทิศเหนือ แห่งดาวดึงส์แดนสวรรค์
    ๓. ปารุสกวันอุทยานทิพย์ ตั้งอยู่ในด้านทิศใต้ แห่งดาวดึงส์แดนสวรรค์
    สวนขวัญอุทยานทิพย์เหล่านี้ เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ สวยสดงดงามน่าสนุกสนาน จะหาที่เปรียบปานในมนุษย์โลกเรานี้มิได้เลย เพราะเป็นอุทยานทิพย์ในสรวงสวรรค์ เต็มไปด้วย สรรพรุกขชาตินานาพรรณ นอกจากนั้นก็มีสระโบกขรณีอันเป็นทิพย์ มีน้ำใสดังแผ่นแก้วและดูรุ่งเรืองน่ารื่นรมย์ และมีปาสาณศิลาคือก้อนหินศิลาล้วนแต่เป็นทิพย์ มีรัศมีสวยรุ่งเรืองเลื่อมประภัสสรมีแท่นที่นั่งเล่นอันอ่อนนุ่ม มีสีขาวสะอาดดุจดังใครมาแสร้งวาดไว้ให้พิจิตรสวยงาม ฝูงเทพบุตรเทพธิดาผู้มีความสุขทั้งหลาย ย่อมพากันมาเล่นสนุกเป็นที่สุขใจเริงสราญ ในสวนสวรรค์อุทยานทิพย์เหล่านี้เป็นเนืองนิตย์มิได้ขาดเลย


    พระเกศจุฬามณีเจดีย์

    ณ เบื้องสวรรค์เมืองฟ้าชั้นดาวดึงส์นี้ มีสถานที่สำคัญที่สุดอยู่แห่งหนึ่ง สถานที่ที่ว่านี้ก็คือ "พระจุฬามณีเจดีย์" ก็อันว่าพระจุฬามณีเจดีย์เจ้านี้ เป็นเจดีย์ที่ทรงสัณฐานใหญ่ ทรงไว้ซึ่งความประเสริฐวิเศษเป็นมโหราฬิกและศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่ในทิศอาคเนย์ คือทิศตะวันออกเฉียงใต้ แห่งไตรตรึงษ์เทพนคร องค์พระเจดีย์เจ้านั้นแลดูสวยสดงดงามมีรัศมีรุ่งเรืองนักหนา เพราะว่าสร้างด้วยแก้วอินทนิลอันเป็นทิพย์ ตั้งแต่กลางถึงยอดพระเจดีย์เจ้านั้นทำด้วยสุวรรณทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ผุดผ่อง และประดับไปด้วยสัตตพิธรัตนะคือแก้ว ๗ ประการ ส่วนสูงทั้งหมดเมื่อกำหนดนับได้ ๘๐,๐๐๐ วา มีปราการกำแพงทองคำเนื้อแท้ล้อมรอบทุกด้านเป็นจตุรทิศ กำแพงแต่ละทิศนั้น มีความยาวนับได้ ๑๖๐,๐๐๐ วา มีธงประดับนานาชนิดมีสีสันแตกต่างกัน บ้างเหลือง บ้างแดง บ้างขาว บ้างเขียว แลดูงดงามสลับสลอนพรรณรายนักหนา ฝูงเทพยดาทั้งหลาย บางพวกบางหมู่ถึงเครื่องดีดสีตีเป่าสังคีตสรรพดุริยางค์ต่าง ๆ มาบรรเลงถวายบูชาพระเจดีย์เจ้านั้นทุกวันมิได้ขาด
    ด้วยว่า พระเกศจุฬามณีเจดีย์ อันสถิตประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องสรวงสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ที่เรากำลังกล่าวถึงกันอยู่นี้ เป็นที่บรรจุสิ่งสำคัญอันหาค่ามิได้ไว้ถึง ๒ อย่างด้วยกันคือ
    ๑. พระเกศโมลี แห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีประวัติความเป็นมาว่า กาลเมื่อพระพุทธองค์เจ้า เสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ คือออกบรรพชา ครั้งนั้น พระองค์ทรงตัดมวยพระโมลีแล้ว ทรงอธิษฐานว่า "ถ้าจะได้ตรัสรู้แก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้มวยพระเกศโมลีจงลอยขึ้นไปบนนภากาศเถิด อย่าได้ตกลงมาสู่พื้นปฐพีเลย" คราทีนั้น สมเด็จพระอมรินทราราช จึงทรงนำผอบทองคำมารองรับพระเกศโมลีนั้น แล้วทรงนำขึ้นมาบนดาวดึงส์สวรรค์ สร้างพระเจดีย์นี้สำหรับบรรจุพระโมลีนั้น
    ๒. พระบรมธาตุเขี้ยวแก้วเบื้องขวาแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีประวัติความเป็นมาว่า เมื่อครั้งถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแห่งองค์สมเด็จพระสุคตเจ้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะที่ท่านโทณพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แบ่งพระธาตุเปิดรางทองคำออกนั้น เหล่ากษัตริย์ทั้งหลาย บรรดาที่จะได้รับส่วนแบ่ง ได้พร้อมกันมาประทับยืนอยู่ใกล้
    ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นพระบรมธาตุอันมีสีเหมือนทองคำ ต่างองค์ต่างก็ร่ำไห้รำพันอาลัยรักในสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าว่า
    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคสัพพัญญูเจ้า ! เมื่อกาลก่อน ข้าพระบาททั้งหลายได้เคยยลพระสรีระแห่งพระองค์ อันทรงไว้ซึ่งพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีพระฉัพพรรณรังสีรุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ แต่มากาลบัดนี้ ควรฤามามีเพียงพระธาตุต่างพระพักตร์ ไม่สมควรแก่พระองค์เลย"
    ฝ่ายโทณพราหณ์ผู้ทำหน้าที่ใหญ่ ครั้นเห็นกษัตริย์เหล่านั้น พิลาพร่ำถึงพระบรมครูอยู่ดังนั้น ก็พลันฉุกคิด จึงแยกพระเขี้ยวไว้เสียต่างหากจากพระบรมสารีริกธาตุส่วนอื่นแล้วเก็บไว้ในผ้าโพกศรีษะแห่งตน แล้วสาละวนในการจัดแบ่งพระบรมธาตุออกเป็น ๘ ส่วน เพื่อถวายกษัตริย์เหล่านั้นต่อไป กล่าวฝ่ายสมเด็จพระอมรินทราธิราชจอมเทพผู้มีความเลื่อมใสในพระสัพพัญญูเจ้าอย่างลึกซึ้ง ได้เสด็จมาสังเกตการณ์อยู่ด้วยพระทัยประสงค์จะได้พระบรมธาตุเหมือนกัน ครั้นทรงเห็นพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาอันประเสริฐเช่นนั้น เจ้าสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ ก็อัญเชิญพระบรมธาตุจากผ้าโพกศีรษะของพราหมณ์เฒ่านั้น ลงสู่ผอบทองคำทิพย์อีกทอดหนึ่ง ด้วยกิริยาอันเลื่อมใสยิ่ง แล้วรีบเสด็จเอามาประดิษฐานบรรจุไว้ ณ พระเกศจุฬามณีเจดีย์นี้
    เมื่อพระเกศจุฬามณีเจดีย์ บรรจุซึ่งสิ่งสำคัญอันหาค่ามิได้ไว้ถึง ๒ อย่างดังนี้ ฉะนั้น จึงปรากฏว่าเหล่าเทพยดาทั้งหลาย ต่างก็มีความเลื่อมใสเคารพบูชาในองค์พระมหาเจดีย์เจ้านี้เป็นยิ่งนัก สำหรับองค์ท้าวสักกะจอมเทพนั้น แทบจะมิต้องกล่าวถึงก็ได้ว่าพระองค์ทรงมีประปสาทเลื่อมใสเพียงใด ทุกวารวัน พระองค์พร้อมด้วยเทพบริวารทั้งหลาย มีพระหัตถ์ถือดอกไม้ธูปเทียนของทิพย์สุคนธชาติไปถวายบูชาพระเจดีย์เจ้าแล้ว ทรงกระทำประทักษิณเวียนรอบเสมอเป็นนิตยกาลนอกจากนั้นแล้ว เทพเจ้าทั้งหลายผู้สถิตอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นอื่น ๆ เช่นท่านท้าวจาตุมหาราชแห่งสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิและเหล่าเทพยดาในสวรรค์ชั้นสูงคือชั้นยามา ชั้นดุสิตสวรรค์ เช่นพระศรีอารยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์เป็นต้น ต่างก็พากันมานมัสการบูชาพระเจดีย์เจ้านี้เสมอมิได้ขาด


    ปาริชาติ

    นอกเหนือไตรตรึงษ์เทพนคร ออกไปทางทิศอีสานคือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุทยานทิพย์อยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีนามปรากฏว่า "ชื่อว่า "ปาริชากัลปพฤกษ์" และใต้ต้นไม้ทิพย์นั้น มีแท่นศิลาแก้วอันหนึ่ง ซึ่งปรากฏปุณฑริกวัน" เป็นสวนขวัญอุทยานทิพย์มีบริเวณกว้างใหญ่ยิ่งนัก มีกำแพงล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน กลางสวนนั้นมีไม้ทองหลางใหญ่อันเป็นทิพย์อยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นไม้ทิพย์อันปรากฏมีชื่อเสียงเลื่องลือโดยนามว่า "บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์" เป็นแท่นทิพย์มีสีแดงดังดอกชบา และมีลักษณะอ่อนนุ่มดังผ้าฟูกหรือหงอนแห่งพญาราชหงส์ทอง เมื่อสมเด็จพระอมรินทราธิราชประทับนั่งพักผ่อนพระอิริยาบถอยู่เหนือแท่นศิลานี้แล้ว แท่นศิลาอันเป็นทิพย์ประเสริฐนี้ ก็จะมีลักษณะการอ่อนยุบลงไป และเมื่อพระองค์เสด็จลุกขั้น แท่นศิลานี้ก็จะฟูขึ้นเต็มตามเดิม เป็นแท่นศิลาที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์เพราะยุบลงได้และฟูขึ้นได้เองโดยธรรมชาติอย่างนี้ตลอดกาล
    ส่วนไม้ปาริชาตินั้น ต่อกาลนับได้ ๑๐๐ ปี จึงมีดอกบานครั้งหนึ่ง และเมื่อถึงคราวดอกไม้สวรรค์นี้จะบาน ฝูงเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย ต่างก็พากันรื่นเริงยินดีเป็นนักหนา ย่อมผลัดเปลี่ยนเวรเวียนกันอยู่เฝ้า จนกว่าดอกไม้นั้นจะบาน ครั้งดอกไม้สวรรค์นั้นบานแล้ว ย่อมปรากฏมีแสงอันรุ่งเรืองงดงามนักหนารัศมีแห่งดอกปาริชาตนั้น ย่อมเรือง ๆ ไปไกลได้หลายหมื่น เมื่อลมรำเพยพัดพาไปทางทิศใด ย่อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทางทิศนั้น เป็นระยะไกลสุดไกล เพราะมิใช่ดอกไม้ดอกเดียว โดยที่แท้เป็นดอกไม้หลายหลากนักหนา บานสะพรั่งตลอดหมดทั้งต้นทุกกิ่งทุกก้าน ฝูงเทพยดาทั้งหลายเมื่อต้องการดอกไม้นั้น ก็มิพักต้องขึ้นไปสอยไปเก็บให้เหนื่อยยาก หากแต่เพียงแต่เข้าไปใต้ต้น ดอกปาริชาตนั้น ก็จะหล่นตกลงมาถึงมือเอง ประดุจดังจะรู้จิตใจของเขา ถ้าเขายังทันได้รับก่อนแล้วไซร้ดอกไม้สวรรค์ก็หาพลันตกลงถึงพื้นไม่ เพราะมีลมชนิดหนึ่ง พัดชูดอกไม้นั้นเข้าไว้บนอากาศมิให้ตกถึงพื้น จนกว่าเทพยดาผู้ต้องประสงค์นั้น จะรับเอา เพื่อความเข้าใจดีในเรื่องนี้ พึงทราบจากพระพุทธฎีกา อันมีปรากฏในปาริฉัตตกสูตร<SUP>๒</SUP> ดังต่อไปนี้ว่า
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! สมัยใด ปาริชาตกัลปพฤกษ์แห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์มีใบเหลือง สมัยนั้น เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างพากันดีใจว่า "เวลานี้ต้นปาริชาตกัลปพฤกษ์มีใบเหลืองแล้ว อีกไม่นานเท่าไร ก็จักผลัดใบใหม่"
    สมัยใด ปาริชาตกัลปพฤกษ์แห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ผลัดใบใหม่ สมัยนั้นเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็พากันดีใจว่า "เวลานี้ต้นปาริชาตกัลปพฤกษ์กำลังผลัดใบใหม่แล้ว อีกไม่นานเท่าไร ก็จักผลิดอกออกใบ"
    สมัยใด ปาริชาตกัลปพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ผลิดอกออกใบแล้ว สมัยนั้น เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็พากันดีใจว่า "เวลานี้ ต้นปาริชาตผลิดอกออกใบแล้ว อีกไม่นานเท่าไร ก็จักเป็นดอกเป็นใบ"
    สมัยใดปาริชาตกัลปพฤกษ์ของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นดอกเป็นใบแล้ว สมัยนั้น เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ก็พากันดีใจว่า "เวลานี้ ปาริชาตกัลปพฤกษ์เป็นดอกเป็นใบแล้ว อีกไม่นานเท่าไร ก็จักเป็นดอกตูม"
    สมัยใด ปาริชาตกัลปพฤกษ์ของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นดอกตูมแล้ว สมัยนั้น เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ต่างก็พากันดีใจว่า "เวลานี้ปาริชาตกัลปพฤกษ์ออกดอกตูมแล้ว อีกไม่นานเท่าไร ก็จักเริ่มแย้ม"
    สมัยใด ปาริชาตกัลปพฤกษ์ของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์เริ่มแย้มแล้ว สมัยนั้น เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ต่างก็พากันดีใจว่า "ปาริชาตกัลปพฤกษ์เริ่มแย้มแล้ว อีกไม่นานเท่าไร ก็จักบานเต็มที่"
    สมัยใด ปาริชาตกัลปพฤกษ์ของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์บานเต็มที่แล้ว สมัยนั้น เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ต่างพากันดีใจเป็นนักหนา เอิบอิ่มพรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณทั้ง ๕ บำรุงบำเรออยู่ตลอดระยะเวลา ๔ เดือนทิพย์ ณ ควงไม้ปาริชาตกัลปพฤกษ์ ก็เมื่อดอกปาริชาตกัลปพฤกษ์บานที่นั้น จะแผ่รัศมีไปได้ ๕๐ โยชน์ในบริเวณรอบ ๆ จะส่งกลิ่นไปตามลมได้ ๑๐๐ โยชน์ อานุภาพแห่งปาริชาตกัลปพฤกษ์ มีดังนี้


    สุธรรมาเทวสภา

    ณ ที่ไม่ไกลจากปาริชาตต้นไม้สวรรค์เท่าใดนัก มีศาลาใหญ่หลังหนึ่ง ซึ่งปรากฏนามว่า "สุธรรมาเทวสภา" เป็นศาลาทิพย์อันงามตระหว่านประเสริฐนักมีปริมณฑลกว้างขวางใหญ่โต พื้นศาลานั้นแล้วไปด้วยแก้วผลึก ประดับไปด้วยสัตตพิธรัตนะแก้ว ๗ ประการ คือสุวรรณปราการกำแพงทองล้อมรอบ และ ณ ที่ใกล้กำแพงนั้น มีดอกไม้สวรรค์วิเศษอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งปรากฏนามว่า "อสาพติ" ดอกไม้ชนิดนี้ กว่าจะบานก็เป็นเวลานานนัก ครบถ้วนเวลา ๑,๐๐๐ ปี จึงจะบานสักครั้งหนึ่ง เมื่อถึงเวลาดอกไม้นี้บานแล้วย่อมจะส่งกลิ่นอบอวล หอมหวนนักหนา ฝูงเทพยดาทั้งหลาย เขาย่อมเปลี่ยนเวรกันอยู่เฝ้า ด้วยว่าเทวดาทั้งปวงนั้น เขามีจิตผูกพันรักดอกไม้เป็นยิ่งนัก
    ภายในศาลาสุธรรมา ซึ่งเป็นที่ประชุมฟังธรรมของเหล่าเทพยดาผู้สัมมาทิฐิทั้งหลายนั้น มีธรรมาสน์แก้วสวยงามวิจิตรงดงามตระการตานัก มีความกว้างใหญ่หลายวา เป็นธรรมาสน์ประจำตั้งอยู่ที่ศาลานั้น นอกจากนี้ ก็มีเทวราชอาสน์อันเป็นทิพย์ ซึ่งเป็นที่ประทับนั่งสดับธรรมของสมเด็จพระอมรินทร์จอมเทพต่อจากนั้น ก็มีเทวอาสน์ที่นั่งของเทพเจ้าผู้เป็นพระสหายของพระองค์ ต่อจากนั้นก็เป็นอาสนะที่นั่งแห่งปวงเทพเจ้าทั้งหลาย ลดหลั่นกันลงไปตามฐานานุศักดิ์ เมื่อจักพรรณนาถึงความรื่นรมย์แล้ว ภายในสุธรรมาเทวสภานี้ ย่อมมีความรื่นรมย์หาที่ใดจักเปรียบปานมิได้ อบอวลหอมหวนไปด้วยกลิ่นดอกไม้สวรรค์นานาชนิดอยู่ตลอดกาล ได้ทราบว่า สถานที่นี่ เป็นที่น่ารื่นรมย์ชวนชมกว่าแห่งอื่นในสรวงสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ ผู้ที่มีฤทธิ์วิเศษมีโอกาสไปถึงและได้เห็นมาแล้ว เมื่อมาพบเห็นที่ใดที่หนึ่งอันน่ารื่นรมย์ในมนุษย์โลกเรานี้ มักจะอุทานวาทีเปรียบเปรยว่า "รื่นรมย์เหมือนสุธรรมาเทวสภา" ด้วยประการฉะนี้


    ทางไปดาวดึงส์สวรรค์

    เมื่อได้ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ แห่งทวยเทพเหล่าชาวสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ดังกล่าวมาแล้ว ต่อไปนี้ เราก็ควรจะทราบถึงกรณีสำคัญ คือปัญหาที่ว่า "การที่จะได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา เสวยทิพย์สมบัติเป็นสุขอยู่ ณ แดนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น จักต้องทำประการใดบ้าง"
    "สร้างเสบียง" นี่คือคำตอบสั้น ๆ ง่าย ๆ โดยมีอรรถาธิบายว่า "ต้องสร้างเสบียง กล่าวคือบุญกุศล ต้องพยายามทำตนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม ห้ามตนไม่ให้ทำกรรมหยาบช้าลามก ความสกปรกแห่งกายวาจาใจอย่าให้บังเกิดมีจงอุตสาหะก้มหน้ากระทำแต่กัลยาณกรรมความดี


    ทานสูตร<SUP>๓</SUP>​

    ดูกรสารีบุตร ! ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่ง
    ทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า
    "ตายไปแล้ว เราจักได้เสวยผลทานนี้"
    แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า
    "การให้ทาน เป็นการกระทำที่ดี"
    เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดาทั้งหลายในชั้นดาวดึงส์สวรรค์


    ปุญญกิริยาวัตถุสูตร

    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา เมื่อถึงแก่กาลกิริยาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้นได้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ
    ๑. อายุทิพย์
    ๒. วรรณทิพย์
    ๓. สุขทิพย์
    ๔. ยศทิพย์
    ๕. อธิปไตยทิพย์
    ๖. รูปทิพย์
    ๗. เสียงทิพย์
    ๘. กลิ่นทิพย์
    ๙. รสทิพย์
    ๑๐. โผฏฐัพพทิพย์


    สังคีติสูตร

    เหตุที่ยกนำให้ไปอุบัติเกิด ณ จาตุมหาราชิกาสวรรค์ นอกจากที่พรรณนามาแล้วยังมีข้อความอีกประการหนึ่ง อันมีปรากฏในสังคีติสูตร<SUP>๔</SUP> ซึ่งเป็นข้อความที่พวกเราชาวพุทธบริษัท ผู้มีโอกาสดีได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาในชาตินี้ ควรจักรับทราบไว้โดยตระหนักดังต่อไปนี้
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไปและเขาได้ยินมาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่าจาตุมหาราชิกามีอายุยืน มีวรรณะงาม มากไปด้วยความสุข" ดังนี้แล้ว เขาจึงรำพึงอย่างนี้ว่า


    โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึง
    เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพเจ้าเหล่าจาตุมหาราชิกา

    เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่ต่ำมิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก็ข้อนี้แล เรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้มีทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลายความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์
    แลเห็นและเป็นที่เข้าใจกันดีแล้ว การที่จักได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณ แดนสุขาวดีดาวดึงส์สวรรค์นี้ จักต้องมีปฏิปทาเดินไปตามวิถีทางใด ในโอกาสนี้ ใคร่จักเสนอชีวประวัติแห่งมนุษย์ ผู้ตายไปผุดเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ ให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายได้ฟังไว้เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้


    จูฬรถเทพบุตร<SUP>๕</SUP>​

    ดังได้สดับมา
    ครั้งศาสนาแห่งองค์สมเด็จพระมิ่งมงกุฎกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในคลองแห่งศีล เห็นภัยในวัฏสงสาร สู้อุตสาหะก้มหน้าบำเพ็ญสมณธรรมตามกำลังศรัทธา แต่เป็นที่น่าสงสาร เพราะท่านยังมิได้มีโอกาสได้บรรลุพระอริยมรรคอริยผล ยังเป็นปุถุชนอยู่ ได้ถึงแก่มรณะตายไปตามธรรมดาแห่งสังขาร ด้วยอำนาจแห่งการรักษาศีลบริสุทธิ์ จึงไปผุดเกิดเป็นเทพบุตรสุดโสภา ณ แดนสุขาวดีดาวดึงส์สวรรค์ ได้รับความสุขหรรษาตามเทพวิสัยเป็นอันมาก เสวยทิพย์สมบัติเป็นสุขอยู่จนตราบเท่าสิ้นอายุ จึงจุติขึ้นไปอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นสูงอื่น ๆ อีก แต่เทพบุตรนั้น ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ ในสุคติภูมิเทวโลกสวรรค์เป็นเวลาช้านาน ครั้งถึงกาลที่สมเด็จพระมิ่งมงกุฎสมณโคดมบรมครูเจ้าแห่งเราทั้งหลาย ได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ประกาศพระบวรพุทธศาสนายังประชาสัตว์ให้ได้ดื่มอมตธรรมเป็นอัน มากแล้ว เทพบุตรผู้นี้จึงจุติมาปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสี ของสมเด็จพระอัสสกะราชาธิบดี ในกโปตกะนคร ครั้นประสูติจากพระครรภ์แห่งพระมารดาแล้ว พระญาติทั้งหลายได้ถวายพระนามว่า เจ้าชายสุชาตราชกุมาร
    เมื่อเจ้าชายสุชาตราชกุมาร จำเริญวัยวัฒนาการแล้ว ปรากฏว่าเป็นผู้มีบริวารมาก เป็นที่รักแห่งพระชนกพระชนนี แล้วต่อมาก็เกิดมีอันเป็น ด้วยเหตุว่าสมเด็จพระชนนีถึงแก่ทิวงคตลง สมเด็จพระราชบิดา จึงทรงตั้งนางราชกัญญาผู้หนึ่ง ซึ่งมีรูปทรงโสภาไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี ต่อกาลไม่นานนัก พระอัครมเหสีใหม่นั้นก็ประสูติพระราชกุมารองค์หนึ่ง สมเด็จพระบรมกษัตริย์ แต่พอได้ทอดพระเนตรเห็นพระราชกุมารซึ่งประสูติใหม่ ก็ทรงมีพระราชหฤทัยชื่นชมยินดีเป็นยิ่งนัก จึงพระราชทานพระพรแก่พระอัครมเหสีว่า
    "ดูกรเจ้าผู้จำเริญ ! เจ้าจะปรารถนาสิ่งใด ก็จงขอสิ่งนั้นแก่เราเถิด เรายินดีจักให้เจ้าทุกสิ่งทุกประการ"
    พระอัครมเหสีสาว รับเอาซึ่งพระพรแล้ว ก็กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ! พรที่พระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานแก่ข้าพระบาทนั้น ข้าพระบาทปรารถนาเมื่อใด จักขอรับพระราชทานเอาเมื่อนั้น"
    จำเนียรกาลนานมา เมื่อเจ้าชายสุชาตราชกุมาร มีพระชันษาได้ ๑๖ ปี กำลังรุ่นดรุณวัย พระอัครมเหสีใหม่ จึงกราบทูลสมเด็จพระราชาธิบดีว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นนฤบดี ! บัดนี้ข้าพระบาท จักขอรับเอาพระพรที่พระองค์ทรงกรุณาพระราชทานให้ในวันนั้น"
    "เจ้าต้องการอะไร บอกมาเถิด เราจักให้" สมเด็จพระนฤบดีตรัสถามขึ้น
    "ขอพระองค์จงทรงยกราชสมบัติให้แก่โอรสของข้าพระบาทเถิด" นางกราบทูล
    "เอาอะไรมาพูด นางคนร้าย" พระราชาตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดัง ด้วยความไม่พอพระทัย "ในเมื่อเจ้าชายสุชาตกุมารอันเป็นโอรสองค์ใหญ่ของเรา ซึ่งทรงคุณวิเศษประดุจเทพกุมาร ยังปรากฏอยู่ เหตุไฉนเจ้าจึงมาว่าดังนี้" ตรัสด้วยพระอารมณ์ไม่ดีเช่นนี้แล้ว ก็เสด็จหลีกไป
    กาลต่อมา พระมเหสีสาวนั้น ก็กราบทูลขออยู่อย่างนั้นเนือง ๆ โดยมารู้แจ้งชัดว่าพระมหากษัตริย์แก่ชรา ทรงมีความรักใคร่หลงใหลในตนเป็นนักหนาจึงวอนว่าโดยที่มิใคร่จะเกรงพระทัยนัก ถึงกระนั้น ก็ยังไม่ได้ง่าย ๆ สมดังเจตนา อยู่มาวันหนึ่ง พระอัครมเหสีสาวโสภานั้น จึงกราบทูลขึ้นอีกว่า
    "ข้าแต่พระองค์ ! ถึงแม้ว่าพระสุชาตกุมารยังดำรงอยู่ก็จะเป็นไรไป ขอพระองค์จงทรงพระกรุณายกราชสมบัติ ให้แก่โอรสของข้าพระบาทเถิด พระเจ้าข้า เพราะพระองค์ได้พระราชทานพรให้แก่ข้าพระบาทแล้ว"
    สมเด็จพระนฤบดีอัสสกราชได้ทรงสดับเช่นนั้น ก็ให้ทรงอัดอั้นเดือดร้อน กินแหนงในพระทัยว่า
    "อาตมานี้เป็นคนใจเร็ว มิทันได้พิจารณาให้ดี มาพลั้งปากให้พรแก่นางคนนี้ ครั้งจะคืนคำก็ให้ละอายแก่ใจนัก"
    ทรงอึกอักอัดอั้นตันพระทัยอยู่ ในที่สุด ก็ทรงมีพระราชดำรัสสั่งให้พระสุชาตกุมารโอรสรักเข้ามาเฝ้าในที่รโหฐานแต่ลำพังแล้ว ตรัสเล่าเหตุทั้งปวงนั้นให้ฟังทั้งหมดแล้ว พระองค์ก็ทรงพระกันแสง น้ำพระเนตรไหลออกจากพระนัยนาซ้ายขวา ฝ่ายว่าสมเด็จพระราชุมาร เมื่อเห็นองค์ปิตุเรศทรงโศกสลดโทมนัส ก็มิอาจที่จะกลั้นน้ำพระเนตรไว้ได้ ก็ทรงพระกันแสงพลางทูลว่า
    "ขอพระบิดา จงทรงอนุญาตให้ลูกนี้ ไปในที่อื่นเถิด"
    "บิดานี้จะสร้างเมืองใหม่ให้แก่เจ้า" สมเด็จพระราชาธิบดีตรัสพร้อมกับทรงจ้องมองพระโอรสรักด้วยน้ำพระเนตรคลอหน่วย
    "ลูกมิปรารถนาจะรบกวนพระบิดาถึงเพียงนั้น ขอแต่ทรงอนุญาตให้ลูกไปตามยถากรรมก็แล้วกัน พระเจ้าข้า" ราชบุตรทูลปฏิเสธ
    "ถ้าเช่นนั้น บิดาจะให้เจ้าไปอยู่ในสำนักท้าวพระยาทั้งหลาย อันเป็นสหายแห่งบิดาก็ได้ จะเอาไหม ลูกรัก"
    "อันที่อื่นทั้งปวงนั้น ลูกมิพึงปรารถนา ลูกนี้ จักขอเจ้าไปอยู่ในอรัญราวป่าและจะขออำลาพระบิดาไปแต่บัดนี้"
    สมเด็จพระนฤบดี ได้ทรงสดับถ้วยคำปฏิเสธอย่างเด็ดเดี่ยวเช่นนั้น ก็ยิ่งทรงมีกมลสงสาร ทรงสวมกอดเอาพระราชโอรสจุมพิตกระหม่อมแล้ว จึงมีพระราชดำรัสสั่งด้วยพระสุรเสียงอันสะอื้นว่า "ถ้าบิดาหาชีวิตไม่แล้ว เจ้าจงกลับมาเอาสมบัติของบิดาในพระนครนี้เถิด" ทรงสั่งเสียพระราชโอรสรักดังนี้แล้วก็ส่งไป
    ฝ่ายเจ้าชายสุชาตราชกุมาร พอเสด็จออกจากพระบรมมหาราชวัง อันเคยอยู่เป็นสุขทุกทุกคืนวัน ก็บายพระพักตร์เข้าไปสู่อรัญป่าใหญ่ อาศัยอยู่กับพรานไพรผู้หนึ่งเที่ยวฝึกหัดยิงเนื้อในกลางป่า ตั้งพระทัยว่าจักยึดอาชีวะเป็นพรานพอเลี้ยงอาตมา พยายามลืมเสียซึ่งความหลงอันแสนจะชอกช้ำระกำทรวง
    กาลล่วงมาวันหนึ่ง พระราชกุมารผู้ตกยาก ตื่นขึ้นมาแต่เช้าตรู่ ก็ถือเอาซึ่งธนูคู่มือออกมาจากทับที่อาศัย เพื่อแสวงหามฤคชาติทั้งหลาย ครั้งนั้น ยังมีเทพเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นสหายกันกับพระราชกุมาร ได้เฝ้าติดตามอภิบาลรักษาพระราชกุมารด้วยความรักเสมอมา เมื่อเห็นเธอจะประพฤติมิจฉาอาชีวะกระทำบาปกรรม ด้วยประสงค์จะเลี้ยงชีพด้วยปาณาติบาตอันมีโทษถึงตกนรกเช่นนั้น ก็ให้หวั่นเกรงกลัวภัยในอบายแทนสหายรักเป็นยิ่งนัก ใคร่จักให้ได้สติรู้จักผิดชอบชั่วดี จึงเนรมิตตนเป็นมฤคี แล้วก็แล่นมาล่อลวงให้พระราชกุมารนั้นเห็น พรานหน้าใหม่ราชกุมาร ครั้นเห็นมิคชาติก็แล่นไล่ติดตามไป ฝ่ายมิคชาติเนื้อเนรมิตนั้น ก็แกล้งแล่นหนีไปในประเทศราวป่า จนถึงกุฎีที่อยู่แห่งพระมหาเถระองค์หนึ่ง ซึ่งมีนามว่า "พระมหากัจจายนเถรเจ้า" แล้วก็อันตรธานหายไป
    กล่าวฝ่ายพระราชกุมาร ตั้งแต่ติดตามมิคชาติมาแสนจะเหน็ดเหนื่อยนักหนา แต่คิดมานะว่าจะจับเอาเนื้อนั้นให้จงได้ จึงอุตสาหะแล่นไล่มาจนถึงที่อยู่แห่งพระมหาเถรเจ้า ไม่เห็นเนื้อจึงเที่ยวพิจารณาดู และแล้วก็เหลือบไปเห็นพระมหาเถรเจ้านั่งอยู่นอกกุฎีป่าบรรณศาลา คิดดีใจจะเข้าไปถามว่าเห็นเนื้อวิ่งผ่านมาหรือไม่ จึงเอาลูกธนูสอดไว้ในแล่งแล้วเข้าไปหาพระเถระใกล้ ๆ ฝ่ายพระเถรเจ้าของกุฎีป่าบรรณศาลา คิดดีใจจะเข้าไปถามว่าเห็นเนื้อวิ่งผ่านมาหรือไม่จึงเอาลูกธนูสอดไว้ในแล่งแล้วเข้าไปหาพระเถระใกล้ ๆ ฝ่ายพระเถรเจ้าของกุฎีป่า เมื่อพิจารณาดูก็รู้ว่าชายผู้มาหานี้มีอาชีวะเป็นพรานไพร เพราะเครื่องแต่งกายบ่งบอกว่า เป็นผู้เที่ยวแสวงหามฤดี แต่ก็ทำเป็นมิรู้ไม่ชี้ ทักถามขึ้นด้วยอัธยาศัยดีว่า
    "ตัวท่านนี้เป็นคนหนุ่มรุ่นดรุณวัย คงจะเป็นบุตรแห่งพรานไพร หรือว่าเป็นลูกท้าวลูกพระยา หรือว่าเป็นพระราชามหากษัตริย์มาประพาสป่า เพราะมีกิริยาเป็นพรานไพร มีมือถือธนูหน้าไม้ ท่องเที่ยวสันโดษเดี่ยวมา ณ ที่นี้"
    เจ้าชายสุชาตราชกุมารผู้ตกยาก เมื่อจะบอกให้แจ้งซึ่งนามและวงศ์แห่งตนจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ข้าพเจ้านี้เป็นพระโอรสแห่งพระราชอัสสกะแห่งกโปตกะนคร ข้าพเจ้าเที่ยวสัญจรมาในอรัญป่าไม้ เพื่อจะแสวงหามิคชาติและสุกรทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าผู้ชื่อว่าสุชาตกุมาร แล่นไล่เนื้อมาในอรัญในบัดนี้ และ ณ ที่นี่ แล้วไม่เห็นเนื้อที่อุตสาหะติดตามมานานนั้น กลับเห็นแต่พระผู้เป็นเจ้านั่งอยู่"
    สาวกแห่งองค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า จึงกล่าวมธุรสวาจาปราศรัยว่า
    "ดูกรพระราชกุมารผู้มีบุญเป็นอันมาก ! สภาวะที่พระองค์มาแต่ไกลก็เหมือนว่ามาแต่ที่ใกล้ เชิญบพิตรเสด็จมาข้างนี้ ขอเชิญบพิตรเสด็จมาข้างนี้ จงล้างพระบาททั้ง ๒ ให้สิ้นละอองธุลี น้ำนี้เย็นใสสะอาดจืดสนิท ตักมาแต่ลำธารซอกเขาข้างโน้น ขอบพิตรจงเสวยให้สำราญ แล้วอย่านั่งที่แผ่นดินไม่ดี จงทรงมานั่งเหนือภูมิภาคอันงามเรียบสะอาดที่อาตมภาพจัดไว้นั้นเถิด"
    พระราชกุมาร เมื่อได้รักการปราศรัยต้อนรับด้วยอัธยาศัยอันดีงามเช่นนั้นจึงยอกรขึ้นนมัสการ แล้วกล่าวว่า
    "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ! วาจาแห่งพระผู้เป็นเจ้านี้ไพเราะนัก เป็นวาจาควรที่จะยินดีฟัง เป็นวาจาที่ปราศจากโทษ เป็นวาจาประกอบไปด้วยประโยชน์ เป็นวาจานักปราชญ์อันประเสริฐ จักให้บังเกิดความสุขในทิฐธรรม จักนำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลเป็นแน่แท้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้านี้คิดว่า ถ้าหากได้อาศัยพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าก็อาจจักได้รู้ซึ่งส่วนแห่งพระธรรม อันจะนำมาซึ่งประโยชน์แก่ตนเอง ทั้งในโลกนี้และปรโลกภายภาคหน้าเป็นแน่แท้"
    พระมหากัจจายนเถรเจ้า เมื่อจักสำแดงวัตรปฏิบัติอันสมควรแก่พระราชกุมาร เพื่อให้รู้จักชั่วรู้จักดี จึงมีเถรวาทีว่า
    "ขอถวายพระพรพระราชกุมาร ! อัธยาศัยแห่งอาตมาภาพนั้นมีอยู่ว่าบุคคลใดทำปาณาติบาตเบียดเบียนสัตว์ บุคคลผู้นั้นย่อมไม่เป็นที่ชอบใจแห่งอาตมภาพ เพราะว่าบุคคลใดเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตั้งอยู่ในศีล มีอัธยาอันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับผู้ทำปาณาติบาตนั้น เป็นผู้ที่อาตมภาพชอบใจ และนักปราชญ์ทั้งหลายมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น ย่อมสรรเสริญบุคคลเช่นนั้น ขอถวายพระพร ความตายแห่งท่านใกล้เข้ามาแล้ว ยังอีกไม่ถึง ๕ เดือน ตัวท่านก็จะถึงแก่ความตายแล้วขอท่านจงเร่งแก้ไขเอาตัวรอด ให้พ้นจากทุกข์ในอบายภูมิเถิด"
    "อะไร ! พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่าอะไร ข้าพเจ้าไม่เข้าใจเลย ที่ว่าตาย ๆ นั้น ใครกันที่จะตาย"
    "ท่านนั่นแหละจะตาย" องค์อรหันต์ผู้อยู่ป่า สาวกแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวขึ้น แล้วพระผู้เป็นเจ้าผู้บรรลุอภิญญารู้เหตุการณ์ข้างหน้าได้ก็บอกแก่พระราชกุมารด้วยความกรุณาอีกต่อไปว่า "ขอถวายพระพร ! อาตมภาพพิจารณาดูด้วยญาณในอนาคต ก็เห็นว่า อายุแห่งท่านนั้น ยังอีกประมาณ ๕ เดือน ก็จะสิ้นแล้ว จึงบังเกิดความกรุณาและบอกแก่ท่านตรง ๆ ดังนี้"
    เสียววาบเข้าไปในดวงฤดี เมื่อรู้ว่าชีวิตตนจะหมดสิ้นลงไปในไม่ช้า พระราชกุมารผู้น่าสงสาร ไหนจะต้องจากเวียงวังมาอยู่ไพรกันดาร ไหนจะต้องถึงแก่กาลกิริยาตายลงเป็นซ้ำสอง ก็ให้รู้สึกหม่นหมองโศกศัลย์ในความผันผวนวิปริตแห่งชีวิตเป็นนักหนา ในที่สุด ก็กล่าวถามอย่างไร้เดียงสาว่า
    "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ที่ว่าอีก ๕ เดือนข้าพเจ้าจักตายนั้น บัดนี้ข้าพเจ้าให้หวาดหวั่นพรั่นพรึงมิปรารถนาที่จักตาย จะมีอุบายอะไรบ้างหรือไม่ จะเป็นว่าหนีไปสู่ชนบทใด หรือจะทำกิจแห่งบุรุษอย่างไร หรือจะร่ำเรียนวิทยามนต์อันใดซึ่งจะเป็นเครื่องห้ามความตายได้ ขอให้พระผู้เป็นเจ้า จงมีความกรุณาแก่ข้าพเจ้าแล้วบอกมาเถิด ข้าพเจ้าจักกระทำทั้งสิ้นทุกสิ่งทุกประการ"
    เมื่อเห็นพระราชกุมารผู้มีสันดานเป็นปุถุชนหวาดหวั่นพรั่นพรึง และถามถึงอุบายเป็นเครื่องป้องกันความตายอย่างโง่เขลาเช่นนั้น องค์อรหันต์พระมหากัจจายนะผู้มีญาณวิเศษ จึงเริ่มสำแดงพระธรรมนามมฤตยูกถา โดยใจความว่า
    ขอถวายพระพรพระราชกุมาร ! บุรุษมีวิชาการอันประกอบไปด้วยความวิเศษ และจะไปอยู่ประเทศถิ่นใด ๆ การที่เขาจะไม่แก่ไม่ตายในประเทศนั้น ๆ ย่อมจักเป็นไปมิได้ อีกประการหนึ่ง ชนทั้งหลายเหล่าใด แม้จะมีทรัพย์สมบัติและเครื่องใช้สอยเป็นอันมากก็ดี แต่การที่เขาเหล่านั้น จักรอดพ้นจากความตายย่อมจักเป็นไปมิได้ อนึ่ง ผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ เช่นเป็นบรมกษัตริย์ครอบครองราชสมบัติอันแสนประเสริฐเป็นเลิศเป็นใหญ่อยู่ในบ้านเมือง มีฤทธิ์เฟื่องฟุ้งลือขจร หมู่ดัสกรต่างเกรงกลัวยอมสยบ มีพระราชอาญาแผ่ไปร้อยโยชน์พันโยชน์ก็ดี แต่การที่เขาเป็นยอดชน จักรอดพ้นไปจากความตายนั้น ย่อมจักเป็นไปมิได้ อนึ่ง ชนผู้โลภมากทั้งหลาย อุตสาหะสะสมทรัพย์สมบัติข้าวปลาอาหารไว้ พอจะเลี้ยงผู้คนบ่าวไพร่อันมากมายได้สักเจ็ดสิบปีแปดสิบปีก็ดี แต่การที่เขาจะรอดพ้นจากความตายนั้น ย่อมจักเป็นไปมิได้เลย
    ขอถวายพระพรพระราชกุมาร ! เมื่อมฤตยูคือความตายนั้น มาประจัญหน้าเข้ากับบุคคลใดแล้ว มฤตยูนั้น ย่อมมีสภาวะเหี้ยมหาญเด็ดเดี่ยวนัก ไม่มีใครสามารถจักยังมฤตยูให้รู้แพ้แลกลับไปได้ ไม่จะด้วยทรัพย์สินเงินตราหรือวิทยาการกำลังกาย แม้ทแกล้วทหารทั้งหลาย ผู้คร่ำศึกเป็นขุนพลประกอบไปด้วยวิริยะความเพียร มีกำลังอาจสามารถที่จักเข้าผลาญผจญกับข้าศึกในสงครามครั้งสำคัญ เชื้อชาติทหารนั้นก็ย่อมจะสิ้นอายุ ชนทั้งหลายอื่นดื่นดาษ ไม่ว่าจะเป็นชาติกษัตริย์ พราหมณ์ พ่อค้าและชาวนา ตลอดจนจัณฑาลและกระยาจกก็ดี การที่จะมิรู้ตายนั้นหามิได้ หรือชนทั้งหลายจะร่ายมนต์คาถา จะว่าไปในคัมภีร์ไสยไตรเพทางคศาสตร์อาจรู้น้ำใจ อันบุคคลผู้อื่นคิดด้วยฤทธิ์วิเศษเกินคนธรรมดา แม้จะมีวิชาประเสริฐอย่างนี้ การที่จะมิรู้ตายหามิได้ พระฤาษีดาบสทั้งหลาย ผู้ระงับเสียซึ่งบาปภายนอกมีจิตอันสูงสงบด้วยการบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์ ตั้งมั่นอยู่ในตบะความเพียรเป็นนักหนา ถึงกระนั้นก็ต้องดับขันธ์สิ้นชีวา เมื่อถึงคราวที่มัจจุภัยเข้ามาประจัญ การที่คนเหล่านั้นจะมิรู้ตายนั้นหามิได้ ประการสุดท้าย พระอรหันต์ขีณาสพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้สิ้นกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาน มีสันดานปราศจากมลทินโทษโดยประการทั้งปวง หลุดล่วงจากโลกิยธรรมแล้ว ก็หาได้มีสังขารอันแคล้วจากมฤตยูไปไม่เลย ความจริงเป็นดังนี้นะ พระกุมารขอถวายพระพร
    ได้สดับเทศนามฤตยูกถากัณฑ์ใหญ่ดังนี้แล้ว พระสุชาตราชกุมาร ผู้ต้องทำนายว่าชะตาจักขาด ก็ย่อมมีจิตผ่องแผ้ว จึงค่อยเอื้อนโอฐเอ่ยขึ้นว่า
    "ข้าแต่พระคุณเจ้า ! พระคุณเจ้าเป็นนักปราชญ์ประเสริฐ กถาทั้งหลายที่สำแดงมา เป็นวาทีสุภาษิตแท้ อาจเป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้าผู้จักสิ้นอายุอีกไม่นาน บัดนี้ข้าพเจ้าถึงความมัธยัสถ์จักปฏิบัติตามคำของพระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าจงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าผู้เป็นสัตว์ผู้ยากด้วยเถิด เจ้าข้า"
    "ดูกรราชกุมาร !ท่านอย่าเข้าใจผิด คือว่าท่านอย่าได้ใส่ใจว่าจะเอาอาตมะเป็นที่พึ่ง อาตมะนี้เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธจ้า อาตมะนี้ถึงซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ทรงเป็นพระบรมไตรโลกนาถเป็นที่พึ่ง เมื่อพระราชกุมารมีความเลื่อมใส ก็จงยังใจของตนให้ถือเอาพระองค์เป็นที่พึ่งเถิด จะเกิดประโยชน์แก่ท่านเป็นหนักหนา"
    "ข้าแต่พระคุณเจ้า ! สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้เป็นพระบรมศาสดาจารย์ ทรงพระคุณอันประเสริฐ ณ บัดนี้ พระองค์ประทับอยู่ที่ใด ข้าพเจ้าจะขอไปให้ได้เห็นสักครั้งหนึ่งให้ได้ แม้จักดับขันธ์ถึงแก่ชีพิตักษัยต่อภายหลังก็หาเสียใจไม่"
    "ขอถวายพระพร ! สมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นอาชาไนยบรมไตรโลกนาถนั้น บัดนี้ เสด็จเข้าปรินิพานไปแล้ว การที่ท่านปรารถนาจักเห็นพระองค์จึงเป็นอันจนใจสุดวิสัยนัก"
    พระมหากัจจายนเถรเจ้าชี้แจงให้พระราชกุมารได้สดับดังนี้ ก็กล่าวกถาให้เธอมีจิตยินดีเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนายิ่งขึ้นแล้ว จึงแนะนำให้พระราชกุมารนั้นตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์และศีล แล้วสอนว่า
    "ขอถวายพระพรพระราชบุตร! แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จักเสด็จดับขันธปรินิพานไปแล้วก็ตาม ขอท่านจงถือเอาพระองค์ผู้เสด็จปรินิพานไปแล้วนั้นเป็นที่พึ่งแก่ท่านเถิด อนึ่ง พระธรรมเจ้าอันล้ำเลิศและพระอริยสงฆ์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ยังปรากฏมีอยู่ในโลกในกาลบัดนี้ ท่านจงถือเอาเป็นที่พึ่งอย่างสูงสุดของท่านเถิด อีกประการหนึ่ง ขอท่านจงเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลที่ตนตั้งจิตสมาทานรักษา จงงดเว้นจากปาณาติบาตและอทินนาทาน เป็นต้น ขอท่านจงอย่าประมาท อย่าให้ศีลขาดได้ จงตั้งใจถือเอาไตรสรณคมน์และศีลนี้ไว้ให้ดีนะพระราชกุมาร"
    "สาธุ เป็นพระเดชพระคุณแก่ข้าพเจ้าหาที่สุดมิได้แล้วในครั้งนี้" พระราชกุมารผู้มีกรรมรู้ตัวว่าจักต้องตาย ประณมหัตถ์ชูขึ้นเหนือเกล้า กล่าวขึ้นด้วยความตื้นตันใจ
    "ราชกุมารเอ๋ย ! เรามีความกรุณาแก่ท่าน องค์อรหันต์มองดูพักตร์แล้วกล่าวขึ้นอีกว่า "จะประโยชน์อันใดที่จะอยู่ในอรัญราวป่า อายุแห่งท่านจะยังอยู่ภายใน ๕ เดือนออก จึงจะถึงแก่ความตาย เราจะขอแนะนะให้แก่ท่าน เออ ! ท่านจงกลับเข้าสู่สำนักสมเด็จพระบิดาแล้ว จงอุตสาหะบำเพ็ญทานจำเริญซึ่งการกุศล เอาตนไปสู่สวรรค์เถิดจะดีกว่า" ว่าเท่านี้แล้ว พระมหาเถระผู้มากไปด้วยความกรุณา ก็ลุกเข้าไปในกุฎี หยิบเอาพระบรมธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มายื่นให้แก่พระราชกุมารผู้จะถึงฆาฏพลางให้โอวาทว่า "ท่านจงเอาพระบรมธาตุนี้ ไปบูชาให้จงดีเถิด" ดังนี้แล้ว ก็กล่าวปลอดจิตและเดินติดตามไปส่ง เมื่อจะพ้นบริเวณนั้น และก่อนที่พระราชกุมารผู้น่าสงสารจะนมัสการอำลาไปเป็นครั้งสุดท้าย ได้กล่าวอาราธนาพระมหาเถรเจ้าขึ้นว่า
    "ข้าแต่พระคุณเจ้า ! ข้าพเจ้านี้จักกระทำตามถ้อยคำที่พระคุณสั่งไม่ลืมเลย แต่ขอให้พระคุณเจ้าจงอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าด้วย คือว่าเมื่อข้าพเจ้าไปบ้านเมืองแล้วหากมีโอกาสดีในระยะ ๓-๔ เดือนนี้ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงกรุณาอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้า ผู้จะต้องเข้าสู่ความตายด้วยเถิด"
    กล่าวด้วยความเศร้าดังนี้แล้ว ก็ถวายนมัสการลา กระทำประทักษิณพระมหาเถระแล้ว ก็มุ่งหน้าเดินทางตรงไปยังบ้านเมือง พอมาถึงเขตพระนคร ก็เข้าไปอยู่ในสวนอุทยาน ส่งข่าวสาสน์ไปกราบบังคมทูลสมเด็จพระราชบิดาว่าตนกลับมาอีกแล้ว สมเด็จพระบรมกษัตริย์ผู้ทรงมีพระมนัสเศร้าสร้อยละห้อยหา ตั้งแต่วันที่พระสุชาตราชโอรสจากไปแล้ว เมื่อได้ทรงทราบข่าวสาสน์นั้น ก็พลันบังเกิดปิติโสมนัส จึงรีบเสด็จมาสู่สวนอุทยานพร้อมกับราชบริพารเป็นอันมากแล้ว ก็ทรงสวมกอดเอาพระราชโอรสให้สมกับที่ดวงพระหฤทัยระลึกถึงแล้วพาเสด็จเข้าสู่พระนคร ปรารถนาจะทรงกระทำพิธีราชาภิเษก ให้ครอบครองราชสมบัติ โดยมิได้ทรงกริ่งเกรงพระอัครมเหสีใหม่ผู้ต้นเรื่องหรือผู้หนึ่งผู้ใดทั้งสิ้น
    เจ้าชายสุชาตกุมาร จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า
    "ข้าแต่สมเด็จพระบิดา ! อายุของลูกนี้ยังน้อยแล้ว ยังอีก ๕ เดือนก็จักถึงซึ่งความตาย ก็อันคนที่รู้ตัวว่าจักต้องตายเช่นลูกนี้ จะประโยชน์ไยเล่าด้วยราชสมบัติ ลูกนี้จะขออาศัยอยู่ด้วยสมเด็จพระราชบิดา อาศัยสมเด็จพระราชบิดาเพียงเพื่อว่าจะก่อสร้างกองกุศลอันเป็นเสบียงสำหรับตนไปในวันข้างหน้า ลูกปรารถนาเพียงเท่านี้แหละ ขอเดชะ"
    กราบทูลเนื้อความว่าดังนี้แล้ว ก็ทรงพระกันแสงสะอื้นไห้ และทูลเหตุการณ์ทั้งหลายตั้งแต่ตนจากไปอยู่อรัญ พร้อมกับกราบทูลพรรณนาซึ่งคุณแห่งพระมหาเถระและคุณพระรัตนตรัย ให้สมเด็จพระราชบิดาทรงทราบทุกประการ
    สมเด็จพระนฤบดีได้ทรงฟัง ก็มีพระราชหฤทัยบังเกิดความสังเวชสงสารพระราชกุมารโอรสรักเป็นที่ยิ่ง และเมื่อทรงคำนึงไป ก็มีพระหฤทัยเลื่อมใสศรัทธาในพระมหาเถรเจ้าและพระไตรสรณาคมน์ พระองค์จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างพระมหาวิหารอันใหญ่แล้ว ส่งทูตทั้งหลายให้ไปอาราธนาพระมหาเถระมา
    พระมหากัจจายนเถรเจ้า เมื่อได้รับข่าวสาสน์จากทูตทั้งหลาย ก็มีใจใคร่จะอนุเคราะห์แก่สมเด็จบรมกษัตริย์และปวงมหาชน จึงรับ อาราธนาเดินทางมาสู่กโปตกะมหานครพร้อมกับทูตทั้งหลาย เมื่อมาถึงแล้ว ก็ได้รับการต้อนรับจากสมเด็จพระราชาธิบดี พร้อมกับไพร่ฟ้าคฤหบดีอย่างมโหฬาร หลังจากที่พระเถรเจ้าเข้าไปยังมหาวิหารแล้ว สมเด็จพระบรมกษัตริย์ก็ทรงอุปัฏฐากด้วยปัจจัย ๔ ตามสมควรแก่สมณวิสัย ครั้นได้สดับพระธรรมเทศนาอันพระมหาเถระแสดงแล้วก็ทรงตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์และศีล
    ฝ่ายพระราชกุมาร ผู้อันอัจจุภัยคุกคามอยู่และใกล้เข้ามาทุกเวลานาทีก็มียินดีสมาทานเอาศีลทุกวัน ตั้งมั่นอยู่ในศีล อุตสาหะบำเพ็ญทานและทำการอุปัฎฐากพระมหาเถระผู้มีคุณด้วยความคารวะเป็นอย่างยิ่ง พอถึงวันที่จะมีชีวิตอยู่ดูโลกเป็นวันสุดท้าย โดยกาลอันล่วงไป ๔ เดือนแล้ว วันนั้น พระราชกุมารมีจิตผ่องแผ้วเป็นพิเศษ เพลาเช้าเข้าไปถวายทานแก่พระมหาเถระยังมหาวิหารสมาทานศีลแล้วก็สดับพระธรรมเทศนาอันพระมหาเถระผู้มีจิตกรุณาเป็นองค์แสดงแล้วกลับพระบรมมหาราชวัง เสด็จเข้าไปยังพระแท่นที่เพื่อจะพักผ่อนพระอริยาบถอย่างสำราญ ทรงมีดวงจิตคิดถึงศีลที่ตนสมาทานอยู่ ชั่วครู่ก็ให้บังเกิดเป็นโรคลมปัจจุบัน ถึงแก่ชีพิตักษัยในขณะนั้น
    แล้วขึ้นมาอุบัติเกิดเป็นเทพบุตรสุดโสภา ณ แดนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่เรากำลังกล่าวถึงกันอยู่นี้ มีราชรถประดับไปด้วยสัตตพิธรัตนะแก้ว ๗ ประการ อันเป็นทิพย์เป็นยานพาหนะคู่บุญบารมี สถิตอยู่ ณ ปราสาทพิมานเสวยสดุดี มีเทพนารีเป็นบริวารแวดล้อมมากกว่าร้อยกว่าพัน เพราะเหตุที่เทพบุตรนั้น มีรถทิพย์เป็นยาน ฉะนั้น จึงได้รับการขนานนามว่า "จูฬรถเทพบุตร" ก็จูฬรถเทพบุตรนั้น เมื่อเสวยสุขอยู่ ณ สรวงสวรรค์ได้หน่วยหนึ่งแล้ว พิจารณาถึงเหตุที่พาให้ตนได้รับความสุข ก็รู้แจ้งเห็นอานิสงส์แห่งกัลยาณกรรมแห่งตน พร้อมกับเห็นคุณแห่งพระมหากัจจายนเถรเจ้า ด้วยจิตคิดกตัญญูรู้คุณ จึงขึ้นสู่รถทิพย์แวดล้อมไปด้วยบริวารเป็นอันมาก เสด็จเลื่อนลอยจากดาวดึงส์พิภพ มายังมนุษย์โลกเรานี้ ณ ที่กโปตกะนคร ขณะนั้น เป็นเพลาที่สมเด็จพระราชาธิบดี พระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระราชโอรสสุดที่รักด้วยเศร้าสลดพระทัยเป็นยิ่งนักพอดี จึงมีประชาชนชาวเมืองมาประชุมในที่นั่นกันอย่างคับคั่ง และพระมหากัจจายนเถรเจ้าก็อยู่ ณ สมาคมนั้นด้วย เมื่อจูฬรถเทพบุตรมาถึงแล้ว ก็ลงจากทิพยรถ เข้าไปกราบลงแทบบาททั้งสอง แล้วประคองหัตถ์ขึ้นประณมแก่พระมหาเถรเจ้านั้น
    องค์อรหันตสาวกสำคัญ แห่งองค์สมเด็จพระพิชิตมาร ผู้ได้บรรลุญาณพิเศษ เมื่อแลเห็นเทพบุตรมาประณมกรต่อพักตร์ด้วยทิพย์จักษุ จึงมีเถรวาทีไต่ถามว่า
    "พระอาทิตย์มีรัศมีเป็นอันมากสมด้วยคุณานุรูปแห่งตน มีรัศมีแผ่ไปในทวีปใหญ่ทั้งหลายและแผ่ไปบนอากาศได้ฉันใด ทิพยรถแห่งท่านนี้ มีรัศมีมากมายใหญ่ได้หลายโยชน์ฉันนั้น ทิพยรถนั้น มีธงอันแล้วไปด้วยแผ่นทอง มีงอนรถอันวิจิตรไปด้วยแก้วมณีแลแก้วมุกดาสลักเป็นดอกไม้ลดาวัลย์ เกี่ยวพันไปด้วยแก้วไพฑูรย์ และตกแต่งงดงามแล้วไปด้วยสุวรรณรัชต์มากมาย เทียมด้วยอาชาไนยสินธพชาติ เมื่อตัวท่านสถิตอยู่บนอาสนะ ณ ทิพยรถนั้น ย่อมองอาจงดงามดุจท่านท้าวโกสีย์ อาตมะขอถามท่าน อันว่ายศบริวารและสมบัติพัสถาน ทั้งนี้ ท่านได้ด้วยเหตุอันใด"
    "ข้าแต่พระผู้เจ้า ! ข้าพเจ้านี้แต่ก่อนเป็นราชบุตรนามว่า สุชาตะ คือเจ้าของร่างสรีระที่คนทั้งหลายกำลังฌาปนกิจกันอยู่ขณะนี้ พระผู้เป็นเจ้าผู้มีคุณรู้ว่าข้าพเจ้านี้จักสิ้นอายุแล้ว เอ็นดูกรุณาแนะนำแก่ข้าพเจ้าให้ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์และศีล แล้วให้พระบรมธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปบูชา ข้าพเจ้าก็อุตส่าห์สักการบูชาด้วยดอกไม้และของหอม ครั้งสิ้นชีพจากมนุษย์แล้วได้ไปบังเกิด ณ ปราสาทพิมานชั้นดาวดึงส์สวรรค์ ใกล้ ๆ กับสวนนันทวันทิพยอุทยาน อันแสนประเสริฐสนุกสนานน่ายินดี ข้าพเจ้ามาในที่นี้ เพื่อจักแสดงกตัญญูแต่พระผู้เป็นเจ้า"
    จูฬรถเทพบุตรนั้น ครั้นสำแดงซึ่งบุรพกรรมของตนแก่มหาเถรเจ้าดังนี้แล้ว ก็ถวายนมัสการอำลา กระทำประทักษิณมหาเถระ แล้วก็เข้าไปกระทำประทักษิรด้วยความเคารพแด่สมเด็จพระนฤบดีจอมคนแห่งกโปตกะนครผู้บิดาแห่งตน ทั้ง ๆ ที่องค์อภิชนนั้นไม่มีโอกาสได้เห็นตนผู้เป็นเทพแต่ประการใด แล้วก็ขึ้นสู่ทิพยรถคู่บารมี เสด็จจรลีไปยังปราสาทพิมานแห่งตน ณ ดาวดึงส์สวรรค์เทวโลก
    สรุปความว่า สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ เป็นแดนสุขาวดีที่มีเทพผู้ปกครอง ๓๓ องค์ ซึ่งมีสมเด็จพระอมรินทราธิราชทรงเป็นประธานาธิบดี ทวยเทพทั้งมวลล้วนมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสุขสำราญด้วยการเสวยทิพย์สมบัติทุกทิพาราตรีกาล เพราะความบันดาลแห่งบุญกุศลที่ตนได้สร้างเอาไว้แต่ปางก่อนย้อนมาให้ผล จึงทำให้ตนได้รับความสุขอันเป็นทิพย์เห็นปานฉะนี้ ดังนั้น ท่านที่มีปัญญาประกอบไปด้วยศรัทธาเชื่อมั่นในพระบรมพุทโธวาท มีปสาทเลื่อมใสในพระพุทธฎีกา เมื่อปรารถนาใคร่จักได้ไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดาเสวยสุขอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นนี้ ภายหลังจากที่ตนดับขันธ์สิ้นชีวีไปแล้วไซร้ ในบัดนี้ ควรจักรีบเร่งกระทำความดี ยังจิตแห่งตนให้ยินดีในการบริจาคทาน ชำระสันดานแห่งตนให้งดงามด้วยการรักษาศีลไว้ให้จงมั่นเถิด เมื่อกองการกุศลที่ตนอุตสาหะก่อสร้างไว้นั้นมีพลังเพียงพอแล้ว ก็จักเป็นแรงผลักดันให้ได้ไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณ ดาวดึงส์สวรรค์แดนสุขาวดีอย่างแน่นอน


    <HR SIZE=2><SUP>๑</SUP> มัชณิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ข้อ ๔๓๓ หน้า ๔๖๕ บาลีฉบับสยามรัฐ
    <SUP>๒</SUP> อังคุตรนิกาย สัตตกนิกาย ข้อ ๗๑ หน้า ๑๓๘ บาลีฉับบสยามรัฐ
    <SUP>๓</SUP> อังคุตรนิกาย สัตตกนิกาย ข้อ ๔๙ บาลีฉบับสยามรัฐ
    <SUP>๔</SUP> ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๑ บาลีฉบับสยามรัฐ
    <SUP>๕</SUP> ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๑ บาลีฉบับสยามรัฐ

    ที่มา : www.prasut.mbu.ac.th/ch4/phrasut-4-2-main-info.html
     
  7. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    สวรรค์ชั้นที่ ๓
    ยามาเทวภูมิ

    เทวภูมิอันดับที่ ๓ นี้ เป็นแดนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่แห่งปวงเทพยดาผู้ไม่มีความลำบาก และถึงซึ่งความสุขอันเป็นทิพย์ มีเทพผู้มเหศักดิ์ทรงนามว่าสมเด็จท้าวสุยามเทวาธิราช ทรงเป็นอธิบดีผู้ปกครอง เพราะฉะนั้น สรวงสวรรค์เช่นนี้ จึงมีนามว่ายามาเทวภูมิ ภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพอันมีท้าวสุยามเทวาธิราชทรงเป็นอธิบดี
    แดนแห่งความสุขคือเมืองสวรรค์ อันมีนามว่ายามาเทวภูมิ เป็นเทพนรกที่ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ขึ้นไปเบื้องบนไกลแสนไกล ภายในเทพนรกที่ว่านี้ ปรากฏว่ามีปราสาททอง เป็นปราสาทพิมานที่สถิตอยู่ ของเทพเจ้าเหล่าชาวสวรรค์ ชั้นยามาทั้งหลาย ก็แลปราสาทวิมานเหล่านั้น ย่อมมีสภาวะสวยงามวิจิตรตระการยิ่งกว่าปราสาทวิมานในสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์มีรัตนปราการกำแพงแก้วอันรุ่งเรืองเลือมพรรณรายล้อมรอบทุก ๆ วิมาน มีสวนอุทยานและสระโบกขรณีอันเป็นทิพย์อยู่หลากหลาย ที่ควรจะจำไว้ง่าย ๆ ก็คือในสวรรค์ชั้นยามานี้ ไม่ปรากฏมีพระอาทิตย์และพระจันทร์เลย เพราะอยู่สูงกว่าพระอาทิตย์และพระจันทร์มากมายนัก เทพยดาทั้งหลายย่อมแลเห็นแสงสว่าง ด้วยรัศมีแห่งแก้วและรัศมีที่ออกมาจากกายตัวแห่งเทพเจ้าเหล่านั้นเองการที่จักรู้วันและคืนได้นั้นย่อมรู้ได้จากบุปผชาติดอกไม้ทิตย์ ซึ่งมีอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นยามานั่นเองเป็นสัญลักษณ์ ถ้าหากว่า เห็นดอกไม้นั้นหุบลง ก็เป็นนิมิตแสดงว่า เป็นเพลาราตรี
    เหล่าเทพผู้มีบุญทั้งหลาย ผู้ได้เคยก่อสร้างกองการกุศลเอาไว้ และเดชะแห่งกุศลนั้นส่งให้มาอุบัติเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ ย่อมมีองคาพยและหน้าตางดงามรุ่งเรืองหนักหนา มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างผาสุก และจะชื่นบานสุขสำราญเทพหฤทัย เสวยสมบัติอันเป็นทิตย์ตามสมควรแก่อัตภาพ ส่วนสมเด็จท่านท้าวสุยามเทวาธิราช ผู้ทรงเป็นจอมเทพเจ้าปกครองสวรรค์ชั้นนี้เล่า พระองค์ก็ทรงมีน้ำพระทัยประกอบไปด้วยกุศลยุติธรรม ปกครองเหล่าเทพเจ้าให้ได้รับความชุ่มฉ่ำเย็นได้เสวยสุขสุดที่จะพรรณนา


    ทางไปสวรรค์ชั้นยามา

    หากจะมีปัญหาว่า
    การที่จักได้มีโอกาส ไปอุบัติเกิดเป็นเทพเจ้า เสวยทิพย์สมบัติเป็นสุขอยู่ ณ แดนสวรรค์ชั้นยามานี้ จักต้องคำประการใดบ้าง
    คำวิสัชนาก็มีว่า
    ต้องอุตส่าห์พยายามสร้างเสบียงกล่าวคือ บุคคล ต้องเป็นผู้มีกมลสันดานหนาแน่นไปด้วยกุศลสมภาร ไม่หวั่นไหวง่อนแง่นในการบำเพ็ญ เช่น ให้ทานและรักษาศีลเป็นอาทิ ทั้งนี้ ก็โดยมีพระบาลีชี้ทางไปสู่แดนสวรรค์ชั้นยามาไว้ในสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


    ทานสูตร

    ดูกรสารีบุตร ! ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า

    "การให้ทาน เป็นการกระทำที่ดี"

    (แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า)

    "บิดามารดา ปู่ ตา ยาย เคยให้
    เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี"

    เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นยามา


    ปุญญกิริยาวัตถุสูตร<SUP>๑</SUP>​

    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง แต่ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวะเลย เมื่อถึงเก่ากาลกิริยาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! ท้าวสุยามเทพบุตรจอมเทพในชั้นยามานั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ท้าวเธอจึงทรงเจริญเรืองก้าวหน้าล่วงเหล่าเทวดาชั้นยามาสวรรค์โดนฐานะ ๑๐ ประการ คือ
    ๑. อายุทิพย์
    ๒. วรรณทิพย์
    ๓. สุขทิพย์
    ๔. ยศทิพย์
    ๕. อธิปไตรทิพย์
    ๖. รูปทิพย์
    ๗. เสียงทิพย์
    ๘. กลิ่นทิพย์
    ๙. รสทิพย์
    ๑๐. โผฏฐัพะทิพย์


    สังคีติสูตร<SUP>๒</SUP>​

    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าวน้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่นั่ง ที่พัก ที่อาศัย และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป ให้เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนให้ไปโดยเขาได้ฟังมาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่ายามาสวรรค์ เป็นเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะผ่องใสงดงาม มากไปด้วยความสุข" ดังนี้แล้ว เขาจึงรำพึงอย่างนี้ว่า
    โอหนอ ! เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพวกเทพเจ้าเหล่ายามาสวรรค์เถิด
    เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นอมไปในสิ่งที่ต่ำ มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นยามานั้น ก็ข้อนี้แล เรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้ทุศีลผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จลงได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์
    จากพระสูตรต่าง ๆ ซึ่งยกมาอ้างไว้แต่โดยสังเขปนี้ ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายก็คงจะเข้าใจได้เป็นอย่างดีแล้วว่า การที่จักได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณ แดนสวรรค์ชั้นยามานี้ จักต้องมีปฏิปทาเดินไปตามวิถีทางใด ต่อไปนี้ จักนำเอาชีวประวัติแห่งมนุษย์ ผู้ตายไปผุดเกิดเป็นเทพยดาในสวรรค์ชั้นยามาเทวโลกมาเล่าให้ท่านผู้ยินดีในสุตะได้รับฟังไว้ดังนี้


    ยามาเทพบุตร

    ได้สดับมาว่า
    กาลเมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เจ้าแห่งเราทั้งหลาย ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวนาราม ใกล้เมืองราชคฤห์มหานคร ครั้งนั้น ยังมีบุตรผู้ค่อนข้างจะมีทรัพย์ผู้หนึ่ง มีจิตเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอันมาก ตั้งอยู่ในภูมิอุบาสก
    ผู้เชื่อมั่น ได้อุทิศถวายอาหารกระทำเป็นสังฆทานแก่พระภิกษุสงฆ์วันละ ๔ รูปทุก ๆ วัน ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง ประตูบ่นแห่งอุบาสกนั้น ได้ถูกปิดไว้โดยเกรงคนร้ายหัวขโมยจะเข้าไปในเพลากลางคืน พออรุณรุ่งคนในบ้านยังมิทันจะตื่นมาเปิดประตู พระภิกษุทั้งหลายผู้ได้รับนิมนต์ให้มารับสังฆทาน เมื่อถึงเห็นประตูบ้านนั้นปิดอยู่จะเข้าไปมิได้แล้ว จึงถามภรรยาตนด้วยใจเป็นห่วงว่า
    "ดูกรเจ้า ! เจ้าถวายสังฆทานแก่พระเจ้าทั้งหลายแล้วหรือ
    "วันนี้มิได้ถวาย เพราะพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมิได้เข้ามา" ภรรยาตอบ
    "อ้าว เป็นอะไรไปเล่า เหตุใดพระผู้เป็นเจ้าจึงมิได้เข้ามา" เขาถวายขึ้นด้วยความสงสัย
    ฝ่ายภรรยาจึงตอบว่า
    "ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบเหมือนกัน เป็นแต่สันนิษฐานได้ว่า เมื่อคืนนี้เราปิดประตูใหญ่หน้าบ้านด้วยเกรงว่าโจรร้ายจะเข้ามาในเพลาค่ำคืน และวันนี้ก็ต้องตื่นสายกันทุกคน พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย คงจะพากันมาแต่เช้าตาม วันนี้ตนขาดบุญไปมิได้ถวายสังฆทาน อีกประการหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ก็คงมิได้ฉันภัตตาหารเคยเมื่อเห็นประตูหับอยู่ เข้ามิได้ ก็น่าที่จะกลับไปเป็นแน่แท้"
    อุบาสกได้ฟังภรรยาว่าดังนั้น ก็บังเกิดความสังเวชสลดใจนัก เพราะตนมีสักดานสะอาดมากไปด้วยศรัทธา ครุ่นคิดกังวลใจอยู่แต่ว่า อันเป็นการขาดประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน เพราะเหตุการณ์จัญไรเพียงนิดเดียวคิดดังนี้แล้วจึงเที่ยวไปว่าจ้างบุรุษคนหนึ่ง ให้ทำหน้าที่เป็นยามผู้รักษาประตู แล้วสั่งว่า
    "ท่านจงนั่งรักษาทวารอยู่ที่นี่ ถ้าเห็นพระผู้เป็นเจ้าที่เราอาราธนาไว้ท่านมาเมื่อใด จงนิมนต์ท่านให้เข้าไปในบ้าน และช่วยจัดแจงปูลาดอาสนะ กระทำวัตรปฏิบัติพระภิกษุทั้งหลายด้วยความเอาใจใส่เถิด จะเกิดเป็นบุญแก่ตัวท่านเองด้วยเป็นนักหนา"สาธุ" บุรุษผู้รับหน้าที่เป็นทวารบาลคนเฝ้าประตูนั้น ประณมมือขึ้นรับคำสั่งด้วยดี เพราะตนเป็นคนมีสันดานดีไม่หัวดื้อ ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาก็อยู่รักษาประตูบ้านอุบาสกผู้ใจบุญ เมื่อเห็นพระภิกษุสงฆ์มา ก็ทำการต้อนรับด้วยคารวะดีอกดีใจเป็นอย่างยิ่ง นิมนต์ให้เข้าไปในบ้านแล้วช่วยจักแจงกิจต่าง ๆ ในพิธีการถวายสังฆทานจนเสร็จสิ้น กระทำวัตรปฏิบัติอยู่เนื่อง นานมาได้มีโอกาสร่วมฟังพระธรรมเทศนา ในสำนักแห่งพระภิกษุทั้งหลายผู้มารับสังฆทานในบ้านอุบาสกนั้น ก็บังเกิดศรัทธาเชื่อมั่นในกรรมและผลแห่งกรรม ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์และศีลห้า เฝ้าอุตส่าห์ปฏิบัติแก่พระสงฆ์ทั้งหลายในบ้านนายจ้างอุบาสกนั้น
    ครั้นกาลต่อมา เมื่ออุบาสกผู้ใจบุญนั้นดับขันธ์ถึงแต่ความชีพิตักษัยแล้ว เพราะเหตุที่เขามีใจผ่องแผ้ว อบรมบ่มด้วยกุศลธรรมมากมาย มีความเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา พยายามสั่งสมแต่คุณธรรมความดีตลอดชีวิต กรรมดีอันสูงส่งนั้นจึงผลิตผลเป็นแรงส่งผลักดันให้เขาได้มาเกิดเป็นเทพเจ้าชั้น ณ เบื้องสวรรค์ชั้นยามานี้มีรัศมีรุ่งเรืองโสภาพรรณ แวดล้อมไปด้วยเทพบริวาร สถิตอยู่ ณ ปราสาทพิมานอันวิจิตรตระการตา ได้รับความผาสุกด้วยการเสวยทิพย์สมบัติอันประเสริฐนักหนาตลอดเวลาได้รับแต่อารมณ์อันเลิศทุกคืนวัน
    ต่อมาอีกไม่ช้าไม่นาน ทวารบาลนายประตูนั้น ก็กระทำกาลกิริยาตายไปตามนายจ้าง แต่เพราะที่ตนมีบุญบารมีน้อยกว่า จึงไม่สามารถที่จะไปอุบัติเกิดในแดนสวรรค์ชั้นสูงเช่นเดียวกับนายได้ จะอย่างไรก็ดี ด้วยเหตุที่ได้อนุโมทนาและกระทำไวยาวัจกรรมการขวนขวายให้ความสะดวกแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลทั้งมีจิตศรัทธาเชื่อมั่นในไตรสรณาคมน์และศีลที่ตนรักษา ตั้งแต่เขาได้มาทำงานในบ้านอุบาสกนั้น ก็มีทานนิสงส์นักหนา พอเขาดับขันธ์ถึงแก่มรณกรรม เดชะกุศล นั้นก็ทำหน้าที่เป็นแรงผลักดัน ให้เขามาอุบัติเกิดเป็นเทพบุตรสุดประเสริฐ สถิตอยู่ ณ ปราสาทพิมาน ในดาวดึงส์สวรรค์เทวโลก
    คราวหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้า เที่ยวสัญจรไปในดาวดึงส์สวรรค์เทวโลก ด้วยอำนาจแห่งพระอริยฤทธิ์ แลไปเห็นวิมานอันงามตระการแห่งเทพบุตร อดีตบุรุษเฝ้ายามประตูบ้านอุบาสกผู้เพิ่งตายนั้นเข้า พระผู้เป็นเจ้าองค์อรหันต์ จึงเข้าไปถามว่า
    "วิมานนี้มีความสูงยิ่งนัก ประกอบไปด้วยเสาล้วนแล้วไปด้วยแก้วมณีมีพื้นเรียบไปด้วยแผ่นกระดาษทองอันรุ่งเรืองงดงามปรากฏ ตัวท่านผู้เป็นเจ้าของวิมานปรารถนาจักได้ซึ่งทิพย์อาหารอันใด สิ่งของทั้งหลายอันเป็นทิพย์ ก็บังเกิดมีดังความปรารถนาของท่าน อีกประการหนึ่ง วิมานนี้กึกก้องไปด้วยเสียงดุริยางค์ดนตรีทั้งหลาย รสกามคุณ ๕ ประการ ก็มีอยู่มากมายนางฟ้าทั้งหลายมีเครื่องประดับแล้วไปด้วยทอง บางนางก็ขับร้อง บางนางก็ฟ้อนรำ ยังน้ำจิตของท่านให้ยินดี สมบัติแลรัศมีอันรุ่งเรืองอยู่ ทั้งเกิดขึ้นเพราะบุญอะไร ดูกรเทพบุตรผู้มีอานุภาพมาก เราจักขอถามท่าน เมื่อท่านเป็นมนุษย์ ท่านได้ก่อสร้างกองการกุศลอย่างไร จะเป็นเพราะให้ท่านเป็นการใหญ่ หรือว่าตั้งใจรักษาเบญจศีลหรือตั้งใจสมาทานอุโบสถศีลอย่างไร สมบัติอันเป็นทิพย์ทั้งหลายจึงได้บังเกิดมีทั้งนี้ ทำให้ท่านรุ่งเรืองไปด้วยยศและรัศมีอันมากมายเห็นปานนี้"
    "อโห ! พระเดชพระคุณพระมหาโมคคัลลานะ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ"
    เทพบุตรออกนามพระเถรเจ้า พร้อมกับถวายนมัสการด้วยความเคราพเป็นล้นพ้นดุจครั้งที่ตนยังเป็นมนุษย์ แล้วกราบเรียนต่อไปว่า "ข้าพเจ้านี้หรือ คือบุรุษชราผู้เฝ้าประตูบ้านแห่งอุบาสกในเมืองราชคฤห์ผู้เป็นนาย ตายแล้วได้มาเกิดในดาวดึงส์สวรรค์นี้ ซึ่งมีอายุประมาณ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ ถ้าจะนับปีในมนุษย์แล้ว ๑๐๐ ปีจึงเป็นวันหนึ่งกับคืนในดาวดึงส์สวรรค์นี้ ข้าพเจ้าจักดำรงอยู่ในที่นี้ตลอด ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ การที่ข้าพเจ้ามีอายุทิพย์เป็นเวลานาน และมีวิมานสมบัติอันรุ่งเรือง ดังที่พระผู้เป็นเจ้าเห็นอยู่นี้ มิใช่ว่าข้าพเจ้าจักได้บริจาคทานแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลเป็นการใหญ่นั้นหามิได้ โดยที่แท้ ข้าพเจ้าผู้ซึ่งเป็นคนแก่แลยากจน ได้ทำบุญกุศลด้วยปากและน้ำใจของข้าพเจ้าเอง คือว่า เมื่อข้าพเจ้าเป็นคนเฝ้าทวารบ้านอุบาสกผู้เป็นนายอยู่นั้น ครั้นเห็นพระผู้เป็นเจ้ามาถึง ข้าพเจ้าก็กล่าวปราศรัยด้วยน้ำใจรักในพระสงฆ์เป็นอย่างยิ่งว่า
    พระผู้เป็นเจ้ามาแล้วหรือ
    พระผู้เป็นเจ้าจงนั่งเหนืออาสนะนี้เถิด
    พระผู้เป็นเจ้าค่อยสบายดีอยู่หรือ
    พระผู้เป็นเจ้าหาโรคมิได้แล้วหรือ
    กล่าวปราศรัยไปดังนี้ ด้วยน้ำจิตยินดีเลื่อมใสเต็มไปด้วยคารวะทุกขณะที่ได้พบพระภิกษุสงฆ์ แล้วช่วยจัดแจงขวนขวายในการถวายสังฆทานแห่งท่านอุบาสก ในที่สุดได้ร่วมฟังพระธรรมเทศนา ถือเอาไตรสรณาคมน์และศีลแลที่พึ่งเมื่อถึงแก่กาลกิริยาแล้วจึงได้มาอุบัติเกิด ในที่นี้ นะพระคุณเจ้าผู้เจริญ"
    พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้า ได้สดับดังนั้นแล้ว ก็กล่าวคำอำลา เพื่อท่องเที่ยวไปสถานที่อื่นต่อไป จนพอสมควรแก่กาลแล้ว จึงได้กลับมาสู่มนุษย์โลกเรานี้
    สรุปความว่า สรวงสวรรค์ชั้นยามานี้ เป็นแดนแห่งความสุขที่สถิตอยู่แห่งทวยเทพทั้งหลาย อันมีสมเด็จท้าวสุยามเทวาธิราชเป็นผู้ปกครองชาวฟ้าชั้นนี้ ล้วนมีแต่ความสุขไม่มีความลำบาก มีชีวิตอยู่อย่างสำราญชื่นบานด้วยการเสวยทิพย์สมบัติทุกทิพาราตรีกาล เพราะความบันดาลแห่งบุญกุศล ที่ตนได้ก่อสร้างเอาไว้แต่ปางก่อนย้อนมาให้ผล จึงเป็นเหตุให้ตนได้รับความสุขอันเป็นทิพย์เห็นปานฉะนี้
    ดังนั้น ท่านผู้มีปัญญาประกอบไปด้วยศรัทธาเชื่อมั่นในพระบวรพุทธศาสนา เมื่อมีความปรารถนาใคร่จะได้ไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา เสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นนี้ก่อนที่จักตายไปจากโลก ควรที่จักรีบเร่งกระทำความดี พยายามบำเพ็ญทานรักษาศีลเป็นนิตย์ มีจิตขวนขวายประพฤติตามธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงมิใช่แกล้งกระทำความดี แต่ทำด้วยดวงฤดี อันบริสุทธิ์ผ่องใส เมื่อกองการกุศลที่ตนก่อสร้างไว้มีพลังเพียงพอแล้วก็จักเป็นแรงส่งผลักดัน ให้ได้ไปอุบัติเกิดเทพยดา ณ ยามาสวรรค์แดนแห่งความสุขนี้อย่างแน่นอน


    <HR SIZE=2><SUP>๑</SUP> อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๖ หน้า ๒๔๕ บลีฉบับสยามรัฐ
    <SUP>๒</SUP> ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๑ บาลีฉบับสยามรัฐ

    ที่มา : www.prasut.mbu.ac.th/ch4/phrasut-4-3-main-info.html
     
  8. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" marginwidth="0" marginheight="0"><TBODY><TR vAlign=top><TD class=tdNorm bgColor=#f1efee align=left>
    สวรรค์ชั้นที่ ๔
    ดุสิตาเทวภูมิ

    เทวภูมิอันดับที่ ๔ นี้ เป็นแดนแห่งความสุข ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่แห่งปวงเทพเจ้าชาวฟ้าทั้งหลาย ผู้มีความยินดีและความแช่มชื่นอยู่เป็นนิตย์ โดยมีเทพเจ้ามเหศักดิ์ทรงนามว่าสมเด็จท้าวสันดุสิตเทวาธิราช ทรงเป็นอธิบดี เพราะฉะนั้นสรวงสวรรค์ชั้นนี้ จึงมีนามว่าดุสิตาเทวภูมิ ภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพ อันมีท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิราชทรงเป็นอธิบดี
    แดนแห่งความสุขเมืองสวรรค์ชั้นฟ้า อันมีนามว่า ดุสิตาเทวภูมินี้ เป็นเทพนคร ที่ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไปในเบื้องบน ไกลแสนไกล ภายในเทพนครนี้ปรากฏว่ามีปราสาทวิมานอยู่ ๓ ชนิด คือ
    ๑. รัตนวิมาน วิมานแก้ว
    ๒. กนกวิมาน วิมานทอง
    ๓. รชตวิมาน วิมานเงิน
    ปราสาทวิมานเหล่านี้ ตั้งอยู่เรียงรายมากมาย แต่ละวิมานเป็นปราสาทสวยสดงดงาม มีความวิจิตรตระการตาเหลือที่จะพรรณนา และมีรัตนปราการกำแพงแก้วล้อมรอบทุก ๆ วิมาน มีรัศมีรุ่งเรืองเลื่อมพรรณราย สวยงามยิ่งกว่าปราสาทพิมานแห่งเทพยดาในสรวงสวรรค์ชั้นยามาภูมิ นอกจากนั้น ณ สถานที่ต่าง ๆ ในเทวสถานชั้นนี้ ยังมีสระโบกขรณีและอุทยานอันเป็นทิพย์ สำหรับเป็นที่เที่ยวเล่นให้ได้ความชื่นบานเริงสราญแห่งเทพเจ้าชาวสวรรค์ชั้นนี้มากมายนัก
    สำหรับปวงเทพเจ้าผู้สถิตอยู่ในดุสิตสวรรค์นี้นั้น แต่ละองค์ย่อมปรากฏมีรูปทรงสวยงาม มีความสง่ากว่าเหล่าเทพยดาชั้นต่ำ ๆ ทั้งมีน้ำใจรู้บุญธรรมเป็นอย่างดี มีจิตยินดีต่อการสดับรับฟังพระธรรมเทศนาเป็นยิ่งนัก ทุกวันธรรมสวนะเทพเจ้าเหล่านั้น ย่อมจะมีเทวสันนิบาตประชุมฟังธรรมกันเสมอมิได้ขาดเลย ทั้งนี้ก็เพราะเหตุที่องค์สมเด็จท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิราช จอมเทพผู้มีอิสริยยศยิ่งใหญ่ในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ ทรงเป็นเทพเจ้าผู้พหูสูตร เป็นผู้รู้ธรรมะแห่งองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอันมาก ซึ่งมีพระเทวอัธยาศัยยินดีในอันที่จะสดับธรรมเทศนา และอีกประการหนึ่ง ตามปรกติดุสิตสวรรค์นี้ เป็นที่สถิตอยู่แห่งเทพบุตรผู้เป็นโพธิสัตว์ ซึ่งมีโอกาสจักได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์สัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต เพราะฉะนั้น จอมเทพท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิบดี จึงมักมีเทวโองการ ตรัสอัญเชิญให้เทพบุตรพระโพธิสัตว์ผู้ทรงปัญญานั้นเป็นองค์แสดงธรรมดังเช่นในปัจุบันนี้ สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือปรากฏเป็นที่รู้กันอยู่ที่ไปในหมู่ชาวพุทธบริษัทว่าจักได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตอันตรกัปที่ ๑๓ แห่งภัทรกัปนี้ พระองค์ก็สถิตอยู่ ณ สรวงสวรรค์ชั้นนี้ และมักจะได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงธรรมโปรดเหล่าเทพบริษัทในดุสิตสรรค์แดนสุขาวดีนี้อยู่เสมอ นอกจากจะเป็นสรวงสวรรค์ขึ้นสำคัญ เพราะเป็นที่สถิตอยู่ แห่งปวงเทพเจ้าผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ มีจิตใจอันสูงส่งด้วยคุณธรรม และเป็นที่สถิตอยู่แห่งองค์พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายดังกล่าวมาแล้ว ในขณะนี้ แดนสวรรค์ชั้นดุสิต ยังเป็นที่สถิตอยู่แห่งเทพเจ้าองค์สำคัญซึ่งเราท่านทั้งหลายรู้จักกันดี เทพเจ้าองค์นี้ก็คือ

    สิริมหามายาเทพบุตร
    เล่ากันสืบมาว่า

    สมเด็จพระนางยาสิริมหามายาพุทธมารดาแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ผู้เป็นเอกอัครมเหสีในสมเด็จพระนฤบดีสุทโธทนะนั้น ครั้นประสูติพระอังคีรสโพธิสัตว์อันเป็นพระบรมราชโอรสได้เพียง ๗ วันเท่านั้น ก็ดับขันธ์ถึงแก่ชีพิตักษัยจากมนุษย์ขึ้นมาอุบัติเกิดเป็นเทพบุตรสุดโสภา ณ แดนดุสิตสวรรค์นี้ เสวยทิพยสมบัติมีนางเทพอัปสรมากมายเป็นบริวาร แต่จะได้ยินดีในการเสพเบญจกามคุณกับด้วยนางฟ้าเหล่านั้นก็มิได้ ในกรณีนี้หากจะมีปัญหาว่า เหตุไฉน สมเด็จพระสิริมหามายา จึงไม่อุบัติเป็นเทพธิดา เพราะพระนางทรงไว้ซึ่งสตรีเพศ เหตุใดจึงได้ไปบังเกิดเป็นเทพบุตร ดูน่าสงสัยเป็นนักหนา คำวิสัชนาก็มีว่า เป็นวิสัยธรรมดาแห่งพระพุทธชนนีผู้มีบุญญาธิการ ถ้าหากว่าจะอุบัติเกิดเป็นเทพนารีทรงมีพระสิริลักษณ์อันงดงามหาที่เปรียบมิได้แล้วไซร้ เทพบุตรองค์ใดมีปฏิพัทธ์จิตคิดรักใคร่ในพระรูปพระโฉม กำเริบด้วยราคะดำฤษณา ก็จักบังเกิดเป็นโทษแก่เทพบุตรองค์นั้นเป็นนักหนา ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระพุทธมารดาในปัจฉิมภวิกชาติจึงอุบัติเกิดเป็นเทพบุตร สถิตเสวยสุขอยู่ ณ สรวงสวรรค์ชั้นดุสิต
    ในกาลที่สมเด็จพระขนสีห์บรมไตรโลกนาถได้ทรงกระทำปาฏิหาริย์ทรมานเดียรถีย์ศาสนาต่าง ๆ ณ มิ่งไม้คัณฑามพฤกษ์สำเร็จอย่างน่าสรรเสริญแล้วในขณะนั้น พระองค์ทรงมีพระดำริว่า
    "พระสิริมหามายา ผู้เป็นพระชนนีเจ้าแห่งตถาคตนี้ มีคุณูปการะและรักใคร่ในตถาคตปานดวงฤทัย ได้ตั้งความปรารถนาเป็นมารดาแห่งตถาคตมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า จนตราบถึงบัดนี้ ก็นับเป็นเวลานานถึงแสนกัลป์ ฉะนั้นจึงควรแล้ว ที่ตถาคตจักไปแสดงธรรมโปรดสนองพระคุณในกาลครั้งนี้"
    เมื่อมีพระพุทธดำริฉะนี้แล้ว สมเด็จองค์พระประทีปแก้วจอมมุนีเจ้าจึงเสด็จขึ้นไปยังไตรตรึงษ์เทวโลก ประทับเหนือปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ภายใต้ไม้ปาริฉัตกพฤกษ์
    สมเด็จพระอมรินทรเทวาธิราช ผู้ทรงเป็นใหญ่ในแดนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้ทรงทราบข่าว จึงรีบเสด็จออกมาจากไพชยนตปราสาททิพยวิมาน แล้วมีเทวราชโองการประกาศก้องป่าวร้องแก่เหล่าเทพยดาทั้งหลายว่า
    "ดูกรท่านทั้งหลาย ผู้นฤทุกข์ ! ท่านทั้งหลายจงอย่าได้ช้า จงออกมาเถิด บัดนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จมาโปรดถึงพิภพของพวกเราแล้ว เป็นบุญลาภอันประเสริฐล้ำเลิศของพวกเราหาที่เปรียบมิได้ จงออกมาเถิด เราจะพากันไปเฝ้าและสดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาของสมเด็จพระพุทธองค์ อย่าได้ช้า"
    เทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย ได้ฟังพระสุรเสียงแห่งเทพผู้เป็นนายคือ องค์อินทร์ทรงประกาศเองเช่นนั้น ก็รีบพากันออกจากวิมานทิพย์ด้วยความดีใจ มีหัตถ์ถือดอกไม้และเครื่องสักการะของหอมมาเฝ้าแวดล้อมบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เนืองแน่น สมเด็จพระบรมครูเจ้า มีพระหฤทัยปรารถนาจักให้พระพุทธมารดาเสด็จมาสู่ที่นั่น ทรงทอดพระเนตรไปในระหว่างแห่งเทพนิกรบริษัท มิได้ทัศนาเห็นพระพุทธชนนี จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสถามองค์อมรินทราธิราชว่า
    "พระสิริมหามายา ผู้เป็นชนนีของตถาคต มิได้เสด็จมาที่นี้หรือประการใด"
    องค์ท้าวสหัสนัยน์ ได้สดับพระพุทธฏีกาที่ตรัสถามเช่นนั้น ก็ทรงทราบพระพุทธประสงค์โดยพลันว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาครั้งนี้ คงมีพระกมลประสงค์จะแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดาให้ได้บรรลุพระอริยมรรคอริยผลเป็นแม่นมั่น ครั้นทรงดำริฉะนี้แล้ว องค์ท้าวโกสีย์จึงรับเร่งเหาะไปโดยเทวฤทธิ์ ถึงภิภพดุสิตแดนสุขาวดีอันเป็นที่สถิตอยู่ แห่งพระสิริมหามายาเทพบุตรแล้ว ก็ถวายอภิวันทน์โดยเคารพและทูลว่า
    "ข้าแต่พระสิริมหามายาเจ้า ผู้เจริญด้วยสิริสวัสดิ์ ! บัดนี้ สมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เสด็จมาสู่พิภพไตรตรึงษ์แห่งข้าพระบาท ประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ปาริฉัตกพฤกษชาติ ประทับคอยท่าเพื่อจะตรัสพระธรรมเทศนา ขอเชิญพระองค์เสด็จไปเฝ้าโดยเร็วเถิด พระเจ้าข้า"
    สิริมหามายาเทพเจ้า ผู้เป็นพระพุทธชนนี ได้ทรงสดับท้าวโกสีย์ผู้เป็นจอมเทพในแดนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มากราบทูลดังนั้น ก็พลันบังเกิดความปีติตื้นตัน ตรัสถามว่า
    "ดูกรท่านท้าววชิรปาณีผู้เป็นใหญ่ ! พระบรมโอรสาธิราชของเรานั้นไซร้ ทรงพระสิริรูปโฉมเป็นประการใด ท่านได้เห็นเป็นประการใด จงรีบบอกแก่เราไปให้แจ้งในบัดนี้"
    ท้าวสักกะวชิรปาณี จึงทูลว่า
    "ข้าแต่ท่านผู้เป็นพระพุทธมารดา ! พระบรมโอรสของพระองค์นั้น จะหาผู้ใดผู้หนึ่งเปรียบปานนั้นมิได้ในไตรภพ พระสรีราพยพประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ และพระอนุพยัญชนะสมบูรณ์ทุกประการ มีพระรัศมีซ่านออกจากพระบวรกายหกประการ มีพระสุรเสียงกอปรด้วยองค์แปดประการ ไพเราะจะหาผู้จะเสมอมิได้"
    ได้ทรงสดับดังนั้น พลันพระสิริมหามายาเทพบุตร ก็ทรงพระโสมนัสว่า
    "อาตมะนี้ไปเกิดในโลกครั้งหนึ่ง ถึงบุญลาภนักหนา ชื่อว่าไม่มีใครเทียมเปรียบได้ ด้วยว่าได้เป็นพระพุทธมารดา"
    แล้วก็รีบด่วนทรงทิพยภูษา ชวนเทพอัปสรกัญญา ลงมาจากดุสิตปราสาทพิมาน มีท่านท้าวมัฆวานนำเสด็จมาในเบื้องหน้า
    ครั้นเสด็จมาถึง ได้ทอดพระเนตรเห็นองค์สมเด็จพระพิชิตมาร ก็ยิ่งตะลึงลาน ทรงพระปรีดาภิรมย์ เพลินชมพระรูปพระโฉมจนทรงลืมอาลัยในดุสิตวิมานชมพลางก็เศร้าโศกเสียพระหฤทัยว่า
    "อาตมะนี้เป็นคนบุญน้อย ประสูติสมเด็จพระพุทธองค์อันเป็นพระบวรดนัยได้ ๗ วันเท่านั้น ก็ด่วนดับขันธ์ทำกาลกิริยา มิได้เห็นพระลูกรักอันทรงบุญญาภิหาร เป็นเวลาช้านานถึงเพียงนี้ นี่ดีแต่ท้าวโกสีย์เสด็จไปบอก จึงได้มีโอกาสมาพบพระบวรโอรส"
    พระสิริมหามายาเทพบุตร ทรงพระกันแสงกำสรด แล้วก็กลับทรงพระสรวลว่า
    "อาตมะนี้ไม่ควรจะปริเทวนาการ ด้วยว่าอันผู้เกิดมาในวัฏสงสาร จะได้มีบุญญาธิการเป็นพระพุทธมารดาดังอาตมะนี้ยากนักหนา นับเป็นเวลาช้านานกว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าจักมาตรัสแต่ละพระองค์ ก็แลว่าพระพุทธมารดานั้น จะมีได้ก็แต่ผู้เดียวเท่านั้นไม่มีสอง อาตมะนี้แล ก็ได้เป็นพระพุทธมารดา ฉะนั้นควรจะถือว่า เป็นกุศลแห่งอาตมะโดยยิ่ง ได้ซึ่งมิ่งมหามงคลลาภอดูลย์ มิได้สูญเสียทีที่อาตมะอุ้มพระครรภ์มา ได้ซึ่งพระบรมโอรสอันประเสริฐ กอปรด้วยผลประโยชน์ล้ำเลิศเห็นปานดังนี้"
    ส่วนสมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระพุทธประสงค์ทรงปรารถนาจะกระทำปัจจุปการสนองคุณพระชนนีของพระองค์ จึงทรงพระพุทธจินตนาการว่า
    "พระคุณแห่งพระมารดาอันได้ทำไว้แก่ตถาคตนี้ยิ่งใหญ่สูงสุด ซึ่งจะคณนาหนากว้างแลคัมภีรภาพพ้นที่จะกำหนด และธรรมอันใดสมควรที่จะทดแทนสนองคุณพระชนนี พระวินัยปิฎกแลพระสุตตันตปิฎก อันมีพระธรรมขันธ์ปิฎกละ ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ยังน้อยเบา มิเท่าทันกับพระคุณแห่งพระพุทธชนนี เห็นมีอยู่ก็แต่พระอภิธรรมปิฎกอันมีประมาณ ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เท่านั้นที่จะเทียมทันยกขึ้นขึ้นเปรียบปูนเท่ากันกับคุณพระมารดา ก็คุณแห่งพระชนนีนั้นสูงกว้างใหญ่หนามีประมาณเท่าใด ก็แลคุณพระอภิธรรมปิฎก ก็ยกชั่งขึ้นมีความสูงกว้างใหญ่หนาและคัมภีรภาพมีประมาณเท่านั้น สมควรที่ตถาคตจะทำปัจจุปการสนองคุณพระมารดา ด้วยอภิธรรมเทศนาในกาลบัดนี้"
    ขณะนั้น สมเด็จพระจอมมุนีพุทธองค์ ทรงมีพระทัยปรารถนาจะชำระขีรมูล คือจะใช้ค่าน้ำนมของพระพุทธมารดา ในอดีตปุเรชาติทั้งหลายอันนับด้วยกัลปเป็นอันมาก มีครุวนาดุจ จะและเปลี่ยนปณีตวัตถุอันมีค่ามาก กับด้วยวัตถุที่มีค่ามากดุจกัน หรือมิฉะนั้นก็มีครุวนาดุจ จะแลกเปลี่ยนซึ่งสิ่งของอันหาค่ามิได้ กับด้วยสิ่งของอันหาค่าบ่มิได้เหมือนกันดังนั้น จึงทรงเหยียดออกซึ่งทักษิณหัตถ์ อันวิจิตรไปด้วยตาข่ายลายจักรลักษณะ จากระหว่างผ้าสังฆาฏิ ตรัสเรียกพระพุทธมารดาว่า
    "ข้าแต่พระชนนี ! พระชนนีจงมานี่ พระชนนีจงมานี่ จะทอดพระเนตรดูไปไยซึ่งสรีระรูปโฉมอันเป็นอนิจจัง พระพุทธมารดาจงมาใกล้ ๆ นี่เถิด ตถาคตจะให้ซึ่งขีรมูลแลโปสาวนิกมูล ใช้ค่าน้ำนมและข้าวป้อนของพระมารดา อันเลี้ยงดูตถาคตมาด้วยความเหนื่อยยาก แต่อเนกอนันตชาติ ในอดีตภพนานนักหนา"
    พระสิริมหามายาเทพบุตรได้ทรงสดับก็ได้พระสติ เสด็จเข้ามาใกล้ประทับนั่งข้างหน้า เป็นประธานแห่งหมู่เทพยดาทั้งหลาย ตั้งพระทัยที่จักสดับพระธรรมเทศนา สมเด็จพระบรมโลกุตมาจารย์ ก็โปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาพระสัตตปกรณาภิธรรมทั้ง ๗ พระคัมภีร์ ครั้นได้สดับพระธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์จบลง องค์พระสิริมหามายาเทพบุตรผู้พระพุทธชนนี ก็ได้สำเร็จพระโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา แล้วเสด็จกลับไปเสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุข ณ ปราสาทพิมานแห่งตน ในแดนสวรรค์ชั้นดุสิต แม้ทุกวันนี้ก็ยังเสวยสุขอยู่อย่างชื่นบานเริงสราญ ด้วยอำนาจแห่งบุญญาธิการ ที่ได้สร้างสมอบรมไว้แต่ปางบรรพ์
    จึงเป็นอันว่า เหล่าเทพเจ้าผู้มเหศักดิ์ทั้งหลาย ผู้ได้ก่อสร้างกองการกุศลเอาไว้ และด้วยเดชะแห่งกุศลนั้นเป็นแรงผลักดันส่งให้มาเกิดในสรวงสวรรค์ชั้นนี้ ย่อมมีรูปทรงวงพักตร์และสัณฐานงดงามรุ่งเรือง มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสดชื่นรื่นเริง ยิ่งกว่าเทพยดาชาวฟ้ายามาสวรรค์ทั้งหลาย ได้เสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขตามสมควรแก่อัตภาพ และสมเด็จท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิราชเจ้า ผู้ทรงเป็นเทวาธิบดีปกครองสรวงสวรรค์ชั้นนี้เล่า พระองค์ก็ทรงเป็นสัตบุรุษ มีน้ำพระทัยประกอบไปด้วยกุศลยุติธรรม ทรงปกครองเหล่าเทพเจ้าให้ได้รับความชุ่มฉ่ำเย็นใจ ได้รับความผาสุกทุกทิพาราตรีกาล

    ทางไปสวรรค์ชั้นดุสิต

    หากจะมีปัญหาว่า
    การที่จักได้มีโอกาส ไปอุบัติเกิดเป็นเทพเจ้า เสวยทิพยสมบัติเป็นสุขอยู่ ณ แดนสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ จักต้องทำประการใดบ้าง
    คำวิสัชนาก็มีว่า
    ต้องอุตส่าห์พยายามสร้างเสบียง กล่าวคือบุญกุศล ต้องมีกมลสันดานชอบสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา เพื่ออบรมปัญญาให้เจริญผ่องใส ไม่หวั่นไหวโยกคลอนในการประกอบกุศลจริต ไม่เป็นผู้มัวเมาประมาทในวัยและชีวิตของตน เร่งสร้างบุญกุศล เช่นบำเพ็ญทานและรักษาศีลเป็นเนืองนิตย์ ทั้งนี้ ก็โดยมีพระบาลีชี้ทางไปสู่แดนสวรรค์ชั้นดุสิต ไว้ในสูตรต่าง ๆ ที่ควรจักทราบดังต่อไปนี้

    ทานสูตร

    ดูกรสารีบุตร ! ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า
    "บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี
    แต่ให้ทานด้วยคิดว่า
    "เราหุงหากิน แต่สมณะหรือพราหมณ์ไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหากิน ย่อมเป็นการไม่สมควร"
    เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นดุสิต

    ปุญญกิริยาวัตถุสูตร

    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฎสงสารทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง กระทำบุญกิริยาวัตถุด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อถึงแก่กาลกิริยาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! ท้าวสันดุสิตเทพบุตร จอมเทพในชั้นดุสิตนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ท้าวเธอ จึงทรงเจริญรุ่งเรืองก้าวล่วงเหล่าเทวดาชั้นดุสิตสวรรค์ โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ
    ๑. อายุทิพย์
    ๒. วรรณทิพย์
    ๓. สุขทิพย์
    ๔. สุขทิพย์
    ๕. อธิปไตยทิพย์
    ๖. รูปทิพย์
    ๗. เสียงทิพย์
    ๘. กลิ่นทิพย์
    ๙. รสทิพย์
    ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

    สังคีติสูตร

    ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าวน้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่นั่ง ที่พัก ที่อาศัยและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป ให้เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนให้ไป โดยเขาได้ฟังมาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่าดุสิตสวรรค์เป็นเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะงาม มากไปด้วยความสุข" ดังนี้แล้ว เขาจึงจินตนาอย่างนี้ว่า
    โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพวกเทพเจ้าเหล่าดุสิตสวรรค์เถิด
    เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่ทำ มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตนั้น ก็ข้อนี้แล เรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จลงได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์
    ข้อความที่ยกขึ้นมาอ้างไว้นี้ ย่อมจักเป็นเครื่องชี้ให้เห็นอย่างแจ้งชัดว่า การที่จักได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณ แดนสุขาวดีดุสิตสวรรค์นี้ จักต้องมีปฏิปทาเป็นประการใด ในลำดับต่อไปนี้ จักขอเอาชีวประวัติแห่งมนุษย์ ผู้ตายไปผุดเกิดเป็นเทพยดาในสวรรค์ชั้นดุสิตเทวโลกมาเล่าให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายได้รับฟังไว้ดังนี้

    อนาถปิณฑิกเทพบุตร

    ได้สดับมาว่า ครั้งอดีตกาลนานมาแล้ว ในสมัยที่พระมิ่งมงกุฎปทุมุตตระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาอุบัติตรัสในโลกนี้ มีมาณพหนุ่มผู้หนึ่ง ได้เห็นองค์สมเด็จพระจอมมุนีพระองค์นั้น ซึ่งทรงตั้งอุบาสกคฤหบดีผู้หนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเลิศกว่าบรรดาทายกทั้งหลายแล้ว มีความพอใจยินดี จึงกระทำอธิการกุศลแล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น ครั้นเขาทำกาลกิริยาตายแล้ว ได้ท่องเที่ยวเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในกำเนิดแห่งเทวดาและมนุษย์ ด้วยอำนาจแห่งวัฏสงสารเป็นเวลาช้านาน ตกมาถึงสมัยที่สมเด็จพระมิ่งมงกุฎสมณโคดมบรมครูเจ้าแห่งเรา ได้เสด็จมาอุบัติตรัสในโลกในพุทธาปาทกาลนี้ มาณพหนุ่มนั้น ได้มาเกิดเป็นบุตรของท่านสุมนเศรษฐี ในพระนครสาวัตถี มีนามว่า "สุทัตกุมาร" ครั้นเจริญวัยวัฒนาการแล้ว ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเศรษฐีสืบตระกูลแทนบิดา เพราะเหตุที่ท่านสุทัตตะเศรษฐี มีทรัพย์มากและยินดีในการบริจาคทาน ให้แก่คนอนาถาทั้งหลายเป็นประจำ ชนทั้งหลายจึงขนานนามท่านเศรษฐีนั้น ให้เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา
    อยู่มาคราวหนึ่ง ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ได้บรรทุกสินค้าเต็ม ๕๐๐ เล่มเกวียนออกจากกรุงสาวัตถี มุ่งหน้าเดินทางไปยังกรุงราชคฤห์ เมื่อถึงแล้วก็นำขบวนเกวียนเข้าไปพักที่บริเวณบ้านท่านราชคหกเศรษฐี ซึ่งเป็นพี่ชายแห่งภริยาของตน ขณะนั้นราชคหกเศรษฐีได้นิมนต์พระสงฆ์ ซี่งมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธานไว้ เพื่อจักถวายอาหารบิณฑบาต จึงเร่งสั่งกำชับพวกทาสกรรมกรทั้งหลายอยู่อย่างวุ่นวาย ด้วยความเป็นห่วงเกรงว่าเจ้าพวกนั้น เขาจะแจงอาหารเพื่อถวายพระสงฆ์บกพร่องไม่เรียบร้อย อนาถบิณฑิกคฤหบดี เห็นพี่ภรรยา มีท่าทางวุ่นวายเตรียมงานใหญ่ ก็ให้มีความสงสัยว่า "เมื่อก่อนนี้พอเรามาถึง ท่านเจ้าของบ้านผู้พี่ชาย ต้องพักกิจการทั้งปวงไว้ แล้วมาต้อนรับแสดงความชื่นชมยินดีในการมาของเราทุกคราวไป แต่ครั้งนี้ เขากังวลแต่สั่งทาสกรรมกรให้จัดทำอาหาร จักมีการแต่งงานหรือการบูชายัญใหญ่ หรือเขาได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระราชาธิบดีให้มาเสวยในวันพรุ่งนี้หรืออย่างไร" พอราชคหกเศรษฐีสั่งพวกทาสกรรมกรเสร็จแล้ว ก็ออกไปต้อนรับด้วยความยินดี เช่นเคย อนาถปิณฑิกะผู้น้องเขย จึงถามว่า
    "ข้าแต่พี่ ! พี่ได้เตรียมพิธีการใหญ่ให้วุ่นวายอยู่ดังนี้ จะมีการแต่งงานหรือบูชายัญใหญ่ หรือจะมีการเลี้ยงสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินท่าน"
    "ดูกรน้องรัก ! ที่นี่ไม่มีการแต่งงาน ไม่มีการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเสวยพระกระยาหารเลี้ยง เป็นแต่ได้เตรียมการบูชาไว้ อย่างใหญ่หลวงที่สุด คือพี่ได้ทูลอาราธนาสมเด็จพระพุทธเจ้าให้พาพระอริยสงฆ์ทั้งหลายมาเสวยภัตตาหารในวันพรุ่งนี้"
    แต่พอราชคหกเศรษฐีกล่าวดังนี้ ดวงฤดีของอาคันตุกะอนาถปิณฑิกคฤหบดีนั้น ก็พลันหวั่นไหวมึนงง มิอาจจะดำรงจิตให้เป็นการปรกติได้ และโสตประสาทนั้นไซร้ ก็ให้บังเกิดมีอาการอื้ออึงอลวน จนครู่หนึ่งแล้วจึงค่อยเอ่ยปากถามขึ้นได้ว่า
    "ข้าแต่พี่ ! เมื่อตะกี้นี้พี่ว่ากระไรนะ ดูเหมือนพี่ว่า "สมเด็จพระพุทธเจ้า"มิใช่หรือ ๆว่ากระไร"
    "ถูกแล้ว" เศรษฐีพี่ภริยากล่าวซ้ำ
    "จริงฤา ที่พี่ออกนามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏขึ้นในโลกแล้วจริงฤา" อนาถปิณฑิกผู้มีวาสนากล่าวคล้ายกับไม่เชื่อหูของตนเอง
    จนกระทั่ง ราชคหกเศรษฐีออกพระนามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึง ๓ ครั้ง และกล่าวยืนยันอย่างมั่นคงว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรากฏขึ้นในโลกแล้วจริง ๆ นั่นแหละ อนาถปิณฑิกจึงได้เชื่อ และกล่าวขึ้น ทั้ง ๆ ยังไม่ได้พักผ่อนจากความเหน็ดเหนื่อยที่ต้องเดินทางรอนแรมมาแต่ไกลในขณะนั้นเองว่า
    "ข้าแต่พี่ ! เสียงว่า "สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" นี้ เป็นเสียงที่ปรากฏมีขึ้นได้ยากในโลก ข้าพเจ้าอาจจะได้เฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐสุดในขณะนี้ได้หรือไม่เล่า"
    "ไม่ได้" ราชคหกเศรษฐีบอก เพราะไม่ใช่เวลาเสียแล้ว รอเอาไว้พรุ่งนี้เถิด น้องเป็นต้องได้เฝ้าสมเด็จพระพุทธองค์เป็นแน่ ขณะนี้พักผ่อนหลับนอนให้เป็นที่สบายเสียก่อนดีกว่า เพราะนี่ก็ย่ำสนธยาแล้ว"
    ราตรีนั้น อาคันตุกะผู้มาจากแดนไกล นอนมิค่อยจะหลับลงได้ เพราะในดวงฤทัยนั้นให้พะวงอยู่แต่ว่า "พรุ่งนี้แต่เพลาเช้า เราก็จักมีโอกาสได้เฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมโลกกุตมาจารย์" คืนนั้นเขาได้ตื่นขึ้นมาเป็นครั้งที่ ๓ ในเพลาเที่ยงคืนไปแล้ว แต่เมื่อเห็นว่ายังไม่สว่างจึงกลับลงนอนอีก หลับไปได้หน่อยเดียว ก็ต้องตื่นขึ้นอีกด้วยอำนาจแห่งความใคร่ที่จักได้เห็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นกำลัง ครั้งนี้อดใจมิได้แล้ว ก็ตัดสินใจฉับพลันลงมาจากตึกชั้นแต่เพียงผู้เดียวในเพลาราตรีนั้น ออกจากบริเวณบ้านอันกว้าวใหญ่ของท่านราชคหกเศรษฐีซึ่งอยู่ในตัวเมือง จักไปยังป่าสีตวัน อันเป็นที่ประทับอยู่แห่งองค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า ที่ตนได้ข่าวเมื่อเย็นนี้
    ก็ในสมัยนั้น พระนครราชคฤห์เป็นนครหลวงใหญ่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่มากมาย เฉพาะภายในเมืองมีคนอยู่ ๙ โกฏิ และคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกตัวเมืองก็มีประมาณถึง ๙ โกฏิพอๆกัน เมื่อมีคนอยู่มากเช่นนั้น ก็ย่อมจะต้องมาการตายบ้างเป็นธรรมดา คนที่ถึงแก่มรณะในราตรีนั้น พวกญาติพี่น้องไม่สามารถที่จำนำเอาไปเผาได้ทัน เพราะเป็นเวลากลางคืน จึงนำเอาศพนั้นออกจากบ้านมาวางไว้ข้าง ๆ ทาง ด้วยตั้งใจว่าจักเผาในเวลากลางวัน และคืนนั้นก็มีคนเอาศพมาวางไว้ใกล้ทางอยู่หลายศพ
    ท่านมหาเศรษฐีต่างเมือง พอออกมาพ้นประตูเมืองเพื่อเดินทางไปยังป่าสีตวัน ในค่ำคืนอันมืดสนิทและดึกสงัดเงียบ เมื่อเขาเดินมะงุมมะงาหราออกมาด้วยความไม่ชำนาญทางเช่นนั้น พลันเท้าหนึ่งก็เหยียบเอาศพสด ๆ เข้าและอีกเท้าหนึ่งก็สะดุดศพอีกศพหนึ่ง ซึ่งมีฝูงแมลงวันแตกฮือ มีกลิ่นเหม็นอย่างร้ายกาจกระทบจมูก
    "นี่มันอะไรกัน" มหาเศรษฐีอุทานออกมาด้วยสงสัย พลางก้มหน้าลงไปเพื่อพิจารณาดู พอรู้ว่าเป็นผีตาย ท่านมหาเศรษฐีก็ใจคอหายด้วยความตกใจ จึงยืนชะงักงันอยู่ ความเลื่อมใสอุตสาหะที่จะไปเฝ้าพระสัพพัญญูเจ้าในขณะนั้นก็ลดลงไปหน่อยหนึ่ง
    "ช้างร้อย ม้าร้อย รถร้อย สาวน้อยที่ประดับประดาด้วยกุณฑลแก้วมณีอีกตั้งแสน ก็ไม่ประเสริฐดีเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการก้าวเท้าไปเพื่อเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงก้าวเดียว ไปเถิดอนาถปิณฑิกคฤหบดี ท่านจงเดินทางต่อไปอีกเถิด อย่าท้อถอย"
    เสียงประหลาดเสียงหนึ่งว่าดังนี้ แหวกม่านดำแห่งราตรีลงมาจากเบื้องบนอากาศ ซึ่งทำให้ท่านเศรษฐีแปลกประหลาดและยิ่งตกใจนัก แลเสียงนั้นดังขึ้นตั้ง ๒-๓ ครั้ง ดังนั้น ท่านอนาถปิณฑิกะผู้จะได้เฝ้าสมเด็จพระพุทธเจ้า จึงแหงนหน้าขึ้นฟ้า แล้วถามไปอย่างนั้นเองว่า
    "ท่านเป็นใคร ไฉนจึงได้รู้จักเราเล่า"
    "เราคือยักษ์ผู้เป็นสัมมาทิฐิ มีนามว่า สีวกยักษ์ มีความรักใคร่เห็นใจท่านนัก จึงคอยพิทักษ์รักษา และได้ส่งเสียงร้องมา ก็เพื่อที่จะให้กำลังใจแก่ท่านคฤหบดี การไปข้างหน้าของท่านประเสริฐ ท่านจงเดินทางต่อไปเถิด การกลับด้วยความท้อถอยศรัทธานั้นไม่ประเสริฐเลย"
    เสียงกล่าวตอบลงมาจากเบื้องบน ว่าดังนี้ ซึ่งก็ทำให้ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีมีกำลังใจเดินทางต่อไป จนกระทั่งลุถึงป่าสีตวันอันเป็นที่ประทับอยู่แห่งองค์สมเด็จพระบรมครูเจ้า พร้อมเหล่าพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย ในขณะนั้นเป็นเวลาจวนรุ่งสางสว่างแล้ว สมเด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังทรงเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ได้ทรงเห็นท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีมาแต่ไกล จึงตรัสเรียกด้วยพระพุทธอัชฌาสัยว่า
    "มาทางนี้ สุทัตตะ !"
    "อนาถปิณฑิกะผู้มิค่อยจะได้หลับได้นอนเท่าใดนักในคืนนั้น ก็พลันสะดุ้ง แต่เมื่อได้เหลือบไปเห็นพระรัศมีอันพวยพุ่งและพระวรกายอันรุ่งเรืองแห่งองค์พระสัพพัญญูเจ้า ก็เจ้าใจได้ในทันทีว่า พระองค์ผู้ทรงรัศมีประมาณวาหนึ่งนี้คือองค์สมเด็จพระโลกเชษฐ เพราะเหตุที่ทรงเรียกว่า "สุทัตตะ" อันเป็นนามเดิมของตนได้อย่างถูกต้อง จึงน้อมกายประคองอัญชลีเข้าไปหมอบลงที่เบื้องบงกชพุทธบาทอยู่ครู่หนึ่ง ด้วยความเลื่อมใสอย่างสุดซึ่งในดวงฤดี แล้วจึงมีวาจาค่อยทูลถามทั้งน้ำตาคลอด้วยปีติว่า
    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ราตรีนี้พระองค์ทรงเข้าที่บรรทมค่อยเป็นสุขดีดอกหรือ พระเจ้าข้า"
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทอดพระเนตรดูท่านคฤหบดี ด้วยพระพุทธนัยนาอันประกอบไปด้วยพระมหากรุณาใหญ่ แล้วตรัสตอบไปด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดังเสียงแห่งพระพรหมว่า
    "ดูกรอนาถปิณฑิกะ ผู้ที่ดับความร้อนหมดแล้ว ผู้ที่ไม่ติดในกามทั้งหลาย ผู้เย็นแล้ว ผู้ไม่มีอุปธิคือที่ขังทุกข์ ย่อมนอนเป็นสุขทุกเมื่อ"
    ครั้นทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้แล้ว ก็ทรงแสดงอนุปุพพีกถา และพระจตุราริยสัจให้ท่านคฤหบดีผู้มีอุปนิสัยได้สดับ แต่พอสดับธรรมีกถาอันเหมาะแก่อุปนิสัยวาสนาบารมี จากพระโอฐแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมไตรโลกนาถเจ้าจบลงแล้ว ท่านอนาถปิณฑิกก็ได้สมบัติแก้ว กล่าวคือได้ธรรมจักษุมีดวงตาปัญญาแจ่มจ้าปราศจากธุลีมลทิน สามารถเห็นนิโรธอริยสัจคือพระนิพพาน สำเร็จเป็นพระโสดาบันอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา เพราะว่าได้บรรลุพระโสดาปัตติผลในเพลาอรุณรุ่งวันนั้นเอง
    วันหลังต่อมา โสดาบันอนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้เตรียมพิธีการใหญ่จะถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระสงฆ์มีองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นประธานขึ้นที่บ้านท่านราชคหกเศรษฐี แม้ท่านผู้ราชคหกเศรษฐีผู้เป็นเจ้าของบ้าน และสมเด็จพระเจ้าพิมพิสารราชาธิบดี จะรับอาสาจัดอาหารเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์แทน เพราะเห็นว่าท่านอนาถปิณฑกะเป็นแขกต่างบ้านต่างเมือง ไม่ควรจะสิ้นเปลืองทรัพย์ค่าอาหารมากมายเช่นนั้น แต่ท่านเศรษฐีต่างเมืองผู้มีน้ำใจเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัยก็หายินยอมไม่ จัดพิธีการใหญ่เพื่อเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์มากมาย พอได้เวลาก็ใช้ให้คนไปกราบทูลเวลาอาราธนาสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามา ครั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพาพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จเข้าไปเสวย และเมื่อเสด็จจากเสวยแล้ว ท่านอนาถปิณฑิกะผู้เป็นเจ้าภาพ ได้เข้าไปหมอบแทบพระยุคลบาท แล้วกราบทูลว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระบาทขอทูลอาราธนา ขอพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ จงทรงอนุเคราะห์เพื่อการพักอยู่ตลอดไตรมาส ณ ที่กรุงสาวัตถีของข้าพระบาทเถิด พระเจ้าข้า"
    เมื่อทรงรับอาราธนา จึงมีพระพุทธฏีกาตรัสว่า
    "ดูกรคฤหบดี ! ธรรมดาว่าพระตถาคตทั้งหลาย ย่อมยินดียิ่งในสถานที่อันสงัด"
    "ข้าพระบาท ทราบเกล้าแล้ว พระเจ้าข้า"
    เขารับพระพุทธดำรัสฉะนี้แล้ว ก็ส่งเสด็จพระผู้พระภาคเจ้าไปยังสีตวันอันเป็นที่ประทับ ต่อจากนั้น ก็รีบจัดแจงกรณียกิจเกี่ยวกับสินค้าที่บรรทุกมาในเมืองราชคฤห์ จนเสด็จสิ้นแล้วจึงเตรียมเดินทางกลับกรุงสาวัตถี ในเวลาที่เดินทางกลับนั้น เมื่อถึงระยะที่พักในระหว่างทางได้ให้เงินแห่งละ ๑๐๐,๐๐๐ กษาปณ์แก่คนทั้งหลายแล้วสั่งว่า
    "พวกท่านทั้งหลายจงสร้างอาราม จงสร้างวิหาร จงให้ทาน สมเด็จพระบรมโลกุตมาจารย์สัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก เราได้ทูลอาราธนาไว้แล้ว พระองค์จักเสด็จมาตามทางนี้ ในไม่ช้านี้แหละ"
    บริจาคทรัพย์และสั่งไว้ดังนี้ทุกแห่งตลอดระยะทาง ก็ตามธรรมดา ท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีนี้ เป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นผู้มีมิตรสหายมาก มีผู้เชื่อถือถ้อยคำเพราะเป็นคนมีศีลธรรมประจำใจอยู่แล้ว ฉะนั้น พวกคนที่รับคำสั่งตลอดระยะทางก็พากันสร้างอาราม สร้างวิหาร และตระเตรียมจัดของให้ทานไว้ ตามคำของเศรษฐีผู้ใจดีอย่างเรียบร้อยทุกแห่งไป ฝ่ายท่านคฤหบดี เมื่อเดินทางกลับมาถึงกรุงสาวัตถีแล้ว ก็เที่ยวตรวจดูรอบเมืองสาวัตถี ไม่พบสถานที่ที่เหมาะใจสักแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่สมควรจะสร้างวิหาร จนกระทั่งวันหนึ่ง ได้เดินเที่ยวหามาจนถึงสวนของ "เจ้าเชตกุมาร" เห็นว่าเป็นสถานที่สมควรแก่การประทับอยู่ขององค์สมเด็จพระบรมครูเจ้า เพราะเป็นสถานที่ไม่ไกลนัก สมบูรณ์ด้วยทางไปทางมา เหมาะสมกับการที่คนทั้งหลายจะไปมาได้สะดวก กลางวันไม่มีผู้คนพลุกพล่าน กลางคืนเงียบงัด เหมาะแก่การที่จะบำเพ็ญสมณธรรม เมื่อพบสถานที่อันเหมาะใจเช่นนั้น จึงตรงเข้าไปหาเจ้าเชตกุมารแล้วขอซื้อทันที
    "ขายไม่ได้ นอกจากจะเอาเงินมาเรียงเป็นโกฏิ ๆ " ท่านเจ้าของที่กล่าวโดยไม่ประสงค์จะขาย
    "ตกลง" ท่านเศรษฐีกลับตอบสั้น ๆ โดยเชตกุมารนั้นไม่คาดฝัน แล้วกลับไปบ้านตน สั่งคนให้บรรทุกเงินเหรียญเป็นเกวียน ๆ นับเป็นเงินถึง ๑๘ โกฏิไปเทลาดจนเต็มสวน ยังเหลืออยู่เพียงที่ใกล้ซุ้มประตูเท่านั้น ก็พอดีเงินที่ขนไปเที่ยวแรกหมดลง จึงสั่งให้คนไปขนเอาเงินที่บ้านมาอีก ในขณะนั้น เจ้าเชตกุมารผู้ขายที่ จึงคิดว่า "เรื่องนี้คงจักไม่ใช่เรื่องเล็กเสียแล้ว จึงดูท่านคฤหบดีเอาจริงเอาจัง ถึงกับสละเงินมากมายเพียงนี้ สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า คงจักต้องทรงเป็นผู้มีพระคุณอันประเสริฐอย่างแน่ ๆ" ดำริฉะนี้แล้วเจ้าเชตกุมารผู้ยังไม่รู้จักสมเด็จพระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า
    "อย่าเลย ท่านคฤหบดี เท่านี้ก็พอแล้ว อย่าเอาเงินมาเรียงที่ตรงนี้เลยจงเหลือที่นี่ไว้ให้เราบ้างเถิด เราจักขอร่วมบุญกุศลกับท่านในการนี้ด้วย"
    คฤหบดีผู้มีศรัทธาใหญ่ เมื่อได้ฟังเจ้าของที่ราคาแพงว่าดังนั้น ก็พิจารณาอยู่หนึ่งเห็นว่า เจ้าเชตกุมารผู้นี้ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีคนรู้จัก มีคนนับหน้าถือตามาก จักทำให้คนทั้งหลายเกิดความเลื่อมใสในพระบรมพุทธศาสนาได้มาก ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ในการที่จะะให้คนทั้งหลายได้มีโอกาสดื่มรสอมตธรรมในวันหน้าได้อย่างหนึ่ง จึงตอบตกลงด้วยดี เจ้าเชตกุมาร ก็สั่งให้คนของตนสร้างซุ้มประตูลง ณ ที่ตรงนั้น เมื่อการชำระเงินค่าที่ด้วยวิธีแปลกประหลาดผ่านพ้นไปแล้ว อนาถปิณฑิกเศรษฐีผู้ใจผ่องแผ้ว ก็เริ่มให้นายช่างจัดการสร้างวิหาร ศาลา โรงไฟ กัปปิยกุฎี วัจจกุฎี ที่จงกลม โรงจงกรม บ่อน้ำ ศาลาบ่อน้ำ สระโบกขรณี และปะรำ จนสำเร็จเป็นวิหารใหญ่ในสถานที่นั้น ซึ่งปรากฏนามเป็นที่รู้กันทั่วไปในภายหลังว่า "วัดพระเชตวันมหาวิหาร"
    เมื่อได้จัดการตกแต่งประดับประดาพระเชตวันมหาวิหารสำเร็จเรียบร้อยลงทุนทุกประการแล้ว ท่านอนาถปิณฑิกะมหาเศรษฐีก็ส่งทูลไปทูลอาราธนาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังกรุงราชคฤห์ทันที เมื่อสมเด็จพระชินสีห์ทรงสดับคำทูลอาราธนาของทูลแล้ว ก็ทรงพาพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จมายังกรุงสาวัตถีตามเส้นทางที่ท่านเศรษฐีกำหนดไว้ จนกระทั่งมาถึงได้เสด็จเข้าสู่พระเชตวันมหาวิหาร ด้วยพระพุทธลีลาอันงามเลิศหาที่เปรียบมิได้ โดยที่พระสรีราพยพแห่งพระองค์นั้นไซร้ เปล่งปลั่งไปด้วยพระรัศมีหกประการแผ่ซ่านไปทั่วทิศานุทิศเป็นที่อัศจรรย์จิตแห่งเทพยดาแลมนุษย์ทั้งหลาย ครั้นเสด็จเข้าไปประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์เรียบร้อยแล้ว อนาถปิณฑิกะจึงหมอบลงแทบพระยุคลบาท แล้วทูลถามข้อปฏิบัติขึ้นว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระบาทจักปฏิบัติต่อวิหารนี้อย่างไร พระเจ้าข้า"
    จึงมีพระพุทธฎีกาว่า
    "ดูกรคฤหบดี ! ท่านจงถวายวิหารนี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมาจากจตุรทิศ"
    คฤหบดีผู้จิตตกกระแสพระนิพพานเป็นพระโสดาบัน จึงทูลรับว่า "พระเจ้าข้า" แล้วยื่นเมื่อจับเอาเต้าทองคำหลั่งน้ำลงไปที่พระหัตถ์แห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ แล้วกราบทูลว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระบาทขอตั้งจิตถวายพระเชตวันมหาวิหารนี้อุทิศแก่พระสงฆ์ซึ่งมาจากทิศทั้ง ๔ มีองค์สมเด็จพระชินค์พระชินสีห์เจ้าเป็นประธาน ในกาลบัดนี้พระเจ้าข้า"
    สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงรับพระวิหารแล้ว ก็ทรงอนุโมทนาด้วยวิหารทานคาถา ตั้งแต่วันนั้นมา ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีก็จัดให้มีพิธีการงานฉลองพระมหาวิหารอยู่นานถึง ๙ เดือน นับเป็นการบริจาคทานอย่างมโหฬาร รวมเบ็ดเสร็จทั้งสิ้นทั้งค่าซื้อที่ ค่าก่อสร้าง และค่าฉลองเป็นจำนวนเงิน ๕๔ โกฏิ ต่อจากนั้นก็ปรากฏกว่า ท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีมีจิตศรัทธาทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกเป็นอันมาก และสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงมีพระพุทธฏีกาตรัสว่า อนาถปิณฑิกะมหาเศรษฐีนี้ เป็นผู้เลิศกว่าทายกทั้งหลาย ในพระศาสนานี้
    วันเดือนปีล่วงไป อายุแลยังก็ย่อมล่วงไปตามเป็นธรรมดา ท่านคนาถปิณฑิกเศรษฐีนั้น บัดนี้ เป็นคนชราและเจ็บไข้มานาน ใกล้มรณกาลเต็มที่ นอนอยู่บนมรณมัญจาอาสน์ เตียงเป็นที่ตาย แต่ยังมีกำลังพอที่จะเรียกคนใช้คนหนึ่งมาแล้วสั่งว่า
    "พ่อมหาจำเริญ ! พ่อจงเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระคุณอันประเสริฐ ยังที่ประทับแล้ว จงถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าและกราบทูลพระองค์ว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ อนาถปิณฑิกคฤหบดีป่วยเป็นไข้หนัก ทนทุกขเวทนา ขอถวายบังคมมายังพระยุคลบาทแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า
    กราบทูลดังนี้แล้ว พ่ออย่าเพิ่งกลับจงแวะไปหาท่านพระสารีบุตรองค์ธรรมเสนาบดีที่ที่ท่านอยู่ แล้วกราบเท้าท่านและกราบเรียนถวายอย่างนี้ว่า
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ อนาถปิณฑิกคฤหบดีป่วยหนัก ทนทุกขเวทนาเป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญหากมีโอกาสเหมาะแล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ นิมนต์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีเถิด เจ้าข้า
    จำได้ไหมเล่า ที่เราบอกนี่น่ะ ถ้าจำได้แล้ว ก็จงรีบไปแต่เดี๋ยวนี้เถิดพ่อ"
    บุรุษคนใช้นั้น รับคำท่านอนาถปิณฑกคฤหบดีแล้ว ก็ค่อยคลานออกมาและรีบเดินทางมุ่งหน้าไปยังพระเชตวันมหาวิหาร หลังจากที่เข้าไปกราบทูลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ธรรมราชาแล้ว ก็เข้าไปกราบเรียนท่านพระสารีบุตรผู้ธรรมเสนาบดี และกรุณาเรียนนิมนต์โดยดุษณีภาพ พอบุรุษนั้นกราบลาไปแล้ว องค์ท่านธรรมเสนาบดี ก็นุ่งสบงทรงจีวร มีท่านพระอานนท์พุทธอนุชาเป็นปัจฉาสมณะ พากันเข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งยังอาสนะที่เขาแต่งตั้งเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวถามขึ้นว่า
    "ดูกรท่านคฤหบดี ! ท่านพอทนได้ พอเป็นไปได้อยู่หรือ ทุกขเวทนาทุเลาไม่กำเริบ ปรากฏความทุเลาลง ไม่ปรากฏความกำเริบละหรือ ๆ อย่างไร"
    "กระผมเหลือทนแล้ว ข้าแต่พระคุณเจ้าสารีบุตร " ท่านอนาถปิณฑิกะกล่าวค่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวด พร้อมกับยกมือขึ้นมานมัสการด้วยความตื้นตันใจแล้วก็กล่าวต่อไปว่า
    "ลมเหลือประมาณกระทบกระหม่อมของกระผมอยู่ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เอาของแหลมคมทิ่มที่กระหม่อมของกระผมอยู่ฉะนั้น และอีกประการหนึ่ง
    ลมเหลือประมาณ เวียนศีรษะกระผมอยู่ เปรียบเหมือบุรุษมีกำลังให้คนขันศีรษะของกระผมด้วยชะเนาะแน่นหนาฉะนั้น และอีกประการหนึ่ง
    ลมเหลือประมาณ ปั่นป่วนท้องของกระผม เปรียบเหมือนเพชฌฆาตฆ่าโคหรือลูกมือของเพชฌฆาตฆ่าโคผู้ฉลาด เอามีดแล่เนื้อโคอันคมขาวมาคว้านท้องของกระผมฉะนั้น และอีกประการหนึ่ง
    ความร้อนในกายของกระผม มีมากมายเหลือประมาณ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง ๒ คน จับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่อวัยวะ ป้องกันตัวต่าง ๆ แล้วจึงทำการนาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิงฉะนั้น
    เพราะเหตุดังนี้แหละ กระผมจึงจะทนไม่ไหวแล้ว ทุกขเวทนาของกระผมหนักมากนัก พระคุณเจ้าสารีบุตรผู้เจริญ"
    องค์ธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้ชาญฉลาดในการแสดงพระธรรมเทศนาเห็นว่าท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีเป็นพระโสดาบันอริยบุคคลแล้ว และในขณะวิกฤติการณ์อันเลวร้ายเช่นนี้ พระธรรมเทศนาที่เหมาะสมก็คือ การตั้งสติกำหนดอารมณ์มาประจวบเข้า ฉะนั้น พระผู้เป็นเจ้าจึงแสดงธรรมโดยเริ่มต้นว่า "ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุ และวิญญาณที่อาศัยจักษุ จักไม่มีแก่เรา" ดังนี้เป็นต้น
    ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย พึงทราบว่าพระธรรมเทศนาที่พระสารีบุตรแสดงแก่ท่านคฤหบดีในครั้งนี้ มีใจความพิสดารมากมาย แต่ไม่สามารถจะนำมากล่าวไว้ในที่นี่ทั้งหมดได้ ถ้าท่านผู้ใดสนใจ พึงค้นดูในอนาถปิณฑิโกวาทสูตรนั้นเถิดบัดนี้ จะขอรวบรัดตัดความให้สั้นเข้าว่า เมื่อองค์พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแสดงพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว ท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีก็ร้องไห้ น้ำตาไหลอยู่ขณะนั้น สาวกสมเด็จพระบรมครูที่มาด้วยอีกผู้หนึ่งคือพระอานนท์เถระให้แปลกใจสงสัยจึงถามขึ้นว่า
    "ดูกรคฤหบดี ! ท่านยังมีอาลัยใจจดใจจ่ออยู่หรือ"
    อนาถปิณฑิกคฤหบดีผู้ป่วยหนัก จึงค่อยกราบเรียนว่า
    "ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ! กระผมมิได้อาลัย มิได้มีใจจดใจจ่อ แต่ว่าตัวกระผมได้นั่งใกล้สมเด็จพระบรมศาสดาของเรา และได้นั่งใกล้หมู่พระภิกษุสงฆ์ที่น่าเจริญใจมานานแล้ว ไม่เคยได้สดับธรรมีกถาเช่นนี้เลย"
    พระอานนท์ จึงชี้แจงว่า
    "ธรรมีกถาเห็นปานนี้ มิได้แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ แต่แจ่มแจ้งแก่บรรพชิตนะคฤหบดี"
    ครั้นพอสมควรแก่กาลเวลาแล้ว พระพุทธชิโนรสทั้งสอง ก็กล่าวคำอำลาท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี กลับไปยังที่อยู่ของตน ณ เชตวันมหาวิหาร แต่พอท่านทั้งสอง ลากลับไปไม่นาน ท่านอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีผู้ป่วยหนักก็ดับขันธ์ถึงแก่ชีพิตักษัย เป็นอันจบชีวิตแห่งท่านทานบดียิ่งใหญ่ในศาสนาแห่งพระสมณโคดมบรมครูเจ้าแห่งเราท่านทั้งหลายเพียงเท่านี้
    เมื่อดับขันธ์แล้วมาเกิดเป็นเทพบุตรสุดประเสริฐ ณ ปราสาทพิมานในแดนสวรรค์ชั้นดุสิต คือสรวงสวรรค์ชั้นที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้ มีนามปรากฏว่า "อนาถปิณฑิกเทพบุตร" แต่พอสิ้นใจตายจากมนุษยโลกและมาบังเกิดเป็นเทพดาได้ไม่นาน ด้วยดวงมานที่ผูกพันเคารพเลื่อมใสในองค์พระสัพพัญญูเจ้าอย่างลึกซึ้ง จึงในปฐมยามราตรีนั้นเอง อนาถปิณฑิกเทพบุตรก็ออกจากปราสาทพิมานบนสรวงสวรรค์ชั้นดุสิต มุ่งหน้ามายังมนุษยโลกเรานี้ แล้วเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว กราบทูลว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระเชตวันนี้มีประโยชน์
    อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้ว อันพระองค์ผู้เป็นธรรม
    ราชาประทับอยู่ เป็นที่บังเกิดปีติแก่ข้าพระองค์
    สัตว์ทั้งหลาย ย่อมบริสุทธ์ด้วยธรรม ๕ ประการ
    นี้คือ กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันอุดม ๑
    ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์
    เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็น
    ประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะ
    บริสุทธิ์ในธรรมนั้นด้วยอาการนี้
    พระสารีบุตรนั้นแล ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยปัญญา
    ด้วยศีล และด้วยความสงบ ความจริงผู้ถึงฝั่งแล้ว
    จะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้เท่านั้น"
    อนาถปิณฑิกเทพบุตร กราบทูลดังนี้กะองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จึงได้ถวายอภิวาทกระทำประทักษิณแล้วก็กลับไปสถิตเสวยสุขอยู่ ณ ปราสาทพิมานแห่งตนบนแดนสุขาวดีดุสิตสวรรค์
    อีกวันหนึ่งต่อมา สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสแก่พระภิกษุสงฆ์ทั้งปวงว่า
    "ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! เมื่อคืนนี้ ล่วงปฐมยามไปแล้ว มีเทพบุตรตนหนึ่ง มีรัศมีงามรุ่งเรืองส่องพระเชตวันวิหาร ให้สว่างทั่วเข้ามาหาเราตถาคต ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวเนื้อความอย่างหนึ่งกะเรา"
    ครั้นแล้ว สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงเล่าถึงเนื้อความที่อนาถปิณฑิกเทพบุตรนั้นกราบทูลพระองค์เมื่อยามราตรี ให้ภิกษุเหล่านั้นฟังกันจนทั่ว เมื่อพระองค์ทรงเล่าจบแล้ว พระอานนท์เถระ ได้กราบทูลขึ้นว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็เทพบุตรนั้น คงจักเป็นอนาถปิณฑิกเทพบุตรแน่ เพราะอนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้เป็นผู้มีความเลื่อมใสในพระสารีบุตรเป็นยิ่งนักพระเจ้าข้า"
    "ถูกแล้ว อานนท์ เทพบุตรที่เรากล่าวถึงนี้ คืออนาถปิณฑิกเทพบุตรนั้นเองมิใช่อื่น" สมเด็จพระบรมศาสดาทรงรับรองในที่สุด จึงเป็นอันว่า บัดนี้ อนาถปิณฑิกเทพบุตร ก็ยังคงเสวยสุขอันเป็นทิพย์อยู่ ณ สรวงสวรรค์ชั้นดุสิตแดนสุขาวดี ด้วยประการฉะนี้
    สรุปความว่า สรวงสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ เป็นแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่แห่งทวยเทพทั้งหลาย อันมีสมเด็จท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิราชเป็นผู้ปกครองทวยเทพทุกผู้ ล้วนมีชีวิตความเป็น อยู่อย่างสำราญชื่นบาน ด้วยการเสวยทิพยสมบัติเป็นสุขอยู่ทุกทิพาราตรีกาล เพราะความบันดาลแห่งบุญกุศลที่ตนได้เคยก่อสร้างไว้แต่ปางบรรพ์ ฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญาประกอบด้วยศรัทธาเชื่อมั่นในพระบวรพุทธศาสนา เมื่อมีความปรารถนาใคร่จักได้ไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา เสวยทิพยสมบัติอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นนี้ ก่อนที่จักขาดใจตาย ก็ควรขวนขวายรีบเร่งบำเพ็ญกองการกุศล ทำตนให้เป็นผู้ใคร่ในธรรม ด้วยการอุตส่าห์พยายามสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา และตั้งหน้าบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ มีให้ทานและรักษาศีลเป็นอาจิณ เมื่อถึงคราวสิ้นอายุถึงแก่ชีพิตักษัย หากกองการกุศลที่ตนก่อสร้างเอาไว้มีพลังเพียงพอ ก็จักเป็นแรงส่งผลักดัน ให้ได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณ ดุสิตสวรรค์แดนแห่งความสุขอย่างแน่นอน

    ที่มา : www.prasut.mbu.ac.th/ch4/phrasut-4-4-main-info.html
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=tdNorm bgColor=#f1efee align=left></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" marginwidth="0" marginheight="0"><TBODY><TR vAlign=top><TD class=tdNorm bgColor=#f1efee align=left>
    สวรรค์ชั้นที่ ๕
    นิมมานรดีเทวภูมิ

    เทวภูมิอันดับที่ ๕ นี้ เป็นแดนสวรรค์ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่แห่งปวงเทพเจ้าชาวฟ้าทั้งหลาย ผู้มีความยินดีเพลิดเพลินในกามคุณารมณ์ ที่เนรมิตขึ้นตามความพอใจแห่งตนเอง โดยมีเทพเจ้ามเหศักดิ์ทรงนามว่า สมเด็จท่านท้าวสุนิมมิตเทวาธิราช ทรงเป็นอธิบดีผู้ปกครอง เพราะฉะนั้น สรวงสวรรค์ชั้นนี้ จึงมีนามว่านิมมานรดีภูมิ ภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพ อันมีท่านท้าวนิมมิตเทวาธิราชทรงเป็นอธิบดี
    แดนสวรรค์เมืองฟ้า อันมีนามว่านิมมานรดีภูมินี้ เป็นเทพนครที่ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไปในเบื้องบนไกลแสนไกล ภายในเทพนครแห่งนี้ ปรากฏว่ามีปราสาทเงินปราสาททอง และปราสาทแก้ว และมีกำแพงแก้วกำแพงทองอันเป็นทิพย์ เป็นวิมานที่อยู่ของเหล่าเทวดาทั้งหลาย นอกจากนั้นไซร้ พื้นภูมิภาคยังมีสภาวะเป็นทองราบเรียบเสมอกันมีสระโบกขรณี และสวนอุทยานอันเป็นทิพย์ สำหรับเป็นที่เที่ยวเล่นสำราญ แห่งเหล่าชาวสวรรค์นิมมานรดีทั้งหลาย เช่นเดียวกับสมบัติทิพย์ในสรวงสวรรค์ชั้นดุสิตทุกประการ จะต่างกันก็เพียงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในนิมมานรดีเทวพิภพนี้ มีสภาวะสวยสดงดงามและประณีตกว่า ทิพยสมบัติในดุสิตเทวพิภพเท่านั้น
    เทพยดาทั้งหลาย ผู้สถิตเสวยทิพยสมบัติอยู่ ณ นิมมานรดีแดนสุขาวดีนี้ ย่อมมีรูปทรงสวยงาม น่าดูน่าชม ยิ่งกว่าชาวสวรรค์ชั้นที่ต่ำกว่าทั้งหลาย และมีกายทิพย์ซึ่งมีรัศมีรุ่งเรืองเป็นยิ่งนัก หากเขามีความปรารถนา จะเสวยสุขด้วยกามคุณารมณ์สิ่งใด เข่าย่อมเนรมิตเอาได้ตามความพอใจชอบใจแห่งตนทุกสิ่งทุกประการ ไม่มีความขัดข้องและเดือดเนื้อร้อนใจในกรณีใด ๆ เลย พวกเขาพากันเสวยทิพยสมบัติในสรวงสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้โดยมี่สมเด็จท่านท้าวสุนิมมิตเทวาธิราชเจ้าปกครอง ให้มีความปรองดองรักใคร่กันและได้รับความสุขสำราญ ชื่นบานทุกถ้วนหน้า เหล่าชาวฟ้านิมมานรดี มีชีวิตความเป็นอยู่สุดดีสุดประเสริฐนักหนา

    ทางไปสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

    หากจะมีปัญหาว่า
    การที่จักได้มีโอกาส ไปอุบัติเกิดเป็นเทพเจ้า เสวยทิพยสมบัติเป็นสุขอยู่ ณ แดนสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้นั้น จักต้องทำประการใดบ้าง
    คำวิสัชนาก็มีว่า
    ต้องอุตส่าห์ก่อสร้างกองบุญกุศลให้ยิ่งใหญ่ อบรมจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่ให้สกปรกลามกมีมลทิน โดยพยายามรักษาศีลไม่ให้ขาดได้ มีใจสมบูรณ์ด้วยศีล และมีวิริยะอุตสาหะในการบริจาคทานเป็นอันมาก เพราะผลวิบากแห่งทานและศีลอันสูงเท่านั้น จึงจะบันดาลให้ไปอุบัติเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ได้ ในกรณีนี้ พึงทราบพระบาลีชี้ทางไปสู่แดนสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ซึ่งปรากฏมีไว้ในพระสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    ทานสูตร

    ดูกรสารีบุตร ! ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า
    "เราหุงหากินได้ แต่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากินได้จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหากิน ย่อมเป็นการไม่สมควร"
    แต่ให้ทานด้วยคิดว่า
    "เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เช่นเดียวกับฤๅษีทั้งหลาย คือ
    ฤๅษีอัฏฐก
    ฤๅษีวามก
    ฤๅษีวามเทว
    ฤๅษีเวสสามิตร
    ฤๅษียมทัคค
    ฤๅษีอังคีรส
    ฤๅษีภารทวาช
    ฤๅษีวาเสฎฐ
    ฤๅษีกัสสป
    ฤๅษีภคุ
    แต่กาลก่อน ซึ่งได้พากันบูชามหายัญฉะนั้น"
    เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

    ปุญญกิริยาวัตถุสูตร

    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำบุญริริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อถึงแก่กาลกิริยาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! ท้าวสุนิมมิตเทพบุตร จอมเทพในชั้นนิมมานรดีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ท้าวเธอจึงทรงเจริญรุ่งเรืองก้าวล่วงเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดีสวรรค์ โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ
    ๑. อายุทิพย์
    ๒. วรรณทิพย์
    ๓. สุขทิพย์
    ๔. ยศทิพย์
    ๕. อธิปไตยทิพย์
    ๖. รูปทิพย์
    ๗. เสียงทิพย์
    ๘. กลิ่นทิพย์
    ๙. รสทิพย์
    ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

    สังคีติสูตร<SUP>๑</SUP>​

    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าวน้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่นั่ง ที่พัก ที่อาศัย และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป ให้เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนให้ไปโดยเขาได้ศึกษามาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่านิมมานรดีสวรรค์เป็นเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะงาม มากไปด้วยความสุข" ดังนี้แล้ว เขาจึงจินตนาอย่างนี้ว่า
    โอหนอ ! เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพวกเทพเจ้าเหล่านิมมานรดีสวรรค์เถิด
    เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่ต่ำ มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง อย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้ ก็ข้อนี้แล เรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีลย่อมสำเร็จลงได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์
    ใจความที่นำเอามาตั้งไว้นี้ ย่อมจักเป็นเครื่องชี้ให้เห็นอย่างแจ้งชัดว่าการที่จักได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณ แดนสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้จักต้องมีปฏิปทาเป็นประการใด ลำดับต่อไปนี้ จักขอนำเอาชีวประวัติของมนุษย์ผู้ซึ่งตายแล้วไปผุดเกิดเป็นเทพยดา ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดีเทวโลกมาเล่าให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ได้สดับตรับฟังดังนี้

    เทพนารีชั้นนิมมานรดี

    ได้สดับมาว่า
    สมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวนารามใกล้กรุงราชคฤห์มหานครนั้น กาลครั้งหนึ่ง เกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนพลเมืองทั้งหลายได้รับความลำบากในการครองชีพอย่างแสนสาหัส มิหนำซ้ำ อหิวาตกโรค ก็บังเกิดคุกคามขึ้นมาอีก ทำให้คนทั้งหลายได้รับความอดอยาก และเสียชีวิตลงด้วยโรคห่าลงเมืองเป็นอันมาก สตรีภาพผู้ยากจนคนหนึ่ง ซึ่งได้ประสบกับภาวะการณ์อันแสนลำเค็ญในครั้งนี้ เมื่อสามีและบุตรพร้อมกับญาติพี่น้องสิ้นใจตายไปหมดแล้ว ก็เสียประสาทไม่อาจที่จะอยู่ในบ้านแต่เพียงลำพังตนคนเดียวได้จึงตัดสินใจทิ้งเหย้าเรือนข้าวของทรัพย์สมบัติ เพราะความกลัวตายจึงทำลายแหกฝาเรือน แล้วหนีเตลิดเปิดเปิงไปด้วยความเสียขวัญ สิ้นเนื้อประดาตัวกลายเป็นคนอนาถาหาที่พึ่งมิได้ แต่ท่องเที่ยวเรื่อยไปด้วยความหิวโดยทนทุกข์ทรมาน จนลุถึงบ้านแห่งหนึ่ง จึงเข้าไปขออาศัยอยู่ ผู้คนในหมู่บ้านนั้น แม้จะค่อนข้างขัดสนเพราะถูกความเดือดร้อนเข้าครอบงำในครั้งนี้เหมือนกัน แต่ถึงกระนั้น ก็มีใจเมตตากรุณา จึงพากันแบ่งปันข้าวสวยข้าวยาคู และน้ำผักดองอันเหลืออยู่ในหม้อให้แก่นางผู้อนาถานั้นตามประสายาก
    ก็ในกาลนั้น องค์อรหันต์พระมหากัสสปเถรเจ้า เข้าสู่นิโรธสมาบัติถึง ๗ วันแล้ว จึงออกจากสมาบัติ พลางพิจารณาดู ตามวิสัยแห่งพระอรหันต์ผู้ทรงญาณว่า
    "อาตมะจะสงเคราะห์รับอาหารของบุคคลใด จะเปลื้องทุกข์เปลื้องยากของบุคคลใดในวันนี้"
    เมื่อสาวกแห่งองค์พระชินสีห์พิจารณาไป ก็ได้เห็นซึ่งหญิงอนาถานั้นเข้าไปข้องอยู่ในข่ายแห่งญาณ โดยทราบว่า นางใกล้จะถึงแก่กาลมรณะแล้ว เป็นผู้สมควรจักได้รับการสงเคราะห์ ได้ให้รับซึ่งเทวสมบัติในสรวงสวรรค์แดนสุขาวดี เมื่อดำริจิตคิดตกลงดังนี้ พระมหากัสสปะขีณสพเจ้า จึงจัดแจงนุ่งสบงทรงจีวรมีกรถือบาตรแล้วเดินทางบ่ายหน้าไปสู่ที่อยู่แห่งสตรีภาพผู้อนาถานั้น
    ก็อันว่า พระมหาขีณาสพผู้ออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ ๆ ย่อมทรงไว้ซึ่งคุณพิเศษเป็นนัก หนา ผู้ใดได้ถวายทานก่อนเป็นครั้งแรกแล้ว ย่อมจักได้รับอานิสงส์เห็นผลทันตาเป็นอเนกประการ ฉะนั้น ในกาลที่ยังมีท่านผู้สามารถเช้านิโรธสมาบัติได้ ย่อมมีผู้ต้องการถวายทานเป็นครั้งแรกแก่ท่านก่อนเป็นอันมาก ในกรณีนี้ก็เช่นกัน คือเมื่อองค์ท้าวมัฆวานจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ผู้มากไปด้วยศรัทธา ได้ทรงทราบว่าท่านพระมหากัสสปะเถรเจ้า ออกจากนิโรธสมาบัติในเช้าวันนี้แล้ว พระองค์ประสงค์จะได้รับส่วนกุศลอันผ่องแผ้วมโหฬาร จึงนำเอาข้าวทิพย์โภชนาหารมาจากไพชยนตปราสาททิพยวิมาน ครั้นมาถึงมนุษยโลกเรานี้แล้ว ก็แปลงกายเป็นแก่ผู้ยากจนมีมือถือขันข้าว ยืนอยู่กลางทางคอยดักที่จักตักบาตรแก่พระมหาเถรเจ้า ณ สถานที่ชายป่าแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีคนพลุกพล่าน
    กาลครั้งนั้น องค์อรหันต์ผู้ดุ่มเดินมามุ่งหน้าจะไปโปรดหญิงอนาถาด้วยสมณกิริยาอันสำรวม เมื่อเงยพักตร์ขึ้นเห็นท่านผู้เฒ่ามีกิริยาว่ายากจน เนื้อตัวสกปรก ท่าทางงกเงิ่นออกมาจากชายป่าแสดงอาการว่าจะตักบาตร ด้วยอำนาจแห่งอรหันตญาณวิเศษ สาวกแห่งองค์พระโลกเชษฐ์ก็ทราบได้ทันทีว่า ตาแก่จวนจะตายนั้นคือองค์สหัสนัยย์สมเด็จพระอมรินทรเทวธิราช เจ้าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ปลอมแปลงมา จึงมีเถรวาทีทักขึ้นว่า
    ขอถวายพระพร ! มหาบพิตรทรงฉลาดในการทำกุศล เหตุไฉนจึงมาทำการดังนี้ ท่านจะมาทำการปล้นชิงเอาซึ่งสมบัติแห่งคนจนหรือ"
    ตาเฒ่าเมื่อฟังพระผู้เป็นเจ้าซึ่งรู้ทันอุบายตนว่าดังนี้ ก็กลับร่างเป็นท้าวโกสีย์ กราบบาทพระมหากัสสปะเถรเจ้าแล้ว ก็เหาะกลับไปยังทิพยสถานไพชยนปราสาทพิมานแห่งตนด้วยความผิดหวัง ฝ่ายพระผู้เป็นเจ้า ก็เดินทางเรื่อยไปจนกระทั่งบรรลุถึง บ้านที่นางอนาถาอยู่ แล้วก็ยืนอยู่จำเพาะหน้า สตรีอนาถาแลเห็นพระมหาเถระ ซึ่งปรากฏมีชื่อเสียงลือชา มายืนเพื่อรับบิณฑบาตทานอยู่จำเพาะหน้าแห่งตนเช่นนั้น จึงพลันให้นึกละอายเป็นยิ่งนัก
    "พระมหากัสสปเถรเจ้าผู้นี้ มีอานุภาพเป็นอันมาก มีชื่อเสียงเป็นพระเถระผู้ใหญ่ แม้ท้าวไทยพระเจ้าอยู่หัวและเสนาบดีมหาอำมาตย์ก็ให้ความเคารพบูชา แต่ว่าตัวเรานี้เป็นคนหาสิริมิได้ วัตถุไทยทานอันเป็นของตน ที่จะพึงถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าก็ไม่มีเลย มีแต่น้ำผักดองแลน้ำส้มพะอูมที่เขาให้ด้วยกรุณา ก็แปดเปื้อนไปด้วยธุลี หามีรสชาติไม่ โสโครกนัก มิบังควรจักพึงถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้"
    สตรีตกยากผู้น่าสงสาร ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงอัญชลีกรกล่าวอาราธนาว่า
    "ขอพระผู้เป็นเจ้า จงกรุณาไปโปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด เจ้าข้า"
    พระมหากัสสปผู้มากไปด้วยกรุณา ได้ฟังสตรีผู้อนาถาร้องออกมาดังนั้นก็กระทำกิริยามิรู้มิชี้ยืนนิ่งเฉยอยู่ มหาชนซึ่งยืนอยู่ใกล้ ๆ ได้เห็นพระผู้เป็นเจ้าผู้มีอานุภาพมาบิณฑบาตถึงหมู่บ้านตนดังนั้น ก็พากันนำเอาโภชนาหารมา เพื่อจักใส่ลงในบาตรมากมาย แต่พระเถรเจ้าก็มิได้รับเอาของใครเลยคงยืนนิ่งเฉยอยู่ หญิงเข็ญใจผู้มีอาหารโสโครก จึงรู้ว่าพระผู้เป็นเจ้ามาที่นี่เพื่อจะสงเคราะห์แก่ตนจำเพาะจะรับบิณฑบาตทานแห่งตนเท่านั้น ก็พลันบังเกิดปีติยินดีแก้กล้ายิ่งนัก จึงรีบยกน้ำผักดองนั้น ประคองตักลงในบาตรพระเถรเจ้า ด้วยมืออันสั่นเทา แล้วน้ำตาแห่งปีติก็ไหลลงอาบพักตร์อยู่พราก ๆ
    พระมหาเถรเจ้า จึงแสดงกิริยาว่าจะฉันภัตตาหารในที่นั่นเอง เพื่อจักยังน้ำจิตแห่งนางคนจนให้ยินดีเป็นที่ยิ่ง มหาชนจึงช่วยกันตกแต่งอาสนะถวายพร้อมกับตั้งน้ำใช้น้ำฉัน พระมหากัสสปเถรเจ้าจึงนั่งเหนืออาสนะแล้วดื่มน้ำฉันซึ่งน้ำผักดองนั้น เสร็จแล้วจึงให้อนุโมทนาและกล่าวคำลากลับไป ฝ่ายสตรีผู้เคราะห์ดีเคราะห์ร้ายนั้น ยังความภักดีและเลื่อมใสให้บังเกิดในพระมหาเถระแล้ว ก็มีใจผ่องแผ้วปีติโสมนัสเป็นนักหนา ครั้นเพลาราตรีเป็นปฐมยาม ล้มตัวลงนอนหลับไป ด้วยดวงใจที่ระลึกถึงบุญกุศลอันตนได้ถวายทานแก่พระมหาเถรในยามยากขณะนั้น ก็บังเกิดโรคลมร้ายขึ้นภายในกายเข้าตัดดวงฤทัย ซึ่งทำให้นางถึงแก่กาลกิริยาขาดใจตายลงในฉับพลันทันที เป็นอันปิดฉากชีวิตอันแสนจะลำเค็ญของสตรีอนาถานั้นไว้ในมนุษย์โลกเพียงเท่านี้
    ด้วยเดชะแห่งกุศลที่ตนได้สร้างไว้เมื่อเช้านั้น เข้าขั้นอรหันตทาน คือท่านที่ถวายแก่พระอรัหันต์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ และที่ล้ำเลิศยิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็คือว่า ทานนั้น เป็นอรหันตทานอันพิเศษ เพราะเป็นทานที่ถวายแก่พระอรหันต์ผู้เพิ่งออกจากนโรธสมาบัติใหม่ ๆ ซึ่งให้คุณานิสงส์สุดประมาณ เพราะฉะนั้นเมื่อนางอนาถาสิ้นใจตายในราตรีนั้นแล้ว ก็ได้มาอุบัติเป็นเทพนารี ผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ณ แดนสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้ มีนางอัปสรกัญญาเป็นบริวารมากมาย เสวยทิพยสมบัติอยู่ในปราสาทพิมาน แสนจะเป็นสุขนักหนา
    กล่าวฝ่ายสมเด็จพระอมรินทราธิราช เจ้าจอมสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ผู้ซึ่งผิดหวัง ไม่ได้ถวายทานแก่พระมหากัสสปเถรเจ้าเมื่อเช้านี้ ครั้นทรงทราบว่า สตรีมนุษย์อนาถาผู้โชคดีกว่าตน กระทำกาลกิริยาตายแล้ว จึงทรงตรวจตราดูว่าหญิงอนาถานั้นจะเกิดในสถานที่ใด เมื่อทรงตรวจตราดูจนถี่ถ้วนแล้ว ก็มิได้เห็นในดาวดึงส์สวรรค์ ให้มีความสงสัยในพระหฤทัย ครั้นเพลาล่วงเข้ามัชฌิมยามราตรีนั้น องค์ท้ายมัฆวานจอมเทพ จึงเข้าไปสู่สำนักแห่งท่านพระมหากัสสปสังฆวุฒาจารย์ ค่อยกราบกรานแล้วทรงมีเทพยวาทีไต่ถามว่า
    "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! หญิงเข็ญใจไร้ญาติ มีชีวิตอยู่อย่างน่าอนาถนักผู้ซึ่งถวายน้ำผักดองแก่พระผู้เป็นเจ้าเมื่อเช้านี้นั้น บัดนี้ สตรีนั้น ตายจากอัตภาพมนุษย์แล้ว ไปเกิด ณ ที่ใด โยมนี้เที่ยวตรวยดูจนทั่วดางดึงส์สวรรค์แล้ว ก็ไม่เห็นเลย"
    องค์อรหันต์ท่านมหากัสสปขีณาสพเจ้า จึงมีเถรวาทีกล่าวตอบว่า
    "ขอถวายพระพร อาตมะเที่ยวไปบิณฑบาต และยืนนิ่งอยู่ที่จำเพาะหน้าหญิงกำพร้าเข็ญใจอาศัยอยู่ที่แทบหลังเรือนผู้อื่น นางมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายซึ่งน้ำผักดองด้วยมือของตน หญิงทุคตะผู้นั้น ตายจากมนุษย์แล้ว ไปบังเกิดเป็นเทวดามีฤทธิ์มาก อยู่ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี และบัดนี้กำลังยินดีเสวยสุขอยู่ในนิมมานรดีสวรรค์นั้น ด้วยเหตุนี้ มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่ จึงมิได้เห็นนางในสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ของมหาบพิตร เรื่องเป็นอย่างนี้แล"
    สมเด็จพระอมรินทราธิราชเจ้า ได้ทรงสดับคำบอกเล่าจากพระผู้เป็นเจ้าดังนั้น ก็ทรงยินดีในผลอานิสงส์แห่งบุคคลผู้ถวายน้ำผักดองเป็นนักหนา จึงมีเทพยวาทีกล่าวสรรเสริญว่า
    "อโห ! ควรจะอัศจรรย์ ทานแห่งคนกำพร้าอนาถาอันได้มาด้วยยาก และได้มาจากสำนักแห่งผู้อื่น เป็นแต่เพียงน้ำผักดองอันโสโครกหารสชาติมิได้ กลับเป็นทานอันประเสริฐ ให้สัมฤทธิ์สมบัติทิพย์ในสวรรค์ชั้นสูงแดนนิมมานรดี การให้ทานแก่พระทักขิไณยบุคคลเช่นพระผู้เป็นเจ้านี้ ย่อมมีอานิสงส์ดีกว่าการกระทำอย่างอื่นอีกมากมายจริง ๆ หนอ"
    ครั้นตรัสสรรเสริญอานิสงส์แห่งทานที่เทพนารีอดีตหญิงอนาถา ประดิษฐานไว้ด้วยดีในพระมหากัสสปเถรเจ้าฉะนี้แล้ว สมเด็จพระอมรินทราธิราชเจ้าก็ทรงกล่าวคำอำลากลับไปยังทิพยสถาน ณ แดนสุขาวดีไตรตรึงษ์สวรรค์แห่งตน
    รวมความว่า สวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้ เป็นแดนสวรรค์ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่แห่งทวยเทพทั้งหลาย อันมีสมเด็จท่านท้าวสินิมมิตเทวาธิราชทรงเป็นผู้ปกครองทวยเทพทุกผู้ ล้วนมีความเป็นอยู่มีชีวิตอย่างเป็นสุขเริงสราญจิต ประกอบไปด้วยฤทธิ์และอานุภาพ ด้วยการเสวยทิพยสมบัติสำราญอยู่ทุกทิพาราตรีกาล เพราะความบันดาลแห่งบุญกุศลที่ตนได้ก่อสร้างไว้แต่ปางบรรพ์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญาประกอบไปด้วยศรัทธา มีความเชื่อมั่นในพระบวรพุทธศาสนา เมื่อมีความปรารถนาใคร่จักได้ไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา เสวยทิยพสมบัติเป็นสุขอยู่ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้ ก่อนจะขาดใจตายไปจากโลกนี้ ก็ควรที่จักรีบเร่งขวนขวายบำเพ็ญกองการกุศล ทำตนให้มีศีลบริสุทธิ์ พยายามรักษาศีลไม่ให้ขาดได้ และต้องมีวิริยะอุตสาหะในการบริจาคทานเป็นอย่างมาก ประพฤติธรรมสม่ำเสมอเป็นนิตย์ เมื่อถึงคราวแตกกายทำลายขันธ์สิ้นชีวิตตายลงไป หากกองการกุศลที่ตนก่อสร้างเอาไว้มีพลังเพียงพอแล้ว ก็จักเป็นแรงส่งผลักดัน ให้ได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณ ชั้นฟ้านิมมานรดีสวรรค์แดนสุขาวดีนี้อย่างแน่นอน

    <HR SIZE=2><SUP>๑</SUP> ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๑ บาลีฉบับสยามรัฐ </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=tdNorm bgColor=#f1efee align=left></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : www.prasut.mbu.ac.th/ch4/phrasut-4-5-main-info.html
     
  10. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" marginwidth="0" marginheight="0"><TBODY><TR vAlign=top><TD class=tdNorm bgColor=#f1efee align=left>สวรรค์ชั้นที่ ๖
    ปรนิมมิตวสวัตตีเทวภูมิ


    เทวภูมิอันดับที่ ๖ นี้ เป็นแดนแห่งความสุขเป็นสวรรค์เทวโลกชั้นสูงสุดฝ่ายกามพจร อันเป็นที่สถิตอยู่แห่งปวงเทพเจ้าชาวฟ้าทั้งหลาย ผู้เสวยกามคุณารมร์ที่เทวดาอื่นรู้ความต้องการของตนแล้วเนรมิตให้ เป็นที่อยู่อันประเสริฐด้วยสุขสมบัติยิ่งกว่าสวรรค์ชั้นฟ้าทั้งหลาย โดยมีเทพเจ้าผู้ใหญ่มเหศักดิ์ทรงนามว่าสมเด็จท่านท้าวปรินิมมิตเทวธิราช ทรงเป็นอธิบดี เพราะฉะนั้น สรวงสวรรค์ชั้นนี้ จึงมีนามว่าปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ ภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพ อันมีท่านท้าวปรนิมมิตเทวาธิราชทรงเป็นอธิบดี
    ยอมสวรรค์เมืองฟ้าแดนสุขาวดี อันมีนาว่าปรินิมมิตวสวัตตีภูมินี้ เป็นเทพนครที่ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นนิมมานรดีขึ้นไปในเบื้องบนไกลแสนไกล ณ สวรรค์ชั้นนี้ นอกจากจะมีทิพยสมบัติอันวิเศษเช่นปราสาทพิมาน และสวนขวัญอุทยานทิพย์อันสวยงามวิจิตรบรรจงยิ่งกว่าสวรรค์ชั้นอื่น ๆ แล้ว การเป็นอยู่ของทวยเทพผู้อุบัติเกิดในแดนสวรรค์แห่งนี้ ก็ยังแบ่งออกเป็น ๒ คือ
    ๑. แดนเทพยดา ก็ในแดนเทพยดานี้ มีเทวธิราชผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า "สมเด็จท่านท้าวปรนิมมิตเทวธิราช ทรงเป็นพระยาเจ้าฟ้าปกครองเทพยดาทั้งหลายในปรนิมมิตสวรรค์นี้ ให้ได้รับความสุขสำราญชื่นบานบันเทิงจิต
    ๒. แดนมาร ก็ในแดนมารนี้ มีพระยามาราธิราชผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า "สมเด็จท่านท้าวปรนิมมิตวสวัตตีมาราธิราช" ทรงเป็นพระยาเจ้าฟ้าปกครองเทพยดาผู้เป็นมารทั้งหลายในปรนิมมิตวสวัตตีภูมินี้ ให้ได้รับความสำราญด้วยการเสวยสมบัติทิพย์เป็นสุขตามสมควรแก่อัตภาพ
    จึงเป็นอันว่า ณ เบื้องสวรรค์ชั้นฟ้า อันมีนามว่าปรนิมมิตวสวัตตีภูมินี้มีการปกครอง และเหล่าทวยเทพแบ่งออกเป็น ๒ ภาค คือ ภาคเทพยดาฝ่าย ๑ ภาคหมู่มารฝ่าย ๑ ซึ่งอยู่กันคนละแดน มีเขตแดนกั้นในระหว่างกลาง ทั้งเทพยดาและหมู่มาร หาได้ไปมาหาสู่แก่กันและกันไม่ ทุกผู้ล้วนแต่ได้รับความสุขอันประณีตประเสริฐเสวยทิพยสมบัติ ณ ทิพยสถานพิมานแห่งตน ๆ มีความสำราญอย่างยิ่งกัน มากกว่าสวรรค์ชั้นฟ้าอื่น ๆ เพราะเป็นเทพผู้อุบัติเกิดในสรวงสวรรค์ชั้นสูงสุด

    ทางไปสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

    หากจะมีปัญหาว่า
    การที่จะได้ไปอุบัติเกิดเป็นเทพยเจ้าเหล่าเทพยดา เสวยทิพยสมบัติเป็นสุขอยู่ ณ แดนสุขาวดีปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ ซึ่งมีสมเด็จท่านท้าวปรนิมมิตเทวาธิราชทรงเป็นเทวาธิบดีผู้ปกครองนี้ จักต้องทำบุญกุศลประการใดบ้างเล่า
    คำวิสัชชนาก็มีว่า
    ต้องอุตส่าห์ก่อสร้างกองการกุศลให้ยิ่งกว่าเป็นการอุกฤษฎ์ อบรมจิตให้สูงส่งด้วยคุณธรรม เมื่อจะให้ทานรักษาศีล ก็ต้องบำเพ็ญกันอย่างจริง ๆ มากไปด้วยศรัทธาปสาทะอย่างยิ่งยวดและถูกต้อง ทั้งนี้ ก็เพราะว่าผลวิบากแห่งทานและศีลอันสูงยิ่งเท่านั้น จึงจะบันดาลให้ไปอุบัติในสวรรค์ชั้นนี้ได้ ในกรณีนี้ พึงทราบพระบาลีชี้ทางไปสู่ปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์แดนสุขาวดี ซึ่งปรากฏมีในพระสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    ทานสูตร<SUP>๑</SUP>​

    ดูกรสารีบุตร ! ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังในทาน ไม่มีจิตผูกพันธ์ในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า
    เราจักเป็นผู้จำแนกทาน เช่นเดียวกับฤๅษีทั้งหลายแต่กาลก่อนคือ
    ฤๅษีอัฏฐก
    ฤๅษีวามก
    ฤๅษีวามเทว
    ฤๅษีเวสสามิตร
    ฤๅษียมทัคค
    ฤๅษีอังคีรส
    ฤๅษีภารทวาช
    ฤๅษีวาเสฏฐ
    ฤๅษีกัสสป
    ฤๅษีภคุ ดังนี้
    แต่เขาให้ทานด้วยคิดว่า
    "เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตของเราจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจโสมนัส"
    เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

    ปุญญกิริยาวัตถุสูตร<SUP>๒</SUP>​

    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อถึงแก่กาลกิริยาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! ท้าวปรนิมมิตวสวัตตี จอมเทพในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนั้น ทรงทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทรงทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ท้าวเธอจึงทรงเจริญรุ่งเรืองก้าวล่วงเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ
    ๑. อายุทิพย์
    ๒. วรรณทิพย์
    ๓. สุขทิพย์
    ๔. ยศทิพย์
    ๕. อธิปไตยทิพย์
    ๖. รูปทิพย์
    ๗. เสียงทิพย์
    ๘. กลิ่นทิพย์
    ๙. รสทิพย์

    ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์
    สังคีติสูตร<SUP>๓</SUP>​


    ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าวน้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่นั่ง ที่พัก ที่อาศัย และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป ให้เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนให้ไปโดยเขาได้ศึกษามาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่าปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ เป็นเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะงาม มากไปด้วยความสุข" ดังนี้แล้ว เขาจึงจินตนาปรารถนาอย่างนี้
    โอหนอ ! เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพวกเทพเจ้าเหล่าปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์เถิด
    เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขาน้อมไปในสิ่งที่ต่ำ มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง เช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนั้น ก็ข้อนี้แล เรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีลย่อมสำเร็จลงได้เพราะเป็นของที่บริสุทธิ์

    <HR SIZE=2><SUP>๑</SUP> อังคุตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ หน้า ๖๐ บาลีฉบับสยามรัฐ
    <SUP>๒</SUP> อังคุตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ หน้า ๖๐ บาลีฉบับสยามรัฐ
    <SUP>๓</SUP> อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๖ หน้า ๒๔๕ บาลีฉบับสยามรัฐ
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=tdNorm bgColor=#f1efee align=left></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : www.prasut.mbu.ac.th/ch4/phrasut-4-6-main-info.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2010
  11. Guide_Raito

    Guide_Raito เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    892
    ค่าพลัง:
    +2,990
    มีบุญมาฝากคับทางกลุ่มพระพุทธศาสนา ม. สงขลานครินทร์ ภูเก็ต ได้ จัดทำโครงการแจกสือ่ ธรรมะของสายหลวงพ่อฤาษีลิงดำคับ เพราะ ที่นี่มีเด็กหลายคนสนใจมาฝึกมโนมยิทธิและหันมาทำความดีกัน เนื่องด้วย สื่อ ธรรมะ ของหลวงพ่อ ครับทางชมรมเลยจัดโครงการแจกสือ่ธรรมะเป็นสาธารณะประโยชน์ แก่ โรงเรียน ห้องสมุดต่างๆเพื่อ ชักจูง คนให้เป็นสัมมาทิฐิและเป็นกำลังพระศาสนา สืบต่อไปครับ
    ขอให้ชาวเวปพลังจิตทุกท่าน เจริญขึ้นทั้งทางโลก และทางธรรม เข้าถึงธรรมขององค์สมเด็จฯ ได้โดยง่ายครับ
    [​IMG] [​IMG]
    เข้าชมรายละเอียดได้ที่http://palungjit.org/forums/ขอเชิญร่วมบุญ-โครงการธรรมทานกับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์-ภูเก็ต-[.109/FONT]218421.html<O:p></O:p>
    <O:p</O:p
     
  12. SPARTANS

    SPARTANS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,380
    ค่าพลัง:
    +2,987
    อนุโมทาครับ
     
  13. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
     
  14. Prompiriya

    Prompiriya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +1,081
    ขอบคุณครับ.
     
  15. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    เพิ่มเติมครับ เทวดาที่มีจุตินิมิตนี้มีเฉพาะเทวดาที่มีศักดิ์ใหญ่เท่านั้น ไม่ปรากฏแก่เทวดาที่มีศักดิ์น้อย
     
  16. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    ๑. ทิศตะวันออก ท้าวธตรฐ
    ปกครองคนธรรพ์, วิทยาธร,
    กุมภัณฑ์
    ๒. ทิศใต้ ท้าววิรุฬหก
    ปกครองครุฑ
    ๓. ทิศตะวันออก ท้าววิรูปักษ์
    ปกครองพญานาค
    ๔. ทิศเหนือ​
    ท้าวเวสสุวรรณปกครองยักษ์
     
  17. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    เหตุเกิดเป็นเทพสายคนธรรพ์บนสวรรค์

    ชั้นจาตุมหาราชิกา
    ๑. ด้วยบุญ ที่ทำในพระพุทธศาสนา
    + มีนิสัยชอบสนุกสนานร้องเพลง
    ๒. ด้วยบุญ ที่ทำในช่วงท้ายของชีวิต
    + ชอบร้องรำทำเพลง

    + เคยเป็นคนธรรพ์มาหลายชาติ
    [FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142]๓. ด้วยบุญ ที่ทำในพระพุทธศาสนา[/COLOR][/SIZE][/FONT]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]+ บุญสาธารณกุศล[/COLOR][/FONT][/SIZE]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]๔. ด้วยบุญ ที่ทำในพระพุทธศาสนาเป็นประจำ[/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/SIZE][/FONT]
    [SIZE=5][COLOR=#414142]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]แต่จิตฟุ้งซ่านตอนใกล้ตาย จึงมาได้แค่นี้[/COLOR][/FONT][/SIZE]
    [LEFT][SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142]๕. ด้วยบุญ นับถือพระพุทธศาสนาชอบ[/COLOR][/SIZE][/FONT]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]สวดมนต์ แต่มีกรรมฆ่าสัตว์[/COLOR][/FONT][/SIZE]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]๖. ด้วยบุญ ที่ทำในพระพุทธศาสนา[/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/FONT][/SIZE][/LEFT][SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]อย่างต่อเนื่อง + กรรมสุรา + สูบบุหรี่[/COLOR][/FONT][/SIZE]
    [LEFT][SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142]๗. ด้วยบุญ บริจาคทานในช่วงท้าย[/COLOR][/SIZE][/FONT]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]ของชีวิต + ผูกพันกับพระเจ้า[/COLOR][/FONT][/SIZE]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]ในศาสนาเทวนิยม + บุญเก่า[/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/FONT][/SIZE][/LEFT][SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]ยังส่งผลอยู่[/COLOR][/FONT][/SIZE]
    [LEFT][SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142]๘. ด้วยบุญ ที่บวชตลอดชีวิต[/COLOR][/SIZE][/FONT]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]จิตเป็นกุศลแต่ฟุ้งซ่าน[/COLOR][/FONT][/SIZE]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]ด้วยโรคภัยตอนใกล้ตาย[/COLOR][/FONT][/SIZE]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]๙. ด้วยบุญ ที่บวชใน[/COLOR][/FONT][/SIZE]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]บั้นปลายของชีวิต[/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/FONT][/SIZE][/LEFT][SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142]
    [SIZE=5][FONT=PSL-Bundit][COLOR=#414142]๑๐. ด้วยบุญ ที่บวชหลายครั้ง[/COLOR][/FONT][/SIZE]
    [FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][LEFT]๑๑. ด้วยบุญ เล็กๆ น้อยๆ ที่ทำใน
    พระพุทธศาสนา[/LEFT]
    [/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/SIZE]
     
  18. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    เหตุที่เกิดเป็นเทพสายวิทยาธรบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
    ๑. ด้วยบุญ ที่ทำแบบ
    ความเชื่อเทวนิยม
    ๒. ด้วยบุญ ที่ทำตามประเพณี +
    ชอบช่วยเหลือคนอื่น + ซื่อสัตย์
    ๓. ด้วยบุญ รักษาศีล
    ศึกษาธรรมะ เป็นนักคิด
    เจ้าปัญญา แต่ไม่ชอบทำทาน
    ๔. นับถือพลังลมปราณจักรา,
    พลังแสงอาทิตย์ ลัทธิมังสวิรัติ
    ๕. ชอบอาชีพมายากล
    ๖. ด้วยบุญ บวชพระแต่ชอบ
    ของขลังของศักดิ์สิทธิ์​
    ศึกษาอาคมมากกว่าธรรมะ
    [SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][LEFT]๗. ด้วยบุญ ที่ทำในพระพุทธศาสนา
    + ชอบบนบาน + ความหลงเชื่อ
    ร่างทรงเทพที่มีการทรงจำ
    จึงไปได้แค่นี้
    ๘. ด้วยบุญ ที่ทำในพระพุทธศาสนา
    แต่ยังไปนับถือเทพเจ้าฮินดู จึงไปได้
    แค่นี้
    ๙. ด้วยบุญ ที่รักษาคนไข้
    + ผูกใจกับวิชาแพทย์แผนโบราณ
    ๑๐. ด้วยบุญ ที่รักษาคนไข้
    + ผูกพันวิชาวิทยาธร
    ๑๑. ด้วยบุญ ที่ทำไว้ในพระพุทธศาสนา[/LEFT]
    + บุญรักษาคนไข้
    [/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE]
     
  19. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    เกิดเป็นเทพสายกุมภัณฑ์บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
    ไปทำหน้าที่ในยมโลกของมหานรก​
    ๑. ด้วยกรรม ทำแท้ง + ฆ่าสัตว์
    + บุญที่ลูกชายบวชอุทิศให้
    ๒. ด้วยกรรม ฆ่าสัตว์
    + ทำบุญในพระพุทธศาสนา
    ๓. ด้วยกรรม เป็นทหารออกรบ
    + บุญเคยบวชพระ

    ๔. ด้วยกรรม ยิงตัวตาย
    + ทำบุญในพระพุทธศาสนา
    ๕. ด้วยกรรม คุมการประหารชีวิต​
    + ซื่อสัตย์ + บุญที่อุทิศไปให้
    [SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][LEFT]๖. ด้วยกรรม
    เล่นพนันมวย +[/LEFT]
    บุญเลี้ยงดูพ่อแม่
    [FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][LEFT]๗. ด้วยกรรม ดื่มสุรา + สูบบุหรี่
    + ทำบุญตามประเพณี
    ๘. ด้วยกรรม ดื่มสุรา + สูบบุหรี่
    + บุญเคยบวชพระตามประเพณี
    ๙. ด้วยกรรม ต้มเหล้าขาย[/LEFT]
    + ทำบุญตามประเพณี
    [FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][LEFT]๑๐. ด้วยกรรม เป็นเอเย่นต์ขายสุรา
    + ทำบุญในพระพุทธศาสนา
    ๑๑. ด้วยกรรม ดื่มสุรา +
    บุญเคยบวชพระ + ลูกบวชพระ[/LEFT]
    + บุญที่ทำไว้ในพระพุทธศาสนา
    [/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE]
     
  20. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    เกิดเป็นเทพสายครุฑบนสวรรค์

    ชั้นจาตุมหาราชิกา
    ๑. ด้วยกรรม ตีไก่ + ทะเลาะวิวาท
    เพราะ พนันชนไก่ + คบคนพาล
    ๒. ด้วยกรรม เปิดบ่อนชนไก่ +​
    เคยสั่งสมบุญในพระพุทธศาสนา
    [COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][LEFT]๓. ด้วยกรรม ปาณาติบาต[/LEFT]
    + ทุบหัวสัตว์ + บุญที่อุทิศไปให้
    [FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][FONT=PSL-Bundit][SIZE=5][COLOR=#414142][LEFT]๔. ด้วยกรรม ฆ่าสัตว์ทำอาหาร[/LEFT]
    + บุญที่อุทิศไปให้
    [/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR]
     

แชร์หน้านี้

Loading...