ร่วมแจมประวัติและพระเครื่อง สุดยอดพุทธคุณสายใต้ครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย cornell, 7 พฤศจิกายน 2009.

  1. puedpunon

    puedpunon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    7,130
    ค่าพลัง:
    +16,090
    ๒ เกจิสายใต้ยุคปัจจุบันครับ

    ๒ เกจิสายใต้ยุคปัจจุบันครับ
    ๑.หลวงพ่อชื่น วัดในปราบ รุ่นแรก(ลองมอญ)กระไหล่เงิน/ทอง/สามกษัตริย์
    ๒.หลวงพ่อผล วัดทุ่งนารี รุ่นแรกมีจาร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0023.JPG
      IMG_0023.JPG
      ขนาดไฟล์:
      109.4 KB
      เปิดดู:
      667
    • IMG_0024.JPG
      IMG_0024.JPG
      ขนาดไฟล์:
      117.5 KB
      เปิดดู:
      355
    • IMG_0025.JPG
      IMG_0025.JPG
      ขนาดไฟล์:
      109.4 KB
      เปิดดู:
      228
    • IMG_0021.JPG
      IMG_0021.JPG
      ขนาดไฟล์:
      108.9 KB
      เปิดดู:
      407
    • IMG_0022.JPG
      IMG_0022.JPG
      ขนาดไฟล์:
      119.9 KB
      เปิดดู:
      247
  2. puedpunon

    puedpunon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    7,130
    ค่าพลัง:
    +16,090
    ขออำภัยรูปอาจจะมืดไปหน่อย เพิ่งถ่ายเมื่อกี้ครับ...
     
  3. thth

    thth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    537
    ค่าพลัง:
    +887
    เห็นคุณ cornel เขียนถึงพ่อท่านมุ่ย ซึ่งท่านก็เป็นพระเกจิ 1 ใน 8 รูปที่ท่านนั่งปรกประจำทิศทั้งแปด ในคราวปลุกเสกท้าวจตุคามปี 30 ผมก็เลยขออนุญาติเขียนถึงพ่อท่านหรั่ง วัดห้วยเตง อ.พรหมคีรี จ.นครศรีฯ ซึ่งท่านก็เป็นพระเกจิ 1 ใน 8 รูปที่ท่านนั่งปรกประจำทิศทั้งแปดเช่นเดียวกัน ทางครอบครัวผมจะเคารพนับถือท่านมาก เวลาผมเดินทางไปกราบท่าน ท่านจะสอนผมทันทีโดยยกเรื่องที่ผมทำไม่ถูกต้อง โดยผมยังไม่ได้เล่าอะไรเลย บางครั้งท่านก็จะตักเตือนให้ระวังปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งก็เกิดขึ้นตามที่ท่านได้เตือนไว้ เวลามีเรื่องสำคัญๆ ที่ต้องตัดสินใจผมจะปรึกษาท่านเสมอครับ ซึ่งท่านจะให้ข้อคิดเป็นอรรถเป็นธรรมอยู่เสมอ ถ้าเพื่อนสมาชิกท่านใดมีโอกาสเดินทางไป จ.นครศรีฯ ผมก็ขอแนะนำให้ไปกราบท่านกันนะครับ ตอนนี้ท่านกำลังสร้างเจดีย์สังเวชนียสถาน และอาคารที่พักผู้มาปฏิบัติธรรม จะได้ร่วมทำบุญกันนะครับ

    เหรียญที่แสดงไว้เป็นเหรียญทองคำที่ท่านผู้พิภาคษาศาลจังหวัดได้ขออนุญาติท่านสร้างไว้เมื่อปี 2546 ซึ่งมีจำนวนที่สร้างไว้ประมาณ 11-12 เหรียญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    คุณpuedpunonสุดยอดครับ คุณthth ขอบคุณครับที่ร่วมให้ความรู้ครับ...........มาแจมกันอีกนะครับ
     
  5. hellotawan

    hellotawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +5,233
  6. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    คุณhellotawan
    มีประสบการณหรือเรื่องเล่าใดๆมาร่วมแจมกันนะครับ ยินดีต้อนรับนะครับ
     
  7. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ถึงท่าน<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->channarong_wo<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2718941", true); </SCRIPT> เหรียญท่านสีมั่น ครับองค์นี้ก็สุดยอดครับ เท่าที่รู้บล็อกนิยมก็มี ยันต์แตกและก็บล็อกวงเดือนครับ เนื้อหายากสักนิดก็อัลปาก้าครับ แต่ผมว่าเเบบนี้เเหละ ขลังผ่านศึกมาเยอะครับ
    ส่วนท่านมากับพระ ยินดีนะครับ มาร่วมเล่าประสบการณ์เเละประวัติกันครับ......
    ยินดีต้อนรับครับ
     
  8. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    เห็นพระของท่าน puedpunon วันนี้เลยสวัสดีตอนเช้าวันใหม่กับ เกจิเเห่งนครศรีครับ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงปู่เขียว วัดหรงบล
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    รูปหลวงปู่เขียว วัดหรงบล
    "หลวงปู่เขียว นะโมนมันสการพระอินทมุนี โพธิสัตโต อาราธนานังนะมามิหัง"
    ประวัติหลวงปู่เขียว วัดหรงบล
    หลวงปู่เขียว ถือกำเนิดขึ้นในตะกูลชาวนา เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้นแรมไม่ปรากฏ เดือนยี่ ปีมะเมีย พ.ศ.2424 บิดาชื่อนาย ปลอด มารดาชื่อแป้น มีพี่น้อง 4คน ชาย2หญิง2 หลวงปู่เขียวเป็นพี่ชาวคนโต น้องชายชื่อนายพลับ น้องสาวชื่อนางเอียด และนางปาน น้องชายและน้องสาวเสียชีวิตก่อนท่าน
    การศึกษา
    เมื่อยังเยาว์วัย หลวงปู่เขียวอาศัยพระในบ้านช่วยสอนหนังสือให้อ่านเขียนได้ตามอักขระสมัย ท่านชอบศึกษาเล่าเรียนเป็นชีวิตจิตใจ
    อุปสมบท
    "หลวงปู่เขียว"ท่านตัดสินใจสละเพศฆราวาส เข้าสู่วัดเมื่ออายุได้ 22ปี อุปสมบท ณ วัดคงคาวดี (วัดกลาง) ปีเถาะ พ.ศ.2446 พระครูสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูบริหารสังฆกิจ (เต็ง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระเกื้อเป็นพระกรรมวาจา ได้รับฉายาว่า "อินทมุนี"ได้ปรนนิบัติรับใช้ รับฟังโอวาทจากพระอุปัชฌายะชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้น หลวงปู่เขียว ก็กราบลาพระอุปัชฌายะ ไปศึกษาเล่าเรียนต่อกับพระอาจารย์เอียด วัดบน พระอาจารย์เอียดเก่งทั้งทางโลก และทางธรรม อบรมนิสัยให้เหมาะแก่สมณเพศ จนท่านตั้งใจว่า ขอถือบวชอยู่ในพุทธศาสนาตลอดไป หาทางพ้นทุกข์ตัดอาสวะกิเลสให้สิ้น หลวงปู่เขียวท่านตัดสินใจเดินธุดงค์เป็นวัตร คือ ถือผ้านุ่งห่มบังสกุล 3ชิ้น มีผ้าสบง อังสะ จีวร บิณฑบาตร และฉันอาหารมื้อเดียว(เอกา)เป็นวัตร จึงกราบลาอาจารย์เดินธุดงค์สู่ป่าเขาลำเนาไพร หลวงปู่เขียวเดินธุดงค์ติดต่อกันหลายปี ผ่านจังหวัดกระบี่ ตรังสุราษฎร์ธานี ชุมพร สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ภูเก็ต พังงา และจังหวัดอื่นๆอีกหลายแห่ง
    วัตถุมงคล พระเครื่องหลวงปู่เขียว
    ในปี พ.ศ.2467 หลวงปู่เขียวอายุได้ 53 ปีพอดี ท่านพระครูพิบูลย์ศีลาจารย์(เกลื่อม)เจ้าคณะ ต.บางตะพง อ.ปากพนัง ปกครองวัดกลาง(คงคาวดี)ศรัทธาต่อหลวงปู่เขียว ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านเอง ต้องการได้ของดีของอาจารย์เป็นที่ระลึก จึงหาผ้าขาวมา หาขมิ้นผงมาผสมน้ำทาใต้เท้า ใต้มือท่านแล้ว นิมนต์ท่านอฐิษญานจิตกดเป็นผ้ายันต์แต่ไม่ค่อยชัดนัก ต่อมามีผู้ต้องการมากขึ้น จึงคิดหาหมึกจีนเป็นแท่งมาฝนกับฝาละมีทาเท้าบ้าง ทามือบ้าง ให้หลวงปู่อธิษฐานจิตกดลงบนผ้าขาวเป็นผ้ายันต์ ปรากฏว่าชัดเจนสวยงามดี นับว่าผ้ายันต์รอยมือรอยเท้าหลวงปู่เขียวปรากฏแพร่หลายขึ้นเป็นครั้งแรกในภาคใต้ เมื่อมีผู้ศรัทธามาขึ้นจึงแพร่หลายบอกต่อกันไป มีประชาชนมาขอลูกอมท่านบ้าง หลวงปู่เขียวท่านเคี้ยวชานหมากเสร็จคลึงเป็นลูกอมแล้วมอบให้ บางคนท่านก็เอากระดาษฟางมาลงอักขระเป็นตัวหนังสือขอม หัวใจพระเจ้า 5พระองค์ นะโมพุทธายะ เสร็จแล้วเอาเทียนสีผึ้งห่อหุ้มปั้นเป็นลูกอม หลวงปู่เขียวเป็นพระใจดี พูดน้อยใครขออะไรท่านก็จะทำให้ตามความต้องการแต่ละคน
    วัตถุมงคลที่หลวงปู่เขียว ท่านสร้างมีหลายอย่าง เช่น ผ้ายันต์รอยมือรอยเท้า เชือกคาด ลูกอมเทียน ชานหมาก พระปิดตา เหรียญ และรูปหล่อลอยองค์ พระเครื่องหลวงปู่เขียว เป็นที่ต้องการกันมาก
    พุทธคุณวัตถุมงคลหลวงปู่เขียว
    วัตถุมงคล และพระเครื่องของหลวงปู่เขียว ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ด้านปกป้องคุ้มครองสูงมาก เช่นผ้ายันต์รอยมือรอยเท้าผู้ที่โดนโจรปล้นวัวเกิดต่อสู้กัน เจ้าของวัวพกผ้ายันต์ท่าน กระสุนก็ไม่อาจทำอะไรคนที่พกผ้ายันต์ท่านได้ ซึ่งพุทธคุณพระเครื่องที่ท่านปลุกเสกนั้น โด่งดังไปไกลทั่วประเทศเป็นที่เล่าขานสืบต่อมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าด้านคงกระพัน มหาอุด หรือเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ถือว่า หลวงปู่เขียว วัดหรงบล เป็นสุดยอดเกจิอันดับต้นๆของภาคใต้
    มรณภาพ
    "หลวงปู่เขียว" ท่านมรณภาพ ในปี พ.ศ.2519 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 1ค่ำ เดือน 7 ด้วยโรคชราตามสังขารอายุ รวมได้ 95ปี 74 พรรษา
    ความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงปู่เขียว วัดหรงบล อีกอย่างหนึ่งที่เกือบทุกคนรู้กันดีทั่วบ้านทั่วเมือง ก็คือหลังจากหลวงปู่เขียวท่านมรณภาพแล้ว ทางวัดได้เก็บรักษาสรีระของหลวงปู่ไว้ระยะหนึ่ง ซึ่งปรากฏว่า สรีระร่างกายของหลวงปู่เขียวท่านไม่เน่าเปื่อย และไม่มีกลิ่นเหม็นแต่อย่างใด และเมื่อถึงวันครบกำหนดประชุมเพลิง สรีระของท่านเผาไฟไม่ไหม้ แม้แต่ จีวร ที่ห่อหุ้ม สร้างความมหัศจรรย์เป็นยิ่งนัก ปัจจุบัน สรีระร่างอันอมตะของ หลวงปู่เขียว ก็ยังประดิษฐานอยู่ในหีบแก้วที่วัดหรงบน ทุกวันนี้จะมีผู้คนไปกราบไหว้สักการบูชาอยู่เป็นประจำ
    พระเครื่องของ "หลวงปู่เขียว" เป็นที่ต้องการอย่างมากเนื่องจากพุทธคุณของ หลวงปู่เขียว วัดหรงบล เด่นด้านคงกระพัน มหาอุด
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    อีกสักท่าน นับเป็นอีกหนึ่งเหรียญหลักแห่งสงขลาครับ.....ราคาไปกว่าเเสน....พ่อท่านองค์นี้.....คือ
    พ่อท่านคง วัดธรรมโฆษณ์ สงขลา
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD>ประวัติ ท่านพระครูธรรมโฆษิต วัดธรรมโฆษณ์
    </TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR></TR><TR><TD><TABLE height=180 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=180 bgColor=#003300><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=white>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD><TABLE height=180 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=180 bgColor=#003300><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=white>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top>ประวัติ ท่านพระครูธรรมโฆษิต ท่านพระครูธรรมโฆษิต นามเดิมว่า คง เกิดมาในตระกูลชาวนา เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา พ.ศ. 2414 เป็นบุตรคนโตของนายซัง นางม่า มีน้องอีกสองคนคือ ยังและตั้ง ท่านเกิดที่บ้านหนองปาป(ปัจจุบันเรียก บ้านบ่อปาบ) ตำบลจะทิ้งหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา อุปสมบท โดยมี ท่านอาจารย์ทองขวัญ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระนวล วัดบ่อปาปเป็นกรรมวาจาริย์ พระหนูแก้ว วัดมะม่วง หมู่เป็นอนุสาวนาจารย์ ในพัทธสีมาวัดบ่อปาป ในปี พ.ศ. 2436 ตำแหน่งหน้าที่ เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมโฆษณ์ ในปี พ.ศ. 2443 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. 2453 ถึง พ.ศ. 2502 และเป็นเจ้าคณะตำบลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2453 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่ พระครูธรรรมโฆฆิต เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2492 มรณภาพวันที่ 5 พฤษภาคม 2503 ศิริรวมอายุของพ่อท่านได้ 89 ปี พรรษา 67
    เหรียญรุ่นแรกออกปี2499(ถ้าผิดประการใดอโทษมา ณ ที่นี้ครับ)....
    เหรียญรุ่นสองออกโกลก2502(ทันท่านครับ)
    ผมมีอยู่หนึ่งเหรียญข้างล่างนี้เป็นรุ่น2(ดำๆเลยครับ)
    จำนวนการสร้างอย่างละ3000เหรียญ โดยประมาณ มีเนื้อ
    1.กะไหล่ทอง
    2.กะไหล่เงิน
    3.รมดำ
    ปัจจุบันพบน้อย เนื่องจากสร้างน้อย และ ส่วนมากจะเก็บกันครับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • nnnnnm.jpg
      nnnnnm.jpg
      ขนาดไฟล์:
      85.5 KB
      เปิดดู:
      468
  10. จิ๊กซอ1159

    จิ๊กซอ1159 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +11
    หลวงพ่อคงท่านเป็น อาจารย์ใหญ่สายสงขลา และเป็นอาจารย์ของคุณพ่อชุม ไชยคีรีด้วย
    มาชมข้อมูลดีๆครับพี่หนุ่ม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • amut2-2.JPG
      amut2-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      7.5 KB
      เปิดดู:
      245
  11. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ครับน้องหลวง มาช่วยพี่เล่าหน่อยเร็ว....น้องหลวง
     
  12. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    สวัสดีเช้าวันใหม่ กับ ประวัติพ่อท่านแห่งสงขลา ครับ......
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD>ประวัติพ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>พ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย ผู้สร้างพระซุ้มกอและพระปิดตา วัดแหลมทราย ท่านมีสมณศักดิ์ที่ “พระราชรัตนโมลี” มีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสงขลา ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 13 ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2429 โยมบิดาของท่านเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนชื่อ “สีเซ่ง” มารดาเป็นคนไทยชื่อดำ ณ บ้านท่าหิน ต. ท่าหิน อ. สทิงพระ จ. สงขลา ในวัยเด็กเมื่อมีอายุได้ 11 ปี บิดามารดาได้พาไปฝากให้เรียนหนังสือกับ พระอาจารย์ นวล วัดเสื้อเมือง ได้เรียนอักขระสมัยทั้งหนังสือไทยและขอมจนอ่านออกเขียนได้มีความชำนาญ ครั้นพออายุได้ 16 ปี ก็ได้บรรชาเป็นสามเณร ณ วัดท่าหิน ต. ท่าหิน อ.สทิงพระ จ. สงขลา เมื่อวันศุกร์ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 โดยมีพระอธิการยิ้ม เป็นพระอุปัชณาย์ บรรชาเป็นสามเณรได้ 1 พรรษา ก็ได้สึกออกมาช่วยทางบ้านประกอบอาชีพ ต่อมาเมื่ออายุครบบวชจึงเข้ารับการอุปสมบท ณ วัดเสื้อเมือง ต. เสื้อเมือง อ. สทิงพระ จ. สงขลา เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2451 โดยมี พระอธิการเอียด วัดเสื้อเมืองเป็นพระอุปัชณาย์ พระอธิการทับ วัดพังบัว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเพียร วัดบางเขียด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วก็ไปจำพรรษา ณ วัดมะขามคลาน เพื่อเรียนพระปริยัติธรรม และวิปัสสนากรรมฐานกับ พระอาจารย์กิมเส้ง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส จำพรรษาที่วัดมะขามคลาดได้ 3 พรรษา จากนั้นก็ย้ายไปจำพรรษา ณ วักแหลมทราย อ. เมือง จ. สงขลา กับพระอาจารย์แก้ว แล้วยังไปเรียนบาลีไวยกรณ์และมูลกัจจายน์กับพระครูอั้น วัดไทรงาม กับยังได้ไปเรียนวิทยาคมพระครูพรหมเวชวุฒิคุณ (พรหมทอง) วัดโคก ต่อมาก็ไปศึกษาเพิ่มเติมกับพระอาจารย์แป้นและพระอาจารย์ฤทธิ์ ที่วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ หลังจากนั้นก็กลับไป จำพรรษาที่วัดแหลมทรายเหมือนเดิม ประจวบกับว่าเจ้าอาวาสวัดแหลมทรายได้มรณภาพลง ชาวบ้านและกรรมการวัดเห็นว่าพ่อท่านเส้ง มีคุณสมบัติเหมาะสม ที่จะเป็นท่านเจ้าอาวาส จึงได้ทำเรื่องเสนอไปยังเจ้าคณะจังหวัดสงขลา และได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะจังหวัดให้ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดแหลมทรายสืบมา พ่อท่านเส้งครองวัดแหลมทรายอยู่นับเป็นเวลานานตั้งแต่ พ.ศ. 2456 จนกระทั้งมรณภาพไปอย่างสงบ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 รวมอายุได้ 87 ปี พ่อท่านเส้งเป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาธรรมสูงมาก ให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากและมีความเดือดร้อนโดยถ้วนหน้าไม่เลือกชั้นวรรณะ ใครไปขอความช่วยเหลืออะไรหากท่านมีหรือช่วยเหลือได้ ก็จะช่วยเสมอทุกคน ไม่เคยแสดงถึงความเหนื่อยและความเบื่อหน่ายหรือรำคาญให้ผู้ที่ไปหาได้พบเห็นจะมีแต่รอยยิ้มด้วยความเมตตาปราณีตลอดเวลา แม้จะเป็นถึงพระราชาคณะตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด แต่มีวัตรปฏิบัติที่เรียบง่ายสมกับเพศสมณะ นอกจากนี้ท่านยังทรงภูมิทางวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมเป็นเลิศท่านหนึ่งของภาคใต้ ได้รับนิมนต์ร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ ของภาคใต้หลายต่อหลายครั้งด้วยกัน</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. puedpunon

    puedpunon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    7,130
    ค่าพลัง:
    +16,090
    มีพระปิดตาหรือพระกริ่งของท่านพอจะลงให้เป็นรูปประกอบใหมครับ...
     
  14. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ส่วนตัวของผมเคยมีแต่พ่อผมให้เพื่อนไปแล้วครับ แต่เดี๋ยวผมจะหาของภาพมาลงให้ครับ
     
  15. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD>พระเครื่องพ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ภาพที่ลงนี่มิใช่พระของผมครับ ต้องขออณึญาติมาเผยแพร่ ณ ที่นี้ด้วยครับ
    สาเหตุที่พ่อท่านฯ ชอบสร้างวัตถุมงคล และมีวัตถุมงคลหลากหลายรุ่น และรูปแบบ น่าจะมาจาก
    1. พ่อท่านฯ เป็นพระมาจาก ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา ซึ่งท่านเกิดและเติบโตในพื้นที่ของคนดีมีวิชา ครูบาอาจารย์ดี ๆ เก่ง ๆ ทั้งนั้น (*J* วัตถุมงคลส่วนหนึ่ง พ่อท่านฯ คงจะสร้างเพื่อสืบทอดวิชาความรู้ และบูชาคุณครูบาอาจารย์ )
    2. ในช่วง พ.ศ. 2482-2488 เป็นช่วงสงครามอินโดจีน และสงครามโลกครั้งที่ 2 พ่อท่านฯ เป็นพระ ไม่อาจช่วยเหลือประเทศชาติในด้านการต่อสู้กับข้าศึกศัตรูได้ จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อมอบให้แก่ทหาร ดังเช่น มีการเล่ากันว่า เมื่อเกิดสงครามอินโดจีน ท่านได้นำวัตถุมงคลจำนวนมาก เข้ากรุงเทพฯ เพื่อมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปสงครามอินโดจีน
    3. พ่อท่านฯ เป็นท่านพระนักพัฒนา การพัฒนาวัดแหลมทรายเป็นเป้าหมายสูงสุดของท่าน เพื่อเป็นการตอบแทนแก่ผู้บริจาคปัจจัย เพื่อช่วยสร้างถาวรวัตถุและพัฒนาวัด ท่านจึงได้มอบวัตถุมงคลเป็นการตอบแทนน้ำใจของผู้บริจาคและเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
    ดังเช่นที่กล่าวมา จึงทำให้วัตถุมงคลของท่านมีมากมายหลายรูปแบบหลากหลายรุ่น บางรุ่นท่านก็ไปร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลให้กับวัดอื่น ๆ ท่านก็นำกลับมาแจกจ่ายที่วัดแหลมทรายด้วย ต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลวัตถุมงคลที่พอจะรวบรวมได้
    1. พระโสฬสธาตุ รุ่น 1 (พระปิดตา รุ่น 1)
    [​IMG]
    เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณก้อง หาดใหญ่
    [​IMG]
    เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณโจ้ พัทลุง
    [​IMG]
    พิมพ์ไม่ตัดปีก เอื้อเฟื้อภาพโดย พี่แหลม สงขลา ภาพจากหนังสือสุดยอดพระเครื่อง
    ปีที่สร้าง : ปี พ.ศ. 2484 (ข้อมูลจากคำสัตยาธิษฐานของหลวงพ่อ ในการจัดสร้างพระโสฬสธาตุ รุ่น 2) ซึ่งเป็นช่วงสงครามอินโดจีน
    ลักษณะ : จะเป็นองค์พระปิดตานั่งลอยองค์ขนาดเล็ก ด้านหลังองค์พระเป็นอักขระขอม เนื้อโลหะเป็นทองผสม มีวรรณะเหลืองอมเขียว ในส่วนของโลหะที่ประกอบกันเป็นองค์พระ เกิดจากการเรี่ยไรโลหะต่าง ๆ จากผู้มีจิตศรัทธา เช่น ขันลงหินชำรุด , ภาชนะทองเหลือง , โลหะทุกชนิด มีทอง นาค เงิน รวมถึงพ่อท่านฯ ได้นำแผ่นโลหะทองแดง ขนาด 4 x 5 นิ้ว ส่งไปให้บรรดาพระเกจิอาจารย์ในสมัยนั้น ให้เขียนยันต์ลงในแผ่นทองแดงแล้วส่งคืนมา เพื่อทำพิธีหล่อ “พระโสฬสธาตุ”
    สำหรับที่มาของชื่อ “พระโสฬสธาตุ” ก็เป็นเพราะพระปิดตารุ่นนี้ มีส่วนผสมของโลหะยอดศาสนสถาน อันศักดิ์สิทธิ์ เช่น โบสถ์ อุโบสถ พระเจดีย์วิหาร พระปรางค์ และสถูปต่าง ๆ รวมกันแล้ว เป็นจำนวนโสฬส คือ 16 ยอดพอดี (ยอดของศาสนสถานเหล่านี้ ถือเป็นของสูงและศักดิ์สิทธิ์ และเป็นแหล่งรวมพลังศรัทธาของผู้ไปกราบไหว้บูชา
    นอกจากนี้ท่านยังได้ทำการจารแผ่นยันต์ด้วยยันต์โสฬสมงคล ซึ่งเป็นยันต์โบราณ มีค่าโดยประมาณมิได้ เป็นยันต์ที่ท่านได้เรียนมาจากสมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) วัดสุทัศน์ อาจารย์ของท่าน เมื่อรวบรวมเนื้อโลหะได้มากพอแล้ว ท่านก็ได้ทำการหล่อออกมาเป็นองค์พระเล็ก ๆ ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย โดยได้ทำพิธีเททองและพุทธาภิเษก ณ วัดชัยมงคล อำเภอ เมืองสงขลา โดยได้ทำการปลุกเสกอยู่ 16 วันเต็ม ๆ
    *หมายเหตุ* ในพิธีท่านได้ถือเคล็ด โดยสั่งให้มหรสพทุกประเภท เช่น หนังตะลุง มโนราห์ ที่มาแสดงในงานนี้ ในทุกเรื่องทุกตอนของการแสดง ห้ามไม่ให้มีการตายเกิดขึ้น ถ้าพ่ายแพ้ก็ให้หลบหนีไปได้ ไม่ถูกฆ่าตาย เพื่อเป็นการเอาเคล็ด และในขณะทำพิธีหลอมโลหะอยู่นั้น โลหะที่กำลังหลอมเหลวด้วยความร้อนได้เกิดระเบิด เศษของโลหะที่กำลังหลอมได้กระเด็นไปโดนผู้ร่วมในพิธี แต่ก็ไม่มีผู้ใดร้อน หรือได้รับอันตรายใดเลย
    สิ่งมหัศจรรย์ในพิธี ได้มีปรากฎการณ์ผิดธรรมชาติ คือ มีผึ้งยวนมาเกาะตัวกันเป็นรังยาวอยู่ในโรงพิธี โดยได้มาทำรังเกาะกัน อยู่ตั้งแต่ตอนเริ่มพิธี และเมื่อเสร็จพิธีพุทธาภิเษก ผึ้งเหล่านั้น ก็หายไปหมดโดยไม่ได้มีใครไปไล่ หรือทำอะไรผึ้งเหล่านี้เลย
    พระโสฬสธาตุ รุ่น 1 นี้ เมื่อสร้างเสร็จก็ได้นำไปแจกจ่ายให้กับทหารหาญของชาติ ณ ค่ายทหารคอหงษ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา , ค่ายทหารปืนใหญ่ ร.พัน ๑๓ สวนตูล ตำบลเขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา และค่ายทหารบ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ส่วนที่เหลือก็ได้แจกจ่ายแก่ประชาชนทั่วไป
    คาถากำกับพระโสฬสธาตุ รุ่น 1 ก่อนจะแขวนหรืออม (เพราะพระองค์เล็กมาก บางท่านใช้อมไว้ในปาก) ต้องเสกด้วย พระคาถานี้ “พุทธังแคล้วคลาด พระพุทธเจ้าย่างบาท อิติปิโสภควา ธัมมังแคล้วคลาด พระพุทธเจ้าย่างบาท อิติปิโสภควา สังฆังแคล้วคลาด พระพุทธเจ้าย่างบาท อิติปิโสภควา” แล้วเอาพระแขวนคอ หรืออม เดินภาวนา นอนภาวนา
    ข้อห้าม : พระติดอยู่กับตัวห้ามสังวาสด้วยมาตุคามฯ , ห้ามไม่ให้มีความประมาท เช่น เอาพระผูกคอสัตว์หรือต้นไม้แล้วยิงเพื่อทดลอง
    ใบโพย
    [​IMG]
    2. เสื้อยันต์กันภัย
    [​IMG]
    [​IMG]
    เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณโก๋ สงขลา
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    ในช่วงระหว่างสงครามนั้น นอกจากพระเครื่องแล้ว พ่อท่านฯ ได้ทำเสื้อยันต์สีแดงขึ้นมา เพื่อแจกทหารที่ร่วมรบกับทหารญี่ปุ่น เสื้อยันต์นี้ดีทางแคล้วคลาด และคงกระพัน
    ปีที่สร้าง : ประมาณปี พ.ศ. 2484 ลักษณะ : เป็นเสื้อยันต์สีแดง พิมพ์เป็นลายยันต์ต่าง ๆ ผสมด้วยอักขระขอม ลักษณะคล้ายเสื้อคอกลม ไม่เย็บตะเข็บด้านข้างตัว แต่ใช้วิธีผูกคล้ายเสื้อม่อฮ่อมแทน
    3. ผ้ายันต์
    [​IMG]
    [​IMG]
    ปีที่สร้าง : น่าจะสร้างพร้อมกับเสื้อยันต์ คือ พ.ศ. 2484 เนื่องจากอักขระและลายยันต์ที่พิมพ์ลงไปบนผ้า เป็นแบบเดียวกัน
    ลักษณะ : เป็นผ้ายันต์ลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า สีแดง พิมพ์เป็นลายยันต์ต่าง ๆ ผสมด้วยอักขระขอม มีอักษรไทยว่า วัดแหลมทราย จังหวัดสงขลา เป็นอักขระและลายยันต์แบบเดียวกับเสื้อยันต์
    เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณเลสาบสงขลา
    4. เหรียญเนื้อตะกั่ว พิมพ์พัทธสีมา (เหรียญแจกแม่ครัว)
    > [​IMG]
    เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณเลสาบ สงขลา
    เหรียญนี้ได้ข้อมูลปีที่สร้างมาจากหนังสือคู่มือพระส่งประกวด ในนิทรรศการประกวดพระเครื่องพระบูชาและเหรียญคณาจารย์ทั่วประเทศ ซึ่งได้จัดในวาระฉลองครบรอบ 100 ปี ของโรงเรียนมหาวชิราวุธ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยเป็นหนึ่งในประเภทพระของจังหวัดสงขลาที่มีการจัดประกวด
    ปีที่สร้าง : ประมาณปี พ.ศ. 2484 (น่าจะสร้างพร้อมกับพระปิดตา รุ่น 1)
    ลักษณะ : เป็นเหรียญเนื้อตะกั่ว พิมพ์พัทธสีมา ด้านหน้ามีภาพองค์พระพุทธประทับนั่ง หลังองค์พระพุทธเป็นเสนาธรรมจักร มีกวางหมอบอยู่ข้างใต้ ด้านล่างของเหรียญมีอักษรว่า “วัดแหลมทราย”
    ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์ มีตรีอยู่ใต้ยันต์ และมีคำว่า “สงขลา” อยู่ด้านล่าง เป็นเหรียญมีรูสำหรับใส่ห่วงในตัว
    วัตถุประสงค์ในการสร้าง : (*J* จากชื่อของเหรียญที่ใช้ในประเภทที่จัดประกวด คงจะเป็นเหรียญที่จัดสร้างเพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้กับบรรดาแม่ครัว ผู้มาร่วมทำอาหารถวายพระภิกษุและประชาชนทั่วไปที่มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกพระโสฬสธาตุ รุ่น 1 (พระปิดตา รุ่น 1) ในขณะนั้น ซึ่งใช้เวลาในการพุทธาภิเษก ณ วัดชัยมงคล ถึง 16 วันเต็ม)
    *หมายเหตุ* เหรียญนี้จะมีลักษณะคล้ายกับเหรียญที่ระลึกพิธีฉลองอุโบสถหลวงพ่อ วัดเขาตะเครา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    ไม่ได้ตามตั้งแต่ต้น ไม่ทราบมีใครเล่าประวัติหลวงพ่อเอียด วัดบางกล่ำไปรึยัง?จริงๆแล้วเกจิสายใต้ที่เก่งจริงและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันมีมากว่าภาคกลางซะอีก แต่ผมยังไม่มีโอกาสได้เปิดประวัติท่านเลย ช่วงนี้มัวแต่เปิดประวัติพระภาคเหนืออยู่ ที่จริงครูบาอาจารย์ผมเป็นพระปักษ์ใต้หลายรูปทีเดียว บางองค์มากทม.ยังงัยๆก็ต้องมาบ้านผมลูกศิษย์ไม่พามาไม่ยอมกลับ ปัจจุบันท่านมรณภาพไปแล้ว ท่านพ่อบุญมาก วัดท่าสะเม็ด เสียดายไฟล์รูปสวยๆของท่านหายไป

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2009
  17. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    รบกวน คุณมากับพระ เเจมเล่าประวัติ ด้วยครับ ผมรออ่านครับผม....ยินดีมากๆครับ
     
  18. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    มีแต่ของเด็ด ๆ ทั้งนั้นเลยค่ะ
     
  19. ohrm

    ohrm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +338
    สุดยอดเลยครับคุณ cornell ที่นำประวัติพระดี ศรีทักษิณ มาเผยแพร่กัน
    ข้อมูลสุดยอด มากเลยครับ นับถือๆครับ

    ร้านค้าพระเครื่อง ออนไลน์ - พระเครื่องมณีเลิศ - 1

    ร้านค้าพระเครื่อง ออนไลน์ - พุทธาคุณคุ้มเกล้า - 1
     
  20. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    9โมงเช้านี้ สวัสดีวันหยุด กับประวัติครูบาอาจารณ์สายเขาอ้อ อีกท่านที่ประสบการณ์มีมามากแล้วครับ..........
    พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD>ประวัติ:พระอาจารย์ปาน ปาลธัมโม วัดเขาอ้อ </TD></TR><TR><TD vAlign=top> พระเกจิอาจารย์ผู้เข้มขลังทางวิทยาคุณ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังต่อจากท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า เจ้าสำนักเขาอ้อ นอกจากจะมีพระอาจารย์เอียด ปทุมสโร หรือ พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เจ้าอาวาสวัดดอนศาลา แล้ว ก็ยังมีอีกรูปหนึ่งคือ พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ท่านผู้นี้นอกจากจะเป็นศิษย์เอกรูปหนึ่งของท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าแล้ว ยังได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าสำนักสืบต่อจากท่านด้วย
    ความจริงแล้วทราบจากศิษย์สายเข้าอ้อหลายท่านว่า ครั้งแรกท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า ได้คัดเลือกศิษย์ที่จะให้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักไว้เรียบร้อยแล้ว และได้ถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ ที่เจ้าสำนักควรรู้ไปให้หมดแล้ว ศิษย์เอกรูปนั้นคือ พระอาจารย์เอียด ปทุมสโร แต่เพราะความจำเป็นในเรื่องที่วัดดอนศาลา ซึ่งเป็นวัดสาขา เป็นสำนักที่ถือว่าเป็นแขนขาสำคัญแห่งหนึ่งของสำนักเขาอ้อขาดเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านไปขอพระจากท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า เพราะเห็นว่าวัดแห่งนี้มีความสัมพันธ์ไกล้ชิดต่อเนื่องกันมา และที่สำคัญตอนนั้นวัดที่มีพระที่เหมาะสมที่จะเป็นเจ้าอาวาสมากที่สุด คือ วัดเขาอ้อ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นสำนักใหญ่ที่คึกคักด้วยคณาศิษย์และผู้คนที่เดินทางไปมาหาสู่ ท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าจำเป็นต้องส่งคนที่เหมาะสมที่สุดในขณะนั้น ก็คือพระอาจารย์เอียด ปทุมสโร
    เมื่อต้องสละพระอาจารย์เอียดให้กับวัดดอนศาลาไป ท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าจำเป็นต้องคัดเลือกศิษย์รูปใหม่ขึ้นมา เพื่อที่จะให้เป็นทายาทสือทอดตำแหน่งเจ้าสำนักเขาอ้อแทนท่านอาจารย์เอียด พิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆ แล้วในที่สุดท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าก็ตัดสินใจเลือก พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ศิษย์อาวุโสรองจากท่านอาจารย์เอียด
    เรื่องการคัดเลือกศิษย์ที่จะมาเป็นทายาทในการสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักนั้น ถือเป็นภารกิจอย่างหนึ่งของเจ้าสำนัก ซึ่งเป็นภารกิจที่หนักหน่วงอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ การที่จะคัดเลือกใครสักคนให้มาทำหน้าที่สำคัญที่สุดในสำนักต้องพิจารณากันหลายๆ ประการ ต้องอาศัยความรอบคอบเป็นพิเศษ เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะนำพาสำนักซึ่งโด่งดังและคงความสำคัญมาร่วมพันปีไปสู่ความเสื่อมเสียได้
    ผู้รู้ประวัติสำนักเขาอ้อท่านหนึ่งได้กรุณาอธิบายให้ฟังถึงวิธีการคัดเลือกศิษย์ ที่จะมาเป็นทายาทเจ้าสำนักว่า เนื่องจากวัดเขาอ้อเป็นวัดที่วิวัฒนาการมาจากสำนักทิศาปาโมกข์ ซึ่งแต่ก่อนมีพราหมณาจารย์ หรือ ฤาษี เป็นเจ้าสำนัก สืบทอดวิชาตามตำราของพราหมณ์ ซึ่งในตำรานั้นจารึกวิทยาการไว้มากมายหลายประการ มากเสียจนคนๆ เดียวไม่สามารถศึกษาเล่าเรียนได้หมด ต้องแบ่งกันศึกษาเล่าเรียน ฉะนั้นการแบ่งนี้ก็ต้องเลือกคนที่ต้องการจะเรียนตามความเหมาะสม การสอนให้คนที่เรียนตามจริต หรือ ความชอบ เพราะวิชาของสำนักเขาอ้อบางอย่างเหมาะกับบรรพชิต บางอย่างเหมาะกับฆราวาส บางอย่างผู้หญิงห้ามแตะต้อง บางอย่างผู้ชายทำไม่ได้ ทำได้แต่ผู้หญิง บางอย่างฆราวาสทำไม่ได้ทำได้แต่บรรพชิต บางอย่างบรรพชิตทำไม่ได้ทำได้แต่ฆราวาส แต่คนที่จะมาทำหน้าที่เจ้าสำนักต้องเรียนทั้งหมด แม้ตัวเองทำไม่ได้ ก็ต้องเรียนรู้ไว้เพื่อจะถ่ายทอดให้คนที่ทำได้เอาไปทำต่อไป ฉะนั้นคนที่เป็นเจ้าสำนักจะต้องมีความรู้มากที่สุด และต้องอาศัยสติปัญญาสูงสุดจึงจะสามารถรับถ่ายทอดวิชาทั้งหมดนั้นได้
    ทีนี้มาว่ากันถึงคุณสมบัติเบื้องต้นของคนที่จะถูกเลือกเป็นทายาทเจ้าสำนักได้ ผู้รู้ท่านนั้นท่านได้หยิบคุณสมบัติสำคัญอันดับต้นๆมาให้เพียง 3 อย่างนั่นคือ
    ๑. ต้องมีดวงชะตาดี โดยพิจารณาจากการตรวจดวงชะตาแล้ว
    ๒. ต้องมีคุณธรรมดี
    ๓. ต้องมีสติปัญญาเป็นเลิศ
    แล้วท่านก็อธิบายถึงความสำคัญของคุณสมบัติเหล่านี้ให้ฟังว่าที่ต้องเอาคนดวงชะตาดีนั้น เพราะในอนาคตไม่มีใครสามารถกำหนดได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับสำนัก คนเราอาจจะดีวันนี้ แต่วันข้างหน้าไม่ดี ตามความเชื่อของพราหมณ์นั้นเชื่อในเรื่องของดวงชะตา ชะตาจะเป็นผู้กำหนดให้มนุษย์เป็นไป ฉะนั้นการตรวจดวงชะตาเป็นการช่วยทำให้ทราบความเป็นไปในอนาคตของมนุษย์ได้
    ความมีคุณธรรมเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของบุคคลที่จะถูกเลือกเป็นเจ้าสำนักเขาอ้อ เพราะหากขาดคุณสมบัติข้อนี้แล้วไซร้ ปัญหานานาประการอาจจะเกิดขึ้นได้ คุณธรรมที่ต้องมีนั้นยังระบุชัดเจนลงไปว่า
    จะต้องมีเมตตาเป็นเยี่ยม
    จะต้องมีความเสียสละเป็นเลิศ
    จะต้องรักสันโดษมักน้อยเป็นอุปนิสัย
    เพราะว่า หากผู้ถูกเลือกเป็นคนเห็นแก่ตัว ขาดเมตตาธรรม ก็มีโอกาสนำวิชาความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดไป ซึ่งมีมากที่สุด ไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง อาจส่งผลเสียต่อส่วนรวม ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของเจ้าสำนักเขาอ้อ สำนักเขาอ้อตั้งขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ โดยการเอาการเสียสละของเจ้าสำนักเป็นที่ตั้ง
    ความมักน้อยสันโดษเป็นอุปนิสัย ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคุณธรรมข้ออื่นๆ กล่าวคือ หากบุคคลผู้นั้นเป็นคนฟุ่มเฟือย ละโมบโลภมาก ก็อาจนำวิชาความรู้ และหน้าที่ไปใช้เพื่อรับใช้กิเลสส่วนตนมากกว่าจะส่งผลประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
    มีสติปัญญาเป็นเลิศ
    คุณสมบัติข้อนี้ก็สำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนที่จะถูกเลือกเป็นเจ้าสำนักวัดเขาอ้อ ก็อย่างที่เรียนไปแล้วแต่ต้นว่าวิชาของสำนักเขาอ้อนั้นมีมากมายหลายประเภทหลายแขนง แต่ส่วนคนทั่วไป เป็นการแยกสอนให้ตามความเหมาะสม ซึ่งแต่ละส่วนก็นับว่าเรียนยาก ต้องอาศัยสติปัญญาระดับหนึ่งจึงจะเข้าถึงวิชานั้นๆได้ แต่สำหรับคนที่จะต้องทำหน้าที่เจ้าสำนักต่อไปจะต้องใช้สติปัญญาอย่างมาก เพื่อจะต้องเรียนวิชาต่างๆหมดสิ้น รู้ให้หมด ทำให้ได้ เพราะนอกจากจะเรียนเพื่อปฏิบัติเองแล้ว ยังต้องเรียนรู้ขนาดที่จะต้องถ่ายทอดให้คนอื่นในฐานะเจ้าสำนักต่อไปได้ด้วย ฉะนั้นเรื่องระดับสติปัญญานับว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ถูกหยิบยกมาพิจารณาอย่างละเอียด
    หลักเกณฑ์การคัดเลือกเจ้าสำนักดังกล่าวนี้เอง ทำให้สำนักวัดเขาอ้อสามารถรักษาวิชาสำคัญๆ และสืบทอดวิทยาการต่างๆต่อกันมาได้ จนถึงพระอาจารย์ปาล ซึ่งถือเป็นเจ้าสำนักที่ได้รับการคัดเลือกจากเจ้าสำนักรูปก่อน และอาศัยคุณสมบัติดังกล่าวเป็นรูปสุดท้าย เพราะหลังจากสิ้นท่านแล้ว สำนักวัดเขาอ้อก็กลายเป็นวัดธรรมดาๆ วัดหนึ่ง มีพระที่มีพรรษาอาวุโสสูงสุดขึ้นเป็นเจ้าอาวาส โดยการแต่งตั้งของคณะสงฆ์ที่ทำหน้าที่ปกครองในเขตนั้น พิจารณาจากคุณสมบัติทางสงฆ์ ซึ่งถือคุณสมบัติทั่วไป ประเพณีการเลือกเจ้าสำนักอันสืบทอดมาแต่เดิมก็จบสิ้นลงแค่สมัยอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ซึ่งมีเหตุผลให้จบเช่นนั้น สำนักวัดเขาอ้อซึ่งเคยมีฐานะเป็นสำนักทิศาปาโมกข์ก็เหลือเพียงตำนาน และหลักฐานทางโบราณวัตถุเพียงไม่กี่ชิ้น ซึ่งก็น่าเสียดายอยู่ไม่น้อย แต่เมื่อพิจารณาให้ดี ก็เห็นว่าความเป็นไปของสำนักนี้ เป็นไปตามกฎธรรมชาติเพราะสรรพสิ่งในโลกนี้ ไม่มีอะไรถาวร ทุกอย่างย่อมมีการเกิดเป็นจุดเริ่ม การเจริญเติบโตและตั้งอยู่เป็นท่ามกลาง มีความเสื่อมโทรมและสิ้นสุดเป็นที่สุด สำนักเขาอ้อก็ตกอยู่ในสภาพธรรมนี้ ซึ่งเหมือนกับสำนักใหญ่ๆในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นตักศิลานคร ต้นกำเนิดวิทยาการอันยิ่งใหญ่ในอดีต หรือสำนักใหญ่ๆอื่นๆ
    การเสื่อมสลายความสำคัญของสำนักเขาอ้อภายหลังยุคพระอาจารย์ปาล มีเหตุผลอยู่หลายประการ เป็นต้นว่า
    ๑. สังคมเปลี่ยนค่านิยม
    ๒. การคมนาคมเปลี่ยนเส้นทาง
    ๓. วิทยาการสมัยใหม่รุกราน
    ๔. ขาดผู้นำที่เหมาะสมมาสืบทอดต่อ และอีกเหตุผลหนึ่งที่คณะศิษย์เขาอ้อลงความเห็นเพิ่มเติม คือ เพราะพระอาจารย์ปาลเป็นเจ้าสำนักรูปแรกและรูปเดียวที่ไม่มีชื่อทองนำหน้าหรือต่อท้าย เหมือนกับเจ้าสำนักรูปอื่นๆที่เคยมี ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์อยู่ไม่น้อย ก็อย่างที่ว่า สำนักเขาอ้อแห่งนี้ตั้งแต่ก่อตั้งมา มีนามว่าทองขึ้นต้นหรือต่อท้ายทุกรูป ตั้งแต่พระอาจารย์ทอง ปฐมาจารย์แห่งสำนักเขาอ้อ จนถึงปรมาจารย์ทองเฒ่า ทองรูปสุดท้าย ข้อสังเกตนี้มีส่วนน่าเชื่อถือแค่ไหน เหตุการณ์ภายหลังการมรณภาพของพระอาจารย์ปาล เป็นส่วนสนับสนุนได้อีกอย่างหนึ่ง
    สำหรับประวัติพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม นั้น ไม่ค่อยจะมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรให้อ้างถึงได้มากนัก เนื่องจากพระอาจารย์ปาลท่านเป็นพระที่หนักไปในทางสันโดษ ชอบอยู่เงียบๆ ไม่ค่อยสุงสิงกับสังคมภายนอก ประกอบกับการบันทึกหลักฐานในสมัยท่านยังไม่แพร่หลายมากนัก และที่สำคัญตัวท่านไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักฐานทางบ้านเมืองมากนัก กล่าวคือไม่เข้าสู่ระบบการปกครองของคณะสงฆ์ เหมือนกับพระอาจารย์เอียด ที่ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรและได้เป็นเจ้าคณะตำบล ทางคณะสงฆ์จึงได้บันทึกประวัติและผลงานของท่านไว้ ทำให้มีหลักฐานลายลักษณ์อักษรให้ศึกษาค้นคว้าถึงได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับกรณีของพระอาจารย์ปาล จึงจำเป็นต้องอาศัยหลักฐานจากคำบอกเล่าของชาวบ้านไกล้วัดที่เคยได้พบเห็นท่านเป็นสำคัญ
    จากคำบอกเล่าของคุณตามงคล ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติไกล้ชิดกับพ่อท่านปาล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพระอาจารย์ปาลมาว่า บรรพบุรุษของพระอาจารย์ปาลเป็นชาวระโนด จังหวัดสงขลา ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บริเวณบ้านเขาอ้อ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าพระอาจารย์ปาลท่านมาเกิดที่เขาอ้อ หรือเกิดที่ระโนดแล้วอพยพตามครอบครัวมา แต่ว่าแม้จะเกิดที่ระโนด ก็คงจะมาตั้งแต่เล็กๆ อย่างน้อยก็ก่อนจะเข้าโรงเรียน
    พระอาจารย์ปาลเป็นญาติกับพระอาจารย์ทองเฒ่า ส่วนจะเป็นญาติใกล้ชิดกันแค่ไหนก็ไม่สามารถระบุได้ แต่ก็เข้าใจว่าใกล้ชิดกันพอสมควร เพราะพระอาจารย์ทองเฒ่าก็มีพื้นเพเดิมเป็นชาวระโนดเช่นกัน ครอบครัวของพระอาจารย์ปาลคงจะใกล้ชิดและเคารพนับถือพระอาจารย์ทองเฒ่ามาก ด้วยเหตุนี้เมื่อพระอาจารย์ปาลมีอายุพอที่จะเรียนหนังสือได้ พ่อแม่จึงได้พาไปฝากให้อยู่ศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดเขาอ้อ ซึ่งสมัยนั้นเป็นสำนักใหญ่และสำคัญที่สุดในละแวกนั้น มีลูกศิษย์มากมาย
    ผู้เฒ่าท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า พระอาจารย์ปาลเป็นคนเรียนเก่ง แต่ค่อนข้างจะดื้อ มีอุปนิสัยรักสนุก ร่าเริง เป็นนักเสียสละตัวยง เป็นที่รักใคร่ของศิษย์ร่วมสำนักทุกรูปทุกคน ท่านถึงกับเคยรับโทษแทนเพื่อนหลายครั้ง พระอาจารย์ปาลเรียนอยู่ในสำนักวัดเขาอ้อนานจนมีวัยพอที่จะบวชเรียนได้ พระอาจารย์ทองเฒ่าจึงได้จัดการให้บวชเป็นสามเณรแล้วให้อยู่ศึกษาพระธรรมและวิทยาคมต่างๆ อยู่ในสำนักเขาอ้อ
    พระอาจารย์ปาลบวชตั้งแต่สามเณรจนกระทั่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเขาอ้อ โดยมีพระอาจารย์ทองเฒ่าเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ อุปสมบทแล้วก็ศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมและช่วยพระอาจารย์ทองเฒ่าอยู่ที่สำนักเขาอ้อต่อไป จนกระทั่งพระอาจารย์ทองเฒ่าคัดเลือกให้เป็นทายาทเจ้าสำนักถ่ายทอดวิชาสำคัญๆให้จนหมดสิ้น
    ต่อมาเมื่อพระอาจารย์ทองเฒ่ามรณภาพลง ในฐานะทายาทเจ้าสำนัก และเป็นพระที่มีพรรษาอาวุโสที่สุด พระอาจารย์ปาลจึงขึ้นเป็นเจ้าสำนักสืบทอดต่อ ทำหน้าที่ต่างๆต่อจากพระอาจารย์ทองเฒ่า
    ภายหลังการมรณภาพของพระอาจารย์ทองเฒ่า จึงมีศิษย์ของสำนักวัดเขาอ้อที่มีชื่อเสียงโด่งดังพร้อมกันสองรูป คือ พระอาจารย์เอียด เจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ในฐานะศิษย์เอกคนโต และพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม เจ้าสำนักเขาอ้อ แต่เจ้าสำนักทั้งสองต่างเคารพรักใคร่กันมาก ไปมาหาสู่กันไม่ได้ขาด พระอาจารย์เอียด แม้จะมีภาระใหญ่อยู่ที่วัดดอนศาลา แต่ก็ไม่ทอดทิ้งวัดเขาอ้อ เพราะตระหนักอยู่เสมอว่าเป็นสำนักที่ให้วิชาความรู้ เป็นบ้านที่ท่านเติบโตขึ้นมา ฉะนั้นเมื่อไม่มีพระอาจารย์ทองเฒ่า ก็จะต้องไปดูแลช่วยเหลือพระอาจารย์ปาลทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เพราะโดยส่วนตัวพระอาจารย์เอียดรักใคร่เมตตาศิษย์น้องรูปนี้มาก เคยใกล้ชิดสนิทสนมกันเมื่อคราวอยู่ร่วมสำนักที่เขาอ้อ ในสายตาพระอาจารย์เอียด พระอาจารย์ปาลคือศิษย์น้องหัวดื้อ แต่เคารพรักศิษย์พี่อย่างท่านมาก
    ในขณะเดียวกัน ในสายตาพระอาจารย์ปาล พระอาจารย์เอียดคือพี่ชาย คือศิษย์พี่ที่จะต้องเคารพเชื่อฟังต่อจากอาจารย์ และโดยส่วนตัวแล้วเมื่อคราวอยู่ร่วมสำนักกัน ศิษย์พี่รูปนี้คอยช่วยเหลือเจือจุนท่านมามาก ด้วยความเคารพนับถือที่มีต่อกัน ท่านทั้งสองจึงถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ต่างระมัดระวังในบทบาทของกันและกัน ด้วยเกรงว่าจะเด่นกว่าอีกฝ่าย
    ว่ากันว่าโดยธรรมเนียมแล้ว ผู้เป็นประธานหรือควรจะมีบทบาทเด่นที่สุดในสายเขาอ้อขณะนั้น ก็คือ พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ในฐานะเจ้าสำนัก แต่เนื่องจากพระอาจารย์เอียดก็เป็นศิษย์ที่ปรมาจารย์ทองเฒ่าคัดเลือกให้เป็นทายาท ถ่ายทอดวิชาไว้ให้เท่าๆกัน และที่สำคัญมีความอาวุโสมากกว่า พระอาจารย์ปาลจึงเคารพและระมัดระวังบทบาทของตัวเองไม่ให้ยิ่งไปกว่าศิษย์พี่ พระอาจารย์เอียดเองก็ตระหนักในข้อนี้ แม้ว่าท่านจะมีความรู้ความเชียวชาญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระอาจารย์ปาล มีพรรษาอาวุโสกว่า แต่ก็ตระหนักดีว่าพระอาจารย์ปาลเป็นเจ้าสำนักใหญ่ ทานจึงให้เกียติมาก ระมัดระวังในบทบาทตัวเองอย่างสูง
    ต่อมาดูเหมือนว่าท่านทั้งสองหาทางออกได้ โดนพระอาจารย์ปาลแสดงบทบาทของตัวเองเต็มที่ในสำนัก ส่วนภายนอกมอบให้พระอาจารย์เอียด และตัวพระอาจารย์เอียดเองก็เปลี่ยนไปทำงานให้คณะสงฆ์เสียมากกว่า มอบภาระอันเป็นหน้าที่ของเจ้าสำนักเขาอ้อให้พระอาจารย์ปาลดำเนินการต่อไป ท่านอยู่ในฐานะผู้ช่วยและที่ปรึกษา + ด้วยเหตุนี้ในสำนักเขาอ้อพ ระอาจารย์ปาลจึงทำหน้าที่เจ้าสำนักได้เต็มที่หน้าที่หลักๆ ของเจ้าสำนักเขาอ้อมีดังนี้
    ๑. เป็นประธานอำนวยการในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่เคยดำเนินสืบทอดต่อๆกันมา เป็นต้นว่าพิธีอาบว่าน ปลุกเสกพระ กินน้ำมันงา และพิธีอื่นๆ
    ๒. คัดเลือกศิษย์ ถ่ายทอดวิชา และอบรมศิษย์ในสำนัก
    ๓. ช่วยสงเคราะห์ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากซึ่งเดินทางไปพึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งมีทั้งป่วยทางจิตและทางกาย ท่านก็บำบัดไปตามที่ร่ำเรียนมา ป่วยทางจิตก็ใช้เวทมนต์คาถาเข้าช่วย ป่วยทางกายก็ใช้ยาสมุนไพรเข้าช่วย
    ๔. เป็นประธานในพิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับสำนักเขาอ้อ ในฐานะที่เป็นเจ้าสำนักเขาอ้อ เรียกว่าเป็นประธานโดยตำแหน่ง
    ๕. คอยดูแลและว่ากล่าวตักเตือนคณะศิษย์ของเขาอ้อที่ออกจากสำนักไปแล้ว หน้าที่นี้คือคอยดูสอดส่องและให้ความร่วมมือ ในกรณีที่ผู้ที่ร่ำเรียนวิชาจากสำนักเขาอ้อไปสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคม อาจจะเป็นผู้ประสานงาน ช่วยเหลือเกลี้ยกล่อม ว่ากล่าวตักเตือน หรือถึงกับให้ความช่วยเหลือในการบำราบปราบปรามเอง เพราะว่าแน่นอนวิชาที่เจ้าสำนักมีอยู่ย่อมมากกว่าคนอื่น ตรงนี้ถือเป็นความรับผิดชอบที่น่าชื่นชมของสำนักแห่งนี้
    ๖. รักษาของสำคัญของสำนัก อันเปรียบเสมือนเครื่องหมายเจ้าสำนักที่แท้จริง ซึ่งมีอยู่หลายประการ ที่สำคัญก็มี ตำรา ลูกประคำดีควายที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ไม้เท้ากายสิทธิ์ ที่ใช้ในการจี้รักษาโรคและปลุกเสกวัตถุมงคล เพราะภายใต้ปลายไม้เท้าบรรจุธาตุศักดิ์สิทธิ์ไว้จำนวนมาก
    โดยสรุปแล้วท่านอาจารย์ปาลก็ทำหน้าที่ต่างๆ อยู่ที่วัดเขาอ้อเสียเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าใหญ่อยู่ที่วัดเขาอ้อ ส่วนข้างนอกให้พระอาจารย์เอียดใหญ่บ้าง ว่ากันโดยวิทยาคุณแล้ว พระอาจารย์ปาลก็เข้มขลังไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเจ้าสำนักรูปอื่นๆ ท่านสำเร็จวิชาสำคัญๆ ของสำนักเขาอ้อแทบทุกอย่าง แต่เพราะยุคของท่านเป็นยุคเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม วัดเริ่มถูกลดบทบาทลง โดยเริ่มจากการศึกษา ซึ่งเคยเป็นหน้าที่ของวัดถูกรัฐบาลเอาไปดำเนินการเสียเอง หน้าที่และความสำคัญหลายอย่างของวัดถูกรัฐบาลนำไปทำเสียเอง วัดเลยลดความสำคัญลงไปมาก พระอาจารย์ปาลก็เลยต้องลดบทบาทลงไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามท่านก็ทำหน้าที่ของเจ้าสำนักวัดเขาอ้อได้สมบูรณ์ตามสถานการณ์จนกระทั่งมรณภาพ
    พระอาจารย์ปาลอยู่ที่สัดเขาอ้อจนกระทั่งชราภาพมากเข้า ในวาระบั้นปลายของท่าน วัดเขาอ้อเข้าสู่ภาวะซบเซา พระภิกษุสามเณรในวัดมีน้อย ในขณะเดียวกันวัดดอนศาลากลับคึกคักขึ้นมาแทน เมื่อท่านชราภาพจนช่วยเหลือตนเองไม่ค่อยสะดวก ศิษย์รูปหนึ่งของท่าน คือพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร รองเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ได้นำท่านมาอยู่ที่วัดดอนศาลา เพื่อจะดูแลปรนนิบัติรับใช้ได้สะดวกกว่า
    พระอาจารย์ปาลอยู่ที่วัดดอนศาลาหลายปี จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะเกือบจะสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านทราบวาระของตัวเอง จึงขอให้ศิษย์นำกลับไปที่วัดเขาอ้ออีกครั้ง เพื่อที่จะกลับไปมรณภาพที่สำนักวัดเขาอ้อ เหมือนกับเจ้าสำนักรูปก่อนๆ คณะศิษย์เห็นใจ สนองตอบความต้องการของท่าน นำท่านกลับไปอยู่ที่วัดเขาอ้อ พระอาจารย์ปาลกลับไปอยู่ที่วัดเขาอ้อในสภาพอาพาทหนักด้วยโรคชราไม่ถึงสองเดือน ก็ถึงแก่มรณภาพ
    เรื่องที่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับชีวประวัติเรื่องหนึ่งที่ต้องกล่าวถึง คือ เรื่องการสำเร็จวิชานิ้วชี้เพชรของท่านอาจารย์ปาล ในกระบวนวิชาสำคัญๆระดับหัวกะทิที่บุคคลระดับเจ้าสำนักถึงจะได้เรียนนั้น มีวิชานิ้วชี้เพชรเป็นวิชาหนึ่งที่น่าสนใจ เล่ากันว่าใครสำเร็จวิชานี้ นิ้วชี้ด้านขวาจะแข็งเป็นหิน มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ใช้ชี้อะไรก็สามารถกำหนดให้เป็นให้ตายได้ ผู้ที่สำเร็จวิชามรณภาพแล้ว แม้สังขารถูกเผาไฟไหม้ส่วนต่างๆได้หมด แต่นิ้วชี้เพชรจะไม่ถูกไฟไหม้ เพราะเหตุนี้ นิ้วของเจ้าสำนักวัดเขาอ้อจึงถูกเก็บไว้ เท่าที่มีผู้คนเคยเห็น ก็มีนิ้วชี้ของท่านพระอาจารย์ทองเฒ่าซึ่งเก็บรักษาไว้ที่วัดบ้านสวน วัดสาขาสำคัญอีกวัดหนึ่งของวัดเขาอ้อ สันนิษฐานสาเหตุที่ไปอยู่ที่นั้น ก็เพราะพระอาจารย์คงนำไป คือ เข้าใจว่านิ้วชี้เพชรของท่านอาจารย์ทองเฒ่านั้น ภายหลังจากเผาไม่ไหม้ พระอาจารย์เอียดหรือไม่ก็พระอาจารย์ปาลเก็บรักษาไว้ เมื่อพระอาจารย์มรณภาพ พระอาจารย์คงในฐานะศิษย์ผู้รับมรดกหลายอย่างของพระอาจารย์เอียด ก็ได้รับนิ้วชี้เพชรนั้นไปเก็บรักษาต่อ นิ้วชี้เพชรของปรมาจารย์ทองเฒ่า เคยตั้งให้คนทั่วไปชมอยู่ที่วัดบ้านสวน แต่เมื่อท่านอาจารย์คงมรณภาพก็ถูกเก็บเงียบระยะหนึ่ง แต่ก็มีผู้ยืนยันว่ายังอยู่ที่วัดบ้านสวน แต่เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
    ส่วนนิ้วชี้เพชรของพระอาจารย์ปาลนั้นมีผู้ยืนยันว่าเก็บรักษาไว้ที่วัดเขาอ้อ แต่ในปัจจุบันไม่ทราบว่ายังอยู่หรือเปล่า เพราะข้าวของสำคัญๆ ของวัดหลายอย่างได้สูญหายไปภาพหลังท่านมรณภาพ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...