พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    อย่างนี้คงต้องให้คุณหนุ่ม (แชมป์หมากรุก) แนะนำบ้างแล้ว ครับ หุ หุ
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    แนะนำจำตารางม้าก่อนครับ

    ผมเคยเก็บตารางม้าเดิน 64 ตาไว้หลายแบบ แต่ไม่รู้ว่า ไปเก็บไว้ไหนแล้ว สงสัยจะหายไปแล้วครับ

    ส่วนใหญ่ ผมไม่เลือกเรือ แต่เลือกม้า เพราะ ตาที่ม้าลงได้ จะเป็นตาที่ผู้เล่นไม่ค่อนได้ระวังมาก และดูได้ไม่ละเอียดมากครับ
     
  3. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลกับคำชี้แนะครับ ขอยอมรับนับถือเลย:cool: สำหรับผม เห็นตารางก็ชักมึนแล้วครับ :)
     
  4. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    เข้าใจที่มาของสำนวน "เดินไม่ดูตาม้าตาเรือ" แล้ว ครับ :cool:<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    09-11-2009 11:37 AM

    วันนี้ ผมขอแจ้งให้สมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้าทุกๆท่านได้ทราบว่า หากท่านใดที่ทำได้ใน 2 ข้อ ผมจะมีพระวังหน้า พิมพ์หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง(หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า และหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง อธิษฐานจิต) , พิมพ์ข้างหมอน (หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า ,หลวงปู่อิเกสาโร และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อธิษฐานจิต) ,พระสมเด็จ กรมท่า (รุ่นนี้ หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า , หลวงปู่อิเกสาโร และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อธิษฐานจิต) มอบให้กับสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า พิมพ์ละ 1 องค์ รวม 3 องค์ และผมจะพิจารณามอบให้เพิ่มเติมให้อีก แต่ขอไปดูว่า จะมอบอะไรเพิ่มเติมให้อีกครับ

    1.ให้ใช้รูปแทนตัวเอง มีชื่อ ชมรมรักษ์พระวังหน้า และชื่อสมาชิกเว็บพลังจิต

    2.ลายเซ็น ให้มีชื่อกระทู้ใด กระทู้หนึ่ง หรือทั้งสองกระทู้
    2.1 ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ
    2.2 พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

    หรือ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง รักษ์พระวังหน้า<!-- google_ad_section_end -->

    ซึ่งสามารถคัดลอก จากโพสนี้ แล้วนำไปลงได้เลย ( ทั้งสองกระทู้ ที่ผมลง จะเป็นลิงค์ด้วย)

    เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 สิ้นสุด วันที่ 1 เมษายน 2553

    หากจะเปลี่ยนรูปแทนตัวเอง เป็นรูปอื่น จะต้องมี ชมรมรักษ์พระวังหน้า และชื่อสมาชิกเว็บพลังจิต ด้วยทุกๆรูปที่เปลี่ยนแปลงครับ

    โมทนาสาธุครับ
    พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....<!-- google_ad_section_end -->

    -----------------------------------------------------------

    ตามที่ผมเคยแจ้งไว้สำหรับสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า ในเรื่องข้างต้น

    ผมขอเพิ่มเติมดังนี้คือ

    หากสมาชิกท่านใดที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามข้างต้น มีความประสงค์ที่จะทำตามเรื่องข้างต้นนั้น ผมขอให้ท่านสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า เริ่มต้นได้(อีกครั้ง) คือ

    เริ่มตั้งแต่วันนี้( 17 ธันวาคม 2552) สิ้นสุด วันที่ 1 เมษายน 2553 แต่หากหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ไปแล้ว หากท่านสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า ยังไม่ได้ทำรูปแทนตัวเอง(ที่มีชื่อชมรมรักษ์พระวังหน้า) และ มีลายเซ็นดังกล่าวข้างต้น ผมถือว่าท่านไม่ได้ดำเนินการตามที่ผมแจ้งไว้ด้านบนครับ

    หากจะเปลี่ยนรูปแทนตัวเอง เป็นรูปอื่น จะต้องมี ชมรมรักษ์พระวังหน้า และชื่อสมาชิกเว็บพลังจิต ด้วยทุกๆรูปที่เปลี่ยนแปลงครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ตำรวจทางหลวงเตือน 87 โค้งอันตราย ช่วงปีใหม่


    [​IMG]


    ตำรวจทางหลวงเตือน 87 โค้งอันตรายช่วงปีใหม่ (กรุงเทพธุรกิจ)

    ตำรวจทางหลวง แถลงเตือน 87 โค้งอันตราย แนะสังเกตป้ายเตือนก่อนโค้ง 500 เมตร พร้อมกับได้จัดจุดพักบริการ 217 แห่ง ส่วนในช่วง 20-28 ธันวาคม จะแจกใบเตือน ส.ค.ส.-แจกยันต์หลวงพ่อคูณฯ

    ที่กองบังคับการตำรวจทางหลวง พ.ต.อ.พินิต มณีรัตน์ รองผู้บังคับการตำรวจทางหลวง นายอรรถวิชญ์ เอกธนิตพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเน็ท คอนเน็ค จำกัด ร่วมกันแถลงข่าวโครงการรณรงค์ลดอุบัติเหตุ "เตือนภัย 87 โค้งอันตรายทั่วไทย" โดยมีดารานักแสดง จิ๊ก-เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ มาร่วมรณรงค์ด้วย

    พ.ต.อ.พินิต กล่าวว่า กองบังการตำรวจทางหลวง ร่วมกับ บริษัท ไอเน็ท คอนเน็คฯ จัดทำโครงการรณรงค์ลดอุบัติเหตุในช่วง 7 วัน แห่งความปลอดภัยเทิดไท้องค์ราชัน สนองนโยบายรัฐบาล ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 52 ถึง 4 มกราคม 53 โดยประชาสัมพันธ์ให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกประเภท ให้ใช้ความระมัดระวังในเส้นทาง 87 โค้งอันตรายทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายในการลดอุบัติเหตุให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

    "สำหรับ 87 โค้งอันตรายนั้น ได้สำรวจจากการเกิดอุบัติเหตุทั่วประเทศ โดยก่อนเข้าโค้งอันตรายประมาณ 500 เมตรจะมีป้ายเตือนของทางไอเน็ท พร้อมกันนี้ทางกองบังคับการตำรวจทางหลวงได้จัดที่ไว้บริการประชาชน 217 แห่ง ทั่วประเทศ จะมีจุดพักรถ บริการเครื่องดื่มต่าง ๆ บริการตรวจเช็ครถฟรีไว้คอยบริการสำหรับคนที่เดินทางในช่วงปีใหม่ สำหรับช่วงวันที่ 20 - 28 ธันวาคม ทางกองบังคับการตำรวจทางหลวงจะไม่ออกใบสั่ง แต่จะเป็นใบเตือนแก่ผู้กระทำผิดแทนใบสั่ง เพื่อให้คนที่ได้รับใบเตือนรู้ถึงความผิดของตนเอง แต่ข้างหลังใบเตือนก็จะเป็น ส.ค.ส. ซึ่งมีเพียงจำนวน 40,000 ใบเท่านั้น และหากต้องการขอความช่วยเหลือจากตำรวจทางหลวง สามารถติดต่อสายด่วน 1193 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง"

    พ.ต.อ.พินิต กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ทาง บริษัท ไอเน็ท ยังได้จัดทำผ้ายันต์ขอให้โชคดี ปลุกเสกโดยพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) วัดบ้านไร่ จำนวน 9,999 ผืน เป็นของขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคล รับได้ที่จุดแวะพักของสถานีบริการตำรวจทางหลวง ร้านบลิสเทล โมบายอีซี่ ร้านตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ call center 1369


    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก กรุงเทพธุรกิจ
    [​IMG]


    ?ӃǨ?ҧ˅ǧൗ͹ 87 ⤩?͑??Ò ?臧?գˁ覬t;/a>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เล็งผลิตเหรียญ 20-50 บาท ใช้ ชี้ทนกว่าแบงก์


    [​IMG]

    เล็งผลิตเหรียญ20-50บาทใช้ชี้ทนกว่าแบงก์ช่วยกระตุ้นศก. (คมชัดลึก)

    คลังเล็งผลิตเหรียญ 20 บาทและ 50 บาทใช้ปีหน้า หวังให้เกิดการหมุนเวียนหลายรอบ ระบุคงทนกว่าธนบัตร พร้อมจี้ธนารักษ์เร่งประเมินราคาที่ดิน 30 ล้านแปลง

    นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังมอบนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารงานของกรมธนารักษ์ประจำปีงบประมาณ 2553 ว่า ได้มอบหมายให้กรมธนารักษ์ไปศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่มีราคาสูงกว่า 10 บาท เช่น เหรียญชนิดราคา 20 บาทและ 50 บาท ซึ่งน่าจะเริ่มผลิตออกมาใช้ได้ในปีหน้า เพื่อช่วยให้เกิดการหมุนเวียนใช้หลายรอบ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและมีความคงทนกว่าธนบัตร โดยจะประสานความร่วมมือไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการดูแลปริมาณเงินในระบบให้มีความเหมาะสม

    "ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมีผลศึกษาการใช้เหรียญดังกล่าวอยู่แล้ว โดยจะหยิบยกมาพิจารณาประกอบด้วย และมองว่าในภาวการณ์ปัจจุบันความนิยมใช้เหรียญชนิด 20 บาทและ 50 บาทน่าจะมีมากขึ้น แม้ก่อนหน้านี้จะเคยผลิตเหรียญ 20 บาทออกมาใช้แต่ไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะขณะนี้ราคาสินค้าและพฤติกรรมการใช้น่าจะเปลี่ยนแปลงไป" นพ.พฤติชัย กล่าวและว่า ส่วนการผลิตเหรียญรุ่นใหม่ออกมาใช้นั้นขณะนี้ได้แก้ปัญหาการใช้กับเครื่องหยอดเหรียญไปเกือบหมดแล้ว​

    ทั้งนี้ ยังได้เร่งรัดให้กรมธนารักษ์ทำการปรับปรุงราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศจำนวน 30 ล้านแปลง สำหรับประกาศใช้ในรอบปีบัญชี 2555-2558 เพื่อรองรับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะเข้า ครม. ปีหน้า​

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก คมชัดลึก
    [​IMG]


     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    คาถานมัสการพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ และ พระพุทธเจ้าในอนาคต 10 พระองค์

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( 3 จบ )
    นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
    ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส
    สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร
    โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ
    สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน
    โสภีโต คุณะสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
    ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระสาระถี
    ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
    สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ
    อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
    สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
    ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม
    สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
    กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
    กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโว ฯ
    เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม วะจะสา มะนะสา เจวะ
    วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา

    นะโม อะนาคะเต สัมพุทโธ เมตไตยยา เมตไตยโยนามะ ราโมจะรามะสัมพุทโธ โกสะโลธรรมราชาจะ มาระมาโรธรรมสามี ทีฆะชังฆีจะนาระโท โสโณรังสีมุนีตะถา สุภูเตเทวะเทโว โตไทยโยนะระสีหะโก ติสโสนามะธะนะปาโล ปาลิไลยโยสุมังคะโล เอเต ทะสะพุทธา นามะ ภะวิสสันติ อะนาคะเต กัปเป สะตะสะหัสสานิ ทุคะติง โส นะ คัจฉะติ

    นะโม อะนาคะเต รุกขะ ศรีมหาโพธิ์
    เมตไตโยนาคะรุกโขจะ พระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้กากะทิง
    รามะพุทโธปิจันทะนัง พระรามพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้จันทน์แดง
    ธรรมราชานาคะรุกโข พระธรรมราชาพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้กากะทิง
    สาละรุกโขธรรมสามี พระธรรมสามีพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้รังใหญ่
    นาระโทจันทะรุกโขจะ พระนาระโทพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้จันทน์แดง
    รังสีมุนีจะปิปผลิ พระรังสีมุนีพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้เลื้อย
    เทวะเทโวจะจำปะโก พระเทวเทพพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้จำปา
    ปาตะลีนะระสีโหวะ พระนรสีห์พุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้แคฝอย
    นิโครโธติสสะสัมพุทโธ พระติสสะพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้ไทร
    สุมังคะโลนาคะรุกโขจะ พระสุมังคลพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้กากะทิง
    เอเต ทะสะรุกขาศรีมหาโพธิ์ ภะวิสสันติ อะนาคะเต อิเมทะสะจะสัมพุทเธ โยนะโรปิ
    นะมัสสะติ กัปปะ สะตะสะหัสสานิ นิระยังโส นะ คัจฉะติ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะจะพะกะสะ ฯ

    แม้ผู้ใดสวดเป็นนิจ จะไม่ตกนรกตลอดแสนกัป มีแต่ความเจริญ ถึงพระนิพพานในที่สุด สาธุ.

    คาถานมัสการพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ และ พระพุทธเจ้าในอนาคต 10 พระองค์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • buddha28.pdf
      ขนาดไฟล์:
      156.3 KB
      เปิดดู:
      428
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระพุทธเจ้า 28 พระองค์

    ตั้งแต่เริ่มต้นกาลเวลามาจนถึงปัจจุบันนี้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว 28 พระองค์ (อันนี้ไม่ได้รวมถึงพระปัจเจกพุทธเจ้านะ ส่วนแต่กต่างกันยังไงไปรื้อหน้าเก่าขึ้นมาดูคับ)




    องค์สมเด็จพระพุทธตัณหังกร
    • องค์สมเด็จพระพุทธตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้านันทราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทราชาเทวี
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • พระวรกายสูง 18 ศอก
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธเมธังกร
    • องค์สมเด็จพระพุทธเมธังกร – ผู้มียศใหญ่
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า เทโว
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยะสุนทราชาเทวี
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 80,000 ปี
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
    • พระวรกายสูง 18 ศอก
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธสรณังกร
    • องค์สมเด็จพระพุทธสรณังกร – ผู้เกื้อกูลแก่โลก
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุมาเลราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยสะเทวี
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 2 เดือน กับ 20 วัน
    • พระวรกายสูง 18 ศอก
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธทีปังกร
    • องค์สมเด็จพระพุทธทีปังกร – ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
    • สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
    • ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 8 อาสาฬหนักขัตฤกษ์
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า นรเทวราช(พระเจ้าสุเทพ)
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สุเมธา
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ปทุมาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอสุภขันธกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 9 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปิปผลิ
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมังคลเถร และพระติสสเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสาคตเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนันทาเถรี และพระสุนันทาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ตปุสสะ และภัลลิกะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฎฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางโสณา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธพระโกณฑัญญะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธพระโกณฑัญญะ – ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
    • สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุนันทราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุชาดาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง รุจิราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระวิชิตเสนกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนยคู่
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 58 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นพญารัง
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททเถร และพระสุภัททเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอนุรุทธเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระติสสาเถรี และพระอุปัสสนาเถรี
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน แสนโกฏิ องค์
    • พระวรกายสูง 18 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 200,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธพระสุมังคละ
    • องค์สมเด็จพระพุทธพระสุมังคละ – ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
    • สถานที่ประสูติ อุตตรนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อุตตรมหาราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอุตตรราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ยสาวดี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระสีวระราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวเถร และพระธรรมเสนเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวราเถรี และพระอโสกาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทะ และวิสาขะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อนุฬา และสุมนา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,00 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธสุมนะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธสุมนะ – ผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหทัยงาม
    • สถานที่ประสูติ เมขละนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัตตมหาราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สิริมา
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ฏังสกี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปมราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ อยู่นาน 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 60 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสรณเถร และพระภาวิตัตตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณาเถรี และพระอุปโสณาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จารา และอุปจารา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 90 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธเรวตะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธเรวตะ – ผู้เพิ่มพูนความยินดี
    • สถานที่ประสูติ สุธัญญวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าวิปุลราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางวิปุลาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุทัสนา
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระวรุณราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 6,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียบม้าอาชาไนย
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระวรุณเถร และพรหมเทวะเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททราเถรี และพระสุภัททราเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณ และสรภะมหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า ปาลา และอุปปาลา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธโสภิตะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธโสภิตะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
    • สถานที่ประสูติ สุธรรมนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุธรรมราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุธรรมาเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง มจิลาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระสีหราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์ (ไม้กากะทิง)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระอสมเถร และ สุเมธเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอโนมเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุฬาเถรี และพระสุชาตาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายรัมมะ และ นายสุเนตตะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนกุฬา และนางสุชาตา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
    • องค์สมเด็จพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า – ผู้อุดมสูงสุดในหมู่ชน
    • สถานที่ประสูติ จันทวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า ยศวราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยโสธรา
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สิริมา
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปสารราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นอชุนะ (ไม้รกฟ้า)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระนิสภเถร และอโนมเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวรุณเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุนทราเถรี และพระสุมนาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายนันทิวัฒนะ และสิริวัฑฒะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอุปรา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 80 ศอก
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธปทุมะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธปทุมะ – ผู้ทำให้โลกสว่าง
    • สถานที่ประสูติ จัมปานคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อสมราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอสมาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง อุตตราเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระรัมมราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาส อยู่ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนย
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสาลเถร และพระอุปสาลเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราธาเถรี และพระสุราธาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายสภิยะ และนายอสมะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรุจิ และนางนันทิมาลา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธนารทะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธนารทะ – ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
    • สถานที่ประสูติ ธัญญวดีมหานคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุเมธราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอโนมาเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง วิชิตเสนาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระยันทุตรราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ทรงดำเนินไปด้วยพระองค์เอง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน ตรง
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททสาลเถร และพระพิชิตมิตตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวาเสฏฐเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอุตตราเถรี และพระผักขุนีเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุตรินท์ และวสะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอินทอรี และนางคัณฑี มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
    • พระวรกายสูง 88 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 1 อสงไขย
    องค์สมเด็จพระพุทธปทุมุตระ
    • องค์สมเด็จพระพุทธปทุมุตระ – ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
    • สถานที่ประสูติ หงสวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อานันทมหาราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุชาดาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุละทัคคเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอุตตรราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 90,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นสาละ หรือต้นรัง
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวลเถร และพระสุชาตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุมนเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอมิตตาเถรี และพระอสมาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อมิตตะ และติสสะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางหัตถา และนางสุจิตตา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 12 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 30,000 กัลป์
    องค์สมเด็จพระพุทธสุเมธะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธสุเมธะ – ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
    • สถานที่ประสูติ สุทัสสนนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัสสนมหาราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัตตาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุมนาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระปุนัพพราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหานิมพะ (ไม้สะเดา)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมนเถร และพระสัพพกามเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสาครเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุรมาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุรุเวฬ และยสวา มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางยสา และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 88 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธสุชาตะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธสุชาตะ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
    • สถานที่ประสูติ สุมังคลนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุคคตราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสิรินันทาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปเสนราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง ชื่อ หังสวาสภราชา
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 33 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหาเวฬุ (ไม้ไผ่ใหญ่)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 9 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุสุทัสสนเถร และพระสุเทวเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระนารทเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระนาคาเถรี และพระนาคสมาราเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุทัตต และจิตต มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสุภัททา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 50 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลกาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธปิยทัสสี
    • องค์สมเด็จพระพุทธปิยทัสสี – ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
    • สถานที่ประสูติ สุธัญญราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางจันทราราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิมาลาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระกัญจนเวฬกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้กุ่ม
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระปาลิตเถร และพระสัพพทัสสีเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุชาดาเถรี และพระธัมมทินนาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สันตกะ และธัมมิก มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิสาขา และนางธัมมทินนา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธอัตถทัสสี
    • องค์สมเด็จพระพุทธอัตถทัสสี – ผู้มีพระกรุณา
    • สถานที่ประสูติ สุจิรัตถราชอุทยานแห่งสาครราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสาครราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิสาขาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระเสลราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้จำปา
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสันตเถร และพระอุปสันตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอภัยเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระธรรมาเถรี และพระสุธรรมาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นกุละ และนิสภะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางมจิลา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 9 โกฏิ
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 100 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธธรรมทัสสี
    • องค์สมเด็จพระพุทธธรรมทัสสี – ผู้บรรเทามืด
    • สถานที่ประสูติ สรณราชอุทยานแห่งสรณราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสรณราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิจิโกลี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระวัฒนราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ไทรย้อย
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระปทุมเถร และปุสสเทวเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุเนตตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระสัจจนามาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุภัททะ และกฏิสหะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสาฬสา และนางกฬิสสา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธสิทธัตถะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธสิทธัตถะ – ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
    • สถานที่ประสูติ เวภารนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุผัสสาเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปนราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจมาศ (วอทอง)
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นกรรณิการ์
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสัมพลเถร และพระสุมิตตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเรวตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสิวลาเถรี และพระสุรามาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุปิยะ และสัมพุทธะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรัมมา และนางสุรัมมา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 โกฏิ
    • พระวรกายสูง 60 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธติสสะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธติสสะ – ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
    • สถานที่ประสูติ อโนมราชอุทยานแห่งเขมราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชนสันธราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปทุมาเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุภัทราเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อาสนะ (ต้นประดู่)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระพรหมเทพเถร และพระอุทัยเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัมภวเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระปุสสาเถรี และพระสุทัตตาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สัมภระ และสิริ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางกีสาโคตมี และนางอุปเสนา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
    • พระวรกายสูง 60 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธปุสสะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธปุสสะ – ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
    • สถานที่ประสูติ กาสีราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางกีสาโคตมีราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มลกะ (ไม้มะขามป้อม)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุรักขิตเถร และพระธัมมเสนเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิยเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจาลาเถรี และพระอุปจาลาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายธนัญชัย และนายวิสาข มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางปทุมา และนางสิรินาคา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 91 กัลป์
    องค์สมเด็จพระพุทธวิปัสสี
    • องค์สมเด็จพระพุทธวิปัสสี – ผู้หาที่เปรียบมิได้
    • สถานที่ประสูติ พันธุมดีราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าพันธุมหาราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางพันธุมดีราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระสมวัตตขันธราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้แคฝอย
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระขันธเถร และพระติสสเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอโสกเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจันทราเถรี และพระจันทมิตตาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ปุณณสุมิตต และนาคะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 84,000 องค์
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 7 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 49 กัลป์
    องค์สมเด็จพระพุทธสิขี
    • องค์สมเด็จพระพุทธสิขี – ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สัตว์
    • สถานที่ประสูติ มิสกราชอุทยานแห่งอรุณวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอรุณราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสัพพกามาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอตุลราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 7,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 24 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปุณฑริกะ (ไม้ซึก) คล้ายกับไม้ปาตลี
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระอภิภูเถร และพระสัมภวเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเขมังกรเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระประทุมเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สิริวัฒนะ และนันทะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางจิตรา และนางสุจิตรา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 70,000 องค์
    • พระวรกายสูง 70 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 3 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธเวสสภู
    • องค์สมเด็จพระพุทธเวสสภู – ผู้ประทานความสุข
    • สถานที่ประสูติ อโนมนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุปตีตราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยสวดีราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุจิตราเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระสุปปพุทธราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 6,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้รัง
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระโสณเถร และพระอุตตรเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอุปสันตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุมาลาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า โสตถิกะ และรัมมะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางโคตมี และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
    • พระวรกายสูง 60 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 70,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ – ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส
    • สถานที่ประสูติ เขมวันราชอุทยานแห่งเขมนคร
    • ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า วิสาขาพราหมณี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า โสภิณีพราหมณี
    • พระราชโอรส พระนามว่า อุตตรกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 4,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถเทียมม้าอาชาไนย
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 80 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ซึกใหญ่
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระวิธูรเถร และพระสัญชีวเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระพุทธิยะเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสามาเถรี และพระจัมปนามาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคาตะ และสุมนะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
    • พระวรกายสูง 40 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 11 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 40,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธโกนาคมนะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธโกนาคมนะ – ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
    • สถานที่ประสูติ โสภวดีราชอุทยานแห่งโสภวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า ยัญญทัตตพราหมณ์
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า อุตตราพราหมณี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า รุจิคัตตาพราหมณี
    • พระราชโอรส พระนามว่า สัททวาหกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 3,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อุทุมพร (ไม้มะเดื่อ)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระภิโยสเถร และพระอุตตรเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสทิชเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสมุทาเถรี และพระอุตตราเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทว มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวรา และนางสามา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 30,000 องค์
    • พระวรกายสูง 30 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 30,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธกัสสปะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธกัสสปะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
    • สถานที่ประสูติ อิสิปตนมิคทายวันแห่งนครพาราณสี
    • ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พรหมทัตตพราหมณ์
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า ธนวดีพราหมณี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า สุนันทาพราหมณี
    • พระราชโอรส พระนามว่า วิชิตเสนกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 2,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 15 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้นิโครธ
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระภารทวาชเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัพพมิตตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอนุฬาเถรี และพระอุรุเวลาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุมังคละ และฆฏิการะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิชิตเสนา และนางภัตรา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 1 โกฏิ
    • พระวรกายสูง 20 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธโคตมะ
    • องค์สมเด็จพระพุทธโคตมะ – ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช
    • สถานที่ประสูติ กรุงกบิลพัสดุ์
    • ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 6
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์ แห่งศากยวงศ์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทน
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมหามายา
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางยโสธรา
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระราหุลราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 29 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าอัศวราช
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 14 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อัสสัตถะ (ไม้ปาเป้ง)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 ปี
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระโกลิตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอานนทเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระอุบลวัณณาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถอาฬวก มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทมาตา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 16 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 วา
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 ปี
    • อายุพระศาสนา 5,000 ปี
    ที่มา พระไตรปิฎกออนไลน
    <!-- google_ad_section_end -->
    ที่มา พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ | gumara

    gumara.com (เป็นลิงค์)
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระพุทธเจ้าในอดีต

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    พระพุทธเจ้าในอดีต - วิกิพีเดีย


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->
    พระพุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้วหลายพระองค์ มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน อุปมาว่าจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ล่วงไปแล้วมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายในมหาสมุทรทั้งสี่ พระพุทธเจ้าทรงแนะว่าไม่ควรคิดถึงเรื่องของพระพุทธเจ้า เพราะเป็นอจินไตย (แปลว่า เป็นเรื่องที่มนุษย์ปุถุชนอย่างเราไม่ควรคิดเพราะเป็นเรื่องที่ลึกลำเหนือจินตนาการของมนุษย์)
    ในหลักฐานฝ่ายเถรวาทกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตไว้ 28 พระองค์ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและ พระโคดมพุทธเจ้าทรงได้รับคำพยากรณ์ ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรานิยมนับรวมพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน โดยเรียกว่า "พระพุทธเจ้า 28 พระองค์"

    <TABLE class="" style="WIDTH: 100%; BACKGROUND-COLOR: transparent" cellSpacing=0 cellPadding=0 sizset="0" sizcache="0"><TBODY sizset="0" sizcache="0"><TR sizset="0" sizcache="0"><TD vAlign=top align=left width="50%" sizset="0" sizcache="0">
    </TD><TD vAlign=top align=left width="50%" sizset="1" sizcache="0">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>หากแบ่งตามกัปป์ โดยการนับอสงไขยในที่นี้ จะนับอสงไขยแรกโดยเริ่มนับจากช่วงเวลาที่ อดีตชาติของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มสร้างบารมี โดยการอธิษฐานในใจต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก จะมีพระพุทธเจ้าในอดีตดังต่อไปนี้
    • กัปแรกในต้นอสงไขยที่ 17 เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP>
      1. พระตัณหังกรพุทธเจ้า
      2. พระเมธังกรพุทธเจ้า
      3. พระสรนังกรพุทธเจ้า
      4. พระทีปังกรพุทธเจ้า
    • กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 18 เป็นสารกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์
      1. พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า
    • กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 19 เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์
      1. พระสุมังคละสัมมาสัมพุทธเจ้า
      2. พระสุมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า
      3. พระเรวตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
      4. พระโสภิตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 20 เป็นสารวรกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์
      1. สมเด็จพระอโนมทัสสีสัมพุทธเจ้า
      2. สมเด้จพระปทุมะสัมพุทธเจ้า
      3. สมเด็จพระนารทะสัมพุทธเจ้า
    • ช่วงเศษแสนมหากัป ของ อสงไขยปัจจุบัน<SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP>
      1. กัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์. บางตำราว่าเป็นมัณฑกัป บางตำราก็ว่าเป็นสารกัป.
        1. พระปทุมมุตระพุทธเจ้า
      2. สูญกัป (กัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น) 30,000 กัป
      3. มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์
        1. พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า
        2. พระสุชาตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
      4. สูญกัป 60,000 กัป
      5. วรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์
        1. พระปียทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
        2. พระอัตถทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
        3. พระธรรมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
      6. สูญกัป 24 กัป
      7. สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์
        1. พระสิทธัตถะสัมมาสัมพุทธเจ้า
      8. สูญกัป 1 กัป
      9. มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์
        1. พระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า
        2. พระมหาปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า
      10. สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์
        1. พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
      11. สูญกัป 60 กัป
      12. มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์
        1. พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า
        2. พระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า
      13. สูญกัป 30 กัป
      14. กัปปัจจุบัน เป็น ภัทรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์
        1. พระกกุสันธะสัมมาสัมพุทธเจ้า
        2. พระโกนาคมสัมมาสัมพุทธเจ้า
        3. พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า
        4. พระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน 80 ปีก่อนพุทธกาล)
        5. พระศรีอริยเมตไตรยสัมพุทธเจ้า (อนาคต พุทธศักราช 5,000 เป็นต้นไป)
    [แก้] อ้างอิง

    1. <LI id=cite_note-0>^ http://geocities.com/ss12345_th/poti/P204.html
    2. ^ http://geocities.com/ss12345_th/poti/P205.html
    [แก้] ดูเพิ่ม

    <TABLE class=navbox cellSpacing=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 2px; PADDING-LEFT: 2px; PADDING-BOTTOM: 2px; PADDING-TOP: 2px"><TABLE class="nowraplinks collapsible autocollapse" id=collapsibleTable0 style="BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; WIDTH: 100%" cellSpacing=0><TBODY><TR><TH class=navbox-title style="BACKGROUND: #ff9900; COLOR: #fefefe" colSpan=2>


    รายพระนามของพระพุทธเจ้าในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต (ที่พระบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว)
    </TH></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD></TD></TR><TR><TH class=navbox-group style="WHITE-SPACE: nowrap">อดีต</TH><TD class="navbox-list navbox-odd" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: #fdfdfd 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">พระตัณหังกรพุทธเจ้าพระเมธังกรพุทธเจ้าพระสรณังกรพุทธเจ้าพระทีปังกรพุทธเจ้าพระโกณฑัญญพุทธเจ้าพระมังคลพุทธเจ้าพระสุมนพุทธเจ้าพระเรวตพุทธเจ้าพระโสภิตพุทธเจ้าพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าพระปทุมพุทธเจ้าพระนารทพุทธเจ้าพระปทุมุตรพุทธเจ้าพระสุเมธพุทธเจ้าพระสุชาตพุทธเจ้าพระปิยทัสสีพระอัตถทัสสีพุทธเจ้าพระธรรมทัสสีพุทธเจ้าพระสิทธัตถพุทธเจ้าพระติสสพุทธเจ้าพระปุสสพุทธเจ้าพระวิปัสสีพุทธเจ้าพระสิขีพุทธเจ้าพระเวสสภูพุทธเจ้าพระกกุสันธพุทธเจ้าพระโกนาคมนพุทธเจ้าพระกัสสปพุทธเจ้า

    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD></TD></TR><TR><TH class=navbox-group style="WHITE-SPACE: nowrap">ปัจจุบัน</TH><TD class="navbox-list navbox-even" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: #fdfdfd 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">พระสมณโคตมพุทธเจ้า

    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD></TD></TR><TR><TH class=navbox-group style="WHITE-SPACE: nowrap">อนาคต</TH><TD class="navbox-list navbox-odd" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: #fdfdfd 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้าพระรามะสัมพุทธเจ้าพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าพระธรรมสามีสัมพุทธเจ้าพระนารทสัมพุทธเจ้าพระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้าพระเทวเทพสัมพุทธเจ้าพระนรสีหสัมพุทธเจ้าพระติสสัมพุทธเจ้าพระสุมังคลสัมพุทธเจ้า

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 575/1000000Post-expand include size: 24461/2048000 bytesTemplate argument size: 15528/2048000 bytesExpensive parser function count: 1/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:156282-0!1!0!!th!2 and timestamp 20091206162325 -->ดึงข้อมูลจาก "พระพุทธเจ้าในอดีต - วิกิพีเดีย".
    หมวดหมู่: พระพุทธเจ้า | พระพุทธเจ้าในอดีต
    หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    กัป

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->
    กัป เป็นคำในภาษาบาลี มีความหมายหลายทาง ได้แก่ กาล, เวลา, สมัย, อายุ, กำหนด, วัด, ประมาณ เป็นคำบอกถึงช่วงเวลาที่ยาวนานที่ใช้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก

    <TABLE class=toc id=toc sizset="0" sizcache="0"><TBODY sizset="0" sizcache="0"><TR sizset="0" sizcache="0"><TD sizset="0" sizcache="0">เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>[แก้] ประเภทของกัป

    [แก้] การแบ่งกัปในทางพระพุทธศาสนา


    การแบ่งกัปในทางพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
    1. สุญญกัป คือ กับที่ว่างจากพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ
    2. อสุญญกัป คือ กัปที่ไม่ว่างจากผู้มีบุญโดยเฉพาะพระพุทธเจ้า มี 5 กัปคือ
      1. สารกัป คือกัปที่เป็นแก่นสาร มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ 1 พระองค์
      2. มัณฑกัป คือ กัปที่ผ่องใส มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ 2 พระองค์
      3. วรกัป คือ กัปที่ประเสริฐ มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ 3 พระองค์
      4. สารมัณฑกัป คือกัปที่เป็นแก่นสารและผ่องใส มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ 4 พระองค์
      5. ภัทรกัป คือกัปที่เจริญ มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ 5 พระองค์. กัปปัจจุบันเป็นภัทรกัปมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตมะ พระศรีอริยเมตไตรย
    [แก้] การแบ่งกัปในฎีกามาเลยยสูตร


    ฎีกามาเลยยสูตรแบ่งกัปไว้ 4 แบบคือ
    1. อายุกัป คือ กำหนดอายุสัตว์ สัตว์เกิดมามีอายุเท่าไร เมื่ออายุสิ้นสุดลง เรียก 1 กัป
    2. อันตรกัป คือ กำหนดอายุสัตว์ ในระหว่างขึ้นลง คือ อายุทวีขึ้นและถอยลงจนถึง 10 ปี ตายแล้วเกิดธรรมสังเวช อายุเจริญขึ้นถึง 1 อสงไขยปี แล้วเกิดประมาท อายุน้อยลงถึง 10 ปีอีก
    3. อสงไขยกัป = 64 อันตรกัป
    4. มหากัป = 4 อสงไขยกัป
    5. อสงไขย = 1e25
    [แก้] วิธีนับกัป

    วิธีนับกัป กำหนดกาลว่านานกัปหนึ่งนั้น พึงรู้ด้วยอุปมาประมาณว่า มีขุนเขากว้างใหญ่สูงโยชน์หนึ่ง (16 กิโลเมตร) ถึง 100 ปีมีเทพยดาเอาผ้าทิพย์เนื้อละเอียดลงมาเช็ดถูบนยอดขุนเขานั้นหนหนึ่งแล้วก็ไป ถึงอีก 100 ปีจึงเอาผ้าลงมาเช็ดถูอีก นิยมอย่างนี้นานมาจนตราบเท่าขุนเขานั้นสึกเกรียนเหี้ยนลงมาราบเสมอพื้นพสุธาแล้ว กำหนดเป็น 1 กัป เมื่อนั้น
    อีกนัยหนึ่ง กำหนดด้วยประมาณว่า มีกำแพงเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสโดยกว้างลึกกำหนดหนึ่งโยชน์ ถึง 100 ปีมีเทพยดานำเมล็ดผักกาดมาหยอดลง 1 เม็ด เมล็ดผักกาดเต็มเสมอปากกำแพงนั้นนานเท่าใด จึงกำหนดว่าเป็น 1 กัป (ดูการประมาณความยาวนานใน อสงไขย)
    [แก้] อ้างอิง

    1. พระคัมภรีอนาคตวงศ์ , ประภาส สุระเสน, มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์,พ.ศ. 2540, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย , ISBN 974-580-742-7
    2. ความหมาย ของ อสงไขย , กัป , มหากัป
    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 25/1000000Post-expand include size: 490/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:59977-0!1!0!!th!2 and timestamp 20091217071845 -->ดึงข้อมูลจาก "กัป - วิกิพีเดีย".
    หมวดหมู่: อภิธานศัพท์พุทธศาสนา
    หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อสงไขย

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

    <!-- start content -->
    อสงไขย คือ การบอกจำนวนหรือปริมาณทั่วๆ ไปที่ไม่ได้เจาะจงว่าจะเป็นหน่วยของอะไร, เช่น หากใช้ระบุปริมาณเมล็ดถั่ว ก็ใช้ว่า มีถั่วเป็นจำนวน 1 อสงไขยเมล็ด เป็นต้น<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP>. แต่ในพระพุทธศาสนามักจะใช้กล่าวถึง ระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์สร้างสมบารมีมาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า โดยนับหน่วยเวลาเป็นอสงไขยกัป. อสงไขยเป็นปริมาณหรือจำนวนที่มีการกำหนดที่นับประมาณมิได้ ซึ่งมีอุปมาเปรียบเทียบเอาไว้ว่า ฝนตกใหญ่อย่างมโหฬารทั้งวันทั้งคืน เป็นเวลานานถึง 3 ปี ไม่ได้ขาดสายเลย จนกระทั่งน้ำฝนท่วมเต็มขอบจักรวาล ซึ่งมีระดับความสูง 84,000 โยชน์ หากว่ามีใครสามารถนับเม็ดฝนที่ตกลงมาตลอดทั้ง 3 ปีได้ นับได้เท่าไร นั่นคือจำนวนเม็ดฝน 1 อสงไขย.

    อนึ่ง คำว่า อสงไขย นั้น มาจากภาษาบาลี ว่า อสงฺเขยฺย (สันสกฤต: อสํขฺย) หมายถึง นับไม่ได้ หรือนับไม่ถ้วน นั่นเอง พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุจำนวน ของอสงไขย ไว้ว่า เท่ากับ โกฏิ ยกกำลัง 20


    <TABLE class=toc id=toc sizset="0" sizcache="0"><TBODY sizset="0" sizcache="0"><TR sizset="0" sizcache="0"><TD sizset="0" sizcache="0">เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>[แก้] การคำนวณความยาวนาน


    1. สมมุติมีกล่องใบหนึ่ง กว้าง 100 โยชน์ ยาว 100โยชน์ และ สูง 100 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด ใส่ลงไปในกล่องนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบปากกล่อง นั้นละจึงเท่ากับ 1 กัป

    2. (บางตำรากล่าวว่า กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ สูง 1 โยชน์) วิเคราะห์คำนวณ 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร ดังนั้นกล่องใบนี้มีปริมาตร = 1600X1600X1600 = 4,096,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร ประมานว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด .5 มิลลิเมตร 1 กิโลเมตรเทียบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10X100X1000 = 1,000,000 มิลลิเมตรจะได้ 1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1,000,000)/0.5 = 2,000,000 เมล็ด

    3. ดังนั้น 1600 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1600X2,000,000 = 3,200,000,000) เมล็ด ถ้าเป็นปริมาตร คือ (กว้าง x ยาว x สูง) ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ (3,200,000,000X3,200,000,000X3,200,000,000 = 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000 เมล็ด)

    4. ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000X100 =3,276,800,000,000,000,000,000,000,000,000 ปี

    5. จึงได้เวลา 1 กัป ประมาณ สามล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยล้านล้านล้านล้าน ปีประมาณ 3.3 X 10 ยกกำลัง 30 ปี

    6. 1 อสงไขยมีกี่ปีนั้นเป็นจำนวนที่แน่นอน คือ 1 ตามด้วยเลข 0 จำนวน 140 ตัว หรือ 1 X 10 ยกกำลัง140 ปี

    7. อายุของโลกตามหลักธรณีวิทยา โลกเกิดมาประมาณ 4,500,000,000 ปี ( 4.5 x 10 ยกกำลัง 9 ) แสดงว่าตั้งแต่โลกฟอร์มตัวจากกลุ่มก๊าซ ผ่านยุคต่างๆมา อายุยังไม่ถึง กัลป์ หรือ อสงไขย เลย ยังอีกยาวนานมาก

    [แก้] วิธีนับอสงไขย


    การนับอสงไขยให้เทียบเอาดังนี้
    1. สิบ สิบหน เป็น หนึ่งร้อย
    2. สิบร้อย เป็น หนึ่งพัน
    3. สิบพัน เป็นหนึ่งหมื่น
    4. สิบหมื่น เป็น หนึ่งแสน
    5. ร้อยแสน เป็นหนึ่งโกฏิ
    6. ร้อยแสนโกฏิ เป็น หนี่งปโกฏิ
    7. ร้อยแสนปโกฏิ เป็น หนึ่งโกฏิปโกฏิ
    8. ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็น หนึ่งนหุต
    9. ร้อยแสนนหุต เป็น หนึ่งนินนหุต
    10. ร้อยแสนนินนหุต เป็น หนึ่งอักโขเภนี
    11. ร้อยแสนอักโขเภนี เป็น หนึ่งพินทุ
    12. ร้อยแสนพินทุ เป็น หนึ่งอพุทะ
    13. ร้อยแสนอพุทะ เป็น หนึ่งนิระพุทะ
    14. ร้อยแสนนิระพุทะ เป็น หนึ่งอหหะ
    15. ร้อยแสนอหหะ เป็น หนึ่งอพพะ
    16. ร้อยแสนอพพะ เป็น หนึ่งอฏฏะ
    17. ร้อยแสนอฏฏะ เป็น หนึ่งโสคันธิกะ
    18. ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น หนึ่งอุปละ
    19. ร้อยแสนอุปละ เป็น หนึ่งกมุทะ
    20. ร้อยแสนกมุทะ เป็น ปทุมะ
    21. ร้อยแสนปทุมะ เป็น หนึ่งปุณฑริกะ
    22. ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็นหนึ่งอกถาน
    23. ร้อยแสนอกถาน เป็น หนึ่งมหากถาน
    24. ร้อยแสนมหากถาน เป็น หนึ่งอสงไขย
    [แก้] จำนวนอสงไขย


    อสงไขย มี 7 อสงไขย คือ
    1. นันทอสงไขย
    2. สุนันทอสงไขย
    3. ปฐวีอสงไขย
    4. มัณฑอสงไขย
    5. ธรณีอสงไขย
    6. สาครอสงไขย
    7. บุณฑริกอสงไขย
    [แก้] อ้างอิง

    1. ^ 006278 - อสงไขย!
    1. พระคัมภรีอนาคตวงศ์ , ประภาส สุระเสน, มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์,พ.ศ. 2540, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย , ISBN 974-580-742-7
    2. เว็บไซต์ทีนดอตเน็ต
    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 61/1000000Post-expand include size: 619/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:52944-0!1!0!!th!2 and timestamp 20091217071848 -->ดึงข้อมูลจาก "อสงไขย - วิกิพีเดีย".
    หมวดหมู่: พุทธศาสนา | จำนวนเต็ม
    หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ
     
  15. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    โมทนา สาธุ สาธุ แค่ได้สัมผัสเพียงใต้ฝ่าพระบาทของพระพุทธองค์ ก็นับว่าได้มีบุญวาสนาแล้วครับ
     
  16. มูริญโญ่

    มูริญโญ่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +583
    ขอบคุณคุณหนุ่มอีกครั้งนะครับที่เป็นธุระให้ครับ
    ลองล้างดูแค่ 1 สวยขึ้นครับยิ่งด้านล่างยิ่งสวยใหญ่ครับ
    เนื่อขาวครับรู้แล้วครับว่าปูนเพชรเป็นยังไง ฮิฮิฮิฮิ
    ตกลง นาย 4 น้องเขยที่เป็นข้าราชการเอาไป 3
    ที่เหลือ 5 ของผมครับให้หลานไป 1 เก็บไว้เอง 4 บารมีครับท่านเลือก
    ผมเองครับบุญจริงๆครับ ขอบคุณมากครับ:z16
     
  17. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    [​IMG]
    หวาดีครับเห็นกระทู้เงียบๆ ป้าบ้านตรงข้ามฝากลุงข้างบ้านผมมาถามท่านเล..ครับดีปล่าวแรงปล่าวครับ หุ หุ
     
  18. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    สวยครับ ดีครับ แรงครับ
     
  19. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=540 border=0><TBODY><TR bgColor=#000000><TD><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width=540 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000> </TD><TD align=middle bgColor=#000000 colSpan=7>New York Spot Price
    </TD><TD></TD><TD align=right bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3e4><TD bgColor=#000000> </TD><TD align=middle bgColor=#f3f3e4 colSpan=7>[FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]MARKET IS CLOSED
    (Will open in 14 hrs. 41 mins.)
    [/FONT]</TD><TD align=middle bgColor=#f3f3e4 colSpan=2> </TD></TR><TR align=middle bgColor=#f3f3e4><TD bgColor=#000000> </TD><TD bgColor=#cccc99>Metals
    </TD><TD bgColor=#cccc99>Date
    </TD><TD bgColor=#cccc99>Time
    (EST)
    </TD><TD bgColor=#cccc99>Bid
    </TD><TD bgColor=#cccc99>Ask
    </TD><TD bgColor=#cccc99 colSpan=2>Change
    </TD><TD bgColor=#cccc99>Low
    </TD><TD bgColor=#cccc99>High
    </TD></TR><TR align=middle bgColor=#f3f3e4><TD noWrap bgColor=#000000>[​IMG]</TD><TD align=left> GOLD
    </TD><TD>12/17/2009
    </TD><TD>17:15
    </TD><TD>1097.10
    </TD><TD>1098.10
    </TD><TD>-40.40
    </TD><TD>-3.55%
    </TD><TD>1093.80
    </TD><TD>1121.80
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    เวลาทองขึ้นหรือลงมากๆคิดถึงท่านนิวทุกครั้งเลยครับ หุ หุ
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ่า ป้านี่ก็มีดีเยอะน๊ะเนี่ย

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...