ถามปัญหาอานาปานสติหน่อยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย pitipornsn, 2 มกราคม 2010.

  1. pitipornsn

    pitipornsn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +95
    คือว่าเวลาที่ดูลมหายใจอะครับ เราจะดูกลับไปบังคับมันซะงัน แล้วจะมีวิธีแก้ไข้อย่างหร่าครับ ตอนแรกนังอยู๋ดีๆพอไปเจอตรงที่ว่าให้ดูลมหายใจ แต่ก่อนน้านั้นผมก็บังคับลมหน่อยหนึ่งครับ ก็ได้ผลดีก็นิ่งนั้งทุกวันก่อนนอนวันละ 5 นาที ภาวนาไป 15 คู่ลมหายใจก็หมดไปละ 5 นาที เร็วดีจิงๆ แต่พอเพิ่มเวลาเท่านั้นละ พอเลย 5 นาทีไปปปุบ สมาธิเริ่มแตกละเวนกำ แต่ตอนเวลานั้งนะครับมันก็เพ่งแต่ลมหายใจไม่สนใจอะไรเลย อาจมีอารมอืนมาบาง แต่ผมก็นับคู่ลมหายใจถูกหมดนะ หัดใหม่ๆ ดูลม 2 ฐาน ตอนนี้เพิ่มมา 3 ฐาน แน่นท้องมากช่วยแนะนำหน่อยนะครับ สาธุ
    (มีใครเลี้ยงพระสีสะแรงแงงของหลวงปูู้้่แย้ม กับกุมาร 9 โกศหลวงพ่อกอยเราประสบการให้ฟังมังนะ)
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    แรกๆก็นับคู่ลมก็ถูกแล้ว.....ต่อไปก็ปกติ...คือหายใจปกติ...ก็ดูลมไป....แบบสบายๆ....ครับ.....ไอ่ที่ว่าเพ่งคือมันตรึก.....กับตามดู....มันไม่ตรึก.....มันต่างกัน.....สบายๆนะ....

    ส่วนไอ่ที่ว่าเลี้ยง....ผมไม่ได้เลี้ยง.....ตัวเองตอนนี้ยังเลี้ยงไม่ค่อยใหว....เอาไว้ว่ากันก่อน....
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ลมหายใจที่เข้าออกนั้น โดยปรกติแล้วมันเป็นไปของมันเองใช่มั้ย???
    จะคิดหรือไม่คิด จะบังคับหรือไม่บังคับ มันก็ยังคงหายใจเข้าออกของมันเองใช่มั้ย???

    ส่วนการฝึกอานาปานสตินั้น ในพระสูตร(มหาสติปัฏฐานสูตร)กล่าวไว้ชัดเจนอยู่แล้วนะว่า

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน
    เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
    เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน"

    ^
    ^
    ในพระสูตรกล่าวถึงนายช่างกลึงและลูกมือ ชักเชือกยาวก็รู้ สั้นก็รู้ แสดงให้เห็นว่า
    มีดกลึงที่จ่อไว้ที่ไหน ให้เราวางสติไว้ที่นั่นเพื่อเพ่ง(การรู้อย่างต่อเนื่อง)ดู
    ลมหายใจที่เข้ายาวก็รู้ออกยาวก็รู้ เข้าสั้นก็รู้ออกสั้นก็รู้ เรามีหน้าที่ดูลมหายใจที่เข้าออกเท่านั้น
    ไปใช่ไปตามลมเข้าไปถึงไหนต่อไหน และก็ตามลมออกมาอีก เมื่อไหร่จิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิหละครับ

    จะให้ดีแล้วควรรู้อยู่ที่ฐานที่ลมหายใจเข้าออกกระทบชัดเจนที่สุด เพียงจุดเดียวเหมือนมีดกลึงที่จ่ออยู่ที่ชิ้นงาน
    อย่าตามลมหายใจเด็ดขาด ในพระสูตรอานาปานสติบรรพะเองก็ไม่ได้ให้ตามลมนะ
    การจะฝึกอานาปานสติให้ได้ผล อย่างน้อยควรภาวนาไม่น้อยกว่า๑๕นาทีในแต่ละครั้ง

    ;aa24
     
  4. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ใหม่ ๆ ก็อย่างนี้แหละ................อยากได้ ใจร้อน ยิ่งเร่งยิ่งช้า ไม่อยากได้ก็ยิ่งได้

    หาจิตของตัวเองได้หรือยังล่ะ ที่มันวิ่งตามลม เข้า-ออกแล้วรู้ว่าวิ่งตามไอ้ตัวนั้นน่ะแหละแยกออก เอามาวางไว้ในจุดที่สบาย ๆ ของเรา แล้วก็เพียงแต่นั่งดูลมเข้า-ออก ให้รู้ ไห้ทัน ให้มีสติรู้ ตื่น เบิกบาน ในลมที่ผ่านเข้า-ออก นั้น ทุกขณะ......

    พอลมกับความสบายมันผสมกันได้ที่แล้ว ปิติก็เกิด ความเบาสบายก็เกิด จิตก็มีแรง ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ต้องไปบังคับมันให้คิดไปในเรื่องอื่น มันสงบนิ่งของมันเองอยู่ตรงนั้น เหมือนม้าที่เราขึ้นขี่ได้แล้วบังคับไปไหนก็ได้ ถ้ายังบังคับไม่ได้ มันก็หลุกหลิกตามประสาสัตว์ที่ยังบังคับไม่ได้ แต่นี่เราไม่ต้องบังคับ มันนิ่งเฉย อยู่ที่เราจะเคลื่อนไหวเอง ดังนี้..........

    สรุปก็คือ... เราจะฝึกจิตเราให้ตั้งมั่น ฝึกบังคับจิตของตัวเองให้คิดอยู่กับสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว ด้วยการใช้ลมหายใจเข้า-ออกเป็นเครืองมือ บังคับได้ก็สำเร็จ ไม่ใช่ฝึกบังคับลมหายใจ.............คงเข้าใจนะ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2010
  5. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,461
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,011
    ผมว่าไม่ต้องถึงขนาดนั่งไปนับลมหายใจไปว่า เราหายใจกี่ทีนะครับ อันนี้ผมว่าคงไม่น่าจะดีเท่าไหร่ นั่งเข้าพุท ออกโธก็พอเเล้วครับ ไม่ต้องถึงกับไปคํานวณว่า นั่งได้กี่นาที หายใจเข้าออกกี่ที เเบบนี้จะทําให้ไม่เป็นสมาธิที่เเท้จริงได้ครับ ฝากอันนี้ให้ จขกท เข้ามาอ่านเเล้วกันครับ จะได้รู้ทางที่ควรทําครับ จขกท เจริญในธรรมครับ

    วิธีนั่งสมาธิขั้นเบื้องต้นของหลวงพ่อฤาษีลิงดํา

     
  6. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    อนุโมทนากับพี่ธรรมภูติ

    กำหนดสติรู้อยู่ที่ฐานที่ลมหายใจเข้าออกกระทบชัดเจนที่สุด เพียงจุดเดียว

    การไปกำหนดเอาสติตามลมที่ไปกระทบยังจุดต่างๆ เป็น 2 ฐาน หรือ 3 ฐาน

    ไม่ใช่ของทำง่าย สำหรับผู้เริ่มต้นปฏิบัติภาวนาอาณาปาณสติ

    เป็นเรื่องกระจายลมดูผัสสะ ดูเวทนา โดยอาศัยลมละเอียดไปกระทบจุดต่างๆ

    ต้องภาวนาจนถึงลมละเอียดกระทบอวัยวะภายในส่วนไหนกำหนดรู้ตามลม

    อาณาปาณสติจึงเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาในตัว เพชรน้ำเอกแห่งยอดมงกุฏ

    ผู้ที่จะกระทำได้ต้องเป็นผู้ชำนาญเจนจัดในเรื่องอาณาปาณสติเท่านั้น

    ท่านพ่อลีเองสอนเฉพาะศิษย์ที่มีนิสัยวาสนาในทางนี้เท่านั้นมีน้อยคนนักที่จะทำได้

    ไม่ได้สอนวิธีนี้กับทุกคน ให้เจริญอาณาปาณสติธรรมดาทั่วไป

    กำหนดสติรู้อยู่ที่ฐานที่ลมหายใจเข้าออกกระทบชัดเจนที่สุด เพียงจุดเดียว
     
  7. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    มาช่วยเสริมนิดหน่อยนะครับ
    1.คือว่าเวลาที่ดูลมหายใจอะครับ เราจะดูกลับไปบังคับมันซะงัน แล้วจะมีวิธีแก้ไข้อย่างหร่าครับ
    เมื่อเราเริ่มไปรุ้ลมหายใจสติจะเข้าไปจับกับกองลมที่เข้าและออกจนเรารู้สึกว่าบังคับมันกระทำการสูดลมและปล่อยลม แต่มันเป็นธรรมดาครับดูต่อไปแต่อย่าไห้รู้สึกหนักๆ ให้รุ้สึกเบาสบายๆๆค่อยกำหนดให้มันเป็นธรรมชาติ

    2 ตอนแรกนังอยู๋ดีๆพอไปเจอตรงที่ว่าให้ดูลมหายใจ
    แต่ก่อนน้านั้นผมก็บังคับลมหน่อยหนึ่งครับ ก็ได้ผลดีก็นิ่งนั้งทุกวัน
    ตอนที่คุนนั่งแล้วรู้ว่าลมหายใจเข้าออกตามข้อหนึ่งคุนก้เริ่มมีสติในกายแล้วว่ากระทำอย่างไรอยู่ คุนรู้ว่าหายใจเข้าอยู่รู้ว่าหายใจออกอยุ่ ก้ไม่ต้องไปสงสัยอะไรก้รู้ไว้อย่างนั้นมันเป้นอารมกลางๆๆ นิ่งๆคุนอยู่อย่างนี้เรื่อยๆเด่วมันเข้าสู่ความสงบที่ยิ่งขึ้นไปเองแบบนี้ล่ะเบาๆสบายๆ เรียกว่ารู้กาย มีสติ รู้ลม รู้อาการเข้าออกมีวิตกวิจาร ทำอารมสบายๆเด่วสุขเกิดปิติเกิด ก้เป็นอันว่าสมาทิเริ่มทรงตัวได้ดีขึ้น ต้องตัดความกังวล ลังเล สงสัย นั่งไปทำดาแบบนั้นล่ะครับเด่วมันชัดขึ้นเรื่อยๆ

    3ก่อนนอนวันละ 5 นาที ภาวนาไป 15 คู่ลมหายใจก็หมดไปละ 5 นาที เร็วดีจิงๆ
    อันนี้ไปทางอยากนั่งไห้นานๆมากกว่าที่จะมีสติรู้เพียงอย่างเดียวมันก้จะเกิดอารมทุข เพราะความที่ต้องเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดาเพราะเราบังคับและกดข่มหวังว่าจะต้องได้ตามที่ต้องการเมื่อไม่ได้จึงทุขทันที งั้นเราต้องไม่หวังว่าจะต้องได้เท่านั้นเท่านี้ไห้วางใจลงซะว่าไม่ได้ไม่เป็นไร นับไม่ถูกไม่เป็นไรนับเอาไหม่ นับแล้วไม่ถนัดไม่เปนไรไม่ต้องนับ เวลาปล่อยมันไม่ต้องสนใจวันนี้ได้น้อยไม่เป็นไรได้มากไม่เป็นไรแต่ ให้มีอทิฐานจิตไว้ว่าเราจะทำสมถะภาวนา เราจะอยู่กับอารมสงบเช่นนี้ หากมีสิ่งอื่นใดต้องทำเราก้เลิกภาวนาแต่หากไม่มีสิ่งอื่นใดเราก้นั่งไปเรื่อยๆ ทำใจให้สงบ แล้วมันจะเริ่มชัดเมื่อเราตัด นิวร หรือความกังวลต่างๆนานาได้เราก้จะเห็นเองว่า ลมหายใจมันชัดมันเด่นขึ้น รู้ว่ามันเข้าว่ามันออก ท่าทำอานาปานสติเท่านี้พอแล้วที่เหลืออาการมันเกิดตามมาเอง
    ทีนี้ก้ต้องไม่คาดหวังว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เพราะเมื่อรู้ลมชัดขึ้น อาการปิติต่างๆจะเกิดหากคุนมีความคาดหวังหรืออุปทานรออยู่ก่อนหรือสัญญา คุนก้จะถูกกั้นไว้ด้วยนิวรสมาทิไม่ทรงตัว สมาทิถอนถอนด้วยความอยากจะไห้เป็นเช่นนั้นเช่นนี้ จึงไปสวนทางกัการเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดาคุนจะเกิดทุขเวทนาขึ้นแทนและสมาททิไม่ทรงตัว

    4 แต่พอเพิ่มเวลาเท่านั้นละ พอเลย 5 นาทีไปปปุบ สมาธิเริ่มแตกละเวนกำ
    พอเลย5นาทีคุนก้เริ่มรู้อาการต่างๆของกายและใจชัดขึ้น แต่ด้วยความไม่เคยชินก้เลยไปสนใจมันไม่ปล่อยความรู้สึกเหล่านั้นไปว่าตริงๆแล้ว มันรู้สึกอย่างนั้นอยู่แล้วปล่อยมันไปและสนใจในลมก้พอไม่ต้องสั้นไม่ต้องยาวไม่ต้องลึกไม่ต้องสนใจรู้ว่ามันหายใจเข้ารู้ว่ามันออกก้พอทำอารมสบายๆๆ ท่ามันนานเกิน 5 นาทีได้คุนก้ให้รู้ว่าเกินและพอใจอย่าจับอารมที่ว่าเกินแล้วทุข ปรุงสังขารธรรมขึ้นในความเบาใจสบายใจ พอใจ หรือ ฉันทะ เมื่อมีฉันทะเป็นตัวเลี้ยงใจ ใจจะพอใจกับการนั่งรู้ลมเข้าออกอย่างนั้นไม่กระวนกระวายใจ ส่วนหากต้องการสิ่งใดวิเศษนอกเหนือจากนั้น มันจะตามมาเอง จากวิริยะ ความเพียรจากความพอใจกับการทำสมถะภาวนาแล้ว มีสติกำหนดอุ่ที่กรรมฐานกองที่ตนต้องการ มีจิตตะ ตั้งมั่งลงในกรรมฐานกองนั้นๆ และมีมังสา คล้ายๆกับมีสติแต่มีสติในสิ่งเดียวที่สนใจไม่สนสิ่งอื่นที่แทรกเข้ามา เริ่มต้นไม่ต้องสนใจสิ่งเหล่านี้สิ่งเหล่านี้มีเป็นธรรมดาเมื่อสมาทิทรงตัวได้ เอาเริ่มต้นก่อนพอใจ ฉันทะ กับการนั่งสบายๆรู้ลมเข้าออกก่อน

    5 แต่ตอนเวลานั้งนะครับมันก็เพ่งแต่ลมหายใจไม่สนใจอะไรเลย อาจมีอารมอืนมาบาง แต่ผมก็นับคู่ลมหายใจถูกหมดนะ

    คุนกำหนดดูมันด้วยอาการตั้งใจ อุปมา
    สายน้ำไหลลงตามทางคุนนำดินมากั้นใช้กำลังดันขวางเอาไว้ หากกำลังของคุนหมดแรงสายน้ำนั้นย่อมชนะแรงต้านและผ่านพ้นไปได้เป็นธรรมดา
    แต่หากทำอย่างงถูกวิทีไม่เก็บน้ำนั้นไว้ทั้งหมด แต่ใช่เครื่องมือช่วยทำเขื่อนขึ้นน้ำส่วนหนึ่งก้ถูกเก็บมันก้สามารถนำไปใช้งานได้ ไม่ไหลผ่านไปโดยปล่าวประโยชน์ น้ำส่วนที่ไม่สามารถกักไว้ได้ก้ปล่อยไป อยู่ที่คุนใช้เครื่องมือได้ถุกต้องหรือไม่ เก็บน้ำไว้อย่างถูกวิทีรึเปล่าหากเพียงใช้แรงอย่างเดียวเมื่อแรงหมดน้ำเหล่านั้นก้ไหลไปตามปกติคุนก้ไม่ได้ใช้ประโยชนืจากมัน

    6หัดใหม่ๆ ดูลม 2 ฐาน ตอนนี้เพิ่มมา 3 ฐาน แน่นท้องมากช่วยแนะนำหน่อยนะครับ สาธุ
    ค่อยๆทำไปครับ จะ1 2 หรือ 3 หากทำแล้วเกิดประโยชนืก้ทำไปครับ จับอย่างไรแล้วสบายจับอย่างนั้นท่าจับแล้วไม่สบายไม่พอใจไม่เกิดผลดีก้จับอย่างที่มันเกิดผลดีมากกว่า มันไม่ได้อยู่ที่จับอย่างไรแต่อยู่ที่คุนพอใจอย่างไร ตรงนี้เป็นการเริ่มต้นทั้งสิ้นฐานที่ดีตั้งขึ้นด้วยความพอใจ นทะย่อมนำความสบายใจสุขเวทนา ตามมาและมั่นคงตั้งมันด้วยไม่รำคานไม่สงสัยลังเล

    อนุโมทนากับการปติบัติครับ อพยากตาธรรมเป้นเพียงสังขารธรรมหนึ่งมีอาการเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดาเช่นเดียวกับกุศลและอกุศลธรรม จะมีรึไม่มีจะทรงตัวได้นานหรือไม่นานอย่างไรก้ต้องเปลี่ยนแปลง ทำได้ก้ดีนับว่ามีการฝึดฝนมานาน ทำไม่ได้ก้ช่างมันครับ ธรรมใดๆล้วนอนัตตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2010
  8. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    แน่นท้องถ้าเกิดจากแบบลมตีขึ้น เดินจงกลมก่อนหรือใช้สมาธิเคลื่อนไหวก่อนน่าจะช่วยได้ครับ(ถ้าเกิดจากการบังคับลมหายใจตอนที่ลมเริ่มปรับเปลี่ยนแล้ว ให้ผ่อนคลาย หรือวางอารมณ์ให้เบาลง) ล้างลมหยาบก่อนช่วยในการฝึกด้วยครับ :z12
     
  9. pitipornsn

    pitipornsn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +95
    ขอคุณมากครับ สาธุ การธรรมเป็นทาน ชนะทานทั้งปวง แล้วจะมาเล่าให้ฟังจากแนะนำของพี่ๆ นะ
     
  10. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ช่วงแรกเป็นการหาฐานของสติหรือที่ตั้งของความรู้สึก หมายถึง อย่าให้เกิดการบังคับใดๆแต่ปล่อยให้สติหรือใจเราเลือกว่าจะกำหนดให้อยู่ตรงไหนแล้วจะรู้สึกได้ทันที โดยมากก็ปลายจมูกนั่นแหละเพราะเข้าปั๊บก็รู้ออกปั๊ปก็รู้ในตอนต้น แต่พอลมมันละเอียดขึ้นเรื่อยๆหมายถึง สบายไม่ขัดข้องหรือไม่อึดอัดเราก็เลื่อนสัมผัสมาที่สุดลมหายใจก็ได้แล้วแต่ว่าเรานั้นจะรู้สึกสบายที่ไหน เพียงแต่ประเด็นคือ จิตจะสงบไม่วุ่นวายกับสิ่งใดๆที่อยู่ภายนอก เหลือแค่ภายในก็จับลมไปเรื่อยๆดูการเคลื่อนที่ เข้าออกตามแต่ที่จิตเรากำหนดให้รู้สึกว่าอยู่ตรงไหน เรียกว่า สติ อยู่ตรงไหนจิตก็อยู่ตรงนั้น ระวังความคิดฟุ้งซ่าน หมายถึง นิวรณ์ธรรม ให้ระลึกอยู่เสมอว่านี่เรากำลังฝึกจิต กำหนดลมหายใจ คือ สัมปะชัญญะ จนกระทั่งจิตไม่ต้องอาศัยความรู้สึกทางกาย ก็เข้าสู่ความสงบด้วยองค์สมาธิอย่างสมบูรณ์ครับ
    อนุโมทนาครับ
     
  11. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    สูดลมหายใจให้ลึกที่สุดกลั้นไว้นิดนึงพอประมาณ ปล่อยออกให้หมดปอดสักสามครั้ง เริ่มจากการกำหนดลมก่อนตามนี้

    พอหลังจากล้างลมหยาบสักสามครั้งแล้วปล่อยให้ร่างกายหายใจไปตามปรกติร่างกายจะหายใจเป็นธรรมชาติขึ้นโดยจะเริ่มสั้นๆลงๆจนเข้าสู่ภาวะการหายใจปรกติโดยไม่ไต้องบังคับ โดยจิตตามดูลม ตรงที่ผัสสะเวทนาเกิดชัดที่สุด แล้วแต่บุคคลจะไม่เหมือนกัน

    จับอารมณ์อุเบกขาเวทนาต่อลมหรือบางคนอาจจะเริ่มจากสุขก่อนหรือปิติที่ปรากฏหรือเกิดขึ้นจริงในขณะนั้น ถ้าผู้ชำนาญแล้วหรือข้ามไปหรือวางไปสู่อารมณ์อุเบกขาเลยก็ได้เพราะทรงตัวเป็นหนึ่งได้เร็วกว่า เมื่ออารมณ์อุเบกขาต่อลมเริ่มปรากฏและเริ่มทรง แทนการจับล่ม

    ทรงอยู่ที่อารมณ์อุเบกขา วางการรับรู้ผัสสะทางกาย ทรงอยู่กับอารมณ์จิต
    แรกๆก็ใช้สติประคับประคองให้อยู่กับอารมณ์จิตชนิดนี้ ผู้ใหม่อาจจะทรงอยู่ในสุขหรืออารมณ์ใจสบายๆก่อนเมื่อวางสุขแล้วก็มาทรงอยู่สภาวะที่ทรงอยู่ในอารมณ์นี้

    ทำบ่อยๆจะเข้าสู่อารมณ์อุเบกขาตั้งมั่นได้รวดเร็วขึ้น

    ตัวผมเองก็ยังทำไม่ค่อยได้ดีแต่อยากแนะนำเผื่อเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ทำมาก็เข้าสู่อารมณ์ที่ควรได้
    ผิดถูกหรือตรงจริตนิสัยหรือไม่อย่างไรก็ลองพิจารณาดู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มกราคม 2010
  12. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    การงานสำคัญของจิต คือ การเจริญสติ
    สตินี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในวงความเพียร
    เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ สำหรับผู้ที่จะหักวัฏฎสงสาร

    จิตเมื่อได้รับการบำรุงรักษาด้วยคำบริกรรมโดยทางสติแล้ว
    จะมีความสงบเย็นลง ตามลำดับ จากนั้นจิตเข้าสู่ความสงบจนถึงขั้นแน่วแน่
    ความคิดปรุงด้วยคำบริกรรมเหล่านี้จะหมดไปในเวลานั้น
    ความคิดปรุงทั้งหลายเหล่านี้จะไม่มี จิตอิ่มอารมณ์
    ไม่อยากคิดอยากปรุงอยากรู้อยากเห็น อยากได้ยินได้ฟัง
    จิตที่เคยดีดดิ้นเร่าร้อนดั่งไฟเผาผลาญ เพราะอำนาจกิเลสก่อกวนจิตใจ
    ใจที่มีความละเอียด มีความสงบเป็นพื้นฐาน
    อารมณ์รบกวนคือสังขารออกมาจากสมุทัยนั้นจะเบาลง
    จิตที่บำรุงด้วยอรรถด้วยธรรมคือคำบริกรรมนี้
    จะมีความสงบแน่นหนามั่นคงมากขึ้นๆ จนเป็นสมถธรรม

    ใจที่สงบไม่อยากคิดอยากปรุง ความสงบนี้จะส่งผลไปถึงจิตใจ
    ให้เป็นใจที่มีความแน่นหนามั่นคง ก็กลายเป็นสมาธิขึ้นมา
    ฐานของจิต คือ จิตที่มีความแน่นหนามั่นคงอยู่ภายในใจ
    พอจิตเข้าสู่ความสงบเรื่อยเข้าสู่สมาธิแล้ว
    กำหนดให้คิดให้ปรุงอะไรก็ไม่ได้ เหลือแต่ความรู้ล้วนๆ อยู่ภายในจิต
    กำหนดสติ ตั้งลงในจุดคือความสงบของใจ
    จิตนี้จะมีอารมณ์เดียว เรียกว่า เอกัคคตาจิต เอกัคคตารมณ์

    เมื่อจิตสงบอิ่มอารมณ์ ไม่หิวโหยอยากรู้อยากเห็นอยากได้ยินได้ฟังสิ่งนั้นสิ่งนี้
    ทางดำเนินทางด้านปัญญา พิจารณาตามหลักความจริงของสัจจธรรม
    ปัญญานี้ จะกระทำตามจิตที่สั่งการ
    เพราะจิตใจที่ไม่สงบหิวโหยอารมณ์จะแฉลบไปหาอารมณ์จอมปลอม
    ปัญญากลายเป็นสัญญาอารมณ์ เป็นของจอมปลอม
    กิเลสจอมหลอกลวงต้มตุ๋นว่าเป็นธรรม


    ท่านจึงสอนไว้ว่า สมาธิ ปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา

    ปัญญาที่สมาธิอบรมแล้วย่อมเดินได้คล่องตัว หรือย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก


    สมาธิ ปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา

    ปัญญาที่มีสมาธิเป็นเครื่องหนุนแล้วย่อมเดินได้คล่องตัว ทำงานตามหน้าที่ของตนไม่เถลไถลไปในงานอื่นใด
     

แชร์หน้านี้

Loading...