อานาปาณสติจนถึงฌาณ๔ สามารถแสดงอิทธิวิธี ได้หรือไม่?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย waratrick, 31 สิงหาคม 2006.

  1. waratrick

    waratrick Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +26
    ถึงท่านผู้รู้ครับช่วยไขข้อข้องใจที หากฝึกสายอานาปาณสติจนถึงณาณ 4 จะสามารถแสดงฤทธิได้เหมือนสายกสิณหรือไม่? จะมีความสามารถในทางทิพจักษุหรือไม่? หากฝึกจนลมหายใจขาดแล้ว เกิดปิติ สุข เอกัคคตา จะมีวิธีการฝึกให้เกิดฤทธิได้อย่างไร ? มีวิธีอธิฐานฤทธิอย่างไร? จะต้องฝึกต่ออย่างไรจึงจะมีความสามารถทางทิพจักษุ(b-oneeye)
     
  2. Sonny

    Sonny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +156
    ปฏิบัติแล้วยังมีสุข มีปิติอย่าว่าแต่ณานสี่เลยครับ ผมคิดว่าคงไม่พ้นแค่ณานสองเท่านั้นเอง

    ลักษณะของจตุตถฌานหรือณานสี่นั้น ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้มีสติบริสุทธิ์(เป็นจิตที่อ่อนโยน ตั้งมั่น ว่องไว ควรแก่การงานของวิปัสสนา)

    ณานขั้นต่างๆนั้นมีไว้เพื่อการเจริญสติเพื่อหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ได้มีไว้เพื่อการทำฤทธิ์หรืออภิญญาใดๆนะครับ

    แล้วการจะได้อภิญญาเช่นทิพยจักษุก็ใช่ว่าจะมีได้กันทุกคน เรื่องฤทธิ์นั้นเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล บางคนก็มีบางคนก็ไม่มีหรือมีแต่ก็ไม่ครบ เพราะแม้แต่พระอรหันต์เอง ท่านก็ยังไม่ได้มีอภิญญาครบทุกอย่างเลยนะครับ

    เรื่องณานหรืออภิญญาเป็นเรื่องที่มีเกิดมีดับเป็นอัตตา ไม่ได้อยู่คงที่ถาวร เหมือนในอดีตพระเทวทัตเคยมีฤทธิ์เหาะได้ สุดท้ายเพราะประมาททำกรรมชั่วเอาไว้มาก ถึงเหาะได้ก็หนีไม่พ้นต้องลงนรกอเวจีอยู่ดีน่ะครับ

    ธรรมะนั้นเป็นเรื่องของการค้นหาวิธีในการดับทุกข์เท่านั้นเองครับ สิ่งอื่นนอกเหนือจากนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่กิเลสเขาสร้างขึ้นมาหลอกล่อให้เรายังคงหลงอยู่ในสังสารวัฎนี้ต่อไปเท่านั้นเองครับ...
     
  3. waratrick

    waratrick Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +26
    มโนมยิทธิทำให้หลุดพ้นได้ไหมครับ ? เหลือแต่เอกัคตาล้วนๆใช่ฌาณ๔ หรือเปล่าครับ? ทำสมาธิช่วงนี้ มันไม่มีลมหายใจแล้ว ปิติก็ไม่มี มันเฉยๆ นิมิตก็ไม่มี ผมเลยสงสัยว่าจะฝึกต่อไปยังไงครับ
     
  4. Sonny

    Sonny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +156
    - มโนยิทธิ แปลว่าฤทธิ์ทางใจ ประโยชน์จริงๆของฤทธิ์ทางใจคือการนำไปใช้เพื่อตัดกิเลสเป็นหลักแต่เนื่องจากเป็นดาบสองคม ถ้านักปฏิบัติปฏิบัติไม่ถูกทางก็อาจจะเกิดผลร้ายขึ้นกับตัวของผู้ปฏิบัติเองได้เหมือนกันครับ แต่ในเบื้องต้น คือการสร้างศรัทธา ว่านรกมีจริง สวรรค์มีจริง นิพพานมีจริง เพราะคนเราถ้าไม่เห็นก็มักจะไม่เชื่อ ไม่กลัวเกรงบาป ไม่เชื่อว่าทำดีให้ผลถึงไหน รวมถึงไม่เห็นก็คิดว่าไม่มี ทำให้กำลังใจน้อยลงได้ครับ

    - ทางแห่งการหลุดพ้นนั้นต้องอาศัยทางที่เรียกว่าสติปัฐฐานสี่ครับ

    - เรื่องสมาธิของคุณนั้น ผมขอแนะนำแบบกว้างๆแล้วกันนะครับ ผมคิดว่าถ้าคุณwaratrickต้องการที่จะทำสมาธิโดยมีจุดประสงค์เพื่อลดกิเลสในใจให้เบาบางลง ขอเพียงแค่ตาม"รู้"ก็พอครับ ไม่ต้องพยายามคิดหาคำตอบ เพราะธรรมชาติของจิตนั้น เค้าสามารถหาทางออกให้กับตัวเค้าเองได้ครับ เราแค่ทำหน้าที่"รู้"ให้ทันเท่านั้นเอง ไม่ต้องไปกังวลกับอารมณ์หรือภาพนิมิตใดๆเลย เพราะถ้าเราพยายามคิดหาคำตอบหรือสนใจกับอารมณ์ต่างๆนั้น จะไม่ได้คำตอบที่แท้จริงเลยครับ เพราะคำตอบที่แท้จริงนั้น มันจะออกมาเอง จิตเค้าจะเป็นผู้หาคำตอบด้วยตัวเค้าเองครับ

    ป.ล.ถ้าคุณwaratrickอ่านความเห็นของผมแล้วต้องการที่จะรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเจริญสติผมขอแนะนำให้เข้าไปที่นี่ครับ http://santidharma.com/ เพราะในนั้นเขาได้พูดถึงแนวทางในการปฏิบัติไว้ค่อนข้างชัดเจนและเข้าใจง่าย เปรียบเทียบกับคำอธิบายของผมแล้วเหมือนฟ้ากับเหวเลยครับ ^^
     
  5. วสวัต

    วสวัต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    238
    ค่าพลัง:
    +2,079
    แนะนำว่าให้ฝึกตามแบบท่านโบราณาจารย์ นะครับโดยท่านจะสอนโดยรวมๆ กรรมฐานหลายๆแบบไว้ด้วยกันนะครับ

    แบบวัดปากน้ำภาษีเจริญครับ
    ท่านสอนแบบพุทธานุสติควบกับกรรมฐานแบบอื่น โดยท่านกำหนดลม ๗ ฐาน แล้วภาวนาว่า
    สัมมาอรหัง แล้วกำหนดดวงแก้ว ตามแบบของท่านควรวิจัยอย่างนี้ครับ

    กำหนดฐานลม เป็นอาณาปานานุสติ ภาวนาเป็นพุทธานุสติกรรมฐาน กำหนดดวงแก้ว เป็นอาโลกกสิน เป็นกสินกลาง เป็นเหตุให้ได้ทิพยจักษุญาณ และได้มโนมยิทธิ

    แบบหลวงปูปาน วัดบางนมโค
    ท่านให้ทำ ๔ กรรมฐานพร้อมกันครับ
    ให้พิจารณาขันธ์ ๕ ก่อน โดยพิจาณาว่า ขันธ์ ๕ นี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาให้ได้ตลอดวันยิ่งดี ต่อเมื่อจิตส่ายให้ พิจารณาไม่ได้ดี ท่านให้ภาวนาโดยตั้งอารมณ์ดังต่อไปนี้
    กำหนดลมหายใจไว้สามฐาน คือ ที่ จมูก อก และศูนย์เหนือสะดือ ลมกระทบ สามฐานนี้ก็ให้ภาวนาว่า พุทธ ภาวนาเมื่อสูดลมหายใจเข้า โธภาวนาเมื่อหายใจออก แล้วให้ท่านนึกถึงภาพพระพุทธที่ผู้ปฏิบัติเคารพมาก จะเป็นพระพุทธรูปวัดใดก็ได้ตามใจสมัคร

    กรรมฐานที่ท่านให้ พิจารณาได้ดังนี้
    ๑) ตอนพิจารณาขันธ์ ๕ เป็น วิปัสสนาญาณ
    ๒) ตอนกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็น อาณาปานานุสสติกรรมฐาน
    ๓) ตอนภาวนาพุทโธ เป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน
    ๔) ตอนเพ่งรูปพระ เป็นกสิน

    กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง ๑๐
    พุทธนนุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ เทวตานุสติ มรณานุสติ อุปสมานุสสติ อนุสสติทั้ง ๗ นี้ มีกำลังสูงสุดเพียงแค่ อุปจารสมาธิ
    สีลานุสสติ มีกำลังถึงอุปจารสมาธิ และอย่างสูงสุดเป็นพิเศษ ถึง ปฐมฌาณ ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติต้องฉลาดในการควบคุมสามธิจึงจะถึงปฐมฌาณ แต่ถ้าทำตามปกติธรรมดาแล้ว ก็ทรงได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น
    กายคตานุสติกรรมฐาน ถ้าพิจารณาตามปกติในกายคตาแล้ว จะทรงได้เพียงปฐมฌาณเท่านั้น แต่ถ้าผู้ปฏิบัติฉลาดทำ หรือ ครูฉลาดสอน ยกเอา สีเขียว ขาว แดง ที่ปรากฏในอารมณ์กายคตานุสตินั้นเอามาเป็นกสิน ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า กรรมฐานกองนี้ก็สามารถทรงได้ถึง ฌาณ ๔ ตามกำลังในสมาธิของกสินนั้น
    อาณาปานานุสสติ มีกำลังสมาธิถึง ฌาณ ๔

    ลองพิจารณาให้เหมาะสมกับตนเองนะครับ ว่าจริตคุณแบบไหน
    (f)

    ข้อมูลจาก : คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน โดย พระมหาวีระ ถาวโร ศิษย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา
     
  6. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ...การทำอิทธิวิธี....ต้องได้กสิณทั้ง 10กอง ถึงฌาน4 คล่องทุกกองเท่านั้น..

    ...อานาปานุสสติ เป็นพื้นฐานของกรรมฐานทุกกอง....

    ...ทิพจักขุญาณ ฝึกจาก อาโลกสิณ เตโชกสิณ ได้ง่าย
     
  7. Sonny

    Sonny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +156
    เพิ่มเติมความรู้ครับ

    *************************************************

    รูปฌาน มี ๕
    รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์มี ๔ คือ
    ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๔ คือ วิจาร , ปีติ, สุข, เอกัคคตา
    ๓. ตติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติ , สุข, เอกัคคตา
    ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
    ๕ ปัญจมฌาน มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา

    อรูปฌานมี ๔
    ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
    ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
    ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา

    และพิเศษอีกอย่างนึง คือ นิโรธสมาบัติ สำหรับพระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้รูปฌานและอรูปฌานแล้ว จึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้

    (สาราณียธรรม)
    *************************************************
     
  8. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    โมทนาด้วยครับที่นำเอาความรู้มาฝาก...สาธุ...สาธุ...สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...