วิถีแห่งพระอาจารย์มั่นวิถีแห่งเขาช่องลม

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 2 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    วิถีแห่งพระอาจารย์'มั่น'วิถีแห่งเขาช่องลม

    วิถี แห่ง การปฏิบัติ วิถี แห่ง พระอาจารย์ "มั่น" วิถี แห่ง เขาช่องลม

    คอลัมน์ วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่

    โดย ดวงเดือน ประดับดาว



    [​IMG]

    ก่อนจะลงลึกไปยังรายละเอียดแห่งวันของการเร่งความเพียร ณ ถ้ำสิงโต เขาพระงาม ลพบุรี

    ขออนุญาตย้อนกลับไปยังหนังสือ "ประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์" จากการบันทึกของ พระญาณวิริยาจารย์ หรือ หลวงพ่อวิริยังค์

    เป็นบันทึกจากคำบอกเล่าของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เช่นเดียวกัน

    เป็นสถานการณ์บำเพ็ญความเพียร ณ ถ้ำสิงโต เขาพระงาม ลพบุรี อันเป็นห้วงเวลาภายหลังจากสถานการณ์บำเพ็ญความเพียร ณ ถ้ำสาริกา นครนายก

    เพียงแต่เขาพระงามในตอนนั้นชาวบ้านเรียกว่า เขาช่องลม

    น่ายินดีที่บันทึกของ พระญาณวิริยาจารย์ ระบุไว้ว่าเป็น พ.ศ.2446 ซึ่งน่าจะคลาดเคลื่อนเพราะหากเป็น พ.ศ.2446 พระอาจารย์ก็น่าจะอยู่ในห้วงอายุเพียง 13 ปี

    น่าจะเป็น พ.ศ.2456 มากกว่า

    รายงานของ พระญาณวิริยาจารย์ บอกให้ทราบว่า ท่านธุดงค์จากนครนายกผ่านสระบุรีไปยังลพบุรี

    "ขณะที่ท่านไปพักอยู่สถานที่นั้นเป็นที่สงบสงัดเงียบยิ่งนัก ท่านได้พักเพื่อบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่นั้นหลายวัน และในขณะที่ท่านอยู่ ณ เขาช่องลมนั้น ทำให้ท่านแน่ใจถึงความรู้ของท่านอย่างแท้จริง"

    แท้จริงอย่างไร

    ท่านได้ระลึกว่า

    "สาวกของพระพุทธเจ้าจะต้องถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นมูลเหตุ ถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นแบบฉบับ และถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่อาศัย"

    โดยนัยนี้ก็ได้รู้ขึ้นภายในสมาธิ

    คำว่า ถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นมูลเหตุ นั้น ได้แก่การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเพื่อความถูกต้องหรือต้องการความจริงแท้

    ต้องดูความจริงอันเป็นมูลเหตุทำให้พระพุทธองค์ได้ออกบรรพชาในเบื้องต้น

    พระองค์ได้เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างนับตั้งแต่ราชบัลลังก์ พระมเหสี ราชสมบัติ แม้ที่สุดพระเกศา

    การเสียสละเช่นความสุขอันเป็นไปด้วยราชสมบัติ มีผู้คอยยกย่องสรรเสริญ คอยปฏิวัติวัฎฐาก แล้วได้เสียสละมานอนกับดินกินกับหญ้า ใต้โคนต้นไม้ ถึงกับอดอาหาร เป็น การเสียสละเหล่านี้เพื่อประโยชน์อะไร

    เพื่อให้ถึงซึกวิโมกขธรรม คือ ธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย

    และเมื่อพระองค์จะได้ตรัสรู้ก็ทรงนั่งสมาธิใต้ร่มไม้อันเป็นสถานที่สงบสงัด และได้ทรงพิจารณาซึ่งความจริง คืออริยสัจ 4

    นี้เป็นมูลเหตุอันเป็นเบื้องแรกของพระองค์

    สาวกผู้ที่จะเจริญตามรอยพระยุคลบาทจำเป็นที่จะต้องระลึกถึงความเป็นจริงของพระพุทธองค์ในข้อนี้ นำมาเป็นสิ่งพิสูจน์ปฏิปทาของตนที่กำลังดำเนินอยู่ ว่าในการปฏิบัติหรือการบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พวกเราได้พากันถือเอาต้นเหตุให้พึงระลึกถึงความจริงของตนที่ว่าได้เสียสละโดยความเป็นจริงหรือไม่

    เพราะถ้าไม่ถือเอาความจริงตามปฏิปทาของพระพุทธองค์ในข้อนี้ ก็จะเรียกได้ว่าไม่ถือเอาพระองค์เป็นมูลเหตุ

    คือ บางหมู่บางเหล่าถือการปฏิบัติเพียงแต่เป็นโล่บังหน้า แล้วก็มีเบื้องหลังที่ไม่มีการเสียสละ

    หรือทำไปอย่างยุ่งยากพัวพัน จะสละก็สละไม่จริง

    บางทีแม้แต่เป็นบรรพชิตแล้วก็ยังมีจิตใจโลภโมโทสัน ไม่สละแม้แต่อารมณ์ ยังจะถือว่าข้าพเจ้ามียศถาบรรดาศักดิ์

    บางทีการอยู่ป่าเอามาเพียงเพื่อเป็นกิเลสบางประการ ทำเป็นว่าเรานี้อยู่ป่าเขาเหมือนจะออกวิเวกให้เป็นที่บำเพ็ญความสงบ แต่กลับเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความห่วงใย อาลัย ยุ่งยากด้วยการก่อสร้าง สะสมด้วยเครื่องกังวลนานัปการ

    นี่ไม่ได้ถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นมูลเหตุ

    จะยังไม่บอกหรอกว่า รายละเอียดอันปรากฏในสำนวน พระญาณวิริยาจารย์ กับ รายละเอียดอันปรากฏในสำนวน พระทองคำ จารุวัณโณ

    เหมือนหรือแตกต่าง

    ก่อนอื่นขอให้เราในฐานะผู้ตั้งใจใฝ่การเรียนรู้ เดินลึกลงไปภายในวิถีแห่งการปฏิบัติซึ่ง พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เล่าผ่าน หลวงพ่อวิริยังค์

    ว่านอกเหนือจากถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นมูลเหตุแล้ว ยังมีอะไรตามมาอีก



    ที่มา: มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01col01020949&day=2006/09/02
     

แชร์หน้านี้

Loading...