ถ้าหากว่าอยากจะอัจฉริยะจริง ๆ ก็ชาตินี้ถวายพระไตรปิฎก....โดยหลวงพี่เล็ก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 3 มกราคม 2006.

  1. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    วิหารทานครับ

    ยกตัวอย่างเช่น มีพระพุทธรูปที่คนถวายวัดองค์ใหญ่อยู่องค์หนึ่ง ตั้งอยู่กลางแจ้ง ตากแดดตากฝน คุณวิเชียรเห็นเข้า ก็เลยไปสร้างศาลาหรือไปสร้างวิหารครอบพระพุทธรูป ถามว่าคุณวิเชียรสร้างวิหาร หรือสร้างพระพุทธรูปกันแน่ครับ ฉันใดก็ฉันนั้นสำหรับข้อที่คุณวิเชียรสงสัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2007
  2. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    ต้องประกอบกันทั้ง 2 อย่าง

    การที่เราเอาใจใส่ตั้งใจศึกษา ค้นคว้า หาวิชา ฝึกฝน เป็นการสร้างเหตุปัจจุบันที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ให้เห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น

    แต่ผลกรรมในอดีตชาติที่ส่งผลให้เรามีความตั้งใจศึกษา หรือมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเหนือคนอื่น จะมีใครสักกี่คนที่เข้าใจว่าเกิดจากการสร้างอานิสงส์ในชาติปางก่อน

    บางครั้งเราจะพบว่า คนบางคนทุ่มเทให้กับการศึกษา การเรียนมาก มีความพากเพียร แต่เพราะสติปัญญามีจำกัด ก็อาจประสบความสำเร็จได้ แต่ไม่ถึงกับดีเลิศ และถึงแม้ประสบความสำเร็จในวิชาใดวิชาหนึ่งก็จริง แต่ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จในอีกวิชาหนึ่งได้ เพราะถึงแม้คนเราไม่มีใครแก่เกินเรียนก็จริง แต่ก็ไม่มีใครอยู่นานเกินกว่าที่จะเรียนทุกวิชาให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ ยกเว้นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า

    ตัวอย่างใกล้ๆตัวเรา เราสังเกตเห็นไหมว่า บางคนอ่านหนังสือรอบเดียว จำได้แม่น อีกคนจะทำได้อย่างนั้น ต้องใช้ความพยายามอ่าน 2 - 3 รอบ หรือบางคนเราอธิบายสั้นๆ เค้าเข้าใจแถมอธิบายต่อจากเราได้อีก แต่บางคนเรียกว่าต้องจ้ำจี้จำไช อย่างนี้เรียกว่ามีสติปัญญาดีเป็นทุนเดิม

    ในทางศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญคนที่ประมาท ดังนั้นแม้คนที่มีสติปัญญาดีอยู่แล้ว หากคนๆนั้นมีความสนใจต่อการศึกษา ไม่ประมาทว่าเราฉลาดกว่าคนอื่น ตรงกันข้ามกลับมีความพากเพียร ทำให้รู้แจ้งเห็นจริงมากยิ่งขึ้น ก็จะยิ่งทวีความฉลาดเข้าไปอีก

    ในขณะเดียวกัน คนที่รู้ตัวว่าเราไม่ได้มีไอคิวสูงเกินกว่าชาวบ้านเค้า เมื่อรู้ดังนั้น ก็เลยใช้ความเพียร ไม่ย่อท้อ มีความตั้งใจ รู้จักสังเกต รู้จักปรับปรุงจุดอ่อน เรื่องที่จะกลายเป็นผู้รู้จริงนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางเป็นไปได้ สมดังพุทธภาษิตว่า "วิริเยน ทุกขฺมจฺเจติ"

    สำหรับกระทู้ที่ยกขึ้นมานั้น ที่อ้างถึงการเป็นอัจฉริยะนั้นก็เป็นการโน้มน้าวให้คนร่วมทำนุบำรุงพระศาสนาเป็นสำคัญ ก็ต้องบอกว่าเอ้า คุณทำแล้วได้อะไร

    ตามที่ผมทราบ การที่สร้างบุญสร้างกุศลในทางศาสนานั้น หากจะกล่าวในทางธรรม ทานโดยทั่วๆไปต้องรอภพหน้า ชาติหน้า เรียกว่าตายไปแล้ว เกิดใหม่ (จะเป็นเทวดา พรหม มนุษย์ ฯลฯ) ทานนั้นจึงส่งผล ยกเว้น การให้ทานของบุคคลบางคนในสมัยพุทธกาล หรือการให้ทานบางอย่างเท่านั้น ที่ทำปุ๊ปส่งผลปั๊ปเลย นั่นคือ การทำบุญกับพระที่ออกจากนิโรธสมาบัติ

    อยากจะบอกว่า อดีต ปัจจุบัน อนาคต ทุกอย่างเกี่ยวโยงกันหมด เชื่อมต่อกันเป็น...ช่วงๆ (ไม่ใช่...หลินหุ้ย นะ)
    (b-smile)



    การทำทานนั้น หากทำด้วยความเต็มใจ ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ต้องรออานิสงส์ในชาติหน้าหรอก อานิสงส์สำเร็จตอนนั้นเลยแหละว่า .... เราเป็นผู้ให้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2007
  3. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,210
    ค่าพลัง:
    +23,196
    [​IMG]
     
  4. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,434
    อนุโมทนาครับ ถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และในอนาคตไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณ พร้อมเหล่าพระสาวกของพระพุทธเจ้าทุกท่านทุกองค์ไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณ สาธุ มหาสาธุ
     
  5. อิสวาร์ยาไรท์

    อิสวาร์ยาไรท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,608
    ค่าพลัง:
    +1,955
    आपका बहुत बहुत धन्यवाद อ นุ โม ท นา สา ธุ ค่ะ
     
  6. pbun

    pbun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +369
    อนุโมทนา....ครับ
     
  7. เกสรช์

    เกสรช์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +1,401
    ขออนุโมทนา สาธุ

    เรียนคุณ Narคะ ถวายพระไตรปิฏกพร้อมตู้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่คะ เกสรช์อยากทำบุญบ้างแต่ขอทราบค่าใช้จ่ายไว้ก่อน

    ขอบคุณคะ(good)
     
  8. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    การให้สิ่งที่ดีย่อมได้สิ่งที่ดี การให้ธรรมทานย่อมได้อานิสงส์แห่งธรรมทาน อานิสงส์แห่งธรรมทานนั้นกรุณาแจกแจงแบบ อย่างถูกต้องด้วย

    เพราะไอน์สไตน์ อัจฉริยภาพ คงไม่ได้ถวายพระไตรปิฏกมามั่นคง
    นักวิทยาศาสตร์โลกเก่งๆ คนมีความสามารถเก่งๆ ทั่วโลก ไม่ใช่หมายถึงว่าต้องถวายพระไตรปิฏกขอรับ ผิดพลาดขออภัย

    ตรงนี้คือ วาสนา เครื่องอยู่ที่แปลว่าสิ่งที่อยู่ในสันดานที่สะสมมามากต่างหาก เด่นด้านไหน
    ก็จะแสดงด้านนั้นขึ้นมา

    การเก่งด้านพระไตรปิฏำนั่นก็แสดงว่า ท่านได้ศีกษาในด้านนี้สะสมมามาก เมื่อถูกกระตุ้น
    ด้วยการเรียนรู้ใหม่ สันดานที่สะมเรียกว่าวาสนาก็จะแสดงตนขึ้นมาเอง

    ผมคงใช้คำว่าด้านไหนเด่น ด้านนั้นก็จะแสดงขึ้น หาใช่ว่า ถวายพระไตรปิฏกแล้วจะเก่งไปหมดทุกด้าน

    และต่อให้ถวายแต่ไม่ใส่ใจ ไม่ศึกษา ไม่เรียนรู้ จิตที่เป็นผู้สะสมมันจะเกิดมาได้อย่างไร

    เราถวายพระธรรมเพื่อสละใจของเราออกด้วยการไม่ยึดติด ในการถวาย
    เราถวายพระธรรมเพื่อผลประโยชน์แห่งพระสงฆ์ที่ศึกษาพระธรรมวินัย พุทธบริษัทที่ใส่ใจในการศึกษา อานิสงส์ย่อมเกิดขึ้นเอง ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยปัจจัย

    แต่การชักจูงว่าเป็นอัจฉริยะด้วยการถวายซะแล้วดูเหมือนจะเอาบุญเข้ามาชักนำไปทางที่
    ยึดติดบุญเสียมากกว่านะครับ

    กระผมอาจจะศึกษามาน้อยแต่เชื่อว่าทุกอย่างมันเกิดจากจิต จิตถ้าไม่มีเชื้อสะสมชนิดนั้นเลย วาสนาจะปรากฏด้วยเหตุชนิดนั้นๆไม่ได้แน่นอน

    ทุกอย่างจึงต้องอยู่ที่การกระทำที่มันจบไปแล้วแต่สะสมเชื้อเอาไว้ที่จิตก็เีพียงเท่านั้น

    ผิดพลาดขออภัยต่อครูด้วย ไม่ได้มีเจตนาแต่เป็นข้อแย้งนะครับ
     
  9. coolz

    coolz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,594
    ค่าพลัง:
    +1,337
    วันนี้ได้โอนเงิน เข้าบัญชี

    นาย ณัฐพัชร จันทรสูตร
    บัญชีเงินฝากออมทรัพย์
    เลขที่บัญชี 134 - 7 - 02014 - 9
    ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    สาขาสะพานใหม่ ดอนเมือง


    จำนวน 10,000 บาท เวลา 09.37

    ต้องขอบอกทุกท่านจากใจตัวเราพ่อแม่ยังส่งเรียนหนังสืออยู่ ทุกครั้งที่ได้เงินมาเยอะจะคอยหาทางจ่ายเงินอยากได้โน่นอยากได้นี่ไปเสียหมด ไม่สามารถเก็บเงินได้อยู่


    ขอตั้งปณิธานจากนี้ไป

    "หากต้องการสิ่งใดโดยที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ขอนำเงินจำนวนนั้นๆมอบให้เพื่อให้พุทธศาสนาเรานี้ดำรงคงถ้วนห้าพันปี "

    ขอปัญญาโปรดอยู่กับข้าพเจ้า
    coolz
     
  10. อริยะวังโสภิกขุ

    อริยะวังโสภิกขุ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2008
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +15
    อนุโมทนาด้วยครับ อ่านแล้วอยากทำบ้าง แต่ตอนนี้ยังไม่มีเงิน
     
  11. TaeyoLySiS

    TaeyoLySiS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +278
    สาธุค่ะ
    ครอบครัวข้าพเจ้าและญาติมิตร
    ก็ได้มีโอกาสถวายพระไตรปิฎกและตู้สำหรับวัดหรือสำนักสงฆ์ที่ยังไม่มี
    ก้อผ่านมาหลายชุดแล้วเหมือนกัน และถ้ามีโอกาสอีก พอมีตังค์ทำได้อีก ก้อคงจะทำต่อไป
     
  12. ก้านแก้วเก้า

    ก้านแก้วเก้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +317
    ขออนุโมทนากับ คุณ Nar ที่ได้สร้างพระไตรปิฎก ด้วยนะคะ [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Dee2.jpg
      Dee2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.1 KB
      เปิดดู:
      576
  13. ศึกษาธรรม2551

    ศึกษาธรรม2551 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +234
    ขออนุโมทนากับคุณด้วยครับ
    ธรรมเหล่าใดที่ท่านเห็นแล้ว รู้แล้ว และจะรู้ขึ้นอีกในอนาคตกาล ขอให้ผมเป็นเช่นดังท่านด้วยเทอญ สาธุ
     
  14. CLUB CHAY

    CLUB CHAY เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    507
    ค่าพลัง:
    +1,412
    ขออนุโมทนาบุญกุศลทุกรูปทุกนามที่ร่วมกันทำนุบำรุงและเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองด้วยครับ สาธุ
     
  15. itipiso

    itipiso เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,485
    ....ทุกสิ่งว่างเปล่า...ทำไมยังเอ่ยถึงฝุ่น...ยังมีฝุ่นอยู่นะ
    ...ก็บอกว่าฝุ่นจะลงจับอะไร...ก็แสดงว่ายังมีฝุ่นอยู่
     
  16. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    ขอคั่นรายการหน่อยนะ.....


    อยากชวนทำบุญถวายตู้พระไตรปิฎกชุดใหญ่และ CD เสียงอ่านพระไตรปิฎก ถวายหลวงปู่บุญญฤทธิ์...
    (10 เมษายน 2553..เวลา 11.30 น.) ด้วยกัน...

    อันนี้ร่วมทำกับเพื่อนๆๆ สมาชิกเวปพลังจิตค่ะ...ตั้งใจจัดขึ้นมาเอง....บุญใหญ่ บารมีมาก ทำคนหรือสองคน ไม่ดีแน่..
    เลยอยากขอเชิญชวนทุกท่าน ที่ผ่านมาเห็นข้อความนี้ มาร่วมสร้าง และสะสมปัญญาบารมีร่วมกันค่ะ.......

    ท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์นี้นะคะ....

    บันทึกบาปและกรรมของข้าพเจ้า ห้องกฏแก่งกรรม เขียนโดย ปานโสม
    http://palungjit.org/threads/%E0%B8....89898/page-90
     
  17. no-ne

    no-ne เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    1,199
    ค่าพลัง:
    +3,381
    ขออนุโมทนาอย่างยิ่งค่ะ และขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม และเต็มเปี่ยมไปด้วยสติปัญญาญาณ สามารถรู้แจ้งแทงตลอด ในธรรมะของพระพุทธเจ้า ด้วยเทอญ
     
  18. smileland008

    smileland008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +159
    ขออนุโมธนาบุญด้วยครับ
     
  19. trilakbooks

    trilakbooks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +414
    สาธุตามนี้ ปีนี้ ตั้งใจจะถวายสัก 1 ใบ และจะถวายทุกๆปี ปีละใบครับ
     
  20. trilakbooks

    trilakbooks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +414
    พระไตรปิฎกภาษาไทย พุทธศักราช 2549 ฉบับเฉลิมพระเกียรติ
    การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาเถรสมาคมจัดพิมพ์ืเผยแพร่โดย
    ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์
    หนังสือพระไตรปิฎก ชุดนี้ บรรจุ 45 เล่ม
    ปั๊มทองเย็บกี่ อย่างดี กระดาษถนอมสายตา (กรีนรีด)
    เผยแพร่เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา 15,000 บาท
    ....................................................................................


    มหาเถรสมาคมได้ ปรารภ การจัดกิจกรรมร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติ
    ครบ 60 ปี ในปี พุทธศักราช 2549 แล้วมีมติให้จัดพิมพ์พระไตรปฎก ทั้งภาษา
    บาลี และภาษาไทย เพื่อ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้
    แต่งตั้ง คณะกรรมการผู้มีความรู้ และทรงธรรมวินัย พิจารณาตรวจสอบแก้ไข ต้นฉบับให้ถูกต้อง
    โดยใช้พระไตรปิฎก ฉบับสังคายนา ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีพุทธศักราช 2530 เป็นต้นฉบับ
    เพราะได้ตระหนักถึงความสำคัญของพระไตรปิฎกในฐานะเป็นพระบรมศาสดาแทนพระองค์สมเด็จ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทย และ ประชาชนชาวไทย ได้นับถือพระพุทธศาสนา
    ในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติไทย และพระมหากษัตริย์ ไทยทุกพระองค์
    ทรงเป็นพุทธมามกะและเป็นเอกอัตรศาสนูปถัมภพมาโดยตลอด

    ดังที่ปรากฏเป็นหลักฐาน เช่น

    ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ ด้าน ๒
    "คนเมืองสุโขทัยนี้
    มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสมัยสุโขทัยนี้
    ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้า ท่วปั่ว ท่วยนาง ลูกเจ้าขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย
    ทั้งผู้ชาย ทั้งผู้หญิง ฝูงท่วย มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีล
    เมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว..."



    พระบรมสัตยาธิฐานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    ที่ตัสประกาศแก่เทพยดาทั้งปวงว่า "ให้บังเกิดมาในประยูรมหาเศวตฉัตร
    จะให้บำรุงพระพุทธศาสนา ไฉนจึงมิช่วยให้สว่างแลเห็นข้าศึกเล่า"
    พอตกพระโอษฐ์ลง พระพายก็พัดควันอันเป็นหมอกมืดนั้นสว่างไป...



    น้ำพระราชหฤทัย
    และพระราชดำรัสของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    "พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จะให้เราเข้ารีดดังนั้นหรือ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก
    เพราะในราชวงศ์ของเราก็นับถือพระพุทธศาสนามาช้านานแล้ว จะให้เปลี่ยน
    ศาสนา อย่างนี้เป็นการยากอยู่ และถ้าพระเจ้าผู้สร้างฟัสร้างดินจะต้องการ
    ให้คนทั่วโลกได้นับถือศาสนาอันเดียวกันแล้ว
    พระเจ้ามิจัดการให้เป็นเช่นนั้นเสียแล้วหรือ?"
    "จริงอยู่ เมื่อฟอลอนในเวลาหมอบอยู่ข้างพระบาทเจ้า
    กรุงสยามได้แปลคำชักชวนที่พระเจ้าหยุลส์ที่ ๑๔ ได้รับสั่ง
    มากัราชทูตนั้น
    ฟอลคอนก็กลัวจนตัวสั่น และสมเด็จพระนารายณ์ ทรงพระกรุณาโปรด
    ให้อภัยแก่ฟอลคอม แต่ก็ได้รับสั่งว่า ได้ทรงนับถือศาสนาอันได้นับถือ
    ต่อๆกันมาถึง ๒,๒๒๙ ปีแล้ว เพราะฉะนั้นที่จะให้พระองค์
    เปลี่ยนศาสนาเสียนั้น เป็นการที่พระองค์จะทำไม่ได้"



    พระราชปฏิธานของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    "อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
    คนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
    ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
    แด่พระศาสนา สมณะ พระพุทธโคดม

    ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
    สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
    เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
    ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา

    คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
    ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
    พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
    พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน"
    ...........................................................................................


    พระราชปณิธานของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    "ตั้งใจจะอุปถัมภพ ยกยกพระพุทธศาสนา
    ป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี"

    ...........................................................................................




    พระราชศรัทธาของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    "ศุภมัสดุ ๑๑๗๙ ศก... พระบาทสมเด็จบรมธรรมิกมหาราชารามาธิราช
    บรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว...
    ทรงพระราชศรัทธาจะรื้อวิสาขบูชามหายัญพิธี
    อันขาดประเพณีมานั้นให้กลับคืนเจียรฐิติกาล ปรากฏสำหรับแผ่นดินสืบไป
    จะให้เป็นอัตตัตถประโยชน์และปรัตถประโยชน์ ทรงพระราชศรัทธาจะให้
    สัตว์โลก ข้าขอบขัณฑเสมาทั้งปวงจำเริญอายุและอยู่เย็นเป็นสุข
    ปราศจากทุกข์ภัยในชั่วนี้แลชั่วหน้า..."

    ............................................................................................



    น้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    "ด้วยกำลังทรงพระมหากรุณาเมตตากับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นอันมาก
    พระพระกรุณา ดำรัสให้จดหมาย (คือ จด) กระแสพระราชโองการ
    ปฏิญาณยกพระนามพระรัตนตรัยสรณาคมน์อันอุดมเป็นประธานพยานอันยิ่ง
    ให้เห็นความจริงในพระบรมหฤทัย
    แล้วทรงพระราชดำรัสยอมอนุญาตให้เจ้าพระยาพระคลัง
    ว่าที่สมุหพระกลาโหม พระยาศรีพัฒน์รัตนราชโกษา พระยาราชสุภาวดี
    กับขุนนางผู้น้อยทั้งปวง จงมีความสโมสรสามัคคีรสปรึกษาพร้อมกัน
    เมื่อเห็นว่า พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใด ที่มีวัยวุฒิปรีชารอบรู้ราชานุวัตร
    จะเป็น ศาสนูปถัมภพยกพระบวรพุทธศาสนา แลจะปกป้องไพร่ฟ้าอาณา
    ประชาราษฏร์รักษาแผ่นดินให้เป็นสุขสวัสดิ์โดยยิ่ง
    เป็นที่ยินดีแก่มหาชนทั้งปวงได้ก็สุดแท้แต่จะเห็นดี
    ประนีประนอมพร้อมใจกัน ยกพระบรมวงศานุวงศ์
    พระองค์นั้นขึ้นเสวยมไหสวรรยาธิปัตย์ราชสืสันตติวงศ์
    ดำรงราชประเพณีต่อไปเถิด อย่าได้กริ่งเกรงพระราชอัธยาศัยเลย
    เอาแต่ให้ได้เป็นสุขทั่วหน้า
    อย่าให้เกิดการรบราฆ่าฟันกันให้ได้ความทุกข์ร้อนแก่ราษฎร์...."

    .....................................................................................



    พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ที่ทรงประกาศพระราชทานส่วนพระราชกุศลที่ทรงบริจาคเพชรใหญ่
    ประดับพระอุณาโลมพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
    "การพระราชบริจาคอันนี้ ทรงพระราชดำริ เห็นว่า ไม่ขัดขวาง
    เป็นเหตุให้ท่านผู้ใดขุ่นเคืองขัดใจเลย
    พระนครนี้ เป็นถิ่นของคนนับถือพระพุทธศาสนามาแต่เดิม
    ไม่ใช่แผ่นดินของศาสนาอื่น
    คนที่ถือศาสนาอื่นมาแต่อื่นก็ดี อยู่ในเมืองนี้ก็ดี
    จะโทมนัสน้อยใจด้วยริษยาแก่
    พระพุทธศาสนา เพราะบูชาอันนี้ไม่ได้ ด้วยไม่ใช่เมืองของศาสนาตัวเลย
    ถ้าโทมนัสก็ชื่อว่าโลภล่วงเกินไป".....

    ......................................................................................................



    พระราชปฏิภาณและพระราชนิพนธ์
    ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช
    "ข้าพระเจ้าจะไม่มีจิตยินดีน้อมไปในศาสดาอื่น
    นอกจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    และพระธรรมอันพระองค์ได้ตรัสรู้ชอบดีแล้ว กับทั้งพระสงฆ์หมู่ใหญ่
    อันได้ประพฤติตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระองค์นั้นเป็นอันขาด ตราบกว่าจะสิ้นชีวิต..."

    .............................................................................................



    พระราชนิพนธ์ และพระบรมราโชวาท
    ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    "พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาสำหรับชาติเรา
    เราจำเป็นต้องถือด้วยความกตัญญูต่อบิดา มารดา
    และต้นโคตรวงศ์ของเรา ... เมื่อรู้สึกแน่นอนแล้ว่า
    ศาสนาในสมัยนี้เป็นของที่แยกจากชาติไม่ได้...
    ถ้าข้าพเจ้าจะขอแก่ท่านทั้งหลายว่า
    พุทธศาสนาเป็นของไทย เรามาชวนกันนับถือพระพุทธศาสนาเถิด...
    ผู้ที่แปลงศาสนา คนเขาดูถูกยิ่งเสียกว่าผู้ที่แปลงชาติ...
    เพราะฉะนั้น จะเป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลาย ผู้เป็นไทย
    จะต้องมั่นอยู่ในศาสนาพระพุทธซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา..."
    และพระองค์ได้พระราชทานความหมายแห่งไตรรงค์ไว้ดังนี้

    "ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย
    แห่งสีทั้งสามงามถนัด
    ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์
    และธรรมะคุ้มจิตไทย..."


    .....................................................................................



    พระบรมราโชวาท
    ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    "แต่บ้านเมืองในลานนาถึงกาลวิบัติ พระพุทธศาสนา ก็เศร้าหมอง
    จนสงฆมณฑลเสื่อมทรามระส่ำระสายมาช้านาน....
    มาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระปิยมหาราช พระบรมชนกนาถของเราจึงได้เริ่มทรง
    จัดการฟื้นพระพุทธศาสนาในมณฑลนี้มาโดยทรงพระราชดำริจะให้พุทธจักร
    และอาณาจักรเจริญรุ่งเรืองสมกับสมัย เป็นต้นว่า
    ในการสั่งสอนประชาชนทั้งหลายให้รัฐบาล
    เอาเป็นธุระสั่งสอนส่วนคดีโลก
    ให้พระสงฆ์รับภาระการสั่งสอนส่วนคดีธรรมเป็นอุปการะแก่กัน
    ดังนี้ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชของเราก็ได้โปรดให้จัดการสืบมาด้วยทางนั้น....."

    ......................................................................................



    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัลกาลปัจจุบัน
    ได้ตรัสพระปฐมบรมราชโองการ ซึ่งเป็นพระราชปณิธานแก่ปวงชนชาวไทย
    ในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษษ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓
    ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง ว่า

    " เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม
    เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ได้มีพระราชดำรัสตรัสลาผนวก
    ต่อพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี คณะทูตานทูต
    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการ ณ พระที่นังอมรินทรวินิจฉัย
    เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ว่า

    "โดยที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของเรา ทั้งตามความศรัทธา
    เชื่อมั่นของข้าพเจ้าก็เห็นเป็นศาสนา ที่ดีศาสนาหนึ่ง
    เนื่องในบรรดาสัจธรรมคำสั่งสอนอันชอบด้วยเหตุผล จึงเคยคิดอยู่ว่า
    ถ้าโอกาสอำนวย ข้าพเจ้าควรจักได้บวชสักเวลาหนึ่งตามราชประเพณี
    ซึ่งจักเป็นทางสนองพระคุณบุรพการีตามคตินิยมด้วย..."

    และได้มีพระราชดำรัสในโอกาสพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ ๒ เข้าเฝ้า
    ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗
    ว่า "คนไทยเป็นศาสนิกที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา
    อันเป็นศาสนาประจำชาติ"

    การดำเนินงานตรวจชำระสอบทานต้นฉบับพระไตรปิฎกให้คงความ
    บริสุทธิ์แห่งพระบาลีพุทธพจน์ ซึ่งเป็นหลักวิชาการทางพระพุทธศาสนา
    จำเป็นต้องอาศัยความสุขุมคัมภีรภาพด้วยความรู้ความชำนาญในภาษาบาลี
    ของพระเถรานุเถระและศาสนบัณฑิตทั้งหลาย จึงนับว่าเป็นงานที่
    มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นกุศลกิจอันยิ่งใหญ่ที่กระทำได้ยาก
    ดังนั้น การที่พระเถรานุเถระและศาสนบัณฑิตทั้งหลาย
    มีอิทธิบาทธรรมร่วมกันตรวจชำระ
    สอบทานต้นฉบับพระไตรปิฎกจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงควรแก่การอนุโมทนา
    สาธุการของบรรดาพุทธบริษัททั้งหลายเพราะตราบใดที่พระไตรปิฎก
    ยังคงความบริสุทธิ์อยู่ ย่อมเป็นที่มั่นใจได้ว่า ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวช
    ก็ยังดำรงอยู่ ก่อให้เกิดสันติสุขแก่มวลมนุษยชขาติตราบนั้น

    ในนามของมหาเถรสมาคม
    ขอแสดงความชื่นชมยินดีต่อคณะกรรมการคณะอนุกรรมการ
    และคณะทำงานพิจารณาตรวจต้นฉบับและจัดพิมพ์
    พระไตรปิฎกที่ได้ดำเนินการจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อยสมบูรณ์
    นับเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่
    สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ผู้ทรงพระคุรอันประเสริฐ เนื่องในวโรกาส
    ที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ดังกล่าว


    ขออานุภาพแห่งมหากุศลอันยิ่งใหญ่ที่เกิดจาการร่วมแรงร่วมใจของ
    พระเถรานุเถระและศาสนบัณฑิตทั้งหลาย ที่ได้ร่วมกันพิจารณาตรวจต้นฉบับ
    และจัดพิมพ์พระไตรปิฎกทั้งภาษาบาลี และภาษาไทย
    ซึ่งถือว่าเป็นพระบรมศาสดาแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งนี้
    ได้โปรดอภิบาลคุ้มครองรักษา
    สมเด็จบรมบพิต พระราชสมภาคเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
    ตลอดถึงพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ให้ทรงพระเกษมสำราญ
    มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน สถิตมั่นเป็นมิ่งขวัญร่มเกล้าของเหล่าพสกนิกรชาวไทย
    สืบไปต่อจิรัฐิติกาล เทอญ

    สมเด็จพระพุฒาจารย์
    ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

    .......................................................................................................



    คำปรารภ
    ศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เดิมทีนั้น เรียกว่า พระธรรมวินัย

    พระธรรม ได้แก่ คำสอน ที่แสดงหลักความจริงที่ควรรู้
    และแนะนำหลักความดีที่ควรประพฤติ

    พระวินัย ได้แก่ ข้อบัญญัติที่ทรงวางไว้เป็นหลักกำกับความประพฤติ
    ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอกัน กาลต่อมา
    เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระธรรมวินัย ที่พระพุทธองค์
    ทรงแสดงไว้ทรงบัญญัติไว้ในกาลโอกาสต่างๆ มีความสำคัญยิ่ง
    ในฐานะเป็นพระบรมศสดาแทนพระพุทธองค์ โดยมีหลักฐานปรากฎในมหา
    ปรินิพพานสูตร (ที.ม.๑๐/๒๑๖) ว่า ขณะที่ทรงพระประชวรจวนจะเสด็จ
    ดับขันธปรินิพพาน พระพุทธองค์หาได้ทรงตั้งพระสาวกรูปใดรูปหนึ่ง
    ไว้ในตำแหน่งพระบรมศาสดาไม่ หากแต่ตรัสกะท่านพระอานนท์พุทธอุปัฏฐากว่า

    โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต, โส โว มมจฺจเยน สตฺถา.

    แปลความว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยอันใดที่เราแสดงแล้ว
    บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอ
    โดยกาลล่วงไปแห่งเรา"

    จากพุทธพจน์นี้ เป็นหลักฐานยืนยันถึงความสำคัญของพระธรรมวินัย
    ซึ่งได้รับการสังคยานารวบรวมประมวลสำหรับสอบทานความ
    ถูกต้องมิให้คลาดเคลือนไปจากที่พระพุทธองค์ตรัสสั่งสอนจริงด้วยสังฆานุมัติ
    พร้อมกัน ครั้งแรกโดยพระอรหันตเถระ ๕๐๐ รูป ภายหลัง พุทธปรินิพพานได้
    ๓ เดือน การสังคายนาพระธรรมวินัยในครั้งแรกนั้นได้ยกเอาพระพุทธพจน์
    ที่ทรงแสดงโปรดเวไนยสัตว์ตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา ขึ้นสู่การพิจารณา
    สอบทานรับรองความบริสุทธิ์ถูกต้องในท่ามกลางสงฆ์ แล้วประมวลจัด
    เป็นหมวดไว้ ๓ หมวดใหญ่ เรียกว่า พระไตรปิฎก อันประกอบด้วย
    พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก


    *พระวินัยปิฎก หมวดพระวินัย ....
    ว่าด้วยพระพุทธบัญญัติที่ทรงวางหลัก
    ความประพฤติและมารยาทอันเป็นแบบอย่างเยี่ยงอารยชนของผู้มาบวช
    ประพฤติพรหมจรรย์ชั้นสูงในพระพุทธศสนา เป็นประมวลพระพุทธดำรัส
    ตรัสสั่งสอนเกี่ยวกับศีลหรือสิกขาบท ตลอดจนพิธีกรรมและขนบธรรมเนียม
    ของพระสงฆ์ อันเป็นกฎระเบียบที่พระภิกษุ และพระภิกษุณี ต้องปฏิบัติ
    โดยเคร่งครัด นอกจากนี้ยังได้ประมวลเหตุการณ์พุทธประวัติสำคัญๆ นับตั้งแต่
    แรกตรัสรู้เสวยวิมุตติสุขเป็นต้นไปพร้อมทั้งประวัติการทำสังคายนาไว้ด้วย
    มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์
    มหาวรรค จุลลวรรค และ ปริวาร โดยพระไตรปิฎกของไทยเราจัดพิมพ์เป็น
    ๘ เล่มหนังสือ ในจำนวน ๔๕ เล่ม ได้แก่ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ ถึงเล่มที่ ๘


    *พระสุตตันตปิฎก หมวดพระสูตร....
    ว่าด้วยประมวลพระธรรมเทศนา ตรัสบรรยายธรรม
    ของพระพุทธองค์ที่ตัสให้เหมาะแก่บุคคลและโอกาส
    เป็นประมวลหลักพุทธธรรมที่ทรงแสดงโดยบุคลาธิษฐาน หรือทรงใช้สมมติโวหาร
    ตลอดจนบทคาถาบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวชั้นเดิมที่แสดงถึงประวัติ
    ของพระพุทธองค์และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
    แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ เรียกว่า นิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมมนิกาย
    สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย โดยพระไตรปิฎกของเรา
    จัดพิมพ์เป็น ๒๕ เล่มหนังสือ ในจำนวน ๔๕ เล่ม ได้แก่พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    ถึงเล่มที่ ๓๓


    *พระอภิธรรมปิฎก หมวดพระอภิธรรม
    ว่าด้วยประมวลพระพุทะพจน์
    อันเดี่ยวกับหลักปรมัตถธรรมที่เป็นความหมายที่แท้จริงของสรรพสิ่ง
    เป็นประมวลคำอธิบายหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาล้วนๆ โดยธรรมาธิษฐาน
    คือ ไม่ยกบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์ต่างๆ อันเป็นสมมติบัญญัติเข้ามา
    ประกอบความ มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ คือ
    ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน
    โดยพระไตรปิฎกของไทยเราจัดพิมพ์เป็น ๑๒ เล่มหนังสือ ในจำนวน ๔๕ เล่ม
    ได้แก่ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ ถึงเล่มที่ ๔๕

    พระไตรปิฎก จัดเป็นหนังสือพระสัทธรรม ๓
    คือ ปริยัตติสัทธรรม ที่ประมวลไว้ซึ่งนวังคสัตถุศาสน์ทั้งหมด
    เป็นทั้งปทัฏฐาน ให้เกิดปฏิปัตติสัทธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    และนำไปสู่การบรรลุปฏิเวธสัทธรรม คือ มรรค ผล นิพพานในที่สุด

    ดังนั้นจึงถือว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งในทางพระพุทธศาสนา
    ดังพระปรารภของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
    (วาสน์ วาสโน) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    ในคราวจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับ สังคายนา
    ในพระบรมราชูปภัมภ์ พุทธศักราช ๒๕๓๐ ความว่า

    "พระไตรปิฎกเป็นพระคัมภีร์ที่รวบรวมคำสอนของสมเด็จพระ
    สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระอรหันตสาวกได้รับภารธุระสั่งสอนสืบต่อกันมา
    เป็นพระคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา
    เท่ากับเป็นสัญลักษณ์ของพระบรมศาสดา
    พระภิกษุสามเรร และพุทธศาสนิกชนผู้สนใจพระพุทธศาสนามี
    ความจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากพระไตรปิฎก
    เพราะฉะนั้น คัมภีร์พระไตรปิฎกนี้
    พระเถรานุเถระแต่ปางก่อนจึงได้ช่วยกันรักษาสืบต่อกันมา
    ในการสร้างวัดวาอารามสมัยก่อนนั้น จะต้องสร้างหอไตรประจำวัด
    ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกอันประกอบด้วยคัมภีร์ใบลาน
    พระภิกษุ สามเณรผู้บวชในพระพุทธศาสนาจะเป็นศาสนทายาท
    ก็จำต้องศึกษาภาษาบาลีอันเป็นภาษาที่จารึกในคัมภีร์พระไตรปิฎก
    พร้อมทั้งอรรถกถา
    ฎีกา โยชนา สัททาวิเสส อันเป็นคัมภีร์ประกอบเพื่อให้เข้าใจ
    เนื้อความพระไตรปิฎกนั้น พระมหากษัตริย์ทรงนับถือ
    พระพุทธศาสนาในปางก่อน จึงได้ให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่มเรียนหา
    ความรู้ในพระไตรปิฎกนั้นๆให้แตกฉาน
    เพื่อนำเอาความรู้มาสั่งสอนแก่พุทธศาสนิกชน
    สำหรับในประเทศไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะมาตลอดสาย
    และได้ทรงให้พระภิกานสงฆ์ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมคือพระไตรปิฎกนี้
    สืบต่อกันมา ทรงถือเป็นพระราชกิจสำคัญ มีการสอบพระปริยัติธรรม
    เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้แสดงความรู้ที่ได้ศึกษาพระไตรปิฎกนั้นๆ
    และทรงปูนบำเหน็จความสามารถแก่พระภิกษุสามเณรผู้สอบไล่
    ได้พระปริยัติธรรม ซึ่งทุกวันนี้ได้ขยายวงกว้าง
    ออกมาเป็นการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
    แผนกบาลีสนามหลวง ตลอดจนพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ให้
    พระภิกษุสามเณรผู้ทรงความรู้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ถือเป็นการ
    ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอันยิ่งใหญ่..."

    พระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้รับการสืบๆ กันมา
    ด้วยภาษามคธ หรือภาษาบาลี อันหมายถึงภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธพจน์
    ด้วยวิธีมุขปาฐหรือมุขบาฐ คือวิธีทรงจำนำสืบๆต่อๆ กันด้วยการสาธยาย
    ท่องจำกัน สั่งสอนกันจากปากสู่ปาก หรือวิธีบอกเล่ากล่าวสอนจากอาจารย์
    สู่ศิษย์โดยโวหารต่างๆ เป็นเวลาถึง ๔ พุทธศตวรรษ
    จึงได้รับการจารึกเป็นลายลักษณ์อัการลงในใบลานในคราวสังคายนาครั้งที่ ๕ ในประเทศศรีลังกา
    เมื่อพุทธศักราช ๔๓๓ ตลอดระยะเวลาดังกล่าวนี้ ถ้าในสมัยใดมีความฟั่นเฝือเลอะเลือนจำกันมาผิด
    มีข้อบกพร่องผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่ง
    หรือมีคำสอนของลัทธิอื่นเข้ามาปะปนในพระไตรปิก อันเป็นเหตุให้พระสงฆ์ประพฤติผิด
    หลักพระธรรมวินัย บรรดาพระอรหันต์หรือพระมหาเถระในยุคสมัยนั้นๆ
    ก็จะถือเอาเป็นภารธุระดำเนินการประชุมพระสงฆ์ทำสังคายนา เพื่อสอบทาน
    สวดรับรองความถูกต้องพร้อมกันเป็นครั้งๆ โดยประวัติการทำ
    สังคายนานั้น สามครั้งแรกทำในประเทศอินเดีย ครั้งที่ ๔ และครั้งที่ ๕ ทำในประเทศศรีลังกา
    ซึ่งในการทำสังคายนาครั้งที่ ๕ นี้เอง
    พระเถระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายได้คำนึงถึงว่า

    "ในอนาคต กุลบุตรคงมีศรัทธาน้อยลง และปัญญาที่จะทรงจำพระธรรมวินัย
    สืบอายุพระพุทธศาสนาคงน้อยลงด้วย
    ควรที่คณะสงฆ์จะสังคายนาพระธรรมวินัยแล้วลงบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร"

    เพราะประจักษ์ที่พวกทมิฬไม่นับถือพระพุทธศาสนา
    ซึ่งปกครองประเทศศรีลังกาแล้วทำให้เกิดภัยพิบัติ
    อย่างใหญ่หลวงพ่อพระพุทธศาสนา
    เป็นเหตุให้พระภิกษุสาวกทั้งหลายต่างพากันปลีกตน
    ไปอยู่ตามป่าเขาอย่างลำเค็ญ มีความฝืดเคืองด้วยภิกษาหาร
    ต้องอดทนอยู่อย่างลำบากถึง ๑๒ ปี
    แต่ท่านเหล่านั้นหาคำนึงถึงความลำบากทางกายของตนไม่

    ต่างช่วยกันทรงจำพระไตรปิฎกท่านละหนึ่งนิกายบ้าง
    สองนิกายบ้าง ถึงแม้ไม่มีอะไรจะฉันเป็นภัตตาหาร
    ก็ฉันใบไม้แทน เพื่อให้ร่างกายมีกำลังทรงอยู่เพียง
    เพื่อสาธยายท่องบ่นทบทวนพระไตรปิฎกที่ทรงจำไว้นั้น

    ทั้งนี้เพื่อมิให้พระไตรปิกที่ทรงจำไว้นั้นสูญไปพร้อมกับชีวิตของท่าน
    เพราะขณะนั้นพระภิกษุสาวกที่ทรงจำพระไตรปิฎกได้มีจำนวนน้อยเต็มที
    บางท่านเกิดเตโชธาตุในท้องกำเริบ
    ก็ต้องนอนเอาทราบกลบท้อง
    เพื่อให้ดูดความร้อนจากร่างกายแล้วสาธยาย
    ทบทวนพระไตรปิฎกนั้นมิให้ลืมเลือนสูญหายไป
    เมื่อได้ประจักษ์ชัดถึงการทรงจำพระไตรปิฎกด้วยวิธีมุขปาฐะ
    ว่าไม่อาจจะรักษาพระไตรปิฎกไว้ได้ต่อไป
    จึงได้มีมติจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลานเป็นลายลักษณ์อักษร
    ด้วยภาษามคธ พร้อมทั้งจารึกอรรถกถา (คัมภีร์อธิบายความแห่งพระไตรปิฎก)
    ด้วยภาษาสิงหล แล้วนำสืบเผยแผ่ไปยังประเทศต่างๆ
    ที่นับถือพระพุทธศาสนาและต่อมาเมื่อวิทยาการด้านการพิมพ์เจริญขึ้น
    ได้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นรูปเล่มหนังสือ
    โดยใช้อักษรของประเทศนั้นๆ จึงปรากฏเป็นพระไตรปิฎก
    ฉบับอักษรสิงหล ฉบับอักษรเทวนาครี
    ฉบับอักษรพม่า ฉบับอักษรขอม
    ฉบับอักษรไทย ฉบับอักษรโรมัน ฉบับอักษรมอญ เป็นต้น

    และเมื่อจะจัดพิมพ์หรือจัดสร้างซ้ำแต่ละครั้งเนื่องในวโรกาสสำคัญๆ
    ก็จะมีการสังคายนา ตรวจชำระสอบทานเพื่อคงความบริสุทธิ์
    โดยการนำคัมภีร์พระไตรปิฎก ฉบับอักษรต่างๆ มาเทียบเคียงกัน
    ตรวจสอบให้ลงกันสมกันเป็นสำคัญ

    โดยมีการจัดทำเครื่องหมายวรรคตอน จัดทำเชิงอรรถแสดงปาฐะที่ต่างกัน
    พร้อมทั้งจัดทำดัชนีคือปทานุกรม นามานุกรม คาถานุกรม และธัมมประภท
    แสดงลำดับหมวดธรรม เพื่อสะดวกในการสืบค้น ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน




    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    <CENTER>เผยแพร่ จัดจำหน่ายหนังสือพระไตรปิฎก โดย ศูนยเผยแพร่</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หนังสือพระไตรปิฎก </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์ (ริมกำแพงวัดญาณเวศกวัน)</CENTER><CENTER>ตั้งอยู่ เลขที่ 19/5 ม3. ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210</CENTER><CENTER>ตั้งอยู่ริมกำแพงวัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม (ติดวัดญาณเวศกวัน (ใกล้พุทธมณฑลสถาน องค์พระ))</CENTER><CENTER>
    </CENTER><CENTER>เบอร์โทรศัพท์ติดต่อโดยตรง . 087-696-7771, 085-819-4018, 081-424-0781, 02-482-7358</CENTER>
     

แชร์หน้านี้

Loading...