ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    เรื่อง..พระองค์ที่ ๑๐ เล่าโดยหลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    (หลวง พ่อเล่าว่า วันหนึ่งเจอพระองค์หนึ่งมานั่งอยู่ข้างหน้ารูปร่างหน้าตาสวยแล้วท่านก็บอก ต่อไปดังนี้)

    รูปร่างหน้าตาสวย มีผิวพรรณสวยมาก อายุประมาณสัก ๓๐ แต่สวยจริง ๆ แล้วดูนี่ เจ้าคุณธรรมเสนานีย์ นั่ง ก็ตามปกติเจ้าคณะจังหวัดจะนั่งต้น แล้วก็ฉันนั่งรอง แต่ว่าองค์นั้นมาก่อน เขาไม่ได้นิมนต์ องค์ที่ ๑๐ นี่ พอถึงนั่งต้นเลย (หัวเราะ) นั่งหน้าแถว ติดพระพุทธรูป

    ผลที่สุดเจ้าของบ้านก็ต้องเอาหมอนมาต่ออีกลูกหนึ่ง ตรง องค์ที่ ๑๐ น่ะ ใช่ไหม ทำยังไง มาถึงก็นั่ง ท่านก็นั่งเฉย เจ้าคุณธรรมเสนานีย์ ก็ไม่ถาม เราก็ไม่ถาม เวลาตอนเย็นตอนสวดมนต์ขึ้นสวดมนต์นี่เพราะจริง ๆ เสียง แหม..กังวานพราว เสียงก้องกังวานแหลมก็ไม่แหลม เล็กก็ไม่เล็ก ใหญ่ก็ไม่ใหญ่ เพราะจริง ๆ เสียงนี่กลบเสียงพวกเราหมดเลย

    อย่านึกว่าดังกลบ ไม่นะ เพราะเสียงพวกเราเหมือนเสียงเป็ดน่ะ จ๊อกแจ๊ก ๆ ของท่านนี่ แหม..กังวานเพราะว่าหนังสือ ฑีฆะรัสสะ ครุ ลหุ ถูกต้องหมด จังหวะจะโคนไม่เหลือ สังโยคตรงเป๊ง ถ้าเรียนบาลีแล้วรู้ ทั้งนี้อักขระไม่มีวิบัติเลย เสียงชัด เสร็จแล้ท่านก็เดินกลับ ตอนเช้ามา ตอนเช้าจะไปฉัน

    ก็เลยถาม เจ้าคุณธรรมเสนานีย์ บอก

    “ นี่เจ้าคุณ รู้จักไหมพระองค์นั้นน่ะ ?”

    ท่านบอก “ เราเป็นเจ้าคณะจังหวัดไม่เคยเห็นเลย.. ?”

    ถาม “ อายุเท่าไหร่ล่ะ ?”

    บอก “ หน้าตาไม่ถึง ๓๐ นะ ”

    ถาม “ ทำไมนั่งหน้าเจ้าคุณ ?”

    บอก “ ไม่รู้ ข้าก็ขี้เกียจถาม นั่งไหนก็ช่าง ”

    ความจริง ไอ้พระแก่น่ะ มันขี้เกียจนั่งหน้าอยู่แล้ว ตามปกติถ้าไปก่อนมักจะนั่งโน่น ท้ายแถว เพราะนั่งท้ายมันสบายกว่า ว่ามั่ง ไม่ว่ามั่ง (หัวเราะ) ใช่ไหม กินเท่ากัน ดี เราเหนื่อยน้อยฉะมากกว่าไอ้พวกว่ามากมันกินไม่ได้หรอก ใช่ไหม เหนื่อย

    ทีนี้ทำยังไง ตอนเช้าไปท่านก็นั่งอยู่

    พอฉันเสร็จ เจ้าคุณธรรมเสนานีย์ ก็ถาม ก็ยกมือพนมเพราะเขานั่งหน้านี่

    “ ขอประทานอภัยครับ ท่านอายุเท่าไหร่แล้ว ?”

    นับไป เอ๊ะ ! เท่าไรจำไม่ได้ งัดใบสุทธิมาให้ดู ดู เอ๊ะ ! ลองเอา พ.ศ. ลบตายห่าแล้วหว่า..นี่ ๓๐๐ ปีกว่าแล้ว (หัวเราะ) ฮึ ! ใบสุทธิยังใหม่ ลองดูอายุ ๓๐๐ ปีเศษ เราก็นั่งงง ! มึงก็งง ! กูก็งง ! (หัวเราะ) เอ๊ะ ! มันยังไงกันแน่ ! ...

    จะว่าสติไม่ดีก็ไม่ได้ ทุกอย่างเรียบร้อยถูกจังหวะจะโคนหมด นี่ความจริงเขียนไว้ใน “ หนังสือเรื่องจริงอิงนิทาน ” นี่ไม่ละเอียดหรอก ถ้าเขียนละเอียดมากเกินไป บางทีคนเขาก็สงสัยใช่ไหม คนเขาสงสัยอาจจะไม่จริง โม้เกินไปเมื่อก่อน นี่เราคุยกันได้

    ท่านบอก “ สงสัยหรือ... ?”

    บอก “ สงสัย ? มันตั้ง ๓๐๐ ปี ”

    ท่านบอก “ นี่ความจริงนี่ไอ้ใบสุทธิเนี่ย เขาเขียนใหม่นะ ถ้าใบเก่าน่ะมากกว่านี้อีก ” (หัวเราะ)

    ถาม “ ใบเก่าเท่าไหร่ ?”

    เลขขึ้นมา ๒,๐๐๐ กว่า ๒,๔๐๐ ปีกว่า เอ.ชักไม่เป็นเรื่องเสียแล้ว นี่ไม่เป็นเรื่องเสียแล้วซิ ! ไอ้เลขนั่นมันขยายได้ นี่มันใบใหม่

    “ ใบเก่าเอามาให้ดูหรือเปล่าคะ ?”

    ไม่ได้เอามา ถามใบเก่าเท่าไหร่ มันก็เลยขึ้นใบใหม่นี่น่ะ ๒,๔๐๐ ปีกว่า เราเอ๊ะ ! ก็ชักยุ่งล่ะซิ ! พอชักยุ่ง พอจะดูว่า เอ๊ะ ! ท่านเป็นอะไรแน่ มันดำมืด จิตดำมืด เสร็จ ! เลยบอก เจ้าคุณธรรมเสนานีย์ว่า

    “ เราถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้าดีกว่า ”

    (หัวเราะ) ท่านหันมาหัวเราะ ถามว่า

    “ แกจะไปที่ไหนล่ะ ?”

    บอก “ ที่นี่แหละครับ ”

    ก็ เลยลุกกราบ ๆ ท่าน

    ไอ้สองเสือข้างหลังเขาหัวเราะฮิ ๆ ๆ มานานแล้ว

    บอก “ ไอ้ห่า เอ๊ย..ไม่น่าจะโง่เลย กูนี่รู้มาตั้งแต่เมื่อวานแล้ว ” (หัวเราะ)

    ไอ้ผีนั่นมันไม่ได้อยู่ใกล้ มันอยู่ห่างไปก็ใช้กำลังใจได้สบาย ไอ้เราก็ไปนั่งสงสัยดูผิวพรรณ แล้วก็ดูเสียง ฟังเสียง ลีลา ด้วยประการทั้งปวง ไม่ใช่พระอรหันต์ธรรมดาเลย พระอรหันต์ธรรมดานี่ทำไม่ได้ แม้จะเป็นปฏิสัมภิทาญาณก็ไม่ได้ ขนาดนั้นไม่ได้

    เราก็เลยกราบกัน ต่างคนต่างกราบ ก่อนกลับก็ให้โอวาทว่า

    “ พวกคุณนี่ตั้งใจดีแล้ว แต่การตั้งใจของพวกคุณ ถ้าไม่ตัดขันธ์ ๕ ได้เพียงใด การตั้งใจของคุณก็ไม่สัมฤทธิ์ผล ฉะนั้นขอทุกคนนะ พยายามอย่าสนใจขันธ์ ๕ ของเรา อย่าสนใจขันธ์ ๕ ของคนอื่น อย่าสนใจวัตถุธาตุทั้งหมดเท่านี้พอ ”

    ท่านบอก เท่านี้พอ...ก็เลยกราบเรียนถามว่า

    “ แล้วพวกเกล้ากระผมจะสามารถตัดได้ไหม ?”

    ท่านบอก “ มันไม่ยากหรอก..เรื่องเล็ก ๆ กำลังใจก็เข้มอยู่แล้ว แต่วันเวลาเท่านั้นนะ นี่มันจะเร่งรัดเกินไปไม่ได้ ถ้าวันเวลายังไม่ถึง ก็ทำไปเพื่อถึงเวลานั้น ถ้าวันเวลาถึงเมื่อไรก็สิ้นสุดกันวันนั้นแหละ

    แล้วท่านก็ลา เมื่อลาเราก็ต้องกลับบ้าง แหม..พูดเพราะจริง ๆ พูดเพราะมาก เดินลงบันไดไปหาย ! คนข้างบนเห็นลง คนข้างล่างไม่เห็น

    “ พวกนั้นเขาไม่มีบุญ ”

    เขามีบุญหรือไม่มีก็ไม่รู้ เราต้องมีแน่ใช่ไหม เจ้าคุณธรรมเสนานีย์ นี่พอไปแล้ว เจ้าคุณธรรมเสนานีย์ ทำยังไง ลุกกราบที่ตรงนั้นอีก บอก

    “ แหม..นึกไม่ถึง ๆ คนอายุ ๒,๔๐๐ ปีเศษ ”

    ก็พระพุทธเจ้าน่ะซิ ! พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน แหม..สวยจริง ๆ บอกไม่ถูกเลย เล่นเอาไอ้คนบ้านนั้นนอนไม่หลับไปหลายวันเลย อีบ้านนั้นจะพังให้ได้เลย มึงก็ขึ้นมาไหว้ กูก็มากราบ ปิดทองกระดานตรงนั้น เสื่อรื้อไม่ได้ ไอ้เสื่อวัดผืนนั้นต้องซื้อ เสื่อยาวของที่วัดยืมมานะ เขาซื้อเสื่อไว้เลย

    นี่นะเรียกว่าของดีมีอยู่ ความจริงน่ะมีอยู่อย่างเดียวให้ใจเรารัก ถ้าใจเรารักดีมันไม่ต้องห่วงหรอก ดีถึงเราแน่ ถ้าใจเราไม่รักดี ใจเรารักชั่ว ชั่วมันก็มาถึงเรา

    ที นี้ความจริงท่านมาทำไมนะ ความจริงท่านตั้งใจมาโปรด เจ้าคุณธรรมเสนานีย์ เพราะไอ้เบื๊อกนั่นมันดื้อแพ่ง พูดถึงเรื่องนิพพานมันก็บอกไปไม่ไหว เทศน์กันมา ๓ วัน มันก็ไม่เลิกอยู่นั้นแหละ

    ก็เลยเทศน์กันไปเทศน์ กันมาก็บอก

    “ ไอ้นักเทศน์หมา ๆ โยมนิมนต์มาทำไมก็ไม่รู้ ”

    (หัวเราะ) โยมฮาครืน..ตอนกลางคืนลงท้ายเรียกไอ้หนู แกแก่กว่าเราหลายปีในครั้งนั้นเองกลับไปบอก

    “ คราวนี้อั๊วะจ้วงหนักล่ะโว้ย ”

    ถาม “ ทำไม ?”

    บอก “ แหม..ไม่เคยคิดเลยว่าจะได้พบพระพุทธเจ้า ”

    ทุกคนก็มีความเข้าใจ ทุกองค์มีความเข้าใจหมด อย่างนี้ทำไม่ได้คือลีลาอย่างนี้ อรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ ถ้าขืนไปทำลีลาอย่างนั้นท่านไม่ทำ เพราะทุกส่วนสัดท่านสวยหมดไม่มีตำหนิ มาดูใน “ มหาปุริสลักษณะ ” ลักษณะของพระพุทธเจ้า อาการ ๓๒ และก็อนุพยัญชนะ ๘๐ ไม่ได้พลาดเลย แล้วก็ที่บาลีกล่าวไว้บอก

    มีพระโอษฐ์แดงระเรื่อพองาม ส่วนที่จะดำก็ดำสนิท ส่วนที่จะขาวก็ขาว แขนนี้กลม*** ริ้วรอยนี่ไม่มีเลยเรียบ หนังเป็นริ้วไม่มี นี่เป็น “ พุทธลักษณะ ” จริง ๆ ใช่ไหม

    เป็นอันว่าฉันก็เลยนั่งฝันเห็นพระพุทธเจ้าท่าน แต่ว่าอีตอนเย็นฝันผิด ตอนเย็นไปสนใจแต่เพียงว่า เอ๊ะ ! ทำไมอายุอ่อนกว่า เจ้าคุณธรรมเสนานีย์ จึงนั่งหน้า แต่ก็ด้วยมารยาทแล้วเลยไม่ถาม เสียงก็ไพเราะ พอเวลาว่านี่ก็ว่าเสียงไพเราะจับใจมาก เราก็อิ่มไปด้วย พอดีตอนเช้าซิ ! ชักสงสัยขึ้นมา

    พอถึงท่านก็มาอีกล่ะ มาอีกตอนนี้ชักยุ่ง ก็ชักสงสัย ก็ถามพ่อส่งใบสุทธิให้ ๓๐๐ ปี มันไม่ไหวแล้ว กระดูกก็ไม่เหลือ พอถึงถามว่า “ ทำไมอายุมากนักครับ ?”

    ท่านบอก “ คนละใบนี่ใบใหม่ ใบเก่ามากกว่านี้อีก ”

    (หัวเราะ) ถาม “ ใบเก่าเท่าไรครับ ?”

    เลขขึ้นมาเลย ๒,๔๐๐ ปีเศษ โอ้โฮ้ ! พอเท่านี้แหละท่านก็ยิ้มนิดหนึ่ง ทีแรกท่านไม่ยิ้ม พูดเรื่อย ๆ หน้าเฉย ๆ พอยิ้มนิดตกใจ นึกถึงบาลีเลย นึก เอ๊ะ ! พระองค์นี้ยังไงแน่ สงสัย ? จะดูจิต พอจะดูจิตปั๊บ ! เราก็จับภาพจิตเราก่อนเลย เราต้องจับของเราก่อนนะ จับภาพมันไม่ยากนี่ พอจับปั๊บ ๆ สว่างโพลง พอเราจะจับจิตท่าน หนาปึ้ก ! จิตดำปื้อ...ดำปื้อ..เราเสร็จล่ะ ถ้าปฏิสัมภิทาญาณก็หนีไม่พ้น ยังไงเราก็เอาได้ เราก็ล้วงพระพุทธเจ้ามาช่วย

    ทีนี้เราจะหาพระ พุทธเจ้าไม่เจอเสียแล้วซิ ! พอนึกปั๊บดำปื้อ .... ก็นึกถึงพระพุทธเจ้าไม่มี หาไม่ได้ พระพุทธเจ้าหาย (หัวเราะ) ตาไม่ดี รูปพระพุทธเจ้าหาย ชักเอาแล้ว

    อี ตอนนี้ชักสงสัย ถ้าพระพุทธเจ้าหายนะ ถ้าอย่างนั้นต้ององค์นี้แน่ พอดูไปอีกทีปั๊บ ! แหม..แพรวสวยแต่ว่าคล้าย ๆ จะเปล่งฉัพพรรณรังสี แต่เปล่งไม่ชัด บาง ๆ นิด ๆ แต่สวยมาก ตามธรรมดานี่เปล่งชัดเหมือนกับ พระอาทิตย์ทรงกลด ใช่ไหม สวยบอกไม่ถูกชัดเจน ไอ้นี่ให้พวกเราเห็นน้อย ๆ นิด ๆ เป็นละออง ๆ ก็เลยมั่นใจ

    ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ฉันก็บ้า “ พุทธานุสสติ ” เรื่อย ใครจะไปยังไงก็ไปเหอะ ฉันเล่น “ พุทธานุสสติ ” เดี๋ยวนี้ก็ยัง “ พุทธานุสสติ ” อยู่นั่นแหละ ใช่ไหม เอ้า ! ว่าแล้วก็กลับกันดีกว่า นี่มันจะดึกเดี๋ยวได้ ๕ ทุ่มอีกหรอก





    จากหนังสือ หลวงพ่อเล่าให้ฟัง เล่ม ๒


    โดย..หลวงพ่อพระราช พรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    พิมพ์ สุวิภา กลิ่นสุวรรณ์
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ภาพขำๆ แทนการแนะนำพระเครื่องพระอาจารย์ที่น่ากราบในสัปดาห์ที่ผ่านมา

    ++ --- จิตรกรรมฝาผนังวัดพระแก้ว (ลองดูดี ๆ ขำๆ)--++

    <center>[​IMG]</center>
    จิตรกรรมฝาผนังวัดพระแก้วที่สุดแสนจะย้าว ยาว ลองดูดี ๆ
    จิตรกรได้วาดอะไรขำๆลงไปด้วย มีหลายภาพมาก ส่วนมากมักจะอยู่ด้าน
    ล่างๆของรูปหรือก็บนๆไปเลย เพราะจุดสนใจของภาพส่วนใหญ่จะอยู่
    ตรงกลางระดับสายตา ตัวที่สำคัญๆก็จะเป็นสีทองๆ แต่ตัวที่เป็น
    ตัวประกอบก็เป็นการลงสีธรรมดา

    ชอบอ่ะ ตลกดี ว่าง ๆ อย่าลืมไปเดินดูกันนะ

    รูปแรก : ลิงอะไรเนี่ย จะตายอยู่แล้ว ยังสูบบุหรี่สบายใจอยู่อีก

    <center>[​IMG]</center>
    รูปที่ 2 : สาเหตุที่ทหารนายนึงไม่ยอมไปออกรบ

    <center>[​IMG]</center>
    รูปที่ 3 : ส่วนนายนี้ก็ลืมเสบียงที่เมียอุตส่าห์ทำไว้ให้ ต้องวิ่งกลับไปเอา

    <center>[​IMG]</center>
    รูปที่ 4 : ลิงเล่นกระต่าย?

    <center>[​IMG]</center>
    รูปที่ 5 : ลิงเด็กแนวกะลิงลามก?

    <center>[​IMG]</center>
    รูปที่ 6 : กางเกงลิง

    <center>[​IMG]</center>
    รูปที่ 7 : รูปนี้เห็นกันบ่อย แต่มีลิงบางตัว ออกนอกลู่นอกทางไปบ้าง

    <center>[​IMG]</center>
    รูปที่ 8 : ลิงหื่น!!!

    <center>[​IMG]</center>
    รูปขยายของรูปด้านบน

    <center>[​IMG]</center>
    อันนี้แถม ลิงใส่เสื้อคอกระเช้า

    ขอขอบคุณมุขขำของคนช่างสังเกตุจาก

    ++ ---
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    [​IMG]

    <table class="attachtable" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td colspan="2" align="center">
    [​IMG]

    </td> </tr> </tbody></table> <hr> หนังสือธรรมะทรงคุณค่า
    ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา


    --------------------------------------------------------------------------------

    - พระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ถาม
    - พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ตอบ


    หนังสือ ปุจฉา-วิสัชนา นี้ ตามหลักฐานที่บันทึกไว้ในหนังสือฉบับเดิมว่า พระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นผู้ปุจฉาท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นผู้วิสัชนา มีเนื้อหาสาระที่ควรแก่การศึกษาและปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้น จึงปรากฎว่า ได้มีผู้ที่มีจิตศรัทธาจัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานเนื่องในโอกาสต่างๆตลอดมา แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ที่สนใจใคร่ในธรรมอยู่ดี

    ในโอกาสนี้ คณะผู้จัดพิมพ์ได้มีจิตศรัทธา จัดพิมพ์ถวาย วัดถ้ำยาว อำเภอน้าพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 1,200 เล่ม เพื่อแจกเป็นธรรมทานแด่ท่านที่สนใจใคร่ในธรรมทั้งหลาย

    คณะผู้จัดพิมพ์
    9 พฤษภาคม 2538

    --------------------------------------------------------------------------------


    ปฏิปัติปุจฉาวิสัชนา


    พระธรรมเจดีย์ :
    ถามว่า ผู้ปฏิบัติศาสนาโดยมากปฏิบัติอยู่แค่ไหน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ปฏิบัติอยู่ภูมิกามาพจารกุศลโดยมาก

    พระธรรมเจดีย์ :
    ทำไมจึงปฏิบัติอยู่เพียงนั้น ?

    พระอาจารย์มั่น :
    อัธยาศัยของคนโดยมากยังกำหนัดอยู่ในกาม เห็นว่ากามารมณ์ที่ดีเป็นสุข ส่วนที่ไม่ดีเห็นว่าเป็นทุกข์ จึงได้ปฏิบัติในบุญกริยาวัตถุ มีการฟังธรรม ให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น หรือภาวนาบ้างเล็กน้อย เพราะความมุ่งเพื่อจะได้สวรรคสมบัติ มนุษยสมบัติ เป็นต้น ก็คงเป็นภูมิกามาพจรกุศลอยู่นั่นเอง เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปแล้ว ย่อมถึงสุคติบ้าง ไม่ถึงบ้าง แล้วแต่วิบากจะซัดไป เพราะไม่ใช่นิยตบุคคล คือยังไม่ปิดอบาย เพราะยังไม่ได้บรรลุโสดาปัตติผล

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็ท่านผู้ปฏิบัติที่ดีกว่านี้ไม่มีหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    มี แต่ว่าน้อย

    พระธรรมเจดีย์ :
    น้อยเพราะเหตุไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    น้อยเพราะกามทั้งหลายเท่ากับเลือดในอกของสัตว์ ยากที่จะละความยินดีในกามได้ เพราะการปฏิบัติธรรมละเอียด ต้องอาศัยกายวิเวก จิตตวิเวก จึงจะเป็นไปเพื่ออุปธิวิเวก เพราะเหตุนี้แลจึงทำได้ด้วยยาก แต่ไม่เหลือวิสัย ต้องเป็นผู้เห็นทุกข์จริงๆ จึงจะปฏิบัติได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าปฏิบัติเพียงภูมิกามาพจรกุศล ดูไม่แปลกอะไร เพราะเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นภูมิกามาพจรกุศลอยู่แล้ว ส่วนการปฏิบัติจะให้ดีกว่าเก่าก็จะต้องให้เลื่อนชั้นเป็นภูมิรูปาวจรหรืออรู ปาวจรแลโลกอุดร จะได้แปลกจากเก่า ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว ถ้าคิดดูคนนอกพุทธกาล ท่านก็ได้บรรลุฌาณชั้นสูงๆก็มี คนในพุทธกาล ท่านก็ได้บรรลุมรรคแลผล มีพระโสดาบัน แลพระอรหันต์ โดยมากนี่เราก็ไม่ได้บรรลุฌาณเป็นอันสู้คนนอกพุทธกาลไม่ได้ แลไม่ได้บรรลุมรรคผลเป็นอันสู้คนในพุทธกาลไม่ได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    เมื่อเป็นเช่นนี้จักทำอย่างไรดี ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ต้องทำในใจให้เห็นตามพระพุทธภาษิตที่ว่า มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ ถ้าว่าบุคคลเห็นซึ่งสุขอันไพบูลย์ เพราะบริจาคซึ่งสุขมีประมาณน้อยเสียไซร้ จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ บุคคลผู้มีปัญญาเครื่องทรงไว้ เมื่อเล็งเห็นซึ่งสุขอันไพบูลย์ พึงละเสียซึ่งสุขมีประมาณน้อย

    พระธรรมเจดีย์ :
    สุขมีประมาณน้อยได้แก่สุขชนิดไหน ?

    พระอาจาย์มั่น :
    ได้แก่สุขซึ่งเกิดแต่ความยินดีในกามที่เรียกว่า อามิสสุข นี่แหละสุขมีประมาณน้อย

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็สุขอันไพบูลย์ได้แก่สุขชนิดไหน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ได้แก่ฌาณ วิปัสสนา มรรค ผล นิพพาน ที่เรียกว่านิรามิสสุขไม่เจือด้วยกาม นี่แหละสุขอันไพบูลย์

    พระธรรมเจดีย์ :
    จะปฏิบัติให้ถึงสุขอันไพบูลย์จะดำเนินทางไหนดี ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ก็ต้องดำเนินทางองค์มรรค 8

    พระธรรมเจดีย์ :
    องค์มรรค 8 ใครๆก็รู้ ทำไมถึงเดินกันไม่ใคร่จะถูก ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะองค์มรรคทั้ง 8 ไม่มีใครเคยเดิน จึงเดินไม่ใคร่ถูก พอถูกก็เป็นพระอริยเจ้า

    พระธรรมเจดีย์ :
    ที่เดินไม่ถูกเพราะเหตุอะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะชอบเดินทางเก่าซึ่งเป็นทางชำนาญ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ทางเก่านั้นคืออะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ได้แก่กามสุขัลลิกานุโยคแลอัตตกิลมถานุโยค

    พระธรรมเจดีย์ :
    กามสุขัลลิกานุโยคนั้นคืออะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความทำตนให้เป็นผู้หมดมุ่นติดอยู่ในกามสุขนี้แล ชื่อว่ากามสุขัลลิกานุโยค

    พระธรรมเจดีย์ :
    อัตตกิลมถานุโยคได้แก่ทางไหน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ได้แก่ผู้ปฏิบัติผิด แม้ประพฤติเคร่งครัดทำตนให้ลำบากสักเพียงไร ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ซึ่ง มรรค, ผล, นิพพาน, นี่แหละเรียกวาอัตตกิลมถานุโยค

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นทางทั้ง 2 นี้ เห็นจะมีคนเดินมากกว่ามัชฌิมาปฏิปทาหลาร้อยเท่า ?

    พระอาจารย์มั่น :
    แน่ทีเดียว พระพุทธเจ้าแรกตรัสรู้ จึงได้แสดงก่อนธรรมอย่างอื่นๆ ที่มาแล้วในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพื่อให้สาวกเข้าใจ จะได้ไม่ดำเนินในทางทั้ง 2 มาดำเนินในทางมัชฌิมาปฏิปทา

    พระธรรมเจดีย์ :
    องค์มรรค 8 ทำไมจึงยกสัมมาทิฎฐิ ซึ่งเป็นกองปัญญขึนแสดงก่อน ส่วนการปฏิบัติของผู้ดำเนินทางมรรค ต้องทำศีลไปก่อน แล้วจึงทำสมาธิ แลปัญญา ซึ่งเรียกว่าสิกขาทั้ง 3 ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ตามความเห็นของข้าพเจ้าว่าจะเป็น 2 ตอน ตอนแรกส่วนโลกียกุศลต้องทำศีล สมาธิ ปัญญา เป็นลำดับไป ปัญญาที่เกิดขึ้นยังไม่เห็นอริยสัจทั้ง 4 สังโยชน์ 3 ยังละไม่ได้ ขีดของใจเพียงนี้เป็นโลกีย์ ตอนที่เห็นอริยสัจแล้วละสังโยชน์ 3 ได้ ตอนนี้เป็นโลกุตตร

    พระธรรมเจดีย์ :
    ศีลจะเอาศีลชนิดไหน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ศีลมีหลายอย่าง ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 แต่ในที่นี้ประสงค์ศีลที่เรียกว่า สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว แต่ต้องทำให้บริบูรณ์

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาวาจา คืออะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ สมฺผปฺปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดโปรยประโยชน์

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมากมฺมนฺโต การงานชอบนั้นมีกี่อย่าง ?

    พระอาจารย์มั่น :
    มี 3 อย่าง คือ ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากฆ่าสัตว์ อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการลักทรัพย์ อพฺรหฺมจริยา เวรมณี เว้นจากอสัทธรรมไม่ใช่พรหมจรรย์

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมากมฺมนฺโต ในที่อื่นๆโดยมาเว้น อพฺรหฺม ส่วนในมหาสติปัฏฐานทำไมจึงเว้นกาเมสุมิจฉาจาร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความเห็นของข้าพเจ้าว่าที่ทรงแสดงศีล อพฺรหฺม เห็นจะเป็นด้วยรับสั่งแก่ภิกษุ เพราะว่าภิกษุเป็น พรหมจารีบุคคลนั้น ส่วนในมหาสติปัฏฐาน 4 ก็รับสั่งแก่ภิกษุเหมือนกัน แต่ว่าเวลานั้นพระองค์เสด็จประทับอยู่ในหมู่ชนชาวกุรุ พวกชาวบ้านเห็นจะฟังอยู่มาก ท่านจึงสอนให้เว้น กามมิจฉาจาร เพราะชาวบ้านมักเป็นคนมีคู่

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ เว้นจากมิจฉาชีพนั้นเป็นอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    บางแห่งท่านก็อธิบายไว้ว่า ขายสุรายาพิษ ศัสตราวุธ หรือขายสัตว์มีชีวิตต้องเอาไปฆ่าเป็นต้น เหล่านี้แหละเป็นมิจฉาชีพ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าคนที่ไม่ได้ขายของเหล่านี้ก็เป็นสมฺมาอาชีโว อย่างนั้นหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ยังเป็นไปไม่ได้ เพราะวิธีโกงของคนมีหลายอย่างนัก เช่น ค้าขายโดยไม่เชื่อ มีการโกงตาชั่งตาเต็ง หรือเอารัดเอาเปรียบอย่างใดอย่างหนึ่งในเวลาที่ผู้ชื้อเผลอหรือเขาไว้ใจ รวมความพูดว่าอัธยาศัยของคนที่ไม่ซื่อ คิดเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เห็นแต่จะได้สุดแต่จะมีโอกาส จะเป็นเงินหรือของก็ดี ถึงแม้ไม่ชอบธรรม สุดแต่จะได้ เป็นเอาทั้งนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าอาการเหล่านี้ก็เป็นมิจฉาชีพทั้งสิ้น สมฺมาอาชีโว จะต้องเว้นทุกอย่างเพราะเป็นสิ่งที่คดค้อมได้มาโดยไม่ชอบธรรม

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาวายาโม ความเพียรชอบนั้นคือเพียรอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    สังวรปธาน เพียรระวังอกุศลวิตก 3 ที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ปหานปธาน เพียร ละอกุศลวิตก 3 ที่เกิดขึ้นแล้วให้หายไป ภาวนาปธาน เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้หายไป ภาวนาปธาน เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดแล้วไว้ให้สมบูรณ์

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาสติ ระลึกชอบนั้นระลึกอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ระลึกอยู่ในสติปัฎฐาน 4 คือ กายานุปสฺสนา ระลึกถึงกาย เวทนานุปสฺสนา ระลึกถึงเวทนา จิตฺตานุปสฺสนา ระลึกถึงจิต ธมฺมานุปสฺสนา ระลึกถึงธรรม

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาสมาธิ ความตั้งใจไว้ชอบ คือตั้งใจไว้อย่างไร จึงจะเป็นสมฺมาสมาธิ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    คือตั้งไว้ในองค์ฌาณทั้ง 4 ที่เรียกว่า ปฐมฌาณ ทุติยฌาณ ตติยฌาณ จตุตถฌาณ เหล่านี้แหละ เป็น สมฺมาสมาธิ

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริชอบนั้นดำริอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป ดำริออกจากกาม อพฺยาปาทสงฺกปฺโป ดำริไม่พยาบาท อวิหึสาสงฺกปฺโป ดำริในความไม่เบียดเบียน

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาวายาโม ก็ละอกุศลวิตก 3 แล้ว สมฺมาสงฺกปฺโป ทำไมจึงต้องดำริอีกเล่า ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ต่างกันเพราะ สมฺมาวายาโมนั้น เป็นแต่เปลี่ยนอารมณ์ เช่น จิตที่ฟุ้งซาน หรือเป็นอกุศลก็เลิกนึกเรื่องเก่าเสีย มามีสติระลึกอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุศลจึงสงเคราะห์เข้าในกองสมาธิ ส่วนสมฺมาสงฺกปฺโป มีปัญญาพิจารณาเห็นโทษของกาม เห็นอานิสงส์ของเนกขัมมะ จึงได้คิดออกจากกามด้วยอาการที่เห็นโทษหรือเห็นโทษของพยาบาทวิหิงสา เห็นอานิสงส์ของเมตตากรุณา จึงได้คาดละพยาบาทวิหิงสา การเห็นโทษแลเห็นอานิสงส์เช่นนี้แหละจึงผิดกับ สมฺมาวายาโม ท่านจึงสงเคราะห์เข้าไว้ในกองปัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาทิฎฺฐิ ความเห็นชอบนั้นคือเห็นอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    คือ เห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่เรียกว่า อริยสัจ 4 ความเห็นชอบอย่างนี้แหละชื่อว่า สมฺมาทิฎฺฐิ

    พระธรรมเจดีย์ :
    อริยสัจ 4 นั้น มีกิจจะต้องทำอะไรบ้าง ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ตามแบบที่มีมาในธรรมจักร มีกิจ 3 อย่าง ใน 4 อริยสัจ รวมเป็น 12 คือ สัจญาณ รู้ว่าทุกข์ กิจญาณ รู้ว่าจะต้องกำหนด กตญาณ รู้ว่ากำหนดเสร็จแล้ว แลรู้ว่าทุกขสมุทัยจะต้องละ แลได้ละเสร็จแล้ว และรู้ว่าทุกขนิโรธจะต้องทำให้เจ้งแลได้ทำให้แจ้งเสร็จแล้ว แลรู้ว่าทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา จะต้องเจริญ แลได้เจริญแล้ว นี่แหละเรียกว่ากิจในอริยสัจทั้ง 4

    พระธรรมเจดีย์ :
    ทุกข์นั้นได้แก่สิ่งอะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ขันธ์ 5 อายตนะ 6 ธาตุ 6 นามรูป เหล่านี้เป็นประเภททุกขสัจ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ทุกข์มีหลายอย่างนักจะกำหนดอย่างไรถูก ?

    พระอาจารย์มั่น :
    กำหนดอย่างเดียวก็ได้ จะเป็นขันธ์ 5 หรือ อายตนะ 6 หรือธาตุ 6 นามรูปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ไม่ใช่ว่าจะต้องกำหนดทีละหลายอย่าง แต่ว่าผู้ปฏิบัติควรจะรู้ไว้เพราะธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา

    พระธรรมเจีดย์ :
    การที่จะเห็นอริยสัจก็ต้องทำวิปัสสนาด้วยหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ไม่เจริญวิปัสนา ปัญญาจะเกิดอย่างไรได้ เมื่อปัญญาไม่มีจะเห็นอริยสัจทั้ง 4 อย่างไรได้ แต่ที่เจริญวิปัสสนากันอยู่ ผู้ที่อินทรีย์อ่อนยังไม่เห็นอริยสัจทั้ง 4 เลย

    พระธรรมเจดีย์ :
    ขันธ์ 5 ใครๆก็รู้ทำไมจึงกำหนดทุกข์ไม่ถูก ?

    พระอาจารย์มั่น :
    รู้แต่ชื่อ ไม่รู้อาการขันธ์ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นขันธ์ 5 เกิดขึ้นก็ไม่รู้ว่าเกิด ขันธ์ 5 ดับไปก็ไม่รู้ว่าดับ แลขันธ์มีอาการสิ้นไปเสื่อมไปตามความเป็นจริงอย่างไรก็ไม่ทราบทั้งนั้น จึงเป็นผู้หลงประกอบด้วยวิปลาส คือไม่เที่ยงก็เห็นว่าเที่ยง เป็นทุกข์ก็เห็นว่าเป็นสุข เป็นอนัตตาก็เห็นว่าเป็นอัตตาตัวตน เป็นอสุภไม่งามก็เห็นว่าเป็นสุภะงาม เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนสาวก ที่มาแล้วในมหาสติปัฎฐานสูตร ให้รู้จักขันธ์ 5 แลอายตนะ 6 ตามความเป็นจริงจะได้กำหนดถูก

    พระธรรมเจดีย์ :
    ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นมีลักษณะอย่างไร เมื่อเวลาเกิดขึ้นแลดับไปจะได้รู้ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    รูปคือ ธาตุดิน 19 น้ำ 12 ลม 6 ไฟ 4 ชื่อว่ามหาภูตรูป เป็นรูปใหญ่แลอุปาทายรูป 24 เป็นรูปที่ละเอียด ซึ่งอาศัยอยู่ในมหาภูตรูป 4 เหล่านี้ชื่อว่ารูป แต่จะแจงให้ละเอียดก็มากมาย เมื่ออยากทราบให้ละเอียด ก็จงไปดูเอาในแบบเถิด

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็เวทนานั้นได้แก่สิ่งอะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความเสวยอารมณ์ ซึ่งเกิดประจำอยู่ในรูปนี้แหละ คือบางคราวก็เสวยอารมณ์เป็นสุข บางคราวก็เสวยอารมณ์ก็เป็นทุกข์ บางคราวก็ไม่ทุกข์ ไม่สุข นี่แหละเรียกว่า เวทนา 3 ถ้าเติมโสมนัสโทมนัส ก็เป็นเวทนา 5

    พระธรรมเจดีย์ :
    โสมนัสโทมนัสเวทนา ดูเป็นชื่อของกิเลส ทำไมจึงเป็นขันธ์ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เวทนามี 2 อย่าง คือ กายิกะเวทนาๆ ซึ่งเกิดทางกาย 1 เจตสิกเวทนาๆ ซึ่งเกิดทางใจ 1 สุขเวทนาเสวยอารมณ์เป็นสุข ทุกขเวทนาเสวยอารมณ์เป็นทุกข์ 2 อย่างนี้เกิดทางกาย โสมนัส โทมนัส อทุกขมสุขเวทนา 3 อย่างนี้เกิดทางใจ ไช่กิเลส คือเช่นกับบางคราวอยู่ดีๆก็มีความสบายใจ โดยไม่ได้อาศัยความรักความชอบก็มี หรือบางคราวไม่อาศัยโทสะหรือปฏิฆะ ไม่สบายใจขึ้นเอง เช่นคนเป็นโรคหัวใจหรือโรคเส้นประสาทก็มี อย่างนี้เป็นขันธ์แท้ ต้องกำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฎขึ้น นั่นแหละเป็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา เมื่อเวทนาเหล่านั้นดับหายไป เป็นความดับไปแห่งเวทนา นี่แหละเป็นขันธ์แท้ เป็นประเภททุกขสัจ

    พระธรรมเจดีย์ :
    เวทนานั้นอาศัยอะไรจึงเกิดขึ้น ?

    พระอาจารย์มั่น :
    อาศัยอายตนะภายใน 6 ภายนอก 6 วิญญาณ 6 กระทบกันเข้า ชื่อว่าผัสสะ เป็นที่เกิดแห่งเวทนา

    พระธรรมเจดีย์ :
    อายตนะภายใน 6 ภายนอก 6 วิญญาณ 6 ผัสสะ 6 เวทนาที่เกิดแต่ผัสสะ 6 ก็ไม่ใช่กิเลส เป็นประเภททุกข์ทั้งนั้นไม่ใช่หรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว

    พระธรรมเจดีย์ :
    แต่ทำไมคนเราเมื่อเวลาตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรสหรือถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้รับอารมณ์ด้วยใจ ก็ย่อมได้เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ใช่หรือ ก็อายตนะแลผัสสเวทนาก็ไม่ใช่กิเลส แต่ทำไมคนเราจึงเกิดกิเลสและความอยากขึ้นได้เล่า ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะไม่รู้ว่าเป็นขันธ์แลอายตนะ แลผัสสเวทนา สำคัญว่าเป็นผู้เป็นคนเป็นจริงเป็นจัง จึงได้เกิดกิเลสและความอยาก เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงไว้ในฉักกะสูตรว่า บุคคลเมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้น ก็ปล่อยให้รานุสัยตามนอน ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ปล่อยให้ปฏิฆานุสัยตามนอน อุทกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น ก็ปล่อยให้อวิชชานุสัยตามนอน การทำที่สุดแห่งทุกข์ในชาตินี้ ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้เป็นได้ ถ้าบุคคลเมื่อเวทนาทั้ง 3 เกิดขึ้นก็ไม่ปล่อยให้อนุสัยทั้ง 3 ตามนอน การทำที่สุดแห่งทุกข์ในชาตินี้มีฐานะที่มีได้เป็นได้ นี่ก็เท่ากับตรัสไว้เป็นคำตายตัวอยู่แล้ว

    พระธรรมเจดีย์ :
    จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะไม่ให้อนุสัยทั้ง 3 ตามนอน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ก็ต้องมีสติทำความรู้สึกตัวไว้ แลมีสัมปชัญญะ ความรู้รอบคอบในอายตนะ แลผัสสเวทนาตามความเป็นจริงอย่างไร อนุสัยทั้ง 3 จึงจะไม่ตามนอน สมด้วยพระพุทธภาษิตในโสฬสปัญหาที่ 1 ตรัสตอบอชิตะมานพว่า สติ เตสํ นิวารณํ สติเป็นทดุจทำนบเครื่องปิดกระแสเหล่านั้น ปญฺญา เยเตปิถิยฺยเร กระแสเหล่านั้นอันผู้ปฏิบัติจะละเสียได้ด้วยปัญญา แต่ในที่นั้นท่านประสงค์ละตัณหา แต่อนุสัยกับตัณหาห้เป็นกิเลสประเภทเดียวกัน

    พระธรรมเจดีย์ :
    เวทนาเป็นขันธ์แท้เป็นทุกขสัจไม่ใช่กิเลส แต่ในปฏิจจสมุปบาท ทำไมจึงมี เวทนาปจฺจยตณฺหา เพราะเหตุอะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะไม่รู้จักเวทนาตามความเป็นจริง เมื่อเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เวทนาที่เป็นสุขก็ชอบเพลิดเพลินอยากได้ หรือให้คงอยู่ไม่ให้หายไปเสีย เวทนาที่เป็นทุกข์ไม่ดีมีมา ก็ไม่ชอบประกอบด้วยปฏิฆะอยากผลักไสไล่ขับให้หายไปเสีย หรืออทุขมสุขเทนา ที่มีมาก็ไม่รู้ อวิชชานุสัยจึงตามนอน สมด้วยพระพุทธภาษิตในโสฬสปัญหาที่ 13 ที่อุทยะมานพทูลถามว่า กถํ สตสฺส จรโตวิญญาณํ อุปรุชฺฌติ เมื่อบุคคลประพฤติมีสติอย่างไร ปฏิสนธิ วิญญานจึงจะดับ ตรัสตอบว่า อชฺฌตฺตญฺจ พหิทฺธา จ เวทนํ นาพินนฺทโต เมื่อบุคคลไม่เพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งเวทนาทั้งภายในแลภายนอก อวํ สตสฺส จรโต วิญญาณํ อุปรุชฺฌติ ประพฤติมีสติอยู่อย่างนี้ ปฏิสนธิวิญญาณจึงจะดับ

    พระธรรมเจดีย์ :
    เวทนาอย่างไรชื่อว่าเวทนาภายนอก เวทนาอย่างไรชื่อว่าเวทนาภายใน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส โสตะสัมผัส ฆานะสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส 5 อย่าง นี้ชื่อว่า เวทนาที่เป็นภายนอก เวทนาที่เกิดในฌาณ เช่น ปีติหรือสุขเป็นต้น ชื่อว่าเวทนาภายในเกิดแต่มโนสัมผัส

    พระธรรมเจดีย์ :
    ปีติแลสุขก็เป็นเวทนาด้วยหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ปีติแลสุขนั้นเกิดขึ้นเพราะความสงบ อาศัยความเพียรของผู้ปฏิบัติ ในคิริมานนทสูตร อานาปานสติ หมวดที่ 5 กับที่ 6 ท่านสงเคราะห์เข้าในเวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน เพราะฉะนั้นปีติแลสุขจึงจัดเป็นเวทนาภายในได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ที่เรียกว่า นิรามิสเวทนา เสวยเวทนาไม่มีอามิส คือไม่เจือกามคุณ เห็นจะเป็นเวทนาที่เกิดขึ้นจากจิตที่สงบนี้เอง แต่ถ้าเช่นนั้นความยินดีใน รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฎฐัพพะ ที่เรียกว่ากามคุณ 5 เวทนาที่เกิดคราวนั้น ก็เป็นอามิสเวทนา ถูกไหม ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว

    พระธรรมเจดีย์ :
    ส่วนเวทนาข้าพเจ้าเข้าใจดีแล้ว แต่ส่วนสัญญาขันธ์ ความจำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำโผฏฐัพพะ จำธัมมารมณ์ 6 อย่างนี้ มัลักษณะอย่างไร เมื่อรูป สัญญาความจำรูปเกิดขึ้นนั้น มีอาการเช่นไร แลเวลาที่ความจำรูปดับไป มีอาการเช่นไร ข้าพเจ้าอยากทราบ เพื่อจะได้กำหนดถูก ?

    พระอาจารย์มั่น :
    คือเราได้เห็นรูปคน หรือรูปของอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมานึกขึ้น รูปคนหรือรูปของเหล่านั้นก็มาปรากฎขึ้นในใจ เหมือนอย่างได้เห็นจริงๆนี่เรียกว่าความจำรูป

    พระธรรมเจดีย์ :
    ยังไม่เข้าใจดี ขอให้ชี้ตัวอย่างให้ขาวอีกสักหน่อย ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เช่นกับเมื่อเช้านี้เราได้พบกับคนที่รู้จักกันหรือได้พูดกัน ครั้นคนนั้นไปจากเราแล้ว เมื่อเรานึกถึงคนนั้น รูปร่างคนนั้นก็ปรากฎชัดเจนเหมือนเวลาที่พบกัน หรือได้เห็นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ เมื่อเวลานึกขึ้นก็เห็นสิ่งนั้นชัดเจน เหมือนอย่างเวลาที่เห็นรวมเป็นรูป 2 อย่าง คือ อุปาทินนกรูป รูปที่มีวิญญาณ เช่น รูปคน หรือรูปสัตว์ อนุปาทินนกรูป รูปที่ไม่มีวิญญาณครอง ได้แก่สิ่งของต่างๆ หรือต้นไม้ดินหินกรวด

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นคนเป็นก็เป็นรูปที่มีวิญญาณ คนตายก็เป็นรูปที่ไม่มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว น่าสลดใจ ชาติเดียวเป็นได้ 2 อย่าง

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นสัญญาก็เป็นเรื่องของอดีตทั้งนั้น ไม่ใช่ปัจจุบัน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    อารมณ์นั้นเป็นอดีต แต่เมื่อความจำปรากฎขึ้นในใจ เป็นสัญญาปัจจุบันนี่แหละเรียกว่าสัญญาขันธ์

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าไม่รู้จักสัญญา เวลาที่ความจำรูปคนมาปรากฎขึ้นในใจ ก็ไม่รู้ว่าสัญญาของตัวเอง สำคัญว่าเป็นคนจริงๆ หรือความจำรูปที่ไม่มีวิญญาณมาปรากฎขึ้นในใจ ก็ไม่รู้ว่าสัญญา สำคัญว่าเป็นสิ่งเป็นของจริงๆ เมื่อเป็นเช่นนี้จะมีโทษอย่างไรบ้าง ขอท่านจงอธิบายให้ข้าพเจ้าเข้าใจ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    มีโทษมาก เช่นนึกถึงคนที่รัก รูปร่างของคนที่รักก็มาปรากฎกับใจ กามวิตกที่ยังไม่เกิด ก็จะเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็จะงอกงาม หรือนึกถึงคนที่โกรธกัน รูปร่างของคนที่โกรธกันนั้นก็มาปรากฎชัดเจนเหมือนได้เห็นจริงๆ พยาบาทวิตกที่ยังไม่เกิดก็จะเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็จะงอกงาม หรือนึกถึงสิ่งของที่สวยๆ งามๆ รูปร่างสิ่งของเหล่านั้นก็มาปรากฎในใจ เกิดความชอบใจบ้าง แหละอย่าได้บ้าง เพราะไม่รู้ว่าสัญญาขันธ์ของตัวเอง สัญญาว่าสิ่งทั้งปวงเป้นจริงเป็นจังไปหมด ที่แท้ก็เหลวทั้งนั้น

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็ความเกิดขึ้นแห่งสัญญามีลักษณะอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เมื่อความจำรูปอย่างใดอย่างหนึ่งมาปรากฎในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งความจำรูป เมื่อความจำรูปเหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งความจำรูป

    พระธรรมเจดีย์ :
    ความจำเสียงนั้น มีลักษณะอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เช่นเวลาเราฟังเทศน์ เมื่อพระเทศน์จบแล้วเรานึกขึ้นได้ว่าท่านแสดงว่าอย่างนั้นๆ หรือมีคนมาพูดเล่าเรื่องอะไรๆ ให้เราฟัง เมื่อเขาพูดเสร็จแล้วเรานึกขึ้นจำถ้อยคำนั้นได้ นี่เป็นลักษณะของความจำเสียง เมื่อความจำเสียงปรากฎขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งความจำเสียง เมื่อความจำเสียงเหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งสัททสัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    คันธสัญญาความจำกลิ่นมีลักษณะอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เช่นกับเราเคยได้กลิ่นหอมดอกไม้หรือน้ำอบ หรือกลิ่นเหม็นอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ เมื่อนึกขึ้นก็จำกลิ่นหอมกลิ่นเหม็นเหล่านั้นได้ นี่เป็นความเกิดขึ้นของความจำกลิ่น เมื่อความจำกลิ่นเหล่านั้นหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งคันธสัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    รสสัญญาความจำรสนั้นมีลักษณะอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความจำรสนั้น เมื่อเรารับประทานอาหารมีรสเปรี้ยว หวาน จืด เค็ม หรือขมเป็นต้น เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว นึกขึ้นก็จำรสเหล่านั้นได้ อย่างนี้เรียกว่า ความจำรส เมื่อความจำรสปรากฎขึ้นใจใน เป็นความเกิดขึ้นแห่งรสสัญญา เมื่อความจำรสเหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งรสสัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    โผฎฐัพพะสัญญามีลักษณะอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความจำเครื่องกระทบทางกาย เช่นเราเดินไปเหยียบหนาม ถูกหนามยอก หรือถูกต้องเย็นร้อนอ่อนแข็งอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อนึกขึ้นจำความถูกต้องกระทบกายเหล่านั้นได้ ชื่อว่าโผฏฐัพพะสัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    เช่นเมื่อกลางวันนี้เราเดินไปถูกแดดร้อนจัด ครั้นกลับมาถึงบ้าน นึกถึงที่ไปถูกแดดมานั้น ก็จำได้ว่าวันนั้นเราไปถูกแดดมานั้น ก็จัดได้ว่าวันนั้นเราไปถูกแดดร้อน อย่างนี้เป็นโผฏฐัพพะสัญญาถูกไหม ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบถูกต้องทางกาย เมื่อเราคิดถึงอารมณ์เหล่านั้น จำได้เป็นโผฏฐัพพะสัญญาทั้งนั้น เมื่อความจำโผฏฐัพพะเกิดขึ้นในใจ มีความเกิดขึ้นแห่งโผฏฐัพพะสัญญา เมื่อความจำเหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งโผฏฐัพพสัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    ธัมมสัญญามีลักษณะอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ธัมมสัญญาความจำธัมมารมณ์นั้นละเอียดยิ่งกว่าสัญญา 5 ที่ได้อธิบายมาแล้ว

    พระธรรมเจดีย์ :
    ธัมมารมณ์นั้นได้แก่สิ่งอะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ 3 อย่างนี้ ชื่อว่าธัมมารมณ์ เช่นเราได้เสวยเวทนาที่เป็นสุขหรือที่เป็นทุกข์ไว้ แลเวทนาเหล่านั้นดับไปแล้ว นึกขึ้นจำได้อย่างนี้ ชื่อว่าความจำเวทนา หรือเคยท่องบ่นอะไรๆ จะจำได้มากก็ตามหรือจำได้น้อยตาม เมื่อความจำเหล่านั้นดับไปพอนึกขึ้นถึงความจำเก่าก็มาเป็นสัญญาปัจจุบันขึ้น อย่างนี้เรียกว่าความจำสัญญา หรือเราคิดนึกเรื่องอะไรๆขึ้นเองด้วยใจ เมื่อความคิดเหล่านั้นดับไป พอเรานึกถึงเรื่องที่เคยคิดเอาไว้นั้น ก็จำเรื่องนั้นได้ นี่เรียกว่าความจำสัขารขันธ์ ความจำเรื่องราวของเวทนา สัญญา สังขารเหล่านี้แหละชื่อธัมมสัญญา ความจำธัมมารมณ์ เมื่อความจำธัมมารมณ์มาปรากฎขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งธัมมสัญญา เมื่อความจำธัมมรมณ์เหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งธัมมสัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    แหมช่างซับซ้อนกันจริงๆ จะสังเกตอย่างไรถูก ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถ้ายังไม่รู้จักอาการขันธ์ ก็สังเกตไม่ถูก ถ้ารู้จักแล้ว ก็สังเกตได้ง่าย เหมือนคนที่รู้จักตัวแลรู้จักชื่อกัน ถึงจะพบหรือเห็นกันมากๆ คนก็รู้จักได้ทุกๆคน ถ้าคนที่ไม่คยรู้จักตัวหรือรู้จักชื่อกันมาแต่คนเดียวก็ไม่รู้จักว่า ผู้นั้นคือใคร สมด้วยพระพทุธภาษิตในคุหัฏฐกสูตรหน้า 395 ที่ว่า สญฺญํ ปริญฺยา วิตเรยฺย โอฆํ สาธุชนมากำหนดรอบรู้สัญญาแล้วจะพึงข้ามโอฆะ

    พระธรรมเจดีย์ :
    สังขารขันธ์คืออะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    สังขารขันธ์คือความคิดความนึก

    พระธรรมเจดีย์ :
    สังขารขันธ์เป็นทุกขสัจหรือเป็นสมุทัย ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เป็นทุกขสัจ ไม่ใช่สมุทัย

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็สังขารขันธ์ตามแบบอภิธัมมสังคะ ท่านแจกไว้ว่า มีบาปธรรม 14 โสภณเจตสิก 25 อัญญสมนา 13 รวมเป็นเจตสิก 52 ดวงนั้น ดูมีทั้งบุญทั้งบาป และไม่ใช่บุญไม่ใช่บาปปนกัน ทำไมจึงเป็นทุกขสัจอย่างเดียว ข้าพเจ้าฉงนนัก ?

    พระอาจารย์มั่น :
    อัญญสมนา 13 ยกเวทนาสัญญาออกเสีย 2 ขันธ์ เหลืออยู่ 11 นี่แหละเป็นสังขารขันธ์แท้ จะต้องกำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ ส่วนบาปธรรม 14 นั้น เป็นสมุทัยอาศัยสังขารขันธ์เกิดขึ้น เป็นส่วนปหาตัพพธรรมจะต้องละ ส่วนโสภณเจตสิก 25 นั้น เป็นภาเวตัพพธรรมจะต้องเจริญ เพราะฉะนั้นบาปธรรม 14 กับโสภณเจตสิก 25 ไม่ใช่สังขารแท้ เป็นแต่อาศัยสังขารขันธ์เกิดขึ้น จึงมีหน้าที่จะต้องละแลต้องเจริญความคิดความนึกอะไรๆ ที่มาปรากฎขึ้นในใจ เป็นความเกิดแห่งสังขารขันธ์ ความคิดความนึกเหล่านั้นดับหายไปจากใจ ก็เป็นความดับไปแห่งสัขารขันธ์

    พระธรรมเจดีย์ :
    วิญญาณขันธ์ที่รู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ 6 อย่างนี้ มีลักษณะอย่างไรและเวลาที่เกิดขึ้นแลดับไปมีอาการอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    คือ ตา 1 รูป 1 กระทบกันเข้า เกิดความรู้ทางตา เช่นกับเราได้เห็นคนหรือส่งของอะไรๆ ก็รู้ได้คนนั้นคนนี้ หรือสิ่งนั้นสิ่งนี้ ชื่อว่าจักขุวิญญาณ เมื่อรูปมาปรากฎกับตา เกิดความรู้ทางตาเป็นความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ เมื่อความรู้ทางตาดับหายไปเป็นความดับไปแห่งจักขุวิญญาณ หรือความรู้ทางหู รู้กลิ่นทางจมูก รู้รสทางลิ้น รู้โผฎฐัพพะทางกายมาปรากฎขึ้น ก็เป็นความเกิดแห่งโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ เมื่อความรู้ทางหู จมูก ลิ้น กาย หายไป ก็เป็นความดับไปแห่งโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ เมื่อใจกับธัมมารมณ์มากระทบกันเข้าเกิดความรู้ทางใจเรียกว่ามโนวิญญาณ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ใจนั้นได้แก่สิ่งอะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ใจนั้นเป็นเครื่องรับธัมมารมณ์ให้เกิดความรู้ทางใจ เหมือนอย่างตาเป็นเครื่องรับรูปให้เกิดความรู้ทางตา

    พระธรรมเจดีย์ :
    รู้เวทนา รู้สัญญา รู้สังขารนั้น รู้อย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    รู้เวทนานั้น เช่น สุขเวทนาเป็นปัจจุบันเกิดขึ้น ก็รู้ว่าเป็นสุข หรือทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็รู้ว่าเป็นทุกข์ อย่างแลรู้เวทนา หรือสัญญาใดมาปรากฎขึ้นในใจ จะเป็นความจำรูปหรือความจำเสียงก็ดี ก็รู้สัญญานั้น อย่างนี้เรียกว่ารู้สัญญาหรือความคิดเรื่องอะไรๆขึ้น ก็รู้ไปในเรื่องนั้นอย่างนี้ รู้สังขาร ความรู้เวทนา สัญญา สังขาร 3 อย่างนี้ ต้องรู้ทางใจ เรียกว่ามโนวิญญาณ

    พระธรรมเจดีย์ :
    มโนวิญญาณความรู้ทางใจก็เหมือนกันกับธรรมสัญญา ความจำธัมมารมณ์อย่างนั้นหรือ เพราะนี่ก็รู้ว่าเวทนา สัญญา สังขาร นั่นก็จำเวทนา สัญญา สังขาร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ต่างกัน เพราะสัญญานั้นจำอารมณ์ที่ล่วงแล้ว แต่ตัวสัญญาเองเป็นสัญญาปัจจุบัน ส่วนมโนวิญญาณนั้นรู้เวทนา สัญญา สังขาร ที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน เมื่อความรู้เวทนา สัญญา สังขาร มาปรากฎขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ เมื่อความรู้ เวทนา สัญญา สังขาร ดับ หายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งมโนวิญญาณ

    พระธรรมเจดีย์ :
    เช่นผงเข้าตา รู้ว่าเคืองตา เป้นรู้ทางตาใช่ไหม ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ไม่ใช่ เพราะรู้ทางตานั้น หมายถึงรูปที่มากระทบกับตาเกิดความรู้ขึ้น ส่วนผงเข้าตานั้นเป็นกายสัมผัส ต้องเรียกว่ารู้โผฏฐัพพะ เพราะตานั้นเป็นกาย ผงนั้นเป็นโผฏฐัพพะ เกิดความรู้ขึ้น ชื่อว่ารู้ทางกาย ถ้าผงเข้าตาคนอื่น เขาวานเราไปดู เมื่อเราได้เห็นผงเกิดความรู้ขึ้น ชื่อว่ารู้ทางตา

    พระธรรมเจดีย์ :
    สาธุ ข้าพเจ้าเข้าใจได้ความในเรื่องนี้ชัดเจนดีแล้ว แต่ขันธ์ 5 นั้นยังไม่ได้ความว่า จะเกิดขึ้นที่ละอย่างสองอย่าง หรือว่าต้องเกิดพร้อมกันทั้ง 5 ขันธ์

    พระอาจารย์มั่น :
    ต้องเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 5 ขันธ์

    พระธรรมเจดีย์ :
    ขันธ์ 5 ที่เกิดพร้อมกันนั้น มีลักษณะอย่างไร ? และความดับไปมีอาการอย่างไร ? ขอให้ชี้ตัวอย่างให้ขาวสักหน่อย

    พระอาจารย์มั่น :
    เช่นเวลาเรานึกถึงรูปคนหรือรูปสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง อาการที่นึกขึ้นนั้นเป็นลักษณะของสังขารขันธ์ รูปร่างหรือสิ่งของเหล่านั้นมาปรากฎขึ้นในใจนี่เป็นลักษณะของรูปสัญญา ความรู้ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นนี่เป็นลักษณะของมโนวิญญาณ สุขหรือทุกข์หรืออุเบกขาที่เกิดขึ้นในคราวนั้น นี่เป็นลักษณะของเวทนา มหาภูตรูป หรืออุปาทายรูปที่ปรากฎอยู่นั้น เป็นลักษณะของรูป อย่างนี้เรียกว่าความเกิดขึ้นแห่งขันธ์พร้อมกันทั้ง 5 เมื่ออาการ 5 อย่างเหล่านั้นดับไป เป็นความดับไปแห่งขันธ์ทั้ง 5

    พระธรรมเจดีย์ :
    ส่วนนามทั้ง 4 เกิดขึ้นและดับไปพอจะเห็นด้วย แต่ที่ว่ารูปดับไปนั้นยังไม่เข้าใจ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ส่วนรูปนั้นมีความแปรปรวนอยู่เสมอเช่นของเก่าเสื่อมไป ของใหม่เกิดแทนแต่ทว่าไม่เห็นเองเพราะรูปสันตติ รูปที่ติดต่อเนื่องกันบังเสีย จึงแลไม่เห็น แต่ก็ลองนึกดูถึงรูปตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันนี้เปลี่ยนไปแล้วสักเท่าไร ถ้ารูปไม่ดับก็คงไม่มีเวลาแก่แลเวลาตาย

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเราสังเกตขันธ์ 5 ว่าเวลาเกิดขึ้นแลดับไปนั้น จะสังเกตอย่างไรจึงจะเห็นได้ แลที่ว่าขันธ์สิ้นไปเสื่อมไปนั้นมีลักษณะอย่างไร เพราะว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วก็เกิดขึ้นได้อีกดูเป็นของคงที่ไม่เห็นมีความเสื่อม

    พระอาจารย์มั่น :
    พูดกับคนที่ไม่เคยเห็นความจริงนั้น ช่างน่าขันเสียเหลือเกิน วิธีสังเกตขันธ์ 5 นั้น ก็ต้องศึกษาให้รู้จักอาการขันธ์ตามความเป็นจริง แล้วก็มีสติสงบความคิดอื่นเสียหมดแล้ว จนเป็นอารมณ์อันเดียวที่เรียกว่าสมาธิ ในเวลานั้นความคิดอะไรๆไม่มีแล้ว ส่วนรูปนั้นหมายลมหายใจ ส่วนเวทนาก็มีแต่ปีติหรือสุข ส่วนสัญญาก็เป็นธรรมสัญญาอย่างเดียว ส่วนสังขารเวลานั้นเป็นสติกับสมาธิ หรือวิตกวิจารณ์อยู่ ส่วนวิญญาณก็เป็นแต่ความรู้อยู่ในเรื่องที่สงบนั้น ในเวลานั้นขันธ์ 5 เข้าไปรวมอยู่เป็นอารมณ์เดียว ในเวลานั้นต้องสังเกตอารมณ์ปัจจุบัน ที่ปรากฎอยู่เป็นความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ พออารมณ์ปัจจุบันนั้นดับไปเป็นความดับไปแห่งนามขันธ์ ส่วนรูปนั้นเช่นลมหายใจออกมาแล้ว พอหายใจกลับเข้าไป ลมหายใจออกนั้นก็ดับไปแล้ว ครั้นกลับมาหายใจออกอีก ลมหายใจเข้าก็ดับไปแล้ว นี่แหละเป็นความดับไปแห่งขันธ์ทั้ง 5 แล้วปรากฏขึ้นมาอีก ก็เป็นความเกิดขึ้นทุกๆอามรมณ์แลขันธ์ 5 ที่เกิดขึ้นดับไป ไม่ใช่ดับไปเปล่าๆ รูปชีวิตินทรีย์ความเป็นอยู่ของนามขันธ์ทั้ง 5 เมื่ออารมณ์ดับไปครั้งหนึ่ง ชีวิตแลอายุของขันธ์ทั้ง 5 สิ้นไปหมดทุกๆ อารมณ์

    พระธรรมเจดีย์ :
    วิธีสังเกตอาการขันธ์ที่สิ้นไปเสื่อมไปนั้น หมายเอาหรือคิดเอา ?

    พระอาจารย์มั่น :
    หมายเอาก็เป็นสัญญา คิดเอาก็เป็นเจตนา เพราะฉะนั้นไม่ใช่หมายไม่ใช่คิด ต้องเข้าไปเห็นความจริงที่ปรากฎเฉพาะหน้า จึงจะเป็นปัญญาได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นจะดูความสิ้นไปเสื่อมไปของขันธ์ทั้ง 5 มิต้องตั้งพิธีทำใจให้เป็นสมาธิทุกคราวไปหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถ้ายังไม่เคยเห็นความจริง ก็ต้องตั้งพิธีเช่นนี้ร่ำไป ถ้าเคยเห็นความจริงเสียแล้วก็ไม่ต้องตั้งพิธีทำใจให้เป็นสมาธิทุกคราวก็ได้ แต่พอมีสติขึ้น ความจริงก็ปรากฎเพราะเคยเห็นแลรู้จักความจริงเสียแล้ว เมื่อมีสติรู้ตัวขึ้นมาเวลาใด ก็เป็นสมถวิปัสสนากำกับกันไปทุกคราว

    พระธรรมเจดีย์ :
    ที่ว่าชีวิตแลอายุขันธ์สิ้นไปเสื่อมไปนั้นคือ สิ้นไปเสื่อมไปอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เช่นเราจะมีลมหายใจอยู่ได้สัก 100 หน ก็จะตาย ถ้าหายใจเสียหนหนึ่งแล้ว ก็คงเหลืออีก 99 หน หรือเราจะคิดจะนึกอะไรได้สัก 100 หน เมื่อคิดนึกเสียหนหนึ่งแล้ว คงเหลืออีก 99 หน ถ้าเป็นคนอายุยืนก็หายใจอยู่ได้มากหน หรือคิดนึกอะไรๆอยู่ได้มากหน ถ้าเป็นคนอายุสั้น ก็มีลมหายใจและคิดนึกอะไรๆอยู่ได้น้อยหน ที่สุดก็หมดลงวันหนึ่ง เพราะจะต้องตายเป็นธรรมดา

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเราจะหมายจะคิดอยู่ในเรื่องความจริงของขันธ์อย่างนี้ จะเป็นปัญญาไหม ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถ้าคิดเอาหมายเอา ก็เป็นสมถะ ที่เรียกว่ามรณัสสติ เพราะปัญญานั้น ไม่ใช่เรื่องหมายหรือเรื่องคิด เป็นเรื่องของความเห็นอารมณ์ปัจจุบันที่ปรากฎเฉพาะหน้าราวกับตาเห็นรูปจึงจะ เป็นปัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    เมื่อจิตสงบแล้ว ก็คอยสังเกตดูอาการขันธ์ที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน เพื่อจะให้เห็นความจริง นั่นเป็นเจตนาใช่ไหม ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เวลานั้นเป็นเจตนาจริงอยู่ แต่ความจริงก็ยังไม่ปรากฎ เวลาที่ความจริงปรากฎขึ้นนั้นพ้นเจตนาทีเดียว ไม่เจตนาเลย เป็นความเห็นที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษต่อจากจิตที่สงบแล้ว

    พระธรรมเจดีย์ :
    จิตคู่กับเจตสิก ใจคู่กับธัมมารมณ์ มโนธาตุคู่กับธรรมธาตุ 3 คู่นี้เหมือนกันหรือต่างกัน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เหมือนกัน เพราะว่าจิตกับมโนธาตุกับใจนั้นอย่างเดียวกัน ส่วนใจนั้นเป็นภาษาไทย ภาษาบาลีท่านเรียกว่ามโน เจตสิกนั้นก็ได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร ธัมมารมณ์นั้นก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร ธรรมธาตุนั้นก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร

    พระธรรมเจดีย์ :
    ใจนั้นทำไมจึงไม่ใคร่ปรากฎ เวลาที่สังเกตดูก็เห็นแต่เหล่าธัมมารมณ์ คือ เวทนาบ้าง สัญญาบ้าง สังขารบ้าง มโนวิญญาณความรู้ทางใจบ้าง เพราะเหตุไร ใจจึงไม่ปรากฏเหมือนเหล่าธัมมารมณ์ กับมโนวิญญาณ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ใจนั้นเป็นของละเอียด เห็นได้ยาก พอพวกเจตสิกธรรมที่เป็นเหล่าธัมมารมณ์มากระทบเข้าก็เกิดมโนวิญญาณ ถูกผสมเป็นมโนสัมผัสเสียทีเดียว จึงแลไม่เห็นมโนธาตุได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    อุเบกขาในจตุตถฌาณ เป็นอทุกขมสุขเวทนา ใช่หรือไม่ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ไม่ใช่ อทุกขมสุขเวทนานั้นเป็นเจตสิกธรรม ส่วนอุเบกขาในจตุตถฌาณนั้นเป็นจิต

    พระธรรมเจดีย์ :
    สังโยชน์ 10 นั้น คือ สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส กามราคะ พยาบาท รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ที่แบ่งเป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 เบื้องบน 5 นั้น ก็ส่วนสักกายทิฎฐิที่ท่านแจกไว้ ตามแบบขันธ์ละ 4 รวม 5 ขันธ์ เป็น 20 ที่ว่า ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตัวตนบ้าง ย่อมเห็นตัวตนว่ามีรูปบ้าง ย่อมเห็นรูปในตัวตนบ้าง ย่อมเห็นตัวตนในรูปบ้าง ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตัวตนบ้าง ย่อมเห็นตัวตนว่ามี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง ย่อมเห็น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณในตัวตนบ้าง ย่อมเห็นตัวตนใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง ถ้าฟังดูท่านที่ละสักกายทิฎฐิได้แล้ว ดูไม่เป็นตัวเป็นตน แต่ทำไมพระโสดาบันก็ละสักกายทิฎฐิได้แล้ว สังโยชน์ยังอยู่อีกถึง 7 ข้าพเจ้าฉงนนัก ?

    พระอาจารย์มั่น :
    สักกายทิฎฐิ ที่ท่านแปลไว้ตามแบบ ใครๆ ฟังก็ไม่ใคร่เขัาใจ เพราะท่านแต่ก่อน ท่านพูดภาษามคธกัน ท่านเข้าใจได้ความกันดี ส่วนเราเป็นไทย ถึงแปลแล้วก็จะไม่เข้าใจของท่าน จึงลงความเห็นว่าไม่เป็นตัวเป็นตนเสีย ดูออกจะแรงมากไป ควรจะนึกถึงพระโกณฑัญญะ ในธัมมจักรท่านได้เป็นโสดาบันก่อนคนอื่น ท่าได้ความเห็นว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับเป็นธรรมดา และพระสารีบุตรพบพระอัสสชิ ได้ฟังอริยสัจย่อว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุของธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติกล่าวอย่างนี้" ท่านก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ละสักกายทิฎฐิได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นท่านก็เห็นความจริงของปัญจขันธ์ ถ่ายความเห็นผิด คือ ทิฎฐิวิปลาสเสียได้ ส่วนสีลัพพัตกับวิจิกิจฉา 2 อย่างนั้น ทำไมจึงหมดไปด้วย ?

    พระอาจารย์มั่น :
    สักกายทิฎฐินั้น เป็นเรื่องของความเห็นผิด ถึงสีลัพพัตก็เกี่ยวกับความเห็นว่าสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆที่มีอยู่ในโลก จะให้ดีให้ชั่วได้ วิจิกิจฉานั้นเมื่อผู้ที่ยังไม่เคยเห็นความจริง ก็ต้องสงสัยเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นท่านที่ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ เห็นความจริงของสังขารทั้งปวง ส่วนสีลัพพัตนั้น เพราะความเห็นของท่านตรงแล้วจึงเป็นอจลสัทธา ไม่เห็นไปว่าสิ่งอื่นนอกจากรรมที่เป็นกุศลและอกุศล จะให้ดีให้ชั่วได้ จึงเป็นอันละสีลัพพัตอยู่เอง เพราะสังโยชน์ 3 เป็นกิเลสประเภทเดียวกัน

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าตอบสังโยชน์ 3 อย่างนี้แล้ว มิขัดกันกับสักกายทิฎฐิตามแบบที่ว่า ไม่เป็นตัวเป็นตนหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    คำที่ว่าไม่เป็นตัวเป็นตนนั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจเอาเองต่างหาก เช่น กับพระโกณฑัญญะเมื่อฟังธรรมจักร ท่านก็ละสักกายทิฎฐิได้แล้ว ทำไมจึงต้องฟังอนัตตลักขณะสูตรอีกเล่า นี่ก็ส่อให้เห็นได้ว่า ท่านผู้ที่ละสักกายทิฎฐิได้นั้น คงไม่ใช่เห็นว่าไม่เป็นตัวเป็นตน

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้น ที่ว่าเห็นอนัตตา ก็คือเห็นว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอย่างนั้นหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    อนัตตาในอนัตตะลักขณะสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงซักพระปัญจวัคคีย์ มีเนื้อความว่าขันธ์ 5 ไม่เป็นไปในอำนาจ สิ่งที่ไม่เป็นไปในอำนาจบังคับไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นอนัตตา ถ้าขันธ์ 5 เป็นอัตตาแล้วก็คงจะบังคับได้ เพราะฉะนั้นเราจึงควรเอาความว่าขันธ์ 5 ที่ไม่อยู่ในอำนาจ จึงเป็นอนัตตา เพราะเหตุที่บังคับไม่ได้ ถ้าขันธ์ 5 เป็นอัตตาตัวตนก็คงจะบังคับได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นเห็นอย่างไรเล่า จึงเป็นสักกายทิฎฐิ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ตามความเห็นของข้าพเจ้า ว่าไม่รู้จักขันธ์ 5 ตามความเป็นจริง เห็นปัญจขันธ์ว่าเป็นตน และเที่ยงสุข เป็นตัวตนแก่นสาร และเลยเห็นไปว่าเป็นสุภะความงามด้วย ที่เรียกว่าทิฎฐิวิปลาส นี่แหละเป็นสักกายทิฎฐิ เพราะฉะนั้นจึงเป็นคู่ปรับกับ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ซึ่งเป็นความเห็นถูก ความเห็นชอบ จึงถ่ายความเห็นผิดเหล่านั้นได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้น ท่านที่ละสักกายทิฎฐิได้แล้ว อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา จะเป็นอัธยาศัยได้ไหม ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถ้าฟังดูตามแบบท่านเห็น ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ชัดเจน อนิจฺจํ คงเป็นอัธยาศัย ส่วนทุกขํ กับอนตฺตา ถึงจะเห็นก็ไม่เป็นอัธยาศัย เข้าใจว่าถ้าเห็นปัญจขันธ์ เป็นทุกข์มากเข้า กามราคะพยาบาทก็คงน้อย ถ้าเห็นปัญจขันธ์เป็นอนัตตามากเข้า กามราคะพยาบาทก็คงหมด ถ้าเห็นว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ชัดเจนเข้า สังโยชน์เบื้องบนก็คงหมด นี่เป็นส่วนความเข้าใจ แต่ตามแบบท่านก็ไม่ได้อธิบายไว้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ที่ว่าพระสกิทาคามี ทำการราคะพยาบาทให้น้อยนั้น ดูมัวไม่ชัดเจน เพราะไม่ทราบว่าน้อยแค่ไหน ไม่แตกหักเหมือนพระโสดาบัน พระอนาคามีและพระอรหันต์ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    แตกหักหรือไม่แตกหัก ก็ใครจะไปรู้ของท่าน เพราะว่าเป็นของเฉพาะตัว

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าจะสันนิษฐานไปตามแนวพระปริยัติก็จะชี้ตัวอย่างให้เข้าใจบ้างหรือไม่ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    การสันนิษฐานนั้นเป็นของไม่แน่ ไม่เหมือนอย่างได้รู้เองเห็นเอง

    พระธรรมเจดีย์ :
    แน่หรือไม่แน่ก็เอาเถิด ข้าพเจ้าอยากฟัง ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าเห็นว่าท่านที่ได้เป็นโสดาบันเสร็จแล้ว มีอัธยาศัยใจคอซึ่งต่างกับปุถุชน ท่านได้ละกามราคะพยาบาทส่วนหยาบถึงกับล่วงทุจริตซึ่งเป็นฝ่ายอบายคามีได้ คงเหลือแต่อย่างกลาง อย่างละเอียดอีก 2 ส่วน ภายหลังท่านเจริญสมถวิปัสสนามากขึ้น ก็ละกามราคะปฏิฆะสังโยชน์อย่างกลางได้อีกส่วนหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นว่านี่แหละเป็นมรรคที่ 2 ต่อมาท่านประพฤติปฏิบัติละเอียดเข้า ก็ละกามราคะพยาบาทที่เป็นอย่างละเอียดได้ขาด ชื่อว่าพระอนาคามี

    พระธรรมเจดีย์ :
    กามราคะพยาบาทอย่างหยาบถึงกับล่วงทุจริต หมายทุจริตอย่างไหน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    หมายเอาอกุศลกรรมบถ 10 ว่าเป็นทุจริตอย่างหยาบ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นพระโสดาบันท่านก็ละอกุศลกรรมบถ 10 ได้ เป็นสมุจเฉทหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ตามความเห็นของข้าพเจ้า เห็นว่ากายทุจริต 3 คือ ปาณา อทินนา กาเมสุมิจฉาจาร มโนทุจริต 3 อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฎฐินี้ละขาดได้เป็นสมุจเฉท ส่วนวจีกรรมที่ 4 คือ มุสาวาทก็ละได้ขาด ส่วนวจีกรรมอีก 3 ตัว คือ ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาป ละได้แต่ส่วนหยาบที่ปุถุชนกล่าวอยู่ แต่ส่วนละเอียดยังละไม่ได้ต้องอาศัยสังวรความระวังไว้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ที่ต้องสำรวมวจีกรรม 3 เพราะเหตุอะไร ทำไมจึงไม่ขาดอย่างมุสาวาท ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เป็นด้วยกามราคะ กับปฏิฆะ สังโยชน์ทั้ง 2 ยังละไม่ได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    วจีกรรม 3 มาเกี่ยวอะไรกับสังโยชน์ทั้ง 2 ด้วยเล่า ?

    พระอาจารย์มั่น :
    บางคาบบางสมัย เป็นต้นว่ามีเรื่องที่จำเป็นเกิดขึ้น ในคนรักของท่านกับคนอีกคนหนึ่ง ซึ่งเขาทำความไม่ดีอย่างใดอย่างหนึ่ง จำเป็นที่จะต้องพูด ครั้นพูดไปแล้วเป็นเหตุให้เขาห่างจากคนนั้น จึงต้องระวัง ส่วนปิสุณาวาจา บางคราวความโกรธเกิดขึ้นที่สุดจะพูดออกไป ด้วยกำลังใจที่โกรธว่าพ่อมหาจำเริญแม่มหาจำเริญ ที่เรียกว่าประชดท่าน ก็สงเคราะห์เข้าใจผรุสวาจา เพราะเหตุนั้นจึงต้องสำรวม ส่วนสัมผัปปลาปนั้น ดิรัจฉานกถาต่างๆมีมาก ถ้าสมัยที่เผลอสติมีคนมาพูด ก็อาจจะพลอยพูดไปด้วยได้ เพราะเหตุนั้นจึงต้องสำรวม

    พระธรรมเจดีย์ :
    อ้อพระโสดาบันยังมีเวลาเผลอสติอยู่หรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ทำไมท่าจะไม่เผลอ สังโยชน์ยังอยู่อีกถึง 7 ท่านไม่ใช่พระอรหันต์จะได้บริบูรณ์ด้วยสติ

    พระธรรมเจดีย์ :
    กามราคะ พยาบาท อย่างกลางหมายความเอาแค่ไหน เมื่อเกิดขึ้นจะได้รู้ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความรักแลความโกรธที่ปรากฎขึ้น มีเวลาสั้นหายเร็ว ไม่ถึงกับล่วงทุจริต นี่แหละเป็นอย่างกลาง

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็กามราคะ พยาบาท อย่างละเอียดนั้นหมายเอาแค่ไหน แลเรียกว่าพยาบาทดูหยาบมาก เพราะเป็นชื่อของอกุศล ?

    พระอาจารย์มั่น :
    บางแห่งท่านก็เรียกว่าปฏิฆะสังโยชน์ก็มี แต่ความเห็นของข้าพเจ้าว่า ไม่ควรเรียกพยาบาท ควรจะเรียกปฏิฆะสังโยชน์ดูเหมาะดี

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็ปฏิฆะกับกามราคะที่อย่างละเอียดนั้นจะได้แก่อาการของจิตเช่นใด ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความกำหนัดที่อย่างละเอียด พอปรากฎขึ้นไม่ทันคิดออกไปก็หายทันที ส่วนปฏิฆะนั้น เช่นคนที่มีสาเหตุโกรธกันมาแต่ก่อน ครั้นนานมาความโกรธนั้นก็หายไปแล้ว และไม่ได้นึกถึงเสียเลย ครั้นไปในที่ประชุมแห่งใดแห่งหนึ่ง ไปพบคนนั้นเข้ามีอาการสะดุดใจ ไม่สนิทสนมหรือเก้อเขิน ผิดกับคนธรรมดา ซึ่งไม่เคยมีสาเหตุกัน ข้าพเจ้าเห็นว่าอาการเหล่านี้เป็นอย่างละเอียด ควรจะเรียกปฏิฆะสังโยชน์ได้ แต่ตามแบบท่านก็ไม่ได้อธิบายไว้

    พระธรรมเจดีย์ :
    สังโยชน์ทั้ง 2 นี้ เห็นจะเกิดจากคนโดยตรง ไม่ใช่เกิดจากสิ่งของทรัพย์สมบัติอื่นๆ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว เช่นวิสาขะอุบาสกเป็นพระอนาคามี ได้ยินว่าหลีกจากนางธัมมทินนา ไม่ได้หลีกจากสิ่งของทรัพย์สมบัติส่วนอื่นๆ ส่วนความโกรธหรือปฏิฆะที่เกิดขึ้น ก็เป็นเรื่องของคนทั้งนั้น ถึงแม้จะเป็นเรื่องสิ่งของก็เกี่ยวข้องกับคน ตกลงโกรธคนนั่นเอง

    พระธรรมเจดีย์ :
    ส่วนสังโยชน์เบื้องต่ำนั้น ก็ได้รับความอธิบายมามากแล้ว แต่ส่วนสังโยชน์เบื้องบน 5 ตามแบบอธิบายไว้ว่า รูปราคะ คือ ยินดีในรูปฌาณ อรูปราคะยินดีในอรูปฌาณ ถ้าเช่นนั้นคนที่ไม่ได้บรรลุฌาณสมาบัติ 8 สังโยชน์ทั้งสองก็ไม่มีโอกาสจะเกิดได้ เมื่อเป็นเช่นนี้สังโยชน์สองอย่างนี้ ไม่มีหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    มี ไม่เกิดในฌาณ ก็ไปเกิดในเรื่องอื่น

    พระธรรมเจดีย์ :
    เกิดในเรื่องไหนบ้าง ขอท่านจงอธิบายให้ข้าพเจ้าเข้าใจ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความยินดีในรูปขันธ์ หรือความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ นั้นชื่อว่ารูปราคะ ความยินดีในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือยินดีในสมถวิปัสสนา หรือยินดีในส่วนมรรคผล ที่ได้บรรลุเสขคุณแล้ว เหล่านี้ก็เป็นอรูปราคะได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็ความยินดีในกาม 5 พระอนาคามีละได้แล้วไม่ใช่หรือ ทำไมจึงมาเกี่ยวกับสังโยชน์เบื้องบนอีกเล่า ?

    พระอาจารย์มั่น :
    กามมี 2 ชั้น ไม่ใช่ชั้นเดียว ที่พระอนาคามีละได้นั้น เป็นส่วนกำหนัดในเมถุน ซึ่งเป็นคู่กับพยาบาท ส่วนความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับเมถุน จึงเป็นสังโยชน์เบื้องบน คือรูปราคะ ส่วนความยินดีในนามขันธ์ทั้ง 4 หรือสมถวิปัสสนาหรือมรรคผลชั้นต้นๆ เหล่านี้ ชื่อว่าอรูปราคะ ซึ่งตรงกับความยินดีในธัมมารมณ์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ทั้งหลายเบื่อหน่ายในรูปขันธ์ หรือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ เป็นภายนอก จึงได้สิ้นไปแห่งรูปราคะสังโยชน์ และท่านเบื่อในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และสมถหรือวิปัสสนาะที่อาศัยขันธ์ เกิดขึ้นเมื่อท่านสิ้นความยินดีในนามขันธ์แล้ว แม้ธรรมทั้งหลายอาศัยขันธ์เกิดขึ้นท่านก็ไม่ยินดี ได้ชื่อว่าละความยินดีในธัมมารมณ์ซึ่งคู่กับความยินร้าย เพราะความยินดียินร้ายในนามรูปหมดแล้ว ท่านจึงเป็นผู้พ้นแล้วจากความยินดียินร้ายในอารมณ์ 6 จึงถึงพร้อมด้วยคุณ คือ ฉะลังคุเบกขา

    พระธรรมเจดีย์ :
    แปลกมากยังไม่เคยได้ยินใครอธิบายอย่างนี้ ส่วนมานะสังโยชน์นั้น มีอาการอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    มานะสังโยชน์นั้นมีอาการให้วัด เช่นกับนึกถึงตัวของตัว ก็รู้สึกว่าเป็นเรา ส่วนคนอื่นก็เห็นว่าเป็นเขา แลเห็นว่าเราเสมอกับเขา หรือเราสูงกว่าเขา หรือเราต่ำกว่าเขา อาการที่วัดชนิดนี้แหละเป็นมานะสังโยชน์ ซึ่งเป็นคู่ปรับกับอนัตตา หรือ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็อุทธัจจสังโยชน์นั้นมีลักษณะอย่างไร เช่น พระอนาคามีละสังโยชน์เบื้องต่ำได้หมดแล้ว ส่วนอุทธัจจสังโยชน์จะฟุ้งไปทางไหน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ตามแบบท่านอธิบายไว้ว่า ฟุ้งไปในธรรม เพราะท่านยังไม่เสร็จกิจจึงได้ฝักใฝ่อยู่ในธรรม

    พระธรรมเจดีย์ :
    อวิชชาสังโยชน์นั้นไม่รู้อะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ตามแบบท่านอธิบายไว้ว่า ไม่รู้ขันธ์ที่เป็นอดีต 1 อนาคต 1 ปัจจุบัน 1 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปาท 1 ความไม่รู้ในที่ 8 อย่างนี้แหละชื่อว่าอวิชชา

    พระธรรมเจดีย์ :
    พระเสขบุคคลท่านก็รู้อริยสัจ 4 ด้วยกันทั้งนั้น ทำไมอวิชชาสังโยชน์จึงยังอยู่ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    อวิชชามีหลายชั้น เพราะฉะนั้นวิชชาก็หลายชั้น ส่วนพระเสขบุคคล มรรคแลผลชั้นใดที่ท่านได้บรรลุแล้ว ท่านก็รู้เป็นวิชชาขึ้น ชั้นใดยังไม่รู้ ก็ยังเป็นอวิชชาอยู่ เพราะฉะนั้นจึงหมดในขั้นที่สุด คือพระอรหันต์

    พระธรรมเจดีย์ :
    พระเสขบุคคลท่านเห็นอริยสัจ แต่ละตัณหาไม่ได้ มิไม่ได้ทำกิจในอริยสัจหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ท่านก็ทำทุกชั้นนั้นแหละ แต่ก็ทำตามกำลัง

    พระธรรมเจดีย์ :
    ที่ว่าทำตามชั้นนั้นทำอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เช่น พระโสดาบันได้เห็นปัญจขันธ์เกิดขึ้นดับไป ก็ชื่อว่าได้กำหนดรู้ทุกข์ และได้ละสังโยชน์ 3 หรือทุจริตส่วนหยาบๆ ก็เป็นอันละสมุทัย ความที่สังโยชน์ 3 สิ้นไปเป็นส่วนนิโรธตามชั้นของท่าน ส่วนมรรคท่านก็ได้เจริญมีกำลังพอละสังโยชน์ 3 ได้ แลท่านปิดอบายได้ ชื่อว่าท่านทำภพคือทุคติให้หมดไปที่ตามแบบเรียกว่า ขีณนิรโย มีนรกสิ้นแล้ว ส่วนพระสกิทาคามี ก็ได้กำหนดทุกข์ คือ ปัญจขันธ์แล้วละกามราคะ พยาบาทอย่างกลาง ได้ชื่อว่าละสมุทัยข้อที่ กามราคะ พยาบาท อย่างกลางหมดไป จึงเป็นนิโรธของท่าน ส่วนมรรคนั้นก็เจริญมาได้เพียงละกามราคะพยาบาทอย่างกลางนี่แหละ จึงได้ทำภพชาติให้น้อยลง ส่วนพระอนาคามีทุกข์ได้กำหนดแล้ว ละกามราคะพยาบาทส่วนละเอียดหมด ได้ชื่อว่าละสมุทัยกามราคะพยาบาทอย่างละเอียดนี่หมดไปจึงเป็นนิโรธของท่าน ส่วนมรรคนั้นก็เจริญมาเพียงละสังโยชน์ 5 ได้หมด แลได้สิ้นภพ คือ กามธาตุ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นโลกีย์กับโลกุตตรนั้น ต่างกันอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ศีล สมาธิ ปัญญา ของผู้ปฏิบัติในภูมิกามาพจร รูปาพจร อรูปาพจร นี่แหละเป็นโลกีย์ที่เรียกว่าวัฏฏคามีกุศล เป็นกุศลที่วนอยู่ในโลก ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา ของท่านผู้ปฏิบัติตั้งแต่โสดาบันแล้วไป เรียกว่าวิวัฎฎคามีกุศล เป็นเครื่องข้ามขึ้นจากโลก นี่แหละเป็นโลกุตตร

    พระธรรมเจดีย์ :
    ท่านที่บรรลุฌาณถึงอรูปสมาบัติแล้ว ก็ยังเป็นโลกีย์อยู่ ถ้าเช่นนั้นเราจะปฏิบัติให้เป็นโลกุตตรก็เห็นจะเหลือวิสัย ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ไม่เหลือวิสัย พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงแสดงธรรมสั่งสอน ถ้าเหลือวิสัยพระองค์ก็คงไม่ทรงแสดง


    [​IMG]

    <table class="attachtable" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td colspan="2" align="center">
    [​IMG]

    </td> </tr> </tbody></table> <hr> พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเราไม่ได้บรรลุฌาณชั้นสูงๆจะเจริญปัญญาเพื่อให้ถึงซึ่งมรรคแลผลจะได้ไหม ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ได้เพราะวิธีที่เจริญปัญญาก็ต้องอาศัยสมาธิจริงอยู่ แต่ไม่ต้องถามถึงกับฌาณ อาศัยสงบจิตที่พ้นนิวรณ์ ก็พอเป็นบาทของวิปัสสนาได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ความสงัดจากกามจากอกุศลของผู้ที่บรรลุฌาณโลกีย์ กับความสงัดจากกาม จากอกุศลของพระอนาคามีต่างกันอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ต่างกันมาก ตรงกันข้ามทีเดียว

    พระธรรมเจดีย์ :
    ทำไจึงได้ต่างกันถึงกับตรงกันข้ามทีเดียว ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ฌาณที่เป็นโลกีย์ ต้องอาศัยความเพียร มีสติคอยระวังละอกุศล และความเจริญกุศลให้เกิดขึ้น มีฌาณเป็นต้น และยังต้องทำกิจที่คอยรักษาฌาณนั้นไว้ไม่ให้เสื่อม ถึงแม้ว่าจะเป็นอรูปฌาณที่ว่าไม่เสื่อมในชาตินี้ ชาติหน้าต่อๆไปก็อาจจะเสื่อมได้ เพราะเป็นกุปปธรรม

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้น ส่วนความสงัดจากกามจากอกุศลของพระอนาคามีท่านไม่มีเวลาเสื่อมหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    พระอนาคามี ท่านละกามราคะสังโยชน์กับปฏิคะสังโยชน์ได้ขาด เพราะฉะนั้นความสงัดจากการจากอกุศลของท่านเป็นอัธยาศัย ที่เป็นเองอยู่เสมอโดยไม่ต้องอาศัยความเพียรเหมือนอย่างฌาณที่เป็นโลกีย์ ส่วนวิจิกิจฉาสังโยชน์นั้นหมดมาตั้งแต่เป็นโสดาบันแล้ว เพราะฉะนั้นอุทธัจจนิวรณ์ที่ฟุ้งไปหากามและพยาบาทก็ไม่มี ถึงถีนะมิทธนิวรณ์ก็ไม่มี เพราะเหตุนั้นความสงัดจากกามจากอกุศลของท่านจึงไม่เสื่อม เพราะเป็นเองไม่ใช่ทำเอาเหมือนอย่างฌาณโลกีย์

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นผู้ที่ได้บรรลุพระอนาคามี ความสงัดจากกามจากอกุศล ที่เป็นเองมิไม่มีหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถ้านึกถึงพระสกิทาคามี ที่ว่าทำสังโยชน์ทั้งสองให้น้อยเบาบาง น่าจะมีความสงัดจากการจากอกุศลที่เป็นเองอยู่บ้าง แต่ก็คงจะอ่อน

    พระธรรมเจดีย์ :
    ที่ว่าพระอนาคามีม่านเป็นสมาธิบริปูริการี บริบูรณ์ด้วยสมาธิ เห็นจะเป็นอย่างนี้เอง ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ไม่ใช่เป็นสมาธิ เพราะว่าสมาธินั้นเป็นมรรคต้องอาศัยเจตนา เป็นส่วนภาเวตัพพธรรมส่วนของพระอนาคามีท่านเป็นเอง ไม่มีเจตนาเป็นสัจฉิกาตัพพธรรม เพราะฉะนั้นจึงได้ต่างกันกับฌาณที่เป็นโลกีย์

    พระธรรมเจดีย์ :
    นิวรณ์แลสังโยชน์นั้น ข้าพเจ้าทำไมจึงไม่รู้จักอาการ คงรู้จักแต่ชื่อของนิวรณ์แลสังโยชน์ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ตามแบบในมหาสติปัฏฐานพระพุทธเจ้าสอนสาวก ให้รู้จักนิวรณ์แลสังโยชน์พระสาวกของท่านตั้งใจกำหนดสังเกต ก็ละนิวรณ์แลสังโยชน์ได้หมดจนเป็นพระอรหันต์โดยมาก ส่วนท่านที่อินทรีย์อ่อน ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็เป็นพระเสขบุคคล ส่วนเราไม่ตั้งใจไม่สังเกตเป็นแต่จำว่านิวรณ์หรือสังโยชน์ แล้วก็ตั้งกองพูดแลคิดไปจึงไม่พบตัวจริงของนิวรณ์และสังโยชน์ เมื่ออาการของนิวรณ์แลสังโยชน์อย่างไรก็ไม่รู้จัก แล้วจะละอย่างไรได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นผู้ปฏิบัติทุกวันนี้ ที่รู้จักลักษณะแลอาการของนิวรณ์แลสังโยชน์จะมีบ้างไหม ?

    พระอาจารย์มั่น :
    มีถมไปชนิดที่เป็นสาวกตั้งใจรับคำสอนแลประพฤติปฏิบัติจริงๆ

    พระธรรมเจดีย์ :
    นิวรณ์ 5 เวลาที่เกิดขึ้นในใจมีลักษณะอย่างไร จึงจะทราบได้ว่าอย่างนี้ คือ กามฉันท์ อย่างนี้คือพยาบาท หรือถีนะมิทธะ อุทธัจจะกุกุจจะ วิจิกิจฉา และมีชื่อเสียงเหมือนกับสังโยชน์ จะต่างกันกับสังโยชน์หรือว่าเหมือนกัน ขอท่านจงอธิบายลักษณะของนิวรณ์แลสังโยชน์ให้ข้าพเจ้าเข้าใจจะได้สังเกตถูก ?

    พระอาจารย์มั่น :
    กามฉันทนิวรณ์ คือ ความพอใจในกาม ส่วนกามนั้นแยกเป็นสอง คือ กิเลสกามหนึ่ง วัตถุกามอย่างหนึ่ง เช่น ความกำหนัดในเมถุนเป็นต้น ชื่อว่ากิเลสกาม ความกำหนัดในทรัพย์สมบัติเงินทองที่บ้านนาสวน และเครื่องใช้สอยหรือบุตรภรรยาพวกพ้อง และสัตว์เลี้ยงของเลี้ยงที่เรียกว่าวิญญาณกทรัพย์ อวิญญานกทรัพย์ เหล่านี้ ชื่อว่าวัตถุกาม ความคิดกำหนัดพอใจในส่วนทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่ากามฉันท์นิวรณ์ ส่วนพยาบาทนิวรณ์คือ ความโกรธเคือง หรือคิดแช่งสัตว์ให้พินาศ ชื่อว่าพยาบาทนิวรณ์ ความง่วงเหงาหาวนอน ชื่อว่า ถีนะมิทธนิวรณ์ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ชื่อว่า อุธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ความสงสัย ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แลสงสัยในกรรมที่สัตว์ทำเป็น เป็นบาป หรือสงสัยในผลกรรมเหล่านี้ เป็นต้น ชื่อว่าวิจิกิจฉารวม 5 อย่างนี้ ชื่อว่านิวรณ์ เป็นเครื่องกั้นกางหนทางดี

    พระธรรมเจีดีย์ :
    กามฉันทนิวรณ์ อธิบายเกี่ยวไปตลอดกระทั่งวิญญาณกทรัพย์ อวิญญาณกทรัพย์ ว่าเป็นวัตถุกาม ถ้าเช่นนั้นผู้ที่ยังครองเรือน ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์สมบัติอัฐฬสเงินทองพวกพ้อง ญาติมิตร ก็จำเป็นจะต้องนึกถึงสิ่งเหล่านั้น เพราะเกี่ยวเนื่องกับตน ก็มิเป็นกามฉันทนิวรณ์ไปหมดหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถ้านึกตามธรรมดาโดยจำเป็นของผู้ที่ยังครองเรือนอยู่ โดยไม่ได้กำหนัดยินดีก็เป็นอัญญสมนา คือเป็นกลางๆ ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป ถ้าคิดถึงวัตถุกามเหล่านั้นเกิดความยินดีพอใจรักใคร่เป็นห่วง ยึดถือหมกมุ่นพัวพันอยู่ในวัตถุกามเหล่านั้น จึงจะเป็นกามฉันทนิวรณ์ สมด้วยพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า

    น เต กามา ยานิ จิตฺรานิ โลเก อารมณ์ที่วิจิตรงดงามเหล่าใดในโลกอารมณ์เหล่านั้นมิได้เป็นกาม

    สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม ความกำหนัดอันเกิดจากความดำริ นี้แหละเป็นกามของคน

    ติฏฺฐนฺติ จิตฺรานิ ตเถว โลเก อารมณ์ที่วิจิตรงดงามในโลก ก็ตั้งอยู่อย่างนั้นเอง

    อเถตฺถธีรา วินยนฺติ ฉนฺทํ เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้นักปราชญ์ทั้งหลายจึงทำลายเสียได้

    ซึ่งความพอใจในกามนั้น นี่ก็ทำให้เห็นชัดเจนได้ว่า ถ้าฟังตามคาถาพระพุทธภาษิตนี้ ถ้านึกคิดถึงวัตถุกามตามธรรมดาก็ไม่เป็นกามฉันทนิวรณ์ ถ้าคิดนึกอะไรๆ ก็เอาเป็นนิวรณ์เสียหมด ก็คงจะหลีกไม่พ้นนรก เพราะนิวรณ์เป็นอกุศล

    พระธรรมเจดีย์ :
    พยาบาทนิวรณ์นั้น หมายความโกรธเคือง ประทุษร้ายในคน ถ้าความกำหนัดในคน ก็เป็นกิเลสการถูกไหม ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว

    พระธรรมเจดีย์ :
    ความง่วงเหงาหาวนอน เป็นถีนะมิทธินิวรณ์ ถ้าเช่นนั้นเวลาที่เราหาวนอนมิเป็นนิวรณ์ทุกคราวไปหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    หาวนอนตามธรรมดา เป็นอาการร่างกายที่จะต้องพักผ่อน ไม่เป็นถีนะมิทธนิวรณ์ กามฉันทหรือพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วก็อ่อนกำลังลงไป หรือดับไปในสมัยนั้นมีอาการมัวซัวแลง่วงเหงาไม่สามารถจะระลึกถึงกุศลได้ จึงเป็นถีนะมิทธนิวรณ์ ถ้าหาวนอนตามธรรมดา เรายังดำรงสติสัมปชัญญะอยู่ได้จนกว่าจะหลับไป จึงไม่ใช่นิวรณ์ เพราะถีนะมิทธนิวรณ์เป็นอกุศล ถ้าจะเอาหาวนอนตามธรรมดาเป็นถีนมิทธแล้ว เราก็คงจะพ้นจากถีนะมิทธนิวรณ์ไม่ได้ เพราะต้องมีหาวนอนทุกวันด้วยกันทุกคน

    พระธรรมเจดีย์ :
    ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ที่ว่าเป็อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์นั้น หมายฟุ้งไปในที่ใดบ้าง ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ฟุ้งไปในกามฉันทบ้าง พยาบาทบ้าง แต่ในบาปธรรม 14 ท่านแยกเป็นสองอย่าง อุทธัจจะความฟุ้งซ่าน กุกกุจจ ความรำคาญใจ แต่ในนิวรณ์ 5 ท่านรวมไว้เป็นอย่างเดียวกัน

    พระธรรมเจดีย์ :
    นิวรณ์ 5 เป็นจิตหรือเจตสิก ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เป็นเจตสิกธรรมฝ่ายอกุศลประกอบกับจิตที่เป็นอกุศล

    พระธรรมเจดีย์ :
    ประกอบอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เช่นกามฉันทนิวรณ์ก็เกิดในจิต ที่เป็นพวกโลภะมูล พยาบาทกุกกุจจนิวรณ์ ก็เกิดในจิตที่เป็นโทสะมูล ถีนะมิทธอุทธัจจะ วิจิกิจฉา ก็เกิดในจิตที่เป็นโมหะมูล พระพุทธเจ้าทรงเปรียบนิวรณ์ทั้ง 5 มาในสามัญญผลสูตร ทีฆนิกายสีลักขันธวรรค หน้า 93 ว่า กามฉันทนิวรณ์ เหมือนคนเป็นหนี้, พยาบาทนิวรณ์ เหมือนคนไข้หนัก, ถีนมิทธนิวรณ์เหมืนอนคนติดในเรือนจำ, อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์เหมือนคนเป็นทาส, วิจิกิจฉานิวรณ์ เหมือนคนเดินทางกันดารมีภัยน่าหวาดเสียว เพราะฉะนั้น คนที่เขาพ้นหนี้ หรือหายเจ็บหนัก หรือออกจากเรือนจำ หรือพ้นจากทาส หรือได้เดินทางถึงที่ประสงค์พ้นภัยเกษมสำราญ เขาย่อมถึงความยินดีฉันใด ผู้ที่พ้นนิวรณ์ทั้ง 5 ก็ย่อมถึงความยินดีฉันนั้น แลในสังคารวสูตร ในปัจจกนิบาต อังคุตตรนิยาย หน้า 257 พระพุทธเจ้าทรงเปรียบนิวรณ์ด้วยน้ำ 5 อย่าง ว่าบุคคลจะส่องเงาหน้าก็ไม่เห็นฉันใด นิวรณ์ทั้ง 5 เมื่อเกิดขึ้นก็ไม่เห็นธรรมความดีความชอบฉันนั้น กามฉันทนิวรณ์ เหมือนน้ำที่ระคนด้วยสีต่างๆ เช่น สีครั่ง สีชมพู เป็นต้น พยาบาทนิวรณ์ เหมือนน้ำที่มีจอกแหนปิดเสียหมด อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์เหมือนน้ำที่คลื่นเป็นระลอก วิจิกิจฉานิวรณ์ เหมือนน้ำที่ขุ่นข้นเป็นโคลนตม เพราะฉะนั้นน้ำ 5 อย่างนี้ บุคคลไม่อาจส่งดูเงาหน้าของตนได้ฉันใด นิวรณ์ทั้ง 5 ที่เกิดขึ้นครอบงำใจของบุคคลไม่ให้เห็นธรรมความดีความชอบได้ก็ฉันนั้น

    พระธรรมเจดีย์ :
    ทำไมคนเราเวลาไข้หนักใกล้จะตาย ก็ทำบาปกรรมความชั่วอะไรไม่ได้แล้วจะกล่าววจีทุจริต ปากก็พูดไม่ได้ จะล่วงทำกายทุจริต มือแลเท้าก็ไหวไม่ได้แล้ว ยังเหลือแต่ความคิด นึกทางใจนิดเดียวเท่านั้น ทำไมใจประกอบด้วยนิวรณ์ จึงไปทุคติได้ ดูไม่นาจะเป็นบาปกรรมโตใหญ่อะไรเลย ข้อนี้น่าอัศจรรย์นักขอท่านจงอธิบายให้ข้าพเจ้าเข้าใจ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    กิเลสเป็นเหตุให้ก่อกรรมๆ เป็นเหตุให้ก่อวิบาก ที่เรียกว่าไตรวัฏนั้น เช่น อนุสัย หรือสังโยชน์ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นชื่อว่ากิเลสวัฏ ผู้ที่ไม่เคยประพฤติปฏิบัติก็ทำในใจไม่แยบคาย ที่เรียกว่า อโยนิโส คิดต่อออกไป เป็นนิวรณ์ 5 หรืออุปกิเลส 16 จึงเป็นกรรมวัฏฝ่ายบาป ถ้าดับจิตไปในสมัยนั้น จึงได้วิบากวัฏที่เป็นส่วนทุคติ เพราะกรรมวัฏฝ่ายบาปส่งให้อุปมาเหมือนคนปลูกต้นไม้ ไปนำพืชพันธุ์ของไม้ที่เบื่อเมามาปลูกไว้ ต้นแลใบที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็นของเบื่อเมา แม้ผลแลดอกที่ออกมา ก็เป็นของเบื่อเมาตามพืชพันธุ์เดิมซึ่งนำมาปลูกไว้นิดเดียว แต่ก็กลายเป็นต้นโตใหญ่ไปได้เหมือนกัน ข้อนี้ฉันใด จิตที่เศร้าหมองเวลาตาย ก็ไปทุคติได้ฉันนั้น แลเหมือนพืชพันธุ์แห่งผลไม้ที่ดี มีกลิ่นหอมมีรสหวาน บุคคลไปนำพืชพันธุ์มานิดเดียวปลูกไว้แม้ต้นแลใบก็เป็นไม้ที่ดีทั้งผลแลดอก ที่ออกมา ก็ใช้แลรับประทานได้ตามความประสงค์ เพราะอาศัยพืชที่ดีซึ่งนำมานิดเดียวปลูกไว้ ข้อนี้ฉันใด จิตท่เป็นกุศลผ่องใสแล้วตายในเวลานั้นจึงไปสู่สุคติได้สมด้วยพระพุทธภาษิต ที่ว่า

    จิตฺเต สงฺกลิฏเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา เวลาตายจิตเศร้าหมอง แล้วทุคติเป็นหวังได้
    จิตฺเต อสงฺกิลิฎเฐ สุคติปาฏิกงฺขา จิตผ่องใสไม่เศร้าหมองเวลาตายสุคติเป็นหวังได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    อโยนิโสมสสิกาโร ความทำในใจไม่แยบคาย โยนิโสมนสิการโร ความทำในใจแยบคาย 2 อย่างนั้นคือ ทำอย่างไรชื่อว่าไม่แยบคาย ทำอย่างไรจึงชื่อว่าแยบคาย ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความทำสุภนิมิตไว้ในใจ กามฉันทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็งอกงาม ความทำปฏิฆะนิมิตไว้ในใจ พยาบาทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็งอกงามอย่างนี้ ชื่อว่าทำในใจไม่แยบคาย การทำอสุภสัญญาไว้ในใจ กามฉันทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมหายไป การทำเมตตาไว้ในใจ พยาบาทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมหายไป เช่นนี้เป็นตัวอย่าง หรือความทำในใจอย่างไรก็ตาม อกุศลที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็งอกงาม ก็ชื่อว่าทำในใจไม่แยบคาย หรือจะคิดนึกอย่างไรก็ตามกุศลที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็บริบูรณ์ อย่างนี้ชื่อว่าทำในใจแยบคาย สมด้วยสาวกภาษิตที่พระสารีบุตรแสดงไว้ในพระทสุตตรสูตรหมวด 2 ว่า

    โย จ เหตุ โย จ ปจฺจโย สตฺตานํ สงฺกิลสฺสาย ความไม่ทำในใจโดยอุบายอันแยบคายเป็นเหตุด้วยเป็นปัจจัยด้วย เพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย 1
    โย จ เหตุ โย จ ปจฺจโย สตฺตานํ วิสุทฺธิยา ความทำในใจ โดยอุบายแยบคาย เป็นเหตุด้วยเป็นปัจจัยด้วย เพื่อจะได้บริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย

    พระธรรมเจดีย์ :
    ที่ว่า อนุสัยกับสังโยชน์เป็นกิเลสวัฏ ส่วนนิวรณ์หรืออุปกิเลส 16 ว่าเป็นกรรมวัฏเวลาที่เกิดขึ้นนั้น มีอาการต่างกันอย่างไร จึงจะทราบได้ว่า ประเภทนี้เป็นนิวรณ์ หรืออุปกิเลส 16 ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เช่น เวลาตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายถูกต้องโผฎฐัพพะ รู้ธัมมารมณ์ด้วยใจ 6 อย่างนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ดีนั้นเป็นอิฎฐารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ยินดีส่วนอารมณ์ 6 ที่ไม่ดีเป็นอนิฎฐารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความยินร้าย, ไม่ชอบ, โกรธเคือง ผู้ที่ยังไม่รู้ความจริงหรือไม่มีสติเวลาที่ตาเห็นรูปที่ดี ยังไม่ทันคิดว่ากระไรก็เกิดความยินดีกำหนัดพอใจขึ้น แค่นี้เป็นสังโยชน์ ถ้าคิดต่อมากออกไป ก็เป็นกามฉันทนิวรณ์ หรือเรียกว่ากามวิตกก็ได้ หรือเกิดความโลภอยากได้ที่ผิดธรรม ก็เป็น อภิชฺฌาวิสมโลโภที่อยู่ในอุปกิเลส 16 หรือใน มโนกรรม อกุศลกรรมบถ 10 ชนิดนี้ ประกอบด้วยเจตนา เป็นกรรมวัฏฝ่ายบาป เวลาตาเห็นรูปที่ไม่ดีมไม่ทันคิดว่ากระไร เกิดความไม่ชอบ หรือเป็นโทมนัสปฏิฆะขึ้นไม่ประกอบด้วยเจตนาแค่นี้เป็นปฏิฆะสังโยชน์คือ กิเลสวัฏ ถ้าคิดต่อออกไปถึงโกรธเคืองประทุษร้ายก็เป็นพยาบาทนิวรณ์ หรือุปกิเลส หรืออกุศลกรรมบถ 10 ชนิดนี้ ก็เป็นกรรมวัฏฝ่ายบาป เพราะประกอบด้วยเจตนา นี่ชี้ให้ฟังเป็นตัวอย่าง แม้กิเลสอื่นๆก็พึงตัดสินใจอย่างนี้ว่ากิเลสที่ไม่ตั้งใจให้เกิดก็เกิดขึ้น ได้เอง พวกนี้เป็นอนุสัยหรือสังโยชน์ เป็นกิเลสวัฏ ถ้าประกอบด้วยเจตนา คือ ยืดยาวออกไปก็กรรมวัฏ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นเราจะตัดกิเลสวัฏ จะตัดอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ต้องตัดได้ด้วยอริยมรรค เพราะสังโยชน์ก็ไม่มีเจตนา อริยมรรคก็ไม่มีเจตนาเหมือนกัน จึงเป็นคู่ปรับสำหรับละกัน

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าการปฏิบัติของผู้ดำเนินยังอ่อนอยู่ ไม่สามารถจะตัดได้ สังโยชน์ก็ยังเกิดอยู่ แล้วก้เลยเป็นกรรมวัฏฝ่ายบาปต่อออกไป มิต้องได้วิบากวัฏที่เป็นส่วนทุคติเสียหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะอย่างนั้นน่ะซิ ผู้ที่ยังไม่ถึงโสดาบันจึงปิดอบายไม่ได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นใครจะไปสวรรค์ได้บ้างเล่า ในชั้นผู้ปฏิบัติที่ยังไม่ถึงโสดาบัน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ไปได้เพราะอาศัยเปลี่ยนกรรม สังโยชน์ยังอยู่ก็จริง ถ้าประพฤติทุจริตกาย วาจา ใจ เวลาตายใจเศร้าหมองก็ต้องไปทุคติ ถ้ามาตั้งใจเว้นทุจริต อยู่ในสุจริตทางกาย วาจา ใจ แลเวลาตายก็ไม่เศร้าหมองก็มีสติสัมปชัญญะก็ไปสุคติได้ เพราะเจตนาเป็นตัวกรรม กรรมมี 2 อย่าง กณฺหํ เป็นกรรมดำ คือ ทุจริต กาย วาจา ใจ สุกฺกํ เป็นกรรมขาว คือ สุจริตกาย วาจา ใจ ย่อมให้ผลต่างกัน

    พระธรรมเจดีย์ :
    ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ประพฤติสุจริต กาย วาจา ใจ เวลาตายใจเศร้าหมอง มิต้องไปทุคติเสียหรือ หรือผู้ที่ประพฤติทุจริต กาย วาจา ใจ แต่เวลาตายใจเป็นกุศล มิไปสุคติได้หรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ก็ไปได้น่ะซี ได้เคยฟังหนังสือของสมเด็จพระวันรัต (ทับ) วัดโสมนัสบ้างหรือเปล่า เวลาลงโบสถ์ท่านเคยแสดงให้พระเณรฟัง ภายหลังได้มาจัดพิมพ์กันขึ้น รวมกับข้ออื่นๆท่านเคยแสดงว่าภิกษุรักษาศีลบริสุทธิ์ เวลาจะตายห่วงในจีวร ตายไปเกิดเป็นเล็น แลภิกษุอีกองค์หนึ่งเวลาใกล้จะตายนึกขึ้นได้ว่าทำใบตะไคร่น้ำขาด มองหาเพื่อนภิกษุที่จะแสดงอาบัติก็ไม่มีใคร ใจก็กังวลอยู่อย่างนั้นแหละ ครั้นตายไปก็เกิดเป็นพญานาค แลอุบาสกอีกคนหนึ่ง เจริญกายคตาสติมาถึง 30 ปี ก็ไม่ได้บรรลุคุณวิเศษอย่างใด เกิดความสงสัยในพระธรรม ตายไปเกิดเป็นจระเข้ ด้วยโทษวิจิกิจฉานิวรณ์ ส่วนโตเทยยะพราหมณ์นั้นไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ ห่วงทรัพย์ที่ฝังไว้ ตายไปเกิดเป็นลูกสุนัขอยู่ในบ้านของตนเองด้วยโทษกามฉันทนิวรณ์เหมือนกัน แลนายพรานผู้หนึ่งเคยฆ่าสัตว์มากเวลาใกล้จะตายพระสารีบุตรไปสอนให้รับไตรสรณ คมน์ จิตก็ตั้งอยู่ในกุศลยังไม่ทันจะให้ศีลนายพรานก็ตายไปสู่สุคติ ด้วยจิตที่เป็นกุศล ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ นี่ก็เป็นตัวอย่างของผู้ที่ตายใจเศร้าหมองหรือบริสุทธิ์ กรรมของผู้ที่กระทำในเมื่อเวลาใกล้จะตายนั้น ชื่อว่าอาสันนกรรม ต้องให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ ท่านเปรียบว่า เหมือนโคอยู่ใกล้ประตูคอก แม้จะแก่กำลังน้อย ก็ต้องออกได้ก่อน ส่วนโคอื่นถึงจะมีกำลังมาก ที่อยู่ข้างใน ต้องออกทีหลัง ข้อนี้ฉันใด กรรมที่บุคคลทำเมื่อใกล้จะตายจึงต้องให้ผลก่อนฉันนั้น

    พระธรรมเจดีย์ :
    ส่วนอนุสัยแลสังโยชน์เป็นกิเลสวัฏนิวรณ์ หรืออุปกิเลส 16 หรือ อกุศลกรรมบถ 10 ว่าเป็นกรรมวัฏฝ่ายบาป ส่วนกรรมวัฏฝ่ายบุญจะได้แก่อะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล เหล่านี้ เป็นกรรมวัฏฝ่ายบุญส่งให้วิบากวัฏคือ มนุษยสมบัติบ้าง สวรรคสมบัติบ้าง พรหมโลกบ้าง พอเหมาะแก่กุศลกรรมที่ทำไว้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นกรรมทั้งหลาย ที่สัตว์ทำเป็นบุญก็ตาม เป็นบาปก็ตาม ย่อมให้ผลเหมือนเงาที่ไม่พรากไปจากตนฉะนั้นหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว สมด้วยพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ในอภิณหปัจจเวกขณ์ว่า กมฺมสฺสโกมฺหิ เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆตน กมฺมทาโย เป็นผู้รับผลของกรรม กมฺมโยนิ เป็นผู้มีกรรมเป็นกำหนด กมฺมพนฺธุ เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กมฺมปฏิสรโณ เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ยํ กมฺมํ กริสฺสามิ เราจักทำกรรมอันใด กลฺยาณํ ว ปาปกํ วา ดีหรือชั่ว ตสํสา ทายาโท ภวิสฺสามิ เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

    พระธรรมเจดีย์ :
    อนุสัยกับสังโยชน์ ใครจะละเอียดกว่ากัน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    อนุสัยละเอียดกว่าสังโยชน์ เพราะสังโยชน์นั้น เวลาที่จะเกิดขึ้น อาศัยอายตนะภายในอายตนะภายนอกกระทบกันเข้าแล้วเกิดวิญญาณ 6 ชื่อว่าผัสสะ เมื่อผู้ที่ไม่มีสติ หรือไม่รู้ความจริง เช่นหูกับเสียงกระทบกันเข้า เกิดความรู้ขึ้น เสียงที่ดีก็ชอบ เกิดความยินดีพอใจ เสียงที่ไม่ดี ก็ไม่ชอบ ไม่ถูกใจ ที่โลกเรียกกันว่าพื้นเสีย เช่นนี้แหละชื่อว่าสังโยชน์ จึงหยาบกว่าอนุสัย เพราะอนุสัยนั้นย่อมตามนอนในเวทนาทั้ง 3 เช่น สุขเวทนาเกิดขึ้น ผู้ที่ไม่เคยรู้ความจริง หรือไม่มีสติ ราคานุสัยจึงตามนอน ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ปฏิฆานุสัยย่อมตามนอน อุทกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น อวิชชานุสัยย่อมตามนอน เพราะฉะนั้นจึงละเอียดกว่าสังโยชน์ และมีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ใน มาลุงโกฺย วาทสูตร ว่าเด็กอ่อนที่นอนหงายอยู่ในผ้าอ้อม เพียงจะรู้จักว่านี่ตานี่รูป ก็ไม่มีในเด็กนั้น เพราะฉะนั้น สังโยชน์จึงไม่มีในเด็กที่นอนอยู่ในผ้าอ้อม แต่ว่าอนุสัยย่อมตามนอนในเด็กนั้นได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    อนุสัยนั้นมีประจำอยู่เสมอหรือ หรือมีมาเป็นครั้งเป็นคราว ?

    พระอาจารย์มั่น : มีมาเป็นครั้งคราว ถ้ามีประจำอยู่เสมอแล้วก็คงจะละไม่ได้ เช่นราคานุสัยก็เพิ่มมาตามนอนในสุขเวทนา หรือปฏิฆานุสัยก็เพิ่งมาตามนอนในทุกขเวทนา หรืออวิชชานุสัยก็เพิ่งมาตามนนในอทุกขมสุขเวทนา ตามนอนได้แต่ผู้ที่ไม่รู้ความจริง หรือมีสติก็ไม่ตามนอนได้ เรื่องนี้ได้อธิบายไว้ในเวทนาขันธ์แล้ว

    พระธรรมเจดีย์ :
    แต่เดิมข้าพเจ้าเข้าใจว่าอนุสัยตามนอนอยู่ในสันดานเสมอทุกเมื่อไป เหมือนอย่างขี้ตะกอนที่นอนอยู่ก้นโอ่งน้ำ ถ้ายังไม่มีใครมาคน ก็ยังไม่ขุ่นขึ้น ถ้ามีใครมาคนก็ขุ่นขึ้นได้ เวลาที่ได้รับอารมณ์ที่ดี เกิดความกำหนัดยินดีพอใจขึ้น หรือได้รับอารมณ์ที่ไม่ดีก็เกิดปฏิฆะหรือความโกรธขึ้น เข้าใจว่านี่แหละขุ่นขึ้นมา ความเข้าใจเก่าของข้าพเจ้ามิผิดไปหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ก็ผิดน่ะซี เพราะเอานามไปเปรียบกับรูป คือโอ่งก็เป็นรูปที่ไม่มีวิญญาณ น้ำก็เป็นรูปที่ไม่มีวิญญาณ แลขี้ตะกอนก้นโอ่งก็เป็นรูปไม่มีวิญญาณเหมือนกัน จึงขังกันอยู่ได้ ส่วนจิตเจตสิกของเรา เกิดขึ้นแล้วดับไป จะขังเอาอะไรไว้ได้ เพราะกิเลสเช่นอนุสัยหรือสังโยชน์ ก็อาศัยจิตเจตสิกเกิดขึ้นชั่วคราวหนึ่ง เมื่อจิตเจตสิกในคราวนั้นดับไปแล้ว อนุสัยหรือสังโยชน์จะตกค้างอยู่กับใคร ลองนึกดูเมื่อเรายังไม่มีความรัก ความรักนั้นอยู่ที่ไหน ก็มีขึ้นเมื่อเกิดความรักไม่ใช่หรือ หรือเมื่อความรักนั้นดับไปแล้ว ก็ไม่มีความรักไม่ใช่หรือ และความโกรธเมื่อยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่มีเหมือนกัน มีขึ้นเมื่อเวลาที่โกรธ เมื่อความโกรธดับแล้ว ก็ไม่มีเหมือนกัน เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดเพราะไปติดสัญญาที่จำไว้นานแล้วว่า อนุสัยนอนอยู่เหมือนขี้ตะกอนที่นอนอยู่ก้นโอ่ง

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็อนุสัยกับสังโยชน์ไม่มีแล้ว บางคราวทำไมจึงมีขึ้นอีกได้เล่า ข้าพเจ้าฉงนนัก แล้วยังอาสวะอีกอย่างหนึ่งที่ว่าดองสันดานนั้น เป็นอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถ้าพูดถึงอนุสัยหรืออาสวะแล้ว เราควรเอาความว่า ความเคยตัวเคยใจ ที่เรียกว่ากิเลสกับวาสนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าละได้ทั้ง 2 อย่าง ที่พระอรหันตสาวกละได้แต่กิเลสอย่างเดียววาสนาละไม่ได้ เราควรจะเอาความว่าอาสวะหรืออนุสัยกิเลสเหล่านี้เป็นความเคยใจ เช่นได้รับอารมณ์ที่ดี เคยเกิดความกำหนัดพอใจ ได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี เคยไม่ชอบไม่ถูกใจ เช่นนี้เป็นต้น เหล่านี้แหละควรรู้สึกว่าเป็นเหล่าอนุสัย หรืออาสวะเพราะความคุ้นเคยของใจ ส่วนวาสนานั้น คือความคุ้นเคยของ กาย วาจา ที่ติดต่อมาจากเคยแห่งอนุสัย เช่น คนราคะจริตมีมรรยาทเรียบร้อย หรือเป็นคนโทสะจริตมีมรรยาทไม่เรียบร้อย ส่วนราคะแลโทสะนั้นเป็นลักษณะของกิเลส กิริยามารยาทที่เรียบร้อยแลไม่เรียบร้อย นั่นเป็นลักษณะของวาสนานี่ก็ควรจะรู้ไว้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นเราจะละความคุ้นเคยของใจ ในเวลาที่ได้รับอารมณ์ที่ดีหรือไม่ดี จะควรประพฤติปฎิบัติอย่างไรดี ?

    พระอาจารย์มั่น :
    วิธีปฏิบัติที่จะละความคุ้นเคยอย่างเก่า คืออนุสัยแลสังโยชน์ ก็ต้องมาฝึกหัดให้คุ้นเคยในศีลแลสมถวิปัสสนาขึ้นใหม่ จะได้ถ่ายถอนความคุ้นเคยเก่า เช่นเหล่าอนุสัยหรือสังโยชน์ให้หมดไปจากสันดาน

    พระธรรมเจดีย์ :
    ส่วนอนุสัยกับสังโยชน์ ข้าพเจ้าเข้าใจดีแล้ว แต่ส่วนอาสวะนั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ 3 อย่างนั้นเป็นเครื่องดองสันดาน ถ้าฟังดูตามชื่อ ก็ไม่น่าจะมีเวลาว่าง ดูเหมือนดองอยู่กับจิตเสมอไปหรือไม่ได้ดองอยู่เสมอ แต่ส่วนตัวข้าพเจ้าเข้าใจไว้แต่เดิมสำคัญว่าดองอยู่เสมอข้อนี้เป็นอย่างไร ขอท่านจงอธิบายให้ข้าพเจ้าเข้าใจ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ไม่รู้ว่าเอาอะไรมาซอกแซกถาม ได้ตอบไว้พร้อมกับอนุสัยแลสังโยชน์แล้ว จะให้ตอบอีกก็ต้องอธิบายกันใหญ่ คำที่ว่าอาสวะเป็นเครื่องดองนั้น ก็ต้องหมายความถึงรูปอีกนั่นแหละ เช่นกับเขาดองฝักก็ต้องมีภาชนะ เช่นผักอย่างหนึ่งหรือชามอย่างหนึ่งและน้ำอย่างหนึ่ง รวมกัน 3 อย่าง สำหรับเช่นกันหรือของที่เขาทำเป็นแช่อิ่มก็ต้องมีขวดโหลหรือน้ำเชื่อมสำหรับ แช่ของ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นรูปจึงแช่แลดองกันอยู่ได้ ส่วนอาสวะนั้นอาศัยนามธรรมเกิดขึ้น นามธรรมก็เป็นสิ่งที่ไม่มีตัว อาสวะก็เป็นสิ่งที่ไม่มีตัว จะแช่แลดองกันอยู่อย่างไรได้ นั่นเป็นพระอุปมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นไว้ว่า อาสวะเครื่องดองสันดาน คือ กิเลสมีประเภท 3 อย่าง เราก็เลยเข้าใจผิดถือมั่นเป็นอภินิเวส เห็นเป็นแช่แลดองเป็นของจริงๆจังๆไปได้ ความจริงก็ไม่มีอะไร นามและรูปเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป อะไรจะมาแช่แลดองกันอยู่ได้ เพราะฉะนั้นขอให้เปลี่ยนความเห็นเสียใหม่ที่ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นจริงเป็นจังเสียให้ได้ ให้หมดทุกสิ่งที่ได้เข้าใจไว้แต่เก่าๆแล้ว ก็ตั้งใจศึกษาเสียใหม่ให้ตรงกับความจริง ซึ่งเป็นสัมมาปฏิบัติ

    พระธรรมเจดีย์ :
    จะทำความเห็นอย่างไรจึงจะตรงกับความจริง ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ทำความเห็นว่าไม่มีอะไร มีแต่สมมติแลบัญญัติ ถ้าถอนสมมติแลบัญญัติออกเสียแล้วก็ไม่มีอะไร หาคำพูดไม่ได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ขันธ์ 5 อายตนะ 6 ธาตุ 6 นามรูป เหล่านี้ก็เพื่อจะให้รู้เรื่องกันเท่านั้น ส่วนขันธ์แลอายตนะ ธาตุ นามรูป ผู้ปฏิบัติควรกำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ ส่วนอนุสัยหรือสังโยชน์ อาสวะ โยคะ โอฆะ นิวรณ์ อุปกิเลสเป็นสมุทัย อาศัยขันธ์หรืออายตนะหรือนามรูปเกิดขึ้นนั้นเป็นสมุทัยเป็นส่วนหนึ่งที่ควร ละ มรรคมีองค์ 8 ย่นเข้าคือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นส่วนที่ควรเจริญ ความสิ้นไปแห่งกิเลส คือ อนุสัยหรือสังโยชน์ ชื่อว่านิโรธ เป็นส่วนควรทำให้แจ้งเหล่านี้แหละเป็นความจริง ความรู้ความเห็นใน 4 อริยสัจนี้แหละเป็นความจริง ความรู้ความเห็นใน 4 อริยสัจนี้แหละคือเห็นความจริงละ

    พระธรรมเจดีย์ :
    สาธุ ข้าพเจ้าเข้าใจแจ่มแจ้งทีเดียว แต่เมื่ออาสวะไม่ได้ดองอยู่เสมอ แล้วทำไมท่านจึงกล่าวว่า เวลาที่พระอรหันต์สำเร็จขึ้นใหม่ๆ โดยมากแล้วที่ได้ฟังมาในแบบท่านรู้ว่าจิตของท่านพ้นแล้วจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่าผู้ที่ยังไม่พ้นก็ต้องมีอาสวะประจำอยู่กับจิตเป็นนิตย์ ไป ไม่มีเวลาว่าง กว่าจะพ้นได้ก็ต้องเป็นพระอรหันต์ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถ้าขืนทำความเห็นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่มีเวลาพ้นจริงด้วย เมื่ออาสวะอยู่ประจำเป็นพื้นเพของจิตแล้วก็ใครจะละได้เล่า พระอรหันต์ก็คงไม่มีในโลกได้เหมือนกัน นี่ความจริงไม่ใช่เช่นนี้ จิตนั้นส่วนหนึ่งเป็นประเภททุกขสัจ อาสวะส่วนหนึ่งเป็นประเภทสมุทัย อาศัยจิตเกิดขึ้นชั่วคราว เมื่อจิตคราวนั้นดับไปแล้ว อาสวะประกอบกับจิตในคราวนั้นก็ดับไปด้วย ส่วนอาสวะที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆนั้น เพราะอาศัยการเพ่งโทษ ถ้าเราจักตั้งใจเพ่งโทษใครๆ อาสวะก็จะเกิดได้ด้วยยากเหมือนกัน สมด้วยพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า ปรวชฺชานุปสฺสํสฺส เมื่อบุคคลตามมองดู ซึ่งโทษของผู้อื่น นิจฺจํ อชฺฌาน สญฺญิโน เป็นบุคคลมีความหมายจะยกโทษเป็นนิตย์ อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญขึ้นแก่บุคคลนั้น อารา โส อาสวกฺขยา บุคคลนั้นเป็นผู้ห่างไกลจากธรรมที่สิ้นอาสวะ ถ้าฟังตามคาถาพระพุทธภาษิตนี้ก็จะทำให้เราเห็นชัดได้ว่าอาสวะนั้นมีมาในเวลา ที่เพ่งโทษ เรายังไม่เพ่งโทษอาสวะก็ยังไม่มีมาหรือเมื่อจิตที่ประกอบด้วยอาสวะคราวนั้น ดับไปแล้วอาสวะก็ดับไปด้วย ก็เป็นอันไม่เหมือนกัน การที่เห็นว่าอาสวะมีอยู่เสมอจึงเป็นความเห็นผิด

    พระธรรมเจดีย์ :
    อาสวะ 3 นั้น กามาสวะเป็นกิเลสประเภทรัก อวิชชาสวะเป็นกิเลสประเภทไม่รู้ แต่ภวาสวะนั้นไม่ได้ความว่าเป็นกิเลสประเภทไหน เคยได้ฟังตามแบบท่านว่าเป็นภพๆอย่างไรข้าพเจ้าไม่เข้าใจ ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความไม่รู้ความจริงเป็นอวิชชาสวะ จึงได้เข้าไปชอบไว้ในอารมณ์ที่ดีมีกามเป็นต้นเป็นกามสวะ เมื่อไม่ชอบไว้ในที่ใด ก็เข้าไปยึดถือตั้งอยู่ในที่นั้น จึงเป็นภวาสวะนี่แหละ เข้าใจว่าเป็นภวาสวะ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ภวะท่านหมายว่าภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพไม่ใช่หรือ ทำไมภพถึงจะมาอยู่ในใจของเราได้เล่า ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ภพที่ในใจนี่ละซีสำคัญนัก จึงได้ต่อให้ไปเกิดในภพข้างนอก ก็ลองสังเกตดู ตามแบบที่เราได้เคยฟังมาว่า พระอรหันต์ทั้งหลายไม่มีกิเลสประเภทรัก และไม่มีอวิชชาภวะตัณหาเข้าไปเป็นอยู่ในที่ใด แลไม่มีอุปาทานความชอบความยินดียึดถือในสิ่งทั้งปวง ภพข้างนอก คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ตลอดจนกระทั่งภพ คือ สุทธาวาสของท่านนั้นจึงไม่มี

    พระธรรมเจดีย์ :
    อาสวะ 3 ไม่เห้นมีกิเลสประเภทโกรธ แต่ทำไมการเพ่งโทษนั้นเป็นกิเลสเกลียดชังขาดเมตตา กรุณา เพราะอะไรจึงได้มาทำให้อาสวะเกิดขึ้น ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะความเข้าไปชอบไปเป็นอยู่ในสิ่งใดที่ถูกใจของตน ครั้นเขามาทำที่ไม่ชอบไม่ถูกใจจึงได้เข้าไปเพ่งโทษ เพราะสาเหตุที่เข้าไปชอบไปถูกใจเป็นอยู่ในสิ่งใดไว้ซึ่งเป็นสายชนวนเดียวกัน อาสวะทั้งหลายจึงได้เจริญแก่บุคคลนั้น

    พระธรรมเจดีย์ :
    ความรู้นั้นมีหลายอย่าง เช่นกับวิญญาณ 6 คือ ความรู้ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือ ความรู้ในเรื่อง โลภ โกรธ หลง ริษยา พยาบาท หรือรู้ไปในเรื่องความอยากความต้องการ หรือคนที่หยิบเล็กหยิบน้อยนิดหน่อยก็โกรธ เขาก็ว่าเขารู้ทั้งนั้น ส่วนความรู้ในรูปฌาณหรืออรูปฌาณ ก็เป็นความรู้ชนิดหนึ่ง ส่วนปัญญาที่รู้เห็นไตรลักษณ์แลอริยสัจก็เป็นความรู้เหมือนกัน ส่วนวิชชา 3 หรือวิชชา 8 ก็เป็นความรู้พิเศษอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ควรจะแบ่งความรู้เหล่านี้เป็นประเภทไหนบ้าง ขอท่านจงอธิบายให้ข้าพเจ้าจะได้ไม่ปนกัน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ควรแบ่งความรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าเป็นประเภททุกขสัจ เป็นส่วนที่ควรกำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ ส่วนความโลภ ความโกรธ ความหลง ริษยา พยาบาท ความอยากความต้องการเป็นสมุทัย เป็นส่วนควรละ ความรู้ในรูปฌาณแลอรูปฌาณ แลความรู้ในไตรลักษณ์ หรืออริยสัจเป็นมรรค เป็นส่วนที่ควรเจริญ วิชชา 3 หรือ วิชชา 8 นั้นเป็นนิโรธ เป็นส่วนที่ควรทำให้แจ้ง

    พระธรรมเจดีย์ :
    อะไรๆก็เอาเป็นอริยสัจ 4 เกือบจะไม่มีเรื่องอื่นพูดกัน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะไม่รู้อริยสัจทั้ง 4 แลไม่ทำหน้าที่กำหนดทุกข์ ละสมุทัยแลทำนิโรธให้แจ้งแลเจริญมรรค จึงได้ร้อนใจกันไปทั่วโลก ท่านผู้ทำกิจถูกตามหน้าที่ของอริยสัจ 4 ท่านจึงไม่มีความร้อนใจ ที่พวกเราต้องกราบไหว้ทุกวัน ข้าพเจ้าจึงชอบพูดถึงอริยสัจ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ตามที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า สอุปาทิเสสนิพพานนั้น ได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ อนุปาทิเสสนิพพานนั้นได้แก่พระอรหันต์ที่นิพพานแล้ว ถ้าเช่นนั้นท่านคงหมายความถึงเศษนามรูป เนื้อแลกระดูกที่เหลืออยู่นี่เอง ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ไม่ใช่ ถ้าเศษเนื้อเศษกระดูกที่หมดแล้วว่าเป็นอนุปาทิเสสนิพพาน เช่นนั้นใครๆตายก็คงเป็นอนุปาทิเสสนิพพานได้เหมือนกัน เพราะเนื้อแลกระดูกชีวิตจิตใจก็ต้องหมดไปเหมือนกัน

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นนิพพานทั้ง 2 อย่างนี้จะเอาอย่างไหนเล่า ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เรื่องนี้มีพระพุทธภาษิตตรัส สอุปาทิเสสสูตรแก่พระสารีบุตร ในอังคุตตรนิกาย นวกนิบาตหน้า 31 ความสังเขปว่า วันหนึ่งเป็นเวลาเช้าพระสารีบุตรไปเที่ยวบิณฑบาตร มีพวกปริพพาชกพูดกันว่า ผู้ที่ได้บรรลุสอุปาทิเสส ตายแล้วไม่พ้นนรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย อบายทุคติวินิบาต ครั้นพระสารีบุตรกลับจากบิณฑบาตรแล้วจึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลตาม เนื้อความที่พวกปริพาชกเขาพูดกันอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สอุปาทิเสสบุคคล 9 จำพวกคือ พระอนาคามี 5 จำพวก พระสกิทาคามี จำพวกหนึ่ง พระโสดาบัน 3 จำพวก ตายแล้วพ้นจากนรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย อบายทุคติวินิบาต ธรรมปริยายนี้ยังไม่แจ่มแจ้ง แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาเลย เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้แล้วจะประมาท แลธรรมปริยายนี้เราแสดงด้วยความประสงค์จะตอบปัญหาที่ถามในสอุปาทิเสสสูตรนี้ ไม่ได้ตรัสถึงอนุปาทิเสส แต่ก็พอสันนิษฐานได้ว่า อนุปาทิเสสคงเป็นส่วนของพระอรหันต์

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นท่านก็หมายความถึงสังโยชน์ คือกิเลสที่ยังมีเศษเหลืออยู่ว่า เป็นสอุปาทิเสนิพพาน ส่วนสังโยชน์ที่หมดแล้วไม่มีส่วนเหลืออยู่ คือพระอรหัตผล ว่าเป็นอนุปาทิเสสนิพพาน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเราพูดอย่างนี้ คงไม่มีใครเห็นด้วย คงว่าเราเข้าใจผิดไม่ตรงกับเขา เพราะเป็นแบบสั่งสอนกันอยู่โดยมากว่า สอุปาทิเสสนิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ อนุปาทิเสสนิพพานของพระอรหันต์ที่นิพพานแล้ว ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ข้าพเจ้าเห็นว่า จะเป็นอรรถกาที่ขบ พระพุทธภาษิตไม่แตกแล้ว ก็เลยถือตามกันมา จึงมีทางคัดค้านได้ไม่คมคายชัดเจน เหมือนที่ทรงแสดงแก่พระสารีบุตร ซึ่งจะไม่มีทางคัดค้านได้ หมายกิเลส นิพพานโดยตรง

    พระธรรมเจดีย์ :
    สอุปาทิเสสสูตรนี้ ทำไมจึงได้ตรัสหลายอย่างนัก มีทั้งนรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย อบายทุคติวินิบาต ส่วนในพระสูตรอื่นๆ ถ้าตรัสถึงอบายก็ไม่ต้องกล่าวถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย อบายทุคติวินิบาต ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เห็นจะเป็นด้วยพระสารีบุตรมากราบทูลถามหลายอย่าง ตามถ้อยคำของพวกปริพพาชกที่ได้ยินมา จึงตรัสตอบไปหลายอย่าง เพื่อให้ตรงกับคำถาม

    พระธรรมเจดีย์ :
    ข้างท้ายพระสูตรนี้ ทำไมจึงมีพุทธภาษิตตรัสว่า ธรรมปริยายนี้ ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาเลย เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้แล้วจะประมาท แลธรรมปริยายนี้เราแสดงด้วยความประสงค์จะตอบปัญหาที่ถาม ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า เห็นจะเป็นด้วยพระพุทธประสงค์ คงมุ่งถึงพระเสขบุคคล ถ้าได้ฟังธรรมปริยายนี้แล้วจะได้ความอบอุ่นใจ ที่ไม่ต้องไปทุคติแลความเพียรเพื่อพระอรหันต์จะหย่อนไป ท่านจึงได้ตรัสอย่างนี้

    พระธรมเจดีย์ :
    เห็นจะเป็นเช่นนี้เอง ท่านจึงตรัสว่าถ้าได้ฟังธรรมปริยายนี้แล้วจะประมาท?

    พระอาจารย์มั่น :
    ตามแบบที่ได้ฟังมาโดยมาก พระพุทธประสงค์ ทรงเร่งพระสาวก ผู้ยังไม่พ้นอาสวะ ให้รีบทำความเพียรให้ถึงที่สุด คือพระอรหันต์



    >>>>> จบ >>>>>

    ::
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    อ่านเพียง 1 จบ แล้วทำจิตใหนิ่งโน้มอนุโมทนาบุญ แค่นี้ก็ได้ประโยชน์ำไม่น้อย

    [​IMG]
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา [​IMG]
    วันนี้ พี่ชนิดา ได้นำเงินที่ร่วมทำบุญบูชาพระกริ่งปวเรศ จำนวน 2 องค์ จำนวนเงิน 4,000 บาท , ร่วมทำบุญองค์พยามัจจุราช จำนวน 1 องค์ จำนวน 200 บาท ,ร่วมทำบุญกองทุนหาพระถวายวัด จำนวน 500 บาท และร่วมทำบุญทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร จำนวน 500 บาท มาให้ผม

    ผมได้ดำเนินการโอนเงินที่ร่วมทำบุญ บูชาพระกริ่งปวเรศ จำนวน 2 องค์ จำนวนเงิน 4,000 บาท , ร่วมทำบุญองค์พยามัจจุราช จำนวน 1 องค์ จำนวน 200 บาท ,ร่วมทำบุญกองทุนหาพระถวายวัด จำนวน 500 บาท ตามบัญชีต่างๆเรียบร้อยแล้ว ส่วนเงินที่ร่วมทำบุญทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร จำนวน 500 บาท ผมได้ใส่ซอง(เดิม) ไว้ และจะนำไปให้พี่ใหญ่อีกครั้ง

    มาโมทนาบุญกับพี่ชนิดาร่วมกันครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    วันนี้ ผมได้ดำเนินการโอนเงินจำนวน 500 บาท ของพี่ชนิดา ในการร่วมทำบุญกับทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อาจารย์ประถม อาจสาคร เรียบร้อยแล้ว

    โมทนาบุญกับพี่ชนิดา

    มาร่วมโมทนาบุญกับพี่ชนิดากันครับ
     
  6. kratium

    kratium เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2007
    โพสต์:
    484
    ค่าพลัง:
    +3,670
    เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 โอนเงินร่วมบุญกับ ทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร จำนวน 500 บาทค่ะ อนุโมทนา สาธุ กับทุกท่านค่ะ
     
  7. สิทธิชัยพัทยา

    สิทธิชัยพัทยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +304
    วันนี้ 9 เมษา โอนเงินมา 500 บาท ครับ...ขอบคุณครับ ที่ได้นำพาปัจจัยของผมไปช่วยพระสงฆ์ที่อาพาธครับ
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    พระขลังที่น่ากราบอีกรูปหนึ่ง ที่ผู้ทรงฌาณขั้นสูงบอกว่า ท่านมีอดีตชาติเป็นถึงมหาจักรพรรดิ์ที่ยิ่งใหญ่แห่งขอมโบราณ


    ‘ปากกา’ อิทธิวัตถุมหัศจรรย์ หลวงปู่หงษ์ พรหมปญฺโญ



    ของพระครูปราสาทพรหมคุณ (หงษ์ พรหมปัญโญ)
    วัดเพชรบุรี ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
    โดย...รณธรรม ธาราพันธุ์

    หลวงปู่หงษ์ เป็นพระเถระสายวิชาที่มีคุณวิเศษลี้ลับน่าทึ่งใจ แรกผมรู้จักก็ให้เลื่อมใสในจิตตานุภาพของท่านหลายประการ จนได้กล่าวกับเพื่อนว่า ถ้าหลวงปู่หงษ์มีชนมายุอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างปี พ.ศ. 2484-2489 ถึงวันนี้แล้วนั้น ท่านจะกลายเป็นตำนานขลังที่เล่าขานกันดุจเทพนิยายไม่รู้จบแน่นอน ไม่ผิดกับหลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ หรือหลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอกทีเดียว

    หากเพราะท่านมีวัยอยู่ในยุคแห่งข่าวสารที่ หนุนส่งเรื่องท่านมากโข กระทั่งกลายเป็นเรื่องธรรมดา เพราะใครก็รู้ ใครก็หาอ่านได้ง่ายดาย ไม่ต้องไปวัดไปสัมผัสท่านด้วยตนเอง ยังรู้สึกราวกับพบเจอด้วยตัวของตัวมามากครั้ง บางทีเรื่องท่านในหลายสื่อยังเป็นเหตุให้คนไม่ใคร่เลื่อมใส ด้วยเห็นเป็นเรื่องโฆษณาชวนเชื่อ คล้ายสบู่ ยาสีฟัน อย่างนั้นก็มี

    ไม่ใช่พูดเอง แต่ผู้รู้สึกดังว่ามาเล่าให้ฟัง

    ทาง เดียวที่จะรู้จักความเป็นหลวงปู่หงษ์ได้คือ จงไปกราบท่านเสีย ได้พูดคุยถามข้อสงสัยซึ่งค้างอยู่ในใจ หลวงปู่จะเมตตาตอบให้อย่างคุยกับลูกหลาน ประทับใจแรกที่ทุกคนสัมผัสคือ "เมตตา"

    พื้นกระดานตรงหน้าหลวงปู่เป็นแผ่นเดียวกันแม้ว่ามีหลายแผ่น กล่าวดังนี้ เพราะใครที่เข้าพบท่านไม่ว่ายิ่งใหญ่จากมุมใด หรือเล็กจิ๋วแค่ไหน หลวงปู่คงพูดคุยเสมอกันทุกคน นั่งราบพื้นทุกคน ไม่มีเก้าอี้สูงศักดิ์ให้นั่ง

    แม้ องค์ท่านเอง

    หลวงปู่สนทนา และบำบัดทุกข์กายทุกข์ใจของศรัทธา โดยไม่ลำดับชนชั้น แลฐานะ หากลำดับการมาก่อนหลังเป็นสำคัญ ท่านเป็นพระบ้านป่าที่ทรงเมตตาพร้อมอภินิหารแบบที่คนบ้านนอกคอกนาเช่นผมชื่น ชม เฉพาะความใจเด็ดที่ประกาศก้องว่า สิ่งใดทำได้ไม่เหลือวิสัย หรือสิ่งใดเกินกำลังจะช่วยเหลือ ท่านไม่เท็จตอบให้เห็นว่าข้าแน่ ทำได้ทุกประการที่สูต้องการให้ทำถ้าเงินถึง

    หลวงปู่รักษาเอกลักษณ์ ของพระขลังแบบโบราณไว้ได้เต็มภูมิ รักษาได้โดยไม่ต้องเล่นละครอะไรต่อญาติโยม ด้วยทุกสิ่งออกจากใจธรรมชาติของท่าน เป็นตัวตนแท้ของหลวงปู่หงษ์ในทุกกิริยาที่ใคร ๆ ก็จะได้เห็นเมื่อไปกราบ

    หลาย คนบ่นถึงขันครูและค่าครูที่ต้องมีเมื่อจะขอความช่วยเหลือ อยากบอกแทนหลวงปู่ว่า นั่นคือคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ท่านที่สืบทอดมา พานครูคงมีเพียงดอกไม้ ธูปเทียน และผ้าสบง หากปัจจัยที่จะใส่ก็สุดแต่ศรัทธา หลวงปู่ไม่เคยกำหนดว่าต้องเท่านี้เท่านั้น อีกทั้งปัจจัยครูก็เข้าสู่การบำรุงสร้างสรรค์เสนาเสนะในวัด

    ไม่ผิดอะไรกับการทำบุญทั่วไป

    พระ หลายรูปคงประเพณีการเข้าพบแบบโบราณนิยมไว้ คือ ต้องมีดอกไม้ ธูปเทียน แสดงคารวธรรม เช่น หลวงพ่อสาลีโข, ครูบาเทือง นาถสีโล หรือแม้ฆราวาส เช่น อาจารย์ชุม ไชยคีรี เมื่อจะขอความช่วยเหลือจากท่าน ๆ ก็ต้องตั้งพานครู

    กรุณา เข้าใจว่านี่คือคำสั่งครูที่สืบสานมา ผมไม่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาจนไม่อาจทำได้แต่ประการใด หลายคนหมดเงินไปกับการท่องเที่ยว ซื้อเสื้อผ้าแพง ๆ หรือดูหนังฟังเพลง เปรียบกับการเข้าพบหลวงปู่แล้วเล็กน้อยเหลือเกิน ซ้ำยังได้รับการช่วยเหลือจากท่านด้วย

    ท่านไม่ตั้งหน้าสูบเงินโยมไปทำจานบินดอก

    คราวหนึ่ง หลวงปู่เล่าให้ฟังถึงวัยเด็กเมื่อครั้งเป็นเด็กชายหงษ์ อายุประมาณ 14 ปี ท่านได้พบฤาษีนิรนามรูปหนึ่งโดยทางฝัน เมื่อท่านย้ำว่าฝัน ผมกลับนึกถึงคำพูดของ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ที่เล่าถึงวัยเด็กเมื่อบรรพชาเป็นสามเณร อายุได้ 14 ปี จิตของท่านดิ่งลงรวมเป็นสมาธิ เข้าใจไปว่าหลับสนิททั้งที่มีความสว่างปรากฏในจิต

    กรณีหลวงปู่หงษ์ก็ ดังนั้น ผมคิดเอาว่าจิตท่านคงสงบเป็นสมาธิระดับหนึ่ง เมื่อใจว่าง ฤาษีก็เข้ามาหาด้วยบุพพกรรมที่ผูกพันกันมา ฤาษีรูปนั้นสอนวิธีการทำวัตถุมงคลชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นของหาได้ง่ายในโลก แต่ไม่ปรากฏว่าใครที่ไหนในโลกทำกัน

    นั่นคือ ‘ปากกา’

    ปากกาธรรมดานี้แหละเอามาลงพระคาถา สำคัญ และเสกด้วยพระเวทเฉพาะบท ซึ่งฤาษีรูปนั้นสอนหลวงปู่โดยทางนิมิตไว้อย่างครบถ้วน อธิบายถ่ายทอดให้ฟังละเอียด แม้ครั้งนั้นครั้งเดียวหลวงปู่ในวัยเด็กกลับจำได้หมดสิ้นน่าอัศจรรย์

    ก่อนพระ ฤาษีจากไปย้ำเด็กชายหงษ์ถึงวิชาลี้ลับนี้ว่า ห้ามถ่ายทอดใคร ห้ามสอนใครทั้งสิ้น ปล่อยวิชานี้ตายไปกับตัวดุจดัง ‘ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป’ ของพ่อท่านนอง ธัมมภูโต ที่ชาววิญญาณพบเห็นท่านแล้วเกิดเมตตาเอ็นดูจึงสอนให้เป็นและด้วยความหวงใน วิชา จึงห้ามขาดมิให้สอนใคร
    นี่คือเรื่องน่ารู้ซึ่งเราไม่อาจรู้ยิ่งไป กว่าที่รู้

    เมื่อผมกราบเรียนถามหลวงปู่ว่า พระฤาษีรูปนั้นชื่ออะไร ท่านตอบว่า “ไม่รู้ ท่านไม่ได้บอกไว้” แล้วหลวงปู่เรียกท่านว่าอะไร ท่านยิ้ม “อาจารย์ ฤาษี” ท่านยังบอกอีกว่าจากวันนั้นจนวันนี้ท่านไม่เคยพบอาจารย์ฤาษี รูปนั้นอีกเลย

    ปากกาซึ่งหลวงปู่จะทำให้นั้น ต้องเป็นปากกาที่ด้ามเป็นโลหะ เพราะหลวงปู่จะจารอักขระสำคัญเป็นตัวขอม เป็นพระคาถาเฉพาะที่มีจำนวนมากถึง 108 บท บนด้ามเดียว การจารอักขระนั้นท่านมีท่าทางการจารที่ดูน่ารัก น่าเลื่อมใสมาก วัย 83 ปี ไม่เป็นอุปสรรคที่ต้องใส่แว่นตา หรือมือไม้สั่นจนลงไม่ได้ มือซ้ายถือปากกามั่น มือขวาถือเหล็กจารจรดลงแล้วลากอักขระอย่างต่อเนื่องกันไป แทบไม่ยกเหล็กจารขึ้นเลย สุดด้ามก็หมุนปากกาไปนิดหนึ่ง แล้วลงต่อไปเรื่อย ๆ จนครบ 108 บท โดยเส้นสายลายอักขระไม่ทับซ้ำกันเลย

    ครั้งหนึ่ง ผมนั่งดูท่านทำปากกาจำนวนหลายสิบด้ามอยู่เงียบ ๆ ขณะที่จารอยู่นั้น ผมเห็นท่านชะงักนิดหนึ่งเพ่งมองที่อักขระแล้วเอานิ้วโป้งขวาถู ๆ วน ๆบนตัวขอมแถบนั้นมันจะลบให้ออกทั้งที่มันเป็นโลหะ คล้ายเด็กน้อยเขียนหนังสือผิด แล้วเอายางลบพยายามลบ ชั่วครู่ท่านก็เงยหน้ามองผม แล้วหัวเราะเบา ๆ พึมพำว่า

    “เขียนผิด”

    น่ารักเป็นที่สุด

    เมื่ออยู่ใน ภาวะที่ไม่วุ่นวาย มีบุคคลน้อยจำนวนยิ่งเห็นหลวงปู่หงษ์ชัดขึ้นกว่าที่เคยเห็น รู้จักท่านมากขึ้นกว่าที่เคยเป็น รักอัธยาศัยแลซึ้งกับทะเลเมตตาในท่านที่มีให้อย่างไม่ปรากฏฝั่ง ท่านเหมือนปู่เหมือนทวดที่เอ็นดูลูกหลานโดยไม่จำกัดจำนวน

    กระนั้นแม้ เราปรารถนาปากกาศักดิ์สิทธิ์ด้ามหนึ่ง ต้องจัดพานครูขึ้นก่อน ซึ่งผู้จัดควรรู้สิ่งของที่ต้องใช้จัด ซึ่งก็ไม่พ้นศิษย์ของท่าน ครั้นได้พานครูแล้วจึงใส่ปัจจัยบูชาครูลงไป จะเท่าใดก็ได้ หลวงปู่ไม่กำหนด แต่ควรคำนึงว่าผู้เฒ่าวัย 80 เศษ นั่งหลังขดหลังแข็งเขียนหนังสือตัวเล็กบนปากกากลม ๆ นับสิบด้ามต่อวัน เป็นเรา...เราจะให้รางวัลตัวเองเท่าใด

    เมื่อหลวงปู่จารครบทุกด้ามที่ มีในเวลานั้น ท่านจะวางคืนลงบนพานครูที่มาพร้อมแต่ละด้าม ท่านจะขยับพาน (ที่จริงเป็นถาดเล็ก) ทุกใบให้ติดกัน สองมือจับสองพานแรกที่ชิดกับท่าน แล้วเริ่มสวดบทปลุกเสกเป็นการเฉพาะอย่างยาวนาน ซึ่งท่านว่าใช้คาถา 108 บทเสก ในบางทีที่ธาตุขันธ์สมบูรณ์พร้อม ท่านเสกถึง 300 บทก็เคย

    เมื่อ สร้างขลังที่ไม่เหมือนใครแล้ว พิธีเสกใยต้องเหมือนใครอีก คณาจารย์รูปอื่นเมื่ออธิษฐานเสกย่อมเห็นท่านหลับตาภาวนา จะประนมมือหรือชักประคำก็แล้วแต่ หากหลวงปู่หงษ์กลับมองถาดครูบ้าง มองไปข้างหน้าบ้าง ทางข้างบ้าง ทั้งที่ท่านสาธยายพระเวทไม่ขาดปาก บางคราวยังมองหน้าผู้นั่งเฝ้าใกล้ ๆ คนโน้นที คนนี้ที

    เล่นเอางง!

    เพื่อนผมสงสัยจนได้ เอ่ยถามว่ามันจะขลังไหมเนี่ย? ในเมื่อท่านไม่อยู่ในภาวะของการทำสมาธิเลย แต่ผมเชื่อว่าถ้าจิต “เป็น” แม้ไม่ได้อยู่ในท่านั่งสมาธิ จิตก็ยัง “เป็น” เพราะสมาธิเป็นเรื่องของใจไม่ใช่กิริยา หากถามหลวงปู่ภายหลังการเสก หาความรู้ใส่ตน

    ท่านอธิบายว่า การสวดพระคาถาแต่ละบท ท่านสวดด้วยความเคารพและตั้งใจ ที่สำคัญคือของตรงหน้าท่านทั้งหมด ครูบาอาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นพรหมบ้าง เป็นเทพบ้างมากันครบถ้วน และลงมือเสกของไปพร้อมกับท่าน จนทั้งหมดล้วนศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพสมบูรณ์เต็มก่อนที่ท่านจะสวดจบด้วยซ้ำ

    ผมได้แต่ร้อง “โอ้โฮ...”

    จากนั้น ท่านก็เอื้อมมือไปจับถุงพลาสติกหูหิ้ว อย่างที่เรียกกันว่า ถุงก๊อบ แก๊บใบเขื่อง ซึ่งใส่กล่องกระดาษบรรจุพระเครื่องในพิธีถุงหนึ่ง ขยับนิ้วไปมาพลางว่า

    “นี่! เห็นไหมถุงนี่ อย่าทิ้งนะ เอาไปตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แจกให้เด็ก ๆ แขวนคอ หมากัดไม่เข้านะ ป้องกันอันตรายได้หมด ถุงกับกล่องในพิธีนี้เอาไปแขวนแทนพระได้ ครูบาอาจารย์เสกให้หมดแล้ว หลวงปู่ก็เสกด้วย ไม่ได้เสกให้เฉพาะของในกล่องนะ”

    คราวนี้ไม่ มีเสียงร้อง แต่อ้าปากหมด

    เพราะผมไม่เชื่อว่าหลวงปู่จะมุสา จึงประทับใจและอัศจรรย์ในวิชาอาคม ที่ท่านร่ำเรียนมาบวกกับเคยเห็นอภินิหารท่านมาก่อน เลยเชื่อท่านจริงจัง

    จาก นั้นท่านเมตตาสอนวิธีการใช้ปากกาด้ามครู คือปากกาที่ท่านจารไว้ให้นั่นแหละ ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังเผื่อท่านที่มีวาสนาได้ครอบครอง แต่ไม่รู้วิธีใช้ ทว่าก่อนรู้การใช้ โปรดรู้ข้อห้ามก่อนว่าหลวงปู่ห้ามดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ถ้าเคยดื่มก่อนมาเป็นศิษย์ ก่อนมาถือของ ๆ ท่าน กรุณาเลิกให้เด็ดขาด

    หากท่านถือของหลวงปู่อยู่ แล้วไปดื่มสุรา โปรดทราบว่าเสื่อมสนิท ทำอย่างไรก็ไม่ขลัง บางท่านใช้วิธีถอดไว้บ้านแล้วไปดื่ม หลวงปู่บอกว่า

    “เสื่อมอยู่ที่บ้านนั่นแหละ”

    เรียก ว่าห้ามเด็ดขาด ทีนี้ถ้าเสื่อมแล้ว หลวงปู่บอกว่า หมดทางจะต่อกันติด ขอขมาอย่างไรก็ไม่ได้จงเลิกแขวนเสีย เพราะถ้าไปเกิดอันตรายของท่านไม่อาจคุ้มกันได้เลย อีกเรื่องหนึ่งคือ ท่านห้ามผิดลูกเมียใครเด็ดขาด ละเอียดไปถึงไม่ให้เที่ยวสถานบริการทีเดียว ท่านถามผมว่า

    “เรารู้เหรอว่าเขา ไม่มีผัวน่ะ”

    โปรดจำให้ มั่น

    ในกรณีที่เสื่อมจากเราแล้ว นำไปมอบให้คนไม่ดื่มสุราได้ คงขลังดุจเดิม ท่านว่าเสื่อมกับเฉพาะคนไม่ถือคำห้ามเท่านั้น ใครถือคำได้ของก็ขลังกับคนที่ถือ ต่อไปนี่คือคุณวิเศษ 8 ประการ ในปากกาด้ามครูทุกด้าม ดังนี้

    1. ก่อนอาราธนาวัตถุมงคลใด ๆ กรุณาจำคาถาศักดิ์สิทธิ์ 3 คำนี้ ให้ขึ้นใจ ‘นะเมติ’

    2.เมื่อทำกิจใดแล้วมีอุปสรรคขัดข้องให้เอา ปากกาออกมาถือแกว่งไปมา พร้อมท่องคาถา นะ เมติ และนึกอธิษฐานในสิ่งที่ต้องการอุปสรรคทั้งปวงจะหายไป หลวงปู่รับรองความศักดิ์สิทธิ์ ขนาดว่าคนถือปืนจะยิงเรานี่ มือตก ยิงเราไม่ได้ เราสามารถเดินไปเก็บปืนจากมือได้เลย

    3. ถ้าถูกศัตรูล้อมแม้จะหนีออกมา ให้เอาปากกาวางบนศีรษะ ท่อง ‘นะเมติ’ ระลึกถึงหลวงปู่ให้แน่วแน่ จะเป็นมหากำบังคนมองไม่เห็นตัว แหวกวงล้อมออกมาได้

    4. หากต้องการน้ำมนต์ ให้จุดธูป 3 ดอก และเทียน 1 คู่ ผมถามว่าถ้าไม่มี ใช้เทียนเล่มเดียวได้ไหม ท่านว่า “ไม่ได้” ย้ำว่า 1 คู่ “เพราะตาคนมี 2 ตาถ้าตาเดียวก็มองไม่ถนัดใช่ไหม” จากนั้นตั้ง นะโม 3 จบ เอาปากกาวางบนปากขันหรือภาชนะที่ใส่น้ำมนต์ ถ้าภาชนะใหญ่ จะวางข้างๆก็ได้ และท่อง ‘นะเมติ’ 9 จบ ถ้ามีเวลาท่องให้ได้ 108 จบยิ่งดี รอจนธูปหมดดอก หรือสักพักหนึ่งจึงขอน้ำมนต์มาใช้ได้ ท่านบอกว่า

    “ครูบาอาจารย์จะมาทำให้ศักดิ์สิทธิ์ม้าก มาก”

    ท่าน ยังบอกอีกว่า หากภาชนะใส่น้ำมนต์มีจำนวนมากก็ไม่เป็นไร เอามาตั้งไว้ใกล้ ๆ กับเทียน 1 คู่นั้น ไม่ว่าจะมีกี่ขันกี่ตุ่มในบริเวณนั้น เมื่อแสงเทียนส่องรัศมี คลอบคลุมไปสิ้นสุดตรงไหน น้ำที่อยู่ในรัศมีความสว่างนั้นจะเป็นน้ำมนต์ทรงอานุภาพทั้งหมด

    5 ถ้าจะทำของขลังแจกเพื่อน หรือลูกหลาน เช่นเราจะแจกวัตถุมงคลแก่ทหาร หลวงปู่บอกว่าให้หาปากกามาเป็นพลาสติกหรือโลหะได้ทั้งนั้น จากนั้นเอาปากกาด้ามครูมัดติดกับปากกาที่จะทำ เช่น ทหารมีจำนวน 1 ล้านคน ก็เอาปากกา 1 ล้านด้าม มัดให้ติดกัน เอาปากกาด้ามครูวางทับข้างบนสวด ‘นะเมติ’ ให้ได้ 108 จบ ห้ามขาดเมื่อท่องจบปากกา 1 ล้านด้ามนั้น จะมีอานุภาพเป็นมหาอุดแคล้วคลาด ล่องหน คงกระพัน โชคลาภ ฯลฯ แล้วแต่จะปรารถนา ดุจเดียวกับด้ามครูทุกประการ แต่จะเอาปากกาด้าม ‘ต่อ’ มานั้นไป ‘ต่อ’ ด้ามอื่น ๆ อีกไม่ได้ คงขลังอยู่เฉพาะตัวเอง เท่านั้น

    6. หลวงปู่บอกว่า ปากกาทั้งด้ามครูและด้ามต่อนั้น ท่านอธิษฐานให้ศักดิ์สิทธิ์อยู่ได้ 500 ปี จึงเสื่อมหรือถ้าละลายเป็นน้ำ (ด้วยตัวมันเอง) เมื่อไรจึงเสื่อม

    7. ถ้ามีเรื่องทุกข์ใจหนัก ต้องการถามเทวดาที่รักษาปากกา ให้ตั้งขันธ์ 5 มีดอกไม้ขาว 5 ดอก ธูป 5 ดอก เทียน 5 เล่ม ผ้าสบง 1 ผืน เอาปากกาวางบนพาน ปูผ้าขาวท่องนะเมติไปเรื่อย จนกว่าปากกาในพานจะลุกขึ้นตั้งได้เอง จากนั้นเราจะถามสิ่งใด ปากกาจะตอบเราหมดสิ้น เป็นไปด้วยอำนาจครูบาอาจารย์ที่มาสงเคราะห์เรา หลวงปู่ย้ำว่า

    “เป็นไปได้จริง ๆ ไม่โกหก มีคนทำได้ผลมาแล้ว แต่อย่าทดลองทำเล่นนะ”

    8. ปากกาด้ามครูหมึกหมด ก็เปลี่ยนไส้ปากกาได้ อานุภาพยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

    นี่ คือคุณสมบัติ 8 ประการของปากกาด้ามครู วัตถุมหัศจรรย์ของหลวงปู่หงษ์ ซึ่งท่านสอนผมด้วยองค์ท่านเอง และในบางข้อผมได้ทำด้วยตนเองเพราะความจำเป็นมาแล้ว ปรากฏผลเห็นจริง มีคำรับรองของท่าน ผมจึงเสื่อมใสและผูกพันกับหลวงปู่หงษ์มากด้วย เห็นว่าท่านพูดจริงเป็นที่พึ่งได้จริง

    สำคัญที่ถือข้อห้ามให้มั่น และอย่าเอามาทดลอง อย่าเอามาทำเป็นเล่นเชิงปรามาส ของจะไม่แสดงอานุภาพ ท่านว่าคับขันเมื่อไรค่อยใช้จะได้เห็นเอง

    ผมเคยถามหลวงปู่ว่าวัตถุ มงคลที่เป็นสุดยอดวิชาของหลวงปู่คืออะไร ด้วยเห็นท่านเรียนมาถึง 160 อาจารย์ ซ้ำยังเป็นวิชาแปลกประหลาดน่าทึ่งทั้งนั้น แรกถามคาดว่าคงเป็นตะกรุดชุด 12 ดอกอันลือลั่น แต่ท่านตอบชัดเจน

    “ปากกา”

    นี่แหละครับ ของธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ของที่หาได้ทั่วไปแต่ไม่อาจหาได้ทั่วไป เช่นเดียวกับเพชรลูกที่ยังไม่ได้เจียระไน แม้เกลื่อนธรณีอยู่ก็หารู้ค่าไม่ ทว่าผ่านกระบวนการแล้วเสร็จเมื่อใด กลับเป็นของสูงค่า หาได้ยากทันที

    ท่าน ใดที่มีปากกาหรือวัตถุมงคลของหลวงปู่หงษ์อยู่ โปรดรักษาให้เท่าชีวิตดังคำหลวงปู่กล่าวเถิด เมื่อถึงคราวจำเป็นจะช่วยท่านได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจนักเทียว

    ขอหลวง ปู่แผ่บารมีคุ้มครองทุกท่าน ด้วยเทอญ...


    [​IMG]
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ขอสาธุ...กับคำสอนของหลวงปู่ม่นครับ ซาบซึ้งดีแท้ ว่ามั๊ย...

    เป็นความคิดเห็นของ อาจารย์ รณธรรม ธาราพันธุ์ ที่แสดงความคิดเห็นไว้และผมนำมาจากเว็ป...ครับ เพราะอ่านแล้ว
    รู้สึกซาบ ซึ้งดีครับ

    เมื่อปี พ.ศ. 2532 ข้าพเจ้าได้นั่งคุยกับท่านพระครูสุจิณธรรมวิมล (ม่น ธัมมจิณโณ) วัดเนินตามาก ต.โคกเพลาะ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ไปเรื่อยเปื่อยด้วยเรื่องต่าง ๆ จู่ ๆ ท่านก็พูดขึ้นมาเองถึงพระคุณของบิดามารดาว่ามีคุณเหลือจะกล่าวถึงรำพันหมด แต่ดูเหมือนแม่จะมีภาษีกว่าหน่อยตรงที่ต้องเป็นผู้อุ้มท้องเรามา ตอนคลอดก็แลกชีวิตกันเลย บางทีเรารอดแม่ตาย บางทีเราตายแม่รอด ถ้าโชคดีก็รอดทั้งคู่ ถ้าโชคร้ายก็ตายคู่เป็นตายทั้งกลมก็มี แต่พ่อไม่ต้องเสี่ยงถึงเพียงนี้ พระคุณของแม่จึงเหนือกว่าพ่อด้วยประการฉะนี้ ซึ่งความดังกล่าวก็ไปตรงกับที่ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ เคยกล่าวตอบพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ว่าพระคุณแห่งมารดายิ่งใหญ่กว่าพระบิดานัก

    เล่ากันมาถึงตรงนี้หลวง ปู่ม่นก็ถามข้าพเจ้าว่า "แกอยากได้วัตถุมงคลที่เหนือกว่าของฉันไหม ?"

    แหม ถามได้เนอะ ใคร ๆ ก็อยากจะได้ทั้งนั้น จึงรีบกราบเรียนท่านว่า อยากได้ครับ นึกว่าท่านจะให้เหล็กไหล ไพลดำ คดมะพร้าว ตับเหล็ก ฯลฯ อะไรประมาณนี้

    แต่ ท่านยิ้มอย่างใจดี แล้วบรรยายว่า "แกกลับไปบ้านนะ แล้วหาแผ่นโลหะจะเป็นอะไรก็ได้นะ แล้วเอาเส้นผมของแม่กับชายผ้าซิ่นของแม่วางลงบนแผ่นโลหะนั้นแล้วม้วนเข้า ด้วยกันเป็นตะกรุด แล้วแกก็เอาไปให้แม่อธิษฐานให้ ถ้าแม่แกยังแข็งแรง จะให้วางของให้ม้วนให้เลยก็ได้ ตอนแม่อธิษฐานให้พรแก แกลองฟังดูซิว่าเขาจะว่าให้แกตายแกเสื่อมไหม ถ้าทุกคำพูดมีแต่เรื่องดีไม่มีแช่งล่ะก็ ตะกรุดนั้นไม่มีเสื่อมหรอก ดียิ่งกว่าใคร ๆ ทำให้นะ ตะกรุดของฉันก็ไม่สู้ตะกรุดของแม่แกหรอก เพราะฉันรักแกไม่เท่าแม่แก"

    ข้าพเจ้าแทบน้ำตาร่วงแน่ะ

    และ ท่านก็ยังเมตตาเล่าถึงคนที่เคยทำไปแล้วถูกยิง ถูกแทงไม่เข้าเพราะมีตะกรุดพระคุณมารดานี่แหละ ท่านเล่าบ่อยมาก ๆ เหมือนจะยืนยันว่าพ่อแม่เป็นสิ่งสูงสุดในชีวิตลูกถ้าไม่นับธรรม เพราะความกตัญญูต่อพ่อแม่ ก็คือคุณธรรมอันหนึ่งด้วยนั่นเอง

    ที่มา <!-- m -->http://www.konrakmeed.com/webboard/uplo ... topic=3457<!-- m -->
    <!-- m -->http://www.pantown.com/board.php?id=279 ... ction=view
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    วันนี้ พี่ชนิดา ได้นำเงินที่ร่วมทำบุญบูชาพระกริ่งปวเรศ จำนวน 2 องค์ จำนวนเงิน 4,000 บาท , ร่วมทำบุญองค์พยามัจจุราช จำนวน 1 องค์ จำนวน 200 บาท ,ร่วมทำบุญกองทุนหาพระถวายวัด จำนวน 500 บาท และร่วมทำบุญทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร จำนวน 500 บาท มาให้ผม

    ผมได้ดำเนินการโอนเงินที่ร่วมทำบุญ บูชาพระกริ่งปวเรศ จำนวน 2 องค์ จำนวนเงิน 4,000 บาท , ร่วมทำบุญองค์พยามัจจุราช จำนวน 1 องค์ จำนวน 200 บาท ,ร่วมทำบุญกองทุนหาพระถวายวัด จำนวน 500 บาท ตามบัญชีต่างๆเรียบร้อยแล้ว ส่วนเงินที่ร่วมทำบุญทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร จำนวน 500 บาท ผมได้ใส่ซอง(เดิม) ไว้ และจะนำไปให้พี่ใหญ่อีกครั้ง

    มาโมทนาบุญกับพี่ชนิดาร่วมกันครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    วันนี้ ผมได้ดำเนินการโอนเงินจำนวน 500 บาท ของพี่ชนิดา ในการร่วมทำบุญกับทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อาจารย์ประถม อาจสาคร เรียบร้อยแล้ว

    โมทนาบุญกับพี่ชนิดา

    มาร่วมโมทนาบุญกับพี่ชนิดากันครับ
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ พรสว่าง_2008 [​IMG]

    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->พรสว่าง_2008<!-- google_ad_section_end -->

    แจ้งการโอนเงินครับพี่หนุ่ม (ผมโอนวิธีที่ 2 ครับ 100%) วันที่ 09/04/53 เวลา13.10 A04276 KTB ยอดโอน 2,500 บาท แยกดังนี้
    1. พระกริ่งปวเรศ จำนวน 1 องค์ จำนวนเงิน 2,000 บาท
    2. ร่วมทำบุญองค์พยามัจจุราชจำนวน 1 องค์ จำนวน 200 บาท
    3.ร่วมทำบุญกองทุนหาพระถวายวัด จำนวน100 บาท
    4.ร่วมทำบุญทุนนิธิสงฆ์อาพาธฯ ปู่ประถม จำนวน100 บาท
    5.ร่วมทำบุญสร้างเจดีย์ชัยผาผึ้ง จ.ชัยภูมิ จำนวน100 บาท
    โมทนาสาธุครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->พรสว่าง_2008<!-- google_ad_section_end -->

    พี่โอนเงินร่วมทำบุญให้น้อง <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->พรสว่าง_2008 ตามนี้ครับ

    1. พระกริ่งปวเรศ จำนวน 1 องค์ จำนวนเงิน 2,000 บาท

    พี่ได้โอนเงินร่วมทำบุญในกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาลาดพร้าว102 บช.ออมทรัพย์เลขที่1890-13128-8 บัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีสชญา,นายอุเทน งามศิริ,นายสิรเชษฎ์ ลีละสุนทเลิศ จำนวน 1,000 บาท
    และโอนเงินเข้ากองทุนหาพระถวายวัด จำนวน 1,000 บาท

    2. ร่วมทำบุญองค์พยามัจจุราชจำนวน 1 องค์ จำนวน 200 บาท

    พี่ได้โอนเงินเข้ากองทุนหาพระถวายวัด จำนวน 200 บาท


    3.ร่วมทำบุญกองทุนหาพระถวายวัด จำนวน100 บาท

    พี่ได้โอนเงินเข้ากองทุนหาพระถวายวัด จำนวน 100 บาท


    4.ร่วมทำบุญทุนนิธิสงฆ์อาพาธฯ ปู่ประถม จำนวน100 บาท

    พรุ่งนี้พี่จะนำเงินจำนวน 100 บาท ไปมอบให้พี่ใหญ่ครับ

    5.ร่วมทำบุญสร้างเจดีย์ชัยผาผึ้ง จ.ชัยภูมิ จำนวน100 บาท

    พี่ได้โอนเงินร่วมทำบุญในกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิบมจ.ธ.กรุงไทย สาขาลาดพร้าว102 บช.ออมทรัพย์เลขที่1890-13128-8 บัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีสชญา,นายอุเทน งามศิริ,นายสิรเชษฎ์ ลีละสุนทเลิศจำนวน 100 บาท

    โมทนาบุญทุกประการครับ <!-- google_ad_section_end -->
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ พรสว่าง_2008 [​IMG]

    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->พรสว่าง_2008<!-- google_ad_section_end -->

    แจ้งการโอนเงินครับพี่หนุ่ม (ผมโอนวิธีที่ 2 ครับ 100%) วันที่ 09/04/53 เวลา13.10 A04276 KTB ยอดโอน 2,500 บาท แยกดังนี้
    1. พระกริ่งปวเรศ จำนวน 1 องค์ จำนวนเงิน 2,000 บาท
    2. ร่วมทำบุญองค์พยามัจจุราชจำนวน 1 องค์ จำนวน 200 บาท
    3.ร่วมทำบุญกองทุนหาพระถวายวัด จำนวน100 บาท
    4.ร่วมทำบุญทุนนิธิสงฆ์อาพาธฯ ปู่ประถม จำนวน100 บาท
    5.ร่วมทำบุญสร้างเจดีย์ชัยผาผึ้ง จ.ชัยภูมิ จำนวน100 บาท
    โมทนาสาธุครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->พรสว่าง_2008<!-- google_ad_section_end -->

    พี่โอนเงินร่วมทำบุญให้น้อง <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->พรสว่าง_2008 ตามนี้ครับ

    1. พระกริ่งปวเรศ จำนวน 1 องค์ จำนวนเงิน 2,000 บาท

    พี่ได้โอนเงินร่วมทำบุญในกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาลาดพร้าว102 บช.ออมทรัพย์เลขที่1890-13128-8 บัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีสชญา,นายอุเทน งามศิริ,นายสิรเชษฎ์ ลีละสุนทเลิศ จำนวน 1,000 บาท
    และโอนเงินเข้ากองทุนหาพระถวายวัด จำนวน 1,000 บาท

    2. ร่วมทำบุญองค์พยามัจจุราชจำนวน 1 องค์ จำนวน 200 บาท

    พี่ได้โอนเงินเข้ากองทุนหาพระถวายวัด จำนวน 200 บาท


    3.ร่วมทำบุญกองทุนหาพระถวายวัด จำนวน100 บาท

    พี่ได้โอนเงินเข้ากองทุนหาพระถวายวัด จำนวน 100 บาท


    4.ร่วมทำบุญทุนนิธิสงฆ์อาพาธฯ ปู่ประถม จำนวน100 บาท

    พรุ่งนี้พี่จะนำเงินจำนวน 100 บาท ไปมอบให้พี่ใหญ่ครับ

    5.ร่วมทำบุญสร้างเจดีย์ชัยผาผึ้ง จ.ชัยภูมิ จำนวน100 บาท

    พี่ได้โอนเงินร่วมทำบุญในกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิบมจ.ธ.กรุงไทย สาขาลาดพร้าว102 บช.ออมทรัพย์เลขที่1890-13128-8 บัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีสชญา,นายอุเทน งามศิริ,นายสิรเชษฎ์ ลีละสุนทเลิศจำนวน 100 บาท

    โมทนาบุญทุกประการครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    วันนี้พี่ได้นำเงินจำนวน 100 บาทที่น้อง<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->พรสว่าง_2008<!-- google_ad_section_end --> ร่วมทำบุญกับทุนนิธิฯ ไปมอบให้กับพี่ใหญ่(ในการทำบุญกับทุนนิธิสงเคาะห์สงฆ์อาพาธ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร เรียบร้อยแล้วครับ

    โมทนาบุญทุกประการ

    ที่มา พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    .
     
  13. nathaphat

    nathaphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +750
    วันนี้ (11เม.ย.) ร่วมทำบุญ 200 ครับ ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่่านด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 110453.jpg
      110453.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38.6 KB
      เปิดดู:
      48
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="558"><tbody><tr><td style="word-wrap: break-word;" align="center" height="40">ตำนาน..วันสงกรานต์...</td> </tr> <tr> <td style="padding-right: 20px;" align="right" valign="top" height="30">พิมญดา</td> </tr> <tr> <td align="center"> <table border="0" width="518"><tbody><tr><td style="word-wrap: break-word; width: 518px; left: 0pt; right: 0pt;" class="font-th-content"> [​IMG]


    ใกล้สงกรานต์ผ่านมาอีกคราหนอ
    อยากจะขอบอกเล่าให้ กล่าวขาน
    ถึงประวัติความเป็นมาวันสงกรานต์
    ประเพณีสืบสานตำนานไทย

    [​IMG]
    ......ตำนานวันสงกรานต์...

    สมัยก่อนพุทธกาลที่ผ่านมา
    มีเศรษฐีพบชะตาน่าสงสัย
    อยาก จะมีทายาทแทบขาดใจ
    ทรัพย์สินไร้ผู้สืบสานมานานเนา

    ฝ่ายเจ้าเฒ่า สุราปากพาที
    พอดีกรีสุดขีดปากเริ่มเห่า
    พร่ำเยาะเย้ยเศรษฐีเพราะความ เมา
    ทรัพย์ของเจ้ามากล้นจนปัญญา (จะมีบุตร)

    มาวันหนึ่งท่านเศรษฐี ทนไม่ไหว
    จึงถามไถ่ผู้เฒ่าชอบกล่าวหา
    “เจ้าขุ่นเคืองเรื่องไรแต่ใดมา
    ชอบ เยาะเย้ยกล่าวหาข้ามานาน”

    เฒ่านักดื่มตอบตามหยามเศรษฐี
    “ ท่านมั่งมีแต่ไร้บุตรจะสืบสาน
    ข้ายากจนแต่มีบุตรเพราะบุญทาน
    มาเจือ จานยามป่วยไข้ไว้ดูแล”

    พอเศรษฐีได้ฟังยิ่งโศกเศร้า
    จึงคอยเฝ้า อธิฐานอย่างแน่วแน่
    พระอาทิตย์พระจันทร์มิผันแปร
    ขอดวงแดบุตรแด่ข้ามา สักคน

    จวบจนผันสามปีผ่านมิสมจิต
    จึงได้คิดถึงต้นไทรใหญ่อีกหน
    เป็น ที่อยู่ปักษาใกล้สายชล
    เศรษฐีคนมีกรรมหวังจีรัง
    [​IMG]
    วันดี นักขัตฤกษ์สงกรานต์
    ล้างข้าวสารน้ำสะอาดถึงเจ็ดครั้ง
    แล้วนำหุงยกบูชา พระไทรดัง
    ถวายเทพยืนยังหวังบุตรตรี

    เหล่าทวยเทพสถิตต้นไทรใหญ่
    เริ่ม เห็นใจเศรษฐีอย่างล้นปรี่
    จึงเข้าเฝ้าองค์อินทร์บนฉิมพลี
    โปรดประทาน บุตรนี้เศรษฐีเถิด

    พระอินทร์จึงบัญชาเทพ”ธรรมบาล”
    ลงจากทิพย์ วิมานมากำเนิด
    อยู่ในครรภ์ภรรยาเศรษฐีเกิด
    จึงกำเนิดเป็นชาย ในพารา

    ท่าน เศรษฐีซึ้งพระคุณเทพทั้งหลาย
    จึงมุ่งหมายให้ชื่อลูก “ธรรมบาลเทวา”
    สร้าง ปราสาทเจ็ดชั้นหลายคูหา
    ถวายองค์เทพเทวาใต้ต้นไทร

    เมื่อกุมารได้ เจ็ดขวบเจริญวัย
    มีวินัยทางปัญญาฉลาดใส
    ทั้งรอบรู้ เฉียบแหลมเกินเด็กใด
    เศรษฐีแสนภูมิใจในกุมาร

    [​IMG]
    “ท้า กบิลพรหม”เทพองค์หนึ่ง
    ได้รู้ถึงกิตติศัพท์ อันห้าวหาญ
    ความฉลาดหลัก แหลมของกุมาร
    จึงขอวานกุมารน้อยถ้อยวาจา

    “ ข้ามาท้าเจ้ากุมารชาญฉลาด
    ข้านักปราญ์ขอขานไขในปัญหา
    เพียงสามข้อเท่า นั้นกุมารา
    หัวของข้าของเจ้าเอาเดิมพัน”


    1. ตอนเช้าราศีคนอยู่แห่งใด
    2. ตอนเที่ยงราศีของคนอยู่แห่งใด
    3. ตอนค่ำราศีของคนอยู่แห่งใด


    เมื่อได้ฟังปัญหาทั้งสามข้อ
    กุมาร ขอผลัดคำตอบเพราะหุนหัน
    เลื่อนออกไปเจ็ดวันก็แล้วกัน
    คิดไม่ทันต่อ ปัญหามาเร็วไว

    ครั้นเวลาผ่านไปวันที่หก
    กุมารเกิดความวิตกอกสั่น ไหว
    ยังไม่มีคำตอบเจียระไน
    หนีปราสาทเข้าป่าใหญ่ในทันที

    เดิน มาเหนื่อยนอนพักใต้ต้นตาล
    หูกุมารได้ยินเสียงอย่างถ้วนถี่
    บนต้นไม้มี ปักษานกอินทรี
    นางนกถามสามีวางแผนกิน
    [​IMG]

    “พรุ่ง นี้เราจะไปหาอาหารไหน”
    นกสามีตัวใหญ่ตอบโฉมฉิน
    “ไม่ต้องไปไหนไกลหรอก ยุพิน
    พรุ่งนี้เราจะกินเนื้อ “ ธรรมบาลกุมาร”

    นางนกยิ่งสงสัยต่อ ปัญหา
    จึงถามนกสามีว่าใครประหาร
    “ท้าวกบิลพรหมจะตัดหัวของกุมาร
    เพราะ ไม่ผ่านปัญหาท่านจำต้องตาย”

    นางนกถามต่อไปอย่างไรนี่
    แล้วปัญหา ที่มียากความหมาย
    ไหนท่านช่วยเล่าแจ้งให้กระจาย
    สามข้อหมายถึงอย่างไร ไหนชอบกล

    ข้อหนึ่ง ตอนเช้าราศีของมนุษย์อยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า
    ข้อสอง ตอนเที่ยงราศีคนอยู่ที่อก มนุษย์จึงต้องเอาเครื่องหอมประพรมที่อก
    ข้อ สาม ตอนค่ำราศีคนอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน


    ฝ่าย กุมารฟังคำตอบจนขึ้นใจ
    ต่อปัญหานกขานไขหายสับสน
    รีบกลับสู่ปราสาทที่ อยู่ตน
    กุมารพ้นด้วยวิชาปักษาแปร

    วันรุ่งขึ้นเป็นวันครบกำหนด
    ท้าวกบิล พรหมจ่อจดอย่างถ่องแท้
    ฝ่ายกุมารตอบไปตามกล่าวแก้
    นกเจ้าแฉเช่นไรให้ ท่านฟัง

    เมื่อคำตอบถูกต้องมิข้องขัด
    จึงได้จัดการวางแผนหัวตัวฝัง
    เรียก ธิดาทั้งเจ็ดพร้อมเอวัง
    มาร่วมฟังก่อนพ่อสิ้นลมหายใจ

    พ่อตัดเศียร บูชากุมารน้อย
    เจ้าจงคอยรับศีรษะพ่อเอาไว้
    หากว่าตกลงแผ่นดินลุกเป็น ไฟ
    โลกจะไหม้ในพริบตาจงระวัง

    หากเอาศีรษะพ่อโยนบนอากาศ
    ฟ้าฝน แล้งจะอนาถฟังพ่อสั่ง
    ถ้าทิ้งลงมหาสมุทรแห้งเกระกรัง
    พ่อขอสั่งนาง ทั้งเจ็ดเก็บให้ดี

    แล้วตัดเศียรส่งให้นางทุงษ
    แล้วก็ผละละโลกโศก ใบนี้
    ธิดาองค์โตเอาพานรับทันที
    ทำพิธีตามพ่อสั่งอย่างสงบ
    [​IMG]
    แห่ ประทักษิณรอบเขาสุเมรุ (60นาที)
    ก่อนบรรจุอัญเชิญไปในมณฑป
    ถ้ำคันธุร ลีเขาไกรลาสที่พานพบ
    แล้วบรรจบบูชาด้วยเครื่องทิพย์


    พระ เวสสุกรรมก็นฤมิตรแล้วด้วย แก้วเจ็ดประการชื่อ ภควดีให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็นำเอาเถาฉมุลาด ลงมาล้างในสระอโนดาตเจ็ดครั้งแล้วแจกกันสังเวยทุกๆ พระองค์ครั้งถึงครบกำหนด ๓๖๕ วัน โลกสมมติว่า ปีหนึ่งเป็นสงกรานต์นางเทพธิดาเจ็ดองค์ จึงผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม ออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วกลับไปเทวโลก ซึ่งลูกสาวทั้งเจ็ดของท้าวกบิลพรหมนั้น เราสมมติเรียกว่า นางสงกรานต์ มีชื่อต่างๆ ดังนี้ ทุงษ, โคราค, รากษส, มัณฑา, กิริณี, กิมิทา และ มโหทร





    คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ ๑๓,๑๔,๑๕ เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก

    ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์ มีดังนี้

    สงกรานต์ ที่แปลว่า "ก้าวขึ้น" "ย่างขึ้น" นั้นหมายถึง การที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน ที่เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ ๑๒ เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีก จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็น วันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ ในทางโหราศาสตร์

    มหา สงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือสงกรานต์หมายถึง ได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่มหาสงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว

    วันเนา แปลว่า "วันอยู่" คำว่า "เนา" แปลว่า "อยู่" หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา ๑ วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว


    วัน เถลิงศก แปลว่า "วันขึ้นศก" เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ ๓ ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิม สำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็น วันที่ ๓ ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ ไม่น้อยกว่า ๑ องศาแล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ ๒ หรือที่ ๓ ก็ได้

    วันสงกรานต์เป็นวัน เปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศแห่งพม่า ทรงตั้งขึ้นเมื่อปีกุนวันอาทิตย์ พ.ศ. ๑๑๘๑ โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ ๑ องศา ประกอบกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราช สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย ในปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ ๑๓ เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณี ก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธี ซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ ๑๓ จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี


    ปกติวันสงกรานต์จะมี ๓ วัน คือ เริ่มวันที่ ๑๓ เมษายน ถึงวันที่ ๑๕ เมษายน วันแรกคือวันที่ ๑๓ เป็นวันมหาสงกราต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที่ ๐ องศา) วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริงๆ มีถึง ๔ วัน คือวันที่ ๑๓ -๑๖ เป็นวันเนาเสีย ๒ วัน (วันเนาเป็นวันอยู่เฉยๆ) เป็นวันว่าง พักการงานนอกบ้านชั่วคราว

    จะเห็นได้ว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึง พ.ศ.๒๔๘๓ ทางราชการจึงได้เปลี่ยนไหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับ หลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ ประชาชนก็ยังยึดถือว่า วันสงกรานต์มีความสำคัญ


    ขอขอบคุณ
    .:+: Thaipoem Forever :+:.
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    เมื่อวานได้มีโอกาสขึ้นเขาไปกราบขอพรท่านหลวงปู่เคราและขอโอกาสรดน้ำเนื่องในเทศกาลสงกรานต์พร้อมทั้งสนทนาธรรมกับท่านบนถ้ำที่หุบเขาพระไตรลักษณ์ จ.เพชรบูรณ์ โดยเดินทางไปพร้อมกับพวกเราหลายคน นับว่าเป็นการเดินทางที่สุดๆ อีกเที่ยวหนึ่งเช่นกัน งานนี้ต้องขอขอบคุณ คุณกุ้งมังกร จากกระทู้พระวังหน้า ที่ช่วยขับรถ 4*4 ลุยขึ้นไปถึงถ้ำของหลวงปู่ฯ ทำให้พวกเราไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทางมากเกินไป และทำให้ได้ทันการถวายเพลหลวงปู่ด้วยเช่นกัน

    สุดท้ายจากกระทู้นี้ ขอให้พวกเราที่เข้ามาเยี่ยมชมในกระทู้ช่วงนี้ ทำจิตใจให้สบาย อย่าเครียดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยหลวงปู่ฯ ท่านบอกว่า ให้นึกถึงเรื่องที่ดีๆ เข้าไว้ โน้มอนุโมทนาบุญในสิ่งที่ดีๆ โดยยกตัวอย่างนางวิสาขาเป็นอนุสติ อย่าดูถูกในการอนุโมทนาบุญเป็นอันขาด หัดอนุโมทนาบุญให้เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นอนุโมทนาฯ ต่อผู้อื่น ต่อตนเอง บุญนี้เป็นเครื่องบำรุงจิตใจให้แจ่มใส เหมือนให้อาหารแก่ร่างกายทุกๆ วัน เมื่อจิตใจอิ่ม ก็เหมือนร่างกายอิ่ม ทำใ้ห้มีพลังกายและพลังจิตที่เข้มแข็ง ทำอะไรก็จักบรรลุผล และหากติดขัดปัญหาอะไร ก็ให้จุดธูป 16 ดอก ขอบารมีเทพพรหมเทวา ทุกชั้นฟ้าและชั้นดิน บอกท่าน เล่าให้ท่านฟัง โดยเอาบุญของตัวเองมาเป็นที่ตั้ง ท่านบอกว่า ด้วยบุญของเราที่ทำมาดี และด้วยบารมีของท่านเหล่านี้ อุปสรรคหรือปัญหาที่ติดขัด ก็จะหายไปเอง... ลองทำดูครับ เพราะบางครั้งเราเองมีปัญหาที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออก หรือไม่รู้จะแก้ยังไงอยู่บ้าง เราก็ต้องอาศัยฐานบุญเราที่มีอยู่ทั้งหมดนั่นแหละมาช่วย ทำนอง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนครับ ท่านให้หัดใช้กำลังตัวเองบ้าง อย่ามัวแต่เกาะชายจีวรพระพุทธเจ้า หรือพระอริยสงฆ์เจ้าที่นับถือเพียงอย่างเดียวครับ

    พันวฤทธิ์
    11/4/53

    Note: มาร่วมแผ่เมตตาให้ผู้ที่เสียชีวิตทั้งประชาชนและทหารเมื่อคืนนี้ด้วยครับ ขอให้ทุึกท่านไปสู่ภพภูมิที่ดีด้วยเทอญ

    <center><!-- google_ad_section_start -->เพลง ประกอบแผ่เมตตา..ไพเราะมาก..<!-- google_ad_section_end -->

    </center> <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> <fieldset class="fieldset"> <legend>ไฟล์แนบข้อความ</legend> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"> <tbody><tr> <td width="20"><input id="play_893" onclick="document.all.music.url=document.all.play_893.value;" name="Music" value="attachment.php?attachmentid=893" type="RADIO">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>เพลงประกอบแผ่เมตตา...wma (1.02 MB, 61974 views)</td></tr><tr> <td width="20"><input id="play_894" onclick="document.all.music.url=document.all.play_894.value;" name="Music" value="attachment.php?attachmentid=894" type="RADIO">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>Original Sound......wma (8.71 MB, 47918 views)</td></tr><tr> <td width="20"><input id="play_895" onclick="document.all.music.url=document.all.play_895.value;" name="Music" value="attachment.php?attachmentid=895" type="RADIO">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>ภาษาอังกฤษ.wma (4.36 MB, 29037 views)</td></tr> </tbody></table> </fieldset>
    <!-- google_ad_section_start -->เนื้อเพลงประกอบ แผ่เมตตา
    <table cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>Metta is a Pali word meaning loving-kindness. Metta chanting is the radiation of loving-kindness towards all beings: May they all be happy and peaceful. Imee Ooi chants the Pali beautifully. Metta chanting is soothing, uplifting, joyful and a great healing for the world - pervading it with waves of love. Truly, may all beings be happy. May they live always in peace and harmony.

    </td></tr></tbody></table>


    The Chant of Metta Text

    อะหัง อะเวโร โหมิ
    ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ปราศจากเวร
    Aham avero homi

    May I be free from enmity and danger

    อัพยาปัชโฌ โหมิ --
    ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความทุกข์ใจ
    abyapajjho homi

    May I be free from mental suffering

    อะนีโฆ โหมิ --

    ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความทุกข์กาย
    anigha homi

    May I be free from physical suffering

    สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ --

    ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข
    sukhi - attanam pariharami

    May I take care of myself happily

    มะมะ มาตาปิตุ --
    และขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า
    Mama matapitu

    May my parents


    อาจาริยา จะ ญาติมิตตา จะ--
    ครูอาจารย์ ปวงญาติ และ มิตร
    acariya ca natimitta ca

    teacher relatives and friends


    สพรหมะ จาริโน จะ --
    ผู้ประพฤติธรรมทั้งปวง
    sabrahma - carino ca

    fellow Dhamma farers


    อะเวโร โหนตุ --
    ขอจงเป็นผู้ปราศจากเวร
    avera hontu

    be free from enmity and danger


    อัพยาปัชฌา โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากความทุกข์ใจ
    abyapajjha hontu

    be free from mental suffering


    อะนีฆา โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากความทุกข์กาย
    anigha hontu

    be free from physical suffering


    สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ --
    ขอท่านจงมีความสุข
    sukhi - attanam pariharantu

    may they take care of themselves happily


    อิมัสมิง อาราเม สัพเพ โยจิโน --
    ขอท่านผู้ทรงสมาธิทั้งปวงในเขตนี้
    Imasmim arame sabbe yogino

    May all meditators in this compound


    อะเวรา โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากเวร
    avera hontu

    be free from enmity and danger


    อัพยาปัชโฌ โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากความทุกข์ใจ
    abyapajjha hontu

    be free from mental suffering


    อะนีโฆ โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากความทุกข์กาย
    anigha hontu

    be free from physical suffering


    สุขี อัตตานัง ปริหะรันตุ --
    ขอท่านจงมีความสุข
    sukhi - attanam pariharantu

    May they take care of themselves happily


    อิมัสมิง อาราเม สัพเพ ภิกขุ --
    ขอพระภิกษุผู้อยู่ในเขตนี้
    Imasmim arame sabbe bhikkhu

    May all monks in this compound


    สามเณรา จะ --
    และ สามเณร
    samanera ca

    novice monks


    อุปาสะกะ อุปาสิกาโยจะ --
    และทั้งอุบาสก อุบาสิกา
    upasaka - upasikaya ca

    laymen and laywomen disciples


    อะเวรา โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากเวร
    avera hontu

    be free from enmity and danger


    อัพยาปัชโฌ โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากความทุกข์ใจ
    abyapajjha hontu

    be free from mental suffering

    อะนีฆา โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากความทุกข์กาย
    anigha hontu

    be free from physical suffering

    สุขี อัตตานัง ปริหะรันตุ --
    ขอท่านจงมีความสุข
    sukhi - attanam pariharantu

    May they take care of themselves happily

    อัมหากัง จะตุปัจจายะ ทายะกะ --
    ขอท่านผู้เป็นทายกแห่งจตุปัจจัยทาน ทั้งสี่
    ( อันได้แก่ เสื้อผ้า อาหาร ยา และ ที่อยู่อาศัย)
    Amhakam catupaccaya - dayaka

    May our donors of the four supports: clothing, food, medicine and lodging

    อะเวรา โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากเวร
    avera hontu

    be free from enmity and danger

    อัพพยา ปัชฌา โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากความทุกข์ใจ
    abyapajjha hontu

    be free from mental suffering

    อนีฆา โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากความทุกข์กาย
    anigha hontu

    be free from physical suffering

    สุขี อัตตานัง ปริหะรันตุ --
    ขอท่านจงมีความสุข
    sukhi - attanam pariharantu

    May they take care of themselves happily

    อัมหากัง อารักขา เทวาตา --
    ขอเทวาผู้รักษาข้าพเจ้า
    Amhakam arakkha devata

    May our guardian devas

    อิมัสมิง วิหาเร --
    ในวิหารนี้
    Ismasmim vihare

    in this monastery

    อิมัสมิง อาวาเส --
    ในที่อยู่อาศัย
    Ismasmim avase

    in this dwelling

    อิมัสมิง อาราเม --
    ในอารามแห่งนี้
    Ismasmim arame

    in this compound

    อารักขา เทวาตา --
    ขอเทวาผู้รักษาสถานที่เหล่านี้
    arakkha devata

    May the guardian devas

    อะเวรา โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากเวร
    avera hontu

    be free from enmity and danger

    อัพพยา ปัชโฌ โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากความทุกข์ใจ
    abyapajjha hontu

    be free from mental suffering

    อะนีฆา โหนตุ --
    ขอท่านจงปราศจากความทุกข์กาย
    anigha hontu

    be free from physical suffering

    สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ --
    ขอท่านทั้งหลายจงเป็นสุข
    sukhi - attanam pariharantu

    may they take care of themselves happily

    สัพเพ สัตตา --
    ขอสัตว์ทั้งหลาย
    Sabbe satta

    May all beings

    สัพเพ ปาณา --
    ขอผู้มีลมหายใจทั้งปวง
    sabbe pana

    all breathing things

    สัพเพ ภูตา --
    ขอสิ่งมีชีวิตทั้งปวง
    sabbe bhutta

    all creatures

    สัพเพ ปุกกะลา --
    ขอสัตว์ทั้งปวง (ทั้งที่มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา)
    sabbe puggala

    all individuals (all beings)

    สัพเพ อัตภวา ปริยะปันนา --
    ขอสัตว์ผู้มีกายและใจ
    sabbe attabhava - pariyapanna

    all personalities (all beings with mind and body)

    สัพเพ อิตถีโย --
    ขอปวงสตรีทั้งหลาย
    sabbe itthoyo

    may all females

    สัพเพ ปุริสา --
    ขอปวงบุรุษทั้งหลาย
    sabbe purisa

    all males

    สัพเพ อริยา --
    ขอปวงพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    sabbe ariya

    all noble ones (saints)

    สัพเพ อนริยา --
    ขอปวงผู้ยังไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    sabbe anariya

    all worldlings (those yet to attain sainthood)

    สัพเพ เทวา --
    ขอเหล่าเทวา ทั้งหลาย
    sabbe deva

    all devas (deities)

    สัพเพ มนุสสา --
    ขอมนุษย์ทั้งหาย
    sabbe manussa

    all humans

    สัพเพ วินิปาติกา --
    ขอสัตว์ทั้งหลายอันมีกำเนิด 4
    sabbe vinipatika

    all those in the four woeful planes

    อะเวรา โหนตุ --
    ขอจงเป็นผู้ปราศจากเวร
    avera hontu

    be free from enmity and dangers

    อัพพยา ปัชโฌ โหนตุ --
    ขอจงเป็นผู้ปราศจากความทุกข์ใจ
    abyapajjha hontu

    be free from mental suffering

    อะนีฆา โหนตุ --
    ขอจงเป็นผู้ปราศจากความทุกข์กาย
    anigha hontu

    be free from physical suffering

    สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ --

    ขอท่านจงมีความสุข
    sukhi - attanam pariharantu
    may they take care of themselves happily

    ทุกขา มุจจันตุ --
    ขอสัตว์ทั้งหลายจงปราศจากความทุกข์
    Dukkha muccantu

    May all being be free from suffering

    ยัตถา ลัทธา สัมปัตติโต มาวิกัจชันตุ --
    ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำดี หรือ ทำไม่ดี
    Yattha-laddha-sampattito mavigacchantu

    May whatever they have gained not be lost

    กัมมัสสะกา --
    ตนย่อมเป็นเจ้าของกรรมนั้น
    Kammassaka

    All beings are owners of their own Kamma

    ปุรถิมายะ ทิสายะ --
    ณ เบื้องทิศตะวันออก
    Purathimaya disaya

    in the eastern direction

    ปัจฉิมายะ ทิสายะ --
    ณ เบื้องทิศตะวันตก
    pacchimaya disaya

    in the western direction

    อุตตระ ทิสายะ --
    ณ เบื้องทิศเหนือ
    uttara disaya

    in the northern direction

    ทักขิณายะ ทิสายะ --
    ณ เบื้องทิศใต้
    dakkhinaya disaya

    in the southern direction

    ปุรถิมายะ อนุทิสายะ --
    ณ เบื้องทิศตะวันออกเฉียงใต้
    purathimaya anudisaya

    in the southeast direction

    ปัจฉิมายะอนุทิสายะ --
    ณ เบื้องทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
    pacchimaya anudisaya

    in the northwest direction

    อุตตระ อนุทิสายะ --
    ณ เบื้องทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
    uttara anudisaya

    in the northeast direction

    ทักขิณายะ อนุทิสายะ --
    ณ เบื้องทิศตะวันตกเฉียงใต้
    dakkhinaya anudisaya

    in the southwest direction

    เหตถิมายะ ทิสายะ --
    ณ ทิศเบื้องล่าง
    hetthimaya disaya

    in the direction below

    อุปาริมายะ ทิสายะ --
    ณ ทิศเบื้องบน
    uparimaya disaya

    in the direction above

    สัพเพ สัตตา --
    ขอสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น
    Sabbe satta

    May all beings

    สัพเพ ปาณา --
    ขอผู้มีลมหายใจทั้งปวง
    sabbe pana

    all breathing things

    สัพเพ ภูตา --
    ขอสิ่งมีชีวิตทั้งปวง
    sabbe bhutta

    all creatures

    สัพเพ ปุกกะลา --
    ขอสัตว์ทั้งปวง (ทั้งที่มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา)
    sabbe puggala

    all individuals (all beings)

    สัพเพ อัตภวา ปริยะปันนา --
    ขอสัตว์ผู้มีกายและใจ
    sabbe attabhava - pariyapanna

    all personalities (all beings with mind and body)

    สัพเพ อิตถีโย --
    ขอปวงสตรีทั้งหลาย
    sabbe itthoyo

    may all females

    สัพเพ ปุริสา --
    ขอปวงบุรุษทั้งหลาย
    sabbe purisa

    all males

    สัพเพ อริยา --
    ขอปวงพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    sabbe ariya

    all noble ones (saints)

    สัพเพ อนริยา --
    ขอปวงผู้ยังไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    sabbe anariya

    (those yet to attain sainthood)

    สัพเพ เทวา --
    ขอเหล่าเทวา ทั้งหลาย
    sabbe deva

    all devas (deities)

    สัพเพ มนุสสา --
    ขอมนุษย์ทั้งหลาย
    sabbe manussa

    all humans

    สัพเพ วินิปาติกา --
    ขอสัตว์ทั้งหลายอันมีกำเนิด 4
    sabbe vinipatika

    all those in the 4 woeful planes

    อะเวรา โหนตุ --
    ขอจงเป็นผู้ปราศจากเวร
    avera hontu

    be free from enmity and dangers

    อัพพยา ปัชโฌ โหนตุ --
    ขอจงเป็นผู้ปราศจากความทุกข์ใจ
    abyapajjha hontu

    be free from mental suffering

    อะนีฆา โหนตุ --
    ขอจงเป็นผู้ปราศจากความทุกข์กาย
    anigha hontu

    be free from physical suffering

    สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ --
    ขอท่านจงมีความสุข
    sukhi - attanam pariharantu

    may they take care of themselves happily

    ทุกขา มุจจันตุ --
    ขอสัตว์ทั้งหลายจงปราศจากความทุกข์
    Dukkha muccantu

    May all beings be free from suffering

    ยัตถา ลัทธา สัมปัตติโต มาวิกัจชันตุ --
    ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำดี หรือ ทำไม่ดี
    Yattha-laddha-sampattito mavigacchantu

    May whatever they have gained not be lost

    กัมมัสสะกา --
    ตนย่อมเป็นเจ้าของกรรมนั้น
    Kammassaka

    All beings are owners of their own kamma

    อุทธัง ยาวะ ภะวัคคะ จะ --
    และสัตว์ในโลกธาตุอื่น ที่อยูสูงขึ้นไป
    Uddham yava bhavagga ca

    As far as the highest plane of existence

    อโธ ยาวะ อวิจจิโต --
    และสัตว์ในโลกธาตุอื่นที่อยู่เบื้องล่าง
    adho yava aviccito

    to as far down as the lowest plane

    สมันตะ จักกะวาเลสุ --
    สัตว์ทั้งหลายในจักรวาล
    samanta cakkavalesu

    in the entire universe

    เย สัตตา ปถวิจาระ --
    ไม่ว่าสัตว์ใดที่อุบัติบนพื้นปฐพี
    ye satta pathavicara

    whatever beings that move on earth

    อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ --
    ขอจงปราศจากทุกข์ใจ
    abyapajjha nivera ca

    may they are free of mental suffering and enmity

    นิทุกขา จะ นุปัททวะ --
    และความทุกข์ทางกาย
    nidukkha ca nupaddava

    and from physical suffering and danger

    อุทธัง ยาวะ ภะวัคคะ จะ --
    และสัตว์ในโลกธาตุอื่น ที่อยูสูงขึ้นไป
    Uddham yava bhavagga ca

    As far as the highest plane of existence

    อโธ ยาวะ อวิจจิโต --
    และสัตว์ในโลกธาตุอื่นที่อยู่เบื้องล่าง
    adho yava aviccito

    to as far down as the lowest plane

    สมันตะ จักกะวาเลสุ --
    สัตว์ทั้งหลายในจักรวาล
    samanta cakkavalesu

    in the entire universe

    เย สัตตา ปถวิจาระ --
    ไม่ว่าสัตว์ใดที่อุบัติบนพื้นปฐพี
    ye satta udakecara

    whatever beings that move on water

    อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ --
    ขอจงปราศจากทุกข์ใจ
    abyapajjha nivera ca

    may they are free of mental suffering and enmity

    นิทุกขา จะ นุปัททวะ --
    และความทุกข์ทางกาย
    nidukkha ca nupaddava

    and from physical suffering and danger

    เย สัตตา อุทักเขจารา --
    ขอสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในน้ำ
    Uddham yava bhavagga ca

    As far as the highest plane of existence

    อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ --
    ขอจงปราศจากทุกข์ใจ
    adho yava aviccito

    to as far down as the lowest plane

    นิทุกขา จะ นุปัททวะ --
    และความทุกข์ทางกาย
    samanta cakkavalesu

    in the entire universe

    อุทธัง ยาวะ ภะวัคคะ จะ --
    และสัตว์ในโลกธาตุอื่น ที่อยูสูงขึ้นไป
    ye satta akasecara

    whatever beings that move in air

    อโธ ยาวะ อวิจจิโต --
    และสัตว์ในโลกธาตุอื่นที่อยู่เบื้องล่าง
    abyapajjha nivera ca

    may they are free of mental suffering and enmity

    สมันตะ จักกะวาเลสุ --
    สัตว์ทั้งหลายในจักรวาล
    nidukkha ca nupaddava

    and from physical suffering and danger.


    เพลงประกอบแผ่เมตตา..ไพเราะมาก.. - Buddhism Audio
     
  16. nui99

    nui99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +185
    ผมได้โอนเงิน 200 บาท ขอร่วมทำบุญทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ ครับ ได้โอนวันที่ 12 เวลาประมาณ 12.13 น.ครับ
     
  17. channarong_wo

    channarong_wo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +1,510
    ก่อนสงกรานต์...ปีใหม่ปีนี้เพื่อให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ทั้งในแผนกและใกล้เคียง ได้มีโอกาสทำบุญ กับทุนนิธิสงฆ์อาพาธ
    เพราะเป็นบุญใหญ่ อยากให้พี่น้องได้ของดีติดตัว ก็เลยไปตามเก็บ ตามหาก่อนวันหยุดงาน ทั้งหมดได้มา 1700 บาท
    โอนเข้าไปแล้วนะครับ เวลา 15.02 น.ของวันที่ 12/04/10
    ขอโมทนาสาธุกับทุกๆท่านด้วยนะครับที่ได้ร่วมบุญกันมา รวมถึงพี่ๆตลอดจนพี่น้องทั้งหมดในทุนนิธิแห่งนี้
    ขอความสุขความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย....สำเร็จทุกคนนะครับ
     
  18. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101


    [​IMG]

    ตำนาน แหวนพิรอด

    เครื่องรางของขลังที่คนโบราณ นิยมกันว่าเป็นมงคลอีกอย่างหนึ่งก็คือ "แหวนพิรอด" ในปัจจุบันนี้ค่อนข้างหายาก และอาจารย์ที่ทำดูจะหายากตามไปด้วย นับเป็นวัฒนธรรมเครื่องรางโบราณอีกชนิดหนึ่งที่กำลังจะหายไปกับยุคโลกาภิวัฒ น์ หรือยุคเทคโนโลยี ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะนำพาสังคมไทยไปในรูปแบบใดจะเป็นการสร้างชาติหรือสิ้น ชาติที่หมาย

    ถึงการสูญเสียวัฒนธรรมเก่าๆไปแลกกับวัฒนธรรมขยะยุค ไอ.ที. (I.T.) ที่วัยรุ่นปัจจุบันมักมีพฤติกรรมแปลกให้เห็นอยู่เสมอๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ ฝากข้อคิดไว้นิดว่าชาติจะมีความหมายอะไร ถ้าหากเราไม่สามารถรักษาเอกลักษณ์คือวัฒนธรรมเอาไว้ได้

    แหวนพิรอดว่า มีสองชนิด

    ตามตำราไสยศาสตร์นั้นบอกเล่าเรื่องราวของ แหวนพิรอดว่ามีสองชนิด คือชนิดเล็กใช้สวมนิ้ว ชนิดใหญ่ใช้สวมแขน ซึ่งมักเรียกว่า “สนับแขนพิรอด” (ชนิดนี้บางทีทำด้วยโลหะผสมก็มี ตรงหัวทำเป็นเหมือนหัวแหวนพิรอด)

    ซึ่งสนับแขนนี้เดิมยังใช้เป็นอาวุธ ของนักมวยในการกอดปล้ำที่เข้าวงในเพราะแหวนแขนที่ทำจากด้ายดิบหากลงรักจะ แข็งและคมซึ่งใช้ถูกับผิวหนังนักมวยฝ่ายตรงข้ามทำให้เจ็บและไม่อยากเข้า ต่อสู้ด้วยการกอดปล้ำเป็นการจำกัดรูปมวยฝ่ายตรงข้ามเรียกว่าพาให้เขาเข้าทาง มวยฝ่ายเราซึ่งทำให้ได้เปรียบในเชิงการต่อสู้ ในปัจจุบันจะพบเห็นในการแข่งขันชกมวยไทยแต่ปัจจุบันคงเป็นแค่เครื่อง รางอย่างหนึ่งเท่านั้น

    วัสดุที่ใช้ทำแหวนพิรอด

    วัสดุที่ใช้ทำ แหวนพิรอดโดยมากทำด้วยกระดาษว่าวกับถักด้วยเชือก ตำนานแหวนพิรอดเมื่อย้อนยุคไปเมื่อสักเกือบศตวรรษนั้นแหวนพิรอดของหลวงพ่อ ม่วง วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีชื่อมากขนาด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่๕) ได้ทรงกล่าวถึงอาจารย์ที่สร้างแหวนพิรอดที่ขึ้นชื่อลือชาในสมัยที่พระองค์ ประสพพบเห็นโดยทรงพระราชนิพนธ์บันทึกไว้นี้สองท่านคือ รูปหนึ่งคือเจ้าอธิการเฮง วัดเขาดิน เป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้นำแหวนพิรอดมาถวายพระเจ้าลูกเธอที่ตามเสด็จ ได้ทรงวิจารณ์ไว้ว่า "เอาแหวนถักพิรอดมาแจกแหวนนั้นทำนองเดียวกับขรัวม่วงวัดประดู่ แต่ขรัวม่วงถักด้วยกระดาษลงรักนี่ถักด้วยด้ายทำเรียบร้อยดี" ซึ่งพอจะคะเนได้ว่าพระเถระทั้งสองรูปน่าจะเป็นเกจิอาจารย์ของเมืองกรุง เก่า(อยุธยา)

    แหวนพิรอดเดิมทีนั้นใช้วัสดุที่หาได้จากใกล้ๆตัวตาม วิถีชีวิตคนในสมัยนั้นคือมักทำด้วยกระดาษว่าว ก็เพราะเป็นกระดาษที่เหนียวแน่นดีกว่ากระดาษชนิดอื่น

    ลงยันต์แหวน พิรอด

    เมื่อจะต้องทำลงยันต์แหวนพิรอดในกระดาษยันต์นี้ประกอบด้วยรูป พระภควัม หรือเลขยันต์ตามแต่พระเกจิอาจารย์แต่ละสายจะกำหนดขึ้นซึ่งเรื่องนี้จะเห็น ว่าเป็นกลเม็ดเด็ดพรายตามแต่สำนักใดจะสร้างขึ้น โดยมีความเชื่อกันอยู่อย่างหนึ่งถึงวิธีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องรางแหวน พิรอดที่สร้างขึ้นว่ามีอิทธิคุณถึงขั้นหรือยังคือเมื่อทำแล้วให้ทดลองเอาไฟ เผาดู ถ้าไม่ไหม้ก็ใช้ได้ พระอาจารย์ผู้สร้างจึงจะนำมาตกแต่งเพื่อความมั่นคงทนทานและสวยงาม อันแหวนพิรอดนั้นโดยมากมักจะลงรักเพื่อป้องกันความชื้นซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้แหวนผุง่ายไม่คงทน

    ลอร์ดออฟเดอะริงค์ อย่างไทยๆ เรา

    ใน ตำราไสยศาสตร์นั้นยังระบุอธิบายวิธีใช้ไว้ว่า ถ้าจะเข้าสู้รบทำสงคราม ให้ถือแหวนกระดาษนี้แล้วบริกรรมด้วย "มะอะอุฯ" และถ้าจะให้เป็นตบะเดชะในสงคราม ทำให้ข้าศึกครั่นคร้าม ให้บริกรรมด้วยคาถา "โอม ยาวะ พะกาสะตรีนิสิเหฯ" ว่ากันว่าไม่แต่เพียงศึกมนุษย์ถึงศึกเทวดามาก็ไม่ต้องกลัว ซึ่งคงเป็นแบบเรื่องราวของ “ลอร์ดออฟเดอะริงค์”อย่างไทยๆ เรา

    ความ เป็นมาของเงื่อน

    เคยได้ยินคนรุ่นเก่าเล่ากันว่า แหวนหลวงพิรอด เรื่องนี้เห็นจะเป็นเพราะลากเข้าความกันมากกว่า เท่าที่อ่านพบจากการสันนิษฐานของนักปราชญ์ชาวตะวันตก(อิตาลี)ที่เข้ามารับ ราชการจนเป็นถึงเจ้ากรมยุทธศึกษาของกองทัพบกไทยคนแรกในการทหารยุคใหม่คือ ยี. อี.เยรินี (พันเอกพระสารสารขันธ์)กล่าวว่า “ชื่อ พิรอด มาจากภาษาสันสกฤตว่า วิรุทธ หรือ พิรุทธ แปลว่า อันขัดกันอยู่ อันได้รับการต่อต้านหรือขัดขวาง อันตรงกันข้ามเมื่อพิจารณาจากลายที่ถัก ก็ใช้ขัดกันแบบเงื่อนลูกเสือที่เรียกกันว่า เงื่อนพิรอด ก็ดูจะสมกับชื่อในภาษาสันสกฤตอยู่มาก เงื่อนพิรอดนั้นเป็นเงื่อนที่ใช้กันมาแต่โบราณนานมาก หลักฐานที่พอจะชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างได้ก็คือรูปสลักหินโบราณของพวกขอม จะเห็นว่าผ้าคาดเอวตรงด้านหน้าทำเป็นเชือกผูกเป็นเงื่อนพิรอดอย่างนี้เหมือน กัน เงื่อนชนิดนี้ยิ่งดึงยิ่งแน่น”

    คาถาอาคม ที่ใช้กับเงื่อน ขอเกจิอาจารย์ ต่างๆ

    เงื่อนพิรอดนั้นจัดเป็นเงื่อนสำคัญที่ใช้ในการ ต่อเชือกหรือการผูกโยงเพื่อความมั่นคงแน่นหนาอย่างวิชาเชือกคาดสายหลวงปู่ ขัน วัดนกกระจาบที่ต่อยุคมายังหลวงปู่ธูปวัดแค นางเลิ้ง กทม. ซึ่งพระเกจิอาจารย์ท่านนี้เป็นผู้ทรงคุณวิทยาสูงส่งเฉพาะด้านมหานิยมก็เข้ม ขลังขนาดอมตะดาราอย่าง คุณมิตร ชัยบัญชายังนับถือเป็นลูกศิษย์ซึ่งวงการผู้นิยมเครื่องรางก็ทราบกันดี โดยเชือกคาดสายหลวงปู่ขันนั้นเวลาคาดต้องขัดเป็นเงื่อนพิรอด มีคาถากำกับว่า“พระพิรอดขอดพระพินัย” และเวลาแก้เชือกก็มี

    คาถาว่า “พระพินัยคลายพระพิรอด” อันจะเห็นได้ว่าศาสตร์การใช้เงื่อนพิรอดนั้นยังสืบมาถึงเครื่องคาดอย่าง เชือกหรือการ ผูกตะกรุด พิสมรซึ่งต้องรวมถึงเครื่องรางโบราณอีกชนิดที่ปัจจุบันไม่ค่อยมีเกจิอาจารย์ สร้างก็คือ “ผ้าขอด” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องพิรอดด้วยโดยผ้าขอดนั้นจะเป็นการขัด “พิรอดเดี่ยว” เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเรื่องผ้าขอดในยุคเก่าๆเช่นหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ จ.อยุธยา หลวงพ่อกวย ชุตินธโร จ.ชัยนาท เป็นต้น ในส่วนเครื่องรางผ้าขอดสายวัดสะแก จ.อยุธยา ก็มีชื่อเช่นกันแต่เป็นฆารวาส ที่ชื่อว่า เฮง ไพรวัลย์ ลอยเรืออยู่ท่าน้ำวัดสะแกบางคนเรียก ว่า อาจารย์เฮงเรือลอยก็มี


    ตำนาน แหวนพิรอด
     
  20. ไชยชุมพล

    ไชยชุมพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +1,873
    เวลาประมาณเก้าโมงกว่า ๆ ของวันที่ ๙ เมษายนที่ผ่านมา คุณแม่ได้โอนเงินร่วมทำบุญประจำเดือนกับทุนนิธิ ฯ จำนวน ๕๐๐ บาทเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...