เทวาสุรสังคามสูตร

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 25 เมษายน 2010.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    นโมสัสสะ ภะคะวะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากิเลสพระองค์นั้น<O:p</O:p


    ด้วยผลานิสงส์การอ่านพระไตรปิฏก ที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้อันดีแล้วด้วยจิตบริสุทธิ์
    เพื่อการรักษาสืบสานพระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตราบนาน<O:p</O:p

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมคุณความดีทั้งปวงนั้น ตอบแทนบูชาผู้มีคุณธรรมทั้งปวง เทพไท้เทวดาผู้รักษาพระธรรม
    พระสยามเทวาธิราชทุก ๆ พระองค์ เทพยดาทุกองค์ พรหมทุกองค์ โปรดคุ้มครองปกปักอภิบาลรักษาประเทศไทย <O:p</O:p

    พร้อมทั้งพระแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
    เอกอัครศาสนูปถัมภกองค์พระประมุขของชาติ
    และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
    ขอจงทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนานมีความสุขเกษมสำราญในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ<O:p</O:p


    ขอแผ่กุศลผลบุญนี้ไปถึงอดีตพระบุรพมหากษัตราธิราชเจ้าวีรบุรุษวีรสตรีนักรบผู้กล้ารักษาแผ่นดินเมืองผู้ปกครองประเทศชาติราษฏรให้อยู่เย็นเป็นสุขทุกพระองค์ทุกท่าน

    ตลอดถึงคณะรัฐบาลข้าราชการทหารตำรวจผู้บริหารราชการแผ่นดิน
    ผู้รับใช้ประเทศชาติพระศาสนาด้วยความซื่อสัตย์สุจริตทั้งหลาย<O:p</O:p

    ขออานิสงฆ์มหาธรรมทานจงมีไปสู่ทุกสรรพชิวิต ทุกดวงจิตทุกดวงวิญญาณได้รับรสพระธรรมแล้ว
    ลดมานะ ละทิฐิ ความหลงผิด ติดอวิชชา แล้วต่างมีจิตสว่างไสว
    มีดวงตาเห็นธรรมเกิดปัญญาญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุดเทอญ

    นะโมพุทธานะ นิพพานะปัจจโยโหตุปูเชมิ<O:p</O:p
     
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๐
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ ปัณณาสกะที่ ๔
    อาสีวิสวรรค เทวาสุรสังคามสูตร


    [​IMG]

    เทวาสุรสังคามสูตร

    [๓๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามเทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสเรียกอสูรทั้งหลายว่า
    <O:p</O:p
    <O:p
    ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึงปราชัยไซร้ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดานั้นด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วพึงนำมายังอสูรบุรีในสำนักของเรา ฝ่ายท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ก็ได้ตรัสเรียกเทวดาทั้งหลาย ผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์มาว่า

    <O:p</O:p
    ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรพึงปราชัยไซร้ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรนั่นด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วพึงนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของเรา

    <O:p</O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงครามนั้นพวกเทวดาชนะ ทีนั้นแล เทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์ จองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ฯ

    [​IMG]
    <O:p</O:p
    <O:p
    [๓๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ อยู่ที่ประตูในเทวสภาชื่อสุธรรมานั้น ก็ในกาลใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า เทวดาทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมแล อสูรทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจะไปเทพนคร ในกาลนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรย่อมพิจารณาเห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำ ๕ ประการ และก็ย่อมเป็นผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์

    <O:p</O:p
    เมื่อใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า อสูรทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมแล เทวดาทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไปอสูรบุรี ในที่นั้นแล เมื่อนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรพิจารณาเห็นตนถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ และย่อมเสื่อมจากกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์

    <O:p</O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำของท้าวเวปจิตติจอมอสูรละเอียดอย่างนี้แล บุคคลผู้อันมารผูกแล้ว สำคัญอยู่ซึ่งเครื่องผูกแห่งมารว่า ละเอียดกว่าเครื่องจองจำของท้าวเวปจิตติจอมอสูรนั้น บุคคลไม่สำคัญเครื่องจองจำของมารว่าละเอียดกว่านั้น ย่อมพ้นจากมารผู้มีใจบาป ฯ<O:p</O:p
    <O:p

    [๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความสำคัญด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความสำคัญด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความสำคัญด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความสำคัญด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความสำคัญด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้)

    <O:p</O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่สำคัญอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p

    [๓๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความหวั่นไหวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น)ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น)ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป)ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ(เราจักไม่มีสัญญา) ความหวั่นไหวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินา-สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้)

    <O:p</O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลายความหวั่นไหวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลสให้หวั่นไหวอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

    [๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่าอสฺมิ (เราเป็น) ความดิ้นรนด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ฯลฯ ความดิ้นรนด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญีภ ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความดิ้นรนด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญีภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้)

    <O:p</O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลส ให้ดิ้นรนอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

    <O:p</O:p
    <O:p
    [๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความเนิ่นช้าด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ฯลฯ ความเนิ่นช้าด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญีภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความเนิ่นช้าด้วยทิฐิท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้)

    <O:p</O:p
    <O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลายความเนิ่นช้าเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่เนิ่นช้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p

    [๓๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความถือตัวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ความถือตัวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความถือตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความถือตัวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความถือตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความถือตัวด้วย สัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความถือตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราไม่มีสัญญา) ความถือตัวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้)
    <O:p</O:p


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีใจกำจัดมานะออกได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
    <O:p</O:p

    จบสูตรที่ ๑๐
    จบอาสีวิสวรรคที่ ๔
    เทวาสุรสังคามสูตร


    <O:p</O:p[MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.939940/[/MUSIC]​


    <O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2010
  3. ลุงชาลี

    ลุงชาลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,958
    ค่าพลัง:
    +4,763
    สาธุ สาธุ ขอโมทนา
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    http://palungjit.org/forums/ขம.ml#post3146526[.179/COLOR]<!-- google_ad_section_end --> ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบริจาคท่อส่งน้ำถวาย วัดเขาชี จ.พิษณุโลก<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->

    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแล้วตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาตินี้ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดีขอเจ้ากรรมนาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>เวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ และจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน

    <st1:personName ProductID="เวรทั้งหลาย จงมีความสุข" w:st="on"></st1:personName><st1:personName ProductID="เวรทั้งหลาย จงมีความสุข" w:st="on"></st1:personName>
    <st1:personName ProductID="เวรทั้งหลาย จงมีความสุข" w:st="on">และขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เทพยดาทั้งหลายที่ปกปักษ์รักษาข้าพเจ้า เทพยดาทั้งหลายทั่วสากลพิภพและพระยายมราช ขอเทพยดาทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้และจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด</st1:personName>
    <st1:personName ProductID="เวรทั้งหลาย จงมีความสุข" w:st="on"></st1:personName><st1:personName ProductID="เวรทั้งหลาย จงมีความสุข" w:st="on"></st1:personName>
    <st1:personName ProductID="เวรทั้งหลาย จงมีความสุข" w:st="on">และขอแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้บำเพ็ญมาแล้วตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาตินี้ ให้แก่ท่านทั้งหลายที่มีชีวิตอยู่ก็ดีที่ล่วงลับไปแล้วก็ดี ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี ที่เสวยความทุกข์อยู่ก็ดีเป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี อาทิ บิดามารดา เป็นต้นขอท่านทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์และความสุขเช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด</st1:personName>
    <st1:personName ProductID="เวรทั้งหลาย จงมีความสุข" w:st="on"></st1:personName><st1:personName ProductID="เวรทั้งหลาย จงมีความสุข" w:st="on"></st1:personName>
    <st1:personName ProductID="เวรทั้งหลาย จงมีความสุข" w:st="on">[COLOR=red][COLOR=blue][COLOR=red]และขอถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว [/COLOR][COLOR=red]สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ ทุก ๆ พระองค์[/COLOR][COLOR=red]ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน [/COLOR][COLOR=red]มีพระราชประสงค์สิ่งใดขอให้สำเร็จตามพระราชประสงค์ทุกประการเทอญ[/COLOR][/COLOR][/COLOR]</st1:personName>
    <st1:personName ProductID="เวรทั้งหลาย จงมีความสุข" w:st="on"></st1:personName><st1:personName ProductID="เวรทั้งหลาย จงมีความสุข" w:st="on"></st1:personName>
    <st1:personName ProductID="เวรทั้งหลาย จงมีความสุข" w:st="on">ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้ว ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด หากไม่สามารถเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ได้ ขอให้คำว่า ไม่มี ไม่รู้ ไม่เป็น ไม่สำเร็จ จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานเทอญ</st1:personName>
     
  4. ไม่กินผัก

    ไม่กินผัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2010
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +597
    ขอกราบอนุโมทนาสาธุการ

    ในมหาบุญมหากุศลนี้ด้วยความจริงใจค่ะ


    [​IMG]
     
  5. พอชูเดช

    พอชูเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,276
    ค่าพลัง:
    +4,339
    สาธุครับ

    -มหาโมทนากับกุศลจิต ขอให้สำเร็จตามที่ปรารถนาครับ

    สาธุ
     
  6. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,681
    ค่าพลัง:
    +9,239

    [​IMG]


    [​IMG]

    ขออนุโมทนาอย่างยิ่งค่ะ


     
  7. ampaporn

    ampaporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    207
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ขออนุโมทนาอย่างยิ่งค่ะ อ่านยากมากเลยพระไตร. แต่คนอ่านเสียงมีอำนาจดีจัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2010
  8. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    ขอน้อมอนุโมทนากับน้องบุญด้วยค่ะ สาธุๆๆ
     
  9. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    ดูกรภิกษุทั้งหลายความหวั่นไหวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี
    เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า
    เราจักมีใจไม่ถูกกิเลสให้หวั่นไหวอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

    อนุโมทนาคะคุณบุญ

     
  10. clearlove

    clearlove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +644
    ขออนุโมทนาสาธุครับ
    หาฟังยาก ถูกกาล ถูกสมัย

    เตือน ลีลาวดี เขียนปนบาป
     
  11. ampaporn

    ampaporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    207
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ขอแสคงความคิดเห็นเรื่องการอ่านพระไตร. นะคะ คำว่าดูกร นี้คุณอ่านว่า "กะระ" ฟังทะแม่งๆ คะ โดยทั่วๆไปเขาจะ อ่าน ดูกร (กอน,ก่อน) ก็อ่านเป็น "ดูก่อน" ฏิกษูทั้งหลายเป็นตั้น ติเพื่อก่อคะ อย่าโกรธกันนะคะ
     
  12. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ดูกร ( อ่านว่า ดูกะระ, ดูกอน) เป็นคำที่นิยมใช้สมัยโบราณ สมัยใหม่ใช้ว่า ดูก่อน



    [​IMG]


    อนุโมทนาสาธุการค่ะ ไม่รู้สึกโกรธอะไรเลยค่ะ ตรงข้ามถือว่าเป็น การเรียนเพื่อรู้ และ ต่อยอดความรู้ร่วมกัน สาธุมากมาย :cool: นะคะ


    สารภาพว่า โดยส่วนตัวชอบอ่านว่า "ดู-กะ-ระ" เพราะจำได้สมัยเด็กเรียนชั้นประถม คุณครูสอนให้อ่านอย่างนี้ และยินว่าไพเราะดี .... อีกประการ การอ่านประไตรปิฏกนี้ จริงแล้วอ่านยากค่ะ เพราะบางพระสูตรจะมีอักขระ วรรคตอน ต่างจากประโยคภาษาไทยทั่วไป การเลือกอ่านด้วย "ดู-กะ-ระ" จะรู้สึกเหมือนได้พัก ...และทอดน้ำเสียงด้วยค่ะ ... เชิญเจริญธรรมนะคะ





    [​IMG]






    คำว่า “ดูกร” อ่านว่า ดู-กะ-ระ (ตามหลัก)หรือดู-กอน (ตามความนิยม)<O:p</O:p
    ดูกร เป็นคำบุพบทชนิดหนึ่งที่เป็นบุพบทที่ไม่เชื่อมกับบทอื่น
    <O:p</O:p
    แปลมาจาก ภาษาบาลี, สันสกฤต หรือคำที่มาจากคัมภีร์ทางศาสนา หรือวรรณคดี โบราณใช้กำหนดคำนามหรือคำสรรพนาม ที่เป็นคำเรียกร้องหรือทักทายเกริ่นให้ผู้ฟังรู้ตัว ไม่ได้ใช้สำหรับเชื่อมคำ หรือข้อความที่ตามมา
    ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค เป็นการทักทาย ได้แก่คำว่า ดูกร ดูก่อน ดูรา ข้าแต่ ซึ่งนำมาจากภาษาบาลีและในปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว<O:p


    คำว่า “ดูกร” เป็นคำเริ่มต้น เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกตัวหรือเป็นคำเตือนให้ผู้ฟังรู้ตัวก่อนเพื่อจะได้ตั้งใจฟังต่อไป เป็นคำที่ ผู้ใหญ่ใช้กับผู้น้อย จะใช้เวลา แนะนำ ตอบ หรือ สั่ง เป็นต้น ใช้สำหรับคำร้องเรียก หรือคำบอกเล่าที่ <O:p</O:p
    <O:p

    ดูกร สำหรับภาษาเขียนที่เป็นแบบแผน ดั้งเดิม เป็นทางการ ซึ่งสมัยก่อนนิยมใช้

    ดูก่อน เป็นภาษาเขียนและภาษาพูด ในปัจจุบัน (ตามความหมายเดียวกัน)<O:p</O:p
    <O:p

    ดูกร เวลาอ่าน ต้องอ่านว่า “ดู-กะ-ระ” แต่ คนไทยอ่านตามความเคยชินว่า “ดู-กอน”
    <O:p</O:p
    การอ่านว่า “ดู-กะ-ระ” นั้น ฟังดูอาจจะคล้ายกับ “ดู-ก่อน” แต่ ในความนัยะจริงๆ นั้น ต่างกันมาก <O:p</O:p

    <O:p</O:p
    ว่า ดูกอน ในความหมายนี้ กร แปลตามพยัญขนะ ว่า การกระทำ ตามอรรถว่า ผู้กระทำ ในที่นี้ หมายถึง ผู้กระทำ ก็คือ บุคคล ผู้นั้น ผู้นี้ เป็นคำเรียกแทนชื่อ สมมุติว่า พระพุทธเจ้า จะตรัสกับพระสาวกรูปใดรูปหนึ่ง หรือ เป็นจำนวนมากนั้น ก็จะทรงตรัสว่า ดูกรอานนท์ หรือ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ในความหมายนี้ คือ อานนท์ เธอจงฟัง หรือ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงฟัง เพราะฉะนั้น ดูกร จึงหมายถึง จงฟัง <O:p</O:p
    <O:p
    ปัจจุบัน ในกาษาฮินดีที่ชาวอินเดียใช้เป็นภาษากลาง นั้น คือ คำว่า เดโข แปลตามตัว ว่า จงดู หรือ ดูสิ แต่ในภาษาพูด ถ้าใครไม่เคยชินจะแปลกใจ บางทีก็ใช้ในการบอกให้ฟัง เดโข เดโข แทนที่จะบอกว่า ดูสิ ดูสิ แต่หมายความว่า ฟังนะ ฟังนะ ทั้งๆที่ คำว่า ฟังนะ นั้นคือ สุโน หรือ สุน จงฟัง ซึ่งในภาษาบาลี ใช้คำว่า สุณาตุ อย่างที่เราเข้าใจกันในหัวใจนักปราชญ์ ว่า สุ จิ ปุ ลิ ฟัง พูด อ่าน(คิด) เขียน นั่นเอง<O:p</O:p

    ส่วนคำว่า ดูก่อน เป็นคำไทยที่แผลงมาจากคำว่า ดูกร อีกทีหนึ่ง และเป็นคำสองความหมาย <O:p</O:p
    ความหมายแรก คือ ดูกร <O:p</O:p
    ส่วนความหมายที่สอง คือ ดูก่อน ซึ่งหมายถึง ก่อนหรือหลัง
    <O:p</O:p
    ที่มาข้อมูล : อ่านภาษาไทยให้ถูกต้อง และ ดูกรกับดูก่อนใช้โอกาศไดบ้างคะ? <O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...