ชมรมนักปฏิบัติธรรมและคนมีองค์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Pleased, 30 พฤษภาคม 2009.

  1. nunnapath

    nunnapath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +256
    รูปพระแม่ตารา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. nunnapath

    nunnapath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +256
    วิถีชีวิตพระโพธิสัตต์

    วันนี้จะพูดให้ฟังถึงเรื่องแนวทางพระโพธิสัตต์ หลวงพ่อดาวเรืองที่วัดหนองหอยและหลวงย่าที่วัตรของเรา เป็นตัวอย่างของพระที่เดินตามแนวทางของพระโพธิสัตต์ เวลาที่พูดถึงพระโพธิสัตต์คนไทยมักจะเข้าใจว่าหมายถึงอดีตชาติของพระ พุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก่อนที่จะมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะได้บำเพ็ญพระชาติมาหลายสิบ ชาติ ในพระเจ้า ๕๐๐ ชาตินั้น เล่าถึงอดีต ๕๐๐ชาติของพระพุทธเจ้า แต่ในพระเจ้า ๕๐๐ ชาตินี้ส่วนหนึ่งจะเป็นเหมือนกับนิทานพื้นบ้าน แม้กระทั่งนิทานอีสป แม้กระทั่งรามเกียรติ์ก็สอดใส่เข้ามาอยู่ในพระเจ้า ๕๐๐ ชาติของเราด้วย คนไทยจะเข้าใจได้ว่าเมื่อพูดถึงพระโพธิสัตต์ก็คือพูดถึงอดีตชาติของพระ พุทธเจ้าย้อนไปเมื่อ ๔๙๙ ชาติ เราก็มีความรู้สึกว่าพวกเราอย่างเก่งก็ปรารถนาเป็นพระอรหันต์ จะไม่มีใครปรารถนาพุทธภูมิ ถ้าเราจะเป็นพระโพธิสัตต์คนไทยก็จะไม่ชอบ แล้วก็มีอคติว่าคนคนนี้จะทำตัวเทียบพระพุทธเจ้า อันนี้เป็นความเข้าใจค่อนข้างจะจำกัดเฉพาะในชาวพุทธในประเทศไทยเท่านั้น

    เถรวาทกับมหายานต่างกันโดยหลักใหญ่ใจความตรงนี้ ก็คือตรงที่ทั้งฝ่ายมหายานนั้นพิจารณาดูชีวิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า มองย้อนไปในอดีตว่าพระพุทธเจ้าได้สร้างบารมีมาอย่างไร ได้บำเพ็ญพระองค์เป็นพระโพธิสัตต์มาอย่างไร จึงจะได้มาถึง พระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในท้ายที่สุด แล้วมหายานก็เพียรพยายามที่จะดำเนินรอยตามวิถีชีวิตแบบนั้น ในขณะที่ฝ่ายเถรวาทจะถือเอาพระพุทธเจ้าองค์เดียวกันแต่จะปฏิบัติตามคำสอนของ พระองค์นับตั้งแต่วาระที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ธรรมอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนม์พรรษาได้ ๓๕ แล้วก็ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ในช่วง ๔๕ ปีนับแต่วันที่ตรัสรู้ แนวทางของเถรวาทจึงเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นเฉพาะตัว ในขณะที่แนวทางของสายมหายานจะมุ่งการปฏิบัติที่จะดำเนินแนวทางชีวิตเยี่ยง พระโพธิสัตต์ การที่จะดำเนินแนวทางเยี่ยงพระโพธิสัตต์มีจุดมุ่งหมายว่าในท้ายที่สุดเราก็ จะเข้าถึงพระพุทธภูมิ แต่บางคนนั้นมีบารมีแก่กล้าพร้อมที่จะเข้าถึงพุทธภูมิแล้ว บำเพ็ญบารมีมาครบถ้วนแล้ว แต่ก็ยังรออยู่ เพื่อที่จะช่วยรื้อสัตว์ ขนสัตว์ให้สรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากนั้นได้บรรลุธรรมพร้อมๆกัน อันนี้ก็จะเป็นความกรุณาของบรรดาพระมหาโพธิสัตต์ทั้งหลาย
    ในหนังสือที่ว่าด้วยพระโพธิสัตต์ในวรรณคดีสันสกฤตนั้น คนที่เขียนหนังสือที่สำคัญก็คือ HAR DAYAL เข้าใจว่าเป็นคนแขกอินเดีย ได้อธิบายโพธิสัตต์ภูมิเอาไว้ 10ขั้น ที่จะเพียรพยายามปฏิบัติขึ้นมา บนเส้นทางของการที่จะปฏิบัติเพื่อพุทธภูมิหรือแนวทางโพธิสัตต์นั้น เป็นแนวทางที่ไม่ได้ปรารถนาความหลุดพ้นเฉพาะตัว แต่ปรารถนาที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นด้วย เพราะฉะนั้นความรู้ความสามารถไม่ใช่เฉพาะในสิ่งที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นก็จำ เป็นสำหรับโพธิสัตต์ เพราะว่าถ้าความรู้ความสามารถเหล่านั้นอาจจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ในการที่จะช่วยให้เรารื้อสัตว์ขนสัตว์ได้มากขึ้น สะดวกขึ้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นกุศโลบายที่นำมาใช้ได้ทั้งสิ้น วิธีคิดของมหายานจะคิดกว้างขวาง สะท้อนออกในรูปแบบของการสร้างสถาปัตยกรรม วัดวาอารามของจีนจะใหญ่โต ที่อยู่อาศัยก็จะเป็นที่อยู่อาศัยด้วยกัน เป็นอาคารสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารใหญ่ แล้วก็จะอยู่ด้วยกัน อาหารการกินก็จะกินด้วยกัน ในขณะที่ฝ่ายเถรวาทสะท้อนออกในสถาปัตยกรรมการสร้างกุฏิสงฆ์ก็จะเป็นกุฏิ เล็กๆ เดี่ยว เพื่อมุ่งหวังการปฏิบัติเฉพาะตน หรือแม้สำนักแม่ชีบางแห่งอยู่กัน ๕๐ คนก็หุงข้าว ๕๐ หม้อ ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างกิน แต่ก็อยู่ในสำนักเดียวกัน อย่างนี้ก็คือท่าทีแตกต่างกันไป เราจะเห็นว่าในสมัยปัจจุบันนี้ ในขณะที่คนภายนอกมีปัญหาอย่างยิ่ง ทางมหายานเขาจะปรับตัวเองให้เข้ากับสังคม ออกมารับใช้สังคม ออกมาดูแลประโยชน์สังคมมากขึ้น ภิกษุณีรูปหนึ่งที่ไต้หวันเวลาที่เกิดทุพภิกขภัย เช่นแผ่นดินไหวตึกรามบ้านช่องล้มทับผู้คนตายจำนวนมาก ผู้คนไร้ที่พักที่อยู่อาศัยภิกษุณีรูปนี้ก็จะเข้าไปลุยไปตามเลน ตามโคลน ตามสลัม เพื่อที่จะช่วยกู้ชีวิตคนเหล่านี้ขึ้นมา มีอยู่ครั้งหนึ่งภิกษุณีรูปนี้บังเอิญไปยืนอยู่หน้าโรงพยาบาลเห็นผู้หญิง ท้องแก่มาอยู่ที่หน้าโรงพยาบาลแต่ไม่มีเงินจ่ายทางโรงพยาบาลก็ไม่รับต้องไป โรงพยาบาลอื่น พระภิกษุณีรูปนี้ตั้งอธิษฐานจิตว่าจะต้องสร้างโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษา พยาบาลกับคนยากจนโดยไม่คิดมูลค่า ก็ปรากฎว่าเมื่อท่านพูดขึ้นก็มีลูกศิษย์ลูกหาที่เห็นด้วยก็ช่วยกันหาเงิน สร้างโรงพยาบาล ไม่ใช่แต่สร้างโรงพยาบาลสำหรับมวลชนเท่านั้น ท่านยังสามารถสร้างวิทยาลัยที่จะอบรมสั่งสอนผลิตนายแพทย์ผลิตพยาบาลออกมารับ ใช้สังคม ด้วยการที่มีจิตใจเป็นโพธิสัตต์ช่วยเหลือคนที่ยากไร้ ให้ชีวิต ต่อชีวิต สำหรับคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ภิกษุณีรูปนี้ต่อมาได้รับรางวัลแม็กไซไซซึ่งเป็นรางวัลจากฟิลิปปินส์สนับ สนุนคนที่ทำงานเพื่อสังคม
    หลวงพ่อที่วัดหนองหอยก็เหมือนกัน งานของท่านก็ทำในลักษณะงานของพระโพธิสัตต์ ประการแรกที่ท่านทำก็คือมีโรงทาน ไม่ว่าใครจะไปจะมาท่านก็มีอาหารให้กิน แล้วก็เป็นอาหารบริสุทธิ์ เป็นอาหารมังสวิรัติ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตพระโพธิสัตต์ ส่วนมากถ้าเป็นพระโพธิสัตต์ที่เป็นนักบวช เขาจะต้องรับศีลข้อที่ไม่กินเนื้อสัตว์ เพราะฉะนั้นสายพระโพธิสัตต์สายจีนจะเป็นมังสวิรัติโดยปริยาย ไม่ใช่เรื่องโรงทานเท่านั้น แต่หลวงพ่อยังทำบ้านพักคนชรา ดูแลคนชราที่ไม่มีลูกหลานดูแล เป็นงานสังคมสงเคราะห์ เป็นงานที่โปรดคนยากจน สถานที่ที่พักบ้านคนชรานั้นแม้จะมีจำนวนคนชราอยู่เพียง ๒๐ คน แต่แท้ที่จริงแล้วสามารถจะอยู่ได้ถึงร้อยคน และเมื่อคราวที่จังหวัดราชบุรีเกิดทุพภิกขภัย ประชาชนบ้านช่องน้ำท่วม ก็ได้มาอาศัยบารมีหลวงพ่อเข้ามาอยู่บ้านพักคนชรานี่เอง
    อย่างนี้จะ เห็นว่างานของพระโพธิสัตต์เป็นงานที่เอื้อต่อคนอื่น เมื่อเราโกนผมเข้ามาบวช ไม่ใช่เราคอยให้คนเขากราบไหว้เราเท่านั้น สัญลักษณ์ของการที่โกนหัวบวชก็คือการที่จะบอกกับคนอื่นว่าเราจะช่วยอะไรคน อื่นได้บ้าง แม้กระทั่งวัตรปฏิบัติของการออกไปบิณฑบาต ผู้ที่เป็นนักบวชผู้ที่เป็นพุทธสาวกพุทธสาวิกา ก็ต้องทำหน้าที่ออกไปโปรดสัตว์
    ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่เราจะไปรับอาหารจะต้องไปบ้านที่ถวายอาหารดีๆเท่านั้น นั่นไม่ใช่จุดประสงค์ของการบิณฑบาต การบิณฑบาตก็คือการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มีโอกาสสัมผัสกับกุศล สัมผัสกับบุญ จึงเรียกการบิณฑบาตว่าการโปรดสัตว์ การออกบิณฑบาตจึงเป็นหน้าที่ประการหนึ่งของคนบวช เพราะฉะนั้นหลวงแม่จะชวนลูกทุกครั้งว่าวันนี้ออกบิณฑบาตใครจะตามไป แม้ว่าลูกยังไม่ได้บวชแต่การที่ลูกเดินตามหลังพระไปบิณฑบาตไ ปรับบาตรจากชาวบ้าน ลูกก็อยู่ในขบวนการของการสร้างกุศลทั้งสองฝ่าย ฝ่ายพระที่ไปโปรดสัตว์ญาติโยมและได้เห็นญาติโยมที่ตั้งใจมีจิตเป็นกุศลถวาย พระนี้เป็นการสร้างทั้งบุญกุศลทั้งสองฝ่าย งานของพระโพธิสัตต์นั้นไม่จบสิ้น แล้วแต่ว่าแต่ละคนอธิษฐานว่าจะช่วยเหลือทางใด
    สำหรับแม่กวนอิมนั้นเป็นปางของพระอวโลกิเตศวรพระอวโลกิเตศวร แปลว่าผู้พร้อมจะได้ยิน
    เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นปางของเจ้าแม่กวนอิมที่เรียกว่าปางสหัสเนตร สหัสกร พันมือพันตา แต่ละมือที่ยื่นออกมานั้นมีตากำกับ หมายถึงว่าพร้อมที่จะดูแลทุกข์สุขของประชาชนพร้อมที่จะช่วยเหลือด้วย มือที่ยื่นออกมานั้น อันนี้เป็นเพียงสัญลักษณ์คงไม่ใช่เป็นจริงอย่างนั้น แต่ว่าทำออกมาเป็นสัญลักษณ์ให้เราได้ตระหนักว่าอวโลกิเตศวรหมายความว่าอย่าง นั้น ทีนี้ อวโลกิเตศวรนั้นเดิมเป็นปางผู้ชายจากประเทศอินเดีย แต่เมื่อเดินทางไปสู่ประเทศจีน ที่ประเทศจีนนั้นมีเจ้าแม่แห่งท้องทะเลเพราะว่ามีชาวจีนที่ทำหน้าที่เป็น อาชีพชาวประมง หากินริมฝั่งแม่น้ำหากินริมฝั่งทะเล บรรดาสมาชิกที่ครอบครัวที่เป็นผู้ชายไม่ว่าจะเป็นปู่ไม่ว่าจะเป็นพ่อไม่ว่า จะเป็นลูกชายก็จะออกสู่ท้องทะเลไปจับปลา การออกทะเลแต่ละครั้ง ไม่เคยมีความแน่ใจเลยว่าลูกชายหรือผัวจะได้กลับมา
    ชาวจีนจึงสร้างรูปพระแม่แห่งท้องทะเลหันหน้าออกสู่ท้องทะเลเพื่อที่จะให้ปก ปักษ์รักษาบรรดาชาวประมงทั้งหลายที่ออกหาปลา เมื่อแนวความคิดเรื่องอวโลกิเตศวรซึ่งแปลว่าพระผู้ได้ยินไปถึงประเทศจีน จึงสานกันเข้ากับความเชื่อพื้นบ้านคือเชื่อในเทพเจ้าเชื่อในเจ้าแม่แห่งท้อง ทะเลจึงสานกันเกิดเป็นแนวความคิดใหม่ เกิดเป็น มโนทัศน์ในเรื่องของเจ้าแม่กวนอิม ทำให้อวโลกิเตศวรนั้นมีปางผู้หญิงเป็นกวนอิมซึ่งมีลักษณะเป็นผู้หญิง กวนอิมดั้งเดิมจะเป็นแปะกวานซีอิม แปะกวานซีอิมแปลว่าเจ้าแม่กวนอิมทรงชุดขาว เพราะอะไร เพราะท่านรักษาศีลบริสุทธิ์ตัวท่านเองรักษาศีลบริสุทธิ์ เวลาที่เราจะดูว่าองค์ไหนเป็นพระโพธิสัตต์ ดูตรงที่เหนือหน้าผากขึ้นไปบนศีรษะจะมีรูปพระพุทธรูปเล็กๆ ถ้ามีรูปพระพุทธรูปเล็กๆ แสดงว่าองค์นั้นเป็นพระโพธิสัตต์ รูปแม่กวนก็เหมือนกัน มีรูปพระพุทธรูปเล็กๆ อยู่ที่มวยผมแล้วก็จะครองชุดขาว แปะกวานซีอิม แม่กวนอิมดั้งเดิมที่สานความเชื่อพระโพธิสัตต์อวโลกิเตศวรเข้ากับเจ้าแม่ แห่งท้องทะเลได้รับความนิยมอย่างยิ่ง เพราะว่าเมื่อเป็นกวนอิมแล้วคนจีนก็จะเชื่อว่าเจ้าแม่กวนอิมนี้จะช่วย ผู้หญิง จะช่วยคนเจ็บ
    คนแก่จะช่วยคนที่ตกอยู่ในภัยพิบัติไฟไหม้จะช่วยคนที่เดินทาง เพราะฉะนั้นความเคารพความนิยมในการบูชาเจ้าแม่กวนอิมจึงมีมหาศาล เพราะไปสอดคล้องกันกับความต้องการทางจิตวิญญาณจิตใจของประชาชน ผู้ที่จะมาช่วยต้องเป็นผู้หญิง ความรู้สึกเรื่องอวโลกิเตศวรซึ่งเป็นเพศชายไม่รู้จะให้ไปช่วยอะไร ไปช่วยอะไรในบ้านในช่อง แต่ว่าผู้หญิงเรามีความทุกข์โศกไม่ว่าเรื่องลูกเจ็บ ไม่มีลูก บางคนไม่มีลูกไปอ้อนวอนขอจากเจ้าแม่กวนอิม มโนทัศน์เรื่องพระโพธิสัตต์ที่จะมาช่วยมนุษยชาติได้ดีกว่า จึงออกมาในปางของผู้หญิงมากกว่าที่จะเป็นปางของผู้ชาย ตรงนี้อาตมาเล่าให้ฟังว่า ทำไมอวโลกิเตศวรซึ่งเป็นปางผู้ชายจึงกลายเป็นกวนอิม พระโพธิสัตต์ฝ่ายกรุณาในปางผู้หญิงไปได้
    ทีนี้เล่าต่อไปอีกนิดหนึ่งว่าในประเทศธิเบตนั้นเขาไม่มีกวนอิม แต่เขามีพระนางตารา พระนางตารานี้มีสององค์ พระนางตาราขาว กับ พระนางตาราเขียวซึ่งถือว่าเป็นพระชายาของพระอวโลกิเตศวร ที่มีสององค์นี้สืบเนื่องมาจากประวัติศาสตร์การแผ่ขยายของพระพุทธศาสนาจาก อินเดียสู่ประเทศธิเบต กล่าวคือ เมื่อพระเจ้าสองสันกัมโปซึ่งเป็นกษัตริย์ธิเบตหันมารับนับถือพระศาสนาก็ได้ พระชายาสององค์ พระชายาองค์แรกเป็นเจ้าหญิงจากประเทศจีนชื่อเจ้าหญิงเวนเฉิง เจ้าหญิงเวนเฉิงเมื่อมาประเทศธิเบตท่านเป็นชาวพุทธฉะนั้นท่านก็นำพระพุทธรูป สำคัญที่พระนางเวนเฉิงนำมาก็ยังอยุ่ที่วัดหลวงในนครลาซา ส่วนพระชายาอีกพระองค์หนึ่งชาวพุทธอีกเหมือนกัน เป็นเจ้าหญิงที่มาจากประเทศเนปาล ชื่อเจ้าหญิงภริกุติ เจ้าหญิงภริกุตินี้เป็นผู้นำศาสนาพุทธมาช่วยกันเผยแผ่ในประเทศธิเบตเหมือน กันจึงเชื่อกันว่าเจ้าหญิงเวนเฉิงนั้นเป็นปางของพระนางตาราขาว ในขณะที่เจ้าหญิงหรือพระนางภริกุติ ที่มาจากเนปาลนั้นเป็นปางของพระนางตาราเขียว พระนางตาราขาวนั้นจะดูทุกข์สุขของปวงชนชาวธิเบตในเวลากลางวัน ในขณะที่พระนางตาราเขียวจะมีหน้าที่สอดส่องความทุกข์สุขของประชาชนในเวลา กลางคืน สังเกตได้จากดอกบัวที่ถือ ถ้าเป็นพระนางตาราขาวจะถือดอกบัวบานเพราะเป็นเวลากลางวัน ถ้าเป็นนางตาราเขียวจะถือดอกบัวตูมเพราะเป็นเวลากลางคืนอย่างนี้ เป็นต้น แต่ศิลปินที่วาดรูปนั้นส่วนมากแล้วเมื่อวาดดอกบัวก็จะวาดดอกบัวบานมันจะสวย กว่าดอกบัวตูมในแง่ของศิลปะ แต่ต่อมาได้มีการขยายพระนางตาราออกไปอีก มีพระนางตาราปางดุสีแดง สีดำ มีหลายสี แต่ดั้งเดิมนั้นมีแค่พระนางตาราขาวและพระนางตาราเขียวซึ่งก็เป็นสัญลักษณ์ ของผู้หญิงที่ชาวธิเบตไหว้กราบสักการะและก็เป็นที่นิยมมาก พระนางตาราขาวและพระนางตาราเขียวได้รับความนิยมมากในธิเบตพอๆกับที่เจ้าแม่ กวนอิมได้รับความนิยมอย่างยิ่งในตะวันออกไกล คือ ประเทศจีน ฮ่องกง เกาหลี ญี่ปุ่น
    ทีนี้พูดถึงชีวิตของคนที่เป็นพระโพธิสัตต์ ถ้าหากว่าเริ่มต้นเรายังไม่ได้รู้จักปรัชญา อะไรลึกซึ้งมากมาย จะสังเกตได้ว่า คนที่เคารพนับถือเจ้าแม่กวนอิมนั้น จะเลิกกินเนื้อวัว หลายคนไม่กินเนื้อสัตว์เลย เพราะว่าบูชาเจ้าแม่กวนอิม ถือว่าเจ้าแม่กวนอิมจะปกปักษ์คุ้มครองต่อเมื่อตัวเองปฏิบัติไปแนวทางเดียว กันกับเจ้าแม่กวนอิม คือว่าไม่ละเมิดชีวิตของคนอื่น อันนี้จะทำความเข้าใจได้ว่าหลวงพ่อที่วัดหนองหอยถือมังสวิรัติ เพราะว่าบูชาเจ้าแม่กวนอิมและปางใหญ่ท่านก็อยู่ที่นั่น จะทำให้เราเห็นแนวความคิดที่สอดคล้องไปกับการปฏิบัติคนที่ไปบวชเป็นภิกษุณี ที่ไต้หวันทุกคน ถ้าบวชภิกษุณีนะ ทุกคนจะถือมังสวิรัติทั้งสิ้น นับตั้งแต่หลวงย่าที่ไปบวชที่ไต้หวันซึ่งรับศีลโพธิสัตต์ ศีลโพธิสัตต์ฝ่ายบรรพชิตนั้นจะระบุเลยว่าให้งดเว้นเนื้อสัตว์ ในขณะที่ศีลโพธิสัตต์ฝ่ายฆราวาสยังไม่ได้กำหนดงดเว้นเนื้อสัตว์ แต่ให้เราเริ่มเพียรพยายามที่จะปฏิบัติในขั้นปรมัตถ์ต่อไป
    ในโอกาสหน้าจะ หาโอกาสเล่าเรื่องพระกษิติครรภ์ (ตี้ซ้งพู่ลัก) ให้ฟัง ซึ่งเป็นพระโพธิสัตต์อีกพระองค์หนึ่งที่ช่วยเหลือโปรดวิญญาณในนรก เป็นที่นิยมของคนจีนอยู่มากในการที่จะไหว้กราบพระกษิติครรภ์ เพราะด้วยความว่าเราไม่แน่ใจว่าพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ที่ตายไปแล้ว เราจะทำบุญถึงไหมถ้าหากว่าอยู่ในขุมนรกที่ลึกๆ มากลงไปนั้นอาจจะทำบุญไม่ถึง จะต้องฝากไปกับพระกษิติครรภ์โพธิสัตต์ เพราะว่าท่านได้อธิษฐานบารมีขอช่วยสัตว์นรกจนกว่าจะหมดนรกพูดกันว่าอย่าง นั้น
    เพราะฉะนั้นก็เป็นพระโพธิสัตต์อีกพระองค์หนึ่งที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตนรื้อสัตว์ขนสัตว์อย่างยิ่งอาตมา หยิบยกเรื่องราวของพระโพธิสัตต์มาเล่าให้ฟัง เพื่อให้เกิดความอ่อนน้อมในใจของเรา น้อมใจของเราลงเพื่อให้เห็นว่าแนวทางการปฏิบัติเส้นทางโพธิสัตต์นั้นจำเป็น ที่จะต้องมีความมั่นคง จำเป็นที่ต้องปฏิบัติในขั้นถวายชีวิตได้ ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาเพื่อแนวทางโพธิสัตต์เพื่อพระพุทธภูมิ ข้อสำคัญในการปฏิบัติของเรา ในการสละที่สำคัญที่สุดก็คือ การสละการยึดมั่นถือมั่นในตน สละกิเลสที่มันรุมเร้า ยึดครองจิตใจของเรา สละมันไปทีละขั้นๆ ยิ่งเราสละมาก ความมั่นคงของเราในสายพระโพธิสัตต์ก็จะมั่นคงขึ้น

    ขอเจริญพร.
    www.thaibhikhunis.org
     
  3. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    พระแม่กวนอิม คือใคร?

    เจ้าแม่กวนอิม คำว่า เจ้าแม่ บ่งบอกว่าเป็นสตรีเพศ
    คติความเชื่อเกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิม มีหลากหลายความคิด

    บ้างก็กล่าวว่า เจ้าแม่กวนอิม เป็นปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวร

    กำเนิดจากน้ำพระเนตรของพระองค์ที่ทรงเห็นบ่วงกรรมของมนุษย์

    แต่โดยแท้จริงแล้ว พระอวโลกิเตศวร มีศักติหรือชายานามว่า พระนางตารา
    และพระนางตาราองค์นี้เอง ที่เป็นพระญาณเดียวกับเจ้าแม่กวนอิมแห่งทะเลใต้

    พระโพธิสัตว์ตารา (Tara) หมายถึงพระผู้เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา
    พระองค์เป็นศักติของพระอวโลกิเตศวร ทรงเป็นพระโพธิสัตว์อีกพระองค์หนึ่ง
    ที่ได้รับการเคารพบูชาเป็นอย่างมากของชาวพุทธเนปาล ทิเบตและมองโกเลีย


    [​IMG]

    ในงานพุทธศิลป์ รูปเคารพของพระนางตารา ศิลปะแบบบายน คริตสตรรษที่ 7

    พระแม่ตารา องค์นี้ ได้รับการนับถืออย่างมากในอารยธรรมเขมร
    เรื่องราวของพระองค์มีการเชื่อมโยงกับบุคลสำคัญในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
    โดยเฉพาะคติรัตนตรัยมหายาน ประกอบไปด้วย
    พระพุทธรูปนาคปรก พระโลเกศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา (ตารา)<!-- google_ad_section_end -->

    คติเจ้าแม่กวนอิม ปางจีน

    เจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์ ของพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับ

    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในอินเดีย
    และได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของจีน คือตำนานเรื่องพระธิดาเมี่ยวซ่าน
    ก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน
    และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร
    ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจาก
    ในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาค
    เพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระ
    โพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น
    ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ

    อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า


    "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชา
    เทพเจ้าต่างๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน
    พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทาง
    วัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออก

    ว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"

    มีที่หน้าสังเกต เจ้าแม่กวนอิม ปางจีน ดูภายนอกเหมือนเพศสตรีทุกอย่าง
    แต่ไม่มีหน้าอกเช่นสตรีเพศ

    เดิมนั้นพระอวโลกิเตศวรทรงวิภูษณะอาภรณ์แบบมหาบุรุษ ตามแบบอินเดียโบราณ
    เมื่อมาถึงประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง ก็ยังคงศิลปะอินเดียแบบเปลือยพระอุระอยู่

    แต่พอมายุคหลังคือสมัยราชวงศ์หยวนพระอวโลกิเตศวรจึงเปลี่ยนรูปลักษณ์เป็นสตรีเพศ
    เนื่องจากคติความเชื่อในเรื่องขององค์หญิงเมี่ยวซ่าน ที่ทรงเคร่งครัดและทำนุบำรุง
    พระพุทธศาสนามาก ทรงเปี่ยมด้วยเมตตาการุญต่ออาณาประชาราษฎร์ ที่ในสมัยนั้น
    พระราชบิดาของพระองค์ทรงเป็นทรราชชอบทำศึกสงคราม ขูดรีดประชาชน ฯลฯ

    องค์หญิงพระองค์นี้ทรงถือกำเนิดมาเพื่อปลดเปลื้องทุกข์เข็ญของปวงประชาในครั้งนั้น

    ทรงยังให้พระราชบิดากลับพระทัยได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รูปปฏิมากรของ
    พระอวโลกิเตศวรเป็นสตรีที่มีความสวยสดงดงามเป็นยิ่งนัก


    [​IMG]

     
  4. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    [​IMG]

    พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เปล่งรัศมี เนื้อสำริด ศิลปะบายน อายุราว พ.ศ. 1720-1750 องค์นี้ เป็นพระโพธิสัตว์ ที่เราสามารถพบได้ ในปราสาทหิน แบบศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย เช่น ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ปราสาท บายน เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย ที่ยกเอาพระศิวะเป็นเทพสูงสุด ในคัมภีร์พระเวท เป็นทั้งผู้สร้างโลก และสร้างเทพเจ้าองค์อื่น ๆ เช่น พระพรหม พระนารายณ์ ซึ่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เปล่งรัศมี นี้ เชื่อกันว่า เป็นร่างอวตารร่างหนึ่งของพระศิวะ ที่เสด็จลงมา ปลดปล่อย ทุกเข็ญ ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลก ลวดลายที่เปล่งออกมา เป็นอานุภาพที่แสดงให้เห็นถึง พลังอันยิ่งใหญ่ และพรอันประเสริฐที่พระองค์ทรงประทานแก่มวลมนุษย์


     
  5. nunnapath

    nunnapath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +256
    พระนางตารา
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    พระนางตาราเขียวหรือพระศยามตาราโพธิสัตว์ Kumbm, Gyantse, Tibet, 2536

    พระนางตาราเป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงในพระพุทธศาสนาแบบทิเบต คำว่าตารามาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงข้าม การบูชาพระนางเริ่มเมื่อพุทธศตวรรษที่ 8 - 11 ในอินเดียเหนือและแพร่หลายที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 - 17 โดยถือว่าเป็นชายาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปัจจุบันมีนับถือในทิเบต ส่วนชาวพุทธในจีนจะนับถือเจ้าแม่กวนอิมที่เป็นภาคหญิงของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แทน
    เนื้อหา
    [ซ่อน]

    * 1 ประวัติการนับถือ
    * 2 กำเนิดและรูปลักษณ์
    o 2.1 พระนางตาราปางต่างๆ
    * 3 อ้างอิง

    [แก้] ประวัติการนับถือ

    คาดว่าแนวคิดการนับถือพระนางตาราเริ่มเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 8 และกลายเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือแพร่หลายในพุทธศตวรรษที่ 13-17 มีผู้นับถือมากในเนปาล ทิเบต และมองโกเลีย เชื่อกันว่าแนวคิดการบูชาพระนางตาราเริ่มขึ้นในอินเดียเพื่อต่อต้านพิธีกรรมสตี

    พระนางตาราได้รับการยกย่องว่าเป็นมารดาของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายในด้านของกรุณา ภาพลักษณ์ของพระนางส่วนหนึ่งจีนตนาการมาจากพระนางสิริมหามายาเทวี มารดาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
    [แก้] กำเนิดและรูปลักษณ์

    ตำนานทางพุทธศาสนามหายานกล่าวว่าพระนางตาราเกิดจากน้ำตาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เมื่อมองเห็นว่าสัตว์โลกมีแต่ความทุกข์ เมื่อน้ำตาของพระองค์ไหลลงมาจนกลายเป็นทะเลสาบ จึงเกิดดอกบัวขึ้น และในดอกบัวนั้นมีพระนางตาราสถิตย์อยู่ ตำนานบางฉบับกล่าวว่า พระนางตาราเกิดจากรังสีธรรมของพระอมิตาภะพุทธะ

    รูปลักษณ์ดั้งเดิมของพระนางตารามี 2 แบบ คือพระนางตาราเขียวมีผู้นับถือมากในทิเบต และพระนางตาราขาวมีผู้นับถือมากในมองโกเลีย เมื่อแนวคิดเกี่ยวกับการบูชาพระนางตาราพัฒนาขึ้น จึงมีการสร้างภาคโกรธและภาคดุขึ้นมาหลายแบบ เช่น พระนางตาราน้ำเงิน อุครตารา เอกชฎะ ภาคเอกชฎะนี้เป็นภาคดุที่แพร่หลายที่สุด กายสีน้ำเงิน มีตาที่สามบนหน้าผาก ตกแต่งร่างกายด้วยงูและพวงมาลัยศีรษะคน เหยียบอยู่บนร่างของคนตาย นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระนางตาราในภาคที่เป็นเทพแห่งความรักหรือเทพแห่งการ รักษาโรคอีกด้วย
    [แก้] พระนางตาราปางต่างๆ

    ในทิเบต พระนางตารามีหลายปางคือ

    * พระนางตาราขาว หรือ พระจินดามณีจักรตารา ทรงชุดขาวล้วน ถือดอกบัวบาน เป็นตัวแทนของความกรุณา มีพระเนตร 7 ดวง หมายถึงเฝ้ามองสรรพสัตว์อยู่ตลอดเวลา พระหัตถ์ขวาประทานพร พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว และทำมุทราไตรลักษณ์
    * พระนางตาราเขียว หรือพระศยามตารา ทรงชุดเขียวล้วน ถือดอกบัวตูมสีน้ำเงิน ออกโปรดสรรพสัตว์ในเวลากลางคืน
    * พระนางตาราแดง ทรงสีแดงทับทิม หมายถึงความปรารถนาของสรรพสัตว์ที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ประทับบนพระอาทิตย์
    * พระนางตาราดำ ทรงสีดำ หมายถึงสุญญตา ซึ่งเป็นความสามารถในการข้ามพ้นอวิชชา ความเห็นผิดต่างๆ

    [แก้] อ้างอิง

    * ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. ศูนย์ไทยทิเบต. 2538
    * สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะห้าพระองค์. กทม. ศูนย์ไทยธิเบต. 2547
     
  6. JIT_ISSARA

    JIT_ISSARA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +1,163
    อนุโมทนาครับ ผมเคยกระตุ้นจักระเหมื่อนกัน
    เหตุเกิดในขณะลืมตา ทำงาน
    -----------------------------------------------------------------
    ขณะที่ผมลืมตา ทำงานไป เปิดจักระไป และเชิญ บารมีลงมาด้วย โอม นะ โม พุท ธา ยะ และภวนาพระคาถาที่ผมบริกรรมตลอด รู้สึกชัดเลยว่ามีพลังงานบริสุทธิ์ ลงมาที่กระหม่อม ลงมาที่กลางใจ ลงไป Clear ตะกอนที่ตกค้างกลางใจ และระเบิดตะกอนที่ตกค้างกลางใจ และแผ่พลังงานบริสุทธิ์ออกจากกลางใจ ไล่ขึ้นมาที่กระหม่อม และทะลุออกไป หลังจากนั้น รู้สึกสดชื่น สบายใจ ใจ เบา สบายขึ้น
    ตอนนี้ รู้สึกพลังงาน โอม นะ โม พุท ธา ยะ มีอยู่ตลอด ทั่วร่างกาย ครับ เป็นพลังงานบริสุทธิ์ เบา สบาย
     
  7. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    อ้าวไหงท่านว่าข้าพเจ้าเยี่ยงนี้ล่ะ ตามที่คุณพลังเทพท่านพูดน่านแหละ..สมรปรางนั้น น่ารัก และสดใส เหอ..เหอ..ขอเพิ่มหน่อยร่าเริง คบง่ายด้วยละตัวเอง

    องค์ในจะเปนอะไรก็ตามแต่...เขาก็ถือว่าข้าพเจ้าก็มีร่างเปนหญิง บอบบางอ่อนแอในสายตาของเขาและต้องการการปกป้องใครมาหาเรื่องคุณหนูก่อนก็โดนเปนธรรมดาน่านแหละ
     
  8. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    เก่งจริงๆ นะ ตัวแค่เนี้ย หว่านสเน่ห์ไปทั่วนะจ๊ะ
    คิดอะไร ก็ขอให้สมหวังนะคร้าบ
     
  9. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    อย่าไปเชื่อท่านภราดรภาพเขาเพ้อเลย คุณหนูไม่เคยทำร้ายใครก่อนมันผิดกฏเพราะเปนการสร้างกรรมเพื่ม

    ...ท่านสอนให้ปล่อยวางเพื่อไม่ให้เกิดกรรมใหม่และตัดกรรมเก่าด้วยการนั่งกรรมฐานไม่มีอะไรจะตัดกรรมได้นอกจากการใช้อธิษฐานบารมี...เขาว่าปัญญาบารมีข้าพเจ้าน้อยจัง...(พูดใหม่ก็โดนว่าโง่นะ) ก็ต้องใช้บารมีส่วนอื่นแทน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2010
  10. wลังlnw

    wลังlnw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +108
    อันนารีที่น่ารักและสดใส หากเปี่ยมไปด้วยน้ำใจนั้นแล้วไซส์ ย่อมมีผู้พร้อมจะปกป้องเป็นธรรมดา ฉันใด


    แต่หากบุรุษเยี่ยงท่านภารดาภาพ ผู้มากล้นด้วยน้ำใจต่อกัลยาณมิตร ย่อม มีเทพเทวา คอยทิทักษ์ ตลอดเวลาเช่นกัน ฉันนั้น:cool:

     
  11. THE-O-PROTOTYPE

    THE-O-PROTOTYPE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +108
    ภาคอดีตความแห่งประเทศชาติแผ่นดิน

    ก่อแผ่นผืนพระธรณี สยามประเทศอันเปนไทย ปฐพีนาม
    พญาฅรุฑมกุฎฅรอบ สลักมอบไว้ ตราแผ่นดิน สืบไป
    ตั้งกอปร ณ. สิ่งการณ์ บรรพชนหมาย เหตุความ
    เปนสฐาณ พิทักษ์ศาสตร์ ฅงธำรงฅ์ ลุถึงกาล
    ที่ขอบรอยล่วงต่อ ตราบส่งถึง ปฐมภูมิ ยุคโลกา
    ผู้สัมฤทธิ์ สรรพธรรมวิชชา ถือประสูติ มงฅล
    ผู้ซึ่งจัก เผยสำแดง การพ้นทุกข์ สากลผล
    เจตจำนงค์ บรรพชน ประวัติความ คือนัย


     
  12. THE-O-PROTOTYPE

    THE-O-PROTOTYPE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +108
    ภาคปัจจุบันความหมายแห่งเหล่าท่าน

    ดั่งกลอนกาพย์โศก กลียุค ก่ออุบัติจริง
    พิเฅราะห์รอบ สรรพอุกฤษฎ์สิ่ง เฉกฉกรรจ์
    แลฤๅมาตรว่ายาก หากจักสมคาด บรรพชน
    บัดนี้แลเหล่าท่านจง สดับจิต พิจารณา
    สรรพวิชชา ซึ่งล้วน ฅุณูประโยชน์ การณ์ดล
    มิเว้นเพราะ
    สายปฏิภาณ ฤๅ สายฤทธา อันเปนผล
    โปรดตระหนัก ภารกิจ๐หน้าที่ ซึ่งแห่งตน
    ร่วมมุ่งฝ่าหน วิบัติการณ์ กอปรกู้สัญชาติวิญญาณฅน
    สนองฅุณ บุพกรรมชน ลงจารึกนามตน เปนตำนาน
    คือเสมือนดั่งที่เหล่าท่าน ศรัทธา ยึดถือนาม
    ซึ่งเหล่านั้นล้วนบำเพ็ญภพหาญ ณ. ยุคตน
    แม้หากองฅ์กอปรต่าง แต่ล้วน ฐาณจิตฅง
    ๐สุดเขตเส้นแดนขอบฟ้า คืออาณาจักรแห่งลูกหลานฃ้าฯสืบไป๐


     
  13. THE-O-PROTOTYPE

    THE-O-PROTOTYPE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +108
    ภาคอนาคตแห่งสรรพสิ่งการณ์

    อันทุกการณ์ล้วนซึ่งกำหนดด้วยจิตแห่งตน
     
  14. nomsod_nomsod

    nomsod_nomsod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +166
    คุณภราดรภาพคะ
    อยากทราบว่าตอนนี้ยังมีการจัดกิจกรรมนี้อยู่หรือเปล่าคะ ?

    สนใจมากๆเลยค่ะ

    ขอบคุณค่ะ
     
  15. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ตอนนี้ อยู่ระหว่างเตรียมการนะครับ
    หากได้วันเวลาที่เหมาะสมแล้ว จะแจ้งให้ทราบทันทีครับ
     
  16. JIT_ISSARA

    JIT_ISSARA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +1,163
    ดีครับ จะได้นับวันรอ
    ไปชมบารมี พี่ ภราดรภาพ ครับ
     
  17. nunnapath

    nunnapath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +256
    สมาชิกปูเสื่อรอแล้วค่ะ...เจ้าบ้านงานเข้าแล้ว
     
  18. kamomros

    kamomros เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +153
    เรียนถามท่านภราดรภาพครับว่าอยากเปิดตาที่สามจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างครับ
     
  19. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    คุณแสงธรรม หากกล่าวโดยรวมแบบหลักการนะครับ :


    [​IMG]

    ตาที่สาม หรือ ตาใน มักจะอ้างถึงความลี้ลับในตำแหน่งจักระที่ 6 (Brow Chakra) หรือกลางหน้าผาก เป็นที่สถิตของดวงจิตวิญญาณ แสดงให้เห็นถึงญาณทัศนะหรือสัมมาสัมโพธิญาณ มีมิติแห่งจินตภาพที่เกิดจากจิตใต้สำนึก และพลังชีวิตอมตะ ครับ แต่คนส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า ตาทิพย์ แต่จริงๆ แล้วเป็นมากกว่าตาทิพย์เยอะครับ

    ส่วนวิธีการเปิดตาที่สาม (Activate The Third Eyes) มีหลายวิธีครับ แต่ละวิธีจะประสบผลได้ ก็ขึ้นอยู่กับจริตของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญครับ เช่น

    เปิดแบบมโนมยิทธิ
    เปิดแบบวิชชาสาม
    เปิดแบบจักระ
    เปิดแบบราชาโยคะ
    เปิดแบบจิตระเบิด
    เปิดแบบรวมจิต
    เปิดด้วยมนตรา
    เปิดด้วยเพราะบารมีเก่าส่งผล
    เปิดแบบอื่นๆ ตามแตุ่บุญบารมี

    ก็ขอให้ท่านเจริญในธรรม
     
  20. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    พระรัตนตรัยมหายาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในงานพุทธศิลป์ รูปเคารพพระรัตนตรัยมหายานหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ศิลปแบบบายน ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กัมพูชา พระรัตนตรัยมหายานบนแท่นบูชา ซึ่งประกอบด้วย พระพุทธนาคปรก (ตรงกลาง) พระโลเกศวร (ขวามือ) และพระนางปรัชญาปารมิตา (ซ้ายมือ) ดังภาพถัดไป

    [​IMG]
    <O:p</O:p

    รูปเคารพพระพุทธนาคปรก (องค์กลาง) องค์นี้ คือ พระไภษัชยคุรุ ดูได้จากฝ่า พระหัตถ์ของพระองค์ทรงถือกล่องยาขนาดเล็กไว้ ทรงประทับในท่านั่งสมาธิราบอยู่บนดอกบัวเหนือบังลังก์นาคเจ็ดเศียร พระพักตร์มีลักษณะรูปเหลี่ยม ทรงอมยิ้มเล็กน้อย และพระเนตรปิด ซึ่งแสดงความรู้สึกที่เร้นลับ พระองค์ทรงนุ่งภูษาแบบเดียวกับรูปเคารพพระโลเกศวร (องค์ซ้ายมือ) ทรงสวมชฎามงกุฎทรงกรวยแหลม ลายกลีบบัวซ้อนกันสามชั้นอยู่บนมวยผม นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลต้นแขน กำไลมือ กำไลข้อเท้า ตุ้มหูยาวจรดไหล่ และกรองศอประดับด้วยอุบะห้อยโดยรอบ โดยปกติพระไภษัชยคุรุจะมีพระโพธิสัตว์ประจำพระองค์ คือ พระสูรยประภาโพธิสัตว์ (พระอาทิตย์) และพระจันทรประภาโพธิสัตว์ (พระจันทร์) แต่ได้ถูกแทนที่โดยพระโลเกศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา ตามลำดับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รูปเคารพพระโลเกศวร (องค์ซ้ายมือ) ทรงประทับยืนด้านขวาของพระพุทธนาคปรก มีสี่พระกร พระหัตถ์ล่างขวาทรงถือดอกบัวตูม พระหัตถ์บนขวาทรงถือสร้อยประคำ พระหัตถ์ล่างซ้ายทรงถือหม้อน้ำมนต์ และพระหัตถ์ซ้ายบนทรงถือพระคัมภีร์ใบลาน พระองค์ทรงนุ่งผ้าลายดอก มีขอบลวดลายชายผ้า และพับซ้อนปลายแยกออกจากกันเหมือนหางปลา ทรงสวมสายรัดองค์ที่ประดับด้วยอัญมณีขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง และมีอุบะสลักอย่างอ่อนช้อยห้อยโดยรอบ ทรงสวมชฎามงกุฎทรงกระบอกลาย กลีบบัวแบบตั้งตรงอยู่บนมวยผม โดยมีองค์พระพุทธรูปขนาดเล็กประดับอยู่บน มวยผม นอกจากนี้ยังทรงเครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลต้นแขน กำไลมือ กำไลข้อเท้า ตุ้มหูยาวจรดไหล่ และกรองศอประดับด้วยอุบะห้อยโดยรอบ
    <O:p</O:p

    <O:p</O:p

    ส่วนพระนางปรัชญาปารมิตา (องค์ขวามือ) ทรงประทับยืนด้านซ้ายของพระพุทธ นาคปรก มีสองพระกร พระหัตถ์ขวาทรงถือพระคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตรขนาดเล็ก และพระหัตถ์ซ้ายทรงถือดอกบัวตูม พระนางทรงนุ่งผ้าลายดอก มีขอบลวดลายชายผ้าและพับซ้อนกันยาวเหยียดลงมาเหมือนหางปลา ทรงสวมสายรัดองค์ ที่ประดับด้วยอัญมณีชนาดใหญ่ตรงกลาง และอุบะสลักอย่างอ่อนช้อยห้อยโดยรอบ ทรงสวมชฎามงกุฎทรงกรวยแหลมลายกลีบบัวซ้อนเป็นชั้นๆ อยู่บนมวยผม โดยมีองค์พระพุทธรูปขนาดเล็กประดับอยู่บนมวยด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังทรงเครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลต้นแขน กำไลมือ กำไลข้อเท้า ตุ้มหูยาวจรดไหล่ และกรองศอประดับด้วยอุบะห้อยโดยรอบ


    </O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...