มูลนิธิมายา โคตมี

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย paang, 27 ตุลาคม 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]


    การจัดตั้งมูลนิธิมายา โคตมี ได้เริ่มขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จากการดำริของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโกภิกขุ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการสนับสนุนด้านการศึกษาและจริยธรรมแก่เยาวชนที่ขาดแคลนในชนบท

    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่น ท่านอุปสมบทในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีหลวงพ่อเจ้าประคุณพระโพธิญาณเถร ( ชา สุภัทโท ) เป็นองค์อุปัชฌาย์

    ตลอดระยะเวลา ๑๖ ปีที่ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ในประเทศไทยนั้นท่านได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการธุดงค์เพื่อหาความสงบวิเวกไปตามภาคต่าง ๆ ท่านได้รู้จักและเห็นความเป็นอยู่ของคนไทยทั่วทุกภาค ทั้งรู้สึกสำนึกในความศรัทธา ความเสียสละ และความเคารพของคนไทยที่มีต่อพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีส่วนทำให้ท่านยิ่งเร่งทำความเพียรมากขึ้น

    ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๓๒ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก พร้อมลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่นอีกองค์หนึ่งชื่อ พระญาณรโต ได้ออกเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อเดินธุดงค์จากสนามบินนาริตะ ถึง PEACE MEMORIAL PARK เมืองฮิโรชิมา การเดินธุดงค์ครั้งนี้ใช้เวลาทั้งหมด ๗๒ วัน เป็นการเดินทางด้วยเท้ากว่า ๑,๐๐๐ กิโลเมตร รวมการเดินทั้งหมดประมาณ ๒ ล้าน ๒ แสนก้าว หลังจากนั้นท่านจึงได้อยู่จำพรรษา ณ วัด SHINAGAWA-JI ในกรุงโตเกียว

    การเดินธุดงค์ครั้งนี้ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก และพระญาณรโต ตั้งใจเดินเพื่อเป็นการระลึกถึงสันติภาพของโลก และตลอดการเดินธุดงค์นั้นท่านยังคงเคร่งครัดต่อพระวินัยโดยไม่มีการยืดหยุ่น คือการไม่ถือเงิน และการฉันมื้อเดียวด้วยการอาศัยอาหารที่ได้จากการบิณฑบาตหรืออาหารที่มีผู้จัดถวาย นอกจากนั้นพระภิกษุทั้ง ๒ รูป ยังได้สมาทานการเดินธุดงค์โดยไม่มีการนั่งรถ นับตั้งแต่สนามบินนาริตะ จนถึงเมืองฮิโรชิมา ดังนั้นระหว่างการเดินทางท่านจึงได้ประสบและพบเห็นกับสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้ท่านหวลระลึกได้ว่าสันติภาพที่แท้จริงจะเกิดขึ้นในโลกได้ก็ต่อเมื่อชาวโลกทั้งหลายละความเห็นแก่ตัว โดยการให้ทาน ๑๐ ประการ เป็นทานจักร แล้วสังคมของเรา โลกของเราก็จะมีแต่ความสงบ ความร่มเย็น โดยไม่ต้องสงสัย

    ในประเทศญี่ปุ่น เด็ก ๆ และเยาวชนได้รับการปฏิบัติราวกับเป็นสมบัติอันมีค่า เพราะชาวญี่ปุ่นถือว่าเด็กและเยาวชนคือทรัพยากรที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต และด้วยความปรารถนาที่จะเห็นเด็กไทยมีโอกาสเหมือนเด็กญี่ปุ่นบ้าง พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก จึงได้ปรารภปัญหาดังกล่าวรวมทั้งความประสงค์ในการสงเคราะห์เด็ก ๆ ของไทยแก่ญาติโยมชาวญี่ปุ่น ซึ่งท่านเหล่านั้นเมื่อได้ฟังแล้วก็ยินดีสนับสนุนในการจัดหาทุนเพื่อโครงการนี้กันอย่างเต็มที่ โดยเริ่มแรกได้ถวายทุนมาเป็นจำนวนเงิน ๑๖๐,๐๐๐ บาท

    ดังนั้น ในปลายปี พ.ศ.๒๕๓๒ เมื่อพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เดินทางกลับถึงประเทศไทย ท่านจึงได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความดำริของท่านและการสนับสนุนจากสาธุชนชาวญี่ปุ่นให้คุณสิริลักษณ์ รัตนากร คุณวิชา มหาคุณ คุณสุขสันต์ จิรจริยาเวช และคุณดารณี บุญช่วย ฟัง ท่าน ๔ ท่านเห็นดีและสนับสนุนในกุศลเจตนาของพระอาจารย์และมีความเห็นว่าน่าจะได้ดำเนินการในรูปของมูลนิธิ คุณสุขสันต์ จิรจริยาเวช และผู้ช่วยคือคุณสุกัญญา รัตนนาคินทร์ จึงได้เริ่มจัดตั้งและจดทะเบียนมูลนิธิจนแล้วเสร็จ เป็นมูลนิธิมายา โคตมี ในวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๓ โดยมีคุณมนูญ เตียนโพธิ์ทอง อนุเคราะห์สถานที่ให้เป็นที่ตั้งของมูลนิธิ

    สำหรับตราสัญญลักษณ์ของมูลนิธินั้น เนื่องจากมูลนิธิมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชน พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก จึงเห็นควรที่จะอัญเชิญพระรูปของพระพุทธองค์ปางประสูติประทับยืนบนดอกบัว เบื้องหน้าของวงล้อแห่งทานจักร ๑๐ ประการ อันเป็นหัวใจของมูลนิธิ เป็นสัญญลักษณ์ของมูลนิธิ โดยล้อมรอบด้วยวงกลม ๒ ชั้น ซึ่งภายในวงกลมด้านบนมีชื่อภาษาไทยว่า "มูลนิธิมายา โคตมี" ด้านล่างเป็นชื่อภาษาอังกฤษว่า "MAYA GOTAMI FOUNDATION "




    [​IMG]
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE class=txtContent11 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle bgColor=#e8e8e8 height=20>คณะกรรมการมูลนิธิ</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD>
    ชื่อมายา โคตมี มาจากพระนามของพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา และพระนางปชาบดีโคตมี พระมารดาเลี้ยงของพระพุทธ เจ้า เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของพระมารดาทั้ง ๒ พระองค์ ที่ได้ทรงทะนุ ถนอมเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะจนเติบใหญ่จนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรง เปี่ยมไปด้วยพระเมตตาและคุณประโยชน์ อันหาค่ามิได้แก่ชาวโลกตราบ เท่าทุกวันนี้


    มูลนิธิมายา โคตมี จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนการศึกษา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สิ่งจำเป็นอื่นๆ และจริยธรรม แก่เยาวชนไทย สัญลักษณ์ของมูลนิธิทำเป็นรูปพระพุทธองค์ ปางประสูติ ประทับยืนบนดอกบัวหน้าทานจักร เพื่อเป็นนิมิตหมายว่า การที่เราทั้งหลายร่วมมือร่วมใจกันหมุนทานจักร ๑๐ ประการนี้จะยังผลให้เยาวชนในอุปการะของมูลนิธิฯเติบโตขึ้น เป็นผู้ที่ได้รับการอบรมบ่มนิสัยให้มีความรู้ ความเฉลียวฉลาด มีกิริยามารยาทงดงาม มีจิตใจที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมเช่นเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะ ฉะนั้น

    </TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>ทานจักร ๑๐ ประการ ประกอบด้วย
    ๑. ให้ทานด้วย ทรัพย์สินเงินทอง
    ๒. ให้ทานด้วย สายตาที่เมตตาปรานี
    ๓. ให้ทานด้วย ใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
    ๔. ให้ทานด้วย วาจาที่ไพเราะน่าฟัง
    ๕. ให้ทานด้วย แรงกายโดยการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
    ๖. ให้ทานด้วย ใจ โดยยินดีอนุโมทนาเมื่อผู้อื่นทำความดี และเมื่อเขาได้ดี
    ๗. ให้ทานด้วย การให้อาสนะและที่นั่ง
    ๘. ให้ทานด้วย การให้ที่พักอันสะดวกสบาย
    ๙. ให้ทานด้วย การให้อภัย หรือ อภัยทาน
    ๑๐.ให้ทานด้วย ธรรมะ



    ผู้เริ่มก่อการและกรรมการมูลนิธิ



    นางสิริลักษณ์ รัตนากร ประธานกรรมการ
    นายวิชา มหาคุณ รองประธานกรรมการ
    นางสาวดารณี บุญช่วย กรรมการและเหรัญญิก
    นายสุขสันต์ จิรจริยาเวช กรรมการและเลขานุการ ​

    คณะกรรมการมูลนิธิมายา โคตมี

    ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์

    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ​

    ประธานมูลนิธิ

    พลโทหญิงภัทราวรรณ ตระกูลทอง ​

    รองประธาน
    คุณศิริศักดิ์ ถิรวัฒนางกูร
    คุณสุจิตรา หิรัญพฤกษ์ ​
    กรรมการ

    คุณเกียรติ วิมลเฉลา
    คุณกิตินันท์ อนุพันธ์
    คุณจิราพร ทรัพย์ชูงาม
    คุณณิชมน เรืองฤทธิ์ราวี
    คุณนิศากร วนาพงษ์
    คุณพาสินี ถิระธรรม
    คุณมยุรี ไตรรัตโนภาส
    คุณอดุลย์ ฉันตระกูลโชติ
    คุณอุษณีย์ เลิศรุ่งวิเชียร ​


    กรรมการและเหรัญญิก

    คุณดารณี บุญช่วย


    กรรมการและเลขานุการ

    คุณกิ่งแก้ว วิไลวัลย์



    [​IMG]ที่มา http://www.watpahsunan.org




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...