จับลมบ่อยๆ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย paang, 27 ตุลาคม 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]

    จับลมบ่อยๆ
    โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
    วัดป่าสุนันทวนาราม
    บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี


    คำนำ

    ท่านอาจารย์สอน "อานาปานสติ" แบบง่ายๆ เป็นธรรมชาติ อานาปานสติที่เป็นสมถะและวิปัสสนา สอนว่า การปฏิบัติต้องอาศัยทั้งสมถะและวิปัสสนา และสมถะและวิปัสสนาต้องพอเหมะพอดีกัน จึงจะได้ผลคือความสงบและปัญญาเพื่อพ้นทุกข์

    อนึ่ง พระธรรมเทศนาของท่านอาจารย์ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2537 มีเนื้อความตอนหนึ่งเกี่ยวเนื่องกับพระธรรมเทศนาในพรรษาปี 2535 น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ จึงได้ถอดเทปนำมาพิมพ์ไว้ด้วยกัน

    ขอให้ท่านได้รับประโยชน์จากการอ่านและการปฏิบัติตามคำสอนของท่านอาจารย์เถิด

    มูลนิธิมายา โคตมี
    มีนาคม 2546
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    จับลมบ่อยๆ
    พระธรรมเทศนาของพระอาจารย์ ในพรรษาปี 2535

    ............................................................


    การปฏิบัติภาวนาให้เราเริ่มต้นด้วยการสังวร
    สำรวมระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


    พยายามไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย พยายามรักษาความสงบของใจ โบราณาจารย์ท่านสอนอานาปานสติสำหรับทุกคน ทุกคนมีลมหายใจเข้าลมหายใจออกตลอดเวลา ท่านสอนอานาปานสติในอิริยาบถทั้ง 4 ยืนอานาปานสติเป็นอย่างไร เดินอานาปานสติเป็นอย่างไร นั่งอานาปานสติเป็นอย่างไร นอนอานาปานสติเป็นอย่างไร เราต้องปฏิบัติจนเข้าใจและทำได้ต่อเนื่องกัน จนเป็นนิสัยปกติธรรมดาของเรา

    อานาปานสติหมายความว่าการมีสติระลึกรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก การระลึกรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกมี 2 ลักษณะ คล้ายกับคำว่า
     
  3. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    การนั่งอานาปานสติทำอย่างไร

    การนั่งสมาธินี้สำคัญ นั่งให้ตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติระลึกรู้อยู่แต่ลมหายใจเข้าลมหายใจออกเท่านั้น อย่าใส่ใจกับอะไรทั้งนั้น ลมหายใจเข้าลมหายใจออกเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในโลกขณะนี้เดี๋ยวนี้สำหรับเรา อย่างอื่นในโลกไม่สำคัญ

    หน้าที่ของเราในขณะนี้มีแค่นี้ พยายามจ้องดูความรู้สึกที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก สติเหมือนคนเฝ้าประตู ลมคือคนที่เข้า-ออกประตู คนเฝ้าประตูก็เฝ้าอยู่ที่เดียว ไม่ต้องตามคนเข้าคนออก แต่รู้อยู่เห็นอยู่ว่าคนเข้าคนออก ตั้งสติระลึกรู้อยู่ที่เดียว จ้องอยู่อย่างนั้น อยู่ที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ต่อไปจิตก็จะสงบ ลมก็จะละเอียดเข้าๆ น้อมเข้าไปๆ จิตเบา กายเบา จิตจะค่อยๆ รวมเป็นอารมณ์เดียว ตั้งมั่นเป็นสมาธิ นั่นก็เป็นการนั่งอานาปานสติที่เราทำกันและเข้าใจกันทั่วๆ ไป

    ขณะที่จิตสงบเต็มที่และไม่รับอารมณ์ภายนอก ปัญญาไม่เกิด

    ปัญญาจะเกิดได้เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิดีอยู่ และรับรู้อารมณ์อยู่ ช่วงนี้ปัญญาจะเกิดได้ ผู้ปฏิบัติบางคนเข้าสมาธิได้และเมื่อเข้าสมาธิจิตก็สงบ แต่เมื่อออกจากสมาธิแล้วจิตไม่สงบเลย ยังคงฟุ้งซ่าน โกรธเหมือนเดิม ไม่มีปัญญาที่จะระงับกิเลสตัณหาของตัวเองได้เลย ไม่มีความสามารถพัฒนาตัวเองเลยก็มี แต่เขาตั้งใจแล้วก็ทำใจนิ่งสงบเป็นสมาธิได้

    ฉะนั้น เพื่อที่จะให้เกิดปัญญา สำคัญอยู่ตรงขณะที่กำลังจะออกจากสมาธิ เมื่อจิตสงบนิ่ง เป็นสมาธิ จิตก็จะค่อยๆ เคลื่อนออกมารับรู้อารมณ์ต่างๆ ช่วงนี้สำคัญ

    การเข้าสมาธิคล้ายกับการที่เรานั่งรถไปกราบเยี่ยมพระเจ้าอาวาสที่วัด วัดใหญ่ขนาดไหนก็ตาม พอเข้าวัดปุ๊บเดียวก็ถึงหน้ากุฏิเจ้าอาวาส ไม่ได้เห็นอะไร ยิ่งถ้าไปกลางคืนก็ยิ่งไม่เห็นอะไรเลย เมื่อเราพบ กราบมนัสการสนทนาพูดคุยกับท่านแล้วก็รีบขึ้นรถออกจากวัดเลย เข้าวัดแบบนี้กี่ครั้งๆ เราก็รู้จักแต่เจ้าอาวาส ไม่ค่อยรู้จักวัดเลย

    ถ้าจะให้รู้จักวัด ต้องใจเย็นๆ ให้เวลาเดินเที่ยว ไปดูที่ศาลาบ้าง เข้าไปที่โบสถ์ นั่งสมาธิบ้าง วันพระก็ไปถวายอาหาร รับศีลฟังธรรม รับศีล 8 ภาวนา นั่งสมาธิ เดินจงกรม ทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็น มีงานก็ไปช่วยงาน สร้างกุฏิ สร้างวิหาร ช่วยงานวัดสารพัดอย่างได้ จึงเรียกได้ว่าเรารู้จักวัดและเป็นลูกศิษย์วัด

    เมื่อเราเข้าสมาธิได้ก็เหมือนกัน ขณะที่จิตค่อยๆ ถอยออกจากสมาธิ ให้มีสติและสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม สังเกตดูรอบด้าน การสังเกตนี้เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้เกิดปัญญา ให้ตั้งใจสังเกตศึกษานามรูปนี่แหละ ค่อยๆ สังเกตดูเวทนาเกิด ความนึกคิดปรุงแต่งเป็นสังขารเกิด สัญญาเกิด ได้ยินเสียง ได้รับรู้เวทนาทางกาย อะไรต่ออะไรนี่แหละ ก็จะเกิดความรู้ เกิดปัญญา เห็นนามรูป เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชัดเจน

    สำหรับคนจำนวนไม่น้อยในสมัยนี้ที่มีภาระกิจมาก

    หากจะคอยเจริญสมถะให้สมบูรณ์สงบเต็มที่ นั่งสมาธิเป็นฌาณก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนา อาจจะไม่มีโอกาสเลยก็ได้ ถ้าเช่นนั้น เมื่อเจริญอานาปานสติจนจิตสงบพอสมควร มีกำลังพอสมควรแล้วก็เจริญวิปัสสนาควบคู่ไปเลย ก็ได้ผลเหมือนกัน แต่ที่สำคัญอย่างน้อยจิตต้องสงบพอสมควร คือ จิตไม่ฟุ้งซ่าน จิตสงบ จิตอยู่เป็นสมาธิอ่อนๆ

    เมื่อจิตมีกำลังพอสมควรแล้วก็กำหนดพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม หรือพิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณได้ ผู้ที่ปฏิบัติตามวิธีนี้ต้องพยายามทำจิตให้สงบควบคู่กัน และสลับกันไปกับการเจริญวิปัสสนา วิธีนี้อาจจะเหมาะสำหรับคนทั่วๆ ไป และก็จะทำให้เกิดปัญญา เกิดความรู้ในตัวเอง และรู้เห็นตามความเป็นจริงเหมือนกัน


    (มีต่อ ๒)
     
  4. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    [​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <HR>การเจริญวิปัสสนาคือการกำหนด สังเกต ดู ศึกษา
    ค้นหาความจริงในกาย ในใจ ของตัวเอง

    นามรูปมีอะไร เป็นอย่างไร กำหนดดูอะไรก็แล้วแต่ มีกาย มีเวทนา มีจิต มีธรรม ระลึกรู้ ลมหายใจเข้าก็สังเกตดู ลมหายใจออกก็สังเกตดู ลมเข้าลมออกคล้ายกล้องส่องดูจิต ดูความคิด ดูว่าความคิดเกิดขึ้นจากที่ไหนอย่างไร

    บางทีสงบอยู่ดีๆ จิตก็นึกไป เคลื่อนออกไปรับอดีตสัญญา เหตุการณ์ที่ทำให้เราไม่สบายใจเป็นทุกข์ แล้วก็จะเห็นความรู้สึกไม่สบายใจ ทุกขเวทนาก็ตามมา ความคิดไม่พอใจก็เกิดตามมาเป็นวิภวตัณหา จิตก็นึกไป คิดไปปรุงไป ความรู้สึกก็เปลี่ยนไป หนักเข้าๆ จนเกิดอารมณ์โมโหโทโส อาฆาตพยาบาทต่างๆ นานา

    บางครั้งก็นึกไปถึงสัญญาความทรงจำที่ชอบใจพอใจ นึกไปแล้วก็เกิดสุขเวทนา เกิดราคะตัณหา นึกไป คิดไป ปรุงไปต่างๆ นานา จนใจร้อน กายร้อน จนเป็นทุกข์นั่นแหละ

    เมื่อเราพยายามเฝ้าสังเกตดู ก็จะเห็นนามรูป
    เห็นขันธ์ 5 เห็นกระบวนการของจิตชัดเจนขึ้น

    เมื่อรูปมากระทบตา วิญญาณรับรู้ ก็จะเกิดการเห็น.........

    ก็รู้ว่ารูปเป็นรูป รู้เป็นนาม

    เมื่อเสียงมากระทบหู วิญญาณรับรู้ ก็จะเกิดการได้ยิน.........
    ก็รู้ว่าเสียงเป็นรูป รู้เป็นนาม

    เมื่อกลิ่นมากระทบจมูก วิญญาณรับรู้ ก็จะเกิดการได้กลิ่น.........
    ก็รู้ว่ากลิ่นเป็นรูป รู้เป็นนาม

    เมื่อรสมากระทบลิ้น วิญญาณรับรู้ ก็จะเกิดการรู้รส.........
    ก็รู้ว่ารสเป็นรูป รู้เป็นนาม

    เมื่อแข็ง อ่อน เย็น ร้อน เป็นโผฏฐัพพะมากระทบกาย วิญญาณรับรู้.........
    ก็รู้ว่าโผฏฐัพพะเป็นรูป รู้เป็นนาม

    เมื่อธรรมารมณ์ เช่น ความนึกคิดมากระทบใจ วิญญาณรับรู้.........
    ก็รู้ว่าธรรมารมณ์เป็นรูป รู้เป็นนาม

    เมื่อสัญญาเกิดก็รู้ว่าสัญญาเกิด เมื่อเวทนาเกิดก็รู้ว่าเวทนาเกิด เมื่อสังขารคือความนึกคิดปรุงแต่งเกิด ก็รู้ว่าสังขารเกิด เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชัดเจนขึ้น และเมื่อดูไปๆ ก็จะเห็นชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิมอีก คือเห็นว่ารูปนามสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องกันอย่างไร อุปมาเหมือนใครเป็นพ่อใครเป็นแม่ ใครเป็นลูกชายใครเป็นลูกสาว ใครเกิดก่อนเกิดหลัง ใครเป็นคนรับใช้ ใครเป็นแขก ใครเป็นเพื่อนของใคร ใครเป็นญาติของใคร ใครทำอะไร ช่วยใครอย่างไรทำนองนี้แหละ

    รูปธรรมนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย
    และเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกันอย่างไร

    เมื่อได้ยินเสียงที่ไม่ไพเราะ คำพูดดูถูกดูหมิ่นนินทาเรา ก็เกิดความรู้สึกทุกข์ แล้วบางครั้งก็คิดไม่พอใจ คิดไปตามกิเลสตัณหาจนเกิดอารมณ์ ติดอารมณ์ บางครั้งก็เก็บความรู้สึกไม่ได้ ความไม่พอใจก็ออกมาทางตา ทางหน้า จนตัวสั่น พูดคำหยาบ อาละวาดด้วยกิริยาต่างๆ แต่บางครั้งสติดี ปัญญาดี จิตโปร่ง ความคิดโปร่ง ใจเย็นได้ รีบระงับความรู้สึก ไม่เอาเรื่อง ให้อภัย ทำใจเป็นผู้ใหญ่ได้ เบาใจ ไม่ทำให้เดือดเนื้อร้อนใจทั้งตัวเองและคนอื่น ค่อยๆ เห็น ค่อยๆ เข้าใจ

    ก็จะมีปัญญามองเห็นได้ว่าอะไรผิด อะไรถูก
    อะไรชั่ว อะไรดี อะไรมีประโยชน์ อะไรมิใช่ประโยชน์

    ทำ พูด คิดอย่างไรจะก่อให้เกิดความทุกข์แก่ตัวเองและผู้อื่น
    ทำ พูด คิดอย่างไรจะก่อให้เกิดความสุขแก่ตัวเองและผู้อื่น
    ทำเหตุดี ก็จะออกผลดี
    ทำเหตุชั่ว ก็จะออกผลชั่ว

    ดังที่ชาวพุทธเราได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ ว่า
     
  5. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>การเฝ้าสังเกตดูตัวเอง พินิจพิจารณาศึกษาตัวเองนี้ ให้เราพยายามทำ เพื่อให้เข้าใจกระบวนการของจิตใจต่อเนื่องกัน

    โอปนยิโก น้อมเข้ามาๆ ให้มันเห็นชัดๆ ยิ่งๆ ขึ้นไป
    แล้วก็จะเห็น จะเข้าใจกระบวนการของจิตใจ
    ปฏิจจสมุปบาท ก็ปรากฏชัดเจนขึ้น
    รู้ว่าผัสสะเกิดทางตาก็ดี หูก็ดี จมูกก็ดี ลิ้นก็ดี กายก็ดี ใจก็ดี
    เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา คือ ความรู้สึกเป็นสุข ทุกข์ เฉยๆ
    เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา มี

    กามตัณหา ความทะยานอยากในกามคุณ รูปสวย เสียงไพเราะ
    กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสทางกายที่ดี เป็นต้น
    ภวตัณหา คือ ความทะยานอยากในความมี ความเป็น อยากเป็นโน่น
    อยากเป็นนี่ อยากมีโน่น อยากมีนี่
    วิภวตัณหา คือ ความทะยานอยากในความไม่มี ความไม่เป็น

    ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานยึดมั่นถือมั่น
    อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ
    ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ คือ ความเกิด
    เมื่อเกิดแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายในที่สุด

    ในการปฏิบัติ ถ้าเราสังเกตดู ก็จะเห็นว่า
    ความคิดที่คิดขึ้นมาเป็นภพ
    เมื่อเอาสัญญาเวทนามาปรุง นึกคิดปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราว
    มีเรามีเขาขึ้นมา ก็เป็นการเกิดแห่งอารมณ์ ก็เป็นชาติ
    ทั้งชาติดี (อารมณ์ดี) ชาติไม่ดี (อารมณ์ไม่ดี) เช่น ใจมันเสีย
    เสียใจ น้อยใจ คับแค้นใจ เศร้าใจ ห่วง หึง หงุดหงิดใจ
    ไม่สบายใจ ทำนองนี้แหละ.........

    ชาติ ความเกิด คืออารมณ์ดี อารมณ์ชั่ว การนึกคิดปรุงแต่งตามกิเลสตัณหา ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ......... ฯลฯ นั่นเอง
    ตั้งแต่อุปาทานยึดมั่นถือมั่น ภพ ชาติ เป็นตัวทุกข์

    ในการปฏิบัติ เมื่อเรา รับอารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ห้กำหนดรู้เท่าทันอารมณ์ว่า.........
    สักแต่ว่าเห็น......... สักแต่ว่าได้ยิน
     
  6. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <HR>สมถะและวิปัสสนา สองอย่างนี้ต้องพอเหมาะพอดีกัน

    การปฏิบัติธรรมหรือการศึกษาดูตัวเองนั้น ควรเริ่มต้นด้วยการรักษาศีล ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 และอินทรีย์สังวร สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเจริญสมาธิ ภาวนาระงับนิวรณ์ 5 ให้มีสมถะขึ้น เพื่อเจริญวิปัสสนาต่อไป

    การปฏิบัติต้องอาศัยทั้งสมถะและวิปัสสนา
    สองอย่างนี้ต้องพอเหมาะพอดีกัน จึงจะได้ผลคือความสงบ
    เป็นจิตสงบที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ
    เป็นความสงบที่มี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาในตัว
    เปรียบเทียบว่ากำลังอันนี้คล้ายกับกล้องจุลทรรศน์
    ทีแรกกำลังขยายยังน้อย เมื่อดูกาย เวทนา จิต ธรรม
    ก็จะเห็นได้เพียงระดับหนึ่ง

    เมื่อสร้างกำลัง ปรับกำลังได้มากขึ้น
    จะน้อมเข้ามาได้อีก ก็จะเห็นได้มากขึ้นอีกระดับหนึ่ง
    เมื่อสร้างกำลัง ปรับกำลังได้มากขึ้นอีก
    จะสามารถน้อมเข้ามาได้มากขึ้น และเห็นชัดละเอียดขึ้นอีก
    สร้างกำลัง ปรับกำลัง ขยายเพิ่มขึ้นอีก
    ก็จะน้อมเข้ามาอีก จนในที่สุด จะรู้แจ้งเห็นตามความเป็นจริงได้ว่า

    ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่มีตัว ไม่มีตน
    ทั้งกิริยาที่ดูและสิ่งที่ดู ก็ที่เดียวกัน
    แต่ความรู้เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตั้งแต่หยาบจนกระทั่งละเอียดขึ้นๆ


    ผู้ปฏิบัติธรรมควรเข้าใจและฉลาดในการกำหนดสมถะและวิปัสสนา
    สมถะ เป็นการสร้างกำลังและพักผ่อน
    วิปัสสนา เป็นตัวทำงาน
    ถ้าพยายามทำงานมาก แต่ไม่มีกำลังพอ ก็จะไม่ได้ผล
    ถ้ามีแต่สมถะ มีกำลังแต่ไม่ทำงาน ก็จะไม่ได้ผลอีก
    ต้องให้สมถะและวิปัสสนาพอเหมาะพอดีกัน
    รู้จักพอเหมาะพอดี จึงจะได้ผล......... เอวัง



    (มีต่อ ๕)
     
  7. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ฝึกจิตใจให้มีที่ทำงาน
    ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2537

    ............................................................


    การเจริญกรรมฐานเป็นกิจวัตรประจำวันของเราชาวพุทธเป็นสิ่งสำคัญ ปกติจิตใจของเราคิดไปสารพัด คิดอดีต คิดอนาคต ทั้งสิ่งพอใจ ไม่พอใจ คิดไปเรื่อยๆ

    ถ้าเราไม่ได้ปฏิบัติ ปกติเราคิดอะไรเราก็ไม่รู้ ในวันหนึ่งๆ เราก็ไม่รู้ว่าเราคิดอะไรบ้าง นี่เป็นลักษณะของจิตใจของเราโดยทั่วๆ ไป บางคนที่ไม่สงบมาก นอนก็คิด ฝันไปหลายชั่วโมง ตื่นขึ้นมาก็ปวดหัว เหนื่อย ฝันร้าย เหงื่อแตก สารพัดนอนไม่สงบ ติดอารมณ์แล้วก็ฝันสารพัด

    นี่คือจิตที่ไม่ได้ฝึก จิตที่คิดมาก เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง ยิ่งคิดมากก็ยิ่งทุกข์ คิดน้อยๆ ก็ทุกข์น้อย คิดมากทำให้อารมณ์รุนแรง คิดไปตามกิเลสตัณหา ตามอำเภอใจ เคยคิดอย่างไรก็คิดอย่างนั้น

    กรรมฐาน คือที่ทำงาน กรรมคืองาน ฐานคือที่ กรรมฐานคือการทำให้จิตใจมีที่ทำงาน เช่น อานาปานสติ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

    กรรมฐานคือการทำให้จิตใจมีที่ทำงานนั้น มี 2 อย่าง คือ การทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ สงบ การทำให้จิตใจสงบนิ่ง เมื่อจิตนิ่งแล้วก็ให้จิตทำงานให้รู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะธรรม ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง นี่เป็นวิปัสสนากรรมฐาน

    การปฏิบัติเราเริ่มต้นด้วยสมถะกรรมฐาน คือทำจิตใจให้สงบก่อน สมถะกรรมฐานมีอยู่ 40 วิธี แล้วแต่ว่าจริตของแต่ละคนจะเหมาะสมกับวิธีใด แต่สำหรับทุกจริตการเฝ้าดูลมหายใจเข้าลมหายใจออกก็ใช้ได้ เพราะทุกคนมีลมหายใจและมีตลอดวัน


    อานาปานสติจึงเหมาะสมกับทุกคน ทุกจริต ทุกสถานที่
    จิตของเราปกติก็ชอบคิด คิดไปแล้วก็ร้อนใจ
    คิดสิ่งที่ชอบก็เกิดพอใจ เกิดราคะ คิดๆ ๆ ๆ ไป ใจก็ร้อน
    คิดสิ่งที่ไม่พอใจ ก็คิดๆ ๆ ๆ เกิดโทสะ ก็เดือดร้อนด้วยโทสะ ก็ร้อนอีก
    ร้อนทั้งสองอย่าง คิดสิ่งที่ยินดีก็ร้อน คิดสิ่งที่ยินร้ายก็ร้อน เป็นทุกข์
    บางทีคิดแล้วก็เกิดน้อยใจ อาฆาตพยาบาท

    ถ้าคิดอยากได้ พอไม่ได้ ก็ร้อนอีก คิดแล้วก็กลุ้มใจ
    คิดอย่างไรก็ร้อนเป็นทุกข์ทั้งนั้น
    ฉะนั้นจึงพยายามคิดถึงสิ่งที่เป็นกลางๆ
    เช่น ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

    คิดแล้วเป็นกลางๆ ใจสงบ

    การระลึกถึงลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
    ทำให้ใจสงบ มีความรู้สึกเป็นกลางๆ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย


    เพราะฉะนั้น ท่านจึงให้เจริญกรรมฐาน
    นึกถึงลมหายใจเข้า ลมหายใจออกบ่อยๆ เป็นอารมณ์กลางๆ
    ลมหายใจเข้านึกพุท ลมหายใจออกนึกโธ
    นึกถึงลมหายใจได้มากเท่าไร จิตก็สงบมากเท่านั้น
    ไม่ร้อน ทำบ่อยๆ จะทำเพียง 10 นาที 15 นาทีก็ตาม

    พยายามทำบ่อยๆ พยายามเจริญให้มาก
    อารมณ์ของเราก็จะค่อยๆ เย็น ไม่ร้อน ใจไม่ร้อน ใจเย็น
    จิตที่ไม่สงบมักจะมีอารมณ์ร้อน ยินดี ยินร้าย
    ติดอารมณ์ อารมณ์ที่พอใจ อารมณ์ที่ไม่พอใจ
    เราก็เป็นทุกข์ ถ้าเรามีกรรมฐาน จิตก็สงบ


    (มีต่อ ๖)
     
  8. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><HR>
    ปกติร่างกายเราก็ทำงานสารพัดอย่าง
    แต่เราไม่ค่อยฝึกจิตของเราให้ทำงาน


    ในฐานะชาวพุทธเราต้องรู้จักวิธีที่จะทำให้จิตทำงานอย่างถูกต้อง
    การดูลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
    พยายามระลึกถึงลมอย่างเดียว ก็เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายๆ
    การออกกำลังกาย เราต้องวิ่ง
    ถ้าต้องการให้สุขภาพแข็งแรง เราต้องวิ่ง ต้องเคลื่อนไหว

    สำหรับจิตใจก็ตรงกันข้าม ต้องหยุด พยายามหยุดคิด
    เรื่องอดีต เรื่องอนาคต ปล่อยวางไว้ก่อน
    ระลึกถึงลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
    หน้าที่ของเราคือเฝ้าดูลมหายใจเฉยๆ

    เฝ้าเฉยๆ ไม่ต้องตามลมหายใจ
    เหมือนยามเฝ้าประตูที่โรงแรมใหญ่ๆ ก็ยืนเฝ้าประตูเฉยๆ
    ใครจะมาก็เปิดประตู ใครจะไปก็ปิดประตู
    เปิด-ปิด เปิด-ปิด อยู่อย่างนั้น

    การเจริญอานาปานสติก็เหมือนกัน
    เราก็อยู่ที่จุดหนึ่งที่ลมสัมผัส ที่ปลายจมูกก็ได้ ที่หน้าอกก็ได้
    ลมสัมผัสที่ไหนที่เรามีความรู้สึกมากที่สุด ก็ดูอยู่ที่จุดนั้น
    ปกติลมหายใจก็สัมผัสที่จมูก ผ่านหน้าอก ไปที่ท้อง
    จากท้องก็ผ่านหน้าอก กลับมาที่จมูก
    หายใจเข้า หายใจออก เราก็ทำไปเรื่อยๆ ค่อยๆ ดูลมสัมผัสที่ไหน
    ให้เราพยายามหาที่จุดใดจุดหนึ่ง แล้วก็อยู่ ณ ที่จุดนั้น
    อยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งที่เราเลือก ไม่ต้องตามลม
    เพียงแต่ระลึก และสังเกตลมสัมผัส

    เอาสายตา หู ความรู้สึกทุกอย่าง รวบรวมไว้ที่นั่น
    หลับตาอยู่ แต่ก็ลักษณะเหมือนกับมีสายตา เอาไว้ที่นั่น
    หู ก็เอาไว้ที่นั่น ความรู้สึก ก็เอาไว้ที่นั่น
    พยายามรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ที่นั่น
    รวบรวมจิตไว้ที่นั่น จิตก็ค่อยๆ เป็นสมาธิ


    ลมหายใจก็ค่อยๆ เบาลง หายใจเบาๆ ช้าๆ กายนั่งสบาย
    รวบรวมความรู้สึกไว้ที่จุดหนึ่งได้ ก็เบากายเบาใจ จิตก็ไม่คิดอะไร
    ก็เริ่มเกิดกรรมฐาน สงบ อย่างน้อยก็จิตสงบ
    สงบธรรมดาๆ ก็ใช้ได้ เรียกว่าใจเป็นศีล คือใจปกติ
    ใจที่ไม่ยินดียินร้าย ไม่ฟุ้งซ่าน ใจสงบธรรมดาๆ ก็เริ่มต้นใช้ได้แล้ว

    ถ้าเรารวบรวมเพ่งดูจุดใดจุดหนึ่ง เริ่มกายเบาใจเบา ศีลก็เริ่มกลายเป็นสมาธิขึ้น สติก็เหมือนกัน สติเพื่อให้เกิดศีลดีเป็นสติหยาบๆ เมื่อเรามีสติใจก็สงบ ทีนี้เพื่อให้สติละเอียดขึ้น ให้มีความเพียรจับสิ่งที่เล็กๆ จุดใดจุดหนึ่ง เมื่อจับได้ ก็เริ่มเป็นสมาธิ สมาธิจะตั้งมั่นยิ่งขึ้นโดยอาศัยสติ หรือจะเรียกว่าสติกลายเป็นสมาธิก็ได้

    อันนี้ให้เราทำบ่อยๆ อย่างน้อยๆ เช้าๆ ก่อนทำอะไรทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ทำใจให้สงบก่อน ปกติทำสมาธิง่ายที่สุดก็ตอนเช้า หลังจากที่นอนพักผ่อนเต็มที่สบายแล้ว ตื่นขึ้นทำความสะอาดร่างกาย ก่อนลงมือทำงาน เราก็ทำใจสงบเท่าที่จะสงบได้ ถ้าตอนเช้าใจสงบได้ วันนั้นก็สงบทั้งวัน วันนั้นจะเป็นวันดี ถ้าวันนั้นเช้าๆ ใจไม่ดีเสียแล้ว วันนั้นก็มีเรื่องไม่สงบ ไม่ดีตลอดวัน

    เรื่องอานาปานสตินั้น ก็ต้องทำบ่อยๆ ถ้าตอนเช้าทำได้สักครึ่งชั่วโมงก็ดี หรือบางทีตอนรับประทานอาหารเช้า ดื่มกาแฟบ้าง อะไรบ้าง ถ้ามีเวลาก็นั่งเก้าอี้ ดูลมหายใจเข้า หายใจออกสัก 5 นาที หรือขณะที่นั่งรถจะไปไหนก็ตาม ถ้าเราไม่ต้องขับรถเอง ก็ดูลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

    ก่อนที่จะทำงาน ก่อนที่จะเปิดหนังสืออ่าน หรืออ่านหนังสือเหนื่อยแล้ว ก็กลับมาหาตัวบ่อยๆ คือกลับมาดูลมหายใจบ่อยๆ ดูลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก่อนที่จะโทรศัพท์ไปหาใคร ก็ดูลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ถ้าเกิดมีอะไรทำให้ตื่นเต้น อารมณ์ไม่ดี เครียด ก็ดูลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

    เกิดความกลัว เกิดความรู้สึกผิดปกติ ยินดี ยินร้าย หงุดหงิด น้อยใจ เสียใจ รู้สึกว่าจิตใจเริ่มผิดปกติ ก็กลับมาหาตัว คือกลับมาหาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก กลับมาหาตัวระงับความรู้สึก ทำให้เป็นนิสัย ทำบ่อยๆ เท่าที่จะทำได้ จนเป็นนิสัย ถ้ามีอะไรผิดปกติปุ๊บ ก็ดูลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ทำอย่างนี้เราก็จะ ไม่ติดอารมณ์


    (มีต่อ ๗)

    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ปกติเรามักจะติดอารมณ์
    อารมณ์ที่พอใจ อารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตมันก็คิด ครุ่นคิดๆ ๆ ๆ อยู่อย่างนั้น
    ถ้าเราทำสมาธิบ่อยๆ ให้มีกรรมฐาน ให้จิตมีงานทำ ไม่ให้จิตตกงาน
    คนตกงานก็อดอยากใช่ไหม มีหลายคนตกงาน ไม่มีรายได้ อดๆ อยากๆ

    จิตก็เหมือนกัน จิตที่ไม่สงบเลย ก็เหมือนจิตที่ตกงาน ต้องอดๆ อยากๆ
    จิตใจจะดีหรือไม่ดีแล้วแต่อารมณ์ที่มากระทบ
    พอใจก็ดีใจ ไม่พอใจก็ปรุงไปในทางที่ไม่พอใจ
    แล้วแต่อารมณ์จะพาไป ก็เลยไม่เป็นตัวของตัวเอง

    ถ้าเราไม่มีกรรมฐาน เราก็ไม่เป็นตัวของตัวเอง
    กลายเป็นทาสของอารมณ์ ใครพูดดีก็ดีใจ ใครพูดไม่ดีก็เสียใจ

    สังคมทุกวันนี้ เรื่องไม่ดีก็มีมาก โดยมากจะมีแต่เรื่องไม่ดี
    เราก็เลยอารมณ์ไม่ดีทั้งวัน เราก็ทุกข์มาก
    ถ้าจิตไม่ได้ฝึก ปล่อยไปตามอารมณ์ ก็ทุกข์มาก
    เพราะเรื่องที่จะทำให้เราสบายใจนั้นมีน้อย
    เรื่องที่ไม่สบายใจมีมาก ก็เลยกลายเป็นคนทุกข์มาก

    เพราะฉะนั้นเราควรฝึกจิต เจริญกรรมฐานบ่อยๆ
    ในที่สุดจิตก็จะอยู่ที่ตัวเรา เรียกว่า เราเป็นตัวของตัวเองได้ ไม่หวั่นไหว
    เขาจะพูดดีทำให้เรายินดี ก็บอกว่า
     
  10. Water Lily

    Water Lily เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +738
    อนุโมทนาค่ะ ขอบคุณเจ้าของกระทู้มาก

    อาทิตย์ที่จะถึงนี้จะไปปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มิตซูโอะพอดีเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2006
  11. Anice

    Anice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +751
    อนูโมทนาสาธุค่ะ
    อ่านแล้วดีจัง เข้าใจง่าย
    ขอบคุณมากค่ะที่เอามาแบ่งปันกัน
     
  12. magic power

    magic power เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2006
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +200
    นับว่าเป็นบุญมากที่ได้อ่านกระทู้นี้ ขออนุโมทนาด้วยครับ
    อ่านแล้วเข้าใจ กระจ่างดีมากครับ

    (bb-flower
     
  13. tonn7120209

    tonn7120209 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +7
    ขอบคุณคครับ คิดถึงพระอาจารย์เหมือนกันครับไม่ได้ไปเยี่ยมทั่นเลยใครไปฝากบอกว่านเด็กที่เคยได้รับทุนของมุลนิธิไม่เคยลืมบุญคุณคครับ
     
  14. phs7749

    phs7749 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +10
    ดีจริง

    เพิ่งกลับมาจากปฏิบัติธรรมที่วัดป่าสุนันทวราราม ของพระอาจารย์มิตซูโอะ ดีมากๆเลยค่ะ พระอาจารย์สอนธรรมะได้เก่งมาก เข้าใจง่ายและทะลุปุโป่ง ไม่เคยไปปฏิบัตธรรมมาก่อน ไปปฏิบัติพระอาจารย์เมตตามาสอนให้ดีมากๆเลยค่ะ อยากจะไปปฏิบัติ ซึ่งที่วัดป่าสุนันฯนั้นเป็นที่ที่ควรแก่การปฏิบัติธรรมมากๆ เป็นวัดป่า สาขาวัดหนองป่าพง สายหลวงพ่อชาซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น อยู่ในป่า ติดภูเขาเลยค่ะ พระอาจารย์เขียนหนังสือไว้หลายเล่มมากค่ะ อ่านเข้าใจง่าย เช่น เหตุสมควรโกรธไม่มีในโลก เป็นต้น ... อนุโมทนา ด้วยคนนะคะ
     
  15. แคท

    แคท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,666
    <TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off">ขออนุโมทนา ค่ะ และขอนำไป เผยแพร่ต่อค่ะ
    </TD></TR><TR UNSELECTABLE="on" hb_tag="1"><TD style="FONT-SIZE: 1pt" height=1 UNSELECTABLE="on">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...