จะรู้ได้อย่างไรว่ามีบารมี สูงพอที่จะไปนิพพานได้?

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย perfex, 20 สิงหาคม 2010.

  1. perfex

    perfex เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +124
    จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีบารมี สูงพอที่จะไปนิพพานได้ หรือ ที่เรียกว่า ปรมัตถ์บารมี

    ผมไม่อยากเกิดในภพภูมิอื่นอีกแล้วนอกจากพระนิพพาน กังวลว่าชาตินี้จะไปไม่ได้
    แค่ความหวังพระนิพพานมากๆอย่างผม อาจจะไม่พอใช่หรือไม่ครับ เห็นหลวงพ่อบอกว่าการหวังนิพพานต้องหวังกันหลายชาติ จนบารมีเต็ม ผมเกรงว่าจะไม่เต็มน่ะสิครับในชาตินี้
    หรือว่าแค่เรา ทำให้กำลังใจตรงต่อการไปพระนิพพานดังที่หลวงพ่อกล่าวและหากทำได้ทุกอย่าง ก็ถือว่าบารมีเต็ม ไปนิพพานได้เลยในชาตินี้ ไม่ต้องรออีกหลายชาติอย่างที่ผมกังวล
    ตกลงอย่างไหนที่ถูกต้องครับ

    ช่วยเมตตาชี้แนะด้วยครับ ผมนั้นบรมโง่เลย พอดีอ่านบทความหลวงพ่อแล้วเกิดกังวล เพราะตอนแรกก็รู้สึกมั่นใจว่าเราไปได้แน่นอน แค่ทำอารมณ์แบบนั้น
    แต่พออ่านมาเจอตรงที่ว่า คนหวังนิพพานต้องหวังหลายชาติเลย เกิดกังวลครับ
     
  2. danmra

    danmra Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +80
    คุณต้องถามว่าคุณเชื่อมั่นในพระนิพพานแค่ไหนถ้าคุณยังลังเลก็ไปไม่ได้ ตัดความกังวล ความสงสัย ออกไปและอย่ากังวลกับผลในการปฎิบัติครับ เพราะแต่ละคนมีทีมาไม่เหมือนกัน (ผมหมายถึงบารมีนะครับ) เป็นกำลังใจให้นะครับ ค่อยๆทำไปแล้ววันหนึ่งก็จะถึงเองครับ อนุโมทนาสาธุ
     
  3. prayut.r

    prayut.r เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +1,707
    ผมก็คิดอย่างคุณ จขกท นะครับ ไม่อยากจะเกิดอีกแล้ว เบื่อเหลือเกิน

    ถ้าคาดหวังจะนิพพานชาตินี้ หลวงพ่อท่านบอกว่าได้แน่

    (อันที่จริงมีความคิดเบื่อเกิดแบบนี้ก็ถือว่ามีบารมีแล้วนะครับ ลองนึกถึงคนที่แม้แต่ศาสนาเขายังไม่สนในกันเลยสิครับ แม้จะเกิดในขอบเขตพระพุทธศาสนา ก็ตาม)

    แต่อยากอย่างเดียวก็ไม่มีทางได้หรอกครับ ปฏิบัติได้อย่างที่หลวงพ่อท่านบอกรึป่าว? ก็เท่านั้นแหละครับ

    เรื่องศีลก็ดี เรื่องบารมี10ก็ดี จรณะ 15 ก็ดี ฯลฯ
    ทำได้ครบรึไม่ครับ

    ถ้ารักจะไปนิพพานชาตินี้ ยอมเอาชีวิตเข้าแลกกับเรื่องที่ผมบอกข้างต้นได้รึป่าว?

    นี่แหละครับที่เรียกว่า บารมี (กำลังใจ) ในความหมายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2010
  4. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ... สังโยชน์ คือเครื่องร้อยรัดสัตว์ ให้ติดอยู่ใน วัฎสงสาร ...
    ขอที่มา คำอ้างอิงของหลวงพ่อ ด้วยครับ (ตัวหนังสือ สีแดง) เพราะผมเกรงว่า จะเป็นเรื่อง ของพุทธภูมิ มิใช่ สาวกภูมิ และ ลองหาคำตอบ จากคำถาม ด้านล่าง

    ๑... เราเห็นเรื่องความตาย ที่จะมาถึงเรา เรารู้สึกยังไง ความสุข และ ความทุกข์ ต้นเหตุ มาจากใหน เพราะอะไร เรารู้สึก อย่างไร กับกฎของไตรลักษณ์ เวลาเรา สนทนา กับนักปฏิบัติ ด้วยกัน เราชอบคุยเรื่องอะไร ?

    ๒... เราสงสัย หรือมั่นใจ ในผลการปฏิบัติ และแนวทางที่เราปฏิบัติ เพียงใด ?

    ๓... เราคิดว่า ศิล เราบริบูรณ์ เพียงใด เพียงกาย เพียงวาจา เพียงใจ หรือทั้งหมด เราเห็นว่า พรหมวิหาร ๔ มีความสำคัญ ขนาดใหน ?

    ๔... อานิสงค์ใด ที่เป็นกุศล ที่เราพึงจะได้รับ เรามัก อธิฐานขอพร ว่าอย่างไร และ เรารักในพระนิพพานแค่ใหน ?

    อุปมา ความหิว ความกระหาย ย่อมรู้ได้ด้วยตัวเองฉันใด นักปฏิบัติ ย่อมรู้ได้ ด้วยตัวเอง ฉันนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 สิงหาคม 2010
  5. perfex

    perfex เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +124
    งั้นคุณ ประยุทธ์ กับผม มาเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อพระนิพพานด้วยกันครับ ผมเอาจริงแน่ๆตอนนี้กำลังพยายามอยู่ครับ พยายามตัดกิเลสให้หมดและทำตามที่หลวงพ่อท่านกล่าวไว้ทุกอย่าง ตอนนี้ พยายามจับลมหายใจ พุทธโธ ไว้ตลอดทั้งวัน และวิปัสสนาละกิเลส ตัดนิวรณ์ครับ ขอบคุณมากๆครับที่ให้กำลังใจสำหรับทุกท่าน
    ผมเอาจริงแน่ๆ เพื่อพระนิพพานจุดเดียวครับ กิเลสเบาไปเยอะเลยครับ เรื่องผู้หญิงก็เบาเยอะและคิดว่าต้องตัดได้ขาดชัวร์ๆ ครับ เอาจริงอย่างนี้ไม่ได้ก็ต้องปล่อยวางละ ฮ่าๆ
     
  6. perfex

    perfex เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +124
    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B5.88169/ ที่มาของตัวหนังสือสีแดงครับผม ช่วยไขข้อข้องใจให้ด้วยนะครับ ว่าเอ๊ะ ถ้าเราทำกำลังใจของเราให้ตรงกับที่หลวงพ่อบอกจะไปได้ทุกประการ จะเข้าสู่นิพพานได้มั้ย หรือว่าต้องรออีก บางทีผมอาจจะแปลความหมายคลาดเคลื่อนก็ได้ ขอบคุณมากครับที่มีเมตตาส่งเสริม ขออุทิศผลบุญของข้าพเจ้าทุกภพชาติให้ท่านทั้งหลายเมตตา และทุกสรรพสิ่งที่ดำรงอยู่
     
  7. prayut.r

    prayut.r เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +1,707
    ของผมก็สาหัสอยู่ครับ ขนาดศีล 5 ยังปฏิบัติแบบศีลหัวเต่าอยู่เลย (ผลุบๆโผล่ๆ)
    เรื่องของเรื่องมันก็อยู่ที่สงสารแฟนนั้นแหละครับ (แฟนเริ่มบ่นๆ ให้ไปบวชแล้ว 55)

    แต่ในส่วนของการทำบุญ ทำสมาธิ ผมก็พยายามมิได้ขาดนะครับ
     
  8. puvanut

    puvanut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +110
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780><TBODY><TR><TD class=cd16 width=700>การเทียบบารมี


    </TD><TD class=cd16 width=40 rowSpan=2></TD></TR><TR><TD class=cd16 width=700>
    การเทียบบารมี บารมีเขาจัดเป็น ๓ ชั้น บารมีต้น ท่านเรียก บารมีเฉยๆ บารมีตอนกลางท่านเรียก อุปบารมี บารมีสูงสุดท่านเรียก ปรมัตถบารมี


    ถ้าคนที่มีบารมีต้นในขั้นเต็ม ท่านผู้นี้จะเก่งเฉพาะทานกับศีล เขาจะทำสะดวกเฉพาะ การให้ทาน กับการรักษาศีล แต่การรักษาศีลของบารมีขั้นต้นจะไม่ถึงศีล ๘ อย่างเก่งก็มีกันแค่ศีล ๕ ท่านผู้นี้จะไม่พร้อมในการเจริญพระกรรมฐาน ถ้าชวนในการเจริญสมาธิทำกรรมฐานท่านบอกทำไม่ได้ กำลังใจไม่พอ หรือจะพูดให้ดีอีกนิดท่านบอกว่าไม่วางพอ เวลาไม่มีนี่สำหรับคนที่มีบุญบารมีขั้นต้นจะอยู่กันแค่นี้ .............เราจะเห็นว่าอันดับแรกอาจจะยังไม่มีความเข้าใจเรื่องนิพพาน พอสัมผัสวิปัสสนาญาณขั้นเล็กน้อยพอสมควร อาศัยบารมีเก่าเพิ่มพูนหนุนขึ้นมาก็มีความต้องการเรื่องพระนิพพาน พวกที่มีจิตหวังนิพพานนี่จะไปชาตินี้ได้หรือไม่ได้สำคัญ เพราะการหวังนิพพานกันจริงๆ ต้องหวังกันหลายชาติ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780><TBODY><TR><TD class=cd16 width=700></TD><TD class=cd16 width=40 rowSpan=2></TD></TR><TR><TD class=cd16 width=700>การเทียบบารมี บารมีเขาจัดเป็น ๓ ชั้น บารมีต้น ท่านเรียก บารมีเฉยๆ บารมีตอนกลางท่านเรียก อุปบารมี บารมีสูงสุดท่านเรียก ปรมัตถบารมี


    ถ้าคนที่มีบารมีต้นในขั้นเต็ม ท่านผู้นี้จะเก่งเฉพาะทานกับศีล เขาจะทำสะดวกเฉพาะ การให้ทาน กับการรักษาศีล แต่การรักษาศีลของบารมีขั้นต้นจะไม่ถึงศีล ๘ อย่างเก่งก็มีกันแค่ศีล ๕ ท่านผู้นี้จะไม่พร้อมในการเจริญพระกรรมฐาน ถ้าชวนในการเจริญสมาธิทำกรรมฐานท่านบอกทำไม่ได้ กำลังใจไม่พอ หรือจะพูดให้ดีอีกนิดท่านบอกว่าไม่วางพอ เวลาไม่มีนี่สำหรับคนที่มีบุญบารมีขั้นต้นจะอยู่กันแค่นี้

    ถ้ามีบารมีเป็น อุปบารมี เขาเรียกว่า บารมีขั้นกลางอุปบารมี นี่พร้อมที่จะทรงฌานโลกีย์ บารมทีนี้พร้อมเรื่องฌานโลกีย์นี่ทรงได้แน่ ท่านพวกนี้จะพอใจในการเจริญพระกรรมฐานแล้วก็พอใจในการทรงฌาน แต่ว่าถ้าจะชวนในขั้นบุกบั่นในวิปัสสนาฌาน อาจจะมีบ้างแต่ก็ไม่เข้มแข็งนัก เพราะว่าสมถะกับวิปัสสนานี่แยกกันไม่ได้ ต้องอยู่คู่กัน แต่กำลังด้านวิปัสสนาญาณจะต่ำ จะเข้มแข็งเฉพาะสมถะภาวนา แล้วท่านพวกนี้ถึงแม้ว่าจะพอใจในการเจริญกรรมฐาน ถ้าเราบอกว่าหวังนิพพานกันเถอะ ท่านพวกนี้ก็บอกว่าไม่ไหว กำลังใจไม่พอ จะชวนไปนิพพานขนาดไหนก็ตาม เขาจะไม่พร้อมจะไป และก็ไม่พร้อมจะไป และก็ไม่พร้อมจะยินดีเรื่องพระนิพพาน พร้อมอยู่แค่ฌานสมาบัติ อันนี้เป็น อุปบารมี นะ


    ถ้าเป็น ปรมัตถบารมี เราจะเห็นว่าอันดับแรกอาจจะยังไม่มีความเข้าใจเรื่องนิพพาน พอสัมผัสวิปัสสนาญาณขั้นเล็กน้อยพอสมควร อาศัยบารมีเก่าเพิ่มพูนหนุนขึ้นมาก็มีความต้องการเรื่องพระนิพพาน พวกที่มีจิตหวังนิพพานนี่จะไปชาตินี้ได้หรือไม่ได้สำคัญ เพราะการหวังนิพพานกันจริงๆ ต้องหวังกันหลายชาติจนกว่าบารมีที่เป็นปรมัตถบารมีจะสมบูรณ์แบบ คือต้องหวังหลายๆ ชาติ ถ้าจิตหวังพระนิพพานจริงๆ พวกนี่ก็มีหวัง ที่เรียกว่าบารมีเป็น ปรมัตถบารมี
    ฉะนั้นคนที่จะมีบารมีเข้าถึงปรมัตถบารมีก็ดี อุปบารมีก็ดีท่านพวกนี้จะต้องผ่านความเป็นเทวดาเป็นนางฟ้า เป็นพรหมกันมามาก เพราะว่าบารมีขั้นตั้นก็สามารถเป็นเทวดาเป็นนางฟ้าได้แต่เป็นพรหมไม่ได้ เพราะบารมีขั้นต้นก็สามารถเป็นเทวดาเป็นนางฟ้าได้ แต่เป็นพรหมได้ เพราะบารมีขั้นต้นก็สามารถเป็นเทวดาเป็นนางฟ้าได้ แต่เป็นพรหมไม่ได้ เพราะบารมีขั้นต้นนี่จะไม่มีฌานโลกีย์พรหมนี่จะทำบุญแบบไหนก็ตาม ถ้าไม่มีฌานโลกีย์จะไม่สามารถเป็นพรหมได้ สำหรับอุปบารมีนี่เขาพร้อมในการทรงฌาน แต่ว่าเวลาตายไม่ได้เข้าฌานตาย ก็ไปเป็นพรหมไม่ได้เหมือนกัน ถ้าเวลาจะตายเข้าฌานตายก็ไปเป็นพรหมได้ เขาพร้อมแล้ว

    สำหรับท่านที่มีบารมีเป็นปรมัตถบารมี บางทีจะเห็นว่าเรายังบกพร่องในความดีอยู่มาก ศีลก็บกพร่อง สมาธิก็ไม่ทรงตัว ปัญญาก็ไม่แน่นอนนัก ไอ้อย่างนี้มันก็ไม่แน่นอน เพราะคนที่จะไปนิพพานจริงๆ มันอยู่แค่หัวเลี้ยวหัวต่อ อาศัยความเคยชิน อาศัยการฝึกไปบ้าง มากบ้างน้อยบ้าง ทำผิดบ้าง ทำถูกบ้าง แต่ว่าอารมณ์ชินของอารมณ์ดีอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือไม่ต้องการเกิด มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่าการเกิดขึ้นมามันเต็มไปด้วยความทุกข์ ความเกิดอย่างนี้จะไม่มีกับเราอีกเราจะมีความเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย วันหนึ่งถ้าคิดอย่างนี้สัก ๒ นาที คิดทุกวัน อารมณ์นี้มันจะชิน คำว่าชินก็คือ ฌาน ฌานคือชิน

    ในเมื่ออารมณ์คิดจนชินเกิดขึ้น แต่มันก็ไม่มากนัก เห็นทุกข์วันละ ๒-๓ นาที นอกจากนั้นก็เผลอเห็นสุข หรือเมื่อมีการงานเข้ามาคั่น เขาไม่ได้นึกถึงตัวทุกข์ ก็จะหาว่าเขาเลวไม่ได้ต่อเมื่อเวลาที่ใกล้จะตายขึ้นมาจริงๆ มันป่วยไข้ไม่สบายการป่วยไข้ไม่สบายมันบังคับจิตให้เห็นว่าร่างกายมันเป็นทุกข์ว่า คนป่วยไม่มีส่วนไหนของร่างกายเป็นสุข แม้แต่ลมก็มีการขัดข้องอยู่เสมอ ก็เห็นว่าการเกิดมันไม่ดีแบบนี้ ร่างกายก็ป่วยอารมณ์ก็ขัดข้อง อาศัยที่จิตคิดจนชินว่า ร่างกายเกิดเป็นของไม่ดี เป็นทุกข์อย่างนี้เราไม่ต้องการมัน อารมณ์นี้ก็จะเกิด ถ้าอารมณ์นี้เกิดขึ้นมาจริงๆ ก่อนหน้าจะตาย ถ้าเป็นฆราวาสอารมณ์นี้จะหนักแน่นในวันนั้นแล้วก็ตายวันนั้น มันอาจจะเกิดมาตอนก่อนๆ มันอาจจะอ่อนไปหน่อย

    ถ้าจิตคิดจริงๆ ว่าการเกิดเป็นของไม่ดี มันเป็นทุกข์อย่างนี้เราไม่ต้องการมัน อีกจิตหนึ่งวางเฉย เข้าขั้น สังขารรุเปกขาญาณ เป็นวิปัสสนาญาณตัวสุดท้าย สังขารุเปกขาญาณนี่ญาติโยมฟังแล้วเข้าใจด้วยนะ สังขารุเปกขาญาณหมายความว่าวาเฉยในร่างกาย ร่างกายคนอื่นไม่สำคัญ สำคัญร่างกายเรา เรามีความรู้สึกว่าร่างกายของเรานี่มันไม่ดีจริงๆ เวลานี้เราปวดที่โน่นบ้างเสียดที่โน่นบ้าง จิตใจเพลียไปบ้าง สรุปแล้วร่างกายทั้งร่างกายไม่มีอะไรดี ถ้าความรู้สึกว่าร่างกายไม่ดีเกิดขึ้นในวันนั้น แล้วความจริงใจก็เกิดขึ้นว่าเราไม่ต้องการร่างกายอย่างนี้อีก จิตเข้าถึงการวางเฉย ไม่ต้องการอีก มันจะตายก็เชิญตาย เราจะเชิญมันตายหรือไม่เชิญมันตายมันก็ตาย ใช่ไหม ในเมื่อมันจะตายแต่เราไม่หนักใจในความตาย เราถือว่าถ้ามันตายเมื่อไรเราไปนิพพานเมื่อนั้น แต่ว่าเวลานั้นจะนึกถึงหรือไม่นึกนิพพานก็ไม่สำคัญ ถ้านึกว่าเราไม่ต้องการร่างกายอย่างนี้อีก อารมณ์พระอรหันต์มีแค่นี้นะ วันนั้นท่านจะเป็น พระอรหันต์ จิตใจจะวางเฉยในร่างกาย เห็นร่างกายของเราเราก็เฉย ไม่ต้องการมันอีก เห็นร่างกายคนอื่นเราก็เฉย อย่างนี้เขาเรียก สังขารุเปกขาญาณ ถ้าตายเมื่อไรก็ไปนิพพานทันที นี่ว่าถึงพวกปรมัตถบารมีนะ


    ถ้าใช้ศัพท์เป็นวิปัสสนาญาณถามว่าตัวไหนเป็นตัวสูงสุดก็ต้องตอบว่าสังขารุเปกขาญาณสุงสุด ในวิปัสสนาญาณ ๙ เขาไปจบที่ สังขารุเปกขาญาณ แล้วก็สังขารุเปกขาญาณนี่ทำยากหรือง่าย แต่ความจริงถ้าบอกว่ายากก็ยากสำหรับคนมีบารมีไม่ถึง ถ้าบารมีเข้มข้นจริงๆ ก็เป็นของทำไม่ยาก เพราะใช้ปัญญาเข้าใจตามความเป็นจริงเท่านั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. puvanut

    puvanut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +110
    สังโยชน์ 10

    สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี ๑๐ อย่าง <O:p
    ๑. สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา <O:p
    ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย <O:p
    ๓. สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง <O:p
    ๔. กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์ <O:p
    ๕. ปฏิฆะ มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ <O:p
    ๖. รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน <O:p
    ๗. อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน <O:p
    ๘. มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี <O:p
    ๙. อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน <O:p
    ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้
    <O:p
    นักปฏิบัติที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอา สังโยชน์ เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบจิตกับ สังโยชน์ ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติอารมณ์ที่ละนั้นเอง
    <O:p
    สังโยชน์ทั้ง 10 ข้อนี้ ถ้าพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครอบ 10 อย่าง โดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่า ท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล
    <O:p
    สักกายทิฏฐิ ท่านแปลว่า ให้รู้สึกในอารมณ์ของเราว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายนี้ไม่มีในเรา หรือตามศัพท์ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้มันไม่ใช่ของเรา เราไม่่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา อารมณ์ขั้นต้นของพระโสดาบัน กับสกิทาคามี ท่านมีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตาย เราต้องคิดว่า ร่างกายนี้ต้องตายแน่ ร่างกายนี้น่าเกลียดโสโครก ต้องเกลียดจริง ๆ เราไม่ต้องการทั้งร่างกายเรา และร่างกายของคนอื่น หรือวัตถุธาตุใด อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอนาคามี และถ้ามีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอรหันต์
    <O:p
    ถ้าจะปฏิบัติกันตามลำดับแล้ว ต้องใช้อารมณ์ตามลำดับ คือ
    อารมณ์ขั้นต้น ใช้อารมณ์แบบเบา ๆ คือมีความรู้สึกตามธรรมดาว่า ชีวิตนี้ต้องตาย ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่จะทรงชีวิตได้ตลอดกาล ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมด ใช้อารมณ์ให้สั้นเข้า คือมีความรู้สึกไว้เสมอว่า เราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ จะได้ไม่ประมาทในชีวิต
    อารมณ์ขั้นกลาง ท่านให้ทำความรู้สึกเป็นปกติว่า ร่างกายของคนและสัตว์ ตลอดจนวัตถุทุกชนิดเป็นของสกปรกทั้งหมด มีทั้ง อุจจาระ ปัสสวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้น พยายามทำอารมณ์ให้ทรงจนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งหมด

    อารมณ์สูงสุด มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย และร่างกายไม่มีในเรา มีอาการวางเฉยในร่างกายทุกประเภท เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์
    วิจิกิจฉา แปลว่า สงสัย คือสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า สงสัยในความดีของพระธรรมคำสั่งสอน สังสัยในความดีของพระอริยสงฆ์ สงสัยว่า พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ เมื่อสงสัยเข้าก็ไม่เชื่อ ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ ต้องลงอบายภูมิ

    เพราะฉะนั้นจงอย่ามีในใจ ใช้ปัญญาพิจารณานิดเดียว ก็จะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าพูดถูก พูดจริง ยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระองค์
    <O:p
    สีลัพพตปรามาส คือ ลูบคลำศีล รักษาศีลไม่จริงจัง อย่างนี้จงอย่ามีในเรา จงปฏิบัติให้ครบถ้วนด้วย 3 ประการ <O:p
    1. มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันจะต้องตาย <O:p
    2. ไม่สงสัยในคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมยอมรับปฏิบัติตาม <O:p></O:p>
    3. รักษาศีลครบถ้วนโดยเคร่งครัด <O:p

    ทำอย่างนี้ได้ ท่านผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน และพระสกิทาคามี <O:p
    กามฉันทะ คือมีความพอใจในกามคุณ คือ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ เราต้องกำจัดในสิ่งเหล่านี้ ให้รู้ว่าสกปรก โสโครก เราไม่ต้องการ และกำจัด <O:p
    คือ การกระทบกระทั่งความไม่พอใจออกจากจิต มีความเมตตา กรุณา เข้ามาแทน จิตมีความเบื่อหน่ายในร่างกายเป็นที่สุด ท่านตรัสว่า เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี <O:p
    รูปราคะ และ อรูปราคะ เป็นการหลงในรูปฌาน และอรูปฌาน เราต้องไม่หลงติด ไม่มัวเมาใน รูปฌาน และอรูปฌาน แต่จะรักษาไว้เพื่อประโยชน์แก่จิตใจ แล้วใช้่ปัญญาพิจารณาขันธ์ 5 ว่ามีแต่ความทุกข์ มีการสลายตัวไปในที่สุด เมื่อขันธ์ 5 ไม่ทรงตัวแบบนี้แล้ว <O:p
    มานะ การถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา วางอารมณ์แห่งการถือตัวถือตนเสีย มีเมตตาบารมีเป็นที่ตั้ง
    <O:p
    ตัดอุทธัจจะ คืออารมณ์ฟุ้งซ่าน
    การถือตัวถือตน เป็นปัจจัยของความทุกข์ เราควรวางใจแต่เพียงว่า ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมะสัส อุปยาส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ทุกข์มาจากไหน ทุกข์มาจากการเกิด แล้วเกิดนี่มาจากไหน การเกิดมาจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม เราควรวางใจเป็นกลาง การถือตัวถือตนเป็นปัจจัยของความทุกข์ จิตใจเราพร้อมในการเมตตาปรานี ไม่ถือตน เขาจะมีฐานะเช่นใดก็ช่าง ถือว่า เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมด ถ้ากำหนดอารมณ์อย่างนี้ได้ เราก็สามารถจะกำจัดตัวมานะของตนได้
    <O:p
    อวิชชา หมายถึง อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้ตามความเป็นจริง อุปาทานนี้มีคำจัดกัดอยู่ 2 คำ คือ ฉันทะ และราคะ

    อุปาทาน ได้แก่ ฉันทะ คือความหลงใหลใฝ่ฝันในโลกามิสทั้งหมด มีความพอใจในสมบัติของโลก โดยไม่ได้คิดว่ามันจะต้องสลายไปในที่สุด
    ราคะ มีความยินดีในสมบัติของโลกด้วยอารมณ์ใคร่ในกิเลส
    ฉะนั้นการกำจัด อวิชชา ก็พิจารณาเห็นว่า สมบัติของโลกไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราไม่มีในสมบัติของโลก ไม่มีในเรา จนมีอารมณ์ไม่ยึดถืออะไร มีอยู่ก็เป็นเสมือนไม่มี จิตไม่ผูกพันเกินพอดี เมื่อมีอันเป็นไปก็ไม่เดือดร้อน มีจิตชุ่มชื่นต่ออารมณ์พระนิพพาน <O:p
    ฉันทะ กับ ราคะ ทั้งสองนี้เป็นอารมณ์ของ อวิชชา ถือว่าเป็นความโง่ ยังไม่เห็นทุกข์ละเอียด ความจริงอารมณ์ตอนนี้ก็เข้มแข็งพอ คนที่เป็นอนาคามีแล้ว เป็นผู้มีจิตสะอาด มีอารมณ์ขุ่นมัวบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ อารมณ์ใจยังเนื่องอยู่ในอวิชชา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ยังไม่เข้าถึงสุขที่สุด ที่เรียกว่า เอกันตบรมสุข ก็ควรจะใช้บารมี 10 นำมาประหัตประหารเสีย
    อวิชชานี้ ที่ว่า มีฉันทะ กับราคะ นั้น ท่านก็ตรัสว่า ฉันทะ คือมีความพใจในการเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม ราคะ เห็นว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกก็ดี ยังเป็นกิเลสเบา ๆ คือไม่สามารถจะพ้นทุกข์

    ฉะนั้น ถ้าจะตัดอวิชชา ให้ตัดฉันทะ กับราคะ ในอารมณ์ใจ คิดว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ทั้ง 3 ภพนี้ ไม่เป็นที่หมายของเรา คือยังเป็นแดนของความทุกข์ เทวโลก พรหมโลกเป็นแดนของความสุขชั่วคราว เราไม่ต้องการ ต้องการจิตเดียวคือ พระนิพพาน ในใจของท่านต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นเอกัคตารมณ์ ในอุปสามานุสสติกรรมฐาน

    คำสอน พระราชพรหมยาน<O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2010
  10. danmra

    danmra Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +80
    อิอิอิ ดีแล้วครับ แต่อย่าตั้งใจจนเครียดนะครับ เดี๋ยวที่ทำมามันจะสูญเปล่า ถ้ากำลังสมาธิเรายังไม่มั่นคง ก็อย่าฝืนนะครับ ยอมมันมั่ง เช่น ถ้าเราจับลมหายใจ แล้วจิตฟุ้ง พยายามที่จะระงับแล้วแต่มันยิ่งฟุ้ง ก็หยุด ปล่อยให้มันฟุ้งไปแล้วเราก็ดูว่ามันจะหยุดเมื่อไหร่ ถ้าหยุด เราก็จับลมหายใจ ต่อ พยายามทำแบบมีความสุขนะครับ ทำไปเรื่อยๆๆๆ แล้วอย่าประมาทนะครับ เพราะเรา แค่ระงับ กิเลส มันเท่านั้น ถ้าเผลอรับรอง ท่านยมบาล กวักมือเรียก แถม ยิ้มแฉ่ง แน่นอน
     
  11. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    อารมณ์ พระโสดาบัน คือบันไดขั้นแรก ของพระนิพพาน โมทนา สาธุ เจ้าค่ะ
     
  12. peepo_pocky

    peepo_pocky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +298
    จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย เราก็หวังพระนิพพานเหมือนกันค่ะ แต่นั่งสมาธิยังไม่ค่อยได้นานเลยค่ะ ตัวมารก็คือตัวง่วง นั่งยังไม่ทันจะเมื่อยเลยก็ง่วงแล้ว
    บางทีก็ท้อ บางทีก็ฮึด ไม่รู้ต้องกอดรัดฟัดเหวี่ยงไปอีกกี่ชาติ แต่ก็มีกำลังใจอย่างนึงว่า
    อย่างน้อยที่สุดก็รู้จุดมุ่งหมายของตัวเองแล้ว แม้ว่าอาจจะยังไม่ถึงในชาตินี้ ก็ขอมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ค่ะ เพื่อที่จะเอาไว้เป็นสัญญาติดตัวในชาติต่อๆไปค่ะ
     
  13. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,739
    สาธุกับทุกท่านที่ท่านได้ตั้งใจแน่วแน่แล้วที่จะให้ถึงซึ่งนิพพาน การตั้งใจนี้จะเป็นอทิษฐานบารมี ถ้าชาตินี้ไม่สำเร็จ ก็จะต้องสำเร็จในเวลาอันใกล้แน่นอน เพราะท่านได้วางเป้าหมายที่จะเดินไปให้ถึงแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในล้านคนที่จะตั้งใจแบบนี้ การที่จะไปให้ถึง ถ้าพูดถึงบารมีที่สร้างมาต้องดูว่า บารมี ๑๐ ทัศ ท่านทำมามากน้อยแค่ไหนในชาติก่อน ๆ อันนี้เราไม่รู้ สำหรับพระอรหันต์สาวก บารมี ๑๐ ทัศ ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และ อุเบกขา ต้องเต็ม (แต่ละบารมี จะมี ๓ ระดับ คือ ขั้นธรรมดา ขั้นกลาง (อุปบารมี) และ ขั้นอุกฤติ (ปรมัตถบารมั) จริง ๆ แล้วในแต่ละขั้นยั้งแยกย่อยอีกอย่างละ ๓) สำหรับท่านที่จะตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องสร้างบารมีเต็ม ทั้งสามระดับ คือ บารมีเต็ม ๓๐ ทัศ ขั้นปรมัถต์บารมีหมายถึงต้องใช้ชีวิตเข้าแลก เช่นให้ทานด้วยชีวิต ดังตอนที่พระพุทธเจ้าท่านเป็นฤษี แล้วเจอแม่เสืออดอาการจะกินลูกตัวเอง ท่านจึงทิ้งตัวลงจากหน้าผาให้เป็นอาหารแก่แม่เสือ

    สำหรับท่านที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์สาวกธรรมดา อย่างน้อยบารมี ๑๐ ทัศต้องเต็ม และต้องมีการสร้างบารมีขั้นกลางหรืออุปบารมีร่วมอยู่บ้าง เช่น อุปบารมีทาน คือ ต้องเคยให้อวัยวะไว้ (ไม่ใช่ตายแล้วให้นะ แบบนั้นได้บุญน้อย) ถ้ายังไม่แน่ใจว่าบารมีเต็มเปี่ยมรึยัง ก็ต้องเพียรอย่างหนักสร้างให้เต็มในชาตินี้

    ต่อไปอินทรีย์ต้องแก่กล้า อินทรีย์ คืออินทรีย์ ๕ พละ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ต้องแก่กล้า แก่กล้าด้วยความเพียร ไม่ใช่อยู่เฉย ๆ แล้วร้องขอ

    ส่วนแนวทางปฏิบัติให้ถึงนิพพาน ให้ดำเนินตามหลักของธรรม ที่เกื้อหนุนการตรัสรู้ คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อันประกอบด้วย สติปักฐาน ๔ อิทธิบาท ๔ สัมมปทาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โภชฌงค์ ๗ และ มรรคมีองค์ ๘ (ทั้งหมดนี้เป็นทางตรงที่สุดแล้ว ทางอื่นอาจจะอ้อม)

    ในมรรคมีองค์ ๘ ข้อสุดท้ายคือ สัมมาสมาธิ มีทั้งสมาถะสมาธิ และ วิปัสนาสมาธิซึ่งจะทำให้เกิดปัญญาญาณ (ปัญญารู้แจ้งในกองสังขาร) ธรรมที่เกี่ยวข้องในการวิปัสสนา ได้แก่ ขันธ์ ๕ อยตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เมื่อได้ญาณ ๑๖ สี่รอบ ก็เป็นอันว่าสำเร็จแล้ว

    เครื่องวัดว่าสำเร็จรึยังดูที่ ตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อได้หมดสิ้นไหม?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2010
  14. ธัมปฏิบัติ

    ธัมปฏิบัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +1,019
  15. นายฉิม

    นายฉิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    2,099
    ค่าพลัง:
    +2,696
    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม
     
  16. kencito

    kencito เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +954
    เอาชีวิตเข้าแลกหยังงี้ได้แน่นอนครับผม ตามรอยหลวงพ่อไปครับ ผมไปด้วยแน่ๆชาตินี้ บารมีคือกำลังใจครับ กำลังใจเต็มบารมีเต็ม อย่าไปสนมากครับเราไม่ได้จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ไม่ต้องมีบารมีท่วมท้นอะไรก็ได้ครับ เป็นพระอรหันต์บริสุทธิ์ จุดเล็กๆสักองค์คงไม่ต้องอาศัยอะไรมากมายครับผม อย่ากลัว เดินหน้าต่อไป ให้ถึงจุดหมาย จุดเดียว เป้าหมายเดียว จากชีวิตเล็กๆชีวิตเดียว ให้ถึง พระนิพพาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...