พระอริยะ !! ใช้เกณฑ์อะไรมาวัด ???

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 25 พฤษภาคม 2009.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    [​IMG]



    พระอริยะ หรือ อริยบุคคล คือนักบวช หรือฆราวาสในศาสนาพุทธที่บรรลุธรรมขั้นต้นตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ( นักบวชในพุทธศาสนา หรือ “ สงฆ์ ” สามารถบรรลุได้ถึงพระอรหันต์ ส่วนฆราวาสสามารถบรรลุได้ถึงขั้นพระอนาคามี )

    พระพุทธศาสนาได้ให้เกณฑ์วัดความเป็นอริยบุคคลไว้เพื่อประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อกันการอวดอ้างตนของสงฆ์ว่าได้เป็นพระอริยสงฆ์เพื่อหลอกลวงผู้คนโดยหวังอามิส และเพื่อเป็นเครื่องกำหนดหมาย “ พระ ” ในผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

    เกณฑ์วัดดังกล่าวคือ “ สังโยชน์ ๑0 ” ความเป็นอริยบุคคลวัดได้จากสังโยชน์ที่ท่านละได้

    สังโยชน์ คือกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกับภพ สังโยชน์ ๕ อย่างแรกเรียกว่า “ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ” เป็นสังโยชน์ผูกมัดใจสัตว์ไว้อย่างต่ำและหยาบ ส่วน ๕ ข้อหลังเรียกว่า “ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ” เป็นกิเลสผูกมัดใจสัตว์ไว้อย่างสูงและละเอียด ประกอบด้วย

    ๑/ สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน คือมีความยึดมั่นถือมั่นใน “ ตัวกู ของกู ” ในบุคคลหรือสิ่งของต่างๆที่ตนเกี่ยวข้อง

    ๒/ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย คือสงสัย ไม่แน่ใจในการดำเนินชีวิต และพระรัตนตรัย

    ๓/ สีลัพพตปรามาส* ความถือมั่นในศีลพรต คือยึดมั่นในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่ามีอยู่และต้องมีด้วยศีลพรต

    ๔/ กามราคะ ความติดใจในกามคุณ คือมีความกำหนัดยินดี ติดใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย และอารมณ์น้อมนึกทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจด้วยอำนาจราคะ

    ๕/ ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งใจ คือมีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว โกรธเกรี้ยวด้วยโทสะ

    ๖/ รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต คือมีอารมณ์รักหลง ชอบใจ ในบุคคลบางคน หรือในวัตถุสิ่งของบางสิ่ง หรือวัตถุอันเป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน


    ๗/ อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม คืออารมณ์ชอบ หรือพอใจในสุขเวทนา หรืออารมณ์แห่งรูปฌาน

    ๘/ มานะ ความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ความทะนงตน

    ๙/ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน คือมีความคิดพล่านในอารมณ์ต่างๆเกิดกว่าเหตุ

    ๑0/ อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้ตามความเป็นจริงในสิ่งต่างๆ

    การวัดบุคคลว่าเป็นพระอริยะหรือไม่ วัดได้จากการสังเกตดังนี้

    ๑/ ท่านใดทำลายสังโยชน์ ๓ ข้อแรกได้เด็ดขาด โดยไม่ยึดมั่นในตัวกู ของกู ( สักกายทิฏฐิ ) มีความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา ยึดมั่นในพระรัตนตรัย**อย่างหมดความสงสัย ( วิจิกิจฉา ) และไม่มีความยึดมั่นในศีลพรต ( สีลัพพตปรามาส ) ท่านนั้นเรียกว่าบรรลุ “ พระโสดาบัน ”

    ๒/ ท่านใดทำลายสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้อย่างเด็ดขาด พร้อมทั้งทำข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลง คือกำหนัดยินดีในพอใจในสิ่งที่เป็นกามคุณ ( กามราคะ ) น้อยลงเป็นแบบ “ มีก็ได้ ไม่มีก็ดี ” หรือ “ ไม่มีก็ได้ มีก็ดี ” และมีอารมณ์กระทบกระทั่ง โกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียวในบุคคลใด หรือสิ่งใด ( ปฏิฆะ ) น้อยลง ทำอารมณ์ให้แช่มชื่น ผ่องใส ควบคุมอารมณ์ได้มากขึ้น ท่านนั้นเรียกว่าได้บรรลุ “ พระสกทาคามี ”

    ๓/ ท่านใดทำลายสังโยชน์ ๕ ข้อแรกได้โดยเด็ดขาด คือ เป็นผู้ไม่ยึดมั่นในตัวกู ของกู มีความเชื่ออย่างมั่นคงในพระพุทธศาสนา เป็นผู้ปฏิบัติตรง ไม่เกี่ยวข้องกับศีลพรตผิดๆ ไม่มีความยินดีในวัตถุกาม ไม่มีอารมณ์โกรธฉุนเฉียว เรียกว่าบรรลุ “ พระอนาคามี ”

    ๔/ พระอริยสงฆ์ชั้นพระอรหันต์ ต้องทำลายสังโยชน์ทั้ง ๑0 อย่างได้หมด กล่าวคือ นอกจากจะทำลายสังโยชน์ ๕ ข้อแรกอย่างเด็ดขาดแล้ว ยังทำลายสังโยชน์ ๕ ข้อหลังได้เด็ดขาดด้วย คือความติดใจหรือพอใจในบุคคล สิ่งของ หรือรูปฌาน ( รูปราคะ ) ความติดใจในอรูปฌาน ( อรูปราคะ ) ความถือเนื้อถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ในทางข่มคนอื่น ( มานะ ) ความคิดฟุ้งซ่านแบบจับจด ( อุทธัจจะ ) และความเขลา ไม่รู้ในสิ่งต่างๆตาที่เป็นจริง ( อวิชชา )

    หลักเกณฑ์เหล่านี้เอง ที่นำมาใช้วัดความเป็นอริยบุคคลในพุทธศาสนา ซึ่งในตัวผู้ประพฤติธรรม คงใช้การสังเกตด้วยตนเองอย่างถูกต้อง ส่วนการพิจารณาบุคคลอื่น ท่านว่าให้ใช้การสังเกตการแสดงออกอย่างสม่ำเสมอ


    ......................................................................


    อ้างอิง


    อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน พุทธศาสน์แนวปฏิบัติเพื่อชีวิต สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๕๑

    ( เหตุที่เผยแพร่บทความนี้ เพราะเห็นว่าน่าจะใช้ประกอบกับบทความ “ การภาวนา ” ที่เพิ่งจบลงได้ เพื่อเป็นเกณฑ์วัดผลในทางปฏิบัติอีกทางหนึ่ง )


    * สีลัพพตปรามาส

    พระธรรมปิฏก ( ป.อ.ปยุตฺโต ) ได้ให้ความหมายไว้ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ ว่า

    สีลัพพตปรามาส ความยึดถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตร ( คือถือว่าเพียงประพฤติศีลและวัตรให้เคร่งครัดก็พอที่จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญาก็ตาม ถือศีลและวัตรอย่างงมงายก็ตาม ), ความถือศีลพรต โดยสักแต่ว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลัง หรือศักดิ์สิทธิ์ ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง, ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่าจะมีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนี้ล่วงธรรมดาวิสัย


    **ความยึดมั่นในพระรัตนตรัย

    ในที่นี้หมายถึงความยึดมั่นอย่างถูกต้อง อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน ได้ให้ความหมายไว้ในหนังสือ พุทธศาสน์แนวปฏิบัติเพื่อชีวิต มีใจความดังนี้


    พระพุทธเจ้า เคารพและยึดมั่นในฐานะที่ทรงเป็นกัลยาณมิตร ทรงสั่งสอนธรรมที่ได้บรรลุแล้วแก่ชาวโลก ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีที่ยืนยันถึงความดีงาม ความสามารถของมนุษย์ที่จะพัฒนาศักยภาพของตนให้ถึงที่สุดได้ ( ด้วยการหาความรู้ ฝึกฝน อบรม และพัฒนาตน )

    การกราบไหว้บูชาพระพุทธรูป ก็เพื่อระลึกถึงพระองค์ในแง่นี้ ไม่ใช่ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถบันดาลความหวังในสิ่งต่างๆให้เป็นจริงได้

    พระธรรม หลักแห่งความจริงและความดีงาม ที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบและสั่งสอน ผู้ศรัทธาพึงเรียนรู้และพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการ ( คือ การรู้จัดคิด คิดเป็น คิดถูก ) ให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงเพื่อการปฏิบัติให้เกิดมรรค ผล นิพพานแก่ตนต่อไป

    พระสงฆ์ คือหมู่ชนที่ปฏิบัติตามมรรควิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน จนสำเร็จมรรค ผล นิพพาน เป็นอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ มั่นใจว่าตนเป็น สาวกสงฆ์ หรือ อริยสงฆ์ ที่สร้างสรรค์ให้เกิดมีขึ้น และสามารถมีส่วนร่วมได้ และในฐานะเป็นอริยบุคคลในสงฆ์แล้ว ก็สามารถช่วยเหลือผู้อื่นในฐานะครูผู้เป็นกัลยาณมิตร ทำหน้าที่ระดับรองลงมาจากพระพุทธเจ้าได้ต่อไป


    ที่มา http://www.oknation.net/blog/nadrda2/2008/12/03/entry-1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2009
  2. GROLY

    GROLY เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    2,019
    ค่าพลัง:
    +8,001
    ศาสนา หรือ “ สงฆ์ ” สามารถบรรลุได้ถึงพระอรหันต์ ส่วนฆราวาสสามารถบรรลุได้ถึงขั้นพระอนาคามี

    ฆราวาสก็สามารถเป็นพระอรหันต์ได้ครับ มีอยู่ในพระไตรปิฏกอยู่ และที่หนังสือหลวงพ่อเล่าก็มีที่เป็นอรหันต์ในขณะที่เป็นฆราวาส ถ้าไม่บวชก็ต้องเข้านิพานภายในวันรุ่งขึ้น
     
  3. praram7

    praram7 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +770
    ฆราวาส เป็นพระอรหันต์ได้นะครับ แต่สามารถดำรงอยู่ในเพศฆารวาสได้ไม่เกิน 7 วัน เท่านั้น หากไม่บวขก็จะเข้าสู่นิพพาน สำหรับสาเหตุนั้น (ทราบมาแบบไม่ละเอียด) ด้วยสถานะของฆารวาสที่เป็นพระอรหัต์นั้น อาจทำให้บุคคลที่ไม่รู้ว่าเป็นอรหันต์ ได้กระทำล่วงเกินโดยตั้งใจ หรือมิได้ตั้งใจก็ดี อาจก่อให้เกิดอนัตตริยะกรรม แก่บุคคลเหล่านั้นเองได้ (ท่านใดทราบโดยละเอียดกว่านี้ ช่วยขยายความและเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหาดไปด้วยนะครับ เนื่องจากผมยังเป็นผู้รู้น้อย...)
     
  4. morinaka

    morinaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +432
    ถูกต้องแล้วครับ ฆารวาสเป็นอรหันต์ได้ แต่อยู่ได้เจ็ดวัน เพราะกันคนปรามาสจะเป็นกรรมหนักครับ หากไม่แล้วก็จะมีจีวรปลิวมาพร้อมกับเสียงมโหรี(อันนี้เค้าว่ามาอีกที) สรุปคือ ผู้เข้านิพพาน คือ ผู้พังเรือน(ดูกรสถาปนิกเราเจอท่านแล้ว เราจะไม่ให้ท่านสร้างเรือนได้อีก....) นี่เองล่ะครับ อันนี้แหล่ะตัววัด !!!!
     
  5. ดับ

    ดับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +533
    หลวงพ่อฤาษีท่านว่านะครับ ไม่จำเป็นต้องตัดถึง10ข้อหรอกครับ ตัดแค่ข้อแรกข้อเดียวก็จบแล้วครับ อนุโมทนาครับ
     
  6. คนนะ

    คนนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +221
    สิ่งมีชีวิตล้วนมีที่อยู่เป็นของตัวเอง ฆารวาสเป็นที่อยู่ของคนไม่ใช่ของพระ เมื่อพระอยู่จึงอยู่ได้ไม่นาน เหมือนสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำย่อมไม่อาจอยู่บนบก
    อันแห้งแล้งได้นาน ฉันใดก็ฉันนั้น

    ข้าพเจ้าพึ่งจะศึกษามีความรู้น้อยนิด ขออภัยหากแสดงความคิดเห็นผิดพราด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2009
  7. lord_vishanu

    lord_vishanu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +15
    พระอริยเจ้าหมายถงพระพุทธเจ้า ส่วนพระอริยหมายถึงพระสงฆ์ที่บรรลุอรหันต คำวา เจ้า ใช้กับบุคคลผู้เป็นใหญ่ที่สุด ( อันนี้ขออธิบายถึงการใช้ภาษาไทย )
     
  8. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เอาที่สำคัญนะ
    สักกายทิฏฐิ
    กามราคะ
    ปฏิฆะ
    รูปราคะ
    อรูปราคะ
    มานะ
    ที่เหลือมันจะรู้เองเมื่อเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ลำดับความสำคัญตามนั้น
     
  9. emtry phase

    emtry phase สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +3

    ผมสนใจคุณนะแต่ จิตใจนะไม่ใช่รูปกายของคุณ สิ่งที่คุณทำในปัจจุบัน คือการทำให้ตนและผู้อืนเห็นและรู้ในสิ่งที่ควรเห็นเรียกรู้ตามความเป็นจริง ส่วนเรื่องกรรม ไม่ว่าใครก็มีกรรมที่สร้างด้วยกันมาทั้งนั้น เมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นกรรมพึงละและแก้ไขมันเสีย มุ่งมั่นทำแต่สิ่งดี แต่ละคนที่เกิดมานั้นล้วนมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือปัจจุบัน เราคืออะไร และเป็นอะไร ไม่ใช่อดีตหรืออนาคตที่สำคัญ ไม่ว่าคุณจะหวังอะไรในอนาคตกาล ณ เวลาอันใดก็ตามขอให้คุณได้สมดังปราถณา เทอญ
    จาก kengkenny or emtry phase it same
     
  10. 11111111111

    11111111111 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +226
    คุณคิดถูก คำว่า เจ้า ใช้กับบุคคลผู้เป็นใหญ่ที่สุด

    คุณคิดถูก คำว่า เจ้า ใช้กับบุคคลผู้เป็นใหญ่ที่สุดคือ กษัตริย์ หรือ พระมหากษัตริย์ คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ รัชกาลใดรัชกาลหนึ่งที่ผ่านมา ทีมีความดีทางด้านพระพุทธศาสนา คิดเอานะว่าเป็นใครกลับชาติมา และเป็นชาติสุดท้าย แล้วผมจะบอกให้อีกนะ อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (องค์ดำ) อีกหนึ่งอดีตชาติ บอกแค่นะนะครับ เราบอกไว้ให้พวกคุณเข้าใจมากขึ้น ปีนี้เป็นปีมหามงคล อากาศ บ้านเมืองเราเปลี่ยนไปมาก พระอาทิตย์สีทอง ใกล้ถึงวันแล้วครับแต่ไม่ใช่คุณทักษิณนะ ที่เอามีแดง เลข 111 มาเปิดเลิกทำการประท้วง คุณคิดกันนะว่าตอนนี้ใครๆๆ หลายคนก็ ใช้เลข 1 นึกว่าตัวเองใช่ เราคิดว่าตำแหน่งที่สวรรค์เขากำหนดมาแล้วใครก็จะแย้งชิงตำแหน่งนั้นไปมิได้ ดูอย่างทักษิณ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2009
  11. vich

    vich เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +156
    พระอริยะ !! ใช้เกณฑ์อะไรมาวัด ???

    ไม่ยึดตึด ไม่ผูกมัด ใครใช้เกณฑ์ใดๆก็ตาม แต่ผมเชื่อใจตัวเองมากกว่า ถ้าจิตรับรู้สัมผัสรู้สึกได้ แม้ใครก็ตามที่ไม่ได้ฝึกสมาธิ แต่ถ้าตั้งมั่นในสิ่งที่ดีเมื่อพบผู้มีบุญบารมีมาก ผมเชื่อว่าก็น่าจะรับรู้ได้ แต่อย่ายึดติดหรือเกินไปลุ่มหลง ควรพิจารณาด้วยเหตุและผลทุกอย่างไป


    ****ควรใช้วิจารณาณในการรับชม เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ควรได้รับการแนะนำ****
     
  12. omikami76

    omikami76 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +17
    สำคัญเหนือคำบรรยาย

    ทุกศาสนาสอนคนให้เป็นคนดี
    แต่คนมีจิตไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะมุ่งลงสู่ทางต่ำ สังคมจึงเดือดร้อนต้องมีตำรวจ ทหาร และคนดีต้องอยู่อย่างระมัดระวังตัว
     
  13. ไซตอน

    ไซตอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +118
    การไม่ยึดติดฝึกเอาได้ แต่สภาวะแห่งมรรคญาณ ฝึกเอาไม่ได้
    สภาวะนี้แหละใช้ตัดสิน ถ้าไม่ผ่านสภาวะนี้ก็เป็นเพียงการนึกคิดเอาเอง
    ที่ผมเจอ พระอริยะบุคคลที่แท้ล้วนผ่านสภาวะนี้ทั้งนั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...