ตามหา..สุดยอดพระคาถา

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย kengja555, 7 ตุลาคม 2010.

?
  1. หัวใจพระไตรปิฏก

    0 vote(s)
    0.0%
  2. พระคาถาชินบัญชรพร้อมคำแปล

    0 vote(s)
    0.0%
  1. kungfuloma

    kungfuloma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +1,011
    บทที่เป็นการระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะมีผลข้างเคียงนะครับ
    ถ้าเป็นผม จะตั้งพระพุทธเจ้าเป็นสรณะสูงสุดครับ ส่วนอื่นจะเพิ่มเติมหรืออย่างไรค่อยพิจารณา

    • ยันต์พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ถ้าพื้นที่เล็กมาก ก็ตามพื้นที่นะครับ ยันต์พระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์ หรือ พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ก็ได้
    ถ้าที่เหลือ จะเพิ่มเติมอื่นๆอีกก็ได้
    เช่น
    <style>







    6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} p {mso-margin-top-alt:auto; margin-right:0cm; mso-margin-bottom-alt:auto; margin-left:0cm; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; font-family:Tahoma; mso-fareast-font-family:"Times New Roman";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    • หัวใจพุทธคุณ ๙ ประการของพระพุทธเจ้า "อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ"ถอดจาก บท อิติปิโส
    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CENJOY%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:595.3pt 841.9pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:35.4pt; mso-footer-margin:35.4pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> ๑. อะ คือ อะระหัง หมายถึง เป็นผู้ดับเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลสโดยสิ้นเชิง บทนี้ใช้ด้านกันไฟทั้งปวง
    ๒. สัง คือ สัมมาสัมพุทโธ หมายถึง เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยตัวพระองค์เอง บทนี้ใช้เป็นตบะเดชะเสริมสร้างสง่าราศี
    ๓. วิ คือ วิชาจะระณะสัมปันโน หมายถึง เป็นผู้พร้อมด้วยวิชาและจรณะ บทนี้ใช้ด้านโภคทรัพย์โชคลาภ
    ๔. สุ คือ สุคะโต หมายถึงเป็นผู้ดำเนินไปได้ด้วยดี บทนี้ใช้ในด้านการเดินทาง ทั้งทางบก น้ำ อากาศ
    ๕. โล คือ โลกะวิทู หมายถึง เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง บทนี้ใช้ภาวะนาเมื่อเข้าป่าหรือที่มืด
    ๖. ปุ คือ อนุตตโร ปุริสะทัมมะสารถิ หมายถึง เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้ควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า บทนี้ใช้ทางมหาอำนาจ ตวาดผี
    ๗. สะ คือ สัตถาเทวะมนุษานัง หมายถึง เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บทนี้ใช้ทางเมตามหานิยม สมณะ ขุนนางเอ็นดู
    ๘. พุ คือ พุทโธ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน บทนี้ใช้ภาวนาอารมณ์ ทำให้ไม่ตกต่ำอับจน
    ๙. ภะ คือ ภะคะวา ติ หมายถึง เป็นผู้จำเริญ จำแนก ธรรม สั่งสอนสัตว์ดังนี้ บทนี้ใช้ในทางป้องกันภยันอันตรายอันจะกระทำแก่เรา ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ อมนุษย์ อสูรกาย สัตว์เดียรฉาน ป้องกันการประทุษร้ายเหล่านั้นได้ ทั้งสิ้นแลฯ<o></o>



    • หัวใจคาถายอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก "จิ เจ รุ นิ" แทนพระธรรม

    • คาถาหัวใจยอดศีล “พุท ธะ สัง มิ” ย่อมาจาก “พุทธัง สะระณัง คัจฉามิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ” แปลว่า “ขอถึงซึ่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง”
    อนุโมทนาสาธุกับกุศลเจตนาในการสร้างจี้พระด้วยครับ
     
  2. namitta

    namitta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,061
    ค่าพลัง:
    +3,517


    แนะนำเพิ่มเติมว่่า หากทำยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก ให้ทำ แบบฉบับ ปรับปรุง ให้สมบูรณ์ นะครับ เพราะ ฉบับเก่า เขียนตกไปเยอะ

    และหากจะนำมาเสกละก็
    ให้มาเสกที่วัดพระแท่นศิลาอาสน์ จ. อุตรดิตถ์ เพราะพระภิกษุแสงท่านค้นพบ ที่ กรุ ที่นั่น ชาวบ้านแถบนั้น จารไว้ถวายบูชาไว้ที่วัดพระแท่นศิลาอาสน์

    เพราะ
    ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม
    ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก จารเป็นอักษรขอม จารึกไว้ในใบลาน โบราณาจารย์จึงได้แปลเป็นอักษรไทย หลวงธรรมาธิกรณ์ (พระภิกษุแสง)ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก <o:p> </o:p>
    มีคำกล่าวในหนังสือนำนั้นว่า ผู้ใดมียอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกไว้ประจำบ้านเรือน มีอานิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลกและป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ทำมาหากินเจริญ ฯลฯ

    สมัยก่อน มณฑลพิษณุโลกนั้นคือ หัวเมืองใหญ่ รวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือติดกับอาณาจักรล้านนา ไว้ทั้งหมด
    จัวหวัดอุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของ พระแท่นศิลาอาสน์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพิษณุโลก ในสมัยก่อนนั่นเอง

    ส่วนพระแท่นเล่าว่าเป็นที่นั่งประทับ ของพระพุทธเจ้า ทั้ง 4 พระองค์ที่ผ่านมาแล้ว เมื่อเสด็จมาที่นี่ คล้ายๆกับที่ประทับรอยพุทธบาท 4 รอยไว้ที่เชียงใหม่

    ที่เชียงใหม่พระองค์ท่านไปประทับพระบาทไว้
    แต่พระองค์ท่านมานั่งพัก ที่อุตรดิตถ์ 555++

    พระแท่นศิลาอาสน์นี้ ยังรอพระเมตตรัย พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 มานั่งประทับ ด้วยครับ

    ทุกปี ช่วง 7 วันก่อนวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 มักมีงานสมโภช และมักมีพระธุดงค์จากหลายๆที่ มาไหว้พระแท่น ที่นี่ มาเสกช่วงนี้ จะดีกว่าครับ 555

    .....................................












     
  3. radha

    radha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +414
    เข้าใจว่าจะไม่หนีกันเท่าไหรนะเนี่ย

    นะโม 3 จบ, อิติปิโส+พาหุงฯ +พระคาถาชินบัญชร, พระคาถาที่นึกได้ (บทสั้น) 108 จบ แล้วจึงแผ่บุญ เป็นอันจบ (ทำในวันที่รู้สึกไม่เหนื่อยมาก)

    ต่อด้วยนอนฟังบทสวดบูชาพระแม่ที่เราศรัทธา (ทุกคืน) จนหลับ...ไปตอนไหนก็ไม่รู้

    อาจจะฟังดูแปลก แต่เราก็ทำแบบนี้มาตลอดค่ะ สงบ สบายใจดี

     
  4. ปุณณา

    ปุณณา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +556
    บทสวดมนต์ ทุกคาถาดีทั้งหมดเลยล่ะค่ะ ถ้าเราศรัทธา

    บทที่สุดยอดน่าจะเป็นบทสวดพุทธคุณ อิติปิโสฯ

    เป็นบทสรรเสริญถึงความดีงามของพระพุทธเจ้า
    ก็เหมือนกับว่าเราพูดถึงความดีของคนดี
    สิ่งที่เราได้คือคิดดี พูดดี ทำดี
     
  5. kengja555

    kengja555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +41
    ขอถามต่อเกี่ยวกับข้อมูลที่เชื่อถือได้สำหรับยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก แบบฉบับ ปรับปรุงสมบูรณ์ ว่าจะหาหนังสือเหล่านี้ได้อย่างไรครับ
     
  6. namitta

    namitta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,061
    ค่าพลัง:
    +3,517
    1

    ๑. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะโส ภะคะวาฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะโส ภะคะวาฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน วะตะโส ภะคะวาฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วะตะโส ภะคะวาฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วะตะโส ภะคะวาฯ

    อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ อะระหันตัง สิระสา นะมามิ
    สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
    วิชชาจะระณะ สัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ วิชชาจะระณะ สัมปันนัง สิระสา นะมามิ
    สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ สุคะตัง สิระสา นะมามิ
    โลกะวิทุง สะระณัง คัจฉามิ โลกะวิทุง สิระสา นะมามิ

    ๒. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ โส ภะคะวาฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะ สาระถิ วะตะ โส ภะคะวาฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง วะตะ โส ภะคะวาฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะ โส ภะคะวาฯ

    อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
    ปุริสะทัมมะ สาระถิง สะระณัง คัจฉามิ ปุริสะทัมมะ สาระถิง สิระสา นะมามิ
    สัตถารัง เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ สัตถารัง เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ พุทธัง สิระสา นะมามิ
    อิติปิ โส ภะคะวา ฯ

    ๓. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน

    ๔. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวี ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาโป ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เตโช ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วาโย ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน

    ๕. อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกา ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสา ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยามา ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตี ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ประระนิมมิตะวะสะวัตตี ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน

    2
    ๖. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน

    ๗. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน (ตรงนี้จำได้ว่าฉบับเดิมก็ ไม่ใส่ไว้ เหมือนมันขาดๆ)

    ๘. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคคะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิมัคคะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะมัคคะ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน

    อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    (ตรงนี้ก็ด้วย )

    ๙. กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ชัมพู ทีปัญจะ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา
    นะโม พุทธายะ นะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ ปัญจะพุทธา นะมามิหัง
    อา ปา มะ จุ ปะ, ที ฆะ สัง อัง ขุ, สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ, อุปะสะชะสะเห ปาสายะโสฯ
    โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ, เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว, อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ
    ภะ, อิสะวาสุ สุสะวาอิ กุสะลา ธัมมา จิตติ วิอัตถิ
    ๑๐. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิปัญจะ อิสสะโร ธัมมา
    กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาสัมพุทโธ สุ คะ ลาโน
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา
    อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุ อุ
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตาวะติงสา อิสสะโร กุสลา ธัมมา
    นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา
    พรหมา สัททะ ปัญจะ สัตตะ สัตตาปาระมิ อะนุตตะโร ยะมะกะขะ
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    3
    ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา
    ปุ ยะ ปะ กะ ปุริสะทัมมะสาระถิ
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา
    เหตุโปวะ สัตถาเทวะมะนุสสานัง ตะถา
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ประนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา
    สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    พรหมะ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา
    นัตติปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา
    ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
    ๑๑. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
    พุทธิลาโภกะลา กะระกะนา
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหะยะ
    นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
    วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ
    สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหะยะ
    อินทะสาวัง มะหา อินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหา พรหมะสาวัง
    จักกะวัตติสาวัง มะหา จักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหา เทวะสาวัง
    อิสีสาวัง มะหา อิสีสาวัง มุนีสาวัง มะหา มุนีสาวัง
    สัปปุริสะสาวัง มะหา สัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะ พุทธะสาวัง
    อะระหัตตังสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง
    เอเตนะ สัจจะเน สุวัตถิ โหนตุ.
    สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง
    สีลัง ปัญญา นิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะฯ
    ๑๒. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
    รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณขันโธ
    นะโม อิติปิ โส ภะคะวา.
    นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
    รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณขันโธ
    นะโม สะวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม.
    นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
    รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณขันโธ
    นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวักกะสังโฆ วาหะปะริตตัง.
    นะโม พุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
    ยะวะตัสสะ หาโยโมนะ อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
    อุอะมะอะ วันทา นะโม พุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตาฯ
    4
    ประวัติยอดพระกันฑ์ไตรปิฏก
    หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกต้นฉบับเดิม มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าศักดิ์สิทธิ์นัก ถ้าผู้ใดสวดมนต์ภาวนา
    ทุกค่ำเช้าแล้ว ผู้นั้นจะไม่ตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือนก็ป้องกันอันตรายต่างๆ จะภาวนาพระคาถาอื่นสัก
    ๑๐๐ ปี อานิสงส์ก็ไม่เท่าภาวนาพระคาถานี้ ถึงแม้ว่า อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำ
    ก่อเป็นพระเจดีย์ ตั้งแต่มนษย์โลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก อานิสงส์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกนี้ และมี
    คำอธิบายคุณความดีไว้ในต้นฉบับเดิมนั้นอีกหายประการฯ
    ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก เป็นอักษรขอม จารึกไว้ในใบลาน หลวงธรรมาธิกรณ์ (พระภิกษุแสง)
    ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก จึงแปลเป็นอักษรไทย
    ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกนี้ ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างถวายพระภิกษุสงฆ์-สามเณร หรือญาติสนิทมิตรสหาย จน
    ครบ ๗ วันหรือครบอายุปัจจุบันของตน จะบังเกิดโชคลาภทำมาค้าขายเจริญ พ้นเคราะห์และภัยพิบัติทั้งปวง





    ฉบับเดิม ตรงท่อน
    "อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละ ธาตุ สมาธิญาณะ สัมปันโน"

    มิแค่ถึง อนาคามี แต่ อะระหัตตะ หายไป

    .................................................
    มาจาก

    http://www.nutthnet.com/download/ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก.pdf
     
  7. kengja555

    kengja555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +41
    ช่วยกันโหวตหน่อยครับ ใกล้ปิดฉากการตามหา..สุดยอดพระคาถาแล้ว
     
  8. KHAjit

    KHAjit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    204
    ค่าพลัง:
    +941
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับและคุณkemgja555 ที่จะจารึกคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ ผมขอเสริมอีกสักคาถาครับ คือ พระคาถา อาการวัตตาสรูตร ครับ เพราะเป็นพระสูตร ที่กล่าวถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่เส็จสู่พระครรณ์จนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าครับ
     
  9. ฐิติ จันทร์ตรง

    ฐิติ จันทร์ตรง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +37
    นะฤาชา กุติยะ ปัญจะลือ โสภะกัญจะ สะวะรัง วะรัง ฤามะหันตา นะมามิหัง กรีนิ อักขรานิ ชาตานิ อุณาโลนาถัง เพชรตังโหติ อะสังวิสุโลปุสะพุภะ สัตถุโน พุทโธ
     
  10. ทรราชย์น้อย

    ทรราชย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +115
    พุท โธ

    คือที่สุดของที่สุดแล้ว
     
  11. I_DreaM_PartY

    I_DreaM_PartY เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +217
    ขอ อนุโมทนา ใน อานิสงค์แห่งการ สร้างอักขระ
    การสร้าง อักขระ ที่พรรณาบารมีแห่งพระพุทธเจ้า เสมือนได้สร้างพระพุทธรูป 1 องค์
    หากให้แนะนำ เพิ่ม ควรจะมี คาถา มงกุฏพระพุทธเจ้าด้วย เพราะเป็นสิ่งที่สูงที่สุด (อยู่บนพระเศียรพระพุทธองค์) แล้ว ผมเคยได้รับการ สอนจากในขณะนั้งสมาธิว่า พระคาถานี้ หากนำบาตรหรือขัน ใส่พระลงไปแล้ว ตั้งจิตให้แน่วแน่ แล้วเจริญพระคาถานี้ พระจะศักดิ์สิทธิ์มากๆ จนกระโดดออกจาก บาตรหรือขันได้
    จึงแนะนำว่าไม่ควรลืม
     
  12. อวตาร888

    อวตาร888 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,070
    ยอดธรรม ยอดพระคาถา
    พุทธโธ
    ธรรมโม สังโฆ
    อัปปมาโน
    ยะโขธัมมัง วะรังตัสสะ เยชะนาเต ชะนาวะรัง
    โกจิตตังสัง ขะตังมุตโต เอโสปรัมโม ทุกขังขะโย

    บุคคลใดได้มาสวดมนต์เจริญ คือสาธยาย ยอดธรรมยอดพระคาถานี้อยู่เนืองๆบุคคลนั้นจักประสบประโยนช์ใหญ่หลวง เป็นผู้มีโชคใหญ่ จักไม่เข้าถึงความตาย ควายตายจักไม่แลเห็นผู้นั้น จักบรรลุคุณวิเศษหาค่ามิได้.
    หลวงปู่ดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต จ.เชียงราย
    (คำแปลยาวเกือบสามหน้ากระดาษ ท่านผู้ใดอยากทราบpmมาได้ครับ)
     
  13. ไอ้ใบ้

    ไอ้ใบ้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2005
    โพสต์:
    2,252
    ค่าพลัง:
    +7,241
    * มึงมีกูไว้ ไม่จน *
     
  14. ยุบล

    ยุบล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +167
    กระผมขอเสนอ พระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์น่าจะดีกว่าพระคาถา ที่เกิดขึ้นจากการร้อยแก้วหรือแต่งเป็นกาพย์ โคลง ฉันท์ฯลฯที่ผุดเกิดในระยะเวลา2554ปี จารึกพระธรรมที่ออกจากพระโอษฐ์แก้วของพระพุทธองค์โดยตรงย่อมดีกว่าจารึกคาถาพรรณณาที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมใสมากกว่าเป็นไหนๆ
     
  15. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    เข้ามาอ่านค่ะ................
     
  16. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ไม่รู้ว่าจะสุดยอดหรือเปล่านะ แล้วก็เป็นภาษาไทยน่าจะง่ายต่อการทำความเข้าใจ

    บทสวดสุญญตาพุทโธ
    เป็นบทสวดมนต์พิเศษอีกบทหนึ่งที่มีอยู่ในหนังสือคู่ มือพุทธบริษัท ฉบับสมบูรณ์ มีอยู่ที่หน้า๑๘๗-๑๘๘ เวลาสวดให้พิจารณาถึงความหมายใจความของสิ่งที่ท่องพร้อมทั้งพิจารณาถึงสิ่ง ที่เป็นอยู่จริงของตน..จะเห็นว่ามีความหมายบางอย่างที่ซ่อนอยู่และเราผู้สวด ได้ท่องและกระทำอย่างที่ท่องหรือไม่

    วิธีการสวดเพื่อให้เห็นผลก็ไม่ยุ่งยาก ไม่มีคำบาลีมากมาย ..เราจะเริ่มต้นสวดมีขั้นตอนดังนี้...

    ตั้งนะโม (๓จบ)

    ๑.สุญญตาพุทโธ...ดี เหลือเกินวันนี้,เรายังมีชีวิตอยู๋,เราจะทำหน้าที่ของความเป็นมนุษย์ ให้ดีที่สุด,จนสุดความสามารถในทุกๆกรณี,แต่เราจะไม่หวังอะไร จากใครๆ,โดยที่สุดแม้แต่คำว่า"ขอบใจ",เพราะอำนาจอยู่ที่พระธรรม (เป็นวิธีปฏิบัติธรรมทั้งกันและแก้ โลภะ :ความโลภ)

    ๒.สุญญตาพุทโธ..ชีวิต ของเรานี้,ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย แน่นอน,จะแก่แบบไหน จะเจ็บแบบไหน จะตายแบบไหน,เวลาไหน ตรงไหน มาเถิด,เราพร้อมแล้ว,ถึงอย่างไรเราจะไม่เป็นทุกข์,เพราะไม่ใช่ของเรา แตเป็นของพระธรรม (เป็นวิธีปฏิบัติธรรมทั้งกันและแก้ โมหะ:ความหลง )

    ๓.สุญญตาพุทโธ...ญาติ ทั้งหลาย,มีมารดาบิดาเป็นต้น,ตลอดถึงทรัพย์สมบัติทั้งหมดทั้งสิ้น,ต้อง พลัดพราก ล้มหายตายจากกันไปอย่างแน่นอน,ไม่วันใดก็วันหนึ่ง,ถึงเป็นเช่นนั้นเราจะไม่ เป็นทุกข์ เพราะไม่ใช่ของเรา แต่เป็นของพระธรรม(เป็นวิธีปฏิบัติธรรมทั้งกันและแก้ โมหะ:ความหลง )

    ๔.สุญญตาพุทโธ...ไม่ ว่าเราจะทำอะไรลงไปก็ตาม,คนทั้งหลายต้องรู้สึกกับเรา อย่างน้อย๓ประเภท,คือ เขาว่าเราดีบ้าง,เขาว่าเราไม่ดีบ้าง,เขาไม่สนใจกับเราเลยบ้าง,เราจะไม่ค้าน ไม่เถียงและไม่หวั่นไหว,โดยประการทั้งปวง,ถ้าเขาว่าเราดีก็ถูกของเขา,เขาว่า เราไม่ดีก็ถูกของเขา,เขาไม่สนใจเราเลยก็ถูกของเขา,อย่างนั้นเอง,เราจะไม่ เป็นทุกข์,เพราะธรรมะใครทำใครได้(วิธีปฏิบัติธรรมทั้งกันทั้งแก้โลภะ โทสะ โมหะ)

    ๕.สุญญตาพุทโธ...ทั้งเนื้อทั้งตัว ทั้งผลงานที่ทำไปแล้วทั้งหมดทั้งสิ้น,เราขอยกให้พระธรรมทั้งหมด,เราจะไม่ หวังที่จะเอาอะไร,เราจะไม่หวังที่จะเป็นอะไร,ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกไหนๆ,โดย ประการทั้งปวง,เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของพระธรรมสุญญตา (วิธีปฏิบัติธรรมทั้งกันทั้งแก้โลภะ โทสะ โมหะ)

    ๖.สุญญตาพุทโธ...ทุกๆ ชีวิตต่างก็มีความทุกข์อยู่แล้ว เราคนหนึ่งจะไม่เพิ่มทุกข์เพิ่มโทษให้แก่ทุกๆชีวิตเลย,ถึงแม้ว่าเขาจะด่า นินทา ใส่ร้าย ทุบตี,หรือโดยที่สุดฆ่าเราให้ตายก็เชิญเถิด,เราจะไม่ทำตอบ,เพราะการทำตอบเลว สองเท่า,พระพุทธเจ้าตรัสไว้,บุญกุศลใดๆที่ข้าพเจ้าได้กระทำให้เกิดมีขึ้น แล้ว,ขอบุญกุศลนั้นๆจงถึงแก่ทุกๆชีวิต,ทั้งที่ตายไปแล้วด้วย,ทั้งที่มีชีวิต อยู่เดี๋ยวนี้ด้วย,ขอให้มีความสุข,แล้วพ้นจากทุกข์ทั้งปวง,เข้าสู่พระนิพพาน โดยเร็วพลันเทอญ(วิธีปฏิบัติธรรมทั้งกันทั้งแก้โทสะ :ความโกรธ)

    ๗.สุญญตาพุทโธ..ต่อไปนี้,ข้าพเจ้าต้องเชื่อฟัง ต้องขยัน ต้องไม่ดื้อ,ต่อพระธรรมอีกต่อไป(วิธีปฏิบัติธรรมทั้งกันทั้งแก้โลภะ โทสะ โมหะ)

    ๘.สุญญตาพุทโธ..ทำหน้าที่ไม่หวังอะไร ไม่เป็นอะไร,สะอาด สว่าง สงบ,ใจอยู่กับนิพพาน,เพราะไม่มีเรา,มีแต่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา,ที่เกิดดับถี่ยิบ ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด. (วิธีปฏิบัติธรรมทั้งกันทั้งแก้โลภะ โทสะ โมหะ)

    บทสวดสุญญตาพุทโธนี้ใช้ได้ทั้งกันและแก้กิเลสทั้งปวง ต้องทำให้มาก เจริญให้มาก เช้าเย็นก่อนเข้านอน ทำจนชำนาญจริงๆจึงจะได้ผล
     
  17. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
    เป็นหัวใจ108 ครับ
     
  18. หมอเป่า

    หมอเป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    313
    ค่าพลัง:
    +687
    นะ มะ พะ ทะ จุ เจ รุ นิ พุท โธ นะ โม พุท ธา ยะ จะ ภะ กะ สะ จะ เอา อะ ไร เลืือก

    เอา ไป ครับ ฮ่า ฮ่า ฮ๋า
     
  19. yordnakorn

    yordnakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2008
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +653
    ...อะสังวิสุโลปุสะพุภะ พุทธะสังมิ อิสวาสุ พามานาอุกะสะนะทุ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะพะกะสะ จิเจรุนิ มะอะอุ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา พุทโธ พุทโธ พุทโธ...
     
  20. Pubeth

    Pubeth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +605
    สุดยอดคาถาของแต่ละบุคคลก็คือคาถาประจำตัวของแต่ละคนครับ
    สังเกตุดูได้ พระเกจิผมบอกได้เลยทุกพระองค์มีคาถาประจำตัวทุกองค์
    ลองเปิดดูในหนังสือสวดมนต์จะมีคาถาประจำตัวของพระเกจิหรืออาจารย์ต่างๆ นั่นละครับ ผมจะเปรียบให้ดูกับมีดครับ เหมือนกับว่าเรามีมีดของเราเองคอยลับให้คมอยู่เสมอเหมือนกับคาถาประจำตัวต้องหมั่นบ่นท่องให้ขึ้นใจภาวนาคอยลับให้คมอยู่เสมอ มีดแต่ละชนิดก็ใช้งานไม่เหมือนกันแต่ละด้ามก็ไม่เหมือนกันก็เหมือนคาถาประจำตัวแต่ละคนที่เรือนร่างของคาถาจะไม่เหมือนกัน ได้มาไม่เหมือนกันวิธีใช้งานก็ไม่เหมือนกัน หากคุณไม่มีคาถาประจำตัวก็เปรียบเสมือนคุณไปยืมมีดของคนอื่นมาใช้ถึงเวลาก็จากไปเพราะไม่ไช่ของคุณ หากคุณมีคาถาประจำตัวของคุณ คาถาอื่นๆก็จะตามมาเองครับ ลองถามอาจารย์เก่งๆดูได้มีทุกคนครับคาถาประจำตัวแต่ละท่าน บางท่านที่ไม่มีก็คิดดูเองครับว่ามีคาถาของผู้อื่นมากมายแต่คาถาประจำตัวของตัวเองไม่มี ส่วนการที่จะได้มานั้น ปฏิบัติตัวให้ดีครับ อฐิษฐานจิตขอคาถาประจำตัวพอถึงเวลา คาถาประจำตัวของคุณจะได้มาเองบังเกิดมาในนิมิตรครับ พอได้มานำมาแปลความหมายว่าใช้ได้ไปในทางไหน แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนเป็นเมตตา บางคนเป็นฤทธิ์ด้านต่างๆ บางคนครอบคลุมหมดก็มี สุดแท้แล้วแต่วาสนาของท่านเอง บางคน 5 ปี 10 ปียังไม่ได้คาถาประจำตัวก็มีครับแล้วแต่วาสนาแต่ละคน
    พอได้มาแล้วก็หมั่นท่องบ่นจำให้ได้ภาวนาเป็นประจำทุกลมหายใจทุกกริยาบทให้มีคาถาประจำตัวของคุณเอง จะกินจะนอนจะนั่งใส่เสื้อผ้าจะทำอะไรเสกคาถาประจำตัวของคุณเองให้หมดไม่ต้องกลัวเสื่อมเพราะเบื้องบนประทานให้มาแล้วครับ จากนั้นคุณจะใช้ไปในทางใดก็สุดแล้วแต่ท่านควรใช้ไปในทางที่ดีครับ สุดท้ายนี้หากคุณยังไม่มีคาถาประจำตัวอยากหาคาถาระลึกติดตัวไว้ผมแนะนำ " พุทโธ" ครับ
    ความหมายก็รู้รู้อยู่นะครับทั้งหมดนี่อาจารย์ผมสอนมาครับเรื่อง เรือนร่างคาถา คาถาประจำตัว ในเวปนี้ก็มีกันหลายท่านอยู่ครับคาถาประจำตัว บางท่านได้มาก็ไม่รู้ว่าเป็นคาถาประจำตัวของตัวเองก็มีครับ ส่วนของผมเอง ส่วนหัวใจมีอยู่ 9 คำถอดเนื้อมนต์ออกมาได้3หน้ากระดาษ ชื่อว่าคาถาหัวใจเทวดาครับเบื้องบนให้มา ส่วนมีว่าอย่างไรผมขอสงวนไว้ด้วยเหตุผลบางประการครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...