ยุทธวิธี ๘ ขั้นแห่งการเป็นผู้พิชิต

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 พฤศจิกายน 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]

    คำนำ
    ทุกชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ ล้วนต้องเผชิญกับการต่อสู้ ในรูปแบบและจุดมุ่งหมายที่ผิดแผกแตกต่างกัน ออกไป ตามเงื่อนไขของสภาพแวดล้อม สัญชาตญาณ และความเจริญแห่งภูมิจิต ภูมิปัญญา ที่พัฒนา แปรเปลี่ยนไปในแต่ละยุค แต่ละสมัย

    นับตั้งแต่การต่อสู้กับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ต่อสู้กับความทุกข์ทรมานของโรคภัยไข้เจ็บ ต่อสู้เพื่อ ครอบครองกรรมสิทธิในที่อยู่อาศัย ต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ฯลฯ ของมนุษย์ในยุคสมัยต้นๆ
    มาจนกระทั่งถึงการต่อสู้ เพื่อครอบครองอาณาเขตดินแดนต่างๆ ต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ ต่อสู้เพื่อความอดอยากหิวโหย ต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ ต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษฯลฯ ของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน

    จากการต่อสู้ในระดับบุคคล เงื่อนไขของการต่อสูได้บีบรัด ให้มนุษย์ผนึกรวมกันเข้า เพื่อร่วมกันต่อสู้ กับภัยพิบัติ ทั้งทางธรรมชาติ และสังคม จนคลี่คลายขยายตัว เป็นขบวนการต่อสู้อันยิ่งใหญ่ของ มวลมนุษยชาติ

    แต่แทนที่การผนึกรวมกันเข้าของมนุษย์ จะช่วยให้มนุษย์ได้พบกับชัยชนะในการต่อสู้ และอยู่ร่วมกัน อย่างมีสันติสุข มันกลับก่อให้เกิดปัญหาอันยุ่งยาก และสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกทีๆ จนกลายเป็นกลไก อันยุ่งเหยิงของสังคมในระบบต่างๆ ซึ่งมีอิทธิพลผลักดันให้วิถีชีวิตมนุษย์ ให้ต้องดำเนินไปตามวงจร และค่านิยมที่สังคมนั้นๆ กำหนดขึ้น โดยปราศจากจิตสำนึกที่แท้จริง ในการอยู่ร่วมกัน และความรู้ซึ้ง ถึงคุณค่า และความหมายของการมีชีวิตอยู่

    อันนับว่าเป็นความปราชัยอย่างยับเยินที่สุดของมนุษยชาติ!

    สาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์ ต้องประสบกับความล้มเหลว ในการต่อสู้กับศัตรู ทั้งทางธรรมชาติ และ สังคมนั้น เพราะมนุษย์มัวแต่ไปวุ่นวายอยู่กับสิ่งเร่งเร้าภายนอกมากเกินไป จนละเลย และมองข้าม ศัตรูสำคัญที่สุดของมนุษยชาติ อันคือ"สัญชาตญาณสัตว์ป่า" ซึ่งครอบงำฝังลึก อยู่ในกมลสันดาน ของมนุษย์นั่นเอง ที่ทำให้สังคมของมนุษย์ ซึ่งเป็นสัตว์เมือง มีสภาพไม่แตกต่างไปจากฝูงสัตว์ป่า ในด้านของความสำนึกทางมโนธรรม

    จึงกล่าวได้ว่าศัตรูสำคัญ ซึ่งเป็นตัวการที่บ่อนทำลายมนุษยชาติให้ย่อยยับนั้น ก็คือ"สันดานดิบ" ที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของมนุษย์ปุถุชนทั้งหลายนี้เอง
    เมื่อเห็นได้แล้ว พึงช่วยกันกำจัดเถิด สาธุชนทั้งหลายเอ๋ย!

    "ยุทธวิธี" ๘ ขั้นแห่งการเป็นผู้พิชิตนี้ มีเนื้อหาสาระในการที่จะชำระขัดเกลา หรืออบรมบ่มสันดาน ของมนุษย์ ให้มีจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ หมดจด และเจริญงามสูงส่ง เปี่ยมด้วยมโนธรรมสำนึก อันไพบูลย์ จนอยู่เหนืออิทธิพลของสัญชาตญาณสัตว์ป่า เป็นผู้พิชิตซึ่งได้รับชัยชนะเหนือตนเอง และ เหนือโลก (โลกุตระ) อย่างแท้จริง

    โดยเรียบเรียง ถ่ายทอดจากคำบรรยายเรื่อง"พาหุง ๘ " (บทถวายพรพระ) ซึ่งบันทึกเสียงไว้ ตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๕๑๖ และได้แก้ไขปรับปรุง และเพิ่มเติมส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องอยู่ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ ก็ได้ตั้งชื่อเรื่องเสียใหม่ เพื่อความเหมาะสมตามกาลสมัย

    ซึ่งบทถวายพรพระ หรือพาหุง ๘ นี้ โดยทั่วไป ก็ใช้เป็นบทสวดอ้อนวอน ขอความเป็นศิริมงคล อันเป็น ลัทธิพิธีตามความเชื่อของศาสนาแบบ"เทวนิยม" ซึ่งเป็นแบบอย่างของลัทธิยอมจำนน ที่สอนให้คน งอมือ งอเท้า ไม่ต่อสู้กับชีวิต โดยยกอ้างอำนาจลี้ลับ ของผีสางเทวดา มาพะเน้าพะนอ ความอ่อนแอ ของตนเอง อันไม่ใช่วิสัยของชาวพุทธที่แท้จริงเลย

    รายละเอียดต่างๆ ก็จะไม่ขอกล่าวในที่นี้ เพราะภายในเนื้องเรื่อง ก็ได้บรรยายไว้อย่างแจ้งกระจ่าง อยู่แล้ว จนคิดว่าบางที ความแจ้งกระจ่างของเนื้อหาสาระ อันเป็นแก่นแท้ อาจทำให้เกิดความกระทบ กระเทือน แก่ผู้ที่ยังติดอยู่ในสภาวะนั้นๆ ก็ขอความกรุณา โปรดอย่าได้ขัดเคือง หรือขุ่นข้อง หมองใจ เลย เพราะผู้บรรยาย มีแต่ความจริงใจ และบริสุทธิ์ใจ ที่จะแสดงสารัตถะแห่งสัจธรรม ให้ปรากฏ อย่างชัดเจน ด้วยกุศลเจตนาแท้ๆ มิได้มีอคติแต่ประการใดเลย

    พระพุทธพจน์ว่า "ผู้ชี้โทษ นั่นแหละคือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์"

    ในที่สุดนี้ ก็จะเว้นกล่าวเสียมิได้ก็คือ การที่หนังสือเล่มนี้ สำเร็จเป็นรูปเล่มขึ้นมาได้ ก็ด้วยความเอื้อเฟื้อ ของคุณ "พยนต์ เทียนประเสริฐ" และมิตรสหาย ซึ่งเป็นผู้รับภาระในการจัดพิมพ์ จนสำเร็จลุล่วง มาได้ด้วยดี จึงขออนุโมทนา สาธุการไว้ ณ ที่นี้ด้วย และขออานิงส์ในสารัตถะแห่งหนังสือนี้ พึงได้แก่ สาธุชนทุกๆท่านผู้อ่าน ด้วยวิจารณญาณอันยิ่ง เทอญ

    อัตตา หเว ชิตัง เสยโย ชนะตนนั่นแหละเป็นดี
    จาก ชาวอโศก เพื่อมวลมนุษยชาติ
    ________________________________________
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    ยุทธวิธี ๘ ขั้นแห่งการเป็นผู้พิชิต
    (พาหุง ๘ ที่พิสูจน์ได้)


    ลำดับต่อไปนี้ จะบรรยายเกี่ยวกับคำที่ได้สวดกัน ฟังกันมามากมาย คือ บทสวดมนต์ชื่อ "พาหุง สะหัส สะมะภินิม มิตะสาวุธันตัง ฯลฯ" ที่เคยได้ฟังกันมา เป็นพาหุง สั้นๆ หรือเป็นพาหุง ทั้ง ๘ บท ยาวเต็ม ก็ตาม ณ ที่นั้จะบรรยายให้ฟังครบกันอย่างจะจะ ทั้ง ๘ บท ๘ ขั้นทีเดียว

    ที่ได้ฟังกันมาแล้ว ก็ได้ยึดหลงกันคิดว่า บทสวดพาหุงฯ นั้นเป็น"คาถา" กันโน่น กันนี่ กันผี กันสาง ทำให้สมจิต สมใจในสิ่งโน้น สิ่งนี้ เที่ยวให้สำเร็จผลอย่างโน้น อย่างนี้ มีฤทธิ์ มีเดชอย่างโน้น อย่างนี้ นั่นเป็นความเชื่อถือ ยึดถือที่งมงาย เพราะอะไร มีเหตุ มีผลอย่างไร? ผู้เชื่อนั้นก็ไม่รู้ เราได้ยินติดหู ภาษาบาลี

    "พาหุง สะหัส สะมะภินิม มิตสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ...ฯ เราก็นึกว่าเป็น "ถาคา" แหม! ดีจริงๆ ขลังจริงๆ ทั้งๆที่เราไม่รู้เลยทั้งหมดว่า หมายความว่าอะไร? นอกจากได้รับมาโดยเป็นการ สวดร้องหมู่ "พาหุง สะหัสสะมะภินิม มิตสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตโฆระสะเสนะมารัง ทานังทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

    บท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ นี่ เขาแปลว่า "ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดช แห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น"อันนี้เป็นบทจบของทั้ง ๗ บท ๘ บท ที่สวดเป็นพาหุงยาวๆ เป็นบท "ขอ" หนะ !

    ที่จริงพระพุทธเจ้า ท่านไม่เคยสอนเรื่อง"ขอ"และ ไม่มีบทสวด "ขอ" ไม่มีการสวดอ้อนวอน เพราะศาสนา พุทธ ไม่ใช่"เทวนิยม" ไม่ใช่ศาสนาที่มี"พระเจ้า" (GOD) บันดาลเหมือนศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาฮินดู ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ฯลฯ เป็นต้น

    ศาสนาพุทธ ไม่ได้มีพระจิต พระวิญญาณคอยแผลงฤทธิ์ แผลงเดช ประทานนั่น บันดาลนี่ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่เห็นยิ่งไปกว่า"ศาสนา" ซึ่งมีความเชื่อใน"เทวนิยม" ในเรื่อง"จิต" เรื่อง"วิญญาณ" แบบเก่าๆ เดิมๆ หรือจะเรียก"พระจิต" เรียก "พระวิญญาณ" ตามภาษาศาสนาทางตะวันตกก็ตาม

    พระพุทธเจ้า เป็นพราหมณ์ เป็นฮินดูมาเก่า เคยถูกสอนให้เชื่อ ให้"ขอ" ต่อเทวะ ต่ออาตมันมาก่อน แต่แล้วพระองค์ ก็มาตรัสรู้ แจ้งในอาตมัน ตรัสรู้แจ้งในเทวะทั้งหลาย อย่างแจ่มชัดแท้ แล้วก็สอนผู้คนให้รู้แจ้งตาม ศาสนาพุทธเน้น "กรรม" อันคือ"การงาน หรือการกระทำ"ของใครก็ของใครนั่น
    แหละ คือมี"การกระทำ" เป็นของๆตน ใครทำดี ก็ได้ดีนั้น ใครทำชั่ว ก็ได้ชั่วนั้น หรือยิ่งไปหลงพึ่ง" ขอ" เอากับวิญญาณภูต วิญญาณผี วิญญาณเทวดากะเฬวราก ที่ต่ำ ที่ต้อยยิ่งกว่าวิญญาณ "พระเจ้า" ก็ยิ่งเป็นศาสนาต่ำต้อย ยิ่งกว่าศาสนาที่มี "พระเจ้า" ไปใหญ่ ก็ยิ่งไมได้เรื่องเลย ยิ่งเหลว ยิ่งแย่!

    นี่คนสมัยต่อมา เป็นอาจารย์รุ่นหลังแต่งบทนี้ขึ้น แต่งบทสวดพวกนี้ขึ้น แล้วก็ใช้เป็น บทขอ อ้อนวอนขอ กราบกรานขอ อ่อนน้อมขอ เดินเวียนรอบขอ ไปเอาอย่างศาสนาอื่น ที่เขามี"พระเจ้า" (GOD) ประทาน หรือ บันดาลซะนี่! ซึ่งการสวดขอเอานั้น ไม่ได้! มันไม่ได้ มันเป็นการขอที่ไม่ได้ เราต้องเป็นคนช่วยตัวเอง ทำเอาเอง และจะได้เอง มันถึงจะดี

    แต่เอาเถอะ จะขอ หรือไม่ขอ ก็ตามแต่ ถ้าเราน้อมใจของเรา ตั้งอธิษฐานว่า อยากได้สิ่งนั้น สิ่งนี้ไปเป็น มงคล ! มงคล หรือความดี หรือเป็นชัยมงคล มันก็ดีละ "ชะยะมังคะลานิ" ชัยมงคล มันดี ที่มีชัย มีมงคล ตามว่า แต่มงคล หรือความดี ตามว่านี่ เราควรจะได้อย่างไร? เป็นยังไง?

    บทพาหุง ทั้ง ๘ อาจารย์ เกจิอาจารย์รุ่นหลัง (คือ ไม่ใช่คาถาของพระพุทธเจ้าตรัสไว้) ได้ไปเรียบเรียง เอาประวัติของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าท่านได้แสดงปาฏิหาริย์ก็ดี หรือว่าแสดงความเก่งกล้า สามารถ โดยการปราบมาร ปราบยักษ์ ปราบเดรัจฉานที่โง่เง่า มืดมัว เพราะว่าเมามัน เมาสิ่งที่คนหลง แล้วก็ปราบคนใจหยาบอำมหิต ปราบคนที่มันจอมลวงโลก หรือว่าปราบไปจนกระทั่งถึงนักบวช ที่อวดดี หลงตน ปราบนาค เรียกว่าพญานาค ก็ได้ เดี๋ยวจะอธิบายให้ฟัง

    พญานาค หมายถึงอะไร ? คนต่างๆ หมายถึงอะไร? เดี๋ยวจะเข้าใจ

    ปราบพญานาค ไปจนกระทั่งถึงพระพรหม ปราบหมด เป็นความสามารถที่พระพุทธเจ้าของเรา ท่านได้แสดง หรือได้กระทำมาแล้วในประวัติของท่าน ที่เราได้ฟัง ได้ยินมา แล้วพระเกจิอาจารย์ รุ่นหลังๆ ก็ไปเอามาแต่ง เรียบเรียงเข้า ร้อยกรองเข้า พระพุทธเจ้าของเรา ที่เรียกว่าพระจอมมุนี หรือ เรียกว่าพระบรมศาสดา เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้แล้วแต่ เป็นผู้ที่ได้ผ่านการชนะ หมายความว่า ชนะมาหมดทุกอย่าง ตั้งแต่แสนร้ายกาจที่สุด ไปจนกระทั่งเก่งที่สุดขนาดไหนๆ พระพุทธเจ้าชนะ มาหมด นี่เป็นความดี เป็นความที่น่าสรรเสริญ เป็นสิ่งที่เราควรจะเอาแบบอย่าง

    เพราฉะนั้นถ้าเราฟังพาหุง ๘ บทแล้ว เราทำความเข้าใจให้ได้ทั้ง ๘ บทว่า หมายความว่าอย่างไร? แล้วเราก็มีการประพฤติ เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า เจริญรอยไปตั้งแต่บทที่ ๑ ที่กล่าวมาแล้ว เมื่อกี้นี้ ภาษาบาลีซึ่งแปลความเป็นไทย บทที่ ๑ ตั้งแต่ พาหุง สะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง... (จนถึง) ชะยะ มังคลานิ ที่กล่าวไว้แล้ว แปลเป็นไทย แล้วเขาแปลกันไว้ว่าอย่างนี้
    "พระจอมมุนี ท่านได้ชำนะพญามาร ผู้นิรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่คชสารครีเมข พร้อมด้วย กองทัพมาร โห่ร้องก้องกึก ท่านชนะด้วยธรรม วิธีทาน คือ ทานบารมี เป็นต้น

    นี่ คำแปลมันว่าอย่างนี้ ถ้าฟังดูเผินๆ การเล่าถึงว่า พระพุทธเจ้าชนะพญามาร ที่มีแขนยุบยับไปหมด ตั้งพัน และแขนตั้งพันนี้ ถืออาวุธหมด ถือทุกๆ มือเลยครบมือ ขี่พญาช้างสาร ลอยมาบนเมฆ มีเสียง โห่ร้องของเสนาพลพรรค พวกมารทั้งหลาย มาพร้อมเลย อย่างนี้ เราวาดรูป หรือเราปั้นรูป แสดงเป็น พญามาร ที่มีแขนตั้งพัน ถ้าเราไปเข้าใจถึงว่า รูปร่างคอยคิดเอา ดำริเอา หรือปั้นเอาว่ารูปร่างของ พญามาร นั้นแหละ ปั้นแขน เข้าไปตั้งพันแขน ถืออาวุธครบมือ ตั้งพัน แล้วก็ขี้ช้างสารมา ลอยมา บนเมฆ มีเสนามาร ถือมีด ถือง้าว ถือหอก โห่ร้องกึกก้องมา อย่างนั้นเราก็เห็นเป็นรูปร่าง คงจะมี อำนาจมากทีเดียวล่ะ! ถ้าเราเห็นเราคงจะวิ่งหนี ก็คนตั้งพัน หอกดาบอะไร เต็มไม้เต็มมือ อย่างนี้ ต้องวิ่งหนีแน่

    พระพุทธเจ้าเอง ท่านสามารถเอาชนะสิ่งที่เรียกว่า ถ้าคนมีรูปอย่างนี้ หรือว่าสัตว์โลกชนิดไหน ที่มี รูปร่างอย่างนี้ ถือมีด ถือหอก ถือดาบมาอย่างนี้ น่ากลัว มีเสียงโห่ร้องส่งมากึกก้องเสียด้วย

    ซึ่งถ้าใครพาซื่อ หลงบัญญัตินั้น เป็นรูปธรรมโท่โล่ๆ อย่างนั้นแล้วละก็ ชีวิตของคุณทุกคนนี่นะ ไม่มีทาง ที่จะเจอพญามารแบบนี้เลย เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด กี่ร้อยชาติ พันชาติก็ไม่เจอ มารที่มีมือ ตั้งพัน ถือมีด ถือหอกดาบมาตั้งพันมือ มีเสนามารร้องโห่ กึกก้องมาอย่างนี้ ไม่มีหรอก ! คุณ ไม่เจอหรอก ! แต่คุณจะเจอพญามาร ที่มันร้ายกาจ เหมือนกับมันมีมีด เป็นพันมือ ถืออาวุธครบมา ทั้งพันมือ จะเจอ"ตัวแท้" ตัวจริงด้วย ถ้าคุณเข้าใจใสสว่างเป็น "สัมมาทิฏฐิ" ได้

    เมื่อไรคุณจะพบมารพวกนี้ ฟังดีๆ ! มันโห่ร้องยั่วยวนกวนใจ มากำหราบให้คุณกลัว ให้คุณยอมสิโรราบ ถ้ามันจะสั่งให้คุณทำเลวขนาดไหน คุณก็จะทำ คุณกลัวมาร มารมันยิ่งยวน มันบังคับขู่เข็ญ ใช้มีด ใช้อำนาจต่างๆ ใช้หอก ใช้ดาบทิ่มแทง พยายามที่จะบังคับให้คุณทำชั่ว ทำเลวยังไงคุณก็ทำ เพราะ คุณกลัวมัน กลัวมารนี้ คิดให้ดี ถ้ามารอย่างนี้แล้วละ ก็ไม่เห็นตัว ไม่มีมือ ไม่มีแขนให้เห็นโท่โล่ๆหรอก ! แต่มันเหมือนมีแขน มีมือให้เห็น มันขู่คุณทุกเวลา บางทีคุณกำลังไม่อยากทำในสิ่งนี้ เป็นสิ่งเลว แต่มัน ก็บังคับคุณเหลือเกิน บังคับคุณให้ทำ คุณรู้ว่าสิ่งนี้ชั่ว คุณก็รู้ แต่ก็ถูกบังคับไป เหมือนมีมาร มันถือมีด ถือหอก ถือดาบทิ่มแทงให้คุณทำ

    การกระทำชั่ว การกระทำเลวอย่างนี้ โดยที่คุณรู้ คุณเห็นอยู่ คุณเข้าใจ อยู่ว่าเป็นของไม่ดี แต่ก็เหมือนพญามารบังคับอยู่ นั่นแหละ มารที่เจ้าของเอง จะเห็นจะรู้ คนเราทุกคนจะเห็นจะรู้ในชาตินี้ ไม่ต้องชาติไหน อย่างนี้แล้วล่ะก็ ได้ผล ถ้าใครเข้าใจธรรมะ ซึ่งเป็น ธรรมาธิษฐาน ที่แปลออกมาแล้ว ไม่ต้องไปปั้นรูป จะเป็นพญามาร ขี่คอช้าง มีมือตั้งพันมือ ไม่ต้อง แปลงรูปเป็นปุคลาธิษฐานอย่างนั้น แต่เป็นความเลว บังคับใจคุณ ให้คุณทำส่งนั้นนั่นแหละ"ตัวมาร" มันจะเจอมาจากไหนก็ช่าง มันอาจจะเป็นเจ้านาย ห้าร้อยคน ก็มาแล้วพันมือ นายมีห้าร้อยคน คนละ ๒ มือ ก็มีแล้วพันมือ และบีบบังคับให้คุณทำความชั่วนั้น คุณไม่ยอมโกง แต่เจ้านายอีกห้าร้อย ของคุณโกง แล้วบีบบังคับให้คุณโกงด้วย นี่แหละเจ้านาย หรือว่ามารพันมือละ ซึ่งบังคับคุณถือหอก ถือดาบบังคับให้คุณโกงตาม คุณรู้อยู่อย่างนี้แล้ว คุณก็แพ้มัน คุณสร้างทำความชั่วนี้ ก็เหมือนกับ ถูกมาร ที่ยื่นหอก ยื่นดาบ เอามีดทิ่มแทง บังคับขู่เข็ญให้คุณทำ เสร็จแล้วคุณชนะไม่ได้ ชนะความชั่ว ไม่ได้ พ้นความชั่วไม่ได้ คุณทำความชั่วนั้น เรียกว่าคุณแพ้มาร

    ถ้าคุณเองหาทางปลีกออก ไม่ยอมเป็นทาสพญามาร แม้จะมีพันมือ เอาหอก เอาดาบ ทิ่มแทง คุณก็ไม่ยอม ปลีกตัวหนีเสีย ไม่ยอมร่วมมือ นี่คุณรู้ชัดว่า นี่เป็นความชั่ว คุณไม่ทำเลย ใครผู้ใดก็ตาม ถ้าทำได้อย่างนี้ แน่นอน ชนะมาร ที่มีมือตั้งพัน หรือถืออาวุธครบจริงๆด้วย อย่างนี้คุณจะพบ อย่างนี้ คุณจะต้องทำ

    เพราะฉะนั้น แม้มารจะมีมือเพียงสองมือ สามมือ ถือมีดมาทิ่มแทงคุณ ก็อย่าทำ อย่าว่าแต่มาร มีอาวุธ ครบพันมือเลย มารเล็กๆน้อยๆ แม้จะมีหอก มีดาบมาทิ่มแทง ให้คุณทำชั่ว คุณก็อย่าไปทำ อาจจะเป็น พ่อ เป็นแม่คุณนี่แหละ บังคับให้คุณทำชั่ว ทั้งๆที่คุณรู้ว่าความชั่ว เหมือนพ่อแม่บังคับ เหมือนกับถือมีด ถือหอก ถือดาบนี่แหละบังคับ แล้วคุณก็จะต้องทำชั่วอย่างนี้ เพราะพ่อแม่บังคับ หรือเพราะพี่น้อง บังคับ เพราะญาติโกโยติกาบังคับ เพราะเมียคุณ เพราะผัวบังคับ เพราะลูกบังคับ เพราะแฟนบังคับ เพราะเจ้านายบังคับ ก็อย่าได้ล่วงละเมิดกระทำเป็นอันขาด คุณต้องชนะทุกประเภท แม้แต่มีมือ ตั้งพันมือ คุณจะต้องชนะให้ได้ บังคับคุณถือหอก ถือดาบ ก็ต้องบังคับตัวเอง ชนะมารอย่างนี้ให้ได้
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    บทที่ ๑
    ของพาหุง บทถวายพรพระ ผู้ที่เป็นพระได้ ต้องเป็นคนอย่างนี้
    เป็น"พระ" คือ "ผู้ประเสริฐ" คือ"คนดี" อย่าเพิ่งไปหลงเข้าใจว่า"พระ" คือ คนโกนหัว ห่มจีวรอยู่เพียง เท่านั้น เป็นอันขาด

    ผู้ที่เป็น"พระ" ได้ ต้องเอาชนะมารที่อยู่เหนือหัว(ใจ) ของเราได้ มีด หอก ดาบ คมแหลมหลาวอะไร ก็ตามแต่ รู้ว่าไม่มีใครบังคับเราได้ เอาหอกทิ่ม แทงตำลงไป คมหอก คมดาบ คมมีด คมปืน อย่าไปให้ ตัวเองชั่วลงไป เพราะคมหอก คมดาบ คมมืด คมปืน อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้ชนะ
    พระพุทธเจ้าเอาชนะแม้แต่มารมือตั้งพัน ทนได้สู้ได้ เอาชนะได้ ไม่ล่วงละเมิดความชั่วเลย อย่างนี้เป็นต้น

    ท่านบอกไว้ในนี้ว่า ท่านเอาชนะมารเหล่านั้นได้ ด้วยวิธีอะไร? ด้วยวิธียอมเสียสละ ยอมให้ไป ไม่เอาด้วย ภาษาบาลีแปลว่า ทานาธิธัมมะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ชนะลงแล้ว ด้วยทานบารมี สละไป ไม่ยอมเอาด้วย อย่างนี้ เรียกว่าชนะด้วยการไม่เอาด้วย

    เมื่อกี้นี้ ยกตัวอย่าง นายของคุณ ๑๐ คน ๒๐ คน มีมือ ๒๐ มือ ๔๐ มือ หรือว่านายร้อยคน เหนือคุณ มีมือสองร้อยมือ มาบังคับ ขู่เข็ญคุณ ให้คุณทำชั่วตาม โกงตาม คอรัปชั่นตาม เพราะนายเขาคอรัปชั่น หมดแล้ว บีบบังคับให้คุณคอรัปชั่น คุณก็อย่าเป็นอันขาด อย่าไปเอาด้วย ให้เขาไป เขาจะโกง เขาจะกิน อย่างไร ให้เขาไป เรายกเลิก ถ้าเราอยู่ด้วยไม่ได้ ลาออก ให้มันตายไปเลย ไม่ทำชั่ว เมื่อรู้ชั่วแล้ว ต้องเลิกกอย่างนี้ นี่เรียกว่า เราชนะมารด้วยการรู้ดีรู้ชั่ว มารจะมีฤทธิ์ มีเดชแข็งข้น เก่งกล้า ใหญ่อย่างไร เราก็ชนะด้วยการยกเลิก เสียสละไม่เอาด้วย ยอมให้ไปเลย ไม่พยายามที่จะไป แย่งมา หรือไม่พยายามไปสุมหัวร่วมกับเขาทำชั่ว

    อย่างนี้เรียกว่าเป็น "การกระทำ"(กรรม) ถ้าใครเข้าใจพาหุง บทที่ ๑ นี้ ผู้นั้นก็จะเอาไปทำประโยชน์ได้ เอาไปก่อประพฤติ ปฏิบัติตน ให้มันเป็นธรรม ไม่ให้ละเมิดความชั่ว

    เพราะฉะนั้น ถ้าใครทำ ผู้นั้นก็ได้ทันที ไม่ต้องมาสวด ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ ไม่ต้อง มาขอด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า พระชัยมงคล ไม่ต้อง!

    คุณทำเอง ไม่ต้องไปฟังพระสวดก็ได้ ได้จริงๆด้วย ถ้าคุณเข้าใจจริงๆแล้ว หรือฟังสวดก็ได้ประโยชน์ ถ้าคุณรู้เรื่อง แปลออก และหรือพอฟังแล้ว มันก็มีฤทธิ์เตือนคุณ เร่งให้คุณละชั่วนั้นๆได้
    แต่ถ้าได้ฟังพระสวดเฉยๆ สิ คุณไม่ได้อะไร ฟังพระสวด เสร็จแล้วคุณก็ไปนั่งทำชั่ว มันจะได้อะไร คุณไม่ประเสริฐ คุณไม่ได้เป็นพระ คุณจะเป็นพระได้ คุณต้องชนะความชั่วอย่างนี้ นี่ พาหุง บทที่ ๑ นะ
    ________________________________________

    บทที่ ๒
    มาราติเร กะมะภิยุช ฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนา ฬะวะกะมักขะ มะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

    คำสุดท้าย ลงท้ายเอา ชิตะวามุนินโท หมายความว่า พระพุทธเจ้า เอาชนะได้ มุนินโท หมายถึง พระพุทธองค์ ชิตะวา หมายความว่าเอาชนะได้ แปลเป็นไทย บทนี้ก็มีว่า

    "พระจอมมุนี ได้ชนะอาฬวกะยักษ์ ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความอดทน มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพญามาร เข้ามาต่อสู้ยิ่งนัก ด้วยวิธีทรมานเป็นอันดี คือขันติฯ"

    ข้อนี้หมายความว่า พระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ ตอนนี้ชนะยักษ์ เมื่อกี้นี้ ชนะมาร ชนะอาฬวกะยักษ์ ผู้มีจิตกระด้าง แข็งกระด้าง แต่ไม่อดทนเสียด้วยสิ! ปราศจากความอดทน ยักษ์นี่ขี้ขลาด ! ไม่อดทน หรอก ฉะนั้น ใจที่ยังแข็งกระด้าง นั่นแหละไม่ดี แต่เขามีฤทธิ์นะ มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพญามารเข้ามาต่อสู้ ยักษ์เข้ามาต่อสู้ พระพุทธเจ้าท่านเอาชนะได้ด้วยวิธทรมาน คือพระองค์มีขันติ ใช้ขันตี สุทันตะวิธินา ใช้ขันติบารมี ใช้ขันติ เป็นสิ่งที่เอาชนะได้ ชนะพญายักษ์ได้

    เอาละ คราวนี้แหละ ถ้าคุณฟังแล้ว คุณก็ไปนึกถึงสิ หน้าตาแบะๆ ตาโปนๆ เขี้ยวออกมาสองเขี้ยว สีเขียว สีขาวอะไรก็ตาม ถือไม้กระบอง เพ่นพ่าน ขาโตๆ มือโตๆ ตัวใหญ่ๆ อย่างนี้เขาเรียกว่า เราปั้นรูป เอามาดู หรือมาว่ามาขู่กัน ให้เห็นว่ามันน่ากลัว ว่ายักษ์นี้ เป็นแล้วน่ากลัว น่าเกลียด น่าชัง แต่ถ้าเรารู้ ถึงหัวใจของยักษ์แล้ว ยักษ์นี้เป็นผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความอดทน ไอ้การที่จิตกระด้างนี้ มีจิต ไม่อ่อนโยน ไม่สุภาพ มีจิตแข็งกระด้าง กับการที่ปราศจากความอดทน อย่างนี้เราเรียกว่ายักษ์ ถ้าไปนึกถึงยักษ์ ที่ถือไม้กระบอง เที่ยวแยกเขี้ยว เที่ยวตาโปนๆ ปากแบะๆ แล้วละก็ คุณเกิดอีก ร้อยชาติ คุณก็ไม่เจอยักษ์ ที่คุณจะต้องปราบ ต้องเอาชนะ

    หรือยิ่งไปหลงใน"ภวตัณหา" อยู่ดีไม่ว่าดี ไปหลงว่า"ยักษ์" คือตัวลึกลับชนิดหนึ่งที่หลอกกัน มอมเมากัน ต้องหลับตาบำเพ็ญถึงจะเห็นได้บ้าง หรือไม่หลับตาล่ะ ลืมตากันโพลงๆ ก็เห็นรูป สัมผัสร่างกันได้แล้ว ก็ไม่เข้าใจแท้ใน"ยักษ์" ได้กันสักที ก็ซวยกันไปกี่ชาติ ก็งมงายกันอยู่เท่านั้นๆ

    "ยักษ์" อย่างนี้ก็มีจริง มีกับเฉพาะผู้ยัง"ไม่หมดอัตตา" ปัญญาขั้น"อนัตตาธรรม" ยังไม่ขึ้นสู่จิต จิตยังมี ความหลงผิดใน"อสรีระ"ว่าเป็น"สรีระ" ก็จะยังได้ถือว่า จิตของผู้นั้นยังอ่อนกว่ายักษ์เสียด้วยซ้ำ จึงยังถูกหลอกอยู่ได้

    แต่ถ้าคุณนึกถึง "ยักษ์" ที่หมายถึง จิตปราศจากความอดทน ที่หมายถึงจิตแข็งกระด้าง คุณจะเจอ "ยักษ์" ทุกวัน

    โดยเฉพาะที่จิตของคุณเอง คุณดูจิตของคุณเถอะ ถ้าจิตใด ของคุณมันไม่สุภาพ มันหยาบคาย จิตของคุณมันไม่อดทนเอาเสียเลย จะโน้มน้อมไปในทางที่ถูกกว่า ดีกว่า สูงกว่า มันก็ไม่ยอมสักที ยังพะว้าพะวัง ติดที่ผิด ติดที่ต่ำ หลงที่ไม่สูงจริงอยู่นั่นแล้ว ! นี่คือยักษ์ จะทำการทำงาน จะคิดโน่นคิดนี่ ทำคุณงามความดี จะทำให้ใจตัวเองมันสุภาพ เรียบร้อย อ่อนโยนก็ทำไม่ได้ เพราะใจมันแข็งกระด้าง ใจมันมีฤทธิ์ ใจมันอยากทำตามใจ อยากจะอ่อนโยน มันก็ไม่อ่อนโยน จะแข็งกระด้างอยู่อย่างนั้น แหละ ดูเหมือนมันแข็ง มันแรง ดูเหมือนมันมีฤทธิ์ มีคุณ แต่แท้จริงแข็งกระด้าง ไม่ได้แข็งดี แรงร้าย ไม่ใช่แรงดี มีฤทธิ์เลว ไม่ใช่ฤทธิ์ดี มีคุณหลอกๆ ซึ่งที่แท้ๆ นั้นเป็นโทษ จะอดทนไอ้โน่นนิด ไอ้นี่หน่อย ก็ไม่อดทน ที่จะทำอะไรดีขึ้นมาหน่อย ก็ไม่กล้า ไม่อดทน เขาถึงเรียกว่ายักษ์ เรียกอีกภาษาหนึ่งว่า "อสุรกาย"

    คำว่า"อสูร-อสุรา" ถ้าใครเรียนหนังสือมา จะเคยได้ยิน อสุรา แปลว่ายักษ์ เคยได้ยินไหมล่ะ? อสุรา แปลว่า ยักษ์ ใครเคยได้ยิน ถ้าเรียนมา ทุกคนไม่มีพลาดแหละ

    เพราะว่า อะแปลว่าไม่ สุระ แปลว่ากล้า อสุร ก็แปลว่าไม่กล้า ใจที่มันไม่มีความกล้า ใจที่มันปราศจาก ความอดทน ใจที่มันแข็งกระด้าง อย่างนี้คือ"ยักษ์"

    อย่าไปนึกถึงรูปถึงร่าง ที่เขาปั้นรูปไว้เลยเป็นอันขาด เราต้องนึกถึงยักษ์ที่อยู่ในคน ยักษ์คือหัวใจ คือ วิญญาณ การที่มั้นเป็นรูปร่างอย่างนี้ จิตใจมันเป็นอย่างนี้ อย่างที่กล่าวแล้ว ถ้าเราเข้าใจเป็น ธรรมาธิษฐาน เข้าใจถึงจิตในจิต ถึงธรรมในธรรม คือ เป็นแบบอธิบายเนื้อหา สาระของพระธรรมแท้ๆ แล้ว คุณจะเข้าใจเลย มันหมายถึงจิตใจ หรือหมายถึงวิญญาณของเราที่"ดี" (กุศลธรรม) หรือที่ "ชั่ว" (อกุศลธรรม)

    ถ้าเราไม่มีใจสุภาพ เป็นความใจไม่กล้านั้นแหละ เรากำลังเป็นยักษ์ รูปร่างหน้าตาเรา อาจจะไม่เป็น ยักษ์หรอก แต่หัวใจเราเป็นยักษ์ พระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ท่านชนะโดยธรรมาธิษฐาน คือ ชนะสิ่งที่ ถือว่าเป็นยักษ์แบบนี้ แต่ท่านไม่ได้ชนะ โดยไปตีรันฟันแทง เอาปืนไปสู้กับไม้กระบองยักษ์นะ ในนี้ ก็บอกอยู่แล้วว่า ท่านเอาชนะยักษ์ด้วย "ขันตี สุทันตะวิธินา" คือ ใช้ขันติ ความอดทนอย่างยิ่งยวด แทนที่จะเป็นคนไม่รู้จักอด ไม่รู้จักทน ท่านกลับเป็นผู้อดทนอันยิ่งยอด เอาชนะยักษ์ได้ คิดให้ดี นี้เป็น คำสอนที่ดี แล้วเราฟัง ถ้าเราฟังรู้เรื่อง ถ้าเราฟังคำสอนอันนี้ แล้วเอามาประพฤติตามซิ เอาไปอ่าน (ตรวจสอบในจิตของตน) เห็นว่าเป็นยักษ์ใช่ไหมเอ่ย ? ยักษ์มันอยู่ในตัวเราใช่ไหม? ถ้ายักษ์มันอยู่ ในตัวเราแล้ว ก็ชนะมันด้วยความอดทน ขันติบารมี อดกลั้น ฝืน ให้กล้าทีเดียว แล้วเราจะชนะยักษ์ อย่างนี้แล้ว คุณจะเห็นยักษ์ ฟังแล้วมีประโยชน์ ไม่ใช่ไปนั่งสวดอ้อนวอนกัน "ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคลานิ"

    ขอชัยมงคลทั้งหลาย ด้วยเดชะแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น "ขอ"ให้ตาย มันก็ไม่มี ยี่สิบตาย ห้าสิบตาย ร้อยตาย พันตาย ร้อยชาติ ห้าหมื่นชาติ มันก็ไม่ได้ "ขอ" อย่างไรก็ไม่ได้ ต้องทำเอา และต้องรู้ในปัญญา รู้ด้วยปัญญา ว่ายักษ์คืออะไร? ยักษ์ที่พระพุทธเจ้าท่านสู้ ก็ต้องเก่งกว่ายักษ์ ที่เราสู้ จะขู่จะกดข่ม หรือว่ามันจะดื้อรั้น หรือมันรจะแข็งแรงกว่าเรา เราเองจะเอาชนะมัน ตามภาษา เรารู้ได้ที่ใจว่า ใจของเราเอง มันจะแข็งกระด้างเท่าไหนๆ เราก็ฆ่ามันเท่านั้นๆ มันไม่รู้จักอด จักทน หัดทนเข้า แล้วเราจะเป็นผู้ชนะยักษ์

    นี่ พาหุง บทที่ ๒ "มาราติเรกะ มะภิยุชฌิตะ สัพพะรัตติงฯ"
    นี่แหละ พาหุง ข้อที่ ๒ จำไว้ อย่าไปเที่ยวได้ฟังพาหุง สวดเสร็จ เสร็จ ยิ่งเป็นภาษาบาลี ยิ่งยอดกันโน่น กันนี่ กันยักษ็์ กันมารอันลอยลม เพ้อพกเป็นอันขาด หรือไม่งั้นก็ เกิดผล ลาภ ยศ อะไรอย่างนั้น อย่างนี้ หวังเพ้อลมๆ แล้งๆ มันไม่ใช่หรอก ! มันจะต้องทำความเข้าใจแล้วก็ทำ เอาไปประพฤติเอง ไม่ใช่เรื่องลึกลับ ! ไม่ใช่เรื่องขลัง ! เป็นเรื่องความรู้ ความประเสริฐ ความจริง จงเอาไปปฏิบัติให้ได้ ถ้าปฏิบัติได้ เราก็จะเป็นผู้เจริญ เจริญยิ่งๆ ไม่ใช่เจริญด้วยพุทธชัยมงคล อ่านเป็นภาษา อย่าฟัง แต่เพียงเสียง แต่เจริญด้วยพุทธชัยมงคล แบบเราชนะ ด้วยคุณงามความดี ชนะด้วย"กรรม" อันคือ "การกระทำ แท้ๆ ให้มี"พุทธ" ให้มี"มงคล" ปรากฏขึ้นที่ตนจริงๆ เราชนะด้วยการกระทำความดีให้เกิด ที่ตัวของเรา เรียกว่าพุทธชัยมงคลแท้ ไม่ใช่ว่าเราไปนั่งสวดเอา หรือไปฟังสวดเด๋อๆ แล้วได้พระชัยมงคล ไม่ใช่นะ! นี่เป็นบทที่ ๒
    ________________________________________
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    บทที่ ๓
    นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจัก กะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัม พุเสกะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

    บทนี้ ชนะอะไร เอาแปลก่อน แปลให้ตรงตัว "ชนะช้างตัวประเสริฐ" ที่ชื่อว่า "นาฬาคิริง" เป็นช้างเมามัน ยิ่งนัก แสนที่จะทารุณ ประดุจเพลิงป่า และจักราวุธ และสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือพระเมตตา "เมตตัมพุเส กะวิธินา" นี่สิสำคัญ ชนะด้วยอะไร ท่านเอาชนะด้วย "เมตตัมพุเสกะวิธินา" ชนะด้วย เมตตาธรรม

    ทีนี้ช้างตัวนี้ มันแสนจะทารุณ มีจักราวุธ มีสายฟ้า มันร้ายกาจมากนะ ช้างตัวนี้ ช้างตัวนี้ ถ้าใครเคย ได้ฟังประวัติของพระพุทธเจ้ ก็คงรู้ชื่อว่านาฬาคีรีตัวนี้ เป็นช้างเมามัน ที่เทวทัตปล่อยออกมา เพื่อจะให้ มันมาขย้ำ หรือมาเหยียบ มาแทงพระพุทธองค์ ในขณะบิณฑบาต หรือในขณะ"โปรดสัตว์"พระอานนท์ ก็วิ่งออกมากันให้พระพุทธเจ้า ท่านก็ห้ามพระอานนท์ไว้ พระอานนท์ก็ปล่อยเข้าไปถึงพระพุทธองค์ๆ ก็ทรงพูดกับมัน ด้วยเมตตา ท่านใช้จิตเมตตานั้น ห้ามให้ช้างตัวนี้หยดเมามันได้ ฟังอย่างนี้แล้ว เราก็นึกว่า เออ! เก่งนะพระพุทธเจ้านี่ สู้ช้างที่เมามันได้ สามารถหยุดช้าง ที่ขณะเมามันอย่างหนักได้ ที่มันเมาถึงขนาดไฟไหม้ป่า ขนาดจักราวุธ สายฟ้าแลบ อย่างนั้นพระพุทธเจ้ายังเอาชนะได้ ก็จริง! เพราะท่านมีจิตที่เก่ง

    ท่านชนะด้วยอะไร? จิตที่เก่งคืออะไร? เมื่อกี้บอกแล้วว่า ด้วยเมตตัมพุเสกะ วิธินา ท่านเอาชนะด้วย เมตตาธรรม ท่านมีเมตตามากพอสูงพอ จึงชนะช้างเมามัน ชนะความมืดมัวของเดรัจฉานทั้งหลายได้ เดรัจฉานสัตว์ ตัวช้างนี้เป็นเดรัจฉาน

    ทีนี้ในทางธรรม ก็ต้องมีธรรมปัญญา เพราะว่าถ้าเราจะคอยดช้างชื่อนาฬาคีรี หรือช้างที่เมามัน แล้วไป ทำตัวเองให้เก่ง โดยไปปั้นจิตเล่นฤทธิ์พิลึกพิลั่น เล่นอำนาจทางพลังจิตว่างั้นเถอะ พอเห็นช้างเมามัน วิ่งออกมา ก็ใช้จิตบังคับ หรือหักห้าม หรือแผ่เมตตา หรือกล่อมอะไรก็ตามแต่จะเรียก จนช้างเมามัน หยุดเมา รู้สึกนึก ยอมแพ้ว่างั้นเถอะ ขอให้มันเป็นตรงๆ ว่ามี"พลังจิต" ขลังๆ ! เด็ดๆ ! จะไปปราบช้าง ที่เมามัน แม้คุณเอง คุณมีฤทธิ์ได้ขนาดนั้น คุณก็ไม่เข้าท่าหรอก คุณจะไปหาช้างที่เมามันได้ปราบมัน ก็หายาก ถึงหาได้ มันก็เป็นความเก่ง แค่ปราบช้างตกมัน แล้วคุณก็จะไปเป็นลูกจ้าง เจ้าของช้าง ที่เขามีช้างเยอะๆ ก็เห็นจะเท่านั้น ! ไม่ได้ประโยชน์อะไร เสียเวลาไปเรียนวิชชา วิชชาที่จะไปชนะ ช้างเมามันแบบนี้ แล้วก็เอาปราบช้างเมามัน เสียเวลาเปล่า ไม่เห็นจะคุ้ม ยิ่งเป็นคนขนาด "เจ้าชายสิทธัตถะ" ยิ่งไม่คุ้มใหญ่

    ตามจริง หรือตามขั้นของธรรมในธรรม ชนะเดรัจฉานที่เมามัน นั้นหนะ มันไม่ได้หมายเอาเป็น ตัวสัตว์ โต้งๆ อย่างนั้นหรอก ไม่ว่าช้าง ไม่ว่าอะไรก็ตามแต่ แล้วก็โดยเฉพาะคำว่า"เดรัจฉาน" นั้น ท่านหมายเอา ที่มันอยู่ในร่างของคนนี้แหละ ใครก็ตาม หรือเรานี่แหละ ถ้าเผื่อว่าใจต่ำ มีจิตโง่เง่า เมามืดมัว มีโมหะ เต็ม โมหะ หมายความว่า ความมืดมัว ความหลง ความเมา เมาลาภ เมายศ เมาสรรเสริญ เมาอำนาจ เมาอบายมุข เมากามคุณก็ตาม ผู้ใดจิตถูกมอมเมาด้วยอบายมุข ถูกมอมเมาด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ ถูกมอมเมาด้วยอำนาจ ด้วยฤทธิ์ ถูกมอมเมาด้วยกาม ด้วยอัตตาต่างๆ ผู้นั้นแหละเป็นเดรัจฉาน เป็นช้างเมามัน เมามืด โง่เง่า ไม่รู้เรื่องเลย ไม่รู้ตัวเลย มันทำร้ายคนเป็น ทำร้ายคนที่ชื่อว่า "เมามืดมัว" นั้นเอง

    หรือผู้ใดที่เป็นเพื่อน ติดอบายมุข ก็จะมาทำลายเรา หมายความว่าจะมาชวนเราไปเล่นอบายมุขด้วย เพื่อนคนใดเมายศ เมาสรรเสริญ เมาอำนาจ จะมาชวนเราไปเมาลาภ ยศ สรรเสริญ เมากับสิ่งทั้งหลาย หรือเพื่อนคนใด เมากามคุณ จะมาชวนเราไปเสพกาม เมากาม เมาอัตตา จะมาชวนเราไปเมาอัตตา เราพึงรู้เถิด เราจะช่วยเพื่อนประดุจสัตว์เดรัจฉานผู้นี้ให้ได้ เพราะเขากำลังเมาโลก กำลังหลงไอ้สิ่งที่ ไม่ควรจะไปเมา คนไหนไปเมาอยู่ คนนั้นก็ดำดิ่งอยู่ เป็นสุขเป็นทุกข์อยู่กับไอ้สิ่งที่เขาหลงมัน คนนั้น เรียกว่าโง่เง่าเหมือนเดรัจฉาน เดรัจฉาน นี้เรียกสัตว์(คน) โง่เง่า ถ้าโง่เง่าหนักใหญ่ ก็เรียกว่าเท่ากับช้าง ยังมืดมัวเมามันมาก ถ้าโง่เง่า "ไม่มากไม่ใหญ่" ก็เป็นเดรัจฉานน้อยลงไป ตามขนาดตามจริง แต่ก็คือ ยังไปติดมันอยู่กับสิ่งเหล่านั้น

    ถ้าเป็นเรา ก็จงสงสารตัวเอง คือเราจะต้องเอาชนะให้ได้ เราจะต้องปล่อยเสียเราต้องทำให้สร่าง ต้องจางคลาย ถ้าเป็นเพื่อน ก็จงสงสารเขา ถ้าสอนเขาได้ ช่วยเขา จงใช้ "อำนาจเมตตา" อย่าไป ตามใจเขา

    ฟังดีๆนะ ! "เมตตา"หมายความว่า "อย่าไปตามใจเขา" อย่าไปกับเขา เหมือนเราชนะมาร อย่าไป ยอมแพ้เขา อดทน เหมือนเราชนะยักษ์ อย่าไปเห็นตามเขาแท้ๆ เชียว ถ้าเราไปเห็นตามเขา ไปเห็นว่า แหม! อบายมขก็ดี ไปหลงลาภ หลงยศ ไปหลงสรรเสริญ ไปหลงเสพกาม ไปหลงเสพอัตตา ถ้าหลง ตามเขา เราไม่อดทน เราไม่พยายามทำใจให้มันดี ให้มีปัญญา แล้วมันก็ไปหลงตามเขาไป ไม่ได้ !

    เราก็ถูกมาร หรือถูกกามกลืนกินอีก ถูกอบายมุข ถูกลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และถกอัตตากลืนกินอีก เราจะชนะมาร ชนะยักษ์ ต้องอดทนให้ได้ เราจะชนะความเป็นเดรัจฉาน ต้องมี"เมตตา" ให้ถูกให้ดี แท้จริง

    แม้แต่ใจเราไปอยากติดอบายมุข บางทีเราอยากจะไปเสพกาม บางทีอยากจะไปหลงลาภ บางทีไป ตะกละตะกลาม ไปโลภลาภ โลภยศ หลงสรรเสริญอยู่ ใจเราเป็นอย่างนั้นอยู่ เราก็จะต้องอดทน ฝืนกลั้น ให้ชนะยักษ์ให้ได้ อย่าไปปล่อยให้ยักษ์มันมาข่มขู่เรา เราจะชนะยักษ์ด้วย"ขันติบารมี" เสร็จแล้ว เมื่อไหร่ รู้ทันอย่างนั้นแล้ว ทีนี้เราจึงใช้ "จิตเมตตา" ในความเป็นมิตรที่ดี

    "เมตตา" ตัวนี้ รากศัพท์ ภาษาเดิม เรียกว่า"มิตตะ" หรือ"มตะ" หมายความว่า ที่รู้ รู้แล้ว เราก็เป็นมิตร กล่าวคือ ให้ช่วยผู้อื่นให้ได้ดี เมตตา หมายความว่า สงสารผู้อื่น หรือตนก็ตาม ตนเมา ตนโง่เง่า ตนมืดมัว ก็ต้องเมตตาตนเอง ช่วยตนเองนั่นแหละ ให้ได้ดี ให้รู้ตัว ให้ตัวเองหยุดเมา หยุดมืดก่อน แล้วก็ช่วยเขา บอกเขาบ้าง เมื่อเราเองไม่ไปเลว อดทนได้แล้ว เราไม่ไป ไม่เมามันเหมือนเขา แล้วเราก็ ช่วยเขา สงสารเขา ให้เขาหยุดเสพอบายมุข หยุดหลงลาภ เมาลาภ เมาสรรเสริญ หยุดหลงกาม เมากาม หยุดเสพกามเสีย เขายังมีเศษ "อัตตา" เมาอัตตา ก็ให้เขาหยุด เขารู้เท่าทันใน"อัตตา" ให้ได้ เราก็จะเป็นผู้เมตตา อย่างดีอย่างถูก ช่วยเขาได้อย่างนี้

    พระพุทธเจ้าท่านมีจิตเมตตา อันนี้แรง ทำไม? ต้องใช้คำว่า"เมตตา" เมื่อจะช่วย"เดรัจฉานที่เมามัน" ก็เพราะผู้โง่ ผู้เมาโลกียะนั้น ไม่รู้ตัวหรอก ! เขาติด เขาหลง ว่ามันน่าได้ น่ามี น่าเป็น เขาอร่อย เขาหลงจริงๆ เขายังไม่รู้ชัด เขายังเห็นว่ามันดี ถ้าเราจะไปว่า"ไม่ดี" มันก็ขัดใจเขา เขาจะโกรธ จะแค้น เราจะไปห้ามสิ่งที่เขาอร่อย ที่เขาได้เขามีเขาเป็นกันนั้น เขาจะไม่ชอบใจ เขาจะโต้ตอบ ย้อนแย้ง บางทีถึงขั้นร้าย ขั้นแรงออกมาเลย ซึ่งเดรัจฉานเขาก็มีฤทธิ์ มีกำลัง มีอำนาจของเขาเหมือนกัน เราก็จะต้องมี"เมตตา" ให้มาก ต้องใจเย็น ยังไงๆ ก็อย่าทิ้งเขาเลย แม้เขาจะโต้ตอบ เล่นงานเราเท่าใดๆ ก็จงช่วยเขา สงสารเขา และต้อง"สงสาร" ให้ถูก ! อย่าไปสงสารโดยส่งเสริมเขา ให้เมาหนักเข้าไปอีก เป็นอันขาด

    "สงสาร!" นี้ คือจะต้อง "ขัดเกลา" เขา ย้อนแย้งเขาให้เก่ง ถ้าย้อนแย้งไม่เก่ง ก็จะขาดกัน จะไม่ได้ ช่วยกัน ถือว่าหมดมิตร จึงต้องฉลาดขัด ฉลาดทำลายความม ความเป็นของเขาไม่ได้ ต้องพยายาม ควักของอร่อยออกจากปากเขาให้ได้! แม้จะถูกเขาย้อนแย้ง ทุบตี โต้ตอบรุนแรง (เพราะเขายังไม่รู้ จริงๆ ว่าเราช่วย เขาจะนึกว่าเราเบียดเบียนเขาเอาเสียด้วย) ก็ต้องอดทน ให้คง"
    สงสาร" เขาอยู่ อย่าเสื่อมถอยท้อแท้ อย่าหยุดสงสาร เช่น พระพุทธองค์ยังคง"สงสาร" (เมตตา) พระเทวทัตอยู่ดุจเดิม นั่นทีเดียว แม้พระเทวทัตจะออกฤทธิ์ แผลงเดช ย้อนแย้ง แข่งขัน อวดดี ตีข่ม ดุร้าย แกล้งทำร้าย ทำลายพระพุทธองค์เสียๆหายๆอย่างไรๆ พระพุทธองค์ก็ยังทรงใช้"เมตตา" เป็นฐาน เป็นการทรงจิต คงที่อยู่ตลอดไป ไม่โกรธตอบ ไม่ทิ้งขว้าง (จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ ไม่ได้จับสึก) แม้จะลงพรหมทัณฑ์ ขนาดหนักปานใด แต่ไม่ปฏิฆะ ไม่เสียใจ ไม่น้อยใจ ไม่ท้อแท้ใจ ไม่ลด"สงสาร" ลงเลยจริงๆ

    ต้องสงสารช้างร้ายที่เมามันกันจริงๆ "ช้างร้าย" หมายถึง ความเป็นส่วนใหญ่ หรือคนส่วนใหญ่ "เมามัน" ก็หมายถึง เขายังพากันหลง "มันส์" อยู่กับโลกีย์อยู่จริงๆเขายัง"เมา" เขายังไม่สร่าง ยังไม่ซากันอยู่จริงๆ เขายังโง่ ให้โลกีย์หลอก เขายังเป็นทาส ที่ยอมให้โลกีย์ มีอำนาจเหนือ "ตน"(อัตตา) นี้เป็นสัจธรรม มิใช่แกล้งใส่ความ หรือยกตนข่มท่าน ถ้า"พระ" ใดไม่มี"เมตตา" อย่างนี้ "พระ" นั้นก็จะไม่ได้ช่วยโลกเลย เพราะคนในโลก ที่ยังไม่ใช่"พระ" จะยังหลงโลกียารมณ์อยู่ทั้งนั้นจริงๆ

    "เมตตา" จึงเป็นธรรมค้ำจุนโลก ช่วยโลก ช่วยสัตว์โลกแท้ๆ "พระ" แท้ๆ "พระ" อริยะของพระพุทธศาสนา จึงต้องมีในโลก คือ "พระ" ผู้รู้แจ้ง ช่วยตนได้แล้ว ก็ขวนขวายช่วยผู้อื่นอยู่อย่างขมีขมัน ถ้าไม่ช่วยกัน ก็เป็น "พระ" เดียรถีย์ เห็นแต่แก่ตัว ไม่พ้นขี้เกียจ ไม่ขวนขวาย ไม่มีปัญญา รู้ความควร ก็เป็น"พระ" ของลัทธิอื่น ศาสนาอื่น ไม่ใช่พุทธ

    เพราะฉะนั้น ถึงใครจะดุร้าย ถึงขนาดไม่รู้เรื่องแล้ว โถ เราจะช่วยเขาแท้ๆเขาก็ไม่รู้ ก็โกรธ ก็จะแว้ง กลับมาเล่นงานเรา จะพยายามบังเบียดเรา ถึงขนาดจะฆ่า จะแกงเราเอาด้วย ดั่งพระเทวทัต ที่โกรธ จะฆ่าพระพุทธองค์อย่างแรง ร้ายขนาดเท่าช้างนาฬาคิริงตกมันตัวนี้ พระพุทธเจ้า ท่านก็เอาชนะได้ คือเอาชนะ "แรงร้าย" อันนั้นให้ดีที่สุด แล้วก็ยัง"สงสาร" คนร้ายที่ใช้ "แรงร้าย" นั้นอยู่ต่อไปคงเดิม

    นี้คือ "เมตตัมพุเส กะวิธินา"

    ดังนั้น เราเองไม่มีโอกาสเจอช้างนาฬาคิรี ตัวแรงตัวร้ายดั่งเช่นบริวารพระเทวทัต เราจะเจอช้างตัว ย่อยๆ สัตว์ย่อยๆ ที่อยู่ในโลกกั้บเรานั้นแหละ ซึ่งจะแรง จะร้ายขนาดเท่ากรรม เท่าวิบากของเรา แล้วเราจะต้องเอาชนะอันนี้ให้ได้ คือ ถึงอย่างไรๆ ก็อย่าหมด"เมตตา" เข้าใจได้เลยว่า บท นาฬาคิริง คะชะวะรังฯ พาหุง บทที่ ๓ มันหมายความว่า เราจะต้องเอาชนะเดรัจฉานที่โง่เง่า เดรัจฉาน ก็คือสัตว์ ที่โง่เง่า หรือแท้ๆก็คือ "จิต" คือ"ใจ" เราเองนั่นแหละ ตรวจให้ดีๆ เถอะ

    สำคัญที่มีใจโง่เง่า มันจะเอาแต่หลงโลกีย์ ต้องอย่าตามใจมัน ต้องขัด ต้องพยายามฆ่าความหลงนั้นๆ หรือคนอื่นที่มีใจโง่เง่าเหมือนกัน เหมือนกันทีเดียว เขายังโง่เง่า เขาหลงโลกีย์ ต้องอย่าตามใจเขา ต้องขัด ต้องพยายามฆ่าความหลงนั้นๆให้เขา ไอ้นี่เป็นเดรัจฉานอยู่ ต้องเอาชนะให้ได้ ต้องสงสาร คนอื่นเขาอย่างนี้ เช่น เพราะเขาโง่เง่าอยู่ เขามาชวน หรือมาต่อต้าน เขาโง่เง่า เขาก็เป็นเดรัจฉาน เขาก็จะชวน จะจูง หรือจะต่อต้านเราตามประสาของเขา หรือไม่ก็จะยุแหย่ แกล้งประชดประชัน แดกดันเอาเสียด้วย เราก็สงสาร เห็นเขาให้ออก แล้วเราต้องยืนหยัด เป็นมนุษย์ที่ดี อย่าไปใจอ่อน ตามใจเขา ต้องขืนไว้ ต้องขัดเขาไว้ และ"การขัด" ต้องขัดให้เก่ง ขัดให้สำคัญ อย่า"ขัดจนแตก" หรือ จนวิวาท บาดหมาง แค่"ขัแย่ง" หรือ"ขัดเกลา" อยู่เสมอ

    นี่คือ "เมตตัมพุเส กะวิธินา" เราไม่มีศัตรู เราไม่มีโกรธตอบ แค้นตอบ แม้เขาจะย้อนมาอย่าง "ดุ" อย่าง "ร้าย" ขนาดไหนก็ตาม เราก็ยังจะขัด ยังจะหาทางเกลา ช่วยเขาอย่างดี อย่างเก่งอยู่เสมอ สงสารเขาเสมอ

    นี่คือ "เมตตัมพุเสกะวิธินา" ถ้าช่วยไม่ได้ ก็หาทางอื่น หรือเพลาๆก่อน ถ้าช่วยได้ช่วยไป แต่ตัวเราเอง ต้องเป็นผู้ชนะด้วยนะ ชนะไอ้สิ่งที่เขามาชวน ชวนไปเป็นคนเลวอย่างนี้ ชวนไปเสพโลกีย์ เราต้อง ชวนกลับ ย้อนทางให้ได้ อย่างนี้จะเป็นผู้ชนะ นาฬาคิริงฯ นี้เป็นบทที่ ๓ ของพาหุง จะมีประโยชน์ กับมนุษย์แท้ๆ อย่างนี้

    อย่าไปหมายใจว่าพอสวด "นาฬาคิริง คะชะวงะรังฯ แล้วละก็ ตัวเราเอง จะเป็นผู้ได้อะไรก็ไม่รู้ อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ หลงคาถาอยู่อย่างนั้น นึกว่าแค่ได้ท่อง แล้วได้ฟัง ก็สำเร็จแล้ว มี"วิมาน" แล้ว ได้บุญแล้ว ได้ศิริมงคลแล้ว สร้างอุปาทานอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ปั้นเป็นรูปรอยอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ไอ้สิ่งที่ปั้นนั้นไปเป็น"วิมาน" อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ จนกระทั่งไม่รู้"วิมาน" นั้นคือ ถ้าใครยังหลงวิมาน ยังหลงใจ ตัวเอง(อัตตา) ไปสร้างไปก่อ อยู่ในใจ ไปปั้นรูปปั้นรอย ปั้นภพ ก่อชาติอยู่ในใจ เอาใจตัวเองไปวาดรูป วาดร่าง วาดลมๆ แล้งๆ นั้นว่าเป็นความสุข วาดความสำราญอะไรอยู่เป็น "วิมานะ" หรือเป็น "วิมาน" ไปสร้างไปก่ออยู่ ผู้นั้น ก็ยังหลงอยู่ ยังมืดอยู่ ยังมัวเมาอยู่

    ถ้าผู้ใดยังมัวเมาโลกียะอยู่ เป็นเดรัจฉานอยู่ทั้งนั้น เป็นผู้ที่ยังมัวเมา มืดมน แล้วเราเอง ก็ไม่รู้จัก เอาชนะด้วยการสงสารตัวเอง โดยอย่าไปติดต่อ เชื่อมโยงอยู่ในสังสารวัฏฏ์

    อันนั้น เลิกมาเสีย อย่างนี้ ที่จะชนะกันแท้จริง ถ้าผู้ใดเลิกมาได้ ไม่ไปหลงมัวเมาในสิ่งใดๆ หลงอารมณ์ สุขไปต่างๆหลงตั้งแต่ หลงสุขในอบายมุข หลงสุขในลาภ ยศ

    สรรเสริญ หลงสุขที่มันเสพกามต่างๆ อะไรพวกนี้ แม้ที่สุดไม่หลงสุขใน"อัตตา" (วิมาน) ต่างๆ อย่าไปหลง อย่าไปยึดถือ อย่าไปวุ่นวายกับมัน ถ้ามีชีวิตอยู่อย่างทำการทำงาน ของดิบของดี ก็ทำแต่งานดีๆ นั้น มีทาน มีขันติ มีเมตตา ผู้นั้นก็เป็นธรรมะทุกอย่าง ไม่หลงที่เป็นวิมานต่างๆ

    อันนี้เป็นพาหุง หมวดที่ ๓ ถ้าผู้ใดเข้าใจ จะเอามาใช้ประโยชน์ได้ ไม่มัวไปนั่งท่อง นั่งหลงอยู่ได้ ไอ้นี่เป็นคาถาท่องแล้ว จะได้ไอ้โน่น มีไอ้นี่ มีไอ้นั่น อย่างนั้น อย่างมงายกันเป็นอันขาด ชาวพุทธเอ๋ย !
    ________________________________________
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    บทที่ ๔
    อุกขิตตะขัคคะ มะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

    ความบทนี้ แปลว่า "พระจอมมุนี มีพระหฤทัยไปในทางที่กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ได้ชนะใจโจร ชื่อ องคุลีมาลย์ แสนร้ายกาจมีฝีมือ ถือดาบเงื้อง่า วิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์" อย่างนี้ พระพุทธเจ้า ท่านก็ชนะองคุลีมาลย์ ที่เป็นคนใจหยาบใจร้าย ดื้อดึงรุนแรง แสนอำมหิต ขนาดจะฆ่าแม่ของตนก็ได้ ออกปานนี้ พระองค์ก็สามารถชนะได้ เพราะท่านเป็นถึงพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ต้องชนะ ถึงขั้น องคุลีมาลย์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ใจหยาบ ฆ่าคนเป็นพัน และจะฆ่าแม้แต่แม่ของตัว แต่คนที่มีใจหยาบ อำมหิต ขนาดรุ่นของเรานั้น ใครก็ได้ ที่มีใจหยาบอำมหิต ไม่ต้องร้ายเท่าองคุลีมาลย์ เราก็ต้องเอาชน ะเขาให้หมด อย่าให้เขามีอำนาจเหนือเรา

    ถ้าเผื่อว่าเราจะไปตีความหมายเอาว่า เราจะต้องเจอองคุลีมาลย์ คงจะเจอยาก เพราะองคุลีมาลย์ บอกแล้วเป็นคนที่ใจหยาบ อำมหิตอย่างร้ายกาจที่สุด เพราะถูกหลอก ถูกอาจารย์หลอกมา ให้ไป ฆ่าคนมาตั้งพันหนึ่ง แล้วจะสอนวิชาให้ ถ้าฆ่ามาได้ถึงจะสอนให้ แล้วองคุลีมาลย์ไม่รู้หรอกว่า

    อาจารย์หลอกเอา ที่จริงอาจารย์หลอกให้ไปตาย เพราะอาจารย์คิดแล้ว ถ้าไปฆ่าคนตั้งพันหนึ่ง คงไม่รอดมาแล้วละ ก็คงถูกเขาฆ่าตายก่อนจะถึงพันแน่ๆ แต่องคุลีมาลย์ก็เก่งเกินอาจารย์คาด และ ฆ่ามาได้ตั้ง ๙๙๙ คนอีกคนเดียวก็ไม่เห็นจะแปลกอะไร แต่ก็แปลกจนได้คือ จะต้องหยุดฆ่า! เสียก่อน ที่จะถึงคนที่พัน แค่เพียงมาพบพระพุทธเจ้าบอกว่า"หยุดเสีย !"เท่านั้น พระพุทธเจ้าทำสำเร็จ โดยไม่น่า จะสำเร็จ ดูมันง่าย มันได้เร็ว จนไม่น่าเชื่อ มันไม่น่าเป็นไปได้ แต่มันก็เป็นไปได้ ดูช่าง ไม่เห็นว่า จะมีฤทธิ์ มีเดชอะไร แต่ก็เป็นฤทธิ์ที่ประหลาดยิ่ง นี่แหละ คือ "มหาปาฏิหาริย์" ไม่ใช่ "ปาฏิหาริย์" ที่เล่าสู่กันฟังอย่างพิลึกพิลือ เกินเชื่ออะไรนั่นหรอก!

    เช่นเดียวกัน ถ้าเราเองเหมือนองคุลีมาลย์ สำนึกผิด เลิกเสีย หยุดเสีย ด้วยจิตอันเก่งกล้าสามารถ คือ ทำปาฏิหาริย์พลิกล็อก "ปาฏิหาริย์" หมายความว่า "พลิกล็อก" มันพลิกล็อก คือ มันไม่น่าเชื่อ มันเก่ง เกินคาด มันเหนือใครคิด มันมีความสามารถเหนือชั้นจริงๆมันไม่น่าจะได้ เอ๊ะ! มันได้ง่ายๆ กะว่า มันจะชนะ หนอยไอ้คนนี้ กลับชนะได้เหมือนปาฏิหาริย์ มันพลิกล็อกเลย มันพลิกกระเป๋าเลย มันเป็น ของเก่ง ชนิดที่ไม่เห็นว่าจะเป็นของเก่งอะไรแท้ๆมันช่างเป็นไปได้ ชนิดที่ไม่น่าเป็นไปได้ เช่น อย่างที่ พระพุทธเจ้าท่านปราบองคุลีมาลย์ มนุษย์ผู้ใจหยาบ โหดร้าย อำมหิต ให้เปลี่ยนจิตเสียได้ โดยไม่น่า จะเป็นไปได้ เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้ทำอะไรพิลึกพิลั่น แปลกๆ อย่างที่เล่าผิดๆ กันมานั่น เสียด้วยซ้ำ มันจึงยิ่งแปลกใหญ่ ! ยิ่งเป็นปาฏิหาริย์ใหญ่! เพียงพระพุทธองค์ ใช้ความสามารถ ทำจิตของ องคุลีมาลย์ให้ "รู้ดี - รู้ชั่ว" ทำใจขององคุลีมาลย์ให้ "เข้าใจ" ได้อย่างซาบซึ้ง จนเปลี่ยนจิตจากคน โหดร้าย คนชั่วร้าย มาเป็นคนดีได้ภายในเวลาไม่นาน และโดยไม่เห็นมีอะไรน่าทึ่งเลย นั่นสิยิ่ง "น่าทึ่ง"! นี่แหละคือ "ปาฏิหาริย์ซ้อนปาฏิหาริย์"

    พระพุทธองค์เพียงแต่เข้ามาห้าม ให้"หยุด"เสีย เมื่อองคุลีมาลย์จะไปฆ่าคน เป็นคนสุดท้าย คือคนที่พัน คนที่จะครบจำนวนเป็นผลสำเร็จแล้ว ซึ่งมันไม่น่าจะหยุดเลย แต่ก็หยุดได้ มันไม่น่าจะง่าย แต่มันก็ง่าย อย่างแปลกประหลาด ! มันไม่มีอะไรมากเลย !

    นี่ต่างหาก คือ"มหาปาฏิหาริย์" คือ เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งจริงๆ ยิ่งกว่า เพราะถ้าอย่างที่เกจิอาจารย์ รุ่นเก่าๆ บางคน เล่ามาเป็นว่า พระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์พิลึกๆ มากมาย เช่นเล่าว่า องคุลีมาลย์ วิ่งตามพระพุทธเจ้ใหญ่เลย ท่านก็แสดงอภินิหาร ไม่ให้วิ่งทัน เงื้อดาบจะฟัน ก็เงื้อค้างฟันไม่ลง เหมือน มีอะไรมาค้ำให้ค้างไว้ หรือเรื่องแปลกประหลาดที่พิลึกๆ อะไรยิ่งกว่านี้อีกก็ตาม จะเป็น ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า อะไรต่างๆตามความเห็นของ"คนหลง" ที่เขาชื่นชูกันว่าเป็น "ความเก่ง" ก็ตาม มันก็จะน่า อัศจรรย์อะไร?!

    ถ้าองคุลีมาลย์ เจอเข้าแบบนั้นแล้วจะต้องหยุด จะไม่ฆ่าพระพุทธองค์ ก็เพราะองคุลีมาลย์ ทำไม่ได้ เขาก็ต้องยอม เขาก็ต้องไม่ทำ หรือเพราะเขา"ทึ่ง"ความเก่งแปลกๆ นั้น แล้วเขาก็หยุด แต่นี่เจอคำสอน พระพุทธองค์เป็น "อนุศาสนีปาฏิหาริย์" นี่สิ! เพียงแต่สอน เพียงแต่ห้าม เพียงแต่บอกธรรมดา ก็หยุดแล้ว นี่สิ มันยิ่งมหัศจรรย์ใหญ่ ! ซึ่งถ้าองคุลีมาลย์จะฟันก็เข้า และพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้วิ่งหนี เดินหนีอะไรด้วย พระพุทธเจ้าไม่ได้แสดงอะไร เพียงแต่บอกดีๆ ห้ามง่ายๆ

    อธิบายชัดๆ เท่านั้น เป็นแต่แสดง "ความเก่ง" (อิทธิ) ในเรื่อง "ปรับปรุงจิตใจ" (สังขตมโน) ของ องคุลีมาลย์ ให้ "เข้าใจ" ให้รู้ดี รู้ชั่ว ชัดยิ่งแท้ (อภิ) เท่านั้นต่างหาก จึงเรียกว่า"อิทธีภิสังขตมโน" มันยอดเก่ง (มีอิทธิ) มันยิ่งยอดในการกระทำเป็น "การปรับเปลี่ยนจิต" (อภิสังขตมดน)ได้ ทั้งๆ ที่ไม่มี "อิทธิฤทธิ์" อย่างเดรัจฉานวิชชา ไม่ต้องมี"อาเทสนาปาฏิหาริย์" อย่างเดรัจฉานวิชชา แต่พระพุทธองค์ ก็มี "อิทธิฤทธิ์" (เก่งจนสามารถเปลี่ยนร้ายให้เป็นดี) อย่างพุทธวิชชา และมี "อาเทสสนาปาฏิหาริย์" อย่างพุทธวิชชา (เก่งเพราะหยั่งรู้กิเลส รู้จริตในจิตขององคุลีมาลย์ ได้ถูกแท้ จึงสามารถปรับเปลี่ยน ได้) จนดูช่างง่ายเสียจริง ที่เสือร้ายแสนอำมหิต ขนาดองคุลีมาลย์ ยอมวางดาบ ก้มลงกราบ ยอมมอบตน โดยเฉพาะเปลี่ยนจิตมาเป็น "พระ" ได้ทันทีอย่างจริงๆ ยิ่งพระพุทธองค์พูดยิ่งสั้น สอนยิ่งน้อย ทำอะไรยิ่งไม่มากเลย แต่มีผลให้องคุลีมาลย์กลับหยุดได้ นั่นแหละยิ่งหมายถึง "อิทธีภิสังขตมโน" คือยิ่งเป็นปาฏิหาริย์ ที่แปลกประหลาดใหญ่!! เพราะมันยิ่งไม่มี "ความมาก" แต่มันกลับไปหยุด "ความมาก" ขององคุลีมาลย์ได้ นี่ล่ะ ! "ยอดปาฏิหาริย์" ที่สุด
    ทำความเข้าใจให้ดีๆ เราทำให้ได้อย่างนี้ เราก็ชนะด้วยอิทธีภิสังขะตะมะโน คือ ชนะแบบเก่ง สามารถ สร้างจิตของเราเป็นอิทธิภิสังขะตะมะโน หมายความว่า จิตจะสามารถรวบรวม กระทำการขึ้นมาได้ เหมือนมันเล็ก มันบาง เบา มันง่าย มันดูไม่มีน้ำหนัก แต่มันยิ่งใหญ่ มันเก่งกาจ เป็นอิทธิฤทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์ มันอิทธิวิธีอย่างเดียวกัน (กับพระพุทธเจ้ามี) เก่งกล้า สามารถอย่างนี้ เอาชนะใจ ตนเอง ที่เป็นอย่างองคุลีมาลย์ นั้นแหละสำคัญก่อนอื่น อย่างนี้ก็ได้ประโยชน์สูงที่สุด หรือได้เอาชนะ ใจคนอื่น ที่ได้เป็นองคุลีมาลย์ อำมหิตแล้ว ก็แก้อำมหิต เปลี่ยนใจหยาบ ลงมาได้ง่ายๆ มีอิทธิวิธี ที่จะปรับเปลี่ยนเขาได้อย่างเก่ง(มีอิทธิ) ตามขั้นตอนสำหรับผู้มีปัญญา พอจะปรับจิตของเขาอื่นได้

    ส่วนผู้กระด้างที่สุด ร้ายที่สุด ปรับเขาไม่ได้ ก็เมตตาเขาถึงที่สุดโดยเฉยๆ ไม่ต้องไปยุ่ง ไปเกี่ยวกับเขา เราเมตตาเขาเสีย อย่าโกระ อย่าเคือง อย่าชัง อย่าเบียดเบียนใดๆ แก่เขาเลย ดังนี้ เป็น เมตตัมพุเสกะวิธินา ซึ่งเราก็ทำได้โดยใช้วิธีต่างๆ นี่ เป็นบทที่ ๔

    เป็นผู้ที่ชนะใจอันหยาบ ใจอำมหิต ถ้าใครสามารถทำตนจนสำเร็จ ทำผู้อื่นจนสำเร็จ ผู้นั้นก็จะมีจิต พุทธะ หรือเป็นองค์มุนี เป็นผู้ที่มี "มุนินโท" ชิตะวามุนินโท ผู้ใดสามารถเป็นผู้ประเสริฐ คือ "มุนินโท" มุนินโท แปลว่านักพรต นักปฏิบัติธรรมหรือพระ ถ้าเราทำตัวเป็น"พระ" ได้ด้วยการชนะแบบนี้ ได้ประโยชน์จากที่พระพุทธเจ้าท่านพาทำ ตามบทพาหุง ที่สวดกันอยู่นี้ ก็คือ คาถาพาหุงมีผล ทำความเข้าใจให้ดีๆ และทำให้ตรง ทำให้ถูกตามแบบพระพุทธเจ้านี้เถิด
    ________________________________________
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    บทที่ ๕
    กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

    อันนี้แปลว่า "ตอนนี้ชนะการกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา ทำอาการประดุจว่ามีครรภ์ เพราะทำไม้ มีสัณฐานอันกลม ให้เป็นประดุจมีท้อง ด้วยวิธีอันงาม เอาไปใส่เอาไว้ที่ใต้ร่มผ้า พระพุทธเจ้าท่าน เอาชนะด้วยสมาธิอันงาม คือระงับพระหฤทัย ในท่ามกลางหมู่ชน ท่านทำเฉยเสีย "สันเตนะ" "สันตะ" แปลว่าเฉย สงบ สันเตนะ โสมะวิธินา ท่านชนะด้วยอาการทำความสงบเฉยนิ่ง ไม่ตอบโต้อะไรเลย ท่านเอง ท่านทำความเฉยแบบนี้ แม้ใครจะมากล่าวร้ายป้ายสีว่าร้าย

    ถ้าลงขนาดพระพุทธเจ้านี่นะ เป็นนักบวชขั้นศาสดา แต่แล้วก็มีคนไปกล่าวร้าย ว่าไปทำให้เขาท้อง แหม ! มันร้ายกาจขนาดหนัก เป็นปาราชิก เป็นร้ายกาจแล้ว ไปทำให้เขาท้อง แล้วเราไม่รับว่าเราไปทำ อันนี้ความเลวขั้นสุดของพระ

    พระรูปใดที่ละเมิดด้วยเมถุนธรรม ไปทำให้ผู้คนท้องได้ จะต้องเกี่ยวยุ่งเป็นกงเป็นการ ในเรื่องผู้หญิง ผู้ชาย ชู้ๆสาวๆ คนนั้นเลวที่สุด ในวงการพระนี้เลวที่สุด เหมือนกับพวกเราคงรู้ พระรูปไหน ไปเกี่ยวข้อง ผู้หญิง ผู้ชายไปมีเมีย หรือไปละเมิดอย่างนี้ขึ้นมา คนนั้นเลวมาก เลวที่สุด

    พระพุทธเจ้าท่านจึงถูกใส่ความในจุดนี้เหมือนกัน นางจิญจมาณวิกา ได้ทำเสแสร้งเอาไม้กลมๆ ใส่เอาไว้ ในผ้านุ่ง เหมือนกับคนมีท้อง มาตู่พระพุทธเจ้าว่าเป็นสามี พระพุทธเจ้าท่านก็เฉย แล้วท่าน ก็กล่าวขึ้นว่า มีน้องหญิงกับเราเท่านั้นแหละนะที่จะรู้กัน จริงหรือไม่จริง จริงไหมล่ะ? ท่านไม่ได้ยุ่งเกี่ยว นางจิญจมาณวิกา แต่นางจิญจมาณวิกาซิ เข้ามาเกี่ยวตัวท่านเอง ท่านก็เลยพูดขึ้นอย่างนั้น ท่านเกี่ยวเขา หรือไม่เกี่ยว เขาก็รู้ดี ท่านก็รู้ดี

    เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าท่านรู้ว่าท่านถูก ท่านไม่ใช่เป็นคนผิด ท่านจึงเฉย เฉยจริงๆ เพราะฉะนั้น การหยุด การเฉย สันเตนะ โสมะวิธินา เฉยสงบ เมื่อถึงที่สุดนั้น เป็นคุณสมบัติของอริยะ ที่แท้จริง ความสงบ นี่แหละ ชนะอะไรทั้งปวงในโลก ท่านไม่เดือดร้อน เพราะท่านรู้ ท่านเฉยอยู่ สุดท้าย นางนั้น เต้นไปเต้นมา ไอ้ไม้ที่ซุกอยู่ในท้อง มันหล่นตกลงไปเอง โธ่ มาหลอก ! อย่างนี้ นางจิญจมาณวิกา ก็ถูกคนเขาด่าไป ถูกคนเขาว่าให้เสียไปเลย ท่านเอาชนะมารอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น เราก็เหมือนกัน ต้องจำยุทธวิธีบทนี้ให้ดีๆ อย่างพระพุทธเจ้าท่านทำ ใครจะมาด่า กล่าวว่าร้ายอย่างไรก็ช่าง ถ้าเราตรวจดูตัวเราว่าเราไม่ได้เลว เราไม่ได้ร้าย ก็ไม่ต้องหวั่นไหว เราไม่ได้ เสียหาย เราไม่ได้ทำผิด ก็เก่งนั่งยิ้มแป้นอยู่เฉยๆ เถอะ ไม่เดือดร้อนใจเลย ไม่มีเคือง ไม่มีระคาย ไม่หวั่นไหว เฉย สงบ พูดได้ดี มีสติสัมปชัญญะ มีความจริง มีความสัตย์บริสุทธิ์อยู่ อย่างนี้ก็เป็น ผู้ที่ได้ผล ในการฟังพาหุง บทที่ ๕ คือ ชนะคนจอมลวงโลก หรือคนกล่าวร้าย เสียดสี หรือคนพาล หาเรื่อง เราจะชนะคนเหล่านั้นได้ อย่างเก่งเป็นธรรมะที่จะต้องรู้ ต้องเข้าใจเรื่อง เข้าใจเหตุผล ไม่ใช่ธรรมะสวดเสร็จแล้วก็ขลัง ! มีอะไรมาบันดลบันดาลอย่างนั้นไม่ อย่าไปขออ้อนวอนเอา อ้อนวอนยังไงก็ไม่สำเร็จ หรือไม่ใช่พุทธวิธี วิธีการที่พระพุทธเจ้าทำเป็นตัวอย่าง นี้เป็นการเรียนรู้ แล้วลงมือกระทำให้ถูกตรงตาม นี่ พาหุง บทที่ ๕
    ________________________________________

    บทที่ ๖
    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะ กะวาทะเกตุ วาทาภิโร ปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญา ปะทีปะชะลิโต ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
    บทนี้ ท่านแปลกันไว้ว่า

    พระพุทธเจ้าท่านชนะนักบวช ผู้มีอัชฌาสัย ที่จะละเสียซึ่งความสัตย์ มีใจที่จะยกถ้อยคำของตนให้สูง ดุจยกธง เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก ด้วยเทศนาญาณวิธี คือ รู้อัชฌาสัยแล้วตรัสเทศนา
    ฟังคำแปลแค่นี้ ก็แสนจะเข้าใจยากแล้ว ก็จะขอแปลซ้อนลงไปให้ง่ายขึ้นอีกหน่อย คือ
    "พระพุทธเจ้าท่านชนะนักบวชอื่นๆ ที่"เบี้ยว" แล้ว "ไม่จริง" แล้ว "ไม่ตรง ไม่ถูกตามสัจธรรม" แล้วและ ยังเจตนาที่ยกตนอยู่ ว่าตนสูง ตนดีเสียอีก มืดมนอยู่ หรือโง่อยู่ ยังบกพร่องอยู่ พระพุทธเจ้าจึง พยายาม เอาชนะ ได้ด้วยการใช้พระปัญญา แสดงธรรมสอน ไปเผยแพร่ออกไป กระจายสัจธรรม ออกไป ตามอัธยสัยของบุคคล ตามอัธยาสัยของตนเอง และกาละเวลาอันควร ความกระจ่าง สว่างไสว แห่งสัจธรรมแท้ ก็จะเป็นประทีป ไปจุดให้ผู้ "ไม่รู้" ผู้ยังยึดดี ถือตนนั้นๆ เห็นได้ตามเป็นที่สุด

    พระพุทธเจ้าชนะเขาด้วยการสอน สอนด้วยอะไร สอนด้วย "ปัญญา ปะทีปะชะลิโต" สอนด้วยปัญญา ที่เป็นประทีปที่ท่านมี เช่น มีความสว่าง หรือมีความรู้แจ้งชัดอยู่เท่าใดๆ ท่านก็ใช้ปัญญานี้สอนนักบวช ดื้อด้านยึดถือดี อวดดี หลงตนทั้งหลาย นักบวชที่ยึดดี หลงตนที่ร้ายกาจนั้นๆ ในสมัยพระพุทธเจ้า ท่านก็มีคู่แข่ง มีนักบวชทั้งที่เขาก็ยืนยันว่าเขาประพฤติถูกต้องแล้ว พระโคดมสิ มาประพฤติมาสอน ผิดๆ เขาก็พากันต่อต้าน โต้แย้ง และมีทั้งประกาศศาสนากันคนละศาสนา พระพุทธเจ้าก็สอนนักบวช ที่ยังผิดๆ เพี้ยนๆ อวดดีทั้งหลายแหล่นี้แหละ หรือนักบวชอื่นๆ อีกก็ตาม สอนเขาจนเห็นดี เห็นชอบด้วย สอนเขาด้วย "ปัญญาปะทีปะชะลิโต" พวกนักบวชที่ยึดดี ถือตน อวดดีทั้งหลายแหล่เหล่านี้ พระพุทธเจ้าทำอย่างนี้

    นักบวชในสมัยพระพุทธเจ้ามีหลายลัทธิ แยกออกมาจากพราหมณ์ด้วยกันนั่นเอง ก็เยอะแยะ แต่งตัว เหมือนกันก็มี แต่งตัวอย่างโน้นแต่งตัวอย่างนี้ นับถือจารีตอย่างโน้น นับถือประเพณีอย่างนี้ มีแบบนี้ แบบนั้นหลายๆ อย่าง หลายๆแขนง ต่างกันมากมาย แต่ก็มาจากพราหมณ์เหมือนๆกันนั่นแหละ ส่วนใหญ่ ต่างก็ล้วนจะประพฤติพรหมจรรย์

    เหมือนกันกับสมัยนี้ เรียกว่าพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ก็มีการปฏิบัติกันไม่รู้กี่จารีต กี่ประเพณี กี่แบบ อย่าง โดยเฉพาะทาง"ความเข้าใจ" หรือ"เป้าหมาย"ทางนามธรรมนั้น แตกแง่ แยกทางมากมาย หลายอย่าง เหลือเกิน เพราะฉะนั้นได้หลายอย่างๆ นี้แหละก็เหมือนกันกับสมัยโน้น ใน "พระพุทธศาสนา" ก็มีแบบอย่างกันหลายอย่าง มี"ทิฏฐิ" กันคนละ"ทิฏฐิ" ในสมัยนี้ผู้รู้จริง ก็จะต้องใช้ "ปัญญาปะทีปะชะลิโต" ซึ่งจะสามารถเทศนา แสดงคำสอนด้วยญาณวิธี หมายความว่า ทำด้วย ความเก่งแห่งปัญญา มีเชิง มีกลวิธีต่างๆ คนอื่นที่เขาเป็นนักบวชต่างๆ นั้นก็จะรู้ได้ จะได้ประโยชน์ เช่นเดียวกัน

    สมัยพระพุทธเจ้ามี "ปัญญาปะทีปะ" มีญาณ มีปัญญาอันเป็นประทีปถ่ายทอดกันอยู่ สมัยนี้ก็ต้องใช้ "ปัญญาประทีป" อย่างเดิมอยู่นั่นแล เพราะสมัยไหนๆ ก็พยายามใช้ปัญญาประทีป

    นี่แหละแสดงเทศนาเพื่อที่จะให้พระ หรือนักบวชผู้ที่มืดมนหลงตน ยึดดีถือดี อวดดีอยู่ต่างๆนั้น คลายทิฏฐิ ยอมแพ้ หรือพระท่านมีญาณประทีปนั้น ท่านก็จะพยายามแสดงธรรมเทศนา สั่งสอน กล่าว หรือว่าแสดงวิธีให้พระที่กำลังมืดมน หลงตน ยึดดี ถือดีว่าตัวดี อวดดีเหล่านั้น ยอมเห็นตามได้ เข้าใจในสัจธรรมได้ ไม่ว่าจะเป็นสมัยไหน ถ้าใครมีปัญญาแก่ตนแล้ว "ปัญญาปะทีปะชะลิโต" เป็นปัญญา เป็นดวงประทีปสูง ก็สามารถที่จะเป็นผู้สาดส่องกระจายรังสีแห่งสัจธรรม ออกไปข่มรัศมี ที่ยังไม่จริงไได้ จะปราบความอวดดี ปราบความหลงตน เย่อหยิ่งของนักบวช แม้รุ่นเก่าเกิดก่อน หรือรุ่นที่ยังไม่ดีแท้ ยังไม่เป็นสัจธรรมจริงได้ ซึ่งก็ยากยิ่งแท้ แต่ถ้าคุณเป็นนักบวชผู้มีปัญญาทีปนั้นจริง คุณก็ทำได้จริง ถ้าคุณไม่ได้เป็นนักบวชที่มีปัญญาปทีปจริงนั่นสิ !คุณก็ทำอันนี้ไม่ได้ ก็ให้ฟังไว้เท่านั้น

    แต่ผู้ที่จะได้ประโยชน์สูงขึ้นมาแล้ว เมื่อกี้นี้ชนะคนชั้นหลอกลวงในโลกขนาดนั้น ฉะนั้นขั้นต่อไป ตั้งแต่ บทที่ ๖ นี่ก็ขั้นสูงขึ้นๆ ผ่านขั้นชนะ "คนลวง" ต่อมาก็ชนะ"พระลวง" หรือ "นักบวชลวง" ก็ต้องเตือนกัน บอกกัน แม้จะเป็น"นักบวช"ผู้ที่ยังไม่บริสุทธิ์สูงสุด ก็ยังหลง"โลกียสุข"อยู่อีกต่างๆ ที่มันทำให้ต้องถือดี ต้องอวดดี ยึดตัวยึดตน ต้องยุ่งยากลำบากกัน เพราะเป็นเรื่องของความสุขขั้นสูง ที่ "นักบวชก็ยังหลง" เป็นเรื่องของจิตชั้นสูง ขั้นสอนเขาปราบมาร เรียกว่า "มารในนักบวช" ที่ปราบครั้งนี้เรียกว่า "ปราบมาร ชั้นนักบวช" ไม่ใช่ปราบมารชั้นคนธรรมดา มารชั้นคนธรรมดามีมือตั้งพัน บอกไปแล้วแต่ต้น ตั้งแต่บทที่ ๑ มีมือที่มีมีด แต่นี่เป็นมารที่อวดกล้าว่าตัวเองนี่เก่ง มีสัจจะ มีตบะบ้าง มีแบบ มีวิธีบ้าง อะไรบ้าง ก็ตามแต่ แต่ตัวเองยังมีความหลอกอยู่ ไม่มีสัมมาทิฏฐิ อย่างนี้พระพุทธเจ้าท่านปราบมาแล้ว และ เราเอง พุทธศาสนิกชนเอง นักบวชของพุทธศาสนาในสมัยนี้แหละ ถ้าใครเป็นนักบวชที่มี "ปัญญาประทีป" อันรุ่งเรือง "ปัญญาปะทีปะชะลิโต" ปัญญาที่เป็นประทีปรุ่งเรืองนี้ ก็ช่วยปราบ นักบวชเหล่านี้ด้วย อันนี้เป็นพาหุง บทที่ ๖
    ________________________________________
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    บทที่ ๗
    นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุทธัง มะหิทธิง ปตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

    อันนี้ก็แปลกันมาว่า "พระพุทธเจ้าชนะคนที่ติดในเรื่องที่ตัวเองได้แล้ว เป็นเจโตที่มา ที่รู้นึกว่าตัวเองถูก อันนี้เป็นนักบวชเหมือนกัน ปราบนักบวชขั้นสูงต่อมา ปราบนักบวชขั้นใหญ่ ที่คิดว่าตัวเอง เป็นผู้ที่ ได้แล้ว ซึ่งความสูง ด้วยฤทธิ์อันนั้นถือว่าตัวเองเป็น "เถระภุชะเคนะทะมาปะยันโต" นึกว่าตัวเอง เป็นเถระที่ใหญ่ ที่มีฤทธิ์เดช ดังหนึ่งพญานาคราชใหญ่โตแล้ว

    เพราะฉะนั้น ถ้านักบวชผู้ใดถือว่าตัวเองเหมือนพญานาคราช อันนี้ก็ไม่เน้น "ปัญญา" แต่อันนี้เน้น "เจโต" คือได้ความสงบมาก ได้"วูปสโม สุโข" มาก สงบมากที่สุด เป็นพญานาค สงบจนกระทั่งนิ่งเงียบ ชั้นพญานาค เหมือนคนนอนหลับ พญานาคนอนหลับทีหนึ่ง พระพุทธเจ้าเกิดหนหนึ่ง ถึงตื่นทีหนึ่ง หรือ รู้สึกตัวทีหนึ่งน่ะ

    "พญานาค"นี้ หมายความว่าสงบถึงขั้นนั้น สงบดิ่งเก่ง เป็น"เจโตสมถะ" ไม่รับรู้ไม่รับทราบอะไรทั้งนั้น นี้หมายความว่า เป็นผู้ที่มาปฏิบัติธรรมมาแล้ว ได้รับความสงบ พระพุทธเจ้าปราบคนที่มิจฉาทิฏฐิ พวกนี้เหมือนกัน โดยเกจิอาจารย์ (ผู้แต่งบทพาหุงฯ) ก็จับความผูกเรื่องมาว่า พระโมคคัลลาเถระ ซึ่งเป็นพระสาวก นิรมิตรกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาคชื่อนันโทปะนันทะ ถ้าเราปราบคน เดี๋ยวนี้ อย่างนี้ ก็คือเราปราบนักบวชที่มีคุณลักษณะเป็นดั่งพญานาค และนักบวชผู้นั้นมีความสงบ รำงับได้อย่างลึก แล้วก็ปราบด้วยวิธี "อิทธูปะเทสะวิธินา" ก็คือ เทศนาให้มีผลเก่ง แสดงความจริง ให้ปรากฎเก่ง "อิทธูปะเทสะวิธินา" ด้วยอุปเทศมีฤทธิ์ ท่านแปลว่า อุปเทศมีฤทธิ์เป็นอิทธิอีกประเภท ต้องเทศนานั่นแหละ ให้มีความเก่งหรือมีฤทธิ์ (อิทธิ) ยิ่งๆขึ้น ให้มีรายละเอียด มีแง่ มีมุมต่างๆยิ่งๆขึ้น (อุปเทศ) ให้มีเทศนาที่ดี มีอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ มีความเก่งกล้า ถูกต้องอริยธรรม (คือ ไมใช่ปาฏิหาริย์ที่เป็นเดรัจฉานวิชชา) ด้วยวิธีอันเยี่ยมยอด เพื่อจะทำวิธีให้เขาเห็นได้ เข้าใจได้ ว่ากลาย ไปหลงความสงบ เป็นนันโทปนันทะ พญานาคตัวใหญ่ มันก็ยังไม่เป็นที่สุดหรอก ไปหลงความสงบนี้ ก็ยังไม่เข้าท่า อันนี้เป็นเรื่องของนักบวชแล้ว หรือคนปฏิบัติธรรมชั้นสูง นักบวชด้วยการพึงรู้ นักบวช คนไหนติดทิฏฐิของตัวเอง ว่าตัวเองเก่ง (หลงในความหยุด ความนิ่ง ความสงบของตน) อย่างนี้แล้ว ซึ่งเหมือนกับนักบวชเก่งในความลึกซึ้ง อย่างนั้นอย่างนี้ สามารถเรียนไอ้โน่น เรียนไอ้นี่ ทำเก่ง มีคำพูดเก่งสามารถที่จะแสดงไอ้นี่ได้เก่ง แล้วก็หลงในความรู้ หลงในความเก่ง ความสามารถของตน อย่างนั้นก็จัดว่าเป็นประเภทที่ยังหลงตัวอยู่เหมือนกัน การแสดงธรรม เอาชนะด้วยการใช้วิธี ใช้ปัญญา อธิบาย ใช้พลังของความจริงที่มี ยืนยันด้วยวิธีต่างๆนานามากหน่อย เพราะว่าคนที่หลง ความสงบนี้ มันเป็น "มานะ" ขั้นสูง เป็นความยากแสนยาก และนักบวชชนิดนี้ ปัญญาจะไม่ค่อยแล่น หรือ ส่วนมากไม่ชอบคิด ปัญญาน้อย
    เพราะฉะนั้น ต้องมี "อิทธูปะเทสะ" มีวิธีที่จะแสดงอุปเทศต่างๆ เหลี่ยมนั้น เหลี่ยมนี้ แสดงถึงกายธรรม วจีธรรม มโนธรรมออกมาให้เขารู้ได้ เขาหมดทิฏฐิได้ จนเป็นผู้มี "สัมมาทิฏฐิ" รอบถ้วน และพร้อมกับ แก้ไขความติด ความผิดนั้นๆ ได้ ถ้าใครได้สามารถช่วยคนอย่างนี้ได้ คนนั้นก็เป็น "ชิตะวามุนินโท" เป็นพระมุนี ที่เราชนะได้ ซึ่งเป็นมารชั้นสูงมาก

    ก่อนอื่นจริงๆ ก็ตรวจตัวเราเองนั้นแหละก่อนว่า เราหลงความสงบหรือไม่? เรามีความสงบนั้น ต้องมี ให้ได้จริง! แต่เราติดสงบ ติดหยุด ติดคุดคู้หรือไม่ ถ้าไม่ติด เป็นผู้รู้แจ้งจริง ก็เป็น ชิตะวามุนินโท เอาทีเดียว จากนั้นจึงช่วยผู้อื่น ที่มีมิจฉาทิฏฐิ มีมิจฉาสมาธิ ให้นักบวชผู้มี "มิจฉา" เหล่านั้น เข้าใจถูก เป็น "สัมมาทิฏฐิ" และถอดถอนส่วนที่ไปหลงผิด จนเป็น "มิจฉาสมาธิ" นั้นๆเสีย
    "สัมมาสมาธิ"ของพระอริยะ อันมีมรรคองค์ ๘ นั้นไม่ใช่สภาพที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ หรือเป็นได้ง่ายๆ ดั่งสมาธิหลับตา ต้องมีความเข้าใจอย่างถูกต้องจริงๆ (ผู้สนใจโปรดอ่าน "มหาจัตตารีสกสูตร" มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์) และเป็นของศาสนาพุทธเท่านั้น มันมีประโยชน์สูงสุด และมีสภาพ ประหยัดสุด มีระดับอนุโลม-ปฏิโลมอยู่ครบพร้อม เกื้อกูลเกี่ยวพันกับผูอื่น เป็นความสมบูรณ์ของ ศาสนา หรือเป็นความประเสริฐสมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ ผู้เข้าถึง ผู้เป็นได้จริง คนผู้ได้ความสงบ แล้วก็หลงความสงบ ติดสงบ ก็จะขี้เกียจเฉื่อยชา เนือย ปัญญาก็จะเสื่อมลงๆ เมื่อความเกียจคร้าน เข้าจับ นั่นไม่ใช่ความเป็นมนุษย์ประเสริฐของศาสนาพุทธเลย ศาสนาเดียรถีย์ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว ก็ไปจบที่"หยุด"เลิกโลกแบบพาซื่อ ทิ้งโลกแบบเถนตรง ไม่รับรู้กับโลก ไม่เกื้อกูลโลก ไม่เกื้อกูล มวลมนุษยชาติ ไม่เข้าใจความสุขของมวลมนุษยชาติ ไม่ช่วยมวลมนุษยชาติใหมีอริยญายธรรม ได้ชื่อว่าศาสนาหนีเอาตัวรอด หรือลัทธิเห็นแก่ตัว ศาสนานั้นลัทธิอย่างนั้น หรือทิฏฐิอย่างนั้น เป็นเดียรถีย์

    แต่ศาสนาพุทธนั้น พระพุทธองค์ทรงยืนยันว่า ธรรมวินัยนี้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลมวลมนุษยชาติ
    ปฏิบัติเพื่อความสุขแห่งมวลมนุษยชาติ เพื่อยังหมู่มวลมนุษยชาติทั้งหลายทั้งปวงให้มากที่สุด อันจะตั้งอยู่ในอริยญายธรรม (คือ เป็นอารยชน เป็นมนุษย์ที่เจริญ ไม่ด้อยพัฒนานั่นเอง)
    (จากสุตตันต. อังคุต จตุกก.ข้อ ๓๕ ตามพระบาลีที่ว่า อิธ พราหมณะ พะหุชะนะหิตายะ ปฏิปันโน โหติ พะหุชะนะสุขายะ พหุสสะ ชะนะตา อริเยญาเย ปติฏฐาปิตา)

    ศาสนาพุทธสอนคนให้เป็นปราชญ์ ให้เป็นมหาบุรุษ ยิ่งบรรลุธรรมก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อโลก โลกุตตรธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นคุณธรรมของมหาปราชญ์ ของมหาบุรุษ ที่จะค้ำจุนโลก ช่วยมนุษยชาติ ไม่ใช่ธรรมที่ปฏิบัติแล้วกลับกลายเป็นผู้ได้แต่ประโยชน์ตน เห็นแก่ตัว ไปชิบ ! อย่างนั้นก็ไม่เลย อย่าเข้าใจผิด หลงผิด (มิจฉาทิฏฐิ) กันว่าการปฏิบัติตามโลกุตตรธรรมนั้น ก็เพื่อ"ตัวเอง" เท่านั้น หรือบวชเป็นภิกษุเสีย จะได้ไม่ต้องมาอยู่ในโลก ปฏิบัติไปในทางโลกุตตรธรรม แล้ว ก็หมายความว่าเรารอดพ้นแต่ตัว เราไม่อยู่ในฐานะที่จะทำอะไรให้เกิดแก่คนอื่นได้ โลกุตตรธรม นั้น หมายถึงการแยกตนจากหมู่คณะ หรือแยกตนออกจากสังคม ถ้าขืนใครเข้าใจ "โลกุตตรธรรม" ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ ผู้นั้นก็ซวยมาก ก็น่าสงสาร ที่ไปเห็นศาสนาพุทธเป็นอย่างนั้น เสียนี่ เพราะมันเท่ากับหมายความว่า ศาสนาพุทธเนื้อๆ แท้ๆ กลับไม่มีค่าอะไรเลยกับมนุษยชาติ หรือ ขัดกับพระพุทธพจน์ ที่ยกขึ้นมายืนยันให้ฟังเมื่อกี้นี้แน่ๆ

    ศาสนาฤาษีที่สอนให้มีทิฏฐิแบบทิ้งโลก ทิ้งมนุษย์ "หยุด" ไปอย่างพาซื่อดื้อๆ เป็นเถนตรง ไม่มีสติปัฏฐาน ไม่มีวิปัสสนา แล้วก็ "เบื่อหน่ายแบบเกลียดชัง" ความเป็นจริงของทุกๆ สิ่งในสังคม เกลียดชังวัตถุ เกลียดชังในพฤติกรรมของมนุษย์นั้น มันมีมาก่อนศาสนาพุทธจะเกิด และมีมาก ลัทธิด้วย และมันก็ไม่ใช่ความประเสริฐของความเป็นมนุษย์อะไร? มันเป็นเพียง "ความเห็นแก่ตัว" ของมนุษย์เชิงหนึ่งเท่านั้น มันเป็นลัทธิที่สอนให้คนกลัว ! ไม่ใช่ลัทธิที่สอนให้คนแกล้วกล้า องอาจ แข็งแรงต่อโลก เป็น"ที่พึ่ง" ของมนุษยชาติ มันตรงกันข้ามกับลัทธิพุทธน่า ! มันเป็นเรื่องตื้นเขิน และ ไม่ใช่ความลึกซึ้งอะไรที่จะเรียนรู้ หรือทำความเข้าใจ มันจึงไม่เข้าใจง่าย และใครๆก็เข้าใจได้ ไม่ยากจริงๆ

    คนเป็นจำนวนมาก จึงเข้าใจกันอย่างนี้ และแล้วจึงคิดว่าศาสนาพุทธ ก็มี"ทิฏฐิสัมบูรณ์" แบบนี้บ้าง ซึ่งมันไม่ใช่!

    แต่ศาสนาพุทธก็ไม่เป็นทาสสังคม ไม่หลงใหลติดใจในพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่เป็นทาสวัตถุ ไม่เป็นทาส อารมณ์จิต และมี"กรรมวิธี" (มรรควิธี) ในการปฏิบัติเพื่อเรียนรู้ เพื่อลดละ เพื่อขัดเกลา อารมณ์จิตที่เคยหลง เคยติด เคยเป็นทาสสิ่งเหล่านั้นออกให้เกลี้ยว สนิทจนอยู่กับโลก อยู่กับสังคม อยู่กับวัตถุ อยู่กับพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งหลายได้ โดยจะได้ชี้ช่วยลด ช่วยเพิ่มให้แก่สังคม เป็นครู ของมนุษยฺ์ของสังคม เกื้อกูลเขา ช่วยให้เขาอยู่เป็นสุขขึ้น และฉลาดขึ้นอย่างแท้จริง ตรงตาม พระพุทธพจน์ แน่ๆ ผู้เป็นครูนั้นๆ ก็เป็นผู้"ประหยัดสุด" เพื่อ "ประโยชน์สูง"จริงๆ

    ดังนั้นแม้จะปฏิบัติกันจนบรรลุได้ในช่วงหนึ่ง ได้รับผลเห็นแจ้งว่าการหยุด การพัก การไม่ต้องยุ่งกับ อะไรๆ นั้นมันสบาย มันว่าง มันง่าย มันสงบจริงๆ นักปฏิบัติธรรมที่ไม่มีครูอาจารย์สอนถูกทิศถูกทาง จริงๆ ก็จะติดสงบ หลงความสงบ หลงความหยุด หลงความพัก ความไม่ต้องยุ่งกับงานการ กับเรื่อง อะไรทั้งหมดเลย จะอยู่มันเฉยๆ นิ่งๆ เนือยๆ ไม่มีความขวนขวาย ไม่มีความขยัน เป็นใบ้ เป็นเศษมนุษย์ เป็นกากคนที่เหมือนของสูญเปล่า ไร้ค่า ไร้แรงงาน ทั้งทางกาย ทางปัญญา แต่ก็ยังกิน อาหารในโลกอยู่กับเขา ยังใช้สอยวัตถุต่างๆ บางรายที่ยังไม่ใช่รายเก่ง ก็จะเป็นเศษมนุษย์ที่เปลือง พอได้ แต่บางรายก็เก่งเหมือนกัน เป็นเศษมนุษย์จริง และไม่เปลืองวัตถุโลก ไม่มีพฤติกรรมเยี่ยง มนุษย์ ปุถุชนโลกๆ นั่นก็นับว่าเป็นความเก่งอย่างหนึ่งเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหมดกิเลส เพียงแต่ห่างวัตถุ ห่างสิ่งที่เป็น"เหตุ" แห่งกิเลสภายนอกไปเท่านั้น ถ้าจิตที่หมดกิเลสจริงแล้ว อยู่กับ เหตุปัจจัยภายนอกอะไรก็ได้ จึงจะเรียกว่าเหนือโลก เหนือวัตถุในโลก จึงจะชื่อว่า"โลกุตระ" แท้

    แต่นี่ยังสัมผัส สัมพันธ์กับวัตถุบางอย่าง พฤติกรรมของมนุษย์บางอย่างไม่ได้ ก็ยังไม่เปล่า ไม่ว่าง ในจิตจริง ยังหวั่นไหวต่อการกระทบอยู่ จึงต้องหลบลี้ หรือเลี่ยงอยู่ป่าอยู่เขา อยู่ถ้ำที่ห่างไกลโลกีย์ จนตายไปก็เยอะ ซึ่งที่จริงก็ไม่ใช่ของง่ายเลย ที่คนจะปฏิบัติตนจนปละปล่อยจิต หยุดจิตละมาได้ ถึงขั้น ทิ้งพฤติกรรมที่ปุถุชนเขาติด ทิ้งโลกียะทางกามราคะ ขั้นละเว้นกันได้นานๆ จนดูประหนึ่งเป็น "อนาคามี" หรือเป็นผู้ไม่ใยดีบ้านช่องเรือนชาน ทรัพย์สินสมบัติอะไร บางคนทิ้งละไปได้ จนตราบตาย จากไปเลย ก็มีไม่น้อย แต่มันก็ยังไม่ใช่จุดสูงสุดของศาสนาพุทธ

    การลด ละ สงบ รำงับมาได้ออกปานนี้ก็เป็น "ผู้ประเสริฐ"(นาค) ขั้นหนึ่งแง่หนึ่งเหมือนกัน แต่ยังไม่ สูงสุด จริงๆนั้นอาจจะละจะเว้นสมบัติโลก ละเว้นพฤติกรรมอย่างมนุษย์โลกออกมาได้ เพียงเพราะ ติดสงบ ซึ่งเป็นการเสพย์ติดชนิดหนึ่ง เพราะอุปาทานสุดโต่งชนิดหนึ่ง หรือเพียงเพราะห่างเหตุ ห่างปัจจัยแห่งกิเลส อันเป็นเพียงวัตถุหยาบ เป็นเพียงรูปธรรม มิใช่เหตุที่เป็นนามธรรม เป็นที่สุดพร้อม เป็นเพียงภายนออก มิใช่ในภายในอย่างถูกจุดแท้ด้วยปัญญาจริงเท่านั้นเอง จึงทนได้ แต่ถ้ายัง สัมพันธ์ สัมผัสโลกอยู่จะทนไม่ได้ จึงจะต้องเอาชนะความติดสงบ ติดหยุดนี้ให้ได้ และจะต้องเรียนรู้ พิสูจน์แท้ว่า "ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ น กมปติ" คือสัมผัสโลกธรรมใดๆ สัมพันธ์อยู่กับโลก ทั้งหลายอย่างไร จิตใจของเราก็ไม่มีหวั่นไหวจริงๆ ได้แท้ จึงจะเป็น "ชิตะวามุนินโท" เป็นมุนีผู้ชนะ สูงขึ้นไปให้ได้อีก

    นี่ก็เป็นสภาพธรรม และความรู้อันได้มาจาก "พาหุง บทที่ ๗" ก็สูงขึ้นๆ มาตามลำดับ ขั้นนี้ มันขั้น "ปฏินิสสัคคะ" คือ ขั้น "ย้อนคืน" หรือ "สละคืน" มันเป็นขั้นสูง ถึงขนาดเข้าใจสภาพจริงที่แท้ว่า ได้แล้ว ก็เป็นอันได้ และไม่ต้อง "ติด"นี่ ! ไม่ต้องเอาก็ได้ ซึ่งเราก็รู้ว่าเราก็ยังได้อยู่นั่นเอง
    ________________________________________
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    บทที่ ๘
    ทุคคาหะทิฏฐิ ภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรหมังวิสุทธิ ชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะวิธินา ฯลฯ

    ซึ่งก็แปลกันมาว่า "พระพุทธองค์ชนะพรหม ผู้มีนามว่าท้าวพะกา ผู้มีฤทธิ์อันสำคัญว่าเป็นผู้รุ่งเรือง ด้วยคุณ อันบริสุทธิ์ มีมืออันท้าวภุชค์ คือทิฏฐิ ที่ตนถือผิดรัดรึงไว้แน่นแฟ้นแล้ว ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษ คือเทศนาญาณ ฯลฯ"

    ขั้นนี้มันขั้นสุดท้ายแห่งมุนีจริง คือขั้นปราบพระพรหม เป็นอภิญญาขั้นสุดท้าย หรือเป็น "อิทธิวิธี" ลำดับ ปลายขั้น "ใช้อำนาจนทางกายไปตลอดพรหมโลก" มันเป็นขั้นสูงกว่า "เหาะไปในอากาศเหมือนนก" ขั้นสูงกว่า "ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือ" กันเสียอีก

    คือ ขั้นต้องชนะสภาพที่เรียกว่า"พรหม" ทั้งหลาย เกจิอาจารย์ท่านก็จับเรื่องขึ้นมาว่า พระพุทธองค์ชนะ พระพรหมผู้มีนามว่าท้าวพะกาผู้มีฤทธิ์ ซึ่งสำคัญว่าตนเป็นเป็นคนเก่ง ยิ่งใหญ่ ถ้าผู้ใดยัง"มิจฉาทิฏฐิ" อยู่ ยังไม่มีปัญญารู้ว่า "พรหม" นั้นก็คือ "จิตวิญญาณ" และไม่ใช่อยู่ฟากฟ้าฟากดินไหนหรอก ! มันก็คือ จิตวิญญาณของเรานี่เอง อยู่ในตัวเรานี่เอง

    นี่แหละ! ต้องตรวจต้องอ่าน ต้องรู้แจ้งให้ได้ จะปราบพระพรหมฯ ก็ไม่อยู่ไหนหรอก พระพรหมก็อยู่ ในจิตของเราเอง พระพรหมอยู่ในจิตของคุณทุกคน ทุกคนมีจิตพระพรหม อันนี้ภาษาพระท่านเรียกว่า "มมังการ" หรือ "อหังการ" อยู่ในตัวคนเป็นๆนี่เอง ไม่ใช่ล่องลอยอยู่ในอากาศ อยู่บนยอดไม้ ยอดเขา ยอดดินอะไร หรือไม่ใช่ไปสิงสู่อยู่กับรูปปั้น รูปหล่ออะไร ถ้าใครยังงมงาย "มิจฉาทิฏฐิ" อยู่ รู้ไม่ออก จับในตนไม่ได้ ก็ไม่มีหวังได้เป็น "ชิตวามุนินโท" พระพุทธเจ้าท่านก็ปราบพระพรหม นี้ตั้งชื่อเป็น ปุคคลาธิษฐาน ท้าวพะกาพรหม มีฤทธิ์ คือสำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรือง เป็นผู้ยิ่งใหญ่ สูงส่งว่างั้นเถอะ สูงด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีทิฏฐิถือตนถือตัว มีมืออันท้าวภุชงค์ คือทิฏฐิที่ตนถือผิดนั้นหนะ มันหมายความว่า เจ้าของจิตวิญญาณเองนั่นแหละ ยังหลงยึดเอาจิต เอาวิญญาณที่ตนเป็นอยู่ มีอยู่ว่าเป็น "ตน" เป็นประหนึ่ง"ของของตน" เลยไม่หมดสิ้น "อัตตา" ไม่จบกิจเป็นผู้บรรลุอรหันต์ ไปได้สักที "พรหมโลก" หรือลักษณะพรหม มันมีอีกหลายแบบ หลายขนาด หลายชั้น ต้อง "รู้ชัด" และ มีอำนาจเอาชนะพรหมได้จริงๆ ซึ่งล้วนแต่คือ"จิตวิญญาณ" ในตัวเรานี่เองจริงๆ
    แม้"จิตวิญญาณ" ของใครจะเก่ง จะดีบริสุทธิ์จากกิเลสหยาบต่ำ จากกิเลสอย่างกลาง แม้จะกิเลส อย่างสูงละเอียดมาได้จริงแท้ สูงจริง เก่งจริง ดีจริง บริสุทธิ์จริงออกปานใดก็ดี มันก็เป็นความดีจริง สูงจริง เก่งจริง บริสุทธิ์จริงของจิตวิญญาณนั้นๆ ตามขนาดที่ตนละ ตนเลิก ตนหลุดพ้นมาได้จริง แต่อย่าเผลอไป "หลงตน" ว่าตนมีดี ตนมีตัวเก่ง ตนบริสุทธิ์ แล้วก็หวงแหน ห่วงหวงความบริสุทธิ์ ถือ"เจ้าตัวสูง" ยึดเจ้าตัวเก่ง ตัวดีนี้เหนียวแน่น จนมันเป็นกลายเป็นเหตุให้"ตนทุกข์ ตนลำบาก" หรือตนทำงการงานอะไรก็ไม่บังเกิดผลสูงส่ง ดียิ่งขึ้นไปๆ ได้กว่านั้นอีกเป็นอันขาด ได้รู้มานิด ได้ดี มาหน่อย ก็จะไปหลงตัวหลงตนเข้า ก็นั่นแหละระวังๆ เถอะ!

    มุนีขั้นนี้ จะต้องมี "ปัญญา" ขั้นชาญเชิง ขั้นฉลาด เหนือชั้นจริงๆ เป็น "ญาณาคะเทนะ วิธินา" ตัวจริงตัวแท้ ที่จะต้องรู้"ความจริง" ที่ตัวเอง (มีอัตตัญญู) และจะต้องรู้ "ความดีความเก่ง" หรือ "ความยังไม่ดี ยังไม่เก่งจริงๆ" ของผู้อื่น (ปุคคลปโรปรัญญู) ทั้งของหมู่กลุ่มต่างๆ (ปริสัญญู) เพื่อดำเนินการจรรโลง ก่อการรังสรรค์ที่ดีให้เกิดแก่สังคม แก่มวลมนุษยชาติ จึงจะต้องมี"มัตตัญญู" คือจะต้องรู้ขนาด รู้ประมาณจริงๆ อย่าว่าแต่วัตถุเลย ถึงสภาพของ"อรูป" หรือ "นามธรรม"แท้ๆ ว่าจะปั้นขนาดใด ประมาณกันขั้นไหน จะต้องปั้นออกมาให้ได้ตามประมาณจริงๆ และจะต้องมี "กาลัญญู" คือกาละอย่างไรควร กาละอย่างคอย กาละอย่างไรเคร่ง ก็จะต้องรู้จริงให้ถูกต้อง "อัตถะ" ลงตัวเป็น"กุศลธรรม" และหรือ "อกุศลธรรม" กันให้ดีที่สุด ที่สามารถตลอด ไม่ใช่เอาแต่"ตน" เป็นใหญ่ ไม่คำนวณของคนอื่น ไม่อนุโลมผู้อื่นเลย เห็นแต่ตน มองออกแต่ตน ตามใจแต่ตน เชื่อแต่ตนตะพึด ฝ่ายเดียว อย่างนี้แหละพระพรหม (อัตตาธิปไตย)

    โดยเฉพาะ ต้องปราบความถือดี ยึดตัวยึดตน ที่ตนเองนั่นแหละก่อน นั่นแหละคือ "การปราบ พระพรหม" หรือคือ "มานะสังโยชน์" ตัวสำคัญนั่นเอง

    ถ้าเรา"หลงความใหญ่" ท่านเรียกว่าเป็นพระพรหม หลงตัวเองว่ามีฤทธิ์ มีความสามารถ มีความดี มีความเก่ง (แม้จะมีจริง) มีอำนาจ หลงตัวหลงตน ว่าตัวเองใหญ่ ตัวเองโตอะไรอย่างนี้ จิตตัวเอง นั่นแหละ คือพระพรหมหลงตนเอง มี"วิมานะ" หรือมี "วิมาน" ที่ไม่ยอมปล่อย มีจิต "มานะทิฏฐิ" ถือตัว ถือตน ถือสิ่งที่ตนมีตนเป็นมากๆขึ้น หรือไม่ยอมปล่อยยอมวางเลย มันก็จะนึกว่าตัวเองเก่ง นึกว่า ตัวเองเหนือเขาทั้งโลก อย่างไม่มีโอกาสว่าง ไม่หมด"ชาติ" สภาพจิตจะยึดจัด จนเห็นชัดว่าเป็น พระพรหม (พระเจ้า) ทีเดียว เป็นผู้บงการ เป็นผู้บันดาล เป็นผู้สร้าง เป็นผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้เผด็จการ อย่างนี้เป็นต้นถ้าใครรู้เท่าทันในตน จะต้องพยายามประมาณตน กำราบตัวเอง ถ้ามัน"มากไป" ก็ดี หรือ "ดูไม่ดีไม่งาม" ก็ดี ด้วยวิธีต่างๆ ที่จะสามารถปราบตนลงไป "ใช้ปัญญาประกอบให้มาก"

    อนึ่งถ้าตนดีจริง ใหญ่จริง เก่งจริง ก็ไม่ใช่จะ "หลงผิด" เสียอีก ไม่ยอมแสดงตัวตามจริง ให้มันวนซ้ำ กลับกลายไปเป็นว่า ตนเล็ก ตนน้อย ตนด้อย ตนไม่ดี ตนไม่เก่งอยู่ตะพึด มันก็วน ไม่รู้จบ ไม่องอาจ ไม่ยืนหยัดความจริง ไม่มีที่พึ่งสุดท้าย คนผู้ยังไม่ละเอียดแท้ ยังไม่แน่จริงก็จะ"วน"ดังนี้ แล้วก็มัก จะแก้ตัว ด้วยคำว่า "นั่นเป็นการถ่อมตัว" ลักษณะเช่นนั้นคือ"อุทธัจจะสังโยชน์" แท้ๆของ"พระพรหม" ตัวร้ายจะต้องปราบให้ "หยุด" ให้มั่นคง ให้เลิกวน ให้ได้ละเอียดไปอีก ดั่งนี้เป็นต้น
    ที่จริงตนดี ตนกลาง ตนเล็กขนาดไหนๆ ก็ขอให้รู้ "ความจริง" และใช้ความจริงให้ถูกกาละ ถูกเทศะ ถูกฐานะ อย่างองอาจแกล้วกล้า มั่นใจ และสุภาพที่สุด ตามปัญญาที่ได้ไตร่ตรองอย่างสูงสุดเถิด ซึ่งบางที บางกาละ จะต้องจำ"ถ่อมตน" ในบางเหลี่ยม แต่ก็ต้องแสดงความดีจริง ความใหญ่จริง ที่ตนมีจริงนั้นออกมาได้จริงๆ จึงจะต้องใช้ปัญญา ใช้ญาณเป็น "ญาณาคะเทนะวิธินา" อันยิ่งกว่า "ปัญญาปะทีปะชะลิโต" กันจริงๆ
    จะเห็นได้ว่ามันสุดยอดสุดยากที่สุด แต่แค่ขั้นจะปราบความเป็น "พระพรหม" ของตนลงไปได้นั้น ก็สุดแสนจะยากยิ่งนักแล้ว ยิ่งจะไปราบความเป็น"พระพรหม" ของผู้อื่นอีกละก็ เอ๋ย! มันไม่ใช่ ของง่ายเลย มันต้องใช้ "ญาณาคะเทนะวิธินา" คือ ต้องใช้ "ญาณปัญญา" ใช้การแสดงด้วยกรรมวิธี แสนฉลาด ซ้อนเชิงกันจริงๆ ลึกซึ้ง มีอิทธิฤทธิ์จริงๆ

    และการ"หมดตัว-หมดตน" หรือ "ไม่ถือตัวไม่ยึดตน" ที่ว่ากันเป็นภาษาสำนวนกันนั้น ก็มิใช่ว่าจะเป็น คนต่ำ ปล่อยให้ใครๆ ก็เหยียบก็ย่ำไป จนคนเขาเข้าใจผิดไปหมด ไม่มีการแสดง"ความจริง" ว่าเรามี ความดี มีความสูง ชั้นนั้นชั้นนี้จริง ก็ไม่ใช่จะเถรตรง พาซื่อเสียอย่างนั้นไปหมด จนกลายเป็น "หมดตัว-หมดตน" ก็คือให้ใครดูถูกได้หมด ทำตนต่ำไปตะพึด ว่า"ไม่ถือตัวไม่ยึดตน" ก็ไม่ยึดไม่ถืออะไรไปตะพึด ความดีก็ไม่ยึด อนุโลมตามชั่วตะพึด ความถูกก็ไม่ยึด ถูกก็ได้ ผิดก็ได้ตะพึดไปหมด เป็นพระก็ไม่ยึดศีล ไม่ยึดวินัย หรือทั้งๆที่เห็นใน"สัจจะ" แต่ก็ไม่ช่วยกันยึดใน "สัจจะ"นั้น ไม่พยายามต่อสู้ยืนหยัด เพื่อยืนยง "สัจจะ" นั้น อะไรอย่างนั้น มันก็สุดโต่งเลยเถิดไป เป็นคนไร้ปัญญา และไม่เป็นหลัก เป็นผู้นำ เป็นที่พึ่ง อะไรในโลกกันได้เลย "สรณัง" ก็เลยไม่มี "โลกนาถ" ก็ไม่มีเท่านั้นเอง จงระวังเถิด ! ในคำว่า "ไม่ยึด ไม่ถือ" ก็มิใช่ว่าจะเป็นคนหลักลอย เลอะๆเทอะๆ
    แท้จริงที่สุดนั้น ผู้บรรลุหรือผู้รู้ยิ่ง ผู้หมดตัวหมดตนอย่างแน่แท้ มีปัญญารู้ดี รู้ชั่วชัดเจน รู้ถูก รู้ผิด จริงจังนั่นแหละ คือ ตัวผู้ต้อง"ยึด" ต้อง"ถือ" หลักความจริง ยึดความถูก ถือ "สัจธรรม" แท้ๆ เป็น "ที่พึ่ง" ให้แก่มวลมนุษยชาติ ให้แก่โลก จึงจะเรียกว่า "สรณัง"(ที่พึ่ง) ของผู้ยาก หรือถ้าเป็นผู้สูงยิ่งเยี่ยมมาก ก็เป็น "โลกนาถ" อันคือที่พึ่งของชาวโลกได้จริง

    ดังนั้น ผู้เป็นมหาบุรุษ หรือเป็นอริยบุคคล จึงจะต้องเป็นผู้รู้แจ้งในความจริงแท้ของความจริง ตนเป็น อย่างไร? มีอย่างไร? แค่ไหน? ก็จะต้องแสดงตามจริง นอกจากบางคราว ท่านอนุโลม "ถ่อมตน" ให้เท่านั้น ก็จะไม่ชัดตามจริงเท่าไหร่! ส่วนจะ"เบ่งตน" ใหญ่เกินจริง นั้นไม่ควร และอริยบุคคลจะไม่ทำ ฉะนั้นคราใดท่านต้องแสดงตัว "ตามจริง" ว่าท่านใหญ่จริง สูงกว่าจริง ดีเหนือเขาจริง คนก็มักจะมอง ไปว่า เป็นการ "ยกตน" เป็นการ "ข่มขี่ผู้อื่น"อยู่บ่อยๆเสมอๆ ก็เป็นความจริง !
    และท่านก็"รู้"แจ้งในความจริงอย่างนี้ แล้วท่านก็ "ไม่ยึดไม่ถือ" ในคนผู้ไม่รู้ความจริงนั้นๆ อีก ท่านเห็นใน "สัจธรรม" และเห็นใน"ความจริงใจ" เป็นความจริงจังเป็นที่สุดเอง แล้วท่านก็รู้จักจบ รู้จักที่สุดเอง เป็น "สัจจะ" ลงตัวตรงกับพระพุทธพจน์ที่ว่า "อลัญจ ปน โว ภิกขเว ตุฏฐียา อลัง อัตตมนตายะฯ"

    จะเป็น "ชิตวามุนินโท" หรือมุนีผู้ชนะกันขั้นสูงสุดยอดนั้น จึงต้องมีญาณวิเศษ มีญาณทัสสนะ หรือ มีอธิปัญญากันขั้นปลายสุด (อันต) รู้ความเหมาะสม เป็นที่สุดจริงๆ แม้จะรู้ตนเองว่าเราไม่มีกิเลสแล้ว (อรห) ก็ดี จึงจะเกื้อกูลมวลมนุษยชาติ จะเพื่อความสุขของมวลมนุษยชาติ ยังมวลมนุษยชาติ เป็นอันมาก ให้เข้าถึงความเป็นอารยชน (อริยญายธรรม) ได้จริงๆเป็นที่สุด
    บุคคลเช่นนั้นแล คือ "อรหันต์" (อรห+อันต)

    ผู้ชนะพระพรหม ผู้เหนือพระเจ้าได้จริงอย่างนี้ จึงคือ "ชิตวามุนินโท" ที่มีผล เพราะได้เรียนรู้พาหุง ๘ เป็นคาถา พาให้ศึกษา ค้นคว้า จนหยั่งแจ้งแทงทะลุได้จริง มิใช่ว่าเรียน "พาหุง ๘" แล้วก็ได้แค่ท่อง แค่สวด แลกข้าว แลกของกินๆใช้ๆ จนตายไปเท่านั้น หรือมิหนำซ้ำเอาไป"หลอก" ผู้คนให้งมงาย หลงใหล เลอะเทอะว่าคาถานี้เป็นของขลัง เป็นคำที่ท่องแล้ว กล่าวขึ้นมาแล้ว จะเกิดฤทธิ์พิลึกๆ สวดเดินหน้า ถอยหลัง เท่านั้นเที่ยว เท่านี้เที่ยว แล้วจะบันดลบันดาลอะไรตลกๆ แฝงซ้อน ซ่อนเงื่อน มีแต่ความมืดมัว งงงวย งมงาย ไม่รู้เหตุ ไม่แจ้งปัจจัย ไม่เข้าใจเหตุ ไม่แทงทะลุผล อย่างนั้น ไม่ควรเลย ผู้หลอมนั้น ก็ได้อเวจีไปแท้ๆ ระวังๆกันเถิด !

    ผู้ใดศึกษาเข้าใจถ่องแท้ใน "มาร" ที่มีพันมือ คืออะไร?

    "ยักษ์" ที่แข็งกระด้าง ไม่อดไม่ทน คืออะไร?

    "เดรัจฉาน" ที่เมามัน โง่เง่าคืออะไร?

    "คนใจหยาบ" ที่อำมหิตคืออะไร?

    "คนลวงโลก" ที่แสนใส่ร้าย ต่อต้านคืออะไร?

    "นักบวชผู้ลวงโลก" ที่ยกตนถือดี ดื้อด้าน แต่มืดมนคืออะไร?

    "นักบวชที่ติดหยุด ติดสงบ" ดั่งพญานาค คืออะไร?

    "พระพรหม" ผู้แสนใหญ่ แสนสูง แสนดีจริง คืออะไร?

    แล้วมี "อิทธิวิธี" ต่างๆแก้ไข ปราบปราม จนปราบมาร ปราบยักษ์ ปราบเดรัจฉาน ปราบคนใจหยาบ ปราบคนลวงโลก ปราบนักบวชจอมลวง ปราบนาค ปราบพระพรหมได้เป็นผู้ชนะครบ ๘ อย่าง แปดระดับนี้ ถูกตัว ถูกตนจริง หมดเชื้อ หมดวิญญาณร้ายอย่างนี้ ผู้นั้นก็สุด

    "เอตาปิ พุทธะชะยะมังคละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเนสะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวะนิ โมกขัง สุขัง อธิคะเมยยะ นะโรสะปัญโญ"

    ซึ่งเป็นบทสรุปสุดท้าย ของเกจิอาจารย์ ผู้ประพันธ์คาถาพาหุง ๘ นี้ว่าไว้ มีความหมายไทยๆ ก็ว่า "นรชนใด มีปัญญา ไม่เกียจคร้านสวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถา แม้เหล่านี้ทุกๆวัน นรชนนั้น พึงละเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายทั้งหลาย มีประการต่างๆ เป็นอเนก ถึงซึ่งวิโมกขศิวาลัย อันเป็นบรมสุขแลฯ"

    ก็จริง ถ้าใครมีปัญญาแท้ ไม่เกียจคร้าน สวดขึ้น รำลึกขึ้นแล้วก็ร่วม "ประพฤติปฏิบัติไปด้วย" จนละ เสียได้จริง เลิกเสียได้จริง เข้าถึงซึ่งวิโมกขศิวาลัย ก็จะเป็นบรมสุขแท้

    แต่ถ้าเอาแต่ท่อง เอาแต่สวดร้องกันรุ่นแล้วรุ่นเล่า คนแล้วคนเล่า ไม่ได้รู้อะไรยิ่งกว่านั้น มันก็ไม่มีทาง ช่วยให้ละเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายอันใดแน่ๆ

    ข้อสำคัญคือ เรื่อง"ขอ" ซึ่งสวด "ขอ" "อ้อนวอนขอ" เดินเวียนรอบ "ขอ" ใดๆก็ตาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของเราติงเตือนไว้ชัดเจนว่า "ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปได้" พูดอย่างนั้นๆขึ้นแล้ว ก็"ขอ" ให้เป็นตามที่พูด มันจะเป็นไปได้ง่ายๆเหรอๆ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราเน้น "การกระทำ"
    (กรรม) ที่ครบครัน จริงจัง ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ต้องรู้แจ้ง แล้วทำให้เป็นจริง ถูกจริง ตรงจริง โดยไม่ต้อง "ขอ" มันก็เป็นจริง มีจริง ได้จริง เอาแต่ปากพูดท่อง มันจะได้จริง เป็นจริงแท้กันแค่ไหนกัน

    ก็ลองคิดเห็นกันดีๆ ขอให้"ทำ" เถิด รู้ให้ถูกให้ตรง แล้วทำให้เกิดให้เป็นเถิด ถ้ายังไม่เกิด ยังไม่เป็น ก็อย่าพูดอวดพูดอ้าง ว่าเราเป็น ถ้ายังไม่รู้จริงๆ ก็อย่าพูดอวด พูดอ้างว่าเรารู้

    ที่ได้เล่า ได้ขยายความมาทั้งหมดนี้ ก็คิดว่าคงจะพอรู้กันได้ ตั้งแต่บทที่ ๑ ถึงบทที่ ๘ ไม่มากก็น้อย ผู้รู้ได้ และทำได้จริง ก็เป็น "ชิตวา มุนินโท" จริงๆ โดยไม่ต้อง "ขอให้ชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น" ขอเอาไม่ได้ !

    มันเรื่องของการปราบกิเลส ตัณหาของตนเอง จะไปขอให้กิเลสออกไป มันบอกง่ายปานนั้นหรือ เจ้ากิเลสหนะ ! ถ้าจะใช้เพียงว่า ขอให้คุณเอาไปประพฤติ ให้บรรลุประสบผลเทอญ อย่างนี้ล่ะก็ พอพูดได้ แต่คุณจะเอาไปประพฤติหรือไม่ ก็คุณล่ะทีนี้ จะทำหรือไม่ทำ ก็จบล่ะ ไม่ "ขอ" อะไรกันอีก

    ที่มา http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Book/bhahung.html
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    พุทธคุณ พาหุง มหากา

    จากคำสอนหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

    หลวงพ่อจรัญ " พระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า บางคนเขาไปหาหมอดูเคราะห์ร้ายก็ต้องสะเดาะเคราะห์

    อาตมาก็มาดูเหตุการณ์โชคลางไม่ดีก็เป็นความจริงของหมอดู อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติ
    บอกว่าโยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุให้เกินกว่า ๑ ให้ได้ เพื่อให้สติดี แล้วสวด "พาหุงมหากา" หายเลย

    สติก็ดีขึ้นเท่าที่ใช้ได้ผลสวดตั้งแต่ นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากา

    จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้น เอาพุทธคุณห้องเดียว ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ อายุ ๔๐ สวด ๔๑ ก็ได้ผล "
    ________________________________________

    <<เริ่มสวด>>
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ๑. พุทธคุณ
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

    ๒. ธรรมคุณ
    สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

    ๓. สังฆคุณ
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ๔. พุทธชัยมงคลคาถา (ถวายพรพระ)

    ๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
    เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ


    * ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

    ๕. มหาการุณิโก
    มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
    ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
    นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
    อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
    พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
    สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
    จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
    มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    * ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)
    กราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วสวดเฉพาะพุทธคุณ ดังต่อไปนี้
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จาระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    ให้สวดพุทธคุณเกินอายุ ๑ จบ เช่น อายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ
    เมื่อสวดพุทธคุณครบตามจำนวนจบที่ต้องการแล้ว จึงตั้งจิตแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลดังนี้


    คาถาแผ่เมตตาตนเอง
    อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
    อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
    อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
    อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ

    ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด
    แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
    สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
    สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ

    บทกรวดน้ำ (อุทิศส่วนกุศล)

    อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
    อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
    อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลายจงมีความสุข
    อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
    <<จบบทสวด>>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    คำแปล "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา"

    มีอยู่ ๘ บท และมีความมุ่งหมายแตกต่างกันทั้งแปดบท กล่าวคือ

    บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
    บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์
    บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้
    บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร
    บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ
    บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ
    บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
    บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน

    เราจะเห็นได้ว่า ของดีวิเศษอยู่ในนี้ และถ้าพูดถึงการที่จะเอาชนะหรือการแสวงหาความมีชัย ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร

    นอกเหนือไปจาก ๘ ประการที่กล่าวข้างต้น
    ก่อนที่จะนำเอาตัวคาถาบทสวดมนต์และคำแปลมาไว้ให้จำจะต้องทำความเข้าใจคำอธิบายบทต่างๆ

    ไว้พอสมควรก่อน เพราะความในคาถาเองเข้าใจยาก ถึงจะแปลออกมาก็ยังเข้าใจยากอยู่นั่นเอง เมื่อเราไม่เข้าใจ

    เราอาจจะไม่เกิดความเลื่อมใส จึงควรจะหาทางทำความเข้าใจกันให้แจ่มแจ้งไว้ก่อน
    ในบทที่ ๑. เป็นเรื่องผจญมาร ซึ่งมีเรื่องว่าพระยามารยกพลใหญ่หลวงมา พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถเอาชนะได้

    จึงถือเป็นบทสำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ

    คำแปล- พระยามารผู้นิรมิตแขนได้ตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างชื่อ ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องมา

    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะมารได้ ด้วยทานบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๒. เรื่องเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่ง ชื่ออาฬะวกะ เป็นผู้มีจิตกระด้างและมีกำลังยิ่งกว่าพระยามาร

    พยายามมาใช้กำลังทำร้ายพระองค์อยู่จนตลอดรุ่ง ก็ทรงทรมานยักษ์ตนนี้ให้พ่ายแพ้ไปได้
    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะปฏิปักษ์หรือคู่ต่อสู้

    คำแปล- อาฬะวกะยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความยับยั้ง มีฤทธิ์ใหญ่ยิ่งกว่าพระยามาร
    เข้ามาประทุษร้ายอยู่ตลอดรุ่ง องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยขันติบารมี ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๓. มีเรื่องว่าเมื่อพระเทวทัตทรยศต่อพระพุทธเจ้า ได้จัดการให้คนปล่อยช้างสาร ที่กำลังตกมันชื่อนาฬาคีรี

    เพื่อมาทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่เมื่อช้างมาถึงก็ไม่ทำร้าย จึงถือเป็นบทที่เอาชนะสัตว์ร้าย
    คำแปล- ช้างตัวประเสริฐ ชื่อนาฬาคีรี เป็นช้างเมามัน โหดร้ายเหมือนไฟไหม้ป่า มีกำลังเหมือนจักราวุธ และสายฟ้า

    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยพระเมตตาบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๔. เป็นเรื่องขององคุลีมาล ซึ่งเรารู้กันแพร่หลาย คือ องคุลีมาลนั้นอาจารย์บอกไว้ว่า
    ถ้าฆ่าคนและตัดนิ้วมือมาร้อยเป็นสร้อยคอ ให้ได้ครบพัน ก็จะมีฤทธิ์เดชยิ่งใหญ่

    องคุลีมาลฆ่าคนและตัดนิ้วมือได้ ๙๙๙ เหลืออีกนิ้วเดียวจะครบพัน ก็มาพบพระพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้าทรงสามารถเอาชนะถึงกับองคุลีมาลเลิกเป็นโจรและยอมเข้ามาบวช กลายเป็นสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่ง

    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะโจรผู้ร้าย

    คำแปล- โจร ชื่อ องคุลีมาล มีฝีมือเก่งกล้า ถือดาบเงื้อวิ่งไล่พระองค์ไปตลอดทาง ๓ โยชน์
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยการกระทำปาฏิหาริย์ ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๕. หญิงคนหนึ่งมีนามว่า จิญจมาณวิกา ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า โดยเอาไม้กลมๆ
    ใส่เข้าที่ท้องแล้วก็ไปเที่ยวป่าวข่าวให้เล่าลือว่าตั้งครรภ์กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ให้ความจริงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษพระองค์โดยแท้
    จึงถือเป็นบทที่เอาชนะคดีความหรือการกล่าวร้ายใส่โทษ

    คำแปล- นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า

    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบ ระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๖. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะสัจจะกะนิครนถ์ ซึ่งเป็นคนเจ้าโวหาร เข้ามาโต้ตอบกับพระพุทธเจ้า

    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะในการโต้ตอบ

    คำแปล- สัจจะกะนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์ใฝ่ใจจะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูงประหนึ่งว่ายกธง เป็นผู้มืดมัวเมา

    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยรู้นิสัยแล้วตรัสเทศนาด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๗. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ให้พระโมคคัลลาน์ อัครมหาสาวกไปต่อสู้เอาชนะพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ

    ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้มากหลาย จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
    คำแปล- องค์พระจอมมุนี ได้โปรดให้พระโมคคัลลาน์เถระ นิรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพระยานาคชื่อ
    นันโทปนันทะ ผู้มีฤทธิ์มากให้พ่ายแพ้ด้วยวิธีอันเป็นอุปเท่ห์แห่งฤทธิ์ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๘. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าสำคัญว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถทำให้ผกาพรหมยอมละทิ้งทิฏฐิมานะ และยอมว่าพระพุทธเจ้าสูงกว่า

    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะทิฏฐิมานะของตน

    คำแปล- พรหม ผู้มีนามว่า ท้าวผกา มีฤทธิ์และสำคัญตน ว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์
    มีทิฏฐิที่ถือผิดรัดรึงอยู่อย่างแน่นแฟ้น องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีเทศนาญาณ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา


    คำแปล มหาการุณิโก

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

    ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
    ------------------------------------------------------------------------------

    ที่มาและอานิสงส์ของบทสวดมนต์ ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหาการุณิโก

    ที่มาของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา อาตมาได้ตำราเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์

    วัดป่าแก้ว ปัจจุบันเรียกว่า วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพนรัตน์เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    อานิสงส์ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่เคยแพ้ทัพ

    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไม่เคยแพ้ทัพ พระชัยหลังช้างของ ร.๑ นั้นมาจากบทพาหุง มหากา


    ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา เป็นประจำทุกๆ วันแล้ว มีแต่ชัยชนะทุกประการ
    เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ ผู้ใดสวดทุกเช้า ค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล
    จะสมความปรารถนาทุกประการ


    เมื่ออาตมา(หลวงพ่อจรัญ)ได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว


    คืนวันหนึ่งอาตมานอนหลับแล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่งได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ

    สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รัตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน
    ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมาแล้วกล่าวกับอาตมาว่า

    "ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็น เจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งพม่าและ ประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย

    จากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว"
    ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้แล้วก็ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่ในใจว่าเราเองนั้นกำหนดจิตด้วยพระกรรมฐานมีสติ อยู่เสมอเรื่องฝันฟุ้งซ่านก็เป็นไม่ม
    ี อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดใหญ่ชัยมงคล

    และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ และจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น

    อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่งเพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย

    ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้กับวัดอัมพวัน ซึ่งพังลงน้ำ
    ที่ก๋งเหล็งเป็นคนรวบรวมเอาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ๆ แต่แตกหักผุพังทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ

    อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง
    วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึงก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันไดแล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง

    มีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านม้าก็ยอมตาย

    คนที่ร่วมเดินทางมาเขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๐๙.๐๐ น.

    อาตมาลงไปภายในแล้วก็พบนิมิตดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริงๆ
    อาตมาจึงได้พบว่าแท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วท่านได้จารึกถวายพระพร
    ก็คือบทสวดที่เรียกว่า "พาหุงมหาการุณิโก" ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า "เราสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วศรีอโยธเยศ

    คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
    พาหุงมหากาก็คือบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุงอันเริ่มด้วย

    "พาหุงสหัสไปจนถึงทุคคาหทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึงมหาการุณิโกนาโถหิตายะ
    และจบลงด้ว

    อาตมา เรียกรวมกันว่าพาหุงมหากา
    อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือบทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วได้ถวายให้พระบาท สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    ไว้สวดเป็นประจำเวลาอยู่กับพระมหาราชวังและในระหว่างศึกสงคราม

    จึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมามิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลยแม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า

    ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนับแสนคนก็ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่าด้วยการกระทำยุทธหัตถี
    มีชัยเหนือพระมหาอุปราชาที่ดอนเจดีย์ปูชนียสถานแม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากัน

    พระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิปานแต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากาที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง

    อาตมาพบนิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมา ด้วยความสบายใจถึงปากปล่องที่ลงไปเกือบสามชั่วโมง เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ
    ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา

    จากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคิรี จากองคุลีมาล จากนางจิญมาณวิกา จากสัจจะกะนิครนถ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้ประจำทุกวันจะมีชัยชนะมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน

    มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ ขอให้ญาติโยมสวดพาหุงมหากากันให้ทั่วหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้ว

    ยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมากๆ เข้า สวดกันทั้งประเทศก็ทำให้ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า
    ไม่ใช่แต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น
    ที่พบความมหัศจรรย์ของบทพาหุงมหากา แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงพบเช่นกัน
    โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี้

    "เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเห็นว่าสงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนา

    และยืดยาวจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้นแล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุง มหากาบรรจุไว้ในองค์พระและพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ด้วยการเจริญพาหุงมหากาจึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"
    สวดพาหุงมหากากันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มากๆ จะมีแต่ความรุ่งเรือง สวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงสวดชินบัญชร

    เพราะชินบัญชรนั้นเจ้าประคุณสมเด็จท่านได้สวดบูชาพระอรหันต์ของท่าน ต้องสวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงมาถึงชินบัญชรให้จดจำกันเอาไว้ นั่นแหละมงคลในชีวิต

    อันที่จริงถ้าเราทำบุญ เราจะได้ยินพระสวดคาถา "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ให้เราฟังทุกครั้ง

    บางทีเราจะเคยได้ยินพระสวดเจนหูเกินไปจนไม่นึกว่ามีความสำคัญ แท้จริงแล้วคาถาดังกล่าวนี้ มีของดีอยู่ในตัวให้เราใช้มากทุกบททุกตอน เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า อ้างอานุภาพของพระพุทธเจ้าเพื่อนำชัยมงคลมาให้แก่เรา ทุกตอนลงท้ายว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ"
    เวลาพระสวดให้เรา ท่านต้องใช้คำว่า "เต" ซึ่งแปลว่า "แก่ท่าน" แต่ถ้าเราจะเอามาสวดหรือภาวนาของเราเอง

    เพื่อให้ชัยชนะเกิดแก่ตัวเราเอง เราก็จะต้องใช้ว่า "เม" ซึ่งแปลว่า "แก่ข้า" คือสวดว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเม
    ชะยะมังคะลานิ"

    ที่มา http://www.84000.org/pray/puttakun.shtml
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    ข้อความบางส่วน จากตำนานพุทธชัยมงคลคาถา

    “............นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า ผู้ประพันธ์คาถานี้คือ พระมหาพุทธสิริเถระ ซึ่งรจนาคัมภีร์ฎีกาพาพุง
    ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และประพันธ์ในราว พ.ศ. ๒๐๐๖ คาถานี้ยังมีชื่อว่า บทถวายพรพระ
    เพราะแต่งถวายพรพระเจ้าแผ่นดินเพื่อให้ทรงชนะศึก(วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตตันตปิฎก
    ที่แต่งในประเทศไทย หน้า ๓๐๑-๓๐๒)

    อนึ่ง คาถาที่นิยมสวดอยู่ในปัจจุบันมี ๙ คาถา ผู้แปลเห็นว่าคาถาบทสุดท้ายได้รับการแต่งเพิ่มเติมในภายหลัง
    เพราะไม่ปรากฏในคัมภีร์ฎีกาพาหุง ทั้งในบทสวดฉบับพม่าก็ไม่มีเช่นกัน..................”

    ที่มา หนังสือพระปริตรธรรม เรียบเรียงโดย พระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง

    หมายเหตุ คาถาบทที่ ๙ (แต่งเพิ่มเติมภายหลัง) คือ

    เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
    โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
    โมกขัง สุขัง อะธิคะมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ

    บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพานอันบรมสุข นั้นแลฯ

    ______________________________________________________________

    ผลบุญที่ลูก-หลานได้รับจากการสวดมนต์ “พาหุง มหากา” เป็นประจำทุกวัน
    โดย พระเทพสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)

    ขอให้ท่านชวนลูกชวนหลานทุก ๆ คน สวดมนต์ก่อนนอน ถ้าท่านทั้งหลายตั้งใจ-ศรัทธา เชื่อมั่น ลูกหลานได้สวดมนต์ตามหนังสือนี้แล้ว ผลที่ไ้ดรับจากการสวดมนต์นั้น

    ๑. ลูกหลานจะมีระเีบียบวินัยดี
    ๒. ลูกหลานจะไม่เถียง จะเคารพเชื่อฟังพ่อ-แม่ เขาจะรู้ว่าเขาเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่-จะวางตัวได้เหมาะสม
    ๓. เมื่อเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว ก็จะเป็นลูกหลานที่ดีของพ่อ-แม่ เป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ
    ๔. ผู้ที่สวดและปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอ จะเจริญรุ่งเรืองพัฒนาสถาพร จะรวย จะสวย จะดีมีปัญญา จะสมประสงค์ในสิ่งที่ดีงาม
    ตลอดไปทุกประการ

    ขออำนวยพร

    พระเทพสิงหบุราจารย์
    หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
    เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน และเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี

    ที่มา : http://www.geocities.com/upasano/mantana.htm


    _____________________________________________________________

    อานิสงค์ของการสวดมนต์

    สำหรับใครที่คิดว่าเราสวดมนต์ไปวันๆเพื่อประโยชน์อะไร ท่องๆไปบางครั้งสวดไปเราเองก็ไม่ไดรู้หรือทราบถึงคำแปลเลยแม้แต่อย่างใด
    ดังนั้นมีหลายคนที่ตั้งคำถามที่ว่าเราสวดมนต์ หรือแม้แต่ อ่านหนังสือธรรมะไปเพื่ออะไรมาดูกันด้านล่างนี้เลย ... .. .

    1. ไล่ความขี้เกียจ :ขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้าน จะหมดไป เกิดความแช่มชื่น
    กระฉับกระเฉงขึ้น

    2. ตัดความเห็นแก่ตัว :เพราะขณะนั้นอารมณ์ของเราหน่วงอยู่ที่การสวด ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลงจึง
    มิได้กล้ำกลายเข้าสู่วาระจิต

    3. ได้ปัญญา : การสวดมนต์โดยรู้คำแปลรู้ความหมาย ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญา ความรู้ แทนที่จะสวดแจ้วแจ้ว
    เหมือนนกแก้วนกขุนทอง โดยไม่รู้อะไรเลย เป็นเหตุให้ถูกค่อนว่า ทำอะไรโง่ๆ

    4. จิตเป็นสมาธิ : เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดได้หน้าลืมหลัง เมื่อจิตเป็นสมาธิ
    ความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น

    5. ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า : เพราะขณะนั้น ผู้สวดมีกาย วาจาปกติ มีศีล มีใจแน่วแน่ มีสมาธิมีความรู้ระลึกถึงคุณความดี
    ของพระพุทธเจ้ามีปัญญาเท่ากับเฝ้าพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง ... .. .

    ที่มา

    http://dharma.thaiware.com/dharma_article.php?id=129
     
  12. lioross

    lioross Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2007
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +82
    อนุโมทนาครับ ความศักดิ์และสิทธิ์ของพุทธมนต์ขึ้นอยู่กับสติและปัญญาของผู้ใช้ครับ
     
  13. กิตติ_เจน

    กิตติ_เจน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,657
    ค่าพลัง:
    +1,281
    ขอบคุณครับสำหรับบทความที่ดีๆ
     
  14. คมศักดิ์

    คมศักดิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +886
    อนุโมทนา สาธุ ๆ ๆ ครับ ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดี ๆ อย่างนี้ครับ
     
  15. donjaun2

    donjaun2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +4
    ขอเสริมนิดนึง

    มีข้อที่น่าสังเกตนิดนึง อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวน่ะ เรื่องพระคาถาพาหุงฯ บทแรกนั้นซึ่งเป็นบททานบารมีโดยเฉพาะ พระพุทธเจ้าท่านสร้างบารมีที่เน้นหนักที่สุดและส่วนใหญ่แล้วจะกล่าวเป็นเบื้องต้นในเรื่องบารมี ก็คือทานบารมีนี้เอง ซึ่งมีนัยสำคัญของการสร้างบารมีทาน สละวัตถุ สิ่งของ สัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะชาติสุดท้ายที่หนักไปทางด้านสละลูกเมียเป็นทาน ซึ่งพญามารจะมีจริงหรือไม่จริงถ้าเป็นทางด้านตัวตนแล้ว เจ้าชายสิทถัตถะ ได้อ้างบารมีในเรื่องทานที่ทำมาจนถึงที่สุดแล้ว จึงปราบมารทั้งภายนอกภายในได้สำเร็จจนกำลังใจเปี่ยมสุขเต็มที่ ก่อนที่จะเข้าฌาน จนสำเร็จเป้นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าพิจารณาเกี่ยวกับกรรมเป็นกกรรมขาวที่สัมบูรณ์เต็มที่แล้ว ปฎิเสธไม่ได้ว่าบทสวดพาหุงบทแรกนั้นตรงกับพุทธประวัติจริง และทานบารมีมีจริง ชนะมารและชนะทุกๆอย่างได้จริง(เหนือโลก) น่าสังเกตุอีกอย่างหนึ่งถ้าครูบาอาจารย์จะสอนเรื่องธรรมะ โดยแต่งบทพาหุงขึ้นมาเองให้พิศดาร(เพื่ออะไร) ปุถุชนคนธรรมดาอ่านหรือสวดไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว ธรรมมะบทสวดทำวัดเช้าทำวัดเย็น (แปล)ยังอ่านหรือสวดเข้าใจง่ายกว่าเลย ต้องมีนัยยะที่สำคัญมากกว่านี่แน่เลยถึงได้แต่งขึ้นมา
    เช่น เรื่องพระนเรศวรได้ท่องบทสวดทุกบทฯก่อนสู้รบชนะข้าศึก ถ้ากล่าวถึงเรื่องกรรมบทแรกของพาหุงคือเรื่องทานบารมี พระนเรศวรต้องเคยบริจาคแผ่นดินนี้ไปแล้วและได้อ้างบารมีที่ทำ ถึงได้รบชนะ (แค่เป็นความคิดเห็นเรื่องอัตตาหรือทางโลกเท่านั้น) สาธุ
     
  16. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ยาวจัง....................
     
  17. Snow

    Snow เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    698
    ค่าพลัง:
    +2,385
    จำความหมายทั้งหมดไม่ค่อยได้ รู้แต่ว่าเวลาสวด(หากมีเวลาจะสวดเป็นประจำ) รู้สึกสบายใจทุกครั้ง
     
  18. เจษฎา เยี่ยมคำน

    เจษฎา เยี่ยมคำน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,332
    ค่าพลัง:
    +5,413
    ขอมองต่างมุมนิดนึงครับ ผมอ่านแล้วเป็นบทความเปรียบเทียบที่ดีมากครับ นำไปปฏิบัติเกิดประโยชน์แน่ แต่ๆหากมองอีกด้านผมกลัวความเข้าใจคนเราจะผิดพลาด สั่นคลอน มองสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนหรือเรื่องของพระพุทธเจ้าเป็นการอุปมาอุปมัยไปหมด เช่น พระองค์สอนว่านรก สวรรค์มีจริง แต่ปราชน์สมัยนี้(ปราชน์ที่เก่งเป็นเจ้าความคิดแต่ขาดการปฏิบัติ ต่อไปจะมีอยู่มาก ทำให้พุทธศาสนาขาดนักปฏิบัติและมองเห็นความจริงแตกต่างไปจากสิ่งที่พระองค์บอกอย่างสิ้นเชิง ...รู้แค่อย่างเดียวแต่ตั้งใจปฏิบัติจนเข้าถึงก็เข้านิพพานได้ รู้มากมายแต่ไม่เคยปฏิบัติจะหยุดการเวียนว่ายตายเกิดได้อย่างไร...)ตีเอาว่า นรกก็มีในใจนั่นแหละความรู้สึกผิดเป็นทุกข์กลัวจะถูกลงโทษจากการทำผิด นั่นคือนรก สวรรค์คือเวลาทำดีสุขใจ ใจเป็นสุขนั่นคือสวรรค์ หลงไปกระทั่งคิดว่านรก สวรรค์ไม่มีอยู่จริง หรือตอนที่พระองค์ประสูติแล้วเดินได้ 7 ก้าว มาตีว่าเป็นการอุปมาว่าจะเผยแพร่ศาสนาไปทั่ว 7 แว่นแคว้น จริงๆแล้วเด็กที่ไหนจะเดินได้ 7 ก้าว แต่ตามความคิดผม ผมว่าท่านเดินได้เจ็ดก้าวตั้งแต่ตอนประสูติจริง
    เพราะท่านไมใช่คนธรรมดา พระองค์ท่านสั่งสมบุญบารมีมาตั้งเท่าไหร่ การเดินได้เจ็ดก้าวนั้นเป็นการบ่งบอกว่าเด็กที่เกิดมาไม่ธรรมดา ส่วนการจะเผยแผ่ศาสนาได้ 7 แคว้นหรือ 7 ภพนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ข้อเท็จจริงคือท่านเดินได้ 7 ก้าวเป็นความจริง นรก สวรรค์ของจริงมีจริง ท่านเคยเผชิญกับพญามาร พญานาค พญายักษ์ ผกาพรหมบนสวรรค์เป็นจริง นั่นแสดงว่าพระองค์เป็นผู้มีกำลังฤทธิ์มาก ส่วนฤทธิ์ของพระองค์มาจากไหน ก็มาจากการสั่งสมบุญบารมีในทุกๆด้าน ผู้นึกถึงพระองค์ทำใจเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์นึกถึงพระบริสุทธิคุณของพระองค์ผู้ซึ่งชนะกระทั่งเหล่ามารนับแสนนับล้าน เรานึกถึงท่านบารมีของท่านก็ส่งมาปกป้องคุ้มครองเรา ขออย่างนึงอย่าเอาแต่นึกต้องทำตามที่ท่านสอนด้วย ถึงจะเรียกว่าครบเครื่องเต็มกำลัง ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะมีกำลังพระเข้าคุ้มครอง กำลังเทพเทวาเข้าคุ้มครอง กำลังบุญบารมีของเราอันเกิดจากทำตามคำสอนของพระองค์เข้าคุ้มครอง นั่นสิถึงเรียกว่าสรรพมงคล สวดบ่อยๆ ทำใจเข้าถึงถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์บ่อยๆ แล้วสิ่งดีๆจะตามมาเอง นี่เป็นความคิดเห็นอีกแนวหนึ่งของผมครับ ขอบคุณครับ
     
  19. SALEEN

    SALEEN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +130
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ

    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  20. จิตโขง

    จิตโขง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +181
    สาธุครับ คุณเขียนได้ดีมาก แต่ผมขอแสดงค.คิดเห็นหน่อยนะครับผมว่ามันเปนน้ำมากเกินไปครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...