จิตจักรวาล-อ.ปริญญา ตันสกุล

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย khunvrk, 8 มิถุนายน 2009.

  1. LadyOfLight

    LadyOfLight เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    755
    ค่าพลัง:
    +2,472
    อ้าว สงสัยมีคนถึง นิพพาน แล้ว

    ถึงได้ทราบว่า นิพพานเป็นอย่างไร มีชั่วขณะหรือไม่มี มีปรมาตมันหรือไม่มี


    ขอคารวะทุกท่านที่ได้ถึงนิพพานกันแล้วนะคะ น่าอิจฉาจัง *-*
     
  2. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876

    พุทธเถรวาทกับพุทธมหายาน [​IMG] [​IMG]
    <!--MsgIDBody=0-->พุทธเถรวาทกับพุทธมหายาน
    เรียบเรียงโดย นายแพทย์สุวัฒน์ จันทรจำนง


    ทัศนะของนักศาสนศาสตร์หลายคนมักจะมองว่า
    พุทธศาสนานิกายเถรวาทนั้นเป็นเพียงปรัชญาหรือเป็นหลักจริยธรรม
    ที่เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

    สำหรับ พระธรรมปิฎก (สมณศักดิ์ปัจจุบันที่พระพรหมคุณาภรณ์)
    ท่านได้แสดงความเห็นในเรื่องไว้ในหนังสือพระพุทธธรรมว่า

    คำสอนในพุทธศาสนาดั้งเดิมหรือพุทธเถรวาทนั้นไม่ใช่ปรัชญา
    แต่เป็นพุทธธรรม ที่มีลักษณะทั่วไปอันพอสรุปได้ ๒ ประการ ดังนี้

    ๑. แสดงหลักความจริงตามทางสายกลางที่เรียกว่า มัชเฌนธรรม
    ว่าด้วยความจริงตามแนวของเหตุผลบริสุทธิ์ตามกระบวนการธรรมชาติ
    นำมาแสดงเพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติในชีวิตจริงเท่านั้น
    ไม่ส่งเสริมความพยายามที่จะเข้าถึงสัจจธรรมด้วยวิธีถกเถียงสร้างทฤษฎีต่างๆ ขึ้น
    เพื่อความยึดมั่นหรือปกป้องทฤษฎีนั้นๆ ด้วยการเก็งความจริงทางปรัชญา

    ๒. แสดงข้อปฏิบัติตามทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
    อันเป็นหลักครองชีวิตของผู้ฝึกอบรมตน ให้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงมงาย
    มุ่งผลสำเร็จคือ ความสุข สะอาด สว่าง สงบ
    เป็นอิสระที่สามารถมองเห็นได้ในชีวิตนี้
    และการปฏิบัติความสายกลางนี้ควรเป็นไปโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ
    เช่นสภาพชีวิตของบรรพชิต หรือคฤหัสถ์ เป็นต้น

    ๓.พุทธรรมฝ่ายเถรวาทนั้น เน้นในเรื่องการกระทำ (กรรมวาทและกิริยวาท)
    เน้นความเพียร พยายาม (วิริยวาท) มุ่งผลในทางปฏิบัติโวยตนเอง
    ภายใต้หลัก อัปปมาทธรรม และ หลักแห่งกัลยาณมิตร

    พุทธศาสนาเถรวาทจึงไม่ใช่ศาสนาแห่งการอ้อนวอนปรารถนา
    หรือศาสนาแห่งความความห่วงหวังกังวล
    หากจะถือว่า พุทธธรรมดังกล่าวเป็นปรัชญา
    ก็เป็นปรัชญาที่สอนให้มนุษย์พึงพิงตนเองแต่เพียงอย่างเดียว

    ส่วนปรัชญาพุทธแบบมหายานนั้น มีหลักปรัชญาอันหลากหลาย
    นิกายมหายานจึงมีลักษณะของความเชื่อและการปฏิบัติที่แตกต่างกัน
    ดังเช่นนิกายที่อิงอาศัย ปรัชญามาธยมิก
    ย่อมแตกต่างจากมหายานที่ยึดถือ ปรัชญาโยคาจาร และ มหายานสุขาวดี
    ย่อมแตกต่างจาก มหายานเซน ดังนี้ เป็นต้น

    ข้อสรุปความแตกต่างในปรัชญาอันเป็นหลักคำสอนระหว่าง ๒ นิกาย *

    ๑. ความแตกต่างในเป้าหมายสูงสุด

    มหายานยึดในหลักโพธิจิต สอนให้มนุษย์ตั้งความปรารถนาในโพธิญาณ
    ไม่ใช่มุ่งปรารถนาในอรหัตญาณดังความเชื่อในฝ่ายเถรวาท
    มหายานเชื่อในพุทธการกธรรม ยึดหลักของพุทธบารมีเป็นประทีปนำทาง
    แทนการเน้นในเรื่องอริยสัจ ๔ เช่นของฝ่ายเถรวาท

    ๒. หลักการเชิงคุณภาพและปริมาณของศาสนิกชน

    ของฝ่ายเถรวาท คือเอาคุณภาพของศาสนิกชนเป็นสำคัญ
    ยึดถือและคงไว้ซึ่งพระธรรมวินัยแลสิกขาบททุกข้อ
    ที่พระพุทธองค์เคยบัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกอย่างเคร่งครัด

    ส่วนมหายานถือเอาทางด้านปริมาณ
    ดังนั้นปรัชญามหายานจึงลดหย่อนผ่อนปรนพระธรรมวินัย
    เช่นในเรื่องสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เป็นเหตุ อปยคมนีย
    ที่นำไปสู่อบายภูมิลง คงไว้แต่สิกขาบทที่สำคัญส่วนใหญ่

    ๓. เงื่อนไขของปณิธานในความปรารถนาพุทธภูมิ

    มหายานมีความเชื่อมั่นต่อปณิธานที่ปรารถนาในพุทธภูมิ
    ผู้ที่บรรลุโพธิจิตหากมีความจำเป็นที่จะต้องประพฤติปฏิบัติสิ่งใดแม้จะขัดกับพระธรรมวินัย
    หากแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของพระศาสนา

    แม้จะเป็นการกระทำถึงขั้นปาณาติบาตด้วยการเผด็จชีวิตต่อผู้ทรยศต่อพระศาสนา
    ก็พร้อมที่จะทำ แม้กรรมนั้นจำต้องทำให้พระโพธิสัตว์ต้องตกนรก
    ทั้งนี้เพื่อแลกกับบุญกุศลที่ได้คุ้มครองพระศาสนา

    แต่การกระทำนั้นต้องปราศจาก วิหิงสาพยาบาท
    เป็นการกระทำที่มหายานถือว่าให้ความเมตตาต่อผู้ที่สร้างอกุศลกรรม
    คติธรรมที่ว่านี้มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์โยคาจารภูมิศาสตร์

    ส่วนฝ่ายเถรวาทถือว่า
    การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไม่ว่าด้วยเหตุผลใดใด
    ย่อมเป็นบาป ผิดหลัก เบญจศีล
    เถรวาทสอนแต่เพียงว่า ให้กล้าที่จะเสียสละแม้แต่ชีวิตเพื่อรักษาไว้ซึ่งสัจธรรม

    เถรวาทไม่เชื่อและสอนให้เชื่อว่า
    ปาณาติบาต ไม่ว่ากรณีใดใด จะก่อให้เกิดกุศลกรรมต่อตนเองหรือต่อพระศาสนา

    ๔. การพัฒนาการเรียนการสอนพระธรรม

    มหายาน พัฒนาการเรียนการสอนพระธรรม
    เพื่อเพิ่มสมาชิกด้วยลัทธิและพิธีกรรมต่างๆ
    รวมทั้งการจัดธรรมสังคีตเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประกาศพระศาสนา
    ขับกล่อมชักจูงศรัทธาของประชาชน ซึ่งลักษณะเช่นนี้ไม่มีในฝ่ายเถรวาท

    ๕. อรรกถาธิบายพุทธมติ

    คณาจารย์ที่มีความรู้ในปรัชญามหายาน เช่น ท่านนาคารชุน ท่านอสังคะ ฯลฯ
    ได้เพิ่มอรรกถาธิบายพุทธมติออกไปอย่างกว้างขวาง
    มหายานจึงมีกิ่งนิกายหรือนิกายย่อยออกไปเป็นจำนวนมาก มีปรัชญาเฉพาะเป็นของตนเอง
    ทำให้พุทธศาสนามหายานมีปรัชญาหลากหลายเหมาะต่อการเลือกเชื่อ เลือกศรัทธา
    มีลักษณะที่เป็นทั้ง หลักปฏิฐานนิยม สัจจนิยม อภิปรัชญาและตรรกวิทยา

    ส่วนทางเถรวาทยังยึดหลักปรัชญาพุทธตามที่ปรากฏในคัมภีร์ดั้งเดิม
    คือพระไตรปิฎกอย่างเคร่งครัด จะมีเป็นเพียง อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา
    ที่มีผู้รู้แต่งขึ้นภายหลังเพื่อการขยายความเพิ่มเติมในอรรถรสที่ไม่ชัดเจนในพระไตรปิฎก

    ๖. พระสูตร

    คณาจารย์มหายานได้พระสูตรขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก
    โดยอิงอาศัยพุทธมติ พุทธปรัชญาเดิม
    ก็ด้วยเจตนาที่จะทำให้พระพุทธศาสนาเป็นที่แพร่หลาย
    ต่อชนทุกชั้นทุกระดับปัญญา ที่สามารถเลือกเชื่อเลือกนับถือ

    คณาจารย์เหล่านี้ประกอบด้วยบุคคลทั้งที่อยู่ในเพศบรรพชิตและฆราวาส
    ที่แตกฉานในรสพระธรรม มีการใช้สำนวนกวีชวนอ่านชวนฟังกว่าพระสูตร
    ที่ปรากฏในฝ่ายเถรวาทเป็นอย่างมาก

    ผู้ที่เคยอ่าน สัทธรรมปุณฑริกสูตร
    ที่ อาจารย์ ดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ แปลมาจากภาษาฝรั่ง
    หรือ หนังสือกามนิต วาสิฏฐี
    ที่ ท่านเสถียรโกเศศ และนาคะประทีป แปลมาจากเรื่องที่
    คาร์ล เลอ รุป แต่งสดุดีปรัชญาพุทธมหายาน
    ย่อมเป็นพยานในความไพเราะเพราะพริ้งของภาษาที่แฝงอยู่
    ในอรรถรสแห่งพุทธธรรมแบบมหายานได้เป็นอย่างดี

    ๗. การดำเนินนโยบายเผยแผ่พระศาสนา

    มหายานดำเนินนโยบายการเผยแผ่พระศาสนาโดยมุ่งสามัญชนเป็นเป้าหมายหลัก
    เพราะเชื่อว่าปรัชญาพุทธนั้นลึกซึ้งยากต่อการทำความเข้าใจ
    แม้แต่ในปัญญาชนที่รับการศึกษาทางโลกมามากแล้วก็ตาม

    นอกจากนั้นมหายานยังปรับความเชื่อให้เขากับลัทธิธรรมเนียมดั้งเดิมของสามัญชน
    ที่เคยเชื่อถือมาเป็นเวลานาน
    ความเชื่อเดิมที่ไม่ขัดกับหลักธรรมใหญ่
    หรือแม้ขัดกับหลักธรรมเดิมของพุทธศาสนาเป็นบางส่วน
    มหายานจะรับเข้าไว้โดยไม่รีรอ

    จึงทำให้ความเชื่อเดิมของชาวมหายานที่เป็นอเทวนิยม
    กลายเป็นเทวนิยมไปโดยปริยาย มีพระพุทธเจ้ามากมาย
    องค์ที่สำคัญที่ได้รับการยกย่องขึ้นเป็นพระโพธิสัตว์

    จนเป็นเหตุให้นักปราชญ์ชาวอินเดียที่ศึกษาพระพุทธศาสนายังไม่แตกฉานทึกทักเอาว่า
    พุทธศาสนาคือนิกายหนึ่งของศาสนาฮินดู
    พระพุทธเจ้าคือปางที่ ๙ ของพระวิษณุที่อวตารลงมาช่วยแก้ปัญหาให้กับมนุษย์

    หากจะลองมาพิจารณาด้วย อหังการ มมังการ
    อาจจะตั้งสมมติฐานได้ว่า
    มหายานพยายามปรับความเชื่อของตนเองเพื่อจะดึงศาสนิกชาวฮินดูสมัยนั้น
    ให้เข้ามายอมรับนับถือในศาสนาของตน
    หรือมิฉะนั้นก็อาจเป็นเพราะแนวคิดของมหายาน
    ถูกกลืนอย่างไม่รู้ตัวโดยปรัชญาฮินดู

    หมายเหตุ :

    เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในประเด็นความแตกต่างระหว่าง ๒ นิกายนี้โดยง่ายขึ้น
    ผู้โพสต์จึงได้จัดทำเป็นหัวข้อขึ้นเพิ่มเติม
    โดยคำอธิบายในแต่ละหัวข้อนั้น ยังคงไว้ซึ่งเนื้อหาเดิมตามต้นฉบับทุกประการ <!--MsgFile=0-->
     
  3. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    อาจารย์สมภาร พรมทา สรุปแนวความคิดพื้นฐานของฝ่ายมหายานว่า
    มีความแตกต่างจากฝ่ายเถรวาทอยู่ ๒ ประการ

    คือ ทัศนะต่อพระพุทธเจ้า กับ ทัศนะต่ออุดมคติสูงสุดในชีวิต ดังนี้

    ๑. ทัศนะต่อพระพุทธเจ้า

    ชาวเถรวาทเชื่อว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ
    พระองค์คือผู้ที่ได้ทุ่มเทสติปัญญา
    และความเพียรพยายามเพื่อไปให้ถึงจุดหมายที่ทรงมุ่งหวังคือ นิพพาน

    ในทางรูปธรรมพระองค์ทรงมีเนื้อหนังร่างกาย
    ที่อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติเดียวกับคนธรรมทั่วไป

    คัมภีร์เถรวาทกล่าวว่า ความเป็นพระพุทธเจ้ามิได้อยู่ในเนื้อหนังร่างกาย
    หากอยู่ที่ธรรม อันหมายถึงปรัชญาที่เป็นคำสั่งสอนของพระองค์
    พุทธธรรมเท่านั้นคือแก่นหรือสาระของความเป็นพระพุทธเจ้า
    ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต”

    ส่วนชาวมหายานเชื่อว่า พระพุทธเจ้ามิได้มีฐานะเป็นมนุษย์ธรรมดา
    พระพุทธเจ้าสิทธัตถะนั้นเป็นเพียง นิรมาณกาย อันเป็นปรากฏการณ์ส่วนหนึ่งของ
    ธรรมกาย และ สัมโภคกาย ซื่งถือว่าเป็นอมตะ นิรันดร

    ปรัชญาโยคาจาร และ ปรัชญาจิตอมตะวาทะ ของฝ่ายมหายาน
    มีความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระกาย ๓ ภาค คือ
    ภาคธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกาย
    เช่นเดียวกับที่ ปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่ามี ปรมาตมัน มีพระพรหม พระวิษณุ
    และพระศิวะ

    หากจะลองเปรียบเทียบกันดูจะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น ดังนี้ คือ

    ธรรมกายของฝายมหายานเปรียบได้กับ ปรมาตมัน ซึ่งเป็นอรูปเทวะ
    สัมโภคกายเปรียบได้กับองค์พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ชาวมหายานเชื่อว่า
    สถิตอยู่ในสรวงสวรรค์อันเป็นรูปเทวะ
    เช่นเดียวกันกับ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ในศาสนาพราหมณ์

    ส่วนพระพุทธเจ้าสิทธัตถะนั้น
    มหายานเชื่อว่าเป็นเพียง นิรมาณกาย ของพระพุทธเจ้า
    เช่นเดียวกับที่ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเชื่อว่า
    พระนารายณ์ หรือพระราม เป็นเพียงภาคหนึ่งขอองค์พระวิษณุ
    ที่อวตารแปลงร่างลงมาช่วยปราบยุคเข็ญให้กับชาวโลก

    ๒. ทัศนะต่ออุดมคติสูงสุดของชีวิต

    พุทธศาสนาดั้งเดิมของชาวเถรวาทเชื่อว่า
    จุดหมายสูงสุดในชีวิตก็คือ พระนิพพาน
    การเข้าถึงพระนิพพานมีได้ ๒ วิธี คือ

    (๑) เพียรพยายามหาหนทางด้วยตัวเอง
    ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบโดยการตรัสรู้

    (๒) การดำเนินตามแนวโพธิปักขิยธรรม
    ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้พึงปฏิบัติด้วยตนเอง
    ดังที่พระสาวกทั้งหลายที่ได้บรรลุอรหัตผล

    ดังนั้น
    การที่มนุษย์จะเข้าถึงการหลุดพ้นด้วยวิธีการใดนั้น
    ถือว่าขึ้นอยู่กับกรรม และการสร้างสมบำเพ็ญบารมีมาในอดีตชาติ
    ที่เรียกว่า "พระโพธิสัตว์"

    ปรัชญาพุทธเถรวาทถือว่ามนุษย์มีทางเลือกได้ทั้ง ๒ ทาง ตามความสามารถของตน
    บางคนอาจจะเหมาะในการบำเพ็ญเพียรเยี่ยงพระโพธิสัตว์เพื่อเป็นพระพุทธเจ้า
    บางคนเหมาะที่จะเป็นพุทธสาวกเพื่อบรรลุพระอรหัตผล

    ส่วนฝ่ายมหายานมองว่า
    การรีบเร่งบรรลุอรหัตผลแบบพระอรหันต์ทางฝ่ายเถรวาทนั้น
    เป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัว เป็นการเอาตัวรอดแบบตัวใครตัวมัน

    การบำเพ็ญเพียรเพื่อเสียสละช่วยมนุษย์แบบพระโพธิสัตว์
    โดยยอมบรรลุนิพพานเป็นคนสุดท้ายเท่านั้นจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

    ด้วยเหตุนี้มหายานจึงเน้นให้ศาสนิกบำเพ็ญ โพธิสัตวธรรม
    ด้วยการช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนร่วมโลก เท่าที่จะสามารถทำได้
    มหายานเชื่อว่าการเข้าถึงการหลุดพ้น
    ไม่ควรทำแบบตัวใครตัวมันดังความเชื่อของฝ่ายเถรวาท

    แนวคิดเรื่อง โพธิสัตวธรรม ของฝ่ายมหายานเช่นนี้
    หากคิดอย่างผิวเผินก็ดูจะมีเหตุผลที่สอนให้มนุษย์ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
    ในฐานะของผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่รอรับความช่วยเหลือ
    ซึ่งในที่สุดน่าที่จะไม่มีผู้ใดบรรลุนิพพาน
    เพราะคนที่รอคอยขอความช่วยเหลือมีมากกว่าผู้ให้ความช่วยเหลือ
    แนวความคิดให้โพธิสัตว์ช่วยเหลือคนที่รอคอยขอความช่วยเหลือ ดังกล่าวนี้

    หากพิจารณาให้ดีน่าที่จะขัดกับแนวคิดพื้นฐานเดิมของฝ่ายมหายานที่เชื่อว่า
    มนุษย์ทุกคนมีความสามารถเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงพุทธภูมิ
    เพราะตามความเป็นจริงที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
    มีคนจำนวนไม่น้อยชอบกราบไหว้อ้อนวอนรอรับความช่วยเหลือ
    มากกว่าที่จะบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์
    จึงยังมองไม่เห็นว่าศาสนิกมหายานเหล่านั้น
    จะบรรลุพุทธภูมิด้วยตนเองได้อย่างไร

    กลับมาพิจารณาเปรียบเทียบกับพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม
    ปรัชญาเถรวาทมีทัศนะว่า ในการช่วยเหลือให้ผู้อื่นบรรลุอุดมคติสูงสุดในชีวิตนั้น
    ก็ด้วยการให้คำแนะนำสั่งสอนหรือชี้ทางให้เท่านั้น
    ทุกคนต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จะหวังพึ่งจากผู้อื่นหาได้ไม่

    แม้จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นพร้อมกันสักกี่ร้อยพระองค์
    พระพุทธเจ้าเหล่านั้นก็ไม่สามารถที่จะช่วยบำเพ็ญกิจเหล่านั้นแทนเราได้
    ดังพุทธพจน์ที่ว่า ตนเองเป็นที่พึ่งของตนเอง
    ปรัชญาเถรวาทศรัทธาตัวมนุษย์ เชื่อว่ามนุษย์ทุกคน
    มีศักยภาพในการเขาถึงสัจธรรมได้เท่ากัน
    แต่อาจจะแตกตางกันที่การใช้เวลาทำความเข้าใจหลักธรรมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปรัชญาพุทธของชาวเถรวาท
    จะยังคงยึดมั่นอยู่ในหลักธรรมดั้งเดิมมาโดยตลอด
    แต่น่าเสียดายที่ความเป็นจริงในปัจจุบัน
    ศาสนาของพุทธศาสนาในประเทศไทยที่อ้างตนเองว่าเป็นเถรวาทในขณะนี้
    กลับมีความเชื่อความศรัทธาที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม

    พุทธศาสนิกชนถูกสอนให้เชื่อในเรื่องกรรมเก่า
    เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์
    เรื่องทำบุญหวังผลชาติหน้า เชื่อในอำนาจในการดลบันดาลและการพึ่งพึง
    จนทำให้พุทธธรรมผิดเพี้ยนไปจากเดิม

    ดังที่มีผู้รู้หลายท่านแสดงความเป็นห่วงเป็นใยในศาสนา
    ดังเช่น ดร.พระมหาสิงห์ทน นราสโภ กล่าวไว้ในหนังสือ
    นานาทัศนะเกี่ยวกับพระธรรมปิฎก ว่า

    “พระธรรม คือคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาในปัจจุบัน
    ได้ผิดเพี้ยนไปจากองค์ธรรมดั้งเดิมเป็นอย่างมาก
    จนอาจกล่าวได้ว่า เป็น “สัทธรรมปฏิรูป”
    เนื่องจากชาวพุทธในประเทศไทยส่วนหนึ่ง
    ขาดการศึกษาหาความรู้ในทางพระพุทธศาสนา
    พอๆ กับความหย่อนยานในพระธรรมวินัย
    และความอ่อนแอในทางปริยัติทางปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์
    ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในปรัชญาพุทธ
    หวังบวชเรียนเพียงเพื่อลาภสักการะ”

    พระชยสาโรภิกขุ ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเล่มเดียวกันว่า

    “เป็นเพราะชาวไทยจำนวนมิใช่น้อยเป็นพุทธแต่เพียงโดยกำเนิด โดยประเพณี
    เป็นพุทธโดยธรรมเนียม เมืองไทยยังไม่เป็นเมืองพุทธ แต่มีเพียงศักยภาพที่จะเป็นพุทธ”

    อาจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี
    มีความเห็นเกี่ยวกับการที่พุทธศาสนิกชนคนไทยส่วนหนึ่งเชื่อ
    และเข้าใจในหลักพุทธธรรมที่ผิดๆ ว่า

    “เป็นเพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้
    ไม่มีฉันทะในการเรียนรู้ ไม่มีความสามารถในการแสวงหาความรู้
    และไม่ใช้ความรู้ในการดำรงชีวิตและการงาน”

    อาจารย์ระวี ภาวิไล มีความเห็นว่า

    “คนทั่วไป ยังเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่เพียงพอ
    ในการที่จะนำมาใช้นำทางชีวิตในอย่างถูกต้องไม่ว่าระดับไหน
    และที่น่าเป็นห่วงคือ
    ในระดับของผู้ที่ได้รับการศึกษาทางตะวันตกมามากที่รู้
    และเข้าใจในพระพุทธศาสนายังไม่เพียงพอ
    รวมทั้งผู้ที่มีบทบาทในการบริหารสังคม”

    อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก มีความเห็นในเรื่องเดียวกันว่า

    “เป็นเพราะสังคมพุทธ ขาดสติ ขาดการตื่นตัว
    คณะสงฆ์อยู่ในสภาพที่ไม่รู้ปัญหา หรือรู้แต่ไม่ยอมรับว่ามีปัญหา
    การปกครองหย่อนยานขาดการเอาใจใส่ที่เนื่องมาจากเหตุ ๒ ประการ
    คือ ผู้ที่มีหน้าที่ปกครองขาดความเข้มงวดในตัวเอง
    ทำให้ไม่สามารถที่จะว่ากล่าวดูแลคนอื่นได้
    พระผู้ใหญ่ไม่เป็นหลักในการดูแลพระ หรือผู้ที่มาบวชเรียน
    โดยเฉพาะผู้ที่มีการศึกษา มีประสบการณ์ทางโลกมาบวช
    พวกนี้เป็นอันตรายแก่พระศาสนามาก
    เพราะมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้มีประสบการณ์มากมาก
    ทิฏฐิมานะจึงมีมาก บวชเรียนอย่างที่ไม่ยอมเป็นลูกศิษย์ใคร
    ถ้าระบบอุปัชฌาย์ไม่เข้มงวด พระประเภทนี้ จะตั้งตนเป็นอาจารย์ทันที”

    นี่คือความเห็นของท่านผู้รู้
    ที่มีความห่วงใยในพระศาสนาที่มองสังคมไทยในขณะนี้ว่า
    แก่นของพระพุทธศาสนายังคงเหลืออยู่อีกหรือไม่
    ฐานะของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
    จะยังสามารถคงความเชื่อดั้งเดิมแห่งพุทธธรรมไว้ได้อีกนานเท่าใด ?
    และสถาบันใดจะเป็นแกนนำในการปรับปรุงแก้ไข ?



    ที่มา : “ปรัชญาพุทธเถรวาทและปรัชญาพุทธมหายาน” ใน ความเชื่อของมนุษย์เกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา (Faith and Believe toward Philosophy and Religion), เรียบเรียงโดย : นายแพทย์ สุวัฒน์ จันทรจำนง, หน้า ๒๔๖-๒๕๑)
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13726 <!--MsgFile=1-->

    จากคุณ : <!--MsgFrom=1-->Mr.Terran
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] - [ <!--MsgTime=1-->29 ม.ค. 52 19:16:44 <!--MsgIP=1-->]

     
  4. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    พระพุทธเจ้าทรงเคารพอะไร

    ปัญหา พระพุทธเจ้าจัดว่าเป้นพระบรมศาสดาของโลก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ทรงเคารพใคร ? หรือว่าไม่ทรงเคารพใครเลย ?

    พุทธดำรัสตอบ “.... บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะเคารพอาศัยสมณะ หรือพราหมณ์ใครผู้ใดอยู่หนอ ?
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า “เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยศีลยิ่งกว่าตนในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่
    “เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสมาธิที่ยังไม่บริบูรณ์.... เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์.... เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์.... เพื่อความบริบูรณ์ แห่งวิมุติญาณทัสสนะขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่าเรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่ถึงพร้อมด้วยสมาธิ.... ที่ถึงพร้อมด้วยปัญญา.... ที่ถึงพร้อมด้วยวิมุติ..... ที่ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสนะยิ่งกว่าตนในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่
    “อย่างกระนั้นเลย เราควรสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั่นแหละ แล้วอาศัยอยู่”
    คารวสูตรที่ ๒ ส. สํ. (๕๖๐)
    ตบ. ๑๕ : ๒๐๓-๒๐๕ ตท. ๑๕ : ๑๙๔-๑๙๕
    ตอ. K.S. I : ๑๗๕
     
  5. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ลักษณะพระนิพพาน

    ปัญหา จงแสดงลักษณะของพระนิพพานว่ามีอย่างไรบ้าง ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดิน น้ำ ลม ไฟ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด สงสารทั้งหลายยอมกลับแต่ที่นี้ วัฏฏะย่อมเป็นไปในที่นี้ นามก็ดี รูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่นี้”

    สรสูตรที่ ๗ ส.สํ. (๗๑)
    ตบ. ๑๕ : ๒๒ ตท. ๑๕ : ๒๑
    ตอ. K.S. I : ๒๓
     
  6. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    พระอรหันต์สิ้นชีพแล้วไปไหน

    ปัญหา พระอรหันต์ผู้สิ้นกิเลสอาสวะแล้ว เมื่อสิ้นชีพดับขันธ์ ย่อมขาดสูญหมดสิ้นไป ไม่เกิดอีกใช่หรือไม่ ?

    พระสารีบุตรตอบ “.....ดูก่อนท่านยมกะ รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
    พระยมกะ “ไม่เที่ยง ท่านสารีบุตร”

    พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะท่านเห็นว่า รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ ?
    พระยมกะ “ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านสารีบุตร”

    พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีใน รูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ หรือไม่ ?
    พระยมกะ “ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านสารีบุตร”

    พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลนี้นั้นไม่มีมี รูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ หรือ ?
    พระยมกะ “ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านสารีบุตร”

    พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะ โดยที่จริง โดยที่แท้ ท่านจะค้นหาสัตว์ บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ในปัจจุบันชาตินี้ก็ยังไม่ได้ ควรแลหรือที่ท่านจะยืนยันว่า.... พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมหายสูญ ย่อมหมดสิ้นไป ย่อมไม่เกิดอีก.... ดูก่อนท่านยมกะ ถ้าชนเหล่าพึงถามท่านว่า ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ขีณาสพ เมื่อตายไปแล้วเป็นอย่างไร ท่าน.... จะพึงกล่าวแก้ว่าอย่างไร ?”
    พระยมกะ “ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมฟังกล่าวแก้อย่างนี้ว่ารูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว”

    พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะ พระอริยสาวกผู้ใดเรียนรู้แล้ว ฉลาดในอริยธรรม ย่อมไม่เห็น รูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีรูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ย่อมไม่เห็นรูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ในตน ย่อมไม่เห็นตนในรูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณอันไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง อันเป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ อันเป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา อันปัจจัยปรุงแต่งว่าปัจจัยปรุงแต่ง อันเป็นผู้ฆ่าว่าเป็นผู้ฆ่า เขาย่อมเข้าไปยึดมั่นถือมั่นซึ่ง รูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตัวตนของเรา อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นอันอริยสาวกไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน”


    ยมกสูตร ขันธ. สํ. (๑๙๙-๒๐๗)
    ตบ. ๑๗ : ๑๓๔-๑๔๐ ตท. ๑๗ : ๑๑๘-๑๒๓
    ตอ. K.S. ๓ : ๙๓-๙๙
     
  7. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    วิญญาณอมตะมีหรือไม่

    ปัญหา ชาวพุทธบางคนเชื่อว่า วิญญาณเป็นอมตภาพ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่รู้จักตาย ความเชื่อเช่นนั้นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาหรือไม่ ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณย่อมเกิดมีขึ้นเพราะอาศัยธรรมเป็นคู่กัน จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป โสตวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ฆานวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ชิวหาวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะลิ้นและรส กายวิญญาณย่อมเกิดมีขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ มโนวิญญาณย่อมเกิดมีขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป็นอื่นไปรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป็นอย่างอื่นไป จักขุวิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ..ที่เกิดเพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงได้แต่ที่ไหน ?
    “ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย บุคคลถูกกระทบแล้วจึงเสวยเวทนา ถูกกระทบแล้วจึงคิด ถูกกระทบแล้วจึงจำได้หมายรู้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็เคลื่อนไหว เสื่อมสิ้นไม่เที่ยงแปรปรวน...”

    ทวยสูตร ที่ ๒ สฬา. สํ. (๑๒๔-๑๒๗)
    ตบ. ๑๘ : ๘๕-๘๗ ตท. ๑๘ : ๗๓-๗๕
    ตอ. K.S. ๔ : ๓๙-๔๐
     
  8. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    เทพเจ้าอมตะมีหรือไม่

    ปัญหา ศาสนาบางศาสนาเชื่อว่ามีเทวดาที่มีอมตะเที่ยงแท้ แน่นอน ในเรื่องนี้ พระพุทธศาสนามีทัศนะอย่างไร ?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พญาสีหมฤคราชออกจากที่อาศัยในเวลาเย็นแล้วเหยียดกาย แล้วเหลียวแลดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ แล้วบันลือสีหนาท ๔ ครั้งแล้วออกเดินไปเพื่อหากิน.... พวกสัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่าได้ยินเสียงพญาสีหมฤคราชบันลือสีหนาท อยู่ โดยมากย่อมถึงความกลัว... พญาสีหมฤคราชมีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายเช่นนี้แล
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระตถาคตอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกพระองค์ทรงแสดงธรรมว่า รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ ความดับแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ แม้เทวดาทั้งหลายที่มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุข ซึ่งดำรงอยู่ได้นานในวิมานสูง ได้สดับธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว โดยมากต่างก็ถึงความกลัว ความสังเวช ความสะดุ้ง ว่าผู้เจริญทั้งหลายได้ยินว่าเราทั้งหลายเป็นผู้ไม่เที่ยง แต่เข้าใจว่าแน่นอน... ได้ยินว่า ถึงพวกเราก็เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน ติดยู่ในกายตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าโลก กับเทวโลกเช่นนี้แล”
    สีหสูตร ขันธ. สํ. (๑๕๕, ๑๕๖)
    ตบ. ๑๗ : ๑๐๓-๑๑๔ ตท. ๑๗ : ๙๓-๙๔
    ตอ. K.S. ๓ : ๗๐-๗๑
     
  9. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    อายุของพรหม

    ปัญหา ตามศาสนาฮินดู พรหมเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างสิ่งทั้งปวง มีอยู่ชั่วนิรันดร พระผู้มีพระภาคทรงเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนพะกะพรหม ท่านสำคัญอายุใดว่ายาว ก็อายุนั้นสั้น ไม่ยาวเลย ดูก่อนพรหม เรารู้อายุหนึ่งแสนนิรัพพุท (คือเลข ๑ ตามด้วยเลขศูนย์ ๖๘ ตัว) ของท่านได้ดี”
    พกสูตรที่ ๔ ส. สํ. (๕๗๐)
    ตบ. ๑๕ : ๒๑๐ ตท. ๑๕ : ๒๐๐
    ตอ. K.S. I : ๑๘๐
     
  10. Phusaard

    Phusaard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    436
    ค่าพลัง:
    +349
    ขอบคุณท่าน อัคนีวาต มากครับ
    ได้ความรู้ไว้เพื่อเป็นหลักในการใช้ปัญญาพิจารณา ขึ้นเยอะเลยครับ
    ผมเชื่อในคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งกว่าสิ่งใด
    คำสอนของพระองค์ไม่มีล้าสมัย
    คำสอนของพระองค์ไม่มีว่าไม่เพียงพอ
    เพราะพระองค์ทรงคงวางรากฐานไว้เป็นอย่างดีแล้ว
    ในคำสอนของพระองค์คงไม่พลาดสิ่งใดไปอย่างแน่แท้
    หากปฏิบัตแล้วก็ไม่มีคำว่าสายเกินไป

    ขออนุโมทนา สาธุ ครับ
     
  11. twoman

    twoman สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกท่านครับ :cool:
     
  12. LadyOfLight

    LadyOfLight เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    755
    ค่าพลัง:
    +2,472
    *-* เห็นพูดกันบ่อยเรื่อง "กาลามสูตร" ขอแสดงความเห็นของข้าพเจ้าเองบ้างนะคะ

    อย่าลืมใช้หลักนี้กับพระธรรมคำสอนทางพุทธเองด้วย ไม่ว่านิกายไหน

    และถ้าสามารถทำได้ด้วย "ตัวเอง" ก็จะดีที่สุด

    และไม่แสดงถึง "อัตตา" แบบไม่รู้ตัว ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย


    พาราดอกซ์ชัดเจนดีมั๊ยคะ ระหว่าง "ตนเอง" กับ "อัตตา"


    ขอยืมจาก คห.บนหน่อยนะคะว่า "ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกท่าน :cool:"
     
  13. ดูท่านอยู่นะครับ

    ดูท่านอยู่นะครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,666
    ค่าพลัง:
    +2,480
    ไม่เห็นจะเกี่ยวกะอาจารย์ สักอย่าง เพียงเอาคำสนทนาของพุทธวาจาเก่า มาเขียนให้อ่าน
    ศึกษามา อ่านมา ก็นำมาเขียนสู่กันอ่าน ก็แค่นั้น เป็นเพียงผู้รู้ตามที่อ่านแต่ไม่สามารถทำให้รู้แจ้งแทงตลอดได้
    นี่ละปัญหาที่อาจารย์ท่านกำลังแจ้งต่อชาวพุทธหรือทุกศาสนา ท่านอ่านมาท่านศึกษามามาเล่ามาเขียนให้อ่านแต่ท่านไม่ได้บอกว่า พระพุทธองค์ท่านต้องการบอกอะไร จะทำให้เกิดตัวรู้ตรงไหน
     
  14. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    ตอบได้ถูกใจทีเดียว ขออนุโมทนา สาธุ...
     
  15. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ศาสนาnew age ที่แท้คือคริสต์แนวใหม่ที่ใช้เอา พุทธศาสนาและควอนตัม ฟิสิกส์มาแอบอ้างคำสอนของตนเอง
    นี่คือสิ่งที่เราอยากให้คนอ่านได้รับรู้
    เมื่อรู้แล้วจะทำอย่างไร
    เลือกวัตรปฏิบัติไปทางไหน
    แล้วแต่ใจของท่านเอง
     
  16. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,267
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ฮึ ฮึ คุณสาวไฟแรงสูงกล่าวได้น่าคิด[​IMG]...เอ่อ...พาราดอกซ์แปลว่าอันหยังครับ[​IMG]
     
  17. ดูท่านอยู่นะครับ

    ดูท่านอยู่นะครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,666
    ค่าพลัง:
    +2,480
    อาจารย์ไม่เคยพูดเรื่องนี้ครับ ท่านสื่อสอนเรื่องการทำจิตและร้กษากายเข้าสู่นิพพาน และภัยพิบัติของโลก เท่านั้นครับ
     
  18. หล่อสะท้านภพ

    หล่อสะท้านภพ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +66
    ติดใจแต่คำว่า นิพพานชั่วขณะ ไม่ทราบว่า อ.ปริญญา พูดเองหรือคนตอบกระทู้พูดเองเพราะมันทำให้เข้าใจว่า นิพพานเป็นของไม่เที่ยงเพราะมันมีชั่วขณะ ซึ่งมันขัดแย้งกันอย่างมาก เท่าที่รู้มีสภาวะที่ใกล้เคียงกับนิพพานก็คือ นิโรธ แต่ก็ยังไม่ใช่นิพพานเพราะ อริยบุคคลระดับอนาคามีที่ได้ สมาบัติ8 ก็เข้านิโรธได้ เพราะเหตุนี้จึงถือว่ายังไม่ใช่นิพพานเพราะ มีแต่อรหันต์เท่านั้นถึงจะนิพพาน
     
  19. ชั

    ชั Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    161
    ค่าพลัง:
    +48
    มนุษย๋เอ๋ย...โลกเราใบนี้ ต่อให้ไม่มีมนุษย์หรือสัตว์ต่างๆมันก็ต้องเปลี่ยนแปลง เพราะทุกสิ่งต้องเปลี่ยนแปลง แม้กระทั้งตัวคุณ ดวงอาทิตย์ก็เปลี่ยน ดวงจันทร์ก็เปลี่ยน ฝนตก ฟ้าร้อง น้ำท่วม ซึนามิ แผ่นดินแยก แผ่นดินร้าว เปลือกโลกขยับ มันเป็นเรื่องธรรมชาติ ตราบใดที่มนุษย์อยู่บนโลกใบนี้ แต่ไม่เรียนรู้โลกใบนี้ ...ท่านจะอยู่บนโลกใบนี้ยาก ต่อไปโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ฤดูจะเปลี่ยน ขั่วโลกจะเปลี่ยน..เรื่องปรกติ พระพุทธเจ้าบอกไว้หมดแล้ว....มีในศาสนาพุทธ ถ้าชาวพุทธศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าถึงแก่น ท่านจะถึงบางอ้อ.....แต่ขณะนี้...ตอนนี้ มีคนแอบอ้างว่าเป็นคำพูดของพระเจ้าและอำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาปนกับพระ เจ้า...ที่อยากรู้สุดๆตอนนี้คือ ไม่ทราบว่าท่าน อ.ปริญญา ตันสกุล นับถือศาสนา อะไรครับ..
     
  20. rossalen

    rossalen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    188
    ค่าพลัง:
    +323
    สำหรับดิฉันเองนับถือศาสนาพุทธค่ะ ในบัตรประชาชนก็นับถือศาสนาพุทธ ในครอบครัวเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน เข้าวัดฟังธรรม ถือศีล กินเจ ค่ะ แต่ดิฉันก็ไม่เคยปิดกั้นความรู้และตีกรอบความคิดตัวเอง รับศีล หรือศีลจุ่มเข้าโบสถ์ของคริสตศาสนาก็ไปมาแล้ว คัมภีร์ไบเบิ้ลก็เคยอ่านมาแล้ว ฟังอธิษฐานคำสวดอ้อนวอนพระเจ้าอิสลามก็เคยฟังค่ะ และรู้สึกดีทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาเพราะใจเราคิดดีเปิดกว้าง ที่สุดจุดมุ่งหมายก็คืออันเดียวกัน กับของอาจารย์ปริญญาก็อ่านมาหลายเล่มค่ะที่อาจารย์เขียน คลิปหลายคลิปในยูทูปที่อาจารย์บอก มันน่าคิดและน่าสนใจมากกว่าที่จะมานั่งพิจารณาว่าเค๊าบ้าเค๊าเพี้ยน เพราะเป็นความรู้ใหม่ที่ไม่มีกรอบของศาสนาใดๆมาเป็นตัวกำหนด แต่สามารถอ้างอิงถึงหลักคำสอนและพระวัจจนะของพระศาสดาทุกรพระองค์เพื่อมาประกอบให้คนอ่านและคนศึกษาได้เข้าใจง่ายขึ้น(คิดว่าสำหรับบางคนที่จะกล้าเปิดใจรับรู้สิ่งที่เขาสื่อมา)ตอนนี้ทั่วโลกก็กำลังมีคนอย่างอาจารย์ปริญญามากพอสมควรที่อยากจะบอกอะไรบางอย่างที่คล้ายกับอาจารย์ เพราะโลกเรากำลังก้าวสู่ยุคพลังงานใหม่ เค๊ามาชวนพวกเราหาทางกลับคืนสู่บ้านเดิมให้ทันเวลาและรวดเร็วขึ้นเท่านั้นเองค่ะ # ไม่ได้เป็นสาวกของอาจารย์ปริญญา แต่เขียนออกมาจากความรู้สึก เสี่ยงต่อการถูกเยาะเย้ยถากถางเสียดสีมากค่ะ แต่ช่างเถิด ใครจะคิดยังไงก็แล้วแต่เหลี่ยมมุมของคนแต่ละคนนะคะ และจะไม่ต่อความยาวในกระทู้นี้อีก เพราะคิดว่าคงมีเยอะมากที่ดิฉันจะโดนผู้รู้และคุรุทั้งหลาย ว่ากล่าว ชี้แนะ ดิฉัน ขอบคุณค่ะ เพราะปล่อยวางไว้ล่วงหน้าแล้ว สาธุ ขออโหสิกรรมทุกท่าน)
     

แชร์หน้านี้

Loading...