ความลับหนังสือของคุณเอกอิสโร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย gnungnun, 15 มกราคม 2011.

  1. gnungnun

    gnungnun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +357
    คุณเอกอิสโรเขียนหนังสือออกวางจำหน่ายสองเล่ม สาระสำคัญของหนังสือสองเล่มก็คือ พุทธประวัติ การประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน รวมทั้งสถานที่ทุกอย่างในพุทธประวัติ เช่นเมืองสาวัตถี เมืองราชคฤห์ ล้วนอยู่ในแถบพม่า ไทย แถวๆนี้
    [​IMG]
    สัตว์ในแถบพม่า ไทย นี้ก็มีช้าง ม้า วัว ควาย ส่วนอูฐมิใช่สัตว์ธรรมดาสามัญของแถบนี้
    1.
    เหตุใดจึงมีการยกอูฐเป็นตัวอย่างในพระไตรปิฎกรวมอยู่กับช้าง ม้า วัว เหมือนเป็นสัตว์ธรรมดาๆจำพวกเดียวกันพบเห็นกันทั่วไป


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
    ตัวอย่าง
    [๑๑๔] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๔ เท้า ได้แก่ ช้าง ม้า อูฐ โค ลา ปศุสัตว์
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
    ตัวอย่างบางบรรทัด
    -..คือ ยานช้าง ยานม้า ยานโค ยานแพะ ยานแกะ ยานอูฐ ยานลา ที่หมุนไป คือ ที่เขามิได้ฝึกหัดมิได้ฝึกฝน มิได้อบรม ย่อมแล่นไปผิดทาง ย่อมขึ้นบนตอไม้บ้าง กองหินบ้าง..

    2.เหตุใดจึงใช้อูฐในการเปรียบเทียบ ถ้าไม่ใช่เพราะว่าเป็นสัตว์พื้นเมืองพบเห็นได้ง่าย พูดแล้วเห็นภาพทันที
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    ตัวอย่างบางบรรทัด
    -.....เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ .........
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค
    ตัวอย่างบางบรรทัด
    -....กระทบคำด่าอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ ... มีความประพฤติดังแพะ... มีความประพฤติดังโค ... มีความประพฤติดังลา ... มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน ..

    ผมไม่คิดว่าในเมืองไทยหรือพม่าในสมัยนั้นจะมีคนกี่มากน้อยเคยเห็นอูฐ พันคนอาจจะรู้จักคนเดียว
    พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นบรมครูทางด้านการสอนคงไม่เอาสัตว์ที่คนส่วนใหญ่ในสมัยนั้นไม่เคยเห็นมาใช้ในการสั่งสอนหรอกครับ
    ถ้าพระองค์และสาวกทรงดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศไทยจริงดังที่คุณเอกอิสโรกล่าวอ้าง

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
    มีคำว่าอูฐ1คำ

    ตัวอย่าง

    [๑๑๔] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๔ เท้า ได้แก่ ช้าง ม้า อูฐ โค ลา ปศุสัตว์
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค
    มีคำว่าอูฐ34คำ


    ตัวอย่างบางบรรทัด
    -.....มีความประพฤติดังอูฐ, ... มีความประพฤติดังแพะ, ... มีความประพฤติดังโค, ... มีความประพฤติดังลา, ... มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน, ... มีความประพฤติดังสัตว์นรก, ว่าท่านเป็นอูฐ ว่าท่านเป็นแพะ, ว่าท่านเป็นโค, ว่าท่านเป็นลา, ว่าท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน.........

    -....กระทบคำด่าอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ ... มีความประพฤติดังแพะ... มีความประพฤติดังโค ... มีความประพฤติดังลา ... มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน ..

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    มีคำว่าอูฐ3คำ

    ตัวอย่างบางบรรทัด
    -.....เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ .........

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
    มีคำว่าอูฐ2คำ

    ตัวอย่างบางบรรทัด
    -.....
    ฉะนั้น. ตะโพกของอาตมภาพเป็นเหมือนเท้าอูฐ
    ฉะนั้น. กระดูกสันหลังของอาตมภาพผุดระกะ เปรียบเหมือนเถาวัฏฏนาวฬี ฉะนั้น........
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
    มีคำว่าอูฐ3คำ

    ตัวอย่างบางบรรทัด
    -..ความดำรินั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ เมื่อไรรถเงิน ... รถม้า ... รถอูฐ ... รถโค
    ... รถแพะ ... รถแกะ ... รถมฤค ซึ่งมีเครื่องครบครัน
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
    มีคำว่าอูฐ3คำ

    ตัวอย่างบางบรรทัด
    -..คือ ยานช้าง ยานม้า ยานโค ยานแพะ ยานแกะ ยานอูฐ ยานลา ที่หมุนไป คือ ที่เขามิได้ฝึกหัดมิได้ฝึกฝน มิได้อบรม ย่อมแล่นไปผิดทาง ย่อมขึ้นบนตอไม้บ้าง กองหินบ้าง..
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
    มีคำว่าอูฐ3คำ

    ตัวอย่างบางบรรทัด
    -.คนเป็นโรคมองคร่อ ... คนเป็นโรคลมบ้าหมู ... อูฐ ... โค ... ลา ... สุกร ... กระบือ ก็ไปเป็นกระบือเทียวหรือ?...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2011
  2. gnungnun

    gnungnun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +357
    ผมมิได้มีเจตนาใดๆที่ไม่ดีต่อคุณเอกอิสโรทั้งสิ้น ทั้งยังนับถือในความเด็ดเดี่ยวในจุดยืนของตนเองรวมทั้งมีความรอบรู้ของคุณเอกอิสโร แต่สิ่งที่คุณเอกอิสโรเขียนและมีการตีพิมพ์เผยแพร่ออกสู่คนหมู่มากในเรื่องละเอียดอ่อนเช่นนี้ ผมซึ่งอ่านแล้วและเห็นข้อน่าสงสัยอยู่ก็จำเป็นต้องแสดงความคิดเห็นให้คุณเอกอิสโรพิจารณาดังหัวข้อกระทู้ครับ ถ้าก้าวล่วงเกินในทางใดก็ขอให้คุณเอกอิสโรอโหสิกรรมให้ผมด้วยครับ
     
  3. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงครับ ไม่เคยถือโทษโกรธเคือง หรือไม่คิดว่าเป็นการล่วงเกิน แต่อย่างใดครับ คิดเพียงลำพังคนเดียว ไหนเลยจะยอดเยี่ยมเท่ามีคนช่วยคิด ช่วยขัดเกลา และตรวจสอบ จากสิ่งที่คุณ gnungnun สู้อุตสาห์ค้นหา มาเพื่อให้พิจารณา ย่อมจะเกิดประโยชน์ ยิ่งแก่การค้นคว้าให้ค้นพบความจริง ยิ่งพบข้อโต้แย้งมาก ยิ่งทำให้เราต้องค้นหาคำตอบ บ่อยครั้งที่ความพยายามหาคำตอบ กลับทำให้ผมได้รับทราบข้อมูล ที่ไม่เคยรู้มาก่อน

    <O:p</O:p
    ต้องขอโทษคุณ gnungnun นะครับ ที่อาจจะเข้ามาตอบช้าไปสักหน่อย เพราะวัน สองวันนี้ ภาระงานประจำ ไม่เอื้ออำนวย เท่าที่ควร<O:p</O:p
    ผมจะพยายามตอบคำถาม ให้ได้มากที่สุด และหากตกหล่น จะได้ตามมาเก็บตกคำถามให้ครบถ้วนต่อไป นะครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1. การที่ผม เปลี่ยนสมมติฐานที่ตั้งเมืองไปมานั้น อันนี้ “ยอมรับว่าจริงครับ” ดังที่บอกแล้วว่า ขึ้นกับข้อมูลที่ได้รับมา ในระยะ 7-8 ปีที่ผ่านมา <O:p</O:pซึ่งก่อนอื่น ต้องขอเรียนว่า วิธีการคิดของผม อาจจะไม่ใช่แบบแผนของนักโบราณคดี หรือนักประวัติศาสตร์ เพราะ ผมเองเรียนจบมาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิธีการคิด จึงอาจจะติดกรอบในกระบวนการที่เรียกว่า “Trial and Error” ถ้าแปลเป็นไทยก็คงไม่ต่างจากลองถูกลองผิด โดยมีเงื่อนไข ตั้งต้น เพื่อสอบทานผลสุดท้าย ซึ่งสำคัญที่ผลสุดท้าย ในกรณีของการค้นหา เมืองราชคฤห์ ก็เช่นเดียวกัน เมื่อรู้ความสัมพันธ์ ระหว่าง เมืองราชคฤห์ กับ อีกสองเมือง คือ กุสินารา กับ สาวัตถี ผม ก็ใช้แนวคิดแบบวิศวกรรมสำรวจ โดยมีสมมติฐานเบื้องต้นว่า ถ้า “กุสินารา” ตาม บันทึกเอกสารโบราณของบรรพบุรุษเรา “ถูกต้อง” เมืองราชคฤห์ ก็จะอยู่ในรัศมี 25 โยชน์ หรือ 400 กิโลเมตร ซึ่งหากกวาด รัศมี โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณ เมืองโบราณโกสินทร์ราย หรือ พระแท่นดงรัง ซึ่งแน่นอน ผมยังไม่รู้ชัด ว่า เขาวัดระยะทางตั้งต้นจากจุดใดแน่ เป็น กิโลเมตร ที่ 0 (ศูนย์) และย่อมจะมีความผิดพลาดได้แน่นอน แต่ก็จะเป็นการจำกัดกรอบ ที่จะค้นหา เมืองราชคฤห์
    <O:p</O:p
    เมื่อมีสมมติฐาน สถานที่ตั้ง “เมืองสาวัตถี” ขึ้นมาอีก ก็จะทำให้ การจำกัดพื้นที่แคบเข้ามาอีก ใช่ครับถ้า เมืองสาวัตถี เกิดไม่ใช่อยู่ในอาณาบริเวณ BAGO หรือ TWANTE ซึ่งตอนนี้ ตามที่คุณ gnungnun ได้กรุณาทักท้วงมา ทำให้ ข้อสมมติฐานที่ตั้งของ “เมือง สาวัตถี” คงจะต้องย้ายกลับไปอยู่ที่เดิม คือ ที่เมือง BAGO หรือรอบๆ บริเวณนั้น ที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง ซึ่งถ้าสมมติฐานเป็นอย่างนี้ ระยะทางระหว่างสาวัตถี กับ ราชคฤห์ เท่ากับ 45 โยชน์ หรือ 720 กิโลเมตร ก็จะถูกนำมาสร้างโมเดล ตามที่ผมสร้างขึ้นนี้ จึงได้จุดตัดอยู่ที่ ประมาณพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งแน่นอน ยังไม่สามารถชี้ชัดว่า “จุดใดแน่” ซึ่ง ยังต้องค้นหา หลักฐานสำคัญ คือ “ภูเขาห้าลูก” ที่ล้อมรอบ พระนครราชคฤห์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การสร้าง โมเดล จึงเป็นการจำกัดพื้นที่ที่จะค้นหา ซึ่ง อาจจะผิดพลาด หาก ตำแหน่งที่ตั้ง ของสาวัตถี ย้ายไปอยู่ พุกาม หรือ เชียงใหม่ แต่ถ้า สาวัตถี ยังอยู่ในอาณาบริเวณ BAGO จุดตัด ก็จะเปลี่ยนแปลงไม่เกินรัศมีรอบๆ 15-30 กิโลเมตร ดังนั้น จุดสำคัญจึงอยู่ที่การ ค้นหา “ภูเขาห้าลูก” ว่าจะมีอยู่ขอบเขตพื้นที่ จุดตัด นั้นหรือไม่?
    <O:p</O:p
    ซึ่ง ผมเชื่อว่า ในระยะเวลา 2,500 กว่าปี มานี้ คงจะยังไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก แต่ถ้าหาเขาห้าลูกไม่เจอแสดงว่า ไม่สมมติฐานที่ตั้ง เมืองสาวัตถีผิด ก็ที่ตั้งเมืองกุสินาราผิด และจะต้องค้นหาว่า อะไรผิด และที่ถูกคือที่ไหน? ต่อไป เพราะ เวลานี้ ข้อมูลที่ผม มีอยู่ ด้วยวิธีการที่คุณ gnungnun ใช้สอบทานผมอยู่นี้ ซึ่งก็จะเป็นวิธีเดียวกันกับที่ผมใช้สอบทานที่ "อินเดีย-เนปาล" ยืนยันว่า สถานที่ เมือง ที่อยู่ในอินเดียและเนปาล "มั่ว" อย่างแน่นอน เว้นแต่ พระไตรปิฎกและอรรกถาผิดเพี้ยน ซึ่ง ผมไม่เชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้น

    <O:p</O:p2. เรื่องการ ใช้ข้อมูล ในพระไตรปิฎก และอรรกถา มาสอบทานเรื่องราวต่างๆ ก็เป็นดุจเดียว กับที่ คุณ gnungnun ยกมาสอบทานผม ซึ่ง คงจะต้องหาข้อมูล เรื่อง “ลา” และ “อูฐ” เพราะการที่ คนไทย ยุคเก่า ที่แปลพระไตรปิฎก และอรรถกถา จาก “บาลีเป็นไทย” จะต้อง มีความรู้ ความเข้าใจในลักษณะของสัตว์ทั้งสอง ในคำบาลี จึงจะสามารถเพราะจะว่าไปแล้วย้อนหลังไปสมัยสุโขทัย หรือ อยุธยา ก็ไม่แน่ว่า จะเคยได้เห็นอูฐ หรือไม่? และผมก็จะไม่เลือกที่จะตอบว่า อาจจะเคยมีอูฐในแผ่นดินพม่า-ไทย แต่สูญพันธุ์ไปแล้ว หรืออพยพไปอยู่ทะเลทรายหมด หรือ เมื่อก่อนอาจจะใช้ลาขนสินค้า แต่เดี๊ยวนี้เลิกใช้ไปใช้ วัวเทียมเกวียนแทน ตรงนี้เอาเป็นว่า รับโจทย์ไปขบคิดครับ

    <O:p</O:pขอเรียนคุณ gnungnun ว่า ด้วยวิธีนี้ ผม ก็ใช้ในการตั้งคำถาม กับผู้ที่เชื่อว่าทุกอย่างอยู่ที่อินเดียเหมือนกัน เช่น ในพระไตรปิฎก และอรรถกถา พูดถึง ฆ้อง ตาลปัตร ธรรมาสน์ ข้าวเหนียว ข้าวยาคู ขนมแดกงา ปลาตะเพียน อ่อมปลาดุก ฯลฯ แล้ว ทำไมสิ่งเหล่านี้ ไม่มี ในอินเดีย ดังในกระทู้เก่าๆ นี้

    <O:p</O:pมีอะไร ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ที่ หลงเหลืออยูในอินเดียบ้าง?<O:p</O:p
    http://palungjit.org/threads/มีอะไร-ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา-ที่-หลงเหลืออยูในอินเดียบ้าง.261000/
    <O:p</O:p
    โดยเฉพาะ เรื่องฆ้อง นี้ ผมก็เคยเขียน พาดพิงไปถึงอาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ แรงๆ เหมือนกัน ลองอ่าน จากไฟล์ที่ผม แนบท้ายมาด้วยนี้นะครับ

    <O:p</O:pดังนั้น การที่คุณ gnungnun ตั้งข้อสังเกตให้ผมพิจารณา หรือทักท้วง หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ก็ตาม ผมต่างหากครับที่ต้องขอบคุณ คุณ gnungnun เพราะผู้ที่จะใส่ใจ ค้นหาข้อมูลมาทัดท้วงอย่างนี้ มิใช่ว่าจะหาได้โดยง่ายครับ<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2011
  4. gnungnun

    gnungnun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +357
    คงต้องยกความเห็นของผมมาอีกครั้งครับ
    ต้องเรียนไว้ก่อนนะครับว่าผมไม่ได้เคยมีความคิดที่จะเขียนหนังสือ ความจริงพระพุทธเจ้าประสูติในอินเดีย,เนปาลหรือที่ไหนๆก็ตามแต่เลยครับ จึงไม่จำเป็นต้องมาหาหลักฐานอะไรทั้งสิ้นครับ
    ผมเป็นแค่คนธรรมดาๆที่เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ
    ผมดูละครมงกุฏดอกส้มซึ่งผมคิดว่าถ่ายทำในเมืองไทย วันดีคืนดีมีคนมาบอกผมว่า จริงๆแล้วละครมงกุฏดอกส้มถ่ายทำที่เอธิโอเปียโดยให้เหตุผลต่างๆนาๆแล้ว บอกว่าต้องเชื่อเขาเพื่อที่จะได้ดูละครสนุกขึ้น ผมก็ฟังขำๆครับ ถ้ามีเวลาก็คงหาโอกาสคุยด้วยครับ

    ผมขอแค่มีละครให้ผมดูเพลินๆก็พอแล้วครับ ถึงจะไปถ่ายทำกันที่เอธิโอเปีย ผมก็ดูครับ

    แต่ถ้ามีคนมาเขียนหนังสือบอกว่าฝั่งธนจริงๆคือ แอตแลนตีส อย่างนี้ผมสนใจและคงอ่านหาคำตอบดูครับ

    ทำไมผมถึงใช้วิธีเดียวกันกับคุณเอกอิสโรที่นำพงศาวดาร,ตำนาน, google มาใช้
    อ่านในความเห็นที่2ของผมนะครับว่าผมเห็นด้วยหรือเปล่า ผมใช้วิธีของคุณเอกอิสโรมาค้านหนังสือของคุณเอกอิสโรเองก็เพื่อว่าคุณเอกอิสโรจะได้อ้างไม่ได้ว่า ผมใช้วิธีที่แตกต่างกันในการหาความจริงเพราะฉนั้นจะเอามาหักล้างกันไม่ได้ เปรียบง่ายๆก็คือผมมาเล่นเกมของคุณเอกอิสโรที่คุณเอกอิสโรตั้งกติกาเอาไว้เองครับ
     
  5. gnungnun

    gnungnun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +357
    1.การย้ายเมืองไปมาของเมืองสาวัตถีของคุณเอกอิสโรสำหรับผมคงไม่มีอะไรมากนักหรอกครับ ถ้ามันไม่ไปกระเทือนสถานที่ตั้งเมืองอื่นๆด้วยในหนังสือ แบบนี้เนื้อหาหนังสือครึ่งค่อนเล่มใน "ความลับกึ่งพุทธกาล วันล้างโลก" ย่อมไม่ชัดเจนไปด้วยครับ

    2.เรื่องอูฐ คุณเอกอิสโรก็คงต้องคิดแหละครับ ถ้า
    พุทธประวัติ การประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน รวมทั้งสถานที่ทุกอย่างในพุทธประวัติ เช่นเมืองสาวัตถี เมืองราชคฤห์ อยู่ในแถบพม่า ไทย ทำไมมีอูฐในพระไตรปิฎกและปนอยู่กับช้าง ม้า วัว เหมือนมันเป็นสัตว์สามัญท้องถิ่นประเภทเดียวกัน นอกจากนี้ยังใช้ในการเปรียบเทียบให้เห็นภาพประหนึ่งว่าเมื่อพูดแล้วผู้ฟังต้องเข้าใจได้ทันที

    (
    อูฐ อูฐ : [อูด] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Camelidae หัว คอ และขาทั้ง ๔ ยาว มีนิ้วตีนข้างละ ๒ นิ้ว กระเพาะมี ๓ ส่วน ไม่มีถุงนํ้าดี มี ๒ ชนิด คือ ชนิด ๒ หนอก (Camelus bactrianus) มีในประเทศจีน ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน, ชนิดหนอกเดียว (C. dromedarius)มีในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ. (ป. โอฏฺ?; ส. อุษฺฏฺร).
    ที่มา : พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน
    )


    คงต้องดูจารึกต่างๆด้วยว่ามีกล่าวถึงอูฐปนอยู่กับสัตว์สามัญหรือเปล่า รวมทั้งภาพแกะสลักโบราณว่ามีตัวอูฐมั้ย

    แต่เท่าที่ผมนึกได้อย่างภาพสลักหินที่เขมรซึ่งคงเก่าเป็นพันปี และเขมรก็อยู่ติดไทย ผมยังนึกไม่ออกเลยครับว่ามีการสลักรูปอูฐอยู่ด้วย

    ปล.ขอเรียนถามคุณเอกอิสโรไว้ประดับความรู้นะครับว่า
    1.เมืองBAGO กับ จังหวัดชัยภูมิอยู่ห่างกัน 720 กม. คุณเอกอิสโรใช้วิธีใดในการหาระยะครับ

    2.ประวัติพระอาจารย์มั่น ซึ่งผม
    เข้าใจว่าคุณเอกอิสโรคงใช้ฉบับที่เล่าโดย ท่านมุตโตทัย ในการอ้างอิง คุณเอกอิสโรได้อ่านฉบับจริงหรือเปล่าครับ พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ใดครับ ต้องบอกก่อนนะครับว่าผมเข้าใจเอาเองว่า คุณเอกอิสโรคงใช้ฉบับที่เล่าโดย ท่านมุตโตทัย ครับ

    ขอบคุณล่วงหน้าครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2011
  6. Gilgalad

    Gilgalad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +112
    ผมว่าผมเคยเห็นนะ ฆ้องในอินเดียเนี่ย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • gong.jpg
      gong.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59 KB
      เปิดดู:
      87
  7. Gilgalad

    Gilgalad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +112
    ปลาตะเพียนจากเวป วิกิพีเดียไทย มีชื่อ ภาษาอังกฤษว่า java barb มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus gonionotus ถ้าลองเช็คกับ เวปนี้ 'List of fishes of India' จะพบว่า มีปลาตะเพียนในอินเดียครับ

    List of fishes of India - Wikipedia, the free encyclopedia
     
  8. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ครับ ต้องขอขอบพระคุณ ทุกท่านครับ ผมขออนุญาต เรียกว่า อาจารย์ก็แล้วกันนะครับ ทั้งอาจารย์ gnugnun อาจารย์ Gilgalad และที่ไม่ได้เอ่ยนาม และจะรับข้อสังเกต ต่างๆ ไป เพื่อประกอบการศึกษา ค้นคว้าต่อไป นะครับ
     
  9. Gilgalad

    Gilgalad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +112
    ตาลปัตร หรือ ตาลิปัตร ภาษาอังกฤษใช้คำว่า 'talipot fan' ที่มา
     
  10. Gilgalad

    Gilgalad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +112
    ตาลปัตร หรือ ตาลิปัตร ภาษาอังกฤษใช้คำว่า 'talipot fan'

    เป็นคำที่เป็นต้นกำเนิดมาจากคำในภาษาสันสกฤต ซึ่งคาดว่าอังกฤษได้คำนี้มาสมัยยังปกครองอินเดียอยู่ และคำว่า ตาลิปัตร เพี้ยนเป็น คำในภาษามาลายาลัม ในอินเดียใต้ ที่แปลได้ออกมาว่า kudapana ซึ่ง แยกได้ว่า kuda ที่แปลว่าร่ม pana ที่แปลว่า ปาล์ม สอดคล้องกับบริขารพระที่นิยมนำก้านลานมาทำร่มกลด และสานขารองบาตร และในสมัยก่อนผมคาดว่าคงใช้ทำตาลปัตรแบบง่ายๆด้วย

    และยังบอกต่อไปอีกว่า พบต้นไม้ประเภทนี้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน นิยมจดบันทึกลงในใบลานนั้นเช่นกัน

    เครดิต : โพสต์พลาด หายหมดแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2011
  11. gnungnun

    gnungnun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +357
    1.ที่ตั้งเมืองBAGO ถ้าเป็นสาวัตถีจะขัดแย้งกับพงศาวดารพม่านะครับ
    2.เรื่องอูฐกับลา

    สองข้อนี้นะครับคุณเอกอิสโร ยังเป็นปัญหาอยู่ และค้านกับสาระสำคัญในหนังสือของคุณเอกอิสโร


    คุณเอกอิสโรบอกไว้ว่า
    "ระยะทางระหว่างสาวัตถี กับ ราชคฤห์ เท่ากับ 45 โยชน์ หรือ 720 กิโลเมตร ก็จะถูกนำมาสร้างโมเดล ตามที่ผมสร้างขึ้นนี้ จึงได้จุดตัดอยู่ที่ ประมาณพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ"

    นั่นหมายถึงระยะทางระหว่างเมืองBAGOกับประมาณพื้นที่จังหวัดชัยภูมิอยู่ที่ 720 กิโลเมตร คุณเอกอิสโรหามาอย่างไรครับ ผมพยายามหามาหลายวันแล้วได้แค่ประมาณ 600-640 กิโลเมตรเองครับ

    ระยะทางระหว่างเมืองBAGOกับTHATON (ระยะทางระหว่างสาวัตถีกับกบิลพัสดุ์ตามที่คุณเอกอิสโรอ้าง)
    คุณเอกอิสโรบอกว่าอยู่ที่ 200 กิโลเมตร หามาได้อย่างไรครับ ผมหามาได้แค่ประมาณ 100 กิโลเมตรเอง ต่างกันเป็นเท่าตัว

    หวังว่าคุณเอกอิสโร
    จะให้ความกระจ่างกับผมด้วยครับ



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2011
  12. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เรียน อาจารย์ gnungnun ครับ

    การหาระยะทางระหว่างเมือง หากสามารถใช้ Google earth คำนวณให้ได้ ผมจะใช้ Google earth ครับ ส่วนที่คำนวณไม่ได้ ผมจะใช้ วิธีวัดตามสเกลแผนที่ บนแผนที่ตรงๆ ซึ่งแน่นอน อาจจะไม่ใช่ระยะการเดินทางจริง แต่ผมจะใช้เพื่อจำกัดพื้นที่ ในการค้นหา สิ่งที่อาจจะเกี่ยวข้องกับเมืองหรือ แคว้นนั้น

    เช่นการค้นหา "เมืองอาฬวี" ที่ตามอรรถกถาว่า อยู่ห่างจากสาวัตถี 30 โยชน์ ผม ก็จะใช้ระยะทางตามสเกลแผนที่ ในการกวาดรัศมี ไปรอบๆ เหมือนกวาดสัญญาณเรดาร์ และทำให้ผมได้รับทราบ ตำนานของเมือง วิเชตนคร ที่ อำเภอแจ้ห่ม ลำปาง ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวข้องกับ ยักษ์อาฬาวี อาศัยอยู่ที่ดอยอักโขชัยคีรี

    ตำแหน่งของเมืองสาวัตถีนี้ สำคัญจริงๆ ครับ อาจารย์ gnungnun เพราะเป็นจุดที่ผมเชื่อมไปสู่การค้นหาเมืองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สังกัสสะ อาฬวี กบิลพัสดุ์ ราชคฤห์ ซึ่งหากระยะเป็นไปตามที่ อาจารย์ gnungnun พยายามหามาได้ ซึ่งแตกต่างจากผมใช้วิธีสเกลวัดจากแผนที่ เป็นเท่าตัว แทนที่จะเป็นเพียง 15-30 กิโลเมตร ซึ่งผมยังพอที่จะยอมรับได้นั้น เท่ากับว่า การกำหนดจุดเชื่อมโยงอื่นจะกระทบทันที ผมคงต้องรบกวน ขอข้อมูล ที่ อาจารย์ gnungnun ใช้ในการหาระยะทาง เพื่อมาสอบทาน กับวิธีที่ผมใช้ ว่า เกิดความคลาดเคลื่อน ในสเกลแผนที่ หรือเพราะอะไร ด้วยนะครับ โดยเฉพาะ การหาระยะทางระหว่าง เมือง BAGO กับ Thaton วึ่งรวมไปถึงการหาระยะทางระหว่าง Thaton ไป Paan และจาก paan ไป Kawkarek ด้วยครับ

    ส่วนเรื่องที่ตั้งเมือง BAGO ที่จะขัดแย้งกับพงศาวดารนั้น คงต้องสอบทานกันให้ลึกซึ้งครับ ว่าจะยึดเอา พงศาวดารเหนือ ที่รวบรวมไว้สมัยรัชกาลที่ ๑ หรือ จะเอาพงศาวดาร ฉบับรวบรวมในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อมีความขัดแย้งกันอย่างนี้

    เรื่องอูฐและลา ก็จะต้องหาข้อมูลครับ เท่าที่ พอได้ข้อมูลมาเลาๆ "อูฐ" เป็นภาษาบาลี แต่ ไม่รู้ว่า สัตว์ลักษณะเดียวกันนี้ ที่ภาษาฝรั่งเรียก "CAMEL" นั้นทางอินเดีย เรีกอูฐตามภาษาบาลี หรือเปล่า? อาจารย์ gnungnun พอจะทราบมั๊ยครับ ส่วนลาที่ อาจารย์ gnungnun ยกมานั้น เป็นเหตุการณ์ในชาดกน่าจะสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ซึ่งห่างจากยุคพุทธกาล หลายร้อยล้านปี ผมจึงไม่รู้ว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร กำลังค้นหาข้อมูลอยู่ครับ เพราะเมื่อก่อนที่ อาจารย์ gnungnun จะทักเรื่องนี้ ผมยังเข้าใจว่า เป็นเรื่องพื้นถิ่นของไทย เพราะเห็นว่า ลา ปรากฏอยู่ในสำนวนไทย หรืออาจจะเป็นสำนวนไทย สมัยใหม่ก็เป็นได้ ไม่ใช่ของเก่าของโบราณ แต่ไปก๊อปปี้มาจากฝรั่ง สมัยหลัง

    เอาเป็นว่า จะลองค้นข้อมูลดูนะครับ

    ส่วนเรื่อง ประวัติพระอาจารย์มั่น ผม เอามาจาก หนังสือ "รำลึกวันวาน" ที่มีผู้ไปสัมภาษร์ หลวงตาทองคำ ที่เคยรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น หนังสือเล่มนี้ พิมพ์เมื่อ ปี 2546 เป็นจังหวะเดียวกัน ที่ผม เคยไปสนทนากับ พระมหาอุทัย วัดปทุมวนาราม ว่า หลวงปู่มั่น เคยไปอินเดีย มั๊ย และไม่นาน จากนั้น คณะผู้จัดพิมพ์หนังสือ ก็เอาต้นฉบับ ที่ถอดเทป คำสัมภาษณ์หลวงตาทองคำ มาให้พระมหาอุทัย ตรวจทาน ขัดเกลา ให้ ผมจึงได้ทราบเรื่องที่หลวงปู่มั่น พูดไว้ ก่อนที่หนังสือจะตีพิมพ์ออกมาครับ แต่ข้อความที่ยกมาอ้างอิง นำมาจากหนังสือ "รำลึกวันวาน" ครับ
     
  13. gnungnun

    gnungnun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +357
    คุณเอกอิสโรอย่าเรียกผมว่าอาจารย์เลยครับ ผมยังไม่มีคุณวุฒิถึงขั้นนั้นครับ ห้องวิทยาศาสตร์ทางจิต-ลึกลับนี่ก็เพิ่งเข้ามาไม่กี่วันเอง ส่วนใหญ่อยู่ห้องอื่นครับ

    เครื่องมือที่ผมใช้ในการหาระยะทาง ใช้สองweb site ข้างล่างนี้ครับ เพื่อสอบทานซึ่งกันและกัน แต่จริงๆแล้วใช้ Google Maps Distance Calculator ก็แม่นยำเพียงพอครับเพราะใช้ map ที่ได้ข้อมูลมาจากSatellite ของ Google

    1.กด--->Google Maps Distance Calculator
    2.กด---> Travel Distance Calculator and Map between World Cities

    แผนที่ข้างล่างได้จากGoogle Maps Distance Calculatorซึ่งสอบทานกับmapcrowแล้ว

    1.จะได้ระยะทางระหว่างBAGOกับTHATON=105.202กิโลเมตร แต่ของคุณเอกอิสโร=200 กิโลเมตร ต่างกันเป็นเท่าตัว
    2.จะได้ระยะทางระหว่างBAGOกับชัยภูมิ=613.599กิโลเมตร แต่ของคุณเอกอิสโร=720 กิโลเมตร ต่างกันเป็นร้อยกิโลเมตร

    ดังนั้นข้อมูลระยะทางในหนังสือของคุณเอกอิสโรจึงคลาดเคลื่อนไปเกือบทั้งหมด และทำให้หลักฐานต่างๆเกี่ยวกับเมืองต่างๆที่คุณเอกอิสโร หามาสนับสนุนว่า พุทธประวัติ การประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน ทั้งหลายเกิดที่แถบ ประเทศไทย พม่าผิดเพี้ยนไปทั้งสิ้นครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • MBagoChai.JPG
      MBagoChai.JPG
      ขนาดไฟล์:
      70.7 KB
      เปิดดู:
      712
    • MThaton.JPG
      MThaton.JPG
      ขนาดไฟล์:
      49.8 KB
      เปิดดู:
      714
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2011
  14. gnungnun

    gnungnun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +357
    ในเมื่อหลักฐานต่างๆเกี่ยวกับสถานที่ในพุทธประวัติที่คุณเอกอิสโรยกมาโยงยกมาผูกเป็นเรื่องเป็นราวเพื่อสนับสนุน มีความคลุมเคลือและผิดพลาดทางด้านตำแหน่งตั้งแต่ต้นเช่นนี้ ดังที่ผมได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว แต่มีการจำหน่าย เผยแพร่ โฆษณาหนังสือเป็นที่รับรู้ทั่วไปทั้งจากตัวคุณเอกอิสโรเองที่ไปโพสท์ไว้ในบอร์ดต่างๆ หรือการพูดในที่ทั่วๆไปรวมทั้งจากช่องทางเผยแพร่อื่นๆ ออกไปสู่สาธารณชนในวงกว้าง

    ผู้ใหญ่1คนที่ซื้อหนังสือของคุณเอกอิสโรไปอ่าน ตอนนี้อาจจะไปบอกลูกหลาน ญาติพี่น้องว่า เมืองสะเทิงคือกบิลพัสดุ์ เมืองชัยภูมิคือราชคฤห์ พุทธประวัติอยู่แถวๆนี้ มีหลักฐานอย่างนี้ๆโดยกางหนังสือสองเล่มของคุณเอกอิสโรประกอบ
    ซึ่งมันผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปหมด

    ผมไม่ทราบว่าคุณเอกอิสโรจะทำอย่างไรครับ สำหรับการแก้ไขข้อผิดพลาดที่ผมคาดว่าขยายไปในวงกว้างพอสมควร เพราะหนังสืออย่างเล่มที่หนึ่งก็พิมพ์มานานแล้วครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2011
  15. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ในเบื้องต้น ผมคงต้องให้ความเห็นสั้นๆ ตรงนี้ก่อนว่า จากแผนที่ ข้างล่างนี้ เป็นการ หาระยะทางระหว่าง ชัยภูมิกับ สะพานมิตรภาพ ไทย-พม่า จะเห็นว่า มีระยะทาง 646 กิโลเมตร โดยที่ยังไม่ไปถึง BAGO





    [​IMG]






    และแน่นอน มีเส้นทางที่สั้นกว่า เป็น 100 กิโลเมตร ดังเช่น เส้นทาง ข้างล่างนี้ ซึ่ง มีระยะทางเพียง 531 กิโลเมตร เมื่อบวกระยะทางจากชายแดนไทย ไปถึง BAGO จึงอาจไกลได้ถึง 800 กิโลเมตร มากกว่าที่อาจารย์ gnungnun หามาได้ครับ



    [​IMG]




    ผมจึงยังคิดว่า สมมติฐานของผมยังไม่ผิดพลาด ถึงขนาด ต้องล้มกระดานใหม่ทั้งหมดครับ
    แต่ความผิดพลาดที่ อินเดีย-เนปาล นี่สิครับ เป็นสิ่งที่ผมไม่รู้ว่าจะต้องเรียกร้องความรับผิดชอบจากใคร?
     
  16. Gilgalad

    Gilgalad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +112
    อูฐ ในภาษาฮินดี (ภาษาที่อยุ่ในตระกูลเดียวกับภาษาบาลี กลุ่มตระกูลอินโดอารยัน) จะใช้คำว่า "unt" ครับ นับว่าใกล้เคียงกับบาลี ครับ ส่วน "ลา" ใช้คำว่า "gadha , gadha , moorkh manushya"

    อูฐ คอนข้างแน่ใจครับ ว่าใช้คำ นั้น แต่ "ลา" จะสอบถามเพื่อนให้อีกทีครับ

    คำต่างๆพวกนี้ ยืมกันไปยืมกันมา อย่างที่เห็นชัด และผมจำได้ คือ คำว่า "อังกูล" หรือ "องุ่น" ในภาษาไทยนั่นเอง

    อีกคำคือคำว่า "กุหลาบ" ในฮินดีก็ใช้คำตรงกันกับไทย ซึ่งถ้าจำไม่ผิด เขาก็ยืมมาจากพวกเปอร์เชีย เช่นกัน
     
  17. gnungnun

    gnungnun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +357
    คุณเอกอิสโรความเห็นของผมในความเห็นที่34และ44ของผมอีกครั้งนะครับ จะขอกล่าวเป็นครั้งที่สาม

    ผมเป็นแค่คนธรรมดาๆที่เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ
    ผมดูละครมงกุฏดอกส้มซึ่งผมคิดว่าถ่ายทำในเมืองไทย วันดีคืนดีมีคนมาบอกผมว่า จริงๆแล้วละครมงกุฏดอกส้มถ่ายทำที่เอธิโอเปียโดยให้เหตุผลต่างๆนาๆแล้ว บอกว่าต้องเชื่อเขาเพื่อที่จะได้ดูละครสนุกขึ้น ผมก็ฟังขำๆครับ ถ้ามีเวลาก็คงหาโอกาสคุยด้วยครับ

    ผมขอแค่มีละครให้ผมดูเพลินๆก็พอแล้วครับ ถึงจะไปถ่ายทำกันที่เอธิโอเปีย ผมก็ดูครับ

    แต่ถ้ามีคนมาเขียนหนังสือบอกว่าฝั่งธนจริงๆคือ แอตแลนตีส อย่างนี้ผมสนใจและคงอ่านหาคำตอบดูครับ

    อีกประะการหนึ่งคุณเอกอิสโรที่มาเขียนหนังสือนี่ก็มาถามหาความรับผิดชอบจากสมมุติฐานอินเดีย-เนปาลอยู่แล้วนี่ครับ แล้วทำไมไม่ลองใช้วิธี "Trial and Error" ดูบ้างครับ ว่าสถานที่ควรจะอยู่แถวไหนในอินเดีย-เนปาล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2011
  18. gnungnun

    gnungnun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +357
    ตามหลักการวัดระยะทางจะวัดเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง ไม่ใช่วกไปมา ไม่อย่างนั้นคนก็ยกมาอ้างได้สิครับว่ากรุงเทพ-นนทบุรีมีระยะทางเป็นแสนกิโลเมตรโดยใช้การเดินอ้อมโลกเอา

    การวัดระยะทางจะต้องวัดเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง เหมือนที่คุณเอกอิสโรกางวงเวียนปักจากจุดหนึ่งและอีกปลายก็ปักอีกจุดหนึ่งนั่นแหละครับ แล้วถ้าจะวกไปวนมาแบบที่คุณเอกอิสโรยกมา ของใหม่ก็ยังเกินเป็นร้อยกิโลเมตรถ้าเป็น800ร้อยกิโลเมตรจริง ในขณะที่ของเดิมขาดไปร้อยกิโลเมตร

    อีกประการหนึ่ง แผนที่ข้างล่างที่คุณเอกอิสโรยกมาอ้างเป็นแผนที่แสดงเส้นทางการขับรถครับ ไม่ใช่แผนที่ระยะทาง

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • drive.JPG
      drive.JPG
      ขนาดไฟล์:
      61.3 KB
      เปิดดู:
      686
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2011
  19. ๙๙

    ๙๙ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +8
  20. gnungnun

    gnungnun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +357
    ขอบคุณมากเลยครับคุณ๙๙ ที่กล่าวถึงเวปนี้
    เป็นบุคคลกลุ่มเดียวกันที่มีแนวคิดเดียวกันกับคุณเอกอิสโรครับ หลายอย่างก็ใช้วิธีที่ผมไม่เห็นด้วยดังกล่าวในความเห็นที่สองครับ

    บางอย่างที่เอามาลงในหน้าweb site ก็บิดเบือนเช่นอ้างถึงหนังสือประวัติพระอาจารย์มั่นที่เขียนโดยอาจารย์มุตโตทัย มีการนำหน้าปกหนังสือมาย่อให้เล็กๆ เห็นแต่คำว่า ประวัติพระอาจารย์มั่นกับคำว่ามุตโตทัย แล้วบิดเบือนข้อความว่าท่านอาจารย์มุตโตทัยเป็นคนเขียน ท่านอาจารย์มุตโตทัยเล่าอย่างโน้นอย่างนี้

    หน้าปกหนังสือจริงๆแบบขยายดังภาพข้างล่างครับ
    [​IMG]

    ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และ มุตโตทัย

    มุตโตทัยคือ โอวาทของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ บันทึกโดย พระราชธรรมเจติยาจารย์ (พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินธโร)

    อาจารย์มุตโตทัยไม่มีตัวตนอยู่ในโลกนี้ครับ เหตุที่ต้องใช้อาจารย์มุตโตทัย ก็ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นคือ
    นำหน้าปกหนังสือมาย่อให้เล็กๆในหน้าweb site เห็นแต่คำว่า ประวัติพระอาจารย์มั่นกับคำว่ามุตโตทัย หลอกลวงให้ไขว้เขว

    นับว่าเป็นการบังอาจจาบจ้วงเป็นอันมากที่อ้างว่า ท่านอาจารย์มุตโตทัยซึ่งเป็นอาจารย์อุปโลกน์กำมะลอพูดว่า พระอาจารย์มั่นพูดแบบโน้นแบบนี้โดยบางเรื่องก็แต่งขึ้นมาให้เข้ากับความเชื่อตนเอง

    นอกจากนั้นยังมีการนำข้อความของหลวงตาทองคำ จารุวัณโณ มาบิดเบือนอ้างว่าเป็นข้อความของ
    อาจารย์มุตโตทัยซึ่งเป็นอาจารย์อุปโลกน์กำมะลอด้วย เช่นจากหน้าweb site--> หนังสือ "ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต" ซึ่งเขียนโดย อาจารย์ "มุตโตทัย" ศิษย์คนหนึ่ีงของหลวงปู่มั่น ได้เขียนไว้ ในคำปรารภ หน้า ๙ ว่า หลวงปู่ฯ "...จะเล่าขณะที่ข้าพเจ้า ( "มุตโตทัย") ได้ถวายการนวด หลังจาก ท่านเทศน์เสร็จแล้ว นอกจากข้าพเจ้าแล้ว ก็มีท่านอาจารย์วิริยังค์ สิรินธฺโร ท่านอาจารย์วัน อุตตโม ท่านอาจารย์หล้า เขมปตโต ท่านก็พูด(เล่า)แต่ไม่มาก แต่สองรูปที่ท่านพูด (เล่า)ให้ฟังมาก คือ ข้าพเจ้ากับท่านอาจารย์วิริยังค์...."

    ข้อความข้างต้นเป็นคำปรารภที่เขียนโดย หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ ไม่ใช่
    อาจารย์อุปโลกน์มุตโตทัย




     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...