ลักษณะ "ธรรม" ครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Sir-Pai, 25 มีนาคม 2011.

  1. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    1.ธรรมนั้นต้องไม่กำหนดย้อมใจ
    2.ธรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อประกอบทุกข์
    3.ธรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อพอกพูนกิเลส
    4.ธรรมนั้นต้องไม่เป็นไปเพื่อนปราถนาใหญ่
    5.ธรรมนั้นต้องไม่เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ(คือมีแล้วอย่างนี้ อยากได้อย่างนั้น)
    6.ธรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
    7.ธรรมนั้นต้องไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
    8..ธรรมนั้นต้องไม่เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก

    หวังว่าคงจะเข้าใจนิยามของธรรมะมากขึ้นนะครับ

    อนุโมทนานะครับ ^^
     
  2. Attila 333

    Attila 333 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +716
    1.ธรรมนั้นต้องไม่กำหนดย้อมใจ
    คนส่วนมากมักเอาธรรม เป็นเครื่องย้อมใจ ไม่ได้หยั่งลงสู่ใจ
    ไม่ได้ถึงใจด้วยธรรมเลย เคลือบ ฉาบ ทาไว้ด้วยธรรม
    เมามันในความรู้ แต่ความดีไม่มี
    ความดีอันเป็นผลจากการปฏิบัติ ไม่มี
    ความน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา
    ต้องมีปัญญาเป็นเครื่องกำกับเสมอ
     
  3. ศรีสุทโธ

    ศรีสุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +461
    "ธรรมใดไม่เป็นไปเพื่อการออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งทุกข์
    ธรรมนั้นได้ชื่อว่าไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า".....ดังนี้

    "ธรรมะมีสภาวะมากเป็นเอนกปริยาย แต่ที่สุดทั้งสิ้นนั้นสรุปรวมที่จิตตัวเดียว"
     
  4. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ธรรมะนิพพาน

    พึงละความโศกถึงอดีต ละความคิดวิตกต่ออนาคต อยู่กับปัจจุบัน ขยายความ ก่อนอื่นเรามานั่งนึกนอนนึกถึงธรรม(กรรม)ในอดีตแห่งตน เพื่อพอระลึกถึงเป็นทางแห่งพ้นทุกข์ ไม่วิตกต่ออนาคตหมายความว่าไม่กะเกณฑ์มั่นหมายอย่างสุดโต่งว่าเราจะอะไร แล้วตกลงใจปลงธรรมลงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยึดเป็นสรณะ มีการประกอบกรรมในวิถีที่ดี เยี่ยม ไม่เบียดเบียน บริสุทธิ์ และดีงาม เรามีความสุข ผู้อื่นมีความสุข สังคมมีความสุข ศรัทธาเป็นแรงหนุนอันใหญ่สู่การศึกษาเล่าเรียน และออกสู่ภาคปฏิบัติ ควรมีสติเป็นตัวกำกับ(หลวงตาบัวท่านเน้นมากเรื่องสติ) ออกสู่ภาคปัญญาท่านเรียกวิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานคือที่ตั้งแห่งการงาน งานการปฏิบัติธรรมด้วยใจและสติปัญญา เมื่อจิตรู้ในข้อธรรมก็เพียรเพื่อให้หายสงสัย สมถะเป็นภาคความสงบนิ่งเงียบ สงัด ได้สมาธิได้ฌาณเพื่อเป็นการสู่ภาคปัญญาคือวิปัสสนาคือการใช้สติปัญญาพิจรณาธรรม พิจรณาในฌาณได้ก็จัดว่าดี พึงเห็นว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาหมายความว่ารูปนามเป็นอนัตตา ทั้งรูปทั้งนาม(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ),พิจรณาลึกลงที่กายตน เห็นว่ามันสักแต่ว่าธาตุเท่านั้นที่จิตมาครอง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ,ดินก็ไม่มี น้ำก็ไม่มี ลมก็ไม่มี ไฟก็ไม่มี เป็นความไม่มีพิจรณาลงที่กายรูปนามมันไม่มีเป็นอนัตตา คือความไม่ใช่ตัวตน สักแต่เป็นธาตุ กายเรากายเขาก็เป็นซากรอเผาผี เป็นของตาย เป็นของพร่อง มีอันจะต้องแตกดับในที่สุด คือทุกคนจะต้องตาย แล้วเราจะมัวประมาทอยู่ทำไม พิจรณากายทั้งหมดว่ามันแตกกระจัดกระจายเป็นท่อนๆนี้แลคืออนัตตา(ไม่ใช่ตัวตน) ตัวตนที่แท้จริงคือจิต(อันบริสุทธิ์) เมื่อเป็นพุทธะเรารู้เราตื่นเราเบิกบาน กายเรากายเขาเราไม่กำหนัดยินดี หลั่งเป้นครั้งสุดท้ายแล้วเราจะไม่ทำอีก พิจรณากายตั้งแต่หัวจรดเท้าว่ามันเป้นของตาย เป็นของพร่อง เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และธาตุมันก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน เป็นความไม่มี เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตน. ถ้ากามเราลด ละ เลิก เราก็ต้องสำรวม ไม่ประมาท! เราพิจรณาเห็นตามจริงว่ากายเรากายเขาเราต้องอาบน้ำทุกวัน เป็นของสกปรกเราไม่พึงหลงใหล เราดูที่จิตใจ ไม่ใช่รูปร่างหน้าตาอย่างเดียว รักเรารักให้เป็นให้ถูกบุคคล ไม่หักหลังกัน ซื่อสัตย์ต่อกันทั้งเวลาอยู่ด้วยกันและลับหลัง ศีลข้อที่ 3 เป้นกรรมหนักมาก อย่าทำ! ระวังตนไว้ในหมู่พวกเพื่อนฝูง ครอบครัว สังคม อย่าหูเบา อย่ากินแหนงแคลงใจกัน ซื่อสัตย์รักกัน เรื่องกามเสพเป็นแล้วดำริออก ไม่ว่าชายกับหญิง หญิงกับหญิง หรือชายกับชาย เราเห็นว่าจูบกันเราได้กลิ่นลมหายใจเหม็นๆ รักแร้มีขนสีดำน่ารังเกียจและมีกลิ่นเต่า รูทวารเป็นทางออกของขี้ อวัยวะเพศเป็นทางออกของน้ำเยี่ยว เป็นต้น พึงเบื่อไปเสีย เราเข้าใจว่ารูปนามไม่เที่ยง เป้นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน เป้นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตน. ดังนั้นเราก้พึงเบื่อพึงหน่ายไปเสีย แสวงหาความหลุดพ้นแห่งใจ ทำอาสวะกิเลสออกจากใจ ได้ด้วยทาน ศีล ภาวนา ตัวศีลคือความปรกติของกาย วาจา ใจ เมื่อให้ทาน ศีลดี ภาวนาเข้าใจ ใจและปัญญาย่อมหลุดพ้น ก็นิพพาน!
     
  5. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ปัญจกรรมฐาน

    ปัญจกรรมฐาน
    ปัญจกรรมฐานเป็นหัวข้อกรรมฐานที่พระอุปัชฌาประทานให้ในวันบวชของลูกผู้ชายชาวพุทธทุกคน ประกอบไปด้วย เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ
    หรือผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ท่านทั้งหลายลองพิจรณาดูลงมาที่ร่างกายหรือขันธุ์ในส่วนของรูป ก็จะพบว่ารูปของเราประกอบไปด้วยผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
    นั่นเอง การพิจรณาหรือยกขึ้นเป็นหัวข้อกรรมฐานในการภาวนาขณะนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมภาวนาก็ดี จุดประสงค์หลักก็เพื่อให้เข้าใจรูปว่ามันเป็นของสกปรก ไม่น่าหลงใหลหรือยึดมั่นถือมั่น หรือหลงใหลในความสวยความงาม อันเป็นเหตุให้เกิดความกำหนัดยินดีในรูป เป็นเหตุให้เกิดกามหรือความรู้สึกทางกาม ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบรรลุธรรม เพราะกามเป็นราคะ เป็นของร้อน ทำให้จิตใจเศร้าหมองขุ่นมัว และเป็นกิจกรรมที่น่าละอาย ควรจะเป็นกิจกรรมที่ปกปิด กามทำให้สติปัญญาเสื่อมถอย เลอะเลือน และทำผิดทำนองคลองธรรมได้
    การภาวนาเกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ หรือผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็ให้ภาวนาว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง สักแต่ว่าเป็นธาตุเท่านั้นเอง อันได้แก่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ มาประกอบกันเข้าด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสม เกิดเป็นรูปเป็นร่างของธรรมต่างๆเหล่านี้ และมันเป็นของสกปรก พิจรณาให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งาม เป็นของตาย เป็นของพร่อง มีการตายอยู่ตลอดเวลา มีกลิ่นเหม็น ต้องอาบต้องทา ต้องแปรงอยู่ทุกวัน วันละหลายๆเที่ยว เพื่อกันกลิ่นอันไม่พึงประสงค์
    ลองดูสิไม่ว่าสวยหรือหล่อแค่ไหน ลองไม่อาบน้ำไม่แปรงฟันสัก 2-3 วัน เราจะไปกอดไปจูบลงไหม เราจะอยากเข้าใกล้ไหม เราก็คงได้กลิ่นเหม็นจนแทบจะอาเจียร นี่แหละพระพุทธเจ้าท่านสอนธรรมท่านก็สอนให้พิจรณาอย่างนี้ ว่ากายนี้หรือรูปนี้มันเป็นของสกปรก พิจรณาในขั้นต้นยังไม่ต้องถลกหนังออกไปจนเห็นภาพโครงกระดูกก็จะเห็นว่ารูปนี้กายนี้เป็นที่รวมของสิ่งปฏิกูลโสโครก ไม่พึงหลงใหลทั้งกายเรากายเขา เรามีท่าทีก็เพียงแต่รักษาความสะอาดเท่านั้นเอง แต่อย่าหลงใหล อย่าคลั่งใคล้ อย่าเสพกามอย่างเอาเป็นเอาตาย จะไปหลงอะไรกับผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ทั้งของเราของเขา พิจรณาบ่อยๆว่ามันเป็นของโสโครก สกปรก มีกลิ่นเหม็น และเป็นเพียงธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้นเอง เมื่อพิจรณาจนชำนาญ จิตย่อมหลุดพ้น ปัญญาย่อมมีญาณหลุดพ้น ว่าเราหลุดพ้นแล้วเป็นลำดับลำดาไป ราคะเราก็จะลดลง นี้ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่เราจะนิพพาน.....
     
  6. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ท่านเจตนา ฝากพิจรณาลงในท่องแดนธรรมด้วยนะครับ,ศรัณย์
    การรักษาใจ เพื่อความเป็นสุขในปัจจุบัน
    พระอริยะท่านกล่าวว่า สมบัติอันเลอค่าก็คือใจ เราพึงรักษาใจกันเถิด ใจคืออะไร ใจเป็นนามหรือนามธรรม เป็นความรู้สึกของเรา
    ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี รู้โลภ โกรธ หลง ราคะ โทสะ โมหะ ต่างๆเป็นต้น เหล่านี้คือความรู้สึกของใจ กล่าวถึงความรู้สึกในฝ่ายกุศลบ้าง
    อันได้แก่ ความรัก ความปรารถนาดี ความเมตตา ความเห้นใจ ความคิดช่วยเหลือ ความดำริในการให้ทาน การให้อภัย เป็นต้น
    เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องของใจ เป้นความรู้สึกของใจ เวลาที่อายตนะทั้ง 6 ของเรากระทบกับอายตนะภายนอกที่เราเรียกว่าเกิดผัสสะ
    เราจะรู้สึกว่ามันกระทบ ใจของเราจะเกิดความปรุง ถ้าเป็นความสุข ใจก้จะชอบ ถ้าเป้นความทุกข์ ใจก็จะไม่ชอบ ถ้าเราดับความปรุงของใจ(สังขาร)
    ได้ เราก้จะอยู่เป้นสุขในทุกเมื่อ เราก้ต้องรู้ว่า ธรรมที่มากระทบใจนั้นมันไม่เที่ยง มันเป้นของแปรปรวน เป้นของโลกๆ เป้นของปรุงแต่ง เป้นของทุกข์
    เป้นของที่ต้องแบก เป้นของไม่ใช่ตัวตน เป้นของไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเรารู้อย่างนี้เราย่อมปล่อยวาง ไม่ให้มันกระทบเรา เราไม่เอา เราไม่ให้สังขารเราเตลิด
    เราควบคุมใจไม่ให้ฟุ้ง กระทบก้สักแต่ว่ารู้แล้วรู้ เรารู้ แล้วเราจะรู้เอง เราไม่เอา ทุกข์เราไม่เอา เราไม่ให้มันกระทบ เรารักษาใจ เราให้ใจเราเป้นสุขและเบิกบานอยู่ทุกเมื่อ เพราะเรารักษาใจ อนัตตาเราไม่เอา เมื่อเราภาวนา เราเข้าใจว่า สิ่งที่มากระทบมันไม่เที่ยง มันเป็นของทุกข์ มันไม่ใช่ตัวตนของเรา
    เราก้วางมันเสีย ไม่พึงยึดมั่นถือมั่น เราไม่ยึดมั่นถือมั่นในธรรม(สิ่ง,เรื่อง) เหล่านั้น ใจเราก็ย่อมอยู่เป้นสุข ในทุกอริยาบถ ในกาลทุกเมื่อแล.....
     
  7. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    การภาวนา

    การภาวนาที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นการภาวนาจากประสพการณ์ในการภาวนา 4-5 ปีของข้าพเจ้า
    การภาวนามีอยู่หลายอย่าง เช่น สติปัฐฐานสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม
    ที่จะกล่าวต่อไปนี้สงเคราะห์เข้าในหมวดของธรรม คือการพิจรณาขันธุ์ห้าให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา (ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน)
    ก่อนอื่นเรามาพิจรณาความหมายของขันธุ์ห้ากันก่อน
    ขันธุ์ห้า หรือกองห้า ประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    รูปคือร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า ประกอบไปด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ
    ธาตุดิน เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กระดูก เป็นต้น
    ธาตุน้ำ เช่นเลือด น้ำลาย น้ำปัสสาวะ เป็นต้น
    ธาตุลม เช่น ลมหายใจ อ๊อกซิเจนในเม็ดเลือด เป็นต้น
    ธาตุไฟ เช่นความร้อนในร่างกาย เป็นต้น
    เวทนาคือความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ของกาย และใจ
    สัญญาคือความจำได้หมายรู้ เช่น จำคนได้ จำรสได้ จำกลิ่นได้ จำเสียงได้ เป็นต้น
    สังขารคือความปรุงของใจ มีทั้งปรุงดี ปรุงชั่ว หรือปรุงอย่างเป็นกลางๆ (คนละความหมายกับสังขารที่แปลว่าสังขารร่างกาย)
    วิญญาณคือการรับรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ เช่น เมื่อตากระทบกับรูป (เกิดผัสสะ,ในปฏิจจสมุปปบาท) ก็จะเกิดวิญญาณทางตาขึ้น
    เป็นต้น (วิญญาณทางอื่นก็พิจรณาได้ในทำนองเดียวกัน)
    ต่อไปเป็นการภาวนา
    รูปประกอบไปด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ
    ธาตุดิน เช่นผม ผมมีการเกิดขึ้น งอกขึ้นมา เป็นเส้นเล็กๆ แล้วก็โตขึ้น ยาวขึ้น แล้วก็หยิก งอ บิด เบี้ยว หงอก เปลี่ยนสี หลุดร่วงไปในที่สุด
    แสดงว่าผมมีการเปลี่ยนแปลง นั่นคือธาตุดินไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง พระพุทธเจ้าตรัสว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน
    คือเป็นอนัตตา เพราะเราบังคับบัญชามันไม่ได้ ธาตุดินจึงไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ธาตุดิน ธาตุดินเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา
    การพิจรณาธาตุน้ำ ลม ไฟ ก็พิจรณาให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ในทำนองเดียวกัน
    รูปนั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปในอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ภายนอก หรือภายใน หยาบ หรือละเอียด ไกล หรือไกล้ ล้วนไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่รูป
    รูปไม่มีในเรา เราไม่มีในรูป รูปสักแต่ว่าเป็นธาตุ พึงพิจรณาให้เห็นว่ารูปสักแต่ว่าเป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา
    คือรูปไม่เที่ยง รูปเป็นทุกข์ และรูปไม่ใช่ตัวตน
    เวทนา บางครั้งเรารูสึกเป็นสุข บางครั้งเรารู้สึกเป็นทุกข์ หรือบางครั้งเรารู้สึกเฉยๆ ทั้งทางกายและทางใจ
    แต่ว่าความรู้สึกเหล่านี้มันก้เกิดขึ้นชั่วคราว แล้วก้เปลี่ยนไป หรือสลับกันไป เป็นต้น
    นั่นคือ เวทนาก็ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน คือเป็นอนัตตา เพราะเราไม่สามารถบังคับบัญชาได้
    เวทนาจึงไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เวทนา เวทนาไม่มีในเรา เราไม่มีในเวทนา เวทนาเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา คือ เวทนาไม่เที่ยง เวทนาเป็นทุกข์
    และเวทนาไม่ใช่ตัวตน
    สัญญา ความจำได้หมายรู้ เราคงไม่สามารถจำอะไรได้ตลอดไป บางครั้งจำได้ แล้วก็ลืม
    นั่นคือสัญญาไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน คือเป็นอนัตตา เพราะเราไม่สามารถบังคับบัญชาได้
    สัญญาจึงไม่ใช่เรา เราไม่ใช่สัญญา สัญญาไม่มีในเรา เราไม่มีในสัญญา สัญญาเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา คือสัญญาไม่เที่ยง สัญญาเป็นทุกข์
    และสัญญาไม่ใช่ตัวตน
    สังขาร ความปรุง บางครั้งจิตเราก้ปรุงดีบ้าง ปรุงชั่วบ้าง ปรุงอย่างเป็นกลางๆบ้าง กลับไปกลับมา แต่ไม่ได้ปรุงเรื่องใดไปตลอด
    นั่นคือสังขารไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป้นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน คือเป็นอนัตตา เพราะเราไม่สามารถบังคับบัญชาได้
    สังขารจึงไม่ใช่เรา เราไม่ใช่สังขาร สังขารไม่มีในเรา เราไม่มีในสังขาร สังขารเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา คือสังขารไม่เที่ยง สังขารเป้นทุกข์
    และสังขารไม่ใช่ตัวตน
    วิญญาณ ได้แก่การรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    จะขอยกตัวอย่างเฉพาะวิญญาณทางตา
    ตาสามารถมองเห็นรูปได้ชัดเจนในที่ที่มีแสงสว่าง แต่ไม่สามารถมองเห็นรูปได้ชัดเจนในที่มืด แสดงว่าตาก้ไม่เที่ยง หรือวิญญาณทางตาก็ไม่เที่ยง
    สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน คือเป็นอนัตตา เพราะเราไม่สามารถบังคับบัญชาได้
    การพิจรณาวิญญาณทางหู จมูก ลิ้น กาย และใจก็ให้พิจรณาให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ในทำนองเดียวกัน
    นั่นคือ วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน
    เมื่อพิจรณาจบแล้วเราจะเห็นได้ว่า ขันธุ์ห้าหรือชีวิตของเราล้วนตกอยู่ในสภาวะของอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา เราพึงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในขันธุ์ห้า
    หรือพิจรณาเพื่อปล่อยวางหรือรู้เห็นตามความเป็นจริง
    การพิจรณาอย่างนี้ถ้าทำเป็นสมาธิท่านเรียกว่าการทำวิปัสสนากรรมฐาน จะทำความสงบใจก่อนก้ได้ กำรทำภาคความสงบใจท่านเรียกว่า สมถะกรรมฐาน
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า สมถะเป็นการสำรอกราคะ วิปัสสนาเป็นการสำรอกอวิชชา ในการปฏิบัติอาจทำสมถะก่อนแล้วตามด้วยวิปัสสนาก้ได้
    การมีอุปาทานในขันธุ์ห้านี้แหละพระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ อุปาทานอื่นก้ไม่อื่นไปจากอุปาทานในขันธุ์ห้า ละอุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่น)
    ในขันธุ์ห้าได้ก็เรียกว่าตรัสรู้ธรรม วิธีหนึ่งที่จะละได้ก็คือการภาวนาดังที่กล่าวมานั้นแล....สาธุ
    โดย สันดุสิต
     

แชร์หน้านี้

Loading...