ว่าด้วยศูนย์พักพิงผู้อพยพ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูติอาคเนย์, 22 ตุลาคม 2011.

  1. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลครับเดี๋ยวขอโหลดเก็บไว้ก่อนเน็ตล่ม
     
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    จะถึงปลายทาง พบวันที่สดใส ด้วยใจเพียรมุ่งมั่น

    [​IMG]



    เมื่อ "พ่อ" ยังมุ่งมั่น ไม่ "ท้อ"

    เราเอง ก็จะมีแรงใจ "สู้ต่อ"

    ชีวิตคนจะล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร




    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1738168/[/MUSIC]​
     
  3. kit@kit

    kit@kit สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +21
    ค่ายลูกเสือ วชิราวุธ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่พัก 2 พันคน จอดรถได้เป็นพันคัน ครับ สอบถามเส้นทางได้ที่ผม กฤษ 0871709064 รีบๆหน่อยน่ะครับ
     
  4. sinless

    sinless เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +534
    ครม.ให้หมื่นครอบครัวอยู่ฟรีบ้านพักอุทยาน

    ครม.ไฟเขียว ให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมพักบ้านพักในอุทยานแห่งชาติใกล้ กทม.
    กว่า 30 แห่ง รวม 10,000 ครอบครัว ฟรี พร้อมสั่งระดมเครื่องสูบน้ำจากทั่วประเทศ
    มาช่วยกรุงเทพฯ​ สูบน้ำออก

    นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เปิดเผยว่า
    ครม.อนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรฯเสนอให้ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมไปเข้าพัก
    ในบ้านพักของอุทยานแห่งชาติได้ฟรี ซึ่งมีกว่า 30 แห่ง ในจังหวัดใกล้กรุงเทพฯ
    เช่น ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ราชบุรี ปราจีนบุรี ซึ่งมีบ้านรองรับได้ประมาณ
    10,000 ครอบครัว โดยติดต่อได้ที่ศปภ.เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค.เป็นต้นไป
    ซึ่งบ้านพักของอุทยานแห่งชาติมีทัั้งที่เป็นทะเลและภูเขา

    [​IMG]

    นายปรีชา เปิดเผยว่า ขณะเดียวกัน ครม.เห็นชอบตามที่ตนเสนอให้กระทรวงมหาดไทย
    ติดต่อนำเครื่องสูบน้ำของทุกจังหวัดทั่วประเทศที่ไม่ประสบอุทกภัยหรือจาก 56 จังหวัด
    ระดมเข้ามาช่วยสูบน้ำช่วยกรุงเทพฯ ซึ่งแต่ละจังหวัดมีเป็นร้อยเครื่อง ซึ่งกระทรวงทรัพยากรฯ
    จะเป็นแม่งานในการติดตั้งเครื่องสูบน้ำตามคำแนะนำของกรมทรัพยากรน้ำ
    และให้เจ้าหน้าที่ของสำนักทรัพยากรน้ำแต่ละภาคที่ไม่ประสบอุทกภัยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ
    เพื่อมาช่วยกันดูแลระบบระบายน้ำ รวมแล้วได้ประมาณ 500 คน ขณะเดียวกันได้สั่งเจ้าหน้าที่
    กรมอุทยานแห่งชาติที่มี 30,000 คน มาช่วยเหลือการอพยพของประชาชนโดยให้ผลัดเวร
    เป็นวันละ 3 กะ กะละ 10,000 คน ให้หมุนช่วยเหลือกันตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน


    ไทยรัฐออนไลน์
    โดย ทีมข่าวการเมือง 25 ตุลาคม 2554, 19:13 น.
    <A href="http://cooloo.org/browse.php/Oi8vd3d3/LnRoYWly/YXRoLmNv/LnRoL2Nv/bnRlbnQv/cG9sLzIx/MTgyOQ_3/D_3D/b13/" target=_blank>http://cooloo.org/browse.php/Oi8vd3d3/LnRoYWly/YXRoLmNv/LnRoL2Nv/bnRlbnQv/cG9sLzIx/MTgyOQ_3/D_3D/b13/

    เบอร์โทรฉุกเฉิน

    ศูนย์พักพิงของทางราชการ
    1111 กด 5

    สำนักนายกรัฐมนตรี
    1111

    สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย)
    1784

    บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี
    1669

    ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท
    1146

    ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    1193

    การรถไฟแห่งประเทศไทย
    1690

    สายด่วน กฟภ.
    1129

    ท่าอากาศยานไทย
    02-535-1111

    ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส
    02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822

    ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ
    0-2243-6956

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี
    0-3641-4480-1 , 0-3641-1936

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก
    0-5523-0537-8 , 0-5523-0394

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    0-3533-5798 , 0-3533-5803

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา
    035 – 241-612

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก
    0-5551-5975

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี
    0-3652-0041

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อ่างทอง
    0-3564-0022

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์
    0-5625-6015

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี
    0-2591-2471

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี
    0-2581-7119-21

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร
    0-5661-5932

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก
    0-3738-6209 , 0-3738-6484

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี
    0-3553-6066-71

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี
    0-3621-2238

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย
    0-5561-2415

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี
    0-5652-4461

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์
    0-5544-4132

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง
    0-5426-5072-4

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่
    0-5321-2626

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน
    0-5356-2963

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี
    0-4531-2692 , 0-4531-3003

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย
    0-4286-1579 , 0-4296-1581

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท
    0-5641-2083

    ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง
    ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1
    02-281-5443

    ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่
    053-248925, 053-262683

    ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน
    053-202609

    ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ
    053-222-479 ( 24 ชั่วโมง )

    สนง.ชลประทานจังหวัดสมุทรสาคร
    034-881175, 034-839037 ต่อ 11


    » สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร. 054-741061

    » ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 054-792433

    » ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร. 054-710-232

    » สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784 รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง

    » สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)

    » ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 075 -383405,075-383253

    » แจ้งขอความช่วยเหลือและปัญหาน้ำท่วม ได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไทยพีบีเอส โทร. 02-791-1113 หรือ 02-791-1385-7

    » ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โรงเรียนเทศบาล1 ตลาดเก่า จ.กระบี่ โทร 0-7566-3183

    » เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 199, 075-348-118, 075-342-880-3 ตลอด 24 ชม.

    » สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง

    » ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356

    » ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146

    » การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

    » บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490

    » ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

    » หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669 กู้ชีพฟรี 24 ชั่วโมง

    » ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย นครศรีธรรมราช โทร. 075 358 440-4 รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง

    » รพ. เทศบาลนครนครศรีฯ หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรติดต่อได้ที่ 075 356 438 หรือ 075 356 014 ตลอด 24 ชั่วโมง

    » ม.วลัยลักษณ์ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา โทร. 0 7567 4013 ต่อ 4013

    » มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร. 075 345 599

    » มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง ต้องการความช่วยเหลือ โทรแจ้ง 075 343 602 ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง

    » ท่าอากาศยานไทย 02 535 1111

    » บางกอกแอร์เวย์ส (Bangkok Airways) 1771

    » นกแอร์ (Nok Air) 1318, 02900 9955

    » นกแอร์ นครศรีธรรมราช 075 369 325

    » นกแอร์ สุราษฎร์ธานี 077 441 275-6

    » แอร์เอเชีย 02 515 9999

    » การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 075-763-337 หรือ 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง

    » การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครศรีธรรมราช 0 7535 6044

    » การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอท่าศาลา 0 7552 1180

    » การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสิชล 0 7577-1666, 0 7577 1592

    » การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุราษฎร์ธานี 0 7727-2132

    » การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะสมุย 0 7742 0995

    » โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช 0 7534 0250

    » ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือ จ.สุราษฏร์ธานี "สภาองค์กรชุมชนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย สุราษฏร์ธานี" ผู้ประสานงาน นายศุภวัฒน์ กล่อมวิเศษ โทร. 082-814-9381 , นายประวีณ จุลภักดี โทร. 081-397-7442

    » ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ. ชุมพร โทร. 077- 502-257 หรือ 077-503-230 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

    » ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ.พัทลุง โทร.074-620-300 และ 074-611-652 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

    » สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ. สุราษฎร์ธานี โทร 077-275-550-1 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

    » สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ. กระบี่ โทร 075-612- 639 หรือ 075-612-649 หรือ 075-612-735 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

    » กรมสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง

    » คปภ. นครศรีธรรมราช - ศูนย์รับแจ้งเหตุผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านการประกันภัย โทร. 075-347322, 081-1748941

    ที่มา http://www.thaiflood.com/phonebook/

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2011
  5. thavornsiripat

    thavornsiripat สิ่งใดไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มี เป็นธรรมดา เช่นนั้นเอง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    2,069
    ค่าพลัง:
    +13,915
    เขตห้วยขวาง จาก 8 ศูนย์ เหลือ 1 ศูนย์ โรงเรียนพระราม9 กาญจนาภิเษกครับ ข้าราชการ-ลูกจ้างทำงานปกติ
     
  6. kit@kit

    kit@kit สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +21
    ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี พักได้ 2 พันคน จอดรถ ได้มากกว่า 1 พันคัน
    สอบถามเส้นทางที่ผมได้ ครับ กฤษ 0871709064 ตัดสินใจด่วนครับ พักฟรี
    พิกัด GPS
    13°10'52.26"N
    100°56'13.25"E
     
  7. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ขอบพระคุณและโมทนา คุณบุญญสิกขา คุณกฤษและทุกท่านที่ช่วยกันให้ข้อมูล รวมเป็นกระทู้ใหม่เลยก็ได้ครับใครตั้งก็ได้

    ปล.ถึงคุณบุญญสิกขาผม pm ไปไม่ได้ไม่ทราบเป็นอะไร แต่ผมอยากแนะนำให้ท่านลองพูดว่าชวนไปเที่ยว ไปทำบุญซักอาทิตย์นึงดูครับ ลองเปลี่ยนจากคำว่าอพยพเป็นไปเที่ยว ไปทำบุญ ซักอาทิตย์เดี๋ยวค่อยกลับบ้าน จะทำให้คนที่ไม่อยากอพยพตัดสินใจไปง่ายขึ้น
     
  8. sinless

    sinless เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +534
    แผนที่ แสดงเส้นทางเลี่ยง ภาคเหนือ

    แผนที่ แสดงเส้นทางเลี่ยง ภาคเหนือ

    [​IMG]

    http://maintenance.doh.go.th/bypass1.jpg
     
  9. sinless

    sinless เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +534
    แผนที่ แสดงเส้นทางเลี่ยง ภาคอีสาน

    แผนที่ แสดงเส้นทางเลี่ยง ภาคอีสาน

    [​IMG]

    <A href="http://maintenance.doh.go.th/bypass3.jpg">http://maintenance.doh.go.th/bypass3.jpg
     
  10. sinless

    sinless เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +534
    แผนที่ทางเลี่ยง ออกจากกรุงเทพฯ สู่ภาคเหนือและภาคอีสาน

    แผนที่ทางเลี่ยง ออกจากกรุงเทพฯ สู่ภาคเหนือและภาคอีสาน

    [​IMG]

    <A href="http://maintenance.doh.go.th/bypass4.jpg">http://maintenance.doh.go.th/bypass4.jpg


    แผนที่แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวงทั่วประเทศ

    http://maintenance.doh.go.th/test.html

    สอบถามเส้นทางได้ที่ กรมทางหลวง
    Call Center 1586
    โทร. 02-354-6551 02-354-6668-76 ต่อ 2014
    โทรสาร 02-664-5500
     
  11. kit@kit

    kit@kit สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +21
    ขอ update ข้อมูลที่ค่ายลูกเสือวชิราวุธ เป็นสถานที่เตรียมการสำรองเท่านั้น ให้ผู้ที่ต้องการเข้าพักทั้งหมดไปติดต่อที่ ศูนย์วิทยาลัยพลศึกษาชลบุรีก่อน

    เป็นที่แรก จนกว่าจะเต็ม เนื่องจากทางจังหวัดชลบุรีได้เตรียมการช่วยเหลือด้านอาหาร และ แพทย์ไว้เรียบร้อยแล้ว และเพื่อความเป็นระเบียบในการจัดการ

    วันนี้ผมได้ไปติดต่อที่ค่ายลูกเสีอแล้ว ได้เตรียมเฉพาะที่พัก และยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการ อีกทั้งได้ปลดป้ายการเปิดเป็นศูนย์ออกแล้วด้วย (แล้ว
    จะออกข่าวไปทำไม)

    สอบถามเส้นทางไปวิทยาลัยพลศึกษาชลบุรีได้ที่เบอร์ 038-288077 และ 038-283261 (เชื่อเหอะโทรติดยาก)
    เบอร์ค่ายลูกเสือวชิราวุธ 038-311132
    และต้องขออภัยสำหรัข้อมูลก่อนหน้านี้ เรื่อการเปิดศูนย์ที่ค่ายลูกเสือฯ (ก็มันติดป้ายจริงๆอ่ะ ถามแล้วก็บอกว่าเปิด แต่วันนี้ บอกปิด ...งงงง)

    หรือสอบถามเส้นทางที่ผมก็ได้ ครับ กฤษ 0871709064

    พิกัด GPS พลศึกษาชลบุรี
    13°24'39.90"N
    100°59'25.35"E
     
  12. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    เห็นด้วยกับคุณภูติอาคเนย์ค่ะ น่าลองดูนะคะคุณบุญญสิกขา
    ชวนไปเที่ยว ไปทำบุญ :cool:
     
  13. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    กราบขอบพระคุณ มิตรไมตรีความห่วงใยค่ะ




    [​IMG]


    กราบขอบพระคุณท่านๆ ค่ะ
    ขณะนี้ กรณีอุปสรรคของบุญญสิกขา คลี่คลายแล้วค่ะ
    พี่ชาย และคุณน้าที่ศรีราชา ได้มารับดำเนินการช่วยเหลือแล้วค่ะ :cool:

    ผ่อนสถานการณ์ พอจะมีเวลาอัพข้อมูลเพื่อประโยชน์ท่านๆ ได้บ้างตามโอกาสอำนวยค่ะ

    คุณธรรมของผู้มีธรรม จะยังโลกสว่างไสว จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2011
  14. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ดีใจกับคุณบุญญสิกขาด้วยครับในที่สุดก็แก้ปัญหาได้อีกหนึ่งเปราะ
    ส่วนผมโล่งไปหนึ่ง ขอให้คุณพ่อคุณแม่อพยพได้สำเร็จ ตอนนี้เดินทางถึงที่หมายแล้วครับ :)

    ข้อมูลสำหรับการอพยพ ลงใต้
    ท่านที่กำลังกังวลเรื่องระดับน้ำ สามารถเช็คจากแผนที่ google map ตามการวิเคราะห์ของ ดร.เสรีได้ที่นี่

    หากพื้นที่ๆท่านอาศัยมีน้ำล้อมรอบระดับ 1เมตรขึ้นไป แนะนำให้อพยพไปศูนย์พักผิงในตจว ครับเพราะการจัดส่งเสบียงและกำลังบำรุงจะยากลำบากมาก เพราะน้ำจะท่วมขังอย่างน้อย 1-2 เดือน

    สำหรับท่านที่สอบถามเรื่องรถโดยสาร เพื่อลงใต้นะครับ สามารถไปได้ 3 แบบคือ
    1.รถตู้ กทม - ประจวบ

    ส่วนรถประจำทางขึ้นที่สายใต้ใหม่ค่ะรถออกทุก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่ 06.30-01.30 น. ราคาประมาณ 170 บาท ป.1 ส่วนรถตู้มี 2 วินค่ะ แบบผ่านหัวหินกะแบบไม่ผ่านค่ะ รถตู้วินที่ผ่านหัวหินขึ้นได้ที่อนุสาวรีย์ โทร.จอง 082-5266962 ขึ้นที่สายใต้ เบอร์ 080-2926233 ขึ้นที่หมอชิต 083-7861489 ราคาประมาณ 220-250 ตามจุดขึ้นและลง เวลา 05.00-18.00 น.
    ส่วนรถตู้อีกวินแบบไม่ผ่านหัวหินเข้าบายพาสประจวบขึ้นรถที่ ปั๊ม ปตท ตรงข้ามสมาคมปักใต้ รึโทร.แจ้งจุดขึ้นรถได้ที่ 089-2085863 เวลา 04.00-19.00 น.ราคา 200 บาท วินนี้ เขารับส่งจ้ะ สามารถส่งได้ถึงคลองวาฬ ประจวบจร้า

    ที่มา รถตู้ไปประจวบ

    หมายเหตุ : รถตู้ กทม-ชุมพรยกเลิกไปแล้วครับ

    2.รถไฟ เช็คเส้นทางเดินรถราคาและเวลาได้ที่นี่

    แต่ เส้นทางเดินรถลงใต้มีการปรับแผนเนื่องจากน้ำท่วมรางที่บางบำหรุนะครับ โดยการรถไฟจะใช้รถยนต์ไปส่งผู้โดยสารที่สถานีนครปฐมแทนอ่านรายละเอียดเพิ่ม เติมได้ที่นี่

    3.รถโดยสาร บขส ตรวจสอบเส้นทางเดินรถได้ที่นี่
     
  15. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ศึกษากรณี การจัดตั้งศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย

    บทเรียนการจัดการตั้งศูนย์พักพิง
    ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม
    ของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์
    จัดทำโดย
    คณะกรรมการ KM โรงพยาบาลสวนสราญรมย์
    มิถุนายน 2554
    <o></o>

    <o></o>
    คำนำ
    <o></o>เหตุการณ์พิบัติภัยน้ำท่วมในจังหวัดสุราษฏร์ธานี และใกล้เคียง เมื่อเดือนเมษายน 2554 ที่ผ่านมา เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดความสูญเสีย และกระทบกับประชาชน ตลอดจนบุคลากรของโรงพยาบาลเองอย่างกว้างขวาง แบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คณะกรรมการ KM ของโรงพยาบาลได้รับมอบหมายจากโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ให้ดำเนินการถอดประสบการณ์ วิธีการดำเนินการในการจัดตั้งศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ซึ่งได้มีการดำเนินการขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตรอบ ๆ โรงพยาบาล เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ และการเตรียมสำหรับการจัดตั้งศูนย์พักพิงในอนาคต
    <o></o>
    <o></o>
    คณะกรรมการได้รับความร่วมมืออย่างดีเยี่ยมจากคณะกรรมการทีมนำ ผู้ปฏิบัติงานจิตอาสา และนำเรื่องเล่าเหล่านั้นมาร้อยเรียงถอดเป็นความรู้และข้อเสนอแนะที่มีคุณค่าต่อองค์กรและสังคมอย่างมาก คณะกรรมการขอขอบคุณบุคลากรทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการให้ประสบการณ์ และเป็นคุณอำนวยคุณลิขิตในกิจกรรมกลุ่มดังกล่าว และหวังว่าความรู้เหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปในการประยุกต์ใช้ระหว่างเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ และใช้ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติโดยเฉพาะเหตุการณ์น้ำท่วมในอนาคตได้คณะกรรมการ KM
    โรงพยาบาลสวนสราญรมย์<o></o>
    <o></o>
    มิถุนายน 2554
    <o></o>


    ====================
    <o></o>
    <o></o>

    การบริหารจัดการศูนย์พักพิงช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม <o></o>
    การจัดตั้งศูนย์พักพิงช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรณีน้ำท่วมในจังหวัดสุราษฏร์ธานี ช่วงเดือนเมษายน โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ได้บริหารจัดการให้การปฏิบัติงานของศูนย์พักพิง สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้อยู่พักพิงระหว่างการประสบภาวะเดือดร้อนได้อย่างมีความสุข และได้รับความพึงพอใจและได้กลับไปยังบ้านของตนอย่างปลอดภัยสิ่งที่คณะกรรมการบริหาร และบุคลากรผู้มีจิตอาสาช่วยเหลือดำเนินการในช่วงเวลานั้น เมื่อนำมาถอดประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานมีสิ่งดี ๆ ที่ค้นพบ และข้อเสนอแนะสำหรับการเตรียมการดำเนินการครั้งต่อไป เพื่อให้มีคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

    <o></o>
    การจัดการด้าน ระบบฐานข้อมูลของศูนย์ฯ<o></o>
    ระบบฐานข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ การดำเนินการให้ได้ข้อมูลของผู้พักพิงที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และถูกต้องสามารถส่งต่อให้กับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือให้ครบถ้วน เช่นเงินชดเชย ของบริจาค เป็นต้นซึ่งวิธีการที่โรงพยาบาลทำได้ดีแล้ว คือ<o></o>
    - มีการลงทะเบียนผู้ประสบภัยในระบบ digital ที่สามารถพิมพ์ข้อมูลได้ทันทีที่ต้องการเรียกใช้<o></o>
    - การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของ สปสช. เพื่อค้นหาเลขที่บัตรประชาชน เพราะบางคนบัตรประชาชนหาย ทำให้สามารถทำข้อมูลทันตามที่ต้องการ

    ข้อเสนอแนะ<o></o>
    - มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบโดยตรง<o></o>
    - ศึกษาและการออกแบบฟอร์มให้ตรงกับความต้องการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการเพื่อสามารถส่งข้อมูลให้ได้<o></o>
    - ตั้งโต๊ะลงทะเบียนให้ชัดเจน และมีการสรุปยอดที่ชัดเจน และวางแผน ส่งต่อ สรุปข้อมูล ปัญหาให้ผู้บริหารทราบทุกวัน<o></o>
    - สำหรับการสำรวจ ควรเข้าไปเก็บข้อมูลในช่วงเวลากลางคืนเพราะจะทำให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน<o></o>
    - เพื่อให้ได้ข้อมูลของผู้ประสบภัยครบถ้วน ควรมีการวางแผนการทำงานแบบวันต่อวัน<o></o>
    <o></o>

    =====================<o></o>
    <o></o>
    การบริหารจัดการทั่วไป<o></o>
    เนื่องจากในครั้งนี้การจัดตั้งศูนย์พักพิงถูกกำหนดขึ้นจากสถานการณ์ที่ฉุกเฉิน โดยไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า แต่สิ่งที่โรงพยาบาลทำได้อย่างดี คือ ท่านผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้สั่งการมอบหมายให้ผู้บริหารของโรงพยาบาลแต่ละคนรับผิดชอบในหน้าที่แต่ละอย่าง เช่น มอบหมายให้รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารรับผิดชอบเรื่องอุปโภคบริโภค ให้รองแพทย์ดูแลเรื่องการรักษา หัวหน้ากลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ดูแลเรื่องของบริจาค และท่านผู้อำนวยการเป็นติดตามผลการดำเนินงานแต่ละวัน คอยดูแลช่วยเหลือให้กำลังใจ ซึ่งทำให้การบริหารได้รวดเร็ว ทำให้ทุกคนมาร่วมใจเพราะมาจากกำลังใจ ที่เห็นผู้บริหาร<o></o>
    ลงมือปฏิบัติ

    <o></o>
    ข้อเสนอแนะ<o></o>
    - ควรมีการมอบหมายหัวหน้าศูนย์พักพิง<o></o>
    - แต่งตั้งคณะทำงาน ซึ่งมีผู้ประสานงานทั้งประสานงาน ภายนอก –ภายใน และควรมีการประชุมร่วมกันทุกวัน<o></o>
    - ควรมีหัวหน้าผู้มาพักพิง<o></o>
    - เตรียมพร้อม ทั้งรถยนต์ และเครื่องมือสื่อสาร<o></o>
    - กำหนดจุดประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าว จุดลงทะเบียน จุดลงทะเบียน<o></o>
    - ติดตั้งแผนผังผู้รับผิดชอบพร้อมเบอร์โทรศัพท์
    - จัดระบบเวรเพื่อดูแลความปลอดภัย<o></o>
    - กำหนดกฎระเบียบการใช้ศูนย์พักพิง<o></o>
    - ควรมีตู้แสดงความคิดเห็น<o></o>
    <o></o>
    ================
    <o></o>
    <o></o>
    การจัดการทางด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม การจราจร ระบบความปลอดภัย และโครงสร้าง<o></o>
    สิ่งสำคัญที่ทำให้การจัดตั้งศูนย์พักพิงเป็นสถานที่ที่ผู้ประสบภัยสามารถใช้ชีวิตชั่วคราวได้อย่างมีความสุขคือ การบริหารจัดการทางด้านกายภาพ โครงสร้างสิ่งแวดล้อม และการจราจร ตลอดจนระบบความปลอดภัยที่อำนวยความสะดวกทั้งต่อผู้พักพิงในศูนย์ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้มาติดต่อ ซึ่งโรงพยาบาลได้ดำเนินการที่ดีแล้ว ดังต่อไปนี้<o></o>
    <o>
    </o>
    - สำหรับเรื่องการจราจรได้ใช้ระบบจิตอาสาซึ่งเป็นบุคลากรของโรงพยาบาลดำเนินการดูแลความปลอดภัยภายในเอง โดยแบ่งการทำงานเป็นทีมมีบริเวณหน้าประตูทางเข้าทุกด้าน ครอบคลุมทุกกะ<o></o>
    โดยมีหน้าที่ในการบริหาร จัดการซึ่งผู้ปฏิบัติงานทุกคน มีเสื้อเป็นสัญลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดจุดเพื่อให้เฮลิคอปเตอร์ลงสะดวกด้วย<o></o>
    - การจัดการด้านขยะ ใช้วิธีการแยกขยะ<o></o>
    <o></o>
    ข้อเสนอแนะ<o></o>
    - โรงพยาบาลควรเตรียมสถานที่สำหรับใช้เป็นศูนย์พักพิงให้ชัดเจน ซึ่งมีความพร้อมในด้านที่สำรองน้ำไฟฟ้า และมีหน่วยงานรับผิดชอบทำความสะอาด 1 ครั้ง/สัปดาห์<o></o>
    - ควรมีผู้รับผิดชอบหลักเรื่องน้ำสำรอง การกระจายน้ำ เมื่อน้ำขาดแคลน<o></o>
    - ควรกำหนดที่ตากผ้าให้เรียบร้อย<o></o>
    - ด้านการจราจร ควรมีลูกศรบอกเส้นทางเดินรถ และมีการนำกรวยต่าง ๆ มาวาง<o></o>
    - ควรแยกจุดรับบริจาคออกจากศูนย์พักพิง ความเข้าใจผิดกรณีรอแจกของบริจาค<o></o>
    - ทำทะเบียนสำหรับรถของผู้ประสบภัยที่มาจอดในโรงพยาบาล<o></o>
    - จัดสถานที่จอดรถให้ชัดเจน เก็บบัตร และขอเบอร์โทรศัพท์ไว้<o></o>
    - ควรกำหนดจำนวนรถที่จะให้จอดได้ และมีป้ายชี้ทางไปที่จอดรถ<o></o>
    - ประสานกับตำรวจจราจรบริเวณใกล้เคียง เพื่อช่วยในการจัดระบบจราจร และช่วยอำนวยความสะดวกภายนอกโรงพยาบาล เพื่อป้องกันรถติด<o></o>
    - เรื่องสัตว์เลี้ยง ควรให้เจ้าของดูแลสัตว์เลี้ยงของตนเอง ไม่ให้เข้ามาในอาคาร นอกจากนี้ ควรมีการจัดแยกกลุ่มคนที่สัตว์เลี้ยง และไม่มีสัตว์เลี้ยงออกจากกัน และเพิ่มจำนวนถังขยะ<o></o>
    <o></o>
    ======================<o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2011
  16. kit@kit

    kit@kit สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +21
    ข่าวล่าสุดทาง 27-10-2011 เวลา 19:30 น. อ.ศรีราชา สามารถรองรับได้

    ศูนย์ฯ เขาเขียว เปิดรับได้ 100 คน จอดรถได้ มากกว่า 100คัน
    ศูนย์ฯ สวนเสือศรีราชา เปิดรับได้ 500 คน จอดรถได้มากกว่า 300 คัน

    สอบถามเส้นทางก่อนตัดสินใจได้ครับ ผมยินดีไปสอบถามการเข้าพักให้ถ้าท่านใดสนใจที่จะเข้าพัก
    หากท่านใดให้แจ้งเพื่อการจองหรือ ลงทะเบียน ขอรับรองว่าจะมาจริงๆน่ะครับ เพราะหากเข้าไปจองให้แล้วไม่เข้าพัก จะทำให้ผู้ที่จะเข้ามาเสียสิทธิครับ
    แถวนี้ใกล้บ้านผมที่สุด และยินดีให้บริการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ครับ

    พิกัด ศูนย์ฯ สวนเสือ ศรีราชา
    13°8'52.16"N
    101° 0'36.90"E

    พิกัด ศูนย์ฯ เขาเขียว
    13°12'52.94"N
    101°3'24.23"E

    กฤษ 0871709064
     
  17. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    การจัดการด้านเครื่องอุปโภค บริโภค
    การใช้ชีวิตที่ศูนย์พักพิง สิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินการในชีวิตประจำวันที่ขาดไม่ได้ คือ ปัจจัย 4 ซึ่งทางผู้ดูแลศูนย์ต้องรับผิดชอบในการบริหารจัดการให้มีเพียงพอ ซึ่งโรงพยาบาลสามารถบริหารจัดการได้ดี ด้วยวิธีการต่อไปนี้<o></o>
    - เมื่อน้ำที่ให้บริการไม่เพียงพอ เนื่องจากการประปาหยุดบริการ ต้องใช้การประสานงานกับหน่วยงานราชการผ่านระบบราชการ และความสัมพันธ์ส่วนตัว สำนักงานชลประทาน เทศบาล ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ทั้งในเขตอำเภอพุนพิน และเขตอำเภอใกล้เคียง ให้ช่วยนำน้ำมาให้
    <o></o>
    - การประสานเรื่องอาหารสำหรับผู้ประสบภัย ใช้การติดต่อกับหน่วยงานทางราชการ เช่น สภากาชาดหรือความสัมพันธ์ส่วนตัวไปยังมูลนิธิต่าง ๆ ในการทำอาหารกล่องแจกรายวัน
    <o></o>
    - ควรมีระบบการกระจายอาหาร น้ำดื่ม ของบริจาค ภายใน – ภายนอกศูนย์<o></o>
    <o></o>
    ข้อเสนอแนะ<o></o>
    - ควรมีการจัดสรรเรื่องการหาอาหาร ให้เป็นระบบ เช่นการหาของบริจาคผ่านระบบ internet ใช้ social network
    <o></o>
    - ควรมีการจัดน้ำให้เป็นส่วนกลาง<o></o>
    - ให้ความร่วมมือกับผู้นำน้ำมาแจกการประสานงานสื่อสาร<o></o>
    ==============<o></o>
    <o></o>
    การจัดการเรื่องการบริจาค<o></o>
    เมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งใด ตามศูนย์พักพิงมักเป็นสถานที่ที่ประชาชนมักนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นมาบริจาคเพื่อช่วยเหลือเสมอ ในครั้งนี้ก็เช่นกัน แต่ละวันจะมีผู้คนเดินทางมาที่ศูนย์และนำของมาบริจาคมากมายทั้งเป็นประชาชนทั่วไป หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน จนถึงระดับนายกรัฐมนตรี และ ที่ได้รับประทานจากพระบรมวงศ?นุวงศ์ ซึ่งในการบริหารจัดการเป็นเรื่องที่มีความยากลำบากที่จะทำให้ถูกใจและตรงกับความต้องการของทุกคนได้ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการเรื่องของบริจาคเป็นไปอย่างราบรื่นในอนาคต มีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้<o></o>
    <o></o>
    ข้อเสนอแนะ <o></o>
    - ต้องคำนึงถึง วิธีการการรับ การเก็บ และการแจก<o></o>
    - ควรมีการประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจาคของให้บุคคลภายนอกได้รับทราบ<o></o>
    - ควรเปิดช่องทางในการรับบริจาคหลาย ๆ ทางเช่น ทางธนาคาร ทางระบบ internet<o></o>
    - จุดรับของบริจาคและจุดที่แจกของ ไม่ควรอยู่จุดเดียวกัน<o></o>
    - ควรมีทะเบียนแจกให้ชัดเจน บางอย่างเป็นครอบครัว จัดระบบใหม่ ครอบครัวละ 1 ชิ้น<o></o>
    <o></o>
    ===============<o></o>
    <o></o>
    การจัดการบริการทางการแพทย์ ทั้งร่างกายและจิตใจ<o></o>
    เมื่อมีประชาชนมาอยู่ร่วมกันในภาวะฉุกเฉินและวิกฤติเช่นนี้ นอกจากผู้ประสบภัยจะเผชิญกับความเครียดที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ประสบภัยบางคนอาจมีโรคทางกายเกิดขึ้น ซึ่งต้องได้รับบริการทางการแพทย์ด้วย<o></o>
    <o></o>
    ซึ่งในด้านจิตใจนั้น ทางโรงพยาบาลมีบุคลากรจิตอาสา เข้าไปทำกลุ่มทั้งผู้ใหญ่และเด็กอยู่เป็นประจำทุกวัน ส่วนทางกายนั้น กรณีที่ต้องได้รับการรักษาเบื้องต้นให้ผู้ประสบภัยให้ใช้ระบบการดูแลของโรงพยาบาล แต่ถ้าอาการหนักจะมีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลทางกายที่ใกล้เคียง โดยผู้ดูแลต้องมีทักษะในการประเมินอาการให้ทันเวลา<o></o>
    <o></o>
    การดูแลจิตใจของผู้ให้การดูแลที่ศูนย์พักพิง<o></o>
    เมื่อโรงพยาบาลจัดตั้งเป็นศูนย์พักพิงอย่างฉุกเฉินเช่นนี้ ผู้เข้ามาช่วยปฏิบัติการดูแลผู้ประสบภัย จะมาด้วยใจอาสา ด้วยความรู้สึกอยากมาช่วย แต่ในภาวะวิกฤติที่ผู้ประสบภัยอยู่ในภาวะวิตกกังวล เครียด และต้องการความช่วยเหลือที่หลากหลาย ผู้ปฏิบัติที่ให้การช่วยเหลือต้องเผชิญกับความเครียดที่มาจากความต้องการของผู้คนมากมาย ซึ่งบางครั้งต้องเจอกับคำพูดที่รุนแรง เมื่อผู้ประสบภัยไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ดังนั้นในทีมทำงานต้องมีการวางแผน และช่วยเหลือ ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ทั้งจากเพื่อนร่วมงาน และผู้บริหาร
    <o></o>
    ข้อเสนอแนะ<o></o>
    - ควรมีบุคลากรทีมประชาสัมพันธ์ และจัดเวรในการปฏิบัติหน้าที่สำหรับการต้องเผชิญหน้าเพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน
    <o></o>
    - ในส่วนประสานงานนั้น ต้องให้คนที่มีประสบการณ์ มีทักษะในการสื่อสาร เพื่อความชัดเจน<o></o>
    <o></o>
    ขออนุโมทนาขอกุศลส่งบุญการเผยแพร่ประสบการณ์ความรู้ ของ คณะกรรมการ KM โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ทุก ๆ ท่านค่ะ<o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2011
  18. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    สนับนุนความคิดเห็นนี้ อย่างยิ่ง อนุโมทนาสาธุ
     
  19. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ขออนุโมทนา.........สาธุ
     
  20. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    สำหรับข้อมูลเปลี่ยนแปลงของ คุณ kit@kit ไม่เป็นไรค่ะ ในสถานการณ์ยามนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างยืดหยุ่นตามสภาวะเฉพาะหน้า เป็นเรืองที่เราต้องยอมรับด้วยดุษฏี ใตร่ตรอง สงบใจ เราจะไม่เกิดความคิดเห็นที่จะก่อให้เกิดความขุ่นมัวในใจเรากัน นะคะ สาธุค่ะ


    อนุโมทนาเพลง เห็นด้วยใจ ร้องโดยเด็กกำพร้า (ดนตรีพิสุทธิ์)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...