วิชชามโนมยิทธิของหลวงพ่อฤาษีลิงดำเป็นการสอนคนให้ติดนิมิตใช่หรือไม่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ผู้มีจิตอันตั้งมั่น, 6 กันยายน 2005.

  1. ศิษย์น้อย

    ศิษย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +3,047
    ลองปฎิบัติทั้ง 2 แนว ดูนะครับ กล่าวคือลองปฏิบัติทั้งแบบวิปัสสโก และแบบมโนมยิทธิ (มีศัพท์เฉพาะอยู่ แต่ โง่จำไม่ได้) ....

    ขอให้ปฏิบัติอย่างจริงจัง....

    คำตอบจะเป็น "องค์ปัญญา" ที่เกิดจากการปฏิบัติ

    พอพบกับคำตอบ แล้ว ท่านก็จะนั่ง "อมยิ้ม" กับข้อความในกระทู้นี้



     
  2. yeen

    yeen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    678
    ค่าพลัง:
    +3,656
    ไม่มีสติก็ติดได้ทั้งนั้น
     
  3. Supernova

    Supernova เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    230
    ค่าพลัง:
    +2,488
    ต้องรู้ตนเองดีสุด
    ปฏิบัติดูก็จะรู้เองครับ
     
  4. ชัยมงคลรัศมี

    ชัยมงคลรัศมี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +174
    [b-wai] [b-wai] [b-wai] [b-wai]
    กุศลโลบายธรรมอันยอดเยี่ยม มาจากปัญญาบารมีที่มากมายของหลวงพ่อที่ให้แก่ลูกหลานเพื่อสู่ทางหลุดพ้น
    ทุกทางทุกสาย คนจะเข้าใจได้ต้องมีบุญสัมพันธิ์กันมาก่อน
    ไม่มีผิด ไม่มีถูก
    อยู่ที่การพิจารณา เพื่อไปสู่การ หลุดพ้น
     
  5. penney

    penney เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,137
    มโนมยิทธิ
    คำนี้พอได้ยินครั้งแรกก็รู้สึกสงสัยว่าคืออะไร
    ก็ได้ติดตามอ่านในเว็บนี้ก็รู้สึกสนใจ อยากปฏิบัติบ้าง
    อาจด้วยเพราะว่ารู้สึกศรัทธาหลวงพ่อฤาษีลิงดำ(เรียกตามแม่)
    อยู่แล้วด้วย เลยทำให้สนใจในคำสอนที่หลวงพ่อสอน

    เคยไปฝึกไหม? เคยไปค่ะ
    แล้วผลเป็นไงบ้าง? ฝึกแล้วสงสัยค่ะ สงสัยตลอดค่ะ
    แต่ก็ยังอยากไปฝึกอีก จนกว่าจะได้

    ถ้าถามว่าในเมื่อฝึกแล้วมันไม่ได้ทำไมถึงยังไปฝึก

    ก็ต้องตอบว่า ก็เพราะสงสัย ตัดนิวรณ์ห้าไม่ขาดเสียที
    อาจเห็นหรือไม่เห็นไม่รู้ แต่ก็จะฝึกให้จงได้ ที่สำคัญ
    กำลังใจในการฝึกของเรามันน้อยด้วย เฮ้อ

    แต่ก็ต้องพยายามฝึกให้จงได้ ทางใครก็ทางมันค่ะ
    เมื่อเลือกเดินทางนี้แล้วก็ต้องทำให้สำเร็จ
     
  6. วิปจิตัญญู

    วิปจิตัญญู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +850
    สั้นๆ และเข้าใจ ง่าย

    นำกิเลส ละเอียด ปราบ กิเลสหยาบ ท้ายที่สุด ละซึ่ง รูปณาน และ อรูปณาน(กิเลส ละเอียด )

    เพื่อ ละ และดับ ขันธ์ทั้ง 5 เข้าสู่สภาวะ นิพพาน

    เพื่อนๆในนี้หลายคนตอบได้ดีแล้วครับ ขออนูโมทนาด้วยนะครับ


    ความสงสัยของ คุณ เจ้าของกระทู้ไม่ผิดหรอกครับ ดีแล้วครับที่ถามออกมา จะถามว่า หลวงพ่อสอนให้ ติดในรูปนิมิตร มั้ยเปล่าเลย วิชา มโนยิทธิ สอนให้ หมดความสงสัยใน คำสอน ของพระพุทธเจ้า ครับ ไม่ได้มีใช้ ไว้เพื่อ ท่องเที่ยว ท่านให้ เที่ยวจนเบื่อ ครับแล้ว ปลงในมิติ ถ้า คุณใช้ แต่ สมถ อย่างเดียวก็ไม่ถึงซึ่งนิพพานครับ ต้อง ใช้ ของน้อยให้ มีกำลังมากครับ พอ คุณใช้ มโนยินธิได้แล้ว ก็ต้องนำเอากำลัง ของสมถะ ความสงบ มาวิปัสสนา ให้แจ้ง อีกอย่าง หลวงพ่อ สอน อย่างอื่นมากกว่า มโนยิทธิ ครับ

    จะเอาอะไร เป็นเครื่องวัดว่ามาถูกทาง ก็ กิเลสไงครับ ลองทดสอบอารมณ์ดู ว่า กิเลสลดลงมั้ย ทิฐถิลดลงมั้ย ๆไม่ใช่ ชั้นเป็นเทพ พรหม ผู้มีบุญยิ่งใหญ่มาจากไหนมาเกิด แล้วเป็นยังไง ตอนนี้ก็เป็นเพียง มนุษย์ผู้หนึ่งที่ เต็มไปด้วย สภาวะ กิเลส และประมาท ใครทีกล้าประกาศตัวเอง ออกมาแบบนั้น ก็ขอให้ ปล่อยๆ พวกท่านไป ครับ เราไม่สามารถไปทราบได้จริงๆ ว่าท่านเป็นใคร มาเกิด มันเรื่องของท่าน นอกจากว่าคุณจะ ได้ เหนือกว่าท่าน ถึงจะทราบท่านได้

    สรุป เรื่องของท่านอื่นเราไม่สน เราสนแต่เราไป นิพพานให้ได้ก่อน แล้วค่อยกลับมาช่วยสอน มิตรธรรมที่รัก ทุกท่าน
     
  7. soonyata

    soonyata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +3,675
    ขอตอบบ้างทั้ง ๆ ที่ไม่เคยฝึกมโนกับเค้าเลย

    แต่เราคิดว่าจริตแต่ละคนไม่เหมือนกันนะ สายไหนก็สายนั้น ไม่มีถูกมีผิดเพราะพระพุทธเจ้าท่านก็ทราบดีด้วยสัพพัญญูแล้วว่ามนุษย์มีจริตไม่เหมือนกันจึงชี้ทางกรรมฐานถึง 40 วิธีให้เราเลือกปฏิบัติให้ถูกจริต บางคนอาจจะถูกจริตกับกรรมฐานสายหนึ่ง ไปได้ไว ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะที่บางคนกลับเบื่อหน่ายและคิดว่าเสียเวลาก็เป็นได้

    เราก็เป็นคนนึงที่ฝึกสายวิปัสสนากรรมฐาน ครูบาอาจารย์สั่งสอนอยู่เสมอว่าอย่าสนใจนิมิต ให้มุ่งตรงไปที่จุดหมายปลายทาง คือ นิพพานอย่างเดียว แต่ก็อีกนั่นแหละ จริตแต่ละคนไม่เหมือนกัน ยิ่งมาอ่านเรื่อง อรหันต์ 4 สาย ที่มี สุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฎิสัมภิทัปปัตโต ยิ่งเริ่มเข้าใจ มีประโยคนึงในอัชชาสัยเตวิชโชที่ว่า "ท่านเป็นคนอยากรู้อยากเห็น เมื่อพบเห็นอะไรเข้าก็เป็นเหตุให้คิดนึกถึงสมุฏฐานที่เกิด
    ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดมาจากอะไร เดิมก่อนจะเป็นอย่างนั้น เป็นอะไรมาก่อน เช่นเห็นของที่มีวัตถุปกปิด
    ก็อยากจะแก้วัตถุที่ปกปิดนั้นออก เพื่อสำรวจตรวจดูของภายใน เห็นของภายในว่าเป็นอะไรแล้ว ก็
    อยากจะรู้ต่อไปว่า ภายในของนั้นมีอะไรบ้าง ทำด้วยอะไร เมื่อรู้แล้วก็อยากรู้ต่อไปว่า สิ่งนั้น ๆ เกิดมา
    ได้อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น
    ท่านประเภทเตวิชโชนี้ จะให้ท่านทำตนเป็นคนหวังผลอย่างเดียว โดยไม่ให้พิสูจน์ค้นคว้า
    เลยนั้น ท่านประเภทนี้ทนไม่ไหว เพราะอัชฌาสัยไม่ชอบประเภทคลุมหน้าเดินโดยที่ไม่ได้พิสูจน์ต้นทาง
    ปลายทางเสียก่อน ถ้าต้องทำแบบคลุมหน้าเดินอย่างท่านสุกขวิปัสสโกแล้วท่านก็ทนไม่ไหว รำคาญใจ
    หยุดเอาเฉย ๆ คนประเภทนี้เคยพบมาในขณะสอนสมณธรรมมีจำนวนมาก ประเภทเตวิชโชนั้น ส่วน
    ใหญ่มักชอบรู้ชอบเห็นพอให้วิปัสสนาล้วนเธอเข้า เธอก็บ่นอู้อี้ว่าไม่รู้ไม่เห็นอะไรเลย ต่อเมื่อให้
    กรรมฐานประเภททิพยจักษุญาณ หรือมโนมยิทธิ เธอก็พอใจ ทำได้อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย จะ
    ยากลำบากก็ทนทำจนสำเร็จผล ทางที่ได้พิสูจน์มาเป็นอย่างนี้"

    อ่านแล้วโอย นี่แหละ นิสัยเราเลย ขี้สงสัยอยากรู้อยากเห็น ถ้ามีใครซักคนยื่นห่อผ้ามาให้เราแล้วบอกว่า "สิ่งนี้แหละจะทำให้เจ้าได้ไปนิพพาน" เชื่อมั้ย เรามิวายสงสัยก็จะต้องแกะห่อผ้านั้นดูว่าสิ่งที่ว่านี้เป็นอะไรจึงจะทำให้เราได้ไปนิพพาน

    ก็เพราะความอยากรู้อยากเห็นของเรานี่แหละ เราก็เลยสนใจเริ่มเรียนและฝึกกสิณ แล้วยังไม่พอเราก็ยังอยากลองฝึกมโนมยิทธิดูด้วย ที่เค้าว่าเห็น ๆ นี่มันเห็นยังงัย ด้วยนิสัยอยากรู้อยากเห็นเรานี่แหละเป็นเหตุ เราอธิษฐานกับพระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ว่า ลูกทราบดีว่าจุดหมายปลายทางของทุกคนนั้น คือ นิพพาน และครูบาอาจารย์ก็ชี้ทางตรงให้แล้ว แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นของลูก ลูกจึงปรารถนาที่จะเดินทางอ้อมที่ว่าจะได้รู้ได้เห็นทุกอย่างเสียก่อน ถึงแม้ลูกอาจเสียเวลาหรือหลงทางไปบ้าง แต่ลูกก็ยินดีที่จะยอมรับผลของการตัดสินใจของลูกเอง เพราะจุดหมายปลางทางสุดท้ายที่ลูกจะไปให้ถึงก็คือ นิพพานเช่นเดิม

    นี่แหละน้า มนุษย์ เค้าชี้ทางตรงให้แล้วก็ยังจะขอไปชมวิวทางอ้อมก่อน เข้าใจว่าผู้ตั้งกระทู้ท่านหวังดี แต่จริตแต่ละคนนั้นมันไม่เหมือนกันจริง ๆ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้เลือกเดินทางเดียวกัน

    เคยอ่านในหนังสือว่า พระสารีบุตร นั้นท่านเป็นผู้มีปัญญามาก แต่ที่ท่านบรรลุอรหันต์ช้ากว่า พระโมคคัลลาน์ พระสหายนั้น เพราะความมีปัญญามากของท่าน ท่านจึงพิจารณาจนถี่ถ้วนว่าสิ่งที่พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสั่งสอนนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง จึงยอมปลงใจเชื่อ ดังนั้นคนที่บรรลุธรรมช้ากว่าไม่ได้แปลว่าคนนั้นไม่ฉลาดหรือหลงผิดแต่อย่างใด แต่ท่านอาจจะปรารถนาที่จะพิจารณาข้อธรรมต่าง ๆ ให้รอบคอบก่อนก็เป็นได้

    หากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นไม่ถูกต้องประการใด ลูกขอขมาต่อพระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และครูบาอาจารย์ ในกรรมอันมิได้เจตนานั้นไว้ ณ ที่นี้ด้วยเทอญ


     
  8. klu

    klu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,320
    จริง ๆ แล้ว เราก็อยู่กับนิมิตนะ

    นิมิตของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม
    มันถึงอยู่กันตรงนี้ ไม่ไปนิพพานกันซักที เหะ ๆ ๆ

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำน่ะสอนนิมิตที่ควรจะมี จะได้ไป ๆ กันซักที
    แต่บางคนน่ะมันติดนิมิตเดิม
    นิมิตของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม
    นิมิตเดิมช่วยส่งเสริม นิมิตเดิมนี้มีกันอยู่แล้ว
    หลวงพ่อไม่ได้สอน เหอ ๆ

    ตอบตามประสาคนโง่ ๆ นะ

    ส่วนใหญ่หลวงพ่อสอนเน้นเรื่องศีล ทาน และควรจะมีสติระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา
    มีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
    คิดถึงความตายเข้าไว้

    สุกขวิปัสสโกก็มี สติปัฏฐาน ๔ ก็มี
    แล้วแต่ชอบ ถ้าไม่ชอบแบบเอานิมิตดีสู้นิมิตเดิมก็

    หลวงปู่ หลวงพ่อองค์อื่น ๆ มีอีกเยอะให้นับถือ ให้ศึกษา ให้ปฏิบัติตาม
     
  9. พรเทพ คชมาศ

    พรเทพ คชมาศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    348
    ค่าพลัง:
    +1,295
    ท่านสาธุชนทั้งหลาย
    .....................................................................................


    สมมุติว่าท่านจะไปยังที่ๆ หนึ่ง ที่ๆ นั้นไปได้ด้วย บันไดก็ได้ ลิฟก็ได้ เดินเท้าก็
    ได้ เร็วช้าต่างกันไป ยากง่ายต่างกันไป นกอาจถนัดบิน แต่บินแล้วไม่มีอะไรนำทางก็อาจหลง เต่าอาจถนัดเดิน แต่เดินแล้วช้ากว่าจะถึง ม้าอาจถนัดวิ่ง แต่วิ่งไปก็อาจล้มได้ง่ายเช่นกัน


    ท่านคิดว่า ม้าวิ่งผิดไหม? เต่าเดินผิดไหม? นกบินผิดไหม?


    ถ้าท่านขึ้นบันได แล้วหลงอยู่กับบันได ลืมเป้าหมายแต่แรก โอ้ว บันไดนี้สวย บันไดนี้งาม บันไดนี้พาไปไหนก็ได้ แล้วท่านกับบันได ก็พากันไปไหนต่อไหน ลืมที่ตั้งใจไว้แต่แรก แบบนี้จะโทษอะไรดี บันไดหรือคนเดิน?




    วิธีฝึกจิตมีหลากหลาย แต่ฝึกไปเพื่ออะไร?



    เพื่อนิพพาน?
    เพื่อเห็นนั่นนี่?
    เพื่อไปสวรรค์?
    เพื่อไปอวดชาวบ้าน?
    เพื่อไปอ้างตนว่าเป็นพระอรหันต์ชาติหน้า?

    หรือเพื่ออะไรกันแน่



    บันไดมันไม่ผิด มันวางไว้ให้เดิน มิได้วางไว้ให้ยึดถือหรือแบกมันไว้
    เป้าหมายคืออะไร ระหว่างเดินทางระวังหลง เพราะทางที่เดินนั้น
    มันอาจสวยหรูมากขึ้นๆ ทุกขณะ เป็นของใหม่ ของเล่นใหม่ที่เพิ่งเคย
    เจอ ก็ให้รู้ว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง ไม่ต้องสนมัน เดินต่อไปถึงเป้าหมาย



    แต่เป้าหมายของการฝึกคืออะไร?




    ถ้าจะเอาแค่ไปนรกสวรรค์คงเสียชาติที่เกิดมาเป็นคน (โมฆะบุรุษ)


    ..............................................................................
    สาธุ
     
  10. ณ ปลาย

    ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +638
    ผู้มีจิตหวั่นไหว นิมิตย่อมไม่เที่ยงตรง
    ทั้งภาพที่ปรากฏ และการตีความ
     
  11. Padmapani_AM

    Padmapani_AM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +158
    ขอให้สาธุชนจงเจริญความเพียรด้วยสติ
    ยึดตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
     
  12. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ถ้าจะว่าตามหลักจริงๆแล้ว ต้องฝึกสมาธิจนกระทั้งได้ฌาน 4 ที่มีแต่สติบริสุทธิ์ให้ได้ก่อน และก็ต้องมีความชำนาญมีวสีในการเข้าออกและการทรงฌานด้วย จากนั้นจึงค่อยน้อมสภาวะจิตในฌาน 4 นั้น ไปในอภิญญาข้อต่างๆ รวมถึง มโนมยิทธิด้วย สิ่งที่รับรู้จากสติในฌานที่ 4 นั้นจะค่อนข้างแม่นยำเนื่องจากไม่มีนิวรณ์และละสุขละทุกข์มีจิตเป็นอุเบกขาอยู่ ปกติแล้วจิตเป็นธาตุรู้เมื่อน้อมจิตไปสัมผัสกับสิ่งใดก็จะเกิดความรอบรู้ในสิ่งนั้นๆขึ้นมาครับ
     
  13. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756

    แล้วท่านที่ได้ อริยะบุคล ที่ใช้วิชามโนมยิทธิ ล่ะ จะบอกว่าติด นิมิตได้ไหม ยังสงสัยอยู่......

    คำว่าติดนิมิต มีอาการอย่างไร ยังไม่กระจ่างแจ้ง ต้อง อธิบายให้เข้าใจหน่อย ว่า ติดนิมิต กับ ไม่ติดนิมิต มีอาการของการปฏิบัติอย่างไร น่าจะเป็นข้อมูลที่จะได้นำไปแก้ไขของแต่ละบุคคล

    แล้วว่า ถ้าเราติดนิมิตอยู่ เราจะแก้ไขอย่างไร

    แล้วที่ว่า ครู อาจารย์ ท่าน คุยกับ ผี เทวดา ท่านคุยอย่างไร ถ้าท่านไม่ใช้อำนาจของนิมิตทีเคยฝึกกำหนดไว้ ถ้ามีแนวทางอย่างอื่นที่ดีกว่านี้ ช่วยกรุณาบอกด้วย จะได้นำไปปฏิบัติ

    ขอบคุณ และขออนุโมทนา ที่ ฝักใฝ่ในธรรม
     
  14. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
    อธิบายเกินเลยไปรึเปล่า ที่ตอบมานี่ก็พอเข้าใจ พอได้อ่านหนังสือของประวัติหลวงปูมั่นมาบ้าง พอเข้าใจ ครับ

    แต่ที่บอกว่า วิชามโนยิทธิของทางวัดท่าซุงเป็นการสอนให้ติดนิมิต นั้น คำตอบที่ rawiphan ตอบมาก็กระจ่างอยู่แล้ว ว่า พระอรหันต์เท่านั้นที่ ละนิมิตได้ แล้วพวกที่ยังฝึกมโนยิทธิ จะไปละได้อย่างไร ก็ต้อง อาศัยนิมิตเป็นเครื่องอยู่ เป็นเครื่องละ หรือว่า ต้องอาศัยสมมุติ จึงจะถึงวิมุติ ไม่น่าเรียกว่าติดนิมิตหรอก น่าจะเรียกว่าใช้นิมิตเป็นเครื่องติดต่อ หรือที่ rawiphan จำมาจากหนังสือว่า ถ้าอีกฝ่ายมีชีวิตอยู่ ก็ต้องอาศัยสมมุติเป็นเครื่องรู้

    ฉะนั้นถ้าเราปฏิบัติธรรม มีวิสัยที่มี นิมิตเป็นเครื่องกำหนด แล้วเราละทิ้งนิมิต หรือเพิกเฉย เรามีเสียทีหรอกเหรอ แล้วเราจะเอาอะไรเป็นเครื่องรู้ ล่ะ

    แล้วครูบาอาจารย์ ที่คุยกัยกับพวกโอปาติกะ ก็ต้องฝึกฝนมาจากการใช้นิมิต ยังไม่เห็นมีทางอื่นเลย หรือ rawiphan มีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้ก็บอกด้วยเพื่อพวกเราชาวธรรมจะได้พึงปฏิบัติตาม

    วิธีแก้ไข คอยเฝ้าระวังไม่ให้จิตมันรวม และออกเดินค้นคว้าทางปัญญาวิปัสน

    ถ้าจิตไม่รวมลงเป็นหนึ่งแล้ว สมาธิจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่งั้นคำว่า เมื่อสมาธิเกิดปัญญาจึงจะเกิด จะกล่าวออกมาไม่ได้ จิตที่รวมเป็นหนึ่ง จึงจะเป็นจิตที่ตั้งมั่น จึงจะควรเหมาะแก่การงาน

    คำที่เขียนมาว่าระวังไม่ให้จิตมันรวม นั้น นะ จะว่าผิดก็ไม่ได้ จะว่าถูกก็ไม่เชิง เพียงแต่ Rawi... ไม่เข้าใจคำมากกว่า ถ้า rawi.....ปฏิบัติตามที่ว่านี้ rawi.... ก็กินสมาธิไปเต็มคราบแล้ว ไม่งั้น จะรักษาอารมณ์ที่ใครควรพิจารณาวิปัสนาญาณนั้นไม่ได้ หรอก เดี๋ยวก็ฟุ้งไปที่อื่น ตัวที่มันคุมไม่ให้ฟุ้ง นั้น น่ะ เป็นตัวสมาธิ ตัวที่มีจิตตั้งมั่น ตัวที่มีจิตรวมเป็นหนึ่งมีอารมณ์อันเดียว

    ตัวสมาธิไม่ใชนั่งนิ่งเป็นหัวหลักหัวต่อ ตัวสมาธิเป็นตัวที่มี สติ สัมปชัญญะ ไม่ใช่ตัวสมาธิ จะนิ่งแล้วนึกคิดอะไรไม่ได้

    พวกที่ฝึกมโนยิทธิ ไม่มีใครรับรองได้ว่า ทำไป ๆ แล้วจะหลงทางหรือไม่ ก็เหมือนพวกที่ปฏิบัติธรรมทั่วไป ทุกสายทุกทางก็มีทั้งหลงทั้งไม่หลง ส่วนใหญ่ทางเดินไม่หลงหรอก จะหลงตัวเองมากกว่า เป็นเพราะ อ่านหนังสือมาก แล้วตีความตามอำเภอใจ จำเอาคำครูบาอาจารย์ยกมาเข้าเหตุเข้าผลของตัวเอง มันก็เลย ยุ่ง

    คำว่านิมิต ก็คือของสมมุติ ทีเราสมมุติมันขึ้นมา เอามาเป็นเครื่องมือ ไม่ใช้ก็วางมันไป ถ้าจะใช้ก็หยิบมันขึ้นมา ถ้าจิตใจไม่ผ่องใสก็หยิบมาใช้ยาก ถ้าผ่องใสก็ง่ายหน่อย ฉะนั้น พระอรหันต์ผู้หมดจดจากกิเลสจึงมีความว่องไวเป็นพิเศษ ต้องเข้าใจว่า ใช้เป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ยึดติด จะเหมารวมไม่ได้

    คำว่าผ่องใส ก็ต้องเจริญ สมถะ และ วิปัสนาญาณ มีทางเดียวไม่เห็นมีทางอื่น

    พวกทีฝึกฝนจริง ๆ จัง ที่เอาจริง เขาต้องคุมตัว วิปัสนาญาณอยู่ตลอด เมื่อใจผ่องใสแล้ว เขาไม่ต้องไปไล่เบี้ยนึกถึงนิมิตหรอกภาพมันปรากฏแก่จิตของเขาเอง ไอ้เรามันไม่เข้าใจก็ว่าเรื่อยไป เหมือนเรายังไม่หางอึ่ง ไปวิจารณ์ราชสีห์
     
  15. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
    ขอต่ออีกหน่อย

    อาการที่เรียกว่าติดนิมิตเป็นอย่างไรเรายังว่าไม่ถูก แล้วไปตีความ ว่า มโนยิทธิ เป็นคำสอนที่ทำให้ติดนิมิต แบบนี้เป็นการเหมารวม ถ้าแจงเป็นคน ๆ ไป หรืออธิบายถึงอารมณ์ของการปฏิบัติมา ก็ยังพอน่าฟังบ้าง เผื่อบางคนไปหลงจมอยู่แค่นั้นจะได้ถอนตัวหรือมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น มันจะได้เป็นการสร้างสรรค์ เป็นทานบารมี ไป

    ถ้า Rawi..... มีการปฏิบัติสมาธิ มีนิมิตด้วย และเจริญ วิปัสนาญาณด้วย
    เราจะไม่กล่าวแบบนั้นเลย เพราะ นิมิตก็ไม่ใช่สิ่งที่วิเศษมากมายอะไรเลย แค่พื้น ๆ เป็นกรรมฐานหยาบ ๆ เท่านั้น แต่คนที่จะใช้นิมิตให้เกิดประโยชน์ อันนี้ต่างหาก จึงจะเริ่มมีปัญญาบ้าง

    ทีนี้ไอ้เรามันทำไม่ได้ แล้วเราจะไปรู้เรื่องของเขาได้อย่างไรเล่า เราก็ได้แต่นึกคิดเอาตามใจของเราเท่านั้น เออ...ถ้าเรามีความคล่องแคล่วการใช้นิมิต เข้าฌาณออกฌาณได้ตามใจนึก มีวิปัสนาญาณที่แจ่มใส คงไม่ต้องเป็น พระอริยะ หรอก แล้วก็มาวิจาร มโนยิทธิ อย่างนี้พอน่าฟังบ้าง ก็เราเคยได้แค่ งู ๆ ปลา ๆ แล้วก็ไม่ทำต่อ ก็เลยไม่เข้าใจ

    ถามจริง ๆ เถอะ ลองเจริญ สติ สัมปชัญญะ แล้วลองนึกถึง นิมิต อะไรสักอย่าง ซิ มันจะมาปรากฏให้เห็นไหม กสิน น่ะ.. หยาบที่สุดของ อารมณ์พระกรรมฐาน แล้ว

    การสอนสายพระป่า ก็สอนให้กำหนด พิจารณาร่างกาย ดูกาย ผม ขน เล็บ ฟ้น หนัง เป็นต้น บางตนก็ได้นิมิตมาเป็นภาพ บางคนก็ไม่ได้ ได้แต่นึกรู้ มันก็ไม่มีอะไรผิด ถูกทั้งคู่ ขอให้มีสติ สัมปชัญญะในการพิจารณา ถ้าได้นิมิตติดตา นึกเมื่อไหร่ก็มาให้เห็น ก็ถือได้ว่าเป็นของแถม ถ้าไม่เห็น ก็ไม่เป็นไร เอาใจสบาย ๆ ก็แค่นั้น

    เราก็นึกดูเอา ว่า มีภาพมาให้ดู กับ นึกรู้เอา เราชอบแบบไหน คนที่มีภาพมาให้ดูคงไม่โง่ทิ้งภาพที่ได้หรอก นอกจากมันจะหายไปเพราะย่อหย่อนในการปฏิบัติ

    การติดนิมิต นี่ นะ อาการเขาเป็นแบบนี้ นะ จะอธิบายให้ฟัง ทีหลังไปวิจารณ์เขา จะได้วิจารณ์ถูก

    คือคนที่เจริญสติ สัมปชัญญะ หรือ เจริญ อานาปานุสติ อยู่ แล้วภาพนิมิตปรากฏเอง หรือ กำหนดมันขึ้นมา เมื่อภาพปรากฎจิตก็คล้อยตามภาพหรือเหลิดเพลินในภาพที่ปรากฏ จนจิตละทิ้งการกำหนดอานาปานุสติ บ่อย ๆ เข้า นิมิตนั้นก็จะหลอกเรา โดมารเข้าดลใจปรุงแต่งนิมิตให้บังเกิดภาพมายาต่าง ๆ เป็นพระบ้าง เป็นหลวงปู่หลวงพ่อบ้าง นิมิตพาไปเห็น สวรรค์ นิพพาน บ้าง อันนี้เป็นไปได้ รู้จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง ตามจิตเดิมที่สะสมกิเลสไว้

    อย่างนี้แหละเขาจึงเรียกว่า จิตผู้นั้นได้เข้าไปติดนิมิตเสียแล้ว จำไว้ จะได้ไปวิจารณ์เขาได้ถูก

    วิธีแก้ ก็คือ ให้กลับมาหาตัวผู้รู้ ( ตามสายพระป่า เรียกให้เป็นที่เข้าใจกัน ) ก็คือจิตเรากำหนด ที่ อานาปานุสติ ก็กลับมารู้ที่อานาปานุสติ นิมิตจะอยูหรือไปไม่สำคัญ ให้มันอยู่ที่ตัวผู้รู้ หรือให้จิตระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกไว้ ถ้านิมิตเขาอยู่ก็อยู่ไป เราก็รักษาอารมณ์สมาธิไว้ บ่อย ๆเข้า ก็ชำนาญ มันก็มี อานาปานุสติ ควบกับนิมิตที่เราได้ โดยที่จิตไม่ไปติดกับนิมิต นั้น ๆ คนที่พิจารณา ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง ก็ต้องมี สติ สัมปชัญญะ คือ มีอานาปานุสติด้วย ไม่งั้น สติปัฏฐาน ๔ ก็ไม่ครบ ขาดตัวแรกแล้ว ก็เจ้ง ....ทั้งกระดาน

    rawi......ลองสำรวจตัวเอง ซิ ว่า เวลาพิจารณา ในวิปัสนาญาณ เราระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออกด้วยได้หรือเปล่า ถ้าไม่ก็แสดงว่าเราขาดอารมณ์ของสมาธิ คือนึกคิดไปเรื่อยเปื่อย โดยขาดตัวผู้รู้ หรือขาดสติ สัมปชัญญะ ที่ดี แต่ถ้า พิจารณาวิปัสนาญาณพร้อมกับระลึกรู้ลมไปด้วย อันนี้ก็ ขอปรบมือให้ ขอ อนุโมทนา

    ในเมื่อเราทำอย่างหนึงที่ถนัด เราก็อย่าไปติผู้ที่ทำอย่างหนึ่งแบบเหมารวม

    คำว่า ให้ละทิ้งนิมิตนั้นเสีย ตามคำครูบาอาจารย์ นั้น ไม่ใช้ให้เลิกทำ แต่ไม่ให้เอาอารมณ์ใจไปยึดติดว่า นั้นเป็นของดีแล้ว วิเศษแล้ว ตัวแน่แล้ว แล้วเราก็จะจมอยู่กับนิมิต นั้น นั่งเมื่อไหร่ก็เพลิดเพลินอยู่กับนิมิต จะภาวนาพิจารณาอะไรก็ไม่สนใจ ตั้งหน้าตั้งตาจะเอาฤทธิ์เอาเดช อย่างนี้ ให้แก้ไขมาใช้นิมิตนั้นให้เป็นประโยชน์ เอานิมิตนั้นมาช่วยเจริญสติปัฏฐาน ๔ เสีย อย่างนี่เป็นคน ๆ ไป

    คนที่ปฏิบัติแบบ มโนยิทธิ ที่เขาไม่หลงก็มี ที่หลงก็มี ก็ว่ากันไป ทางสายพระป่า ก็เอาเหมือนกัน ของฉันทำถูก ของคุณไม่ถูก ดังที่ คนขึ้นกระทู้เขียนมา และก็ rawi........เขียนมา จะว่าไปก็ไม่ได้ ถูกทั้งนั้น เพราะขึ้น นะโม ตัวเดียวกัน
     
  16. พระยาเดโชชัยมือศึก

    พระยาเดโชชัยมือศึก สินธพอมรินทร์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2005
    โพสต์:
    2,742
    ค่าพลัง:
    +12,024
    พุทโธอัปมาโณ ครูบาอาจารย์สอนให้เรามีสติ ให้ภาวนาพุทโธ หรือนะมะพะทะ ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า การใช้มโนมยิทธิ เรานำจิตเราไปกราบท่าน เป็นพุทธานุสติ คนที่มีวาสนาเกี่ยวข้องมากับท่าน ถึงจะได้วิชานี้ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้หน่ะ
    เรื่องนิมิต ที่อาจจะเป็นนิมิตลวง ก็มีได้ อย่างแน่นอน ในหมู่นักปฏิบัติธรรม ถ้าเราไปสนใจในเรื่องอื่นๆ ที่มัน สามารถปรุงต่อๆไปได้ นั่งแล้วไปรู้ว่าคนนี้เกี่ยวข้องมาไง มันก็จะมีแต่การปรุงเพื่อสร้างทุกข์ เพิ่มภาระ คนเราเคยเกิดมาเป็นปู่ เป็นพ่อ เป็นทวด ความผูกพันธ์มันมีมาแน่นอน สังเกตกันไหมว่า ท่านพ่อท่านปู่ จะไม่ให้เราเห็นภาพในอดีตของตัวเราเอง ได้อย่างชัดเจนแจ่มใส แบบเจาะลึก เพราะท่านรู้ว่าลูกท่านมีจิตใจอย่างไร และก็รู้ด้วยว่าลูกท่านเป็นพวกอยากรู้อยากเห็น ถ้าอยากรู้อะไร ต้องรู้ให้ได้ อิอิ กำลังใจดี ก็เอากำลังใจไปใช้ในทางบวก ไปกราบพระพุทธเจ้า มุ่งตรงไปที่พระพุทธเจ้า
    ตอนท่านจะให้นั่ง ท่านให้เราพิจารณาขันธ์5 แล้วให้เอาเรื่องทางโลกวางเสีย ท่านขอบารมีพระพุทธเจ้าให้นำเราไป คนที่ฝึกใหม่ๆ ด้วยความเป็นมือใหม่ มีความอยากจะรู้อยากจะเห็น ย่อมมีบ้าง ด้วยความที่มีความอยากที่เรียกว่ากิเลส ก็เลยทำให้ไม่ค่อยจะเห็นกัน แต่พอนั่งแล้ว ไม่เห็น ก็คลายความอยากเห็นลง พอไม่มีกิเลสอยาก ก็ได้เห็น อิอิ
    เห็นพระพุทธเจ้า เห็นวิมาน มีกำลังใจ ที่จะทำความดี ในชาตินี้ เพื่อไม่ให้วิมานในนิพพาน หายไป --- ทำให้พวกเราพยายาม รักษาศีล จนศีลรักษาเรา
    พอศีลบริสุทธิ์ ใจมันผ่องใส กิเลสมันจางลงไป เวลานั่งกรรมฐาน ก็ย่อมมีความอิ่มเอิบ สังเกตดูไหม ถ้าหน้าเราอมยิ้ม น้อยๆ ในการนั่งครั้งนั้น มัน สุดยอดจริงๆ อิอิ
    แล้วอีกเรื่องนึง คนที่ไปฝึก ด้วยมีความเคารพในหลวงพ่อหลวงปู่ กับคนที่ไปฝึกด้วยความอยากรู้อยากลองว่า วิชานี้ เป็นอย่างไร ถูกจริตกับตนไหม ---- คนที่มีความเคารพ ย่อมมีกรรมเกี่ยวเนื่องกันมากับท่านนั่นเอง กลุ่มนี้ในที่สุดมักจะประสบความสำเร็จ และมีความเข้าใจ โดยที่ไม่ต้องบอกกล่าวกันนานเลย ยกตัวอย่างบทสวดบางบท สังเกตไหมบางคนไม่ถนัดในการท่องจำบาลีกันเลย แต่ทำไมถึงจำบท บางบท ที่ใช้ภาวนากันในกลุ่มได้ บางคน ท่อง 1 จบจำได้หมดแล้ว บางคนท่องเป็นสิบเที่ยว ยังจำไม่ค่อยได้เลย อิอิ และบางคนก็ไม่ชอบภาวนาบางบทด้วย อย่างบทสัมประจิตฉามิ ถ้าเป็นในกลุ่ม ใครบ้างไม่ภาวนา บทนี้ เวลาอารธนาพระติดตัว ก็ อิทธิฤทธิ กันเป็นส่วนมากใช่ไหม (บทภาวนาของพระร่วง) ดังนั้น คนที่เคยเป็นลุกหลานพระร่วง ถึง ภาวนาบทนี้ ได้ขึ้นใจ เป็นไปโดยอัตโนมัติ
     
  17. korlamai

    korlamai สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    วิชชามโนมยิทธิของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ดิฉันอ่านกระทู้ที่เป็นคำถามของคุณผู้มีจิตตั้งมั่น แล้ว ดิฉันว่าคุณกลับไปศึกษาใหม่ว่าคุณมีจริตด้านไหนจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง ไม่เสียเวลา เพราะคนเราทุกคนมีเวลาเหลือน้อยเต็มที ( แต่ก่อนทีเราจะพูดจะแสดงความคิดเห็นออกไปศึกษาให้ละเอียดก่อนแล้วค่อยพูดดีกว่านะค่ะ เพราะจะบาปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ค่ะ )
     
  18. Falcon_Se

    Falcon_Se เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2008
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +223
    สุขวิปัสสโกก็ต้องได้ฌานนะครับ ไม่ใช่ว่าไม่ได้เลย หลวงพ่อกล่าวว่าพระอรหันต์สุขวิปัสสโกไม่พอใจนฌานแต่ก็ต้องได้ฌานเด็กๆ ขั้นต้น ก็คือปฐมฌานก่อน ปฐมฌานเป็นพื้นฐานที่พระอรหันต์ทุกประเภทต้องผ่านมาก่อนแล้วต่อไปตามสายของตน ถ้าเป็นพระอรหันต์สุขวิปัสสโกก็เจริญวิปัสสนาญาณต่อไปเลย ไม่ต้องฝึกเข้าฌาน 2 3 4 ต่อ ..อันนี้จากที่ได้ศึกษาจากองค์หลวงพ่อนะครับ ผมตอบเท่าที่รู้นะครับ ถ้านั่งฝึกบ่อยๆ จะไม่ค่อยอยากเข้ามาตอบโต้อะไรแบบนี้เลย
     
  19. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +39,008
    เหตุผลที่หลวงพ่อนำมาสอนท่านก็บอกไว้แล้ว ก็ยังถกกันอยู่ กรรมฐาน40 หลวงพ่อก็สอน แนวทางก็เหมือนๆกับครูบาอาจารย์แทบจะทุกคน ใครชอบอย่างไรก็ปฏิบัติเอา เลือกเอาเองเถอะ
    ถนนมีหลายสายแต่ก็มุ่งถึงจุดหมายปลายทางคือนิพพานเหมือนกัน แล้วแต่ใครจะเลือกยานพาหนะอะไร..
    อนุโมทนากับผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน
     
  20. choosake

    choosake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    482
    ค่าพลัง:
    +647
    เออ ผม หัดใหม่ คับ ฝึกนั่ง สมาธิจับภาพพระพุทธรูปแก้วใสมีแสง(บังเอิญที่บ้านมีบูชาอยู่องค์ครับ) และ ท่อง นะมะภะธะ จน จิตสงบ แล้ว พิจารณา ขันธ์ 5 ร่างกายไม่ใช้เราไม่ใช้ของเรา เราไม่มีในร่ายกาย ร่างกายไม่มีในเรา ยังไม่มีเวลา ฝึกกสิณ สักที่ครับ ผมใช้เวลา ทำแบบนี้ทุกเช้าก่อนไปทำงานครับ (สวดมนต์ก่อนทุกครั้ง) เลยสงสัยว่า ที่ผมทำแบบนี้ เป็นการเตรียมตัว ก่อนที่จะไป บ้านสายลม ใช้หรือเปล่าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...