จะรู้ได้ไงว่าคนนั้นเป็นพระอริยเจ้า และมีเรื่องเล่าและเรื่องอยากถาม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 3 มกราคม 2012.

  1. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    อ่อก่อนจะอ่านกระทู้นี้ผมนอกเรื่องบอก ไปเรียนู้นบ้างเรื่องนี้บ้างก็ขอโทษทีครับ

    คําถามนี้ ผมสงสัยว่า จะรู้ได้ไงว่าเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์

    ผมรู้แค่ว่า พระโสดาบันจะรักษาศีล5 ถ้าศีลขาดเมื่อไหร่คนคนนั้นก็ไม่ใช่พระโสดาบัน

    ส่วนพระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ผมไม่รู้

    เพื่อสักวันในอนาคต ผมอาจจะสอนคนเป็นพระอริยเจ้า (พระโพธิสัตว์ยังทําได้เลย)
    ความกําหนัดที่เกิดขึ้จากความดําริคือกามของคน

    ในอนาคตนี้ อาจจะอีกหลายชาติหรือไม่ก็ชาตินี้ตอนผมโตๆ(ผมปูพื้นฐาณไว้ตอนวัยรุ่นเลย เพื่อโตมาจะได้สอนคนอื่นได้) ผมบําเพ็ญยังหย่อนมาก คือเวลาผม

    มองสาวๆ อ่อก่อนอื่น ขอบอกก่อนว่า พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า ภิกษุไม่สมควรจะแลดูผู้หญิงจะดี แล้วถ้าจําเป็นต้องเห็นจะทําไง ก็อย่าพูดคุย ถ้าจําเป็น

    ต้องคุย ก็จงมีสติสํารวมอินทรีย์ไม่ให้ความกําหนัดยินดีมาควบคลุมจิตรได้
    แต่ผมยังมองหญิงยังสวยอยู่ คือผมจะพยายามจะไม่มอง แล้วก็มีความคิดมา

    สองอย่างมาบอกผมในใจว่า ถ้าผมมองไปผมต้องปรุงแต่งอีกแน่ๆ ผมควรจะไม่มองจะได้ไม่ต้องปรุงแต่ง อีกใจ มองไปเลย สาวๆสวยๆหายากผิวเนียนๆขาว แบบนี้ โอยหายาก สรุปผมก็เลือกด้านหลัง คือผมรู้ว่าคิดยังไง ก็ใช้อสุภะควบคลมไปด้วย พิจารณาต่อไป ผมมองร่างกายของเค้า แล้วพอรู้ว่าไปปรุงแต่ง ผมก็ใช้อสุภะกรรมฐานพิจารณาไปว่า ถ้าผู้หญิงที่เรามองอยู่นี้ ถ้าหนังเค้าไม่มีหละ มีแต่เนื้อมีแต่กระดูก ถ้าอีก แปดสิบปีข้างหน้า เค้าแก่ ผิวหย่น ผิวหย่อน ผิวเหียว ไม่น่าดู จะว่าดูยังไม่อยากดูเลย ผมพยายามจะคิด พอคิดแล้วก็ตัวสั่นหน้ากลัว

    แล้วก็ผมก็บอกตัวเองว่า (ผมหรือไรไม่รู้บอก)อันนี้ เพื่อนผมเป็นคนดํา (คนแอฟริกา) นับถือพระเจ้า ตอนนั้นเค้ามาบ้านผม ตอนนั้นผมและเค้ามีอารมณ์หื่นๆคือ ดูคุยๆไปคุยมาก็ไปเรื่องผู้หญิงแล้วก็อารมณ์หื่นๆ ผมเลยคิดว่า ถ้าเราจะให้เพื่อนเรา และตัวเราหื่นต่อไปนี่คงไม่ดีแน่ เราจะเป็นกัลยนมิตร ให้เพื่อนเราปลงร่างกายอันสวยๆ

    ผมพิมพ์ไปgoogle ว่าอสุภะ ถ้าท่านอยากปลงสังขารจริงๆ ผมเชื่อว่ามันช่วยได้มาก แต่ถ้าใจไม่ถึง(บารมีไม่ถึง)ก็อย่าไปดูมันน่ากลัวแต่มันก็คือความจริง ต่อเลยนะครับ

    ผมคิดว่า เพื่อนผมอาจจะปลงก็ได้ กลับมาด่าผม(ทําเสียงไม่พอใจ) ว่า เองจะเปิดรูปพวกนี้มาให้ดูทําไมวะ ผมเลยบอกไปว่า ผมไม่อยากหื่น อยากบอกแกว่าร่างกายจริงๆมันก็แบบนี้แหละเว้ย แล้วมันก็ถาม แล้วจะเปิดมาทําไม ไมมาเปิดรูปคนตายให้ I ดู (คือพูดฝรั่ง I นี่คิดเอาสรรพนาม ฉัน ข้า เรา กุ นะครับเลือกเอา) เค้าก็ไม่ชอบ เห็นของสวยๆแล้วผมกลับพลิกไปเปิดของเน่าๆไม่น่ามอง

    อันนี้ผมเห็นด้วยกับธรรมของพระพุทธเจ้าที่พระพุทธเจ้าเคยสอนไว้ว่า ธรรมบางอันเหมาะกับคนบางคน ธรรมบางอันไม่เหมาะกับคนบางและคน คือมีชาดกหนึ่งพระโพธิสัตว์สอนธรรมกับราชา ราชาชอบแล้วก็ให้ทรัพย์ พระโพธิสัตว์เป็นนักบวชก็ไม่เอา แล้วพอพระโพธิสัตว์สอนธรรมกับคนที่พายเรือ (ผมจําไม่ได้ว่าชาดกไร) คนพายเรือคนนั้นเป็นคนไม่ดี แล้วก็คนพายเรือคนนั้น ก็โกรธ เพราะคิดว่าจะได้ของดีแต่ได้คําพูดไรก็ไม่รู้ก็ตบปากพระโพธิสัตว์แล้วก็โกรธมาก ตอนนั้นเมียคนพายเรือมา ดันไปโดนเมียแล้วเมียท้องลูกแท้งเลย

    นี่คือโทษของโทสะจําเอาไว้นะครับ

    แล้วก็มีหลายครั้งที่ผมคนพุทธจะให้อริยศัพท์กับเพื่อน คือผมฟังอ่านมาก็อยากจะสอนเพื่อน ผมเคยปรามาส ศาสดาของเค้าคือพระเจ้า บอกไปว่า พระเจ้าเป็นใครรู้ได้ไงว่ามีจริง เองเคยเห็นเรอะหลักฐาณอะมีไหม มันเลยย้อนผม แล้วพระพุทธเจ้าอะมีจริงเรอะ เองเคยเห็นเรอะ ผมเลยบอกว่ามีจริงพระพุทธเจ้าสอนธรรมในหนังสือ (ผมไม่รู้ว่าพระไตรปิฏกภาษาอังกฤษคือไรเลยบอกไปว่าหนังสือ)

    แล้ววัดพระพุทธเจ้าอยู่ก็มีจริง เพื่อนผมคนนี้แรงศรัทธาของเค้าก็ทําให้เค้าเชื่อพระเจ้าต่อไป ยังไงสักวันเพื่อนผมก็ต้องนิพพานอยู่ดี

    อ่อผมบอกไรหน่อย คนคริสต์ บางคนไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าเลย(คือเกิดมาก็คริสต์ชื่อว่าคริสต์แต่ก็ไม่คริสต์จริง เหมือนคนพุทธ เป็นคนพุทธ แต่ก็ไม่ทําตัวตามที่หลักการของพระพุทธศาสนา) ขอใช้บางคนเพราะเพื่อนผมอายุเท่าผม 15 คนโปแลนด์บอกว่า ฉันไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าสักนิด อันนี้ก็ดีแต่ถ้า เค้ารู้ว่าพระพุทธเจ้า

    มีจริง เก่งแค่ไหนพระพุทธเจ้าฉลาดแค่ไหน คิดว่าเพื่อนฝรั่งผมคนนี้อาจจะเป็นพระอริยก็ได้ในอนาคต แต่เค้ายังดื่มเหล้าสุบบุหรี่อยู่คงยากนิดหน่อย แต่ก็ไม่

    เป็นไรยังไงก็ต้องนิพพานสักวัน จริงๆคนทุกคนก็เป็นพระอริยเจ้าได้ง่ายๆ ศีลสัมมาฐิทิ พระโสดาบันทําอย่างไงก็ทําตามเค้าเดี๋ยวก็ได้เป็น เรื่องการเป็นพระอริยเนี่ยผมรู้ไม่ค่อยมาก ไปหาอ่านเองละกัน

    กับเข้าเรื่องผมนอกเรื่องมากไปหละ มาคําถาม อันนี้เอามาจาก Buddha thus have i heard ตอนที่41 พระองค์บอกว่า
    สิ่งดงามวิจิตรในโลนกี้ไม่ใช่กาม
    แต่ความกําหนัดที่เกิดขึ้นเพราะการดําหริต่างหากเล่าเป็นกามของคน
    เมื่อละความพอใจได้แล้ว สิ่งที่งดงามวิจิตรก็มีอยู่อย่างงั้น ก็ทําให้เป็นพิษไม่ได้

    ช่วยบอกทีครับ ความกําหนัดเพราะการดําหริคือการของคน คืออะไรครับ
     
  2. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    ตัณหา คือความอยาก ความไม่อยาก และความอยากให้เป็นแบบนั้นตลอดไป(ไม่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลง)
     
  3. somkun62

    somkun62 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +764
    วันนี้นอนดึก นั่งดูรักปาฏิหาริย์ย้อนหลังอยู่ นางเอกกำลังจะเปิดเผยตัวแล้วนั่งลุ้นตัวโก่งเลย อิอิ ชอบ (smile)(smile) (smile)

    เรื่องพระอริยเจ้ารอกูรูมาตอบแล้วกันผมไม่สันทัดในเรื่องนี้

    ส่วนเรื่องการมองสาวสวยของนักภาวนาอ่อนซ้อมอย่างผม ก็พอเอาตัวรอดกับเขาได้เหมือนกัน อิอิ พูดแล้วอย่าหาว่าคุย
    (eek)(eek)
    ผมคนหนึ่งละที่ชอบมองผู้หญิงสวย ก็คนมันสวยอ่ะแถมแต่งตัวซะน่ามองขนาดนั้นใครเล่าจะอดใจใหว

    แต่การมองของผมพอเห็นสาวสวยจิตจะคิดต่อทันที ผมก็ใช้พุทโธดักเลย วิธีนี้เอาอยู่ชกกันมาหลายครั้งแล้ว รู้อยู่ว่านี่คือการกดข่มแต่ก็ดีกว่าปล่อยให้จิตมันคิดไปทางอกุศลเรื่อยเปื่อยมิใช่หรือ

    ถ้าเป็นสายดูจิต เขาจะใช้การตามดูความรู้สึกเป็นหลัก เช่น เห็นคนสวยใจมันชอบ ก็รู้ว่าชอบ ให้รู้อยู่ที่ใจ ก็เอาอยู่เหมือนกัน นายลองนำไปใช้ดูชิได้ผลนะ:cool:
     
  4. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    วิปัสสนาญาณ 16

    เมื่อได้ปฏิบัติตามแนวมหาสติปัฏฐาน 4 คือ มีสติกำหนดรู้รูปนามที่เป็นปัจจุบัน โดยไม่ขาดสายตลอดกาล การ วิปัสสนาญาณ 16 ย่อมเกิดขึ้นได้ แก่ผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ได้ตรัสไว้ให้ดีแล้วทุกประการ ผู้ปฏิบัติตามลำดับได้มีไว้ ดังนี้ ผู้บรรลุพิเศษในภาคโลกุตตระ คือ มรรคผล นิพพาน ได้แก่ ผู้บรรลุปฏิเวธสัทธรรม เป็นอริยบุคคล คือ เป็นผู้ประเสริฐไกลจากกิเลส ความเป็นปุถุชน ได้สิ้นสุดไป มรรคญาณได้เกิดขึ้นมาพร้อมกัน ลำดับขั้นดังนี้


    1. นามรูป ปริจเฉทญาณ ปัญญารู้รูปนาม แน่ใจว่าในโลกนี้มีความจริงอยู่ 2 อย่างคือ รูปธรรม สิ่งที่แสดงให้รู้ นามธรรม สิ่งที่เข้าใจรู้ โดยอาศัย ทวารประตูทั้งหก ขณะอารมณ์จากภายนอกมากระทบ

    2. นามรูป เป็นปัจจยปริคคหญาณ ปัญญารู้จัก เป็นปัจจัย ของนาม รู้ว่านาม-รูป ต่างก็เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน


    3. สัมมสนญาณ ได้เป็น อนัตตา บังคับไม่ได้จะต้องเป็นไปตามกฎของมัน เพราะรูป-นาม รวมกันเกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป เป็นธรรมชาติเสมอ เมื่อผู้ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้วมีสติตั้งมั่นอยู่ โมหะก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะถูกสติบังคับควบคุมอยู่ตลอด

    4. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เห็นรูป-นาม ทั้งหลาย เกิด-ดับ พร้อมกัน ผู้ทำวิปัสสนาเท่านั้นจึงจะรู้ได้ รูปดับ นามดับพร้อมกัน ปัจจุบันไม่เอาไป ผสมกับอดีต อนาคตให้กำหนดรู้รูปนาม แจ้งชัดทำให้รู้เห็นไตรลักษณ์ ปราศจากอุปกิเลสทั้งหลาย รู้แต่ปรมัตถ์ ไม่มีสติสืบเนื่องเลยไปถึงบัญญัติเหล่านี้ เป็นต้น

    5. ภังคานุปัสสนาญาณ มีปัญญาเห็นแตกดับไปอย่างละเอียดขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจความเกิดขึ้นดับไป ทั้งรูปและนาม พร้อมกันทั้ง 2 อย่าง อุปมาคือ 2 คนกอดคอกันลับหายไป
    กำลังศรัทธา วิริยะ ความเพียร ทำให้สมาธิสติปัญญาแก่กล้าขึ้นไป


    6. ภยตูปัฏฐานญาณ มีปํญญาเห็นรูปนามดับไปเป็นไฟน่ากลัว เมื่อทำวิปัสสนา เห็นรูปนามดับไป เพราะไม่ปราศจากสติ มีความเพียรติดต่อกัน เป็นปัญญาเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาปรากฏติดอยู่กับรูปนามเสมอ ย่อมเห็นความดับไปของรูปนามเป็นกองไฟใหญ่ เห็นแล้วน่ากลัว ถ้าไม่รู้วิปัสสนา ก็ไม่รู้ที่จะพิจารณามัน


    7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ปัญญาเห็นรูปนามดับไปเป็นทุกข์ เป็นโทษ ไม่มีความปรารถนายึดมั่นในรูปนาม แม้แต่น้อยนิด


    8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปํญญาเห็นรูปนามดับไปน่าเบื่อหน่าย ผู้เจริญวิปัสสนาเมื่อถึงนิพพิทาญาณ เห็นรูปนามเกิดดับ ไม่มีความยินดี เหมือนกับบุคคลผู้แต่งกายสะอาดแล้วย่อมเบื่อหน่ายสะอิดสะเอียนต่อของสกปรก ย่อมยินดีอยู่กับของสะอาดบริสุทธิ์เท่านั้น


    9. มุญจิตุกัมยตาญาณ ผู้มีปัญญาเห็นรูปนามเกิดดับ อยากจะไปให้พ้นจากรูปนาม ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนถึง มุญจิตุกัมยตาญาณ ก็อยากจะพ้น จากรูปนามที่ดับไปสิ้นไปนั้น


    10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ปํญญาเห็นรูปนามเกิดดับ หาทางหนีจากรูปนาม เมื่อวิปัสสนาสามารถเห็นรูปนามเกิดดับ เห็นไตรลักษณ์ปรากฏ ติดอยู่กับรูปนาม มีรูปนามเป็นของรับรองไว้ เมื่อนั้นย่อมเห็นไฟ เห็นโทษ เป็นที่น่าเบื่อหน่าย อยากจะหนีให้พ้นโดยอนุโลม แล้วพิจารณาทางที่เป็นอุบาย ที่วางรูปนาม อุปมาก็คือบุคคลคิดจะจับปลาตามสุ่ม จับได้ก็มีแต่ความดีใจ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อรู้รูปนามแจ้งชัดก็ไม่ถือว่าเป็นตนเป็นตัว ก็คือ บุคคลที่จับ สุ่มอยู่ในน้ำ สำคัญนักหนาดีอกดีใจแล้วว่าจะได้ปลา แต่เมื่อดูรูปนามไปจนเห็นเกิดดับไม่เที่ยง เป็นทุกข์บังคับไม่ได้ ก็มีแต่ความตกใจเห็นโทษ น่าเบื่อหน่าย เหมือนบุคคลที่ยกมือขึ้นจากสุ่มไม่ได้ปลานั่นละ อยากจะกลับบ้าน หนีพ้นจากหนองน้ำเสียที

    11. สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาเห็นว่าไม่มีเป็นของตน คงจะมีแต่ความว่างเท่านั้น ส่วนว่าสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ใช่ของเราไม่ใช่ของ เขา ถ้าหากว่าเราปลงได้แล้วก็ไม่มีทุกข์ แต่ยังไม่ทันหมดทุกข์ได้ยังมีทุกข์อีก คือ ทุกข์มาจากธรรมชาติ คือ เกิด, แก่, เจ็บ, และตาย นี่คือความทุกข์อันแท้ จริง เป็นแหล่งสุดท้ายของความทุกข์ที่เรามี อาตมากล่าวมานี้เป็นความจริงทั้งนั้น ถ้าอยากรู้ก็พากันทำวิปัสสนาดูแล้วก็จะรู้ด้วยตนเองว่า จริงหรือไม่ก็ จะรู้เอง เพราะพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงสอนไว้ว่า “โอปนยิโก” แปลว่า น้อมเข้ามา ปัจจัตตัง รู้จำเพาะตนคนเดียวเท่านั้น คนอื่นหารู้ได้ไม่ ใครปฏิบัติ ธรรมคนนั้นย่อมรู้เอง รู้ว่าสังขารรูปนามนั้น ถ้าหากว่าเราได้สงบแล้วก็จะเห็นแจ้งแห่งพระนิพพาน ถ้ายังไม่รู้แจ้งพระนิพพาน ก็เพราะเราหลงอยู่ในรูป นาม ว่างามอย่างนั้น สวยอย่างนี้ ดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้

    12. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ มีปัญญาเห็นรูปนามดับไปจะมีกำลังดียิ่งขึ้นได้ตามอำนาจของอริยสัจ สามารถกำจัดความมืดที่มา ปกคลุมอยู่ให้หมดไป รู้อริยสัจได้ก็ต่อเมื่อวิปัสสนาญาณเจริญยิ่งๆขึ้นตามลำดับ โดยอนุโลม ปฏิโลมกลับไปและกลับมาตั้งแต่อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ไปจนถึงสังขารุเปกขาญาณ รู้รูปนาม รู้ทุกข์อริยสัจชัดแจ้งเป็นความจริงที่ไกลจากกิเลส เห็นรูปนามดับไปเป็นอารมณ์ ดังที่อาตมาได้อธิบายมาแล้วนั้น เป็นความจริงตามหลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎกทั้ง 3 พระคัมภีร์

    13. โคตรภูญาณ ปัญญาที่รู้นิพพานทำลายโคตรปุถุชน ความรู้น้อมไปสู่พระนิพพาน ความดับ รูปนามไม่เกิด อนุโลมญาณเป็นปัญญาที่สามารถ ทำลายกิเลสที่ปิดบังความจริงไว้ได้ แต่ไม่สามารถเห็นนิพพานได้เป็นปัจจัยส่งให้โคตรภูญาณ โคตรภูญาณนี้สามารถน้อมไปสู่นิพพานได้แต่ไม่สามารถ ทำลายกิเลสได้ ทำหน้าที่โอนโคตรจากปุถุชน ไปสู่อริยโคตรได้โดยมีวิปัสสนาเป็นปัจจัย เมื่อโคตรภูญาณเกิดขึ้นทำหน้าที่ของตนหมดแล้วก็ดับไป ญาณ ในโลกุตตระ คือ มรรคญาณ ผลญาณโดยมีนิพพานเป็นอารมณ์ก็เกิดขึ้นติดต่อกันไป ซึ่งไม่มีระหว่างขันธ์ตามลำดับแห่งมรรคชวนะวิถี อุปมาเหมือน บุรุษจะข้ามคลองน้ำ วิ่งมาด้วยกำลังแรงจับเถาไม้ที่ผูกติดอยู่กับต้นไม้ แล้วเหวี่ยงตัวให้ข้ามไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง แล้วปล่อยเถาไม้เสีย แล้วมาตั้งตัวให้เป็น ปกติก็สบาย รู้สึกว่าตัวเองได้ข้ามพ้นคลองน้ำสำเร็จแล้ว การปล่อยเถาไม้นั้นก็คือ ตัดเชื้อชาติปุถุชน การตั้งตัวให้เป็นปกติก็เท่ากับได้ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

    14. มรรคญาณ ปัญญาในโสดาปฏิมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหันตมรรค กำจัดกิเลสตามฐานะของตน โดยมีนิพพานเป็นอารมณ์ เหมือนกัน

    15. ผลญาณ ปัญญาในโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหันตผล ซึ่งเกิดขึ้นติดกันกับมรรคจิตของซึ่งกันและกัน โดยไม่มีระหว่างขันธ์ และนิพพานเป็นอารมณ์เหมือนกัน


    16. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาที่เกิดขึ้น พิจารณามรรคผลนิพพานกิเลสที่ละได้แล้วและยังเหลืออยู่ตามอำนาจของมรรคผลนั้นๆ


    อานิสงส์ของ การปฏิบัติวิปัสสนาอย่างต่ำก็ทำให้คนเลวกลายเป็นคนดีได้ ทำให้คนที่มีความดีอยู่แล้วนั้น ให้ทำความดียิ่งๆขึ้นไป ทำให้คนโง่กลายเป็นคนฉลาด รู้แจ้ง ในกรรมเลว แล้วเลิกอบายมุขทั้งหลาย จะเกิดเป็นคนขยันหมั่นเพียรต่อการงาน อันเป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นพร้อมด้วยสังคม และพระพุทธศาสนา มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ผู้มีพระคุณ มีสติมั่นคงในการทำคุณงามความดี มีอุปนิสัยแก่กล้าก็สามารถเข้าถึงมรรคผล และรู้แจ้งแห่งทางไปพระนิพพาน ได้ตามวินิจฉัยของตน
    อันธรรมะและกฏระเบียบนั้นไม่ได้อยู่ที่อื่น แต่อยู่ที่ ตัวของบุคคล ซึ่งตัวบุคคลก็คือเราเอง ไม่ใช่คนอื่น เราจะยอมปฏิบัติตามหรือไม่ ธรรมะไม่ได้อยู่กับพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าเป็นผู้แสวงหา เห็นแล้ว พระองค์จึงเอามาเผยต่อเวไนยสัตว์ มีพระสงฆ์เป็นผู้รับช่วงต่อแนะนำสั่งสอนตามหลักพระธรรมวินัย และกฏระเบียบที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ และมี พุทธานุญาตให้ใช้ แต่เราจะยอมใช้และปฏิบัติตามหรือไม่ พระบาลีได้ทรงตรัสไว้ว่า อัสโสปัสโส ได้ใจความว่า หายใจเข้าเป็นพระวินัย หายใจออกเป็น พระสูตร พระปรมัตถ์เป็นผู้รู้อยู่ข้างใน รักษาไม่ให้แตกดับ ไม่ให้วุ่นวาย ไม่ให้ทำความเลว ไม่ให้ทำความเสียหาย พระบาลียังทรงตรัสไว้อีกว่า สะบัญญัติ โยขันทะบัญญัติ อายตนบัญญัติ ธาตุบัญญัติ พระองค์ทรงบัญญัติ ธาตุน้ำ, ธาตุดิน, ธาตุไฟ, ธาตุลม นี้ไว้กับตัวบุคคล ถ้าหากว่าไม่มีธาตุทั้ง 4 นี้ มนุษย์และสัตว์ก็ไม่สามารถอยู่ได้ จะต้องตายหมด ธรรมะทั้งหลายเหล่านี้คือ พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้แจ้ง และก็สั่งสอนให้เราชาวพุทธบริษัท เข้าใจและ ปฏิบัติเอาเอง พระองค์ไม่ได้บัญญัติไว้ตามต้นไม้หรือภูเขา และตามสถานที่ใดที่หนึ่งเลย พระบาลีได้ตรัสไว้อีกว่า กุศลธรรมา อกุศลธรรมา กุศลธรรมา คือ กุศลดีที่สุด เป็นคุณความดีประเสริฐที่สุด ซึ่งเป็นกุศลติดตามผู้ทำคุณความดีอันเป็นบุญเป็นกุศล อยู่ในกุศลธรรมานี้เอง

    เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ มันก็อยู่ กับเราทำให้เรามีความสุข เมื่อเราตายไปแล้วมันก็จะตามเราไปส่งผลให้เราไปถึงสวรรค์นิพพาน ถ้าหากเรากลับมาเกิดอีก มันก็จะตามส่งผลให้เราได้ เกิดเป็นมนุษย์บริบูรณ์ เป็นมนุษย์สานัง นั่นละคือ กุศลธรรมา ส่วนอกุศลธรรมา ก็คือผลกรรมเลว เมื่อเรากลับมาเกิดมันก็จะตามมาให้ผลเหมือนกัน ผลที่ได้รับคือ เป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ ตัวอย่างที่เราเห็นอยู่ มนุษย์ไม่สมบูรณ์เป็นอย่างไร คงจะเข้าใจดีอยู่แล้ว ผู้ที่ทำความเลวอันเป็นบาป คือ อกุศลธรรมา เมื่อตายไปแล้วมันก็ตามไปให้ผลเหมือนกัน คือ ไปเสวยผลกรรม อยู่ที่นรกอเวจีกะภูมิ คือ เป็นเปรตสุรกาย ครึ่งผีครึ่งคน และสัตว์ คนก็ไม่ใช่ผีก็ไม่เชิง สัตว์ก็ไม่แท้แน่นอน ก็คือเปรตอสุรกาย จึงฝากไว้กับท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ผู้ที่เจริญแล้วจงใคร่ครวญเอา ว่าควรจะทำ กุศลธรรมา หรือจะทำอกุศลาธรรมา จงตัดสิน และเลือกเอาว่าจะเอาทางไหน แล้วก็เริ่มต้นละความเลว ถ้าไม่ละความเลวเสีย ก็ทำความ ดีไม่ได้ เพราะอะไร? เพราะติดอยู่ในความเลวยังละเสียไม่ได้ ความดีจึงไม่เกิดขึ้น

    ดังนั้น ธรรมะทั้งหลายที่ได้กล่าวมาจึงเป็น สิ่งที่เกื้อกูลต่อชีวิตมนุษย์ ถ้าหากว่า เรามนุษย์ทั้งหลายรู้จักหลักพระธรรมคำสั่งสอน ของพระผู้มีพระ ภาคและเอามาปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว ชีวิตย่อมมีคุณค่า คำที่ว่าคุณค่าของมนุษย์ คืออะไร คือความเป็นจริง ความเป็นจริงนี้เป็นของธรรมชาติ มีมาก่อน คำว่าธรรมชาติ ยืนอยู่ก็เป็นธรรมชาติ ลืมตาก็เป็นธรรมชาติ เดิน นั่ง ก็เป็นธรรมชาติ กิริยาอาการทั้งหลายเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกื้อกูลต่อชีวิต ถ้าหากว่าไม่มี ธรรมชาติแล้ว คือเมื่อลืมตาดู ก็ไม่รู้ว่าดูอะไร รับฟังอยู่ก็ไม่รู้ว่าฟังเรื่องอะไร ยืนขึ้นมาจะเดินก็ไม่รู้ว่าจะเดินไปไหน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ พระพุทธเจ้าท่าน ได้แสดงไว้ว่า ธรรมชาติก็มาจากธรรมนี่เอง ไม่ได้มาจากที่อื่น ……..

    ……………………………………………………………………………………………………<O:p</O:p



    สังโยชน์ แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึง กิเลสที่ผูกใจสัตว์ไว้มี 10 อย่างคือ

    1.สักกายทิฏฐิ ความเห็นที่ยังติดแน่นในสิ่งสมมุติว่าเป็นตัวตน ว่าเป็นเรา ว่าเป็นเขาและว่าเป็นนั่น เป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพที่เป็นจริงว่า สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่าง ๆ มาประชุมกันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ

    2.วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่าง ๆ เช่นสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม และในพระสงฆ์เป็นต้น

    3.สีลัพพตปรามาส คือ ความถือมั่นศีลพรต คือ ความยึดถือว่าตนจะบริสุทธิ์ หรือหลุดพ้นได้ด้วยการถือศีล ระเบียบ เบียบแผน โดยสักว่าทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย หรือเห็นศีล วัตร แบบแผน เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ถือไปด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง

    4.กามราคะ ความกำหนัดในกาม ความติดใจในกามคุณอันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์

    5.ปฏิฆะ ความกระทับกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคืองใจ

    6.รูปราคะ ความติดใจในรูปพรรณอันประณีต เช่น ความพอใจในรสความสุข ความสงบของสมาธิในขั้นรูปฌาน เป็นต้น

    7.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน ติดใจในอรูปภพ เป็นต้น

    8.มานะ ความถือตัว ได้แก่ความสำคัญตัวว่า เป็นนั่น เป็นนี่ เช่นสำคัญว่า สูงกว่าเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น

    9.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตไม่สงบ ว้าวุ่น คิดพล่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ

    10.อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ได้แก่ไม่รู้อริยสัจจ์


    ลำดับพระอริยบุคคล

    คำว่า อริยบุคคล ก็ได้แก่ บุคคลผู้เจริญแล้ว คำนี้หมายเอาพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอริยสงฆ์เท่านั้น พระอริยสงฆ์ คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์

    1.พระโสดาบัน ผู้เข้าถึงกระแสคือเข้าสู่มรรค เดินทางถูกต้องอย่างแท้จริง หรือปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรคอย่างแท้จริง เป็นผู้รักษาศีลให้สมบูรณ์มิให้ศีลขาดหรือด่างพร้อย ทำได้พอประมาณ ให้สมาธิ (คือทำได้ยังไม่เต็มที่เหมือนรักษาศีล) และทำให้พอประมาณในสมาธิ ละสังโยชน์กิเลสได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) วิจิกิจฉา (ความสงสัย) สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นในศีลและข้อวัตรอย่างงมงาย)

    2.พระสกทาคามี ผู้จะกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว ก็จะกำจัดทุกข์ได้หมดสิ้น เป็นผู้รักษาศีลให้บริบูรณ์ ทำได้พอประมาณในสมาธิ ทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์กิเลส 3 ข้อข้างต้น คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลงด้วย

    3.พระอนาคามี ผู้จะปรินิพพานในที่ที่ผุดขึ้น ไม่เวียนกลับมาอีก เป็นผู้รักษาศีลให้บริบูรณ์ ทำสมาธิให้บริบูรณ์ได้เต็มที่ แต่ทำได้พอประมาณในปัญญา (มีใจเป็นสมาธิ แต่ยีงไม่เห็นแจ่มแจ้ง) ละสังโยชน์ได้อีก 2 คือ กามราคะ (ความกำหนดในกาม) และ ปฏิฆะ (ความขุ่นเคืองใจ) รวมเป็นละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ 5 ข้อ

    4.พระอรหันต์ ผู้ควร (แก่ทักษิณาหรือการบูชาพิเศษ) หรือผู้หักกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาทั้ง 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และละสังโยชน์กิเลสเบื้องสูงได้อีก 5 ข้อ คือ รูปราคะ (ความติดใจปรารถนาอยู่ในรูปภพ) อรูปราคะ (ความติดใจปรารถนาอยู่ในอรูปภพ) มานะ (ความถือตัว) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) อวิชชา (ความไม่รู้อริยสัจจ์) รวมละสังโยชน์ได้ 10 ข้อ

    ลำดับ ทั้ง 4 นี้แหละเป็นลำดับพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา ผู้ที่เข้าใจหลักนี้ ย่อมพอมองออกและเข้าใจถึงความเป็น พระอริยะ ได้บ้าง

    …………………………………………………………………………………

    สมาธิ ฌาน มีเจริญมีเสื่อม .....มรรคผล นิพพาน เป็นของไม่เสื่อม

    …หากต้องการให้การปฏิบัติธรรมคืบหน้า ให้ดูที่ตนเป็นหลัก ลดการส่งจิตไปนอก ไปดู ไปวิเคราะห์ ไปวิจารณ์

    ไปลังเลสัยในผู้อื่น ในสิ่งอื่น ไม่เกิดประโยชน์ใดๆกับตัวเราเลย มีแต่โทษ ...ดูที่ตน ทำที่ตน แก้ที่ตน จึงจะประเสริฐ

    มรรคผลนิพพาน อยู่ที่กาย ที่ใจเรานี้เอง ไม่ได้อยู่ที่อื่นเลย..อนุโมทนากับผู้ปฏิบัติธรรมทุกๆท่าน ครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 มกราคม 2012
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    "ตัณหานั้น สมณะกลาวกันวา
    เปนลูกศร, โทษอันมีพิษของอวิชชา ยอมงอกงามเพราะฉันทราคะและ
    พยาบาท, ลูกศรคือตัณหานั้นเราละไดแลว, โทษอันมีพิษของอวิชชา
    เราก็นําออกไปหมดแลว เราเปนผูนอมไปแลวในนิพพานโดยชอบ"
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ความดำริ คือ กามของคน

    ก็คือ การสงสัยถามนู้นถามนี้ นี่แหละครับ ทางธรรมเขาเรียก พวกหื่น ของแท้

    อย่างเรื่อง สาว จริงๆ แล้ว มันจะต้องเกิดจากการ ดำริ ก่อน ที่นี้ คนเราเวลา
    จิตไปดำริก็แสร้งทำเป็นส่ายหน้า เพื่อรักษาภาพลักษณ์ สร้างสิ่งให้ตนเกาะ
    อาศัย ภาพภายนอกยังดูสำรวม แต่ จริงๆ จิต ดำริ ครุกรุ่นอยู่ พอจิตดำริครุ
    กรุ่นแล้วก็ทำเป็นวางอารมณ์ อสุภะ

    ดังนั้น บัณฑิตที่ฉลาด เขาจะรีบเห็นทันทีว่า เมื่อไหร่ จิตวางอารมณ์ในกรรมฐาน
    อสุภะ เมื่อนั้นแปลว่า จิตมันมีเหตุให้เกิดการวางอารมณ์ ซึ่งก็หมายถึง จิตเกิดการ
    ดำริ ทางกาม แต่ คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ เขาบอกว่าทำ อสุภะ ก็ทำ อสุภะ ทำเป็น
    แบบพอเป็นพิธี ให้ชื่อว่าได้ทำ จะได้ไม่อายเวลาไปเสวนา แต่จริงๆแล้ว าทงการ
    ปฏิบัติจะต้อง ตามระลึกเข้าไปด้วยว่า จิตมีกามราคะ ให้รู้ว่าจิตมีกามระคะ ไม่ใช่ไม่มี

    * * *

    การณีที่บอกว่า พระโพธิสัตว์สอนคนให้เป็นอริยะได้ นี่ก็เป็น ดำริ แบบ นักข่มขื่นแล้วฆ่า
    เลยทีเดียว เพราะ พระโพธิสัตว์สอนคนให้เป็นอริยะไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ ความดำริ
    ชนิดนี้ เป็น กามสุดขั้ว กามของนักข่มขืนแล้วฆ่า พระโพธิสัตว์สอนได้อย่างมากก็แค่
    ปรารภถึงการให้สมาทานศีล ส่วนเรื่องกรรมฐานนั้น ก็แค่เพียงรู้อารมณ์ที่ออกนอกลู่
    นอกทางละเอียดกว่าคนอื่นเท่านั้น ทำให้ สามารถพูดจาเป็นอุบาย(พหุสัจจ)ให้เขาหันหลังกลับ
    ไปยังทางที่ควรได้โดยเขาไม่รู้สึกตัว ต้องไม่รู้สึกตัวนะ ถ้ารู้สึกตัวจะไม่ได้ผล

    ทำไมจะต้องเป็นแบบไม่รู้สึกตัว ก็เพราะว่า จะทำให้เขาเกิดศรัทธาต่อตนไม่ได้ หาก
    ไปเผลอทำให้เขาศรัทธาตน ก็เท่ากับ มาปล้นพุทธเกษตรของพระสัพพัญญูอื่น หัวขโมย
    ดีๆนี่เอง

    เขาถึงมี สุภาษิตสอน พระโพธิสัตว์ว่า "พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย นิ่งเสียโพธิสัตว์"

    * * * *

    เรื่องการดู โสดาบัน สกิทาคา ฯ อันนั้น มันเรื่องของพวก คนเดินตามก้น คนที่
    คอยมองหามรรค ไม่ใช่ลักษณะของคนค้นคว้ามรรค พูดง่ายๆ หากเป็น พระโพธิสัตว์
    เขาไม่สนใจ หรือ วางอารมณ์สนใจในเรื่องที่ต่ำกว่าเป้าหมาย ดังนั้น ใครจะเป็น
    อริยะเจ้าชั้นใด นั่นมันเรื่องของ การเป็น สาวก ไม่ใช่เรื่องของโพธิสัตว์จะต้องไปใส่
    ใจว่าใครเป็นอย่างไร

    แต่คนใดก็ตาม ที่แสวงหามรรค หรือ รู้จักทางเดินมรรคสำหรับตน ก็แปลว่า คนๆ
    นั้นเคารพ หรือ มุ่งไปสู่ธรรม การที่ เขามุ่งไปสู่ธรรม จึงถือว่า เป็น สหธรรมมิก เป็น
    สหายทางธรรม เคารพกันที่ "ธรรม"

    การที่เราวางจิตไปสนใจใครอริยะเจ้า ใครไม่ใช่ นี่มันก็บอกอยู่แล้วว่า มันเป็นเรื่อง
    อารมณ์ของคนหาที่พึ่ง ไม่ใช่เรื่องของคนหาอุบายนำออก ( คนที่รู้ทุกข์ จะมีกริยา
    ตอบสนองสองอย่างเท่านั้นคือ หาที่พึ่ง กับ หาอุบายนำออก) ซึ่งก็หมายถึงว่า หาก
    ปุถชนคนขาดการสดับใด สนใจเรื่องความเป็นอริยะของผู้อื่น นั้นแปลว่า ไม่ใช่โพธิสัตว์
    แต่เป็นพวก สาวก ธรรมดาๆ ซึ่งมักจะถูก ชักจูงได้ง่าย เพราะ พร้อมเป็นฝ่ายตาม
    พร้อมจะตั้งคำถามแปลกๆ เพื่อให้คนอื่นมาตอบ เข้าใจผิดว่า การตั้งคำถาม
    แปลกๆ เป็นความฉลาดรู้ แสวงหาความรู้ใส่ตน

    อย่างกรณี ท่านพุทธทาส เราก็ไปฟังเอาจาก ใครก็ไม่รู้ เป็นพระก็ไม่ใช่ ในบทความ
    ก็พูดให้เหมือนเขารู้อารมณ์พระอนาคามีดี แต่แท้จริงเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ ถึงจะเป็น
    พระอนาคามีจริง สังโยชน์เรื่องมานะสังโยชน์ อิจฉา ริษยา นี่พระอนาคามียังมีอยู่

    แล้วเขาอ้างว่า สอดตารู้สู่ตาเห็น ไปเห็นอะไร อ้วนๆในนรก กลับมา ใครจะไปรู้ว่า
    ความที่ มานะสังโยชน์ไม่สิ้น ความตระหนี่ธรรมยังมีอยู่ อาจจะทำให้ หยิบจับบัญญัติ
    ตามอาสวะที่หลงเหลือว่าเห็นเป็น ท่านพุทธทาส

    สุดท้ายก็ลากคนเป็นจำนวนมากไปสู่การ ปรามาสพระ หยุดประโยชน์ของตนทันที
    ไม่มีทางเจริญคุณธรรมใดได้อีก

    ต้องมีชีวิตเวียนวน อยู่กับ การ ด่าพระรูปเดียว ไปทั้งชีวิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2012
  7. KhonKae

    KhonKae Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2011
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +76
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ลองนึกดูนะ ว่า พวกสงสัยเข้าว่า ฉลาดถามเป็นกรด จริงๆ แล้ว เป็น กาม แบบไหน

    แน่นอนเลยว่า พวกสงสัยแล้วถาม พอไปเขตประเทศอะไร เจออะไรที่เขาเชิดชู
    ว่าดี ก็จะชงคำถามเชิง ปรัชญา วาที ปริพาชก ว่า "ดียังไง ดีจริงแบบไหน"?

    ไปอีกเขตประเทศหนึ่ง ก็ถามอีก

    ที่นี้ หากเป็น ลัทธิคำสอน ไปเจอคำสอนไหน ก็ ชงคำถามอีก ดียังไง ดีจริงแบบไหน?

    เป็น เจ้าหนุจำไม สมองเท่าเด็ก5ขวบ ไม่ว่าตัวจริงจะอายุปูนไหน ไปถึงไหน ก็ยัง
    เฝ้าแสวงหาความรู้ ความจริง ด้วยการถามเขา

    ถามเขาแล้ว ก็ไม่ได้ดู ว่า กี่วัน ตนก็ลืม ถามแล้วก็ลืม มันจะเป็น การแสวงหาความ
    รู้ได้จริงไหม

    แต่ก็ไม่สนใจ ไปเจออะไร เจอภาษาไหน ก็ถามเป็นภาษานั้นอีก เรียกว่า เอา ดำริ
    เข้าว่า เอากามเข้าแบะท่าให้เขาสอดใส่

    มันไม่ใช่อาการของคนมีความรู้ แต่ มันเป็นอาการของ หญิงสาธารณะ ก็ไม่ปาน

    เจอะไรก็สงสัย เจออะไรก็ถาม ถามเก่งไปทุกเรื่อง ไม่ใช่ โพธิสัตว์หรอก แต่ เป็น หญิง
    สาธารณะที่พร้อมแบะท่าให้เขาสอดใส่เท่านั้น

    * * * *

    เนี่ยะ ดีนะ ที่ เจ้าของกระทู้ ไม่ใช่ขนาดเจออะไรก็ สงสัยไปทุกเรื่อง ไม่งั้นคงดูไม่จืด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2012
  9. คนมีกำกึด

    คนมีกำกึด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +278
    จะรู้ว่าคนนั้นเป็นพระอริยะหรือไม่??
    - ปฏิบัติธรรมไปเถอะไม่ต้องสนใจเดี๋ยวก็ไม่อยากรู้เอง เพราะถ้ามีความอยากรู้มันเป็นปุถุชน ปุถุชนจะไปรู้ได้ยัง ถ้าไม่ฟังจากปากคนอื่น แล้วเราเชื่อเขาได้ขนาดไหน ถ้าอยากรู้ต้องไม่อยากรู้ ปฏิบัติธรรมไปครับ เดี๋ยวก็ไม่อยากรู้เอง
     
  10. bamrung

    bamrung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    834
    ค่าพลัง:
    +1,524
    เขาเป็นคนเช่นไร ดูได้จากคำพูดของและการกระทำเขา แต่ไม่ใช่แค่ครั้งสองครั้งแล้วตัดสินนะ ต้องเยอะมากๆ ไคร่ตรอง ทบทวน แล้วเราจะวินิจฉัยได้ แม้อริยะด้วยกัน ถ้าไม่ใช่ญาณระดับพระพุทธเจ้า ก็ต้องอาศัยการฟังสภาวะธรรมที่องค์นั้นกล่าวออกมา สภาวะธรรมของอริยบุคคคลจะมีนัยยะจำเพาะให้เรารู้ได้ รู้ได้แน่ๆ 99% แต่เราต้องแยกแยะให้ออกว่า เป็นประสบการณ์ของท่านเองหรือ ลอกเขามา
    การปฏิบัติธรรมก็ไม่ใช่ว่าปฏิบัติไปเรื่อยๆแล้วจะรู้เองนะ อาจหลงทางได้ถ้าเราไม่รู้ว่าปลายทางเป็นอะไร การที่บอกว่าปฎิบัติไปแล้วจะรู้เอง ใช้ไม่ได้เสมอไป ขั้นแรกคุณต้องรู้ว่าปลายทางคืออะไรเสียก่อน คุณจะไปเชียงใหม่แต่ไปคุณขึ้นรถที่สายใต้ก็ได้ถ้าคุณไม่รู้ว่าเชียงใหม่อยู่ทางไหน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2012
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ตัณหานั่นคือลูกศร

    บุรุษผู้ถูกลูกศรของนายพราน ทำไมต้องไปวิ่งหาคนยิงว่าเป็นใคร
    สิ่งที่ต้องทำก่อนคือต้องห้ามเลือด รักษาชีวิตไว้ก่อน
    ต้องรีบไปหาหมอ ให้หมอเอาลูกศรออก ให้หมอใส่ยารักษาแผล
    หมอรักษาดีแล้ว บุรุษผู้ถูกศรต้องดูแลหมั่นล้างแผลทุกวัน และต้องเชื่อหมอ
    หมอห้ามกินอะไรก็อย่างกิน อย่าไปกินอะไรที่จะทำให้แผลอักเสบ
    เพราะถ้าแผลอักเสบติดเชื้อลุกลาม รุนแรงทำให้ถึงตาย
     
  12. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,960
    ลองใช้ปัญญาตนตรองดูครับ

    คำถามอื่นคงตอบไม่ได้เพราะตอบไปป่วยการแน่ๆ
    เพราะตอบไปแล้วก็ไม่ได้เอาไปพัฒนาตนเลย
    เห็นมีแต่จะเพิ่มควารู้แต่ใช้ไม่เป็นให้มากขึ้นเท่านั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...