ร่างกายนี้ถ้ามารวมกันเป็นของเรารึเปล่าครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 7 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ผมลองแหยบคาย ตับไตไส้ผุง นั่นไม่ใช่ของเรา เพราะไม่เที่ยง แล้วผมลอง เอาร่างกายมา ประชุมกัน แล้วรวมกันเป็นหนึ่งก็คือเราใช่รึเปล่าหว่า(คือผมรู้ว่ามันไม่ใช่ของเรา แต่มันมีความรู้สึกว่ามันยังไม่เห็นด้วย อีกคําตอบหนึ่งมันบอกว่า)

    ตับไตไส้พุงอวัยวะต่างๆ พอรวมกันก็คือเรา แต่พอแยกกันก็ไม่ใช่ของเรา ช่วยเคลียร์ปัญหาอันนี้ทีครับ
     
  2. มนุสสเทโว

    มนุสสเทโว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +30
    ที่รวมๆ แล้วใช่ร่างกายของเราคงหมายถึง รวมจิตของเราเข้าไปด้วย
    ถ้ารวมแล้วไม่มีจิตเราเข้าไปด้วย ร่างกายนั้นก็คงไม่ใช่ของเราแล้วหละ
     
  3. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    การพิจารณาว่าอะไรเป็นเราเป็นของเรา หรือไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา
    ให้ดูว่าสิ่งนั้น เราบังคับให้เป็นดังใจเราได้ไหม และที่สุดมันจะสลายไปไหม
    มันสลายไปแล้วบังคับให้มันกลับมาเหมือนเดิมได้ไหม

    เช่นธาตุดินที่ประกอบเป็นร่างกาย มันมีอาการไม่ทรงตัว เราเติมอาหารเข้าไปเท่าไร
    ธาตุดินในร่างกายมันก็พร่องไปได้อีก มันสร้างโรคหิวให้เราได้อีก ต่อให้เรากินให้อิ่มทั้งชาตินี้ ธาตุดินในร่างกายมันก็จะสลายไปพร่องไปอยู่เสมอ สร้างโรคหิวให้เราอยู่เสมอ เราบังคับให้ธาตุดินในร่างกายมันทรงตัวไม่พร่องไม่ได้เลย ถึงที่สุดร่างกายก็ตาย สลายตัวไปทุกธาตุ ธาตุดินในร่างกายก็คืนสู่โลก ธาตุนํ้าในร่างกายก็คืนสู่โลก ธาตุลมในร่างกายก็คืนสู่โลก ธาตุไฟในร่างกายก็คืนสู่โลก ร่างกายก็กลายเป็นความว่างเปล่า ไม่เป็นตัวเป็นตนอะไร

    เราไม่สามารถบังคับให้ร่างกายที่ตายสลายไปแล้วนี้กลับมาเป็นร่างกายอย่างเก่าได้เลย
    มันจึงไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา

    ร่างกายมันเกิดขึ้นก็เพราะธาตุสี่มันมาประชุมรวมตัวเป็นร่างกายของมันเอง ไม่เกี่ยวกับเรา
    ร่างกายมันแปรปรวนก็เพราะธาตุสี่ที่ประชุมกันมันแปรปรวนของมันเอง ไม่เกี่ยวกับเรา
    ร่างกายที่มันพังสลายตัวก็เพราะธาตุสี่ที่ประชุมกันมันเลิกประชุม มันสลายตัวของมันเอง ไม่เกี่ยวกับเรา

    รวมความว่าธาตุสี่ที่มาประกอบกันเป็นร่างกายมีของแข็ง มีของเหลว มีลม มีไฟความอบอุ่น มันก็ประชุมกันไปตามเหตุปัจจัยของมัน มันก็แปรปรวนไปตามเหตุปัจจัยของมัน มันก็พังสลายตัวไปตามเหตุปัจจัยของมัน ไม่เกี่ยวอะไรกับเราที่เป็นผู้อาศัย เราไม่สามารถจะบังคับบัญชามันให้เป็นอย่างใจเราได้เลย มันจึงไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา
    ระหว่างที่อาศัยอยู่ด้วยกันกับมัน มันก็นำมาซึ่งภาระการงาน ความวุ่นวาย การที่เราต้องไปคอยแก้ปัญหาให้มันเสมอ แล้วร่างกายอย่างนี้มันจะสร้างความสุขจริงแท้ให้เราได้อย่างไร

    การสงบไปจากการมีร่างกายที่นำมาซึ่งภาระแบบนี้ จึงเป็นความสุขอย่างยิ่งใช่ไหม
    นี่เป็นหลักการพิจารณากาย

    ลองเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกายกับจิตสิ
    แม้ว่าจิตของเราตอนนี้จะยังโง่อยู่ ยังมีสติไม่สมบูรณ์อยู่
    แต่เราก็บังคับบัญชาได้ เราก็ฝึกฝนให้จิตมีสติสมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆได้
    จนวันนึงเราก็ทำได้สำเร็จ คือบรรลุเป็นพระอรหันต์ มีสติสมบูรณ์ หายโง่
    และก็หายโง่ตลอดไปด้วย ภาวะหายโง่นี้ไม่ได้สลายตัวไปไหน อยู่กับเราไปตลอดกาล สร้างความสุขใจไม่เกาะทุกข์ให้เราไปตลอดกาล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2012
  4. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    สัมมาทิฏฐิย่อมเกิด โดยการสดับกับผู้อื่น ในธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาค และการทำความแยบคายไว้ภายใน

    ในพระไตรปิฏก ได้ให้ข้อพิจารณาดังนี้ เกี่ยวกับ "สักกายะทิฏฐิ" ลองทำความเข้าใจเอา
    (ส่วนการปฏิบัติ ก็ต้องว่ากันด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา นำพา คงรู้กันดีอยู่แล้ว)

    โดยจะเริ่มด้วย :

    "ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้๑
    มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย๑
    ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ๑
    มิได้รับแนะนำในอริยธรรม๑
    มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย๑
    ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ๑
    มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม๑"


    เมื่อนั้นปุถุชน :

    "ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน ๑
    ย่อมเห็นตนมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๑
    ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในตน ๑
    ย่อมเห็นตนในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๑

    เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
    เราเป็นรูป เราเป็นเวทนา เราเป็นสัญญา เราเป็นสังขาร เราเป็นวิญญาณ
    รูปของเรา เวทนาของเรา สัญญาของเรา สังขารของเรา วิญญาณของเรา. ...."


    ที่เรียกว่า "อุปทานขันธ์" ศึกษาเรียนรู้ได้ที่ การสนทนาระหว่าง

    "นกุลบิดา กับ ท่านพระสารีบุตร
    และ วิสาขอุบาสก กับ ธรรมทินนาภิกษุณี"

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=0&Z=105

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9420&Z=9601&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2012
  5. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ตามท่าน เด็กอนุบาล ว่าเลยครับ

    เสริมให้
    ร่างกายของเรา มันก็ก้อนเนื้อ โปรตีน มารวมตัวกัน
    สิ่งที่ทางวิทยาศาสตร์เห็นสำคัญว่า เป็นสิ่งที่กำหนดความคิดของเรา คือ สมอง
    แม้เราแยกชิ้นมันออกมาจากร่างกายของเรา มันก็เป็นแค่ก้อนไขมัน หาใช่ "เรา"
    แม้ อุจจาระ และ ปัสสาวะ เมื่อถูกหุ้มอยู่ภายใต้ชั้นหนังของเรา เมื่ออยู่ในตัวเรา เราก็เรียกมันรวมเข้าไปว่าเป็นร่างกายของเรา แม้ขับออกมาแล้ว ใครจะนับมันเป็นร่างกายเรา?
    และที่สุดเลย แม้เลือด และ น้ำเหลือง ในร่างกายเรา ที่ไหลเวียนในตัว สิ่งสำคัญที่ทำให้ชีวิตเราคงอยู่ได้ ถึงแม้เรายังมีชีวิตอยู่ แข็งแรงสมบูรณ์ดี หากเรามีแผล แมลงวันมาตอม ดูดน้ำเหลือง ยุงมาสูบเลือดเราออกไป ของเหลวพวกนั้น เรายังนับว่าเป็นของเราได้อยู่หรือไม่ หรือนับว่าเป็นส่วนของร่างกาย ของยุง ของแมลงวัน ไปเสียแล้ว?

    แม้จะคิดย้อนกลับไป อาหารเปิปพิสดาร กุ้งเต้น กุ้งนั้น เป็นร่างกายของเขา หรือไม่? เมื่อเรากินมันเข้าไป บางตัวอาจจะยังมีชีวิตอยู่หรือไม่? เมื่อตกถึงท้องของเราแล้ว สิ่งนั้น เป็นร่างกายเขา หรือ ร่างกายเรา?

    ฉะนั้นแล้ว สิ่งไหนเป็นของเรา มีจริงหรือ?
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อันนี้ไม่ยาก

    ความไม่ยากอยู่ที่ การสร้างอุบายฝึกหัดอบรมจิต

    เราจะเห็นเลยว่า มันมี วิธีในการใคร่ครวญสองอย่าง อย่างหนึ่งนำ
    ไปสู่ความโหลยโถ้ยเสมอ ส่วนอีกอย่างก็ ง่ายมั๊กๆแต่ บนความเรียบ
    ง่ายนั้นเปี่ยมไปด้วยพลังอันยอดเยี่ยม

    หาคำตอบเอาเองนะ ว่า ตรึกแบบไหน ใคร่ครวญ แบบไหนคืออุบาย
    นำออกแต่ส่วนเดียว ไม่ใช่เพื่อการสะสม และ ไม่ใช่ต้องอาศัยสดับจาก
    ผู้อื่นเลยแม้แต่น้อย

    ทีนี้ สังเกตซ้ำเข้าไปอีกหาก ศรัทธาอินทรีย์ไม่ถูกต้อง เราก็จะสังเกตได้
    อีกในเรื่อง การทอดธุระในการอบรมจิตด้วยมรรควิธีในธรรมวินัยนี้

    ก็จะเห็นว่า พระพุทธองค์ประทาน

    1. คือ วิธีใคร่ครวญที่ถูกวิธีไว้ให้ หนึ่งอย่าง ง่ายแสนง่าย แต่เรามักทอดธุระ

    และ

    2. เรียกหาพระพุทธองค์อย่างเป็นข้าศึก คือ แทนที่จะ สมาทานอุบายนำออกแต่
    ส่วนเดียว เรากลับเอามาตรึกเพื่อดูความสมเหตุสมผล แล้วก็ถลำไปสู่การย่ำยีคำ
    สอนของพระะพุทธองค์ อันนี้คือ ศรัทธา หรือ ความเลื่อมใส

    สังเกตนะ ballbeamboy เธอ ยังมีจิตปรามาสพระรัตนไตรอยู่

    แต่อันนี้เป็นสิ่งละเอียด ซึ่งไม่ผิดอะไร มันเป็นสิ่งที่คนภาวนาได้อย่างดี
    จะต้องมาเห็น มารับทราบถึง อนุสัยต่างๆที่ยังแฝงตัวอยู่

    คนภาวนาไม่เป็นเลยนี่ เขาจะไม่มีโอกาสได้สดับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตน
    อะไรแบบนี้หรอก ดังนั้น ก็พิจารณาไปเรื่อยๆ

    ความสงสัยมีอยู่ก็จริง แต่ มันจะกลายเป็น กังขาวิตรณวิสุทธิ ซึ่ง
    เป็นหนึ่งในวิสุทธิ7 ที่พระปุณมัตลาลีบุตร ได้วินิจฉัยไว้ให้พระสารีบุตรฟัง

    ทีนี้

    คนฉลาดเนี่ยะ เขาจะพึงสมาทาน วิธีการปฏิบัติไหนไว้บ่อยๆ

    ส่วนคนขี้เกียจ ไม่ยอมฉลาดเสียที เขาจะแล่นไปสู่การใช้วิธีไหน แล้ว
    ปล่อยให้มันครอบงำเราไปตลอด ไม่มีวันเห็นแสงเดือนแสงตะวัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2012
  7. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    <CENTER></CENTER>
    </PRE>

    ๒. ผัคคุนสูตร
    </PRE>

    [๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ
    </PRE>
    บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายอาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ เป็นไฉน คือ
    [๑] กวฬิงการาหารหยาบหรือละเอียด
    [๒] ผัสสาหาร
    [๓] มโนสัญเจตนาหาร
    [๔] วิญญาณาหารอาหาร
    ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ

    [๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระโมลิยผัคคุนะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมกลืนกินวิญญาณาหาร
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า กลืนกิน [วิญญาณา-*หาร] ถ้าเรากล่าวว่ากลืนกิน [วิญญาณาหาร] ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่าพระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมกลืนกิน [วิญญาณาหาร] แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วิญญาณาหารย่อมมีเพื่ออะไรหนอ อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่าวิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหารนั้นเกิดมีแล้ว จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ฯ

    [๓๓] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง
    ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่าย่อมถูกต้อง ถ้าเรากล่าวว่าย่อมถูกต้อง ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีผัสสะ อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ฯ

    [๓๔] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์
    ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมเสวยอารมณ์ ถ้าเรากล่าวว่า ย่อมเสวยอารมณ์ ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์ แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้นอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีเวทนา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ฯ

    [๓๕] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน
    ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมทะเยอทะยาน ถ้าเรากล่าวว่า ย่อมทะเยอทะยาน ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้นอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีตัณหา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหาเพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯ

    [๓๖] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น
    ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมถือมั่น ถ้าเราพึงกล่าวว่าย่อมถือมั่น ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่นแต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีอุปาทาน อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

    [๓๗] ดูกรผัคคุนะ ก็เพราะบ่อเกิดแห่งผัสสะทั้ง ๖ ดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับเพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

    <CENTER>จบสูตรที่ ๒</CENTER><CENTER></CENTER>


    หากสงสัยให้อ่านในอรรถกถา​


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๗๗ - ๓๒๘. หน้าที่ ๑๒ - ๑๔. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=277&Z=328&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=31 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๖</U>http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_16
    <CENTER></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2012
  8. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ขอบคุณเต้าเจี้ยว

    เกือบแล้ว อีกนิดเดียวเอง ^^
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    เอาพระวจนะมาฝากครับ" ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อันทิฎฐิสองอย่างห่อหุ้มแล้ว บางพวกทรุดอยู่ตรงนั้น บางพวกแล่นเตลิดไป ส่วนพวกมีจักษุ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง.........ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกที่ทรุดอยู่ที่ตรงนั้น เป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย คือ เทวดาและมนุษย์ พวกที่มีภพเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภพ เพลิดเพลินในภพ เมื่อบุคคลแสดงธรรมเพื่อความดับไม่เหลือแห่งภพ แก่เทวดาและมนุษย์พวกนั้นอยู่ จิตของเขาไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้เรียกว่า พวกที่ทรุดอยู่ที่ตรงนั้น................ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกที่แล่นเตลิดไป เป็นอย่างไรเล่า? คือพวกที่อึดอัดอยู่ เอือมระอาอยู่ เกลียดอยู่ ด้วยภพ เพลิดเพลินอย่างยิ่งอยู่กับ วิภพ ด้วยคิดว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ได้ยินว่า อัตตานี้ ภายหลังแต่การตาย เพระการทำลายแห่งกายย่อมขาดสูญ ย่อมวินาศ ย่อมมิได้ มีอยู่ภายหลังการตาย นั่นแหละเป็นภาวะสงบระงับ นั่นแหละเป็นภาวะปราณีต นั่นแหละเป็นภาวะ แน่นอนตายตัว ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ เรียกว่า พวกแล่น เตลิดไป...................... ภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เป็นอย่างไรเล่า? คือ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเห็นธรรม ที่เกิดแล้วเป็นแล้ว โดยความเป้นสิ่งที่เกิดแล้วเป็นแล้ว แล้วก็เป็นผู้ปฎิบัติเพื่อ ความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับไม่เหลือ แห่งธรรมที่เกิดแล้วเป็นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล เรียกว่า พวกมี จักษุ ย่อมเห็น ตามความเป็นจริง--อิติวุ.ขุ.25/263/227.:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...