อานาปานสติ เป็นแนวทาง...........

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยศวดี, 24 มีนาคม 2012.

  1. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    <CENTER style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 17px tahoma; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(0,0,0); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">เรื่องของสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    (อานาปานสติ)
    </CENTER>


    <CENTER style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 17px tahoma; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(0,0,0); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">๑๘๐. กายไม่หวั่นไหว จิตไม่หวั่นไหว</CENTER>"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอบรมทำให้มากซึ่งสมาธิ มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ (อานาปานสติสมาธิ) กายย่อมไม่หวั่นไหว จิตย่อมไม่หวั่นไหว."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๐๐



    <CENTER style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 17px tahoma; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(0,0,0); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">๑๘๑. เมื่อก่อนตรัสรู้ ทรงเจริญอานาปานสติมาก</CENTER>"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ตัวเรา ในสมัยก่อนจะตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ ก็อยู่ด้วยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) นี้โดยมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายของเราก็ไม่ลำบาก ตาของเราก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็พ้นจากอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน) ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า กายของเราไม่พึงลำบาก ตาของเราไม่พึงลำบาก จิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เธอก็พึงทำไว้ในใจซึ่งสมาธิอันมีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์นี้ให้ดี."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๐๑



    <CENTER style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 17px tahoma; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(0,0,0); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">๑๘๒. เมื่อตรัสรู้แล้ว ทรงอยู่ด้วยอานาปานสติโดยมาก</CENTER>ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอออกจากที่เร้น (ในป่าอิจฉานังคละ) เมื่อล่วงเวลา ๓ เดือนแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านักบวชเจ้าลัทธิอื่น<SUP></SUP> พึงถามอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก ท่านทั้งหลายพึงตอบว่า พระผู้มีพระภาคอยู่จำพรรษาด้วยสมาธิ มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ (อานาปานสติสมาธิ) โดยมาก."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๒



    <CENTER style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 17px tahoma; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(0,0,0); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">๑๘๓. อริยวิหาร, พรหมวิหาร, ตถาคตวิหาร</CENTER>"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกล่าวถึงธรรมใด ๆ โดยชอบ พึงกล่าวว่า อริยวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า) บ้าง พรหมวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม) บ้าง ตถาคตวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคต) บ้าง. ผู้นันเมื่อกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิโดยชอบ ก็พึงกล่าวว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสกขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ยังมิได้บรรลุอรหัตตผล เมื่อปรารถนาธรรมอันยอดเยี่ยม อันปลอดโปร่งจากโยคะ (เครื่องผูกมัด) อยู่ สมาธิที่มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ อันภิกษุเหล่านันเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน)."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๓



    <CENTER style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 17px tahoma; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(0,0,0); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">๑๘๔. พระอรหันต์เจริญอานาปานสติทำไม ?</CENTER>"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด ที่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ<SUP></SUP>." อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีสิ่งควรทำอันได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันวางแล้ว มีประโยชน์ส่วนตนอันได้บรรลุแล้ว สิ้นกิเลสเป็นเหตุมัดไว้ในภพแล้ว พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ. อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๓



    <CENTER style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 17px tahoma; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(0,0,0); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">๑๘๕. เจริญธรรมอย่างเดียว ชื่อว่าเจริญธรรมอย่างอื่นอีกมาก</CENTER>"ดูก่อนอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คืออานาปานสติสมาธิ (สมาธิ ซึ่งมีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์) อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน (การตั้งสติ) ๔ อย่างให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำให้โพชฌงค์ (องค์ประกอบแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้) ๗ อย่างให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชา (ความรู้) วิมุติ (ความหลุดพ้น) ให้บริบูรณ์."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๗
     
  2. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    กระชับ อ่านง่าย เข้าใจง่ายครับ
     
  3. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    อนุโมทนาสาธุ
    พรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุฑิต อุเบกขา เป็นเครื่องอยู่
     
  4. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    อานาปานสติ เป็นได้ทั้ง สมถกัมมฐาน และ วิปัสสนากัมมฐาน
     
  5. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ทุกอย่างไม่มีการตายตัวหรอกครับ อาแปะ เมื่อยังไม่เที่ยงต่อการใฝ่ออก
    อยู่ที่วาสนาของท่านผู้นั้น ที่จะพลิกแผลง เรียกว่าฉลาดในอารมณ์

    กรรมฐานที่แบ่งออกเป็นกองๆนั้น ทั้งสมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
    ทั้งในวิสุทธิมรรค หรือพระไตรปิฏก เป็นโดยอาการ เพื่อที่นำมาเทียบเคียง หรือนำไปเผยแผ่สั่งสอนให้ตรงตามหลัก

    แต่ในภาคการปฏิบัติ อยู่ที่บุคคลนั้นๆ ดูสิ มรณานุสติ อยู่ในหมวดของกรรมฐาน40
    ก็เหตุใดเล่า ธิดาช่างหูก จึงสำเร็จพระโสดาบันได้
    หรือพระเถระในสมัยพุทธกาล กำหนดสีกสินของดอกบัว กำหนดพยับแดด ต่างได้สำเร็จ

    จึงว่าอยู่ที่อารมณ์ของใจผู้นั้นในขณะนั้น น้อมเข้ามา เกิดความเบื่อหน่าย สลดสังเวช
    เข้ามาประหานในเราในเขา สักกายะจึงได้ขาดสะบั้น ประจักษ์ความเป็นไปในไตรลักษณ์

    แต่ก็อย่าได้หมายว่า ผู้เจริญสติปัฏฐาน4 ตรงตามพระไตรปิฏกเป๊ะๆ
    ว่าผู้นั้นกำลังทำวิปัสสนาอยู่ ไม่เสมอไปหรอก อยู่ที่ว่าวางอารมณ์แบบไหน

    ก็ไม่แน่วันดีคืนดี อาแปะ ไปเห็นใบไม้ล่วง กำลังพลิกคว่ำพลิกหงาย อารมณ์วิปัสสนา มันเกิดขึ้นได้ในขณะนั้น
    สามารถหงายทั้งโลกนี้ด้วยอกุปปธรรม รู้แจ้งประจักษ์เป็นแต่เพียง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    จะไม่ว่ายังไงเลย จะสาธุ

    แต่อานาปานสติ นั้นแหละคือ ยอดของกรรมฐานทั้งปวง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...