เรื่องเด่น ห้องประสบการณ์หลวงพ่อเกษม เขมโก สามารถเข้ามาคุยกันได้ครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย เศรษฐาพล, 27 สิงหาคม 2010.

  1. น้ำหนาว

    น้ำหนาว เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    2,185
    ค่าพลัง:
    +3,308
    ล่าสุดคนเกาะคา แถวบ้านเพื่อนผมขับรถพลิกคว่ำ รถเละ แต่คนไม่เป็นอะไรครับ
    ในคอห้อยเหรียญนีี้เหรียญเดียวเลยครับ:cool:
     
  2. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,559
    ค่าพลัง:
    +53,107

    สังฆัง นะมามิ กราบหลวงพ่อครับ :cool::cool:
     
  3. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,559
    ค่าพลัง:
    +53,107
    มีอยู่ตอนหนึ่งเป็นตอนที่ 9 ซึ่งมีลูกศิษย์ที่เข้ามากราบท่านเจ้าคุณนรฯแล้วท่านเจ้าคุณนรฯได้บอกให้ มากราบพระที่ลำปาง ดังเนื้อความตัดตอนดังนี้ “…มีพระภิกษุสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติจนคนทั่วไปเชื่อว่า ท่านสำเร็จอรหันต์เป็นพระอรหันต์กลางกรุงองค์หนึ่ง คือ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) หรือ ที่ใคร ๆ เรียกท่านว่า“เจ้าคุณนรฯ” แห่งวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ ท่านเคยบอกกับ พลโทกฤษณ์ สีวะรา (ยศขณะนั้น) เมื่อครั้งยังเป็นแม่ทัพภาคที่ ๓ (จ.พิษณุโลก) เมื่อคราวที่เข้านมัสการท่าน ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ว่า
    “ที่ ลำปาง มีพระภิกษุสงฆ์อยู่รูปหนึ่ง จำพรรษาอย่างโดดเดี่ยว ถือธุดงควัตรในป่าช้าเป็นนิจ อยู่ในกุฏิที่แวดล้อมด้วยต้นไผ่ขึ้นเต็มไปหมด ท่านองค์นี้ได้ปฏิบัติธรรมกรรมฐานอย่างเคร่งครัด เป็นพระอริยสงฆ์ ที่บรรลุธรรมสูงสุดขั้นพระอรหันต์แล้ว หากมีโอกาสก็ควรเข้าไปกราบนมัสการเสีย เพราะอยู่แถวนั้น ไม่ไกลกันเท่าไร”
    ครับ พระภิกษุสงฆ์ดังกล่าวไม่ใช่ใครที่ไหน “หลวงปู่เกษม เขมโก” แห่งสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง นั่นเอง เพราะที่สุสานไตรลักษณ์นั้น เต็มไปด้วยป่าไผ่ขึ้นเต็มไปหมด ใครที่เคยไปยังสุสาน อย่าได้หยิบฉวยสิ่งใด ไม่ว่าดินสักก้อน หรือแม้กระทั่งกิ่งไผ่ในสุสานสักกิ่งก้าน โดยพละการเป็นอันขาด เพราะมีผู้ประสบอาถรรพณ์มาแล้ว หลายรายต้องประสบภัยพิบัติอย่างไม่คาดคิด ไม่เจ็บไข้ปางตาย ก็ประสบอุบัติเหตุ หรือการผ่าตัดอย่างร้ายแรง ทำอะไรก็ติดขัดไปหมด ต้องรีบนำมาคืนแทบไม่ทัน…”
    ด้วยรู้ว่าย่อมเป็นพระอริยะระดับเดียวกันหรือสูงกว่า จึงจะหยั่งรู้ญาณกันได้นั้น จึงไม่ต้องสงสัยเรื่องภูมิญาณของหลวงพ่อเกษม และมิต้องคาดเดาถึงระดับพระอริยะของหลวงพ่อท่าน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นอจินไตยสำหรับปุถุชนธรรมดาเช่นเราท่านทั้งหลาย เพียงข้อวัตรปฎิบัติ เพียงคำพูดที่หลวงพ่อเกษมเอ่ยสอน ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า หลวงพ่อท่านเป็นพระระดับสุปฎิปันโน เรากราบเราศรัทธาท่านได้อย่างสนิทใจ
     
  4. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,559
    ค่าพลัง:
    +53,107
    [​IMG]
    ครูบาเจ้าเกษม เขมโก (๑) โดย อ.เล็ก พลูโต ณ ดินแดนถิ่นล้านนา ทางภาคเหนือของประเทศไทย พระอริยะสงฆ์ที่พวกเราทุกคนรู้จักชื่อเสียงคุณงามความดีของท่านก็คือ ครูบาศรีวิชัย อริยะสงฆ์องค์แรกของภาคเหนือ ท่านเปรียบเสมือนประทีปดวงใหญ่ ที่ส่องประกายธรรมไปทั่วทุกสารทิศ ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ประกอบคุณงามความดีไว้กับแผ่นดินนี้มากมาย ท่านจึงถูกจัดให้เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวเหนือ
    [​IMG]
    ประวัติ และเรื่องราวต่าง ๆ ของท่าน จึงถูกบันทึกเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงในยุคปัจจุบัน ประวัติบางตอนของครูบาศรีวิชัยตอนหนึ่งกล่าวว่า ท่านครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ว่า“จะมีตนบุญมาเกิดที่ลำปาง” ครั้น ต่อมาครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพไป โดยทิ้งคำพยากรณ์นี้ไว้ให้ชาวลำปางได้เฝ้ารอคอยการมาจุติของตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ จนเวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี ก็ยังไม่ปรากฏ แต่ชาวลำปางก็ยังเชื่อในคำพยากรณ์ของครูบาศรีวิชัย
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้มีครอบครัวเชื้อเจ้าผู้ครองนครลำปาง หรือ เขลางค์นคร ในอดีตหัวหน้าครอบครัวคือ เจ้าหนูน้อย ณ ลำปาง ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ รับราชการเป็นปลัดอำเภอ ภรรยาชื่อเจ้า แม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ทั้งสองเป็นหลานเจ้าของ เจ้าพ่อบุญวาทย์ วงศ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
    ครอบ ครัวนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านท่าเก๊าม่วง ริมแม่น้ำวัง อ.เมือง จ.ลำปาง อยู่กินกันมาอย่างมีความสุข ในที่สุดเจ้าแม่บัวจ้อนได้ตั้งครรภ์ และ พอถึงกำหนดคลอดตรงกับวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๕ ตรงกับวันพุทธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ.๑๓๑ ค.ศ.๑๙๑๒ เจ้าแม่บัวจ้อนให้กำเนิดทารกเพศชาย เป็นลูกคนแรกของครอบครัว
    ขณะนั้นไม่มีใครทราบกันเลย ตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้นั้นได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว บิดามารดาก็ได้ตั้งชื่อทารกนั้น เกษม ณ ลำปาง เพราะเด็กชายเกษม ณ ลำปาง ได้เกิดมาในเชื้อสายของเจ้าทางเหนือ จึงได้รับการยกย่องของคนทั่วไป ทุกคนต่างเรียกกันว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง หลังจากที่ได้คลอดบุตรมาได้ไม่กี่ปี เจ้าแม่บัวจ้อนได้ให้กำเนิดทารกอีกคน แต่เป็นเพศหญิง ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องของ เจ้าเกษม สืบสายเลือด แต่ทว่าเจ้าแม่น้อยคนนี้วาสนาน้อย ได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก จึงไม่มีโอกาสได้รูว่าพี่ชายของเธอคือ ตนบุญ ที่ชาวลำปางรอคอยเป็นสิบ ๆ ปี
    เมื่อวัยเด็ก เจ้าเกษม ณ ลำปาง เป็น คนมีลักษณะค่อนข้างเล็กบอบบาง ผิวขาวแต่ดูเข้มแข็ง คล่องแคล่ว และมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นเด็กที่ชอบซน คือ อยากรู้อยากเห็น เมื่อถึงวัยเรียน เจ้าเกษม ณ ลำปาง ได้รับการศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนบุญทวงศ์อนุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ อ.เมือง จ.ลำปาง สมัยนั้นเปิดเรียนชั้นสูงสุดแค่ชั้นประถมปีที่ ๕ เท่านั้น เจ้าเกษม ณ ลำปาง ได้ศึกษาจนจบชั้นสูงของโรงเรียน คือชั้นประถมปีที่ ๕ ใน พ.ศ.๒๔๖๖ ขณะนั้นอายุ ๑๑ ปี
    เมื่อ ออกจากโรงเรียนก็ไม่ได้เรียน อยู่บ้าน ๒ ปี ใน พ.ศ.๒๔๖๘ อายุขณะนั้นได้ ๑๓ ปี เจ้าเกษม ณ ลำปาง ก็ได้มีโอกาสเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยบรรพชาเป็นสามเณร เนื่องในโอกาสบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว ครั้นบวชได้เพียง ๗ วันก็ลาสิกขาออกไป ต่อมาอีก ๒ ปี ราว พ.ศ.๒๔๗๐ ขณะนั้นมีอายุ ๑๕ ปี เจ้าเกษม ณ ลำปาง ก็ได้มีโอกาสเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่ง โดยบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบุญยืน จ.ลำปาง
    เมื่อบรรพชาแล้ว สามเณรเจ้าเกษม ณ ลำปาง ก็ได้จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดบุญยืนนั่นเอง สามเณรเจ้าเกษม ณ ลำปาง เป็นคนที่ทำอะไรจริงจัง เรียนทางด้านปริยัติศึกษาธรรมะจนถึง ปี พ.ศ.๒๔๗๔ สามเณรเจ้าเกษม ก็สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้
    ครั้นมีอายุได้ ๒๑ ปี อายุครบที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้แล้ว จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ.๒๔๗๕ ณ พัทธสีมา วัดบุญยืน โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอากาสวัดบุญวาทย์วิหาร ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอในขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระคุณเจ้าท่านพระครูอุตตรวงศ์ธาดา หรือที่ชาวบ้านเหนือรู้จักกันในนาม ครูบาปัญญาลิ้นทอง เจ้าอาวาสวัดหมื่นเทศ และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดลำปางในขณะนั้น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และยังพระเดชพระคุณท่านพระธรรมจินดานายก(อุ่นเรือน) เจ้าอาวาสวัดป่าดั๊วเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า เขมโก แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม
    หลัง จากได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว พระภิกษุเกษม เขมโกก็ได้ศึกษาทางด้านภาษาบาลี ซึ่งเป็นการศึกษาปริยัติอีกแขนงหนึ่ง ที่สำนักวัดศรีล้อม สมัยนั้นก็มีอาจารย์หลายรูป เช่น มหาตาคำ พระมหามงคลเป็นครูผู้สอน และยังได้ไปศึกษาที่สำนักวัดบุญวาทย์วิหาร ซึ่งมีพระมหามั่ว พรหมวงศ์ และพระมหาโกวิทย์ โกวิทญาโน เป็นครูสอน
    ใน เวลาเดียวกันนั้น พระภิกษุเจ้าเกษม เขมโก ก็ได้ไปศึกษาทางด้านปริยัติในแผนกนักธรรมต่อที่สำนักวัดเชียงราย ครูผู้สอนคือ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระเทพวิสุทธิโสภณ เจ้าคณะจังหวัดลำปางสมัยนั้น ปรากฎว่าพระภิกษุเจ้เกษม เขมโก ก็สามารถสอบนักธรรมชั้นเอกได้ในปี พ.ศ.๒๔๗๙ ส่วนทางด้านการศึกษาบาลีนั้น ท่านเรียนรู้จนสามารถเขียนและแปลได้เป็น (มคธ) เป็นอย่างดี แต่ก็ไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกองค์ต่างเข้าใจว่า พระภิกษุเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น
    เมื่อ สำเร็จทางด้านปริยัติพอควรแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยไม่หลงทาง ท่านจึงหันมาปฏิบัติต่อไปจนแตกฉาน แค่นั้นยังไม่พอ พระภิกษุเกษม เขมโก ได้เสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ จนกระทั่งได้ทราบข่าวภิกษุรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา ภิกษุรูปนี้ คือครูบาแก่น สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง
    ครู บาแก่น สุมโน เป็นพระภิกษุสายวิปัสสนา ถือธุดงค์เป็นวัตร หรือที่เรียกกันว่า พระป่า หรือภาษาทางการเรียกว่า พระภิกษุฝ่ายอรัญญวาสี
    ตอน นั้นครูบาแก่นท่านได้ธุดงค์แสวงหาความวิเวกทั่วไป ยึดถือป่าเป็นที่บำเพ็ญเพียร นอกจากมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนาแล้ว ท่านยังเก่งรอบรู้ในด้านพระธรรมวินัยอย่างแตกฉานอีกด้วย
    พระ ภิกษุเกษม เขมโก จึงเดินทางไปขอฝากตัวเป็นศิษย์ และได้อธิบายความต้องการที่จะศึกษาในด้านวิปัสสนาให้ครูบาแก่นฟัง ครูบาแก่น สุมโน เห็นความตั้งใจจริงของภิกษุเกษม เขมโก ท่านจึงรับไว้เป็นศิษย์ และได้นำภิกษุเกษม เขมโก ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึกตามที่ภิกษุเกษม เขมโก ต้องการ จึงถือได้ว่า ครูบาแก่น สุมโน รูปนี้เป็นอาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐานรูปแรกของ พระภิกษุเจ้าเกษม เขมโก
    ดั้ง นั้น พระภิกษุเกษม เขมโก จึงได้เริ่มก้าวไปสัมผัสชีวิตของภิกษุฝ่ายอรัญญวาสี ประกอบกับจิตของท่านโน้มเอียงมาทางสายนี้อยู่แล้ว จึงไม่ใช่เป็นเรื่องลำบากสำหรับในการไปธุดงค์ กลับเป็นการได้พบความสงบสุขโดยแท้จริง กับความเงียบสงบซ้ำยังได้ดื่มด่ำกับรสพระธรรมอันบังเกิดท่ามกลางความวิเวก พระภิกษุเกษม เขมโก จึงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง โดยมีครูบาแก่นแนะอุบายธรรมอย่างใกล้ชิด
    ระหว่างท่องธุดงค์แสวงหาความวิเวกในที่สงัดตามป่าเขา และป่าช้าต่าง ๆ การฉันอาหารในบาตร คือ อาหารหวานคาวรวมกัน เรียกว่า ฉันเอกา ไม่ รวมอาสนะกับสงฆ์อื่น ฉันมื้อเดียว ช่วงบ่ายก็จะเดินจงกรม เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ พร้อมกำหนดจิตจนกระทั่งถึงเย็น เมื่อเสร็จจากการเดินจงกรม ก็กลับมานั่งบำเพ็ญภาวนาต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงประมาณ ๕ ทุ่ม เสร็จจากการบำเพ็ญภาวนาก็สวดมนต์ทำวัตรเย็น ในตอนดึกก่อนจำวัดท่านก็ไม่นอนเหมือนคนธรรมดาทั่วไป ท่านจะหมอบเท่านั้น และท่านจะทำเป็นกิจวัตร คือการกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแผ่เมตตาไปให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    จน กระทั่งถึงช่วงเข้าพรรษาที่พระภิกษุ จำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราว ต้องอยู่กับที่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง จะเป็นวัดอารามหรือถือเอาป่าช้าเป็นวัด โดยกำหนดเขตเอาตามพุทธบัญญัติ ดังนั้นภิกษุเจ้าเกษม เขมโก จึงต้องแยกทางกับอาจารย์คือครูบาแก่น ตั้งแต่นั้นมาภิกษุเจ้าเกษม เขมโก กลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออกพรรษาภิกษุเกษม เขมโก ก็ติดตามอาจารย์ของท่าน คือครูบาแก่นออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา ท่านถือปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมา
    ต่อ มาเจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืนถึงแก่มรณภาพลง ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนว่าง ทางคณะสงฆ์จึงต้องเลือกภิกษุที่มีคุณสมบัติมาปกครองดูแลวัด เพื่อเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อไป คณะสงฆ์จึงได้ประชุมกัน และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะเป็นภิกษุเกษม เขมโก เพราะเป็นพระที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ต่อไป เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัด เพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านก็เห็นว่าบัดนี้ทางวัดบุญยืนมีภารกิจต้องดูแล ก็ถือว่าเป็นภารกิจทางศาสนา เพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงไม่อาจจะดูดายภารกิจนี้ได้ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน
    ครู บาเจ้าเกษม เขมโก อยู่ในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๒ ท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ทำหนังสือลาออกกับพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระอินทรวิชาจารย์ (ท่านเจ้าคุณอิน อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง) แต่ก็ถูกท่านเจ้าคุณยับยั้งไว้ ครูบาเจ้าเกษม เขมโก จึงจำใจกลับไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืนอีกระยะหนึ่งนานถึง ๖ ปี ท่านคิดว่าควรจะหาภิกษุที่มีคุณสมบัติมาแทนท่าน เพราะท่านอยากจะออกธุดงค์ ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจสละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน โดยยื่นใบลากับคณะสงฆ์ในเขตปกครอง ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงเดินทางไปลาออกกับเจ้าคณะจังหวัด ซึ่งอยู่ที่วัดเชียงราย แต่ท่านเจ้าคณะจังหวัดก็ไม่อนุญาต
    เรื่อง การลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสของครูบาเจ้าเกษม เขมโก นี้ดูค่อนข้างจะเป็นเรื่องแปลกพิศดาร แม้แต่การสละตำแหน่งลาภยศ ท่านยังต้องประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ นานา ไม่เหมือนกับพระองค์อื่น ๆ ที่ฟันฝ่าเพื่อแสวงหาลาภยศ เมื่อท่านลาออกไม่สำเร็จ ประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๒ ก่อนเข้าพรรษาในปีนั้น หลวงพ่อก็หนีออกจากวัดบุญยืนก่อนเข้าพรรษา เพียงวันเดียวโดยไม่มีใครรู้ พอเช้าวันรุ่งขึ้นเข้าพรรษา หมู่ศรัทธาก็นำอาหารมาเตรียมถวายในวิหาร ทุกคนรอแล้วรอเล่าก็ไม่เห็นหลวงพ่อเกษม จึงเกิดความวุ่นวายเที่ยวตามหาตามกุฏิก็ไม่พบหลวงพ่อเกษม พอมาที่ศาลา ทุกคนเห็นกระดาษวางบนธรรมาสน์เป็นข้อความที่หลวงพ่อเกษมเขียน ลาศรัทธาชาวบ้านยาวถึง ๒ หน้ากระดาษ
    ข้อความบางตอนที่จำได้มีอยู่ว่า ทุกอย่าง เราสอนดีแล้ว อย่าได้คิดไปตามเรา เพราะเราสละแล้วการเป็นเจ้าอาวาส เปรียบเหมือนหัวหน้าครอบครัว ต้องรับผิดชอบภาระหลายอย่าง ไม่เหมาะสมกับเรา เราต้องการความวิเวก จะไม่ขอกลับมาอีก แต่พวกชาวบ้านก็ไม่ละความพยายาม เพราะชาวบ้านเหล่านี้ศรัทธาในตัวหลวงพ่อ พอรู้ว่าหลวงพ่ออยู่ที่ไหนเมื่อรวมกันได้ ๔๐ - ๕๐ คน ก็ออกเดินทางไปตามหาหลวงพ่อเกษม และไปพบหลวงพ่อที่ ศาลาวังทาน หลวงพ่อเกษมได้ปฏิบัติธรรมที่นั่น พวกชาวบ้านได้อ้อนวอนหลวงพ่อขอให้กลับวัด บางคนร้องไห้เพราะศรัทธาในตัวหลวงพ่อมาก แต่หลวงพ่อเกษมท่านก็นิ่งไม่พูดไม่ตอบ จนพวกชาวบ้านต้องยอมแพ้ ตลอดพรรษาปี ๒๔๙๒ หลวงพ่อเกษมท่านก็อยู่ที่ศาลาวังทานโดยไม่ยอมกลับวัดบุญยืน
     
  5. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,559
    ค่าพลัง:
    +53,107
    [​IMG]

    บันทึกพระราชปุจฉาสนทนาธรรม
    บันทึกโดย พระครูปลัดจันทร์ กตปุญโญ


    ณ วัดคะตึกเชียงมั่น
    ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง


    ต่อไปนี้เป็นพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงปฏิสันถารกับ พระอินทรวิชยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดคะตึกเชียงมั่น และ หลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่ง ข้าพเจ้า (พระครูปลัดจันทร์ กตปุญโญ) ได้มีโอกาสช่วยหลวงพ่อถวายพระพรด้วย ข้อความนี้ข้าพเจ้าบันทึกไว้หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้วดังนี้

    ในหลวง : หลวงพ่อประจำอยู่ที่วัดนี้หรือ

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาตมาประจำอยู่ที่สุสานไตรลักษณ์

    ในหลวง : อยากไปหาหลวงพ่อเหมือนกัน แต่หาเวลาไม่ค่อยได้ ได้ทราบว่าเข้าพบหลวงพ่อยาก

    หลวงพ่อเกษม : พระราชาเสด็จไปป่าช้าเป็นการไม่สะดวก เพราะสถานที่ไม่เรียบร้อย อาตมาภาพจึงมารอเสด็จที่นี่ ขอถวายพระพร มหาบพิตรสบายดีหรือ

    ในหลวง : สบายดี

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร มหาบพิตรพระชนมายุเท่าไร

    ในหลวง : ได้ ๕๐ ปี

    หลวงพ่อเกษม : อาตมาภาพได้ ๖๗ ปี

    ในหลวง : หลวงพ่ออยู่ตามป่ามีความสงบ ย่อมจะมีโอกาสปฏิบัติธรรมได้มากกว่าพระที่วัดในเมือง ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการปกครองและงานอื่นๆ จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะอยู่ป่าไม่มีภารกิจอย่างอื่น แต่ก็ขึ้นอยู่กับศีลบริสุทธิ์ด้วย เพราะเมื่อศีลบริสุทธิ์จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน นิวรณ์ไม่ครอบงำก็ปฏิบัติได้

    ในหลวง : การปฏิบัติอย่างพระมีเวลามากย่อมจะได้ผลเร็ว ส่วนผู้ที่มีเวลาน้อยมีภารกิจมาก จะปฏิบัติอย่างหลวงพ่อก็ไม่อาจทำได้ แล้วจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เราจะหั่นแลกช่วงเวลาช่วงเช้าให้สั้นเข้าจะได้ไหม คือ ซอยเวลาออกจากหนึ่งชั่วโมงเป็นครึ่งชั่วโมง จากครึ่งชั่วโมงเป็นสิบนาที หรือห้านาที แต่ให้ได้ผล คือ ได้รับความสุขเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น นั่งรถยนต์จากเชียงใหม่มาลำปางก็สามารถปฏิบัติได้ หรือระหว่างที่มาอยู่ในพิธีนี้มีช่วงที่ว่างอยู่ ก็ปฏิบัติเป็นระยะไป อย่างนี้จะถูกหรือเปล่าก็ไม่ทราบ อยากจะเรียนถาม

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร จะปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้ ถ้าแบ่งเวลาได้

    ในหลวง : ไม่ถึงแบ่งเวลาต่างหากออกมาทีเดียว ก็อาศัยเวลาขณะที่ออกมาทำงานอย่างอื่นอยู่นั้นแหละ ได้หรือไม่ คือ ใช้สติอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ ทำงานด้วยความรอบคอบให้สติตั้งอยู่ตลอดเวลา

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร มหาบพิตรทรงปฏิบัติอย่างนั้นถูกแล้ว การที่มหาบพิตรเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติงานอย่างนี้ ก็เรียกว่าได้ทรงเจริญเมตตาในพรหมวิหารอยู่

    ในหลวง : ก็คิดว่าเป็นอย่างนั้น เช่นว่ามาตัดลูกนิมิตนี้ ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ด้วยขี้เกียจมาจึงมีกำลังใจมา และเมื่อได้โอกาสได้เรียนถามพระสงฆ์ว่า การปฏิบัติธรรมเป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็นตอนๆ อย่างนี้จะได้ผลไหม อุปมาเหมือนช่างทาสีผนังโบสถ์ เขาทาทางนี้ดีแล้วพัก ทาทางโน้นดีแล้วพัก ทำอยู่อย่างนี้ก็เสร็จได้ แต่ต้องใช้เวลาหน่อย จึงอยากเรียนถามว่าปฏิบัติอย่างนี้ จะมีผลสำเร็จไหม

    หลวงพ่อเกษม : ปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้โดยอาศัยหลัก ๓ อย่าง คือ มีศีลบริสุทธิ์ ทำบุญในชาติปางก่อนไว้มาก มีบาปน้อย ขอถวายพระพร


    เจ้าคุณฯ : ได้ตามขั้นของสมาธิ คือ อุปจารสมาธิได้สมาธิเป็นแต่เฉียดๆ ขณิกสมาธิ ได้สมาธิเป็นขณะๆ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ได้สมาธิแน่วแน่ดิ่งลงไปได้นานๆ (อธิบายละเอียดกว่าที่บันทึกนี้)

    ในหลวง : ครับ ที่หลวงพ่อว่ามีศีลบริสุทธิ์ ชาติก่อนทำบุญไว้มากอยากทราบว่าผมเกิดเป็นอะไร ได้ทำ อะไรไว้บ้าง จึงได้มาเป็นอย่างนี้ (หลวงพ่อยิ้มและนิ่ง แล้วหันมาทางข้าพเจ้าบอกว่าตอบยาก)

    ข้าพเจ้า : ขอถวายพระพร หลวงพ่อไม่อาจจะพยากรณ์ถวายมหาบพิตรได้

    เจ้าคุณฯ : หลวงพ่ออาจจะเกรงพระราชหฤทัยมหาบพิตรก็ได้ ขอถวายพระพร

    ในหลวง : หลวงพ่อไม่ต้องเกรงใจว่าเป็นพระราชา ขอให้ถือว่าสนทนาธรรมก็แล้วกันยินดีรับฟังมีคน พูดกันว่า ชาติก่อนผมเกิดเป็นนักรบมีบริวารมาก ถ้าเป็นอย่างนั้น ศีล ๕ จะบริสุทธิ์ได้อย่าง ไร ? การเป็นนักรบนั้นจะต้องได้ฆ่าคนสงสัยอยู่” (หลวงพ่อหันมากระซิบกับข้าพเจ้าว่า เอใคร ทำนายถวายท่านอย่างนั้นก็ไม่รู้ เราไม่รู้ เราไม่มีอตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ตอบยาก ต้องหลวงพ่อเมืองซิ)

    ข้าพเจ้า : ขอถวายพระพร หลวงพ่อยืนยันว่า มหาบพิตรมีศีลบริสุทธิ์และทรงมีบุญมาก

    ในหลวง : เรื่องบุญกับกุศลนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง ตามที่รู้ผู้ทำบุญ หรือผู้มีบุญได้ผลแค่เทวดาอยู่สวรรค์ ผู้มี กุศลหรือทำกุศล มีผลให้ได้นิพพาน ถ้าอย่างนั้นที่ว่าพระราชามีบุญมากก็คงได้แค่เป็นเทวดา อยู่บนสวรรค์เท่านั้นไม่ได้นิพพาน ทำไมเราไม่พูดถึงกุศลกันมากๆ บ้าง หลวงพ่อสอนให้คน ปฏิบัติธรรมตามแนวปฏิบัติของหลวงพ่อบ้างหรือเปล่า

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาตมาภาพได้ทราบว่าที่วัดปากน้ำ วัดมหาธาตุ ก็มีสอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน มหาบพิตรเคยเสด็จไปบ้างไหม

    ในหลวง : ทราบ แต่ไม่เคยไป หลวงพ่อสอนอย่างไร อยากฟังบ้างและอยากได้เป็นแนวปฏิบัติเอาอย่างนี้ ได้ไหม มีเครื่องหรือเปล่า” (นายชุมพลกระซิบข้าพเจ้าว่า...มีเทป)

    ข้าพเจ้า : ขอถวายพระพร เครื่องเทปของวัดมี

    ในหลวง : ขอให้หลวงพ่อสอนตามแนวของหลวงพ่อที่เคยสอน จะสอนอะไรก็ได้

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร มีเป็นประเภทภาษิตคติธรรมต่างๆ

    ในหลวง : อะไรก็ได้ ขอให้เป็นคำสอนก็ใช้ได้

    หลวงพ่อเกษม : ได้ ขอถวายพระพร

    ในหลวง : ขอนมัสการลา (ทรงกราบแล้วเสด็จพระราชดำเนินถึงประตูพระอุโบสถ เสด็จกลับมาที่หลวงพ่ออีก) แล้วตรัสว่า “หลวงพ่อจำหมอดนัยได้ไหม เคยส่งมาพยาบาลหลวงพ่อที่คราวหลวงพ่ออาพาธมาหลายปีแล้ว ผมจะให้เขานำเครื่องบันทึกมา”

    หลวงพ่อเกษม : จำได้ ขอถวายพระพร


    (หมายเหตุ :: เจ้าคุณฯ หมายถึง เจ้าคุณพระอินทรวิชยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดคะตึกเชียงมั่น)

    “สัพเพ ชนา สุชิโต โหนตุ”
    หลวงพ่อเกษม เขมโก

     
  6. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ............ขอบคุณท่านตี๋ครับ...ท่านหาข้อมูลมาให้เพื่อนสมาชิกได้อ่านเพิ่มความรู้ตลอดเลยนะครับ.......
     
  7. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ......................................................................

    .......ขอบพระคุณท่านYankyเป็นอย่างสูงครับ....หลวงปู่ทวดเนื้อผงทรงกลมรีตามรูป...น่าจะเป็นอย่างที่ข้อมูลของท่านมีอยู่ครับ.
    .......เจ้าของเดิมคงสับสนทางข้อมูลจึงถ่ายทอดให้ผมฟังเช่นนี้ครับ......

    .......เรียนเพื่อนสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่าน...หลวงปู่ทวดรุ่นเปิดโลกเนื้อผง..เป็น"เนื้อผงสี่เหลี่ยมเพียงอย่างเดียวครับ".....
     
  8. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
  9. mana297

    mana297 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    405
    ค่าพลัง:
    +794
    สวัสดีครับทุกท่าน..ไม่ได้เข้ามาหลายวันแล้วครับ..ช่วงนี้คุณตี๋ครองกระทู้เลยขออนุโมทนาบุญวันนี้ด้วยนะครับ อิจฉาจังช่วงนี้ได้ของดีอีกแล้ว สงสัยต้องไปทำบุญบ้างละครับสวดมนต์อย่างเดียวไม่พอ 55 ..และกรณีอนุ...ผมก็มีเหมือนกัน ..เรามันหัวอกเดียวกัน..เขายอมรับเราเป็นสามีและเขาไม่มีเจ้าของ และเขาก็รู้สถานะของเราหมด ไม่รู้ผิดศีลข้อสามไหมครับถ้าผิดผมคิดว่าจะเบากว่ากรณีไปหลอกเขานะครับ แฟนคนเล็กผมก็มอบพระผงหลวงพ่อเกษมยืน วัดนางเหลียว รุ่นกตัญญู พร้อมพระนาคปรกใบมะขามหลวงปู่แหวนให้ไปบูชาครับ..
     
  10. mana297

    mana297 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    405
    ค่าพลัง:
    +794
    ชอบ..ภาพประจำตัว คุณธุลีดินจังครับ..เปลี่ยนแต่ละภาพสุดยอด...อิอิ
     
  11. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,559
    ค่าพลัง:
    +53,107

    ครับ ในเมื่อปฏิบัติแล้ว ก็อย่าไปคิดมากครับ มีเวลาเหลืออยู่เราพยายามสวดมนต์ทำบุญใว้ครับ สู้ๆครับ
     
  12. Tuumm

    Tuumm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +7,528
    ขอบคุณครับ ผมก็พูดไปตามที่คิดจากที่มาของเหตุและผลแหละครับ เพราะจริงๆ แล้วที่ในวงการเราทำโค้ดมาตอกเหรียญก็เพื่อป้องกันการปลอมแปลง และจำแนกตามเนื่อวัสดุของเหรียญ ไม่มีทำขึ้นเพื่อตอกสนองความต้องการหรือผลประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ถือโค้ดอยู่ในมือ ต้องช่วยกันแสดงความเห็นว่าเราไม่สนับสนุน การกระทำที่น่าละอายของ"คนทำพระ"พวกนี้จะได้ลดลงไป

    ผ้ายันต์ดูเข้มขลังดีครับ ไม่ปลอมแน่นอน แต่ไม่น่าจะทันท่านนะครับ เพราะตอนที่หลวงพ่อยังอยู่ไม่มีปรากฎว่ามีการทำผ้ายันต์เป็นรูปหลวงพ่อ(หลวงพ่อมุ่ยมรณะภาพปี 2518) ผ้ายันต์ผืนนี้วาดแบบจำลองมาจากภาพทำน้ำมนต์ของหลวงพ่อซึ่งหายากมาก ผมแนบมาให้ดูด้วยครับ

    ยังไงถ้าคุณตี๋มีโอกาสอย่าลืมหาแหวนของหลวงพ่อมุ่ยมาใส่ติดตัวซักวงนะครับ แหวนท่านเรียกได้ว่าเป็นแหวนหยุดมัจจุราชก็ว่าได้ เพราะเคยมีลุงคนหนึ่งป่วยหนักอยู่ที่โรงพยาบาลในสุพรรณบุรี แพทย์พบว่าอาการของและพบว่าอาการของคุณเพียบหนัก ร่างกายไม่มีการตอบสนอง แต่หัวใจยังคงทำงานไปเรื่อยๆ ไม่หยุดเต้น ทั้งที่ลุงแกควรจะไปตั้งแต่สองสามวันที่ผ่านมาแล้ว พอดีลูกหลานก็เหลือบเห็นแหวนหลวงพ่อมุ่ยที่นิ้วคุณลุง เรื่องก็เลยถึงบางอ้อ พอถอดแหวนออกไม่กี่ชั่วโมง คุณลุงก็สิ้นลมอย่างสงบ นี่แหละเค้าเรียกว่าแหวนหยุดมัจจุราช ขนาดถึงที่แล้ว ยังไม่ยอมสิ้นลมถ้าไม่ถอดแหวนออก ไม่เหมือนบางเกจิที่พวกลูกศิษย์ชอบแก้ต่างแทนไปเรื่อยว่าถึงที่แล้วก็ต้องไปถึงจะมีพระของหลวงพ่อเค้าคล้องอยู่ที่คอก็ตาม แต่จะแน่นอนกว่ามั้ยถ้าผู้คล้องวัตถุมงคลเสียชีวิตโดยมีเหตุให้ไม่มีวัตถุมงคลที่ว่าขลังอยู่กลับตัว อย่างไหนชัดกว่ากันครับ หลวงพ่อมุ่ยจึงเป็นอีกหนึ่งพระอริยะในดวงใจของผม

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 001.jpg
      001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.1 KB
      เปิดดู:
      149
  13. ธุลี-ดิน

    ธุลี-ดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2012
    โพสต์:
    12,650
    ค่าพลัง:
    +12,202
    ขอบคุณครับ

    คุณล้างใจ น่ารักกว่าครับ :cool:
     
  14. Tuumm

    Tuumm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +7,528
    +555+คุณตี่๋มีแนวร่วมอีกแล้ว ไม่อยากบอกเลยว่าผมก็มีแบบทั้งสองท่านเหมือนกัน ก็รู้ว่าผิด แต่ไม่รู้ว่าถึงขนาดผิดศีลข้อ3มั้ย? อันนี้น่าคิด เพราะสมัยพุทธกาล การมีภรรยาหลายคนไม่ผิดเพราะเรายอมรับการอยู่กินแบบหลายผัวหลายเมีย(Polygamy) แต่ห้ามไปแย่งเค้ามาจากสามีของเค้าเด็ดขาด ต่อมาภายหลังแนวคิดแบบผัวเดียวเมียเดียวหรือmonogamyของชาติตะวันตกได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในช่วงร้อยปีที่ผ่านมาทั้งที่polygamyเป็นความคิดดั้งเดิมของชาวตะวันออก และก็พลอยตีความการที่ผู้ชายในปัจจุบันที่มีภรรยาหลายคนว่าผิดศีลข้อ3ไปด้วย อันนี้ผมว่าไม่ถูก เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านควรจะเป็นจริงเป็นนิจจังไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่สมัยนี้ตีความศีลข้อสามแปลกๆไป คือเป็นว่า ก่อนหน้านี้ร้อยปีมีเมียหลายคนไม่ผิดศีลข้อ3 แต่ร้อยปีให้หลังชายที่มีเมียหลายคนผิดศีลข้อ3 ถ้าตีความเช่นนี้แล้ว คำสอนของพระพุทธองค์จะอยู่เหนือกาลเวลาได้อย่างไร ผมฝากเอาไว้ให้คิดครับ

    อย่างไรก็ตามการที่ผู้ชายมีเมียหลายคนมันก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูก ถึงแม้ว่าจะไม่ผิดศีลข้อ3ตามความคิดของผมก็ตาม แต่มันเป็นการทำบาปในเรื่องการทำให้คนอื่นทุกข์ใจถึงสามคน คือ ตัวเมียหลวง เมียน้อย และผู้ชายที่มีหลายเมีย แต่สิ่งเหล่านี้คงต้องเป็นไปตามหลักใหญ่ คือ กฎแห่งกรรม บุคคลหวานพืชเช่นไรต้องได้รับผลเช่นนั้นต่อไป เห็นตีความกันจริงตีความกันไปว่าผู้ชายมีเมียหลายคนผิดศีลข้อ3 ตีความกันเกินคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องศีลข้อ3 คงลืมกันไปว่า ทุกอย่างในโลกมันมีกฎแห่งกรรมควบคุมอยู่ แล้วจะไปตีความการครอบคลุมของศีลห้าแบบผิดๆทำไม ก็ในเมื่อถึงศีลห้าเราไม่ครอบคลุม กฎแห่งกรรมของพระพุทธองค์ก็ครอบคลุมอยู่แล้ว

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2012
  15. charoen.b

    charoen.b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    5,726
    ค่าพลัง:
    +15,488
    [​IMG]

    [​IMG]
    ผมลงรูปเมืองลำปาง เขลางค์นครหลายวันแล้ว ชักหวั่นใจว่าจะได้ย้อนกลับไปอยู่ลำปางอีกรอบแล้วกระมัง.......​
     
  16. Tuumm

    Tuumm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +7,528
    ยอดเยี่ยมครับคุณตี๋ เรื่องราวของหลวงพ่อเกษมที่อาจารย์เล็ก พลูโต เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก มี่ทั้งหมดราว 26หรือ27ตอนประมาณนี้ ถ้ายังไงรบกวนช่วยทยอยนำมาลงให้จบนะครับ

    ขอบพระคุณและขออนุโมทนาสาธุครับ

     
  17. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931

    .........ไปเถิด...ผมชอบ..จะได้มีข่าวคราวชัดเจนจากทางเมืองลำปางเกี่ยวกับหลวงปู่เกษมนำมาฝากบ้างครับ......
     
  18. Tuumm

    Tuumm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +7,528
    สนับสนุนอีกเสียงครับ

     
  19. butterfly168

    butterfly168 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +6
    ในฐานะของคนเป็นภรรยาหลวงนะคะ อ่านมาสามความคิดเห็น ก็แค่อยากจะบอกเป็นข้อคิดนิดนึงค่ะ (จริงๆไม่อยากออกมาเสนอความคิดเห็นเลยค่ะ แต่มันก็ความเป็นภรรยาหลวงค่ะ มันร่ำร้องว่า ทำไมต้องมาคิดกันเองนะผู้ชายว่าผิดมั้ย ไม่ผิดค่ะถ้าภรรยาหลวงเต็มใจแบบศาสนาอิสลามที่เค้าบอกว่ามีได้ถึงสี่คนแต่ต้องได้รับการยินยอมจากภรรยาแต่ละคน แต่ถ้าไม่ คุณๆคิดบ้างมั้ยค่ะว่าคนที่ตกนรกทั้งเป็นเป็นอย่างไร
     
  20. Tuumm

    Tuumm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +7,528
    ถึงไม่ผิดศีลข้อ3 ก็เป็นบาปได้นะครับ กฎแห่งกรรมของพระพุทธองค์ก็มี เราสามารถนำเรื่องของกฎแห่งกรรมมาใช้ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้แค่ศีลห้าเสมอไป ชายที่ทำให้ผู้หญิงทุกข์ เค้าก็จะต้องทุกข์และได้รับผลกรรมตามกฎแห่งกรรมครับ และผมก็เชื่อว่าไม่มีผู้ชายคนไหนที่มีภรรยาหลายคนแล้วเค้าจะมีความสุข อย่างตัวผมเอง ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ ผมจะไม่ทำเรื่องราวไม่ดีเช่นนี้ให้ภรรยาผมและตัวผมเองทุกข์ใจ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...