จะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นพระอรหันต์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สหพัฒน์, 17 พฤษภาคม 2012.

  1. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์</center></pre> <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>พระสารีบุตรสนทนากับพระปุณณมันตานีบุตร </center> [๒๙๖] ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้วเข้าไปหาท่านพระ ปุณณมันตานีบุตรถึงสำนัก ได้ปราศรัยกับท่านพระปุณณมันตานีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระปุณณมัน ตานีบุตรดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคของเราหรือ? ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ถูกแล้ว ท่านผู้มีอายุ? สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อสีลวิสุทธิหรือท่านผู้มีอายุ? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อจิตตวิสุทธิหรือท่านผู้มีอายุ? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ ท่าน ผู้มีอายุ? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ ท่านผู้มีอายุ?</pre>
     
  2. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อมัคคามัคคญาณทัสสน วิสุทธิหรือ ท่านผู้มีอายุ? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อปฏิปทาญาณทัสสน วิสุทธิหรือ ท่านผู้มีอายุ? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิ หรือ ท่านผู้มีอายุ? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ? สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อ สีลวิสุทธิหรือ ท่านตอบผมว่า ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อผมถามท่านว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ใน พระผู้มีพระภาค เพื่อจิตตวิสุทธิหรือ เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เพื่อมัคคา มัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิหรือ ท่าน ก็ตอบผมว่าไม่ใช่อย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อ อะไรเล่า? ปุ. ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน. สา. ท่านผู้มีอายุ สีลวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ จิตตวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?</pre>
     
  3. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ทิฏฐิวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ กังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า สีลวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานจิตตวิสุทธิ หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ทิฏฐิวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ปฏิปทาญาณ ทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ที่ นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ท่านก็ตอบผมว่า ไม่ใช่อย่างนั้นๆ เมื่อ เป็นเช่นนี้ จะพึงเห็นเนื้อความของถ้อยคำที่ท่านกล่าวนี้อย่างไรเล่า? [๒๙๗] ปุ. ท่านผู้มีอายุ ถ้าพระผู้มีพระภาคจักทรงบัญญัติสีลวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทา ปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน. ถ้าจักทรงบัญญัติ จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิว่า เป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่า เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าหากว่า ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ปุถุชน จะชื่อว่าปรินิพพาน เพราะว่า ปุถุชนไม่มีธรรมเหล่านี้ ท่านผู้มีอายุ ผมจะอุปมาให้ท่าน ฟัง บุรุษผู้เป็นวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้อความแห่งคำที่กล่าวแล้วด้วยอุปมา. <center>อุปมาด้วยรถ ๗ ผลัด </center> [๒๙๘] ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือน พระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังประทับอยู่ในพระนคร สาวัตถี มีพระราชกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต และในระหว่างพระนครสาวัตถีกับ เมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จออกจาก พระนครสาวัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่งที่ประตูพระราชวัง ไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สองด้วย รถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง จึงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง เสด็จไปถึง รถพระที่นั่งผลัดที่สาม ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงรถ พระที่นั่งผลัดที่สาม เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ปล่อยรถพระที่นั่ง ผลัดที่สาม ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ด้วยรถพระที่นั่ง ผลัดที่สี่ ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า เสด็จไปถึงรถพระที่นั่ง ผลัดที่หก ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หก เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่หก ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หก ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด เสด็จไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ถ้าพวกมิตรอำมาตย์ หรือพระญาติสาโลหิต จะพึงทูลถามพระองค์ซึ่งเสด็จถึงประตูพระราชวังว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาจากพระนครสาวัตถีถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถ พระที่นั่งผลัดนี้ผลัดเดียวหรือ ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสตอบอย่างไร จึงจะเป็น อันตรัสตอบถูกต้อง? สา. ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัสตอบอย่างนี้ จึงจะเป็นอันตรัสตอบ ถูกต้อง คือ เมื่อฉันกำลังอยู่ในนครสาวัตถีนั้น มีกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต ก็ในระหว่างนครสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้นจะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด เมื่อเช่นนั้น ฉันจึงออกจาก นครสาวัตถีขึ้นรถผลัดที่หนึ่งที่ประตูวังไปถึงรถผลัดที่สอง ด้วยรถผลัดที่หนึ่ง ปล่อยรถผลัดที่หนึ่ง ขึ้นรถผลัดที่สอง ไปถึงรถผลัดที่สาม ด้วยรถผลัดที่สอง ปล่อยรถผลัดที่สอง ขึ้นรถผลัดที่สาม ไปถึงรถผลัดที่สี่ ด้วยรถผลัดที่สาม ปล่อยรถผลัดที่สาม ขึ้นรถผลัดที่สี่ ไปถึงรถผลัดที่ห้า ด้วยรถผลัดที่สี่ ปล่อยรถผลัดที่สี่ ขึ้นรถผลัดที่ห้า ไปถึงรถผลัดที่หก ด้วยรถผลัดที่ห้า ปล่อย รถผลัดที่ห้า ขึ้นรถผลัดที่หก ไปถึงรถผลัดที่เจ็ด ด้วยรถผลัดที่หก ปล่อยรถผลัดที่หก ขึ้นรถ ผลัดที่เจ็ด ไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูวังด้วยรถผลัดที่เจ็ด ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศล จะ ต้องตรัสตอบอย่างนี้ จึงจะเป็นอันตรัสตอบถูกต้อง. ปุ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้น สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณ ทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ใน พระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน. <center>กล่าวชื่นชมสุภาษิตของกันและกัน </center> [๒๙๙] เมื่อท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงถามว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ รู้จักท่านว่าอย่างไร? ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ผมชื่อปุณณะ แต่พวกภิกษุเพื่อน พรหมจรรย์ รู้จักผมว่ามันตานีบุตร. ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์นัก ไม่ เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้ง อันท่านพระปุณณมันตานีบุตรเลือกเฟ้นมากล่าวแก้ ด้วยปัญญาอัน ลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงกล่าว แก้ ฉะนั้น เป็นลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์อันเพื่อนพรหมจรรย์ได้ ดีแล้ว ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร แม้หากว่าเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะ เทิดท่านพระปุณณมันตานีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเทริดผ้า จึงจะได้พบเห็น นั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็นับ ว่าเป็นลาภมากของเธอเหล่านั้น ความเป็นมนุษย์อันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่งนับว่าเป็นลาภ มากของผมด้วย เป็นการได้ดีของผมด้วย ที่ได้พบเห็น นั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร. [๓๐๐] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงถามดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย รู้จักท่านว่าอย่างไร? ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ผมชื่ออุปติสสะ แต่พวกเพื่อนพรหมจรรย์ รู้จักผมว่าสารีบุตร. ท่านพระ ปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ผมกำลังพูดอยู่กับท่านผู้เป็นสาวกทรงคุณคล้ายกับ พระศาสดา มิได้ทราบเลยว่า ท่านชื่อสารีบุตร ถ้าผมทราบว่า ท่านชื่อสารีบุตรแล้ว คำที่พูดไป เพียงเท่านี้ คงไม่แจ่มแจ้งแก่ผมได้ เป็นการน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้ง อันท่านพระสารีบุตรเลือกเฟ้นมาถามแล้วด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงถาม ฉะนั้น เป็นลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์ ความเป็นมนุษย์นับว่าเพื่อนพรหมจรรย์ได้ดีแล้ว ที่ได้พบเห็น นั่งใกล้ท่านพระสารีบุตร แม้ หากว่า เพื่อนพรหมจรรย์จะเทิดท่านพระสารีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเทริดผ้าจึงจะได้พบเห็น นั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็เป็นลาภมากของเธอเหล่านั้น ความเป็นมนุษย์นับว่าอันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่ง นับว่าเป็นลาภมากของผมด้วย เป็นการได้ดีของผมด้วย ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้พระสารีบุตร. พระมหานาคทั้งสองนั้น ต่างชื่นชมสุภาษิตของกันและกัน ด้วยประการฉะนี้แล. <center>จบ รถวินีตสูตรที่ ๔ </center></pre>
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    จำไม่ผิดนะ พระอภิธรรมท่านว่าพระอรหันต์ถ้ายิ้มมากสุดจะไม่เห็นฟัน..พระอรหันต์ต้องไม่หัวเรอะ...ไอ่เราก็มาคิด เป็นพระอรหันต์นี่มันลำบากขนาดจะยิ้มก็ต้องไม่เห็นฟัน.....อันนี้ต้องบอกก่อนนะว่าไม่รับรอง เพราะว่าตัวเองที่พูดนี่ก็ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์.....แต่จะเอารูปพระนักปฏิบัติระดับครูบาอาจารย์ที่หลายท่านที่เชื่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์มาให้ดู......อันนี้ก็ไปคิดกันเอาเอง.....




    [​IMG]

    หลวงปู่แหวน



    [​IMG]

    หลวงตามหาบัว


    [​IMG]

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง....

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2012
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ท่านทั้งสามองค์ด้านบนนี้ อัฐิแปรพระธาตุทุกองค์......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2012
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    หลวงพ่อพระราชพรหมยานเคยสอนไว้ว่า พระอรหันต์นี่เรารู้ได้ยาก เพราะผู้ที่จะรู้ท่านได้จริงๆคือต้องมีระดับคุณธรรมเดียวกัน.....ฉะนั้นเราทั้งหลายจะเลือกนาบุญนั้นเราจะตัดว่าท่านเป็นพระอรหันต์นั้นก็ยาก....แต่เราสามารถสังเกตได้จากที่เราเอาสังโยชน์ ๑๐ ประการไปเทียบท่านดูว่า....ท่านมีบ้างหรือไม่ เข้าข่ายบ้างหรือไม่ อย่างนี้หละครับ....ซึ่งพอจะบอกได้บ้าง.....ถ้าท่านเป็นพระปฏิบัติดี ต่อให้เราไม่ทราบได้ว่าท่านเป็นพระอรหันต์ แต่อย่างน้อยที่สุด ทานที่เราถวายก็ได้ชื่อว่าได้ถวายต่อพระสุปฏิปันโณ อย่างนี้หละครับ........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2012
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    สังโยชน์

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodycontent --><TABLE style="BORDER-BOTTOM: #060 1px solid; TEXT-ALIGN: center; BORDER-LEFT: #060 1px solid; MARGIN: 0px 0px 1em 1em; FLOAT: right; BORDER-TOP: #060 1px solid; BORDER-RIGHT: #060 1px solid" id=WSerie_Buddhism class=toccolours cellSpacing=0 cellPadding=1 width=170><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 100%" colSpan=2><SMALL>ส่วนหนึ่งของ</SMALL>
    ศาสนาพุทธ

    [​IMG] สถานีย่อย
    <HR>[​IMG]
    ประวัติศาสนาพุทธ
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ศาสดา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>จุดมุ่งหมาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>นิพพาน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ไตรรัตน์</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ความเชื่อและการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>คัมภีร์และหนังสือ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>หลักธรรมที่น่าสนใจ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ไตรลักษณ์
    อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>นิกาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>สังคมศาสนาพุทธ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>การจาริกแสวงบุญ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ดูเพิ่มเติม</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ</TD></TR></TBODY></TABLE>สังโยชน์ (บาลี: samyojana) คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ
    • ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่
      • 1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
      • 2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
      • 3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
      • 4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
      • 5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
    • ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
      • 6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
      • 7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
      • 8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
      • 9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
      • 10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง
    พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
    พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย
    พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อต้นได้หมด
    พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ
    [แก้] อ้างอิง

     
  8. Vatairat

    Vatairat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,294
    เป็นเรื่องยากที่จะดู ถ้าเป็นปุถุชนสำหรับพวกเรา ถ้าอยากรู้ ต้องปฎิบัติเอาเองค่ะ ให้ภูมิจิต ภูมิธรรมเท่าท่าน ก็ทราบไ้ด้เองค่ะ อีกอย่างนะค่ะ พระอรหันต์บางองค์ ภายนอกอาจจะดูเป็นแค่พระธรรมดาไม่มีอะไร นั่นเรียกว่า คุณธรรรมภายนอก เว้นแต่ว่า่ท่านจะแสดงให้เห็นเอง หรืออธิษฐานขอค่ะ ต้องดูที่คุณธรรมภายในค่ะ
     
  9. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    ขอบคุณทุกท่านน่ะครับ ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น และช่วยนำความรู้ดีๆมาเผยแพร่
     
  10. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    จะรู้ได้ด้วยการอยู่คุกคลี สนทนาธรรม ฟังธรรม และมีโยนิโสมนสิการ
    กายกรรม และวจีกรรม อันมโนกรรมอบรมณ์มาดีแล้ว ไม่เป็นเครื่องอยู่แห่งสังโยชน์ทั้งหลาย
    กิติศัพย์อันงามในท่านผู้เจริญย่อมฟุ้งขจรไป ด้วยอำนาจแห่งศีลบริสุทธิ์
    ไม่ว่าท่านโคจรไป ณ สถานที่แห่งใด ย่อมบังเกิดความเจริญ เป็นมงคลแก่สถานที่แห่งนั้นโดยถ่ายเดียว...บัญฑิตจะพึงมนสิการรู้ได้ด้วย ปัญญาของตนแล.
     
  11. overmage

    overmage เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +128
    :cool::cool::cool::cool::cool:

    อย่างที่พี่เขากล่าวครับ การที่จะดูให้ออกเลยก็คงจะดูยากสักหน่อย

    แต่หากเป็นระดับพระอริยะเจ้านี่ สังเกตดูดีๆ จะทราบครับ แม้ว่ากริยาภายนอกท่านจะเป็นอย่างไร

    แต่หากท่านให้ข้อธรรม เราจะทราบได้ทันทีเลยครับ
     
  12. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    พออนุมานได้จากหลักธรรมคำสอน (แบบด้นเดาเท่านั้น)

    ดูจากภายนอก กริยาอาการ บอกไม่ได้เลยครับ...
     
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ไม่รู้นะ....ส่วนตัวผมว่าดูจากหลักธรรมคำสั่งสอนนั้นดูไม่ได้ละเอียดเท่าจริยาวัตรปฏิบัติ.....

    เรื่องที่เราจะดูเพียงแค่หลักธรรมคำสอนที่ดีนั้นอย่างน้อยสุดเราต้องมีภูมิความรู้ที่สั่งสมมาค่อนข้างที่จะมากถึงจะดูได้บ้าง.....ยิ่งเราศึกษามาไม่มากมักเจอของเทียมประเภท พูดดี แต่ปฏิบัติไม่ได้....อย่างนี้มีมาก.....ตัวอย่างมีให้ดูมากมายไปนะ...ไม่ว่าทั้งพระและฆราวาส.....

    ผมว่าแค่คำพูดคำสอนตัดสินคนไม่ได้หลอก พระเทวทัต สมัยก่อนท่านก็พูดดีนั่นหละนะ ไม่งั้นจะมีลูกศิษย์มากเหรอครับ.....พูดดีจนดีกว่าพระพุทธเจ้าท่านอีก....

    ผมว่าเราต้องดูทั้งจริยวัตรปฏิบัติ และ การแสดงธรรม...ประกอบกัน โดยเอาสังโยชน์ ๑๐ เข้าเทียบนั้นหละ ถึงจะแน่นอน......
     
  14. boatsa2538

    boatsa2538 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +90
    เห็นด้วยกับคุณภานุเดชนะ .
     
  15. โมกขทรัพย์

    โมกขทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    474
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,851
    ตอบธรรมะได้ฉะฉานตรงไปตรงมาได้แจ่มแจ้งดีมากครับ โมทนาสาธุ ในกุศลกรรมที่พี่ได้ทำมาทั้งสิ้นทั้งมวลนะครับ
     
  16. moonatnoonja

    moonatnoonja สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +3
    จากที่อ่านข้อความนี้และเข้าใจได้ สรุปดังนี้
    1. อยากรู้สิ่งใดให้ปฏิบัติในสิ่งนั้น แล้วจะเห็นผลเองจริง
    หมายความว่า : อยากรู้ว่าใครเป็นพระอรหันต์ ก็ ต้องเป็นพระอรหันต์เอง
    2. แม้ผู้อื่นจะเป็นพระโสดาบัน หรือ พระอรหันต์ แล้วตนเองเล่าเจ้าเป็นอะไร?
    ตัวอย่าง : พระอรหันต์ท่านเห็นธรรมแล้ว เมื่อรู้แล้วตัวเราเองจะเห็นธรรมไหม?

    สิ่งที่อยากให้ถามตัวเองกลับ .... รู้แล้วทำไม รู้แล้วได้อะไร หรือก็แค่อยากรู้และอยากเห็น...
     
  17. ศิษย์น้อย

    ศิษย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +3,047
    ความเป็นอรหันต์
    พระที่ท่านบรรลุอรหันต์ท่านจะรู้ด้วยตัวของท่านเอง
    เหตุการตอนบรรลุนั้น..เหล่าเทพเทวดาที่เกี่ยวเนื่องกัน
    จะมาโมทนากันแบบมืดฟ้ามัวดิน...

    ประการที่สอง พระอรหันต์ ด้วยกันเอง
    จะรู้ว่าท่านใดเป็นพระอรหันต์....

    ประการที่สามถ้าเราผู้ปฏิบัติกรรมฐานอยากรู้บ้างล่ะ..
    ก็ฝึกจิตให้มั่น ขอบารมีพระฯ เช่นนี้ก็ได้ครับ
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ...จะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นพระอรหันต์...

    ก่อน อื่น ง่ายที่สุดเลย

    พ่อ แม่เป็นพระอรหันต์ของลูกๆ

    ให้พ่อแม่ก่อน ก่อนจะกระจายออกไป
     
  19. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ลองไปอ่านหนังสือชื่อ ล่าพระอาจารย์
    จะพบลีลาการถามพระอริยเจ้าว่าท่านเป็นพระอริยเจ้าหรือไม่
     
  20. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    คุณขันธ์สำเร็จมรรคผลนิพพานแน่นอนครับ มันยังมีที่คล้ายๆกันแต่ยิ่งไปกว่านั้น ผมอาราธนาคุณขันธ์ตอนสำเร็จแล้ว คือพวกอย่างเรากินข้าวผัดมันบอกว่าทำไมเราไม่กินผัดซีอิ๊ว เราเดินไปทางซ้ายมันบอกว่าทำไมมึงไม่ไปทางขวา หรือเรานั่งสูบบุหรี่อยู่มันบอกว่าทำไมมึงไม่กราบตีนกู คนอย่างนี้มันมีเยอะเหมือนกันนะ และไอ้ที่เลวที่สุดก็คือพวกลัทธิ"ไม่" เอาล่ะพอ แล้วแต่ขันธ์ ของผมในพุทธสมัยของผม หน้าที่หลักของผมคือมนต์พิธี...
     

แชร์หน้านี้

Loading...