หลักธรรมสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Komodo, 1 มิถุนายน 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    หลักธรรมสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม

    การอยู่ร่วมกันในสังคมมักจะมีปัญหาเกิดขึ้นเสมอ โดยเฉพาะการกระทบกระทั่งกันด้วยวาจา ใจ และการเบียดเบียนกัน สังคมที่มีการเบียดเบียนกันสังคมนั้นย่อมหาความสุขไม่ได้ การปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกันในสังคมให้ราบรื่นเรียบร้อย มีความสุข และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน พระพุทธเจ้าได้ให้หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันไว้ดังนี้

    ๑. การมีสังคหวัตถุ ๔ คือ มีเครื่องสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ซึ่งประกอบด้วย

    ๑.๑ ทาน คือ การให้ปันสิ่งของ ๆ ตนต่อผู้อื่น การผูกใจคนต้องอาศัยการให้เป็นหลักพื้นฐาน การให้เป็นการแสดงออกถึงไมตรีจิตของผู้ให้ที่ผู้รับพอใจ
    ๑.๒ ปิยวาจา คือ การมีถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน น่าฟัง ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยครองใจคนด้วยไมตรีจิต
    ๑.๓ อัตถจริยา คือ การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นคนไม่ดูดาย รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
    ๑.๔ สมานัตตตา คือ ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอ วางตนเหมาะสมไม่ถือตัว นอบน้อมต่อผู้ใหญ่

    ๒. การมีผาสุกวิหารธรรม คือ ธรรมอันเป็นเครื่องอยู่อย่างเป็นสุข คนเราไม่ว่าจะอยู่ร่วมกันในครอบครัว ในองค์การ หรือในสังคมก็ตาม จะอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขได้ต้องตั้งมั่นอยู่ในหลักธรรม ๖ ประการ คือ

    ๒.๑ เมตตากายกรรม คือ มีเมตตาต่อกัน ทำอะไรด้วยกายที่ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
    ๒.๒ เมตตาวจีกรรม คือ จะพูดอะไรต้องมีเมตตาต่อกัน โดยสำนึกถึงความเสียหายของผู้อื่น ไม่พูดให้เกิดความเข้าใจผิด หรือแตกแยกความสามัคคี
    ๒.๓ เมตตามโนกรรม คือ คิดอะไรต้องมีจิตเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง มีความปรารถนาดี ไม่คิดร้าย คิดทำลาย ไม่คิดแก้แค้น คิดแต่ในทางที่ดีเป็นกุศล
    ๒.๔ มีการแบ่งปันลาภที่ตนไดมาแล้วโดยชอบธรรม ให้แก่ผู้อื่นที่สมควรให้ โดยไม่หวงไว้ใช้หรือบริโภคแต่เพียงผู้เดียว
    ๒.๕ มีความประพฤติเสมอกัน คือ จะต้องมีศีลบริสุทธิ์เหมือนกัน ไม่รังเกียจผู้อื่น ต้องเคารพในสิทธิอันเสมอภาคกัน
    ๒.๖ มีความคิดถูก คิดดีเหมือนกัน คือ มีความคิดเห็นที่ประเสริฐ เป็นความคิดที่เกื้อกูลไปสู่ความสุข ความเจริญ และพ้นทุกข์ ไม่วิวาทกับใคร ๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน

    ๓. การมีสามัคคีธรรม คือ ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะทำให้เกิดสุขในทางปฏิบัติ สามัคคีธรรมประกอบด้วย

    ๓.๑ ความสามัคคีทางกาย คือ การทำงานร่วมกันด้วยความเสียสละ
    ๓.๒ ความสามัคคีทางใจ คือ มีความพร้อมใจกันที่จะทำกิจทุกอย่าง
    ๓.๓ ความสามัคคีทางความคิด คือ การช่วยกันคิดสร้างสรรค์ความเจริญให้เกิดแก่ส่วนรวม ไม่คิดเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...