รู้ทัน รู้คิด มีสติ ศีล ทาน ภาวนา รอดแน่จ้าาาาาา !!!

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Equal, 9 มิถุนายน 2012.

  1. Equal

    Equal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +195
    ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ฝ่ายใด ทุกท่านรอดได้แน่นอนท่าทำถูกจริต ถูกกาล ถูกเวลา ถูกสถานที่ ...

    ทุกท่านต้องเป็นผู้เลือก มิใช่ถูกเลือก ขึ้นชื่่อว่าได้เป็นมนุษย์ ที่มีสมอง ยิ่งอวัยวะครบสามสิบสอง อย่าได้ชักช้า ท้อถอย ต่อการปฏิบัติธรรมให้ตลอดสาย ตลอดเวลา ทำเหตุไว้เถิด ...

    เริ่มจากอาราธนาพระรัตนตรัย พระกรรมฐาน ครูบาอาจารย์ น้อมจิตให้ท่านช่วยให้มีสติ สมาธิ ปัญญา ...

    เลือกวิธีใดก็ได้ที่ชอบ ทำให้เป็นอาจิณ ไม่มีคำว่าช้า ไม่มีคำว่าเร็ว ไม่มีถูก ไม่มีผิด มีแต่ความเหมาะสมกับจริตตน รู้เวลา รู้สถานที่ รู้สึกที่ตัวไม่เกิน ๑ คืบ ๑ ศอก ไม่ส่งจิตออกนอก หลงคิดรู้กลับมาที่ความรู้สึกตัว หากมีสติจะรู้ว่าสิ่งที่คิด มีประโยชน์หรือไม่ เป็นไปเพื่อมรรคมีองค์ ๘ หรือเปล่า ...

    ทุกวันก่อนนอนระลึกถึงสิ่งที่ได้กระทำระหว่างวัน น้อมจิตถึงการปฏิบัติดีไว้ แล้วแผ่เมตตาอันไม่มีประมาณแก่ทุกสรรพสิ่ง ทั่วทั้งจักรวาล ...

    เพียรทำ และรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาตามภาระหน้าที่การงาน (ปรับสมดุลระหว่างจิตและกาย) เดินทางสายกลาง ...

    รับรองทุกท่านได้พบความจริงอันประเสริฐ ที่นำพาพ้นภัยอย่างเหมาะเจาะ เหมาะสม อย่างแน่นอน ...

    ;aa15;aa15;aa15
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _buddha.jpg
      _buddha.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73.4 KB
      เปิดดู:
      136
  2. Equal

    Equal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +195
    เมื่อใดที่ได้ปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา โดยพิจารณาที่กายกับจิตไม่เกิน ๑ คีบ ๑ ศอก ตามหลักสติปัฎฐาน ๔ และนำมาเทียบเคียงกับปริยัติ (จากผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มิใช่จากการว่าตามๆ กันมา ท่องจำกันมา) ท่านจะได้พบหนทางอันประเสริฐอย่างแน่นอน ...

    จากหนังสือ พุทธศาสนามหายาน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) พิมพ์ครั้งที่ ๒ โดย สุมาลี มหณรงค์ชัย

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> ทฤษฎี “ความจริงสามประการ” หรือ ตรีสัตย์
    การพิจารณาองค์ประกอบสามประการในหลักการของมาธยมิกะ แต่ตีความในแบบเฉพาะของเทียนไถ นำไปสู่แนวคิดในเรื่องความจริงสามประการ นั่นคือ
    ๑)
    ความมีอยู่ชั่วคราว หรือ สมมติสัตย์
    ๒) ความว่าง หรือ ศูนยตสัตย์
    ๓) ความจริงที่เป็นกลาง หรือ มัธยมสัตย์
    ความว่างเป็นภาวะที่แท้จริงของสรรพสิ่ง หมายความถึง สภาพที่ปราศจากความคิดหรือความรู้สึก กล่าวคือ เป็นอิสระจากการยึดถือทั้งปวง ความมีอยู่ชั่วคราวหมายถึงโลกแห่งปรากฏการณ์ นั่นคือ ถึงแม้ว่าภาวะที่แท้จริงของทุกสิ่งว่าง แต่สิ่งทั้งหลายก็ปรากฏให้เห็นว่ามีอยู่
    ทว่าการมีอยู่นี้เป็นการมีอยู่ในฐานะเป็นปรากฏการณ์ เนื่องจากสิ่งทั้งหลายเกิดจากการประชุมกันของเหตุปัจจัย ภายในจิต จึงกล่าวได้ว่า ก่อนการหยั่งเห็นศูนยตา สิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียงรูปนาม มีอยู่แต่ในนามเท่านั้น แต่ ภายหลังการหยั่งเห็นศูนยตา โลกของปรากฏการณ์จะเกิดขึ้นในฐานะเป็นปัญญาญาณเพื่อถอนความยึดถือในศูนยตาอย่างสมบูรณ์ ส่วนความจริงที่เป็นกลางหมายความถึงผลรวมของ “ความว่าง” และ “ความมีอยู่ชั่วคราว” ความจริงกลางๆ (หรือทางสายกลาง) ของเทียนไถไม่ได้แปลว่าอยู่ตรงกลางระหว่างความว่างกับความมีอยู่ชั่วคราว แต่หมายถึงภาวะที่เป็นทั้งความว่างและมีอยู่ชั่วคราว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Zen.jpg
      Zen.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6 KB
      เปิดดู:
      88
  3. Equal

    Equal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +195
    จากหนังสือ พุทธศาสนามหายาน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) พิมพ์ครั้งที่ ๒ โดย สุมาลี มหณรงค์ชัย

    ต่อ

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> ความจริงสามประการนี้เป็นหลักการเดียวแต่วิธีการอธิบายความจริงมีสามแง่มุม เมื่อพูดถึงความจริงในแง่มุมใด ก็เท่ากับพูดถึงความจริงในอีกสองแง่มุมที่เหลือไปโดยปริยาย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรานึกถึงข้อความๆ หนึ่ง ข้อความนั้นเป็นเพียงปรากฏการณ์ ว่างเปล่า ไม่มีเนื้อหาสาระ การบอกว่าข้อความที่เรานึกถึงเป็นความว่างก็เท่ากับเรากำลังบอกว่าข้อความดังกล่าวมีอยู่ชั่วขณะ เพราะธรรมชาติของปรากฏการณ์นั้นว่าง มันจึงมีอยู่ชั่วขณะตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ความว่างจึงมีความหมายเท่ากับการมีอยู่ชั่วขณะ ไม่มีอะไรเลยในโลกนี้ที่ไม่เป็นทั้งความว่างและการมีอยู่ชั่วขณะ
    กล่าวโดยง่าย ทุกสิ่งเป็นทั้งความว่างและมีอยู่ชั่วขณะในเวลาเดียวกัน เราจึงสรุปต่อไปได้ว่า ทุกสิ่งเป็นภาวะกลางๆ เป็นทางสายกลางในทัศนะของเทียนไถ ภาวะ (หรือความจริง) กลางๆ นี้เรียกอีกอย่างว่าภาวะแท้ หรือตถตา อันหมายถึงความเป็นเช่นนั้นเอง
    เช่นเดียวกัน การเพ่งพินิจองค์ประกอบทั้งสามอย่างที่ระบุไว้ตอนก่อนก็เป็นการเพ่งพินิจในความจริงเดียวกัน แต่ที่แบ่งออกเป็นสามอย่างนั้นก็เพื่ออธิบายให้เห็นแง่มุมต่างๆ อย่างชัดเจนเท่านั้น การเพ่งพินิจในองค์ประกอบทั้งสามก็ดี ตรีสัตย์ก็ดี เราจะต้องไม่คิดว่ามีความจริงสามอย่างแยกขาดจากกัน ไม่เช่นนั้นเราจะเข้าใจแนวคิดของเทียนไถไม่ได้
    จากเดิมที่สำนักพุทธส่วนใหญ่มักสอนเรื่องความจริงสองระดับคือ ความจริงสมมติ (โลกิยะ) กับความจริงปรมัตถ์ (โลกุตระ) เอกลักษณ์ของเทียนไถคือขยายแนวคิดเดิมจนทำให้ตระหนักเห็นความจริงกลางๆ ความจริงนี้มาจากพื้นฐานความเชื่อว่า ความจริงปรมัตถ์ไม่ได้เป็นภาวะต่างหากที่แตกต่างจากปรากฏการณ์ทั้งหลายเพราะความจริงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หน้าที่ของเราคือยกระดับของปรากฏการณ์ให้กลายเป็นสัจภาวะ รวมทั้งหยั่งให้เห็นว่าความหลุดพ้นไม่ได้แตกต่างจากสังสารวัฏ ความจริงสมมติไม่ได้แตกต่างจากความจริงปรมัตถ์ โลกิยวิถีก็คือโลกุตรวิถี ทั้งหมดเป็นภาวะเดียวกัน แต่เป็นแง่มุมต่างๆ ของทางสายกลาง – ธรรมชาติแห่งพุทธะ จื้ออี้ อธิบายไว้ว่า
    เริ่มต้น การพิจารณาสมมติบัญญัติอันนำเข้าสู่ความว่าง มีเป้าหมายเพื่อเอาชนะหรือทำลาย ธรรม จากนั้น การพิจารณาความว่างอันนำเข้าสู่สมมติบัญญัติ มีเป้าหมายเพื่อแสดงและโอบอุ้ม ธรรม การพิจารณาทางสายกลางมีเป้าหมายที่การสอนและเปลี่ยน (ภาวะ) สัตว์ทั้งหลายให้บรรลุปัญญาหยั่งตรงสู่อันติมสัจจ์ การหยั่งสู่อันติมสัจจ์เรียกว่าการอยู่ใน ธรรม อย่างยั่งยืน และการอยู่ใน ธรรม อย่างยั่งยืนหมายถึงภาวะเที่ยงแท้ของธรรมกาย
    การอยู่ในธรรมอย่างยั่งยืนมีนัยยะบ่งถึงการกลับไปสู่ธรรมชาติแห่งพุทธะซึ่งครอบคลุมเรื่องทางโลกทุกอย่างไว้หมด ท่านจื้ออี้ไม่ประสงค์จะให้พวกเราแยกเรื่องทางโลกออกจากความหลุดพ้น ในทางกลับกัน ท่านเห็นว่าตราบใดที่บุคคลยังมองเห็นแค่ความจริงสองระดับตราบนั้นถือว่าเขายังมีความยึดมั่น (อุปาทาน) หลงเหลืออยู่ ในที่นี้ ภาวะเที่ยงแท้ของธรรมกายไม่ได้บ่งถึงแก่นสารสาระอะไร แต่หมายถึงการหยั่งเห็นทางสายกลาง – ธรรมชาติแห่งพุทธะ ที่มีคุณลักษณ์ ๓ ประการคือ มีอยู่แน่นอน เป็นพลวัต และครอบคลุมธรรมทั้งหลายทุกครั้งที่เอ่ยถึงธรรมกายในทัศนะของท่านจื้ออี้ จะมีความหมายเท่ากับธรรมชาติแห่งพุทธะ เป็นสัจภาวะ หรือเป็นทางสายกลางเสมอ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    อนุโมทนากับสิ่งที่ท่านสื่อ

    ธรรมนี่แหละทางสายเอก

    ทางแจ้ง

    สาธุ
     
  5. Equal

    Equal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +195
    จากหนังสือ พุทธศาสนามหายาน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) พิมพ์ครั้งที่ ๒ โดย สุมาลี มหณรงค์ชัย

    ต่อ

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> ที่สุดของความจริงคือภาวะแท้อันนี้ จากหลักความจริงสามประการสำนักเทียนไถได้ยกความจริงกลางๆ ขึ้นเป็นจิตสูงสุด จิตสูงสุดนี้มีความเต็มเปี่ยม หมดจดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แผ่ไปทั่วสากลจักรวาล อาจารย์เสถียรให้ชื่อภาวะสูงสุดของเทียนไถว่า เอกจิตตธรรมธาตุ พร้อมทั้งอธิบายหลักความจริงทั้งสามโดยให้ความมีอยู่ชั่วคราวหมายถึงสังขารธรรมทั้งหลาย ส่วนความว่างหมายถึงความรู้แจ้งในจิตของเราว่าเป็นสภาพว่างจากกิเลส บัญญัติไว้เพื่อทำลายอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) ในสังขารธรรม ส่วนความรู้แจ้งว่าทั้งหลายทั้งปวงนั้นมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน เป็นเอกจิตตธรรมธาตุเดียวกัน เป็นลักษณะของความจริงแบบกลางๆ “เพื่อทำลายอุปาทานจึงแสดงศูนยตสัตย์ แลเพื่ออนุวัตรตามโลกบัญญัติจึงสมมติขึ้นเป็นโลกิยสัตย์ รู้ถ่องแท้ตามเป็นจริงว่าทั่งสังขตะ อสังขตะ สังขารแลวิสังขาร กุศลแลอกุศลต่างมีมูลกำเนิดเดียวกันจัดเป็นมัธยมสัตย์ ทฤษฎีตรีสัตย์ อันสมบูรณ์กลมกลืนกันมีวิสัชนาโดยย่อด้วยประการดั่งนี้

    เมื่อความจริงสูงสุดคือเอกจิตตธรรมธาตุ (ทางสายกลาย - ธรรมชาติแห่งพุทธะ / ตถาคตครรภ์) จิตของพระพุทธองค์กับจิตของปุถุชนก็ไม่แตกต่างกัน เปรียบจิตของพระพุทธเจ้าเหมือนกับน้ำทะเลที่นิ่งสงบ จิตของปุถุชนเหมือนน้ำทะเลที่ถูกพายุอวิชชาพัดให้เกิดระลอกคลื่นมากบ้างน้อยบ้าง ไม่ว่าจะสงบหรือมีคลื่น น้ำทะเลก็ยังคงเป็นน้ำทะเลเดียวกันอยู่วันยังค่ำ ในเอกจิตตธรรมธาตุ (จิตสูงสุด) นั้นประกอบไปด้วยภูมิหรือธาตุกำเนิดอยู่สิบภูมิ จัดเป็นภูมิชั้นสูงสี่ภูมิ และภูมิชั้นต่ำหกภูมิ ได้แก่

    ๑) พุทธภูมิ – ธาตุหรือภาวะของพระพุทธเจ้า
    ๒) โพธิสัตว์ภูมิ – ธาตุหรือภาวะของโพธิสัตว์ (ผู้ที่กำลังสั่งสมบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า)
    ๓) ปัจเจกพุทธภูมิ (ปัจเจกภูมิ) – ธาตุของพระปัจเจกพุทธเจ้า (ผู้ตรัสรู้เองแต่ไม่สั่งสอนคนอื่น)
    ๔) สาวกภูมิ – ธาตุของพระอรหันต์ หรือสาวกผู้ดำเนินรอยตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ๕) เทวภูมิ – ธาตุของเทวดา (ผู้เสวยสุข)
    ๖) อสูรภูมิ – ธาตุของอสูร (ภาวะกึ่งเทพกึ่งวิญญาณ)
    ๗) มนุษย์ภูมิ – ธาตุของมนุษย์ (ผู้อยู่กึ่งกลาง)
    ๘) เปรตภูมิ – ธาตุของวิญญาณที่หิวกระหาย
    ๙) เดรัจฉานภูมิ (ดิรัจฉานภูมิ) – ธาตุของสัตว์เดรัจฉาน
    ๑๐) นรกภูมิ – ธาตุของสัตว์นรก

    ในแต่ละภูมิจะมีภูมิที่เหลืออีกเก้าแฝงอยู่ด้วยเสมอ เช่น ในพุทธภูมิ จะมี
    ธาตุ (หรือภาวะ) ของโพธิสัตว์เรื่อยไปถึงสัตว์นรกอยู่ด้วย คำอธิบายแบบนี้มีประโยชน์มากในแง่ที่ใช้อธิบายการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆ ถ้าแต่ละภูมิแยกต่างหากจากกัน มนุษย์ก็จะต้องเกิดเป็นมนุษย์เรื่อยไป ซึ่งในความเป็นจริงชาวพุทธทั้งหลายรับทราบกันดีอยู่ว่า ในอดีตชาติ ปัจจุบันชาติ และอนาคตชาติของดวงจิตหนึ่งๆ เปลี่ยนแปลงไปตามกรรม บางชาติเราอาจเกิดเป็นเทวดา บางชาติเราอาจเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน แม้แต่พระศากยมุนีพุทธเจ้าก็ยังเคยเสวยพระชาติอยู่ในภพภูมิต่างๆ อาทิ เทวดา หรือสัตว์เดรัจฉาน

    เทียนไถให้คำอธิบายในเรื่องการเกิดในภพภูมิต่างๆ ว่าถ้าขณะจิตสุดท้ายของเรามีธาตุใดธาตุหนึ่งในสิบธาตุกำเนิดนี้เด่นชัด เราก็จะเกิดในภพภูมินั้น ซึ่งตรงนี้สามารถใช้อธิบายวงจรแห่งการเวียนว่ายตายเกิด รวมทั้งใช้สนับสนุนการที่สรรพสัตว์มีพุทธจิตได้ เพราะเรามีภาวะของพุทธะแฝงอยู่ในตัวเรา (พอๆ กับที่เรามีภาวะอื่นแฝงอยู่ด้วย) เราจึงสามารถตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ในวันใดวันหนึ่งเบื้องหน้า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 มิถุนายน 2012
  6. Equal

    Equal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +195
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> จากหนังสือ พุทธศาสนามหายาน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) พิมพ์ครั้งที่ ๒ โดย สุมาลี มหณรงค์ชัย

    ต่อ



    แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นกับการอธิบายเอกจิตตธรรมธาตุ โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงภูมิชั้นสูงสุดคือพุทธภูมิ เพราะมันเป็นสิ่งที่ชาวพุทธทั่วไปยอมรับได้ยาก การบอกว่าจิตของพุทธะแฝงอยู่ในตัวเรานั้นยอมรับได้ง่ายและเรียกศรัทธาได้ดี แต่การบอกว่าในจิตของพุทธะมีภาวะของเดรัจฉานหรืออบายภูมิแฝงอยู่ด้วยเป็นสิ่งที่ยากจะบรรยาย แต่ตรงนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของเทียนไถอีกอย่างหนึ่งที่สำนักพุทธอื่นไม่ได้สอน แม้แต่ในสำนักเทียนไถด้วยกันก็ยังมีความเห็นไม่ลงรอยกันในเรื่องนี้


    การบอกเช่นนั้นหมายความว่า ภาวะของอกุศลก็ยังคงนอนนิ่งอยู่ในจิตของพุทธเจ้าเท่าๆ กับในจิตของปุถุชน กุศลภาวะและอกุศลภาวะไม่อาจเปลี่ยนแปลงยักย้าย จัดเป็นธรรมนิยาม แต่พระพุทธเจ้ารวมทั้งคนดีทั้งหลายที่บำเพ็ญคุณงามความดีไว้ถือเป็นเรื่องของพฤติกรรม การที่พระพุทธองค์ทรงสามารถดับอำนาจของกิเลสได้ ไม่ได้หมายความว่าอกุศลในจิตของท่านจะหายไป เมล็ดพันธุ์ของทั้งกุศลและอกุศลยังคงดำรงอยู่ครบถ้วนในจิต การที่มูลแห่งกุศล อกุศลในจิตของคนไม่สูญหายไปแม้ว่าจะบรรลุนิพพานแล้วนั้น เป็นประเด็นที่ผู้รู้ทางพระพุทธศาสนาหลายท่านยอมรับไม่ได้ ทั้งนี้เพราะขัดกับคำสอนในเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญของพระพุทธศาสนา เช่น คำสอนเรื่องอวิชชา (ความหลงผิด) อันเป็นรากเหง้าของกิเลสที่พุทธศาสนาสอนให้ละ การคิดแบบเทียนไถทำให้บางคนอาจตั้งข้อสงสัยในคุณสมบัติของพระพุทธองค์ว่า จะยังมีอวิชชาแฝงอยู่ในจิตของพระองค์ท่านได้อย่างไร


    จิตที่สูงสุดนี้ ประกอบด้วยธรรมชาติ ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งบริสุทธิ์ อีกฝ่ายหนึ่งไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายที่บริสุทธิ์นั้น หมายถึงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้า ฝ่ายที่ไม่บริสุทธิ์นั้น หมายถึง สิ่งอันหลากหลายในโลกแห่งปรากฏการณ์ แต่ทั้งพระพุทธเจ้า สรรพสัตว์ และสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้น ต่างก็ประกอบไปด้วยธาตุแห่งความบริสุทธิ์และธาตุแห่งความไม่บริสุทธิ์ทั้งสองอย่างเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าคุณสมบัติของธาตุทั้งสองแสดงตัวออกมาไม่เท่ากันเท่านั้น


    ข้อความข้างต้นไม่ได้หมายความว่า พระพุทธองค์ทรงละธาตุแห่งความไม่บริสุทธิ์ได้หมดสิ้น แต่หมายความว่าธาตุแห่งความไม่บริสุทธิ์ (นัยยะเดียวกับกิเลสอาสวะ) ในจิตของท่านไม่มีฤทธิ์เดชที่จะก่อเกิดเป็นกรรมอีกต่อไป ทั้งกิเลสและนิพพานต่างเป็นเอกจิตตธรรมธาตุ ล้วนอยู่ในภาวะเดียวกัน เปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทร ท้องน้ำส่วนลึกนั้นเย็นและนิ่ง ส่วนน้ำบริเวณพื้นผิวกลับอุ่นไอแดดและเป็นระลอกคลื่นตามสายลม เปรียบน้ำกับจิตคน อวิชชาทำให้จิตปุถุชนส่ายซัดไปมา ส่วนจิตของพระพุทธเจ้าคือท้องน้ำที่นิ่งสงบ เราไม่อาจกล่าวว่าน้ำในส่วนพื้นผิวนั้นแยกขาด จากท้องน้ำเบื้องลึก อีกทั้งไม่อาจยืนยันว่าอณูแห่งสายลมและแสงแดดไม่ได้ แทรกซึมอยู่ในน้ำเดียวกัน การพยายามที่จะแยกความบริสุทธิ์ออกจากความ แปดเปื้อนก็เหมือนกับการแยกน้ำออกเป็นสองสาย ซึ่งขัดกับหลักความ จริงตาม ทัศนะของเทียนไถ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. Equal

    Equal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +195
    จากหนังสือ พุทธศาสนามหายาน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) พิมพ์ครั้งที่ ๒ โดย สุมาลี มหณรงค์ชัย

    ต่อ

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]แนวคิดเรื่องอวิชชากับความพ้นทุกข์[/FONT]

    [FONT=&quot] จากแนวคิดของเทียนไถที่ผ่านมาจะเห็นว่า หลักคำสอนที่สำคัญๆ ของสำนักนี้ ได้แก่ การหยั่งเห็นสภาพเดิมแท้ของธรรมทั้งหลาย (กลับคืนสู่โลกของปรากฏการณ์) เพราะความจริงทั้งสามระดับคือความจริงเดียวกัน มีเอกภาพเดียวกัน ทั้งสามพันโลกธาตุต่างปรากฏอยู่ในขณะจิตเดียว ดังนั้นจึงไม่อาจแบ่งแยกอะไรออกจากอะไรได้ สัจภาวะในแบบของเทียนไถอาจฟังดูเหมือนเข้าใจง่ายเพราะครอบคลุมทุกอย่าง แต่ในทัศนะของผู้เขียนกลับมองว่า ต้องอาศัยการศึกษาอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติอย่างลึกซึ้งจึงจะหยั่งถึงได้[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] หลายๆส่วนของคำสอนเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรับรู้ในแวดวงพุทธศาสนามาก่อน หากศึกษาแต่เพียงผิวเผินอาจเห็นว่าเทียนไถสอนในสิ่งที่ขัดกับหลักธรรมของพระพุทธเจ้า หรือมีคำสอนที่สนับสนุนสวภาวะบางอย่าง (ในทำนองเดียวกับการยอมรับอัตตาในแบบของพราหมณ์ [/FONT]–[FONT=&quot] ฮินดู) แต่เมื่อพิจารณาลึกลงไปด้วยใจที่เป็นกลางจะเห็นว่า เทียนไถไม่ได้สนับสนุนการยึดถือในอะไรเลย อีกทั้งก็เห็นด้วยกับมาธยมิกะที่จะต้องปฏิเสธแก่นสารภาวะในสิ่งต่างๆ โดยเห็นว่าเป็นความจริงแบบสมมติสัตย์เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] แต่ปัญหาก็ยังเกิดขึ้นกับการทำความเข้าใจความจริงกลางๆ ที่รวมเอาศูนยตากับสมมติบัญญัติเข้าไว้ด้วยกัน การกลับคืนสู่โลกแห่งปรากฏการณ์หลังจากหยั่งเห็นความว่างอย่างที่สุดแล้วนั้นหมายความว่าอย่างไร อีกทั้งการที่พระพุทธเจ้ายังคงมีอวิชชาแฝงอยู่ในจิตของท่าน เหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ของเทียนไถที่พยายามจะดึงเอาภาวะที่บริสุทธิ์กลับไปสู่ภาวะที่ไม่บริสุทธิ์ (ในความเข้าใจของคนทั่วไป) หลายคนมองว่าไม่ใช่ทัศนะของพุทธศาสนา ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ประเด็นเหล่านี้โดยผ่านแนวคิดเรื่องอวิชชาในแบบของเทียนไถ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. Equal

    Equal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +195
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> จากหนังสือ พุทธศาสนามหายาน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) พิมพ์ครั้งที่ ๒ โดย สุมาลี มหณรงค์ชัย

    ต่อ

    [FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]ก่อนอื่น เทียนไถมองว่าสำนักทางพุทธศาสนาโดยทั่วไปมักจะแยกความบริสุทธิ์ซึ่งก็คือจิตที่หลุดพ้น (บ้างก็ว่านิพพานที่เป็นโลกุตรธรรม) กับความไม่บริสุทธิ์ซึ่งได้แก่อวิชชาก็ดี กิเลสก็ดี หรือความชั่วร้ายอื่นๆ ก็ดี ออกจากกันอย่างเด็ดขาด การจะไปสู่ความหลุดพ้นหรืออิสรภาพได้จำเป็นที่เราจะต้องกำจัด (หรือถอนทำลาย) ความไม่บริสุทธิ์เหล่านี้ เพราะมันเป็นตัวขวางอิสรภาพ เรามักเข้าใจว่าอวิชชาคือด้านตรงข้ามของความหลุดพ้น หรืออวิชชาเป็นอุปสรรคของความพ้นทุกข์ เหล่านี้เป็นเรื่องของการมองแบบทวิภาวะ มีขั้วสองขั้วที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งเทียนไถเห็นว่าการคิดแบบนี้ไม่ถูกต้องนัก[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] ทั้งนี้เพราะในความเข้าใจของเทียนไถ อวิชชานั้นเองคือตัวปัญญา เมื่อจิตถอนความยึดมั่นได้ถึงที่สุด เมื่อนั้นก็จะเข้าสู่ทางสายกลาง - ธรรมชาติแห่งพุทธะ ความหลุดพ้นเกิดขึ้นเมื่อเรายอมรับปรากฏการณ์ทั้งหลายว่าเป็นส่วนหนึ่งของความจริงสุดท้ายเดียวกัน ไม่มีภาวะบริสุทธิ์ใดๆ แยกออกมาจากโลกียวิถี แต่อิสรภาพเกิดขึ้นเมื่อความโลภ โกรธ หลง ในชีวิตของมนุษย์สิ้นสุดบทบาทของมัน เราไม่จำเป็นต้องทำลายอวิชชา (นัยยะคือรากเหง้าของกิเลสทั้งหลาย) ให้หมดสิ้นไปก่อนเพื่อให้ความหลุดพ้นเกิด เพราะอวิชชาไม่ได้เป็นอุปสรรคของความหลุดพ้น แต่กลับเป็นตัวสนับสนุนให้ความหลุดพ้นเกิดขึ้นได้ต่างหาก จุดเน้นของเทียนไถคือ ก้าวสู่อิสรภาพ (บรรลุความหลุดพ้น) โดยไม่ต้องทำลายอวิชชา[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] หากเราถือตามบรรทัดฐานของเทียนไถ นิยามของอวิชชาหรือด้านที่ไม่บริสุทธิ์จะต้องเปลี่ยนไป อวิชชาไม่ใช่เรื่องร้ายกาจ น่ารังเกียจที่บุคคลจะต้องละ (เช่นเดียวกับในกรณีของสมมติบัญญัติ) อวิชชามีไว้เพื่อให้เราเข้าใจความจริงของโลก อวิชชา (รวมทั้งกิเลสและความชั่วร้ายทั้งหลาย) ต่างเป็นสิ่งที่ถูกโอบอุ้มไว้อยู่ภายในทางสายกลาง [/FONT]–[FONT=&quot] ธรรมชาติแห่งพุทธะเหมือนกัน ธรรมชาติแห่งพุทธะครอบคลุมปรากฏการณ์ทุกอย่างไม่ว่าจะดีหรือแย่ [/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. Equal

    Equal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +195
    จากหนังสือ พุทธศาสนามหายาน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) พิมพ์ครั้งที่ ๒ โดย สุมาลี มหณรงค์ชัย

    ต่อ

    [FONT=&quot]
    ดังนั้น อวิชชาจึงเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในธรรมชาติแห่งพุทธะโดยตัวของมันเองไม่มีสวภาวะ เกิดขึ้นได้โดยอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่งดังนั้นจึงว่างเปล่า (เป็นศูนยะ) และก็เพราะไม่มีแก่นสารสาระจึงไม่มีพลังมากพอที่จะเป็นอุปสรรคขวางกั้นทางแห่งปัญญา อวิชชาไม่มีอำนาจอะไรที่จะขัดขวางไม่ให้ความหลุดพ้นเกิดขึ้น มนุษย์สามารถจัดการกับกิเลสในใจตนได้ถ้าเข้าใจอวิชชา อีกทั้งสามารถใช้มันเป็นเครื่องมือในการทำประโยชน์บางอย่างได้อีกด้วย อวิชชาจึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัวหรือเป็นมุมมองด้านลบอย่างที่คนทั่วไปคิด[/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] การใช้อวิชชาเป็นเครื่องมือในการทำประโยชน์บางอย่างก็คือการนำมาเป็นอุบายธรรม ความไม่บริสุทธิ์ทั้งหลายสามารถใช้เป็นอุบายเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายแห่งพุทธกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ในทางตรง อวิชชาเป็นเครื่องมือที่พระพุทธเจ้าและโพธิสัตว์ทรงใช้เพื่อโปรดเวไนยสัตว์บางจำพวก เช่น เมื่อต้องการโปรดหมู่โจร โพธิสัตว์ก็สามารถที่จะแสดงตนเป็นโจรและกระทำความชั่วบางอย่างได้[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] แต่การทำความชั่วนั้นไม่ได้หมายความว่ามีสิ่งที่ไม่ดีบางอย่างเกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ของการกระทำ หรือโพธิสัตว์มีเจตนาในทางอกุศล ความชั่วรวมทั้งแรงผลักดันที่ก่อให้เกิดกระทำแบบนั้นทั้งหมดไม่มีเนื้อหาแก่นสารที่เป็นของตัวเอง เป็นความว่างที่ไม่มีพลังทำลายอะไร การแสดงให้เห็นความชั่วก็เพื่อให้บุคคลหยั่งเห็นความดี เช่นเดียวกัน การแสดงสังสารวัฏก็เพื่อให้บุคคลเบื่อหน่ายและหยั่งเห็นอิสรภาพจากการเวียนว่ายตายเกิด แสดงกิเลสในใจบุคคลก็เพื่อให้พวกเขารู้จักปล่อยวาง เหล่านี้เป็นเรื่องของวิถีหรืออุบายทั้งสิ้น ดังนั้น อวิชชาจึงเอื้อประโยชน์ต่อการบำเพ็ญพุทธกิจโดยตรง [/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] ในทางอ้อม อวิชชา (รวมทั้งกิเลสทั้งหลาย) เป็นหนทางที่ทำให้โพธิสัตว์สามารถสร้างประตูแห่งธรรมขึ้นมาอย่างมากมาย ประตูแห่งธรรมในที่นี้หมายความถึงทางแห่งพุทธกิจ พุทธกิจในทัศนะของมหายานคือการกระทำใดๆ ที่วางอยู่บนฐานของความเมตตาเพื่อเอาชนะกิเลสทั้งของผู้อื่นและตนเอง[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]ในทางตรง อวิชชามีบทบาทในการช่วยปลุกจิตของบุคคลให้ตระหนักเห็นความจริงคือทุกข์ ส่วนในทางอ้อม อวิชชาจะเป็นบททดสอบว่าโพธิสัตว์จะสามารถกระทำพุทธกิจเพื่อเอาชนะจิตใจของตนเองได้หรือไม่ เปรียบความโลภหรือตัณหาเป็นหนทาง (สำหรับก้าวไปข้างหน้า) ถ้าไปตัดมันเสียหมดแล้วโพธิสัตว์จะสร้างประตูเพื่อมุ่งสู่ธรรมได้อย่างไร ถ้าไม่มีอวิชชา ก็จะไม่เหลือพุทธกิจใดให้ทำอีกต่อไป ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น โพธิสัตว์ย่อมไม่มีอะไรเพื่อใช้ทดสอบภูมิธรรมของตนเอง อีกทั้งก็ไม่รู้จะช่วยใครได้ด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] เราอาจสรุปความหมายของอวิชชาในทัศนะแบบเทียนไถเสียใหม่ กล่าวคือ อวิชชาไม่ได้เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติแห่งธรรม อวิชชาเป็นเพียงปรากฏการณ์อย่างหนึ่งไม่ต่างจากธรรมอื่นๆ ซึ่งล้วนอยู่ในทางสายกลางเดียวกันทั้งสิ้น ถ้าจะให้ความหมายเฉพาะกับอวิชชา (หรือความแปดเปื้อน) ความหมายเฉพาะนั้นต้องไม่มีนัยยะแฝงของการยึดถือใดๆ (ต้องไม่มีทวิภาวะ) อวิชชาอาจเป็นความไม่บริสุทธิ์ แต่ความไม่บริสุทธิ์ก็ไม่แยกขาดจากความบริสุทธิ์ ทั้งสองเป็นสองด้านของความจริงเดียวกัน หรือเป็นภาวะเดียวกันภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกันเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]นอกจากนี้ อวิชชายังมีความหมายถึงศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่บางอย่างที่ดีขึ้น (นัยยะคือเป็นอิสระมากขึ้น) ความชั่วร้าย ไม่ใช่ภาวะที่อยู่โดดๆ และสามารถทำลายล้างคุณธรรม(ความดี) แต่ความชั่วร้ายคือศักยภาพของความดี แม้ว่าจะยังไม่ใช่ความดีจริงๆ แต่การมีอยู่ของด้านที่ชั่วบ่งถึงการมีอยู่ของด้านที่ดี ถ้ามุ่งแต่จะทำลายความชั่วร้ายไม่ให้หลงเหลือ นั่นเท่ากับเราก็กำลังปิดกั้นทางของความดีไม่ให้เกิดขึ้นเหมือนกัน หากคิดแต่จะทำลายอวิชชาหรือกิเลสในใจของบุคคลโดยที่ไม่เข้าใจความเป็นจริง นั่นเท่ากับเรากำลังปิดกั้นกระบวนการแห่งความหลุดพ้นทั้งหมด ดังนั้น การหลุดพ้นเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าอวิชชาหรือความชั่วถูกทำลายไป[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]เพราะการทำลายอวิชชาหมายถึงการทำลายปัญญา เทียนไถเป็นสำนักที่มองเรื่องทางโลกซึ่งคนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรละ เช่น สมมติบัญญัติ ประสาทสัมผัส กิเลส ตัณหา หรืออวิชชา ไปในแง่บวก โดยพยายามจะยืนยันสภาพเหล่านี้ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของความจริงหรือเป็นส่วนหนึ่งของความหลุดพ้น รากเหง้าของความชั่วเริ่มต้นที่อวิชชา ซึ่งเทียนไถชี้ว่าอวิชชาก็คือ การทำงานของจิต ในแง่ที่ไม่เข้าใจสัจภาวะ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 มิถุนายน 2012
  10. Equal

    Equal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +195
    จากหนังสือ พุทธศาสนามหายาน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) พิมพ์ครั้งที่ ๒ โดย สุมาลี มหณรงค์ชัย

    ต่อ

    [FONT=&quot]
    เพราะเราไปคิดว่าอวิชชานั้นเป็นด้านลบที่น่ากลัว ไปสร้างความคิดให้มันมีสาระแก่นสารในตัวเอง ทั้งที่ความจริงแล้ว อวิชชาคือกิจกรรมทางจิต คล้ายคลึงกับที่มาธยมิกะบอกว่าอวิชชาคือ กระบวนการสร้างความคิดอันก่อให้เกิดการแบ่งแยก เมื่อให้ค่าอวิชชาแยกขาดและแตกต่างจากปรากฏการณ์ หรือเป็นตัวกำหนดปรากฏการณ์ เมื่อนั้นจิตหนึ่งที่บริสุทธิ์ก็จะกลายเป็นจิตสัมพัทธ์ที่หลากหลาย แต่ถ้าสัจภาวะถูกเผย อวิชชาก็จะเป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งๆ ที่ดำเนินอยู่ตลอดเวลาในจิต เมื่อหยั่งรู้แล้ว จิตสัมพัทธ์ก็จะกลับคืนสู่จิตหนึ่ง กลับสู่ความเป็นตถตาคือเป็นเช่นนั้นเอง[/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]การหยั่งรู้อวิชชาไม่ได้แปลว่าต้องทำลายอวิชชา เพราะไม่มีเนื้อหาอะไรให้ทำลายได้ ถ้าบุคคลมุ่งทำลายอวิชชาเท่ากันว่าเขาผู้นั้นกำลังหยุดยั้งกิจกรรมทางจิต ซึ่งแน่นอนว่าการหยุดยั้งกิจกรรมทางจิตก็คือการสกัดกั้นปัญญาด้วย จึงกล่าวได้ว่าการกำจัดอวิชชามีความหมายเท่ากับการปฏิเสธทางสายกลาง [/FONT]–[FONT=&quot] ธรรมชาติแห่งพุทธะ ปฏิเสธความจริง และปิดกั้นอิสรภาพที่สมบูรณ์[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]กล่าวโดยสรุปก็คือ อวิชชาไม่ใช่ภาวะที่มีอยู่จริงโดยตัวมันเอง แต่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติแห่งธรรม อวิชชาเป็น เครื่องมืออุบาย หรือ วิถี ที่ปัญญาชนใช้ในการบำเพ็ญพุทธกิจ รวมทั้งเป็น บททดสอบ อย่างดีเลิศว่าบุคคลสามารถจะปฏิบัติพุทธกิจได้สำเร็จลุล่วงหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ มันยังเป็น ศักยภาพ สู่ความหลุดพ้น เป็น กิจกรรมทางจิต ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อใดก็ตามที่หยั่งรู้สัจภาวะเมื่อนั้น อวิชชาก็จะกลายเป็น ปัญญา ทันที[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]การกล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าอวิชชาหายไปหรือปัญญามาแทนที่อวิชชา ปัญญากับอวิชชาคือเนื้อหาของจิตเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่รู้หรือไม่รู้ การเผยสัจภาวะกับการเปลี่ยนถ่ายอวิชชาเป็นเหตุการณ์เดียวกัน เป็นกิจกรรมทางจิตทั้งคู่ อิสรภาพ (ความหลุดพ้น) เกิดขึ้นเมื่ออวิชชาถูกเปลี่ยนให้เป็นปัญญา ไม่ใช่ถูกกำจัดทิ้งไป[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]การเปลี่ยนอวิชชาให้เป็นปัญญาเกิดขึ้นในจิตปกติ เป็นไปได้ในวิถีชีวิตประจำวัน ไม่จำเป็นต้องแยกขาดจากวิถีชีวิตประจำวัน การหยั่งเห็นทางสายกลาง [/FONT]–[FONT=&quot] ธรรมชาติแห่งพุทธะ ก็คือการกลับคืนสู่จิตปรกติของเราทุกคน ไม่มีอะไรเพิ่มขึ้น ลดลง แทนที่ หรือหายไป ทุกอย่างเป็นแค่เพียงการเปลี่ยนถ่ายจากความไม่รู้มาสู่ความรู้ และความรู้นี้ไม่จำเป็นต้องเกิดในโลกที่สูงส่ง ห่างไกล หรือลึกลับ กระบวนการของความจริงทุกอย่างเกิดขึ้นและดำเนินไปในโลกแห่งปรากฏการณ์นี้เอง [/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] เมื่อเป็นเช่นนี้จึงสามารถเข้าใจได้ว่า เหตุใดเทียนไถจึงเห็นว่าในพุทธภาวะ (หรือในความเป็นพุทธเจ้า) จึงยังมีความไม่บริสุทธิ์อยู่ได้ เพราะเหตุว่าอวิชชาในทัศนะของเทียนไถไม่ได้มีความหมายในแบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย ซึ่งความหมายที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นความหมายในมุมมองเฉพาะที่แคบและจำกัด หากมองอวิชชาเป็นความชั่วร้ายที่จะต้องถูกทำลาย นั่นเท่ากับเรากำลังสร้างขั้วสุดโต่งสำหรับแบ่งแยกระหว่างความชั่ว [/FONT]–[FONT=&quot] ความดี ความทุกข์ [/FONT]–[FONT=&quot] ความสุข พันธนาการ [/FONT]–[FONT=&quot] อิสรภาพ หรือ อุปสรรค [/FONT]–[FONT=&quot] การหลุดพ้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot] การแบ่งแยกนี้เทียนไถมองว่าเป็นการยึดถือ ให้น้ำหนักกับสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง เพราะโดยสภาพความเป็นจริง เหล่านี้มีอยู่แต่ในเชิงสัมพันธ์เท่านั้น เมื่อสัมพันธ์จึงว่าง ในจิตของพระพุทธเจ้าอวิชชามีอยู่ในลักษณะว่าง มันจึงเป็นศักยภาพที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการบำเพ็ญพุทธกิจได้อย่างมหาศาล สำหรับโพธิสัตว์ เพราะจิตของท่านมีอวิชชา มันจึงเป็นศักยภาพที่จะบำเพ็ญบารมีได้อย่างเต็มที่ สำหรับปุถุชนก็เช่นกัน เพราะอวิชชามีอยู่ ความหลุดพ้นจึงเป็นไปได้ ดังนั้น เพื่อที่จะเข้าใจทางสายกลาง [/FONT]–[FONT=&quot] พุทธภาวะได้อย่างสมบูรณ์ จำเป็นที่เราจะต้องปรับทัศนคติที่มีต่ออวิชชารวมทั้งปรากฏการณ์ทางโลกทั้งหลายเสียใหม่ ซึ่งเป้าหมายของการปรับเปลี่ยนนี้ก็เพื่อมุ่งสู่ความหลุดพ้น อันเป็นจุดหมายปลายทางร่วมกันของพุทธศาสนิกชนทั้งหมด[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...