แก้กรรมอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าสอน

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย sawok B, 10 กรกฎาคม 2012.

  1. sawok B

    sawok B เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +230
    ข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นกรรม
    ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง จักจําแนก ซึ่ง
    อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) แก่เธอทั้งหลาย.
    เธอทังหลายจงฟังความข้อนัน จงทําในใจให้สำเร็จประโยชน์
    เราจักกล่าว.
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรค
    มีองค์แปด) เป็นอย่างไรเล่า ?
    ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
    สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
    ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ความรูอนใดเป็นความรูในทุกข์
    เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรูในความดับแห่งทุกข์
    เป็นความรู้ในทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.
    ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสังกัปปะ (ความดําริชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    คือ ความดําริในการออกจากกาม ความดําริในการ
    ไม่มุ่งร้าย ความดําริในการไม่เบียดเบียน. ภิกษุทั้งหลาย !
    อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.
    ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    คือ เจตนาเป็นเครืองเว้นจากการพูดไม่จริง เจตนา
    เป็นเครืองเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครืองเว้นจาก
    การพูดหยาบ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ.
    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา.
    ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมากัมมันตะ (การทําการงาน
    ชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ?
    คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า เจตนาเป็น
    เครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากการประพฤติ ผิด ในกาม.
    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.
    ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาอาชีวะ (การเลียงชีวิตชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในกรณีน
    ละการหาเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสําเร็จความเป็นอยู่ด้วย
    การเลี้ยงชีวิตที่ชอบ. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
    สัมมาอาชีวะ.
    ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมปลูก
    ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม
    ประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพือความไม่บงเกิดแห่งอกุศลธรรม
    อันเป็นบาปทั้งหลายทียงไม่ได้บังเกิด ย่อมปลูกความพอใจ
    ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
    ย่อมตังจิตไว้ เพือการละเสียซึงอกุศลธรรมอันเป็นบาปทังหลาย
    ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อม
    ปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตังจิตไว้ เพือการ
    บังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายเที่ยงไม่บังเกิด ย่อมปลูก
    ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม
    ประคองจิต ย่อมตังจิตไว้ เพือความยังยืน ความไม่เลอะเลือน
    ความงอกงามยิงขึน ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ

    แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย !
    อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.
    ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
    ปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผา
    กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นําความพอใจและ
    ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติพิจารณา
    เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผา
    กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นําความพอใจและ
    ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นมีปกติผู้พิจารณา
    เห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึก
    ตัวทัวพร้อม มีสติ นําความพอใจและความไม่พอใจในโลก
    ออกเสียได้; เป็นผู้ปกติพจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
    อยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    มีสติ นําความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.
    ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสมาธิ (ความตังใจมันชอบ)

    เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้ว
    จากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง
    ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแล
    อยู่ เพราะความที่วิตก วิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน
    อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรม
    อันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิด
    จากสมาธิ แล้วแลอยู่ อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่ง
    ปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย ชนิดทีพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    ย่อมสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข”
    ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่; เพราะละสุขและทุกข
    เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง
    ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต
    ความทีสติเป็นธรรมชาติบริสทธิเพราะอุเบกขา แล้วแลอยู.่

    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสมาธิ.
    มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๐-๑๒/๓๓-๔๑.

    สรุปโดยสั้นๆว่า ปฏิบัติมรรคมีองค์แปดประการ คือการแก้กรรม อย่างถูกวิธีและให้ผลตรงจริง และเร็วทีเดียว



    “สิ้นตัณหา ก็ สิ้นกรรม”
    ภิกษุทั้งหลาย ! มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อม
    เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา เธอทั้งหลายจงเจริญมรรคานั้น
    ปฏิปทานั้น.
    มรรคาและปฏิปทา ที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา
    เป็นอย่างไรเล่า ? คือ โพชฌงค์ ๗
    โพชฌงค์ ๗ เป็นอย่างไรเล่า ?
    คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระอุทายี
    ได้ทูลถามว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา”.
    อุทายี ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ
    สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัย
    นิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ, ความปล่อย)
    อันไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท
    เมื่อภิกษุนั้นเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัย
    วิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ อันไพบูลย์
    ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท ย่อมละ
    ตัณหาได้ ...ฯลฯ...
    ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
    อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
    อันไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท
    เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
    อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
    อันไพบูลย์ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท
    ย่อมละตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้ จึงละกรรมได้
    เพราะละกรรมได้ จึงละทุกข์ได้.
    อุทายี !
    เพราะสิ้นตัณหา จึงสิ้นกรรม
    เพราะสิ้นกรรม จึงสิ้นทุกข์
    ด้วยประการดังนี้ แล.
    มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๒๓/๔๔๙.
     
  2. ละโลก

    ละโลก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    188
    ค่าพลัง:
    +654
    อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ กับเจ้าของกระทู้ ครับ
     
  3. รักษาภาวนา

    รักษาภาวนา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +46
    ขอบพระคุณเจ้าของกระทู้ สำหรับธรรมทาน :cool:
    อนูโมทนา สาธุค่ะ


    มรรคมีองค์แปด
    (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

    มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้

    สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง การปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
    สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
    สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
    สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
    สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง เอาเปรียบคนอื่น ๆ มากเกินไป
    สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
    สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
    สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
     
  4. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    ที่ท่านว่า เพราะสิ้นตัณหา จึงสิ้นกรรม ของอรรถธิบายดังนี้ขอรับ
    เพราะตันหาดับ อุปทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพชาติจึงดับ เพราะภพชาติดับ ชรามรณะโศกขะทุกขะปริเทวะแลวิบากรรมทั้งหลายจึงดับ

    อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
    สงฺขารปจฺจยา วิญฺญฺาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
    วิญฺญฺาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
    นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
    สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
    ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
    อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
    ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
    ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี


    นิพพานัง ปรมัง สุขัง
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2012
  5. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    อิทัปปัจยะตา ปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าสอนไว้ มีทั้งแบบขาไปและขากลับ

    ขาไปเรียกว่าอนุโลม เพราะมีสิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นปัจจัย จึงมีสิ่งนั้นเกิดขึ้นตามมา
    ขากลับเรียกว่า ปฏิโลม เพราะไม่มีสิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นปัจจัย จึงไม่มีสิ่งนั้นเกิดขึ้นตามมา
    หรือจะพูดว่า เพราะสิ่งนี้ที่เป็นปัจจัยดับไป สิ่งนั้นจึงดับตามมา

    สาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...