กายานุปัสสนา(มหาสติปัฏฐานสูตร)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ariyaidea, 19 สิงหาคม 2012.

  1. ariyaidea

    ariyaidea Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +42
    [ ๒๗๓ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในหมู่ชนชาวกุรุ
    นิคมของหมู่ชนชาวกุรุ ชื่อ กัมมาสทัมมะ
    ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนี้
    ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทูลรับพระพุทธพจน์
    ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพระเจ้าข้า ดังนี้
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ทางนี้เป็นทางสายเดียว
    เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
    เพื่อความก้าวล่วงซึ่งความโศกและความร่ำไร
    เพื่ออัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส
    เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
    ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ อย่าง
    สติปัฏฐาน ๔ อย่างเป็นไฉน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ
    เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ
    เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียให้พินาศ
    เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ
     
  2. ariyaidea

    ariyaidea Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +42
    อานาปานบรรพ

    [ ๒๗๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ อย่างไรเล่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ดี ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ดี ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ดี
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า
    เธอย่อมมีสติ หายใจออก ย่อมมีสติ หายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    แม้ฉันใด นายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด
    เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาว
    หรือเมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงสั้น
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแหละ
    เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้
     
  3. ariyaidea

    ariyaidea Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +42
    อิริยาบถบรรพ

    [ ๒๗๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
    ภิกษุเมื่อเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเดิน
    หรือเมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า เรายืน
    หรือเมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า เรานั่ง
    หรือเมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน
    อนึ่งเมื่อเธอนั้น เป็นผู้ตั้งกายไว้ แล้วอย่างใดๆ
    ก็ย่อมรู้ชัดอาการกายนั้น อย่างนั้นๆ ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้
     
  4. ariyaidea

    ariyaidea Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +42
    สัมปชัญญบรรพ

    [ ๒๗๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
    ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ( ความเป็นผู้รู้พร้อม )
    ในการก้าวไปข้างหน้า และถอยกลับมาข้างหลัง
    ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
    ในการแลไปข้างหน้า แลเหลียวไปข้างซ้ายข้างขวา
    ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
    ในการคู้อวัยวะเข้า เหยียดอวัยวะออก
    ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
    ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร
    ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
    ในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม
    ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
    ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
    ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
    ในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และความเป็นผู้นิ่งอยู่
    ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้
     
  5. ariyaidea

    ariyaidea Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +42
    ปฏิกูลมนสิการบรรพ

    [ ๒๗๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
    ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้นี่แล
    เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา
    มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด
    มีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ คือ
    ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
    ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
    มันสมอง น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ
    มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลายน้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ไถ้ ( ถุงยาวๆ สำหรับใส่เงินหรือสิ่งของ ) มีปาก ๒ ข้าง
    เต็มด้วยธัญญชาติ มีประการต่างๆ ด้วย
    ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร
    บุรุษมีจักษุแก้ไถ้นั้นออกแล้วพึงเห็นได้ว่า
    เหล่านี้ข้าวสาลี เหล่านี้ข้าวเปลือก เหล่านี้ถั่วเขียว
    เหล่านี้ถั่วเหลือง เหล่านี้งา เหล่านี้ข้าวสาร ฉันใด
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล
    ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้นี่แล
    เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา
    มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ
    ว่ามีอยู่ในกายนี้ คือ
    ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
    ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อยอาหารใหม่ อาหารเก่า
    มันสมอง น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ
    มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูกไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้
     
  6. ariyaidea

    ariyaidea Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +42
    ธาตุมนสิการบรรพ

    [ ๒๗๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
    ภิกษุย่อมพิจารณากายอันตั้งอยู่ตามที่ตั้งตามปกตินี้นี่แล
    โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    คนฆ่าโค หรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าแม่โคแล้ว
    พึงแบ่งออกเป็นส่วน แล้วนั่งอยู่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง แม้ฉันใด
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ฉันนั้นนั่นแล
    ย่อมพิจารณากายอันตั้งอยู่ตามที่ตั้งตามปกตินี้นี่แล
    โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้
     
  7. ariyaidea

    ariyaidea Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +42
    นวสีวถิกาบรรพ

    [ ๒๗๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
    ภิกษุเหมือนกะว่า
    จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
    ตายแล้ววันหนึ่ง หรือตายแล้ว ๒ วัน หรือตายแล้ว ๓ วัน
    อันพองขึ้น สีเขียวน่าเกลียดเป็นสรีระมีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด
    เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
    ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
    คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

    [ ๒๘๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
    ภิกษุเหมือนกะว่า
    จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
    อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตระกรุมจิกกินอยู่บ้าง
    หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง
    หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง
    เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
    ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
    คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

    [ ๒๘๑ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
    ภิกษุเหมือนกะว่า
    จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
    เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด อันเส้นเอ็นรัดรึงอยู่
    เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
    ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
    คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

    [ ๒๘๒ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
    ภิกษุเหมือนกะว่า
    จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
    เป็นร่างกระดูก เปื้อนด้วยเลือด แต่ปราศจากเนื้อแล้ว ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่
    เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
    ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
    คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

    [ ๒๘๓ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
    ภิกษุเหมือนกะว่า
    จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
    เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่
    เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
    ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
    คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

    [ ๒๘๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
    ภิกษุเหมือนกะว่า
    จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
    คือ เป็น(ท่อน)กระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องรัดรึงแล้ว
    กระจายไปแล้วในทิศน้อยและทิศใหญ่
    คือ
    กระดูกมือ(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกเท้า(ไปอยู่)ทางอื่น
    กระดูกแข้ง(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกขา(ไปอยู่)ทางอื่น
    กระดูกสะเอว(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกหลัง(ไปอยู่)ทางอื่น
    กระดูกสันหลัง(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกซี่โครง(ไปอยู่)ทางอื่น
    กระดูกหน้าอก(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกไหล่(ไปอยู่)ทางอื่น
    กระดูกแขน(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกคอ(ไปอยู่)ทางอื่น
    กระดูกคาง(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกฟัน(ไปอยู่)ทางอื่น
    กระโหลกศีรษะ(ไปอยู่)ทางอื่น
    เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
    ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
    คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้
     
  8. ariyaidea

    ariyaidea Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +42
    [ ๒๘๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
    ภิกษุเหมือนกะว่า
    จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
    คือ เป็น(ท่อน)กระดูก มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์
    เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
    ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
    คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

    [ ๒๘๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
    ภิกษุเหมือนกะว่า
    จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
    คือ เป็น(ท่อน)กระดูก เป็นกองเรี่ยรายแล้ว
    มีในภายนอก(เกิน)ปีหนึ่งไปแล้ว
    เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
    ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
    คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

    [ ๒๘๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
    ภิกษุเหมือนกะว่า
    จะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า
    คือ เป็น(ท่อน)กระดูก ผุละเอียดแล้ว
    เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า
    ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
    คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้
     
  9. ariyaidea

    ariyaidea Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +42
    คุณของพระธรรม มี ๖ ประการ ดังที่นักปราชญ์ได้ร้อยกรองเป็นบทสวดสำหรับน้อมนำระลึกไว้ในใจ ดังนี้

    ๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม หมายถึง ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
    พระองค์ ตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น อันได้แก่ ศีล งามในท่ามกลาง อันได้แก่ สมาธิ และงามในที่สุด อันได้แก่ ปัญญา พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์หรือหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

    ๒. สันทิฏฐิโก หมายถึง ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง

    ผู้ ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อตามคำ บอกเล่าของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้

    ๓. อกาลิโก หมายถึง ไม่ประกอบด้วยกาล

    ผู้ ปฏิบัติไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา พร้อมเมื่อใดบรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใดเห็นผลได้ทันที นั่นคือ ให้ผลในลำดับแห่งการบรรลุ ไม่เหมือนผลไม้อันให้ผลตามฤดูกาล

    ๔. เอหิปัสสิโก หมายถึง ควรเรียกให้มาดู

    พระธรรมเป็นคุณอัศจรรย์ดุจของประหลาดที่ควรเชิญชวนให้มาชมและพิสูจน์ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง

    ๕. โอปนยิโก หมายถึง ควรน้อมเข้ามา

    ผู้ปฏิบัติควรน้อมเข้ามาไว้ในใจของตน หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงด้วยการปฏิบัติ ให้เกิดมีขึ้นในใจ

    ๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ หมายถึง อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

    ผล อันเกิดจากการปฏิบัติธรรมนั้น ทุกคนที่น้อมนำมาปฏิบัติ จะรู้ซึ้งถึงผลแห่ง พระธรรมนั้นด้วยตนเอง ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ในใจ ของตนเอง


    คุณของพระธรรมข้อที่ ๑ มีความหมายกว้าง รวมทั้งปริยัติธรรม คือ คำสั่งสอนด้วย ส่วนคุณของพระธรรมข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๖ มุ่งให้เป็นคุณของโลกุตตรธรรม

    ดังนั้น เมื่อทราบความหมายของธรรมคุณ ๖ ทั้งหมดแล้ว การสวดมนต์เพื่อ สรรเสริญพระธรรมคุณในครั้งต่อๆไป คงจะทรงความหมายอย่างเปี่ยมล้น

    อนึ่ง การน้อมนำคุณของพระธรรม เพื่อเจริญธัมมานุสตินั้น มีอานิสงส์มาก ดังที่ ปัญญา ใช้บางยาง ได้บอกไว้ในหนังสือธรรมาธิบาย เล่ม ๑ ว่า

    - ย่อมเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา
    - ตระหนักและอ่อนน้อมในพระธรรม
    - ย่อมได้ความไพบูลย์แห่งคุณ มีศรัทธา เป็นต้น
    - เป็นผู้มากด้วยปีติปราโมทย์
    - ทนต่อความกลัว ความตกใจ อดกลั้นต่อทุกข์
    - รู้สึกว่าได้อยู่กับพระธรรม
    - เป็นบาทฐานให้บรรลุธรรมอันยิ่ง
    - เมื่อประสบกับวัตถุที่จะพึงล่วงละเมิด หิริโอตตัปปะ ย่อมปรากฏแก่เธอ
    - เมื่อยังไม่บรรลุคุณอันยิ่ง เธอย่อมมีสุคติเป็นที่ไป

    ที่มา: พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ - ThAiWaRe CoMMuNiTY
     
  10. porntips

    porntips เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    955
    ค่าพลัง:
    +2,410
    ทำตามได้ยากยิ่งจริงๆ ผู้ที่ปฏิบัติตามได้ย่อมเป็นผู้ที่ประเสริฐ ล่วงพ้นทุกข์ได้ง่าย เป็นทางสายเอก
     
  11. poopae191

    poopae191 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    725
    ค่าพลัง:
    +1,872
    อนุโมทนาเจ้าคะ

    ดีใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทยอยู่ในศาสนาของพระองค์
     
  12. ariyaidea

    ariyaidea Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +42
    การเริ่มต้นมักเป็นของยากสำหรับผู้ไม่เคยมาก่อน เพราะเป็นการฝืนธรรมาติที่เคยเป็นอยู่ เราฝึกเื่ื่ืพื่อให้ออกจากธรรมชาติเดิม เพื่อให้ธรรมชาติใหม่กลายเป็นของปกติ

    ในกายานุปัสสนา เราจะเริ่มต้นจาก บรรพไหนก่อนก็ได้ครับ ถ้าราคะจริตแรง เราก็ เลือก นวสีวถิกาบรรพ หรือไม่ก็ ปฏิกูลมนสิการบรรพ หรือธรรมที่เห็นสมควร รวมถึงอุบายวิธีอื่นๆ เช่น เบาอาหารลง เพื่อให้กายลดความกำหนัด ความกำหนัดลดทำให้จิตควรแก่การปฏิบัติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...