รู้สึกเป็นทุกข์เมื่อเห็นคนอื่นลำบากทำอย่างไรดีค่ะ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย srwarin, 20 ตุลาคม 2012.

  1. srwarin

    srwarin สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2012
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +12
    มีความรู้สึกเป็นทุกข์ถ้าได้เห็นคนที่กำลังเป็นทุกข์หรือลำบาก เป็นความรู้สึกเมื่อได้เจอหรือพบเห็นนะค่ะ เช่น คนชราที่เก็บขยะ หรือคนที่อยู่ข้างถนน ส่วนมากจะให้เงินช่วยเขาไปบ้าง แต่กลับมาจะรู้สึกเสียใจ เป็นกังวลว่าเขาจะลำบากมากแค่ไหน แล้วเราจะได้ช่วยอะไรเขาอีกได้ เป็นกังวลจนเหมือนมากเกินไป จะทำอย่างไรดีค่ะ ไม่อยากยึดติดกับความรู้สึกแบบนี้เลยค่ะ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อุเบกขา

    กรรมใคร กรรมมัน ใครทำแทนกันไม่ได้


    อุเบกขา

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodycontent --><TABLE style="BORDER-BOTTOM: rgb(0,102,0) 1px solid; TEXT-ALIGN: center; BORDER-LEFT: rgb(0,102,0) 1px solid; MARGIN: 0px 0px 1em 1em; WIDTH: 170px; FLOAT: right; BORDER-TOP: rgb(0,102,0) 1px solid; BORDER-RIGHT: rgb(0,102,0) 1px solid" id=WSerie_Buddhism class=toccolours cellSpacing=0 cellPadding=1><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 100%" colSpan=2><SMALL>ส่วนหนึ่งของ</SMALL>
    ศาสนาพุทธ

    [​IMG] สถานีย่อย
    <HR>[​IMG]
    ประวัติศาสนาพุทธ
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(138,158,73); COLOR: rgb(255,255,255); FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ศาสดา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(138,158,73); COLOR: rgb(255,255,255); FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>จุดมุ่งหมาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>นิพพาน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(138,158,73); COLOR: rgb(255,255,255); FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ไตรรัตน์</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(138,158,73); COLOR: rgb(255,255,255); FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ความเชื่อและการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(138,158,73); COLOR: rgb(255,255,255); FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>คัมภีร์และหนังสือ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(138,158,73); COLOR: rgb(255,255,255); FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>หลักธรรมที่น่าสนใจ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ไตรลักษณ์
    อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(138,158,73); COLOR: rgb(255,255,255); FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>นิกาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(138,158,73); COLOR: rgb(255,255,255); FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>สังคมศาสนาพุทธ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(138,158,73); COLOR: rgb(255,255,255); FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>การจาริกแสวงบุญ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(138,158,73); COLOR: rgb(255,255,255); FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ดูเพิ่มเติม</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ</TD></TR></TBODY></TABLE>อุเบกขา (ภาษาบาลี: อุเปกขา ภาษาสันสกฤต: อุเปกษา) แปลว่า ความวางเฉย ความวางใจ เป็นกลาง
    อุเบกขา หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลางๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลงและเพราะกลัว เช่นไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแสหรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้เป็นต้น
    ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือเป็นคนหนักแน่นมีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจไม่เสียใจจนเกินเหตุ เป็นคนยุติธรรม ยึดหลักความเป็นผู้ใหญ่ รักษาความเป็นกลางไว้ได้มั่นคงไม่เอนเอียงเข้าข้าง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผลถูกต้องคลองธรรม และเป็นผู้วางเฉยได้เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้
    [แก้] อุเบกขา10ประเภท

    1. ฉฬงฺคุเปกขา อุเบกขาประกอบด้วย องค์ 6 คือ การวางเฉยในอายตนะทั้ง 6
    2. พฺรหฺมวิหารุเปกฺขา อุเบกขาในพรหมวิหาร
    3. โพชฺฌงฺคุเปกฺขา อุเบกขาในโพชฌงค์ คือ อุเบกขาซึ่งอิงวิราคะ อิงวิเวก
    4. วิริยุเปกฺขา อุเบกขาใน วิริยะ คือ ทางสายกลางในการทำความเพียร ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป
    5. สงฺขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร คือการไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5
    6. เวทนูเปกฺขา อุเบกขาในเวทนา ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข
    7. วิปสฺสนูเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา อันเกิดจากเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    8. ตตฺรมชูฌตฺตุเปกขา อุเบกขาในเจตสิก หรืออุเบกขา ที่ยังธรรมทั้งหลาย ที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน
    9. ฌานุเปกฺขา อุเบกขาในฌาน
    10. ปาริสุทฺธุเปกฺขา อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก คือมีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา<SUP id=cite_ref-0 class=reference>[1]</SUP>
    [แก้] อ้างอิง

    1. ^ หนังสือ วิสุทธิมรรค 1 / 84 - 89 / 473 - 179
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ไม่มีกิน เพราะไม่ได้ทำ

    ทำทานใน เขตบุญ ของ ศาสนาพุทธ

    ในเมื่อตัวเค้านั้น ยังไม่ช่วยตัวเอง ใครก็ช่วยไม่ได้ครับ
     
  4. tuta868248

    tuta868248 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +1,116
    เมื่อก่อน ก็เป็นเหมือนกันคะ ช่วยเหลือ จนตัวเอง ไม่มีสตางค์ มีสุภาษิตโบราณ ว่า " อย่า เลี้ยงหมาผอม ตอมคนตุ๊ก ( คนยากจน ) " มีคนแก่เตือน เตือนแล้วเตือนอีก ว่าเสียดายสตางค์ไปช่วยเขาทำไม เราก็บอกไม่เป็นไร พอเขาได้ดิบดี ไม่มองเราเลยคะก็นำคำสอนมาคิด โอ้มันเป็นความจริงของคนโบราณสอนไว้ เดี๋ยวนี้ ก็ช่วยได้ก็ช่วยคะ ช่วยไม่ได้ก็เตือนตัวเองว่า " กรรมใคร บุญมัน " ก็หูตาสว่างคะ บุญรักษาคะ
     
  5. tuta868248

    tuta868248 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +1,116
    เคยช่วยเหลือ คนยากจน ข้นแค้น จนได้ดิบดี ในที่สุดเขาไม่มองเราเลยคะ คนแก่คนเฒ่าเตือน อย่าไปเลี้ยง " หมาผอม ตอมคนตุ๊ก ( ยากจน ) " เสียดายสตางค์ " เอาลูกเขามาเลี้ยง เอาเมี่ยงเขามาอม " เราไม่เชื่อ ในที่สุดพบสัจจธรรมในคำสอนของคนโบราณคะ ปัจจุบันก็ยังช่วยแต่ช่วยได้ช่วยช่วยไม่ได้ก็อุเบกขา และจะเตือนตนเองว่า " กรรมใคร บุญมันคะ " บุญรักษานะคะ
     
  6. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,572
    ค่าพลัง:
    +4,560
    เตี้ย อุ้ม ค่อม ชาวนากับงูเห่า พระเวศสันดรฯลฯ
    พบเห็น ก็เมตตา กรุณาเขา พบเห็นไกลๆก็มุทิตาแก่เขา ช่วยไม่ได้ลงท้ายก็วางเฉยซะ...ให้คิดว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
    สงสารคนที่มีเมตตาสุดประมาณ เช่น เห็นสุนัขจรจัดก็สงสาร เก็บมาเลี้ยง ไปๆมาๆ500 ตัว
    ครานี้ก็เหมือนใช้กรรม เป็นทาสหมาไป แล้วมาทำตาละห้อย ขอความเมตตาจากคนอื่น ช่วยมาอุดหนุนหมาที่ตนเองเมตตาด้วย...อย่างนี้ ก็ต้องปล่อยให้ตายไปพร้อมหมา...เพราะใช้ธรรมะ...ในทางที่ผิด ไม่เข้าใจธรรมะ...ต้องปล่อยไปตามกรรมของเขา...
    ท้ายสุด พวกเมตตาไม่มีประมาณเหล่านี้ ส่วนใหญ่จนทั้งนั้น แต่หน้าใหญ่ ทำเป็นใจบุญ ตัวเองยังเอาตัวแทบไม่รอด...พวกนี้ หาเหาใส่หัวเองทั้งสิ้น น่าสงสาร เลยต้องวางอุเบกขา คือ ไม่ช่วยให้พ้นกรรมของตน ก็รับกรรมไปซะ เต็มๆ ให้สมกับความขี้สงสาร....ฮา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2012
  7. mngo

    mngo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    605
    ค่าพลัง:
    +1,335
    ไม่แน่คุณอาจจะมีเชื้อทางพุทธภูมิมาก็ได้นะ อันนี้แค่พูดกันเล่นๆนะไม่ได้จริงจัง คิคิคิ
    ผมก็เป็นเหมือนกัน เป็นจนเกินไปด้วย จนเครียด แต่เราก็ต้องเข้าใจความจริงของโลกแล้ววางอุเบกขา เพราะกฏของกรรมมันมี มันทำไปตามหน้าที่ของมัน ใครทำมาอย่างไรก็ต้องรับไปอย่างนั้น...
     
  8. ติดบ่วง

    ติดบ่วง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2012
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +771
    ช่วยตามกำลังของตัวเอง ช่วยไม่ได้หรือเกินกว่ากำลังของเราก็วางอุเบกขา ไม่ทำอะไรเกินกำลังของตน แต่ที่ทำได้กับสัตว์โลกที่มีทุกข์ทั้งหมดคือตั้งจิตอุทิศส่วนกุศลและแผ่เมตตา
     
  9. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    เมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ รู้สึกสงสารเขาคิดอยากช่วยให้เขาพ้นทุกข์ ความรู้สึกเช่นนี้เป็น"กรุณา"อันเป็น 1 ในพรหมวิหารธรรม 4 ..จิตขณะนั้นเป็น"กุศล" ..ครั้นต่อมาเกิดเศร้าเสียใจโทมนัส เพราะอะไรก็ตาม พึงทราบว่าขณะนั้นจิตเป็นไปกับโทสะ อันเป็นอกุศลธรรมแล้ว ...หากไม่รักษาใจให้ดี ปล่อยไว้ยาวนานต่อเนื่อง ผลเสียหายย่อมมีได้..เพราะขึ้นชื่อว่าอกุศล แม้เล็กน้อยย่อมมีโทษตามมาเสมอ..

    จึงพึงรักษาใจด้วย"ปัญญา" ..เมื่อตนไม่ิอาจช่วยเขาได้ด้วยข้อข้องขัดที่เกินกำลัง..ว่า เพราะเหตุคือบาปกรรมที่เขาผู้นั้นเคยล่วงศีล มาก่อน เช่นเคยลักขโมยหลอกเอาทรัพย์คนอื่นมาจึงเข้าถึงความไม่มี ต้องเดือดร้อนเช่นนั้น เป็นต้น เมื่อพิจารณาเห็น"เหตุ"ที่มาและ"ผล"..ที่ปรากฏสอดคล้องกันเช่นนั้น จิตจึงยอมรับความจริงที่ปรากฏ..ปัญญาที่เกิดนี้ย่อมระงับความโทมนัสอาดูรที่ตามมาได้โดยฉับพลัน จึงสามารถปล่อยวางได้ อันเป็นการปล่อยวางที่เป็น"กุศล"ที่เรียกว่า"อุเบกขาด้วยปัญญา"..ไม่ใช่อุเบกขาด้วยโมหะ และโทสะ ทำนอง"ช่างมัน ไม่ใช่เรื่องของเรา"ฯลฯ..เป็นต้น..
     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ใช้ ธรรม นำหน้า

    ให้ทำทาน รักษา ศีล ภาวนา ครับ


    สิ่งที่จะช่วยได้ มีแต่ บุญ กุศล เท่านั้น ถึงจะช่วยจาก วิบากกรรม ได้ครับ


    ทาน ศีล ภาวนา เป็น บุญ กุศล เป็น บุญใหญ่ ที่จะช่วยได้ครับ



    ถ้าคิดจะช่วย ต้องช่วยให้ตรงๆ ครับ


    .
     
  11. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ในเบื้องต้นก็จะเป็นอย่างนั้นกันนั่นแหละครับ
    เพราะธรรมว่าด้วยอุเบกขานั้น อย่างหนึ่งต้องได้สมาธิจิตตั้งมั่น
    อย่างหนึ่งต้องมีปัญญาพิจารณาเห็นตามความเป็นจริง

    จิตตั้งมั่น... ถ้าเจริญพรหมวิหาร๔ ครบองค์พรหมวิหาร๔ จริงๆนั้น
    ต้องใช้การพิจารณามาประกอบด้วย ต้องค่อยๆฝึกกันไปครับ
    คือมองให้เห็นตามความเป็นจริง
    ให้ยึดมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อในกฏแห่งกรรม
    เราทำดีที่สุดได้แค่ไหนก็แค่นั้น เรามาทุกข์เรื่องของเขา เขาก็ไม่ได้มีความสุขขึ้นมา
    ใช่มั้ยครับ..

    พระพุทธเจ้าสอนในเรื่องพ้นทุกข์ สอนให้มีความสุข ทั้งทางโลกและทางธรรม
     
  12. view2004

    view2004 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +1,107
    ให้ดูว่าที่สุดของทุกข์ก็แค่ทุกข์ อย่าปรุงแต่งอะไรเพิ่มในจิตของเรา

    เพราะว่าทุกคนมีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย มีกรรมเป็นของๆตน ทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตามต้องได้รับผลของ­กรรมนั้น
     
  13. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    จงมีเมตตาและสงสารเขาเหล่านั้น แต่ไม่ควรนำเอาความทุกข์ของผู้อื่นมาเป็นทุกข์ใส่ตน

    ควรมีปัญญาว่า เหตุใดเขาเหล่านั้นจึงต้อง ตกระกำลำบากอย่างนั้น เขามีจิตใจอย่างไร เขาทำกรรมอะไร เราควรสงเคราะห์เขาได้อย่างไรบ้าง เราควรเตือนสติตนให้ไม่ประมาทอย่างไรบ้าง พึงมองทุกอย่างด้วยธรรม และจบลงด้วยปัญญาธรรม ไม่ยึดติด แต่ให้รู้จักพิจารณาและรู้จักปล่อยวางด้วยปัญญา นะครับ แล้วคุณจะไม่ทุกข์และรู้ว่าวิถีทางแห่งการพ้นทุกข์ ควรก้าวเดินต่อไปอย่างไร ควรไม่ประมาทอย่างไร ควรขัดเกลาตนอย่างไร ควรอนุเคราะห์ผู้อื่นตามกำลังความสามารถของเราอย่างไรครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  14. จันทระ

    จันทระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +601
    สำหรับเรา...หากรู้สึกสงสาร แล้วเราพอจะช่วยเหลือได้...และการช่วยเหลือนั้นไม่เกี่ยวพันกับบุคคลที 3 นอกจากเรากับเขาเท่านั้น เราช่วยคะ

    แต่หากช่วยไม่ได้ หรือเกินกำลังเรา เราหันหลังคะ...จำต้อง "วาง"
     
  15. ไชยยารัตน์

    ไชยยารัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +739
    สรุปช่วยตามปัจจัยที่เรามี โดยไม่เดือดร้อนเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ช่วยได้ช่วย ช่วยไม่ได้ ให้ปลง ไม่ต้องสมน้ำหน้านะครับ หาก จขกท ช่วยจนตนเองเดือดร้อน จนตนเองเป็นทุกข์ จิตจะเศร้าหมอง ระวังทุคตินะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...